สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 กันยายน 2564

ข่าวการเมือง Tuesday September 21, 2021 19:16 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
		วันนี้ (21 กันยายน 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย


1. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. ?.
2. 	เรื่อง 	ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดตรัง 					(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดตรัง 				พ.ศ. 2558)
3. 	เรื่อง 	ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระแก้ว 				พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระแก้ว
พ.ศ. 2558)
4.  	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
5. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย					การยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่					ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อ				ไวรัสโรโรนา 2019)
6.  	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ..) 				พ.ศ. ?.
7. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต 				การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทน					ใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ....
8. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ ? สังคม

9. 	เรื่อง 	ขอปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local 					Economy Loan) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 					(มาตรการด้านการเงิน)
10. 	เรื่อง 	ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ของ				บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดสระบุรี
11. 	เรื่อง 	ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) 				ครั้งที่ 1/2564
12. 	เรื่อง 	ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2564
13. 	เรื่อง 	สรุปผลการประชุมเพื่อสรุปผลและถอดบทเรียน (After Action Review: ARR) 				การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2564
14. 	เรื่อง 	รายงานประจำปี 2563 ของกองทุนการออมแห่งชาติ
15. 	เรื่อง 	รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริม				และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ				คำสั่งกรณีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง				กับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
16. 	เรื่อง 	กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565
17. 	เรื่อง	ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2513 เรื่อง การแก้ไขปัญหาขาด				แคลนแพทย์
18. 	เรื่อง 	ร่างประมวลจริยธรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ?.
19. 	เรื่อง 	ขออนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนา					โครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการ				จัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS 				Thai)
20. 	เรื่อง 	ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง 				รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก				การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการปฏิบัติของศูนย์					ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 					ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 รวม 120 วัน
(ห้วงที่ 5 - 6)
21. 	เรื่อง 	นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากำลังคนการ					อุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ
22. 	เรื่อง  	รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกรกฎาคม 2564
23. 	เรื่อง 	ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง 			รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก			การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการปฏิบัติของศูนย์				ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ				ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 รวม 122 วัน (ห้วงที่ 7 - 8)
24. 	เรื่อง  	ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาด				ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
25. 	เรื่อง 	ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการ					แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID ? 19) ระยะที่ 8
26. 	เรื่อง 	ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง 				รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก				การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 197,983,630 บาท ของ 					บริษัท ขนส่ง จำกัด
27. 	เรื่อง 	ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ				จำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและ					เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 5 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ				วันที่ 14 กันยายน 2564
28. 	เรื่อง 	ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง 				รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อนำมาใช้ในการเยียวยาการ				แก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
29. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
ครั้งที่ 34/2564
30. 	เรื่อง 	ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง 					รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (คณะกรรมการประชารัฐ					สวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลัง)
31. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช					กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2564
32. 	เรื่อง 	ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง 					รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของกองทุนการออมแห่งชาติ

ต่างประเทศ

33. 	เรื่อง 	ขอความเห็นชอบมอบบ้านไทยในโครงการร่วมงาน The International 					Horticultural Exhibition 2019 (Beijing Expo 2019)
ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
34. 	เรื่อง 	การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 และการ					ประชุมที่เกี่ยวข้อง
35.  	เรื่อง 	สรุปผลการเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี หัวข้อ Adaptation and Resilience 				ในห้วงการประชุม Leaders Summit on Climate ผ่านสี่ออิเล็กทรอนิกส์ 					ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2564
36. 	เรื่อง 	ร่างปฏิญญาและมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาว่าด้วยการ				ห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (ปฏิญญาครบรอบ 25 ปี)
37.  	เรื่อง 	ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของราชการพล					เรือนภายใต้ความท้าทายใหม่
38.  	เรื่อง 	ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการ					เศรษฐกิจยูเรเซีย ครั้งที่ 2
39. 	เรื่อง  	การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและ					เศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2564 (Ministerial WEF Statement 2021)

แต่งตั้ง

40. 	เรื่อง 	การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนัก				นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และ					กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
41. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(กระทรวงศึกษาธิการ)
42. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(สำนักนายกรัฐมนตรี)
43. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(สำนักนายกรัฐมนตรี)
44. 	เรื่อง 	ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
45. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
46. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
47. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวง					วัฒนธรรม
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396





กฎหมาย


1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ รง. เสนอว่า ได้มีกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองแรงงานประมงทะเล ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาพการจ้างงานและสภาพการทำงานในเรือประมงทะเล ประกอบกับได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 ประกาศใช้บังคับ เพื่อยกมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานในภาคประมงให้เป็นมาตรฐานสากล อันเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานประมงที่ผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล ดังนั้น รง. เห็นสมควรปรับปรุงกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. ?. เพื่อกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานในงานประมงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อให้นายจ้างนำไปปฏิบัติต่อไป
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
 		ปรับปรุงกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
 		1. กำหนดนิยามคำว่า ?งานประมง? ?เรือประมง? ?นายจ้าง? ?ทะเล? ?ค่าจ้าง? ?คนประจำเรือ? และ ?การทำการประมงนอกน่านน้ำไทย?
 		2. กำหนดห้ามนายจ้างจ้างลูกจ้างที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมง และกำหนดให้นายจ้างดำเนินการจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก จัดทำสัญญาจ้าง นำลูกจ้างซึ่งเป็นคนประจำเรือกลับเข้ามาในราชอาณาจักร และจัดทำทะเบียนลูกจ้าง จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุด
		3. กำหนดให้ยื่นคำร้องว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง
 		4. กำหนดให้มีการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุด กำหนดให้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้างรายเดือน และจ่ายค่าจ้าง ค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างผ่านบัญชีธนาคารของลูกจ้าง
 		5. กำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำปี มีสิทธิลาป่วย และให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างที่ตกค้าง    อยู่ในต่างประเทศเนื่องจากการทำงาน
 		6. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีอาหาร น้ำดื่มที่มีคุณภาพถูกสุขลักษณะในปริมาณที่เพียงพอ อุปกรณ์หรือระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม และให้ความรู้แก่ลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการทำงาน การใช้เครื่องมือ สุขภาพอนามัย สภาพความเป็นอยู่บนเรือ และอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือก่อนการทำงาน
		7. หากนายจ้างได้จัดทำสัญญาจ้าง ทะเบียนลูกจ้างในงานประมงทะเลตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ให้ถือว่านายจ้างได้จัดทำสัญญาจ้างและทะเบียนลูกจ้างตามกฎกระทรวงนี้แล้ว

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดตรัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดตรัง พ.ศ. 2558)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดตรัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และแก้ไขบทอาศัยอำนาจในร่างประกาศ             ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้
		สาระสำคัญของร่างประกาศ
		แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดตรัง พ.ศ. 2558 ดังนี้
 		1. เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า และที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมบางส่วนให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
 		2. เพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในที่ดินประเภทชุมชน ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม และที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม โดยกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้สามารถดำเนินการประกอบกิจการโรงแรมได้เฉพาะโรงแรมประเภท 1 (โรงแรมเฉพาะห้องพัก) และโรงแรมประเภท 2 (โรงแรมห้องพักและห้องอาคาร) ในบริเวณหมายเลข 4.1 (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม)
 		3. เพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับและยังประกอบกิจการอยู่สามารถขยายพื้นที่โรงงานได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
 		4. กำหนดบัญชีท้ายกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2558 ขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน

3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ?.                 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2558)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้  และให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		สาระสำคัญของร่างประกาศ
		แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2558 โดยแก้ไขการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ให้โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับและยังประกอบกิจการอยู่ สามารถขยายพื้นที่โรงงานได้ หากมีเงื่อนไขเป็นไปตามที่กำหนด ทั้งนี้ การขยายพื้นที่โรงงานจะต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของพื้นที่โรงงาน                   ที่ใช้ในการผลิตเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจในจังหวัดสระแก้ว

4.  เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
		สำนักงาน ปปง. เสนอว่า
		1. รายงานผลการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2560 พบว่า ประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องเรื่องการกำหนดความผิดมูลฐานฟอกเงินไม่ครอบคลุมความผิด 21 ประเภท ตามที่คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (The Financial Action Task Force - FATF) กำหนด ซึ่งยังขาดการกำหนดให้การลักลอบนำพาคนเข้าเมืองเป็นความผิดมูลฐาน นอกจากนี้ FATF ได้กำหนดให้แต่ละประเทศต้องกำหนดให้มีความผิดฐานฟอกเงินตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (United Nations Convention against Transnational Organized Crime - UNTOC) และต้องกำหนดให้ความผิดร้ายแรงทุกประเภทเป็นความผิดฐานฟอกเงิน โดยมีเจตนาเพื่อกำหนดความผิดมูลฐานให้ครอบคลุมและ           มีขอบเขตกว้างที่สุด ประกอบกับมาตรฐานสากลด้านการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่                 การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (INTERNATIONAL STANDARDS ON COMBATING MONEY LAUNDERING AND THE FINANCING OF TERRORISM & PROLIFERATION)                   ตามข้อแนะนำของ FATF (THE FATF Recommendations) ได้กำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเป็นความผิดมูลฐานด้วย
		2. โดยที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบันยังมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามข้อแนะนำของ FATF ตามข้อ 1. ซึ่งส่งผลให้การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเกิดช่องว่างทางกฎหมาย และไม่สามารถปราบปรามการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 มิถุนายน 2564) มอบหมายให้สำนักงาน ปปง.                      เร่งดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2562 ในส่วนของการกำหนดความผิดมูลฐานฟอกเงินที่เกี่ยวกับการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานและนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วนต่อไป จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามข้อแนะนำของ FATF และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงาน ปปง. จึงได้              ยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น โดยกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็นความผิดมูลฐานเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเหมาะสมกับสภาพการณ์ ก่อให้เกิดความเป็นธรรมและทำให้การบังคับใช้กฎหมาย            มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
		3.คณะกรรมการ ปปง. ในการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		4. สำนักงาน ปปง. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฯ ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน ปปง. (www.amlo.go.th) จำนวน 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 พร้อมนำผลการรับฟังความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาแล้ว ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย พร้อมทั้งเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ www.amlo.go.th ตามแนวทางของ             มติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะเกิดผลกระทบและประโยชน์ ดังนี้
			4.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การมีกฎหมายที่มีมาตรฐานสากลยอมรับย่อมส่งผล              ต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาล ผู้ประกอบการและนักลงทุนจากต่างประเทศใน             การประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ
			4.2 ผลกระทบต่อสังคม
				4.2.1 ผลกระทบต่อหน่วยงานของรัฐ จะทำให้หน่วยงานภาครัฐมีเครื่องมือทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้รับการยอมรับจากประชาชน สามารถอำนวยความเป็นธรรมและสร้างสังคมที่มีความสงบสุข
				4.2.2 ประชาชนและภาคเอกชน การมีกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อประชาชนและภาคเอกชนในภาพรวม การมีสังคมที่สงบสุขเนื่องจากอาชญากรรมที่ลดลง ย่อมทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย
		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
		แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ?ความผิดมูลฐาน? โดยกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบ                ขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็นความผิดมูลฐาน

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา 2019)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา 2019) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ กค. เสนอ เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วย COVID-19               ที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขออกไปอีก 1 ปีภาษี (สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2564) เพื่อให้บุคลากร ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 ได้รับการบรรเทาภาระภาษีและมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
 		1. กำหนดให้เงินได้ดังต่อไปนี้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้
 			1.1 ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วย                  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
 			1.2 ค่าตอบแทนในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่ง สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
 			1.3 ค่าตอบแทนในการให้บริการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่ง สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้บริการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา 2019 นอกสถานพยาบาลตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
 		2. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2564


6.  เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และให้ดำเนินการต่อไปได้
 		ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ กค. เสนอ เป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2561 โดยเพิ่มความการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งการเตรียมการ การประชาสัมพันธ์หรือการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถใช้วิธีเฉพาะเจาะจงได้ เพื่อให้การจัดงานดังกล่าวในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปี พ.ศ. 2565 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมกับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
 		กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งการเตรียมการ การประชาสัมพันธ์หรือการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในปี พ.ศ. 2565 กระทำได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อได้ และให้ สธ. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
		1. ได้มีกฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต  การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตใน    การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความแห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 โดยกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดช่องทางในการยื่นคำขอหรือแจ้งในเรื่องต่าง ๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในอันที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร (Doing Business Portal) ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 ตุลาคม 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายฉบับใดเป็นผู้รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฉบับนั้น โดยให้กระทำอย่างน้อยทุก 5 ปี นับแต่วันที่กฎหมายฉบับนั้นมีผลใช้บังคับ
		2. ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชนในการติดต่อภาครัฐ สธ. จึงเห็นควรปรับปรุงกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ ตามข้อ 1. โดยรวมเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ รวมทั้งกำหนดให้การยื่นคำขอและการออกใบอนุญาตดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร (Doing Business Portal) สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ....
		3. ในคราวประชุมคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2 และให้ปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายตามความเห็นของที่ประชุม แล้วดำเนินการต่อไป ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็น ทางเว็บไซต์กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (http://hss.moph.go.th) ด้วย
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		1. กำหนดความหมายของนิยามคำว่า ?ผู้อำนวยการ? หมายความว่าผู้อำนวยการกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
		2. กำหนดใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะให้มีอายุห้าปีนับถัดจากวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่ออกใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ
		3. กำหนดให้คำขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ใบอนุญาต หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนคำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอรับใบแทนในอนุญาต ใบรับคำขอให้เป็นตามแบบที่อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกำหนด โดยการยื่นคำขอ การแจ้ง และการออกใบอนุญาต รวมถึงการแจ้งคำสั่งผู้อำนวยการแก่ผู้ยื่นคำขอ ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก โดยในระหว่างที่ยังไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ยื่นคำขอ ณ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งท้องที่ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรือสถานที่ หรือ             วิธีอื่นตามที่อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกำหนด ในกรณียื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งท้องที่ซึ่งตนมีภูมิลำเนาให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการตรวจสอบคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นมาพร้อมกับคำขอว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่และให้ส่งคำขอไปยังผู้อำนวยการ
		4. กำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ และประสงค์จะขอหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน หรือประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต หรือใบอนุญาตสูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญหรือประสงค์จะขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายการในทะเบียนหรือใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
		5. กำหนดให้เมื่อผู้อำนวยการได้รับคำขอแล้วให้ตรวจสอบคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นมาพร้อมกับคำขอว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากคำขอไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบทันที ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้นให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือส่งข้อมูลเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ถ้าเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ในขณะนั้นให้บันทึกความบกพร่องนั้นไว้และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง กรณีมีเหตุจำเป็น อาจขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสามสิบวัน หากผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไปและให้ผู้อำนวยการจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
		6. กำหนดให้เมื่อผู้อำนวยการได้รับคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้เสนอคณะกรรมการวิชาชีพในแต่ละสาขาเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็น                     ผู้ประกอบโรคศิลปะ เมื่อคณะกรรมการวิชาชีพในแต่ละสาขามีคำสั่งอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็น                ผู้ประกอบโรคศิลปะ ให้ผู้อำนวยการแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบและให้ชำระค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง เมื่อได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ผู้อำนวยการดำเนินการขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้ตามสาขาและประเภทของใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบโรคศิลปะ หากผู้ยื่นคำขอไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่คณะกรรมการวิชาชีพมีคำสั่งอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ และให้ผู้อำนวยการจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ในกรณีที่คณะกรรมการวิชาชีพในแต่ละสาขามีคำสั่งไม่อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ให้ผู้อำนวยการแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอทราบพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง             ไม่อนุมัติ
		7. กำหนดให้ผู้ประกอบโรคศิลปะแต่ละสาขาและประเภทให้มีบัตรประจำตัวเพื่อใช้แสดงตนแบบบัตรประจำตัวและการขอมีบัตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
		8. กรณีการขอหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเมื่อผู้อำนวยการได้รับคำขอเอกสารและหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้พิจารณาออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนให้แก่ผู้ยื่นคำขอ โดยหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนให้มีอายุหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน
		9. กรณีการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยคณะกรรมการวิชาชีพในแต่ละสาขาจะมีคำสั่งอนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะได้ต่อเมื่อปรากฏว่าผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32 และผ่านการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพในแต่ละสาขาโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกำหนด เมื่อผู้ประกอบโรคศิลปะได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ให้ประกอบโรคศิลปะในสาขาตามที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต่อไปได้จนกว่าจะมีคำสั่งไม่อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาต
		10. กรณีการขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ เมื่อผู้อำนวยการได้รับคำขอ เอกสารและหลักฐาน ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้เสนอประธานคณะกรรมการวิชาชีพอนุมัติให้ออกใบแทนใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอ โดยใบแทนใบอนุญาตให้ผู้อำนวยการออกใบอนุญาตใหม่ตามใบอนุญาตเดิมในสาขาและประเภทที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ โดยมีข้อความในวงเล็บท้ายเลขที่ใบอนุญาตด้วยอักษรสีแดงว่า ?ใบแทน?
		11. กรณีการขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายการในทะเบียนหรือใบอนุญาตเมื่อผู้อำนวยการได้รับคำขอ เอกสารและหลักฐาน ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ผู้อำนวยการดำเนินการตามคำขอ
		12. กำหนดให้บรรดาคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งได้ยื่นต่อผู้อำนวยการก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ถือเป็นคำขอที่ได้ยื่นตามกฎกระทรวงนี้ และให้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะที่ยังมีผลอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ยังคงใช้ได้ต่อไป โดยให้ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตดังกล่าวมีการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพในแต่ละสาขาโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกำหนด ส่วนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะตามกฎหหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะที่ออกตามกฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต              การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับยังคงใช้ได้ต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตดังกล่าวจะสิ้นอายุ โดยให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต               ตามกฎกระทรวงนี้ เมื่อได้ยื่นคำขอให้ประกอบโรคศิลปะต่อไปได้จนกว่าจะได้รับคำสั่งไม่อนุมัติ

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อไป
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
 		1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2564
		2. ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 0.95 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 0.05 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี ก.
 		3. ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี ข.


เศรษฐกิจ ? สังคม

9. เรื่อง ขอปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน)
		คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่ได้เคยมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน                     (Local Economy Loan) ภายใต้มาตรการพิเศษ เพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2564 โดยให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการและเห็นชอบกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งนี้ รายละเอียดและเงื่อนไขอื่น ๆ ของโครงการคงเดิม และ ให้ อก. และ ธพว. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการสินเชื่อ              เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ดังนี้

หัวข้อ	จากเดิม
[มติคณะรัฐมนตรี (19 มกราคม 2564)]	เป็น
ระยะเวลากู้ยืม	เงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term Loan)ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน	เงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term Loan)ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 10 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น
(Grace Period) สูงสุดไม่เกิน 2 ปี
อัตราดอกเบี้ย	1. กรณีผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา คิดอัตรา
   ดอกเบี้ย
   ปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR ลบ 1.875 ต่อปี
   ปีที่ 4 ถึงปีที่ 7 ให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ ธพว. กำหนด
2. กรณีผู้กู้เป็นนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ย
   ปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละMLR ลบ 3.875 ต่อปี
   ปีที่ 4 ถึงปีที่ 7 ให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ ธพว. กำหนด
   ทั้งนี้ ทั้ง 2 กรณีรัฐชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้แก่ ธพว. ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ใน 3 ปีแรก	1. กรณีผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา คิดอัตรา
   ดอกเบี้ย ปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR ลบ 1.875 ต่อปี
   ปีที่ 4 ถึงปีที่ 10 ให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ ธพว. กำหนด
2. กรณีผู้กู้เป็นนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ย
   ปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR ลบ 3.875 ต่อปี
   ปีที่ 4 ถึงปีที่ 10 ให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ ธพว. กำหนด
   ทั้งนี้ ทั้ง 2 กรณีรัฐชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้แก่ ธพว. ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ใน 3 ปีแรก
หลักประกัน	บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SME ทวีค่า (Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 8) หรือโครงการค้ำประกันสินเชื่อโครงการอื่น ๆ ของ บสย. หรือหลักประกันตามที่ธนาคารกำหนด	บสย. ค้ำประกัน หรือหลักประกันตามที่ธนาคารกำหนด
 		สาระสำคัญของเรื่อง
		อก. รายงานว่า
		1. ผลการดำเนินโครงการฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ดังนี้
			1.1 ยอดยื่นกู้ จำนวน 34,936 ราย วงเงินจำนวน 69,261.91 ล้านบาท
			1.2 ยอดอนุมัติสินเชื่อ 25,566 ราย วงเงินจำนวน 43,110.75 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86.22 ของวงเงินรวมของโครงการ (เป้าหมาย 50,000 ล้านบาท)
			1.3 ยอดเบิกจ่าย จำนวน 25,322 ราย วงเงินจำนวน 42,749.50 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.50 ของวงเงินอนุมัติสินเชื่อ
		2. จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่และความผันผวนของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการขนาดย่อมมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ห้องพัก สปา ร้านอาหาร ภัตตาคาร ดังนั้น              เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระในการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับกระแสรายได้ของธุรกิจช่วยประคับประคองธุรกิจให้ดำเนินการต่อไปได้ ธพว. จึงขอปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน)
		3. เนื่องจากโครงการฯ มีกรอบวงเงินทั้งสิ้น 50,000 ล้านบาท จึงยังคงมีวงเงินเหลือจะก่อให้                เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน 6,889.25 ล้านบาท ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ประมาณ 4,100 ราย รักษาการจ้างงานได้ไม่น้อยกว่า 20,500 คน และสร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ประมาณ 31,551 ล้านบาท (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564)

10. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดสระบุรี
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอการขอผ่อนผันให้บริษัท ทีพีไอ                  โพลีน จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ตามคำขอประทานบัตรที่ 2 - 3/2553 และที่ 1 - 8/2555                 ที่จังหวัดสระบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และที่ 1 - 8/2555 ที่จังหวัดสระบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 และให้ อก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 		ทั้งนี้ เมื่อหน่วยงานเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้ว อก. โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		อก. รายงานว่า
		1. บริษัทฯ เป็นผู้ถือประทานบัตร จำนวน 10 แปลง ในพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 2 - 3/2553 และที่ 1 - 8/2555 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย และตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี รวมเนื้อที่ 2,706 ไร่ 79 ตารางวา [(อก. แจ้งว่าการออกประทานบัตรดังกล่าวเอกชนใช้ประโยชน์ที่ดินไปก่อนที่จะมีการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และต่อมาบริษัทฯ ได้ยื่นคำขอประทานบัตรใหม่ทับพื้นที่ประทานบัตรเดิมทั้งหมด เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 (ก่อนที่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้)] โดยปัจจุบันประทานบัตรดังกล่าวบางส่วนได้หมดอายุแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

รายการ	รายละเอียด
ลักษณะพื้นที่	1) พื้นที่คำขอประทานบัตรทั้ง 10 แปลง เป็นพื้นที่ป่าซึ่งได้ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้ไว้แล้ว และอยู่ในพื้นที่บลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี ของลุ่มน้ำป่าสัก ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538
2) พื้นที่เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่               พ.ศ. 2560 ? 2564 ซึ่งอนุญาตให้ทำเหมืองได้ตามมาตรา 17 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560
3) ไม่เป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ไม่เป็นพื้นที่ต้องห้ามสำหรับการทำเหมืองตามระเบียบและกฎหมายของส่วนราชการต่าง ๆ
4) พื้นที่มีสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากรายงาน EIA (รายงานที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเหมืองแร่ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560)
ความคุ้มค่า	โครงการมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมต่อท้องถิ่นและประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าความเสียหายจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น โดยพบว่า ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการอยู่ในระดับที่ดีมาก ซึ่งมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 6,359.57 ล้านบาท มีมูลค่าโครงการสุทธิภายหลังหักมูลค่าที่สูญเสียไปของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการเท่ากับ 5,953.64 ล้านบาท
การเห็นชอบ/อนุมัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน	1) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเหมืองแร่ ได้มีมติเห็นชอบรายงาน EIA สำหรับคำขอประทานบัตรแล้วเมื่อวันที่              2 พฤษภาคม 2560
2) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) มีมติเห็นชอบกับรายงาน EIA เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 โดยให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด  (เช่น ฟื้นฟูพื้นที่โครงการที่ผ่านการทำเหมืองแล้ว และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทุกปี) และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการข้างต้นเพื่อเสนอ กก.วล. ทราบ ปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งให้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว
3) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ขัดข้อง
4) องค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพและสำนักงานเทศบาลเมืองทับกวางได้เห็นชอบการขอประทานบัตรแล้ว
5) การปิดประกาศการขอประทานบัตรไม่มีผู้ร้องเรียนคัดค้าน
6) ไม่มีปัญหาการร้องเรียนคัดค้านเกี่ยวกับคำขอประทานบัตร และการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและความขัดแย้งกับราษฎรในพื้นที่
		2. การขอผ่อนผันการใช้พื้นที่เพื่อการทำเหมืองของบริษัทฯ ในครั้งนี้ เป็นการยื่นคำขอประทานบัตรใหม่ทับพื้นที่ประทานบัตรเดิมของบริษัทฯ เอง รวมเนื้อที่ 2,706 ไร่ 79 ตารางวา ทั้งนี้ การทำเหมืองในพื้นที่เดิมซึ่งยังมีปริมาณและคุณภาพแร่เพียงพอเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในพื้นที่เดิมอย่างคุ้มค่า การทำเหมืองใช้เทคโนโลยีทันสมัย และเทคโนโลยีสะอาดเพื่อช่วยรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองจะมีลักษณะเป็นบ่อขนาดใหญ่ จากแผนการฟื้นฟูพื้นที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีความจุประมาณ 39.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถรองรับการใช้ในพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมได้ 36,000 ครัวเรือน โครงการเหมืองหินดังกล่าวอยู่บนหลักโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy) ซึ่งการขอทำเหมืองในครั้งนี้เป็นการขอทำเหมืองในพื้นที่เดิมซึ่งไม่มีสภาพป่าไม้หรือสภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เหลืออยู่ รวมถึงได้รับการพิจารณาแล้วว่าผลดีจากการทำเหมืองมีมากกว่าผลเสียที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน หากบริษัทฯ ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ดังกล่าว จะต้องมีการขออนุญาตในพื้นที่ใหม่ซึ่งจะส่งผลเสียโดยตรงต่อพื้นที่ป่าไม้แห่งใหม่ทั้งในด้านทัศนียภาพ และการทำลายทรัพยากร และจะกระทบต่อการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมของประเทศ เนื่องจากบริษัทฯ มีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ถึง 1 ใน 5 ของกำลังการผลิตรวมของทั้งประเทศ รวมถึงการจ้างงานและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการจ้างงานในชุมชนในส่วนเหมืองประมาณ 500 ราย ส่วนของโรงงานปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากกว่า 20,000 ราย
		3. การดำเนินการในขั้นตอนนี้ไม่ได้เป็นการพิจารณาอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ แต่เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี
หมายเหตุ : พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ที่ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์ ปรากฏอยู่ในปี 2525 ซึ่งจำเป็นจะต้องสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและเป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี หมายถึง พื้นที่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ซึ่งสภาพป่าส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้ถูกทำลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงไปเพื่อพัฒนาการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อนหน้าปี 2525 และการใช้ที่ดิน หรือการพัฒนาที่ดำเนินการไปแล้วจะต้องมีมาตรการควบคุมเป็นพิเศษ

11. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ครั้งที่ 1/2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) เสนอผลการประชุม กปส. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน                     สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
			1.1 ผลการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวงและหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนแม่บทศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ที่ประชุม             มีมติรับทราบผลการดำเนินงานฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น
				1.1.1 ผลกการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ 2564 (ไตรมาส 2) เช่น (1) สนับสนุนโครงการวิจัยรวม 58 โครงการ งบประมาณรวม 23.97 ล้านบาท โดยคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ เช่น พีช มะเขือเทศเชอร์รี่ กาแฟ และสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน และส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกจำนวน 468 ราย ในพื้นที่ 23 ศูนย์/สถานี สร้างรายได้กว่า 4.01 ล้านบาท (2) ส่งเสริมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร พื้นที่ปลูกกว่า 38,380.84 ไร่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรวมทั้งสิ้น 1,237.78 ล้านบาท และ (3) รณรงค์การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ภายใต้โครงการสวมหมวกให้ดอย เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่โครงการหลวงจำนวน 2,400 ไร่ และร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ จัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่รวมกว่า 2.54 ไร่
				1.1.2 แผนแม่บทศูนย์พัฒนาโครงการหลวง มีหน่วยงานร่วมบูรณาการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่สถานีเกษตรหลวง/ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จำนวน 39 พื้นที่ 26 หน่วยงาน มีผลการใช้จ่ายงบประมาณ 2,013.01 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 68.03 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งหมดจำนวน 2,959.09 ล้านบาท
				1.1.3 แผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง มีหน่วยงานร่วมบูรณาการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง จำนวน 33 พื้นที่ 20 หน่วยงาน มีผลการใช้จ่ายงบประมาณ 1,007.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 68.67 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งหมดจำนวน 1,467.61 ล้านบาท
			1.2 ผลการประชุมของคณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่โครงการหลวง ครั้งที่ 1/2564 ที่ประชุมมีมติรับทราบผลการประชุมฯ และการเห็นชอบ (ร่าง) แผนการดำเนินงานและงบประมาณในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงินรวม 352.88 ล้านบาท ดำเนินการโดย 6 หน่วยงาน และให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนและหลักเกณฑ์ของ                  สำนักงบประมาณ (สงป.)
		2. เรื่องเพื่อพิจารณา
			2.1 แผนกลยุทธ์มูลนิธิโครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่ประชุมเห็นชอบแผนกลยุทธ์ฯ ซึ่งมีวิสัยทัศน์มุ่งสืบสานพระราชปณิธานในการพัฒนาทางเลือกบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนมีความมั่นคงในมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ประชาชนอยู่ดีมีสุข เป็นต้นแบบที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประสานประโยชน์จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนงานโครงการหลวงต่อไป ทั้งนี้ ให้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
			2.2 (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่ประชุมเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งมีหน่วยงานร่วมบูรณาการ 34 หน่วยงาน 6 ยุทธศาตร์ 18 แผนงาน   49 โครงการหลัก และกรอบงบประมาณ 3,718.46 ล้านบาท ซึ่งมีเป้าหมาย เช่น เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวงได้รับการแก้ไขปัญหาความยากจนและชุมชน มีความสามารถพึ่งพาตนเองมากขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กปส. เสนอแผนปฏิบัติการฯ ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการและจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
			2.3 (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่ประชุมเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 25 แผนงาน 78 โครงการหลัก และกรอบงบประมาณ 4,022.72 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง              44 แห่ง 616 หมู่บ้าน ประชากรเป้าหมาย 72,666 ครัวเรือน 293,501 คน โดยมอบหมายให้ กษ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กปส. เสนอแผนปฏิบัติการฯ ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการและจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
			2.4 (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่ประชุมเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ 23 แผนงาน 63 โครงการหลัก และกรอบงบประมาณ 9,965.26 ล้านบาท มีเป้าหมายพื้นที่การดำเนินการในพื้นที่โครงการหลวงและขยายผลสำเร็จโครงการหลวงไปพัฒนาพื้นที่สูง จำนวน 3,230 หมู่บ้าน และเห็นชอบให้แผนดังกล่าวเป็นแผนงานบูรณาการระดับประเทศ โดยมอบหมายให้ กษ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กปส. เสนอแผนปฏิบัติการฯ ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการและจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

12. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 20 (2) ที่บัญญัติให้ สศช. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และติดตามภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก รวมทั้งปัญหาและโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม และคาดการณ์แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งในบริบทประเทศและโลก เพื่อจัดทำข้อเสนอในเชิงนโยบาย และมาตรการการพัฒนาประเทศหรือรองรับผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรี] มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
		1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสอง ปี 2564 ประกอบด้วย
			1.1 สถานการณ์แรงงานปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยแต่ยังได้รับผลกระทบหากเทียบกับช่วงเวลาปกติ การจ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง โดยสถานการณ์แรงงานไตรมาสสอง ปี 2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานของแรงงานที่ว่างงานและถูกเลิกจ้างและราคาสินค้าเกษตรที่จูงใจ และการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า การว่างงานยังอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.89 คิดเป็นผู้ว่างงาน 7.3 แสนคน นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.18 และ 3.44 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าการว่างงานในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง ส่วนการว่างงานในระบบผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตนร้อยละ 2.8 ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยแต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ปกติ ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน
			ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ได้แก่ (1) ผลกระทบและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การมีงานทำ และรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ (2) การออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากภาครัฐเพื่อประคับประคองแรงงานและเพื่อให้ผู้ประกอบการยังคงรักษาการจ้างงานและการประกอบกิจการ และ (3) การปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อนและผู้จบการศึกษาใหม่ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งควรมีแนวทางการส่งเสริมทักษะอาชีพอิสระที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้สะดวกและสามารถฝึกฝนได้ด้วยตนเอง
			1.2 หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นและยังต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลง โดยไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อน              คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.5 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเลื่อนและพักชำระหนี้ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างไม่ลดลง รวมทั้งครัวเรือนที่ไม่ได้รับผลกระทบมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่คุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวัง โดยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPLs) ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.84 ในไตรมาสก่อน และด้อยลงเกือบทุกประเภทสินเชื่อยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนเริ่มมีปัญหาในการหารายได้หรือสถานะทางการเงินเปราะบางมากขึ้น
			ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป ได้แก่ (1) ผลของมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เดิมและการออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาผลกระทบของโควิด-19 ต่อสถานะทางการเงินของครัวเรือน              (2) รายได้ ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและการก่อหนี้นอกระบบ และ (3) การเฝ้าระวังกลุ่มมิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกลวงโดยการให้สินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
			1.3 ภาวะทางสังคมอื่น ๆ เช่น (1) การเจ็บป่วยโดยรวมลดลงแต่ยังคงต้องเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ในกลุ่มเด็กเล็ก เนื่องจากมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และต้องเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพจิตของประชาชนจากโควิด-19 ที่ยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น (2) การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลงแต่ยังต้องเฝ้าระวังความรุนแรงในครอบครัวซึ่งมักมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ รวมทั้งปริมาณการสูบบุหรี่ต่อวันในกลุ่มแรงงานยังสูงซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 (3) คดีอาญารวมเพิ่มขึ้นจากคดียาเสพติดและคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ส่วนสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยจากรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2021 ถูกปรับลดให้อยู่ระดับ Tier 2 Watch List ประเทศที่ต้องถูกจับตามอง จึงควรเร่งติดตามการดำเนินการและกำหนดแนวทางการป้องกัน และ (4) การร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคลดลง ส่วนการร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นประเด็นการคิดค่าบริการจากข้อความ SMS และการคิดค่าบริการผิดพลาด
		2. สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่
			2.1 การพัฒนาคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (International Institute for Management Development: IMD) ปี 2564 ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะด้านการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 56 ดังนั้น หากต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจะต้องให้ความสำคัญในการเร่งพัฒนาคุณภาพคน โดยภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งการสร้างกลไกให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้คนทุกกลุ่มสามารถพัฒนาทักษะของตนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการมีข้อมูลและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความถนัดและความต้องการของประเทศในอนาคต
			2.2 Education Technology (EdTech): เครื่องมือสำคัญในการเปิดกว้างทางการศึกษา เป็นการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพของเนื้อหาและการเรียนการสอน การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา รวมถึงการช่วยเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงการเรียนรู้ในช่วงโควิด-19 ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษามากขึ้น จึงควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตให้มีความพร้อมและสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมในทุกพื้นที่ รวมทั้งระดับนโยบายต้องให้ความสำคัญกับการนำ EdTech มาใช้ในการศึกษาโดยเฉพาะการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และควรพัฒนารูปแบบเนื้อหาและเทคนิคของระบบเทคโนโลยีให้มีความสอดคล้องกับแต่ละพื้นที่
			2.3 บทบาทสื่อกับบริบทสังคมไทย สื่อมีบทบาทอย่างมากในสังคมไทยและมีส่วนสำคัญในการกำหนดการรับรู้เหตุการณ์ให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งการนำเสนอข่าว มีทั้งประเด็นเชิงบวกและเชิงลบต่อผู้ที่ตกเป็นข่าว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมของบทบาทสื่อรูปแบบต่าง ๆ กับบริบทสังคมไทยที่ประชาชนจำนวนมากยังคงขาดความรู้เท่าทันสื่อ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่มีการส่งต่อข่าวปลอม (Fake News) ได้ง่าย และกระจายไปได้รวดเร็ว จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัลแก่ประชาชน             ทุกกลุ่มวัยต่อไป
		3. บทความเรื่อง ?ประเทศไทยกับความพร้อมของรูปแบบการทำงานที่บ้าน? ผลสำรวจของสวนดุสิตโพลเรื่อง ?พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน (Work From Home)? ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า คนไทยมีการทำงานที่บ้านร้อยละ 43 และทำงานทั้งที่บ้านและที่ทำงานร้อยละ 34 โดยมีข้อดี ได้แก่ ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรค ประหยัดค่าเดินทาง และเป็นการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ส่วนข้อเสีย ได้แก่ มีค่าใช้จ่ายที่บ้านเพิ่มขึ้น อุปกรณ์เครื่องมือไม่สะดวก และการสื่อสาร/ติดต่อล่าช้า ในส่วนของผู้ประกอบการ มีการประเมินว่า  ร้อยละ 20 ของบริษัทในปัจจุบันมีนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน ดังนั้น จึงควรเตรียมให้ไทยพร้อมรับกับรูปแบบการทำงานที่บ้าน ดังนี้ (1) การเตรียมความพร้อมขององค์กรสำหรับการทำงานรูปแบบใหม่ (2) การยกระดับความพร้อมด้านเทคโนโลยีสำหรับองค์กร และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลแก่พนักงาน (3) การพิจารณาให้การทำงานนอกสถานที่ทำงานเป็นนโยบายขององค์กร และ (4) การพิจารณาการปรับรูปแบบการทำงานสู่การทำงานที่บ้านให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสนับสนุนการลงทุน/พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มี                ความเสถียรและครอบคลุม

13. เรื่อง สรุปผลการประชุมเพื่อสรุปผลและถอดบทเรียน (After Action Review: ARR) การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอสรุปผลการประชุมเพื่อสรุปผลและถอดบทเรียน (After Action Review: ARR) การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2564 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (1 ตุลาคม 2562) เรื่อง แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? ที่ให้ ทส. รวบรวมผลการดำเนินงานตามแผนฯ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปีละ 2 ครั้ง และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป] โดยมีรองนายกรัฐมนตรี                  (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานการประชุมฯ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 ในรูปแบบการประชุมออนไลน์               มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
 		1. ปัญหา สาเหตุ และสถานการณ์ปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ได้แก่ (1) ปัญหาและสาเหตุ มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกิดจากการจราจรและการเผาพื้นที่การเกษตร พื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเกิดจากการเผาพื้นที่การเกษตร ภาคใต้เกิดจากไฟไหม้ป่าพรุและหมอกควันข้ามแดนจากประเทศอินโดนีเซีย และภาคเหนือเกิดจากการลักลอบเผาป่าเพื่อหาของป่าและล่าสัตว์ การบุกรุกพื้นที่ป่า การเผาพื้นที่การเกษตรและหมอกควันข้ามแดนในประเทศอนุภูมิภาคแม่โขง (2) สถานการณ์ในภาพรวม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ? 30 มิถุนายน 2564 พบว่า จำนวนจุดความร้อนภายในประเทศลดลงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปี 2563 ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) พบว่ามีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในบางช่วงเวลาและบางจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สระบุรี
 		2. ภาพรวมของการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง ในปี 2564 ได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนผ่านกลไกคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? และต่อยอดขยายผลผ่านแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 ข้อ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 พฤศจิกายน 2563) เห็นชอบแผนเฉพาะกิจฯ] ซึ่งได้มีการดำเนินการ เช่น (1) ผลักดันให้มีการบรรจุแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และ              ฝุ่นละอองไว้ในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (2) บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกในหลายระดับ ทั้งในระดับชาติ โดยมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติร่วมกับ ทส. เป็นกลไกหลัก ระดับภาค โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือมีการจัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า (บก.คฟป.ทภ.3 สน.) ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และระดับจังหวัด ได้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองระดับจังหวัด (3) ดำเนินงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อบูรณาการและสื่อสารข้อมูลอย่างถูกต้อง (4) ดำเนินงานด้านการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด โดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการเพื่อลดกำลังการผลิตและควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศ บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในการตรวจวัดและจับรถยนต์ที่ปล่อยควันดำเกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งดำเนินนโยบายส่งเสริมการตัดอ้อยสด ลดอ้อยไฟไหม้ ส่งผลให้ในฤดูการผลิตปี 2563/2564 สามารถลดอ้อยไฟไหม้เหลือเพียงร้อยละ 26 (5) ดำเนินงานด้านการสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคเอกชนในการดูแลป่าและเฝ้าระวังไฟป่า และ (6) ดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพประชาชน โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขและศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้านผลกระทบต่อสุขภาพ
 		3. ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการดำเนินงานที่ผ่านมา เช่น (1) ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ที่เกิดจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศทำให้ผลกระทบจากแหล่งกำเนิดข้ามแดนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ (2) ข้อจำกัดด้านกำลังพล อุปกรณ์เครื่องมือ และงบประมาณ โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับท้องถิ่นหรือชุมชน และ (3) การถ่ายโอนภารกิจควบคุมไฟป่าให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ
		4. ข้อเสนอแนะจากการสรุปผลและถอดบทเรียนในการดำเนินงาน เช่น (1) ใช้ระบบคาดการณ์ฝุ่นละอองเป็นเครื่องมือให้จังหวัดสั่งการ (2) จัดหาหรือสนับสนุนด้านอัตรากำลัง อุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ และงบประมาณให้ทุกหน่วยงานบูรณาการกำลังพลและทรัพยากร (3) ปฏิบัติการเชิงรุกเพิ่มการลงพื้นที่เพื่อควบคุมและลดฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ (4) ทุกจังหวัดจัดทำแผนที่เสี่ยงต่อการเผาเพื่อลดและควบคุมการเผาในที่โล่งควบคู่ไปกับการลงพื้นที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เศษวัสดุการเกษตรและลดการเผา ป้องกันการพัดพาฝุ่นละอองสู่จังหวัดข้างเคียง และ (5) จังหวัดต้องมีการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ แหล่งกำเนิดหลักในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาและควบคุมแหล่งกำเนิดที่สอดคล้องกับบริบทในแต่ละจังหวัด พร้อมทั้งจัดทำแผนยกระดับมาตรการการดำเนินงาน และขอความร่วมมือประชาชนในการลดต้นเหตุของแหล่งกำเนิดในภาพรวม
 		5. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตรฯ) ได้มอบนโยบายในการดำเนินงานปี 2565 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ดำเนินการบนหลักการ ?ขยายผล พัฒนา ขจัดปัญหา? เช่น
หน่วยงาน	การดำเนินการ
กห.	- สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดและควบคุมแหล่งกำเนิดทั้งจากภายในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการเผาในที่โล่ง
อว.	- บูรณาการกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย นักวิจัย และภาคส่วนต่าง ๆ ทำการวิจัย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและครบวงจร
กษ.	- เฝ้าระวัง ป้องปราม และประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อไม่ให้เกิดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม
- งดการสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรที่มาจากการบุกรุกป่าอย่างเด็ดขาด
คค., ตช.	- กำกับ ดูแล และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะรถที่มีควันดำ ต้องสั่งห้ามไม่ให้มีการใช้งานจนกว่าจะนำไปปรับปรุง
ดศ.	- พัฒนาระบบคาดการณ์สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมของฝุ่นละอองล่วงหน้า 3-7 วัน เพื่อให้หน่วยงานควบคุม กำกับดูแลแหล่งกำเนิดอย่างเข้มงวดในช่วงที่สภาวะอากาศปิดไม่เอื้อต่อการกระจายตัว
ทส.	- ติดตามและกำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการฯ และแผนเฉพาะกิจฯ อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง
- ประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันบริหารจัดการการเผา
- ขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ตามกลไกอาเซียนให้เป็นรูปธรรม
พน.	- สนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงสะอาดและเชื้อเพลิงทางเลือกในภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมขนส่งอย่างจริงจัง โดยมีการกำหนดเป้าหมายและแผนงานที่ชัดเจน
มท.	- ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดยกระดับ Single Command ในการติดตามสถานการณ์และบูรณาการสั่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาในจังหวัดอย่างเคร่งครัด
- วางแผน จัดกำลังพล อุปกรณ์เครื่องมือ และงบประมาณ ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
สธ.	- ยกระดับการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนความเสี่ยง ดูแลสุขภาพ และรักษาการป่วยของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์
อก.	- ตรวจกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวดไม่ให้ระบายสารพิษออกสู่บรรยากาศ
- ขอความร่วมมือชะลอหรือลดกำลังการผลิตในช่วงฝุ่นละอองสูง
- ส่งเสริม ?การตัดอ้อยสด ลดอ้อยไฟไหม้?
ทุกหน่วย	- ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ อย่างเคร่งครัดและให้ยกระดับการดำเนินงานให้เข้มงวดในช่วงวิกฤตโดยให้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
- สร้างความเป็นเอกภาพของข้อมูลและการดำเนินงานเพื่อการสั่งการที่ถูกต้อง และลดความตื่นตระหนกของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
- ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอนเพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจและความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหา


14. เรื่อง รายงานประจำปี 2563 ของกองทุนการออมแห่งชาติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานประจำปี 2563 ของกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบรับรองแล้ว
		สาระสำคัญของรายงานฯ
		1. ผลการดำเนินงานของ กอช. ประจำปี 2563 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
		การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
ผลการดำเนินงาน	สรุปสาระสำคัญ
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มจำนวนสมาชิกอย่างทั่วถึง และส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่อง	ในปี 2563 กอช. มีเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนสมาชิกเป็น 2.5 ล้านคน โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ในการกระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมการออมให้กับประซาชนทุกกลุ่ม และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออม ทั้งนี้ ในปี 2563 กอช. มีสมาชิกสะสม 2.396 ล้านคน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 มุ่งบริหารเงินลงทุนและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ	กอช. มีเป้าหมายหลักของการลงทุนที่เน้นความมั่นคงของเงินลงทุนในระยะยาวและได้รับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าอัตราผลตอบแทนที่กฎหมายประกาศกำหนด แนวทางการบริหารการลงทุนเป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงการจัดการเงินของกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กอช. มีเงินกองทุนในส่วนของเงินสะสมและเงินสมทบของสมาชิกจำนวน 7,933 ล้านบาท โดยมีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง คิดเป็นร้อยละ 99.99 ของเงินกองทุน และมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสุทธิที่ร้อยละ 2.48 ต่อปี นอกจากนี้ กอช. ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสมาชิกและประชาชนทั่วไปผ่านระบบศูนย์บริการสมาชิกสัมพันธ์ (Call Center) และมีการให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 ถ่ายทอดค่านิยมสังคมการออมด้วยภาพลักษณ์ที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล	 ปี 2563 กอช. ตั้งเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนในวงกว้างโดยมีการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในหลายรูปแบบ เช่น ช่องทางออนไลน์ผ่านบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม (Brand Ambassador) และการ์ตูนสัญลักษณ์ (Mascot) เป็นต้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดทำสื่อสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกัน
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง (Smart Organization)	กอช. ได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับขีดความสามารถการบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อสร้างคุณค่าขององค์กร เสริมสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีธรรมาภิบาล โดยได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของ กอช. และในปี 2563 จัดให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งมีนโยบายให้บุคลากรทุกคนเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร Happy Money เพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในด้านการวางแผนการเงิน

		2. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินปี 2563 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งผู้สอบบัญชีที่ สตง. ให้ความเห็นชอบได้ตรวจสอบรับรองแล้ว โดยเห็นว่างบการเงินของ กอช. ดังกล่าวมีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนี้
                                                                                                                   หน่วย : ล้านบาท
รายการ	ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563	ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
รวมสินทรัพย์	8,804.27	6,930.56
รวมหนี้สิน	79.95	73.16
สินทรัพย์สุทธิ	8,724.32	6,857.31
รวมรายได้	129.72	107.89
รวมค่าใช้จ่าย	191.84	186.36
รายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่าย	(62.12)	(78.47)
	ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กอช. มีสินทรัพย์รวมจำนวน 8,804.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.04 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมีสินทรัพย์สุทธิจำนวน 8,724.32 ล้านบาท โดยในปี 2563 มีรายได้จำนวน 129.72 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจำนวน 191.84 ล้านบาท ทำให้มีผลขาดทุนจากการดำเนินงานจำนวน 62.12 ล้านบาท ทั้งนี้ กอช. มีกำไรสุทธิจากการจำหน่ายเงินลงทุนจำนวน 5.9 ล้านบาท และกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมจำนวน 58.25 ล้านบาท
 		3. แผนการดำเนินงานในปี 2564 และประมาณการรายรับที่ขอจัดสรรจากรัฐบาลสำหรับปี 2565 - 2567 ซึ่ง กอช. จะดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของ กอช. ปี 2562 - 2565 อย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบวงเงินประมาณ 605.7869 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนสมาชิกอย่างทั่วถึงและส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่อง การเสริมสร้างวินัยการออมให้กับกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา การสร้างและพัฒนาศักยภาพตัวแทน กอช. ในระดับพื้นที่ การจัดหาสวัสดิการให้กับสมาชิก กอช. และการกระตุ้นให้เกิดการออมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กอช. วางกรอบวงเงินงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์ไว้ 3 ปี ดังนี้

ปี	กรอบวงเงินงบประมาณ              (ล้านบาท)	เป้าหมายสมาชิก                        (ล้านคน)
2565	1,255.9938	3.025
2566	1,276.2108	3.17
2567	1,329.0774	3.33

15. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งกรณีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งกรณีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
 		สาระสำคัญของเรื่อง
		1. กสม. ได้พิจารณากรณีศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ที่เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์แล้วเห็นว่า การแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน จำเป็นต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของตัวอ่อนในครรภ์ หญิงมีครรภ์ รวมถึงผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ในด้าน         ต่าง ๆ
		2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า การยุติการตั้งครรภ์เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ปัญหาของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์ ผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิของหญิงมีครรภ์และสิทธิของตัวอ่อนในครรภ์ และข้อพิจารณาในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของหญิงมีครรภ์ และสิทธิของตัวอ่อนในครรภ์ จึงได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนกรณีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์ต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ (1) คณะรัฐมนตรีควรจัดสรรหรือสนับสนุนงบประมาณแก่ สธ. ในการจัดให้สถานบริการด้านสาธารณสุขทุกแห่งและทุกระดับทั้งในระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ มีบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ครอบคลุมการให้บริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่จำเป็น และ (2) คณะรัฐมนตรีควรพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาและดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์
		3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางหรือผลการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ สธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		สธ. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับ พม. ยธ. สงป. สคก. ตช. ศย. อส. แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ซึ่งมีผลการพิจารณาตามข้อเสนอแนะดังกล่าวในภาพรวม สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ	สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
1. ครม. ควรจัดสรรหรือสนับสนุนงบประมาณแก่ สธ. ในการจัดให้สถานบริการด้านสาธารณสุขทุกแห่งและทุกระดับทั้งในระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ มีบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ครอบคลุมการให้บริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่จำเป็น ซึ่งหมายความรวมถึงการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การทดสอบการตั้งครรภ์ การดูแลและให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลังการตั้งครรภ์ และการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้สถานบริการด้านสาธารณสุขมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่สำหรับให้บริการประชาชนทุกกลุ่มและทุกช่วงวัยอย่างเสมอภาคและทั่วถึง
2. ครม. ควรพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาและดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ ได้แก่ พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการสงเคราะห์และส่งเสริมสวัสดิการสังคม รวมถึงกฎ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับอื่นใดที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์ ให้สอดรับกับแนวคิดและหลักการในการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา รวมถึงกำหนดแนวทางหรือมาตรฐานการปฏิบัติ กระบวนการ และขั้นตอนในการยุติการตั้งครรภ์ทั้งก่อนและหลังยุติการตั้งครรภ์ ตลอดจนกลไกในการขับเคลื่อนกฎหมายให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ให้ครอบคลุมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิในสุขภาพ และอนามัยการเจริญพันธุ์ของหญิงมีครรภ์ทุกช่วงวัย รวมทั้งการกำหนดให้มีกลไกช่วยเหลือให้การตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่พึงประสงค์และได้รับการคุ้มครองจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับหญิงมีครรภ์ ทั้งนี้ ควรมอบหมายให้ สธ. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการดังกล่าว และเปิดโอกาสให้ทุกาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เข้ามามีส่วนร่วมพิจารณา และให้ความเห็นประกอบการดำเนินการด้วย
สธ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 จำนวน 3 คณะ ดังนี้ (1) คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายระดับอนุบัญญัติ มีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผน ร่างอนุบัญญัติ และพิจารณาปรับปรุงแก้ไขอนุบัญญัติที่ออกตามความในมาตรา 305 (5) (2) คณะอนุกรรมการสื่อสารความรู้และตอบโต้ความเสี่ยงมีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนงานและกลไกสื่อสารประชาสัมพันธ์เรื่องกฎหมายและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย เฝ้าระวัง ตรวจสอบข่าว ตอบโต้ข่าว เพื่อสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรและประชาชน และ (3) คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการและระบบสารสนเทศ มีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนงานและออกแบบพัฒนาระบบบริการ ระบบสารสนเทศและประเมินผล จัดทำแนวทางการปฏิบัติในการจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและการดูแลช่วยเหลือด้านสวัสดิการที่เกี่ยวข้องและแนวทางพัฒนาระบบสารสนเทศและประเมินผล รวมทั้งจัดทำระบบการเฝ้าระวังเรื่องร้องเรียนและไกล่เกลี่ย
    โดยได้ดำเนินงานตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว

16. เรื่อง กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอดังนี้
		1. เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565 วงเงินดำเนินการ จำนวน 1,485,456 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 307,479 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) กรอบการลงทุนสำหรับงานตามภารกิจปกติและโครงการต่อเนื่อง วงเงินดำเนินการ จำนวน 1,185,456 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 257,479 ล้านบาท และ (2) กรอบการลงทุนสำหรับการเพิ่มเติมระหว่างปี วงเงินดำเนินการ จำนวน 300,000 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 50,000 ล้านบาท สำหรับโครงการที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และการลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้ดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ กำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน
		2. เห็นชอบให้ สศช. ปรับวงเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565 ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบกลาง หรืองบประมาณที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ (สงป.) แล้ว และปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ทันทีภายในปีงบประมาณ
		3. มอบหมายให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) โดยประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีในส่วนงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติและโครงการต่อเนื่องที่การเปลี่ยนแปลง ไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญและกรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว
		4. เห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับกระทรวง และระดับรัฐวิสาหกิจ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจรับข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการ และเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนปี 2565 ให้ สศช. ทราบภายในทุกวันที่ 5 ของเดือนอย่างเคร่งครัด รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะและความก้าวหน้าการดำเนินโครงการลงทุนทุกไตรมาส เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่อง
		5. รับทราบประมาณการงบทำการประจำปีงบประมาณ 2565 ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 65,171 ล้านบาท และประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี 2566 ? 2568ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ 428,953 ล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ 82,722 ล้านบาท
		และให้สศช. กระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
		ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการ ดังนี้
ประเด็น	ข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ
การเบิกจ่ายลงทุน
ของรัฐวิสาหกิจ	ให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน (ตามข้อ 1) รวมทั้งเร่งรัดการลงทุนที่ได้รับอนุมัติผูกพันสัญญาและการก่อหนี้ในรายการลงทุนที่มีความพร้อมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพื่อให้การประมาณการและการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การปรับปรุง
งบลงทุนระหว่างปี	? ให้รัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการขอปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีให้แล้วเสร็จโดยผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเจ้าสังกัดในไตรมาสแรกของปีงบประมาณของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
? การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการลงทุน โดยเฉพาะการลดกรอบวงเงินลงทุน ควรเป็นผลกระทบจากที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเป็นการดำเนินการเชิงนโยบายเท่านั้น หากไม่ใช่ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว สศช. อาจไม่พิจารณาดำเนินการ
? สำหรับงบลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณ หรือได้รับความเห็นชอบจาก สงป. แล้ว ให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงบลงทุนดังกล่าวได้โดยให้แจ้งกระทรวงเจ้าสังกัดและ สศช. ทราบเพื่อ สศช. จะได้ปรับปรุงวงเงินลงทุนให้สอดคล้องกับงบประมาณที่เปลี่ยนแปลงไป
การทบทวนสถานะ
การเป็นรัฐวิสาหกิจ	ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง (กค.) ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พิจารณาความเป็นไปได้ของแผนการดำเนินงานหรือแผนธุรกิจของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เห็นว่า รูปแบบการเป็นรัฐวิสาหกิจยังคงมีความเหมาะสมกับการดำเนินงานและการขับเคลื่อนตามภารกิจและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งได้ หรืออาจพิจารณาการปรับเปลี่ยนองค์กรในรูปแบบอื่นที่เหมาะสมต่อไป
		ข้อเสนอแนะระดับกระทรวงและรัฐวิสาหกิจ ให้กระทรวงและรัฐวิสาหกิจเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงาน การให้บริการ การลดต้นทุนการผลิต และการบริหารจัดการที่เหมาะสมของแต่ละรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
มติ	ตัวอย่างข้อเสนอแนะระดับกระทรวงและรัฐวิสาหกิจ
การเพิ่มผลิตภาพ
และประสิทธิภาพ
การดำเนินงาน	? องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เร่งปรับแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมของแผนฟื้นฟูกิจการ (ฉบับปรับปรุง) โดยเฉพาะแผนการปฏิรูปเส้นทางการเดินรถโดยสารสาธารณะ
? องค์การคลังสินค้า พิจารณาแนวทางและแผนส่งเสริมทางการตลาดในการใช้ประโยชน์คลังสินค้าที่มีอยู่ให้คุ้มค่า พัฒนาคลังสินค้าในส่วนกลางให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าใจกลางเมือง และเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเครือข่ายเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่าย
? การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และการกีฬาแห่งประเทศไทย กำหนดแนวทางการดำเนินงานและการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินงานในปี 2565 รวมถึงพิจารณาแผนการดำเนินงานที่จะช่วยพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศภายหลังจากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ
? บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พิจารณาการเป็นพันธมิตรร่วมกับบริษัทขนส่งอื่นที่มีโครงข่ายครอบคลุมเข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
การให้บริการ	? องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ต่อยอดแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้สามารถจำหน่ายบัตรเข้าชมสวนสัตว์และสินค้าที่ระลึกได้มากขึ้น รวมถึงขยายความร่วมมือกับ ททท. ในการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการทำการตลาดร่วมกัน
การลดต้นทุนการผลิต	? การประปาส่วนภูมิภาค ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการปริมาณน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาเพื่อลดต้นทุนในการซื้อน้ำดิบจากเอกชน และเร่งเปลี่ยนท่อแตกรั่วเพื่อลดปริมาณน้ำสูญเสีย
การบริหารจัดการ	?  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดให้พิจารณาแผนการลงทุนที่คำนึงถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) เป็นต้น
? การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เร่งรัดการจัดทำข้อมูลที่จะปรับรูปแบบการดำเนินโครงการไปเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อนและสายสีแดงเข้ม และเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนโดยเร็ว
? องค์การตลาด ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงรายได้จากการจำหน่ายข้าวสารและอาหารดิบเป็นหลักและพัฒนากิจการตลาดซึ่งเป็นภารกิจหลักให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

17. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2513 เรื่อง การแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2513 เรื่อง การแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์ โดยกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ที่เข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุน ดังนี้
สาระสำคัญเดิม	สาระสำคัญที่ขอปรับปรุง
นักศึกษาทุกคนจะต้องทำสัญญาเป็นข้อผูกพันว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแล้วจะต้องทำงานให้แก่ราชการเป็นเวลา 3 ปี	นักศึกษาทุกคนจะต้องทำสัญญาเป็นข้อผูกพันว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมจึงจัดสรรให้ไปปฏิบัติงานชดใช้ทุน และต้องทำงานให้แก่ราชการเป็นเวลา 3 ปี
และให้ สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		ทั้งนี้ สธ. ได้เสนอขอปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้อผูกพันของนักศึกษาแพทย์ที่จะต้องเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนให้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตที่ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ใบอนุญาตฯ) ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบแล้ว เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2564 นักศึกษาแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษาที่สอบไม่ผ่านใบอนุญาตฯ (ไม่สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งนายแพทย์)                   มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 8.91 ของจำนวนนักศึกษาแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งหมด ส่งผลให้ส่วนราชการ/หน่วยงานอื่น ๆ นอกสังกัด สธ. ส่งตัวนักศึกษากลุ่มดังกล่าวคืนมาปฏิบัติงานชดใช้ทุนยังหน่วยงานในสังกัด สธ. ในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข1 ทำให้ สธ. ไม่มีตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขเพียงพอในการบรรจุนักศึกษาแพทย์ดังกล่าว รวมทั้งยังสูญเสียโอกาสในการบรรจุอัตรากำลังในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขจากสาขาอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง
1มติคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563

18. เรื่อง ร่างประมวลจริยธรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
 		1. เห็นชอบร่างประมวลจริยธรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ?. ที่ได้ปรับแก้ไขให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
 		2. ให้นำร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ?. ใช้บังคับกับบุคคลหรือผู้ปฏิบัติงานให้แก่ข้าราชการการเมืองในตำแหน่งที่ปรึกษาหรือตำแหน่งอื่น ๆ ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 โดยอนุโลมด้วย
 		สาระสำคัญของร่างประมวลจริยธรรม
 		1. กำหนดนิยามคำว่า ?ข้าราชการการเมือง? หมายความว่า ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และให้หมายความรวมถึงกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีด้วย (ร่างข้อ 3)
 		2. กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศอันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ร่างข้อ 4)
 		3. กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีและรับผิดชอบต่อหน้าที่ (ร่างข้อ 5)
 		4. กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องกล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (ร่างข้อ 6)
 		5. กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องดำรงตนโดยเปิดเผย หรือให้ข้อมูลข่าวสารอันอยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างถูกต้องครบถ้วน และไม่บิดเบือนแก่ประชาชน (ร่างข้อ 6(5))
 		6. กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม และมีจิตสาธารณะ (ร่างข้อ 7)
 		7. กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยต้องดำรงตน ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ (ร่างข้อ 8)
 		8. กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ (ร่างข้อ 9) และไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองเข้าก้าวก่ายหรือแทรกแซงเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย (ร่างข้อ 9(3))
 		9. กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ (ร่างข้อ 10)

19. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการจัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการจัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New Government Fiscal Management Information System Thai : New GFMIS Thai) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายภายในเดือนมีนาคม 2565
		สาระสำคัญ
		กค. ได้รายงานภาพรวมผลการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 โดยปัจจุบันยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและไม่สามารถเบิกจ่ายเงินกู้ DPL ได้ทันภายในเดือนกันยายน 2564 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New Government Fiscal Management Information System Thai : New GFMIS Thai) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่รุนแรงและต่อเนื่อง และการกำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดดำเนินมาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งขั้นสูงสุดเต็มจำนวนเพื่อลดจำนวนและจำกัดการเคลื่อนย้ายเดินทางของบุคคลตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28) ซึ่งขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการรอขึ้นใช้งานระบบ New GFMIS Thai ของหน่วยงานต่าง ๆ ก่อนที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุของโครงการจะตรวจรับงานงวดสุดท้าย กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) จึงจำเป็นต้องเลื่อนแผนการขึ้นใช้งานระบบ New GFMIS Thai ของหน่วยงานบางส่วนออกไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะคลี่คลาย ในครั้งนี้กระทรวงการคลังจึงขออนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้ DPL สำหรับโครงการดังกล่าว ออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายภายในเดือนมีนาคม 2565 เพื่อให้สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถประเมินผลระบบ New GFMIS Thai ได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง และสมบูรณ์

20. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่
1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 รวม 120 วัน (ห้วงที่ 5 - 6)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) เป็นเงินทั้งสิ้น 398.32 ล้านบาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ตช. ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2564 รวม 120 วัน (ห้วงที่ 5 - 6) หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ

21. เรื่อง นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากำลังคนการอุดมศึกษาเพื่อ
พัฒนาประเทศ
			คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากำลังคน
การอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
		ทั้งนี้ อว. เสนอว่า นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนฯ เป็นกรอบในการกำหนดทิศทางการจัดสรรทุนที่ชัดเจนเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง และความต้องการของประเทศได้อย่างทันเวลา โดยตั้งเป้าหมายในการ ?ให้ทุน? เพื่อมุ่งเน้นการ ?สร้างคน? ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน 10 ปี จึงจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วน เพื่อจัดทำโครงการด้านการจัดสรรทุนพัฒนากำลังคนการอุดมศึกษา ในการพัฒนาประเทศ และเร่งรัดการผลิตกำลังคนระดับสูงให้ตอบโจทย์ประเทศ กำหนดแผนงานให้เกิดความชัดเจนต่อไป
สาระสำคัญ
เนื่องจากทุนการศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการ ?สร้างคน? เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาประเทศ และเร่งรัดการผลิตกำลังคนระดับสูงให้ตอบโจทย์ประเทศ จึงต้องกำหนดจุดเน้น (Focus)
การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Priority) หรือหาทางลัด (By-pass) เพื่อให้ดำเนินการอย่างมีเป้าหมายและ
เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดสรรทุนในสาขาที่หลากหลายครอบคลุมสหวิทยาการ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ มีระบบบริหารจัดการทุนในภาพรวมของประเทศที่มีเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากำลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ เพื่อกำหนดทิศทางการจัดสรรทุนที่ชัดเจนรองรับความเปลี่ยนแปลง และความต้องการของประเทศได้อย่างทันเวลา สะท้อนภารกิจของอุดมศึกษาที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศในฐานะเป็นมันสมองอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้
1) หน่วยบริหารทุนมีความเป็นเอกภาพ ในการนำนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อน การบริหารจัดการทุนไปสู่การปฏิบัติ
2) มีแผนการดำเนินงานและแผนงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม  เกิดการบริหารจัดการที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานที่ตอบโจทย์ประเทศได้ สามารถทำให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
3) ผลการประเมินการใช้ประโยชน์ และการใช้ศักยภาพจากผู้รับทุน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่โครงการได้กำหนดไว้ มีการใช้งบประมาณของประเทศที่คุ้มค่า และเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิตด้านต่าง ๆ ด้วยผลผลิตจากผู้รับทุนที่กลับมาสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมกับประเทศไทยและสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้จริง
1. แนวทางการขับเคลื่อน ประกอบด้วย 3 แนวทาง มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการทุนให้มีความเป็นเอกภาพภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารจัดการทุน ประกอบด้วย
	1) การบูรณาการหน่วยบริหารจัดการทุนให้มีเอกภาพ เนื่องจากหน่วยบริหารจัดการทุนของประเทศมีหลายแหล่งทุนหลายกระทรวง อีกทั้งภายในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก็มีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยจัดสรรและบริหารทุนการศึกษา ประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่
ทุนระดับมัธยมศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ซึ่งการให้ทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ
แต่ละโครงการ อาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อน จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการหน่วยบริหารจัดการทุนให้มีเอกภาพ
	2) การจัดสรรทุนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ (Competency) และทักษะที่จำเป็น
ในการพัฒนาประเทศ (Non-degree) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และทันต่อความต้องการกำลังคนในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมสำคัญในระยะสั้น โดยลักษณะความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
3) กำหนดคุณสมบัติของผู้รับทุนให้ชัดเจน และกำหนดวิธีการสรรหาและการคัดเลือกที่มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับบริบทโลก ทั้งกลไกการสรรหา (Recruit) และรับเข้า (Admit) อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
4) ปรับรูปแบบ/เงื่อนไขการรับทุนให้มีความยืดหยุ่น เพื่อดึงดูดผู้รับทุนที่มีศักยภาพสูงทั้งในและต่างประเทศตลอดเวลาทั้งการศึกษารวมทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว
5) พัฒนาและสร้างแรงจูงใจกับผู้รับทุนเข้าร่วมโครงการ โดยปรับรูปแบบและเงื่อนไขการรับทุน รวมทั้งการชดใช้ทุนให้มีความยืดหยุ่น เพื่อดึงดูดและสร้างแรงจูงใจผู้รับทุนที่มีศักยภาพสูงทั้งในและต่างประเทศ ตลอดเวลาทั้งการศึกษารวมทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว
6) พัฒนาระบบฐานข้อมูลทุนการศึกษาให้ทันสมัย เป็นปัจจุบัน และสามารถใช้ประโยชน์เชิงนโยบายได้ โดยปฎิรูประบบฐานข้อมูลทุนการศึกษาทั้งระบบ ด้วยการกำหนด Data Catalog จัดทำและบูรณาการการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลกลางร่วมกัน สร้างสารสนเทศด้านทุนพัฒนากำลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ
7) กำหนดแนวทางการจัดสรรทุน เช่น ประเภทการรับทุน สาขาวิชา ประเทศที่ไปศึกษา โดยมีกลยุทธ์และทิศทางที่สอดคล้องกับความจำเป็นและเร่งด่วนในการพัฒนาประเทศ
1.2 จัดสรรทุนเพื่อสร้างคนให้ตรงกับตลาดงานและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ประกอบด้วย
1) จัดสรรทุนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ (Demand Side) โดยการกำหนดเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มสาขาวิชา ตามความเร่งด่วนเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณในการจัดสรรทุนเกิดความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
2) จัดสรรทุนเพื่อพัฒนากำลังคนที่มีความรู้ความสามารถขั้นสูงและมีสมรรถนะตามความต้องการของตลาดงานที่เปลี่ยนแปลงไป จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID?19) ทำให้ความต้องการ ความรู้ในการพัฒนาประเทศเปลี่ยนไป ทั้งภาคการศึกษา การสาธารณสุข อุตสาหกรรม และการสื่อสารต่าง ๆ เช่น คนที่มีความรู้ในการผลิตวัคซีน การผลิตแพลตฟอร์ม เทคโนโลยีทางอาหาร ความสามารถทางอากาศยาน เป็นต้น
3) กำหนดสัดส่วนการจัดสรรทุนโดยเน้นสาขาวิชาที่มีความจำเป็นต่อการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ (Strategic, Function, Area) เช่น การนำ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ โมเดลเศรษฐกิจใหม่                      (BCG Model) มาช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
4) บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ในการกำหนดประเทศที่ไปศึกษาสาขาวิชาตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนด้านอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ
5) กำหนดแนวทางการต่อยอดการพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นเพื่อดึงดูดกำลังคนที่มีคุณภาพ ในการพัฒนาประเทศ
6) บูรณาการการจัดสรรทุนกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และมีเป้าหมายการผลิตกำลังคนที่ชัดเจน
1.3 ขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นระบบและสม่ำเสมอ รวมทั้งวางแผนการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน ประกอบด้วย
1) ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมาย
2) ติดตามการศึกษาและใช้ประโยชน์จากนักเรียนทุนอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลทุนการศึกษา
3) วางระบบในการดูแลผู้รับทุน มีหน่วยงานที่ดูแลและติดตามผู้รับทุนอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ
	4) ใช้ศักยภาพของผู้รับทุนอย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศตั้งแต่ระยะที่มีการศึกษา
5) สร้างความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ (Career Path) ของผู้รับทุนให้ชัดเจน
6) สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคการผลิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการร่วมผลิตหรือแลกเปลี่ยนความรู้/เทคโนโลยี โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานชดใช้ทุนให้มีรูปแบบที่ดึงดูดผู้รับทุนไปทำงานให้เต็มศักยภาพ
7) มีระบบการรายงานผลการดำเนินการในภาพรวมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ
2. ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
2.1 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2561?2580) ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัย
ให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและ
มีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรมและเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่ และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง
2.2 แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 ? 2570             มีวิสัยทัศน์ ?อุดมศึกษาสร้างคน สร้างปัญญา เพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน? โดยมีเป้าหมายหลัก
3 ประการ ได้แก่ (1) กำลังคนมีคุณภาพและปริมาณรองรับการพัฒนาประเทศ และการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก             (2) งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และ (3) สถาบันอุดมศึกษา
มีสมรรถนะตรงตามอัตลักษณ์/จุดแข็ง เพื่อให้เกิดคุณภาพในระบบอุดมศึกษา
2.3 (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 ? 2570 มีวิสัยทัศน์ ?สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย
พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต? ซึ่งได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน

22. เรื่อง  รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกรกฎาคม 2564
	คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกรกฎาคม 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ  ดังนี้
	สาระสำคัญ
	1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกรกฎาคม 2564
		การส่งออกของไทยเดือนกรกฎาคม 2564 เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ด้วยมูลค่า 22,650.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 20.27 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 25.38 เป็นผลจากการเร่งแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้การจ้างงานปรับตัวดีในระดับที่น่าพอใจ ขณะที่การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรปทำให้ภาคบริการฟื้นตัว ผลักดันให้เศรษฐกิจยุโรปเติบโตเร็วขึ้น อีกทั้งภาคการผลิต
ทั่วโลกยังคงขยายตัวดี สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI)
ที่อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยการผลิตสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบ และสินค้า
เพื่อการลงทุนปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่ายังเป็นปัจจัยหนุนต่อภาคการส่งออกไทย ทั้งนี้ การส่งออก
7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.20 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 21.47 สะท้อนภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ที่เติบโตอย่างชัดเจน
		มูลค่าการค้ารวม
		มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกรกฎาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 22,650.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.27 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 22,467.37                    ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 45.94 ดุลการค้าเกินดุล 183.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 7 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 154,985.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.20 การนำเข้า มีมูลค่า 152,362.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 28.73 ดุลการค้า 7 เดือนแรก เกินดุล 2,622.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
		มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกรกฎาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 708,651.66 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.16 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 712,613.16 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 48.22 ดุลการค้าขาดดุล 3,961.50 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 7 เดือนแรกของปี 2564
การส่งออก มีมูลค่า 4,726,197.35 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.93 การนำเข้า มีมูลค่า 4,711,274.91
ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 26.34 ดุลการค้า 7 เดือนแรก เกินดุล 14,922.44 ล้านบาท
		การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
		มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 24.3 (YoY) ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 80.2 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเนเธอร์แลนด์) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 121.2 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 62.0 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน และสหรัฐฯ) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 17.3 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และอินเดีย) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว ร้อยละ 51.7 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ มาเลเซีย อินเดีย เมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 8.4 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ เมียนมา จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม และสหราชอาณาจักร) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ อาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 10.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อียิปต์ และแคนาดา) สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ หดตัวร้อยละ 51.6 (หดตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา และลาว แต่ขยายตัวดีในเมียนมา จีน ญี่ปุ่น และเนปาล) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 27.6 (หดตัวในตลาดเวียดนาม อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวดีในตลาดฟิลิปปินส์ กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้) ข้าว หดตัวร้อยละ 8.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เบนิน แคเมอรูน และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวดีในตลาดแอฟริกาใต้ จีน เยเมน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และสิงคโปร์) 7 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 13.6
		การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
		มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 18.0 (YoY) ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 39.2 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ ออสเตรเลีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐฯ) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 16.0 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และออสเตรเลีย) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 59.0 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน กัมพูชา เวียดนาม ญี่ปุ่น และอินเดีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 43.8 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 19.3 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 59.4 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และมาเลเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว หดตัวร้อยละ 2.9 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดจีน กัมพูชา และมาเลเซีย) ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 2.4 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น เวียดนาม และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวได้ดีในหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ             เกาหลีใต้) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 3.9 (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวได้ดีในหลายตลาด อาทิ แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ญี่ปุ่น และอินเดีย) 7 เดือนแรกของปี 2564  การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 16.2
		ตลาดส่งออกสำคัญ
		การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญยังขยายตัวในเกณฑ์ดีเกือบทุกตลาด ตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก หลังจากมีอัตราการฉีดวัคซีนภายในประเทศอยู่ในระดับสูงทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น การส่งออกไปกลุ่มตลาดต่างๆ สรุป ดังนี้              1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 25.8 ขยายตัวทุกตลาด ประกอบด้วย สหรัฐฯ ร้อยละ 22.2 จีน ร้อยละ 41.0 ญี่ปุ่น ร้อยละ 23.3 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 20.9 อาเซียน (5) ร้อยละ 26.9 CLMV ร้อยละ 16.1 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 27.6 ขยายตัวเกือบทุกกลุ่มตลาด ได้แก่ เอเชียใต้ ร้อยละ 73.8 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 12.4 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 17.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 93.5 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 53.0 ขณะที่ทวีปออสเตรเลียหดตัวร้อยละ 6.8 และ 3) ตลาดอื่นๆ หดตัวร้อยละ 76.7
	2. แนวโน้ม และมาตรการส่งเสริมการส่งออกในปี 2564
		การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มของการขยายตัวที่ดี สะท้อนจาก (1) การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 7 บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของหลายประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (2) ราคาพลังงานปรับสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น หลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ จึงเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อีกทั้งการส่งออกไปยังอาเซียน
ยังได้รับอานิสงส์จากปัจจัยดังกล่าวเช่นกัน แม้ว่าจะยังคงมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รุนแรง (3) มาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ และการเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลก ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าของไทย (4) ค่าเงินบาท
มีทิศทางอ่อนค่า มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทยในขณะนี้ สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในปี 2564 กระทรวงพาณิชย์ยังคงดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ ?ตลาดนำการผลิต? และแผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ อาทิ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกกว่า 130 กิจกรรมในครึ่งปีหลัง พร้อมจัดการเจรจาเพื่อเปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ประสานกับทูตพาณิชย์ของไทยในจีนเพื่อเร่งแก้ไขอุปสรรคการส่งออกในสินค้าผลไม้ เช่น ทุเรียน และลำไย ไปยังตลาดจีน ซึ่งจากความพยายามในการหารือและเจรจาครั้งที่ผ่านมาของกระทรวงพาณิชย์ ทำให้จีนปลดล็อกอุปสรรคการส่งออกในสินค้าเกษตรทั้ง 2 ชนิดแล้ว ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเกษตรในประเทศมีช่องทางในการระบายสินค้าและส่งผลดีต่อเกษตรกรของไทยต่อไป

23. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 รวม 122 วัน (ห้วงที่ 7 - 8)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในวงเงิน 633,514,600 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 (122 วัน) หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ

24. เรื่อง  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในห้วงวันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 วงเงิน 380,444,840 บาท ให้กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) ต่อไปตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ

25. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID ? 19) ระยะที่ 8
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 130,569,700 บาท ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ระยะที่ 8 (ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง วันที่ 20 กรกฎาคม 2564) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) ในส่วนของสถานที่เอกชน ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ

26. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 197,983,630 บาท ของ บริษัท ขนส่ง จำกัด
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 197,983,630 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดรถโดยสาร รับ ? ส่ง คนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ บริษัท ขนส่ง จำกัด ในช่วงตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2563 ? 31 มีนาคม 2564 โดยให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป

27. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 5 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 5 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 รวม 11 จังหวัด จำนวน 1,013 โครงการ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,484,270,381 บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อให้จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ในฐานะหน่วยรับงบประมาณ เป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามขั้นตอนและแนวทางที่เคยปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้แจ้งให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะหน่วยรับงบประมาณรับทราบความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามผลพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 28/2564 และครั้งที่ 32/2564 ไปประกอบการดำเนินการตามขั้นตอน รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และยืนยันความพร้อมของโครงการ รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่าย ความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติต่อไป

28. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อนำมาใช้ในการเยียวยาการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 427,172,500 บาท เพื่อนำมาใช้ในการเยียวยาการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ดังนี้
		(1) ท่าเรือกรุงเทพ ปรับลดค่าภาระตู้สินค้าเปล่าขาเข้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ ในอัตรา 1,000 บาทต่อ ทีอียู เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2564 รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเป็นจำนวนเงิน 5,087,250 บาท
		(2) ท่าเรือแหลมฉบัง ชดเชยค่ายกขนตู้สินค้าให้แก่เอกชนผู้ประกอบการนำเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยจ่ายส่วนลดคืนในอัตรา 1,000 บาทต่อทีอียู เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2564 รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเป็นจำนวนเงิน 422,085,250 บาท
		โดย มาตรการการเยียวยาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้า โดยเฉพาะการขาดแคลนตู้สินค้าสำหรับบรรจุสินค้าในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อจูงใจให้มีการนำตู้สินค้าเปล่าเข้ามาในประเทศเพื่อบรรจุสินค้าส่งออก และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง กทท. ได้รวบรวมสถิติปริมาณตู้สินค้าเปล่า (ขาเข้า) ผ่านท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบังเฉพาะเดือนที่ขอชดเชย (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564) ทั้งนี้ ได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 122 วัน มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการสายเรือที่นำเข้าตู้เปล่าที่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2564

29. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 34/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 34/2564 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 และที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) และการพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามพระราชกำหนดฯ รวมทั้งการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ดังนี้
		1. อนุมัติโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 6 รวม                6 จังหวัด (จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดสกลนคร จังหวัดชัยนาท จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี) จำนวน 834 โครงการ กรอบวงเงินรวม 1,942,302,315 บาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน (แผนงานที่ 3.2) ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใต้กรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 นอกจากนี้เห็นควรมอบหมายให้จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดสกลนคร จังหวัดชัยนาท จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการและดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
		2. มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากคณะรัฐมนตรี (เฉพาะในส่วนของการปรับเพิ่มกรอบวงเงินของโครงการ) พิจารณาดำเนินการโดยจัดหาแหล่งเงินอื่น ๆ ดำเนินการตามความเหมาะสมของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
		3. มอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากคณะรัฐมนตรีอยู่ระหว่างจัดทำข้อเสนอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการ (ไม่รวมการปรับเพิ่มกรอบวงเงินของโครงการ) เร่งจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) พร้อมระบุเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนงาน/โครงการจะต้องดำเนินการให้สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2564
		4. อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการทัวร์เที่ยวไทย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว
		5. อนุมัติให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการขององค์กรภาคประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 2 โครงการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว
		6. อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว
		สาระสำคัญ
		1. คกง. เห็นชอบให้ ททท. ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการทัวร์เที่ยวไทย โดยเปลี่ยนแปลงระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการฯ เป็นสิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยกำหนดให้ประชาชนใช้สิทธิ์ได้ไม่เกินวันที่ 31 มกราคม 2565 และให้ ททท. เร่งรัดการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 มีความรุนแรงเกิดขึ้นในช่วงระหว่างดำเนินโครงการเห็นควรให้ ททท. เสนอขอยุติการดำเนินโครงการฯ ทั้ง 2 โครงการ และเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการทัวร์เที่ยวไทย ดังนี้ (1) เปลี่ยนแปลงการเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด จากเดิมเดินทางได้เฉพาะวันอาทิตย์ - พฤหัสบดี) เป็น สามารถเดินทางได้ทุกวัน และ (2) เปลี่ยนแปลงจำนวนรายการข้อมูลแพ็คเกจนำเที่ยว จากเดิม กำหนดให้มีรายการนำเที่ยว 15 รายการต่อบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น              30 รายการต่อบริษัท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้วเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ สามารถกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น
		2. คกง. เห็นชอบให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการขององค์กรภาคประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 2 โครงการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว โดยเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ ดังนี้
			1) โครงการส่งเสริมอาชีพและสร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้พิการ ผู้ดูแลคนพิการหรือครอบครัวคนพิการ ทั้ง 7 ประเภท ของบริษัท สังคมดี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด จากเดิมตั้งแต่เดือนมีนาคม - กันยายน 2564 เป็นตั้งแต่เดือนมีนาคม - ธันวาคม 2564
			2) โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจครัวเรือนคนพิการและครอบครัวด้วยเกษตรสมัยใหม่และยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์และอาหาร โดยใช้การตลาดผสมผสาน Online ผ่าน Social Media ของมูลนิธิสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย จากเดิมตั้งแต่เดือนมกราคม ? ตุลาคม 2564 เป็นตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2564
		3. คกง. เห็นชอบให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับผลการดำเนินโครงการดังนี้
			1) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยขอปรับลดจำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจากเดิม ?ไม่เกิน 1.4 ล้านคน? เป็น ?ไม่เกิน 1 ล้านคน? ซึ่งจะส่งผลให้กรอบวงเงินของโครงการฯ ลดลงจากเดิมวงเงิน 9,800 ล้านบาท เป็นวงเงิน 7,000 ล้านบาท
			2) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยขอปรับลดจำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จากเดิม ?ไม่เกิน 31 ล้านคน? เป็น ?ไม่เกิน 28               ล้านคน? ซึ่งจะส่งผลให้กรอบวงเงินของโครงการฯ ลดลงจากเดิม 93,000 ล้านบาท เป็นวงเงิน 84,000 ล้านบาท

30. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลัง)
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลัง เสนอดังนี้
 		1. เห็นชอบในหลักการและการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา
 		2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 27,005,655,400 บาท ให้แก่กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (กองทุนฯ) สำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ได้แก่ (1) มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา (2) การจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาสำหรับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (3) การดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (รอบใหม่) และ (4) การจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาสำหรับผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการลงทะเบียนฯ (รอบใหม่)
 		สาระสำคัญ
		1. การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา
		วัตถุประสงค์ : เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาให้แก่ผู้มีบัตรฯ อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมผู้มีบัตรฯ ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการบรรเทาฯ ดังกล่าวให้มากขึ้น
		ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 (ระยะเวลา 12 เดือน)
			1.1 ค่าไฟฟ้า
				1) กลุ่มเป้าหมาย : ประมาณ 1.9 ล้านครัวเรือน (1 ครัวเรือนใช้ได้เพียง 1 สิทธิ เท่านั้น)
				2) วิธีดำเนินการ : กรณีค่าไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่หากใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อเดือน ให้ใช้สิทธิตามมาตรการนี้ในวงเงิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรฯ เป็นผู้รับภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมด
				3) งบประมาณ : ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,836 ล้านบาท
			1.2 ค่าน้ำประปา
				1) กลุ่มเป้าหมาย : ประมาณ 186,625 ครัวเรือน (1 ครัวเรือนใช้ได้เพียง 1 สิทธิเท่านั้น)
				2) วิธีดำเนินการ : สนับสนุนค่าน้ำประปาวงเงิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้น้ำประปาเกิน 100 บาท แต่ไม่เกิน 315 บาท ผู้มีบัตรฯ ยังคงได้รับการสนับสนุนในวงเงิน 100 บาท และจะต้องชำระส่วนที่เกิน 100 บาท ด้วยตนเอง แต่หากมีการใช้น้ำประปาเกิน 315 บาท จะไม่ได้รับการสนับสนุนวงเงินค่าน้ำประปาจำนวน 100 บาท โดยที่ผู้มีบัตรฯ จะเป็นผู้รับภาระในการชำระค่าน้ำประปาทั้งหมด
				3) งบประมาณ : ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 182 ล้านบาท
			ทั้งนี้ ผู้มีบัตรฯ ต้องนำใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าและใบแจ้งหนี้ค่าประปาไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ สำนักงานการประปานครหลวง และสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งแสดงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยทุกสิ้นเดือนการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค จะส่งบันทึกรายชื่อผู้มีบัตรฯ ที่ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาภายใต้วงเงินที่กำหนดให้กรมบัญชีกลาง เพื่อที่กรมบัญชีกลางจะนำเงินจากกองทุนฯ มาจ่ายคืนผ่านบัตรฯ ในช่องกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (ช่อง e-Money) ให้แก่ผู้มีบัตรฯ ต่อไป
			ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้มีบัตรฯ อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมผู้มีบัตรฯ ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการบรรเทาฯ ดังกล่าวให้มากขึ้น จึงเห็นควรปรับเปลี่ยนหลักการและการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาฯ และเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว จึงเห็นควรขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,018 ล้านบาท
		2. การจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
			วัตถุประสงค์ : เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 กองทุนฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาให้แก่ผู้มีบัตรฯ จำนวน 13.56 ล้านคน (ข้อมูลกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2564) ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาให้แก่ผู้มีบัตรฯ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการเพิ่มเบี้ยความพิการ ซึ่งเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับผู้มีบัตรฯ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นไปตามหลักการแนวทางการจัดประชารัฐสวัสดิการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 และการปรับสวัสดิการเบี้ยความพิการ สำหรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและผ่านคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 จึงเห็นควรขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
			ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 (ระยะเวลา 12 เดือน)
			รายละเอียด : การจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาให้แก่ผู้มีบัตรฯ มีรายละเอียด ดังนี้
				1) ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ประกอบด้วย (1) วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าประชารัฐและร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยให้วงเงิน 200 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับผู้มีสิทธิที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี และวงเงิน 300 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับผู้มีสิทธิที่มีรายได้ ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และ (2) วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด จำนวน 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน
				2) ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย (1) วงเงินค่าโดยสารรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ระบบ e-Ticket/รถไฟฟ้า จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน (2) วงเงินค่าโดยสารรถบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน และ (3) วงเงินค่าโดยสารรถไฟ จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน
				3) การเพิ่มเบี้ยความพิการ จากจำนวน 800 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นจำนวน 1,000 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและผ่านคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
			งบประมาณ : ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 18,815 ล้านบาท
		3. การดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (รอบใหม่)
			เหตุผลและความจำเป็น : การดำเนินโครงการลงทะเบียนฯ ที่ผ่านมายังมีกลุ่มตกหล่นที่ไม่สามารถเข้าถึงโครงการลงทะเบียนฯ ได้ อีกทั้งโครงการลงทะเบียนฯ ได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะหนึ่ง ซึ่งอาจไม่สะท้อนความเป็นผู้มีรายได้น้อย ณ เวลาปัจจุบัน ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นวงกว้าง ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจของผู้มีรายได้น้อย
			สาระสำคัญ : เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัวผู้มีรายได้น้อย และมีข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Data) ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐจึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการลงทะเบียนฯ (รอบใหม่) ซึ่งจากสถานการณ์ COVID-19 คาดว่าจะมีผู้ผ่านคุณสมบัติผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนฯ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อรองรับกระบวนการลงทะเบียนดังกล่าว จึงเห็นควรใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
			รายละเอียด : ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการลงทะเบียนฯ (รอบใหม่) ประกอบด้วย
				1) ค่าใช้จ่ายสำหรับการรับลงทะเบียนของหน่วยงานรับลงทะเบียน ได้แก่ กรมบัญชีกลาง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรมการปกครอง กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา
				2) ค่าใช้จ่ายในการผลิตและบริหารจัดการบัตรฯ
			งบประมาณ : ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,642 ล้านบาท
		4. การจัดสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาสำหรับผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (รอบใหม่)
			วัตถุประสงค์ : เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กองทุนฯ คาดว่าจะดำเนินโครงการลงทะเบียนฯ (รอบใหม่) ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นวงกว้าง ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจของผู้มีรายได้น้อย อาจทำให้มีผู้มีรายได้น้อยที่ผ่านคุณสมบัติของโครงการลงทะเบียนฯ (รอบใหม่) จำนวนเพิ่มมากขึ้น
			ดังนั้น เพื่อรองรับจำนวนผู้มีบัตรฯ ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นภายใต้โครงการลงทะเบียนฯ (รอบใหม่) จึงเห็นควรขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาให้แก่ผู้มีบัตรฯ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการเพิ่มเบี้ยความพิการ
			รายละเอียด : การจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาให้แก่ผู้มีบัตรฯ เป็นไปตามรูปแบบเดิมที่ได้มีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
				1) ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ประกอบด้วย (1) วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าประชารัฐและร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยให้วงเงิน 200 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับผู้มีสิทธิที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี และวงเงิน 300 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับผู้มีสิทธิที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และ (2) วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด จำนวน 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน
				2) ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย (1) วงเงินค่าโดยสารรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ระบบ e-Ticket/รถไฟฟ้า จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน (2) วงเงินค่าโดยสารรถบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน และ (3) วงเงินค่าโดยสารรถไฟ จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน
				3) การเพิ่มเบี้ยความพิการ จากจำนวน 800 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นจำนวน 1,000 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและผ่านคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
			งบประมาณ : ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 4,530,655,400 บาท
		ผลกระทบ
		1. สามารถบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาให้แก่ผู้มีบัตรฯ อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมผู้มีบัตรฯ ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการบรรเทาฯ ดังกล่าวให้มากขึ้น
		2. สามารถบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับผู้มีบัตรฯ โดยการจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาให้แก่ผู้มีบัตรฯ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
		3. สามารถดำเนินโครงการลงทะเบียนฯ (รอบใหม่) ซึ่งเป็นการเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัว ผู้มีรายได้น้อย และมีข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Data) ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐ
		4. สามารถบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับผู้มีบัตรฯ โดยการจัดสรรสวัสดิการแบบไม่กำหนดระยะเวลาให้แก่ผู้มีบัตรฯ ซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยภายใต้โครงการลงทะเบียนฯ (รอบใหม่) ที่คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่ม           มากขึ้น

31. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม                พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 ดังนี้
		เห็นชอบกรอบแผนงานหรือโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พร้อมทั้งมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกรอบแผนงานหรือโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามขั้นตอนต่อไป
		สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง
		คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 ซึ่งมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการฯ ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาความเหมาะสมของกรอบแผนงานหรือโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (กรอบแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้
		1. เหตุผลและความจำเป็น
			1.1 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทวีความรุนแรงและขยายขอบเขตไปในหลายประเทศทั่วโลกอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม โดยประเทศไทยเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน สังคม และผู้ประกอบการธุรกิจอย่างรุนแรง โดยคาดว่าเมื่อมีการกระจายการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รุนแรงในบางพื้นที่ของประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ในขณะเดียวกับที่การขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐอันเนื่องมาจากการดำเนินแผนงาน/โครงการที่มีส่วนช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) ในช่วงที่ผ่านมาได้ทยอยส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
			1.2 อย่างไรก็ตาม แรงหน่วงจากสถานการณ์แพร่ระบาดตามคลัสเตอร์ต่าง ๆ ที่ยังคงอยู่ ส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจโดยเฉพาะรายย่อยจึงมีแนวโน้มประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเพิ่มขึ้น นำไปสู่ปัญหาการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้สินท่ามกลางการว่างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและการไม่มีโอกาสเข้าสู่ตลาดการจ้างงาน ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและความสามารถในการชำระหนี้ในระยะต่อไปมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ภาคบริการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องยังคงได้รับผลกระทบรุนแรงจากการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ประกอบกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงต่อไป จำเป็นต้องมีการเตรียมดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บเกี่ยวโอกาสและเร่งการฟื้นตัวจากสถานการณ์แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระดับโลกดังกล่าว
			1.3 ด้วยสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น การดำเนินแผนงาน/โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมตามบัญชีแนบท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 170,000 ล้านบาทในระยะถัดไป จึงถือเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญของภาครัฐที่จะช่วยให้หน่วยงานขอวรัฐสามารถดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่จะมีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระดับพื้นที่ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวมให้ฟื้นตัวและสามารถกลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัดให้โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวยังจำเป็นต้องคำนึงถึงความจำเป็นและคุ้มค่าในการใช้จ่ายภายใต้แนวโน้มสถานการณ์ที่จะคลี่คลายไปในแต่ละช่วงเวลาด้วย
		2. หลักการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
		รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนและควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ผลโดยเร็วที่สุด ในขณะเดียวกับที่จะต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลายปี 2564 จนถึงปี 2565 โดยอาศัยอำนาจของพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ขับเคลื่อนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกระดับทั้งระดับสถานประกอบการทั่วไป ธุรกิจชุมชน ครัวเรือน หรือระดับบุคคล สามารถเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานที่เป็นจุดเน้นสำคัญ คือ
			2.1 เพื่อรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการ และส่งเสริมการจ้างงาน โดยรักษากิจการในภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือธุรกิจชุมชน สร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชนในชุมชนพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
			2.2 เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการในสาขาที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบและมีศักยภาพในการพัฒนา และสามารถกระจายผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนในระดับฐานราก
			2.3 เพื่อกระตุ้นการบริโภค กระตุ้นตลาด และพยุงอุปสงค์ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
		3. ขอบเขตของโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
			แผนงาน/โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มีลักษณะ เพื่อเป้าหมายอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
เป้าหมาย	ลักษณะแผนงาน/โครงการ
1. เพื่อรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและส่งเสริมการจ้างงานของสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และการจ้างงานในชุมชน	แผนงาน/โครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้สามารถมีสภาพคล่องเพียงพอในการรักษาการจ้างงานเดิม หรือแผนงาน/โครงการที่ช่วยให้เกิดการจ้างงานใหม่ และการจ้างงานต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ ในสาขาที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบและมีศักยภาพในการพัฒนา และสามารถกระจายผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนในระดับฐานราก	แผนงาน/โครงการเพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิต ยกระดับประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิตและบริการโดยมีการประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งการลงทุนที่สามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงตลาดของผู้ประกอบการโดยเฉพาะระดับชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก
3. เพื่อกระตุ้นการบริโภค กระตุ้นตลาด และพยุงอุปสงค์ให้กับธุรกิจต่าง ๆ	แผนงาน/โครงการเพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนหรือครัวเรือน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคในระบบเศรษฐกิจ และสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
กรอบการจัดสรรวงเงิน (เบื้องต้น) ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ลักษณะโครงการ	วงเงิน (ล้านบาท)
1. การรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการ และส่งเสริมการจ้างงานฯ	70,000
2. การลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ และ/หรือกระตุ้นการบริโภค กระตุ้นตลาด และพยุงอุปสงค์ให้กับธุรกิจต่าง ๆ	100,000
รวม	170,000
		4. กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากการดำเนินแผนงานหรือโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมได้แก่ สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการทั่วไป แรงงานในระบบ ประชาชนทั่วไป เกษตรกร/สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร) วิสาหกิจชุมชน ผู้ว่างงาน และวัยแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน
		5. กลุ่มเป้าหมายในการเสนอโครงการ
		ตามข้อ 12 วรรคสองของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ได้กำหนดให้ ?หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด? เป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอโครงการที่มีความสอดคล้องกับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่มีรายละเอียดข้อมูลครบถ้วนเสนอ สศช. เพื่อรวบรวมและจัดทำความเห็นเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอน โดยหน่วยงานของรัฐต้องจัดทำข้อเสนอโครงการพร้อมทั้งต้องส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่ รวมทั้งต้องเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนในพื้นที่ และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม เช่น ภาคเอกชน มูลนิธิ และภาควิชาการ ให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมและหรือจัดทำข้อเสนอโครงการที่สอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานผ่านหน่วยงานได้ ทั้งนี้ กรณีที่หน่วยงานของรัฐจะจัดทำข้อเสนอโครงการที่กำหนดให้มีการให้เงินอุดหนุนแก่วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ หรือองค์กรภาคประชาชน หน่วยงานของรัฐจะต้องกำหนดให้วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ หรือองค์กรภาคประชาชน แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพในการดำเนินโครงการและภาระหน้าที่ของวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ หรือองค์กรภาคประชาชนที่มีต่อข้อเสนอโครงการ อาทิ สัดส่วนของเงินร่วมจ่ายหรือสมทบ การบำรุงรักษาเครื่องมือ พร้อมทั้งแสดงเอกสารและหลักฐานที่ชัดเจน เพื่อประกอบการพิจารณาความพร้อมของวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ หรือองค์กรภาคประชาชนว่าจะสามารถดำเนินโครงการที่เสนอได้อย่างยั่งยืน
		6. ลักษณะของข้อเสนอโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
			6.1 โครงการที่มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 13 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ โครงการที่เสนอจะต้องเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
			6.2 โครงการที่มีการกำหนดกิจกรรมการดำเนินโครงการที่ยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยจะต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานที่เปิดเผยต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง
		7. การจัดทำรายละเอียดข้อเสนอโครงการ
			หน่วยงานของรัฐ ต้องดำเนินการจัดทำข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 13 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้ (1) รายละเอียดโครงการตามแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเอกสารประกอบ ได้แก่ แบบรายงานการประเมินความเสี่ยงการทุจริตฯ แบบรูปรายการ ปร.4 - ปร.5 แบบแสดงรายละเอียดงบประมาณ โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ http://thaime.nesdc.go.th/loanact/ ทั้งนี้ การจัดทำรายละเอียดงบประมาณโครงการ ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดงบประมาณรายจ่ายแต่ละรายการ ให้เป็นไปตามบัญชีราคามาตรฐานของสำนักงบประมาณ และ (2) กรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)
		8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
			8.1 ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดได้รับการช่วยเหลือเพื่อรักษาระดับการจ้างงาน ประมาณ 390,000 ราย
			8.2 เกิดการยกระดับประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงตลาดของผู้ประกอบการโดยเฉพาะระดับชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนและท้องถิ่น ในท้ายที่สุด
			8.3 สามารถพยุงระดับการบริโภคภายในประเทศเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาด
		9. กรอบระยะเวลาดำเนินการ
			กำหนดให้มีการแบ่งช่วงการพิจารณากลั่นกรองเพื่ออนุมัติให้ใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 อย่างน้อย 2 รอบ โดยรอบที่ 1 จะเริ่มประมาณตุลาคม 2564 กรอบวงเงินประมาณ 100,000 - 120,000 ล้านบาท และรอบที่ 2 จะเริ่มประมาณมีนาคม 2565 กรอบวงเงินประมาณ 50,000 - 70,000 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถรองรับการดำเนินการตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีความจำเป็นต้องปรับกรอบวงเงินกู้ที่กำหนดไว้ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อการตามมาตรา 5 (1) (2) และ (3) ก็ได้
			ทั้งนี้ กรณีที่หน่วยงานของรัฐมีความประสงค์จะจัดส่งข้อเสนอโครงการเบื้องต้น (Project brief) ให้ สศช. พิจารณาเบื้องต้น สามารถจัดส่งข้อเสนอโครงการ (ตามรูปแบบข้อ 7.) โดยผ่านความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยงานจัดส่งให้ สศช. ภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ โดยกรณีที่ สศช. พิจารณาเห็นว่าข้อเสนอโครงการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับจุดเน้นตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ในแต่ละช่วงเวลาจะมีหนังสือแจ้งกลับไปยังหน่วยงานฯ เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

32. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของกองทุนการออมแห่งชาติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 505.3940 ล้านบาท ให้แก่กองทุนการออมแห่งชาติ  (กอช.) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายการเบิกจ่ายเงินสมทบให้กับสมาชิก กอช. ตามกฎหมายพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

ต่างประเทศ

33. เรื่อง ขอความเห็นชอบมอบบ้านไทยในโครงการร่วมงาน The International Horticultural Exhibition 2019 (Beijing Expo 2019) ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการมอบบ้านไทยที่กรมส่งเสริมการเกษตรจัดสร้างในโครงการร่วมงาน The International Horticultural  Exhibition 2019 (Beijing Expo 2019) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ให้กับที่ว่าการเขตเหยียนชิ่ง เทศบาลนครปักกิ่ง จีน  ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
		กระทรวงการคลังขอเสนอมอบ (ให้) บ้านไทย (Thailand Pavilion) พร้อมวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ที่ประจำในบ้านไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562
และกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมส่งเสริมการเกษตร) ได้ดำเนินการจัดสร้างเพื่อใช้ในโครงการร่วมงาน The International Horticultural Exhibition 2019 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งงานดังกล่าวได้เสร็จสิ้นลงแล้ว (งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 7 ตุลาคม 2562) ให้กับที่ว่าการเขตเหยียนชิ่ง เทศบาลนครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อนำไปดูแลบำรุงรักษาและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่อไป

34. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษา
เอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 8 (8th  Asia - Europe Meeting of Ministers for Education : ASEMME 8) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2564  โดยใช้งบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเห็นชอบต่อ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย- ยุโรป ปี พ.ศ. 2573 (ASEM Education 2030 Strategy Paper) [(ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ]  โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนร่วมให้การรับรอง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย ? ยุโรป ปี พ.ศ. 2573 (ASEM Education 2030 Strategy Paper) ตามที่ ศธ.เสนอ
		ในการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2562                 ณ กรุงบูคาเรสต์ สาธารณรัฐโรมาเนีย ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานสำหรับการพัฒนาอาเซมและกระบวนการศึกษาของอาเซมในอนาคต รวมทั้งเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 8 โดย ศธ. มีกำหนดจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 8 และการประชุมที่เกี่ยวข้องร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซม (ASEM Education Secretariat : AES) ระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2564 โดยมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับการประชุมดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ	รายละเอียด
ประเด็นหารือ	1) พิจารณาแนวทางการดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะในประเด็นการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนการพัฒนาโอกาสในการสร้างเสริมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้ผู้เรียน โดยมี                 แนวทางการดำเนินงาน เช่น (1) การเชื่อมโยงระหว่างประชาชน (People - to - People Connectivity) (2) เวทีการหารือเชิงนโยบาย (Policy Dialogue) (3) การแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ และแนวปฏิบัติที่ดี (Exchanges of Knowledge, Expertise and Good Practices) (4) ความร่วมมือด้านการวิจัยในมิติของการศึกษา (Collaborative Research on Education) และ (5) การทำงานร่วมกับองค์การระดับพหุภาคีและกระบวนการทำงาน (Synergies with Other Multilateral Organisations and Processes) เป็นต้น
2) รับรอง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน
ทางวิชาการและความร่วมมือระหว่างภูมิภาค ส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอบรม
ที่ครอบคลุมและมีคุณภาพผ่านความสนใจร่วมกันระหว่างภาคีเอเชีย - ยุโรป และสนับสนุนความเชื่อมโยงระดับประชาชน ซึ่งได้ระบุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives) โดยมีการดำเนินความร่วมมีอระหว่างประทศสมาชิก เช่น (1) เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันผ่านการเคลื่อนย้ายและแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น (Enhancing Connectivity Between Asia and Europe by Boosting Inclusive and Balanced Mobility and Exchanges) (2) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการศึกษาและฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา (Promoting LLL, Including TVET) และ              (3) สนับสนุนการพัฒนาทักษะข้ามสาขา (Fostering Transversal Skills) เป็นต้น
3) พิจารณากิจกรรมเพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของอาเซม
เพื่อให้ครอบคลุมและบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้
4) รับทราบความก้าวหน้าและติดตามผลการดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษา
ระหว่างประเทศสมาชิก

ระยะเวลาและสถานที่	กำหนดการจัดประชุมระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2564 ในรูปแบบการประชุมทางไกล
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ	1) เป็นการแสดงความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นผู้นำในด้านการศึกษา
กับประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรป รวมถึงแสดงศักยภาพของประเทศไทย
ในการพลิกฟื้นวิกฤตด้านสุขภาพของโลกให้เป็นโอกาสในการพัฒนาการศึกษา
และการเรียนรู้ ตลอดจนใช้ประโยชน์จากความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซม
ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21                  เพื่อมุ่งสู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง
2) ช่วยผลักดันบทบาทนำของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ ขยายหุ้นส่วน
ความร่วมมือ โดยเฉพาะด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา	ศธ. จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี 2565 จากงบประมาณของสำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ




35.  เรื่อง สรุปผลการเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี หัวข้อ Adaptation and Resilience ในห้วงการประชุม Leaders Summit on Climate ผ่านสี่ออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี หัวข้อ Adaptation and Resilience ในห้วงการประชุม Leaders Summit on Climate ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2564 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว  ตามที่ ทส. เสนอ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
		1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (1) การจัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 (2) การจัดทำพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (3) การดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในสาขา
การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร โดยได้มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำเนินโครงการด้านการเกษตรที่สามารถเพิ่มรายได้และความสามารถในการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรได้ (4) การดำเนินโครงการ Thai Rice NAMA ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุน NAMA Facility เพื่อทดลองใช้เทคโนโลยีปลูกข้าวแบบปล่อยคาร์บอนต่ำเพื่อส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน นอกจากนี้ ได้แสดงความมุ่งมั่น
ของประเทศในการยกระดับการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างยั่งยืนด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว  (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในเวทีอาเซียนและเอเปคต่อไป
		2. สหรัฐอเมริกาประกาศการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined contribution: NDC) ฉบับใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50-52 ภายในปี ค.ศ. 2030 และจะมีการเพิ่มงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่ประเทศกำลังพัฒนาเป็นสองเท่า  นอกจากนี้ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง
ได้แถลงเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น สหภาพยุโรปยืนยันเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 สหราชอาณาจักรจะเพิ่มเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นร้อยละ 78 ภายในปี ค.ศ. 2035

36. เรื่อง ร่างปฏิญญาและมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (ปฏิญญาครบรอบ 25 ปี)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาและมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (ปฏิญญาครบรอบ 25 ปี ) [ร่างปฏิญญาฯ] ทั้งนี้ หากมีการแก้ไข               ร่างปฏิญญาดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
[จะมีการรับรองร่างปฏิญญาฯ ในการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (สนธิสัญญาฯ) ประจำปี ค.ศ. 2021 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 (76th session of the United Nations General Assembly ? UNGA 76)]
สาระสำคัญของเรื่อง
1. สนธิสัญญาฯ เป็นตราสารระหว่างประเทศที่สำคัญในกรอบการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ที่สมัชชาสหประชาชาติได้รับรองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2539 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อห้ามทดลองอาวุธและระเบิดนิวเคลียร์อื่น ๆ ไม่ว่าในสภาวะแวดล้อมใด (อวกาศส่วนนอก อากาศ ใต้น้ำ และใต้ดิน) และมิให้มีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ให้ก้าวหน้า โดยปัจจุบันสนธิสัญญาฯ มี 170 รัฐให้สัตยาบันแล้ว ในส่วนของประเทศไทยได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาฯ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561 อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาฯ ยังไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากข้อ 14 ของสนธิสัญญาฯ ระบุว่าสนธิสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับเมื่อรัฐที่มีศักยภาพทางนิวเคลียร์ 44 รัฐ ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 2 ให้สัตยาบันแล้วทั้งหมด (ไม่รวมถึงประเทศไทย) ซึ่งปัจจุบันมี 8 รัฐที่ยังไม่ได้ลงนามหรือให้สัตยาบัน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) สาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (ปากีสถาน) สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (อิหร่าน) สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (อียิปต์) รัฐอิสราเอล (อิสราเอล) และสหรัฐอเมริกา (อเมริกา)
2. การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยมีเลขาธิการสหประชาชาติ ในฐานะผู้เก็บรักษาสนธิสัญญาฯ เป็นผู้จัดการประชุม ซึ่งในปีนี้มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงระหว่างการประชุม UNGA 76 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐผู้ให้สัตยาบันและรัฐผู้ลงนามสนธิสัญญาฯ ได้ร่วมกันหารือเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการที่เป็นรูปธรรม เพื่อทำให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ และเพื่อส่งเสริมการอนุวัติตามพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาฯ โดยคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับองค์การสนธิสัญญาฯ (คณะกรรมาธิการฯ) จะได้เวียนร่างปฏิญญาฯ ให้รัฐผู้ให้สัตยาบันและ                   รัฐผู้ลงนามสนธิสัญญาฯ พิจารณาเพื่อรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมดังกล่าวต่อไป
3. ร่างปฏิญญาฯ มีพื้นฐานมาจากร่างปฏิญญาและมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (17 กันยายน 2562) เห็นชอบแล้ว โดยร่างปฏิญญาฯ ฉบับนี้เป็นการปรับปรุงถ้อยคำเพื่อทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันและเพิ่มข้อความเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการครบรอบ 25 ปี ของ                 การเปิดให้ลงนามในสนธิสัญญาฯ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น	สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์	เพื่อเน้นย้ำเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของรัฐผู้ให้สัตยาบันและรัฐผู้ลงนามสนธิสัญญาฯ  ที่จะร่วมกันรักษาไว้ซึ่งพลวัตในการส่งเสริมและผลักดันการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ
จำนวนรัฐที่ลงนาม
หรือให้สัตยาบัน	- ลงนามแล้ว 185 รัฐและให้สัตยาบันแล้ว 170 รัฐ (ในจำนวนนี้รวมถึงรัฐภายใต้ภาคผนวก 2              ที่ลงนามและให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาฯ แล้ว จำนวน 36 รัฐ)
- ปัจจุบันคงเหลืออีก 8 รัฐ ที่การให้สัตยาบันจำเป็นต่อการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ โดยแบ่งประเภทได้ดังนี้
(1) รัฐที่ลงนามในสนธิสัญญาฯ แล้ว (5 รัฐ) ได้แก่ จีน อิหร่าน อียิปต์ อิสราเอล และอเมริกา
(2) รัฐที่ยังไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญา (3 รัฐ) ได้แก่ เกาหลีเหนือ อินเดีย และปากีสถาน
ข้อเรียกร้อง	(1) เรียกร้องให้ 8 รัฐข้างต้น ลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาฯ โดยไม่ล่าช้าไปกว่านี้ เนื่องจากสนธิสัญญาฯ ได้เปิดให้ลงนามมากว่า 25 ปี ซึ่งรัฐผู้ให้สัตยาบันและรัฐผู้ลงนามยินดีต่อโอกาสที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับรัฐที่ยังมิได้ลงนามในสนธิสัญญาฯ จึงสนับสนุนให้รัฐเหล่านี้เข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ในอนาคตของคณะกรรมาธิการฯ ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์
(2) ให้ทุกรัฐงดเว้นการทดลองการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์หรือการระเบิดนิวเคลียร์อื่น ๆ การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ใหม่ ๆ และการกระทำใด ๆ ที่จะบั่นทอนเป้าหมาย เจตจำนง การอนุวัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาฯ และการคงไว้ซึ่งการระงับการทดลอง การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ โดยเน้นย้ำว่ามาตรการเหล่านี้มิได้มีผลผูกพันทางกฎหมายที่จะยุติการทดลองอาวุธนิวเคลียร์และการระเบิดนิวเคลียร์อื่น ๆ อย่างถาวรในแบบเดียวกับที่จะสามารถบรรลุผลได้ด้วยการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ
การสนับสนุน
เพื่อให้บรรลุ
ตามวัตถุประสงค์	(1) ให้การสนับสนุนด้านการเมือง เทคนิค และการเงิน ที่จำเป็นต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างครบถ้วน มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างระบอบการตรวจพิสูจน์ที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งเป็นไปตามพันธกรณีของสนธิสัญญา
(2) สนับสนุนและส่งเสริมข้อริเริ่มและกิจกรรมร่วมกันในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี เพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับและความเป็นสากลของสนธิสัญญาฯ
(3) สนับสนุนการจัดสัมมนาและการประชุมระดับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้             ต่อบทบาทที่สำคัญของสนธิสัญญาฯ และสนับสนุนการแบ่งปันประสบการณ์ในภูมิภาค
(4) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การระหว่างรัฐและองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการสนับสนุนสนธิสัญญาฯ รวมถึงการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ


37.  เรื่อง  ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของราชการพลเรือนภายใต้ความท้าทายใหม่
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของราชการพลเรือนภายใต้ความท้าทายใหม่ (ASEAN Declaration on Fostering the Civil Service?s Adaptability to the New Challenges) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักงาน ก.พ. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมรายสาขาภายใต้เสาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 26 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
		ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของราชการพลเรือนภายใต้ความท้าทายใหม่ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำภาคราชการพลเรือนของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในการสร้างราชการพลเรือนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและภูมิภาค ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศจะต้องให้การรับรองในฐานะเอกสารผลลัพธ์สำคัญภายใต้กรอบความร่วมมือภายใต้เสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน สาขาราชการพลเรือน ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 26 ผ่านระบบประชุมทางไกลในเดือนกันยายน 2564 (โดยไม่มีการลงนาม) และจะนำเสนอต่อผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อรับทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 ต่อไป
สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ สรุป ดังนี้
		1. ส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวยืดหยุ่นในราชการพลเรือน เพื่อนำไปสู่นโยบายและมตรการที่ตอบนสนองต่อสภาพแวดล้อมและความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสทธิภาพและทันเวลา และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีเพื่อประโยชน์ของประชาชนอาเซียน
		2. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของข้าราชการพลเรือนอย่างต่อเนื่องผ่านเวทีและโครงการต่าง ๆ เช่น ศูนย์องค์ความรู้เฉพาะด้านอาเซียน และเครือข่ายสถาบันฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนอาเซียน เพื่อให้แน่ใจว่าความสามารถของข้าราชการพลเรือนจะสามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
		3. ปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการให้บริการสาธารณะผ่านการปรับปรุงให้มีความทันสมัย ปฏิรูป และลดความซับซ้อนของขั้นตอนการบริหารจัดการโดยเน้นการแก้ปัญหาคอขวดและข้อบกพร่อง            ต่าง ๆ และสร้างระบบเปิดเพื่อการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
		4. ส่งเสริมรัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมดิจิทัลในภูมิภาค และเร่งพัฒนานโยบายและกรอบกฎหมายสำหรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไปพร้อม ๆ กัน เพื่อใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ลดข้อจำกัดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
		5. ส่งเสริมความร่วมมือข้ามรายสาขาและข้ามเสา และการประสานงานในการส่งเสริมธรรมาภิบาลที่เอื้อต่อการสร้างประชาคมอาเซียนที่สร้างการมีส่วนร่วมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้ง ครอบคลุม ยั่งยืน ยืดหยุ่น และมีพลวัตต่อไป

38.  เรื่อง ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย ครั้งที่ 2
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบท่าทีไทย ตามข้อ 1 เพื่อใช้เป็นกรอบในการหารือสำหรับการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย ครั้งที่ 2 ทั้งนี้หากในการประชุมคณะทำงานร่วมฯ ดังกล่าว มีผลให้มีการตกลงในประเด็นอื่น ๆ ด้านเศรษฐกิจการค้าที่นอกเหนือจากข้อ 1 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่ายโดยไม่มีการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นมา ให้กระทรวงพาณิชย์และผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในภายหลัง รวมทั้งรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 2 ตามข้อ 2 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
		สาระสำคัญ
		1. ท่าทีไทยที่จะหยิบยกในการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ                 ยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission: EEC) ครั้งที่ 2 กระทรวงพาณิชย์ได้จัดการประชุมเตรียมการฝ่ายไทยกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (25 มิ.ย.2564) เพื่อพิจารณาประเด็นที่ฝ่ายไทยประสงค์จะผลักดันในการประชุมคณะทำงานร่วมฯ ครั้งที่ 2 และที่ประชุมเห็นควรให้ไทยมีท่าทีในประเด็นต่าง ๆ สรุป ดังนี้
			1.1 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และนโยบายทางเศรษฐกิจ รวมถึงการหาแนวทางความร่วมมือเพื่อขยายความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายโดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
			1.2 การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบาย กฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนที่เกี่ยวข้องและการหารือความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน  ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความสัมพันธ์และการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย รวมถึงติดตามความคืบหน้าของผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เช่น (1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานะปัจจุบันของนโยบาย และ/หรือสถานะการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย (2) การติดตามความคืบหน้าในการพิจารณาการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันที่เป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมคณะทำงานร่วมฯ ครั้งที่ 1  (3) การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมด้านกฎระเบียบและโอกาสทางการลงทุน และ (4) แนวทางการผลักดันและส่งเสริมความร่วมมือในสาขา       ต่าง ๆ โดยเฉพาะสาขาที่แต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญ และ/หรือมีความสนใจร่วมกันที่จะเอื้อต่อการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันได้ เช่น ด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) ด้านเกษตรอัจฉริยะและ BCG Model ในภาคเกษตรกรรม และโอกาสสำหรับความร่วมมือด้านยางพารา รวมถึงแนวทางความร่วมมือด้านวิชาการ การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องและการแนะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย
			1.3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรี โดยการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานะการจัดทำ FTA กับประเทศ/กลุ่มประเทศที่สาม รวมทั้งทิศทาง นโยบายและกระบวนการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอของแต่ละฝ่าย
		2. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วย รองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
		โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย ครั้งที่ 2 จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก Eurasian Economic Union (EAEU)  โดยเป็นเวทีหารือเพื่อการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาแนวทางการขยายความร่วมมือ โดยเฉพาะในสาขาที่สองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกันหรือเอื้อประโยชน์ต่อกัน
		ทั้งนี้ ไทยมีกำหนดที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย ครั้งที่ 2 ในวันที่ 27 กันยายน 2564 โดยเป็นการประชุมในรูปแบบวีดิทัศน์ทางไกล

39. เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี                 พ.ศ. 2564 (Ministerial WEF Statement 2021)
  		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2564 (Ministerial WEF Statement 2021) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ดังกล่าวในการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) (APEC Women and the Economy Forum: WEF) ในวันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ


  		สาระสำคัญ
  		กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอสรุปสาระสำคัญของร่างแถลงการณ์             การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2564 (Ministerial WEF Statement 2021) ดังนี้
  		1. แนวทางในการรับมือและฟื้นฟูจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ที่ส่งผลกระทบอย่างไม่ได้สัดส่วนต่อสตรีและเด็กหญิงในภูมิภาค รวมถึงการเพิ่มขึ้นของความรุนแรงทางเพศ ความเสี่ยง             ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ภาระงาน รวมทั้งงานการดูแล และความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ
  		2. ความพยายามในการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ค.ศ. 2040 และความมุ่งมั่นของผู้นำในการเป็นประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีความเป็นพลวัต ยืดหยุ่น และสงบสุข เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของทุกคน รวมถึงสตรีและผู้ที่ไม่ได้รับโอกาสในการแสดงศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ที่มีสตรีเป็นผู้นำ ความพยายามในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรีทางเศรษฐกิจให้ไปในทางเดียวกันกับวิสัยทัศน์การเจริญเติบโตที่ครอบคลุม
  		3. การดำเนินการตามแผนลาเซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม (ค.ศ. 2019 -2030) อย่างเต็มที่ โดยเน้นย้ำถึงประเด็นการเสริมพลังสตรีผ่านการเข้าถึงแหล่งทุนและตลาดการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในภาคแรงงานของสตรี การผลักดันให้สตรีเข้าถึงการเป็นผู้นำในทุกระดับ การตัดสินใจ การส่งเสริมสตรีด้านการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาทักษะอาชีพ รวมถึงการเข้าถึงโลกแห่งการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป และการเสริมพลังสตรีทางเศรษฐกิจ โดยการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
  		4. มาตรการในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรีทางเศรษฐกิจ                    การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจในระบบแก่สตรี                  การส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับสตรีและเด็กหญิง
  		5. การเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งภูมิภาคเอเปค


แต่งตั้ง

40. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
 		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เสนอคำสั่ง                       สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 239/2564 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ลงนามแล้วเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 โดยเป็นการแก้ไขคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำ                   สำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ              ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 โดยให้ยกเลิกความในข้อ 2.3.6 จากเดิม ?คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพนิรนาม? เป็น ?คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม?

41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
 		1. นายพงษ์พิศาล ชินสำราญ รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 13 สำนักงานปลัดกระทรวง
 		2. นายชูสิน วรเดช รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 สำนักงานปลัดกระทรวง
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

42. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง ดังนี้
 		1. นางอลิสา ปิ่นประเสริฐ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
 		2. นายกรณินทร์ กาญจนโนมัย ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
		3. นายยุทธนา สาโยชนกร ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
 		4. นายพยุงศักดิ์ ครเจริญ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ)             สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
		ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง            เป็นต้นไป

43. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอรับโอน นางศิริวรรณ สุคนธมาน รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว

44. เรื่อง ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้งนายกิตติกานต์ จอมดวง        จารุวรพลกุล ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตรา               เดือนละ 140,000 บาท รวมทั้งค่าตอบแทนพิเศษประจำปีและสิทธิประโยชน์อื่น ที่ผู้รับจ้างจะได้รับตามที่กระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว

45. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเสนอชื่อเป็นกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จำนวน 3 คน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
 		1. นายนรินทร์ โอภามุรธาวงศ์ 	สาขาการเงิน การบัญชี
		2. นายพิทักษ์ จรรยพงษ์ 	สาขาพลังงานด้านกิจการก๊าซธรรมชาติ
		3. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา	สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
	 	ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

46. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ด้านละหนึ่งคน ดังนี้
 		1. ศาสตราจารย์นันทวัฒน์ บรมานันท์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
 		2. ศาสตราจารย์ระพีพรรณ คำหอม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมสงเคราะห์
		3. ศาสตราจารย์อุดม รัฐอมฤต เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

47. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมจะเกษียณอายุราชการ และเพื่อการสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 2 ราย ดังนี้
		1. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
 		2. นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม
 		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 กันยายน 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ