เอกสาร Busan Declaration ที่จะรับรองในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกรอบเวที ความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ครั้งที่ 8 ที่สาธารณรัฐเกาหลี

ข่าวการเมือง Tuesday August 22, 2017 16:26 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง เอกสาร Busan Declaration ที่จะรับรองในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกรอบเวที ความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ครั้งที่ 8 ที่สาธารณรัฐเกาหลี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างเอกสาร Busan Declaration ที่จะรับรองในการประชุม Foreign Ministers’ Meeting of the Forum for East Asia-Latin America Cooperation (FEALAC FMM) ครั้งที่ 8 ซึ่งมีภาคผนวกคือ NEW FEALAC Action Plan และ FEALAC Troika-Operational Modalities และหากมีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. ดำเนินการได้ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี (30 มิถุนายน 2558) ที่กำหนดว่าหากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่ขัดกับหลักการ ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ให้สามารถดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม FEALAC FMM ครั้งที่ 8 และร่วมรับรองเอกสารดังกล่าว

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า สาธารณรัฐเกาหลีในฐานะประเทศผู้ประสานงานภูมิภาคเอเชียตะวันออก วาระปี 2558-2560 จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Foreign Ministers’ Meeting of the Forum for East Asia-Latin America Cooperation ครั้งที่ 8 การประชุม FEALAC SOM ครั้งที่ 18 และการประชุมคณะทำงาน ระหว่างวันที่ 29-31 สิงหาคม 2560 ณ นครปูซาน โดยในการประชุม FEALAC FMM ครั้งที่ 8 ที่ประชุมฯ จะรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ได้แก่ Busan Declaration ซึ่งมีภาคผนวก 2 ฉบับ ได้แก่ New FEALAC Action Plan และ FEALAC Troika-Operation Modalities โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เอกสาร/รายละเอียด

ร่าง Busan Declaration

สะท้อนเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิก FEALAC ในการแสวงหาท่าที ร่วมระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา เพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่สำคัญ รวมถึงยินดีกับข้อริเริ่มต่าง ๆ ภายใต้กรอบ FEALAC อาทิ New FEALAC Action Plan การริเริ่มระบบ Troika ซึ่งเป็นการหารือระหว่างประเทศผู้ประสานงานภูมิภาคในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และการจัดตั้งกองทุน FEALAC เพื่อเป็นกองทุนสำหรับโครงการระดับภูมิภาค โดยใช้เกณฑ์การบริจาคเงินตามความสมัครใจ

ร่าง New FEALAC Action Plan

เป็นแผนปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของ FEALAC ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่

(1) การเสริมสร้างกรอบการบริหารเชิงสถาบันของ FEALAC

(2) การส่งเสริมประสิทธิผลของคณะทำงานและโครงการ และ

(3) การขยายความเป็นหุ้นส่วนกับองค์การระดับภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศ

ร่าง FEALAC Troika-Operational Modalities

เป็นเอกสารที่กำหนดโครงสร้างของ Troika โดยกำหนดให้ Troika ประกอบด้วย

(1) ประเทศผู้ประสานงานก่อนหน้าปัจจุบัน

(2) ประเทศ ผู้ประสานงานปัจจุบัน และ

(3) ประเทศผู้ประสานงานในอนาคต

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2560--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ