ขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ข่าวการเมือง Tuesday January 28, 2020 18:18 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอดังนี้

1. อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ ปี 2556) ดังนี้

1.1 อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ ส่วนตะวันตก และภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก และค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งเส้นทาง ตั้งแต่ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รวมทั้งค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ โดยมีระยะเวลาเดินรถ 30 ปี นับจากเริ่มเปิดให้บริการโครงการฯ ส่วนตะวันออก เป็นต้นไป เอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยภาครัฐไม่มีภาระสนับสนุนทางการเงิน (Subsidy) แก่เอกชนในส่วนงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถและงานเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาของโครงการฯ

1.2 อนุมัติค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการฯ ส่วนตะวันตก ในกรอบวงเงิน 14,661 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ทั้งนี้ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 อย่างเคร่งครัด โดยกำหนดราคาเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ถ้ามี) ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและราคาตลาดของแต่ละพื้นที่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนอย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันการแสวงหากำไรจากราคาที่ดินเกินจริงเพื่อไม่ให้เกิดภาระค่าเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย

1.3 อนุมัติกรอบวงเงินสนับสนุนให้เอกชนตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินค่างานโยธาของโครงการฯ ส่วนตะวันตก จำนวน 96,012 ล้านบาท ตามที่ รฟม. ได้ดำเนินการทบทวนโดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่าและประหยัด และผ่านการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคม (คค.) แล้วเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562 โดยรัฐทยอยชำระคืนให้เอกชนหลังจากเปิดเดินรถทั้งเส้นทางแล้ว และแบ่งจ่ายเป็นรายปี กำหนดระยะเวลาแบ่งจ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ปี พร้อมดอกเบี้ย โดยใช้อัตราส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยตามความเห็นของ สงป. ทั้งนี้ ในกรณีที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เห็นควรให้ รฟม. พิจารณาแนวทางในการดำเนินการอย่างรอบด้านตามความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต่อไป

2. รับทราบหลักการขอบเขตและเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ตามมติคณะกรรมการ รฟม. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 และความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561

3. มอบหมายให้ รฟม. คค. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) ของโครงการฯ รับข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายฯ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้ดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

สาระสำคัญของเรื่อง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะของกรุงเทพมหานครระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ซึ่งอยู่ภายใต้แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region : M-MAP) โดยที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ไปแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 สำหรับในครั้งนี้เป็นการขออนุมัติการดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาของฝั่งตะวันตกและการบริหารจัดการการเดินรถและซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งระบบ ทั้งนี้ ภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1.1 ภาพรวมโครงการฯ

หัวข้อ สายสีส้มทั้งระบบ

ระยะทาง 35.9 กม. (ใต้ดิน 27 กม. + ยกระดับ 8.9 กม.)

สถานี 28 สถานี (21 สถานีใต้ดิน +7 สถานียกระดับ)

ระบบไฟฟ้า Heavy Rail Transit System (4 ตู้/ขบวน ในปีที่เปิด)

ผู้โดยสาร 439,736 คน/เที่ยว/วัน (ปี 69)

ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ* EIRR = ร้อยละ 19.06 (NPV = 107,564 ล้านบาท)

ผลตอบแทนด้านการเงิน* FIRR = ร้อยละ 0.40(NVP = -107,556 ล้านบาท)

การจัดทำรายงาน EIA จัดทำรายงาน EIA 2 เล่ม(ส่วนตะวันออกและส่วนตะวันตก)

การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน พื้นที่รวม 1,099 แปลง รวม 553 หลัง

มูลค่ารวม 24,286 ล้านบาท

เปิดบริการ เต็มรูปแบบ ปี 2569

หัวข้อ ส่วนตะวันออก

ระยะทาง 22.5 กม. (ใต้ดิน 13.6 กม. + ยกระดับ 8.9 กม.)

สถานี 17 สถานี (10 สถานีใต้ดิน +7 สถานียกระดับ)

ระบบไฟฟ้า Heavy Rail Transit System (4 ตู้/ขบวน ในปีที่เปิด)

ผู้โดยสาร 121,599 คน/เที่ยว/วัน (ปี 66)

ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ* EIRR = ร้อยละ 13.96(NPV = 15,185 ล้านบาท)

ผลตอบแทนด้านการเงิน* FIRR = ร้อยละ – 5.87(NVP = - 95,234 ล้านบาท)

การจัดทำรายงาน EIA คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบแล้ว

การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน พื้นที่รวม 594 แปลง

รวม 222 หลัง

มูลค่า 9,625 ล้านบาท

เปิดบริการ ปี 2566

หัวข้อ ส่วนตะวันตก

ระยะทาง 13.4 กม. (ใต้ดินตลอดสาย)

สถานี 11 สถานี (ใต้ดินตลอดสาย)

ระบบไฟฟ้า Heavy Rail Transit System (4 ตู้/ขบวน ในปีที่เปิด)

ผู้โดยสาร 439,736 คน/เที่ยว/วัน (ปี 69)

ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ* EIRR = ร้อยละ 19.45 (NPV = 67,640 ล้านบาท)

ผลตอบแทนด้านการเงิน* FIRR = ร้อยละ 0.00 (NVP = - 60,714 ล้านบาท)

การจัดทำรายงาน EIA อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นของ คชก.

การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน พื้นที่รวม 505 แปลง (41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว.) รวม 331 หลัง

มูลค่า 14,661 ล้านบาท

เปิดบริการ ปี 2569

ที่มา : รฟม.

หมายเหตุ: * มาจากผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเศรษฐกิจและการเงินระยะเวลา 30 ปี ที่อัตราคิดลด ร้อยละ 12 และร้อยละ 5 ตามลำดับ บนสมมติฐาน MRT Assessment Standardization (ยังไม่รวมกรณีจำกัดอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 12 สถานี) ทั้งนี้ กรณีจำกัดอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 12 สถานี IRR ของทั้งโครงการฯ คือ ร้อยละ 0.40 (NPV = - 107,556 ล้านบาท) ในขณะที่ EIRR คือ ร้อยละ – 2.26 (NPV = 107,564 ล้านบาท)

1.2 มูลค่าโครงการฯ

รายการ ส่วนตะวันออก

การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน/ค่าจ้างสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 9,625 ล้านบาท (เงินงบประมาณ)

การก่อสร้างงานโยธา/ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโยธา 82,907 ล้านบาท(เงินกู้ภายในประเทศ)

งานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งโครงการ/ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ 32,116 ล้านบาท (เงินลงทุนจากภาคเอกชน)

รายการ ส่วนตะวันตก

การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน/ค่าจ้างสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 14,661 ล้านบาท (เงินงบประมาณ)

การก่อสร้างงานโยธา/ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโยธา 96,012 ล้านบาท* (เงินงบประมาณ)

งานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งโครงการ/ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ 32,116 ล้านบาท (เงินลงทุนจากภาคเอกชน)

รายการ รวม

การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน/ค่าจ้างสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 24,286 ล้านบาท

การก่อสร้างงานโยธา/ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโยธา 178,919 ล้านบาท

งานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งโครงการ/ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ 32,116 ล้านบาท

รวม ส่วนตะวันออก และ ส่วนตะวันตก 235,321 ล้านบาท

1.3 รูปแบบการลงทุนโครงการฯ

รายการ / รูปแบบการลงทุน

การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ส่วนตะวันออก

  • รัฐเป็นผู้รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับโครงการฯ ทั้งส่วนตะวันตกและตะวันออก

ส่วนตะวันตก

PPP Net Cost โดยแบ่งการร่วมทุน ดังนี้

  • ภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ ส่วนตะวันตก
  • ภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก โดยภาครัฐจะทยอยจ่ายคืนหลังเปิดให้บริการเดินรถ เป็นระยะเวลาไม่ต่ำว่า 10 ปี (อัตราคิดลดร้อยละ 5)

การก่อสร้างงานโยธา

ส่วนตะวันออก

  • ให้ กค. จัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม และให้ สงป. พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณให้เป็นรายได้แก่ รฟม. ให้เพียงพอต่อการดำเนินการ การบริหารงาน การลงทุน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และการชำระหนี้แก่แหล่งเงินกู้ทั้งในส่วนของเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง

ส่วนตะวันตก

PPP Net Cost โดยแบ่งการร่วมทุน ดังนี้

  • ภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ

ส่วนตะวันตก

  • ภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก โดยภาครัฐจะทยอยจ่ายคืนหลังเปิดให้บริการเดินรถ เป็นระยะเวลาไม่ต่ำว่า 10 ปี (อัตราคิดลดร้อยละ 5)

งานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้าบริหาร การเดินรถ และซ่อมบำรุงรักษาทั้งโครงการ

  • ภาคเอกชนลงทุนค่างานระบบไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งเส้นทาง ระยะเวลาเดินรถ 30 ปี นับจากเริ่มเปิดให้บริการโครงการฯ ส่วนตะวันออก เป็นต้นไป และเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยภาครัฐไม่มีภาระสนับสนุนทางการเงิน (Subsidy) แก่เอกชนในส่วนงานนี้
1.4 การเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ

สถานีโครงการฯ โครงการรถไฟฟ้า

1. บางขุนนนท์ สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช สายสีน้ำเงิน

2. ศิริราช สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช

3. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะวงแหวนกาญจนาภิเษก)

4. ยมราช สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง

5. ราชเทวี สายสีเขียวอ่อน ช่วงหมอชิต-แบริ่ง

6. ราชปรารภ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวหมากแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

7. ศูนย์วัฒนธรรมฯ สายสีน้ำเงิน

8. วัดพระราม 9 สายสีเทา ช่วงวัชรพล – ทองหล่อ

9. ลำสาลี สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรงสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม)

10. มีนบุรี สายสีชมพู

สถานีโครงการฯ หน่วยงาน

1. บางขุนนนท์ รฟท. รฟม.

2. ศิริราช รฟท.

3. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย รฟม.

4. ยมราช รฟท.

5. ราชเทวี กทม.

6. ราชปรารภ รฟท. รฟท.

7. ศูนย์วัฒนธรรมฯ รฟม.

8. วัดพระราม 9 -

9. ลำสาลี รฟม.

10. มีนบุรี รฟม.

สถานีโครงการฯ สถานีเชื่อมต่อ

1. บางขุนนนท์ บางขุนนนท์

2. ศิริราช ศิริราช

3. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านฟ้า

4. ยมราช ยมราช

5. ราชเทวี ราชเทวี

6. ราชปรารภ ราชปรารภ

7. ศูนย์วัฒนธรรมฯ ศูนย์วัฒนธรรมฯ

8. วัดพระราม 9 พระราม 9

9. ลำสาลี ลำสาลี

10. มีนบุรี มีนบุรี

สถานีโครงการฯ ปีเปิดให้บริการ

1. บางขุนนนท์ 2565 2563

2. ศิริราช 2565

3. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 2569

4. ยมราช 2567

5. ราชเทวี เปิดให้บริการแล้ว

6. ราชปรารภ 2567 เปิดให้บริการแล้ว

7. ศูนย์วัฒนธรรมฯ เปิดให้บริการแล้ว

8. วัดพระราม 9 อนาคต

9. ลำสาลี 2564 2569

10. มีนบุรี 2564 2. คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในรูปแบบ PPP Net Cost มีระยะเวลาเดินรถ 30 ปีนับจากเริ่มเปิดให้บริการโครงการฯ ส่วนตะวันออกเป็นต้นไป โดยเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งเส้นทาง ซึ่งมีมูลค่ารวม 32,116 ล้านบาท รวมทั้งเป็น ผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยภาครัฐไม่มีภาระสนับสนุนทางการเงินแก่เอกชนในส่วนงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถและงานเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มกราคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ