วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2564

ข่าวการเมือง Tuesday January 7, 2020 18:30 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่ สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน [สงป. กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.] เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งเป็นไปตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 24 (1) ที่บัญญัติให้ในการจัดทำงบประมาณประจำปีให้ สงป. เป็นหน่วยงานหลัก โดยร่วมกับ กค. สศช. และ ธปท. เพื่อกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย และวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

สาระสำคัญของเรื่อง

สงป. รายงานว่า จากการประชุมพิจารณากำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่าง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สงป. กค. สศช. และ ธปท. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 สรุปสาระสำคัญและมติที่ประชุมได้ ดังนี้

1. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

1.1 สมมติฐานทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.1 – 4.1 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภาคต่างประเทศ ตามแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของกรอบงบลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ และการปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2564 ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.7 ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

1.2 ประมาณการรายได้รัฐบาล

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 3,264,200 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรถอนคืนกรมศุลกากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คงเหลือรายได้สุทธิ จำนวน 2,777,000 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิที่กำหนดไว้ จำนวน 2,731,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 46,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7

1.3 นโยบายงบประมาณ วงเงิน และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจและประมาณการรายได้รัฐบาลตามข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ข้างต้น และเพื่อให้การจัดการรายจ่ายภาครัฐสามารถขับเคลื่อนภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายรัฐบาลได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานตามกฎหมาย จึงได้กำหนดนโยบายงบประมาณขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 523,000 ล้านบาท ทำให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,300,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่กำหนดไว้ 3,200,000 ล้านบาท จำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.1 โดยมีสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 3,300,000 ล้านบาท ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

ปีงบประมาณ 2563

รายการ

1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,200,000 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 200,000.00 ร้อ

  • สัดส่วนต่อ GDP

1.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 18.2

  • สัดส่วนต่องบประมาณ จำนวน 2,392,314.4 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 119,658.10 ร้อยละ 5.3

1.2 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 74.8

  • สัดส่วนต่องบประมาณ

1.3 รายจ่ายลงทุน จำนวน 62,709.5 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 62,709.50 ร้อยละ 100

  • สัดส่วนต่องบประมาณ

1.4 รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 1.9

  • สัดส่วนต่องบประมาณ

จำนวน 655,805.7 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 6,667.50 ร้อยละ 1

จำนวน 20.5

จำนวน 89,170.4 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 10,964.90 ร้อยละ 14

จำนวน 2.8

2.รายได้ จำนวน 2,731,000 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 181,000.00 ร้อยละ 7.1

  • สัดส่วนต่อ GDP จำนวน 15.5

3. วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 46,9000 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 19,000.00 ร้อยละ 4.2

  • สัดส่วนต่อ GDP

จำนวน 2.7

4. กรอบวงเงินกู้สูงสุดเพื่อชดเชยการขาดดุลตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ จำนวน 711,336.3 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 48,771.90 ร้อยละ 7.4

5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จำนวน 17,593,200 +เพิ่ม/-ลด จากปี 2562 จำนวน 704,000.00 ร้อยละ 4.2

ปีงบประมาณ 2564

1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 3,300,000.00 จำนวน 100,000.00

  • สัดส่วนต่อ GDP

1.1 รายจ่ายประจำ จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 17.9

  • สัดส่วนต่องบประมาณ จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 2,508,000.00 จำนวน 115,685.60 ร้อยละ 4.8

1.2 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 76

  • สัดส่วนต่องบประมาณ

1.3 รายจ่ายลงทุน จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 - จำนวน -62,709.50 ร้อยละ -100

  • สัดส่วนต่องบประมาณ

1.4 รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 -

  • สัดส่วนต่องบประมาณ

จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 693,000.00 จำนวน 37,194.30 ร้อยละ 5.7

จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 21

จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 99,000.00 จำนวน 9,829.60 ร้อยละ 11

จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 3

2.รายได้ จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 2,777,000.00 จำนวน 46,000.00 ร้อยละ 1.7

  • สัดส่วนต่อ GDP จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 15.1

3. วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 523,000.00 จำนวน 54,000.00 ร้อยละ 11.5

  • สัดส่วนต่อ GDP 2.8

4. กรอบวงเงินกู้สูงสุดเพื่อชดเชยการขาดดุลตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 739,200.00 จำนวน 27,863.70 ร้อยละ 3.9

5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จำนวน +เพิ่ม/-ลด จากปี 2563 18,444,700.00 จำนวน 851,500.00 ร้อยละ 4.8

หมายเหตุ : 1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,300,000 ล้านบาท เท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2564 – 2567) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 [เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2564 – 2567)]

2. งบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีจำนวนและสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

ข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน

2.1 การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ควรเป็นการดำเนินนโยบายการคลังที่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจที่อาจไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ได้อย่างทันท่วงที

2.2 การจัดทำงบประมาณควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความท้าทายมากขึ้นในระยะ 1 – 2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลให้แรงงานบางส่วนถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี และอาจไม่สมารถปรับตัวได้ดีดังเช่นอดีตที่ผ่านมาแม้เศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น

2.3 การจัดสรรเงินอุดหนุนให้ อปท. เป็นภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเงินอุดหนุนบางส่วนมีความซ้ำซ้อน จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาทบทวนเงินอุดหนุนสำหรับภารกิจที่มอบหมายให้ อปท. ดำเนินการแทนรัฐบาล รวมถึงการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกันเงินสำรองและการใช้จ่ายเงินสะสมของ อปท. ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ อปท. มีสภาพคล่องเกินอยู่ในระดับสูง สะท้อนให้เห็นได้จากเงินฝากของ อปท. ในระบบสถาบันการเงินที่มีจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 มกราคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ