แท็ก
รัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--6 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) รายงานผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมในกรณีที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 สรุปได้ดังนี้
1. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
1.1 ผลกระทบโดยรวม การพิจารณาถึงผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
ได้พิจารณาถึงผลต่ออัตราเงินเฟ้อ กำลังซื้อและการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการขยายตัวของเศรษฐกิจส่วนรวม
โดยพิจารณากรณีที่ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสที่ 4 มีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น
การประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
กรณีฐาน กรณี 1 Q4 กรณี 2 Q4 กรณี 3 Q4
ราคาน้ำมันดิบ (เหรียญ สรอ./บาเรล) 13.36 22.60 25.00 27.0
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/เหรียญ สรอ.) 40 40 42 40 42 40 42
การเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกน้ำมัน (%) 11.62 12.47 13.21 14.13 14.53 15.52
ราคาน้ำมันขายปลีก (บาท/ลิตร)
ราคาน้ำมันเบนซิน 97 10.84 13.73 14.07 14.33 14.70 14.82 15.22
ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 8.01 10.60 10.90 11.20 11.52 11.70 12.05
การขยายตัวเศรษฐกิจ (%) 3.50 3.11 3.08 3.05 3.02 3.01 2.98
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน -0.39 -0.42 -0.45 -0.48 -0.49 -0.52
อัตราเงินเฟ้อ (%) 0.5-1.0 0.81-1.31 0.84-1.34 0.87-13.7 0.88-1.38 0.89-1.39 0.92-1.42
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน 0.31 0.30 0.37 0.38 0.39 0.42
การบริโภคภาคเอกชน (%) 2.0 1.72 1.70 1.68 1.66 1.65 1.63
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน -0.28 -0.30 -0.32 -0.34 -0.35 -0.37
ปริมาณการส่งออก (%) 5.0 4.752 4.750 4.621 4.617 4.489 4.484
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน -0.248 -0.250 -0.379 -0.383 -0.511 -0.516
หมายเหตุ : กรณี 1 กรณี 2 และกรณี 3 ใช้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 97 ที่ระดับ 11.47 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมันดี
เซลหมุนเร็วที่ระดับ 8.47 บาทต่อลิตร ในไตรมาสที่ 1 - ไตรมาสที่ 3
ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม 3 ด้าน ได้แก่
- ราคาขายปลีกของน้ำมันประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย (หากรัฐบาลไม่ใช้มาตรการภาษีเพื่อลดผลกระทบต่อ
ราคาขายปลีก) ซึ่งจะทำให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
- รายได้ที่จับจ่ายใช้สอยได้ ณ ราคาแท้จริง (Real Disposable Income) ลดลงและส่งผลให้การบริโภค
ภาคเอกชนลดลง
- การเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าในประเทศมีผลให้ความสามารถในการส่งออกลดลง (เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่
แท้จริง หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ Real Effective Exchange Rate สูงขึ้น) หากประเทศคู่แข่งไม่
ถูกผลกระทบจากราคาน้ำมัน นอกจากนั้นผลต่อเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของไทยลดลง
1.2 ผลกระทบกรณีราคาน้ำมันดิบ 22.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล เทียบกับกรณีฐานที่ประเมินได้ ดังนี้
1) ผลกระทบของราคาขายปลีกน้ำมันต่อดัชนีราคาผู้บริโภค ค่าความยืดหยุ่นของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อการ
เปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมัน คือ 0.027 นั่นคือ ราคาขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.27
2) ผลกระทบของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อรายได้ที่จับจ่ายใช้สอยได้ ณ ราคาแท้จริง ระดับราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.27 จะทำให้รายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ ณ ราคาแท้จริงลดลงร้อยละ 0.27
3) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่จับจ่ายใช้สอยได้ต่อการบริโภคภาคเอกชน ค่าความยืดหยุ่นของ
การบริโภคภาคเอกชนต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้คือ0.867 นั่นคือ ถ้ารายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้
สอยได้ลดลงร้อยละ 1 จะทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.867
4) ผลกระทบของการขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันต่อการบริโภคภาคเอกชน ดังนั้นต่อราคาขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 10 จะทำให้การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาแท้จริงลดลงร้อยละ 0.235 การประมาณการโดย สศช. คาดว่าการบริโภค
ภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ในปี 2542 หรือมีมูลค่าประมาณ 1,547,162.5 ล้านบาท ณ ราคาปีฐาน 2531 ดังนั้นหากราคา
ขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงเหลือ 1,543,526.7 ล้านบาท (ลดลงประมาณ 3,636
ล้านบาท) หรือการขยายตัวของการบริโภคน้อยกว่ากรณีที่ไม่มีผลจากราคาน้ำมันในไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 0.28
5) ผลต่อการส่งออก การประมาณการโดย สศช. คาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ในปี 2542
หากราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้อัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกลดลงโดยขยายตัวร้อยละ 4.36
6) ผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม จากปัจจัยการขยายตัวด้านการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกที่ลดลง ส่งผลให้
การขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีผลจากราคาน้ำมันไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 0.39
7) ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสาขาต่าง ๆ จากการคำนวณโดยตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตด้านพลังงาน
และสิ่งแวดล้อมปี 2533 สาขาที่มีแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน โดยหากราคาน้ำมันขายส่ง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต้นทุนการผลิตในสาขาที่สูงขึ้นได้แก่ สาขาประมงทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ0.22 สาขาการขนส่งทางบกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.22 - 0.25 สาขาการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 และการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15
ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตราคาจากการที่ราคาน้ำมันขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1
หน่วย : %
รายการสินค้า ผลกระทบจากการเพิ่มของราคาน้ำมันแต่ละชนิด 1%
เบนซินพิเศษ เบนซินธรรมดา ดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเตา ผลกระทบรวม
1. เกษตร 0.0006 0.0026 0.0661 0.0035 0.0728
- ประมงทะเล 0.0005 0.0023 0.2165 0.0054 0.2237
- เกษตรกรรมอื่น ๆ 0.0007 0.0028 0.0326 0.0032 0.0394
2. เหมืองแร่ 0.0022 0.0281 0.0648 0.0065 0.1015
3. อุตสาหกรรม 0.0010 0.0030 0.0199 0.0082 0.0321
3.1 อุตสาหกรรมเบา 0.0010 0.0029 0.0196 0.0075 0.0309
3.2 อุตสาหกรรมวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 0.0010 0.0032 0.0264 0.0118 0.0424
3.3 อุตสาหกรรมสินค้าทุน 0.0009 0.0033 0.0174 0.0088 0.0303
4. ไฟฟ้า ประปา 0.0007 0.0063 0.0328 0.0796 0.1194
5. ก่อสร้าง 0.0017 0.0043 0.0304 0.0109 0.0473
6. ขนส่ง 0.0267 0.0313 0.1227 0.0093 0.1899
- ขนส่งผู้โดยสารทางบก (รถยนต์ รถไฟ) 0.0427 0.0483 0.1223 0.0061 0.2194
- ขนส่งสินค้าทางบก 0.0139 0.0159 0.2177 0.0061 0.2536
- ขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางน้ำ 0.0030 0.0129 0.1922 0.0808 0.2889
- ขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศ 0.0018 0.0034 0.0123 0.0043 0.0218
- บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง 0.0164 0.0224 0.0109 0.0052 0.0550
7. บริการ 0.0028 0.0038 0.0114 0.0036 0.0216
รวม 0.0038 0.0057 0.0276 0.0070 0.0440
2. ทางเลือกในการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันในปัจจุบันรัฐบาลได้มีมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคา
น้ำมัน เช่น การชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม LPG จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 7.66 บาทต่อกิโลกรัม (หรือ 938 ล้านบาทต่อ
เดือน) เพื่อให้มีราคาต่ำ กละการบรรเทาภาระของผู้ประกอบการประมงโดยชดเชยราคาน้ำมันดีเซลในอัตรา 0.97 บาท/ลิตร
โดย คชก. จัดสรรวงเงินไว้ประมาณ 190 ล้านบาทเป็นต้น การบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันควรพิจารณาข้อดีข้อเสียของทาง
เลือกที่สำคัญ ๆ ได้แก่
2.1 การประหยัดพลังงาน ประเทศไทยยังคงพึ่งการนำเข้าน้ำมัน โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2542
มีการนำเข้าน้ำมัน 55,328 ล้านบาท มากกว่ารายได้จากการส่งออกของสินค้าเกษตรหลัก ได้แก่ ข้าว ยางพารา และผลไม้
ซึ่งสร้างรายได้จากการส่งออกรวมกันเท่ากับ 53,031 ล้านบาท ดังนั้นการประหยัดการใช้พลังงานจึงเป็นมาตรการสำคัญ
2.2 การลดภาษีสรรพสามิต หากรัฐบาลพิจารณาลดภาษีน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลลงเพื่อมิให้ราคาขายปลีก
น้ำมันเพิ่มขึ้นต่อไปอีก ปริมาณการใช้น้ำมันจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการเดิมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
นโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นจะลดลง แต่จะเกิดผลกระทบต่อรายได้จาก
ภาษี ดังนี้
1) ผลกระทบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิต ต่อราคาหน้าโรงกลั่นที่เพิ่มขึ้น 1 บาท/ลิตร รัฐบาลจะต้องลด
ภาษีสรรพสามิตลง 0.90 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน ทั้งนี้ โดยใช้โครงสร้างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน
ซึ่ง
ราคาขายปลีก = ราคา ณ โรงกลั่น + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีมหาดไทย (ภาษีท้องที่) + เงิน
สมทบกองทุนน้ำมัน + เงินสมทบกองทุนอนุรักษ์พลังงาน + ภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้นขายส่ง + ค่าการตลาด + ภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้น
ขายปลีก
จากข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลที่ประมาณการโดย สพช. ซึ่งคาดว่าตลอดปี 2542
จะมีการใช้น้ำมันเบนซินจำนวน 7,465 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลจำนวน 15,208 ล้านลิตร ผลกระทบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิต
ของรัฐบาลจะเป็น ดังนี้
(1) หากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตเฉพาะน้ำมันดีเซลรายได้ภาษีสรรพสามิตของรัฐบาลจะลดลง
13,687 ล้านบาท
(2) หากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซินรายได้ภาษีสรรพสามิตของรัฐบาลจะ
ลดลง 20,405.7 ล้านบาท
2) ผลกระทบต่อรายได้ภาษีมหาดไทย (ภาษีท้องที่) การลดภาษีสรรพสามิตจะส่งผลให้ภาษีเกี่ยว
เนื่องกับน้ำมันลดลงด้วย เช่น การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินธรรมดาลง 0.90 บาทต่อลิตร จะทำให้ภาษีท้องที่ลดลง
0.09 บาทต่อลิตร
(1) หากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตเฉพาะน้ำมันดีเซลจะทำให้ภาษีท้องที่ลดลง 671.85 ล้านบาท
(2) หากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซินจะทำให้ภาษีท้องที่ลดลง 2,040.57
ล้านบาท ในปี 2542
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มของราคาขายส่งนั้นจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 0.0007 บาท/ลิตร ทั้งนี้เนื่องจาก
ราคา ณ โรงกลั่นเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตเฉพาะน้ำมันดีเซลภาษีมูลค่าเพิ่มราคาขายส่งจะเพิ่มขึ้น 5.23 ล้าน
บาท
3) ผลกระทบต่อรายได้จากภาษีน้ำมันโดยรวม การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินและดีเซลลงลิตร
ละ 0.90 บาท จะทำให้รายได้จากภาษีน้ำมันโดยรวมลดลงประมาณ 22,430.4 ล้านบาท ในกรณีที่รัฐบาลไม่พิจารณาลดภาษีส
รรพสามิตน้ำมัน ระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงประมาณ 3,636 ล้านบาท หรือคิดเป็นการ
ลดลงของภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 210 ล้านบาท
4) ผลของการขาดดุลการคลัง การลดราคาขายปลีกน้ำมันลง 1 บาท โดยการลดภาษีจะทำให้การขาด
ดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 20,400 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นภาระเพิ่มขึ้นจากการขาดดุลงบประมาณปี 2543 ซึ่งเดิมคาดว่าจะขาด
ดุลประมาณ110,000 ล้านบาท จึงต้องพิจารณาถึงการชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มภาษีประเภทอื่นๆ
การหารายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมาตรการชดเชยการขาดดุลอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเช่นกัน นอกจากนั้นการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ค่าเงิน
บาทอ่อนลง หากนักลงทุนเห็นว่าจะเป็นผลเสียต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
2.3 การบรรเทาผลกระทบเฉพาะด้าน ทางเลือกที่น่าจะพิจารณาโดยมีหลักการที่จะช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจ
ที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่นอกเหนือจากการช่วยเหลือโดยการชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม และน้ำมันดีเซลในสาขาประมง เช่น
อาจมีการพิจารณาชะลอราคาค่าบริการขนส่งมวลชน และค่าไฟฟ้า เป็นต้น โดยรัฐให้การชดเชยส่วนต่างราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็น
เพียงบางส่วน
2.4 การส่งเสริมแหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยลดการพึ่งพิงน้ำมันในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ตุลาคม 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) รายงานผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมในกรณีที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 สรุปได้ดังนี้
1. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
1.1 ผลกระทบโดยรวม การพิจารณาถึงผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
ได้พิจารณาถึงผลต่ออัตราเงินเฟ้อ กำลังซื้อและการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการขยายตัวของเศรษฐกิจส่วนรวม
โดยพิจารณากรณีที่ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสที่ 4 มีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น
การประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
กรณีฐาน กรณี 1 Q4 กรณี 2 Q4 กรณี 3 Q4
ราคาน้ำมันดิบ (เหรียญ สรอ./บาเรล) 13.36 22.60 25.00 27.0
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/เหรียญ สรอ.) 40 40 42 40 42 40 42
การเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกน้ำมัน (%) 11.62 12.47 13.21 14.13 14.53 15.52
ราคาน้ำมันขายปลีก (บาท/ลิตร)
ราคาน้ำมันเบนซิน 97 10.84 13.73 14.07 14.33 14.70 14.82 15.22
ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 8.01 10.60 10.90 11.20 11.52 11.70 12.05
การขยายตัวเศรษฐกิจ (%) 3.50 3.11 3.08 3.05 3.02 3.01 2.98
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน -0.39 -0.42 -0.45 -0.48 -0.49 -0.52
อัตราเงินเฟ้อ (%) 0.5-1.0 0.81-1.31 0.84-1.34 0.87-13.7 0.88-1.38 0.89-1.39 0.92-1.42
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน 0.31 0.30 0.37 0.38 0.39 0.42
การบริโภคภาคเอกชน (%) 2.0 1.72 1.70 1.68 1.66 1.65 1.63
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน -0.28 -0.30 -0.32 -0.34 -0.35 -0.37
ปริมาณการส่งออก (%) 5.0 4.752 4.750 4.621 4.617 4.489 4.484
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน -0.248 -0.250 -0.379 -0.383 -0.511 -0.516
หมายเหตุ : กรณี 1 กรณี 2 และกรณี 3 ใช้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 97 ที่ระดับ 11.47 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมันดี
เซลหมุนเร็วที่ระดับ 8.47 บาทต่อลิตร ในไตรมาสที่ 1 - ไตรมาสที่ 3
ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม 3 ด้าน ได้แก่
- ราคาขายปลีกของน้ำมันประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย (หากรัฐบาลไม่ใช้มาตรการภาษีเพื่อลดผลกระทบต่อ
ราคาขายปลีก) ซึ่งจะทำให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
- รายได้ที่จับจ่ายใช้สอยได้ ณ ราคาแท้จริง (Real Disposable Income) ลดลงและส่งผลให้การบริโภค
ภาคเอกชนลดลง
- การเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าในประเทศมีผลให้ความสามารถในการส่งออกลดลง (เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่
แท้จริง หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ Real Effective Exchange Rate สูงขึ้น) หากประเทศคู่แข่งไม่
ถูกผลกระทบจากราคาน้ำมัน นอกจากนั้นผลต่อเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของไทยลดลง
1.2 ผลกระทบกรณีราคาน้ำมันดิบ 22.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล เทียบกับกรณีฐานที่ประเมินได้ ดังนี้
1) ผลกระทบของราคาขายปลีกน้ำมันต่อดัชนีราคาผู้บริโภค ค่าความยืดหยุ่นของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อการ
เปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมัน คือ 0.027 นั่นคือ ราคาขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.27
2) ผลกระทบของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อรายได้ที่จับจ่ายใช้สอยได้ ณ ราคาแท้จริง ระดับราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.27 จะทำให้รายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ ณ ราคาแท้จริงลดลงร้อยละ 0.27
3) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่จับจ่ายใช้สอยได้ต่อการบริโภคภาคเอกชน ค่าความยืดหยุ่นของ
การบริโภคภาคเอกชนต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้คือ0.867 นั่นคือ ถ้ารายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้
สอยได้ลดลงร้อยละ 1 จะทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.867
4) ผลกระทบของการขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันต่อการบริโภคภาคเอกชน ดังนั้นต่อราคาขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 10 จะทำให้การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาแท้จริงลดลงร้อยละ 0.235 การประมาณการโดย สศช. คาดว่าการบริโภค
ภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ในปี 2542 หรือมีมูลค่าประมาณ 1,547,162.5 ล้านบาท ณ ราคาปีฐาน 2531 ดังนั้นหากราคา
ขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงเหลือ 1,543,526.7 ล้านบาท (ลดลงประมาณ 3,636
ล้านบาท) หรือการขยายตัวของการบริโภคน้อยกว่ากรณีที่ไม่มีผลจากราคาน้ำมันในไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 0.28
5) ผลต่อการส่งออก การประมาณการโดย สศช. คาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ในปี 2542
หากราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้อัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกลดลงโดยขยายตัวร้อยละ 4.36
6) ผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม จากปัจจัยการขยายตัวด้านการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกที่ลดลง ส่งผลให้
การขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีผลจากราคาน้ำมันไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 0.39
7) ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสาขาต่าง ๆ จากการคำนวณโดยตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตด้านพลังงาน
และสิ่งแวดล้อมปี 2533 สาขาที่มีแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน โดยหากราคาน้ำมันขายส่ง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต้นทุนการผลิตในสาขาที่สูงขึ้นได้แก่ สาขาประมงทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ0.22 สาขาการขนส่งทางบกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.22 - 0.25 สาขาการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 และการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15
ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตราคาจากการที่ราคาน้ำมันขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1
หน่วย : %
รายการสินค้า ผลกระทบจากการเพิ่มของราคาน้ำมันแต่ละชนิด 1%
เบนซินพิเศษ เบนซินธรรมดา ดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเตา ผลกระทบรวม
1. เกษตร 0.0006 0.0026 0.0661 0.0035 0.0728
- ประมงทะเล 0.0005 0.0023 0.2165 0.0054 0.2237
- เกษตรกรรมอื่น ๆ 0.0007 0.0028 0.0326 0.0032 0.0394
2. เหมืองแร่ 0.0022 0.0281 0.0648 0.0065 0.1015
3. อุตสาหกรรม 0.0010 0.0030 0.0199 0.0082 0.0321
3.1 อุตสาหกรรมเบา 0.0010 0.0029 0.0196 0.0075 0.0309
3.2 อุตสาหกรรมวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 0.0010 0.0032 0.0264 0.0118 0.0424
3.3 อุตสาหกรรมสินค้าทุน 0.0009 0.0033 0.0174 0.0088 0.0303
4. ไฟฟ้า ประปา 0.0007 0.0063 0.0328 0.0796 0.1194
5. ก่อสร้าง 0.0017 0.0043 0.0304 0.0109 0.0473
6. ขนส่ง 0.0267 0.0313 0.1227 0.0093 0.1899
- ขนส่งผู้โดยสารทางบก (รถยนต์ รถไฟ) 0.0427 0.0483 0.1223 0.0061 0.2194
- ขนส่งสินค้าทางบก 0.0139 0.0159 0.2177 0.0061 0.2536
- ขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางน้ำ 0.0030 0.0129 0.1922 0.0808 0.2889
- ขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศ 0.0018 0.0034 0.0123 0.0043 0.0218
- บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง 0.0164 0.0224 0.0109 0.0052 0.0550
7. บริการ 0.0028 0.0038 0.0114 0.0036 0.0216
รวม 0.0038 0.0057 0.0276 0.0070 0.0440
2. ทางเลือกในการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันในปัจจุบันรัฐบาลได้มีมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคา
น้ำมัน เช่น การชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม LPG จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 7.66 บาทต่อกิโลกรัม (หรือ 938 ล้านบาทต่อ
เดือน) เพื่อให้มีราคาต่ำ กละการบรรเทาภาระของผู้ประกอบการประมงโดยชดเชยราคาน้ำมันดีเซลในอัตรา 0.97 บาท/ลิตร
โดย คชก. จัดสรรวงเงินไว้ประมาณ 190 ล้านบาทเป็นต้น การบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันควรพิจารณาข้อดีข้อเสียของทาง
เลือกที่สำคัญ ๆ ได้แก่
2.1 การประหยัดพลังงาน ประเทศไทยยังคงพึ่งการนำเข้าน้ำมัน โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2542
มีการนำเข้าน้ำมัน 55,328 ล้านบาท มากกว่ารายได้จากการส่งออกของสินค้าเกษตรหลัก ได้แก่ ข้าว ยางพารา และผลไม้
ซึ่งสร้างรายได้จากการส่งออกรวมกันเท่ากับ 53,031 ล้านบาท ดังนั้นการประหยัดการใช้พลังงานจึงเป็นมาตรการสำคัญ
2.2 การลดภาษีสรรพสามิต หากรัฐบาลพิจารณาลดภาษีน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลลงเพื่อมิให้ราคาขายปลีก
น้ำมันเพิ่มขึ้นต่อไปอีก ปริมาณการใช้น้ำมันจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการเดิมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
นโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นจะลดลง แต่จะเกิดผลกระทบต่อรายได้จาก
ภาษี ดังนี้
1) ผลกระทบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิต ต่อราคาหน้าโรงกลั่นที่เพิ่มขึ้น 1 บาท/ลิตร รัฐบาลจะต้องลด
ภาษีสรรพสามิตลง 0.90 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน ทั้งนี้ โดยใช้โครงสร้างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน
ซึ่ง
ราคาขายปลีก = ราคา ณ โรงกลั่น + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีมหาดไทย (ภาษีท้องที่) + เงิน
สมทบกองทุนน้ำมัน + เงินสมทบกองทุนอนุรักษ์พลังงาน + ภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้นขายส่ง + ค่าการตลาด + ภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้น
ขายปลีก
จากข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลที่ประมาณการโดย สพช. ซึ่งคาดว่าตลอดปี 2542
จะมีการใช้น้ำมันเบนซินจำนวน 7,465 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลจำนวน 15,208 ล้านลิตร ผลกระทบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิต
ของรัฐบาลจะเป็น ดังนี้
(1) หากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตเฉพาะน้ำมันดีเซลรายได้ภาษีสรรพสามิตของรัฐบาลจะลดลง
13,687 ล้านบาท
(2) หากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซินรายได้ภาษีสรรพสามิตของรัฐบาลจะ
ลดลง 20,405.7 ล้านบาท
2) ผลกระทบต่อรายได้ภาษีมหาดไทย (ภาษีท้องที่) การลดภาษีสรรพสามิตจะส่งผลให้ภาษีเกี่ยว
เนื่องกับน้ำมันลดลงด้วย เช่น การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินธรรมดาลง 0.90 บาทต่อลิตร จะทำให้ภาษีท้องที่ลดลง
0.09 บาทต่อลิตร
(1) หากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตเฉพาะน้ำมันดีเซลจะทำให้ภาษีท้องที่ลดลง 671.85 ล้านบาท
(2) หากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซินจะทำให้ภาษีท้องที่ลดลง 2,040.57
ล้านบาท ในปี 2542
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มของราคาขายส่งนั้นจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 0.0007 บาท/ลิตร ทั้งนี้เนื่องจาก
ราคา ณ โรงกลั่นเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตเฉพาะน้ำมันดีเซลภาษีมูลค่าเพิ่มราคาขายส่งจะเพิ่มขึ้น 5.23 ล้าน
บาท
3) ผลกระทบต่อรายได้จากภาษีน้ำมันโดยรวม การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินและดีเซลลงลิตร
ละ 0.90 บาท จะทำให้รายได้จากภาษีน้ำมันโดยรวมลดลงประมาณ 22,430.4 ล้านบาท ในกรณีที่รัฐบาลไม่พิจารณาลดภาษีส
รรพสามิตน้ำมัน ระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงประมาณ 3,636 ล้านบาท หรือคิดเป็นการ
ลดลงของภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 210 ล้านบาท
4) ผลของการขาดดุลการคลัง การลดราคาขายปลีกน้ำมันลง 1 บาท โดยการลดภาษีจะทำให้การขาด
ดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 20,400 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นภาระเพิ่มขึ้นจากการขาดดุลงบประมาณปี 2543 ซึ่งเดิมคาดว่าจะขาด
ดุลประมาณ110,000 ล้านบาท จึงต้องพิจารณาถึงการชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มภาษีประเภทอื่นๆ
การหารายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมาตรการชดเชยการขาดดุลอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเช่นกัน นอกจากนั้นการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ค่าเงิน
บาทอ่อนลง หากนักลงทุนเห็นว่าจะเป็นผลเสียต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
2.3 การบรรเทาผลกระทบเฉพาะด้าน ทางเลือกที่น่าจะพิจารณาโดยมีหลักการที่จะช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจ
ที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่นอกเหนือจากการช่วยเหลือโดยการชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม และน้ำมันดีเซลในสาขาประมง เช่น
อาจมีการพิจารณาชะลอราคาค่าบริการขนส่งมวลชน และค่าไฟฟ้า เป็นต้น โดยรัฐให้การชดเชยส่วนต่างราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็น
เพียงบางส่วน
2.4 การส่งเสริมแหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยลดการพึ่งพิงน้ำมันในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ตุลาคม 2542--