แต่งตั้ง

ข่าวการเมือง Thursday August 13, 2020 20:10 —มติคณะรัฐมนตรี

1. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ(กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสมชัย อัศวสุดสาคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

2. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 237/2563 เรื่อง มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 161/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน และปฏิบัติราชการแทนกัน ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 นั้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 161/2562 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้

รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี

1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้

รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

1.1 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

1.2 นายวิษณุ เครืองาม

1.3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล

1.4 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

1.5 นายดอน ปรมัตถ์วินัย

1.6 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน

ส่วนที่ 2 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้

ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือพ้นจากตำแหน่ง ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับที่ / รองนายกรัฐมนตรี

1 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามลำดับ

1. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

2. นายอนุทินชาญวีรกูล

2 นายวิษณุ เครืองาม

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามลำดับ

1. นายอนุทินชาญวีรกูล

2. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามลำดับ

1. นายดอน ปรมัตถ์วินัย

2. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

4 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามลำดับ

1. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

2. นายดอน ปรมัตถ์วินัย

5 นายดอน ปรมัตถ์วินัย

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามลำดับ

1. นายวิษณุ เครืองาม

2. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

6 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามลำดับ

1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

2. นายวิษณุ เครืองาม

ส่วนที่ 3 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี กรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง

ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มี

ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายอนุชา นาคาศัย

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามลำดับ

1. นายวิษณุ เครืองาม

2. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

3. เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 238/2563 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 196/2562 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2562 และ ที่ 382/2562 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี นั้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ที่ 196/2562 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2562 และ ที่ 382/2562 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 นิยาม

ในคำสั่งนี้

“กำกับการบริหารราชการ” หมายความว่า กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการ มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ

“สั่งและปฏิบัติราชการ” หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการ หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง

“กำกับดูแล” หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ

ส่วนที่ 2

1.รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

1.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1.1.1กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

1.1.2กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.1.3กระทรวงมหาดไทย

1.1.4กระทรวงแรงงาน

1.2การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

-สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

1.3การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1.3.1สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

1.3.2สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

1.3.3ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.4การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชน ดังนี้

-สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)

1.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 – ข้อ 1.4 ยกเว้น

1.5.1เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย

1.5.2การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์

1.5.3การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ

1.5.4การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล

1.5.5การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี

1.5.6 การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ

1.5.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม

ส่วนที่ 3

2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)

2.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

2.1.1กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ)

2.1.2กระทรวงวัฒนธรรม

2.1.3กระทรวงศึกษาธิการ

2.1.4กระทรวงอุตสาหกรรม

2.1.5 กรมประชาสัมพันธ์

2.1.6สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

2.1.7สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

2.1.8สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)

2.2การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่ง และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

2.2.1สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

2.2.2สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

2.2.3สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

2.2.4สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

2.2.5สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

2.2.6สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

2.2.7สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

2.3 การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี

2.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 - ข้อ 2.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.5.1 –

ข้อ 1.5.7

ส่วนที่ 4

3. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)

3.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

3.1.1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

3.1.2กระทรวงคมนาคม

3.1.3กระทรวงสาธารณสุข

3.2การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้

3.2.1สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

3.2.2 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

3.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 - ข้อ 3.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี ในข้อ 1.5.1 - ข้อ 1.5.7

ส่วนที่ 5

4. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)

4.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

4.1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

4.1.2กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

4.1.3กระทรวงพาณิชย์

4.2 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.5.1 - ข้อ 1.5.7

ส่วนที่ 6

5. รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)

5.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

5.1.1กระทรวงการต่างประเทศ

5.1.2 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

5.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้

5.2.1สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

5.2.2สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

5.3ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 – ข้อ 5.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี ในข้อ 1.5.1 - ข้อ 1.5.7

ส่วนที่ 7

6. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)

6.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

6.1.1 กระทรวงการคลัง

6.1.2 กระทรวงพลังงาน

6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

6.2.1 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

6.2.2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

6.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้

6.3.1สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

6.3.2สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

6.3.3สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

6.3.4สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

6.4ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1 – ข้อ 6.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.5.1 - ข้อ 1.5.7

ส่วนที่ 8

7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย)

7.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

7.1.1กรมประชาสัมพันธ์

7.1.2สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

7.1.3สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

7.1.4สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)

7.2การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

-บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

7.3การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้

7.3.1 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

7.3.2สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

7.3.3สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ส่วนที่ 9

8. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้

8.1การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น

8.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ

8.3การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ

8.4การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ

9.รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ

10.ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน

11.ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ

12. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม

13. ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้

รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

4. เรื่อง การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 239/2563 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มอบหมาย และมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 182/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ 207/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 และ ที่ 129/2563 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี และคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 1/2563 ลงวันที่ 2 มกราคม 2563 และ ที่ 39/2563 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม

โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ที่ 182/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ 207/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ที่ 1/2563 ลงวันที่ 2 มกราคม 2563 ที่ 39/2563 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 และ ที่ 129/2563 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

ส่วนที่ 1

1. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

1.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

1.1.1คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

1.1.2คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.1.3คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

1.1.4คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก

1.1.5คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

1.1.6คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ

1.1.7คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

1.2การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1.2.1คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

1.2.2คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ

ส่วนที่ 2

2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)

2.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

2.1.1คณะกรรมการกฤษฎีกา

2.1.2คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

2.1.3คณะกรรมการคดีพิเศษ

2.1.4คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ

2.1.5คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

2.1.6สภาลูกเสือไทย

2.2การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

2.2.1คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ

2.2.2คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ

2.2.3คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

2.2.4คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

ส่วนที่ 3

3. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)

3.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

3.1.1คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ

3.1.2คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี

3.1.3คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

3.1.4คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

3.1.5คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

-คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์

ส่วนที่ 4

4. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)

4.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

4.1.1คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ

4.1.2คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ

4.1.3คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

4.1.4คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

4.2การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

4.2.1คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ

4.2.2คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

4.2.3คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ

ส่วนที่ 5

5. รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)

5.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

5.1.1คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ

5.1.2สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

5.1.3คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

5.2การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

5.2.1คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ

5.2.2คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ส่วนที่ 6

6. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)

6.1การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

6.1.1คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ

6.1.2คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

6.2การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

6.2.1คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

6.2.2คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

6.2.3คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ส่วนที่ 7

7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย)

  • การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรี ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
  • คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ส่วนที่ 8

8. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน

9. ให้รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ

ในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสม

ในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และ

การบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน

10.ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

5. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 182/2562

ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ 207/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 และ ที่ 129/2563 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 342/2562 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ 196/2563 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และ ที่ 214/2563 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ที่ 182/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ 207/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ที่ 342/2562 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ 129/2563 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ที่ 196/2563 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และ ที่ 214/2563 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

ส่วนที่ 1

1. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

1.1การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

1.1.1 คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

1.1.2คณะกรรมการกำลังพลสำรอง

1.1.3คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย

1.1.4คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ

1.1.5คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ

1.1.6คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ

1.1.7คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

1.1.8คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน

1.1.9คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ

1.1.10คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

1.1.11คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ

1.1.12คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

1.2การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

1.2.1รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

1.2.2รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

1.2.3รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

1.2.4รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1.2.5กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

1.3การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1.3.1คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

1.3.2คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน

1.3.3คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย

1.3.4คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย

1.3.5คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ

1.3.6คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

1.3.7คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน

1.3.8คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

1.3.9 คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ

1.3.10คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ

1.3.11คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ

1.3.12คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

1.3.13คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ

1.3.14คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ

1.3.15คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า

1.3.16คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

1.3.17คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก

1.3.18คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ

1.3.19คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง

1.3.20คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ

1.3.21คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ

1.3.22คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

1.4การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

-กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค

ส่วนที่ 2

2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)

2.1การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

2.1.1 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.1.2คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

2.1.3คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

2.1.4คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน

2.1.5คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม

2.1.6คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง

2.1.7คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

2.1.8คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

2.1.9คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

2.1.10คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

2.1.11คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย

2.1.12คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ

2.2การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

2.2.1รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

2.2.2รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

2.2.3กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและฃกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

2.3การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

2.3.1คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

2.3.2คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์

2.3.3คณะกรรมการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน

2.3.4คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ

2.3.5คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม

2.3.6คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพนิรนาม

2.3.7คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ

2.3.8คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

2.3.9คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ

2.3.10คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน

2.4การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ

ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

2.4.1กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

2.4.2กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค

ส่วนที่ 3

3. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)

3.1การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

3.1.1คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ

3.1.2คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ

3.1.3คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ

3.1.4คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ

3.1.5คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

3.2การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

3.2.1รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก

3.2.2อุปนายกสภาลูกเสือไทย

3.2.3กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

3.3การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

3.3.1คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ

3.3.2คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ

3.4การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

3.4.1รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ

3.4.2รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

ขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

3.4.3รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

3.4.4 กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน

3.4.5กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

3.4.6กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค

ส่วนที่ 4

4. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)

4.1การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

4.1.1คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

4.1.2คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ

4.1.3คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว

4.1.4คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

4.1.5 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

4.2การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

4.2.1รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

4.2.2รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

4.2.3กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

4.3การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

4.3.1คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ

4.3.2คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ

4.3.3คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ

4.3.4คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน

4.3.5คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร

4.4การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

4.4.1รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ

4.4.2รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

4.4.3รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ

4.4.4รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

4.4.5กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

4.4.6กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค

ส่วนที่ 5

5. รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)

5.1การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

5.1.1รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

5.1.2กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

5.2การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

5.2.1คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ

5.2.2คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ

5.2.3คณะกรรมการนโยบายกองทุนตั้งตัวได้

5.2.4คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

5.3การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

5.3.1รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

5.3.2รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ

5.3.3รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ

5.3.4กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

5.3.5กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค

ส่วนที่ 6

6. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)

6.1การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

6.1.1คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

6.1.2คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

6.2การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

6.2.1รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

6.2.2รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

6.2.3รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

6.2.4รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถ

ในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย

6.2.5รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

6.3การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ

ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

6.3.1คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ

6.3.2คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

6.3.3คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ

6.3.4คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ

ส่วนที่ 7

7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย)

7.1 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

  • คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

7.2การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

7.2.1รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

7.2.2รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม

7.2.3กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

7.2.4กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก

7.2.5กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

7.2.6กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

7.3การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

7.3.1คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี

7.3.2 คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ

7.3.3 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย

7.4การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

7.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ

7.4.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

7.4.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์

7.4.4 รองประธานกรรมการคนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ

7.4.5 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

7.4.6 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

7.4.7รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการ

เพื่อสังคมแห่งชาติ

7.4.8รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ

7.4.9 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม

7.4.10รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มี

โฉนดชุมชน

7.4.11กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

7.4.12กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน

ส่วนที่ 8

8. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน

9. ให้รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่นหรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการดังกล่าวโดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้งการไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

6. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 241/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 168/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 นั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 168/2562 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้

1. พื้นที่

1.1 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1)เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด

ภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง

2) เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา

3) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์

4) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่

1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1)เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร

2) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา

3) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี

1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1)เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี

2) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร

3) เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน

1.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล

2)เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว

3) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี

1.5 รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด

2) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์

1.6 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1)เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ

2) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง

3) เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคายจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี

2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย

3. ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี

4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป

5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย

6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

7. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 242 /2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน

โดยที่การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นสิ่งที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการอยู่แล้วตามกรอบอำนาจในกฎหมาย กำลังงบประมาณความพร้อมของบุคลากร และความต้องการของประชาชน แต่เนื่องจากต่อมาได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด – 19) เมื่อปลาย พ.ศ. 2562 ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบกระเทือนโดยตรงต่อชีวิต และสุขภาพอนามัยของผู้คนทั่วโลกเกือบ 20 ล้านคนแล้ว ยังเชื่อมโยงไปกระทบถึงการประกอบอาชีพการงาน และการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ไม่ได้เจ็บป่วยจากโรคระบาดดังกล่าวอย่างกว้างขวางอีกด้วยแม้ประเทศไทยจะบริหารจัดการในส่วนของระบบสาธารณสุขได้ผลดีเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ แต่ก็ได้รับผลกระทบที่แผ่ขยายและเชื่อมโยงไปถึงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และไม่เคยปรากฏมาก่อนทั้งในภาพรวมของประเทศ และความเดือดร้อนของประชาชนในสังคมเมืองและสังคมชนบทเป็นรายบุคคล นอกจากนั้นยังมีผู้ได้รับความทุกข์ยากเพิ่มขึ้นจากความลำบากยากจนหรือการป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บอื่นอยู่ก่อนแล้ว การเข้าไม่ถึงบริการความช่วยเหลือจากรัฐ การประสบภัยธรรมชาติ หรือการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นจึงสมควรจัดให้มีการติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระดับพื้นที่โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่แต่ละจังหวัดอย่างเป็นระบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

1.ให้มีคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันโดยมีองค์ประกอบ

หน้าที่และอำนาจ ดังนี้

1.1องค์ประกอบ

(1)นายกรัฐมนตรีประธานกรรมการ

(2)รองนายกรัฐมนตรีกรรมการ

(3)รัฐมนตรีทุกคนกรรมการ

(4)ปลัดกระทรวงมหาดไทยกรรมการ และเลขานุการร่วม

(5)ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรรมการ และเลขานุการร่วม

(6)เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติกรรมการ และเลขานุการร่วม

ให้เลขานุการร่วมแต่งตั้งข้าราชการจำนวนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยเลขานุการตามความจำเป็น

ในกรณีมีปัญหาหรือข้อพิจารณาเกี่ยวกับพื้นที่ใดเป็นการเฉพาะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการอาจเรียกประชุมเฉพาะรองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง รัฐมนตรีที่มอบหมายให้รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดที่เกี่ยวข้องและกรรมการและเลขานุการร่วมก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่ามติคณะกรรมการในวรรคนี้เป็นมติคณะกรรมการอำนวยการแนวคิดขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน และให้เลขานุการรายงานคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อทราบในการประชุมครั้งต่อไป

1.2หน้าที่และอำนาจ

กำกับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์

2.ในระดับพื้นที่เขตตรวจราชการ ให้รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคเป็นผู้รับผิดชอบแนวคิดขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในเขตตรวจราชการ

ที่เกี่ยวข้อง

3.ในระดับพื้นที่จังหวัด นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รัฐมนตรีคนหนึ่งรับผิดชอบในระดับพื้นที่จังหวัดตามที่กำหนดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการคำสั่งนี้

การรับผิดชอบในระดับพื้นที่จังหวัด หมายถึงการให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการขับเคลื่อนไทย

ไปด้วยกันระดับจังหวัดตามข้อ 4 การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการดังกล่าวและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่เกินศักยภาพของคณะกรรมการนั้นตามที่คณะกรรมการรายงานให้ทราบ ทั้งนี้

ในกรณีเป็นเรื่องที่สำคัญให้รัฐมนตรีแจ้งปัญหาหรือผลการดำเนินการด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรให้

รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเขตตรวจราชการที่เกี่ยวข้องทราบและหากเห็นว่าเป็นเรื่องนโยบาย เรื่องเกินศักยภาพของหน่วยงาน เรื่องที่ควรใช้เป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาในจังหวัดอื่น หรือเป็นเรื่องที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงในอนาคตให้รายงานนายกรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการอำนวยการตามข้อ 1 วรรคหนึ่งหรือวรรคสามแล้วแต่กรณี

ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยในการติดตาม รับฟังและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบได้

4.ให้มี คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดในแต่ละจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร โดยมีองค์ประกอบหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

4.1 องค์ประกอบ

(1)ผู้ว่าราชการจังหวัดประธานกรรมการ

(2)รองผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคนกรรมการ

(3)ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกรรมการ

(4)รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกรรมการ

(5)ผู้แทนส่วนราชการในจังหวัดจำนวนไม่เกิน4 คนกรรมการ

(6)ผู้แทนหน่วยทหารในจังหวัดจำนวน 1 คนกรรมการ

(7) ผู้แทนรัฐวิสาหกิจในจังหวัดจำนวน 1 คนกรรมการ

(8)ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 1 คนกรรมการ

(9)ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด

จำนวนไม่เกิน 2 คนกรรมการ

(10)ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนในจังหวัดจำนวน 1 คนกรรมการ

(11)ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอน

ในจังหวัดจำนวน 1 คนกรรมการ

(12) ผู้แทนภาคประชาชนหรือประชาสังคม

ในจังหวัดจำนวน 1 คนกรรมการ

(13)ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน

ในจังหวัดจำนวน 1 คนกรรมการ

(14)ผู้แทนคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด

จำนวน 1 คนกรรมการ

(15)ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ อันจะยังประโยชน์

แก่การพัฒนาและการแก้ปัญหาในจังหวัด

จำนวนไม่เกิน 3 คนกรรมการ

(16)ปลัดจังหวัดกรรมการ และเลขานุการร่วม

(17) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกรรมการ และเลขานุการร่วม

กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานตาม (5) ถึง (14) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสาน

ขอคำแนะนำรายชื่อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรืออาจแต่งตั้งตามที่เห็นสมควรรวมทั้งการปรับปรุงรายชื่อ ตามความเหมาะสมโดยกรรมการผู้นั้นต้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานหรือมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ในกรณีที่จังหวัดใดไม่มีหน่วยงานตามที่กำหนดหรือกรรมการว่างลงหรือยังไม่อาจแต่งตั้งกรรมการในลำดับใดให้ครบจำนวนได้ ให้กรรมการเท่าที่มีอยู่เป็นคณะกรรมการตามข้อนี้

4.2หน้าที่และอำนาจ

(1)ติดตาม รับฟัง และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนในจังหวัด และจัดให้มีการตอบสนองความต้องการของประชาชนในจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และรวดเร็ว

ทันเหตุการณ์ในกรณีที่เกินขีดความสามารถหรือศักยภาพของจังหวัด ให้รายงานรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่จังหวัด

(2)บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ

เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดชีวิตวิถีใหม่และการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน

(3)สร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ให้เห็นความจำเป็นในการร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ การสร้างความสามัคคีปรองดอง รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความสำคัญของสถาบันหลักของชาติในฐานะศูนย์รวมจิตใจของประชาชน

(4)ประสานการปฏิบัติและติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชน

(5)รายงานผลการดำเนินการให้กระทรวงมหาดไทยทราบเป็นระยะตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

(6)ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดมอบหมาย

4.3ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดแล้วส่งสำเนาคำสั่งให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเพื่อรายงานนายกรัฐมนตรีผ่านรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

4.4ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหารือกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน

5.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดคณะแรก

ให้แล้วเสร็จและจัดให้มีการประชุมครั้งแรกภายใน 30 วันโดยกำหนดประเด็นกลุ่มปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนหรือความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด แนวทาง แผนและขั้นตอนการดำเนินการ ขีดความสามารถของจังหวัด และแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันและการระดมทรัพยากรของภาคส่วนต่าง ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหา

ในการดำเนินการของคณะกรรมการดังกล่าว ให้คำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ความเร่งด่วนของปัญหา ความต้องการของประชาชน และข้อเสนอแนะของสมาชิกรัฐสภาด้วย

ให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการทุกกระทรวงในเขตพื้นที่ตรวจ ราชการที่เกี่ยวข้องให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ และประสานงานกับหน่วยราชการที่ตนสังกัดเพื่อช่วยในการสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานระดับจังหวัดได้

6.สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยเบิกจ่ายจากกระทรวงมหาดไทย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

8. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2563 เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ

จากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดทั้งการปิดสถานที่และการจำกัดการเดินทางทั้งภายในและระหว่างประเทศส่งผลให้กิจกรรมทาง เศรษฐกิจต้องหยุดชั่วคราวโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 แม้ว่าภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดภายในประเทศได้ ทำให้สามารถเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและการปิดสถานที่ต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มค่อย ๆ กลับมาฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจในหลายสาขายังคงได้รับผลกระทบรุนแรงโดยเฉพาะสาขาท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดสภาพคล่องและภาระหนี้สินของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคการจ้างงาน ดังจะเห็นได้จากแรงงานบางกลุ่มที่ถูกเลิกจ้างและแรงงานอีกจำนวนมากที่มีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างในระยะต่อไปหากสถานการณ์ศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างล่าช้า ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาทางศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และสามารถบรรเทาผลกระทบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาครัฐ และภาคเอกชนอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

1. ให้จัดตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19)” เรียกโดยย่อว่า “ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ” ขึ้นในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ในทำเนียบรัฐบาลหรืสถานที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

2. แต่งตั้ง "คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

2.1 องค์ประกอบ

(1) นายกรัฐมนตรีประธานกรรมการ

(2) รองนายกรัฐมนตรีกรรมการ

(3) รัฐมนตรีว่การกระทรวงการคลังกรรมการ

(4) รัฐมนตรีว่การกระทรวงการต่างประเทศกรรมการ

(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากรรมการ

(6) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรรมการ

(7) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกรรมการ

(8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อศรษฐกิจและสังคม กรรมการ

(9) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กรรมการ

(10) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกรรมการ(11) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกรรมการ

(12) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกรรมการ

(13) เลขาธิการนายกรัฐมนตรีกรรมการ

(14) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกรรมการ

(15) ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกรรมการ

(16) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกรรมการ

(17) ผู้แทนสมาคมธนาคารไทยกรรมการ

(18) นายกานต์ คฤหเดชกรรมการ

(19) นายชาติศิริ โสภณพนิชกรรมการ

(20) นายไพรินทร์ ชูโชติถาวรกรรมการ

(21) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกรรมการ และเลขานุการ

(22) รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

2.2 หน้าที่และอำนาจ

(1) จัดทำข้อเสนอและกรอบแนวทางการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็น

สองระยะ ประกอบด้วย (1.1) ระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติด

เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (1.2) ระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อยกระดับศักยภาพและวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตภายหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง

(2) สั่งการส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชน ให้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่กำหนด

(3) กำกับดูแล ควบคุม และติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ

(4) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชน โดยประธานกรรมการอาจมอบหมายผู้ที่เหมาะสมทำหน้าที่ผู้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ในนามของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ

(5) จัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ ให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการตามที่เห็นสมควร

(6) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

(7) เชิญบุคคลเข้าร่วมประชุมชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร หรือขอเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานหรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามคำสั่งนี้

(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

2.3 เพื่อให้มีโครงสร้างและกลไกการบริหารเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินมาตรการของหน่วยงานต่าง ๆ และให้มีคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย

(1) คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อยและขนาดย่อม จัดทำรายละเอียดข้อเสนอแนะและแนวทางการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการจ้างงาน เร่งรัดการลงทุนและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(2) คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อจัดทำรายละเอียดข้อเสนอแนะและแนวทางการดำเนินมาตรการในระยะยาว เพื่อยกระดับศักยภาพและวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตภายหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง

(3) คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อมูลเศรษฐกิจรายสาขา เพื่อสนับสนุนด้านข้อมูลและรายละเอียดข้อเสนอแนะมาตรการเศรษฐกิจในสาขาต่าง ๆ

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่แต่งตั้งตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 หรือตามระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 27/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ

ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2563 เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 นั้น

เพื่อขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเร่งรัดติดตามการดำเนินมาตรการของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2.2 (6) และข้อ 2.3 ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2563 เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

1. องค์ประกอบ

1.1 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานกรรมการ

1.2 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรรมการ

1.3 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกรรมการ

1.4 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกรรมการ

1.5 เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกรรมการ

1.6 ปลัดกระทรวงการคลังกรรมการ

1.7 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกรรมการ

1.8 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากรรมการ

1.9 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรรมการ

1.10 ปลัดกระทรวงคมนาคมกรรมการ

1.11 ปลัดกระทรวงพาณิชย์กรรมการ

1.12 ปลัดกระทรวงมหาดไทยกรรมการ

1.13 ปลัดกระทรวงแรงงานกรรมการ

1.14 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกรรมการ

1.15 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกรรมการ

1.16 รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกรรมการ

ที่ได้รับมอบหมายและเลขานุการ

1.17 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ

1.18 ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ

2. หน้าที่และอำนาจ

2.1 ขับเคลื่อนและเร่งรัดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับนโยบาย แนวทาง และมาตรการรัฐบาลไปปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลบรรลุผลสำเร็จ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล

2.2 กลั่นกรองและเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจถึงแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการภายใต้กรอบการบริหารเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

2.3 ติดตามและประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการตามกรอบการบริหารเศรษฐกิจ และรายงานเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ

2.4 ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์การต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ หน่วยงานหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ส่งเอกสาร ข้อมูล ให้ความเห็น หรือ การอื่นใดที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ

2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

2.6 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจมอบหมาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

9. เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เสนอให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี จำนวน 14 ราย ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งหนึ่งปี โดยลำดับที่ 1 - 4 ในวันที่ 12 สิงหาคม 2563 ลำดับที่ 5 – 10 ในวันที่ 19 สิงหาคม 2563 และลำดับที่ 11 – 14 ในวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ ดังนี้

1. นายประสาน หวังรัตนปราณี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

2. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ

3. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

4. นายนพดล พลเสน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

6. นายสากล ม่วงศิริ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

7. นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม

8. นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์

9. นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม

10. นายสำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข

11. นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

12. พลตำรวจโท ณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย

13. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม

14. นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ลำดับที่ 1 - 4 ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2563 ลำดับที่ 5 – 10 ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2563 และลำดับที่ 11 – 14 ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2563

10. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ครั้งที่ 2)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ

11. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2563 ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ตามที่สำนักงาน กปร. เสนอ

12. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา แทนตำแหน่งที่ว่าง

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายประยูร ดำรงชิตานนท์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา แทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง(นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

14. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

1) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

2) นายวิษณุ เครืองาม

3) นายอนุทิน ชาญวีรกูล

4) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

5) นายดอน ปรมัตถ์วินัย

6) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 สิงหาคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ