สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 มิถุนายน 2564

ข่าวการเมือง Tuesday June 1, 2021 17:49 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

		วันนี้ (1 มิถุนายน 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า                     ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย


1. 	เรื่อง 	ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิ 				(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2558)
2. 	เรื่อง 	ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
จังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้						ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558)
		3. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาให้นำบทบัญญัติภายใต้มาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่ง					พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ					วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3)              				พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. ....
4. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม					การเรียนรู้ พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ
5. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจร
ทางบก พ.ศ. 2522
6. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

7. 	เรื่อง 	ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
ณ เดือนเมษายน 2564
8. 	เรื่อง 	รายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
9. 	เรื่อง 	รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง				พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภา					ผู้แทนราษฎร
10. 	เรื่อง 	การประกาศวันจัดประชุมและนิทรรศการแห่งชาติให้เป็นวันสำคัญของชาติ
11. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการ					พัฒนาและขยายสื่อดีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ของคณะกรรมาธิการ					การพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และ					ผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
12. 	เรื่อง 	สรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมต่อข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ					ของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่				ภาคใต้
13. 	เรื่อง 	ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง 				รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม				สามสนามบิน ภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
14. 	เรื่อง 	ขออนุมัติการขอรับการอุดหนุนเงินทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยานในการ					ดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบินจากสถานการณ์การ					แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ระยะที่ 3
15. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยทางถนนและ					คมนาคมของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
16. 	เรื่อง 	สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนเมษายน 2564
17. 	เรื่อง 	ผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564
18. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุม
ครั้งที่ 17/2564 และครั้งที่ 18/2564
ต่างประเทศ

19. 	เรื่อง 	ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 25 การประชุม					รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 7 และ				การประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
20. 	เรื่อง 	ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 1 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง					ผ่านระบบการประชุมทางไกล
21.  	เรื่อง  	ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกองทัพสิงคโปร์กับกองทัพไทย ว่าด้วยการส่งชุด					ปฏิบัติงานไปปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์ข่าวสารการต่อต้านการก่อการร้ายประจำ					ภูมิภาค ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
22.  	เรื่อง  	ขอความเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันสาขาบริการโทรคมนาคมของไทยรอบอุรุกวัย				ฉบับปรับปรุง ภายใต้องค์การการค้าโลก
23.  	เรื่อง  	ร่างปฏิญญาทางการเมืองเรื่องเอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2564 ในการประชุม					ระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องเอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2564
24.  	เรื่อง  	ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-
ล้านช้าง ครั้งที่ 6
25.  	เรื่อง  	การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ				อาเซียน-จีน สมัยพิเศษ
26.  	เรื่อง  	ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2564 และ					ร่างแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้อง

แต่งตั้ง

27. 	เรื่อง 	แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
28. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 				(สำนักนายกรัฐมนตรี)
29. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
30. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์			แห่งชาติ
31. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
32. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์				ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
33. 	เรื่อง 	แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การ				ส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
35. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศ			ไทย
34. 	เรื่อง 	แต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
36. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
37. 	เรื่อง 	แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน				คุณวุฒิวิชาชีพ


สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396





















?
กฎหมาย


1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2558)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
 		1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิ               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ มท. แก้ไขบทอาศัยอำนาจในร่างประกาศ                 ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		2. ให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
 		สาระสำคัญของร่างประกาศ
		เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2558 เพื่อแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและเพิ่มเติมบัญชีท้ายของกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิดังกล่าว โดยแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณหมายเลข 2.3 โดยยกเว้นให้สามารถดำเนินการหรือประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 11 (3) การทำน้ำตาลทรายดิบหรือน้ำตาลทรายขาว และ             (4) การทำน้ำตาลทรายดิบหรือน้ำตาลทรายขาวให้บริสุทธิ์ โรงงานลำดับที่ 88 (2) การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนซึ่งไม่ใช่ถ่านหินหรือนิวเคลียร์ในการผลิต และโรงงานลำดับที่ 102 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตหรือจำหน่ายไอน้ำ (Steam Generating) ได้ในอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร และเพิ่มบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2558 โดยให้สามารถดำเนินการหรือประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 11               (3) และ (4) โรงงานลำดับที่ 88 (2) ซึ่งไม่ใช้ถ่านหินหรือนิวเคลียร์ในการผลิต และโรงงานลำดับที่ 102 ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) เฉพาะบริเวณหมายเลข 2.3 ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบกิจการโรงงานดำเนินการได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..)              พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558)
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
 		1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ มท. แก้ไขบทอาศัยอำนาจในร่างประกาศ                 ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		2. ให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		สาระสำคัญของร่างประกาศ
		1. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558 เพื่อกำหนดให้ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ข้อ 8 (1) ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูง ยกเว้นในท้องที่ตำบลหัวนา อำเภอเขมราฐ และตำบลนาดี อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดพื้นที่แหล่ง             หินอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 24 แต่ไม่หมายความรวมถึงโครงสร้างสำหรับใช้ในการรับส่งสัญญาณวิทยุ สัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณสื่อสารทุกชนิด
 		2. ยกเลิกความในหมายเหตุ โรงงานลำดับที่ 3 (2) ของบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานีฯ
 		ทั้งนี้ เพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการโรงงานดำเนินการได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการ             ผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้นำบทบัญญัติภายใต้มาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3)              พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้นำบทบัญญัติภายใต้มาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. เสนอว่า
		1. โดยที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 30 บัญญัติว่า ในระยะเริ่มแรก มิให้นำส่วนที่ 3 การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 44/1 มาตรา 44/2 มาตรา 44/3 มาตรา 44/4 และมาตรา 44/5 และส่วนที่ 4 การกำกับการประกอบกิจการ มาตรา 45 และมาตรา 46 ในหมวด 2 การกำกับดูแลการประกอบกิจการ และมาตรา 65 (1) มาตรา 78 มาตรา 83 วรรคสอง และมาตรา 84 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 16 มาตรา 27 มาตรา 28 และมาตรา 29 มาใช้บังคับ จนกว่าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะมีความพร้อมที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยเสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้นำบทบัญญัตินั้นมาใช้บังคับ โดยก่อนเสนอให้ตรา             พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ให้ กสทช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามความเหมาะสมและนำข้อมูลที่ได้รับมาประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งให้ กสทช. จัดทำแผนการดำเนินการ และกำหนดกรอบระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาอย่างชัดเจน และให้มีการรายงานผลการเตรียมความพร้อมให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาทราบอย่างน้อยทุกหกเดือนและเปิดเผยให้ประชาชนทราบด้วย
		2. กสทช. ได้จัดทำแผนการดำเนินการ โดยกำหนดกรอบระยะเวลาให้มีการเสนอตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และรายงานผลการเตรียมความพร้อมให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาทราบแล้ว และในการจัดทำแผนการดำเนินการดังกล่าว กสทช. ได้คำนึงถึงความพร้อมทางด้านต่าง ๆ ในการดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร            คลื่นความถี่ฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ดังนี้
			2.1 ความพร้อมทางด้านกฎหมาย เช่น แก้ไขข้อจำกัดการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่            การยกเลิกการออกใบอนุญาตประกอบกิจการ การโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยวิธีการอื่นนอกจากวิธีประมูล เป็นต้น
			2.2 ความพร้อมทางด้านเทคนิค เช่น แก้ไขปัญหาการรบกวนระหว่างผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในแต่ละกิจการ โดยแบ่งช่วงของคลื่นความถี่อย่างชัดเจน (Band Partitioning) การดำเนินการแก้ไขแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ในส่วนของภาคผนวก ก. และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ให้สามารถประกอบกิจการหรือให้บริการข้ามกิจการได้ เป็นต้น
			2.3 ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ เช่น คำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับจากการหลอมรวมในมิติคลื่นความถี่ อันจะส่งผลทำให้ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาหรือผลิตการให้บริการใหม่ ๆ ที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน อันเป็นการกระตุ้นการบริโภคของประชาชนและ               ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น
		3. สำนักงาน กสทช. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง                ต่อการตราพระราชกฤษฎีกาภายใต้ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (ฉบับที่ 3)               พ.ศ. 2562 ในระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 18 มีนาคม 2564 โดยจัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ณ อาคารหอประชุม ชั้น 2 สำนักงาน กสทช. และถ่ายทอดสดการประชุมผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช. ด้วยแล้ว
		4. ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบการเสนอให้มีการตราร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และเห็นชอบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง              ต่อการตราร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว
		5. บัดนี้ กสทช. มีความพร้อมที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติตามข้อ 1 แล้ว จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาให้นำบทบัญญัติภายใต้มาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ             กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. ?. เพื่อให้การใช้คลื่นความถี่เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับเทคโนโลยีการสื่อสารโดยใช้             คลื่นความถี่ที่ได้พัฒนาขึ้น
		6. ภายหลังร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับแล้ว กสทช. จะนำหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ (1) การแก้ไขแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (ภาคผนวก ก. และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ) (2) หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยวิธีอื่นนอกเหนือจากวิธีประมูล           (3) หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติมจากการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต และ (4) หลักเกณฑ์และวิธีการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		ให้นำบทบัญญัติส่วนที่ 3 การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 44/1 มาตรา 44/2 มาตรา 44/3 มาตรา 44/4 และมาตรา 44/5และส่วนที่ 4 การกำกับการประกอบกิจการ มาตรา 45 และมาตรา 46 ในหมวด 2 การกำกับดูแลการประกอบกิจการ และมาตรา 65 (1) มาตรา 78 มาตรา 83 วรรคสอง และมาตรา 84 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และมาตรา 16 มาตรา 27 มาตรา 28 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
 		1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม           การเรียนรู้ พ.ศ. ?. ของกระทรวงศึกษาธิการ รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติรวม 2 ฉบับดังกล่าวได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 		2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติรวม 2 ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
 		3. ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		4. ให้กระทรวงศึกษาธิการได้รับยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่              4 เมษายน 2560 (เรื่อง การปรับปรุงแนวทางการจัดส่วนราชการในภูมิภาค) สำหรับการดำเนินการเมื่อมีการจัดตั้งกรมส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี                  ที่เกี่ยวข้องต่อไป
 		ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และต่อมาได้มีการแก้ไข                 ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ?. ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (25 พฤษภาคม 2564) ในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดให้วิชาชีพครู เป็น ?วิชาชีพชั้นสูง? แก้ไขคำว่า ?หัวหน้าสถานศึกษา? เป็น ?ผู้บริหารสถานศึกษา? และแก้ไขคำว่า ?ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู? เป็น ?ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู? เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ?. เป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในอนาคต สำหรับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ?. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขถ้อยคำร่างพระราชบัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ?. ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี (25 พฤษภาคม 2564)  โดยร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวสอดคล้องกับหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 ? 2580) ซึ่งตามมาตรา 270 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ให้เสนอและพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
		โดยที่ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ?. ได้มีการยกสถานะสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขึ้นเป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะต้องดำเนินการขอจัดตั้งส่วนราชการดังกล่าวเสนอคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง และสำนักงาน ก.พ.ร. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีหลักการสำคัญที่จะทำให้การดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้บรรลุผล และเป็นกฎหมายปฏิรูปการศึกษาที่มีความสอดคล้องกับหลักการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา จึงเห็นควรเสนอ                    ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ ?. ไปพร้อมกัน กระทรวงศึกษาธิการจึงจำเป็นต้องขอยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550             (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วนงานของรัฐ)
		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
 		1. ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ?.
 			1.1 หมวด 1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้น                        ในการดำเนินการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามช่วงวัย ความรู้ทางวิชาการหรือทักษะเฉพาะทาง ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และกระตุ้นให้บุคคลทุกช่วงวัยแสวงหาความรู้เพิ่มเติมหรือความรู้อื่นใดที่ตนสนใจ กำหนดหน้าที่หรือสิทธิของรัฐ เอกชนและบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา กำหนดพื้นฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาของรัฐที่มุ่งเน้นความเป็นอิสระและคล่องตัวตามความพร้อมและศักยภาพของแต่ละสถานศึกษา กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาของเอกชน แนวทางการอุดหนุนภาคเอกชนในการจัดการศึกษาและการเข้าร่วมเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ กำหนดให้มีการรวมตัวของเอกชนในระดับจังหวัดเพื่อดำเนินการจัดการศึกษาและการจัดทำ          ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ
 			1.2 หมวด 2 สถานศึกษา กำหนดระบบนิเวศของสถานศึกษาของรัฐ ได้แก่ สภาพและสิ่งแวดล้อมและสภาวะที่ปลอดภัย มีสถานที่ อุปกรณ์ในการศึกษา ครูและบุคลากรอื่น กำหนดหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาและสถานศึกษาของรัฐ และจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต กำหนดวิธีการรับผู้เรียนในสถานศึกษาของรัฐให้มีความหลากหลาย กำหนดให้การบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาของรัฐมีความเป็นอิสระ และกำหนดให้จัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษาของรัฐโดยให้จัดสรรให้เป็นเงินอุดหนุนทั่วไปที่ไม่กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดรายได้ของสถานศึกษาของรัฐ และการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
 			1.3 หมวด 3 ครูและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา กำหนดให้ปรับเปลี่ยนบทบาทของครู ?ให้เป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้? กำหนดคุณสมบัติทั่วไปและคุณลักษณะเฉพาะครูให้สอดคล้องการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนแต่ละช่วงวัย กำหนดให้มีการศึกษาและวิจัยหาต้นแบบ กระบวนการและวิธีการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนในการผลิตครูซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดทั้งวิธีการในการพัฒนาศักยภาพครูให้สูงขึ้นและทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูที่มีความยืดหยุ่น และเปิดกว้างเพื่อเอื้อให้บุคคลที่ไม่ได้จบการศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ กำหนดให้มีการพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรอื่นทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถและสมรรถนะเพิ่มพูนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้มีระบบการติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลครูและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
 			1.4 หมวด 4 การจัดการศึกษา กำหนดระบบการจัดการศึกษาสอดคล้องตามความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ และกำหนดให้มีระบบการเทียบเคียงหรือเทียบโอนผลการเรียน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ หรือสมรรถนะ รวมทั้งให้รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน หรือกระตุ้นให้เกิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเองและการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต กำหนดให้มีสถาบันหลักสูตรและการเรียนรู้เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการมีหน้าที่และอำนาจในการสนับสนุนด้านวิชาการให้กับสถานศึกษาทุกสังกัด กำหนดแนวทางในการจัดทำหลักสูตรต้นแบบ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก กำหนดการประเมินการเรียนรู้ให้เน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ต่อเป้าหมายของผู้เรียน
			1.5 หมวด 5 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ กำหนดหลักการการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามหน้าที่และอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดให้การบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการต้องไม่มีลักษณะที่ทำให้การจัดการศึกษาถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ โดยไม่ต่อเนื่องหรือบูรณาการกัน และไม่ทำให้สถานศึกษาขาดอิสระในการจัดการศึกษา กำหนดให้กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดการศึกษา หรือเอกชนซึ่งมีสิทธิในการจัดการศึกษา ต้องดำเนินการจัดการศึกษาให้ได้ผลตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องผ่านกระบวนการของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดได้ และกำหนดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการบริหารจัดการข้อมูลสนเทศทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา
 			1.6 หมวด 6 แผนการศึกษาแห่งชาติและทรัพยากรเพื่อการศึกษา กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยกำหนดกรอบสาระและแนวทางการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และให้มีการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของแผนการศึกษาแห่งชาติทุก 5 ปี กำหนดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนการศึกษาแห่งชาติรายปีเป็นระยะเวลาทุก 4 ปี เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำคำของบประมาณของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติทำหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และจัดทำรายงานสรุปผลให้เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ และให้เสนอรายงานต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และเปิดเผยให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
 			1.7 หมวด 7 คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ โดยมีหน้าที่และอำนาจที่สำคัญในการเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาต่อคณะรัฐมนตรี การให้ความเห็นชอบร่างแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และจัดให้มีกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง กำหนดมาตรการที่จะให้หน่วยงานของรัฐชี้ชวน ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติเป็นส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ และดำเนินการเพื่อให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติบรรลุภารกิจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ตลอดทั้งอำนวยความสะดวก ประสานงาน ให้ความร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
 		2. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ?.
 			2.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รู้จักสิทธิควบคู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
			2.2 กำหนดรูปแบบการส่งเสริมการเรียนออกเป็นสามรูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับและกำหนดให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้มีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจประกาศกำหนดให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
 			2.3 กำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้บุคคลสามารถเรียนรู้ และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยกรมส่งเสริมการเรียนรู้ต้องดำเนินการจัด ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพ ทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามความถนัดของตนเอง การประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมทั้งกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิ เพื่อเป็นการจัดการเรียนรู้ ให้แก่ผู้ซึ่งอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
			2.4 กำหนดให้หน่วยจัดการเรียนรู้มีอำนาจรับรองคุณวุฒิให้แก่ผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยออกเป็นประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หรือหนังสือรับรองความรู้ นอกจากนี้ กำหนดให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ต้องจัดให้มีระบบการเทียบระดับการศึกษา เทียบเคียง หรือเทียบโอนผลการเรียน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ หรือสมรรถนะ
			2.5 กำหนดหน้าที่และอำนาจของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้ต้องจัดให้มีส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาหลักสูตร โปรแกรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ จัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบ
			2.6 กำหนดให้มีสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดเพื่อกำกับดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวกและแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในระดับอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ และกำหนดให้มีหน่วยส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเพื่อกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวกและแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ เกี่ยวกับด้านวิชาการ เทคโนโลยีที่จำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด
 			2.7 กำหนดให้เปลี่ยนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเดิมสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
			2.8 แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพัน รวมทั้งข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างและอัตรากำลัง เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเดิมสังกัดในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ และให้ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง แล้วแต่กรณี ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น และให้มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่นไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิม

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ ตช. เสนอว่า
		1. โดยที่มาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทาง และเครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งไว้ จะกำหนดอัตราความเร็วขั้นสูงหรือขั้นต่ำก็ได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ การขับรถโดยใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงจะเป็นความผิดตามมาตรา 152 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522  และกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 6ฯ ตราขึ้นเพื่อกำหนดอัตราความเร็วแบ่งตามลักษณะประเภทรถและตามพื้นที่นั้นได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
 		2. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 มีนาคม 2561 จึงเห็นสมควรปรับปรุงแก้ไขการกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางให้มีความเหมาะสมกับสภาพการจราจรและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านพื้นที่ ลักษณะทางเดินรถและประเภทของยานพาหนะ ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้ทาง เพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการจราจรทางบก จึงได้ยกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ขึ้น
		3. ในการประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ครั้งที่ 2/2562 วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2562 ได้พิจารณาร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (การกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะในสายทางต่าง ๆ ) โดยมีกระทรวงคมนาคม (คค.) กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ร่วมพิจารณาด้วย และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ ตช. ด้วยแล้ว ทั้งนี้ ได้รับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของ ตช. https://royalthaipolice.go.th ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2563
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก                 พ.ศ. 2522
 		2. กำหนดนิยามของ ?เขตชุมชน? ?เกาะกลางถนน? ?ทางพิเศษ? และ ?เครื่องหมายจราจร?
		3. กำหนดความเร็วขั้นสูงสำหรับการขับรถในทางเดินรถ ดังนี้
 			3.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตชุมชน
				(1) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักตัวรถเกิน 2,200 กิโลกรัม รถบรรทุกคนโดยสารที่ใช้บรรทุกคนโดยสารเกินสิบห้าคน รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียนและรถจักรยานยนต์ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร
 				(2) รถในขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 45 กิโลเมตร
 			3.2 นอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตชุมชน
				(1) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักตัวรถเกิน 2,200 กิโลกรัม รถบรรทุกคนโดยสารที่ใช้บรรทุกคนโดยสารเกินสิบห้าคน ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร
 				(2) รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน และรถจักรยานยนต์ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 70 กิโลเมตร
				(3) รถในขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 55 กิโลเมตร
			3.3 ทางเดินรถที่จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้อย่างน้อยสองช่องเดินรถและมีเกาะกลางถนน
				(1) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักตัวรถเกิน 2,200 กิโลกรัม รถบรรทุกคนโดยสารที่ใช้บรรทุกคนโดยสารเกินสิบห้าคน ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 90 กิโลเมตร
				(2) รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน และรถจักรยานยนต์ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร
				(3) รถในขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 65 กิโลเมตร
			3.4 ทางเดินรถที่เป็นทางพิเศษ
				(1) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักตัวรถเกิน 2,200 กิโลกรัม รถบรรทุกคนโดยสารที่ใช้บรรทุกคนโดยสารเกินสิบห้าคน รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ในกรณีเป็นทางที่จัดสร้างขึ้นในระดับเหนือหรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร ในกรณีเป็นทางที่จัดสร้างขึ้นในระดับพื้นดินให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 90 กิโลเมตร
 				(2) รถในขณะที่ลากจูงรถอื่น ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 65 กิโลเมตร
		4. ให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทางเดินรถนั้น ๆ ดำเนินการจัดทำเครื่องหมายจราจร และมีหน้าที่ควบคุมกำหนดความเร็วในเครื่องหมายจราจรประเภทที่สามารถปรับเปลี่ยน รูปภาพ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ได้

6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... ของกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
		ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญจากร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 โดยยังคงยึดหลักการเดิมตามที่ ยธ. เสนอ และ ยธ. แจ้งยืนยันให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว
		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
		ร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
		1. ขอบเขตการใช้บังคับกฎหมาย (ร่างมาตรา 3)
		กำหนดให้การใช้ใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร เครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดตามที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้ รวมถึงการนำเข้า การส่งออก การขาย และการโฆษณา ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 28
		2. บทนิยาม (ร่างมาตรา 4)
			2.1 กำหนดนิยามคำว่า ?พืชกระท่อม? หมายความว่า พืชซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.
			2.2 กำหนดนิยามคำว่า ?ใบกระท่อม? หมายความว่า ใบของพืชกระท่อมและให้หมายความรวมถึงสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่สกัดได้จากใบของพืชกระท่อมตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนด
		3. มาตรารักษาการ (ร่างมาตรา 5)
		กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามร่างพระราชบัญญัตินี้
		4. หมวด 1 บททั่วไป (ร่างมาตรา 6 และร่างมาตรา 7)
			4.1 กำหนดให้การยื่นคำขอ การอนุญาต การออกใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การสั่งการ และการแจ้ง รวมตลอดทั้งการออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดก็ได้ (ร่างมาตรา 6)
			4.2 กำหนดให้ในกรณีที่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การแจ้ง หรือการออกใบรับแจ้ง หรือการปฏิบัติตามบทบัญญัตินั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือประกาศห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติดังกล่าวจนกว่าจะมีการออกกฎกระทรวงหรือประกาศนั้นแล้ว (ร่างมาตรา 7)
		5. หมวด 2 การเพาะหรือปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้า และการส่งออกใบกระท่อม เพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม (ร่างมาตรา 8 ถึงร่างมาตรา 18)
			5.1 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม โดยให้คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ตามวิถีชุมชนด้วย โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวจะต้องไม่มีผลเป็นการผูกขาดการเพาะหรือปลูกพืชกระท่อม การขาย และการนำเข้าหรือการส่งออกใบกระท่อม (ร่างมาตรา 8)
			5.2 กำหนดให้การเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมต้องได้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 9)
			5.3 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมซึ่งประสงค์จะขายใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมหรือเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 แจ้งความประสงค์ที่จะขายไว้ในคำขอรับใบอนุญาต และเมื่อผู้อนุญาตจดแจ้งความประสงค์แล้ว ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาตขายใบกระท่อมด้วย (ร่างมาตรา 10)
			5.4 กำหนดให้การขายใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมหรือเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงต้องได้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 11)
			5.5 กำหนดให้การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมต้องได้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 12)
			5.6 กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม ผู้ขอรับใบอนุญาตขายใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมหรือเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 และผู้ขอรับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม (ร่างมาตรา 13)
			5.7 กำหนดอายุใบอนุญาต โดยใบอนุญาตเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมตามมาตรา 9 และใบอนุญาตขายใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมหรือเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ส่วนใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมตามมาตรา 12 มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต (ร่างมาตรา 14)
			5.8 กำหนดหลักเกณฑ์รองรับการขอต่ออายุใบอนุญาต การขอเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต และการขอรับใบแทนใบอนุญาต (ร่างมาตรา 15 ร่างมาตรา 16 และร่างมาตรา 17)
			5.9 กำหนดหลักเกณฑ์รองรับกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตายก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ โดยให้ทายาทหรือผู้ซึ่งได้รับความยินยอมจากทายาทแสดงความจำนงขอดำเนินการตามใบอนุญาตต่อไปได้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตาย (ร่างมาตรา 18)
		6. หมวด 3 หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 19 และร่างมาตรา 20)
			6.1 กำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม โดยต้องเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมในที่ดินหรือสถานที่และพิกัดตามที่ระบุไว้ใบอนุญาต (ร่างมาตรา 19)
			6.2 กำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตขายใบกระท่อมหรือผู้รับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม โดยต้องจัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่ขาย นำเข้า หรือส่งออกใบกระท่อม จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับใบกระท่อมโดยอย่างน้อยต้องระบุแหล่งที่มาของใบกระท่อม คำเตือน หรือข้อควรระวัง ในกรณีที่ใบกระท่อมสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลายต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า และจัดทำรายงานปริมาณการขาย การนำเข้า หรือส่งออกใบกระท่อม (ร่างมาตรา 20)
		7. หมวด 4 การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต (ร่างมาตรา 21 ถึงร่างมาตรา 24)
			7.1 กำหนดมาตรการพักใช้ใบอนุญาตกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมไม่แจ้งการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมต่อผู้อนุญาตในแต่ละครั้งที่จะมีการนำเข้าหรือส่งออก หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 21)
			7.2 กำหนดมาตรการเพิกถอนใบอนุญาตกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต (ร่างมาตรา 22)
			7.3 กำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำและการแจ้งคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต และการแจ้งคำสั่งยกเลิกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต (ร่างมาตรา 23 และร่างมาตรา 24)
		8. หมวด 5 อุทธรณ์ (ร่างมาตรา 25 ถึงร่างมาตรา 27)
		กำหนดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่ออกใบอนุญาตหรือใบรับแจ้ง หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่ง ขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และการขยายระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์
		9. หมวด 6 การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภคใบกระท่อมและการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด (ร่างมาตรา 28 ถึงร่างมาตรา 33)
			9.1 กำหนดบทบัญญัติห้ามผู้ใดขายใบกระท่อม น้ำต้มใบกระท่อมหรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ แก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร (ร่างมาตรา 28)
			9.2 กำหนดบทบัญญัติห้ามผู้ใดขายใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมในสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก ขายโดยใช้เครื่องขาย ขายโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เร่ขายหรือในลักษณะจูงใจให้บริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อม หรือขายในสถานที่ โดยวิธีการหรือในลักษณะอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 29)
			9.3 กำหนดบทบัญญัติห้ามผู้ใดโฆษณาหรือทำการสื่อสารการตลาดใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจสาธารณชนให้บริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อม หรือบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือวัตถุอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 31 (ร่างมาตรา 30)
			9.4 กำหนดบทบัญญัติห้ามผู้ใดบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือวัตถุอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศกำหนดเว้นแต่เป็นการบริโภคตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด (ร่างมาตรา 31)
			9.5 กำหนดบทบัญญัติห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมตามมาตรา 31 (ร่างมาตรา 32)
			9.6 กำหนดบทยกเว้นมิให้นำมาตรา 28 และมาตรา 32 มาใช้บังคับแก่การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด (ร่างมาตรา 33)
		10. หมวด 7 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 34 ถึงร่างมาตรา 39)
			10.1 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่เพาะหรือปลูกพืชกระท่อม สถานที่นำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม หรือสถานที่ขายใบกระท่อมในเวลาทำการของสถานที่นั้น หรือเข้าไปในยานพาหนะที่บรรทุกใบกระท่อม เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมเท่าที่จำเป็น และในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อาจเข้าไปในที่ดิน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อตรวจ ค้น ยึด หรืออายัดพืชกระท่อม ใบกระท่อม น้ำต้มใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ ตลอดจนภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก เอกสารกำกับใบกระท่อม วัตถุ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้ซึ่งสงสัยหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้รวมทั้งอาจมีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา (ร่างมาตรา 34)
			10.2 กำหนดวิธีการจัดการกับสิ่งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดหรืออายัดไว้ในกรณีที่เป็นของเสียง่ายหรือเป็นของที่ใกล้จะสิ้นอายุตามที่กำหนดไว้ หรือในกรณีที่เก็บไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย จะเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเกินค่าของสิ่งนั้น หรือจะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น (ร่างมาตรา 35)
			10.3 กำหนดให้สิ่งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดหรืออายัดไว้ตกเป็นของกระทรวงยุติธรรมเมื่อไม่ปรากฏเจ้าของหรือไม่มีผู้มาแสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้ยึดหรืออายัด หรือไม่มีการดำเนินคดีและผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอคืนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองได้รับแจ้งคำสั่งว่าไม่มีการดำเนินคดีหรือมีการดำเนินคดีและพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือศาลไม่ได้พิพากษาให้ริบ และผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอคืนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี (ร่างมาตรา 36)
			10.4 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้ขาย หรือผู้โฆษณาที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน แก้ไข ปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องได้ภายในเวลาที่กำหนด (ร่างมาตรา 37)
	10.5 กำหนดให้ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมตามมาตรา 31 ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีสารใด ๆ ในใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมอยู่ในร่างกายหรือไม่ รวมทั้งกำหนดบุคคลที่มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบ โดยวิธีการตรวจหรือทดสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 38)
	10.6 กำหนดให้ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 39)
		11. หมวด 8 บทกำหนดโทษ (ร่างมาตรา 40 ถึงร่างมาตรา 47)
	11.1 กำหนดโทษอาญากรณีเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม ขายใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมหรือเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 หรือนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 40)
	11.2 กำหนดโทษอาญากรณีขายใบกระท่อม น้ำต้มใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบแก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร (ร่างมาตรา 41)
	11.3 กำหนดโทษอาญากรณีขายใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมในสถานที่ โดยวิธีการ หรือในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 29 (ร่างมาตรา 42)
	11.4 กำหนดโทษอาญากรณีโฆษณาหรือทำการสื่อสารการตลาดใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจสาธารณชนให้บริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อม หรือบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายหรือวัตถุอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 31 (ร่างมาตรา 43)
	11.5 กำหนดโทษอาญากรณีบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือวัตถุอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 44)
	11.6 กำหนดโทษอาญากรณีจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมตามมาตรา 31 (ร่างมาตรา 45)
	11.7 กำหนดโทษในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล (ร่างมาตรา 46)
	11.8 กำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้สำหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 47)
12. บทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา 48 และร่างมาตรา 49)
			12.1 กำหนดให้เมื่อกฎกระทรวงตามมาตรา 9 วรรคสอง มาตรา 11 วรรคสาม หรือมาตรา 12 วรรคสาม ใช้บังคับแล้ว ให้ผู้เพาะหรือปลูกพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม ผู้ขายใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมหรือเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 หรือผู้นำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้น ๆ มีผลใช้บังคับ และในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้นั้นดำเนินการต่อไปได้จนกว่าผู้อนุญาตจะไม่ออกใบอนุญาต (ร่างมาตรา 48)
			12.2 กำหนดให้เมื่อมีกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยใช้บังคับแล้วให้บรรดาความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย และให้อัตราโทษปรับอาญาสำหรับความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวเปลี่ยนเป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัย (ร่างมาตรา 49)
		13. อัตราค่าธรรมเนียม
		กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเพาะหรือปลูกพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมตามมาตรา 9 ใบอนุญาตขายใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมหรือเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 ใบอนุญาตนำเข้าใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมตามมาตรา 12 ใบอนุญาตส่งออกใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมตามมาตรา 12 รวมทั้งอัตราค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตดังกล่าว
		ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
		ร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรการกำกับดูแลการเพาะหรือปลูกพืชกระท่อม การขาย และการนำเข้าหรือการส่งออกใบกระท่อมเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประชาชนมากที่สุด ตลอดจนกำหนดมาตรการกำกับดูแลการขาย การโฆษณา และการบริโภคใบกระท่อม เพื่อคุ้มครองสุขภาพของบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีและบุคคลกลุ่มเสี่ยงอื่นจากการบริโภคใบกระท่อม


เศรษฐกิจ สังคม

7. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนเมษายน 2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ                    ณ เดือนเมษายน 2564 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ	สาระสำคัญ
1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1.1 ความก้าวหน้า
ยุทธศาสตร์ชาติ
และการขับเคลื่อนแผนแม่บท
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ	? คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 เมษายน 2564) รับทราบคู่มือแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 และการเสนอแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน...ต่อคณะรัฐมนตรี โดย สศช. ได้เผยแพร่คู่มือดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ของ สศช. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อไป นอกจากนี้ สศช. จะรวบรวมและจัดทำบัญชีสรุปรายชื่อแผนระดับที่ 3 ที่ผ่านกระบวนการจัดทำแผนของหน่วยงานและพิจารณาโดย สศช. แล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไปด้วย
? ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) ได้มีคำสั่งที่ 1/2564 เรื่อง จัดตั้ง ศจพ. ในระดับจังหวัดและระดับต่างๆ ลงวันที่ 8 เมษายน 2564 กำหนดให้แต่งตั้ง ศจพ. ในระดับต่าง ๆ และนำเข้าข้อมูลคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวผ่านระบบแฟ้มบ้านพัฒนาคนไทย (Logbook) ภายในวันที่ 30 เมษายน 2564 ทั้งนี้ สศช. ได้ประสานไปยังทุกหน่วยงานเพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนการดำเนินการของ คจพ. และ ศจพ. ในทุกระดับ
1.2 ความก้าวหน้า
แผนการปฏิรูปประเทศ	? ดำเนินการปรับรอบระยะเวลาและรูปแบบของรายงานความคืบหน้า              การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564)
ตามมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2564
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อให้รวดเร็วสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงและเน้นการรายงานเฉพาะกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) โดยรายงานประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) หลักการขับเคลื่อน Big Rock การใช้งานระบบ eMENSCR สำหรับกิจกรรม Big Rock และการดำเนินงานในระยะต่อไป                 (2) รายละเอียดของการขับเคลื่อน Big Rock ทั้ง 13 ด้าน จำนวน 62 แผน และ (3) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ
1.3 ผลการดำเนินการอื่นๆ	? พัฒนาระบบ eMENSCR สำหรับการกำกับ ติดตาม และประเมินผล              ความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักสามารถรายงานความก้าวหน้าของ Big Rock และเป้าหมายย่อยในระบบเพื่อ สศช. จะได้ประมวลข้อมูลและจัดทำรายงานความคืบหน้าฯ รายสามเดือนต่อไป นอกจากนี้ สศช. ได้พัฒนาระบบ eMENSCR ในส่วนของการนำเข้าข้อเสนอโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เพิ่มเติม เพื่อรองรับการดำเนินงานตามกลไกของคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ซึ่งจะสะท้อนความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติกับการพัฒนาในระดับพื้นที่
? สร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ต่อ       การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ได้แก่ (1) เผยแพร่วีดิทัศน์ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติสำหรับกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 12 - 25 ปี ในรถไฟฟ้า ตั้งแต่เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2564 และเว็บไซต์ของ สศช. (2) สร้างความรู้ความเข้าใจกับภาคีการพัฒนาและบุคลากรจากต่างประเทศเพื่อสร้างการยอมรับและโอกาสในการส่งเสริมให้ต่างประเทศมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป
? กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการออกมาตรการพิเศษช่วยนักเรียนทุนเสมอภาคช่วงชั้นรอยต่ออนุบาลปีที่ 3 ประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 แสนคน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษา และให้เด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสทุกคนได้รับการศึกษา
2. ประเด็นที่ควรเร่งรัด
เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
ของยุทธศาสตร์ชาติ	ประเด็นท้าทายที่มีความเสี่ยงสูงในการบรรลุเป้าหมาย คือ การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้รองรับและสนับสนุนการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งการปรับทัศนคติบุคลากรให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการบูรณาการข้อมูล ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการพัฒนานโยบายและการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมของประเทศที่มีความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

8. เรื่อง รายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอรายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่ง กพม. ในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการประเมินองค์การมหาชนดังกล่าวแล้ว [เป็นการดำเนินการตามมาตรา 5/8 (10) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่บัญญัติให้ กพม. มีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหาร การพัฒนาและ            การประเมินผลขององค์การมหาชนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี] โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพม. ได้นำกรอบการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาใช้ในการประเมินองค์การมหาชนประกอบด้วยการประเมิน 3 ส่วน ดังนี้
			1.1 ส่วนที่ 1 องค์ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวน 5 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบการประเมิน	น้ำหนัก
(ร้อยละ)	จำนวนตัวชี้วัด
องค์ประกอบที่ 1 ประสิทธิผล : ประเมินการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และแผนปฏิบัติการขององค์การมหาชน	50	- ตัวชี้วัดครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง (ไม่จำกัดจำนวน)

องค์ประกอบที่ 2 การผลักดันยุทธศาสตร์ของประเทศ : ประเมินการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายสำคัญหรือเร่งด่วนของรัฐบาลหรือภารกิจที่รัฐมนตรีผู้รักษาการมอบหมาย		- ตัวชี้วัดที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี             ผู้รักษาการจำนวน 1 ตัวชี้วัด

องค์ประกอบที่ 3 ประสิทธิภาพ : ประเมินประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามมติคณะรัฐมนตรีและประสิทธิภาพในการบริหารงานและนวัตกรรมการให้บริการขององค์การมหาชน	25	- ตัวชี้วัดบังคับ จำนวน 1 ตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัดประเมินประสิทธิภาพใน             การบริหารงานและนวัตกรรมการให้บริการ จำนวน 2 ตัวชี้วัด
องค์ประกอบที่ 4 การตอบสนองต่อประชาชน : ประเมินการตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของผู้รับบริการและประชาชน และประเมินการเผยแพร่สารสนเทศสำคัญขององค์การมหาชนเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ประชาสัมพันธ์ และแสดงความโปร่งใสให้สังคมสามารถตรวจสอบได้ผ่าน web portal	10	- ตัวชี้วัดบังคับ 2 ตัวชี้วัด ได้แก่
(1) ร้อยละความพึงพอใจในการให้บริการขององค์การมหาชน (ร้อยละ 5) และ (2)               การเผยแพร่สารสนเทศผ่าน web portal (ร้อยละ 5)
องค์ประกอบที่ 5 การควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน : ประเมินบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการองค์การมหาชนในการทบทวนผลการดำเนินงานขององค์การมหาชนเพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายการปฏิบัติงานและการควบคุมดูแลการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์การจัดตั้งและตอบสนองต่อสภาพการณ์ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ	15	ตัวชี้วัดบังคับ จำนวน 1 ตัวชี้วัด
ได้แก่ ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนา             ด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน
รวม	100
			1.2 ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดประกอบการประเมิน ได้แก่ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบการประเมินซึ่งไม่นำมาคำนวณคะแนน
			1.3 ส่วนที่ 3 ตัวชี้วัด monitor คือ ตัวชี้วัดที่แสดงผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์การมหาชนเพื่อติดตามผลสำเร็จขององค์การมหาชนเป็นรายปีโดยให้องค์การมหาชนรายงานผลตามตัวชี้วัดมายังสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเป็นข้อมูลสะสมสำหรับการประเมินความคุ้มค่าในการจัดตั้งองค์การมหาชนทุก 5 ปี โดย                ไม่นำมาคำนวณคะแนน
		2. สรุปผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งมีองค์การมหาชนที่เข้าระบบการประเมิน จำนวน 42 แห่ง ได้แก่ (1) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ จำนวน 32 แห่ง และ (2) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน 10 แห่ง ทั้งนี้ มีองค์การมหาชนที่ไม่ประเมินผลจำนวน 3 แห่ง สรุปได้ ดังนี้
			2.1 ผลการประเมินองค์การมหาชนในภาพรวม
ระดับผลการประเมิน
(คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ)	องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ	องค์การมหาชนที่จัดตั้ง
ตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
ระดับดีมาก : 85 คะแนนขึ้นไป	29 แห่ง	9 แห่ง
ระดับดี : ตั้งแต่ 70 ? 84.99 คะแนน	3 แห่ง	-
ระดับพอใช้ :
ตั้งแต่ 60 ? 69.99 คะแนน	-	1 แห่ง
ระดับต้องปรับปรุง :
ต่ำกว่า 60 คะแนน	-	-
ไม่ประเมินผล*	3 แห่ง	-
รวม	35 แห่ง	10 แห่ง
หมายเหตุ : *องค์การมหาชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ (1) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) (2) สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.) และ (3) สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) (สพค.) ไม่มีการประเมินผลตามกรอบการประเมิน ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (อ.กพม.) ในการประชุมที่เกี่ยวข้องแล้ว
			2.2 ผลการประเมินตามตัวชี้วัดบังคับที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สรุปได้ ดังนี้
ตัวชี้วัด	เป้าหมายขั้นสูง	ผลการประเมินเฉลี่ย
		องค์การมหาชน
ที่จัดตั้งตาม
พระราชบัญญัติ
องค์การมหาชนฯ	องค์การมหาชน
ที่จัดตั้งตาม
พระราชบัญญัติ
เฉพาะ
1) ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชน	ไม่เกินกรอบวงเงินรวม
ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด*
และไม่สูงกว่างบประมาณ
ที่ได้รับการจัดสรร
จากสำนักงบประมาณ	ร้อยละ 21.97	ร้อยละ 26.49
2) ร้อยละความพึงพอใจ
ในการให้บริการ
ขององค์การมหาชน	ร้อยละ 100	ร้อยละ 88.76	ร้อยละ 86.01
3) ร้อยละความสำเร็จ
ของการพัฒนา
ด้านการควบคุมดูแล
กิจการของคณะกรรมการ
องค์การมหาชน	ร้อยละ 100	ร้อยละ 88.78	ร้อยละ 89.76
หมายเหตุ : * การกำหนดร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชน ไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนในปีงบประมาณ ยกว้นองค์การมหาชนที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                28 พฤษภาคม 2561
			2.3 ปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การมหาชนในภาพรวม เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ซึ่งได้มีการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID - 19 เช่น การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค               การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักรจึงส่งผลให้องค์การมหาชนไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น การยกเลิกการจัดนิทรรศการหรือการจัดอบรม สัมมนา หรือกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ส่งผลให้สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามเป้าหมายของตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น จำนวนกิจกรรมไมซ์ (โครงการ Empower Thailand Exhibition: EMTEX) ที่ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค เป็นต้น
		3. นอกจากนี้ กพม. ในการประชุมดังกล่าวได้มีความเห็นต่อรายงานผลการประเมินองค์การมหาชนฯ ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ผลการประเมินองค์การมหาชนอาจจะไม่สะท้อนผลการปฏิบัติงานในสถานการณ์ปกติ เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 จึงควรยกเว้นการพิจารณาคัดเลือกองค์การมหาชนดีเด่นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และไม่ควรนำผลการประเมินในปีงบประมาณ                พ.ศ. 2563 ไปใช้ประกอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนพิเศษ (ผันแปร) ของผู้อำนวยการและค่าตอบแทนพิเศษของผู้ปฏิบัติงานในองค์การมหาชนในอัตราเดียวกับการประเมินในปีปกติ อย่างไรก็ดี สำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำผลสำเร็จขององค์การมหาชนในเรื่องต่าง ๆ ไปบูรณาการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานให้มีผลสัมฤทธิ์สูง ตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งสร้างกลไกการบูรณาการตัวชี้วัดขององค์การมหาชนกับตัวชี้วัดของกระทรวงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป

9. เรื่อง รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร
		คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอว่า ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง              มีข้อสังเกตว่าการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ควรเป็นหน่วยงานประสานนโยบายด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรที่ดินของประเทศกับหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดิน ควรคำนึงถึงความเหมาะสม มีความคุ้มค่าความประหยัดในการใช้จ่ายงบประมาณ และเน้นผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานภาครัฐตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 การจัดโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของ สคทช. ต้องเป็นไปตามที่ ก.พ.ร. และ ก.พ. กำหนดโดยเร็ว และ สคทช. ควรมีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานให้ชัดเจน นอกจากนี้ ควรให้มีการประสานและบูรณาการการปฏิบัติกับหน่วยงานของรัฐประเภทอื่น ได้แก่ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) รวมทั้งควรเร่งรัดการดำเนินการ เรื่อง การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
		2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ทส. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		ทส. ได้มีการประชุมหารือร่วมกับสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ	รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตฯ
1. การจัดตั้ง สคทช. ตามร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวควรเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และประสานงานนโยบายด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศกับหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวกับที่ดินทุกหน่วยงานของรัฐให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ดินของประเทศได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ดินระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเองหรือปัญหาที่ดินของหน่วยงานของรัฐกับประชาชน
	- สคทช. เป็นองค์กรหลักในการทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ คทช. ได้มีการจัดทำนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศเพื่อเป็นกรอบนโยบายหลัก (Policy Framework) ระยะยาวของประเทศ และแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ 4 ด้าน ได้แก่ นโยบายที่ 1 ด้านการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ นโยบายที่ 2 ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นโยบายที่ 3 ด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ยากไร้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม นโยบายที่ 4 ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินงานภายใต้กรอบนโยบายหลัก 4 ด้าน โดยนโยบายที่สามารถเห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน คือ การดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนภายใต้ คทช. (ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม) ซึ่งพบว่า สมาชิกในโครงการมีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. การจัดตั้ง สคทช. ให้คำนึงถึงความเหมาะสม ความคุ้มค่า ความประหยัดในการใช้จ่ายงบประมาณ และเน้นผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานภาครัฐตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และการจัดโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง ของ สคทช. ต้องเป็นไปตามที่ ก.พ.ร. และ ก.พ. กำหนดโดยเร็ว และไม่สมควรมีการจัดตั้งสำนักงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ ดินขึ้นเพิ่มเติมในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งควรปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงานราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการทำงาน	- สคทช. จะทำหน้าที่บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และควบคุมดูแลการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศให้มีเอกภาพ มีกรอบแนวทางการพัฒนาภารกิจและการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภายใต้แผนบูรณาการการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและแก้ปัญหาที่ดินทำกินได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
- ภายหลังจากการตั้ง สคทช. หน่วยงานมีแผนการขอตั้งงบประมาณแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับการขอตั้งงบประมาณในปี พ.ศ. 2559 และ 2560 เพื่อให้การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

- สำหรับการจัดโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของ สคทช. นั้น สำนักงาน ก.พ.ร. และ สำนักงาน ก.พ. มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่งของ สคทช. ซึ่งคำนึงถึงความเหมาะสมของโครงสร้างและอัตรากำลัง การตัดโอนตำแหน่ง และการซ้ำซ้อนของหน้าที่และอำนาจของแต่ละหน่วยงาน ส่วนการปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการทำงาน สคทช. ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจของหน่วยงานเพื่อพัฒนาเครือข่ายข้อมูลทางด้านที่ดินและทรัพยากรดินในการสนับสนุนการวางแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
3. สคทช. ควรมีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานให้ชัดเจน และสมควรให้มีการประสานและบูรณาการการปฏิบัติกับหน่วยงานของรัฐประเภทอื่น ได้แก่ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินของรัฐและดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินของเอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า นำมาให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง และควรเร่งรัดการดำเนินการเรื่องการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1: 4000 (One Map) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว	- สคทช. จะมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานภายใต้นโยบายและแผนฯ เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานที่สอดคล้องกับกรอบนโยบายและแผนฯ ดังกล่าว ดังนี้
   1) การติดตามและประเมินผลตามเป้าหมายในระยะครึ่งแผนของแผนปฏิบัติการฯ : หลังจากมีการประกาศใช้แผนฯ เพื่อรายงานความก้าวหน้าและนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแผนฯ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ประกอบการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของแผนฯ และกลไกการขับเคลื่อน กลยุทธ์ของแผนฯ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
   2) การติดตามและประเมินผลตามเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดของแผนปฏิบัติการฯ : เพื่อรายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ และรวบรวมปัญหา อุปสรรค จากการขับเคลื่อนกลไกในการปฏิบัติตามมาตรการ แนวทางที่กำหนดไว้ และนำไปใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อทบทวนการจัดทำนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ในระยะต่อไป
- สำหรับการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1: 4000 (One Map) คทช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรม-
การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1: 4000 (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้จัดประชุมเพื่อพิจารณากรอบแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ และมีการพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการพิจารณากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐทั้งระบบ รวมทั้งเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการดำเนินการกับผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการและดำเนินการตรวจสอบแผนที่แนวเขตที่ดินให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้ภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการที่ดินโดยเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามที่กฎหมายกำหนด

4. เนื่องจากได้มีส่วนราชการระดับกรมที่ถูกจัดตั้งโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยอาจมี
ผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมการเพื่อรองรับ
ผลกระทบดังกล่าวด้วย	- หากมีการแก้ไขเพิ่มเติม รธน. ในบางมาตราที่มีบทรองรับคำสั่งหัวหน้า คสช. จะมีผลกระทบต่อ พ.ร.บ. ปรับปรุงฯ มาตรา 6 ซึ่งจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม (สทนช.และ สคทช.) ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่เป็นผลเสียมากกว่าผลดีในการดำเนินงานของหน่วยงาน จะต้องกำหนดบทรองรับความคงอยู่ของหน่วยงานนั้นๆ ไว้ด้วย ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าเพื่อให้เป็นข้อคำนึงในกรณีที่มีพระราชบัญญัติปรับปรุงฯ โดยคำสั่งหัวหน้า คสช. หรือคำสั่งอื่นในทำนองเดียวกัน เช่น ของคณะปฏิวัติและคณะปฏิรูป ก็ควรคำนึงถึงความคงอยู่ของหน่วยงานด้วย เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวอาจถูกยกเลิกและมีผลกระทบต่อสถานะของหน่วยงานได้

10. เรื่อง การประกาศวันจัดประชุมและนิทรรศการแห่งชาติให้เป็นวันสำคัญของชาติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่ 26 เมษายนของทุกปี เป็น ?วันจัดประชุมและนิทรรศการแห่งชาติ? โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ตามที่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)  (สสปน.) เสนอ รวมทั้งให้สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
 		สสปน. รายงานว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ กระจายรายได้ และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดประชุมและนิทรรศการ (ไมซ์) หรือการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ มีบทบาทในการสร้าง ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของชาติมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ใช้การประชุมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างบ้านแปงเมืองให้เป็นปึกแผ่นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2425 เป็นครั้งแรกที่มีการจัดงานแสดงสินค้าของประเทศไทย ณ ท้องสนามหลวง ในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี เป็นระยะเวลา 3 เดือน ถือว่าเป็นวันสำคัญที่สามารถใช้กำหนดเป็นเชิงสัญลักษณ์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น คณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการจึงมีแนวคิดในการผลักดันการประกาศวันสำคัญของชาติที่เกี่ยวข้องกับการประชุมและนิทรรศการให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมโดยการประกาศ ?วันจัดประชุมและนิทรรศการแห่งชาติ? ให้เป็นวันสำคัญของชาติ จะเป็นโอกาสแรกในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข ความปลอดภัยและสุขอนามัย และมีความพร้อมในการรองรับการจัดงานสำคัญระดับนานาชาติและการเปิดประเทศในปลายปี 2564
 		เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 สสปน. ได้ประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) กองทุนส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ (ไทย) สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติไทย สมาคมการแสดงสินค้าไทย สมาคมโรงแรมไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยที่ประชุมมีมติให้มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสนับสนุนการผลักดันให้มีการประกาศวันดังกล่าวอย่างเป็นทางการโดยมีความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการต่อยอดการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศและสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวางต่อไป ซึ่งต่อมาคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 มีมติให้นำเสนอเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาและขยายสื่อดีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาและขยายสื่อดีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาและขยายสื่อดีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ                       มีข้อเสนอแนะรวม 2 ประเด็น ได้แก่ (1) หลักการพื้นฐานการพัฒนาและขยายช่องทางสื่อดีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เช่น การเพิ่มพื้นที่และคุณภาพของสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน การเพิ่มอำนาจในการสื่อสารของเด็กและเยาวชน เป็นต้น (2) ข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการพัฒนาและขยายสื่อดีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เช่น รัฐบาลควรกำหนดให้เรื่องสื่อของเด็ก เยาวชน และครอบครัวเป็นวาระของชาติที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน กำหนดนโยบายการส่งเสริมที่ชัดเจนและเพิ่มพื้นที่กิจกรรมหลากหลายสำหรับเด็กให้ครอบคลุมทุกจังหวัด เป็นต้น
		2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ดศ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (พปส.) เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน                      30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		ดศ. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับรายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ	ผลการพิจารณา
1. หลักการพื้นฐานการพัฒนาและขยายช่องทางสื่อดีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว
	เช่น การเพิ่มพื้นที่และคุณภาพของสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน การเพิ่มอำนาจในการสื่อสารของเด็กและเยาวชน และการคำนึงถึงความหลากหลายครอบคลุมเด็กและเยาวชนในมิติต่าง ๆ เป็นต้น	    เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ทั้งนี้                  การดำเนินการต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงความหลากหลายของเด็กในทุกมิติ และควรเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อ อีกทั้งรัฐบาลควรสนับสนุนการดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนให้มีความต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอเชิงนโยบาย
	2.1 รัฐบาลควรกำหนดให้เรื่องสื่อของเด็ก เยาวชน และครอบครัว เป็นวาระของชาติที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

	2.2 ให้ กสทช. กำกับดูแลผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการในการดำเนินการตามประกาศหรือแนวปฏิบัติขององค์กรสื่อสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว

	2.3 รัฐบาล และ กสทช. ควรสนับสนุนการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็กในรูปแบบของสื่อประเภทบริการสาธารณะ ซึ่งมีภาครัฐเป็นผู้ลงทุนหลัก

	2.4 ขอให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการอ่านที่ชัดเจน

	2.5 รัฐบาลควรมีนโยบายเพิ่มพื้นที่กิจกรรมหลากหลายสำหรับเด็กให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ




	2.6 รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องสื่อ การเลือกสรรสื่อที่ดี และการรู้เท่าทันสื่อแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู รวมถึงผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน






	2.7 แหล่งทุนที่เกี่ยวกับสื่อ ควรกำหนดสัดส่วนการให้ทุนสนับสนุนสื่อสำหรับเด็ก


	2.8 รัฐบาลควรออกมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนและภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อเด็ก และร่วมสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้
    กรมกิจการเด็กและเยาวชนได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้อง คุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อประสานการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน
    กสทช. ได้จัดประชุมและอบรมให้ความรู้แก่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งกำกับดูแลให้มีการออกอากาศรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัวตามผังรายการที่ได้รับความเห็นชอบจาก กสทช.
    กสทช. จะมีการจัดทำแผนและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ตามกฎหมาย ซึ่งจะมีการจัดสรรให้กับสถานีวิทยุกระจายเสียง ประเภทบริการสาธารณะ โดยจะมีสถานีวิทยุกระจายเสียงสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวไปรวมอยู่ด้วย
    กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีนโยบายในเรื่องของการส่งเสริมการอ่าน เช่น โครงการที่อ่านหนังสือท้องถิ่นรักการอ่าน โครงการพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียน เป็นต้น
    กรมกิจการเด็กและเยาวชนมีการดำเนินโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ ซึ่งนำไปสู่การกำหนดนโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับชาติ ภายใต้หลักการ ?เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน?
    - กรมกิจการเด็กและเยาวชนได้ดำเนินการอบรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ และกรณีภัยออนไลน์ต่อเด็ก
    - สป.ดศ. โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้มีการดำเนินงานโครงการอบรมเยาวชนร่วมใจต้านภัยไซเบอร์ (จ่าฮูกสอนเด็ก) และโครงการอบรมครูไซเบอร์
    หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจในการพัฒนาสติปัญญาการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนควรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดสรรงบประมาณ
    ควรออกแนวทางส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ร่วมกันคิดและดำเนินโครงการในมิติต่าง ๆ ทั่วประเทศ


12. เรื่อง สรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมต่อข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
		คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมต่อข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาการให้ความช่วยเหลือกรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยสภาผู้แทนราษฎรได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเร่งด่วน มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย แนวทางการจัดการสร้างระบบเตือนภัย และข้อเสนอแนะอื่น ๆ เช่น รัฐบาลควรดำเนินการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านต่าง ๆ ควรเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากน้ำท่วม พักการชำระหนี้ และลดดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งวางแผนและทบทวนแผนการระบายน้ำกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติน้ำท่วม การฟื้นฟูและเยียวยา การฝึกซ้อม ตลอดจนบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
		2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎร ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		มท. รายงานว่า ได้ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 ซึ่งเห็นชอบกับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สผ. โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สผ.	ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของหน่วยงาน
1. มาตรการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเร่งด่วน
1.1 รัฐบาลควรดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้กับราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการเยียวยา แก้ไข และฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยและการคมนาคมสัญจรให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว	- คค. (กรมทางหลวง) ได้ดำเนินการก่อนและหลังเกิดอุทกภัย โดยได้ดำเนินการสำรวจความเสียหายของเส้นทางคมนาคม เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการซ่อมแซม พร้อมทั้งทำการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในลักษณะเดิมอีกในอนาคต
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมน้ำแล้งในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ภาชนะกักเก็บน้ำ และได้เตรียมเจ้าหน้าที่ให้พร้อมสำหรับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่โดยทันที รวมทั้งมีการจัดตั้งงบประมาณประเภทสำรองจ่ายไว้แล้ว
1.2 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะทหารในพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือในเรื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น การขนย้ายสิ่งของ ปศุสัตว์ จัดรถครัวสนามถุงยังชีพ ที่อยู่อาศัยชั่วคราว และเร่งอพยพประชาชนมายังศูนย์อพยพ	- กห. ได้ให้ความช่วยเหลือ และได้จัดเตรียมชุดบรรเทาสาธารณภัยให้มีความพร้อมอยู่เสมอ
- กค. เห็นว่า หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือได้ โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 ก่อนที่จะมีมาตรการระยะยาวที่จะฟื้นฟู หรือแก้ไขปัญหาอย่างถาวรต่อไป
1.3 ควรใช้กลไกของคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร เนื่องจากมีความแม่นยำและเป็นที่ยอมรับกัน	- กษ. ได้กำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการภัยพิบัติด้านการเกษตรในภาพรวมของประเทศอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกัน โดยส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีการประสานข้อมูลกัน เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
1.4 ควรให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และควรมีการควบคุมและป้องกันโรคระบาดด้วย	- สธ. (กองสาธารณสุขฉุกเฉิน) ได้ให้การสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ให้แก่จังหวัดที่ร้องขอรับการสนับสนุน
1.5 ควรต้องเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว โดยจัดเตรียมเรือท้องแบน เรือเร็ว รถลาก รถยกสูง เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการอพยพและประสานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า	- มท. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ได้เตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่ก่อนเกิดอุทกภัยอย่างเป็นระบบ โดยส่งกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลสาธารณภัยไว้เป็นการล่วงหน้า เช่น รถผลิตน้ำดื่ม รถประกอบอาหาร เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถสูบน้ำ เรือท้องแบน เรือพาย และรวมถึงการจัดส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก
- กรมชลประทาน ได้มีการติดตั้งสถานีวัดน้ำฝนและสถานีโทรมาตรในจุดเสี่ยงภัยเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและเตือนภัย และจัดสรรทรัพยากรเครื่องจักร อาทิ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถขุด รถบรรทุก สะพานเหล็กชนิดถอดประกอบได้ไปประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการล่วงหน้าแล้ว
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้มีการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ
1.6 ควรให้ความช่วยเหลือเยียวยาและซ่อมแซมโรงเรียน วัด มัสยิด และศาสนสถานต่าง ๆ ในพื้นที่ประสบภัย	- ศธ. ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งได้มีการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้บริหาร ครู และนักเรียนควบคู่ด้วย
- วธ. ได้สนับสนุนงบประมาณในการบูรณะ ศาสนสถานและดำเนินการสำรวจความเสียหาย เพื่อดำเนินการซ่อมแซมบูรณะต่อไป
2. มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
2.1 รัฐบาลควรเร่งรัดการใช้งบประมาณที่มีอยู่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีฉุกเฉิน	- สงป. เห็นว่า ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับรายการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ และรายการที่สามารถชะลอการดำเนินการหรือหมดความจำเป็น เพื่อนำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
2.2 ควรมีการฟื้นฟูและเยียวยาโดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ พม. กษ. สธ. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ	- พม. ได้มี ?ศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC 1300? ในการรับแจ้งเหตุ ประสานการช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การฝึกอาชีพระยะสั้น ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ/คนพิการ ตลอดจนกำหนดแผนการฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประสบ                   สาธารณภัย
2.3 หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีแผนรองรับและมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ครอบคลุมไปถึงนักท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ รวมทั้งระบบประกันสังคมมีการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่มาจากพื้นที่อื่นและผู้ที่อยู่นอกระบบ	- รง. ได้จัดทำแผนช่วยเหลือและฟื้นฟู เช่น ขอความร่วมมือสถานประกอบการที่ไม่ประสบภัยรับแรงงานที่ประสบภัยเข้าทำงาน การจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จัดหางาน ฝึกอาชีพ และจ่ายเงินเยียวยากรณีว่างงาน
- อก. มีการดำเนินมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่               ผู้ประกอบกิจการ เป็นเวลา 1 ปี
2.4 ควรมีการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือภาคการเกษตร โดยชดเชยความเสียหาย เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งด้านปศุสัตว์ สำหรับสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม	- กษ. ได้ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ แล้ว โดยจ่ายเงินเยียวยากรณีสวนยางประสบภัย และสนับสนุนน้ำหมัก พด.6 รวมทั้งแจกจ่ายเสบียงอาหารสัตว์ ถุงยังชีพสำหรับสัตว์ ดำเนินการอพยพสัตว์ ตลอดจนจัดทีมแพทย์เคลื่อนที่
3. แนวทางการจัดการสร้างระบบเตือนภัย
3.1 รัฐบาลควรตั้งศูนย์รายงานข่าวสารเกี่ยวกับน้ำท่วมเพื่อแจ้งข่าวสารให้ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยมีระบบการสื่อสารที่ทันสมัย รวมทั้งกำหนดให้ผู้นำท้องถิ่นแจ้งข้อมูลข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ให้ประชาชนทราบโดยเร็ว	- ดศ. (ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม) มีช่องทางการสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง Website Line Facebook และ Twitter เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้ประชาชนรับทราบโดยเร็ว
- กรมประชาสัมพันธ์ ได้มีการจัดตั้ง ?ศูนย์ข้อมูลข่าวสารระดับจังหวัด? ขึ้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ
- กรมการปกครอง มีการจัดทำแผนปฏิบัติการสื่อสาร เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน พร้อมทั้งได้มีการซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติให้กับนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สำหรับกรณีการเกิดเหตุสาธารณภัยทุกรูปแบบ
3.2 ควรมีระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้ากรณีเกิดอุทกภัย รวมทั้งจัดตั้งสื่อศูนย์กลางภายในจังหวัด โดยมีหลายช่องทาง เช่น Line Facebook และสถานีวิทยุของรัฐ เพื่อรับแจ้งเหตุฉุกเฉินและปัญหาความเดือดร้อน	- อก. มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤติเพื่อติดตามนโยบาย ข้อสั่งการ และมาตรการของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อหาแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหา ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่ประสบภัย
4. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
4.1 ควรพักการชำระหนี้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และลดดอกเบี้ยให้กับประชาชนที่กู้เงินมาซ่อมแซมที่พักอาศัยที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม	- กค. ปัจจุบันมีมาตรการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้แล้ว
4.2 ควรเร่งรัดการสร้างแหล่งกักเก็บ ชะลอ และระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้	- กษ. (กรมชลประทาน) ได้จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ ในช่วงฤดูฝน ดังนี้
	- แผนงานก่อนน้ำมา ประกอบด้วยงานขุดลอกกำจัดวัชพืช ซ่อมแซมบำรุงรักษา และการจัดเตรียมเครื่องจักรกล
	- แผนงานระหว่างน้ำมา ประกอบด้วย งานเสริมคันน้ำ กระสอบทราย และงานเปิดท่อลอด/ทำนบชั่วคราว
	- แผนงานหลังน้ำท่วม ทำการสำรวจความเสียหายของระบบชลประทาน เพื่อซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว
4.3 ควรจัดสรรงบประมาณสำหรับการป้องกันก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติและอุปกรณ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ	- สงป. จะดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการในพื้นที่และแผนพัฒนาพื้นที่
4.4 ควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันภัย ในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันภัย โดยให้มีฝ่ายของชุมชนเข้าร่วมเป็นกรรมการ รวมทั้งให้ อปท. ประกาศเขตภัยพิบัติ โดยสามารถใช้งบประมาณของท้องถิ่นในการดำเนินการ	- มท. (ปภ.) ได้กำหนดกลไกระดับนโยบาย โดยมีแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ซึ่งได้กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันภัย โดยมีฝ่ายของชุมชนร่วมเป็นกรรมการด้วยแล้ว
	- อปท. สามารถใช้งบประมาณตามที่ กค. กำหนด ทั้งนี้ หากงบประมาณของท้องถิ่นไม่เพียงพอ จังหวัดสามารถพิจารณาใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ส่วนการประกาศเขตภัยพิบัติเห็นว่า เมื่อท้องถิ่นสามารถให้ความช่วยเหลือได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดให้ อปท. ประกาศเขตภัยพิบัติแต่อย่างใด เนื่องจากจะเกิดความซ้ำซ้อน
4.5 ควรมีการกระจายงบประมาณในการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติไปสู่ราชการส่วนท้องถิ่นมากขึ้น โดยไม่ต้องรอการอนุมัติจากราชการส่วนกลาง เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที และประชาชนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว	- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เห็นว่า ในกรณีเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ อปท. ไม่ว่าจะมีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือหรือไม่ก็ตาม อปท. สามารถช่วยเหลือประชาชนโดยทันทีได้ตามความจำเป็น ตามข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561



13. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 568,228,255 บาท สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สก.พอ.) เสนอ
		สาระสำคัญ
		1. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 เสนอคำขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำนวน 607,555,036 บาท ภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 มายัง สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
		2. สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 5 การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้กระทำได้ในกรณี (3) เป็นรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณไว้แล้วแต่มีจำนวนไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็ว และได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564               งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วงเงิน 607,555,036 บาท ให้กับ รฟท. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ให้สำนักงบประมาณพิจารณาดำเนินการ
		3. สำนักงบประมาณ ได้ประสาน รฟท. ให้ดำเนินการพิจารณาคำขอรับการจัดสรรงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 อย่างครบถ้วน รฟท. จึงนำความเห็นของสำนักงบประมาณมาประกอบการพิจารณา และได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ส่งไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณฯ อีกครั้งหนึ่ง โดยปรับปรุงรายละเอียดค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการเวนคืนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ทำให้จำนวนเงินค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก 607,555,036 บาท เป็น 580,630,173 บาท
		4. สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกับสำนักงบประมาณ พิจารณาผลการตรวจสอบผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า มีงบประมาณรายจ่ายที่อยู่ในข่ายที่ต้องนำมาพิจารณาโอนงบประมาณ 2 หน่วยรับงบประมาณ ได้แก่ กรมทางหลวงชนบทและการประปาส่วนภูมิภาค รวมจำนวน 11,870,100 บาท ซึ่ง รฟท. สามารถขอรับโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการจากหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวได้
		5. สำนักงบประมาณได้แจ้งผลการพิจารณาตามข้อ 3 และ 4 สรุปได้ดังนี้
			5.1 สำนักงบประมาณได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ รฟท. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 568,228,255 บาท เพื่อสมทบการขอรับโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการจากหน่วยรับงบประมาณภายใต้แผนบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 11,870,100 บาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 580,098,355 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยเบิกจ่ายในงบลงทุน
			5.2 เนื่องจากวงเงินที่เห็นควรอนุมัติเกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ขอให้ รฟท.ดำเนินการนำเรื่องดังกล่าวเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี โดยเสนอผ่านรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแล หรือผู้ที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นผู้กำกับแผนงานบูรณาการกรณีเป็นการดำเนินการภายใต้แผนงานบูรณาการ แล้วแต่กรณี ตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3)
		ทั้งนี้ สกพอ. เสนอว่า ตามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ฝ่ายรัฐต้องส่งมอบพื้นที่โครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้เอกชนคู่สัญญาภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำนวน 568,228,255 บาทภายในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เพื่อให้ส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาได้ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน มิเช่นนั้น รฟท. มีความเสี่ยงที่อาจผิดสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งเอกชนคู่สัญญาอาจมีหนังสือแจ้ง รฟท. ให้สัญญาร่วมลงทุนมีผลสิ้นสุดลง ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนฯ หรือใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายแก่ รฟท. ได้แก่              ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ รฟท. ผิดสัญญา ตามมาตรา 222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

14. เรื่อง ขออนุมัติการขอรับการอุดหนุนเงินทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยานในการดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ระยะที่ 3
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการอุดหนุนเงินทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ในกรอบวงเงิน 167.1 ล้านบาท ในการดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 (มาตรการฯ) ระยะที่ 3 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยให้เบิกจ่ายตามส่วนลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยาน และค่าบริการที่เก็บอากาศยานที่เกิดขึ้นจริง ตามนัยมาตรา 60/44 (2) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		คค. รายงานว่า
		1. หน่วยงานในสังกัด คค. ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ได้ดำเนินการมาตรการฯ ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยสิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563
		2. ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของประเทศอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการสายการบินจำนวน 7 สายการบิน เช่น สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไทยเวียตเจ็ท เป็นต้น ได้ขอให้ขยายระยะเวลาการยกเว้นและลดหย่อนค่าธรรมเนียมการดำเนินงานของสายการบินไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการพิจารณาความเหมาะสมของการขยายมาตรการดังกล่าว
		3. กพท. จึงได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดังกล่าวและนำเสนอคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 ซึ่ง กบร. ได้มีมติให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อเห็นชอบมาตรการฯ ในระยะที่ 3 โดยให้ดำเนินการทุกมาตรการต่อเนื่องจากมาตรการฯ ระยะที่ 2 และสิ้นสุดพร้อมกันวันที่ 31 ธันวาคม 2564                      (วันที่ 1 มกราคม ? 31 ธันวาคม 2564) รวมทั้งให้ประกาศให้มาตรการเป็นรายไตรมาสหากสถานการณ์ยังคงไม่คลี่คลาย ก็ให้ใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อบรรเทาผลกระทบของสายการบินต่อไป อย่างไรก็ดี มาตรการที่กระทรวงคมนาคมเสนอมาในครั้งนี้ (เฉพาะในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยาน) จะต้องได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยจากรัฐบาลก่อน จึงจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งประกอบด้วย
มาตรการฯ
3.1 ขยายระยะเวลาการปรับลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยาน (Landing Charge) ในอัตราร้อยละ 50 สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศ
3.2 ยกเว้นการจัดเก็บค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) ให้แก่อากาศยานของสายการบิน
		4. คค. พิจารณาแล้ว เห็นควรขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ               พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่ออุดหนุนเงินทุนหมุนเวียน ทย. โดยให้เบิกเงินอุดหนุนตามส่วนลดค่าบริการ (ตามข้อ 3.1 และ 3.2) ที่เกิดขึ้นจริง จึงได้มีหนังสือเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวไปยังสำนักงบประมาณ (สงป.)
		5. สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 มาตรา 60/44 (2) กำหนดให้เงินทุนหมุนเวียน ทย. ที่เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อน โดยต้องระบุจำนวนและเหตุผลความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนดังกล่าวด้วย ดังนั้น เพื่อให้การขอรับจัดสรรเงินอุดหนุนเงินทุนหมุนเวียน ทย. เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดอย่างถูกต้องครบถ้วน จึงเห็นควรที่ คค. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติหลักการในการจัดทำคำขอดังกล่าวก่อนและดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ต่อไป

15. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยทางถนนและคมนาคมของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
			คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยทางถนนและคมนาคมของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
			เรื่องเดิม
			1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความปลอดภัย
ทางถนนและคมนาคม ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม มาเพื่อดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางความปลอดภัยทางถนนและคมนาคม รวม 9 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ            2) ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ 3) ด้านถนนและสิ่งแวดล้อมปลอดภัย 4) ด้านยานพาหนะปลอดภัย 5) ด้านการให้
การศึกษา วัฒนธรรมและพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยทางถนน 6) ด้านนโยบายรัฐบาล 7) ด้านการบูรณาการทาง
รัฐสภา 8) ด้านต่างประเทศ และ 9) ด้านการคมนาคมทางระบบราง ทางน้ำ และทางอากาศ
			2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ คค. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไป
พิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข
(สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงบประมาณ
(สงป.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของ
รายงานพร้อมข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่อง
ดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน  30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอ
คณะรัฐมนตรีต่อไป










			ข้อเท็จจริง
			คค. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 2 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ	ผลการพิจารณา
1. ด้านการบริหารจัดการ ควรปรับปรุงโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน





	ปัจจุบันการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนมีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ภายใต้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนของ มท. หากจะปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานในการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน สมควรจัดตั้งเป็นองค์กรหลักระดับชาติและบูรณาการการทำงานร่วมกับส่วนราชการ ภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ ควรเพิ่มประสิทธิภาพและกำกับควบคุมการใช้รถ รวมถึงปรับปรุงบทลงโทษผู้ขับขี่ที่กระทำผิดเพื่อให้ผู้ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจร พร้อมทั้งเสนอให้มีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัย
(Smart Instrument) เพื่อเพิ่ มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
	หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้พิจารณาทบทวนบทกำหนดโทษทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิด เพื่อให้ผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจรทางบก กรณีกระทำผิดโดยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น ดื่มสุราแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และเสนอให้กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดำเนินการในเรื่องการตัดคะแนนความประพฤติของผู้ขับขี่
3. ด้านถนนและสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ควรพัฒนาถนนให้มีความปลอดภัย ปรับปรุงถนนให้ดีขึ้น
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยถนนเริ่มที่มีจุดเสี่ยงและอุบัติเหตุบ่อยครั้ง


	หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นร่วมกันว่า ควรให้ถนนในประเทศไทยมีมาตรฐานความปลอดภัย 3 ดาว และเร่งปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงและจุดอันตรายบนทางหลวงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พร้อมทั้ง
ดำเนินการก่อสร้างจุดพักรถ และจุดจอดพักรถบรรทุก ตลอดจนแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุที่มีรถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ

4. ด้านยานพาหนะปลอดภัยควรสนับสนุนให้กรมสรรพสามิตพิจารณาจัดเก็บภาษีสรรพสามิต
ในกลุ่มรถจักรยานยนต์ขนาดต่าง ๆ และให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณาลดภาษีประจำปีรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กความเร็วต่ำ	หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้พิจารณาหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตขับขี่เพิ่มเติมทุกประเภท และกำหนดให้จัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ ขนาดปริมาตรกระบอกสูบไม่เกิน 90 ซี.ซี.ในอัตราที่          ถูกลง และขนาดปริมาตรกระบอกสูบ 125 ซี.ซี. ขึ้นไปจัดเก็บภาษีในราคาที่สูงขึ้น
5. ด้านการให้การศึกษาวัฒนธรรมและพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยทางถนน ศธ. ควรพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรเพื่อบรรจุหลักสูตรการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยในการเรียนการสอนแก่นักเรียน นักศึกษา  ทุกระดับชั้น และปรับลดการจัดเก็บภาษีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับรถยนต์เพื่อทำให้ราคากล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับรถยนต์ถูกลง
	ศธ. จะได้พิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแก่นักเรียน นักศึกษา ทุกระดับชั้น เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
นอกจากนี้ จะได้มีการส่งเสริมให้มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด โดยปรับลดการจัดเก็บภาษีกล้องโทรทัศน์ วงจรปิดสำหรับรถยนต์
เพื่อจะทำให้มีราคาถูกลงและเป็นการจูงใจให้             ผู้ขับขี่ติดตั้งกล้องในยานพาหนะของตน
6. ด้านนโยบายรัฐบาล รัฐบาลต้องมีนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนนที่ชัดเจน มีแผนงานและ
มาตรการรองรับที่สามารถปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม และมีการสอดประสานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง	กรมการขนส่งทางบกได้ทบทวนการขยายอายุการใช้งานรถตู้โดยสารสาธารณะ ให้คงอายุการใช้งานรถตู้โดยสารประจำทางไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก และให้คงนโยบายห้ามเพิ่มจำนวนรถตู้โดยสารสาธารณะ
7. ด้านการบูรณาการทางรัฐสภา  ควรพิจารณาสภาพปัญหา ขับเคลื่อนและผลักดันกระบวนการทางกฎหมายด้านความปลอดภัยทางถนน	หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นร่วมกันว่า ควรให้มีการเสนอรายงานผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางถนนประจำปีให้รัฐสภารับทราบ
8. ด้านต่างประเทศ ควรดำเนินการตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางถนนขององค์การสหประชาชาติ (UN) ให้ครบถ้วนทุกข้อ กำหนดเป้าหมายใหม่ตามพันธกรณีที่เปลี่ยนแปลงไปโดยยึดถือปฏิญญาสต็อกโฮล์ม (Stockholm Declaration) โดยเร็วและนำองค์ความรู้และมาตรการความปลอดภัยทางถนนใหม่ ๆ จากการประชุมระดับโลกมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย	หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายระดับโลก ว่าด้วยความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3 โดยในปฏิญญา
สต็อกโฮล์ม ได้กำหนดเป้าหมายในการลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนลง ร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2030 เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์สู่ศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050
9. ด้านการคมนาคมทางระบบราง ทางน้ำ และทางอากาศ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการคมนาคมทางระบบราง ทางน้ำและทางอากาศอย่างบูรณาการ	คค. ได้เพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยทางคมนาคม ทางระบบราง ทางน้ำและทางอากาศ อย่าง
บูรณาการ เช่น การเสนอแก้ไขกฎหมาย
การเข้มงวดผู้ประกอบการในการดูแลผู้โดยสาร


16. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนเมษายน 2564
			คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนเมษายน
2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ  ดังนี้
		สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง
		1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนเมษายน 2564 ดังนี้
			ภาพรวม
				ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเมษายน 2564 กลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในรอบ 14 เดือน และขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี 4 เดือน เป็นผลจากราคาน้ำมัน  ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้เมื่อเทียบกับฐานราคาที่ต่ำมากในปีก่อน ประกอบกับมาตรการลดค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภคของรัฐสิ้นสุดลง รวมทั้งอาหารสดหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นตามผลผลิตที่ลดลง ขณะที่สินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
				เงินเฟ้อในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 3.41 (YoY) โดยมีสาเหตุสำคัญจากสินค้าในกลุ่มพลังงานที่ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดร้อยละ 36.38 (เทียบกับร้อยละ 1.35 ในเดือนก่อน) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานราคาน้ำมันที่ต่ำมากในปีก่อน และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ในประเทศปีนี้ยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาตลาดโลก ประกอบกับมาตรการลดค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาของรัฐได้สิ้นสุดลง นอกจากนั้น สินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะ เนื้อสุกร ผักและผลไม้ ขยายตัวที่ร้อยละ 0.11 เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับผลผลิต การส่งเสริมการขายและความต้องการ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.30 (YoY) ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.09
				เงินเฟ้อที่กลับมาขยายตัวในเดือนนี้ นอกจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันและการสิ้นสุดของมาตรการของรัฐดังกล่าวแล้ว ยังมีสัญญาณด้านสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่สนับสนุนการใช้จ่ายของประชาชน และอุปสงค์ในตลาดโลกที่เริ่มฟื้นตัวตามลำดับ โดยด้านอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ประกอบกับรายได้เกษตรกรที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ รถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ ที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ขณะที่ด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง และอัตราการใช้กำลังการผลิตปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริโภค และเป็นประเด็นข้อกังวลที่อาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ต่อเนื่อง ซึ่งต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดว่าจะสามารถควบคุมให้กลับมาสู่ภาวะใกล้เคียงปกติได้เมื่อไร
				ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเมษายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 3.41 (YoY) ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 5.34 ได้แก่ หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 4.56 เนื่องจากสิ้นสุดมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐ (ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 10.21 (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.11 (ค่าแต่งผมชาย ค่าแต่งผมสตรี ยาสีฟัน) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นเท่ากันที่ร้อยละ 0.01 (เครื่องถวายพระ เครื่องรับโทรทัศน์ เบียร์ ไวน์) ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.30 (เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ เสื้อยกทรง) สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.40 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 2.35 (เนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย กุ้งขาว) กลุ่มผักสด ร้อยละ 8.60 (ต้นหอม ผักชี ผักคะน้า) กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ 2.29 (กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง องุ่น) กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 3.43 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว เครื่องปรุงรส) กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน และนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.49 และ 0.70 ตามลำดับ (กับข้าวสำเร็จรูป อาหารโทรสั่ง ข้าวราดแกง อาหารเช้า) สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 6.74 (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 4.77 (ไข่สด นมถั่วเหลือง นมสด) และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.33 (น้ำดื่ม น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)
				ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.38 (MoM) และเฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.43 (AoA)
				ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนเมษายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.0 (YoY) ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่มีการปรับปีฐานใหม่เป็นปีฐาน 2558 การสูงขึ้นของดัชนีดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.7 ตามความต้องการของตลาดและปริมาณผลผลิตเป็นสำคัญ สินค้าที่ราคาสูงขึ้นประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ กลุ่มพืชล้มลุก (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง พืชผัก (กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักกาดขาว) หัวมันสำปะหลังสด อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) กลุ่มไม้ผล (องุ่น ลำไย กล้วยหอม) กลุ่มไม้ยืนต้น (ผลปาล์มสด ยางพารา (น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ เศษยาง)) กลุ่มสัตว์ (สุกรมีชีวิต) ผลิตภัณฑ์จากการประมง (ปลาทูสด ปลาทรายแดง ปลาสีกุน) หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.7 ตามราคาวัตถุดิบ และอุปทานที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ราคาปรับสูงขึ้นค่อนข้างมาก (น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91,95 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)) กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร (เนื้อโค เนื้อสุกร กุ้งแช่แข็ง น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์) กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง) กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน (เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กฉาก) กลุ่มกระดาษ (เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง) กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ (รถยนต์นั่ง ต่ำกว่า 1,800 ซีซี รถบรรทุกขนาดเล็ก) กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ (ทองคำ) ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองหดตัวน้อยลงที่ร้อยละ 4.0 จากที่หดตัวร้อยละ 11.8 ในเดือนก่อนหน้า ตามราคาก๊าซธรรมชาติ เป็นสำคัญ
				ดัชนีราคาผู้ผลิต เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.6 (MoM) และเฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.7 (AoA)
				ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนเมษายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 8.4 (YoY) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามต้นทุนวัตถุดิบและความต้องการใช้ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ การบริโภคและการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปของไทย รวมถึงยอดการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก ที่ร้อยละ 36.1 สูงสุดในรอบ 12 ปี เป็นการปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 3.6 (ท่อร้อยสายไฟ สายโทรศัพท์ PVC สายไฟฟ้า VCT) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 3.3 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย ความต้องการในตลาดสูงขึ้นจากโครงการก่อสร้างภาครัฐเป็นสำคัญ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 2.0 (ไม้แบบ ไม้โครงคร่าว บานประตู-หน้าต่าง) หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.3 (ชีทไพล์คอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตหยาบ) หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.3 (กระเบื้องยาง PVC ปูพื้น) ขณะที่หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 1.5 (ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนฉาบสำเร็จรูป) เนื่องจากการแข่งขันสูงขึ้น และการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงซบเซา หมวดสุขภัณฑ์ และหมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.2 และ 0.1 ตามลำดับ
				ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.9 (MoM) และเฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.4 (AoA)
			2. สรุปแนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนพฤษภาคม 2564
				อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนเมษายน (หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพอื่นเพิ่มเติมจากรัฐ) โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง และฐานราคาพลังงานที่ยังต่ำมากในปีก่อน ขณะที่สินค้าและบริการอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวตามผลผลิตและความต้องการ โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐที่คาดว่าจะออกมาอย่างต่อเนื่อง น่าจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ในประเทศ ชดเชยอุปสงค์ที่ลดลงจากการท่องเที่ยวได้ ขณะที่การฟื้นตัวของโลกน่าจะช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลต่อราคาอาหารสด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันยังคงเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7?1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ +1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

17. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 และเห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กนช. และข้อสั่งการของประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (ประธาน กนช.) ในการประชุม กนช. ครั้งที่ 1/2564 ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอ และในการดำเนินการครั้งต่อไป หากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติประสงค์จะจัดทำข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ในการประชุม กนช. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
เรื่อง	ความเห็น/ข้อสั่งการของประธาน กนช./ มติที่ประชุม
1. เรื่องเพื่อทราบ (จำนวน 9 เรื่อง)
1.1 ผลการดำเนินการตามมติ กนช. ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และประธาน กนช.
	(1) โครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ได้แก่ 1) โครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท ที่ กนช. พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว 38 โครงการ งบประมาณ 203,715 ล้านบาท (ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว 34 โครงการ) 2) โครงการขนาดใหญ่ที่หน่วยงานเสนอในแผนบูรณาการปี 2565 แต่ยังไม่ผ่าน กนช. 19 โครงการ และ 3) แผนการขับเคลื่อนโครงการสำคัญ ปี 2564-2566 จำนวน 526 โครงการ
	(2) ความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของคณะทำงานติดตามการขอใช้พื้นที่ป่าของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จำนวน 78 โครงการ
	(3) มติ กนช. ที่เห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ ร่างรายงาน Country Survey Instrument for SDG Indicator 6.5.1 และ ร่าง Reporting SDG Indicator 6.5.2 เสนอองค์การสหประชาชาติ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 มีนาคม 2564) รับทราบ] 2) แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 48,687 รายการ วงเงิน 366,538.842 ล้านบาท [คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 มีนาคม 2564) เห็นชอบ] และ 3) การกำหนดให้ประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มาตรา 22 และมาตรา 36 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (7 เมษายน 2564) อนุมัติ]
	(4) แนวทางการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามนโยบายรัฐบาลภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)	ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. :
1. ควรเร่งการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ด้านน้ำอย่างต่อเนื่อง
2. ให้ทุกหน่วยงานผลิตและเผยแพร่คลิปวิดีโอผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 1 เรื่องต่อสัปดาห์และจัดส่งให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ทุกวันจันทร์ เพื่อนำไปเผยแพร่ซ้ำผ่านช่องทางอื่น ๆ เพิ่มเติม โดย สทนช. จะรวบรวมผลการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานด้านทรัพยากรน้ำรายงานนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีต่อไป
ความเห็นของ กนช. : การประชาสัมพันธ์ควรจัดทำเป็นลักษณะสื่อที่เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นได้
ข้อสั่งการของประธาน กนช. :
1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรองว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
2. ให้ทุกหน่วยงานที่มีการประชาสัมพันธ์เรื่องทรัพยากรน้ำแจ้ง สทนช. เพื่อบูรณาการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป
3. ให้ สทนช. บูรณาการทุกหน่วยงาน จัดตั้งเป็นคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ผลงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ดำเนินการตามความเห็นของ กนช. ฝ่ายเลขานุการ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้ สทนช. ทราบต่อไป
1.2 ผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
ปี 2561-2564 สรุปได้ดังนี้
	ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค ได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้าน ขยายเขตประปาเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงเขตประปาเมืองหลักพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยว และการจัดหาแหล่งน้ำสำรอง เพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มาตรฐานน้ำดื่ม
	ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น เช่น แหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน แหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ แหล่งน้ำชุมชน เป็นต้น
	ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย มีการปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ การปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติ และการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง
	ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยก่อสร้างระบบบำบัดน้ำใหม่ ปรับปรุงระบบบำบัดเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นต้น
	ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน
	ด้านที่ 6 การบริหารจัดการในช่วงปี 2561-2562 มีการจัดทำกฎหมายลำดับรองแล้วเสร็จ 18 ฉบับ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด การประเมินผลการดำเนินงานตามแผน
แม่บทฯ เป็นต้น	ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. :
1.	ควรเร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนแม่บทฯ เช่น การพัฒนาขยายเขตให้บริการประปาเมือง พื้นที่เศรษฐกิจและจัดหาแหล่งน้ำสำรอง เพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มาตรฐานน้ำดื่ม จัดทำบัญชีสินทรัพย์เพื่อดำเนินการถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
2.	เป็นต้น
2. ควรให้หัวหน้าส่วนราชการกำชับและมอบหมายผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการด้านแหล่งน้ำที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากทุกแหล่งงบประมาณทุกแผนงานที่สอดคล้องตามแผนแม่บทฯ พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้ สทนช. ทราบเป็นประจำทุกเดือน
ความเห็นของ กนช. : เห็นควรกำชับให้ อปท. รับช่วงการดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเก็บค่าน้ำ ค่าธรรมเนียม เพื่อไม่ให้แหล่งน้ำเกิดความเสียหาย
ข้อสั่งการของประธาน กนช. : ให้หน่วยงานเร่งรัดดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและรายงานผลให้ กนช. ทราบต่อไป
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้หน่วยงานดำเนินการตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. ความเห็นของ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
1.3 ความก้าวหน้าแผนงานโครงการที่เสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร และงานนโยบายที่นายกรัฐมนตรีตรวจงานในพื้นที่ และการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
	(1) แผนงานโครงการที่เสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร และงานนโยบายนายกรัฐมนตรีตรวจงานในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2562 รวม 11 ครั้ง มีแผนงานโครงการทั้งสิ้น 109 โครงการ วงเงิน 19,755.05 ล้านบาท
	(2) แผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลางฯ 31,054 โครงการ วงเงิน 28,856.27 ล้านบาท งบประมาณจัดสรร 23,286 โครงการ วงเงิน 23,264.36 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จ 11,386 โครงการ (คิดเป็นร้อยละ 53.14) และอยู่ระหว่างดำเนินการ 10,041 โครงการ	ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. :
1. ให้หน่วยงานเร่งรัดเสนอโครงการฯ เพื่อของบประมาณดำเนินการภายในปี 2566
2. ให้หน่วยงานเร่งรัดดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณฯ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2564 และให้รายงานความคืบหน้าให้ สทนช. ทราบจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ
3. โครงการที่จะแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ที่จะขอรับการจัดสรรงบประมาณฯ จะต้องผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดตามขั้นตอนการเสนอของบประมาณด้านทรัพยากรน้ำ
ข้อสั่งการของประธาน กนช. :
1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเสนอโครงการ โดยร่วมบูรณาการกับ สทนช.
2. แผนงานโครงการที่เสนอขอตั้งงบประมาณด้านทรัพยากรน้ำต้องเสนอผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดด้วย
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้หน่วยงานดำเนินการตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป

1.4 ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการภายใต้ กนช.
	(1) ด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เช่น เร่งรัดขับเคลื่อนแผนงานตามแผนหลักการพัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่บึงบอระเพ็ด บึงราชนก หนองหาร และบึงสีไฟ จัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยการสัญจรทางน้ำ การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ แก้ไขปัญหามลภาวะและคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบ เป็นต้น
	(2) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้แก่ 1) ความก้าวหน้าการคัดเลือกโครงการนำร่องและจัดทำแผนหลักโครงการนำร่องจากบัญชีพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนอง 2) การดำเนินงานตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2563/64 และ 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาความเค็มในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม
	(3) ด้านเทคนิคและวิชาการ เช่น แนวทางการจัดทำผังน้ำปี 2563-2565 การกำหนดมาตรฐานรูปแบบข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น
	(4) คณะอนุกรรมการในพื้นที่ (Area) เช่น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยม สถานการณ์น้ำและภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลาง ปัญหาน้ำเค็มรุกพื้นที่ และปัญหาการปลูกข้าวนาปรังมากกว่าแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดนครพนม สกลนคร และศรีสะเกษ การแก้ไขปัญหาภัยแล้งในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
	(5) คณะอนุกรรมการภายใต้ กนช. เห็นชอบให้เสนอ กนช. พิจารณา 2 เรื่อง ได้แก่ การวางแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกฤดูฝน ปี 2564 และมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 และแผนปฏิบัติการพัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ	มติที่ประชุม : รับทราบ
1.5 รายงานการชี้แจงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวาระพิจารณาญัติอภิปรายทั่วไป ในประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ระหว่างวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2564	มติที่ประชุม : รับทราบ
1.6 ผลการดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2563/64 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 รวม 9 มาตรการ เช่น การเร่งเก็บกักน้ำก่อนสิ้นสุดฤดูฝน การจัดหาแหล่งสำรองน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ การปฏิบัติการเติมน้ำ (ฝนหลวง) เป็นต้น	ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. :
1. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (มท.) สนับสนุนการลำเลียงน้ำไปยังพื้นที่เป้าหมายตามแผนอย่างเคร่งครัด
2. ให้ กษ. กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อลดการใช้น้ำในระดับตำบล และจัดทำแนวทางการขับเคลื่อน (Road Map) ให้เป็นรูปธรรม พร้อมรายงาน กนช. ในคราวประชุมครั้งถัดไป
ข้อสั่งการของประธาน กนช. : ให้ กษ. เร่งกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพน้ำต้นทุนและรายงาน กนช. ในคราวประชุมครั้งถัดไป
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้หน่วยงานดำเนินการตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
1.7 ความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับการออกกฎหมายลำดับรอง 21 ฉบับ (มีผลบังคับใช้แล้ว 13 ฉบับ) การจดทะเบียนก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการลุ่มน้ำภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564 ใช้บังคับ	ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. : เนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำฯ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ดังนั้น เพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำเดิมสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาให้คณะกรรมการลุ่มน้ำประจำลุ่มน้ำเดิม (25 ลุ่มน้ำ) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการลุ่มน้ำประจำลุ่มน้ำใหม่ (22) ลุ่มน้ำ) ไปจนกว่าการคัดเลือกกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำจะแล้วเสร็จ
ข้อสั่งการของประธาน กนช. : ให้ สคก. เร่งพิจารณาเพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำสามารถปฏิบัติงานได้จนกว่าการคัดสรรคณะกรรมการลุ่มน้ำใหม่จะแล้วเสร็จ
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้หน่วยงานดำเนินการตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
1.8 การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่าง สทนช. และกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้มีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564	มติที่ประชุม : รับทราบ
1.9 ถ้อยแถลงและสารของนายกรัฐมนตรีเนื่องในโอกาสสำคัญด้านน้ำ เช่น ถ้อยแถลงในวันน้ำโลก (วันที่ 22 มีนาคมของทุกปี) 	มติที่ประชุม : รับทราบ
2. เรื่องเพื่อพิจารณา (จำนวน 5 เรื่อง)
2.1 การวางแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกฤดูฝน ปี 2564 และมาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564
	(1) การวางแผนการจัดสรรน้ำ คาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การได้ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 มีปริมาณน้ำรวม 8,371 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของปริมาณน้ำใช้การได้ ซึ่งน้อยกว่าปี 2563 ในช่วงเวลาเดียวกัน 2,078 ล้านลูกบาศก์เมตร
	(2) มาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564 9 มาตรการ ได้แก่ 1) การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนทิ้งช่วง 2) การบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อใช้รองรับน้ำหลาก 3) การทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลาง และเขื่อนระบายน้ำ 4) การซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน 5) การปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ 6) การขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา 7) การเตรียมความพร้อมเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือ 8) การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ และ 9) การติดตาม ประเมินผล [คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 พฤศภาคม 2564) รับทราบ]	ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. :
1. หากหน่วยงานมีการปรับปรุง เพิ่มเติมมาตรการรับมือฤดูฝน ขอให้เสนอ สทนช. พิจารณา เพื่อจะได้ดำเนินการและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. เห็นควรเพิ่มมาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงการส่งน้ำ
มติที่ประชุม : เห็นชอบ และให้หน่วยงานที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. ส่งข้อมูลให้ สทนช. พิจารณาดำเนินการและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2.2 การปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยปรับปรุงจากเดิม 48,687 รายการ วงเงิน 366,538.842 ล้านบาท เป็น 48,115 รายการ วงเงิน 353,800.046 ล้านบาท
(เนื่องจากมีรายการซ้ำซ้อน ข้อมูลไม่ครบถ้วนและยังไม่ได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่)	ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. :
1. การปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรและการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการระหว่างหน่วยรับงบประมาณที่เป็นรายการใหม่ ให้หน่วยงานใช้รายการจากแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำที่ กนช. เห็นชอบแล้วหรือเป็นงานเตรียมความพร้อมและดำเนินโครงการด้านน้ำตามนโยบายสำคัญของนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี
2. ให้หน่วยงานส่งข้อมูลโครงการด้านทรัพยากรน้ำที่ใช้งบประมาณแผ่นดินและเงินนอกงบประมาณ ให้ สทนช. เพื่อใช้วิเคราะห์การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำและตรวจสอบความซ้ำซ้อน
ข้อสั่งการของประธาน กนช. : ให้หน่วยงานดำเนินการตามความเห็นฝ่ายเลขานุการ กนช. และส่งข้อมูลให้ สทนช. ตรวจสอบความซ้ำซ้อนเพื่อความชัดเจนและถูกต้อง
มติที่ประชุม : เห็นชอบ และให้หน่วยงานดำเนินการตามความเห็นฝ่ายเลขานุการ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช.
2.3 แผนปฏิบัติการพัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ จำนวน 84 โครงการ วงเงิน 79,955.760 ล้านบาท
	คณะอนุกรรมการบริหาร พัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟูคลองแสนแสบ มีความเห็น ดังนี้
	(1) โครงการระบบบำบัดน้ำเสียมีวงเงินงบประมาณสูง จึงขอให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) พิจารณาการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) และใช้งบประมาณจากรายได้ก่อนเป็นลำดับแรก
	(2) โครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินเกินกว่า 1,000 ล้านบาท ให้เสนอคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญพิจารณาก่อนเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
	(3) โครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านทรัพยากรน้ำ ให้หน่วยงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามขั้นตอนปกติของหน่วยงานต่อไป
	(4) ควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ ผลการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง	ข้อสั่งการของประธาน กนช. :
1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการบริหารฯ ต่อไป
2. ให้หน่วยงานเร่งดำเนินการและจัดประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้คลองแสนแสบกลับมาใสสะอาดตามความต้องการของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี
มติที่ประชุม : เห็นชอบ โดยให้ กทม. เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการ
บริหารฯ และข้อสั่งการของประธาน กนช.
2.4 การจัดทำขอบเขตสำหรับการหารือระดับชาติเรื่องน้ำในประเทศไทย [Terms of Reference (TOR) for a National Dialogue on Water in Thailand] เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงนโยบายด้านน้ำที่สำคัญให้สอดคล้องกับการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้านน้ำในภูมิภาคเอเชีย และสนับสนุนการลงทุนด้านความมั่นคงด้านน้ำและการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในภูมิภาคเอเชีย	ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. : เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนข้อมูลให้ สทนช. เพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และ สทนช. ประสาน ติดตาม และรายงานความก้าวหน้าให้ กนช. ทราบ
มติที่ประชุม : เห็นชอบ และให้หน่วยงานดำเนินการตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช.
2.5 การแต่งตั้ง ปรับปรุง แก้ไข และยกเลิกคำสั่งคณะอนุกรรมการภายใต้ กนช.	มติที่ประชุม : เห็นชอบ
		ข้อสั่งการเพิ่มเติมของประธาน กนช. มีดังนี้
		1. ให้ กษ. เร่งวางแผนเรื่องการเพาะปลูก โดยระบุพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจน โดยต้องประสานงานกับ มท. และแจ้งให้จังหวัดทราบ
		2. แผนงานโครงการที่หน่วยงานขอตั้งงบประมาณด้านทรัพยากรน้ำ ต้องเสนอผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและส่งข้อมูลให้ สทนช. พิจารณา
		3. ให้หน่วยงานเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนต่อไป

18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2564 และ            ครั้งที่ 18/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2564 (วันที่ 20 พฤษภาคม 2564) และครั้งที่ 18/2564 (วันที่ 28 พฤษภาคม 2564) ที่ได้พิจารณาจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 วรรคสามของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) (ครั้งที่ 4) การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการขอยกเลิกโครงการของจังหวัด เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้
		1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (2) เพิ่มเติม                (ครั้งที่ 4) จำนวน 16,238 ล้านบาท เพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา - 2019 รอบใหม่ในประเทศ
		2. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชาชนในประเทศไทย เพิ่มเติมจำนวน 35 ล้านโดส ของกรมควบคุมโรค ระยะเวลาดำเนินการ 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กันยายน 2564 กรอบวงเงิน 6,378.2250 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		3. อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน (เดือนเมษายน - กันยายน 2564) กรอบวงเงิน 10,569.8283 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		4. อนุมัติโครงการค้นหาเชิงรุกสำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระดับพื้นที่ของกรมควบคุมโรค ระยะเวลาดำเนินงาน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 กรอบวงเงิน 129.3028 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.5 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้กรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		5. เห็นควรอนุมัติโครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระยะเวลา 3 เดือน (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 1,575.4950 ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติในอนาคตและกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติมก็สามารถขอรับเงินค่าตอบแทนเพิ่มเติมให้แก่ อสม. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน อสม. ได้ต่อไป
		6. อนุมัติโครงการภายใต้มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ (ด้านไฟฟ้าและด้านน้ำประปา) จำนวน 4 โครงการ ของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค กรอบวงเงินรวม 4,512.75 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 2.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		7. อนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 กรอบวงเงิน 16,380.1908 ล้านบาท และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ กรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 2.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		8. อนุมัติโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 กรอบวงเงิน 93,000 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ กรอบวงเงิน 28,000 ล้านบาท ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ พร้อมทั้งอนุมัติให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกอบการ/ร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเติมว่า ?การกำหนดเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้กำหนด? และมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		9. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ติดตามและประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างใกล้ชิด โดยในกรณีที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ตามกำหนดการที่เสนอไว้ให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เร่งเสนอเรื่องขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป และรับทราบแนวทางป้องกันการทุจริตโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเสนอ พร้อมทั้งเห็นควรให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จัดให้มีสายด่วนเพื่อรับแจ้งเบาะแสความผิดปกติในการใช้จ่ายเงินภายใต้โครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้ง 4 โครงการ เพื่อให้การป้องกันการทุจริตมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น
		10. อนุมัติโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรอบวงเงิน 75.6218 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือนตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2564 โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		11. อนุมัติให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาระบบปกติใหม่ของบริการการแพทย์ฉุกเฉินและพร้อมรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จาก 3 เดือน (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564) เพิ่มเติมอีก 6 เดือน (ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน 2564) และมอบหมายให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		12. อนุมัติการยกเลิกโครงการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยในโรงเรือนอัจฉริยะเพื่อพัฒนาสู่อินทรีย์รองรับเมืองสุขภาวะ กิจกรรมสนับสนุนการปลูกผักปลอดภัยในโรงเรือนอัจฉริยะและตรวจรับรองตามมาตรฐานการปฏิบัติทางเกษตรที่ดี (GAP) ของสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่ กรอบวงเงิน 13,951,500 บาท และมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		13. อนุมัติการยกเลิกการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การแปรรูป ?แพะเมืองสิงห์? ของจังหวัดสิงห์บุรี กรอบวงเงิน 2,340,520 บาท และมอบหมายให้จังหวัดสิงห์บุรีดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

ต่างประเทศ

19. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 25 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers? Meeting: AFMM) ครั้งที่ 25 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 7 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบรูไนดารุสซาลามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
การประชุม	สาระสำคัญ
1.1 การประชุม AFMGM และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ	?	ประเด็นหารือกับผู้แทนสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ (1) แนวโน้มต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของภูมิภาค (2) แนวทางการสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของอาเซียน เช่น การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล นโยบายเศรษฐกิจสีเขียว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว การพัฒนาระบบภาษีและความร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศ และความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อการระดมทรัพยากรภายในประเทศ
?	รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการส่งเสริมภาคธุรกิจ โดยแบ่งปันประสบการณ์ของประเทศไทย (ไทย) ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อดำเนินมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล รวมทั้งได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับตลาดหลักทรัพย์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน โดยการเสนอขายพันธบัตรรัฐบาลผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้และการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ
1.2 การประชุม AFMM ครั้งที่ 25	?	รับทราบความคืบหน้าที่สำคัญของความร่วมมือทางการเงินในอาเซียน ได้แก่ (1) ด้านศุลกากร (2) ด้านภาษีอากร (3) ด้านการประกันภัย (4) ด้านการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (5) ด้านการกำกับดูแลตลาดทุนและการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และที่ประชุมได้รับทราบความสำเร็จของโครงการ เช่น การเดินรถจริงในโครงการนำร่องระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน นอกจากนี้ เลขาธิการอาเซียนได้เสนอแนะการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน การอำนวยความสะดวกด้านศุลกากร และการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 เพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างยั่งยืน
?	รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวสนับสนุนให้ประเทศอาเซียนใช้ประโยชน์จากระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว เพื่อความสะดวกในการใช้ประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และหวังว่าประเทศสมาชิกจะมีความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
1.3 การประชุม AFMGM ครั้งที่ 7 	?	รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการในสาขาต่าง ๆ ภายใต้แผนงานการรวมกลุ่มด้านการเงินและความร่วมมือด้านการเงินของอาเซียน โดยที่ประชุมได้รับรองข้อริเริ่มการพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาคตลาดทุน ภาคการธนาคาร และภาคประกันภัย เพื่อสนับสนุนการระดมทุนและการลงทุนในกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน
?	รับทราบประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การรับฟังข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากผู้แทนภาคเอกชน ในประเด็นความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมกลไกการระดมทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีทางการเงินสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล พลังงานที่ยั่งยืนเพื่อสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำผ่านเครื่องมือด้านการเงินการคลัง และการส่งเสริมบริการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในประเทศ
?	รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านนโยบายการเติบโตอย่างยั่งยืนของไทยในการผลักดันโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังมีการออกพันธบัตรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
		2. แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนได้เผยแพร่ผลลัพธ์ของการประชุมฯ ในรูปแบบแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งมีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 อย่างไรก็ตาม มีการปรับปรุงถ้อยคำแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อให้มีความเหมาะสมและสะท้อนข้อเท็จจริงมากขึ้นโดยไม่กระทบสาระสำคัญ เช่น การเพิ่มข้อความเกี่ยวกับข้อริเริ่มการพัฒนา ASEAN Taxonomy ให้สะท้อนเจตนารมณ์ในการผลักดันวาระด้านความยั่งยืนให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น การเพิ่มข้อความที่สะท้อนการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสะท้อนการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของไทย
		3. กค. เห็นว่า การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 25 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง สะท้อนความร่วมมือใรการส่งเสริมการรวมกลุ่มด้านการเงินของอาเซียนเพื่อบรรลุเป้าหมายตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2025 นอกจากนี้ ยังมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและนโยบายการเงินการคลังในภูมิภาคอาเซียนที่สำคัญต่อไทย รวมถึงการหารือเกี่ยวกับมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากโควิด-19

20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 1 และการประชุมที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมทางไกล
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 1 (The 1st ASEAN Digital Ministers Meeting: ADGMIN) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล และมอบหมายหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 (ASEAN Digital Masterplan 2025: ADM 2025) ต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ดศ. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 1 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 18 ? 22 มกราคม 2564 โดยมีสหพันธรัฐมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 1 มีสาระสำคัญ ดังนี้
			1.1 การแลกเปลี่ยนมุมมองและวิสัยทัศน์การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในภูมิภาค ภายใต้แนวคิดหลักของการประชุม ?อาเซียน :ประชาคมที่เชื่อมโยงกันด้วยดิจิทัล? โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้แสดงบทบาทและวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือด้านดิจิทัลในการควบคุมการแพร่ระบาดฯ และการบูรณาการด้านดิจิทัลร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อยกระดับศักยภาพในการผลิตและโอกาสในการดำเนินธุรกิจอย่างครอบคลุม รวมทั้งได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคอาเซียน โดยจะดำเนินการให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025
			1.2 ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
				(1) ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ปี 2563 ภายใต้การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล (ASEAN Digital Senior Officials ADGSOM) และสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งอาเซียน (ASEAN Telecommunication Regulators' Council: ATRC) ซึ่งได้มีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญ เช่น แนวทางการดำเนินงานสำหรับกรอบการจัดการข้อมูลอาเซียนและกลไกการไหลเวียนข้อมูลข้ามพรมแดนของอาเซียน แผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 และข้อริเริ่มอาเซียนในการอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดระบบนิเวศโอทีทีที่ยั่งยืน* นอกจากนี้ ADGSOM และ ATRC มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียน ค.ศ. 2020 โครงการการจัดทำข้อเสนอแนะด้านนโยบายเพื่อพัฒนาระบบนิเวศ 5G ในอาเซียน และโครงการศึกษาการลดอัตราค่าบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ ระยะที่ 1
				(2) ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ASEAN Cybersecurity Coordinating Committee Meeting: ASEAN Cyber - CC) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 โดยมีการดำเนินการที่สำคัญ เช่น การรับรองขอบเขตการดำเนินงานของ ASEAN Cyber - CC และแผนการดำเนินงาน รวมทั้งการหารือถึงแนวทางการดำเนินงานในการปฏิบัติตามบรรทัดฐานของรัฐเรื่องความรับผิดชอบบนโลกไซเบอร์ 11 ข้อ
			1.3 ที่ประชุมได้เห็นชอบเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
				(1) อนุมัติงบประมาณ 224,700 ดอลลาร์สหรัฐ จากกองทุน ASEAN ICT Fund เพื่อใช้ดำเนินโครงการและกิจกรรมสำหรับปี 2564 โดยมีโครงการและกิจกรรมในส่วนของประเทศไทย 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการ Study on ICT Startup Problems and Developing Policy for Their Growth (ได้รับงบประมาณสนับสนุน 27,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และ (2) โครงการ ASEAN Strategic Guidance for Artificial Intelligence and Digital Workforce (ได้รับงบประมาณสนับสนุน 25,5500 ดอลลาร์สหรัฐ)
				(2) เห็นชอบและรับรองแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางความร่วมมือของอาเซียนด้านดิจิทัลในระยะ 5 ปี (ปี 2564 - 2568) ภายใต้วิสัยทัศน์ ?อาเซียน : ประชาคมชั้นนำด้านดิจิทัล และกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี บริการดิจิทัล และระบบนิเวศที่มีความปลอดภัยและปรับเปลี่ยนได้? ทั้งนี้ แผนแม่บทฉบับที่ได้มีการรับรองได้มีการปรับแก้จากฉบับที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 โดยเป็นการปรับถ้อยคำให้มีความกระชับและยึดหยุ่นมากขึ้น ระบุขอบเขตการดำเนินงานเฉพาะที่สอดคล้องกับสาขาดิจิทัล และปรับแนวทางการวัดผลความสำเร็จของ
แผนแม่บทฯ ให้มีความเหมาะสม (ดศ. แจ้งว่า เป็นการปรับเปลี่ยนร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว)
		2. การประชุมระหว่างอาเซียนและคู่เจรจา [สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐอินเดีย สหรัฐอเมริกา และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)] มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
			2.1 กิจกรรมความร่วมมือในปี 2563 ได้แก่
คู่เจรจา	กิจกรรมความร่วมมือ
สาธารณรัฐประชาชนจีน	ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ? จีน
ประเทศญี่ปุ่น	? การแลกเปลี่ยนนโยบายด้านไอซีที
? การแจ้งเตือนภัยพิบัติอัจฉริยะ
? การพัฒนาระบบนิเวศ 5G
? การพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยศูนย์ความร่วมมืออาเซียน ? ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ASEAN ? Japan Cybersecurity Capacity Building Centre: AJCCBC)
สาธารณรัฐเกาหลี	? การส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรม ความเชื่อมโยง การพัฒนาด้านบุคลากรและความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศ
สหรัฐอเมริกา	? การพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัล
? การพัฒนาระบบนิเวศ 5G
? การปกป้องโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ
? ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
สาธารณรัฐอินเดีย	? การพัฒนาด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาออนไลน์
? การพัฒนาขีดความสามารถและการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับนโยบายและกฎระเบียบ
? การฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมขั้นสูงและเครือข่าย
สหภาพโทรคมนาคม
ระหว่างประเทศ	การสนับสนุนการพัฒนาด้านไอซีที ได้แก่ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ระบบนิเวศ 5G และบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ
			2.2 ที่ประชุมได้รับรองแผนงานความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ                 การสื่อสารระหว่างอาเซียนและคู่เจรจา ปี 2564 โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น การยกระดับความร่วมมือด้านดิจิทัล การพัฒนาด้านบุคลากร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่ และการพัฒนาเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยจะดำเนินการให้สอดคล้องตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025
			2.3 ในโอกาสนี้ ประเทศไทยได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงกับคู่เจรจาโดยแสดงความขอบคุณในการส่งเสริมความร่วมมือด้านไอซีทีในภูมิภาคอาเซียนด้วยดีมาตลอด และประเทศไทยยินดีที่จะสนับสนุนอาเซียนและคู่เจรจาเพื่อพัฒนาภูมิภาคอาเซียนให้เป็นประชาคมที่เชื่อมโยงด้วยดิจิทัลอย่างยั่งยืนต่อไป
		3. ดศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 เช่น การยกระดับคุณภาพและความครอบคลุมด้านโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตทั้งแบบประจำที่และเคลื่อนที่ การสร้างบริการดิจิทัลที่เชื่อถือได้ และการคุ้มครองผู้บริโภค การสร้างตลาดที่มีการแข่งขันอย่างยั่งยืนด้วยการจัดหาบริการดิจิทัลและการเพิ่มศักยภาพให้กับภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นำไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
* โอทีที (Over ? the ? top: OTT) คือการให้บริการผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเปิด โดยที่ผู้ให้บริการ OTT ไม่มีการลงทุนหรือเป็นเจ้าของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง เช่น การเสนอเนื้อหาผ่านแพลตฟอร์ม Facebook YouTube หรือ Netflix

21.  เรื่อง  ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกองทัพสิงคโปร์กับกองทัพไทย ว่าด้วยการส่งชุดปฏิบัติงานไปปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์ข่าวสารการต่อต้านการก่อการร้ายประจำภูมิภาค ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกองทัพสิงคโปร์กับกองทัพไทย ว่าด้วยการส่งชุดปฏิบัติงานไปปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์ข่าวสารการต่อต้านการก่อการร้ายประจำภูมิภาค ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และให้เจ้ากรมข่าวทหาร หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้เจ้ากรมข่าวทหาร หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้กระทรวงกลาโหม (กห.) พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
		สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายและวิธีดำเนินการในการมีส่วนร่วมและความร่วมมือระหว่างคู่ภาคี เกี่ยวกับศูนย์ข่าวสารการต่อต้านการก่อการร้าย (Counter ? Terrorism Information Facility: CTIF) โดยวิธีดำเนินการแบ่งปันข่าวสาร (1) คู่ภาคีจะสนับสนุนให้มีการแบ่งปันข่าวสารที่เกี่ยวข้องจากประเทศของตนกับ CTIF และข่าวสารที่ค้นพบจากการใช้ระบบของ CTIF กับชุดปฏิบัติงานจากชาติที่เป็นหุ้นส่วนอื่นใน CTIF (2) คู่ภาคีจะคงการปรับเปลี่ยนในการเลือกบุคคลที่ต้องการแบ่งปันข่าวสาร รวมทั้งชุดปฏิบัติงานจากชาติที่เป็นหุ้นส่วนบางส่วนหรือทั้งหมด แต่ไม่รวมถึงกลไกความริเริ่มด้านการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคและนอกภูมิภาค ซึ่งเกี่ยวข้องกับกองทัพหรือหน่วยบังคับใช้กฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับ CTIF โดยคู่ภาคีอาจจะกำหนดวิธีการใช้ข่าวสารของตน และคู่ภาคีจะแจ้งให้กองบัญชาการ CTIF ทราบถึงการแบ่งปันดังกล่าว (3) คู่ภาคีอาจแบ่งปันข่าวสารที่ได้รับจาก CTIF กับหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายที่เกี่ยวข้องภายใต้รัฐบาลของประเทศตน (4) ข่าวสารทั้งปวงที่แบ่งปันกับ CTIF ควรสอดคล้องกับนโยบาย กฎหมายและระเบียบแห่งชาติเกี่ยวกับการเปิดเผยข่าวสารให้แก่ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องและที่ใช้ปฏิบัติอยู่ของคู่ภาคี

22.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันสาขาบริการโทรคมนาคมของไทยรอบอุรุกวัย ฉบับปรับปรุง ภายใต้องค์การการค้าโลก
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันสาขาบริการโทรคมนาคมของไทยรอบอุรุกวัย ฉบับปรับปรุง ภายใต้องค์การการค้าโลก ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) นำร่างตารางข้อผูกพันสาขาบริการโทรคมนาคมของไทยรอบอุรุกวัย                  ฉบับปรับปรุง ภายใต้องค์การการค้าโลก เข้าสู่กระบวนการภายใต้องค์การการค้าโลกเพื่อให้ร่างตารางข้อผูกพันที่ได้ปรับปรุงแล้วดังกล่าวมีผลผูกพันทางกฎหมายต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างตารางข้อผูกพันดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                           30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
		ทั้งนี้ ร่างตารางข้อผูกพันสาขาบริการโทรคมนาคมของไทยรอบอุรุกวัย ฉบับปรับปรุง ภายใต้องค์การการค้าโลก ที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ เป็นการปรับปรุงตารางข้อผูกพันสาขาบริการโทรคมนาคมของไทย สำหรับบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน 4 บริการ ได้แก่ บริการโทรศัพท์ บริการเทเลกซ์ บริการโทรเลข และบริการโทรสาร เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่ใช้ในปัจจุบัน และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน หลักการขององค์การการค้าโลกและมาตรฐานสากล
		สาระสำคัญของเรื่อง ปรับปรุงร่างตารางข้อผูกพันสาขาบริการโทรคมนาคมของไทยรอบอุรุกวัย ภายใต้องค์การการค้าโลก เฉพาะบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน 4 บริการ ได้แก่ (1) บริการโทรศัพท์ (2) บริการเทเลกซ์ (3) บริการโทรเลข และ (4) บริการโทรสาร ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 1) ปรับปรุงเงื่อนไขทั่วไป (General Conditions) ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่ใช้ในปัจจุบัน 2) ปรับปรุงข้อผูกพันเฉพาะ (Specific Commitments) เกี่ยวกับเงื่อนไขการจัดตั้งธุรกิจ และ 3)ปรับปรุงข้อผูกพันเพิ่มเติม (Additional Commitments) โดยยอมรับหลักการกำกับดูแลบริการโทรคมนาคมพื้นฐานตามเอกสารอ้างอิงเรื่องบริการโทรคมนาคม ณ วันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1996 (Telecommunications Services: Reference Paper) ภายใต้องค์การการค้าโลก

23.  เรื่อง  ร่างปฏิญญาทางการเมืองเรื่องเอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2564 ในการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องเอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองเรื่องเอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2564 ในการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องเอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำหรือประเด็นที่มิใช่สาระสำคัญต่อร่างปฏิญญาทางการเมือง และไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้ผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนไทยร่วมรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองเรื่องเอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2564 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
		สาระสำคัญ
		ร่างประกาศปฏิญญาทางการเมืองเรื่องเอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2564 มีสาระสำคัญประกอบด้วย การเรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมติดตามการดำเนินการยุติปัญหาเอดส์ในฐานะภัยคุกคามด้านสาธารณสุขภายในปี    พ.ศ. 2573 และความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยืนยันวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี พ.ศ. 2573 ตามเป้าหมาย SDG 3.3 เพื่อยุติเอดส์ ภายในปี พ.ศ. 2573 และตระหนักว่าการยุติเอดส์ได้ จำเป็นต้องยุติความไม่เท่าเทียมกัน และขับเคลื่อนการดำเนินการในหลายภาคส่วนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ จำเป็นต้องเร่งรัดการดำเนินการเพื่อยุติปัญหาเอดส์ และพันธกรณีที่จะขอให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมแสดงความมุ่งมั่น โดยสรุป ดังนี้
		1. ให้ความสำคัญกับการป้องกันเชื้อเอชไอวี และสร้างความมั่นใจว่าร้อยละ 95 ของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี จะเข้าถึงและมีทางเลือกการป้องกันเชื้อเอชไอวีแบบผสมผสานที่เหมาะสม ยึดคนเป็นศูนย์กลางและมีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2568
		2. บรรลุเป้าหมาย 95 ? 95 ? 95 ในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี การรักษา และการกดปริมาณไวรัส เพื่อให้แน่ใจว่าภายในปี พ.ศ. 2568 จะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก อย่างน้อย 32 ล้านคน เข้าถึงการรักษา
		3. ขจัดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกและยุติโรคเอดส์ในเด็ก ภายใน ปี พ.ศ. 2568
		4. ให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศและสิทธิมนุษยชนของสตรีและเด็กหญิงกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการการดำเนินงานลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี
		5. ใช้หลักการการมีส่วนร่วมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และเสริมสร้างพลังอำนาจให้ชุมชน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และผู้ได้รับผลกระทบจากเชื้อเอชไอวี ซึ่งรวมถึงสตรี วัยรุ่น และเยาวชน และกลุ่มประชากรหลัก มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำการดำเนินงานด้านเอชไอวี
		6. ขจัดการตีตราและเลือกปฏิบัติจากเอชไอวี และให้ความเคารพ ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และผู้ได้รับผลกระทบจากเชื้อเอชไอวี  โดยมีการลงทุนด้านทรัพยากรที่เป็นรูปธรรมและการพัฒนาแนวทางและการอบรมให้แก่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
		7. เสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของโลกและเพิ่มการลงทุนประจำปีด้านเอชไอวีในประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ
		8. เร่งรัดการบูรณาการเอชไอวีเข้าสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเพิ่มความเข้มแข็งและยืดหยุ่นให้กับระบบสุขภาพและการปกป้องทางสังคม การสร้างระบบให้กลับคืนมา ให้มีความเท่าเทียมและครอบคลุมมากขึ้นในภาวะวิกฤตทางมนุษยธรรมและโรคโควิด-19  และเสริมสร้างความมั่นคงทางสุขภาพของโลก รวมทั้งการเตรียมความพร้อมต่อการระบาดทั่วโลกในอนาคต
		9. เสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการใช้ข้อมูล นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาและวิทยาการเพื่อเร่งรัดการยุติเอดส์

24.  เรื่อง  ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 6
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 6 จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย (1) ร่างข้อริเริ่มของรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น (Initiative of the Foreign Ministers of the Lancang ? Mekong Countries on Deepening Cooperation among Local Governments) (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านพัฒนาที่ยั่งยืน (Joint Statement of the Foreign Ministers of the Lancang ? Mekong Countries on Enhancing Sustainable Development Cooperation) และ (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์แผนดั้งเดิมในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Joint Statement on Deepening Cooperation on Traditional medicine Within the Framework of Lancang ? Mekong Cooperation)  ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 6 ตามที่ประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง มีฉันทามติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                   สาระสำคัญของร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ 3 ฉบับ มีดังนี้
                   1. ร่างข้อริเริ่มของรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกทั้งหกประเทศสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เช่น การจัดการหารือว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ติดชายแดนและหน่วยงานด้านการบริหารจัดการชายแดน การส่งเสริมการสอดประสานระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนากับการยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับท้องถิ่น การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเมืองพี่เมืองน้อง การลดความยากจนและการพัฒนาชนบท สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การศึกษา การกีฬา สาธารณสุข กิจการสตรีและเยาวชนในระดับท้องถิ่น
                   2. ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกทั้งหกประเทศได้ทบทวนความสำเร็จของความร่วมมือสาขาต่าง ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และร่วมกันกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคต ได้แก่ สาธารณสุข การบริหารจัดการน้ำ  สิ่งแวดล้อม  เศรษฐกิจ และอื่น ๆ
                   3. ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์แผนดั้งเดิมในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกทั้ง 6 ประเทศ สนับสนุนการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์แผนดั้งเดิม และยินดีต่อถ้อยแถลงร่วมระหว่างทบวงกิจการแพทย์แผนจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีนกับกระทรวงสาธารณสุขของไทยและหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศลุ่มน้ำโขงอื่น ๆ ที่เห็นพ้องในการเร่งประสานงานและส่งเสริมการใช้แพทย์แผนดั้งเดิมในการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อ รวมถึงโรคโควิด-19 ผลักดันการทำวิจัยร่วม การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การแลกเปลี่ยนและการฝึกอบรมบุคลากรด้านการแพทย์แผนดั้งเดิมระหว่างประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
                   ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาจะเป็นประธานร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 6 ในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ที่นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

 25.  เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                   สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีดังนี้
                   1. การทบทวนความสำเร็จของการดำเนินความสัมพันธ์อาเซียน-จีน ตลอด 30 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งอาเซียนและจีนมีความร่วมมืออย่างครอบคลุมในทุกมิติ และแสดงเจตนารมณ์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อาเซียน-จีนในมิติต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
                   2. การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ด้วยการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด การใช้ประโยชน์จากกลไกต่าง ๆ ของอาเซียน การสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และแจกจ่ายวัคซีนให้เป็นสินค้าสาธารณะ
                   3. การแสวงหาความร่วมมือกับอาเซียนภายใต้การปฏิบัติตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Recovery Framework: ACRF) การสอดประสานระหว่างแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 (Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC 2025) กับข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) การใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area: ACFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) รวมถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
                   4. การปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวทางปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ การเร่งการเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in the South China Sea: COC) ที่มีประสิทธิภาพมีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea: UNCLOS) ค.ศ. 1982 การส่งเสริมความมั่นคงทางทะเล การแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี การส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลที่ปฏิบัติได้จริง และการรักษาเสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่านในทะเลจีนใต้
                   ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ระหว่างวันที่ 7 ? 8 มิถุนายน 2564 ณ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

26.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2564 และร่างแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อ (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2564 (SECOND DRAFT APEC Ministers Responsible for Trade Meeting Joint Statement 2021) (2) ร่างแถลงการณ์เอเปคเรื่องห่วงโซ่อุปทานวัคซีนโควิด-19 ( Draft APEC Statement on COVID-19 Vaccine Supply Chains) และ (3) ร่างแถลงการณ์เอเปคเรื่องการบริการเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็น (Draft APEC Statement on Services to support the Movement of Essential Goods) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ร่วมรับรองต่อร่างแถลงการณ์ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ทั้ง 3 ฉบับ มีดังนี้
                   1. ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2564 มีสาระสำคัญ ได้แก่ (1) การเร่งการผลิตและการกระจายวัคซีนโควิด-19 และให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพและราคาเข้าถึงได้ (2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าในการเคลื่อนย้ายวัคซีนโควิด-19 และสินค้าที่เกี่ยวข้องโดยมุ่ง                      การจัดทำรายการสินค้าที่จำเป็น อาทิ ยา เวชภัณฑ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ การเกษตรและอาหาร รวมถึงอุปกรณ์            อื่น ๆ (3) การทำงานร่วมกันเชิงรุกเพื่อจะสรุปเนื้อหาการเจรจาในเรื่องการยกเว้นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องวัคซีนโควิด-19 ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ที่องค์การการค้าโลก (4) การทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่การยกเว้นไม่เก็บภาษีศุลกากรของสิ่งที่ส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการถาวร (5) การหารือการปรับปรุงรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการอ้างอิงเท่านั้น ก่อนการประชุมรัฐมนตรีเอเปคเดือนพฤศจิกายน 2564 (6) การหารือเพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีบริการสิ่งแวดล้อม ผ่านการระบุถึงวิธีการที่ตกลงร่วมกันและขอบเขตสาขาบริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและรายงานความคืบหน้าในการประชุมรัฐมนตรีการค้าปี 2565 (7) การตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตรและอาหารโลก โดยขอให้มีผลลัพธ์การประชุมด้านการเกษตรที่ประสบความสำเร็จในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญครั้งที่ 12 (MC12) โดยเฉพาะประเด็นการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้าและการผลิต รวมถึงประเด็นเจรจาสำคัญอื่นภายใต้องค์การการค้าโลก อาทิ การอุดหนุนประมงที่ควรหาข้อสรุปได้ภายใน 31 กรกฎาคม 2564 และ (8) การเสริมสร้างการดำเนินงานของเอเปคในการสนับสนุนความร่วมมือของการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP)
                   2. ร่างแถลงการณ์เอเปคเรื่องห่วงโซ่อุปทานวัคซีนโควิด-19 มีสาระสำคัญ ได้แก่ (1) การตระหนักถึงการทำงานขององค์การอนามัยโลก องค์การศุลกากรโลก และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ในการอำนวยความสะดวกด้านวัคซีนและสินค้าที่จำเป็น (2) การดำเนินงานในเรื่องห่วงโซ่อุปทานวัคซีนโควิด-19 จะต้องสอดคล้องกับพันธกรณีขององค์การการค้าโลก มาตรฐานองค์การศุลกากรโลกและองค์การอนามัยโลก (3) การทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่การใช้มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ใช้ในช่วงโควิด-19 อย่างถาวรรวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับพิธีการศุลกากร การเร่งการไหลเวียนสินค้าข้ามพรมแดน และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชายแดน (4) จากสถานการณ์โควิด-19 จะไม่ใช้มาตรการจำกัด/ห้ามการส่งออก (export restrictions or prohibitions) หากไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) และ (5) การพิจารณาให้เกิดการลดต้นทุนของสินค้าเพื่อประชาชน อาทิ การลด/ยกเลิกภาษีของสินค้าด้วยความสมัครใจ
                   3. ร่างแถลงการณ์เอเปคเรื่องการบริการเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็น มีสาระสำคัญ ได้แก่ (1) ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันในการอำนวยความสะดวกด้านการบริการเพื่อสนับนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็นในช่วงเวลาวิกฤต (2) การให้ความสำคัญกับการระบุอุปสรรคด้านการค้าบริการเพื่อการไหลเวียนสินค้าที่มีความจำเป็น (3) การมีข้อสรุปการเจรจาเรื่อง Joint Statement Initiative on Domestic Regulation ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

แต่งตั้ง

27. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
   		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
   		1. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
  		2. นางกนกวรรณ วิลาวัลย์
   		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้ง นายนพดล เภรีฤกษ์ กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางสาวพัดชา พงศ์กีรติยุต เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ) ในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล แทน พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ลาออก เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
 		ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงการคลังดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 (เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการตามกฎหมาย/กรรมการและผู้บริหารขององค์การมหาชน)

30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ดังนี้
 		1. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
 		2. นายพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์
		3. นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ
		4. นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ
		5. รองศาสตราจารย์พสุ เดชะรินทร์
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ จำนวน 6 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
		1. ศาสตราจารย์จิรพร เหล่าธรรมทัศน์
 		2. นายทรงพล สมศรี
		3. ศาสตราจารย์อำนาจ วงศ์บัณฑิต
		4. รองศาสตราจารย์สมยศ ศรีสถิตย์
		5. รองศาสตราจารย์สรนิต ศิลธรรม
		6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์
 		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ รวม 7 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2563 ดังนี้
		1. นายสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ   		ประธานกรรมการ
 		2. นางศันสนีย์ ไชยโรจน์  		กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านชีววิทยาศาสตร์
		3. นายสุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน  		กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านชีววิทยาศาสตร์
		4. นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม  		กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร
		5. นายบุญชัย สมบูรณ์สุข  		กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร
		6. นายปรีชา พันธุ์ติเวช  			กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจและการลงทุน
		7. นายวรพล โสคติยานุรักษ์  		กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจและการลงทุน
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

33. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย รวม 4 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 ดังนี้
 		1. นายปริญญา เพ็งสมบัติ  	ประธานกรรมการ
 		2. นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ 	กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
		3. นายอาทิตย์ เพ็ชรรัตน์  	กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
		4. นายมานพ กาญจนบุรางกูร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

34. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง โดยได้รับค่าตอบแทนคงที่ในปีแรกอัตราเดือนละ 450,000 บาท ตามที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่                          22 สิงหาคม 2564

35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมจะดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ในวันที่ 5 มิถุนายน 2564 ดังนี้
		1. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล
 		2. นายอรุณ บุญชม
		3. นายปริญญา ประหยัดทรัพย์
		4. นายวิรุฬห์ พรพัฒน์กุล
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

36. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอแต่งตั้ง นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แทน                นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการเดิมที่ลาออก เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

37. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ รวม 3 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564 ดังนี้
		1. นายนคร ศิลปอาชา  		ประธานกรรมการ
 		2. นางสุพัฒตรา ลิมปะพันธุ์  	กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
		3. นางปัทมา วีระวานิช  		กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 มิถุนายน 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ