สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 สิงหาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday August 17, 2021 18:36 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

		วันนี้ (17 สิงหาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า                              ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลควนธานี
อำเภอกันตัง และตำบลโคกหล่อ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
พ.ศ. ?.
2. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
3. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัย				ทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?.
4. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองลาด
และตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ....
5. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลม่วงไข่ 					อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ....
6. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. ....
7.	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....
8. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ
ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. ....
9. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
พ.ศ. 2559 จำนวน 3 ฉบับ

เศรษฐกิจ สังคม

10. 	เรื่อง 	มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564
11. 	เรื่อง 	ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
ณ เดือนกรกฎาคม 2564
12. 	เรื่อง 	การพัฒนาระบบนิเวศทางกฎหมายเพื่อเร่งรัดให้เกิด Digital government
13. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ 					(Primary Health Care) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
14. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบาย
เพื่อลดผลกระทบจากการพนันออนไลน์ในเด็กและเยาวชน ของคณะกรรมาธิการ
การพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ
และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
15. 	เรื่อง 	สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมิถุนายน
และไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
16. 	เรื่อง 	ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2525 เรื่อง โครงการ					แก้ปัญหาการกระจายทันตแพทย์ โดยกำหนดเงื่อนไขการเข้ารับราชการ
17. 	เรื่อง 	ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน
หรือจำเป็น พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหา				ภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
18. 	เรื่อง 	คณะกรรมการการบินพลเรือนกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรือนแห่งชาติ
19. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564
20. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2564
21. 	เรื่อง	รายงานความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย
ปี พ.ศ. 2561 ? 2570
22. 	เรื่อง	สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 12/2564

ต่างประเทศ

23. 	เรื่อง 	ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง ? ล้านช้าง ครั้งที่ 6
24. 	เรื่อง 	วันอาสาสมัครสากล (International Volunteer Day : IVD)
25. 	เรื่อง 	ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย ? มณฑลกวางตุ้ง 				ครั้งที่ 1
26. 	เรื่อง 	การรับการสนับสนุนวัคซีนจากราชอาณาจักรภูฏาน
และ Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab)
จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
27. 	เรื่อง 	ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค
และร่างแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030
28. 	เรื่อง 	การมอบหมายผู้แทน (proxy) ของไทย ในการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ 				สมัยที่ 27

แต่งตั้ง

29. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
30. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
31. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
32. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงแรงงาน)
33. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 				แทนตำแหน่งที่ว่าง
34. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ
35. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
36. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396










































กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง และตำบลโคกหล่อ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง และตำบลโคกหล่อ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป และรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
 		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
 		กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง และตำบลโคกหล่อ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เพื่อขยายสนามบิน โดยต่อเติมความยาวทางวิ่ง จาก 2,100 เมตร เป็น 2,990 เมตร ตามโครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานตรัง
 		เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด รวมทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินอากาศอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค
 		ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
 		1. ท่าอากาศยานตรัง กรมท่าอากาศยาน เปิดให้บริการด้านการบินพาณิชย์ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน ปี พ.ศ. 2541 ได้มีการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 300 คน/ชั่วโมง พร้อมปรับปรุงความยาวทางวิ่งเป็น 2,100 เมตร ให้รองรับอากาศยานขนาด 150 ? 180 ที่นั่งได้ และจากการคาดการณ์จำนวนผู้โดยสารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พบว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 3,410,000 คน เป็นผู้โดยสารภายในประเทศ 1,910,000 คน และผู้โดยสารระหว่างประเทศ 1,500,000 คน จึงได้พิจารณาเพิ่มศักยภาพของท่าอากาศยานให้เพียงพอต่อการรองรับปริมาณการขนส่งทางอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้สามารถรองรับอากาศยานใหญ่ขึ้น เช่น B747 B777 A330 ที่เป็นอากาศยานขนาด 300 ? 400 ที่นั่ง สามารถบินตรงไปยังประเทศในแถบยุโรปและแถบเอเชียได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมด้านการคมนาคมขนส่งทางอากาศของจังหวัดตรังและใกล้เคียง
 		2. คค. รายงานว่า ในการดำเนินการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานตรัง ได้มีแผนและผลการดำเนินการที่ผ่านมา ดังนี้
 			2.1 ปีงบประมาณ 2559 ได้จ้างที่ปรึกษาสำรวจออกแบบก่อสร้าง ขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และส่วนประกอบอื่น ๆ ท่าอากาศยานตรัง วงเงิน 24 ล้านบาท ดังนี้
 				2.1.1 ต่อเติมความยาวทางวิ่ง จาก 2,100 เมตร เป็น 2,990 เมตร
 				2.1.2 ก่อสร้างลานจอดเครื่องบินใหม่ให้รองรับเครื่องบินขนาด B747 ได้ 5 ลำ และ B737 ได้ 5 ลำ ได้พร้อมกัน
 				2.1.3 ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ให้รองรับผู้โดยสารได้ 1,200 คน/ชั่วโมง หรือ 3.4 ล้านคน/ปี
 			2.2 ปีงบประมาณ 2561 ได้จ้างที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยานตรัง พบว่าสามารถก่อสร้างพัฒนาท่าอากาศนยานตรังได้โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ และแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินงาน เพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานตรังได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 แล้ว
 			2.3 ปีงบประมาณ 2562 ? 2564 ก่อสร้างเสริมผิวทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดเครื่องบินท่าอากาศยานตรัง วงเงิน 679 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 700 วัน โดยทำการก่อสร้างลานจอดอากาศยานใหม่ด้านทิศใต้ของทางวิ่ง รองรับเครื่องบินขนาด B747 ได้ 5 ลำ และ B737 ได้ 5 ลำ ได้พร้อมกัน พร้อมปรับปรุงระบบไฟฟ้าสนามบิน ถนนภายใน ระบบระบายน้ำตามมาตรฐานสากล และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ วงเงิน 1,070 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง สำหรับงานจัดหาที่ดินเพิ่มเติมประมาณ 675 ไร่ เพื่อต่อเติมความยาวทางวิ่งจาก 2,100 เมตร เป็น 2,990 เมตร จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2565 ? 2566
 		3. กรอบวงเงินหรือกรอบประมาณการในการดำเนินโครงการ งบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,741              ล้านบาท สรุปได้ดังนี้
 			3.1 งานจัดหาที่ดินเพิ่มเติมประมาณ 675 ไร่ วงเงินงบประมาณ 869 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2565 ? 2666)
 			3.2 งานต่อเติมความยาวทางวิ่งจาก 2,100 เมตร เป็น 2,990 เมตร พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน วงเงินงบประมาณ 1,800 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2565 ? 2568)
 			3.3 งานจ้างควบคุมต่อเติมความยาวทางวิ่งจาก 2,100 เมตร เป็น 2,990 เมตร พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน วงเงินงบประมาณ 72 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2565 ? 2568)
 		4. ในการดำเนินการโครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานตรังเพื่อต่อเติมความยาวทางวิ่ง จาก 2,100 เมตร เป็น 2,990 เมตร คค. มีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืน เพื่อให้การต่อเติมความยาวทางวิ่งดังกล่าวเป็นไปตามแผนการที่กำหนดไว้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับจำนวนผู้โดยสารและสามารถให้บริการได้ตามมาตรฐาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น อันเป็นการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินอากาศอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งพัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งทางอากาศและระบบโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการเติบโตทางการค้า การลงทุน และเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวของพื้นที่เศรษฐกิจทางภาคใต้ ตลอดจนเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน
		5. กรมท่าอากาศยานได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กรมท่าอากาศยาน ผู้แทนบริษัทที่ปรึกษาโครงการ ผู้แทนหน่วยงานราชการระดับจังหวัดและอำเภอ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน สถาบันศึกษา ศาสนสถาน และสถานพยาบาล รวมจำนวน 47 ราย และผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง (ผู้ถูกเวนคืน) จำนวน 188 ราย เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงรายละเอียดของโครงการและการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้ผู้ถูกเวนคืนทราบสิทธิและหน้าที่ของตน และเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือในการสำรวจอสังหาริมทรัพย์
		6. สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณประจำปีให้กรมท่าอากาศยาน เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว
 		7. คค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับโครงการขยายสนามบิน โดยต่อเติมความยาวทางวิ่งจาก 2,100 เมตร เป็น 2,990 เมตร ตามโครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานตรัง ตามแบบฟอร์มที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ประกอบด้วย รายละเอียดโครงการ แผนการบริหารโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ฉบับที่ ..)              พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อปรับเปลี่ยนครุยวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษให้มีความสวยงามและเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น และสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
 		กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1056 เล่ม 1-2556 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
		ทั้งนี้ อก. เสนอว่า คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ในการประชุมครั้งที่ 696-1/2564 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 เห็นชอบให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดำเนินการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1056 เล่ม 1 ? 2556
 		สมอ. ได้จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว มาตรฐานเลขที่ มอก. 1056 เล่ม 1 ? 2556 ตามประกาศ อก. ฉบับที่ 4596 (พ.ศ. 2557) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจโรคชนิดใช้ครั้งเดียว เล่ม 1 : เกณฑ์กำหนดสำหรับถุงมือที่ทำจากน้ำยางหรือสารละลายยาง และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว เล่ม 1 : เกณฑ์กำหนดสำหรับถุงมือที่ทำจากน้ำยางหรือสาระลายยาง ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
 		เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เกิดความต้องการใช้ถุงมือยางจำนวนมาก จึงทำให้กลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของผู้ผลิตถุงมือยางแบรนด์ต่าง ๆ โดยหลอกให้ผู้ซื้อโอนเงินค่าสินค้า หรือหลอกขายถุงมือยางเก่าที่ใช้งานแล้ว ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว (ถุงมือยางตรวจโรค) ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1056 เล่ม 1-2556
 		กมอ. ในการประชุมครั้งที่ 696-1/2564 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 เห็นชอบให้ สมอ. ดำเนินการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1056 เล่ม 1-2556 ต่อไป
 		อก. โดย สมอ. ได้มีประกาศ สมอ. เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และได้ประกาศผ่านเว็บไซต์ของ สมอ. (www.tisi.go.th)
และมีหนังสือแจ้งไปยังตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลต่าง ๆ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การยางแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง รวม 72 ราย เมื่อครบกำหนดระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็น รวม 60 วันแล้ว ปรากฏว่ามีผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นชอบ
 		คณะอนุกรรมการวิชาการรายสาขาคณะที่ 21/4 ถุงมือยางที่ใช้ในทางการแพทย์ในการประชุมครั้งที่ 1-1/2563 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ซึ่งมีผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอนุกรรมการวิชาการด้วยนั้น ได้พิจารณามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว มาตรฐานเลขที่ มอก. 1056 เล่ม 1-2556 โดยมีมติไม่แก้ไขมาตรฐานดังกล่าว
		อก. ได้จัดทำผลกระทบจากการบังคับใช้ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ดังนี้
 		1. ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบ ผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว (ถุงมือยางตรวจโรค)
 		2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมให้ผู้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว มีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว และป้องกันมิให้มีการนำถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย
		3. ผลกระทบด้านสังคม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจะเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นการสร้างความมั่นใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทั่วไปในการซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
 	 	4. ผลกระทบด้านสิทธิเสรีภาพของบุคคล ผู้ทำและผู้นำเข้าจะต้องขอรับใบอนุญาตทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 หรือมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และผู้จำหน่ายต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นของผู้ได้รับอนุญาต และมีการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
 		5. ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ บุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทั่วไปจะได้ใช้ถุงมือยางตรวจโรคที่มีคุณภาพ ป้องกันการนำเข้าถุงมือยางตรวจโรคที่ไม่มีคุณภาพ อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชน

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองลาดและตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตการสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองลาดและตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นชอบของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		เป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน เพื่อดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตำบลหนองลาดและตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเข้าไปทำการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดทำเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน อันจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยพัฒนาที่ดินทุกแปลงให้ได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานและการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		เป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน เพื่อดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตำบลม่วงไข่ อำเภอพันโคน จังหวัดสกลนคร เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปทำการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดทำเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน อันจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยพัฒนาที่ดินทุกแปลงให้ได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานและการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และข้อมูลเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ อว. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		1. กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาแก่สาธารณะ โดยให้เปิดเผยข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์หลักของสถาบันอุดมศึกษาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปใช้ในการประมวลผลเพื่อการอื่นได้
		2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการจัดส่งข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษาให้แก่ อว. โดยสถาบันอุดมศึกษาต้องจัดระบบข้อมูลและนำส่งข้อมูลตามมาตรฐานและระยะเวลาที่สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกำหนด
		3. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชนตามลักษณะที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติกำหนดต้องส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาและการอื่นที่เกี่ยวข้องให้แก่ อว. โดยวิธีการและระยะเวลาในการส่งข้อมูลให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างหน่วยงานและ อว.
		4. กำหนดให้ อว. มีหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลการอุดมศึกษาของประเทศ โดยรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาและการอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลข้อมูลให้มีคุณภาพ ความมั่นคง ปลอดภัย และบูรณาการข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
		5. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานภาคเอกชนที่ไม่จัดส่งข้อมูลตามกฎกระทรวงนี้โดยไม่มีเหตุอันสมควรและทำให้เกิดความเสียหาย ต้องได้รับโทษ ตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562

7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3 งาน ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงดังกล่าวแล้ว เพื่อมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอนุบาลหัวหิน

8. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีอนุมัติและรับทราบดังนี้
		1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ               ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
		2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
		ทั้งนี้ ศธ. เสนอว่า
		1. โดยที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม กำหนดมาตรการและกลไกเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาคที่มีความซับซ้อนและสั่งสมมาเป็นเวลานาน ซึ่งมาตรการและกลไกดังกล่าวมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจไว้ที่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ทั้งอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการและกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่งผลให้อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาเพื่อให้คุณและโทษต่อบุคลากรด้านการศึกษา คุณภาพการปฏิบัติงานและการจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติถูกลดทอนลง ขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณ และเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน รวมทั้งขัดต่อหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรงและขาดการยอมรับซึ่งกันและกันในองค์กร
		2. ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพในการบริหารงานบุคคลด้านการศึกษาในเขตพื้นที่ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ศธ. จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. ?. ขึ้น
		3. ศธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (www.onec.go.th) และ ศธ. ได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย พร้อมทั้งได้เปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 (เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562) แล้ว
		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
		เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 ในประเด็นดังต่อไปนี้
ประเด็น	คำสั่งหัวหน้า คสช.	ร่างพระราชบัญญัตินี้
1. อำนาจหน้าที่ของ กศจ. ในเขตจังหวัด	? อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา	? อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
2. อำนาจหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด	? ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา	? ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งอยู่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
3. อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด	? รับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
? ให้ศึกษาธิการจังหวัดโดยความเห็นชอบของ กศจ. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร	? รับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด





? ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยอนุมัติของ          อ.ก.ค.ศ. จังหวัด เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4. อ.ก.ค.ศ. จังหวัด
และ อ.ก.ค.ศ. กรุงเทพมหานคร	? ไม่มีการกำหนดในเรื่องนี้	? ให้มี อ.ก.ค.ศ. จังหวัด และ         อ.ก.ค.ศ. กรุงเทพมหานคร โดยประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด/
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 หรือเขตเดียวในจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
? กำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. จังหวัด หรือ อ.ก.ค.ศ. กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่เคยกำหนดว่าเป็นอำนาจของ กศจ. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา และของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 จำนวน 3 ฉบับ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 1. ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... 2. ร่างกฎกระทรวงศักยภาพของผู้ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี การอนุญาตและการเลิกดำเนินการให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... 3. ร่างกฎกระทรวงการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์  พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		1. ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. ....
			1.1 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์และผู้ขอรับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกวัสดุนิวเคลียร์ต้องจัดให้มีสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการ เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการใช้งาน เจ้าหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ ระบบการคุ้มครองทางกายภาพของวัสดุนิวเคลียร์ แผนป้องกันอันตรายจากรังสีที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน รวมทั้งกำหนดให้มีวิธีการเกี่ยวกับระบบการคุ้มครองทางกายภาพของวัสดุนิวเคลียร์ และแผนป้องกันอันตรายจากรังสี นอกจากนี้ ต้องจัดให้มีแผนการดำเนินการเมื่อเลิกใช้งานและจัดให้มีแผนการจัดการกากกัมมันตรังสี
			1.2 ผู้ขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์พิเศษจะต้องดำเนินการจัดให้มีระบบตรวจวัดรังสี มาตรการรองรับสำหรับกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการเกิดภาวะวิกฤต และให้ปิดประกาศมาตรการดังกล่าว รวมทั้งต้องจัดการฝึกซ้อมรองรับเหตุฉุกเฉินและจัดให้มีสถานที่ วัสดุ และอุปกรณ์สำหรับชำระล้าง ณ สถานประกอบการ
			1.3 กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์หรือใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ต้องดำเนินการรายงานวิเคราะห์ความปลอดภัยของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ในส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัย และการพิทักษ์ความปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์ที่ขออนุญาต รวมทั้งการดำเนินการเมื่อเลิกใช้งาน การจัดการกากกัมมันตรังสี และการจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว โดยให้ถือว่าเป็นศักยภาพทางเทคนิคที่ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีตามกฎหมาย
			1.4 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำผ่านวัสดุนิวเคลียร์ต้องจัดให้มีระบบการคุ้มครองทางกายภาพของวัสดุนิวเคลียร์ ได้แก่ มาตรการปิดล็อก ใส่กุญแจ ปิดผนึก มาตรการตรวจสอบความเรียบร้อยสมบูรณ์ มาตรการตรวจสอบหีบห่อซึ่งบรรจุวัสดุนิวเคลียร์ มาตรการป้องกันความลับของข้อมูลการขนส่ง มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารในยานพาหนะขนส่ง
		2. ร่างกฎกระทรวงศักยภาพของผู้ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี การอนุญาตและการเลิกดำเนินการให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. ....
			2.1 กำหนดให้สถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีมี 2 ประเภท คือ (1) สถานที่ให้บริการก่อนการขจัดกากกัมมันตรังสีที่ดำเนินการรวบรวม จำแนก คัดแยก จัดเก็บ บำบัด หรือปรับสภาพกากกัมมันตรังสี (2) สถานที่ให้บริการขจัดกากกัมมันตรังสีที่ดำเนินการจัดเก็บกากกับมันตรังสีในสถานที่หรือที่ตั้งแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยจะไม่มีการนำกากกัมมันตรังสีนั้นมาดำเนินการอื่นใดอีก
			2.2 กำหนดให้ผู้ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีต้องมีศักยภาพทางเทคนิคตามรายงานวิเคราะห์ความปลอดภัยของสถานที่ให้บริการและต้องมีศักยภาพทางการเงิน
			2.3 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการขออนุญาต การขอรับใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี และการใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการขออนุญาต และการขอรับใบอนุญาตอนุญาตเลิกดำเนินการให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี
			2.4 กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในการใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี
			2.5 กำหนดให้ผู้ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีซึ่งอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตดำเนินการให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีภายใน 180 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีและใบอนุญาตก่อสร้างสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี และเมื่อได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้ดำเนินการให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตจากเลขาธิการ
		3. ร่างกฎกระทรวงการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ พ.ศ. ....
			3.1 กำหนดคำนิยามคำว่า ?การพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์? ?ผู้รับใบอนุญาต? ?ผู้แจ้ง? ?กิโลกรัมยังผล? ?ระบบบัญชีวัสดุนิวเคลียร์? ?ตรวจวัด? ?บริเวณจัดทำงบดุลวัสดุนิวเคลียร์? และ ?ทบวงการ? เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
			3.2 กำหนดขอบเขตของสถานประกอบการตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้และกำหนดหลักเกณฑ์การหาค่ากิโลกรัมยังผลเพื่อบอกปริมาณของวัสดุนิวเคลียร์ในสถานประกอบการ
			3.3 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งต้องจัดให้มีการทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการและวัสดุนิวเคลียร์ ระบบบัญชีวัสดุนิวเคลียร์ในสถานประกอบการ จุดตรวจวัดหลักในสถานประกอบการเพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ในแต่ละบริเวณ จัดทำงบดุลวัสดุนิวเคลียร์ ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ ข้อมูลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ การตรวจวัดและบันทึกผลการตรวจวัดวัสดุนิวเคลียร์ และรายงานเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ รวมทั้งต้องจัดให้มีการดูแลรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เพื่อการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ในสถานประกอบการ
			3.4 กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายวัสดุนิวเคลียร์ออกจากสถานประกอบการ การเปิดหีบห่อที่บรรจุวัสดุนิวเคลียร์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร และการบรรจุวัสดุนิวเคลียร์ลงในหีบห่อเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร



เศรษฐกิจ สังคม


10. เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 264 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 ที่ให้ถือว่าการประชุม กก.วล. เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องสิ่งแวดล้อม และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 (เรื่อง มติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 ครั้งที่ 11/2548 และครั้งที่ 12/2548) รับทราบมติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญ และเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ]            มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
เรื่อง	มติ กก.วล.
1. การสนับสนุนเงินอุดหนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อการบริหารจัดการไฟป่าและหมอกควัน
คณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อมมีมติอนุมัติ จัดสรรเงินอุดหนุนรวม 69 โครงการ วงเงินรวม 66.09 ล้านบาท ให้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) 17 จังหวัดภาคเหนือ และ ทสจ. 3 จังหวัดภาคตะวันออกกเฉียงเหนือ เพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ?ชิงเก็บ ลดเผา? และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสม.) 49 แห่ง ในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ทสม. ในการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน	รับทราบการสนับสนุนเงินอุดหนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม และให้นำความเห็นของ กก.วล. ที่เห็นควรให้มีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพื้นที่ที่มีการดำเนินโครงการ "ชิงเก็บ ลดเผา? กับพื้นที่ที่ไม่มีการดำเนินโครงการฯ ไปใช้ประกอบการวางแผนการดำเนินงานไปพิจารณาดำเนินการด้วย
2. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 โครงการ
2.1) โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ระยะทางรวม 104.74 กิโลเมตร)
2.2) โครงการทางหลวงแนวใหม่ระหว่างทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ด้านตะวันตก-จุดตัดทางหลวงหมายเลข 347-จุดตัดทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ด้านตะวันออก-ทางหลวงหมายเลข 352 ของกรมทางหลวง (ระยะทางรวม 14.35 กิโลเมตร)	เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศทั้ง 2 โครงการ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการ ดังนี้
(1) ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
(2) ให้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการฯ ที่กำหนดไว้
(3) ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เช่น การทบทววนการออกแบบโครงสร้างทางยกระดับของโครงการฯ ให้สอคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2564
3. มาตรการการยกระดับแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง
สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่เขตเมืองและนอกเมือง ทั้งฝุ่นละอองที่เกิดจากการจราจรและที่เกิดจากการเผาในที่โล่งมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับพื้นที่ในเมือง จำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐาน ลดลงจากเดิมร้อยละ 9 โดยสถานการณ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคลี่คลายลง ในส่วนของจุดความร้อนสะสมลดลงร้อยละ 35 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 20 (เดิม 80,801 จุด ลดเหลือ 52,175 จุด) อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ภาคเหนือและหลายจังหวัดยังคงมีฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐานและมีแนวโน้มของจำนวนจุดความร้อนสะสมเพิ่มขึ้น	ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ เช่น
(1) ให้ ทส. (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้) หมุนเวียนกำลังพลไปเสริมในพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ที่เกิดไฟป่า รวมถึงรอยต่อจังหวัดที่ยังไม่มีสถานีควบคุมไฟป่าและเสริมการลาดตระเวนเฝ้าระวังไฟในพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าโดยเด็ดขาด
(2) ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ประสาน ทส. และกระทรวงกลาโหม (กองทัพภาคที่ 3) จัดให้มีชุดปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกันและดับไฟป่าประจำหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีพื้นที่ติดกับพื้นที่ป่าหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า
(3) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตรควบคู่กับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เศษวัสดุ
4. การปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร
ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) ได้ทบทวนและจัดทำร่างประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร เพื่อให้มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรรมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน ซึ่งร่างมาตรฐานฯ มีการปรับปรุงสาระสำคัญ เช่น 1) ปรับแก้คำนิยาม ?ที่ดินจัดสรร? เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2553 2) ปรับการเรียงลำดับประเภทของที่ดินจัดสรรให้สอดคล้องกับกฎหมายหลักและกำหนดประเภทของที่ดินจัดสรรให้ครอบคลุมที่ดินจัดสรรที่มีขนาดต่ำกว่า 100 แปลงลงมา 3) ปรับปรุงค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งสำหรับที่ดินจัดสรรและยกเลิกพารามิเตอร์ตะกอนหนัก (Settleable Solids)	เห็นชอบร่างประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร พ.ศ. .... และมอบหมายให้ ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนามในประกาศต่อไป
5. การกำหนดมาตรฐานค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์
ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) ได้ทบทวนและจัดทำร่างประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดค่ามาตรฐานค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) จากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ จำนวน 3 ฉบับ ให้เป็นฉบับเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้ แต่ยังคงสาระสำคัญของค่ามาตรฐานฯ ไว้ดังเดิม เช่น รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ค่าก๊าซ CO ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5 โดยปริมาตรที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ ค่าก๊าซ HC ต้องไม่เกิน 10,000 ส่วนในล้านส่วนที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ	เห็นชอบร่างประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ และมอบหมายให้ ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนามในประกาศต่อไป




11. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ            ณ เดือนกรกฎาคม 2564 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ	สาระสำคัญ
1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1.1 ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
- การจัดทำโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ สศช. ได้ประเมินผลและเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของ สศช. เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย (1) การทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของแผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และ (2) การทบทวนห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยเพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการสำคัญฯ ก่อนประเมินให้คะแนนข้อเสนอโครงการสำคัญ และนำไปจัดลำดับความสำคัญของโครงการก่อนเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป
- การรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2563 สศช. ได้รายงานสรุปผลการดำเนินการดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่    1 กรกฎาคม 2564 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นและมีประเด็นอภิปรายในภาพรวม เช่น (1) ควรพิจารณาปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือปัญหาที่สำคัญของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงตัวชี้วัดของแผนงาน/โครงการในงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และ (2) ควรเร่งรัดการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานรัฐเพื่อพัฒนาสมรรถนะของระบบราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดย สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปรายดังกล่าวไปเป็นกรอบและแนวทางสำหรับพัฒนาการขับเคลื่อนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนการรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2563 ต่อวุฒิสภา จำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากการงดการประชุมวุฒิสภาตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
- ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) สศช. ได้ประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดส่งข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งดำเนินการของ ศจพ. ในระดับจังหวัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนและการบริหารจัดการในพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
	ทั้งนี้ สศช. คาดว่าจะจัดประชุมคณะกรรมการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยของเศรษฐกิจพอเพียงในเดือนกันยายน 2564 เพื่อนำเสนอรายงานความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการดำเนินการของ ศจพ. ในระดับต่าง ๆ
- การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านแผน 3 ระดับ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีแผนระดับที่ 3 ที่หน่วยงานส่งมายัง สศช. รวมทั้งสิ้น 117 แผน แบ่งเป็น       (1) แผนปฏิบัติการด้าน... ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณาและรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบแล้ว จำนวน 84 แผน (2) แผนปฏิบัติการด้าน... ที่อยู่ระหว่างพิจารณากลั่นกรองหรือเห็นสมควรทบทวนปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จำนวน 30 แผน (3) แผนปฏิบัติการด้าน... ที่ยกเลิกการดำเนินการ จำนวน 2 แผน และ (4) แผนปฏิบัติการด้าน... ที่ผ่านกระบวนการพิจารณารอบเดือนเมษายน-มิถุนายน 2564 จำนวน 2 แผน คือ ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2565) และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2569)
	ทั้งนี้ สศช. ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผลการพิจารณากลั่นกรองแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน... ของ สศช. เพื่อให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) สามารถตรวจสอบผลการพิจารณาดังกล่าวก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
1.2 ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ	- นำเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2563 ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นและมีประเด็นอภิปรายในภาพรวม เช่น (1) ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงานของรัฐ โดยให้นำเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศเป็นกรอบในการวิเคราะห์โจทย์และปัญหาในการจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับโครงการที่ขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศทั้งในส่วนของงบประมาณและผลสัมฤทธิ์ (2) ควรเร่งรัดการดำเนินในเป้าหมายที่สถานการณ์ยังอยู่ในขั้นวิกฤตและมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายโดยนำประเด็นบริบทของประเทศด้านความขัดแย้งทางการเมือง การรวมกลุ่มธุรกิจระดับภูมิภาค และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงการดำเนินการให้สอดคล้องและรองรับกับประเด็นและบริบทดังกล่าว และ (3) ควรให้ความสำคัญกับการทบทวนและการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปรายดังกล่าวไปเป็นกรอบและแนวทางสำหรับพัฒนาการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไป
- คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 กรกฎาคม 2564) รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564) และ สลค. ได้เสนอรายงานดังกล่าวไปเพื่อรัฐภาทราบแล้ว
1.3 ผลการดำเนินการอื่น ๆ	- อยู่ระหว่างปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอและการประมวลผลข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ดังนี้
	(1) แสดงข้อมูลในรูปแบบหรือมุมมองเพื่อให้ผู้บริหารสามารถเข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาสั่งการได้โดยง่ายต่อไป
	(2) รองรับการนำเข้าข้อมูลข้อเสนอโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
	ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีหลายหน่วยงานที่ไม่รายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/การดำเนินการทุกสิ้นไตรมาส ซึ่งส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการติดตามและประเมินผล จึงเห็นควรเร่งรัดให้หน่วยงานต่าง ๆ รายงานผลการดำเนินงานดังกล่าวให้ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอต่อไป
- สร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีสส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ โดยจัดทำสื่อวีดิทัศน์โครงการสร้างการตระหนักรู้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในกลุ่มคนรุ่นใหม่ผ่านกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่เป็นพลังบวกในการขับเคลื่อนประเทศที่สำคัญในอนาคต และจัดทำเพจ Facebook ?คบเด็กสร้างชาติ-สร้างพลังบวก? เพื่อเผยแพร่เนื้อหาสาระของคนรุ่นใหม่และการแบ่งปันเรื่องราวที่ดีผ่านสื่อสังคมออนไลน์
2. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ :
การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต	เนื่องจากคะแนนความสามารถในการแข่งขันการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านทักษะ (Skill) ของไทยและอัตราการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานในปี 2563 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะชีวิตและการพัฒนาทักษะแรงงาน ตั้งแต่ปี 2560-2564 เป็นลักษณะโครงการอบรม สัมมนา และพัฒนาทักษะ ที่ยังไม่ได้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงทักษะในการทำงานจริงกับการจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ดังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น เช่น (1) การพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (2) การเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ถ่ายทอดความรู้ (3) การยกระดับการอบรมและพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (4) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลแรงงาน และ (5) การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเปิดโอกาสให้กับแรงงาน ทั้งในระบบและนอกระบบได้พัฒนาทักษะความรู้และเพิ่มศักยภาพของตนเอง และ (6) การปรับปรุงการประเมินความสำเร็จของโครงการให้มุ่งตอบโจทย์การวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการและตอบสนองต่อเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ

12. เรื่อง การพัฒนาระบบนิเวศทางกฎหมายเพื่อเร่งรัดให้เกิด Digital government
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ เรื่อง การพัฒนาระบบนิเวศทางกฎหมายเพื่อเร่งรัดให้เกิด Digital government ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นประโยชน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
		สคก. เสนอว่า โดยที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ให้ สคก. พัฒนาระบบนิเวศทางกฎหมาย (Legal Ecosystem) เพื่อเร่งรัดให้เกิด Digital government ซึ่ง สคก. ได้ดำเนินการแล้ว โดยสรุปได้ดังนี้
		1. จัดทำร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การยื่นคำขอหรือติดต่อใด ๆ ระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ การติดต่อราชการระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันและระหว่างเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของรัฐ สามารถทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
		2. จัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 (ระเบียบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์) และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 แล้ว โดยหน่วยงานของรัฐต้องใช้อีเมลในการสื่อสารเป็นหลักตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดไปใช้ในการจัดทำระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
		3. ปรับปรุงกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินงานทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยตรวจสอบกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันที่เป็นปัญหาอุปสรรคสำหรับภาคเอกชนที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จัดทำร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมให้ทันสมัย 6 ประเด็น) ที่มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงให้บริษัทมหาชนจำกัด และคณะกรรมการบริษัทมหาชนจำกัดสามารถกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้อยู่ระหว่างพิจารณาปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนบริษัท เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดสามารถดำเนินงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกัน
		4. ปรับปรุงวิธีการเขียนกฎกระทรวงและกฎหมายลำดับรองอื่นให้หน่วยงานของรัฐให้บริการแก่ประชาชนโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักตามมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้กำหนดแนวทางการเขียนกฎกระทรวงและกฎหมายลำดับรองอื่นให้ดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักมาตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2563 และปัจจุบันกฎหมายลำดับรองระดับกฎกระทรวงที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 75 ฉบับ รองรับการดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
		5. จัดทำระบบกลางทางกฎหมาย เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มกลางเกี่ยวกับกฎหมายที่ให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (one stop service) แก่หน่วยงานของรัฐและประชาชน โดยในขณะนี้ระบบกลางได้เปิดให้บริการในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายข้อมูลรายยงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (RIA) และข้อมูลรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 แล้ว สำหรับการดำเนินการระยะถัดไปจะเป็นการขยายการให้บริการข้อมูลกฎหมายทั้งหมดของประเทศโดยมีกำหนดแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2565

13. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขมาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ รวม 11 ประเด็น ได้แก่ (1) ควรกำหนดทิศทางและนโยบายของระบบสุขภาพปฐมภูมิให้มีความชัดเจน รวมทั้งบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ (2) ควรให้มีการสำรวจและศึกษาเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การบริการสุขภาพปฐมภูมิให้มีความเหมาะสม (3) ควรให้มีการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกัน (4) ควรมุ่งเน้นการพัฒนาการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตพื้นที่ชนบท (5) ควรทบทวนกรอบอัตรากำลังและบทบาทหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 (6) ควรเพิ่มการผลิตและเพิ่มการคงอยู่ในระบบของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (7) เร่งรัดการพัฒนาระบบสารสนเทศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ให้ครอบคลุมหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วประเทศ              (8) ควรทบทวนหลักเกณฑ์การโอนภารกิจ รพ.สต. ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ายังมีความเหมาะสมหรือไม่ (9) ควรเร่งรัดจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านนโยบายระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อให้มีหน่วยงานและผู้รับผิดชอบหลัก (10) ควรเร่งรัดการออกประกาศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ (11) ควรพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้สามารถรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคในอนาคตได้
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว   มีคำสั่งให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ (สงป.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		สธ. ได้พิจารณาหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 เพื่อพิจารณาศึกษารายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ	ผลการพิจารณา
1.การกำหนดทิศทางและนโยบายระบบสุขภาพปฐมภูมิให้มีความชัดเจน	? ในการกำหนดทิศทางการดำเนินการดังกล่าว คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ (คณะอนุกรรมการฯ) ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ 6/2563 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ได้พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการระบบสุขภาพปฐมภูมิ (พ.ศ. 2564 - 2573) ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 โดยมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด ? 19 พ.ศ. 2564 - 2565 แผนการปฏิรูปประเทศ กิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบายของคณะรัฐมนตรี และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานสังกัด สธ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งประกอบด้วย
     1. เพิ่มศักยภาพบริการสุขภาพปฐมภูมิทุกรูปแบบที่ขับเคลื่อนโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
     2. พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ
     3. พัฒนาระบบสารสนเทศ การวิจัย และนวัตกรรมระบบสุขภาพปฐมภูมิ
     4. พัฒนากลไกและกระบวนการสร้างหลักธรรมาภิบาลในการอภิบาลระบบสุขภาพปฐมภูมิ
     5. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชนในการจัดการสุขภาพ
2. การสำรวจและศึกษาเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การบริการสุขภาพปฐมภูมิให้เหมาะสม	? สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแบ่งเขตพื้นที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยได้จัดทำแผนการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิในระยะเวลา 10 ปี ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
     1. กรณีการขอขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้รับบริการในเขตพื้นที่รับผิดชอบระหว่างจำนวน 8,000 - 12,000 คน ทั้งนี้ เมื่อได้พิจารณาถึงความปลอดภัย และความสะดวกของผู้รับบริการและสภาพพื้นที่แล้ว อาจพิจารณากำหนดเกณฑ์จำนวนผู้รับบริการในเขตพื้นที่รับผิดชอบตามความเหมาะสมก็ได้
      2. การแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในแต่ละเขตพื้นที่รับผิดชอบควรมีลักษณะเป็นพื้นที่ติดต่อกันโดยคำนึงถึงจำนวนผู้รับบริการในแต่ละเขตพื้นที่ให้ใกล้เคียงกัน
3. การจัดบริการตามบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกัน	? การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นการปรับรูปแบบบริการโดยนำหลักเวชศาสตร์ครอบครัวมาใช้ในการดูแลประชาชนในความรับผิดชอบของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพ โดยได้มีการแบ่งบริบทพื้นที่ ดังนี้
      1. พื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและมีโครงสร้างการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพที่ซับซ้อน เนื่องจากมีหน่วยบริการจากหลายสังกัด ทั้งโรงพยาบาลสังกัด กทม. โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐวิสาหกิจ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน และศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. บูรณาการการทำงานร่วมกัน ซึ่งออกแบบการดำเนินการ โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ กทม. โดยมีสำนักอนามัย กทม. และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำงานร่วมกับ สธ.
     2. พื้นที่เมืองใหญ่ เน้นการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมินอกโรงพยาบาลและทำงานร่วมกันในลักษณะที่หลากหลายเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยความร่วมมือของหน่วยบริการสังกัดอื่นทั้งเทศบาลและภาคเอกชน
     3. พื้นที่เขตเมือง เน้นการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมินอกโรงพยาบาลเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิมากขึ้น โดยใช้พื้นที่ร่วมกับเทศบาล รพ.สต. และสถานที่ของทางราชการ
     4. พื้นที่เขตชนบท ใช้ที่ตั้งของ รพ.สต. ที่อยู่ในสังกัดของ สธ. และที่ถ่ายโอนภารกิจไปอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นพื้นที่ในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ และปรับปรุงระบบบริการในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ขนาดเล็ก ให้มีการจัดบริการตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อให้ประชาชนมีหมอประจำตัวที่จะติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
     5. พื้นที่เฉพาะอื่น ๆ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ร่วมจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ค่ายทหารกับกระทรวงกลาโหม (กห.)
4. ควรเน้นพัฒนาในเขตพื้นที่ชนบท และ รพ.สต. เป็นลำดับแรก	สธ. ให้ความสำคัญในการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยกำหนดเป้าหมาย 6,500 หน่วย ซึ่งในปี 2563 มีการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 1,991 หน่วย โดยเป็นหน่วยบริการที่เป็น รพ.สต. หรือสถานีอนามัย (สอน.) จำนวน 1,298 หน่วย และในปี 2564 จะขยายการจัดตั้งหน่วยบริการเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 หน่วย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิได้ จำนวน 25 ล้านคน โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและสหวิชาชีพเป็นที่ปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นคุยกับหมอ
5. การทบทวนกรอบอัตรากำลังและบทบาทหน้าที่ของ รพ.สต.	? สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิได้ร่วมกับกองบริหารทรัพยากรบุคคล ดำเนินการ ดังนี้
     1. พิจารณาทบทวนกรอบอัตรากำลังของ รพ.สต. ขนาดเล็ก ขนาดกลาง
และขนาดใหญ่ ให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันที่พบว่ามีการขยายตัวของสังคมเมืองมากขึ้น รวมทั้งให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 โดยต้องพิจารณาแผนการกระจายอัตรากำลังลงพื้นที่ตามภาระงานต่อไป
     2. ร่วมวางระบบในการสรรหาแพทย์เพื่อปฏิบัติงานเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รับราชการต่อไป และได้กำหนดหน้าที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิตามประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2563
6. ควรเพิ่มการผลิตและการคงอยู่ในระบบของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว	? สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ และสำนักบริหารโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ร่วมกับแพทยสภา ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยมีเจตจำนงร่วมกันในการพัฒนางานเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งด้านการพัฒนากำลังคนด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ด้านการสร้างคุณค่าและการยอมรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ได้พัฒนาหลักสูตรการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ดังนี้
     1. การพัฒนาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวภายใต้การปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว (In service Training/Formal Training)
     2. หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ?เวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับแพทย์ปฏิบัติงานในคลินิกหมอครอบครัว พ.ศ. 2562?
3. หลักสูตรพื้นฐานเวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับแพทย์ปฐมภูมิ (Basic Course of Family Medicine for Primary Care Doctor)
7. เร่งรัดการพัฒนาระบบสารสนเทศ	? การพัฒนาระบบสารสนเทศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 มีคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลบริการสุขภาพปฐมภูมิ ตามคำสั่งคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ 9/2563 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ร่วมพัฒนาออกแบบระบบการจัดการข้อมูล การคุ้มครองข้อมูล ระบบลงทะเบียนข้อมูลสุขภาพประชาชนรายบุคคล และพัฒนาระบบส่งต่อ โดยปัจจุบันมีการดำเนินการ ประกอบด้วย
     1. จัดทำต้นแบบระบบยืนยันตัวตนดิจิทัลและ Health Information Exchange Platform ซึ่งสามารถใช้งานโปรแกรมในส่วนกระบวนการลงทะเบียน การพิสูจน์ตัวตน การยืนยันตัวตน และการอนุญาตเฉพาะผู้มีสิทธิเข้าถึง
     2. จัดทำโปรแกรม Private Chat ภายใต้ชื่อแอพพลิเคชัน ?คุยกับหมอ? ซึ่งเป็นบริการในโครงการนวัตกรรมสุขภาพทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถปรึกษาสุขภาพแบบส่วนตัวกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกหมอครอบครัว
8. ทบทวนหลักเกณฑ์การโอนภารกิจ รพ.สต. ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น	?  สธ. ได้ดำเนินการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โดยมีหลักเกณฑ์การถ่ายโอน ดังนี้
     1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านการประเมินความพร้อมการจัดบริการสาธารณสุขโดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ประสบการณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดหรือการมีส่วนร่วมจัดการด้านสาธารณสุข (2) มีแผนการเตรียมความพร้อมในการจัดการด้านสาธารณสุขหรือแผนพัฒนาการสาธารณสุข (3) วิธีการบริหารและการจัดการด้านสาธารณสุข (4) การจัดสรรรายได้เพื่อการสาธารณสุข และ (5) ความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความพร้อมในการจัดบริการด้านสาธารณสุข
      2. บุคลากรสาธารณสุขสมัครใจถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างพิจารณาตัดหลักเกณฑ์การถ่ายโอนตามข้อ 2 ออก เพื่อให้หลักเกณฑ์มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
? ปัจจุบันสำนักงานสาธารณสุขจะเป็นผู้ประเมินคุณภาพ รพ.สต. ที่ได้ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว เพื่อให้ รพ.สต. ดังกล่าวผ่านเกณฑ์คุณภาพ รพ.สต. ติดดาว รวมทั้งได้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการภายในจังหวัดด้วย
? พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้ส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ในการส่งเสริมและพัฒนา รพ.สต. โดยการปรับรูปแบบการบริการสุขภาพปฐมภูมิให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถจัดบริการได้ตามคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการ
9. จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านนโยบายระบบสุขภาพปฐมภูมิ	? พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้มี
?กองสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ? เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว โดยปัจจุบันได้มีการจัดทำคำขอจัดตั้งกองดังกล่าวและผ่านมติที่ประชุมคณะทำงาน แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง สธ. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ สธ. ต่อไป
10. การออกประกาศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว	?  พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 มีกฎหมายลำดับรอง จำนวน 34 ฉบับ ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว 21 ฉบับ ไม่มีความจำเป็นต้องจัดทำ 1 ฉบับ และคงเหลือที่ต้องจัดทำอีก 12 ฉบับ โดย สธ. ได้จัดทำแผนเสนออนุบัญญัติภายใต้พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำอนุบัญญัติดังกล่าวด้วยแล้ว
11. ควรพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้สามารถรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคในอนาคตได้	? จากบทเรียนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สธ. เห็นว่า ระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เข้มแข็งจะเป็นกลไกในระบบสุขภาพที่สำคัญในการรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคในอนาคต โดยต้องดำเนินการ ดังนี้
     1. บูรณาการในพื้นที่ โดยใช้กลไกของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่
     2. พัฒนาศักยภาพบุคลากรในระดับปฐมภูมิ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีความรู้ความสามารถในการควบคุมป้องกันโรค โดยปรับปรุงหลักสูตรต่าง ๆ ให้เพิ่มประเด็นการเฝ้าระวังควบคุมโรคเข้าไว้ด้วย

14. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบจากการพนันออนไลน์ในเด็กและเยาวชน ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ            คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบจากการพนันออนไลน์ในเด็กและเยาวชนของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบจากการพนันออนไลน์ในเด็กและเยาวชน ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
			1.1 การผลักดันประเด็นการรู้เท่าทันพนันออนไลน์เป็นวาระสำคัญเร่งด่วน เช่น สนับสนุนให้ประเด็นการรู้เท่าทันการพนันออนไลน์ได้รับการบรรจุในที่ประชุมสมัชชาระดับชาติหรือการประชุมคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้อง ผลิตและเผยแพร่สื่อรณรงค์เชิงรุกผ่านช่องทางสื่อหลักและสื่อออนไลน์
			1.2 การสร้างและพัฒนาให้เกิดกลไกในกำกับของรัฐเพื่อทำหน้าที่บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินงาน เช่น ผลักดันให้เกิดคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและลดผลกระทบเด็กและเยาวชนจากการพนันออนไลน์ ผลักดันการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการป้องกันและลดผลกระทบเด็กและเยาวชนจากการพนันออนไลน์ระยะยาว
			1.3 การสร้างองค์ความรู้ จัดการความรู้ และเผยแพร่ เช่น ผลักดันการบรรจุชุดการเรียนรู้ทักษะชีวิตและความรอบรู้เชิงบูรณาการ และผลกระทบจากการพนันในชั่วโมงการเรียนรู้ของสถานศึกษา เช่น การเรียนการสอนวิชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด กิจกรรมชุมชุม ชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาเรียนรู้ผ่านโครงการหรือกิจกรรม ฯลฯ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการพนันออนไลน์ในสถานศึกษา
			1.4 ส่งเสริมบทบาทและระดมความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการป้องกัน ลดผลกระทบ ให้คำปรึกษา และบำบัดเยียวยา เช่น สนับสนุนให้เกิดสถานศึกษาปลอดพนัน นำร่องในการป้องกันและลดผลกระทบเด็กและเยาวชนจากการพนันออนไลน์
			1.5 การสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายเฝ้าระวัง และส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมาย เช่น ผลักดันการออกประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจัดทำแนวทางปฏิบัติ โดยใช้อำนาจตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อกำกับแนวทางการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับการพนัน
		2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ดศ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงบประมาณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		ดศ. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ สรุปได้ดังนี้
ประเด็น	ผลการพิจารณาศึกษา
1. การผลักดันประเด็นการรู้เท่าทันพนันออนไลน์เป็นวาระสำคัญเร่งด่วน	- จากการศึกษาของศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2559 พบว่าการพนันออนไลน์มีทิศทางการเติบโตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2553 - 2557 อยู่ที่ร้อยละ 8 ต่อปี คาดว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2558 - 2563 มีการขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 10.7 ต่อปี
- การพนันส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ หนี้สินจากการพนัน ด้านสังคม พฤติกรรมเสพติดการพนัน ปล้น จี้ ทำร้ายผู้อื่น และด้านสุขภาพ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ทำให้หงุดหงิด ก้าวร้าว
- ภาครัฐจำเป็นต้องกำหนดนโยบาย มาตรการแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวของการพนันออนไลน์ โดยจัดทำการแถลงการณ์นโยบายและสนับสนุนให้ประเด็นการรู้เท่าทันพนันออนไลน์ได้รับการบรรจุในการประชุมสมัชชาระดับชาติหรือการประชุมคณะกรรมการระดับชาติ สื่อสารให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อหรือเกิดความเสียหายต่อการเล่นพนันออนไลน์
2. การสร้างและพัฒนาให้เกิดกลไกในกำกับของรัฐเพื่อทำหน้าที่บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินงาน	- พม. โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเด็กและเยาวชนแห่งชาติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ มอบหมายให้คณะทำงาน         ยกร่างแผนการป้องกันและลดผลกระทบเด็กและเยาวชนจากการพนันออนไลน์ จัดทำร่างแผนปฏิบัติการการป้องกันและลดผลกระทบของเด็กและเยาวชนจากการใช้สื่อออนไลน์ (พ.ศ. 2563 - 2569) โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานและตัวชี้วัดร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ มุ่งหมายให้รัฐบาลสนับสนุนผลลักดันให้เกิดกลไกในการกำกับของรัฐ ในรูปแบบคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ผ่านคณะกรรมการระดับชาติ สมัชชาระดับชาติ และเครือข่ายของสภาผู้แทนราษฎรที่เกี่ยวข้อง สนับสุนนงบประมาณในการดำเนินงานทุกมิติในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและทุกภาคส่วน
3. การสร้างองค์ความรู้ จัดการความรู้ และเผยแพร่	- พม. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในการป้องกันแก้ไขปัญหาการพนันออนไลน์ในเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการดำเนินงานระหว่าง พม. กับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในประเด็นการรู้เท่าทันการพนันออนไลน์ร่วมกับสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน นำร่องในพื้นที่ต่างจังหวัดดำเนินการรวบรวมสถิติสถานการณ์การพนันออนไลน์มาเพื่อใช้เป็นข้อมูลรายละเอียดในการขับเคลื่อน และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากการพนันออนไลน์ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ ซึ่งได้ลงพื้นที่ไปแล้ว 21 จังหวัด นอกจากนี้ สถาบัน               ยุวทัศน์แห่งประเทศไทยได้ประสานกับ ศธ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสำนักงานศึกษากรุงเทพมหานคร จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับเด็กและเยาวชนในการรู้เท่าทันพนันออนไลน์
4. ส่งเสริมบทบาทและระดมความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการป้องกัน ลดผลกระทบ ให้คำปรึกษา และบำบัดเยียวยา	- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มท. ให้การสนับสนุนให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนในด้านผลกระทบของการพนันออนไลน์ ทั้งในการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
- ศธ. ออกประกาศเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางการป้องกันเด็กนักเรียนจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกมออนไลน์ในสถานศึกษา และสร้างความรู้สร้างความตระหนักทั้งด้านบวกและด้านลบของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกมออนไลน์ให้กับนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งกำหนดมาตรการห้ามไม่ให้นำเอาเกมออนไลน์เข้ามาส่งเสริมการตลาดในสถานศึกษา นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กเกิดความรู้เข้าใจในการที่จะป้องกันภัยและตระหนักถึงภัยคุกคามของเกมออนไลน์ ซึ่งร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ดศ. และ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) พัฒนาหลักสูตรใน 9 กลุ่มเนื้อหาวิชาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องในเรื่องของสิทธิและความรับผิดชอบในการเข้าถึงสื่อดิจิทัล การสื่อสารดิจิทัล ความปลอดภัยของดิจิทัล เป็นต้น รวมทั้งโครงการสำคัญเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านกระบวนการการลูกเสือเป็นตัวขับเคลื่อน ?โครงการส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์? เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กและเยาวชนเข้ามาร่วมจัดทำสื่อออนไลน์ที่สร้างสรรค์ ใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง สร้างรายได้ นอกจากความเข้าใจถึงภัยคุกคามของสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และเกมออนไลน์ต่าง ๆ
- สสส. ดำเนินการกิจกรรมเครือข่ายเด็กและเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงจัดทำแอปพลิเคชันเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ผู้ประสบปัญหาเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ สามารถเข้าและรับแจ้งเหตุ ในกรณีที่เด็กและเยาวชน หรือประชาชนเกิดปัญหาจากการเล่นพนันออนไลน์
5. การสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังและส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมาย	- พระราชบัญญัติการพนนัน พ.ศ. 2478 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไม่มีบทบัญญัติในเรื่องของการพนันออนไลน์ ไม่ได้เป็นความผิดมูลฐาน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการที่จะเรียกข้อมูลต่าง ๆ อีกทั้งยังขาดหน่วยงานหลักที่เป็นหน่วยงานประสานงานให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพนันอย่างเป็นระบบ เช่น พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นการป้องกันเด็กและเยาวชนจากการพนันอย่างชัดเจน และพัฒนากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองไม่ให้เยาวชนมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพนันและพนันออนไลน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

15. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
		1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ดังนี้
		อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิถุนายน 2564 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญจากมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงอาหารสดบางประเภทมีราคาลดลง ขณะที่ราคาสินค้ากลุ่มพลังงานยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอลง
		ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมิถุนายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.25 (YoY) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.44 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มพลังงานที่ขยายตัวร้อยละ 8.95 และการสูงขึ้นของอาหารสดบางประเภท โดยเฉพาะ เนื้อสุกร ไข่ไก่ ผลไม้สด และน้ำมันพืช ขณะที่มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา และการลดลงของอาหารสดบางประเภท โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผักสด เป็นปัจจัยทอนที่ส่งผลให้เงินเฟ้อในเดือนนี้ชะลอตัว สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการในช่วงสถานการณ์ที่ยังมีการระบาดของโควิด-19
		ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อหักอาหารสด และพลังงานออกแล้ว (เงินเฟ้อพื้นฐาน) ขยายตัวร้อยละ 0.52 (YoY) ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.49 ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.38 (MoM) เฉลี่ยไตรมาสที่ 2 ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 2.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.89 (AoA)
		การขยายตัวของเงินเฟ้อในเดือนนี้ นอกจากปัจจัยด้านพลังงานและอาหารสดบางชนิดแล้ว ยังมีสัญญาณที่ชี้ว่าความต้องการสินค้าหลายชนิดเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกและนำเข้า อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต มูลค่าการส่งออก อัตราการใช้กำลังการผลิต ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า และยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถจักรยานยนต์ ขณะที่รายได้เกษตรกรก็ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายชนิด
		2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
		แนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ยังคงได้รับอิทธิพลจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัวในหลายประเทศ ส่งผลดีต่อการส่งออก และภาคการผลิตที่ต่อเนื่องกับการส่งออก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปียังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศยังเป็นข้อจำกัดที่ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อรายได้และการบริโภคโดยรวม ประกอบกับโอกาสที่ภาครัฐจะมีการใช้หรือขยายมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐอีกครั้ง โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อดังกล่าวจะเคลื่อนไหวในกรอบที่จำกัดและไม่เกินกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ร้อยละ 1.0 - 3.0
		ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับสมมติฐานการประมาณการเงินเฟ้อเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบจะเคลื่อนไหวในช่วง 60 - 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนจะเคลื่อนไหวในช่วง 30 - 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) จะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 - 2.5 คาดว่าเงินเฟ้อทั้งปี 2564 จะอยู่ในกรอบร้อยละ 0.7 - 1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ +1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

16. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2525 เรื่อง โครงการแก้ปัญหาการกระจายทันตแพทย์ โดยกำหนดเงื่อนไขการเข้ารับราชการ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2525 [โครงการแก้ไขปัญหาการกระจายทันตแพทย์ โดยกำหนดเงื่อนไขการเข้ารับราชการ (โครงการฯ)] ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ โดยปรับปรุงสาระสำคัญของโครงการฯ เกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้ารับราชการ ดังนี้
สาระสำคัญเดิมของโครงการฯ	สาระสำคัญที่ขอปรับปรุง
แนวนโยบายการแก้ปัญหา
ด้านการกระจาย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ควรดำเนินการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
     ให้นักศึกษาทันตแพทย์ทุกคนทำสัญญาเข้ารับราชการ
	แนวนโยบายการแก้ปัญหา
ด้านการกระจาย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นควรดำเนินการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
     ให้นักศึกษาทันตแพทย์คู่สัญญาผู้ที่สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาภาครัฐ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม และได้รับคัดเลือกตามแผนความต้องการทันตแพทย์ของส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐทุกคนเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามสัญญา
วัตถุประสงค์โครงการ
     เพื่อให้ทันตแพทย์ที่จบการศึกษาในประเทศทั้งหมดกระจายออกรับราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอำเภอและจังหวัดภายใต้มาตรการทำสัญญาเข้ารับราชการ	วัตถุประสงค์โครงการ
     เพื่อให้ทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของรัฐในประเทศ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันต  กรรม กระจายออกปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐ ภายใต้มาตรการทำสัญญาปฏิบัติงานสอดคล้องกับแผนความต้องการทันตแพทย์ของส่วนราชการฯ
เป้าหมายให้ทันตแพทย์ทำสัญญาเข้ารับราชการ
     ให้นักศึกษาทันตแพทย์ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษาที่ดำเนินโครงการนี้จากสถาบันต่าง ๆ เป็นทันตแพทย์ภายใต้เงื่อนไขการเข้ารับราชการทั้งหมด จนกว่าจะหมดความจำเป็น	เป้าหมายให้ทันตแพทย์ทำสัญญาเข้าปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐ
     ให้นักศึกษาสาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ที่เข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาภาครัฐ ตามโครงการแก้ปัญหาการกระจายทันตแพทย์ เข้าปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐ จนกว่าจะหมดความจำเป็น
     จำนวนทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาในแต่ละปีนั้นให้รับราชการในส่วนภูมิภาค โดยรับราชการใน สธ. ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 และรับราชการในหน่วยราชการอื่นไม่เกินร้อยละ 30	จำนวนทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาในแต่ละปีนั้น ให้เข้าปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐ ตามแผนความต้องการของส่วนราชการ/หน่วยงาน
เงื่อนไขการเข้าศึกษาวิชาทันตแพทยศาสตร์
     นักศึกษาทันตแพทย์ทุกคนที่จะเข้าศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์ทุกแห่งในประเทศไทยจะต้องทำสัญญาเข้ารับราชการก่อนเข้าศึกษา	เงื่อนไขการเข้าศึกษาวิชาทันตแพทยศาสตร์
     นักศึกษาทุกคนที่จะเข้าศึกษาวิชาทันตแพทยศาสตร์ในสถาบันการศึกษาภาครัฐ จะต้องทำสัญญาก่อนเข้าศึกษา
		สาระสำคัญของเรื่อง
		กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เสนอขอปรับปรุงสาระสำคัญของโครงการแก้ไขปัญหาการกระจายทันตแพทย์ โดยกำหนดเงื่อนไขการเข้ารับราชการ (โครงการฯ) ในประเด็นที่เกี่ยวกับแนวนโยบายการแก้ปัญหา วัตถุประสงค์โครงการฯ และเป้าหมายให้ทันตแพทย์ทำสัญญาเข้ารับราชการ สรุปได้ ดังนี้
สาระสำคัญเดิม	สาระสำคัญที่ขอปรับปรุง	ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการปรับปรุงสาระสำคัญ
แนวนโยบายการแก้ปัญหา (เงื่อนไขของผู้เข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามสัญญา)
ให้นักศึกษาทันตแพทย์ทุกคนทำสัญญาเข้ารับราชการ	ให้นักศึกษาทันตแพทย์คู่สัญญาผู้ที่สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาภาครัฐ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ             ทันตกรรม1 และได้รับคัดเลือกตามแผนความต้องการทันตแพทย์ของส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐทุกคนเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามสัญญา	? เพื่อระบุเงื่อนไขให้มีความชัดเจน เนื่องจากในระยะเริ่มแรกของโครงการฯ มีเพียงสถาบันผลิตทันตแพทย์ภาครัฐ แต่ในปัจจุบันมีสถาบันผลิตทันตแพทย์ภาคเอกชนด้วย
? เพื่อลดภาระของ สธ. ในการจัดหาตำแหน่งงานอื่นมารองรับผู้สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตที่ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพดังกล่าว (ประมาณ 100 คน/ปี) ไปปฏิบัติงานชดใช้ทุน เนื่องจากที่ผ่านมา สธ. จะต้องรับผู้สำเร็จการศึกษาภายหลังกระบวนการคัดเลือกของส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐอื่น ๆซึ่งเป็นการรับผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่ได้รับใบอนุญาตไว้ทั้งหมด
? เพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการรักษาจากทันตแพทย์
วัตถุประสงค์โครงการฯ
เพื่อให้ทันตแพทย์ที่จบการศึกษาในประเทศทั้งหมดกระจายออกรับราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอำเภอและจังหวัดภายใต้มาตรการทำสัญญาเข้ารับราชการ	เพื่อให้ทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของรัฐในประเทศ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันต กรรม กระจายออกปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐ ...	เพื่อให้มีการกระจายทันตแพทย์คู่สัญญาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร2 และปริมณฑลมากขึ้นด้วย เนื่องจากในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวมีความหนาแน่นของประชากรมากขึ้นโดยเฉพาะประชากรแฝง แต่ไม่ได้รับการจัดสรรทันตแพทย์ในอัตราที่เพียงพอ
เป้าหมายให้ทันตแพทย์ทำสัญญาเข้ารับราชการ
จำนวนทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาในแต่ละปีนั้น ให้รับราชการในส่วนภูมิภาค โดยรับราชการใน สธ. ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 และรับราชการในหน่วยราชการอื่นไม่เกินร้อยละ 30	จำนวนทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาในแต่ละปีนั้นให้เข้าปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานในองค์การของรัฐ ตามแผนความต้องการของส่วนราชการ/หน่วยงาน	เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทันตแพทย์คู่สัญญาของ สธ. ซึ่งมีแนวโน้มจะต่ำกว่าร้อยละ 70 และความต้องการที่ลดลงของส่วนราชการ/หน่วยงานในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติตามที่ สธ. เสนอ สธ. จะดำเนินการประสานให้ส่วนราชการ/หน่วยงาน จัดทำแผนความต้องการทันตแพทย์ราย 5 ปี และในแต่ละปีจะมีการทบทวนความต้องการที่เกิดขึ้นจริงเพื่อประเมินสถานะความต้องการด้วย (มีการดำเนินการทุกปีอยู่แล้ว)
		ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการดำเนินโครงการฯ ได้เพิ่มจำนวนทันตแพทย์และทำให้การกระจายของตำแหน่งทันตแพทย์คู่สัญญาในภาพรวมของประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับแนวโน้มอุปสงค์ของทันตแพทย์ของฉากทัศน์ที่ 23 ซึ่งเป็นการขยายบริการนอกโรงพยาบาล (Non - Hospital Care) ภายใต้แผนปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของ สธ. สะท้อนความต้องการอัตรากำลังทันตแพทย์ในปี พ.ศ. 2580 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 (1,050 อัตรา)โดยเฉพาะในหน่วยบริการท้องถิ่น4 รวมทั้งการเพิ่มบริการช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ จะส่งผลให้ สธ. ต้องการทันตแพทย์เพิ่มในอัตราร้อยละ 1.97 ต่อปี ดังนั้น การปรับปรุงสาระสำคัญของโครงการฯ ในประเด็นและเงื่อนไขข้างต้นจึงมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน
1นักศึกษาทันตแพทยศาสตร์สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพได้ 1 ครั้ง ก่อนจบการศึกษา
2มีประชากรรวม 5.59 ล้านคน (ตามทะเบียนราษฎร์) ประชากรแฝงกลางวัน 0.55 ล้านคน และประชากรแฝงกลางคืน 2.34 ล้านคน ณ เดือนธันวาคม 2563
3ดำเนินการตามมาตรการทางเลือกหลัก ได้แก่ (1) การพัฒนาประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care) อาทิ การเพิ่มบทบาทของทันตภิบาลในหน่วยบริการส่วนภูมิภาค (2) การขยายบริการประเภทการดูแลระยะยาว (3) การขยายบริการระยะกึ่งเฉียบพลัน และ (4) การพัฒนาเครือข่ายการจัดบริการกับโรงพยาบาลสังกัดอื่น ๆ และท้องถิ่น
4ที่ผ่านมาหน่วยบริการระดับท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดสรรทันตแพทย์ในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับหน่วยงาน/ส่วนราชการอื่นนอกสังกัด สธ. (กระทรวงมหาดไทยแสดงความต้องการและได้รับการจัดสรรทันตแพทย์ ประมาณร้อยละ 4.47 ของการจัดสรรทันตแพทย์ให้หน่วยงานของรัฐ ในช่วงปี พ.ศ. 2560 - 2563)

17. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอดังนี้
		1. อนุมัติโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน  9 โครงการ วงเงินงบประมาณ 490,603,900 บาท โดยมีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานดำเนินการ
		2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงิน 490,603,900 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 9 โครงการ
		3. ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 ข้อ 106 ในกรณีที่หน่วยรับงบไม่สามารถดำเนินการได้ตามแนวทางปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยให้สามารถกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้ เพื่อให้การดำเนินการเตรียมการแก้ไขปัญหา การรับมือปัญหาน้ำแล้งตามแผนงานที่วางไว้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
		สาระสำคัญ
		กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแลังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ซึ่งทุกพื้นที่ดำเนินการได้มีการประชาคมร่วมกับท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว และได้รับการยินยอมจากประชาชนให้ใช้พื้นที่สำหรับดำเนินงานโครงการ รวมถึงมีความพร้อมในการรับมอบเป็นผู้ดูแลระบบหลังดำเนินการเสร็จ โดยปัจจุบันดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้วเสร็จ จำนวน 15 โครงการ ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณก่อสร้างระบบกระจายน้ำขนาดใหญ่ และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างระบบกระจายน้ำเพียง 6 โครงการ และส่วนที่เหลืออีก 9 โครงการยังไม่มีงบประมาณในการก่อสร้างระบบกระจายน้ำขนาดใหญ่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล พิจารณาแล้ว เพื่อให้การบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤติภัยแล้ง ในพื้นที่ที่เหลือดังกล่าว ได้เข้าถึงแหล่งน้ำอย่างเพียงพอทั่วถึง ทันต่อสถานการณ์ภาวะวิกฤติภัยแล้งนี้ได้อย่างทันท่วงที และสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงขอรับการจัดสรรงบประมาณงบกลาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 9 โครงการ วงเงินงบประมาณ 490,603,900 บาท ทั้งนี้ หากดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่เป้าหมายแล้วเสร็จ ประชาชนสามารถมีน้ำต้นทุน เพื่อการอุปโภคบริโภค รวมถึงทำการเกษตรได้ปริมาณน้ำไม่น้อยกว่า 5.6648 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ประชาชนได้ประโยชน์ 18,420 ครัวเรือน และพื้นที่ได้รับประโยชน์ 192,109 ไร่ โดยสถานที่ดำเนินงานโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 9 โครงการ ดังนี้
		1. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแลังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
		2. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
		3. (1) โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแลังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เทศบาลตำบลศรีรัตนะ (ตำบลศรีแก้ว) อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
		    (2) โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ
		4. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
		5. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลโพธิ์ตากและตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
		6. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
		7. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
		8. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
		9. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

18. เรื่อง คณะกรรมการการบินพลเรือนกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนโยบายรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		กบร. รายงานว่า
		1. กบร. ได้กำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติสำหรับเป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาการปฏิบัติให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การยกระดับมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน รวมถึงเพื่อให้การดำเนินการด้านการรักษาความปลอดภัยการบินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยออกเป็นประกาศคณะกรรมการการบินพลเรือน เรื่อง นโยบายการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ต่อมา กบร. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2561 ได้มีมติให้แก้ไขปรับปรุงประกาศคณะกรรมการการบินพลเรือนข้างต้น เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2558 ซึ่งบัญญัติให้มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน จาก กรมการบินพลเรือน เป็น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และได้ประกาศคณะกรรมการการบินพลเรือน เรื่อง นโยบายการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561
		2. กบร. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีมติให้กำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 รวมทั้งได้กำหนดประเด็นที่สำคัญเพิ่มเติม อาทิ ความเป็นสากลของการรักษาความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นอย่างครอบคลุมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนากฎเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม1 บัญญัติให้ กบร. นำนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อถือปฏิบัติ
		3. นโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนที่เสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงนโยบายการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติที่ประกาศใช้เมื่อปี 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบันและบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
			(1) กำหนดและพัฒนานโยบายทั่วไปในการจัดทำกฎหมายและนโยบายเฉพาะในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาหลักการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน โดยการวิเคราะห์จากมาตรการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
			(2) กำหนดมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้โดยสาร สมาชิกลูกเรือ เจ้าหน้าที่สนามบิน และบุคคลอื่น อากาศยานสนามบินที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ รวมถึงการป้องกันการกระทำอันก่อให้เกิดอันตรายต่ออากาศยานหรือทำให้อากาศยานเกิดความเสียหาย และการกระทำอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการกำกับและตรวจสอบด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนของผู้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง
			(3) จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาและภาคผนวก รวมถึงพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีที่เกี่ยวข้องกับด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน ตลอดจนการนำแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศตามมาตรฐานสากลมาดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
			(4) รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน รวมทั้งการป้องกันกิจการการบินพลเรือนจากการกระทำอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบผู้ดำเนินการให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
			(5) ประสานงานให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจการด้านการรักษาความปลอดภัยระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผู้ดำเนินการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการพัฒนากฎเกณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกประเด็น บรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
			(6) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีระบบการจัดการ การจัดสรรทรัพยากรระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผู้ดำเนินการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
			(7) สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนให้แก่ผู้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
			(8) จัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนของประเทศไทยมีทักษะที่เหมาะสม และได้รับการพัฒนาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในระดับสากล

19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564 (วันที่ 13 สิงหาคม 2564) ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 วรรคสาม (ครั้งที่ 7) การพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ดังนี้
		1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (2) เพิ่มเติม (ครั้งที่ 7) จำนวน 3,032.5585 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (2) เพิ่มขึ้นเป็น 7,769.8300 ล้านบาท และกรอบวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3) คงเหลือลดลงเป็น 3,988.2244 ล้านบาท
		2. อนุมัติโครงการภายใต้มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน 2564 (ด้านไฟฟ้าและด้านประปา) ของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 7,769.8300 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 2.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
 		3. รับทราบโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 1 รวม 23 จังหวัด จำนวน 2,117 โครงการ วงเงินรวม 6,170,647,915 บาท โดยใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้จังหวัดรายงานการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุมัติตามโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แผนงานที่ 3.2 ต่อสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการฯ ไปประกอบการดำเนินการตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดด้วย
		4. มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะกรรมการฯ ดำเนินการกลั่นกรองข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากฯ ภายใต้กรอบวงเงิน 45,000 ล้านบาท เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป และมอบหมายให้สำนักงบประมาณ รับไปพิจารณาจัดหาแหล่งเงินตามความเหมาะสมต่อไป พร้อมทั้งมอบหมายให้ สศช. จัดส่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาให้สำนักงบประมาณ เพื่อลดขั้นตอนกระบวนการเอกสารที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อไป
		5. อนุมัติให้จังหวัดมุกดาหารยุติการดำเนินโครงการเหลียวหลังแลหน้าร่วมพัฒนากลุ่มคนเปราะบาง วงเงินรวม 2.8329 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ตามที่จังหวัดมุกดาหารเสนอ

20. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม              พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2564 (วันที่                  13 สิงหาคม 2564) ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้
		1. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันการโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จำนวน 20,001,260 โดส (Pfizer) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงินจำนวน 9,372.7645 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อจัดซื้อจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาลที่จะจัดหาวัคซีนให้แก่ประชาชน 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 สำหรับสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ลดอัตราการป่วย/การเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรค COVID-19 รวมทั้งลดผลกระทบ/ฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้กลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
		2. มอบหมายให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เตรียมการจัดทำข้อเสนอโครงการเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการในขั้นตอนเกี่ยวข้องทั้งในการจัดหาเงินกู้และการจัดสรรเงินกู้ให้แก่หน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาประมาณ             1 เดือน

21. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี พ.ศ. 2561 ? 2570
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี พ.ศ. 2561 ? 2570 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
		สาระสำคัญ
		กระทรวงอุตสาหกรรมขอรายงานความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย             ปี พ.ศ. 2561-2570 ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน โดยมีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
		1. ผลการดำเนินงานภายใต้มาตรการฯ ประกอบด้วย
1.1 มาตรการขจัดอุปสรรคการลงทุนและสร้างปัจจัยสนับสนุน มีการดำเนินงาน ดังนี้
	1) กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ปรับปรุงและเสนอร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 และครั้งที่ 11 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 มีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่มีผู้เสนอรวม 8 ฉบับ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
2)	กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้เพิ่มกิจการอุตสาหกรรมชีวภาพในบัญชีประเภทโรงงานอุตสาหกรรม โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 อนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งแก้ไขเพิ่มประเภทหรือชนิดของโรงงาน ในลำดับที่ 42 แห่งบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 โดยเพิ่มประเภทโรงงานลำดับที่ 42 (3) การทำเคมีภัณฑ์หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมี ซึ่งใช้วัตถุดิบพื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการเคมีชีวภาพเป็นพื้นฐาน 42 (4) การผลิตพลาสติกชีวภาพจากเคมีภัณฑ์หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมีที่ผลิตจากวัตถุดิบ พื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง และ 42 (5) การผลิตพลาสติกชีวภาพจากเคมีภัณฑ์ หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมีที่ผลิตจากวัตถุดิบพื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องรวมกับวัตถุดิบที่ผลิตมาจากปิโตรเลียมและทำให้พลาสติกชีวภาพนั้นสลายตัวได้ทางชีวภาพ ทั้งนี้ ให้เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานก่อนจึงจะดำเนินการได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3)	กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขผังเมืองรวม ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ในพื้นที่จังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ ได้แก่
- จังหวัดชัยภูมิ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และอยู่ระหว่างการนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- จังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และอยู่ระหว่างการนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- จังหวัดลพบุรี โดยที่ประชุมคณะกรรมการผังเมือง มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 เห็นชอบให้แก้ไขบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560 ใน
การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณหมายเลข ก.3 โดยให้โรงงานสามารถดำเนินกิจการที่เป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ได้ และให้โรงงานลำดับที่ 42 (1) 42 (2) 43 (1) 43 (3) และ 89 ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 สามารถประกอบกิจการได้ในบริเวณหมายเลข ก.3-1 ถึง ก.3-14 ยกเว้นบริเวณหมายเลข ก.3-12 และ ก.3-13 รวมถึงแก้ไขที่ดินในบริเวณหมายเลข             ก.3-9 (บางส่วน) เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน
4)	หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ผลักดันภาคการเกษตรสู่การทำเกษตรสมัยใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพในประเทศ ดังนี้
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการวางแผนการใช้ที่ดินตามความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยสนับสนุนภาคการเกษตรในการประยุกต์ใช้ระบบแผนที่การเกษตร (Agri-Map) เพื่อเป็นเครื่องมือบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้สอดคล้องตามสภาพพื้นที่ปัจจุบันและช่วยในการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยในปี 2563 มีการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม                Agri-Map จำนวน 100,000 ไร่ และการพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 80,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์พืชใหม่ที่เหมาะต่อสภาพพื้นที่เพาะปลูก ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี และมีความต้านทานต่อโรคแมลง
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินโครงการนำร่องเกษตรดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี 5G ซึ่งผ่านมติเห็นชอบจากคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ โดยมีแผนนำร่องในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย อุดรธานี และพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ร่วมกับเทคโนโลยี IoT ในการติดตามสถานะการเพาะปลูกและจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Big Data ที่สามารถนำมาวิเคราะห์จัดทำเป็น Data analytics รวมทั้งใช้อุปกรณ์อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในการสำรวจพื้นที่ รดน้ำ และฉีดพ่นสารเคมี และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อจัดทำ Image processing
5)	กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ในฐานะหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ (National Compliance Monitoring Authority: CMA) ที่ได้มาตรฐานตามหลักปฏิบัติที่ดีทางห้องปฏิบัติการขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development Good Laboratory Practice: OECD GLP) ได้ตอบรับคำเชิญผูกพันต่อกรรมสารของ OECD Council ที่เกี่ยวกับการยอมรับร่วมของข้อมูลเรื่องการประเมินสารเคมี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 และได้รับแจ้งยืนยันการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกแบบสมบูรณ์ (Full adherence) ที่เกี่ยวกับการยอมรับร่วมของข้อมูลเรื่องการประเมินสารเคมีของประเทศไทยจาก OECD เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2563 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ด้านการมีสิทธิและพันธกิจเช่นเดียวกับภาคีเต็มรูปแบบ (Full member) สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและได้รับการยอมรับร่วมในข้อมูลการประเมินสารเคมี โดยไม่ต้องทดสอบซ้ำ และการเป็นสมาชิกสมทบในคณะทำงานและการประชุมที่เกี่ยวข้องกับ OECD ซึ่งสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการมีผู้ตรวจสอบ (Inspector) ตามหลักการ OECD GLP ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่จัดโดย OECD หรือหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ จำนวน 4 ราย แบ่งเป็น Full inspector จำนวน 2 ราย และ External contractor inspector จำนวน 2 ราย โดยปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานทดสอบที่ศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง (Toxicity studies) ที่ดำเนินการสอดคล้องตามหลักการ OECD GLP ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน 4 แห่ง คือ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร และศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบขึ้นทะเบียน จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการตรวจสอบด้าน Safety pharmacology study แล้ว และอยู่ระหว่างการแก้ไขข้อเบี่ยงเบน
1.2 มาตรการเร่งรัดการลงทุนภายในประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ออกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 2/2563 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 กำหนดให้พื้นที่ EEC ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน และให้กิจการเป้าหมายในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งรวมถึงกิจการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมตามเงื่อนไข และประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน            ที่ ส.4/2563 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประเภทกิจการเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนและสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) โดยภาคเอกชนได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพในประเทศผ่านโครงการต่าง ๆ ตามมาตรการฯ ซึ่งมีโครงการที่ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว จำนวน 5 โครงการ เกิดมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 18,440 ล้านบาท และโครงการที่อยู่ระหว่างแผนการก่อสร้าง จำนวน 6 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นรวมประมาณ 160,000 ล้านบาท โดยผลการดำเนินโครงการลงทุนของภาคเอกชนในเขตพื้นที่นำร่องและเขตพื้นที่ศักยภาพอื่นสรุปได้ ดังนี้
1)	เขตพื้นที่ EEC มีโครงการการลงทุนที่เสนอภายใต้มาตรการฯ จำนวน 3 โครงการ ซึ่งดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว และเกิดมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,740 ล้านบาท ได้แก่ โครงการผลิตน้ำยาล้างไต มูลค่าการลงทุน 2,240 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง โดยบริษัท แบ็กซ์เตอร์ เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด โครงการผลิต Poly Lactic Acid (PLA) มูลค่าการลงทุน 3,500 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย จังหวัดระยอง โดยการร่วมทุนระหว่าง บริษัท โททาล จำกัด กับ บริษัท คอร์เบียน พูแลค (ประเทศไทย) จำกัด และโครงการ Palm Biocomplex มูลค่าการลงทุน 4,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี โดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท โกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กับ กลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น เพื่อผลิตเมทิลเอสเตอร์ (B100) กลีเซอรีนบริสุทธิ์ โอลีโอเคมีชนิดพิเศษ สารลดแรงตึงผิว (Alkyl Polylgucoside: APG) และสารสกัดวิตามินอีสำหรับอาหารเสริมสัตว์
2)	เขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครสวรรค์และกำแพงเพชร) โดยบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท จีจีซี ไบโอเคมิคอล จำกัด กับ บริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล จำกัด ดำเนินโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ แบ่งโครงการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มูลค่าการลงทุน 7,500 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงหีบอ้อย กำลังการผลิต 24,000 ตันต่อวัน โรงงานเอทานอล กำลังการผลิต 600,000 ลิตรต่อวัน (หรือประมาณ 186 ล้านลิตรต่อปี) และโรงงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลและไอน้ำความดันสูง กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 475 ตันต่อชั่วโมง โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือนธันวาคม ปี 2564 ทั้งนี้ แผนการดังกล่าวมีความล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าเครื่องจักรที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถขนส่งและดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรได้ตามแผน และระยะที่ 2 มูลค่าการลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูงโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น โพลีแลคติกแอซิด (Polylactic acid: PLA) สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ กรดอะมิโนและสารสกัดยีสต์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สารให้ความหวาน (Xylitol) สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เบต้ากลูแคน (Beta-glucan) สารไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) และสารโพลีโคซานอล (Policosanol) สำหรับอุตสาหกรรมโภชนเภสัชภัณฑ์ (Nutraceuticals) โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ซึ่งขณะนี้บริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด หนึ่งในพันธมิตรร่วมทุนจากสหรัฐอเมริกา ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิต PLA แล้ว เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่าการลงทุน 15,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการการลงทุนที่เสนอภายใต้มาตรการฯ ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 5 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 10,000 ล้านบาท เพื่อผลิตน้ำตาลเพื่อสุขภาพ (Functional sugar) ยีสต์อบแห้ง สารสกัดจากยีสต์ และเบต้ากลูแคนสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ ซึ่งบริษัท คริสตอลลา จำกัด ได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการดังกล่าวแล้ว พบว่ามีข้อจำกัดด้านความพร้อมทางเทคโนโลยีและไม่มีความคุ้มค่ากับการลงทุนในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงตัดสินใจชะลอแผนการลงทุนโครงการออกไปก่อน
3)	เขตพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง (จังหวัดขอนแก่น) โดยบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรม Bioeconomy มูลค่าการลงทุน 29,705 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 สำหรับการสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล และอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบทางด้านพันธุ์สัตว์ในพื้นที่รอบโครงการ ซึ่งทางบริษัทฯ มีแผนการยกระดับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง เช่น น้ำตาลแคลอรีต่ำ เบกกิ้งยีสต์ (Baking yeast) จากกากน้ำตาล โดยจะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและเร่งสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ต่อไป
4)	กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการขยายผล Bioeconomy และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดันโครงการลงทุนจัดตั้ง Bio Hub ในพื้นที่ส่วนภูมิภาคที่มีศักยภาพของประเทศตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งมีความก้าวหน้าการดำเนินงาน ดังนี้
- โครงการไบโอ ฮับ เอเซีย มูลค่าการลงทุน 57,600 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยบริษัท อิมเพรส กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ (Smart Eco Industrial Estate) รองรับโรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 54 โรงงาน อาทิ พลังงานชีวภาพ ไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) เคมีชีวภาพ อาหารแห่งอนาคตสำหรับคนและสัตว์ ยาและเครื่องสำอางจากสารสกัดจากพืช การแพทย์และสุขภาพ รวมถึงจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทั้งนี้ โครงการได้รับมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์จากการประชาพิจารณ์กับสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหินซ้อนและชุมชนในบริเวณโดยรอบโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยโครงการได้พัฒนาแพลตฟอร์มไบโอแมตลิงก์ (BioMatLink) เพื่อควบคุมปริมาณและคุณภาพวัตถุดิบจากเกษตรกรรายแปลงแบบครบวงจร และประกันราคารับซื้อมันสำปะหลังไม่ต่ำกว่า 2 บาท โดยในปี 2563 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 4,000 ราย และจะขยายเป็น 50,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่เก็บเกี่ยว 200,000 ไร่ โดยปัจจุบันมีนักลงทุนในประเทศและจากต่างประเทศ หลายรายที่สนใจร่วมลงทุนในโครงการ เช่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี สหราชอาณาจักรจีน ฝรั่งเศส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างโรงงานเอทานอล ระยะที่ 2 กำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน (หรือประมาณ 108 ล้านลิตรต่อปี) และโรงงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ นอกจากนี้มีแผนการก่อสร้างโรงเรือนเพาะปลูกและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากกัญชาเกรดทางการแพทย์ (Medical grade) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเอกสารสำคัญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขออนุญาตปลูกกัญชาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การขอความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการขออนุญาตตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
- โครงการลพบุรี ไบโอคอมเพล็กซ์ มูลค่าการลงทุน 32,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองเมือง ตำบลดอนดึง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลชาวไร่ จำกัด เพื่อผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อย กำลังการผลิต 600,000 ลิตรต่อวัน (หรือประมาณ 198 ล้านลิตรต่อปี) พลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง          ชีวมวล กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 50 เมกะวัตต์ ปุ๋ยชีวภาพ กำลังการผลิต 1,000 ตันต่อวัน และสารเคมีชีวภาพ เช่น กรดแลคติก (Lactic acid) สารสกัดจากยีสต์ เอนไซม์ รวมถึงพัฒนาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมด้านชีวภาพ และระบบการจัดการเกษตรขั้นสูงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้พิจารณาแก้ไขปรับสีผังเมืองบริเวณที่ตั้งโครงการจากพื้นที่สีเขียว (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) เป็นสีม่วง (ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า) ทำให้ภาคเอกชนสามารถวางแผนธุรกิจได้ต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการและการเจรจากับนักลงทุนที่สนใจ รวมถึงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี มูลค่าการลงทุน 8,400 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ตำบลนากระแซงและตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยความร่วมมือระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กับ บริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด เพื่อพัฒนาพื้นที่และระบบสาธารณูปโภครองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เครื่องจักรกลการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ สมุนไพรและการแพทย์ และอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่น ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 และมีข้อสั่งการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี และให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานีประสานกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อปรับปรุงผังเมืองให้มีความเหมาะสมต่อไป โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการพิจารณาแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ ทางจังหวัดอุบลราชธานีได้แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองความเหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี (ระดับอำเภอ) และดำเนินการประชุมรับฟังความคิดเห็นพร้อมสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบการปรับผังเมืองจากพื้นที่สีเขียว (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) เป็นสีม่วง (ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า) บริเวณตำบลนากระแซงและตำบลทุ่งเทิงที่อยู่โดยรอบโครงการ
- โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park มูลค่าการลงทุน 2,370.72 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง และอยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นการพัฒนาพื้นที่และระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ซึ่งอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายภายในโครงการ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 เห็นชอบการลงทุนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในบริเวณโดยรอบโครงการ และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำขอบเขตของงาน (TOR) การจ้างผู้รับจ้างก่อสร้าง และคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2567
- โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบลูโอลิโอเทค ซิตี้ ซึ่งเดิมทีบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) มีแผนการลงทุนมูลค่า 12,500 ล้านบาท เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพที่ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่จากการประเมินสภาพแวดล้อมการลงทุน พบว่าพื้นที่ดังกล่าวยังไม่เหมาะสมต่อการลงทุนประกอบอุตสาหกรรมในขณะนี้ จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนใหม่เป็นโครงการกรีนดีเซล (Green Diesel) และสารเปลี่ยนสถานะ (Phase Change Material: PCM) จากน้ำมันปาล์มดิบ มูลค่าการลงทุน 1,200 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) จังหวัดระยอง โดยบริษัท อีเอ ไบโอ อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เพื่อผลิตกรีนดีเซล หรือ Bio Hydrogenated Diesel (BHD) สำหรับใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันดีเซล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสะอาดของเครื่องยนต์ และสาร PCM สำหรับใช้ควบคุมอุณหภูมิในวัสดุก่อสร้างอาคาร หรือเส้นใยผ้า กำลังการผลิต 130 ตันต่อวัน ซึ่งดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว เมื่อไตรมาสที่ 4 ปี 2563
1.3 มาตรการกระตุ้นอุปสงค์ มีการดำเนินงาน ดังนี้
1)	กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยได้นำพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 702) พ.ศ. 2563 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพตามประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด และได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
- กรมสรรพากรออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 388) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยครอบคลุมผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ 11 ชนิด ได้แก่ ถุงหูหิ้ว ถุงขยะ แก้วพลาสติก จานชามถาดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ช้อนส้อมพลาสติก หลอดพลาสติก ถุงพลาสติกสำหรับเพาะชำ ฟิล์มคลุมหน้าดิน ขวดพลาสติก ฝาแก้วน้ำ และฟิล์มปิดฝาแก้ว
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมออกประกาศสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยกำหนดให้ผู้ผลิต (Converter) ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพในประเทศไทยที่ประสงค์ยื่นขอใบรับรองต้องมีคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด โดย ณ เดือนเมษายน 2564 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ดำเนินการออกใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพให้แก่ผู้ผลิต (Converter) แล้ว จำนวน 4 ราย ได้แก่ บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยนำโพลีแพค จำกัด บริษัท บีดี สตรอว์ จำกัด และบริษัท แวนด้าแพค จำกัด รวมจำนวน ทั้งสิ้น 42 ใบรับรอง แบ่งเป็น หลอดพลาสติก จำนวน 32 ใบรับรอง  ถุงขยะ ถุงหูหิ้ว ถุงซิป จำนวน 8 ใบรับรอง  แก้วพลาสติกและฝาพลาสติก จำนวน 1 ใบรับรอง  ถุงหูหิ้ว หลอดพลาสติก และฟิมล์ปิดฝาแก้ว จำนวน 1 ใบรับรอง
2)	กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการรณรงค์ลดปริมาณพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งในอุทยานแห่งชาติรวม 155 แห่ง ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการอุทยานแห่งชาติปลอดขยะ โครงการนำร่องใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่สลายตัวได้ โครงการขยะคืนถิ่น และแคมเปญ ?การท่องเที่ยวไร้ขยะ ลดภาระแก่ธรรมชาติ? ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกประเภทถุงหูหิ้ว ภาชนะบรรจุอาหาร ขวดน้ำ หลอด และช้อนส้อม ภายในอุทยานแห่งชาติลดลงเหลือ 1,457 ตัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จากปริมาณ 2,648 ตัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
3)	หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ดำเนินการรณรงค์ให้บุคลากรในองค์กรลดการใช้ถุงพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง และหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ดังนี้
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับสถานีโทรทัศน์ 8 ช่องหลัก ลดการเผยแพร่ภาพพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในรายการวาไรตี้หรือละคร ยกเว้นรายการข่าวทางโทรทัศน์ หรือ ?Censor Plastic Bags? ภายใต้โครงการ "ทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก" และร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคเอกชน ทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ จำนวน 43 แห่ง งดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้วแก่ผู้ซื้อสินค้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมา
- กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ โดยจัดมอบถุงมือพลาสติกชีวภาพให้แก่ร้านอาหารเพื่อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งภายหลังการใช้งานจริง ได้เกิดการเจรจาธุรกิจเพื่อสั่งซื้อสินค้าระหว่างผู้ประกอบการร้านอาหารกับบริษัท
โนวาเมดิค จำกัด ผู้ผลิตถุงมือพลาสติกชีวภาพ
4)	กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้จัดทำมาตรฐานใหม่และปรับปรุงมาตรฐานเดิมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ชีวภาพอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 ถึงปัจจุบัน มีการออกมาตรฐานเพิ่มเติม จำนวน 17 มาตรฐาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2563 จำนวน 4 มาตรฐาน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 6 มาตรฐาน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 จำนวน 2 มาตรฐาน และเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 จำนวน 5 มาตรฐาน ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างมาตรฐานใหม่เพิ่มเติม จำนวน            3 มาตรฐาน
5)	กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันพลาสติก ได้ดำเนินการออกแบบตราสัญลักษณ์ Bio Label สำหรับผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ผลิตและวางจำหน่ายในประเทศ และจัดสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมชีวภาพเข้าร่วมการสัมมนา จำนวน 106 คน
1.4 มาตรการสร้างเครือข่ายในรูปแบบของศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านชีวภาพ (Center of Bio Excellence: CoBE) โดยสถาบันพลาสติกทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางประสาน เชื่อมโยงเตรียมความพร้อม และบริหารงานวิจัย/เทคโนโลยี/นวัตกรรมด้านชีวภาพเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจชีวภาพ มีการดำเนินงาน ดังนี้
1)	การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ดำเนินการจัดตั้ง
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ ณ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 80 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปี ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในเดือนเมษายน ปี 2565
- สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายด้านอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ประกอบด้วย นักวิจัย จำนวน 164 คน บริษัทร่วมทุนวิจัย จำนวน              34 บริษัท และเกิดเครือข่ายภาคเอกชน จำนวน 125 บริษัท ซึ่งขณะนี้มีโครงการวิจัยเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนในปี 2560-2563 ที่ปิดโครงการแล้ว จำนวน 20 โครงการ และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ จำนวน 10 โครงการ
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคอุตสาหกรรม โดยร่วมกับภาคเอกชน จำนวน 55 บริษัทเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุทางการเกษตรและทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 53 ผลิตภัณฑ์ อาทิ ผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์จากเชื้อรา ผลิตภัณฑ์ยีสต์โพรไบโอติกสำหรับใช้เป็นสารเสริมอาหารสัตว์ซึ่งจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายแล้ว ภายใต้ตรา SYMPRO PLUS ตรา SYMPRO STAR และตรา SYNMUNE GUARD ผลิตภัณฑ์บำรุงผมบรรจุสารสกัดจากใบหมี่และบัวบก สารออกฤทธิ์และสารเติมแต่งจากขิงซึ่งอยู่ระหว่างยื่นจดสิทธิบัตร
2)	การเชื่อมโยงงานวิจัย ให้คำปรึกษา สนับสนุนเงินทุนในการยกระดับสถานประกอบการชีวภาพสู่ Factory 4.0 โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันพลาสติก ได้ดำเนินการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพและเพิ่มผลผลิตสถานประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ จำนวน 50 กิจการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพต้นแบบ จำนวน 30 ผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงมือ เฝือกอ่อน ผ้ากันเปื้อน เสื้อกาวน์ กระติ๊บข้าว กระปุกเครื่องสำอาง ถาดบรรจุไข่ อาหารเสริมพืช/สัตว์จากสาหร่าย เซรั่มผสมกรดไกลโคลิก (Glycolic acid) จากอ้อย ครีมผสมสารสกัดโพลิโคซานอล (Policosanol) จากอ้อย
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ดำเนินการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนทุนบางส่วนในการยกระดับสถานประกอบการชีวภาพเพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต จำนวน 42 กิจการ และเพื่อการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ จำนวน 19 กิจการ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาหัวเชื้อจุลินทรีย์แก่สถานประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลเพื่อสุขภาพ จำนวน 2 กิจการ
3)	การสร้างบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านชีวภาพ โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
	- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันพลาสติก ได้ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความรู้และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการอบรมรวมมากกว่า 500 คน
	- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ได้จัดอบรมเพื่อยกระดับความสามารถบุคลากรการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามหลักการ OECD GLP
4)	การพัฒนาศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมร่วมกับสถาบันพลาสติก ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2564 จำนวนรวม 2 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในลักษณะ Bio Innovation Linkage โดยในปีแรกได้จัดทำฐานข้อมูลเทคโนโลยีการผลิต และฐานข้อมูลผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชีวภาพและอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำฐานข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม ได้แก่ ฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ ฐานข้อมูล Value Chain ของพืชสำคัญ ฐานข้อมูล Supply Chain ของผลิตภัณฑ์เป้าหมาย ฐานข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก ฐานข้อมูลกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้อง และฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ได้การรับรองจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
		2. ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน
			2.1 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด-19) ส่งผลกระทบให้หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถดำเนินโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพในประเทศได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ เนื่องจากการฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และการเข้าปฏิบัติงานให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง จำเป็นต้องปรับรูปแบบการทำงานจากการฝึกอบรมและลงพื้นที่ ณ สถานที่จริง เป็นการดำเนินงานแบบออนไลน์ซึ่งค่อนข้างมีความลำบากยุ่งยาก ขณะที่ภาคเอกชนบางรายไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงงานได้ตามแผนการลงทุน เนื่องจากข้อจำกัดในการเจรจาส่งมอบเงินทุนจากพันธมิตรร่วมทุนต่างชาติและการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ
2.2 ภาคเอกชนผู้ซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมองว่าการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวนร้อยละ 25 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่สามารถจูงใจให้เกิดการกระตุ้นความต้องการใช้ได้มากนัก และเห็นควรให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับเพิ่มอัตราการลดหย่อนภาษีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาปัจจุบันของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพซึ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วไปประมาณ 2-3 เท่า รวมทั้งขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีออกไปอีกเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพิ่มมากขึ้น
2.3 ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) และความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรเร่งทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชหรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศไทยที่เอื้อต่อการลงทุน เกิดประโยชน์อย่างเป็นธรรม และไม่ก่อความเสียหายแก่ทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ใช้พืชหรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ
2.4 บุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญตามหลักการ OECD GLP ในห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้บริการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องรอรายงานผลการทดสอบค่อนข้างนานและอาจเสียโอกาสทางการแข่งขัน ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายเลือกใช้บริการทดสอบจากหน่วยงานอื่นในต่างประเทศ

22. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 12/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2564 ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 เสนอดังนี้
		1.  ที่ประชุมรับทราบการขออนุญาตผ่อนผันจัดการจัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมร่วมกันของรัฐสภา และขออนุญาตผ่อนผันการเคลื่อนย้ายในห้วงเวลาการห้ามออกนอกเคหสถาน
			1.1 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยบัญชาของประธานรัฐสภาได้ขอให้ ศบค. พิจารณาผ่อนผันการดำเนินการของฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนี้
				1) ขออนุญาตผ่อนผันการจัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในช่วงเวลาการห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนดฯ ในระหว่างสมัย ประชุมสามัญครั้งนี้ ในช่วงเวลาการห้ามออกนอกเคหสถานดังกล่าว และในข้อกำหนดครั้งต่อ ๆ ไป
				2) ขออนุญาตผ่อนผันให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา บุคคลในวงงานรัฐสภาและบุคลากร จากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา สามารถเคลื่อนย้ายการเดินทางในช่วงเวลาการห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนดฯ และ ในข้อกำหนดครั้งต่อ ๆ ไป
			1.2 ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 ศปก. ได้พิจารณาคำร้องข้างต้นแล้วมีผลการวินิจฉัยในข้อกฎหมาย ดังนี้
				1) การจัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุม ร่วมกันของรัฐสภาถือเป็นกิจกรรมรวมกลุ่มที่จัดโดยหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งได้รับการยกเว้นจึงไม่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 5 (5) แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2564
				2) การขอเคลื่อนย้ายการเดินทางในช่วงเวลาการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ของบุคคลตามคำร้องของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นั้น เป็นกรณีการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอื่นถือเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามความในข้อ 3 แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตเดินทางในห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน และยกเว้นมาตรการคัดกรองในการเดินทางจากด่านสกัดหรือด่านชะลอบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย
		2.  ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อโรคโควิด - 19 ดังนี้
			2.1 สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 207,524,104 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล
			2.2 สถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 16 สิงหาคม 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อกำลังรักษา จำนวน 210,934 ราย และหายป่วยสะสม จำนวน 682,220 ราย ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2564 จำนวน 21,744 ราย และหายป่วยแล้ว 20,984 ราย
		3.  ที่ประชุมรับทราบมาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) และโครงการนำร่อง  การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox)
			3.1 มาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 30) ข้อ 9 มาตรการเพื่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบกิจการหรือโรงงานทั่วราชอาณาจักร  โดยให้มีมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal)เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ? 19 ซี่งมาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน และควบคุมการแพร่เชื้อในพื้นที่ รวมถึงไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปสู่ชุมชน รวมถึงป้องกันการเสียชีวิตและลดผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมจากการหยุดดำเนินกิจการ โดยมีหลักการสำคัญ ได้แก่ (1) การป้องกันโรค โดยดำเนินการก่อนเกิดการระบาด และการควบคุมโรคเมื่อเกิดการระบาด (2) การให้ทำกิจกรรม กลุ่มกิจกรรม หรือทำงานได้ รวมทั้งเดินทางเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและที่ทำงาน โดยการควบคุมกำกับ (3) การบริหารจัดการทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุข และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเครื่องอุปโภคบริโภค โดยมีมาตรการป้องกันควบคุมโรค มาตรการด้านสังคม  มาตรการกำกับและประเมินผล รวมทั้งมีการบูรณาการจากหลายภาคส่วน สรุปได้ ดังนี้
		1) มาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) สำหรับการป้องกันและควบคุมโควิด ? 19

















		2) ขั้นตอนการดำเนินงานมาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal)
				(1) ผู้ประกอบการทำความเข้าใจหลักการจัดทำมาตรการฯ รวมทั้งสื่อสารสร้างการรับรู้การมีส่วนร่วมของพนักงานและชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
		(2) ผู้ประกอบการจัดทำแผนการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยยึดตามหลักการฯ แต่สามารถจัดทำแนวปฏิบัติขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงงานโรงงานที่พักอาศัยการเดินทางและชุมชนของแต่ละพื้นที่/สถานประกอบกิจการสามารถออกแบบของตนเองได้
		(3) ผู้ประกอบการควรกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานและกำกับติดตามให้ชัดเจน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและถอดบทเรียน เพื่อปรับมาตรการให้เหมาะสมในระยะยาวเหมาะสมกับสถานการณ์
		(4) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดกลไกการสื่อสารเพื่อให้เกิดการปฏิบัติและการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
		3) กลไกการดำเนินงานมาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal)
				(1) กลไกด้านการสื่อสารทำความเข้าใจ ได้แก่ จัดทำคู่มือมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) ซึ่งประกอบด้วย หลักการ แนวคิด มาตรการการป้องกัน  มาตรการควบคุมโรค การตรวจด้วย ATK และ การดูแลด้านสุขภาพจิต  มีการจัดทำแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) สำหรับทีมผู้ประเมินกำกับมาตรการระดับจังหวัด และจัดทำวีดิโอประชาสัมพันธ์มาตรการ Bubble & Seal ตั้งแต่ก่อนการระบาดและเมื่อเกิดระบาด
		(2) กลไกด้านการให้คำแนะนำและระบบพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา (Coaching) ได้แก่ ทีมส่วนกลาง ประกอบด้วย กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทีมระดับเขต ประกอบด้วย สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ศูนย์อนามัย ศูนย์สุขภาพจิต และทีมระดับจังหวัด ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุตสาหกรรมจังหวัด สวัสดิการแรงงานจังหวัด สำนักงานประกันสังคมจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด กระทรวงมหาดไทยหรือหน่วยงานอื่นภายใต้คำสั่งแต่งตั้งและมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
		(3) กลไกด้านกำกับประเมินผล แบ่งเป็น 3 ทีม ได้แก่ ทีมส่วนกลาง ทีมเขต และทีมบูรณาการระดับจังหวัด
		3.2 โครงการนำร่องการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox)
		1) แนวคิดในการจัดการ โครงสร้างและกระบวนการในลักษณะ ?เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข?ที่มุ่งเป้าดำเนินการควบคู่กันระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ โดยใน Sandbox จะมุ่งเป้าไปที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นกลไกหลักของประเทศ ณ ปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 ภาคส่วน ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และอุปกรณ์การแพทย์
		2) โครงการ Factory Sandbox แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ดำเนินการใน 4 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และชลบุรี มีสถานประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Factory Sandbox รวม 60 แห่ง มีจำนวนลูกจ้างรวม 138,395 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2564)ระยะที่ 2 ดำเนินการใน 3 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ทั้งนี้ มีขั้นตอนหลัก ได้แก่ การตรวจ การรักษา การดูแลและการควบคุม เพื่อให้สามารถบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างตรงเป้าหมาย
			3) ประเภทสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ (1) สถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออก (2) สถานประกอบการที่อยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร ชลบุรี พระนคาศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ (3) มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป (4) ต้องดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการ (Factory Accommodation Isolation: FAI) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 (5) ดำเนินการ Bubble and Seal โดยกำหนดให้ลูกจ้างเดินทางกลับที่พักโดยตรงไม่แวะระหว่างทาง และอยู่แต่ในเคหสถานเท่านั้น (6) ตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR จำนวน 1 ครั้ง ให้ลูกจ้างทั้งหมด และตรวจแบบ Self-ATK ทุก 7 วัน (7) ฉีดวัคซีนให้ลูกจ้างที่ตรวจ Swab Test ทุกคน ยกเว้นคนที่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในส่วนค่าบริการฉีดวัคซีน สถานประกอบการต้องเป็นผู้จ่ายให้แก่สถานพยาบาล และ (8) สถานประกอบการทำหนังสือยินยอมดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงแรงงานและจังหวัด
			4) ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ Factory Sandbox ได้แก่ (1) รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตส่งออก ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 700,000,000,000 บาท (2) ป้องกันคลัสเตอร์โรงงานจากการติดเชื้อ และสร้างสมดุลระหว่างมาตรการทางด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ (3) สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในช่วงเวลาที่ระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของประเทศคู่แข่งกำลังปิดตัวลง และ (4) รักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตส่งออกสำคัญได้กว่า 3,000,000 ตำแหน่ง
			ที่ประชุม รับทราบในหลักการ แนวทาง และกลไกการดำเนินงานของมาตรการป้องกันควบคุมมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) ดำเนินการโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ กระทรวงแรงงาน  กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินโครงการนำร่องการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน(Factory Sandbox) ดำเนินงานโดยกระทรวงแรงงาน ร่วมกับ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข  ทั้งนี้ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและร่วมดำเนินการ ฯ และศบค. จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในสถานประกอบกิจการ และโรงงานอุตสาหกรรม
		4.  แผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด ? 19
			4.1 สรุปการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 15 สิงหาคม 2564 มีผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งสิ้น จำนวน 23,592,227 โดส โดยเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม จำนวน 17,996,826 ราย (ความครอบคลุมร้อยละ 25.0) และผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม จำนวน 5,109,476 คน (ความครอบคลุมร้อยละ 7.1) ผู้ได้รับวัคซีนไขว้เข็ม 1 และเข็ม 2 (Sinovac- AstraZeneca) จำนวน 974,563 ราย ทั้งนี้ ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงและไม่พบผู้ที่รับวัคซีนสูตรนี้เสียชีวิตจากโรคโควิด - 19 และมีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย AstraZeneca จำนวน 195,520 ราย
			4.2 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ของชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 14 สิงหาคม 2564 จำนวน 356,337 โดส (ความครอบคลุมร้อยละ 7.27 ของจำนวนประชากรต่างชาติทั้งหมดในประเทศไทย) โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับวัคซีนแล้ว จำนวน 27,028 ราย
			4.3 ผลการศึกษา Immunogenicity of heterologous prime/boost inactivated and adenoviral-vectored COVID-19 vaccine: a real-world data โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครคนไทยที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 จำนวน 3 กลุ่ม ในการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีนโดสที่ 2 แล้ว เป็นเวลา 14 - 72 วัน ได้ดำเนินการวัดระดับภูมิคุ้มกันชนิด Spike RBD-specific IgG  พบว่า อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนต่างชนิดกัน (CoronaVac/AZD1222) ร่างกายตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนชนิดเดียวกัน (CoronaVac/CoronaVac หรือ AZD1222/AZD1222) ดังนี้



		4.4 ผลการศึกษาการประเมินประสิทธิผลวัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2564) พบบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข และบุคลากรในโรงพยาบาล/คลินิก ติดเชื้อโควิด - 19 รวมจำนวน 4,749 ราย โดยเริ่มป่วยวันที่ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2564 รวมจำนวน 3,901 ราย พบว่าประสิทธิผลวัคซีนของการได้รับวัคซีน Sinovac 2 เข็มอย่างน้อย 14 สัปดาห์ เทียบกับไม่ได้รับวัคซีน เท่ากับ 72%

		4.5 (ร่าง) เกณฑ์และเป้าหมายการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ดังนี้
			1) เป้าหมายให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 อย่างน้อย จำนวน 10,000,000 โดส ในเดือนกันยายน 2564
			2) การจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เร่งฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง 7 โรคและหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
			3) เกณฑ์การจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ในเดือนกันยายน 2564 ได้แก่ (1) ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 (2) เพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ในผู้สูงอายุให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ในทุกจังหวัดภายในเดือนกันยายน 2564 (3) ควบคุมการระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ ตามสถานการณ์ และ (4) ฟื้นฟูเศรษฐกิจและรองรับแผนเปิดการท่องเที่ยวในระยะถัดไป
			4) เกณฑ์จัดหาวัคซีนได้น้อยกว่า 10,000,000 โดส จำนวนที่จัดสรรจะลดลงตามสัดส่วนวัคซีนที่จัดหาได้












		4.6 แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ประเทศไทย พ.ศ. 2564 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ? ธันวาคม 2564 มีแผนการจัดหาวัคซีนโควิด ? 19 รวมทั้งสิ้น 84,200,000 โดส (ข้อมูล ณ 31 ก.ค 2564) จำแนกเป็น วัคซีน Sinovac จำนวน 21,000,000 โดส วัคซีน AstraZeneca จำนวน 41,700,000 โดส และวัคซีน Pfizer จำนวน 21,500,000 โดส ดังนี้


		4.7 ความก้าวหน้าการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 (ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2564) ดังนี้


		4.8 มติการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดหาวัคซีนโควิด 19 เพื่อประชาชนไทย ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ดังนี้
			1) เห็นชอบในหลักการจัดหาวัคซีนในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 เพื่อนำมาใช้ในช่วงที่ระยะเวลาที่วัคซีนมีจำกัดเพิ่มเติม เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Delta ที่วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้น้อย จึงควรเร่งการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มความครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งต้องได้วัคซีน 100,000,000 โดส ในปี พ.ศ. 2564 โดยการเจรจาจัดหาวัคซีนเพิ่มจากบริษัทผู้ผลิตที่สามารถส่งมอบวัคซีนได้โดยเร็วที่สุด ได้แก่
				1.1) จองซื้อวัคซีนจากบริษัท Pfizer เพิ่มเติมอีก จำนวน 10,000,000 โดส (ผ่านที่ประชุม ศบค. เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564)
				1.2) ให้องค์การเภสัชกรรมจัดหาวัคซีน Sinovac เพิ่มเติมอีก จำนวน 12,000,000 โดส
				1.3) ให้เจรจาจัดหาวัคซีนอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก จำนวน 10,000,000 โดส ภายในปี 2564
			2) มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ดำเนินการข้อ 1.1) และ 1.3) และให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการข้อ 1.2) และให้กรมควบคุมโรคดำเนินการข้อ 1.1) ? 1.3)
มติที่ประชุม 	1. รับทราบผลการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 และการศึกษาประสิทธิผลของการฉีดวัคซีน
		2. เห็นชอบเกณฑ์และแผนการจัดสรรวัคซีนเดือนกันยายน 2564 และการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ได้แก่ วัคซีน Sinovac จำนวน 12,000,000 โดส และให้เจรจาจัดหาวัคซีนอื่น ๆ อีกจำนวน 10,000,000 โดส ภายในปี 2564
		3. ให้เสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อมอบอำนาจให้อธิบดีกรมควบคุมโรคลงนาม
ในสัญญาจองซื้อวัคซีน Pfizer เพิ่ม จำนวน 10,000,000 โดส
		5.  การรับความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากต่างประเทศ
			5.1 การแลกวัคซีนโควิด - 19 (AstraZeneca) ระหว่างรัฐบาลภูฏานกับรัฐบาลไทย
			กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งเรื่องมายังกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการแลกวัคซีนโควิด ? 19 จากรัฐบาลภูฏาน ซึ่งเป็นวัคซีน AstraZeneca ที่ผลิตโดยสถาบันสแตเทนส์ เซรุม (StatensSerum Institute) ประเทศสวีเดน โดยมีข้อตกลงว่าประเทศไทยจะคืนวัคซีนแก่รัฐบาลภูฏานในอนาคต จำนวน 130,000 ? 150,000 โดส ทั้งนี้ รัฐบาลภูฏานได้ส่งร่างความตกลงไตรภาคี (Tripartite agreement) ระหว่างรัฐบาลภูฏาน รัฐบาลไทย และบริษัท AstraZeneca (Non-Negotiable Agreement) มาเพื่อการพิจารณา โดยมีเงื่อนไขในการแลกวัคซีนโควิด ? 19 ประกอบด้วย 3 เงื่อนไขหลัก ดังนี้
			1) จำนวนวัคซีนที่มีการแลกระหว่างกัน จำนวน 130,000 ? 150,000 โดส ซึ่งจะหมดอายุในเดือนตุลาคม 2564 โดยจะหมดอายุในเดือนสิงหาคม 2564 จำนวน 19,070 โดส (คาดว่าประเทศไทยจะสามารถใช้ได้หมดก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม 2564)
			2) การแลกวัคซีนโควิด ? 19 ระหว่างรัฐบาลภูฏานกับรัฐบาลไทย โดยรัฐบาลไทยต้องคืน             วัคซีนฯ แก่รัฐบาลภูฏาน (Returnable Basis) ในภายหลัง
			3) รัฐบาลไทยเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ (1) กระบวนการขนส่งวัคซีนมายังประเทศไทยและการส่งกลับคืน (จะขอรับการสนับสนุนการขนส่งจากกองทัพอากาศ) และ (2) ภาษีนำเข้าและส่งออก ตลอดจนค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยขอยกเว้นจากคณะรัฐมนตรี
		5.2 การรับบริจาค Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab) จากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศเยอรมนี
		กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งมายังกระทรวงสาธารณสุข เรื่องประเทศเยอรมนีมีความยินดีในการบริจาคยา Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab) ซึ่งเป็นยาจากบริษัทรีเจเนอรอน (Regeneron) จำนวน 1,000 ? 2,000 ชุด และจะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยประสิทธิภาพของยาชนิดนี้ สามารถลดการป่วยหนักและเสียชีวิต อยู่ที่ร้อยละ 50 ? 70 โดยให้จัดเก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 2 - 8 องศาเซลเซียส โดยมีเงื่อนไขในการพิจารณาการรับบริจาคฯ ดังนี้
		1) ยา Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab) ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Authorization: EUA) จากคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา รวมถึงได้รับ
การขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทยแล้ว
		2) รัฐบาลไทยเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ (1) กระบวนการขนส่งมายังประเทศไทย และ (2) ภาษีนำเข้าและส่งออก ตลอดจนค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยขอยกเว้นจากคณะรัฐมนตรี
		3) เนื่องจากการรับมอบยา Monoclonal Antibody เป็นการมอบแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ดังนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้เฉพาะในโรงพยาบาลที่ได้การจัดสรรยาเท่านั้น ไม่สามารถส่งต่อโรงพยาบาลอื่นได้ (กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการใช้และการกระจายยา)
	ข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม
		1) ยา Monoclonal Antibody เป็นยาสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อการป้องกันโรค สามารถลดอัตราการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเข้าห้องผู้ป่วยวิกฤตได้ร้อยละ 50 ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นยาตัวใหม่ หากมีการนำเข้าจะต้องมีการทดสอบกับโรงเรียนแพทย์ หากได้ผลการทดสอบที่ดี จะดำเนินการจัดหาเพิ่มเติมต่อไป
			2) ค่าใช้จ่ายของยา Monoclonal Antibody ต่อผู้ป่วย 1 คน จะมีราคาประมาณ 40,000 บาท โดยจะใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และมีความคุ้มค่าในการลดจำนวนผู้ป่วยวิกฤต
			3) การนำเข้า-ส่งออกวัคซีนและยาที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด - 19 ได้รับการยกเว้นภาษีอากรอยู่แล้ว
มติที่ประชุม 		1. เห็นชอบหลักการในการแลกวัคซีน AstraZeneca ระหว่างรัฐบาลภูฏานกับรัฐบาลไทย จำนวน 130,000 - 150,000 โดส (โดยจำนวน 19,070 โดส ที่จะหมดอายุในเดือนสิงหาคม 2564) และส่งคืนภายหลัง
			2. เห็นชอบการรับมอบ Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab) จาก             กระทรวงสาธารณสุข ประเทศเยอรมนี และบริษัท Regeneron จำนวน 1,000 ? 2,000 ชุด
3. เห็นชอบเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้กองทัพอากาศสนับสนุนการขนส่งวัคซีนทั้งรับและส่งคืนประเทศภูฏาน และอนุมัติการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าทั้งวัคซีนและยาฯ

		6.  การประเมินผลการปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด - 19
			6.1 การประเมินผลมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด ? 19 การคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต ด้วยฉากทัศน์ (Scenario) ที่สนใจ แยกวิเคราะห์รายพื้นที่เสี่ยง ในสมมุติฐาน 3 กรณี ได้แก่(1) กรณีไม่มีมาตรการใด ๆ (2) กรณีมีมาตรการลดค่า R (Reproduction rate) หรือการระบาดได้ร้อยละ 20 เช่น การล็อคดาวน์ การขอความร่วมมือให้ทำงานนอกสถานที่ (Work from home) การปิดสถานที่เสี่ยงถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2564 (เริ่ม 19 กรกฎาคม 2564 หรือ 2 สิงหาคม 2564 ตามแต่พื้นที่) เป็นต้น และ (3) กรณีมีมาตรการลดค่า R (Reproduction rate) หรือการระบาดได้ ร้อยละ 25 เช่น การล็อคดาวน์ การกำหนดให้ทำงานนอกสถานที่ (Work from home) เต็มรูปแบบ การปิดสถานที่เสี่ยง การเร่งตรวจหาเชื้อโดยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI) การแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) ถึง  30 กันยายน 2564 (เริ่ม 19 กรกฎาคม 2564 หรือ 2 สิงหาคม 2564 ตามแต่พื้นที่)
				1) การเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กับตัวเลขคาดการณ์จากมาตรการล็อคดาวน์ภาพรวมประเทศ พบว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสถานการณ์จริงอยู่ระหว่างการคาดการณ์ตามฉากทัศน์ที่ลดค่า R ได้ร้อยละ 20 และร้อยละ 25

				2) การเปรียบเทียบจำนวนผู้เสียชีวิตกับตัวเลขคาดการณ์จากมาตรการล็อคดาวน์ภาพรวมประเทศ พบว่าผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมีจำนวนต่ำกว่าฉากทัศน์ที่ลดค่า R หรือการระบาดได้ร้อยละ 25














				3) การเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กับตัวเลขคาดการณ์ แยกวิเคราะห์รายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร พบว่า กรุงเทพมหานคร ชายแดนใต้ และจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 19 จังหวัดมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ และเสียชีวิตใกล้เคียงกับฉากทัศน์ที่ลดค่า R ได้ร้อยละ 25  ยกเว้นจังหวัดปริมณฑลที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ และผู้เสียชีวิตใกล้เคียงกับฉากทัศน์ที่ลดค่า R ได้ร้อยละ 2o ซึ่งต้องเร่งดำเนินมาตรการควบคุมโรค และฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงให้ครอบคลุมโดยเร็ว


































		6.2 การปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 จากการจัดระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ได้มีการกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดทางภาคใต้ และจังหวัดที่มีการระบาดในสถานประกอบการ รวมถึงการเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค ทั้งในระดับชุมชนและสถานประกอบการ ทั้งนี้ จากการประเมินผลติดตาม พบว่าสถานการณ์การระบาดของโรคยังคงมีแนวโน้ม ไม่ลดลง ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งภูมิภาคหลายจังหวัด ประกอบกับยังมีผู้ป่วยหนักและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังเป็นการระบาดในวงกว้างทั้งในชุมชนและครอบครัว ส่วนจังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังพบการระบาดในสถานประกอบการ จังหวัดในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ยังพบผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา ดังนั้น จึงควรคงมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคตามข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 30ในพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรและปรับมาตรการบางส่วนเพื่อความเข้มข้นในการเฝ้าระวังและการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เสี่ยงมากขึ้น เพื่อลดการเสียชีวิตและลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนักให้อยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้ ในการนี้ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 จึงได้เสนอให้มีการปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19 ดังนี้
		1) ให้ทุกพื้นที่คงระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร และตามมาตรการเดิมถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564
		2) ให้เพิ่มมาตรการและการจัดการขององค์กร ดังนี้
			(1) ดำเนินมาตรการ Test - Trace - Isolate อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเพิ่มการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อโดยใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเตรียมทีมเคลื่อนที่เร็ว
แบบเบ็ดเสร็จ (CCRT) ให้เพียงพอ รวมทั้งจัดระบบการนำเข้าสู่การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI) การแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) หรือโรงพยาบาล
			(2) มาตรการองค์กรสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้เน้นการทำงานนอกสถานที่ (Work from home) อย่างต่อเนื่อง และพนักงานของภาครัฐ/เอกชน ที่จำเป็นต้องมาปฏิบัติงานให้มีการคัดกรองด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ทุกสัปดาห์ เพื่อให้มีความพร้อมก่อนการคลายล็อกดาวน์ รวมถึงการเตรียมพื้นที่สำหรับการกักตัวในสถานที่ทำงาน (Company Isolation) สำหรับหน่วยงานที่มีพนักงานเกิน 50 คน และเตรียมความพร้อมงานบุคลากรในการติดตามการคัดกรองด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) และการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI) การแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) รวมทั้งกำกับติดตามมาตรการ DMHTTA
			(3) มาตรการควบคุมโรคเฉพาะสถานที่ สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยในโรงงานหรือสถานประกอบการที่มีพนักงานเกิน 100 คน ให้พิจารณาดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) เต็มรูปแบบ สำหรับตลาด (ค้าส่ง ขนาดใหญ่) ให้คัดกรองผู้ค้า แรงงาน ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ทุกสัปดาห์ และสุ่มตรวจผู้มาใช้บริการเป็นระยะ รวมทั้งกำกับมาตรการ DMHTTA
			(4) มาตรการลดการเสียชีวิต ได้แก่ (1) เร่งรัดการฉีดวัคซีน ให้มีความครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ (กลุ่ม 608) อย่างน้อยร้อยละ 80 ในกรุงเทพมหานคร อย่างน้อยร้อยละ 70 ใน 12 จังหวัด และอย่างน้อยร้อยละ 50 ในพื้นที่อื่น (2) เพิ่มอัตราการหมุนเวียนการรับผู้ป่วยสีเหลืองสีแดง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนักในโรงพยาบาล/โรงพยาบาลสนาม และไม่ให้ค้างในชุมชน ควรมีระบบรองรับที่มีประสิทธิภาพ (3) เร่งจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผู้ป่วยสีเขียว ทั้งในระบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI) การแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) (4) ให้ประชาชน องค์กร สถานประกอบการ สามารถตรวจหาเชื้อโควิด - 19 ด้วยตัวเองได้ โดยรัฐควรสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือหรือชุดตรวจอย่างเหมาะสมโดยไม่เป็นภาระประชาชน เช่น การกำหนดให้จำหน่ายในราคาถูก จัดหาได้ง่าย (5) มีระบบการดูแลรักษารองรับเมื่อตรวจพบเชื้อ และเน้นย้ำให้ประชาชนป้องกันตนเองทุกกรณี และสื่อสารให้ทุกคนปฏิบัติตามหลักการป้องกันตนเองทุกกรณี (Universal Prevention) ซึ่งเป็นมาตรการองค์รวมที่มีเป้าหมายสำหรับสถานที่สาธารณะหรือประชากรทุกคนที่ยังไม่พบว่ามีความเสี่ยง และ (6) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเดิมต่อไป รวมทั้งพิจารณาร่วมจัดทำเอกสารรับรอง Thai Covid Pass ให้เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดประเทศ
		3) การปรับมาตรการจำหน่ายสินค้าจำเป็น/กิจการจำเป็นในห้างสรรพสินค้า เพื่อกระจายช่องทางการใช้บริการและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน โดยเปิดกิจการธนาคารและสถาบันการเงิน และมีมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด จำนวน 26 ข้อ ตามที่สมาคมศูนย์การค้าไทยจัดทำ
		ข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม
		1) ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ได้พิจารณาข้อเสนอการปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด - 19 ของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในเบื้องต้นแล้ว และเห็นควรให้นำเสนอต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ซึ่งรายละเอียดในข้อเสนอของการปรับมาตรการดังกล่าวเป็นไปตามกรอบข้อกำหนดฯ ฉบับเดิม (ฉบับที่ 30) โดยมีการปรับแก้ไขเฉพาะประเด็นการอนุญาตให้เปิดให้บริการธนาคารและสถาบันการเงินในห้างสรรพสินค้า
		2) กระทรวงพาณิชย์เสนอให้พิจารณาการอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันในซุปเปอร์มาเก็ต เช่น หม้อหุงข้าว ไมโครเวฟ พัดลม ฯลฯ เพื่อสนับสนุนการทำงานนอกสถานที่ (Work from home) ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่า อาจก่อให้เกิดการรวมตัวและความแออัดในห้างสรรพสินค้าได้ อย่างไรก็ดี ขอรับความเห็นในประเด็นดังกล่าวไปพิจารณาหารือในโอกาสต่อไป
มติที่ประชุม 	เห็นชอบการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด ? 19 และ มอบหมายให้หน่วยงาน               ที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเดิม รวมทั้งกำกับติดตามมาตรการและการควบคุมโรคเฉพาะสถานที่และรับทราบการประเมินมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ผ่านมา และเห็นชอบการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรค ดังนี้
			1. การคงระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร และตามมาตรการเดิมถึงวันที่ 31 ส.ค.2564
			2. การเพิ่มมาตรการ และการจัดการขององค์กร
			3. ให้ประชาชน องค์กร สถานประกอบการ สามารถตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองได้ โดยรัฐสนับสนุนให้มีการใช้อย่างทั่วถึง และเน้นย้ำให้ประชาชน ใช้การป้องกันตนเองของประชาชนในทุกกรณี    (Universal Prevention)
			4. ปรับมาตรการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด โดยให้เปิดกิจการธนาคาร/สถาบันการเงินในห้างสรรพสินค้าได้
ทั้งนี้ มอบหมายฝ่ายสาธารณสุขจัดทำเป็นแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเดิม รวมทั้งกำกับติดตามมาตรการ และให้ฝ่ายความมั่นคง/ฝ่ายเศรษฐกิจกำกับติดตามมาตรการขององค์กร และการควบคุมโรคเฉพาะสถานที่ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินงาน
		7.  มาตรการควบคุมสำหรับการเดินทางเข้าออกทางน้ำ เฉพาะกรณีเรือที่ไม่มีสัญชาติไทย เพื่อปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม ภารกิจอื่นใดบนยานพาหนะหรือสิ่งปลูกสร้างในทะเล
		คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคสำหรับบุคคลที่เดินทางจากต่างประเทศไม่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติของเรือต่างชาติที่มีภารกิจเกี่ยวกับ การปิโตรเลียม หรือสิ่งปลูกสร้างในทะเลของไทย จึงเสนอให้กำหนดแนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะ เจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือแรงงานซึ่งเดินทางมากับยานพาหนะ ซึ่งต้องเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศทางน้ำ เฉพาะกรณีเรือที่ไม่มีสัญชาติไทย เพื่อปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม หรือภารกิจอื่นใดบนยานพาหนะหรือสิ่งปลูกสร้างในทะเล หรือภารกิจบนบก ดังนี้
			7.1 รายละเอียดมาตรการควบคุมสำหรับการเดินทางเข้าออกทางน้ำ เฉพาะกรณีเรือที่ไม่มีสัญชาติไทย เพื่อปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม ภารกิจอื่นใดบนยานพาหนะหรือสิ่งปลูกสร้างในทะเล ได้แก่
				1) ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
					1.1) ให้มีเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ (1) หลักฐานแสดงสถานะการเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ เจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือแรงงานซึ่งเดินทางมากับยานพาหนะ (2) กรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายมากกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐ (3) หลักฐานยืนยันหรือหลักฐานที่แสดงสถานะของยานพาหนะ (4) หลักฐานโรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการที่จะรับผิดชอบการรักษาพยาบาล และ (5) หลักฐานยืนยันการตรวจไม่พบโควิด-19 โดยวิธี RT- PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
					1.2) ให้มีการคัดกรองก่อนออกเดินทางจากจุดเทียบท่าครั้งสุดท้ายก่อนเข้าราชอาณาจักรไทย
		2) มาตรการเมื่อเดินทางถึง/ระหว่างอยู่ในราชอาณาจักร
			2.1) ให้คัดกรองอาการทางเดินหายใจ วัดไข้ และตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT- PCR ทุกคนบนยานพาหนะ ทั้งกรณีที่ยานพาหนะที่ไม่มีการเทียบท่าหรือไม่มีบุคคลภายนอกขึ้นไปบนยานพาหนะ และกรณีมีการเทียบท่าหรือมีบุคคลภายนอกขึ้นไปบนยานพาหนะ อย่างไรก็ดี จะมีการกำหนดแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน ระหว่างทั้งสองกรณี
			2.2) ให้ใช้ระบบติดตามหรือแอปพลิเคชันตามที่ทางราชการกำหนด
			2.3) กรณีมีผู้ติดเชื้อ ให้เจ้าของยานพาหนะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
		3) มาตรการก่อนเดินทางออกจากราชอาณาจักร
			3.1) ให้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT- PCR กรณีประเทศ/พื้นที่ปลายทางที่กำหนด
			3.2) กรณีบุคคลที่มีกำหนดเดินทางกลับโดยอากาศยานเพื่อออกนอกราชอาณาจักรไปยังประเทศหรือพื้นที่อื่น ให้เดินทางไปยังท่าอากาศยานโดยยานพาหนะที่จัดไว้เป็นการเฉพาะ และห้ามแวะหรือหยุดพักณ สถานที่ใด ๆ ก่อนถึงท่าอากาศยาน
			ทั้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กระทรวงคมนาคม สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้อง
		7.2 ข้อเสนอของศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19
			1) อนุญาตให้เรือที่ไม่มีสัญชาติไทยพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะเดินทางเข้ามา
ในราชอาณาจักรได้ เพื่อปฏิบัติภารกิจที่เกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม หรือภารกิจอื่นใดบนยานพาหนะ หรือ
สิ่งปลูกสร้างในทะเล หรือภารกิจบนบก
			2) ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับหลักการนี้ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
			3) ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 (ศปก.ศบค.) จัดทำคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กราบเรียนนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 เพื่อกรุณาลงนาม และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป
		ข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม
		- กรณีเรือที่มีการเดินทางนานกว่า 72 ชั่วโมง อาจไม่สามารถมีผลยืนยันการตรวจโควิด - 19 โดยวิธี RT- PCR ซึ่งกำหนดว่าไม่เกิน 72 ชั่วโมง จึงขอให้พิจารณาแนวทางการปฏิบัติเพิ่มเติม
มติที่ประชุม 		รับทราบมาตรการควบคุมสำหรับการเดินทางเข้าออกทางน้ำ เฉพาะกรณีเรือที่ไม่มีสัญชาติไทย เพื่อปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม ภารกิจอื่นใดบนยานพาหนะหรือสิ่งปลูกสร้างในทะเล และรับข้อสังเกตจากที่ประชุมไปพิจารณา
		8.  การเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตเชื่อมต่อจังหวัดนำร่างอื่น
				8.1 เกณฑ์การรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตเชื่อมต่อจังหวัดนำร่องอื่น (7+7 Extension) แบ่งเป็น
			1) ก่อนเดินทางเข้ามาถึง
				1.1) กำหนดประเทศของนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำและปานกลาง หรือกลุ่มประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ โดยผู้เดินทางต้องอยู่ในประเทศที่กำหนดอย่างน้อย 21 วัน กรณีผู้มีสัญชาติไทย และชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทยจะต้องเดินทางมาจากกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำและปานกลาง หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหน
				1.2) ได้รับวัคซีนตามกำหนดของประเทศไทยครบกำหนดสองเข็ม (ตามประเภทวัคซีน) อย่างน้อย14 วัน ก่อนการเดินทาง และมีเอกสารรับรองการได้รับวัคซีน (Vaccine Certificate) กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถเดินทางมาพร้อมผู้ปกครองที่ได้รับวัคซีนตามที่กำหนด
				1.3) กรณีเคยติดเชื้อ ต้องได้รับวัคซีนตามกำหนดสองเข็ม (ตามประเภทวัคซีน) อย่างน้อย 14 วัน
				1.4) มีผลการตรวจโควิด ? 19 (COVID Free) ด้วยวิธีการ RT ? PCR ภายใน 72 ชั่วโมง
				1.5) มีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรค และวงเงินคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
				1.6) มีเอกสารหลักฐานการชำระค่าที่พัก SHA+ และค่า RT ? PCR ทั้งนี้ กรณีที่พำนักน้อยกว่า 14 วัน ให้แสดงบัตรโดยสารเครื่องบินไป ? กลับด้วย
			2) ระหว่างพำนัก
				2.1) กรณีต้องการเดินทางไปยังพื้นที่นำร่องอื่น ต้องพำนักในภูเก็ตอย่างน้อย 7 วัน และต้องตรวจ RT ? PCR ครั้งที่ 2 ในวันที่ 6 ? 7
				2.2) กรณีเดินทางไปยังพื้นที่เชื่อมต่อ Phuket Sandbox ต้องได้รับ Transfer Form จากภูเก็ต และเลือกเดินทางไปพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ได้แก่ (1) เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี (โดยเที่ยวบินตรงเส้นทางภูเก็ต ? สมุย) และ (2) เกาะพีพี เกาะไหง หรือไร่เลย์ จังหวัดกระบี่ (โดยทางเรือ SHA+ จากท่าเรืออ่าวปอ หรือท่าเรือรัษฎา)
				2.3) เขาหลัก จังหวัดพังงา (โดยทางรถ SHA+ จากภูเก็ตไปยังโรงแรมพังงา)
				2.4) เกาะยาวน้อยหรือเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา (โดยทางเรือ SHA+ จากท่าเรืออ่าวปอ, ท่าเรืออ่าวปอ แกรนด์ มารีน่า และท่าเรือบางโรง ไปยังเกาะยาวใหญ่
		ทั้งนี้ ต้องพำนักในพื้นที่ข้างต้นอย่างน้อย 7 คืน และต้องตรวจ RT ? PCR ครั้งที่ 3 ในพื้นที่
วันที่ 12 ? 13 และได้รับ Release Form จึงจะสามารถเดินทางออกจากพื้นที่นำร่องไปจังหวัดอื่นในประเทศไทย
			3) ก่อนเดินทางออก  ก่อนเดินทางออกจากพื้นที่นำร่อง ไปจังหวัดอื่น ๆ ให้แสดงหลักฐานยืนยันว่าได้พำนักในพื้นที่รวมการพำนักที่ภูเก็ตแล้วมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 14 วัน (Release Form) และหลักฐานตามที่ราชการกำหนด
		8.2 แนวทางดำเนินการรับรองและการบริหารจัดการ
	1) ดำเนินการตามมาตรการปฏิบัติ (SOP) ของสถานบริการและการดูแลนักท่องเที่ยวในระหว่างพำนัก และการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวในจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ
	2) การเตรียมความพร้อมของทรัพยากรด้านการแพทย์ สาธารณสุข กำลังคนในการติดตาม ทรัพยากรสนับสนุนอื่น ๆ
	3) การจัดทำแผนรับมือและแผนชะลอ หรือยกเลิกโครงการ
มติที่ประชุม		เห็นชอบในหลักการการเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตเชื่อมต่อจังหวัดนำร่างอื่น
		9. แนวทางการประชาสัมพันธ์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19
		รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานมติคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ครั้งที่ 1/2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานกรรมการฯ ได้กำหนดแนวทางการสื่อสาร โดยให้มีมติให้กำหนดแนวทางการสื่อสารในภาวะวิกฤต จำแนกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การบริหารสถานการณ์โควิด - 19 และ (2) การบริหารการสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยเพื่อให้การสื่อสารของภาครัฐมีเอกภาพ จึงขอเสนอที่ประชุม ศบค. พิจารณา ดังนี้
			9.1 จัดตั้ง ?ศูนย์บริหารการสื่อสารในภาวะวิกฤต? โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าศูนย์ฯ และมีอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเลขานุการ
			9.2 แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิการประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นายเสรี  วงษ์มณฑา และนายเกษมสันต์  วีรกุล ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบริหาร ได้แก่ (1) วางกลยุทธ์การสื่อสารของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (2) เชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) ติดตามและประมวลข้อมูลข่าวสาร (4) วางยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก-เชิงรับ (5) กำหนดประเด็นเพื่อสื่อสารกับประชาชน และ (6) วางกลยุทธ์ กำหนดเวลาความถี่ และกำหนดผู้ให้ข้อมูล/ชี้แจง
		ข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม
		1) ให้ ?ศูนย์บริหารการสื่อสารในภาวะวิกฤต? และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่า จากการออกมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดและควบคุมพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ? 19 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้
		2) ให้เน้นย้ำการประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค     โควิด - 19 โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์) รวมถึงสื่อสารให้ประชาชนปฏิบัติตามแนวคิดการป้องกันแบบทั่วไป (Universal Prevention) คือการระมัดระวังและป้องกันตนเองให้มากที่สุดเมื่อต้องพบปะบุคคลอื่น และตระหนักเสมอว่าบุคคลที่ได้พบปะนั้นอาจเป็นผู้ติดเชื้อโควิด - 19 ที่ยังไม่แสดงอาการ รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนป้องกันตนเอง และปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมาตรการ D-M-H-T-T อย่างต่อเนื่อง
		3)  การสื่อสารในภาวะวิกฤติ ซึ่งขณะนี้มี 2 ประเด็น คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ? 19 และสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง  ซึ่งควรมีการติดตามข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง  พร้อมทั้งประสานการปฏิบัติงานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ ภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 อาทิ ศปก.สธ. ศปม. เพื่อกำหนดประเด็นข่าวสารและจัดลำดับเวลาการนำเสนอ สำหรับการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์
มติที่ประชุม	เห็นชอบและให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเร่งรัดการดำเนินการตาม
ที่เสนอต่อไป
			ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
		1. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหาในการดำเนินงานโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญ ได้แก่
			1) การเร่งรัดการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 มาฉีดโดยเร็วที่สุด
			2) การค้นหาผู้เสี่ยงติดเชื้อเชิงรุก และนำผู้ป่วยทุกคนเข้าระบบการรักษา รวมถึงให้ผู้ป่วยติดเชื้อเข้าถึงยาโดยเร็วที่สุด โดยให้จัดระบบการส่งยาให้ถึงบ้านผู้ป่วยให้ได้เร็วที่สุด ด้วยการระดมเจ้าหน้าที่ในการจัดส่งยารักษาโรคโควิด - 19 โดยอาจจัดหาด้วยวิธีการจ้างงาน ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเดินทางเพื่อการรักษาพยาบาลในช่วงเวลาที่มีประกาศห้ามออกนอกเคหสถานได้
			3) การจัดหาสถานที่กักตัวให้เพียงพอ ทั้งในประเภท Home Isolation (HI) Community Isolation (CI) รวมถึงสถานกักตัวสำหรับแรงงานในโรงงานต่าง ๆ ให้เพียงพอทุกพื้นที่
			4) การหาช่องทางส่งยารักษาโรคโควิด - 19 ให้ผู้ป่วยที่อยู่ใน HI และ CI ได้รับโดยเร็วที่สุด และใช้ระบบการแพทย์ทางไกล (Tele-Medicine) โดยเฉพาะคนไข้ที่อยู่ในระบบ HI หากได้สื่อสารทางโทรศัพท์กับแพทย์/พยาบาล จะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น
			5) การติดตามการวิจัยสูตรยาต่าง ๆ ของไทย และการเร่งดำเนินการให้ผู้ป่วยสีเหลืองและสีเขียวเข้าถึงยาได้กว้างขวางที่สุด
			6) การเร่งดำเนินการจัดหาชุดตรวจหาเชื้อโควิด - 19 แบบแอนติเจน (Antigen Test Kit: ATK) ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีจำหน่ายในไทย มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) รวมทั้งต้องมีความแม่นยำในการตรวจ
เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงที และพร้อมจัดส่งให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด
			7) การจัดหาอาหารและสิ่งจำเป็นให้ผู้ป่วยติดเชื้อและประชาชนที่ด้อยโอกาส รวมถึงการดูแลสภาพจิตใจของทั้งผู้ป่วยและผู้สูญเสียคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว
		2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการทดสอบและทดลองการใช้ยา Monoclonal Antibody (Casirivimab/ Imdevimab) ซึ่งหากยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพดี จะได้พิจารณาดำเนินการสั่งซื้อเข้ามาใช้เพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้
ให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการเปิดให้มีการจัดหาโดยการนำเข้าได้ทั้ง 2 ทาง ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ
		3. ให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ให้มีความก้าวหน้าโดยเร็ว ทั้งนี้ กรณีสถานประกอบการหรือโรงงานยังไม่มีความพร้อม ให้กระทรวงสาธารณสุข เข้าดำเนินการดูแลในการตรวจหาเชื้อ การจัดหาสถานที่กักตัว ยารักษาโรค ตลอดจนวัคซีนให้กับแรงงานต่อไป
		4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ) ดำเนินการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ โดยให้จัดทำระบบการจัดการขยะติดเชื้อตั้งแต่ต้นทาง คือ การส่งเสริมให้ประชาชนทราบวิธีการทิ้งขยะติดเชื้อที่ถูกต้อง กลางทาง คือ กระบวนการจัดเก็บทั้งจากแหล่งชุมชน โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม รวมถึง ในระบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) ปฏิบัติตามมาตรการการจัดเก็บอย่างเคร่งครัด มีระบบการป้องกันอย่างรัดกุม และปลายทาง คือ กระบวนการทำลายขยะติดเชื้อให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
		5. ให้ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการรวบรวมข้อมูลและจัดรูปแบบข้อมูลในด้านต่าง ๆ ทั้งมิติด้านการคัดกรอง มิติด้านการรักษา มิติด้านการป้องกันเพื่อเป็นข้อมูลกลางให้แก่ ศบค. รวมทั้งเสนอแก่ประชาชนในบางส่วนที่สามารถกระทำได้ โดยไม่กระทบต่อข้อมูลทางด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ให้พิจารณาจัดตั้งคณะทำงาน โดยประกอบไปด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ตามความเหมาะสมต่อไป
		6. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ : สวทช.) เป็นแกนหลักระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน โดยบูรณาการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกับการแก้ปัญหาสถานการณ์ทุกระดับเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
		7. ให้ศูนย์ปฏิบัติการด้านการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในอินเทอร์เน็ต ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 (ศปก.ศบค.) ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด ? 19 (ศปก. สธ.) และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) พิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กับการตรวจคัดกรองด้วย ATK เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและนำเข้าสู่กระบวนการรักษาตามลำดับความรุนแรงของอาการ
		8. ให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) พิจารณากำหนดแผนมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 โดยเน้นให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและทุกระดับอย่างทั่วถึง
		9. ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์ในภาวะวิกฤต ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อ โควิด ? 19 (ศปก.สธ.) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษก ศบค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (อาทิ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ) ดำเนินการ ดังนี้
			1) เร่งสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจกับประชาชน จัดทำเป็นคู่มือประชาชนที่เข้าใจง่ายมีช่องทางการติดต่อทั้งโทรศัพท์ สายด่วน ไลน์ แอปพลิเคชัน Website ของหน่วยงาน  เพื่อให้ประชาชนทราบการปฏิบัติตัวตั้งแต่เริ่มติดเชื้อจนถึงรักษาหาย ตลอดจนจัดทำคู่มือชุมชน การให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อดำเนินมาตรการกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) และ Bubble and Seal และให้มีระบบการมอบหมายหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในระดับพื้นที่ที่ชัดเจน และเร่งพัฒนาระบบในการเชื่อมโยงส่งต่อผู้ที่ตรวจแล้วพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการต่อไปได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงยิ่งขึ้น
			2) เร่งแก้ไขปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ที่วิกฤติ ผู้รับผิดชอบทุกฝ่ายต้องดำเนินสิ่งต่อไปนี้ควบคู่กัน ได้แก่ (1) สิ่งที่สังคมต้องการคือข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง มีความเป็นเอกภาพ โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ ทั้งเรื่องวัคซีน ยาและเวชภัณฑ์ ยาสมุนไพร  (2) สร้างความรู้เข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน  ทุกหน่วยต้องแก้ข่าวบิดเบือน (Fake News) ให้ทันท่วงที (3) ฉายภาพให้เห็นพลังความร่วมมือของทุกฝ่ายในสังคมไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลเท่านั้น (4) สร้างกาลังใจให้คนไทยทุกคนในภาวะวิกฤติ และ (5) พยายามสานพลังทุกฝ่าย ลดความขัดแย้งกัน
			3) ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอย่างมีเอกภาพ นำเสนอประเด็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และประเด็นอื่น ๆ พร้อมกับสื่อสารให้ประชาชนทราบถึงแนวทางการแก้ไขสถานการณ์หรือประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์เรื่องการป้องกันตนเองทุกกรณี (Universal Prevention) ผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย อาทิ การใช้ Infographic ฯลฯ รวมทั้งผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ  เพจประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha เพจและพอดแคสต์ (Podcast) ไทยคู่ฟ้า
			4) ดำเนินการถ่ายทอดข้อมูลสื่อสารไปสู่ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชน โดยให้นำรูปแบบการสื่อสารที่มีอยู่มาปรับใช้ในการดำเนินงาน เช่น หอกระจายข่าว เป็นต้น

ต่างประเทศ

23. เรื่อง  ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง ? ล้านช้าง ครั้งที่ 6
  คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง ? ล้านช้าง ครั้งที่ 6 และเห็นชอบมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้  ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วยโดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้เข้าร่วมการประชุมฯ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ณ นครฉงซิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ผลการประชุมฯ
1. ที่ประชุมฯ ชื่นชมความสำเร็จของกรอบความร่วมมือฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยประเทศลุ่ม             น้ำโขงได้ขอบคุณจีนสำหรับการจัดสรรทุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้างและกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ด้านสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์การแพทย์และวัคซีนเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
2. ที่ประชุมฯ ได้ย้ำถึงความสำคัญในการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างกรอบความร่วมมือ               แม่โขง-ล้านช้างกับยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาระเบียงทางการพัฒนาเศรษฐกิจแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Economic Development Belt: MLEDB) นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้หารือเกี่ยวกับ            ทิศทางการพัฒนากรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านข้างและการจัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี ฉบับใหม่ (ค.ศ. 2023-2027) โดยเห็นพ้องให้เริ่มกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในปี 2564
3.ที่ประชุมฯ เน้นหารือผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ ดังนี้
ด้าน	สาระสำคัญ
	การสาธารณสุข	1.1 ย้ำการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมและขอความร่วมมือจากจีนในการผลิตวัคซีนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
1.2 เร่งกระชับความร่วมมือด้านการประยุกต์ใช้การแพทย์แผนดั้งเดิมในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และใช้ประโยชน์จากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ด้านสาธารณสุข
	การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19	2.1 เร่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย และการส่งเสริมการสอดประสานระหว่าง MLEDB กับระเบียงทางการค้าเชื่อมทางบก-ทางทะเลระหว่างประเทศแห่งใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor: NILSTC)
2.2 ไทยได้เสนอให้เร่งร่วมมือในประเด็นต่าง (เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) การเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมตามแนวเส้นทาง R34 เพื่อให้อนุภูมิภาคฯ ฟื้นตัวอย่างปลอดภัย
	การบริหารจัดการน้ำ	3.1 ที่ประชุมฯ [ยกเว้นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา] เห็นพ้องให้มีการศึกษาร่วมในหัวข้อต่าง ๆ และเร่งพัฒนาขีดความสามารถของประเทศสมาชิกผ่านการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านน้ำ
3.2 ประเทศสมาชิกมีข้อเสนอ เช่น การแบ่งปันข้อมูลแบบ real-time การส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรน้ำและการจัดทำแผนพัฒนาทั้งลุ่มน้ำ การทำการศึกษาร่วมระหว่างศูนย์ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำภายใต้กรอบความร่วมมือฯ กับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และการพัฒนาเว็บไซต์ Lancang-Mekong Water Resources Cooperation Information Sharing Platform ให้มีเนื้อหามากขึ้น

4. ที่ประชุมฯ ได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ข้อริเริ่มว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศแม่โขง-ล้านช้าง (2) แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศแม่โขง-ล้านช้าง และ (3) แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์แผนดั้งเดิมในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยสาระสำคัญของเอกสารทั้งหมดไม่แตกต่างจากร่างเอกสารฯ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564
5. จีนได้จัดกิจกรรมคู่ขนาน โดยเปิดตัว (1) เว็บไซต์สำนักเลขาธิการกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างแห่งชาติจีน (มี 7 ภาษา) (2) เว็บไซต์ Youth Online Platform (สำหรับการศึกษาออนไลน์และการแลกเปลี่ยนสำหรับเยาวชนในประเทศแม่โขง-ล้านช้าง) และ (3) การแข่งขันการออกแบบโปสเตอร์กรอบความร่วมมือแม่โขง-   ล้านช้าง
		หน่วยงานรับผิดชอบ
		ด้านสาธารณสุข  : กระทรวงสาธารณสุข
		การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 :  กระทรวงการคลัง  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   กระทรวงคมนาคม  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  กระทรวงพาณิชย์  กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงอุตสาหกรรม  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   ธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
		การพัฒนาที่ยั่งยืน :  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงแรงงาน   กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
		ความร่วมมือระดับรัฐบาลท้องถิ่น : กระทรวงมหาดไทย
		กลไกความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง : กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

24. เรื่อง วันอาสาสมัครสากล (International Volunteer Day : IVD)

คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการจัดงานวันอาสาสมัครสากลของประเทศไทยในทุกปี ตามมติ ของสหประชาชาติ ในวันที่ 5 ธันวาคมเป็นประจำทุกปี และเชิญชวนหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันอาสาสมัครสากลโดยกำหนดช่วงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม (วันอาสาสมัครไทย) ถึงวันที่ 5 ธันวาคม ทุกปี โดยในส่วนของการกำหนดจัดกิจกรรมในปี 2564 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข และให้ พม. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป พร้อมมอบหมายให้ พม. เป็นผู้รับผิดชอบหลักร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเชิญชวนและประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานต่าง ๆ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสดังกล่าวด้วย ตามที่ พม. เสนอ ทั้งนี้ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) มีข้อมติสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2528 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศให้ วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันอาสาสมัครสากลและเชิญชวนประเทศต่าง ๆ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาส
ให้องค์กรอาสาสมัครและอาสาสมัครเผยแพร่สิ่งที่ตนดำเนินการ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goats: MDGs) จนมาถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
2. อาสาสมัครถือว่าเป็นภาคส่วนสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาสังคม รามถึงการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ของประเทศไทยโดยที่ผ่านมารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับงานอาสาสมัครและคณะรัฐมนตรีเคยมีมติเพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับอาสาสมัคร   โดย พม. ได้จัดงานวันอาสาสมัครไทยขึ้นทุกปี และในส่วนของการจัดงานวันอาสาสมัครสากลที่ผ่านมา พม. ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และโครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ (United Nations Volunteers: UNV) จัดกิจกรรมตามหัวข้อองค์การสหประชาชาติกำหนดไว้ในแต่ละปี โดยการจัดงานวันอาสาสมัครสากลของประเทศไทยได้มีการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่  29 พฤศจิกายน  2561 โดย กต. ร่วมกับ UNV และภาคีเครือข่าย ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวันอาสาสมัครสากลและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและบทบาทของงานอาสาสมัครในประเทศไทย  ในการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.  เพื่อให้การจัดงานวันอาสาสมัครสากลเป็นไปอย่างแพร่หลาย  จึงเห็นสมควรให้คณะรัฐมนตรีประกาศให้ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานทุกภาคส่วนได้ทราบว่า  วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี คือ วันอาสาสมัครสากล ตามประกาศขององค์การสหประชาชาติ  และเชิญชวนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวันอาสาสมัครสากล และเพื่อเป็นการจัดกิจกรรมทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยกำหนดช่วงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม (วันอาสาสมัครไทย) ถึงวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่  6 พฤศจิกายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบด้วย

25. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย ? มณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 1

		คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย ? มณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 1 (Outcome Document of the First Meeting of the Guangdong ?Thailand high Level  Cooperation Conference) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำของร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ได้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของไทย โดยไม่ต้องเสนอการปรับปรุงแก้ไขให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ กับผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
		สาระสำคัญ
		1. ภูมิหลังและวัตถุประสงค์ของกลไกการประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย ? มณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 1 ซึ่งยกระดับจากคณะทำงานไทย ? มณฑลกวางตุ้งระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสู่ระดับรัฐมนตรีเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงลึกระหว่างกัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเชื่อมโยงระหว่าง GBA ส่วนที่อยู่ในมณฑลกวางตุ้งกับ EEC
		2. สาขาความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริม อาทิ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ การค้าและการลงทุน การเกษตรสมัยใหม่ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว สาธารณสุข การแลกเปลี่ยนระดับท้องถิ่น พลังงานสะอาด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเงินและตลาดทุน ตลอดจนสาขาอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ
		3. การบริหารจัดการและการติดตามผลการประชุม จัดการประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย ? มณฑลกวางตุ้ง เป็นประจำทุก 2 ปี โดยฝ่ายไทยและฝ่ายกวางตุ้งสลับกันเป็นเจ้าภาพและให้สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวและสำนักงานการต่างประเทศมณฑลกวางตุ้ง เป็นหน่วยประสานงานหลักของแต่ละฝ่ายเพื่อเตรียมการประชุมและติดตามการดำเนินการตามผลการประชุม

26. เรื่อง การรับการสนับสนุนวัคซีนจากราชอาณาจักรภูฏาน และ Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
		คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการลงนามร่าง In-kind Donation Agreement ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกระทรวงสาธารณสุข ราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นการรับบริจาค Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และอนุมัติให้อธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญาดังกล่าว และเห็นชอบในการลงนามในร่าง FORM OF AGREEMENT Tripartite Agreement ระหว่างรัฐบาลภูฏาน รัฐบาลไทย และบริษัท AstraZeneca จำกัด ซึ่งเป็นการรับมอบวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบริษัท AstraZeneca จำกัด และอนุมัติให้อธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญาดังกล่าว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
		สาระสำคัญ
		 1. รัฐบาลภูฏานประสงค์จะมอบวัคซีนต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบริษัท AstraZeneca จำนวน 130,000 ? 150,000 โดส แก่ประเทศไทย บนพื้นฐานของการส่งมอบคืน (returnable  basis) ตามข้อตกลงไตรภาคี (Tripartite Agreement) ระหว่างรัฐบาลภูฏาน รัฐบาลไทย และบริษัท AstraZeneca จำกัด (Non-negotiable agreement)
		2. รัฐบาลเยอรมนีมีความประสงค์บริจาค Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab) จำนวน 1,000 ? 2,000 ชุด โดยเป็นการบริจาคแบบไม่มีเงื่อนไข ซึ่งเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม

27.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคและร่างแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030
    		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค และร่างแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการต่อไป โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค และร่างแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
      		สาระสำคัญของเรื่อง
       		1. ร่างแถลงการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค และร่างแผนงานความมั่นคงอาหาร              เอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานเกี่ยวกับความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารระหว่างสมาชิกเอเปค เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 โดยไม่มีการลงนามและไม่มีข้อผูกพันทางกฏหมาย (non-legal binding) ทั้งนี้ เอเปคเป็นเวทีการประชุมที่เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสมาชิก ซึ่งสมาชิกสามารถพิจารณาให้ความร่วมมือตามความสมัครใจ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติหากสมาชิกได้ตกลงร่วมกันในเรื่องสำคัญ ๆ เอเปคจะมีกลไกในการติดตามผล และที่ผ่านมาไทยได้ให้การ สนับสนุนและดำเนินงานความร่วมมือด้านเกษตรและความมั่นคงอาหารในกรอบเอเปคมาโดยตลอด
     		2. สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ประกอบด้วย การรับทราบถึงผลกระทบอย่างต่อเนื่องของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อความเป็นอยู่ที่ดีและความปลอดภัยของประชาชนทุกคนในภูมิภาคเอเปค โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความมั่นคงอาหารและห่วงโซ่อุปทาน และวางแนวทางในการตอบสนองต่อวิกฤตสุขภาพโลกอย่างทันท่วงที และต่อสภาวะเศรษฐกิจที่หยุดชะงักโดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมรับรองแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ซึ่งแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 นี้ มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 ในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจใน 3 มิติ คือ (1) การค้าและการลงทุน (2) นวัตกรรมและการแปลงเป็นดิจิทัล และ (3) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุม นอกจากนี้ ให้ความสำคัญกับองค์การระหว่างประเทศอื่นอย่างต่อเนื่อง
    		3. สาระสำคัญของร่างแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 กล่าวถึงการผลักดันประเด็นความมั่นคงอาหาร โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม โดยมุ่งให้เอเปคเป็นผู้นำระดับโลกในการนำนวัตกรรมมาใช้ในระบบอาหาร และผลักดันการทำแผนงานดิจิทัลด้านความมั่นคงอาหาร สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น เกษตรอัจฉริยะ ส่งเสริมการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าอาหาร และการลงทุนให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการรายใหม่ (2) ผลิตภาพ เน้นการพัฒนาด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพของระบบอาหารในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มการผลิตในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงขจัดอุปสรรคในห่วงโซ่อุปทาน (3) ความครอบคลุม สนับสนุนการมีส่วนร่วมที่สมดุลในการประชุมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงเพศ ชาติพันธุ์ และอายุ และดำเนินการตามแผนสำหรับสตรี และการเติบโตอย่างครอบคลุม ส่งเสริมแนวคิดด้านต่าง ๆ ที่ตระหนักถึงกลุ่มเปราะบาง รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มผู้นำของชนพื้นเมืองของเอเปค (4) ความยั่งยืน ร่วมกันปรับปรุงประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของระบบอาหารเอเปค รวมถึงแบ่งปันงานวิจัยด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มการผลิตที่ยั่งยืน การแปรรูปและการบริโภค (การใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและการอนุรักษ์ดินและน้ำ) และลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยจะแบ่งปันข้อมูล/ แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อบริหารจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงแนวคิดด้านชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (5) ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงบทบาทของภาคเอกชนที่เป็นศูนย์กลางตลอดห่วงโซ่คุณค่าอาหารในการผลิตและการแปรรูปอาหาร การกระจายสินค้า การค้าและการลงทุน (6) กำหนดเป้าหมายที่ชาญฉลาดและการดำเนินการตามแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 นำเสนอแนวทางสู่การจัดการด้านอาหารที่เข้าถึงได้ความมีอยู่ของอาหาร มีคุณค่าทางโภชนาการและเพียงพอสำหรับประชาชนในภูมิภาคเอเปค และการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติ โดยการจัดลำดับความสำคัญอย่างเหมาะสม ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ วัดผลได้บรรลุผลได้ มีความเกี่ยวข้องกัน และมีการกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน

28. เรื่อง การมอบหมายผู้แทน (proxy) ของไทย ในการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการมอบอำนาจให้ประเทศมาเลเซียทำหน้าที่แทนประเทศไทย (Proxy) ในการลงคะแนนเสียงแบบ Secret Vote เฉพาะในกรณีการลงมติเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ทั้งเลขาธิการและรองเลขาธิการ UPU สมาชิกสภาบริหาร (CA) และสมาชิกสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ (POC) แบบ Secret Ballot รวมทั้งการลงมติในข้อมติต่าง ๆ ที่เป็นแบบ Secret Vote ในระหว่างการประชุมใหญ่สหสภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27 และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการทาบทามและออกหนังสือมอบหมายเป็นผู้แทน (Proxy) ของประเทศไทย เพื่อมอบอำนาจให้ประเทศมาเลเซียในการเข้าร่วมการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27 ตามที่กระทรวงติจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
สาระสำคัญข้อเท็จริงและข้อกฎหมาย
1. ในการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขกฎระเบียบของการประชุมใหญ่ฯ (Rules of Procedure of Congresses) ให้มีการประชุมแบบทางไกลและลงมติแก้ไขกฏระเบียบทั่วไปทาง e - voting แต่การเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญทั้งเลขาธิการ UPU                  รองเลขาธิการ UPU สมาชิกสภาบริหาร (CA) และสมาชิกสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ (POC) ที่จะต้องลงมติแบบ Secret Ballot นั้น ให้ดำเนินการลงมติแบบ Physical เฉพาะที่สาธารณรัฐโกตดิวัวร์เท่านั้น เนื่องจากหลายประเทศยังไม่เชื่อมั่นในความโปร่งใสของระบบ e - voting โดยข้อเสนอดังกล่าวให้มีผลระหว่างวันที่ 13-27 สิงหาคม 2564 ทำให้เกิดผลกระทบกับประเทศไทยที่ไม่มีผู้แทนเข้าร่วมแบบPhysical ณ สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ จึงไม่สามารถลงมติเพื่อเลือกตั้งให้เสียงแก่ประเทศใดได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับคะแนนเสียงที่ไทยจะได้รับ เนื่องจากประเทศที่มีการตกลงแลกเสียงกับประเทศไทยจะเปลี่ยนไปเลือกประเทศอื่น ดังนั้น การมอบอำนาจให้กับประเทศอื่นที่เข้าร่วมการประชุมใหญ่ฯ แบบ Physical เป็นผู้แทน (Proxy) ของไทยจึงเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถลงคะแนนเสียงแบบ Secret Vote ได้
2. ตามข้อบังคับของการประชุมใหญ่ของสหภาพสากลไปรษณีย์ ข้อ 3 ได้ระบุหลักเกณฑ์ในกแต่งตั้งคณะผู้แทน (Credentials) ของประเทศสมาชิก รวมทั้งการที่ประเทศสมาชิกมอบหมายคณะผู้แทนประเทศอื่น (Proxy) ดำเนินการแทนในระหว่างการประชุมใหญ่เพื่อเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสหภาพฯ ว่าจะต้องมีหนังสือลงนามโดยผู้นำประเทศ หรือหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

แต่งตั้ง

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่           6 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
 		1. นางอุรุญากร จันทร์แสง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกีฏวิทยา (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (จุลชีววิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
 	 	2. นางนวลจันทร์ วิจักษณ์จินดา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภูมิคุ้มกันวิทยา (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) กลุ่มภูมิคุ้มกันวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภูมิคุ้มกันวิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายชัยยา              เจิมจุติธรรม วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ กรมโยธาธิการและผังเมือง ให้ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
 		1. นายเฉลิมชัย ปาปะทา ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                 รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
 		2. นายจงคล้าย วรพงศธร ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
 		3. นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมป่าไม้
 		4. นายพงศ์บุณย์ ปองทอง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
 		5. นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง              อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
 		6. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง              รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
 		7. นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง               รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
 		ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอรับโอน นายบุญชอบ                 สุทธมนัสวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แทนตำแหน่งที่ว่าง
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 1 คน คือ นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิง การบริหารความเสี่ยง                  การวางแผนกลยุทธ์องค์กร และการบริหารทรัพยากรบุคคล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ             (ด้านการสื่อสารมวลชน) ในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แทนผู้ที่ลาออก และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่             17 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายอนุชา                 สะสมทรัพย์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

36. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน จำนวน 8 คน ดังนี้
 			1. นายณอคุณ สิทธิพงศ์  	ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน
 			2. นายประสงค์ พูนธเนศ 	ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง
 			3. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี 		ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
       	 		4. นายปรเมธี วิมลศิริ  		ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการ								พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
							(ปัจจุบันคือตำแหน่งเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ							และสังคมแห่งชาติ)
 		 	5. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี   		ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นผู้ประกอบกิจการ								พลังงาน
 			6. นายประเสริฐ ตปนียางกูร 	ผู้แทนสภาวิศวกร
 			7. นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์  	ผู้แทนของอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
 			8. นายวิจารย์ สิมาฉายา  	ผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ
			ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 สิงหาคม 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ