สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 ตุลาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday October 19, 2021 18:34 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (19 ตุลาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    2.           เรื่อง           ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า                                                   (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           มาตรการช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ภายใต้ Flexible Plus Program
เศรษฐกิจ ? สังคม
                    4.           เรื่อง           การยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม           2550
                    5.           เรื่อง           การพิจารณาขยายเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเป็นการ                                                  ชั่วคราวในปี 2565
                    6.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำ

ครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2564

                    7.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า

ครั้งที่ 2/2564

                    8.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการฐานข้อมูล                                                  แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ?สร้างความเท่าเทียม ดูแลประชาชน                                        อย่างทั่วถึง ช่วยเหลือทันท่วงที? ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา
                    9.           เรื่อง           รายงานการประเมินผลการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน                                                             ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564
                    10.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเข้าถึงบทบัญญัติของ                                                  กฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย                                         การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภา
                    11.           เรื่อง           แนวคิดการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
                    12.           เรื่อง           แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี                                                            งบประมาณ พ.ศ. 2566
                    13.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                                        ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการ                                                  รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
                    14.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564
ต่างประเทศ
                    15.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญา Ministerial Declaration of the High-Level                                                   Conference on COVID-19
                    16.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (HLJC) ครั้งที่ 5
                    17.           เรื่อง            ผลการประชุมระดับสูงเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยความร่วมมือสายแถบและเส้นทาง                                         (Asia and Pacific High-Level Conference on Belt and Road                                                             Cooperation)
                    18.           เรื่อง            ผลการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ
                    19.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 27 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย                                        อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
                    20.            เรื่อง            บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านภาพยนตร์ระหว่างทบวงกิจการ                                                  ภาพยนตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและกระทรวงวัฒนธรรมแห่ง                                                            ราชอาณาจักรไทย
                    21.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญาไอจิ ค.ศ. 2030 ว่าด้วยการขนส่งที่เป็นมิตรต่อ                                                  สิ่งแวดล้อม : มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย (ค.ศ. 2021-2030)
                    22.           เรื่อง            การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการ                                                  ปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Leaders? Statement on                                         Advancing Digital Transformation in ASEAN)
                    23.            เรื่อง           ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 28
                    24.            เรื่อง            ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี                                         ครั้งที่ 3
                    25.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน

ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง

                    26.            เรื่อง           ขอความเห็นชอบการร่วมรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานใน                                        อาเซียนให้มีความสามารถในการแข่งขัน ปรับตัวได้ และมีความคล่องตัวเพื่อ                                                  รองรับอนาคตของงาน
                    27.           เรื่อง           การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ                                                  ภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 16                                                   (CMP 16) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 3 (CMA 3) และการ                                                  ประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    28.           เรื่อง           (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของ                                                  ประเทศไทย (Thailand?s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission                                                   Development Strategy)

แต่งตั้ง
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก                                                  พระราชดำริ)
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การ                                        บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396










กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ทส. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                     1. โดยที่พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้              (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่า จะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน                  ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม กรมป่าไม้จึงเห็นสมควรกำหนดให้ไม้กฤษณาเป็นไม้หวงห้าม เนื่องจากไม้กฤษณาที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ มีการลักลอบตัดโค่นเพื่อเอาชิ้นกฤษณาที่อยู่ในเนื้อไม้ ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ชิ้นไม้กฤษณาและกฤษณาเป็นของป่าหวงห้ามลำดับที่ 4 ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2530 แล้ว และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเห็นว่า ปัจจุบันไม้เทียนทะเลกำลังเป็นที่นิยมของนักสะสมต้นไม้ ทำให้มีการลักลอบขุดจากที่ดินของรัฐไปจำหน่าย ทำให้ไม้ชนิดนี้ซึ่งมีจำนวนน้อยในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว และไม้เทียนทะเลไม่ได้อยู่ในบัญชีไม้หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ทำให้ไม่มีกฎหมายคุ้มครองโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่จึงดำเนินการได้เพียงในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุก ทำลายป่าเท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองการดำรงพันธุ์ของไม้เทียนทะเลในธรรมชาติ และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมไม้หวงห้ามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีบทกำหนดโทษสูงขึ้นมาบังคับใช้แก่ผู้ที่ลักลอบทำลายสร้างความเสียหายแก่ไม้เทียนทะเลในพื้นที่ป่า จึงสมควรกำหนดให้ไม้เทียนทะเลเป็นไม้หวงห้ามด้วย
                     2. ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้กฤษณาและการลักลอบขุดไม้เทียนทะเลที่ขึ้นตามป่าธรรมชาติ เพื่อปกปักษ์รักษาให้คงอยู่ต่อไป จึงสมควรออกร่างพระราชกฤษฎีกกำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                     3. ทส. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แล้ว ผ่านเว็บไซต์ของสำนักกฎหมาย กรมป่าไม้ (www.forest.go.th/law) ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2563             ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 เป็นระยะเวลา 31 วัน และในคราวประชุมคณะกรรมการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ กรมป่าไม้ ครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2563 และครั้งที่ 14/2563 เมื่อวันพุธที่ 17 มิถุนายน 2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.                 ตามข้อ 2. และเห็นชอบการกำหนดให้ไม้กฤษณาเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา และกำหนดให้           ไม้เทียนทะเลเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ เนื่องจากมีสถานการณ์ความรุนแรงของการลักลอบขุด              เพื่อไปจำหน่าย
                     4. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวตามข้อ 3. และให้ ทส. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     1. กำหนดเพิ่มเติมให้ไม้บางชนิดในป่า ในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรตามที่ระบุไว้ในบัญชี     ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ได้แก่ (1) ให้ไม้กฤษณาเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา และ (2) ให้ไม้เทียนทะเลเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ
                     2. กำหนดให้นำรายการไม้หวงห้ามตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มากำหนดเป็นไม้หวงห้ามในรูปแบบพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดให้ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยุงแกลบ                ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ซิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ              ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ในลำดับที่ 53 ของบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 และกำหนดให้ไม้สัก ไม้ยาง และไม้ยางนาเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.              ไม้หวงห้ามธรรมดา ตามบัญชีท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้
                     3. กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงประเภทไม้หวงห้ามโดยผลแห่งบทบัญญัติตามพระราชกฤษฎีกานี้              ไม่กระทบกระเทือนการอนุญาตให้ทำไม้ในแปลงหนึ่งแปลงใดในพื้นที่ป่า ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับหรือใบอนุญาตทำไม้ที่ได้ออกให้ไว้ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปเท่ากำหนดเวลาการอนุญาตหรืออายุใบอนุญาตแล้วแต่กรณี
                    4. กำหนดให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. เรื่อง ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
                    1. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ของสภาผู้แทนราษฎร และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ
                    2. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำเนินการปรับแก้ไขเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ ตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ของวุฒิสภา แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ปรับแก้ไขตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ในการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    3. ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ                          สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาดังกล่าว ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสม และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง                    เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 โดยแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของหอการค้าให้ดำเนินภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการค้า (เช่น การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางการค้า) การเพิ่มข้อยกเว้นเพื่อให้หอการค้าสามารถประกอบวิสาหกิจเพื่อส่งเสริมการค้าได้มากขึ้น และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเลิกหอการค้าเพื่อให้                มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยกเลิกการกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาและอยู่ระหว่างดำเนินการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
                    2. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ของ                 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เห็นว่าเมื่อยกเลิกค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 ตามมาตรา 7 ของร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีความสอดคล้องกันกับบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีข้อสังเกตว่ากระทรวงพาณิชย์ ควรเปิดโอกาสให้หอการค้าได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและนำโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่              การปฏิบัติ และร่วมกันพิจารณาแนวทางการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทุกรายต้องเป็นสมาชิกของหอการค้า การพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต โดยให้มีการสนับสนุนงบประมาณ การจัดสัมมนาให้ความรู้แก่สมาชิกหอการค้าอย่างต่อเนื่อง และกระทรวงการคลังควรพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมแก่สมาชิกหอการค้าและผู้บริจาคเงินช่วยเหลือโครงการและกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะของหอการค้า รวมทั้งเห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยวางแผนและจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือให้แก่หน่วยงานส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน




3. เรื่อง มาตรการช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ภายใต้ Flexible Plus Program
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับ            บัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน และร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการในเรื่องนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตน
                    3. ให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กก. เสนอว่า
                    1. บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 โดยมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดได้ดำเนินโครงการบัตรสมาชิกภายใต้                 ชื่อโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาพำนักระยะยาวในประเทศไทย โดยสมาชิกบัตรพิเศษดังกล่าวจะได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นพิเศษ Privilege Entry Visa (PE) ซึ่งอยู่ในกลุ่มการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa) อันส่งผลให้ชาวต่างชาติที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทดังกล่าวไม่สามารถประกอบธุรกิจหรือทำงานได้ โดยสมาชิกบัตรพิเศษจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามประเภทของบัตรสมาชิกพิเศษ เช่น การบริการอำนวยความสะดวกที่สนามบิน บริการรถรับส่ง การตรวจสุขภาพประจำปีส่วนลดร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรม เป็นต้น
                    2. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบ               ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ บริษัทฯ จึงได้เล็งเห็นโอกาสในการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้วยการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มศักยภาพสูงภายใต้แนวคิดที่จะขยายสิทธิประโยชน์ตามข้อ 1 ให้รองรับกลุ่มนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีคุณภาพและมีกำลังซื้อสูง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องผ่านบัตรสมาชิกพิเศษในรูปแบบของโครงการ Flexible Plus Program ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องลงทุนในประเทศไทยตามประเภทของการลงทุนที่บริษัทฯ กำหนด ในมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับจากเข้าร่วมโครงการ และให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถขอรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ในราชอาณาจักรได้ ซึ่งโดยปกติคนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานต้องมีวีซ่า NON-IMMIGRANT-B โดยคนต่างด้าวต้องให้นายจ้างหรือสถานประกอบการจัดเตรียมและส่งสัญญาจ้างพร้อมเอกสารการดำเนินงานธุรกิจของสถานประกอบการนำไปยื่นต่อสถานทูตไทยในประเทศของคนต่างด้าวพิจารณาออกวีซ่า โดยเมื่อคนต่างด้าวได้รับวีซ่านั้นแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน
                    3. ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (คบศ.) ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้ ททท. หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายละเอียดของโครงการ Flexible Plus Program ตามข้อ 2         ในการให้สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นพิเศษให้สามารถขอใบอนุญาตทำงาน สำหรับคนต่างด้าวในราชอาณาจักรซึ่งมิใช่งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่                  ในราชอาณาจักร ตามสิทธิประโยชน์ของบัตรสมาชิกพิเศษภายใต้เงื่อนไขของโครงการดังกล่าว ซึ่ง ททท. ได้จัดประชุมหารือรายละเอียดของโครงการดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมมีมติสรุปได้ดังนี้
                              3.1 เห็นชอบหลักการในเงื่อนไขการลงทุนเพื่อเข้าร่วมโครงการจำนวน 3 ประเภท ได้แก่ (1) การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ (2) การลงทุนในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ในประเทศไทย และ                 (3) การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยต้องมีเอกสารหลักฐานในการลงทุนตลอดระยะเวลาที่ร่วมโครงการ
                              3.2 เห็นชอบหลักการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สำหรับสมาชิกบัตรพิเศษที่ได้ลงทุนตามเงื่อนไขของโครงการ โดยการดำเนินการขอรับใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้คุณสมบัติและอายุของใบอนุญาตทำงานไม่เกิน 2 ปี และต้องรายงานตัวทุก 90 วัน
                              3.3 เห็นชอบในการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถขอรับใบอนุญาตทำงานตามเงื่อนไขของโครงการได้
                    4. ในคราวประชุม คบศ. ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้ ททท. ประสานงานกับทีมปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อเชิญชวนทั้งบริษัทเอกชนในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพิจารณารายละเอียดของหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ผู้เข้าร่วมโครงการ Flexible Plus Program ให้มีความสอดคล้องกับแผนการดึงดูดกลุ่มประชากรที่มีความมั่งคั่งสูงตามข้อเสนอของทีมปฏิบัติการเชิงรุกฯ โดยเมื่อได้ข้อยุติแล้ว ให้ ททท. นำเสนอเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไปซึ่งได้ข้อสรุปว่า รายละเอียดหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ของโครงการสอดคล้องกับแผนการดึงดูดกลุ่มประชากรที่มีความมั่งคั่งสูงแล้ว โดยคาดการณ์ว่าหากมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ Flexible Plus Program จำนวน 10,000 ราย จะทำให้มีเงินหมุนเวียนภายในประเทศจากการลงทุนประมาณ 300,000 ล้านบาท จึงขอให้ ททท. เสนอมาตรการช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ภายใต้โครงการ Flexible Plus Program ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
                    1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1.1 กำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card)                  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ 2 รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 20 ปี ของคนต่างด้าวดังกล่าว สามารถขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา เป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน (Non-Immigrant Visa) มีระยะเวลาคราวละ 5 ปี                  ตลอดระยะเวลาการลงทุนในโครงการ Flexible Plus Program
                              1.2 กำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้รับการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราตามข้อ 1.1 สามารถยื่นขอใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้
                              1.3 กำหนดให้การอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามร่างประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีดังต่อไปนี้
                                        (1) ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ 2
                                        (2) การอนุญาตทำงานเป็นอันสิ้นผลตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ                การทำงานของคนต่างด้าว
                                        (3) มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมหรือถูกรัฐบาลต่างประเทศออกหมายจับ หรือถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ หรือเพิกถอนสิทธิการอยู่ในราชอาณาจักร
                    2. ร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงานมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดคุณสมบัติของ               ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ Flexible Plus Program สรุปได้ดังนี้
                              2.1 คนต่างด้าวต้องเป็นสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) โดยในกรณีที่เป็นสมาชิกพิเศษรายเดิม ต้องมีอายุบัตรสมาชิกพิเศษคงเหลืออยู่ไม่ต่ำกว่า 5 ปี สำหรับสมาชิกพิเศษรายใหม่ จะต้องสมัครบัตรสมาชิกพิเศษประเภทที่มีมูลค่าบัตรตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป และมีอายุบัตรตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
                              2.2 คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ Privilege Entry Visa (PE) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
                              2.3 คนต่างด้าวต้องนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่แจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการ Flexible Plus Program หรือนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้เป็นสมาชิกพิเศษ โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ประเภท ได้แก่
                                        (1) ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ตามสิทธิของชาวต่างชาติที่พึงได้รับ
                                        (2) ลงทุนในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
                                        (3) ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                              2.4 คนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

เศรษฐกิจ ? สังคม
4. เรื่อง การยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา                 5 ธันวาคม 2550 (ศูนย์ราชการฯ) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2569 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ทั้งนี้ ให้ ทส. และกระทรวงการคลัง (กค.) (กรมธนารักษ์) รับความเห็นของหน่วยงาน              ที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. ทส. (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) ได้เช่าพื้นที่ศูนย์ราชการฯ (ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน) โดยต่อมา ทส. (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) แจ้งความประสงค์ต่อกระทรวงการคลัง (กค.)               (กรมธนารักษ์) เพื่อขอยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่ดังกล่าว และขอใช้พื้นที่ซึ่งเป็นที่ของราชพัสดุสำหรับเป็นที่ตั้งอาคารสำนักงานกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งใหม่ มีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
สถานที่ทำการ (ปัจจุบัน)          ทส. (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) ได้เช่าพื้นที่ชั้น 5 - 9 อาคาร             รัฐประศาสนภักดี พื้นที่ศูนย์ราชการฯ ขนาดพื้นที่ 8,540 ตารางเมตร ซึ่งต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 45.15 ล้านบาทต่อปี
เหตุผล/การยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่ศูนย์ราชการฯ          ทส. (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) มีการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายใน และการกำหนดตำแหน่งส่วนกลางเพิ่มเติมทำให้มีจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น (ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่จำนวนไม่น้อยกว่า 600 คน) และ                  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ในการปฏิบัติงานเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนเจ้าหน้าที่และจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ได้อย่างเพียงพอ
- ภารกิจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีความจำเป็นต้องใช้เรือสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ทางทะเล ซึ่งสำนักงานส่วนกลางขณะนี้ไม่มีสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับจอดเรือ ทำให้ต้องนำเรือไปฝากจอด ณ สถานที่ต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นในการจัดหาสถานที่ตั้งสำนักงานใหม่ที่มีท่าเทียบเรือเพื่อความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในการปฏิบัติงานตามภารกิจต่าง ๆ
สถานที่ทำการ (ใหม่)          พื้นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน กท. 175 แขวงวัดสามพระยา                      เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา บริเวณซอย                  วัดสามพระยา ใกล้สะพานพระราม 8 มีความเหมาะสมสำหรับการสร้างอาคารสำนักงานและท่าเทียบเรือ เนื่องจากมีพื้นที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสามารถเดินทางและปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ

                    2. ทส. (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) ได้ส่งเรื่องเกี่ยวกับการขอยกเลิกการใช้พื้นที่                      ศูนย์ราชการฯ และขอใช้พื้นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน กท. 175 แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อ กค. (กรมธนารักษ์) แล้ว โดย กค. (กรมธนารักษ์) พิจารณาแล้วเห็นว่า กค. (กรมธนารักษ์) ได้อนุญาตให้ สำนักงาน ก.พ.ร. ใช้ที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน กท. 175 แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 4 รายการ เพื่อเป็นสถานที่ทำการของสำนักงาน ก.พ.ร. ดังนั้น จึงขอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ.ร. ในการส่งคืนที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวให้กรมธนารักษ์ โดยต่อมากรมธนารักษ์ได้แจ้งว่า ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ก.พ.ร. ว่า                      มีการเปลี่ยนพื้นที่ขอใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน กท. 175 แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปเป็นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน กท. 439 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ซึ่งหากสำนักงาน ก.พ.ร. ส่งคืนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน กท. 175 แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว กรมธนารักษ์ไม่ขัดข้องในหลักการที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะใช้ที่แปลงดังกล่าวเพื่อเป็นสถานที่ทำการและท่าเทียบเรือสำหรับจอดเรือตามที่ ทส. (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) เสนอ

5. เรื่อง การพิจารณาขยายเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราวในปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอการพิจารณาขยายเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราวในปี 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (10 เมษายน 2555) ที่ให้ กค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีการหารืออย่างสม่ำเสมอถึงความเหมาะสมของอัตราการเรียกเก็บเงินนำส่งของสถาบันคุ้มครองเงินฝากและ ธปท. โดยคำนึงถึงปริมาณภาระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวม และสถานะความมั่นคงของสถาบันการเงิน รวมทั้งความจำเป็นในการขยายภารกิจในการดูแลสถาบันการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และแจ้งความคืบหน้าแก่คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบอย่างน้อยเป็นรายปี] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีความยืดเยื้อและ              มีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคบริการ ทำให้               ภาคธุรกิจและประชาชนมีสถานะทางการเงินที่เปราะบางมากขึ้น แม้ภาครัฐจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาภาคธุรกิจและประชาชนอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่าภาคธุรกิจและประชาชนต้องการความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ธปท. จึงเห็นสมควรให้ขยายเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราวอีก 1 ปี จากเดิมอัตราร้อยละ 0.46 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.23 ต่อปี จนถึงสิ้นปี 2565                  (กค. ไม่ขัดข้องกับผลการพิจารณาของ ธปท.) เพื่อลดภาระต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงินและส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงดังกล่าวไปช่วยบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชน ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามการดำเนินการดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าสถาบันการเงินได้ให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชนอย่างเต็มที่
                    2. ธปท. ได้ประเมินผลกระทบจากการขยายเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินดังกล่าว พบว่า ยังมีเงินเพียงพอสำหรับการชำระดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) ในช่วงเวลาดังกล่าว และประมาณการว่า การชำระคืนหนี้ต้นเงิน FIDF 1 และ FIDF 3 จะเสร็จสิ้นภายในปี 2574 เช่นเดิม

6. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2564 (1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28/7                วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ กนง. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 ธันวาคม 2563) อนุมัติเป้าหมายนโยบายการเงินโดยกำหนดให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3 ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้ง           เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจไทย
                    2. การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม
                              2.1 ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
                                        2.1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 หดตัวร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวสูงร้อยละ 4.2 เนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีในหลายหมวดซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
                                        2.1.2 ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีสาเหตุหลักจากเศรษฐกิจในช่วงเดียวกันของปีก่อนหดตัวมาก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจากไตรมาสแรกเนื่องจากการระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อมากขึ้น
                                        2.1.3 เศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 โดยมีแรงกระตุ้นของภาครัฐเพิ่มเติมจากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประกอบกับมีแผนการจัดหาและการกระจายวัคซีนที่ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า จึงเป็นแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยชะลอลงไม่มากนัก ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 โดยคาดว่าจะยังมีแรงสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคาดว่าจะสามารถมีระดับภูมิคุ้มกันหมู่ได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวต่ำกว่ากรณีฐานค่อนข้างมาก เนื่องจาก (1) ความยืดเยื้อของการระบาดและการกลายพันธุ์ของโควิด-19 (2) เม็ดเงินเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอาจน้อยกว่าที่คาดการณ์ (3) ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคบริการอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดหลายระลอก และ (4) ปัญหาห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก (Supply Disruption) และต้นทุนค่าขนส่งทางเรือที่เพิ่มขึ้น
                              2.2 ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม
                                        2.2.1 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.89 เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ติดลบร้อยละ 0.56 มาอยู่ใกล้ของล่างของเป้าหมายนโยบายการเงิน เป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อนและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐในช่วงการระบาดระลอกแรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.27 ใกล้เคียงกับครึ่งหลังของปี 2563
                                        2.2.2 อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการตามต้นทุนพลังงานและเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในปี 2564 และ 2565 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ร้อยละ 0.2 และ 0.3 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ
                              2.3 เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมเปราะบางขึ้นจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งระบาดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและมีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ระบบสถาบันการเงินยังเข้มแข็งและสามารถรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงในอนาคตได้ โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนที่อาจจะลดลงและธุรกิจบางส่วนยังประสบภาวะขาดทุนและมีความสามารถในการชำระหนี้ด้อยลง
                    3. การดำเนินนโยบายการเงิน ประกอบด้วย
                               3.1 การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลงและไม่ทั่วถึงมากขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ดังนั้น กนง. เห็นว่า ควรเร่งจัดหาและกระจายวัคซีนให้เหมาะสม เพียงพอและทันการณ์ รวมทั้งเร่งดำเนินมาตรการด้านการเงินและการคลังให้เกิดประสิทธิผลในวงกว้าง โดยเฉพาะสินเชื่อฟื้นฟูและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยเหลือภาคธุรกิจและครัวเรือนได้อย่างตรงจุดมากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ
                              3.2 การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากสิ้นปี 2563 ตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ กนง. เห็นควรผลักดันนโยบายการปรับระบบนิเวศเงินใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไทยอย่างยั่งยืน
                              3.3 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน  เช่น กนง. ได้สนับสนุนให้ ธปท. ร่วมกับ กค. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผลักดันมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม วงเงินรวม 350,000 ล้านบาท เพื่อส่งผ่านสภาพคล่องไปยังกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และ ธปท. ยังคงผ่อนคลายหลักเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ การกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน รวมถึงให้สถาบันการเงินงดซื้อหุ้นคืนและห้ามไถ่ถอนหรือซื้อคืนตราสารเงินกองทุนก่อนครบกำหนด เว้นแต่มีแผนการออกทดแทน เพื่อดูแลความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินให้สามารถรองรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
                              3.4 การสื่อสารนโยบายการเงิน ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง กนง. มีการเปิดเผยการวิเคราะห์และข้อมูลประกอบการประเมินพัฒนาการเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินมากขึ้น โดยนำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจการเงินบางส่วนที่ใช้ประกอบการประชุม รวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในกรณีต่าง ๆ เพื่อให้สาธารณชนรับทราบข้อมูลและประเด็นสำคัญที่มีนัยต่อการตัดสินนโยบาย รวมถึงให้สาธารณชนมีข้อมูลเพียงพอสำหรับเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

7. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 2/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอสรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยมีข้อสั่งการสำคัญ 5 ประเด็น เพื่อคณะรัฐมนตรีจะได้กำกับและติดตามการดำเนินงานของหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่าได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป สรุปได้ ดังนี้
ข้อสั่งการ/การมอบหมายงาน          ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
1. ให้ขับเคลื่อนและปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยมีการประสานรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน และเพื่อให้ทราบถึงความต้องการและปัญหาของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงานสามารถแก้ไขและบรรเทาปัญหารวมถึงสร้างความสุขให้กับประชาชนได้




ทุกส่วนราชการ




2. ให้ปรับรูปแบบการทำงานเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ โดยมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำงาน มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อบูรณาการการทำงานให้มีความเป็นเอกภาพ
3. ให้พัฒนาการเรียนรู้ของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดข้อมูลสร้างการรับรู้ และความเข้าใจของประชาชนต่อการขับเคลื่อนงานของส่วนราชการ           กระทรวงมหาดไทย
4. ให้ทบทวนรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก เน้นรูปแบบการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้หลักวิธีคิดแทนการสอนให้ท่องจำ จัดระยะเวลาในการเรียนที่เหมาะสม รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน นอกจากนี้ ให้มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ให้มีความแตกต่างจากการสอนในชั้นเรียนตามปกติ          กระทรวงศึกษาธิการ
5. ให้สรุปผลสัมฤทธิ์การทำงานอย่างเป็นรูปธรรมที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ โดยรายงานความก้าวหน้าการทำงานทุกรอบ 3 เดือน ต่อหัวหน้าส่วนราชการ           ทุกส่วนราชการ

8. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ?สร้างความเท่าเทียม ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยเหลือทันท่วงที?                        ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ?สร้างความเท่าเทียม ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยเหลือทันท่วงที? ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ?สร้างความเท่าเทียม ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยเหลือทันท่วงที? ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภามาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลควรพิจารณากำหนดให้การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาตินี้เป็นวาระแห่งชาติ เป็นประเด็นสำคัญในการบริหารราชการและการกำหนดนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างบูรณาการร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางรูปแบบ และระบบที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ และสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของประชาชน รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินงานและการสนับสนุนงบประมาณทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงการคลัง (กค.)กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    มท. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 แล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับรายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ          ผลการพิจารณาศึกษา
1. ควรกำหนดให้การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติเป็นประเด็นสำคัญในการบริหารราชการและการกำหนดนโยบายโดยกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างบูรณาการร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทาง รูปแบบ และระบบที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ และสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของประชาชน          - กษ. เห็นว่า การพัฒนาไปสู่รัฐบาลดิจิทัล จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ตำแหน่ง Data Scientist หรือ Data Engineer โดยหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่จำเป็นต่อการทำงาน ส่วนหน่วยงานควรปรับโครงสร้างองค์กรและการวางแผนอัตรากำลังคนให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการให้ทุนการศึกษาหรือการอบรม เพื่อพัฒนาของบุคลากร
2. ควรกำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการเบื้องต้น ทั้งด้านการวางโครงสร้างฐานข้อมูล การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไก การบูรณาการและการประสานการดำเนินการระหว่างหน่วยงานในระดับต่าง ๆ          - กษ. ได้ตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Big Data Center: NABC) ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีภารกิจหลักในการจัดทำ Big Data ด้านเกษตรที่มีความครบถ้วน สำหรับใช้ในการบริหารจัดการและการวางแผนด้านการเกษตรแบบครบวงจร นอกจากนี้ เห็นว่า หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูล ควรเร่งดำเนินการตามแนวทางการทำ                   ธรรมาภิบาลข้อมูลและการจัดทำบัญชีข้อมูลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) รวมถึงแนวทางการจัดทำมาตรฐานข้อมูลภาครัฐ มาตรฐานสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และมาตรฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศ (National Spatial Data Infrastructure: NSDI) ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ                  ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เพื่อทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- รง. เห็นว่า ควรให้ ดศ. กำหนดหน่วยงานกลางที่จะดูแลการบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติฯ และกำหนดมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลของ                      ทุกกระทรวง รวมถึงการออกแบบและสร้าง Digital Platform เดียวในการให้บริการประชาชน
- ยธ. เห็นว่า การกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักอาจพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานในอนาคต
3. ควรกำหนดแผนการดำเนินงานและการสนับสนุนงบประมาณทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม          - กษ. เห็นว่า การเชื่อมโยงและเผยแพร่ข้อมูลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หน่วยงานต้องพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีความปลอดภัยตาม พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของหน่วยงานเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันแบบอัตโนมัติ เช่น                 การเชื่อมโยงรูปแบบ Application Programming Interface (API)
- ศธ. จะจัดทำร่าง พ.ร.บ. การบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา                 พ.ศ. ?. เพื่อให้เกิดศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษาภายในระยะเวลา 2 ปี
- ยธ. เห็นว่า ควรกำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งในระดับบุคคล ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงให้ความรู้และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไปให้มีความเข้าใจและสามารถรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างปลอดภัยด้วย และเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดเก็บข้อมูลใหม่ทั้งหมด ควรพิจารณาถึงการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน (Update) ด้วย
- พม. เห็นว่า ควรศึกษาระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า Thai People Map and Analytics Platform (TP MAP) และข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการข้อมูลตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) เพื่อการกำกับดูแลข้อมูลรวมถึงกระบวนการ บุคลากรและเทคโนโลยีที่จำเป็นในการจัดการและปกป้องข้อมูลของประชาชน
- ดศ. เห็นว่า (1) การออกแบบเชื่อมโยงข้อมูลควรวางมาตรฐานกลางและระบบสนับสนุนในการเชื่อมโยงบูรณาการระบบงานข้ามหน่วยงาน โดยคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นหลัก (2) การสร้างระบ Blockchain ควรศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย โดยเฉพาะในการใช้ระบบอื่นในการจัดเก็บและประมวลผลด้วย ทั้งในแง่ความยากง่ายในการพัฒนาความปลอดภัย ความคุ้มทุนกับค่าใช้จ่าย และการวางแผนการบำรุงรักษาในระยะยาว (3) ในระยะที่ 3 เสนอให้เปลี่ยนจาก ?e-Government? เป็น ?Smart Government? อ้างอิงตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในข้อ (20) ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนย่อยการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐที่มีเป้าหมาย ภาครัฐมีขีดสมรรถนะสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากลและมีความคล่องตัว ซึ่งมีตัวชี้วัดคือ ระดับ Digital Government Maturity Model (Gartner)
- กค. เห็นว่า ควรจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน โดยไม่จำกัดอายุเพื่อให้ประชาชนรับทราบถึงสิทธิที่พึงจะได้รับตลอดช่วงอายุ และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีข้อมูลเพียงพอต่อการเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าของข้อมูลต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเพื่อความพร้อมในการใช้งานได้ตลอดเวลา สำหรับการบริหารจัดการฐานข้อมูลสามารถดำเนินการได้โดยจะต้องคำนึงถึงประเด็นด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ               พ.ศ. 2540 พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ระเบียบการใช้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งประเด็นในด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล และการจำกัดสิทธิการเข้าถึงของแต่ละหน่วยงาน นอกจากนี้ ควรจัดทำคู่มือวิธีปฏิบัติหรือระเบียบการใช้งานฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดสรรสวัสดิการแก่ประชาชนตามกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


9. เรื่อง รายงานการประเมินผลการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนต่อไป ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอ และให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คสช. รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. 2560-2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงานตามแนวทางและวิธีการในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน และวิเคราะห์และประเมินช่องว่างที่เป็นปัญหาสำคัญต่อการดำเนินงานอันเป็นผลจากการประเมินผลในรอบที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2561) รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ซึ่ง คสช. ในการประชุม ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 โดยมีนายสาธิต ปิตุเตชะ รองประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบผลการดำเนินการดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตพื้นที่ 1-13 ได้วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในเขตพื้นที่และร่วมกันกำหนดประเด็นการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ เขตพื้นที่ละ 3-5 ประเด็น ปัจจุบันมีประเด็นขับเคลื่อนรวมทั้งสิ้น 55 เรื่อง จำแนกเป็นหมวดหมู่ ประกอบด้วย อาหารปลอดภัย ขยะ อุบัติเหตุ หมอกควัน ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โรคติดต่อเรื้อรัง ระบบบริการสาธารณสุข ระบบสุขภาพชุมชน การจัดการน้ำ ระบบข้อมูลสารสนเทศ สุขภาวะพระสงฆ์ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มผู้สูงอายุ
                    2. การประเมินผลเขตสุขภาพเพื่อประชาชนโดยผู้ประเมินภายนอก (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีผลการประเมินสำคัญ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
(1) ผลลัพธ์การดำเนินงานของ กขป.          กขป. สามารถบรรลุตามผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพใน           เขตพื้นที่ดังตัวอย่าง
1) ประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม ซึ่ง กขป.              เขตพื้นที่ 12 ได้สานพลังการทำงานของทุกภาคส่วนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งศูนย์สร้างสุขชุมชนเพื่อให้บริการสุขภาพใกล้บ้าน การสร้างห้องเรียนสวนผักชุมชนให้ชาวบ้านและสร้างอาชีพให้กลุ่มเปราะบาง รวมทั้งจัดทำระบบข้อมูลกลางผ่านแอพพลิเคชัน iMed@home  เพื่อบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเปราะบางทางสังคม
2) ประเด็นอาหารปลอดภัย ได้ขับเคลื่อนใน กขป. เขตพื้นที่ 4-10 และ 12 ส่งผลให้มีเครือข่ายและพื้นที่รูปธรรม ?อาหารปลอดภัยในชุมชน? มีนโยบายการขยายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยไปสู่ชุมชน มีมาตรฐานอาหารปลอดภัย LSF หรือ Loei Safety Food สำหรับการขึ้นทะเบียนรับรองเกษตรกรที่ผ่านมาตรการผลิตปลอดภัย รวมทั้งแพลตฟอร์ม Green smile เป็นพื้นที่ในการประสานความร่วมมือของเกษตรกรรายย่อยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการข้อมูลการผลิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายอื่น
3) ประเด็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ได้ขับเคลื่อนใน กขป.                 เขตพื้นที่ 4-5, 10 และ 13 โดยการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมของชุมชนว่าด้วยการลดอุบัติเหตุ มีแผนปฏิบัติการร่วมระดับตำบลและอำเภอในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มีฐานข้อมูลการป้องกันและ             ลดอุบัติเหตุภัยทางถนนโดยบูรณาการข้อมูลจากใบมรณบัตร ภาพถ่ายจากกล้อง CCTV และข้อมูลนิติเวช รวมทั้งการถอดบทเรียนปัจจัยความสำเร็จจากการดำเนินงานของพื้นที่เพื่อขยายผลไปยังพื้นที่อื่น
(2) ข้อค้นพบสำคัญ          กรรมการผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานรัฐมีแนวโน้มการมีส่วนร่วมในการประชุมน้อย ส่งผลให้การบูรณาการขับเคลื่อนงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในเขตพื้นที่เป็นการทำงานของ กขป. ร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชนและภาคประชาสังคม อีกทั้งกรรมการผู้แทนหน่วยงานส่วนใหญ่ไม่มีเครือข่ายหรือโครงสร้างรองรับการสื่อสารประเด็นเพื่อขับเคลื่อนงานจากที่ประชุมระดับเขตเข้าสู่โครงสร้างของหน่วยงานในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ทำให้การบูรณาการภารกิจและบทบาทหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงระบบยังไม่เกิดขึ้นมากนัก รวมทั้งยังไม่สามารถผลักดันเป็นนโยบายของหน่วยงานภาครัฐได้
(3) ปัจจัยความสำเร็จของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน          มี 4 ประการ ประกอบด้วย
1) ความเข้าใจเรื่องบทบาทหน้าที่ของ กขป.
2) องค์ประกอบและการมีส่วนร่วมของ กขป.
3) การบูรณาการการทำงานของเลขานุการร่วม ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ สช.
4) ระบบข้อมูลการดำเนินงานของ กขป. และองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
(4) ข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนา          1) หน่วยงานระดับกระทรวงควรให้ความสำคัญในการมอบหมายผู้แทนที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนงานระดับเขตหรือกลุ่มจังหวัด เป็นกรรมการผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานรัฐ
2) หน่วยงานระดับกระทรวงควรสนับสนุนให้กรรมการผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานรัฐแต่ละเขต เข้าร่วมและบูรณาการการทำงานร่วมกับ กขป. และองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
3) ควรสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ โดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากระบบไม่เอื้ออำนวย ไม่บูรณาการกัน เพื่อชี้ช่องว่างให้เห็นข้อจำกัดเชิงระบบ

10. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเข้าถึงบทบัญญัติของกฎหมาย                        ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเข้าถึงบทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย                    พ.ศ. 2562 ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเข้าถึงบทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ รวม 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) ประเด็นความคืบหน้าในการออกอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยมีข้อพิจารณาว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ กรณีจึงต้องพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการ                    ไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามขั้นตอน กระบวนการ และกลไกต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ 2) ประเด็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านกฎหมายให้กับประชาชน ควรเร่งรัดให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) และ สคก. ดำเนินการจัดทำระบบกลางให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และครอบคลุมการดำเนินการทุกด้านตามพระราชบัญญัติดังกล่าว 3) ประเด็นการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการรับรู้ การเข้าถึง และการเข้าใจกฎหมายให้กับประชาชน ควรมีรูปแบบการนำเสนอต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มประชาชน เช่น กลุ่มกฎหมายที่คนพิการควรรู้อาจนำเสนอด้วยสื่อเสียง (สำหรับผู้พิการทางสายตา) 4) ประเด็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายและอนุบัญญัติที่ออกตามกฎหมายนั้น ควรกำหนดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำกับ ดูแล และตรวจสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วให้มีคำสั่งให้ สคก. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ                    ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สพร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    สคก. ได้ประชุมหารือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามคำสั่ง                     รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) แล้ว โดยได้สรุปผลการพิจารณาและผลการดำเนินการในภาพรวม ดังนี้
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
1. ความคืบหน้าในการออกอนุบัญญัติตาม พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 62
          - มีข้อพิจารณาว่า พ.ร.บ. นี้ไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ กรณีจึงต้องพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามขั้นตอน กระบวนการ และกลไกต่าง ๆ ที่กำหนดไว้


- สคก. ชี้แจงว่า หน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. ฯ รวมทั้งอนุบัญญัติที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ถือเป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดโดยหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหากไม่ปฏิบัติย่อมมีความผิดทางอาญาและทางวินัย ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าควรปลูกฝังให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความเข้าใจที่ถูกต้องในเจตนารมณ์ของกฎหมายอันจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้มาตรการบังคับ ซึ่งที่ผ่านมาการปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นการทำงานเพียงเพื่อให้ครบถ้วนตามกฎระเบียบและขั้นตอน ทำให้ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมในการทำงาน และการให้บริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
2. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านกฎหมายให้กับประชาชน
          - ควรเร่งรัดให้ สพร. (องค์การมหาชน) และ สคก. ดำเนินการจัดทำระบบกลางให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และครอบคลุมการดำเนินการทุกด้านตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว

- สคก. ชี้แจงผลการดำเนินการว่า ปัจจุบันระบบกลางดำเนินการระยะที่ 1 เสร็จ และเปิดให้บริการแล้ว โดยเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็น การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย สำหรับการดำเนินการในระยะที่ 2 เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกนั้น  มีกำหนดแล้วเสร็จในเดือน ก.ย. พ.ศ. 65 หลังจากนั้นระบบกลางจะครอบคลุมการดำเนินการทุกด้านตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. ดังกล่าว
3. การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการรับรู้ การเข้าถึงและการเข้าใจกฎหมายให้กับประชาชน
          - จัดแบ่งกลุ่มของกฎหมายให้เหมาะสมกับกลุ่มประชาชนที่จำเป็นต้องรู้หรือมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายนั้น ๆ เช่น กลุ่มกฎหมายพื้นฐานทั่วไปที่ประชาชนทุกกลุ่มควรรู้ กลุ่มกฎหมายที่คนพิการควรรู้ กลุ่มกฎหมายที่เด็กและเยาวชนควรรู้ กลุ่มกฎหมายที่สตรีควรรู้ เป็นต้น







          - รูปแบบการนำเสนอต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มประชาชน เช่น กลุ่มกฎหมายที่คนพิการควรรู้อาจนำเสนอด้วยสื่อเสียง (ผู้พิการทางสายตา) กลุ่มกฎหมายที่เด็กและเยาวชนควรรู้อาจนำเสนอด้วยการ์ตูน แอนิเมชัน (Animation)             คลิปวิดีโอ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เป็นต้น

- สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) ชี้แจงว่า สกธ. ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านทางหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อ Social media ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต Podcast ที่สอดคล้องตามสถานการณ์ เช่น กลโกงต่าง ๆ หรือแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น เนื่องจากในการสำรวจพบว่า ผู้ถูกโกงส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ดังนั้น การที่จะประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้ที่มีความแตกต่างทั้งด้านอายุ เพศ การศึกษา และอื่น ๆ ให้เข้าถึงสื่อได้ เช่น เด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชนบท และผู้พิการ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องออกแบบสื่อสร้างการรับรู้ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนแต่ละกลุ่ม
- สพร. เห็นว่า ในการจัดแบ่งกลุ่มกฎหมายให้เหมาะสมอาจใช้วิธีการ คือ (1) ดำเนินการจัดกลุ่มข้อมูลตามหมวดหมู่ของกฎหมายนั้น เช่น สวัสดิการแรงงาน และการขนส่ง และ (2) จัดกลุ่มโดยวิธีการใช้ป้ายคำ (ระบบ tag) เพื่อให้การจัดกลุ่มกฎหมายยืดหยุ่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรดำเนินการใช้ระบบสืบค้นและอ้างอิงให้สามารถแสดงผลการสืบค้นที่เกิดขึ้นบ่อยได้ ทั้งนี้ สพร. ขอรับไปดำเนินการในส่วนของระบบกลางทางกฎหมายต่อไป
4. การประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายและอนุบัญญัติที่ออกตามกฎหมายนั้น
          - ควรกำหนดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำกับดูแล และตรวจสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการแล้วเสร็จ

- สคก. เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับระบบกลางด้วย ทั้งนี้ ตาม ม. 11 วรรคสาม กำหนดให้ สคก. รับผิดชอบบริหารจัดการระบบกลางดังกล่าว จึงไม่มีความจำเป็นต้องตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวอีก ประกอบกับการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ไม่สอดคล้องกับมติ ครม. วันที่ 24 ก.ค. 50 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) และมติ ครม. วันที่ 1 พ.ค. 61 (เรื่อง การขอจัดตั้งหน่วยงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ) และเป็นการสร้างภาระงบประมาณโดยไม่จำเป็น

11. เรื่อง แนวคิดการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ สำหรับแนวทางการจัดตั้งนิคมฯ และแนวทางการสนับสนุนของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นั้น ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามความจำเป็นเหมาะสม โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และ ให้ ยธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ยธ. รายงานว่า
                    1. ยธ. มีแนวคิด/นโยบายในด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ และเป็นการฝึกทักษะอาชีพ พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน ตลอดจนสร้างผู้พ้นโทษให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่และเป็นการสร้างอาชีพในอนาคต ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้อัตราการกระทำผิดซ้ำลดลงและเป็นการคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือและขับเคลื่อนไปกับภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งเสริมและดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนในเขตพื้นที่ที่จัดสรรไว้สำหรับเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่มีการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ และจะมีการส่งแรงงานซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างพักการลงโทษที่ได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือและมีความสมัครใจเข้าไปทำงานในสถานประกอบการที่มีความพร้อมในการรับคนเหล่านั้นเข้าไปทำงานหรือร่วมทำงานกับแรงงานทั่วไป ภายใต้ชื่อ ?นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์? เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการ
                    2. เพื่อให้แนวคิด/นโยบายโครงการจัดตั้งนิคมฯ มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ยธ. จึงได้ทำการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมฯ ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า โครงการจัดตั้งนิคมฯ เป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมแนวคิดการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้พ้นโทษได้ และยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางแรงงานให้แก่ผู้ประกอบการ โดยผลจากการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้ต้องขัง สนับสนุนให้ดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมฯ
วัตถุประสงค์          เพื่อแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ เพื่อฝึกทักษะอาชีพ พัฒนายกระดับฝีมือแรงงานและสร้าง             ผู้พ้นโทษให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่และเป็นการสร้างอาชีพในอนาคตเพื่อลดจำนวนอัตราการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง
กลุ่มเป้าหมาย          ผู้พ้นโทษและผู้อยู่ระหว่างพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษ
หน่วยดำเนินการ          ยธ. (กรมราชทัณฑ์) ร่วมกับ การริคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กนอ. และผู้ประกอบการภาคเอกชน โดย กนอ. ทำหน้าที่ตรวจสอบและกำกับดูแลเพื่อให้เป็นไป                  ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรม
หน่วยบริหารโครงการ          ตามผลการศึกษาฯ เห็นว่า ควรดำเนินการในรูปแบบองค์การมหาชน แต่โดยที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 มีมติไม่เห็นควรให้จัดตั้งองค์การส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคม (องค์การมหาชน) ในขณะนี้ เนื่องจากยังต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แต่โดยที่ภารกิจนี้เป็นภารกิจที่มีความสำคัญจึงเสนอให้มีการดำเนินการในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Special Delivery Unit: SDU) ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมเพื่อทดลองการดำเนินการตามแนวคิดดังกล่าว ดังนั้น ในระยะเริ่มต้น ยธ. จะดำเนินการ โดยจัดให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง กนอ. ผู้ประกอบการภาคเอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมในรูปแบบของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเพื่อรับผิดชอบภารกิจและบริหารจัดการในอนาคต
พื้นที่นำร่องต้นแบบ          4 แห่ง
1. เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร (เรือนจำชั่วคราวบางหญ้าแพรก)
2. เรือนจำกลางชลบุรี (เรือนจำชั่วคราวบ้านบึง)
3. เรือนจำกลางสมุทรปราการ (เรือนจำชั่วคราวคลองด่าน)
4. เรือนจำกลางระยอง (เรือนจำชั่วคราวเขาไม้แก้ว)
รูปแบบ          3 รูปแบบ ได้แก่
1. การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมภายนอกเรือนจำโดยร่วมกับ กนอ. (ที่ราชพัสดุของหน่วยงานอื่น)
          โดย ยธ. เป็นผู้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะของการเช่าที่ราชพัสดุในราคาถูกและนำมาพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและเปิดพื้นที่ให้สถานประกอบการเช่าใช้ประกอบการหรือเปิดเชิญชวนเอกชนผู้สนใจโดยอาจมีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อจูงใจด้วย ทั้งนี้ จะต้องมีการจัดพื้นที่บริเวณที่พักอาศัยไว้รองรับให้ผู้กระทำผิดด้วย นอกจากนี้ อาจเปิดเขตพื้นที่พิเศษภายในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาเป็นนิคมฯ เฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และยังมีพื้นที่ว่างที่ยังเหลืออยู่ โดยให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเพื่อจูงใจในการเข้ามาลงทุนในนิคมฯ
2. การจัดตั้งนิคมฯ ภายในพื้นที่เรือนจำ (ที่ราชพัสดุของกรมราชทัณฑ์)
          โดย ยธ. จะเป็นผู้เช่าที่ราชพัสดุจากกรมราชทัณฑ์ในราคาถูกแล้วเชิญชวนเอกชนมาร่วมลงทุน โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนด้านพื้นที่การก่อสร้างอาคาร และพื้นที่พักอาศัยสำหรับดูแลผู้กระทำผิด โดยให้เอกชนลงทุนเครื่องจักร วิธีการผลิต และแหล่งรับซื้อผลิตภัณฑ์หรือหากมีผู้ประกอบการรายใดพร้อมลงทุนทั้งหมดอาจเป็นการร่วมลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ทั้งนี้ จะมีการดำเนินการในลักษณะของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการเกษตรหรือนิคมอุตสาหกรรมเชิงท่องเที่ยวและสุขภาพ
3. การใช้พื้นที่เอกชนเป็นนิคมฯ
          จะดำเนินการในลักษณะของการเชิญชวนผู้ประกอบการซึ่งเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเป็นผู้จัดหาที่ดินของเอกชนและพัฒนาเป็นนิคมฯ โดยมีสิทธิประโยชน์จูงใจพิเศษในกรณีที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสดังกล่าว
บทบาทของ ยธ.          1. ส่งเสริมและดึงดูดให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้าลงทุนในเขตนิคมฯ ที่จะจัดตั้งขึ้น ประสานงานและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและ กนอ. ในการอนุมัติ อนุญาตหรือการดำเนินการใด ๆ ที่เอื้อต่อการประกอบการ
2. เตรียมความพร้อมด้านแรงงานเพื่อป้อนเข้าสู่นิคมฯ โดยเชื่อมต่อกันทั้งระบบตั้งแต่พ้นโทษ ยังมีสถานะเป็นผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำ จนเข้าสู่ระบบการพัฒนาอาชีพในนิคมฯ ภายหลังจากปล่อยตัวไปแล้ว ควบคู่กับระบบการดูแลผู้กระทำผิดหลังปล่อยตัวทั้งระบบ โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
          2.1 การรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ การคัดกรอง จำแนก แยกกลุ่ม ซึ่งจะดำเนินการ                 (1) ควบคุมแบบเข้มข้น และ (2) พัฒนาพฤตินิสัยและพัฒนาอาชีพเพื่อวางแผนกำหนดอาชีพและลักษณะงานให้เหมาะสม
          2.2 การฝึกงานในศูนย์เตรียมความพร้อมด้านฝึกทักษะการทำงานเป็นเวลา 2 ปี สำหรับผู้ต้องขังที่เข้าเกณฑ์จะครบกำหนดปล่อยตัว โดยเป็นผู้ต้องขังชั้นกลางขึ้นไปหรือเหลือโทษจำคุกต่อไปไม่เกิน 7 ปี
          2.3 เข้าโครงการพักการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษ ด้านการฝึกทักษะการทำงานในนิคมอุตสาหกรรม โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ผู้ต้องขังชั้นกลางขึ้นไป เหลือโทษจำคุกต่อไป ไม่เกิน 5 ปี (2) มีคุณสมบัติอื่นตามหลักเกณฑ์พักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษของกรมราชทัณฑ์ ทั้งนี้ สามารถปรับเกณฑ์การเข้าสู่การพิจารณาพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงของผู้ต้องขังในการเข้าร่วมโครงการ
          2.4 การทำงานจริงในนิคมอุตสาหกรรม (สถานที่ทำงาน สถานที่พักพิง และที่อยู่อาศัย) เมื่อผู้ต้องขังผ่านการฝึกงานในศูนย์เตรียมความพร้อมฯ เป็นเวลา 2 ปีแล้ว จะได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ 5 ปี และติดอุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ตามเงื่อนไขการคุมประพฤติ และเข้าไปทำงานในนิคมฯ ที่จัดตั้งขึ้นในพื้นที่นำร่องที่กำหนดเป็นเวลา 5 ปี หากครบกำหนดก็สามารถทำงานต่อกับนิคมฯ ได้
แนวทาง
การดำเนินงาน          1. การจัดตั้งนิคมฯ จะเป็นการลงทุนร่วมกับภาคธุรกิจเอกชนเพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ส่วนการบริหารจัดการองค์กรจะดำเนินการโดยเรียกเก็บค่าบริหารพื้นที่ในระยะยาวโดยใช้การสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อให้เกิดแรงจูงใจของภาคธุรกิจในการร่วมลงทุน
2. คัดเลือกผู้ประกอบธุรกิจที่เน้นนวัตกรรม แรงงานใช้ฝีมือและรูปแบบธุรกิจที่ทันสมัย โดยจะพิจารณากำหนดค่าจ้างในอัตราก้าวหน้าในลักษณะของการเพิ่มค่าจ้างแรงงานตามระดับทักษะฝีมือและประสบการณ์ในการทำงานได้
3. อาจใช้พื้นที่การฝึกงานตั้งแต่เป็นผู้ต้องขังภายในแดนควบคุมและจัดพื้นที่นิคมฯ นอกแดนควบคุม และควรมีการจัดหาที่พักอาศัยเป็นที่พักพิงให้แก่ผู้กระทำผิดในระหว่างฝึกงานและทำงานภายในนิคมฯ
4. กรณีที่มีผู้เข้าร่วมมากพอ/เป็นนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยวอาจจัดพื้นที่สำหรับการฝึกอาชีพค้าขายและอาชีพบริการอิสระต่าง ๆ เพื่อให้บริการภายในนิคมฯ ควบคู่กันเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพด้านการประกอบอาชีพอิสระ และอาจมีการสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีทุนไปใช้ในการประกอบอาชีพ
มาตรการ
และสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูด
การลงทุน          กนอ.
          - จัดให้มีและให้บริการสิทธิประโยชน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนควบคุม กำกับดูแล และประสานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของนิคมฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
- จัดหาที่ดินและพัฒนาเพื่อจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม
- สนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในรูปแบบการร่วมทุนและร่วมดำเนินงานที่สามารถรองรับการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป้าหมายของประเทศ
- จัดตั้งและพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมเพื่อรองรับและสนับสนุนการดำเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่ของประเทศ
- จัดให้มีบริการระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
- ให้บริการอนุมัติ อนุญาต และกำกับดูแลการประกอบกิจการของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม
- อนุญาตให้ผู้พัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมจัดตั้งโรงไฟฟ้า SPP (Small Power Producer หรือผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก) หรือแสงอาทิตย์เพื่อจำหน่ายและใช้ในนิคมอุตสาหกรรม โดยได้รับการสนับสุนนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการรับซื้อคืน การเดินสายส่งไฟฟ้า และการจัดให้มีระบบไฟฟ้าสำรองในกรณีฉุกเฉินในราคาปกติ และได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ
- จัดให้มีเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการจัดตั้งเขตปลอดอากร
- จัดให้มีสถานีรถไฟหรือท่าเทียบเรือเพื่อการขนส่งหรือขนถ่ายสินค้าในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือพื้นที่ใกล้เคียง
- จัดให้มีพื้นที่อยู่อาศัยของคนงานและครอบครัว โดยเสียค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า (มีส่วนลด)
- ยกเว้นค่าใช้จ่ายร่วมดำเนินงานนิคมอุตสาหกรรมให้แก่ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม เช่น ค่าธรรมเนียมและบริการร่วมดำเนินงาน เป็นต้น
- ให้การสนับสนุนการแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดให้เป็นพื้นที่สีม่วง โดยให้ มท. (กรมโยธาธิการและผังเมือง) เร่งรัดขั้นตอนการดำเนินงานตามกฎหมายผังเมืองเป็นกรณีพิเศษ เพื่อลดระยะเวลาในการใช้พื้นที่เป็นที่ก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรม
- ยกเว้นภาษีส่วนบุคคลให้แก่แรงงานในโครงการที่เป็นผู้พ้นโทษเป็นระยะเวลา 3 ปี
- จัดหาพื้นที่เพื่อเป็นการสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรม SMEs ในการเช่าพื้นที่หรือเช่าอาคารและสามารถซื้อพื้นที่หรืออาคารได้ในภายหลัง และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยถูก
- พิจารณาสิทธิประโยชน์โดยไม่จำกัดประเภทกิจการแก่ผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป/เขตประกอบการเสรี แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) และผังเมืองรวมจังหวัด
- ให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในเขตพาณิชยกรรมและคนงานในนิคมฯ ในการยกเว้น/ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการเข้าถึงสินเชื่อบุคคลดอกเบี้ยต่ำ
งบประมาณและภาระทางการเงิน          ยธ. ไม่มีอำนาจจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินแก่ภาครัฐ แต่ ยธ. ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาและส่งผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษเข้าไปทำงานในสถานประกอบการให้ได้จำนวน 16,000 คน/ปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ภาครัฐจะต้องใช้ในการดูแลผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำ เฉลี่ย 21,000 บาท/คน/ปี จะทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณที่ใช้ดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำประมาณ 336 ล้านบาท/ปี

12. เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ ดังนี้  1. แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  2. ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     สงป. รายงานว่า เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณมีแนวทางประกอบการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สงป. จึงเสนอแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                     1. แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                               1.1 ดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมทั้งการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ ความต้องการในพื้นที่และแผนพัฒนาพื้นที่ตามความต้องการของประชาชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐ
                               1.2 ดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหา บรรเทาหรือแก้ไขผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
                               1.3 ให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะ ลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ และประสิทธิผลการใช้จ่ายของ อปท.
                               1.4 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน โดยให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณานำเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือมาใช้ดำเนินภารกิจของหน่วยงานเป็นลำดับแรก ควบคู่ไปกับการพิจารณาทบทวนเพื่อชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่มีความสำคัญในระดับต่ำหรือหมดความจำเป็น พิจารณาถึงความพร้อมและขีดความสามารถในการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการนำความสำเร็จในการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ   พ.ศ. 2565 มาประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับศักยภาพการดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณ
                               1.5 ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีอย่างครบถ้วน
                     2. ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้เป็นไป                ตามกรอบระยะเวลาที่บทบัญญัติของกฎหมายกำหนดไว้

13. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 และมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงักตามที่ สกพอ. เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2564                    เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเรื่องแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดังนี้
                    1. รับทราบปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ในส่วนของการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์เนื่องจากสถานการณ์ผลกระทบโควิด-19 ดังนี้
                              1) บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) มีหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัย (ภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) โดยขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยาโครงการฯ โดยขอขยายระยะเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ (PIC) และการขยายระยะเวลาโครงการฯ
                              2) คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (คณะกรรมการบริหารสัญญาฯ) มีการประชุมเพื่อพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และเห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามสัญญา และมีผลกระทบเกิดขึ้นจริง จึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ
                              3) คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (คณะกรรมการกำกับฯ) มีการประชุมพิจารณาเรื่องหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ตามความเห็นของคณะกรรมการบริหารสัญญาฯ โดยคณะกรรมการกำกับฯ เห็นด้วยกับหลักการตามคณะกรรมการบริหารสัญญาฯ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่องที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ ที่จะถึงกำหนดชำระในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดของโควิด-19 นั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงินใด ๆ ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ
                    2. มอบหมายให้ รฟท. สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ก็ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอ ครม.
                    3. มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สกพอ. และเอกชนคู่สัญญา เข้าดำเนินการเพื่อแก้ไขการดำเนินการกรณีแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

14. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม              พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการการเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 กรอบวงเงินจำนวน 8,122.3764 ล้านบาท และโครงการเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ กรอบวงเงินจำนวน 1,383.8814 ล้านบาท ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการคลัง เร่งดำเนินการเปิดลงทะเบียนกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (รอบใหม่) โดยเร็ว และพิจารณาปรับปรุงฐานข้อมูลผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ภาครัฐสามารถให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม
                    2. อนุมัติโครงการการเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 กรอบวงเงินจำนวน 42,000.0000 ล้านบาท ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
                    3. อนุมัติโครงการการเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ กรอบวงเงิน 3,000.0000                  ล้านบาท ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฯ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 และในกรณีที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดำเนินโครงการฯ ได้ตามเป้าหมาย เห็นควรให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พิจารณาปรับลดกรอบวงเงินของโครงการฯ ให้คงเหลือตามความเหมาะสมและความจำเป็นเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ต่อไป
                    4. อนุมัติโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs กรอบวงเงินจำนวน 37,521.6900 ล้านบาท ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมการจัดหางาน กำหนดเงื่อนไขให้นายจ้างที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการต้องลงทะเบียนและจัดส่งข้อมูลผ่านระบบ e-Service รวมถึงประสานสำนักงานประกันสังคมในการเร่งประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างกลุ่มเป้าหมายทราบถึงขั้นตอนดังกล่าว และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือในการจัดส่งข้อมูลผ่านระบบ          e-Service เพื่อให้กรมการจัดหางาน สามารถจ่ายเงินอุดหนุนได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานตามข้อเสนอโครงการ รวมถึงจะช่วยส่งเสริมนโยบายการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
                    5. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1, 2 และ 3 และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายวัน รวมทั้งมอบหมายให้กรมการจัดหางาน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 4 และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป

ต่างประเทศ
15. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญา Ministerial Declaration of the High-Level Conference on COVID-19
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Ministerial Declaration of the High-level Conference on COVID-19)                           (ร่างปฏิญญาฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะผู้แทนไทยโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ  เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิกตามวัตถุประสงค์ของการประชุม HLCC 2021 โดยเน้นย้ำความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างรัฐสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ICAO และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ เช่น
ประเด็น          ตัวอย่างสาระสำคัญ
1) การฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19           ? สนับสนุนการทำงานของคณะทำงาน ICAO Council Aviation Recovery Taskforce (CART) และให้ความสำคัญของมาตรฐานร่วมในการเดินทาง                  การทำงานร่วมกันผ่านระบบดิจิทัลแอปพลิเคชัน ตลอดจนการถอดบทเรียนจาก            โรคระบาดในปัจจุบัน
? ทำงานร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศที่สร้างขึ้นบนแนวทางของ ICAO และ WHO รวมทั้ง จัดตั้งยุทธศาสตร์ Public Health Corridors  ในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคีหรือความตกลงในรูปแบบอื่น ๆ ที่มีผลเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยอมรับวัคชีนร่วมกันและการลดความเสี่ยงเพิ่มเติมอื่น ๆ ตามความจำเป็น
2) การประสานกันของแนวปฏิบัติในการเดินทางระหว่างประเทศ          ? ผู้โดยสารทุกคนควรได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติที่เท่าเทียมและเป็นธรรม
ความสามารถในการเดินทาง และการได้รับวัคซีนจะต้องไม่เป็นเงื่อนไขสำหรับการเดินทาง
? บรรเทาหรือยกเว้นข้อกำหนดในการตรวจหาเชื้อและกักตัวสำหรับผู้โดยสารที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยจัดให้มีทางเลือกอื่น ๆ สำหรับผู้โดยสารที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
? อำนวยความสะดวกการขนส่งวัคซีนทางอากาศ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยเฉพาะการขนส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนา
? ยึดมั่นต่อกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงหลายระดับชั้น (Multilayer risk management strategy) สำหรับการบินพลเรือน แนวปฏิบัติที่สอดประสานกันเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมทั้งข้อกำหนดของการตรวจหาเชื้อและการได้รับวัคซีน               ซึ่งสนับสนุนให้มีการทบทวน การติดตามอย่างเป็นประจำ และการแบ่งปันข้อมูลอย่างทันท่วงทีระหว่างรัฐ
ประเด็นอื่น ๆ           ? รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน  และการเติบโตของการบินในอนาคต  ตามเจตนารมณ์ของการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ครั้งที่ 26 (COP26)




16. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (HLJC) ครั้งที่ 5
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (Thailand-Japan High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 5 และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการปฏิบัติเพื่อให้มีการติดตามผลการประชุมและหารือให้เกิดผลเป็นรูปธรรม  ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    ผลการประชุมฯ
                    1. ที่ประชุมฯ เสนอให้ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมด้านเศรษฐกิจในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในระยะ 5 ปี เพื่อเสนอต่อที่ประชุม HLJC  ครั้งที่ 6 ในโอกาสครบรอบ 135 ปีของ              การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
                    2. ไทยได้ผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับฝ่ายญี่ปุ่นในประเด็นต่าง ๆ เช่น   (1) การสอดประสานการดำเนินการระหว่างโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] กับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียว (Green Growth Strategy) ของญี่ปุ่น   (2) การเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด (Zero Emission Vehicles: ZEVs) (3) ความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และการค้าดิจิทัล  (4) การเชิญชวนให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และ  (5) การขอรับสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม
                    กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ ได้กำหนดทิศทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในระยะต่อไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานไทย เช่น การดำเนินความร่วมมือภายใต้โมเดล BCG Economy ของไทยกับ Green Growth Strategy ของญี่ปุ่นให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ e-Commerce และการค้าดิจิทัลกับฝ่ายญี่ปุ่นและการผลักดันการลงทุนจากญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเป้าหมาย  จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  กระทรวงการคลัง กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)  และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 17. เรื่อง  ผลการประชุมระดับสูงเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยความร่วมมือสายแถบและเส้นทาง (Asia and Pacific High-Level Conference on Belt and Road Cooperation)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมระดับสูงเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยความร่วมมือสายแถบและเส้นทาง และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ  ต่อไป  ตามที่กระทรวง             การต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยความร่วมมือสายแถบและเส้นทาง เมื่อวันที่ 23มิถุนายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธาน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุมฯ
                              1.1 ที่ประชุมฯ ได้ให้การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว (ตามข้อ 2) โดยมีการปรับเปลี่ยนร่างเอกสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนี้
                                        (1)  ข้อริเริ่มเรื่องความเป็นหุ้นส่วนสายแถบและเส้นทางว่าด้วยความร่วมมือด้านวัคซีนโควิด-19 โดยมีการปรับถ้อยคำให้ประเทศผู้ผลิตวัคซีนที่อยู่ในสถานะที่สามารถดำเนินการได้ให้การสนับสนุนแก่โครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ระดับโลก (COVAX) ขององค์การอนามัยโลก
                                        (2) ข้อริเริ่มเรื่องความเป็นหุ้นส่วนสายแถบและเส้นทางว่าด้วยการพัฒนา               สีเขียว โดยมีการเพิ่มประเด็นด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและสถาบันที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการสู่การปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
                              1.2 ประเทศไทยได้ย้ำความร่วมมือของประเทศหุ้นส่วนในการรับมือกับโควิด-19 และการฟื้นตัวที่ยั่งยืน โดยเน้น (1) ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบและโครงสร้างพื้นฐาน (2) การยกระดับความเชื่อมโยงระหว่างระเบียงเศรษฐกิจและการสร้างโอกาสสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดย่อม (3) การหารือยุทธศาสตร์ร่วมด้านเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำและการลงทุนสีเขียว และ (4) การดำเนินการร่วมกันของประเทศหุ้นส่วนและควรสอดประสานกับข้อริเริ่มด้านการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอื่น ๆ
                    2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ ได้แสดงเจตนารมณ์และกำหนดแนวทางความร่วมมือในอนาคตภายใต้กรอบความร่วมมือสายแถบและเส้นทาง ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยวัคซีน การเคลื่อนย้ายวัคซีนข้ามพรมแดน การดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสีเขียว และการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

18. เรื่อง  ผลการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ  และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้า ตามที่กระทรวง              การต่างประเทศเสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 โดยประเทศนิวซีแลนด์  เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ผ่านระบบการประชุมทางไกล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุมฯ
                              1.1 ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัส              โคโรนา 2019 (โควิด-19 และการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคเอชีย-แปชิฟิก เช่น  การเรียกร้องให้มีการกระจายวัคซีนส่วนเกินไปยังเขตเศรษฐกิจที่ยังขาดแคลน การสนับสนุนให้มีการบรรลุเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกโดยเร็ว การส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผลักดันการหารือเรื่องความร่วมมือจัดทำช่องทางการเดินทางพิเศษ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี และวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อย (Micro, Small and Medium-sized Enterprises: MSMEs)
                              1.2 นายกรัฐมนตรีมีข้อเสนอใน 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การจัดสรรและกระจายวัคซีนให้ประชาชนทุกคนอย่างรวดเร็วที่สุด (2) การเริ่มเปิดการเดินทางข้ามพรมแดนอย่างปลอดภัยเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ               (3) มาตรการช่วยเหลือ MSMEs และสตาร์ทอัพ รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านไปสู่สถานการณ์ปกติใหม่ และ (4) การปรับวิธีคิดด้านการพัฒนาใหม่ โดยเน้นความสมดุลของทุกสิ่งและคำนึงถึงการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
                              1.3 กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศชื่นชมการดำเนินงานของไทย           ในการรับมือกับวิกฤตด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจที่ผ่านมาและเสนอแนะให้ไทยใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านการคลังที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดสำหรับการดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะเพื่อรับมือกับสถานการณ์การติดเชื้อระลอกใหม่ในขณะนี้ รวมทั้งย้ำความสำคัญของการบูรณาการนโยบายและการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม และย้ำความสำคัญของการลงทุนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข การเตรียมความพร้อมและป้องกันโรคระบาด ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการรับมือ ภายหลังจากเกิดโรคระบาดแล้วมาก
                              1.4 ประโยชน์ที่ประชาชนไทยได้รับ ได้แก่ (1) ผลประโยชน์ในด้านการรับมือกับ                 โรคโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่น ความร่วมมือในการกระจายวัคซีน การฟื้นฟูการเดินทางข้ามพรมแดน และการซ่วยเหลือ MSMEs และ (2) ผลประโยชน์จากนโยบายที่เอเปคผลักดัน เช่น การส่งเสริมการค้าเสรี การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล และการส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของสตรี
                              1.5 ที่ประชุมฯ ได้รับรองถ้อยแถลงของผู้นำเศรษฐกิจเอเปค : การเอาชนะโรคโควิด-19 และการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเน้น 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ (1) การเจริญเติบโตที่เข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุม (2) การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และ (3) การค้าและการลงทุน
                    กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์การเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.)  กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานพัฒนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส              โคโรนา 2019 ธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

19. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 27 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-               มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 27 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT)
                    2. เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 27 และผลการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีประจำแผนงาน IMT-GT และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 27 แผนงาน IMT-GT ผ่านระบบ    การประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564  สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การพิจารณารายงานของที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 28 ที่ประชุมได้รับทราบและเห็นชอบรายงานการประชุมฯ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน เช่น
                              1.1 การดำเนินงานภายใต้แผนงาน IMT-GT มีส่วนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในอนุภูมิภาค อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตั้งแต่              ปี 2563-ปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะอัตราการว่างงานและความยากจนสูงขึ้นในอนุภูมิภาค อีกทั้งการดำเนินงานภายใต้แผนงาน IMT-GT ยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น การเลื่อน                 การดำเนินโครงการ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ การปิดพรมแดน และการบังคับใช้มาตรการด้านสาธารณสุข
                              1.2 ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนโครงการความเชื่อมโยงทางกายภาพ
(Physical Connectivity Projects: PCPs) เพื่อมุ่งให้เกิดการบูรณาการและความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค มูลค่า    รวม 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันมีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 14 โครงการ ในส่วนของประเทศไทย ได้แก่ โครงการขยายท่อากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ระยะสั้นจังหวัดสงขลา ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
                              1.3 ความคืบหน้าการขับเคลื่อนโครงการใน 7 สาขาความร่วมมือภายใต้แผนงาน       IMT-GT โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น (1) กรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ด้านการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการตรวจโรค พืช และสัตว์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคลซึ่งมีกำหนดลงนามในช่วงการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงาน IMT-GT ในเดือนตุลาคม 2564  (2) โครงการฐานข้อมูลตลาดแรงงานใน IMT-GT และ (3) โครงการ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ IMT-GT
                              1.4 การดำเนินการในระยะต่อไป เช่น (1) การยกร่างแผนดำเนินงานระยะห้าปี                พ.ศ. 2565-2569 (Implementation Blueprint 2022-2026: IB 2022-2026 ให้แล้วเสร็จ (2) การแสวงหาหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาใหม่และกระชับความร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาเดิม และ (3) การพัฒนาโครงการการค้าและการลงทุนตามแนวทางกรอบความร่วมมือด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการตรวจโรค พืช และสัตว์
                              1.5 ความเห็นของที่ประชุม IMT-GT เช่น (1) เน้นย้ำความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค             เพื่อรับมือผลกระทบจากโควิด-19 (2) สนับสนุนการขยายพื้นที่แผนงาน IMT-GT ให้ครอบคลุมทั้งคาบสมุทรมลายู รวมทั้งการพิจารณารับสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดียในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาของแผนงาน IMT-GT และ (3) สนับสนุนความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจาก      โควิด-19 โดยมีโครงการ Phuket Sandbox ของไทยเป็นต้นแบบ
                    2. การพิจารณารายงานของที่ประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด ครั้งที่ 18 โดยที่ประชุมได้เห็นชอบรายงานการประชุม สรุปสาระสำคัญ เช่น
                              2.1 ความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือภายใต้แผนงาน IMT-GT ที่เกี่ยวกับกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น กรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Urban Development Framework: SUDF) และสภาเทศมนตรีสีเขียว รวมทั้ง สนับสนุนการจัดตั้งสำนักงานมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละประเทศและการมีส่วนร่วมของรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อน IMT-GT
                              2.2 ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ได้แก่
                                        2.2.1 อินโดนีเซีย สนับสนุนการพัฒนาความเชื่อมโยงและแหล่งท่องเที่ยวในหลายจังหวัด เช่น การพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของสุมาตราเหนือ การพัฒนโครงสร้างพื้นฐานของสุมาตราตะวันตก และการพัฒนาทำเรือและนิคมอุตสาหกรรมเรียว รวมทั้งอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนข้อริเริ่มเมืองสีเขียวในเมืองบาตัมและได้เสนอโครงการใหม่ เช่น การเสริมสร้างศักยภาพในอุตสาหกรรมฮาลาลและการพัฒนาระเบียงการท่องเที่ยว
                                        2.2.2 มาเลเซีย นำเสนอโครงการที่ให้ความสำคัญ เช่น โครงการชูปิงแวลลีย์              การพัฒนาพื้นที่ต็อกบาหลี เมืองสีเขียวโกตาบารู และการก่อสร้างสนามบินโกตาบารูและสะพนโกตาบารู-ปาเล็คบัง รวมถึงการพัฒนาแผนการขนส่งสีเขียวลังกาวี เขตเศรษฐกิจริมน้ำมะละกา และโครงการอิโปห์เมืองอัจฉริยะ
                                        2.2.3 ไทย อยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ การก่อสร้าง          ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีและนราธิวาส โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อศรีวิชัย และโครงการอุทยานธรณีสตูล โดยเสนอโครงการใหม่ ได้แก่ ความเชื่อมโยงทางรางระหว่างสุไหงโกลก-รันเตาปันยัง-ตุมปัต
                    3. การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน IMT-GT อย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 โดยที่ประชุมได้รับทราบการจัดทำ IB  2022-2026 ที่เนันย้ำถึงโครงการที่เป็นรูปธรรมและแสดงความยืนยันที่จะพัฒนาความร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชียและสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อขยายขอบเขตสาขาความร่วมมือของ IMT-GT รวมทั้งได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานภายใต้ SUDF ที่ตระหนักถึงความเร่งด่วนของภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศและการฟื้นฟูจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก
การประหยัดพลังงาน การจัดการของเสีย และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมทั้งให้ความสำคัญกับ               การมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนเพื่อดึงดูดการลงทุนสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                    4. การเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างอุทยานธรณีโลกลังกาวี (มาเลเซีย) อุทยานธรณีโลกสตูล (ไทย) และอุทยานธรณีโลกทะเลสาบโตบา (อินโดนีเชีย) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีของทั้งสามประเทศโดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกันภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีในการปกป้องมรดกธรณีและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาอุทยานธรณี
                    5. ข้อเสนอฝ่ายไทยในที่ประชุมฯ รัฐมนตรีแผนงาน IMT-GT ของไทยได้ผลักดันประเด็นต่าง ๆ เช่น (1) สร้างความร่วมมือเพื่อรับมือความท้าทายผลกระทบของโควิด-19 (2) เร่งรัดการลงทุนใน PCPs เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพและรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 และ (3) สนับสนุนให้มีเครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนโครงการภายใต้แผนงาน IMT-GT มากยิ่งขึ้น โดยไทยเสนอ
การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนเพื่อสนับสนุนโครงการเมืองสีเขียว เมืองอัจฉริยะ และสาธารณสุข
                    6. แถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 27 ที่ประชุมได้เห็นชอบแถลงการณ์                ร่วมฯ โดยมีเนื้อหาและสาระสำคัญตามร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 สิงหาคม 2564) เห็นชอบ
                    7. การประชุมครั้งต่อไป ที่ประชุมได้เห็นชอบมาเลเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับผู้นำแผนงาน IMT-GT ครั้งที่ 13 ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานกับการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 39 ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 และเห็นชอบให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แผนงาน                IMT-GT  ในปี 2565 ณ จังหวัดภูเก็ตหากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง
                    8. สศช. เห็นว่า ความร่วมมือภายใต้แผนงาน IMT-GT เป็นกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินงานซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และลดความเหสื่อมล้ำในพื้นที่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกันระหว่างอนุภูมิภาคและภายในประเทศ และเป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณและการดำเนินโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมีการมอบหมายภารกิจ การติดตามประเมินผล และการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลและหน่วยงานที่ขับเคลื่อนแผนงาน IMT-GT ทุกระดับ ดังนั้น จึงเห็นควรมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันการขับเคลื่อนและการบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ
การจัดทำ IB 2022-2026 การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19 และ                         การดึงดูดการลงทุนสีเขียว

20.  เรื่อง  บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านภาพยนตร์ระหว่างทบวงกิจการภาพยนตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านภาพยนตร์ระหว่างทบวงกิจการภาพยนตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ร่างบันทึกความ             เข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีดังนี้
                    1. ผู้เข้าร่วมแต่ละฝ่ายจะเป็นเจ้าภาพจัดนิทรรศการภาพยนตร์หนึ่งครั้งสำหรับผู้เข้าร่วมอีกฝ่าย และส่งคณะผู้แทนภาพยนตร์ไปร่วมกิจกรรมตามหลักการต่างตอบแทนในช่วงระยะเวลาที่มีผลของบันทึกความเข้าใจนี้
                    2. ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนให้องค์กรภาพยนตร์และบุคคลของทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยน มีความร่วมมือ และแบ่งปันข้อมูลอุตสาหกรรมซึ่งกันและกัน
                    3. ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการร่วมผลิตภาพยนตร์ในประเด็นความสนใจร่วมกัน สถานที่ถ่ายทำ และการผลิตในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย
                    4. ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนให้ผู้สร้างภาพยนตร์และภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศมีส่วนร่วมในเทศกาลภาพยนตร์ที่จัดขึ้นในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย
                    5. ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนให้ช่องโทรทัศน์/ภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศนำเข้าและออกอากาศภาพยนตร์ของกันและกัน
                    6. ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนให้หอภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศขยายการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านข้อมูลภาพและเสียงตามหลักความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน
                    7. ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนให้มีการจัดทำข้อตกลงในการร่วมผลิตภาพยนตร์ระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ
                    8. ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็นความกังวลที่มีร่วมกันตามที่เห็นว่าจำเป็น

21. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญาไอจิ ค.ศ. 2030 ว่าด้วยการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย (ค.ศ. 2021-2030)
                    คณะรัฐมนตรี มีมติ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างปฏิญญาไอจิ ค.ศ. 2030 ว่าด้วยการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งเวดล้อม : มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย (ค.ศ. 2021 -2030) (ร่างปฏิญญาฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้แทนไทยโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ร่วมรับรองร่างปฏิญญาตังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ เป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืน และเข้าถึงได้ในภูมิภาคเอเชีย โดยครอบคลุมการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) รวมถึงความต้องการสร้างความพร้อมและความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระหว่างภาคการขนส่งกับภาคเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มมากขึ้น และมุ่งเน้นบทบาทของเมืองต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืน รวมถึงเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่ง โดยร่างปฏิญญาฯ มีโครงสร้างประกอบด้วย ส่วนหลัก 5 ส่วน ได้แก่ (1) อารัมภบท (2) ข้อมติ (3) วิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมสู่ความยั่งยืน (4) การปฏิบัติตามปฏิญญาฯ (5) การติดตามการปฏิบัติตามปฏิญญาฯ ภาคผนวก 2 ภาคผนวก ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามปฏิญญาฯ (2) การติดตามการดำเนินการตามปฏิญญาฯ โดยในส่วนของวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมสู่ความยั่งยืน ซึ่งมีการกำหนดให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2573                        มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

รายการ          สาระสำคัญของเรื่อง
วิสัยทัศน์ร่วม          - การขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในเอเชียจะต้องทำให้การเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็น มีความเป็นสากล ปลอดภัย สะอาด มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่ำ มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสม สำหรับประชาชนทุกกลุ่ม
เป้าหมายที่ 1 : ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม          - ลดคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษอื่น ๆ รวมถึงมลพิษทางเสียงจาก            ภาคการขนส่ง และเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาคการขนส่งที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี 2050
- สนับสนุนการขนส่งที่ยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของ               สภาพอากาศแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติ และโรคติดเชื้อ เช่น โรคโควิด 19 ได้
เป้าหมายที่ 2 : ความปลอดภัยทางถนน          ลดอัตราการเสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างร้ายแรงบนถนนลงร้อยละ 50
เมื่อเปรียบเทียบปี 2563
เป้าหมายที่ 3 : ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ          ทำให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจและการจ้างงานที่ยั่งยืนผ่านการลงทุน
ในโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านการขนส่งที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งสำหรับผู้โดยสารและสินค้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
เป้าหมายที่ 4 : การเข้าถึงในชนบท          - จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานและการบริการด้านการขนส่งที่เข้าถึงได้ ครอบคลุม
ปลอดภัย ราคาเป็นธรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงตลาด สาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงบริการด้านการศึกษาและสาธารณสุขได้ สำหรับกลุ่มเกษตรกร คนพิการ และกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางกลุ่มอื่น ๆ ในชนบ
เป้าหมายที่ 5 : การเข้าถึงใน                  เขตเมือง          - จัดให้มีระบบขนส่งและบริการด้านการขนส่งที่เข้าถึงได้ง่าย ปลอดภัย
มีประสิทธิภาพ ราคาเป็นธรรม และมีความยั่งยืนสำหรับกลุ่มประชากรในเขตเมือง ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้พิการ กลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางอื่น ๆ ด้วย
เป้าหมายที่ 6 : การเข้าถึงและการเชื่อมต่อระดับประเทศ          - จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบทั้งสำหรับ
ผู้โดยสารและสินค้าที่ยั่งยืนเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการเชื่อมต่อ
ในระดับประเทศ (ทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท) ไปจนถึงระดับภูมิภาค
อย่างครอบคลุม

22. เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Leaders? Statement on Advancing Digital Transformation in ASEAN)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Leaders? Statement on Advancing Digital Transformation in ASEAN) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว พร้อมอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลของไทย ให้ความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Leaders? Statement on Advancing Digital Transformation in ASEAN)
ในระหว่างการประชุม the AEC Council ? ADGMIN Interface Meeting ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีกำหนดการจะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง พิจารณาให้การรับรอง ระหว่างวันที่ 26 ? 28 ตุลาคม 2564 ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างแถลงการณ์ฯ ฉบับวันที่ 14 กันยายน 2564 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยกระดับการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อเร่งปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล โดยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อฟื้นฟูภายหลังสถานการณ์                การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  และเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน การรับมือและการจัดการกับความท้าทายผ่านแผนงานอาเซียนรายสาขา และกลไกการประชุมที่เกี่ยวข้อง อาทิ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน การประชุมระหว่างสมัยประชุมด้านความมั่นคงของและ              ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือกับภายนอกภูมิภาคอาเซียน พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางการดำเนินการ                       เพื่อปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ดังนี้
                              1. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรอาเซียนรายสาขาและระหว่างประชาคมอาเซียน             ทั้งสามเสาหลัก เพื่อให้เกิดแนวทางความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์และเป็นองค์รวมในการเร่งขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลที่ครอบคลุม และการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ตลอดจนการสร้างความยืดหยุ่น                ในระยะยาวเพื่อรับมือกับความท้าทายและวิกฤตในอนาคต
                              2. เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการพัฒนาศักยภาพ             ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย               ไซเบอร์อาเซียน เพื่อส่งเสริมพื้นที่ไซเบอร์ที่มีความปลอดภัย ยืดหยุ่น เชื่อมโยงและอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ โดยเฉพาะการสนับสนุนความสอดคล้องทางนโยบายระหว่างองค์กรอาเซียนรายสาขา การเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียนในโครงสร้างทางสถาบันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายระดับภูมิภาคด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
                              3. มุ่งมั่นให้เกิดความเชื่อมโยงด้านดิจิทัลในอาเซียนที่มีคุณภาพ สามารถเข้าถึงได้ และ              มีราคาที่เหมาะสม รวมถึงส่งเสริมการเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียนเพื่อสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพและแข่งขันได้
                              4. ดำเนินการตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 (ADM 2025) เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ตามแผนแม่บท ADM 2025 ผ่านการดำเนินการที่เกื้อหนุนกันทั้งภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนร่วมในระบบตลาดเศรษฐกิจ
                              5. เสริมสร้างการบูรณาการและการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลในอาเซียนผ่านการจัดทำความตกลงกรอบเศรษฐิจดิจิทัลอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บูรณาการ
เป็นไปตามกฎเกณฑ์ และมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนความร่วมมือของอาเซียนในระบบนิเวศด้านดิจิทัล
                              6. เตรียมความพร้อมสู่การเป็นสังคมดิจิทัลในอาเซียนที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต โดยมีความรู้และทักษะที่จำเป็น เพื่อให้มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในการก้าวสู่ดิจิทัลผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย รวมถึงกลุ่มคนชายขอบ เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ครอบคลุม
                              7. ส่งเสริมความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกับภาคีภายนอกผ่านกลไก           ความร่วมมือที่อาเซียนมีบทบาทนำ องค์กรระหว่างประเทศ ภาคเอกชน และสมาคมการค้า เพื่อเร่งขับเคลื่อน       การปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลในทุกมิติของการสร้างประชาคมอาเซียน

23.  เรื่อง ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 28
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Finance Ministers? Meeting: APEC FMM)  ครั้งที่ 28  ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข
ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 28 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 28 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีเนื้อหาเพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค โดยมีประเด็นครอบคลุมการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืน ในทุกภาคส่วน ควบคู่กับการดำเนินนโยบายทางการคลังและนโยบายอื่น ๆ ตลอดจนการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันในอนาคต ดังนี้ 1) การดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปค 2) การสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืน และเกิดการฟื้นตัวทุกภาคส่วน 3) นโยบายด้านการคลังและงบประมาณ และการรับมือกับความท้าทายในระยาว และ 4) การต่อยอดและการดำเนินยุทธศาสตร์การนำแผนปฏิบัติการเซบูสู่การปฏิบัติ
                    ทั้งนี้กระทรวงการคลังนิวซีแลนด์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Finance Ministers? Meeting: APEC FMM) ครั้งที่ 28 ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Virtual Meeting) โดยในการประชุมจะมีการพิจารณารับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมด้วย

24.  เรื่อง  ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 3
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 3 (3rd Mekong ? ROK Summit Joint Statement) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรอง โดยไม่มีการลงนามร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
                    1. แสดงเจตนารมณ์อันต่อเนื่องของประเทศสมาชิกในการส่งเสริมความร่วมมือของ Mekong ? ROK  ในสาขาความร่วมมือทั้ง 7 สาขา ซึ่งสอดรับกับนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy: NSP) และนโยบายมุ่งใต้ใหม่พลัส (New Southern Policy Plus: NSPP) ของสาธารณรัฐเกาหลี และรับทราบความคืบหน้า
การดำเนินงานที่สำคัญในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2564 ภายใต้แผนปฏิบัติการกรอบความร่วมมือฯ ฉบับที่ 3               (ค.ศ. 2021 ? 2025)
                    2. แม้จะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมของผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ประเทศสมาชิกยืนยันพันธกรณีและความตั้งใจที่จะร่วมมือกันเพิ่มยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์               การแพร่ระบาดฯ ทั้งในมิติด้านสาธารณสุขและด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากนโยบาย Green New Deal และ Digital New Deal ของสาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio ? Circular ? Green Economy Model: BCG) ของไทย
          3. ชื่นชมบทบาทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของสาธารณรัฐเกาหลีในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance: ODA) และกองทุน MKCF
                    4. ย้ำบทบาทของภาคเอกชนในการสนับสนุนความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ และการประชุมภาคธุรกิจลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี (Mekong ? ROK Business Forum) ครั้งที่ 9 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2564 ที่ราชอาณาจักรกัมพูชา จะเป็นโอกาสอันดีสำหรับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของประเทศสมาชิก
                    5. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระดับประชาชน ภายใต้ปีแห่งการแลกเปลี่ยนของกรอบความร่วมมือ              ลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ค.ศ. 2021 (Mekong ? ROK Exchange Year 2021) และยินดีต่อการขยายระยะเวลาของปีดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงปี 2565
                    6. สนับสนุนการสอดประสานระหว่าง Mekong ? ROK กับอาเซียน และกรอบความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาคและอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady ? Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ซึ่งมีลักษณะพิเศษของการเป็นกรอบความร่วมมือที่มีประเทศลุ่มน้ำโขงเป็นสมาชิกเท่านั้น โดยสาธารณรัฐเกาหลีได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ ACMECS ในปี 2563 และพร้อมจะมีความร่วมมือที่จะใกล้ชิดกับ ACMECS ในโครงการความร่วมมือที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสาธารณรัฐเกาหลี
                    ทั้งนี้ การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลีและนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานร่วม และที่ประชุมดังกล่าวจะรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม คือ ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 3 (3rd Mekong ? ROK Summit Joint Statement) ซึ่งย้ำเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการขับเคลื่อน Mekong ? ROK ให้ตอบโจทย์การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส         โคโรนา 2019 (โควิด-19)

25. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารในข้อ 2 จำนวน 22 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารในข้อ 2 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงการต่างประเทษขอเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้ประสานและรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวม 22 ฉบับ โดยเป็นเอกสารที่ผู้นำจะรับรอง (adopt) ทั้งหมด ทั้งนี้ จะมีเอกสารเพิ่มเติมอีก 4 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (Draft ASEAN Leaders? Statement on Advancing Digital Transformation in ASEAN) (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Draft ASEAN-China Joint Statement on Strengthening Green and Sustainable Development) (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (Draft ASEAN Joint Statement on Climate Change to the 26th Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC COP-26) และ (4) ร่างปฏิญญาอาเซียนเพื่อส่งเสริมแรงงานอาเซียนให้มีความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับกับอนาคตของงาน (Draft ASEAN Declaration on Promoting Competitiveness, Resilience and Agility of Workers for the Future of Work) โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องสำหรับเอกสาร (1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องสำหรับเอกสาร (2) และ (3) และกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องสำหรับเอกสาร (4) จะดำเนินการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    2. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 22 ฉบับ สรุป ดังนี้
                              2.1 ร่างปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวมเพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียน (อาเซียน ชิลด์) (Draft Bandar Seri Begawan Declaration on the Strategic and Holistic Initiative to Link ASEAN Responses to Emergencies and Disasters (ASEAN SHIELD) เพื่อส่งเสริมการประสานงานของกลไกอาเซียนและบทบาทของเลขาธิการอาเซียนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติในอนาคตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                              2.2 ร่างปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยความสำคัญของครอบครัวเพื่อการพัฒนาชุมชนและการสร้างชาติ (Draft Bandar Seri Begawan Declaration on the Importance of the Family for Community Development and Nation-Building) เพื่อย้ำบทบาทสำคัญของครอบครัวในการสร้างรากฐานของชุมชนและชาติที่มั่นคงและมีภูมิคุ้มกันสำหรับประชาชนอาเซียน
                              2.3 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการธำรงระบบพหุพาคีนิยม (Draft ASEAN Leaders' Declaration on Upholding Multilateralism)  ยืนยันความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมระบบพหุภาคีนิยมและกลไกพหุภาคีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ และเพิ่มพูนผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ
                              2.4 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยเศรษฐกิจภาคทะเล (Draft ASEAN Leaders' Declaration on the Blue Economy)  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเลในอาเซียนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับภาคีภายนอก
                              2.5 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการปรับสูตรและการผลิตอาหารและเครื่องดื่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ (ASEAN Leaders' Declaration on the Reformulation and Production of Healthier Food and Beverage Options)  เพื่อส่งเสริมการปรับสูตรและการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพในภูมิภาค
                              2.6 ร่างปฏิญญาว่าด้วยการขจัดการระรานเด็กในอาเซียน (Draft Declaration on the Elimination of Bullying of Children in ASEAN)  ส่งเสริมให้มีมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองเด็กในภูมิภาคอาเซียนจากการถูกระรานทุกรูปแบบ
                              2.7 ร่างแผนยุทธศาสตร์อาเซียนในประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (Draft Consolidated Strategy on the Fourth Industrial Revolution for ASEAN) เป็นเอกสารกำหนดแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาประชาคมอาเซียนที่เป็นดิจิทัลของสามเสาประชาคมอาเซียนให้มีทิศทางเดียวกัน มีบูรณาการ และมีตัวชี้วัดความสำเร็จให้ชัดเจน
                              2.8 ร่างกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจใส่ใจที่ครอบคลุมของอาเซียน (Draft ASEAN Comprehensive Framework on Care Economy)  เพื่อเป็นแนวทางในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ที่มีความซับซ้อนและท้าทายในอาเซียน โดยเฉพาะบริบทของโควิด-19 โดยมุ่งบูรณาการความร่วมมือข้ามสาขา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอาเซียนที่มีความเข้มแข็งและมีความสามารถในการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
                              2.9 ร่างกรอบนโยบายยุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมการปรับตัวของประชาคมอาเซียนสำหรับความเข้าใจ การยอมรับ และการรับรู้เกี่ยวกับวาระระดับภูมิภาคที่มากขึ้นในหมู่ประชาชนอาเซียน (Draft ASEAN Strategic Policy Framework on Promoting an Adaptive ASEAN Community of Greater Understanding, Tolerance and a Sense of Regional Agendas among the Peoples of ASEAN)  เพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและอัตลักษณ์อาเซียนในหมู่ประชาชนอาเซียน โดยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นประชาคมที่มีความสามารถในการปรับตัว เป็น ?ประชาคมแห่งโอกาสเพื่อคนทั้งปวง? (Community of Opportunities for All) ที่ส่งเสริมความหลากหลาย ความอดทนอดกลั้น และการมีส่วนร่วม
                              2.10 ร่างขอบเขตอำนาจและหน้าที่คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 และแผนงาน (Draft Terms of Reference for the High-Level Task Force on the ASEAN Community's Post-2025 Vision and the Roadmap) เป็นเอกสารกำหนดบทบาทและหน้าที่ของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจะทำหน้าที่วางแผนและจัดทำวิสัยทัศน์ฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                              2.11 ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล (Draft ASEAN-U.S. Leaders' Statement on Digital Development)  เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านดิจิทัล
                              2.12 ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-อินเดีย ว่าด้วยความร่วมมือต่อมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (Draft ASEAN-India Joint Statement on Cooperation on the ASEAN Outlook on the Indo-Pacific (AOIP)  เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการแสวงหาความร่วมมือภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (เอโอไอพี) กับข้อริเริ่มมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Oceans Initiative) ของอินเดีย
                              2.13 ร่างแถลงการณ์อาเซียน-รัสเซีย ว่าด้วยการสร้างภูมิภาคที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงและยั่งยืน (Draft ASEAN-Russia Statement: Building United, Secure and Sustainable Region)  เพื่อส่งเสริมการทำงานของกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ และผลักดันความร่วมมือบนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกันในโครงสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาค
                              2.14 ร่างแถลงการณ์อาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย ว่าด้วยความร่วมมือในด้านการรับมือและต่อต้านปัญหายาเสพติดโลก (Draft Statement of ASEAN and the Russian Federation on Cooperation in the Field of Addressing and Countering the World Drug Problem) เพื่อเน้นย้ำความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย ในการรับมือและต่อต้านปัญหายาเสพติดในโอกาสครบรอบ 60 ปี อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และ 50 ปี อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971              ผ่านการฝึกอบรมหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด รวมถึงสนับสนุนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ในด้านนี้
                              2.15 ร่างแผนปฏิบัติการฉบับครอบคลุมเพื่อดำเนินความร่วมมือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสหพันธรัฐ-รัสเซีย (ค.ศ. 2021-2025) (Draft Comprehensive Plan of Action to Implement the Association of Southeast Asian Nations and the Russian Federation Strategic Partnership (2021-2025)  ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและรัสเซียจะดำเนินการร่วมกัน โดยมีสาขาความร่วมมือที่สำคัญ เช่น ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
                              2.16 ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยความร่วมมือในการสนับสนุนกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (Draft ASEAN-China Joint Statement on Cooperation in Support of the ASEAN Comprehensive Recovery Framework) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะการสนับสนุนแนวทางและการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีนภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนในด้านต่าง ๆ
                              2.17 ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 เพื่อฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน (Draft Joint Statement of the 24th ASEAN-China Summit to Commemorate the 30th Anniversary of ASEAN-China Dialogue Relations) มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำความสัมพันธ์ที่มีพลวัตและสาระสำคัญระหว่างอาเซียนกับจีนในโอกาสครบรอบ 30 ปี และเน้นย้ำหลักการสำคัญร่วมกัน กำหนดแนวทางการสานต่อความร่วมมืออาเซียน-จีนในทุกด้าน ทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
                              2.18 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 22 ว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีให้ก้าวไกล (Draft Joint Statement of the 22nd ASEAN-Republic of Korea Summit on Advancing ASEAN-Republic of Korea Cooperation)  กำหนดแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีจะดำเนินการร่วมกันเพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีจะดำเนินการร่วมกันเพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีให้ก้าวไกล เป็นรูปธรรม มีพลวัต และเป็นประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้ตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเฉพาะการฟื้นฟูหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19
                              2.19 ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนบวกสาม ว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขภาพจิตในวัยรุ่นและเด็ก (Draft ASEAN Plus Three Leaders' Statement on Cooperation on Mental Health Amongst Adolescents and Young Children)  เพื่อเสริมสร้างการดำเนินการป้องกันและการบรรเทาผลกระทบด้านลบของสุขภาพจิตต่อสังคมและเศรษฐกิจในภูมิภาค ผ่านการส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านสุขภาพจิตเพื่อจัดการประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตและการป้องกันการฆ่าตัวตาย ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยและการริเริ่มการสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับสุขภาพจิตระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและภาคีภายนอก
                              2.20 ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการฟื้นฟูที่ยั่งยืนและสีเขียว (Draft East Asia Summit Leaders' Statement on Sustainable and Green Recovery)                เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืนและสีเขียวในระยะยาว โดยเน้นย้ำหลักการและ              ความร่วมมือที่สำคัญของอาเซียน การส่งเสริมการดำเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุม การแก้ไขปัญหา              การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ความร่วมมือรายสาขา             ด้านพลังงาน อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเศรษฐกิจ ปัญหาขยะทะเล ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ การตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉินและภัยพิบัติ และการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล
                              2.21 ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการฟื้นฟูการท่องเที่ยว (Draft East Asia Summit Leaders' Statement on Economic Growth through Tourism Recovery) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมาจากโควิด-19 โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและมาตรฐานด้านสาธารณสุข การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจ MSMEs ตลอดจนการดำเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของอาเซียนระยะหลังการแพร่ระบาด และข้อเสนอแนะร่วมขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก
                              2.22 ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขภาพจิต (Draft East Asia Summit Leaders' Statement on Mental Health Cooperation)เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะในบริบทของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพจิตเป็นประเด็นด้านสาธารณสุขที่สำคัญ โดยมีแนวทางการดำเนินความร่วมมือที่สำคัญ อาทิ ส่งเสริมความร่วมมือด้านสุขภาพจิตทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศผ่านเวทีและกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ การฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ การเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของสาธารณชนเรื่องภาวะสุขภาพจิต และการแสวงหาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน ว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขภาพจิตเพื่อการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม

26.  เรื่อง ขอความเห็นชอบการร่วมรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานในอาเซียนให้มีความสามารถในการแข่งขัน ปรับตัวได้ และมีความคล่องตัวเพื่อรองรับอนาคตของงาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานในอาเซียนให้มีความสามารถในการแข่งขัน ปรับตัวได้ และมีความคล่องตัวเพื่อรองรับอนาคตของงาน และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช้สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วยตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนในการประสานงานและส่งเสริมในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การจัดทำมาตรฐานการพัฒนาฝีมือแรงงานที่สอดคล้องกันกับระบบการรับรองวิชาชีพ การเพิ่มผลิตภาพแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจ               การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเจรจาทางสังคมและแรงงานสัมพันธ์ มาตรการการคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมและยั่งยืน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการแบ่งปันความรู้ ข้อมูล และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับกลยุทธ์และนโยบายด้านแรงงานและการจ้างงาน ส่งเสริมการผลักดันนโยบายและโครงการด้านตลาดแรงงานที่ยืดหยุ่นต่อการปรับตัว และสนับสนุนการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและความเป็นพันธมิตรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงพันธมิตรภายนอก องค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

27. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 16 (CMP 16) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 3 (CMA 3) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อกรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประจำปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกรอบท่าทีเจรจาของไทยที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ                สมัยที่ 26 (COP 26) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 16 (CMP 16) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 3 (CMA 3) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 มีเนื้อหาครอบคลุมหลักการภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ เช่น ความเป็นธรรมและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างโดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ เน้นย้ำให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องเป็นผู้นำในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้การจัดทำและการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDCs) อยู่ภายใต้หลักการของกรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส การกำหนดนโยบายหรือมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การค้าและสังคมของประเทศกำลังพัฒนา ส่งเสริมบทบาทของภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งในด้านการกักเก็บคาร์บอนและการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกำหนดแนวทางและกลไกความร่วมมือเกี่ยวกับกลไกตลาดและไม่ใช้ตลาดต้องมีความยืดหยุ่นไม่เป็นภาระเพิ่มเติม และคำนึงถึงประสบการณ์จากกลไกที่มีอยู่เดิม ต้องการให้มีการยกระดับการสนับสนุนทางด้านการเงิน เทคโนโลยี และการเสริมสร้างศักยภาพต่อการดำเนินงานด้านการปรับตัวฯ ของประเทศกำลังพัฒนาให้มีการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ การวิจัย การเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และเสริมสร้างศักยภาพในภาคเกษตรเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้ประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้นำและยกระดับการสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวฯ อย่างเพียงพอ สมดุล และต่อเนื่อง สนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีสโดยควรเชื่อมโยงกับกลไกทางการเงิน ให้มีการยกระดับศักยภาพของบุคลากร สถาบันและระบบในประเทศกำสังพัฒนาอย่างบูรณาการและยั่งยืน การกำหนดรายละเอียดของกรอบความโปร่งใสในการดำเนินงานและการสนับสนุนต้องมีความยืดหยุ่นและคำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศไทยพร้อมจะเป็นประเทศที่ให้ และ/หรือ ประสานความช่วยเหลือหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เป็นต้น ในการนี้ หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากนี้ หากไม่เป็นการขัดกับท่าที่การเจรจาของไทยและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทน ทั้งนี้ กรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปตามหลักการของกรอบอนุสัญญาฯ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา

28. เรื่อง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand?s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand's Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy)             และเห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของอนุสัญญาฯ จัดส่ง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand's Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy) ต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand's Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy) จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการร่วมมือกับประชาคมโลกในการพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 ? 2 องศาเซลเซียส โดยมุ่งสู่การปล่อยก๊าชเรือนกระจกของโลกในระดับสูงสุดโดยเร็วที่สุด และดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มข้น ตามข้อ 4 วรรค 19 ของความตกลงปารีส ได้เชิญชวนให้ทุกประเทศจัดทำขึ้นและสื่อสารยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ โดยคำนึงถึงหลักความรับผิดชอบร่วมกันที่แตกต่าง (Common but differentiated responsibilities and respective capabilities, CBDR) ของแต่ละประเทศ โดยประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะมีระดับการปล่อยก๊าชเรือนกระจกสูงสุด ณ ปี ค.ศ. 2030 มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero GHG emissions) โดยเร็วที่สุดภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ และมีความพยายามในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 ในขณะที่การยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศและการได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงิน เทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถจะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายนี้ได้ ซึ่งยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ของประเทศไทยจัดทำโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มีการกำหนดเป้าหมายและมาตรการที่ชัดเจนและสอดคล้องตามแนวทางการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลก กรณี 2 องศาเซลเซียส ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) และมีเป้าหมายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2065 ทั้งนี้ ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและขนส่งอย่างเร่งด่วน รวมถึงการปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าการลงทุนในธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใน ปี ค.ศ. 2050 และช่วยลดผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนด้านพลังงานหรือการลดลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจากการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วม (co-benefit) อื่นด้วย เช่น ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้น ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวประชากรมีปริมาณลดลงทำให้มลพิษทางอากาศ ได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ PM 2.5 ลดลง โดยการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทยจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แต่งตั้ง
29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เสนอแต่งตั้ง นายสมศักดิ์ เพิ่มเกษร ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ กปร. สำนักงาน กปร. เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
                    1. นายวิจารย์ สิมาฉายา           เป็นประธานกรรมการ
                     2. นายสมชาย รังษีธนานนท์           เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจ
                     3. นายสมิทธ์ พนมยงค์                     เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน
                    4. นายสุธา ขาวเธียร                     เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    5. นายขวัญชัย ดวงสถาพร           เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านป่าไม้
                    6. นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช           เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุตสาหกรรม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 ตุลาคม 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ