แท็ก
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการกฤษฎีกา
บัญชี
ธปท.
ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการนำส่งสินทรัพย์เข้าบัญชีในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ 2501 กรณีเงินและทองคำตามโครงการผ้าป่าช่วยชาติที่ได้รับมอบจากพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ตามข้อหารือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดังนี้1. ธปท. ได้หารือปัญหาข้อกฎหมายกรณีพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ได้มอบทองคำและเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับบริจาคจากประชาชนทั่วประเทศ ในโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ให้แก่ ธปท. โดยระบุจุดมุ่งหมายเพื่อนำเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าบัญชีประเทศไทยเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศที่ Federal Reserve Bank (นิวยอร์ค) ประเทศสหรัฐอเมริกา และทองคำแท่งเป็นทุนสำรองทางการ ซึ่ง ธปท. ได้นำเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับมอบทั้งสองครั้ง รวม 4,278,000 ดอลลาร์บันทึกบัญชีของฝ่ายธนาคาร General Account และนำฝากบัญชี ธปท. ที่ Federal Reserve Bank (FRB) New York และนำทองคำ น้ำหนัก 1,037.7855 กก. เก็บรักษาไว้ในห้องมั่งคงของฝ่ายออกบัตรธนาคาร สินทรัพย์ดังกล่าว ธปท.ได้บันทึกบัญชีของฝ่ายการธนาคาร โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองทางการ ตามเจตนาของหลวงตามหาบัว ต่อมา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2543 หลวงตามมหาบัวได้มีหนังสือมายัง ธปท. ขอให้ ธปท.นำสินทรัพย์ที่มอบให้ ธปท.ข้างต้น นำเข้า "คลังหลวงของประเทศไทย" ซึ่งหมายความถึงบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี หรือ บัญชีสำรองพิเศษ ธปท. จึงขอหารือ ดังนี้
1.1 ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 ธปท. จะส่งสินทรัพย์นี้ เข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราโดยไม่ต้องออกใช้ซึ่งธนบัตร ได้หรือไม่
1.2 หากส่งเข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราได้ สินทรัพย์นี้ตลอดจนดอกผลและมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น จะคงค้างไว้ในบัญชีทุนสำรองเงินตราตลอดไป ได้หรือไม่
1.3 ธปท.สามารถส่งสินทรัพย์ตรงเจ้าบัญชีสำรองพิเศษ ได้หรือไม่
1.4 นอกเหนือจากการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 ธปท. จะต้องถือปฏิบัติตามระเบียบทางการ อาทิ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ. 2526 ออกตามความในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 หรือ ระเบียบทางการอื่นใด หรือไม่2. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) พิจารแล้วมีความเห็นว่า
2.1 "ทุนสำรองทางการ" ตามกฎเกณฑ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อาจจัดอยู่ในสินทรัพย์ 3 ประเภท ดังนี้
2.1.1 ทุนสำรองเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
2.1.2 ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้
2.1.3 สินทรัพย์ต่างประเทศของฝ่ายการธนาคารของ ธปท. โดยสินทรัพย์ในส่วนนี้อาจเก็บอยู่ในบัญชีของฝ่ายการธนาคารหรือนำฝากเข้าบัญชีที่ Federal Reserve Bank ก็ได้
ดังนั้น การดำเนินการของ ธปท.ต่อเงินและทองคำที่ได้รับมอบ จึงเป็นการกระทำที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้แล้ว และเนื่องจากมาตรา 523 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดไว้ว่าการให้ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบ ดังนั้น เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและทองคำจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ธปท. ตั้งแต่รับมอบแล้ว การที่ขอให้ ธปท.ปฏิบัติต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและทองคำเป็นอย่างอื่นในภายหลัง จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะเปลี่ยนแปลงผลทางกฎหมายของหนังสือฉบับก่อนหน้านั้นได้ ธปท. จึงไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการตามแต่อย่างใด
2.2 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ ธปท. มีความกระจ่างในปัญหาที่หารือและอาจนำไปใช้ในโอกาสต่อไป จึงมีความเห็นในปัญหาดังกล่าว ดังนี้
2.2.1 พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 บัญญัติให้การรับและจ่ายสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรามีความสัมพันธ์กับการนำออกใช้ซึ่งธนบัตร การนำสินทรัพย์เข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราโดยไม่มีการออกใช้ธนบัตรย่อมไม่อาจกระทำได้
2.2.2 เมื่อได้นำส่งสินทรัพย์เข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราในขณะที่มีการออกใช้ซึ่งธนบัตรแล้ว ดอกผลหรือมูลค่าของสินทรัพย์ดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นจะต้องโอนไปอยู่ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีและบัญชีสำรองพิเศษตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ 2501 บัญญัติไว้
2.2.3 การนำสินทรัพย์เข้าในบัญชีสำรองพิเศษมี 2 วิธี คือการนำเงินคงเหลือหลังจากการนำสินทรัพย์ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีหักการจ่ายเมื่อสิ้นปีเข้าบัญชี และการโอนสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตราในส่วนที่มีค่าเพิ่มขึ้นเข้าบัญชีนี้ ดังนั้น ธปท. จึงไม่อาจส่งสินทรัพย์อื่นตามกรณีที่หารือซึ่งเป็นกรณีนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้เข้าบัญชีสำรองพิเศษโดยตรงได้
2.2.4 ธปท. เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงไม่ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ 2526 เนื่องจากระเบียบดังกล่าวไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ
2.3 ได้เสนอข้อสังเกตว่า ถึงแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ 2501 เพื่อรวมบัญชีฝ่ายออกบัตรธนาคารและฝ่ายธนาคารเข้าด้วยกัน และให้โอนสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตราบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษมาเป็นสินทรัพย์ของ ธปท. ก็ตาม ตามบทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ …. ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้ตรวจพิจารณาแล้วนั้น สินทรัพย์ในส่วนที่พระธรรมวิสุทธิมงคลฯ ได้มอบให้แล้วดังกล่าว ธปท. ก็ยังสามารถจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล โดยกำหนดบัญชีย่อยเฉพาะขึ้นมาเป็นบัญชีหนึ่งให้เป็นการถาวรเพื่อใช้สำหรับการดำรงเสถียรภาพของธนบัตรเช่นเดียวกันกับหลักเกณฑ์ของทุนสำรองเงินตราได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการนำส่งสินทรัพย์เข้าบัญชีในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ 2501 กรณีเงินและทองคำตามโครงการผ้าป่าช่วยชาติที่ได้รับมอบจากพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ตามข้อหารือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดังนี้1. ธปท. ได้หารือปัญหาข้อกฎหมายกรณีพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ได้มอบทองคำและเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับบริจาคจากประชาชนทั่วประเทศ ในโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ให้แก่ ธปท. โดยระบุจุดมุ่งหมายเพื่อนำเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าบัญชีประเทศไทยเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศที่ Federal Reserve Bank (นิวยอร์ค) ประเทศสหรัฐอเมริกา และทองคำแท่งเป็นทุนสำรองทางการ ซึ่ง ธปท. ได้นำเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับมอบทั้งสองครั้ง รวม 4,278,000 ดอลลาร์บันทึกบัญชีของฝ่ายธนาคาร General Account และนำฝากบัญชี ธปท. ที่ Federal Reserve Bank (FRB) New York และนำทองคำ น้ำหนัก 1,037.7855 กก. เก็บรักษาไว้ในห้องมั่งคงของฝ่ายออกบัตรธนาคาร สินทรัพย์ดังกล่าว ธปท.ได้บันทึกบัญชีของฝ่ายการธนาคาร โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองทางการ ตามเจตนาของหลวงตามหาบัว ต่อมา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2543 หลวงตามมหาบัวได้มีหนังสือมายัง ธปท. ขอให้ ธปท.นำสินทรัพย์ที่มอบให้ ธปท.ข้างต้น นำเข้า "คลังหลวงของประเทศไทย" ซึ่งหมายความถึงบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี หรือ บัญชีสำรองพิเศษ ธปท. จึงขอหารือ ดังนี้
1.1 ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 ธปท. จะส่งสินทรัพย์นี้ เข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราโดยไม่ต้องออกใช้ซึ่งธนบัตร ได้หรือไม่
1.2 หากส่งเข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราได้ สินทรัพย์นี้ตลอดจนดอกผลและมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น จะคงค้างไว้ในบัญชีทุนสำรองเงินตราตลอดไป ได้หรือไม่
1.3 ธปท.สามารถส่งสินทรัพย์ตรงเจ้าบัญชีสำรองพิเศษ ได้หรือไม่
1.4 นอกเหนือจากการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 ธปท. จะต้องถือปฏิบัติตามระเบียบทางการ อาทิ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ. 2526 ออกตามความในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 หรือ ระเบียบทางการอื่นใด หรือไม่2. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) พิจารแล้วมีความเห็นว่า
2.1 "ทุนสำรองทางการ" ตามกฎเกณฑ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อาจจัดอยู่ในสินทรัพย์ 3 ประเภท ดังนี้
2.1.1 ทุนสำรองเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
2.1.2 ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้
2.1.3 สินทรัพย์ต่างประเทศของฝ่ายการธนาคารของ ธปท. โดยสินทรัพย์ในส่วนนี้อาจเก็บอยู่ในบัญชีของฝ่ายการธนาคารหรือนำฝากเข้าบัญชีที่ Federal Reserve Bank ก็ได้
ดังนั้น การดำเนินการของ ธปท.ต่อเงินและทองคำที่ได้รับมอบ จึงเป็นการกระทำที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้แล้ว และเนื่องจากมาตรา 523 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดไว้ว่าการให้ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบ ดังนั้น เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและทองคำจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ธปท. ตั้งแต่รับมอบแล้ว การที่ขอให้ ธปท.ปฏิบัติต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและทองคำเป็นอย่างอื่นในภายหลัง จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะเปลี่ยนแปลงผลทางกฎหมายของหนังสือฉบับก่อนหน้านั้นได้ ธปท. จึงไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการตามแต่อย่างใด
2.2 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ ธปท. มีความกระจ่างในปัญหาที่หารือและอาจนำไปใช้ในโอกาสต่อไป จึงมีความเห็นในปัญหาดังกล่าว ดังนี้
2.2.1 พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 บัญญัติให้การรับและจ่ายสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรามีความสัมพันธ์กับการนำออกใช้ซึ่งธนบัตร การนำสินทรัพย์เข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราโดยไม่มีการออกใช้ธนบัตรย่อมไม่อาจกระทำได้
2.2.2 เมื่อได้นำส่งสินทรัพย์เข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราในขณะที่มีการออกใช้ซึ่งธนบัตรแล้ว ดอกผลหรือมูลค่าของสินทรัพย์ดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นจะต้องโอนไปอยู่ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีและบัญชีสำรองพิเศษตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ 2501 บัญญัติไว้
2.2.3 การนำสินทรัพย์เข้าในบัญชีสำรองพิเศษมี 2 วิธี คือการนำเงินคงเหลือหลังจากการนำสินทรัพย์ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีหักการจ่ายเมื่อสิ้นปีเข้าบัญชี และการโอนสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตราในส่วนที่มีค่าเพิ่มขึ้นเข้าบัญชีนี้ ดังนั้น ธปท. จึงไม่อาจส่งสินทรัพย์อื่นตามกรณีที่หารือซึ่งเป็นกรณีนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้เข้าบัญชีสำรองพิเศษโดยตรงได้
2.2.4 ธปท. เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงไม่ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ 2526 เนื่องจากระเบียบดังกล่าวไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ
2.3 ได้เสนอข้อสังเกตว่า ถึงแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ 2501 เพื่อรวมบัญชีฝ่ายออกบัตรธนาคารและฝ่ายธนาคารเข้าด้วยกัน และให้โอนสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตราบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษมาเป็นสินทรัพย์ของ ธปท. ก็ตาม ตามบทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ …. ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้ตรวจพิจารณาแล้วนั้น สินทรัพย์ในส่วนที่พระธรรมวิสุทธิมงคลฯ ได้มอบให้แล้วดังกล่าว ธปท. ก็ยังสามารถจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล โดยกำหนดบัญชีย่อยเฉพาะขึ้นมาเป็นบัญชีหนึ่งให้เป็นการถาวรเพื่อใช้สำหรับการดำรงเสถียรภาพของธนบัตรเช่นเดียวกันกับหลักเกณฑ์ของทุนสำรองเงินตราได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2543--
-สส-