สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 มกราคม 2565

ข่าวการเมือง Wednesday January 12, 2022 09:01 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

		วันนี้ (11 มกราคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ผ่านระบบ Video Conference) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
1. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ....
2. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ....
3. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบการขอสัญชาติไทย
การแปลงสัญชาติเป็นไทย การสละสัญชาติไทย การกลับคืนสัญชาติไทย
และค่าธรรมเนียม พ.ศ. ....
4. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จ					บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
5. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
พ.ศ. ....
6. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ สังคม

7. 	เรื่อง 	ขออนุมัติขยายกรอบระยะเวลาและปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อ
เพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่
8. 	เรื่อง	ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
9. 	เรื่อง 	วันป่าชุมชนแห่งชาติ
10. 	เรื่อง 	มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565
11. 	เรื่อง 	การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบาย
การบริหารทุนหมุนเวียน
12. 	เรื่อง 	รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด 				ประจำปี พ.ศ. 2563
13. 	เรื่อง 	รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ 				ประจำปี 2564
14. 	เรื่อง 	หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วย					ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)] 					(ฉบับที่ 7)
15. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
ครั้งที่ 41/2564 และครั้งที่ 1/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการ					กลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565
		16. 	เรื่อง 	การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566                           				ซึ่งจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณสำหรับรายการ				ที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกรุงเทพมหานคร

17. 	เรื่อง 	แผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 				พ.ศ. 2566
18. 	เรื่อง 	รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2564 และแนวโน้มไตรมาส
ที่ 4/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2564
19.	เรื่อง	ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ				เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร				และโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า

ต่างประเทศ

20. 	เรื่อง 	การยกเลิกเงื่อนไขการนำเข้าสินค้าหอมหัวใหญ่ตามพันธกรณีความตกลงหุ้นส่วน				เศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP)
21. 	เรื่อง 	ขอความเห็นชอบโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in 					Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable 				Landscapes
22. 	เรื่อง 	ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ลาว ครั้งที่ 22
23. 	เรื่อง 	ผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค
ลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) ผ่านระบบ
การประชุมทางไกล
24. 	เรื่อง 	ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่หนึ่ง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
25. 	เรื่อง 	ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 20
26. 	เรื่อง 	รายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 9 					และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
27. 	เรื่อง 	ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างกระทรวง					พลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม 				ประเทศญี่ปุ่น

แต่งตั้ง

28. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
29. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงพลังงาน)
30. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การ
ขนส่งมวลชนกรุงเทพ
31. 	เรื่อง 	ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน
32. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(แทนผู้ที่ขอถอนตัว)
33. 	เรื่อง 	แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
34. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม
35. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(ด้านจิตวิทยาองค์การ)



36. 	เรื่อง 	แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนา				สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396







































กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ....
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
 		1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
 		2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
 		3. ให้ พน. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
 		ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ พน. เสนอ เป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความชัดเจนและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน โดยปรับปรุงคำนิยาม ?น้ำมันเชื้อเพลิง? ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพิ่มคำนิยาม ?ผู้บรรจุก๊าซ? และกำหนดให้ต้องยื่นจดทะเบียน เพื่อให้สามารถกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบรรจุก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยนหลักการคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองเพื่อให้ประเทศมีปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองสอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงต้องแจ้งต่ออธิบดี เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการขออนุมัติ อนุญาต เนื่องจากผู้ประกอบการดังกล่าวต้องขอใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งกรมธุรกิจพลังงานกำกับดูแลอยู่แล้ว เพิ่มมาตรการกำกับดูแลผู้ประกอบการบรรจุก๊าซหุงต้มเพื่อจำหน่ายโดยต้องมายื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี และผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นต้องยื่นขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นก่อนการจำหน่าย รวมทั้งมีการปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
 		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
 		ร่างพระราชบัญญัติฯ มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความชัดเจนและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ดังนี้
 		1. แก้ไขคำนิยามคำว่า ?น้ำมันเชื้อเพลิง? ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถกำหนดชนิดของผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งผู้ประกอบการค้าจะต้องขออนุมัติอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน โดยกำหนดให้ ?น้ำมันเชื้อเพลิง? หมายความว่า
 			(1) ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และน้ำมันหล่อลื่น
  			(2) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น
 			(3) เอทานอล ไบโอดีเซล และไบโอมีเทน ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ โดยจะใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรง หรือใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงก็ได้
			(4) สิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น หรือ สิ่งอื่นที่ใช้ หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ตาม (1) ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 		2. เพิ่มคำนิยามคำว่า ?ผู้บรรจุก๊าซ? โดยหมายความว่า ผู้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มในโรงบรรจุตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง และกำหนดให้ต้องยื่นจดทะเบียน เพื่อให้สามารถกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบรรจุก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ใช้กำกับดูแลการประกอบธุรกิจดังกล่าวมีการยกเลิก
 	 	3. เพิ่มคำนิยามคำว่า ?ปริมาณการจำหน่ายประจำปี? และเปลี่ยนหลักการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงจาก ?ปริมาณการค้าประจำปี? เป็น ?ปริมาณการจำหน่ายประจำปี? เพื่อให้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองสอดคล้องกับปริมาณการใช้จริงของประเทศ โดยกำหนดให้ ?ปริมาณการจำหน่ายประจำปี? หมายความว่า ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่จำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นน้ำมันหล่อลื่นในปีหนึ่ง และให้หมายความรวมถึงปริมาณที่ใช้ในการกลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
 		4. กำหนดปริมาณการค้าและชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงต้องดำเนินการให้ชัดเจน ดังนี้
 			4.1 กำหนดให้ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตาม (1) และ (3) ของบทนิยามคำว่า ?น้ำมันเชื้อเพลิง? หรือน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยมีปริมาณการค้าแต่ละชนิด หรือรวมกันทุกชนิดปีละตั้งแต่ 100,000 เมตริกตันขึ้นไป (ผู้ค้าขนาดใหญ่) ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี ทั้งนี้ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต และเงื่อนไขให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 			4.2 กำหนดให้ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าไม่ถึง 100,000 เมตริกตัน (ผู้ค้าขนาดกลาง) แต่เป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีชนิด ปริมาณ หรือขนาดของถังที่สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
 		5. เพิ่มมาตรการกำกับดูแลผู้ประกอบการบรรจุก๊าซหุงต้มเพื่อจำหน่าย โดยกำหนดให้ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งดำเนินกิจการโดยเป็นผู้บรรจุก๊าซ ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี การขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (เดิมกำหนดให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา
 		6. กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นชนิดที่อธิบดีประกาศกำหนด ต้องยื่นคำขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นต่ออธิบดี การยื่นคำขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด และต้องชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นเป็นรายปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อให้การกำกับดูแลการค้าน้ำมันหล่อลื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 		7. ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น เพิ่มโทษปรับจากไม่เกิน 25,000 บาท เป็น ไม่เกิน 50,000 บาท ในกรณีที่บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่อำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ....
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
 		1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
	 	2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ
		ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนโดยกำหนดให้มีองค์กรสภาวิชาชีพ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชน (ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชนตามมาตรา 35 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งการใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งเสนอข่าวนั้นจะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชนด้วย เช่น การเสนอข้อเท็จจริงด้วยความถูกต้อง ครบถ้วนรอบด้าน และเป็นธรรม การให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลซึ่งได้รับผลกระทบจากการเสนอข่าว หรือการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งหากปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชนแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง) ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนที่ไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชน (ปัจจุบันวิชาชีพสื่อมวลชนยังไม่มีสภาวิชาชีพที่จัดตั้งตามกฎหมาย แต่วิชาชีพอื่น ๆ ได้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เช่น สภาทนายความ และสภาวิชาชีพนักบัญชี เป็นต้น) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและกรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (9 กุมภาพันธ์ 2564) โดยพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในภาพรวมแล้ว
 		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
		1. กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชน แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น
 		2. กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสิทธิปฏิเสธการปฏิบัติตามคำสั่งใดที่จะมีผลให้เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมสื่อมวลชนโดยมิให้ถือว่าเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่การใช้สิทธิดังกล่าวต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ด้วย
 		3. กำหนดให้มี ?สภาวิชาชีพสื่อมวลชน? ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน และกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาจริยธรรมสื่อมวลชนและมาตรฐานวิชาชีพ และให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
 		4. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีหน้าที่และอำนาจจดแจ้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ส่งเสริมการคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชน ติดตามดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน องค์กรสื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพ และองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ให้เป็นไปตามจริยธรรมสื่อมวลชน และให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่ภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น
 		5. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีรายได้จากเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม เช่น เงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่าย เป็นต้น ทั้งนี้ ให้มีการจัดสรรเงินของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้แก่สภาฯ เป็นรายปี ไม่น้อยกว่าปีละ 25 ล้านบาท
 		6. กำหนดให้มี ?คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน? ประกอบด้วย กรรมการผู้แทนองค์กรเวิชาชีพสื่อมวลชน จำนวน 5 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งสรรหาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านวิชาการสื่อสารมวลชน กฎหมายสิทธิมนุษยชนหรือการคุ้มครองผู้บริโภค และกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
 		7. กำหนดให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีหน้าที่และอำนาจบริหารกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสื่อมวลชนของสภาซึ่งเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล และพิจารณาการขอจดแจ้งและเพิกถอนการจดแจ้งขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น
 		8. กำหนดให้มี ?สำนักงานสภาวิชาชีพสื่อมวลชน? มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาวิชาชีพสื่อมวลชน และคณะกรรมการจริยธรรม รวมทั้งจัดทำงบดุล การเงิน และบัญชีทำการของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนส่งผู้สอบบัญชีภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ตลอดจนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
 		9. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสื่อมวลชน โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับจริยธรรมอย่างน้อยเกี่ยวกับการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และมาตรการที่จะดำเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนหรือองค์กรสื่อมวลชนเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นโดยฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามจริยธรรมสื่อมวลชน

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบการขอสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติเป็นไทย การสละสัญชาติไทย การกลับคืนสัญชาติไทย และค่าธรรมเนียม พ.ศ. ....
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบการขอสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติเป็นไทย การสละสัญชาติไทย การกลับคืนสัญชาติไทย และค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		ทั้งนี้ มท. เสนอว่า โดยที่กฎกระทรวง (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบการขอสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติไทย การสละสัญชาติไทย การกลับคืนสัญชาติไทย รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อันจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการบริหาร การรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของชาติ รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิของประชาชน มท. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบการขอสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติเป็นไทย การสละสัญชาติไทย การกลับคืนสัญชาติไทย และค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... ขึ้น และได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบการขอสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติเป็นไทย การสละสัญชาติไทย การกลับคืนสัญชาติไทย และค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
  		1. กำหนดสถานที่ในการยื่นคำขอมีสัญชาติไทยของหญิงต่างด้าวที่มีสามีเป็นผู้มีสัญชาติไทย การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอกลับคืนสัญชาติไทย และการขอสละสัญชาติไทย ให้เป็นปัจจุบัน ดังนี้
 			1.1 ผู้ยื่นคำขอที่มีชื่อตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่กรมการปกครอง
 			1.2 ผู้มีชื่ออยู่ในจังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่จังหวัด
 			1.3 กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่
 		2. กำหนดเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอให้ชัดเจน โดยกรณีหญิงต่างด้าวที่สมรสกับชายสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะขอมีสัญชาติไทยตามสามี ให้ยื่นคำขอตามแบบ สช.1 พร้อมหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัว ใบสำคัญการสมรส รูปถ่าย และหากคนต่างด้าวจะขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ให้ยื่นคำขอตามแบบ สช.2 พร้อมหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัว รูปถ่าย หลักฐานการประอบอาชีพ หลักฐานการศึกษา และกรณีจะขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่คนต่างด้าวที่เป็นคนไร้ความสามารถ ผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ หรือเป็นบุตรบุญธรรมของคนสัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอตามแบบ สช.3 พร้อมหลักฐาน เช่น สำเนาคำสั่งของศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้อนุบาล หลักฐานของคนไร้ความสามารถ
 		3. กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาและตรวจสอบคุณสมบัติในการขอมีสัญชาติไทยหรือการขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้ชัดเจน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน หรือ 120 วันกรณียื่นที่ต่างประเทศ โดยให้ขยายออกไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่ต้องไม่เกิน 2 ครั้ง และต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น (เดิม ไม่กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาและตรวจสอบคุณสมบัติไว้)
 		4. กำหนดให้คนต่างด้าวที่ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย จะต้องมีความรู้ภาษาไทย จะต้องพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจได้ โดยต้องผ่านการทดสอบจากคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติตามหลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการดังกล่าวกำหนดหรือมีหนังสือรับรองจากสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองจากระทรวงศึกษาธิการที่แสดงว่าเป็นผู้ผ่านการศึกษาเล่าเรียนจากสถานศึกษาในประเทศไทยไม่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษา (เดิม กำหนดให้จะต้องมีความรู้ภาษาไทย พูดภาษาไทยและฟังภาษาไทยเข้าใจได้เท่านั้น)
 		5. กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับแบบคำขอสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติเป็นไทย สละสัญชาติไทย และกลับคืนสัญชาติไทย ให้สอดคล้องกับค่าเงินในปัจจุบัน เช่น
 			5.1 คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ครั้งละ 10,000 บาท (เดิม 5,000 บาท)
 			5.2 คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย สำหรับบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้แปลงสัญชาติเป็นไทยคนหนึ่ง ครั้งละ 5,000 บาท (เดิม 2,500 บาท)
 			5.3 หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย ฉบับละ 1,000 บาท (เดิม 500 บาท)
			5.4 คำขอกลับคืนสัญชาติไทย ครั้งละ 2,000 บาท (เดิม 1,000 บาท)

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ              (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
 		ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
 		1. ตามที่ได้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2553 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดขอบเขต ประเภทของหลักทรัพย์ และสัดส่วนในการนำเงินของ กบข. เฉพาะแผนการลงทุนหลัก (ไม่รวมเงินสำรอง และเงินทุนที่สมาชิกเลือกแผนการลงทุนอื่นที่ไม่ใช่แผนการลงทุนหลัก) ไปลงทุนหาผลประโยชน์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
 		 	(1) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และอาจลงทุนในหลักทรัพย์อื่นไม่เกินร้อยละ 40
 			(2) ลงทุนในตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งไม่รวมถึงพันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารอย่างอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ที่ออกโดยนิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่งไม่เกินร้อยละ 10 หรือไม่เกินจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้กึ่งทุน เมื่อรวมกันทุกนิติบุคคลแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 35
 			(3) ลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 40
 			(4) ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไม่เกินร้อยละ 12
  		2. แต่โดยที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการลงทุนได้เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการกำหนดสัดส่วนในการนำเงินของ กบข. ไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ตามกฎกระทรวงในข้อ 1. ทำให้มีการลงทุนที่กระจุกตัวอยู่ในตราสารหนี้ไทย และขาดการกระจายความเสี่ยงที่ดี กค. พิจารณาแล้วจึงเห็นควรแก้ไขกฎกระทรวงตามข้อ 1. เพื่อปรับเพดานสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ จากเดิมไม่เกินร้อยละ 40 เป็นไม่เกินร้อยละ 60 ของเงินกองทุน กบข. เฉพาะแผนการลงทุนหลัก ซึ่งจะทำให้ กบข. สามารถหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ และจะเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนของ กบข. ผ่านการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายในประเทศต่าง ๆ ที่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน ขณะเดียวกันยังเพิ่มสภาพคล่องของการลงทุน และจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการกองทุนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยต่ำอีกด้วย อย่างไรก็ดี การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศดังกล่าว นอกจากจะทำให้สมาชิกมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้สมาชิกมีความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่ง กบข. จะต้องมีกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ
 		3. ทั้งนี้ การยกร่างกฎกระทรวงดังกล่าวตามข้อ 2. เพื่อเพิ่มเพดานการลงทุนของ กบข. ในหลักทรัพย์ในต่างประเทศนั้น ยังอยู่ในกรอบการลงทุนตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ที่บัญญัติให้เงินของ กบข. ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		ปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศจากไม่เกินร้อยละ 40 เป็นไม่เกินร้อยละ 60 ของเงินกองทุน กบข. เฉพาะแผนการลงทุนหลัก

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ....
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
 		ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า
 		1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่ง ให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และโดยที่สภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรี 30 กรกฎาคม 2562) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่	สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง	สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง
1	22 พฤษภาคม 2562 ? 18 กันยายน 2562	1 พฤศจิกายน 2562 ? 28 กุมภาพันธ์ 2563
2	22 พฤษภาคม 2563 ? 18 กันยายน 2563	1 พฤศจิกายน 2563 ? 28 กุมภาพันธ์ 2564
3	22 พฤษภาคม 2564 ? 18 กันยายน 2564	1 พฤศจิกายน 2564 ? 28 กุมภาพันธ์ 2565
4	22 พฤษภาคม 2565 - 18 กันยายน 2565	1 พฤศจิกายน 2565 ? 28 กุมภาพันธ์ 2566
 		2. โดยที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ดังนั้น จึงสมควรปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ อก. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
 		ทั้งนี้ อก. เสนอว่า
 		1. มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ และยกเว้นค่าธรรมเนียมเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ต่อมา อก. ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องจักร หากต้องการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
 		2. เนื่องจากได้มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบกิจการ อก. จึงได้ออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2563 กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรที่ต้องชำระตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นระยะเวลา 1 ปี รวม 3 รายการ ได้แก่ ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ค่าเครื่องหมายการจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร และค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 มกราคม 2564 มีผลใช้บังคับวันที่ 21 มกราคม 2564)
 		3. แต่โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต่าง ๆ และส่งผลต่อภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบกิจการประสบกับภาวะรายได้ตกต่ำ รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง อก. พิจารณาแล้ว จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร รวม 3 รายการ ตามกฎกระทรวงข้อ 2. (สิ้นผลใช้บังคับ 21 มกราคม 2565) ให้แก่เจ้าของเครื่องจักร ออกไปอีก 1 ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2566
		4. อก. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักรดังกล่าว ประมาณ 2,549,960 บาท แต่อย่างไรก็ตาม การยกเว้นค่าธรรมเนียมในครั้งนี้จะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการของเจ้าของเครื่องจักรที่ได้รับผลกระทบภาวะทางเศรษฐกิจกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อเป็นการพยุงสถานะของเจ้าของเครื่องจักรให้สามารถประกอบกิจการได้อย่างต่อเนื่อง
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร รวม 3 รายการ ได้แก่ 1) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร 2) ค่าเครื่องหมายการจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร และ 3) ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้แก่เจ้าของเครื่องจักร ออกไปอีก 1 ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2566

เศรษฐกิจ สังคม

7. เรื่อง ขออนุมัติขยายกรอบระยะเวลาและปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
		1. อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ขยายกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ดังนี้
			1.1 ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 - เมษายน 2570 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2575
 	 		1.2  ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้จากเดิมตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 - ธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31  ธันวาคม 2569
 	 		1.3 ระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยจากภายใน 5 ปี นับแต่วันกู้ จากเดิม ไม่เกินเดือนธันวาคม 2569 เป็นไม่เกินเดือนธันวาคม 2574
		2. อนุมัติให้ กษ. ปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่จากเดิมสนับสนุนสินเชื่อให้สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนเพื่อดำเนินโครงการแปลงละไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยปรับเป็น
			2.1 สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร ไม่เกินวงเงินกู้ที่นายทะเบียนกำหนด โดยมีเกณฑ์ประกอบในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อวงเงินกู้ พิจารณาแบ่งตามขนาด/ประเภทธุรกิจ/ชั้นคุณภาพ ของสหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร และศักยภาพความสามารถในการชำระหนี้คืน
			2.2 วิสาหกิจชุมชนเป็นไปตามแผนธุรกิจของกลุ่มแปลงใหญ่
		สาระสำคัญ
		ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่จะสิ้นสุดระยะเวลาจ่ายเงินกู้ในเดือนธันวาคม 2564 แต่ยังมีกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการสินเชื่อและอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมจำนวนมาก รวมทั้งมีการรวมกลุ่มเกษตรกรจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) กษ. จึงขอขยายกรอบระยะเวลาและปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อให้การสนับสนุนเงินทุนแก่สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นไปอย่างต่อเนื่องกระจายโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ที่มีศักยภาพต้องการสินเชื่อมากกว่าที่กำหนดไว้เดิม รวมทั้งสามารถปล่อยสินเชื่อได้ปริมาณเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้กรอบวงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติไว้แล้ว (มติคณะรัฐมนตรี 22 พฤศจิกายน 2559) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ	รายละเอียด
1. วัตถุประสงค์	สนับสนุนเงินทุนแก่สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่
2. ระยะเวลาดำเนินโครงการ	2.1 ระยะเวลาโครงการ : เดือนพฤศจิกายน 2559 - 30 มิถุนายน 2575
2.2 ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้ : เดือนธันวาคม 2559 - 31 ธันวาคม 2569และภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ
2.3 ระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ย : ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันกู้ แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2574
3. แนวทางและเงื่อนไข	3.1 คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดให้ความเห็นชอบโครงการของสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนที่เสนอขอรับการสนับสนุนสินเชื่อให้เป็นไปตามคู่มือดำเนินโครงการ
3.2 ธ.ก.ส. พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กลุ่มแปลงใหญ่ตามเกณฑ์การสนับสนุนสินเชื่อโครงการ
3.3 ธ.ก.ส. คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.01 ต่อปี ตลอดระยะเวลาโครงการ โดยเรียกเก็บจากสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนที่เข้า ร่วมโครงการฯ ในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย           ให้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
3.4 ให้ ธ.ก.ส. แยกบัญชีออกจากการดำเนินงานปกติเป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) เพื่อขอรับการชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากรัฐบาล
4. หลักเกณฑ์การสนับสนุนสินเชื่อ	4.1 ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มแปลงใหญ่ (เดิมไม่เกินแปลงละ 10 ล้านบาท) ดังนี้
    4.1.1 สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร ไม่เกินวงเงินกู้ที่นายทะเบียนกำหนด โดยมีเกณฑ์ประกอบในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อวงเงินกู้ พิจารณาแบ่งตามขนาด/ประเภทธุรกิจ/ชั้นคุณภาพของสหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร และศักยภาพความสามารถในการชำระหนี้คืน
    4.1.2 วิสาหกิจชุมชน เป็นไปตามแผนธุรกิจของกลุ่มแปลงใหญ่
4.2 โครงการที่ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อต้องสามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อได้รับการอนุมัติ
4.3 การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและ/หรือเป็นค่าลงทุนในการพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่
5. เงื่อนไขในการชำระสินเชื่อ	5.1 สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ที่ได้รับสินเชื่อ ให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี
5.2 ในกรณีที่เป็นการกู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน กำหนดชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 เดือน นับแต่วันกู้ เว้นแต่มีเหตุพิเศษให้ชำระคืนเสร็จไม่เกิน 18 เดือน เป็นเวลา 5 ปี
5.3 ในกรณีที่เป็นการกู้เงินเพื่อเป็นค่าลงทุน ให้กำหนดชำระหนี้คืนเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน หรือรายปี ตามความสามารถในการชำระหนี้ และที่มาของแหล่งรายได้ของสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน คิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ร้อยละ 3.01 โดยรัฐชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 และผู้กู้รับชำระอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันกู้ แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2574 หลังจากนั้นชำระดอกเบี้ยในอัตราปกติของธนาคาร ทั้งนี้ หากสหกรณ์การเกษตรกลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ในเวลาที่กำหนดชำระคืนเงินกู้ หลังครบกำหนดให้ ธ.ก.ส. สามารถปรับเงื่อนไขการกู้เงิน การเรียกเก็บดอกเบี้ยและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ตามข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของธนาคาร
6. ผลกระทบ	ช่วยกระตุ้นการลงทุนในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับเป็นเกษตรสมัยใหม่ ส่งผลให้รายได้
ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น สินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีคุณภาพได้มาตรฐานและมีความหลากหลาย ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศ และผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เพิ่มขึ้น
7. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา	ใช้กรอบวงเงินเดิมตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 รวมทั้งสิ้น 23,000 ล้านบาท ดังนี้
    7.1 วงเงินสินเชื่อ จำนวน 20,000 ล้านบาท
    7.2 งบประมาณสำหรับชดเชยดอกเบี้ยให้กับ ธ.ก.ส. (ระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 3,000 ล้านบาท ให้ ธ.ก.ส. เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ตามขั้นตอนต่อไป

8. ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการสนับสนุนสตรีให้เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ (มาตรการสนับสนุนสตรีฯ) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ประกอบด้วยมาตรการย่อย จำนวน 3 มาตรการ ได้แก่ 1) จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี โดยขยายบริการของศูนย์เด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็ก ให้รับอายุ 0 - 3 ปี และขยายเวลาเปิด - ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน ตามบริบทของพื้นที่ 2) ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด (Paternity Leave) โดยปรับแก้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาฯ) โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร จากเดิม ลาครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำการ เป็น ให้ลาได้ 15 วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา 3) ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง (Maternity Leave with Pay) โดยแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาฯ โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการ จากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน และเสนอประเด็นแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาฯ โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว 98 วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินเดือน ร้อยละ 50 ของเงินเดือนปกติ
		และให้ พม. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในรายละเอียด โดยนำความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ไปประกอบการพิจารณาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		พม. รายงานว่า
		1. จากข้อมูลสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจพบว่า ผู้หญิงมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจน้อยกว่าผู้ชาย [ผู้หญิงมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานน้อยกว่าผู้ชาย (ผู้ชาย 20.56 ล้านคน ผู้หญิง 17.36 ล้านคน) ทั้งแรงงานในระบบ (ผู้ชาย 9.35 ล้านคน ผู้หญิง 8.20 ล้านคน) และแรงงานนอกระบบ (ผู้ชาย 11.20 ล้านคน ผู้หญิง 9.16 ล้านคน)] และผู้หญิงมีอัตราการว่างงานที่สูงกว่าผู้ชาย ถึงแม้ว่าสัดส่วนประชากรผู้หญิงจะมีมากกว่าประชากรผู้ชายก็ตาม เนื่องจากผู้หญิงถูกกำหนดให้มีบทบาทเป็นผู้รับภาระทำงานบ้านและงานนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้หญิงขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง และต้องใช้เวลาการทำงานส่วนหนึ่งไปกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร ทำให้ถูกมองว่ามีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าผู้ชาย อีกทั้งตลาดแรงงานยังเห็นว่าการตั้งครรภ์ของผู้หญิงเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่สถานประกอบการ
		2. คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนสตรีฯ ซึ่งเป็นมาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองและสนับสนุน รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้หญิงสามารถเข้ามามีบทบาททางด้านเศรษฐกิจ โดยสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชายในการเลี้ยงดูบุตร และสร้างกลไกการพัฒนาเด็กเพื่อลดภาระให้แก่ผู้หญิงที่ทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายตามมาตรการที่ประกอบด้วย กลุ่มแรงงานหญิง กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว และกลุ่มผู้หญิงสูงอายุที่ต้องเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กทั่วประเทศ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงสามารถปฏิบัติงานได้เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการมีงานทำ การมีรายได้ ความก้าวหน้าที่ควรได้รับของผู้หญิง ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อความเสมอภาคเท่าเทียม การพัฒนาสถาบันครอบครัวและภาพลักษณ์อันดีของประเทศในระยะต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้ง พม. (กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรการด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญของมาตรการสนับสนุนสตรีฯ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ	รายละเอียด
หลักการ	สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 27 และมาตรา 48 รวมทั้งสอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women: CEDAW) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐภาคี ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากการแต่งงานหรือการเป็นเพศมารดา ทั้งในด้านการศึกษาและด้านการจ้างงาน เช่น การห้ามไม่ให้มีการปลดเพราะเหตุแห่งการตั้งครรภ์หรือการลาคลอดบุตร การเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของสถานภาพในการแต่งงาน การลาคลอดบุตรโดยให้ได้รับค่าจ้าง การสร้างเสริมให้มีการจัดตั้งและพัฒนาขอบข่ายของสวัสดิการด้านภาระเลี้ยงดูเด็ก เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัวและการทำงาน และเพื่อสร้างสังคมที่เกิดจากจากมีส่วนร่วมของผู้หญิงและผู้ชาย
มาตรการสนับสนุนสตรีฯ	มาตรการย่อย/
แนวทางการปฏิบัติ	ประโยชน์	ความเห็นและข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
(1) จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
- ให้กระทรวง มหาดไทย (มท.) และกรุงเทพมหานคร
(กทม.) ขยายบริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็ก
โดยให้รับเด็กตั้งแต่อายุ 0 - 3 ปี และขยายเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน	1) ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงด้านการจ้างงาน ทำให้เกิดนโยบายที่มีลักษณะเป็นมิตรต่อผู้หญิง (women friendly) ส่งผลโดย ตรงต่อการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศ เอื้อต่อการออกไปทำงานนอกบ้านของผู้หญิงอย่างเต็มที่ และช่วยลดข้อกล่าวอ้างในการถูกเลือกปฏิบัติในตลาดแรงงาน
2) การพัฒนาเด็กในช่วงประถมวัยจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิต นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ	1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครอบคลุมช่วงอายุ 2 - 3 ปี อยู่แล้วสำหรับการขยายบริการให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรกำหนดแนวทางให้ อปท. พิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและความต้องการในแต่ละพื้นที่โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ
อัตรากำลังครู ผู้ดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กอย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับ กทม. ที่มีการรับดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี โดยสำนักการแพทย์และสำนักอนามัยเป็นผู้รับผิดชอบ (มท.)
2) การขยายเวลาเปิด ? ปิด ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงานต้องคำนึงถึงความพร้อม สภาพบริบทที่ตั้ง การประกอบอาชีพ ความต้องการของผู้ปกครอง และงบประมาณที่ อปท. ใช้ดำเนินการดังกล่าว (มท. และ กทม.)
(2) ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
- ให้ พม. เสนอประเด็น
ในการปรับแก้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาฯ โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตรจากเดิม ลาครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำการ เป็นให้ลาได้ 15 วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา	1) ส่งเสริมให้สามีมีส่วนร่วมในการดูแลบุตร
2) ส่งผลดีต่อชีวิตครอบครัวผู้หญิง และบุตร ทำให้การหย่าร้างลดลง เด็กที่เติบโตในสภาพที่คู่รักมีความ สัมพันธ์เท่าเทียมกันมีโอกาสสูงที่จะเป็นเด็กที่มีความสุข มีผลการเรียนดี สุขภาพดี เห็นคุณค่าในตัวเอง และมีพฤติกรรมในการสร้างปัญหาน้อยลง 	1) ควรมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของหน่วยงานกลางบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับข้าราชการประเภทอื่น ๆ ในส่วนที่
เกี่ยวข้อง นอกเหนือ จากข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามพระราช บัญญัติระเบียบข้า ราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (สำนักงาน ก.พ.)
2) ต้องสร้างการรับรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการให้ชัดเจน และศึกษาวิเคราะห์บทบาทของหน่วยงานที่จะรองรับมาตรการที่เกิดขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนของภารกิจที่คล้ายคลึงกัน (กระทรวงแรงงาน) (รง.)
(3) ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง
- ให้ พม. เสนอประเด็น
แก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาฯ โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน
- ให้ พม. เสนอประเด็น
แก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาฯ โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว 98 วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ 50ของเงินเดือนปกติ	1) ปรับเปลี่ยนจำนวนวันลาคลอดของข้าราชการให้เท่ากับภาคเอกชน
2) สนับสนุนนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกที่ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน	ควรมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอ แนะของหน่วยงานกลางบริหารทรัพยากรบุคคล สำหรับข้า ราชการประเภทอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง (สำนักงาน ก.พ.)

กลุ่มเป้าหมาย	(1) กลุ่มแรงงานหญิง จำนวน 17,366,400 คน* จำแนกเป็นแรงงานหญิงในระบบ จำนวน 8,205,700 คน และแรงงานหญิงนอกระบบ จำนวน 9,160,700 คน เป็นกลุ่มที่ต้องคำนึงถึงอย่างเร่งด่วน เนื่องจากกระแสการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) เน้นไปที่การแข่งขันทางทักษะเป็นอย่างสูง และเพื่อให้การทำงานของแรงงานสตรีเกิดประสิทธิภาพ จึงต้องแบ่งเบาภาระเรื่องงานบ้าน การเลี้ยงดูบุตร และการดูแลบุพการี เพื่อให้ได้ใช้เวลาในการพัฒนาศักยภาพตนเองให้สูงขึ้น เพื่อให้มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เน้นการพัฒนาและใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
(2) กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว จำนวน 1,061,182 คน** เป็นกลุ่มที่ต้องรับภาระการเป็นหัวหน้าครอบครัวเลี้ยงดูบุตรที่ยังเล็กทำให้ไม่สามารถทำงานในระบบได้อย่างเต็มศักยภาพ ขาดความก้าวหน้าต้องทำงานเหมาช่วง1 หรือเป็นแรงงานนอกระบบที่ขาดหลักประกันทางสังคม จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อให้สามารถทำงานและพึ่งพาตนเองได้
(3) กลุ่มผู้หญิงสูงอายุที่ต้องเป็นผู้เลี้ยงดูเด็ก จำนวน 379,347 คน *** เป็นกลุ่มที่ต้องเป็นผู้ดูแลเด็กให้กับพ่อแม่ที่อพยพไปทำงานในเขตเมือง ซึ่งบางคนยังต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพอยู่ เกิดผลในทางลบทั้งกับตัวผู้หญิงสูงอายุและเด็กในเรื่องสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก

1การทำงานเหมาช่วง เป็นการดำเนินการทำงาน การผลิตสินค้าหรือบริการตามสัญญาที่ได้กระทำไว้กับผู้ว่าจ้างตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ โดยได้รับค่าตอบแทนตามสัญญาจ้าง
หมายเหตุ *ข้อมูลการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2563 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
             **ข้อมูลจากรายงานสถิติรายปีประเทศไทย พ.ศ. 2561 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
             ***ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) (สศช.)

9. เรื่อง วันป่าชุมชนแห่งชาติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ทส.รายงานว่า
		1. ทส. โดยกรมป่าไม้ ในฐานะหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ได้ดำเนินการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม โดยส่งเสริมให้ชุมชนที่อยู่อาศัยรอบเขตป่า รวมถึงชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง เข้ามามีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลจัดการทรัพยากรป่าไม้ใกล้บ้านในรูปแบบการจัดตั้งป่าชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ รักษาป่าไม้ไว้ให้คงความสมดุล และชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างยั่งยืน โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการดำเนินงานป่าชุมชน นับว่าเป็นการปลูกป่าในใจคนตามแนวพระราชดำริ สมาชิกในป่าชุมชนทำหน้าที่เป็นป่าไม้หมู่บ้านและเป็นพลังที่ช่วยในการปกป้องผืนป่าและพิทักษ์ป่า ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากป่าชุมชน โดยปัจจุบันมีป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 จำนวน 11,327 แห่ง ชุมชนมีส่วนร่วม 13,028 หมู่บ้าน  เนื้อที่ 6.29 ล้านไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายการจัดตั้งป่าชุมชนทั่วประเทศให้ได้จำนวน 15,000 แห่ง เนื้อที่ประมาณ 10 ล้านไร่
		2. การส่งเสริมการจัดตั้งป่าชุมชนในอดีตเป็นการดำเนินการตามโครงการป่าชุมชนโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ชุมชนเป็นเพียงผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในป่าชุมชนเป็นไปในลักษณะการควบคุม มีข้อจำกัดในการบริหารจัดการป่า ทำให้ไม่สะดวกต่อการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมหรือสร้างแรงจูงใจสำหรับชุมชนในการร่วมดูแลรักษาป่าหรือร่วมบริหารจัดการป่าชุมชน ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2562
		3. การประกาศให้มีวันป่าชุมชนแห่งชาติเป็นการกำหนดวันในเชิงสัญลักษณ์สำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ รณรงค์การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าชุมชน ตลอดจนให้ทุกภาคส่วนได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในด้านการส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ อีกทั้งตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ที่มุ่งหมายให้ชุมชนสามารถจัดการป่าชุมชนและได้ประโยชน์จากป่าชุมชน อันจะส่งผลให้ชุมชนดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน ประกอบกับการประกาศพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงและเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมดูแลผืนป่า และใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ร่วมกันอนุรักษ์ได้ สอดคล้องกับหลักวิชาการ และเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ทส. จึงได้พิจารณาวันที่เหมาะสมในการประกาศให้เป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติ เป็นวันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปี สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ขึ้น
		4. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชนครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการกำหนดให้วันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติด้วยแล้ว

10. เรื่อง มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565
		คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และให้สำนักกงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		สทนช. รายงานว่า สนทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565 และจัดทำแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามมาตรการดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทัน นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สทนช. ได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 ด้วย ซึ่ง กนช. ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 ในวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการและโครงการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
		1. มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565 จำนวน 9 มาตรการ โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินการที่สำคัญภายใต้มาตรการดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ	หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการ 1 เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท โดยการสูบทอยน้ำ (เป็นการสูบน้ำเป็นช่วง ๆ จากแหล่งน้ำมากไปสู่แหล่งน้ำน้อย) ไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำใต้ดิน
เช่น (1) เก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำและอาคารชลประทานเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน (2) สูบน้ำเติมแหล่งน้ำ/สูบทอยน้ำบรรเทาแล้ง 146 แห่ง ปริมาณน้ำ 2.36 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี 51,518 ครัวเรือน 102,108 ไร่ (3) เติมน้ำใต้ดินระดับตื้น/บ่อวงคอนกรีต 1,040 แห่ง เติมน้ำได้ 6.63 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี (4) ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเก็บน้ำ 1,707 แห่ง และปรับปรุงและพัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดิน และ (5) สูบน้ำส่งสมรรถนะสูง 7.12 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือได้ 24,618 ครัวเรือน	กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.)
มาตรการ 2 จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยสำรวจ ตรวจสอบ พื้นที่ที่มีศักยภาพจะพัฒนาเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองได้ จัดทำแผนปฏิบัติการสำรองน้ำในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร จัดทำแผนวางท่อน้ำประปา และจัดทำทะเบียนผู้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งวางแผนผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำเพื่อบรรเทาภาวะน้ำแล้ง โดยควรพิจารณาจัดสรรน้ำอย่างรอบคอบและให้ความสำคัญกับการใช้น้ำภายในลุ่มน้ำ
เช่น (1) สำรองปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 จัดทำข้อมูลความต้องการใช้น้ำภาคการเกษตรในเขตชลประทาน (2) อนุรักษ์ฟื้นฟู ปรับปรุง ซ่อมแซม แหล่งน้ำ 11 แห่ง (3) พัฒนาระบบประปาหมู่บ้าน 2,214 แห่ง (4) พัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ 19 แห่ง ปริมาณน้ำ 10.98 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี พัฒนาน้ำบาดาล เพื่อการเกษตร 264 แห่ง ขนาดใหญ่ริมแม่น้ำ 1 แห่ง และจัดหาแหล่งน้ำระยะไกล 16 แห่ง และ (5) จัดหาแหล่งน้ำสำรอง เช่น บ่อบาดาล แหล่งน้ำดิบเอกชน	กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) ทส. มท. สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการ 3 ปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศที่เหมาะสม
จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว ที่จังหวัดนครสวรรค์ 2 ชุด	กษ.
มาตรการ 4 กำหนดการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ได้แก่ กำหนดแผนปริมาณน้ำจัดสรรในฤดูแล้งให้ชัดเจน ควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผนและมีประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการน้ำต้องคำนึงถึงระดับน้ำในทางน้ำที่อาจจะลดต่ำกว่าปกติ
เช่น (1) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งที่ชัดเจนและแจ้งจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ (2) จัดทำแผนการจัดสรรน้ำทั้งประเทศในเขตชลประทาน 11.34 ล้านไร่ รวมทั้งกำหนดมาตรการการบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาและการรับน้ำเข้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของคลอง และ (3) ตรวจสอบสายทางบริเวณเลียบคันคลองชลประทาน	กษ. คค. ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) และ มท.
มาตรการ 5 วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยจัดทำทะเบียนเกษตรกร ระบุพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจนเพื่อให้การเพาะปลูกสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน โดยสนับสนุนการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นอันดับแรก
เช่น (1) ประกาศใช้แผนพื้นที่เพาะปลูก กำกับติดตามแผน รวมทั้งวางแผนการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และ (2) ส่งเสริมพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยาตอนล่างที่รองรับน้ำหลากในฤดูฝนปี 2564 ประมาณ 1.20 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อย รวมทั้งส่งเสริมพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 57,366 ไร่	อว. กษ. ทส. และ มท.
มาตรการ 6 เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อสนับสนุนน้ำเตรียมแปลงเพาะปลูกนารอบที่ 1 (นาปี)
สำรองปริมาณน้ำสนับสนุนพื้นที่ลุ่มต่ำเตรียมแปลง 11 ทุ่ง 1,388 ล้านลูกบาศก์เมตร	กษ.
มาตรการ 7 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก สายรอง และเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหา เฝ้าระวัง ตรวจวัด และควบคุมการปล่อยน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชนลงสู่แหล่งน้ำ รวมทั้งควบคุมและขึ้นทะเบียนการเลี้ยงปลากระชังในแหล่งน้ำและลำน้ำ
เช่น (1) สำรวจและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ 4 แม่น้ำสำคัญ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา และ (2) ติดตามสถานการณ์น้ำและคุณภาพน้ำ	กษ. ทส. มท. และกระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรการ 8 ติดตามและประเมินผลเพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผน โดยรายงานเป็นประจำทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำต่อกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) รวมทั้งติดตาม ควบคุมการจัดสรรน้ำ และการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง [นารอบที่ 2 (นาปรัง)] ให้เป็นไปตามแผน
เช่น (1) ควบคุมการระบายน้ำตามแผนการระบาย (2) ติดตามสถานการณ์เพาะปลูกพืชฤดูแล้งรายสัปดาห์ และ (3) กรณีเกิดภัยแล้ง ให้รายงานสถานการณ์และการช่วยเหลือต่อ กอนช. 	อว. กษ. ทส. พน. มท. สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการ 9 สร้างการรับรู้สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนที่กำหนด ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุได้ทันที
เช่น (1) ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ 9 มาตรการ (2) ให้ความรู้ รณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และ (3) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำ	ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
		2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565
หัวข้อ	รายละเอียด
วัตถุประสงค์	1) เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ หรือเสี่ยงภัยแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง
2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชนหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
3) เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ
พื้นที่เป้าหมาย	พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ หรือเสี่ยงภัยแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ตามที่ กอนช. กำหนด ในพื้นที่ทั่วประเทศ หรือจำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินการเพื่อการแก้ไข/บรรเทาปัญหาโดยเร่งด่วน หรือที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
ระยะเวลาดำเนินการ	120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
กิจกรรมและประเภทแผนงานโครงการ	1) โครงการซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง โดยซ่อมแซมอาคารที่ชำรุดเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยหรือจากการใช้งานเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ซ่อมแซมอาคารบังคับน้ำ คันกั้นน้ำ และประตูระบายน้ำ
2) โครงการการสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เช่น ก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล ปรับปรุงบ่อน้ำบาดาล ก่อสร้างระบบประปา และก่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำสำรองเพื่อการอุปโภคบริโภค
3) โครงการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง เช่น ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น คลองส่ง/ระบายน้ำ และประตูระบายน้ำ
4) โครงการเพิ่มน้ำต้นทุน เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้มีความมั่นคงด้านน้ำมากขึ้น เช่น งานขุดลอกคลอง งานก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่เพื่อการเกษตร ธนาคารน้ำใต้ดิน งานระบบส่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร งานบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร และสนับสนุนเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
แหล่งงบประมาณ	จะขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป

11. เรื่อง การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาการขอจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) (สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		สาระสำคัญของเรื่อง
		คณะกรรมการฯ รายงานว่า
		1. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบายฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง [ซึ่งได้รวมภารกิจของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมาอยู่ภายใต้กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาด้วยแล้ว] โดยมอบหมายให้ อว. ดำเนินการเสนอกระทรวงการคลัง (กค.) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจึงขอเสนอเรื่องขอจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณา
		2. กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษามีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น	สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์	เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามความต้องการของประเทศและด้านการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ พัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิชาการและองค์กรชั้นนำของโลก และเชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมกับสถานประกอบการทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคมรวมทั้งสนับสนุนการใช้ความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะของชุมชนและสังคม และสนับสนุนการปฏิรูปการอุดมศึกษาส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานการอุดมศึกษา พัฒนาระบบการเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุนระบบพัฒนาศักยภาพ สมรรถนะ ทักษะของคณาจารย์ สนับสนุนเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการอุดมศึกษาเอกชน
แหล่งเงินทุน	(1) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาจากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
(2) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
(3) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้
(4) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้เพื่อสมทบกองทุน
(5) เงินอุดหนุนจากต่างประเทศ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ
(6) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่ได้รับตามกฎหมายหรือนิติกรรมสัญญา
(7) เงินสมทบกองทุนที่สถาบันอุดมศึกษานำส่งกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(8) ค่าตอบแทนหรือรายได้จากการดำเนินกิจการของกองทุน
(9) ดอกผล ผลประโยชน์หรือรายได้อื่นที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
		3. คณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ โดยมีเงื่อนไขให้ดำเนินการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้การออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และทรัพย์สินของกองทุนจะต้องขอความเห็นชอบจาก กค. และการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การพัสดุ ตลอดจนการกำหนดค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานบริหารกองทุนและการอื่นที่จำเป็น การกำหนดโครงสร้างการบริหารและอัตรากำลังกองทุน การกำหนดค่าเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการและกรรมการบริหารกองทุน และอนุกรรมการที่คณะกรรมการบริหารแต่งตั้ง การกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการ การกำหนดให้จัดทำรายงานการเงินของกองทุนเสนอผู้สอบบัญชี และกำหนดให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 พร้อมทั้งให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ (1) ภารกิจของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาต้องไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจหลักของ อว. และที่ผ่านมามีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาอย่างไร และ (2) ความชัดเจนในเรื่องแหล่งรายได้ การจัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU) เพื่อบริหารกองทุน รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดตั้งกองทุน
		4. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ และจัดทำข้อมูลเพื่อชี้แจงเพิ่มเติม (ตามข้อ 3) ซึ่งคณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 มีมติรับทราบและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ จัดทำรายละเอียดเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ	ข้อชี้แจงของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อคณะกรรมการฯ
1. ความซ้ำซ้อนกับภารกิจหลักของ อว. และการดำเนินการที่ผ่านมา มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษามีการดำเนินการอย่างไร	กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาไม่มีความซ้ำซ้อนกับภารกิจหลักของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยที่ผ่านมาสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจะดำเนินการตามภารกิจหลักและได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสามารถดำเนินการได้เฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามวัตถุประสงค์ของกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เน้นการวิจัยเพื่อหาคำตอบแต่ไม่สนับสนุนการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ปี แบบระบบการจัดการศึกษา และไม่สามารถดำเนินการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาในด้านอื่น ๆ ได้
2. ความชัดเจนในเรื่องแหล่งรายได้ การจัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเพื่อบริหารกองทุน	ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและดอกเบี้ยจากการให้เงินกู้ยืมแต่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นหลัก
3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดคั้วกองทุน	(1) สามารถพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ
(2) สามารถปฏิรูปการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการและแนวทางตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และกฎหมายอื่นเพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของการอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนาระบบการเรียนรู้ไปสู่การเรียนรู้ที่ตอบสนองการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ให้เข้าถึงการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ทุกที่ ทุกเวลาในต้นทุนที่เข้าถึงได้
(3) สามารถเพิ่มศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาการจัดการศึกษาร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงสถาบันวิชาการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่เชื่อมต่อกับโลกการทำงาน รวมทั้งพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการให้กับผู้เรียน
4. การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....	สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไม่ขัดข้อง หาก กค. จะขอให้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ในขั้นตอนกระบวนการนิติบัญญัติในชั้นต่อไป

12. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2563
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2563 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป และเห็นชอบให้นำความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงการคลังและข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2563
เรื่อง	รายละเอียด
ผลการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ	จำนวน 318,895 คดี และผู้ต้องหา 334,126 ราย ประกอบด้วยของกลาง จำแนกเป็น
1) ยาบ้า 368 ล้านเม็ด
2) ไอซ์ 27,609 กิโลกรัม
3) เฮโรอีน 1,828 กิโลกรัม
4) โคเคน 30 กิโลกรัม
5) กัญชาแห้ง 16,980 กิโลกรัม
6) กัญชาสด 11,806 กิโลกรัม
7) พืชกระท่อม 97,835 กิโลกรัม
 - ได้มีการขยายผลไปสู่มาตรการริบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติด พ.ศ. 2534 มูลค่าทรัพย์สินที่ยึดอายัดได้ 127,567,892 บาท และนำไปสู่การดำเนินคดีข้อหาสมคบ สนับสนุน ตามมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 จำนวน 2,679 ราย
- เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ที่ได้กระทำความผิดทางอาญา รวมทั้งสิ้น 4 ราย ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. สังกัดสถานีตำรวจภูธรสุไหงปาดี ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส จำนวน 1 ราย สังกัดสถานีตำรวจภูธรบางพลี ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 2 ราย และสังกัดสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 8 จำนวน 1 ราย ถูกยกเลิกความเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เนื่องจากถูกดำเนินคดีอาญา
แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด	ประกอบด้วย
1. มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมแม่น้ำโขงปลอดภัย เพื่อควบคุมยาเสพติด 6 ประเทศ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2562 - 2565) ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย
2. มาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย ประกอบด้วยแนวทางการสกัดกั้นยาเสพติด โดยเพิ่มช่องทางตามแนวชายแดนใน 15 จังหวัด และการปราบปรามกลุ่มการค้ายาเสพติด โดยดำเนินการในพื้นที่ 76 จังหวัด
3. มาตรการป้องกันยาเสพติด เช่น แนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวชายแดน สร้างพื้นที่ปลอดภัย มุ่งเน้นการลดอุปสงค์เพื่อนำไปสู่การลดความต้องการยาเสพติดภายในประเทศ
4. มาตรการบำบัดรักษายาเสพติด โดยนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติด
5. มาตรการการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เช่น การควบคุมและใช้ประโยชน์จากพืชเสพติด การทำให้ยาเสพติดเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา	ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนวทางแก้ไขการกำกับดูแลและควบคุมการใช้อำนาจของ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
   ปัญหาในเรื่องนี้ยังคงเป็นปัญหาสืบเนื่องจากการรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในปี พ.ศ. 2561 และปี พ.ศ. 2562 โดยขณะนี้สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีมาตรการกำกับ ติดตามการรายงานอย่างเข้มงวด โดยเพิ่มช่องทางการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในลักษณะของการรายงานผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ส. การมีแอปพลิเคชันไลน์บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อแจ้งเตือนการต่ออายุและการให้รายงานการปฏิบัติหน้าที่ในขณะอยู่ในที่เกิดเหตุสามารถรายงานการปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที ซึ่งปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้สามารถกำกับ ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ได้มีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิม

13. เรื่อง รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี 2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี 2564 ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี 2564 เรื่อง การฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคมมีสาระสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และความท้าทายในหลากหลายมิติที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การต้องเผชิญกับความท้าทายในการใช้สื่อสังคมต่าง ๆ ปัญหาเศรษฐกิจกระจุกตัว ความเหลื่อมล้ำ กระแสพหุวัฒนธรรม รวมไปถึงแนวโน้มการลดลงของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง และจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุดจะส่งผลกระทบต่อประเทศในระยะยาว ปัจจัยสำคัญที่นำมาใช้เพื่อเตรียมความพร้อมเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้น โดยจะเห็นได้จากการใช้ศักยภาพของระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหารองรับสถานการณ์โควิด-19 ด้วยการผลิตชุดตรวจโควิด SARS-COV-2 ด้วยวิธี Real-Time PCR การวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เช่น หน้ากากซิลิโคนติดแผ่นกรอง HEPA ที่มีคุณสมบัติและมาตรฐานสามารถป้องกันเชื้อได้มากกว่าหน้ากาก N95 การสร้างโรงพยาบาลสนาม ห้องตรวจแยกแรงดันลบ เป็นต้น รวมไปถึงการวิเคราะห์และประเมินด้วยแบบจำลองสถานการณ์เพื่อการคาดการณ์และพยากรณ์การระบาดของโรค โดยสรุปรายละเอียด ดังนี้
ประเด็นการดำเนินการ	สรุปสาระสำคัญ
1. อววน. กับการพัฒนาประเทศ	   การนำศักยภาพด้าน อววน. มาใช้เพื่อเตรียมความพร้อมเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้น แก้ไขปัญหาสังคม และสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมให้ประเทศ เช่น (1) ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้มีการดำเนินการที่สำคัญ อาทิ การแก้ปัญหารองรับสถานการณ์โควิด-19 การแก้ปัญหาด้านการเกษตร การบริหารจัดการน้ำ การส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การพัฒนานวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) การพัฒนากำลังคนโดยอาศัยกลไกการพัฒนาความรู้ทักษะเดิม (Re-skill) การยกระดับทักษะเดิม (Up-skill) และการเพิ่มพูนทักษะใหม่ (New-skill) การพัฒนางานวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier research) และ (2) ด้านการอุดมศึกษา ได้มีการดำเนินการที่สำคัญ เช่น การสร้างบัณฑิตการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น (Non-degree Program) การสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต (New Growth Engine) การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลภายใต้โมเดล BCG การจัดตั้ง ?หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน? การส่งเสริมมหาวิทยาลัยสู่ตำบล นอกจากนี้ ยังรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศด้าน อววน. ในเวทีนานาชาติ และสรุปตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2563 - 2570 และสรุปมาตรการ อววน. ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ
2. สร้างความสามารถ อววน. สู่การเก็บเกี่ยวผลในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ	   การสร้างศักยภาพให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่ออนาคตในด้านการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) อาหาร (Food) เครื่องมือแพทย์ (Medical Device) จีโนมิกส์ (Genomics) วัคซีน (Vaccines) ยาชีววัตถุ (Biologics) อุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ (Next-Generation Automotive) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) ระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) อุตสาหกรรมวัสดุขั้นสูง (Advanced Materials) การวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Technology) ด้านระบบโลกและอวกาศ (Earth Space System) สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ (Social Sciences, Humanities and Arts)
3. ปรับกระบวนทัศน์การอุดมศึกษาสำหรับโลกยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉม	   แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาอุดมศึกษา (Disruption) ซึ่งนำไปสู่การดำเนินการต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา เช่น การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย การปรับทิศทางของสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ ทั้งในการจัดการเรียนการสอนแบบ New Normal ในยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การจัดหลักสูตรการเรียนแบบไม่ได้ปริญญา (Non-degree) การผลิตบัณฑิตฐานสมรรถนะ การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา รวมไปถึงการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาในการตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial University) มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยขั้นแนวหน้าและนวัตกรรม เป็นต้น
4. การปฏิรูประบบ อววน. เพื่อวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน	   การขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ อววน. ใน 6 ด้าน ดังนี้ (1) การปรับโครงสร้างหน่วยงาน (2) การจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนเพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาด้าน อววน. ของประเทศ (3) การพัฒนาระบบงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน (4) การจัดระบบติดตามและประเมินผลเพื่อติดตามและประเมินผลนโยบายและยุทธศาสตร์ด้าน อววน. (5) การเชื่อมโยงข้อมูล อววน. ทั้งระบบ  และ (6) การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
5. ภาพรวมการดำเนินการที่ผ่านมาและแนวทางการพัฒนา อววน.  ในอนาคต	   ภาพรวมการดำเนินงานของ อววน. ในช่วงที่ผ่านมาและแนวทางการพัฒนาในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยมุ่งเน้นการทำงานตามยุทธศาสตร์ 6 ด้าน คือ (1) เปลี่ยนความยากจนสู่ความมั่งมีอย่างทั่วถึง (2) สร้างเสริมคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์และพลังทางสังคมเพื่อการพัฒนาสมดุล (3) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน (4) ยกระดับอุตสาหกรรมและวางรากฐานเพื่ออนาคต (5) พลิกโฉมการอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ประเทศ และ (6) ปฏิรูประบบ อววน. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม

14. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)] (ฉบับที่ 7)
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)] (ฉบับที่ 7) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		สธ. รายงานว่า คณะกรรมการสถานพยาบาล ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 และครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 มีมติรับทราบมติคณะทำงานจัดทำร่างหลักเกณฑ์ฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 และครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
		1. ยกเลิกรายการซ้ำซ้อนในหมวดที่ 3 ค่ายา จำนวน 2 รายการ ได้แก่ COLISTIN (บริษัท มิลลิเมด จำกัด) และ UTOIN-250 (บริษัท ยูเมด้า จำกัด) ในหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 2) ซึ่งซ้ำซ้อนกับรายการในหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 5)1 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
ชื่อยา	รายการเปรียบเทียบ	หลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 2)	หลักเกณฑ์ (ฉบับที่ 5)
COLISTIN (มิลลิเมด)	ลำดับ	331	2798
	ราคาต่อหน่วย (บาท)	283.75	218
UTOIN-250 (ยูเมด้า)	ลำดับ	1234	2799
	ราคาต่อหน่วย (บาท)	373.75	264
		2. แก้ไขอัตรา2 ดังนี้
รายการ	เดิม (บาท)	ใหม่ (บาท)	วันใช้บังคับ
หมวดที่ 3 ค่ายา
- ALUMED (รักษาโรคกระเพาะอาหาร	2,917	18.50	ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป3
		3. ปรับอัตรา ดังนี้
ID	รายการ	เดิม (บาท)	ใหม่ (บาท)	วันใช้บังคับ


451
688	หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา
- Covid-19 Real time PCR 2 ยีนส์ (เหมาจ่าย)
- Covid-19 Real time PCR 3 ยีนส์ (เหมาจ่าย)

2,250
2,550

1,300
1,500	ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
		4. แก้ไขลำดับและ/หรือรหัสรายการของรายการดังต่อไปนี้
รายการ	ราคา (บาท)	วันใช้บังคับ
หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา
(กรณีเพิ่มลำดับและรหัสรายการ เนื่องจากเดิมไม่ได้กำหนดไว้)
- การตรวจคัดกรอง Covid-19 ด้วย Ag test kit ด้วยวิธี Chromatographic immunoassay
- การตรวจคัดกรอง Covid-19 ด้วย Ag test kit ด้วยวิธี FIA

จ่ายตามจริงไม่เกิน 300 ต่อครั้ง
จ่ายตามจริงไม่เกิน 400 ต่อครั้ง	ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
(กรณีแก้ไขลำดับและรหัสของรายการ)
- การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด 19 ด้วยตัวอย่างน้ำลายแบบรวมตัวอย่าง (Pooled saliva samples)
- การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด 19 ด้วยตัวอย่างป้ายหลังโพรงจมูกและป้ายลำคอแบบรวมตัวอย่าง (Pooled nasopharyngeal and throat swab samples)
460 ต่อ Test

575 ต่อ Test	ตั้งแต่วันที่
12 ตุลาคม 2564เป็นต้นไป4
หมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ
(กรณีเพิ่มลำดับ เนื่องจากเดิมไม่ได้กำหนดไว้)
- ค่าบริการเหมาจ่ายสำหรับการดูแลการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19 (ค่ายาพื้นฐาน ค่าบริการพยาบาลทั่วไป ค่าติดตามอาการและค่าให้คำปรึกษาของแพทย์ รวมทั้งค่าอาหาร 3 มื้อ) สำหรับกรณี Home Isolation, Community Isolation & Hotel Isolation (กรณี Hotel Isolation รวมถึงค่าที่พักด้วย)
- ค่าบริการเหมาจ่ายการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร รวมค่ายาและค่าบริหารจัดการยา

1,000 ต่อวัน



300 ต่อราย	ตั้งแต่วันที่
1 กรกฎาคม 2564
เป็นต้นไป5
		5. แก้ไขหน่วยในหมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ ข้อ 12.8 ค่าบริการตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการโดยแพทย์ จำนวน 31 รายการ โดยกำหนดให้หน่วยเป็น ?ครั้ง? (เนื่องจากเดิมไม่ได้กำหนดไว้) และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
		6. เพิ่มรายการในบัญชีและอัตราแนบท้ายหลักเกณฑ์ฯ จำนวน 2 รายการ เป็นบัญชีและอัตราแนบท้ายหลักเกณฑ์ฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
หมวด	รายการ	ราคา	วันใช้บังคับ
หมวดที่ 1 ค่าห้องและค่าอาหาร	ค่าห้องพัก (กรณี Hospitel)	เหมาจ่าย 1,000 บาทต่อวัน (ห้องพักพร้อมอาหาร 3 มื้อ)6	ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
หมายเหตุ: รายการในหมวดที่ 1 ให้ใช้เฉพาะกรณีสถานพยาบาลอื่น (Hospitel) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานพยาบาลอื่นฯ
		7. กำหนดให้การใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามหลักเกณฑ์ฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมก่อนวันที่หลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 7) มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
1รายการซ้ำซ้อนดังกล่าวตรวจสอบพบในภายหลัง และได้รับการพิจารณาแล้วให้ใช้รายการตามหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 5) เนื่องจากเป็นราคาที่ถูกพิจารณาใหม่ซึ่งมีความเป็นปัจจุบันมากกว่า
2ผิดพลาดในขั้นตอนการจัดทำเอกสาร
3รายการที่ขอเสนอแก้ไขต่าง ๆ ให้มีผลตั้งแต่วันใช้บังคับเดิมของรายการนั้น ๆ โดยกรณีนี้เป็นรายการที่ถูกเพิ่มโดยหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 5) ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อ 7 (3) ของหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่า ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
4รายการที่ขอเสนอแก้ไขต่าง ๆ ให้มีผลตั้งแต่วันใช้บังคับเดิมของรายการนั้น ๆ โดยกรณีนี้เป็นรายการที่ถูกเพิ่มโดยหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 6) ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อ 3 ของหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่า ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 ตุลาคม 2564) เป็นต้นไป
5รายการที่ขอเสนอแก้ไขต่าง ๆ ให้มีผลตั้งแต่วันใช้บังคับเดิมของรายการนั้น ๆ โดยกรณีนี้เป็นรายการที่ถูกเพิ่มโดยหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 5) ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อ 7 (1) ของหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่า ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
6เดิมค่าห้องพัก (กรณี Hospitel) ใช้ราคาเดียวกับรายการตามหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 1) หมวดที่ 1 ค่าห้องแยกโรค อัตรา 1,500 บาท/วัน ต่อมาที่ประชุมคณะทำงานจัดทำร่างหลักเกณฑ์ฯ ได้เสนอทางเลือกให้มีการเบิกจ่ายกรณีดังกล่าวในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบทางเลือกที่ให้ใช้อัตราเดียวกันกับกรณี Hotel Isolation เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564

15. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 41/2564 และครั้งที่ 1/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 41/2564 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 และครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2565 รวมทั้งผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2565 ดังนี้
		1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 41/2564
			(1) อนุมัติให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการภายใต้แผนการเร่งรัดการเข้าถึงวัคซีน COVID-19 สำหรับประชาชนไทย (โครงการแผนเร่งรัดฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงาน จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565 เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่ส่งผลต่อกระบวนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนรวมทั้งการส่งมอบครุภัณฑ์
			(2) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุจ (สป.สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวงและระดับเขตสุขภาพเป็น SmartEOC (โครงการพัฒนาระบบสื่อสารฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
			(3) อนุมัติให้ สป.สธ. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (A001) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค (โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 เนื่องจากประสบปัญหาความล่าช้าในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างการดำเนินการก่อสร้าง การส่งมอบงานจ้างและการส่งมอบครุภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และปรับลดกรอบวงเงินของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพฯ (รอบที่ 1) จำนวน 375.0224 ล้านบาท และโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพฯ (รอบที่ 2) จำนวน 90.9838 ล้านบาท เนื่องจากสถานพยาบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินรายการก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 จึงจำเป็นต้องใช้เงินบำรุงและเงินบริจาคในการดำเนินการ ตามที่ สธ. เสนอ
			(4) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยนเรศวร (ม.นเรศวร) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคโควิด 19 (โครงการเตรียมความพร้อมฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน 2565 เนื่องจากรายการก่อสร้างและปรับปรุงมีความสลับซับซ้อนในเชิงเทคนิคก่อสร้าง และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
			(5) อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (โครงการเยียวยาฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 เนื่องจากจำเป็นต้องใชระยะเวลาในการดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยาตามโครงการเยียวยาฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
			(6) อนุมัติให้กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ ?โคก หนอง นา โมเดล? (โครงการโคก หนอง นา โมเดล) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานใน 4 กิจกรรมย่อย (กิจกรรมที่ 2 4 5 และ 7) จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 และปรับลดกิจกรรมที่ 7 กิจกรรมย่อยที่ 3 และกิจกรรมย่อยที่ 6 วงเงินรวม 25 ล้านบาท ทำให้วงเงินโครงการปรับลดจาก 4,787.9164 ล้านบาท เป็น 4,762.9164 ล้านบาท ตามที่ พช. ได้ยืนยันว่า การปรับลดกิจกรรมดังกล่าวยังคงทำให้การดำเนินโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
			(7) อนุมัติให้จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดปัตตานี จังหวัดเลย จังหวัดตาก จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดแม่ฮ่องสอนเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ ภายใต้แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน
			(8) มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการข้อ 1.1 (1) - (7) เร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้ รวมถึงรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติ คกง. ประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป
		2. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565
			(1) อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กรมอนามัน สป.สธ. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ จำนวน 5 โครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
			(2) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (ม.นราธิวาสราชนครินทร์) มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.มหิดล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ธรรมศาสตร์) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) อว. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ จำนวน 5 โครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
			(3) อนุมัติให้โรงพยาบาลตำรวจเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัดรองรับและบรรเทาภัยจากโรคโควิด 19 และเป็นไปตามมาตรฐานด้านป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
			(4) อนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่และโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน 2565 พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของ คกง. แล้ว เห็นควรให้เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
			(5) มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการข้อ 1.2 (1) - (4) เร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้ รวมถึงรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติ คกง. ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป
		3. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565
			(1) อนุมัติให้กรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังนี้ 1) โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จำนวน 20,001,150 โดส (Pfizer) (โครงการจัดหาวัคซีน Pfizer จำนวน 20.001 ล้านโดส) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิมสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดภายในเดือนมกราคม 2565 และ                     2) โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จำนวน 9,998,820 โดส (Pfizer) (โครงการจัดหาวัคซีน Pfizer จำนวน 9.998 ล้านโดส) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิมสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจรับวัคซีน และรวบรวมเอกสารสำหรับประกอบการเบิกจ่าย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้ สธ. เร่งรัดให้กรมควบคุมโรคเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายอย่างเคร่งครัด รวมถึงดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็วต่อไป
			(2) อนุมัติให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (รง.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs (โครงการส่งเสริมธุรกิจ SMEs) โดยปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ในเดือนธันวาคม 2564 - มกราคม 2565 ภายใต้เงื่อนไขการลงทะเบียนและนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Service) เพื่อให้กลุ่มนายจ้างเป้าหมายของโครงการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้รับความช่วยเหลือตามโครงการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้กรมการจัดหางานเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จในกรอบระยะเวลาที่กำหนด และเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของ คกง. แล้ว ให้กรมการจัดหางานเร่งปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็วต่อไป

16. เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณสำหรับรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกรุงเทพมหานคร
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้
		1. อนุมัติโครงการของ กทม. จำนวน 9 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 4 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งพระนคร จากแยกสะพานแดง ถึงถนนกำแพงเพชร 2) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 5 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งพระนคร จากถนนกำแพงเพชร ถึงถนนพหลโยธิน 3) โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย 4) โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. (สมอยึดด้านหลัง) คลองบางไผ่ จากบริเวณคลองพระยาราชมนตรีถึงบริเวณสุดเขต กทม. 5) โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. พร้อมระบบรวบรวมน้ำเสียคลองแสนแสบ จากบริเวณประตูระบายน้ำมีนบุรีถึงบริเวณประตูระบายน้ำหนองจอก 6) โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองบางนา จากคลองเคล็ดถึงบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ 1 จากคลองเคล็ดถึงคลองหลอด 2 7) โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากถนนรัชดาภิเษกถึงคลองลาดพร้าว 8) โครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ระยะที่ 2 9) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครและศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง วงเงินรวมทั้งสิ้น 18,158.70 ล้านบาท (เงินงบฯ จำนวน 10,493.45 ล้านบาท และเงินนอกงบฯ จำนวน 7,665.25 ล้านบาท)
		2. อนุมัติให้ มท. (กทม.) นำค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้ง 9 โครงการดังกล่าวยื่นเป็นคำขอตั้งงบฯ ปี 66 จำนวน 3,631.74 ล้านบาท (เงินงบฯ จำนวน 2,098.69 ล้านบาท และเงินนอกงบฯ จำนวน 1,533.05 ล้านบาท) ต่อสำนักงบประมาณ

17. เรื่อง แผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอแผนการใช้เงินของ กสศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่คณะกรรมการบริหาร    กสศ. เห็นชอบแล้ว ในกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 7,590.34 ล้านบาท เพื่อ กสศ. จะได้จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เสนอสำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		กสศ. รายงานว่า คณะกรรมการบริหาร กสศ. มีมติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 เห็นชอบแผนการใช้เงินของ กสศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และเห็นชอบให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. กสศ. ได้จัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้กรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 7,590.34 ล้านบาท จำแนกเป็น 9 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้
			1) นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เช่น พัฒนานวัตกรรมระบบเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดสรรทรัพยากรด้านการศึกษาของประเทศ และวิจัยและพัฒนาร่วมกับพันธมิตรและเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ชี้ถึงสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในมิติต่าง ๆ
			2) พัฒนาระบบหลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษา (ปฐมวัย-ภาคบังคับ) เช่น จัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขตั้งแต่ระดับปฐมวัย-การศึกษาภาคบังคับ และพัฒนาต้นแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อติดตามและป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา
			3) พัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ เช่น สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยนโยบายเพื่อให้เกิดกลไกการพัฒนาโรงเรียนในระดับพื้นที่เพื่อต่อยอดนวัตกรรมการเรียนการสอน ยกระดับการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน และสนับสนุนการนำระบบสารสนเทศมาใช้พัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ
			4) จัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เช่น พัฒนากรอบการทำงานจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำจากฐานข้อมูลและการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
			5) พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล เช่น ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนยากจนพิเศษที่มีใจรักในวิชาชีพครูได้เรียนครูในสถาบันผลิตและพัฒนาครูคุณภาพเพื่อกลับไปเป็นครูยังภูมิลำเนา และสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนและเครือข่ายร่วมกับการพัฒนาครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล
			6) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสูงกว่าภาคบังคับ เช่น ส่งเสริมให้เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสายอาชีพให้มีคุณภาพสูง
			7) ส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ เช่น พัฒนาต้นแบบหน่วยจัดการเรียนรู้ที่สามารถจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นตามความต้องการ และศักยภาพของเยาวชนและแรงงานนอกระบบ
			8) สื่อสารขับเคลื่อนนโยบายและระดมความร่วมมือ เช่น สนับสนุนจังหวัดและท้องถิ่นในการยกระดับบทบาทการสื่อสารและผลักดันนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
			9) บริหารและพัฒนาระบบงาน เช่น พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
		2. ผลผลิตสำคัญ/ผลต่อประชาชนและประเทศ
			2.1 เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสได้รับการอุดหนุนเงินเพื่อบรรเทาอุปสรรคการเข้าถึงการศึกษาที่สอดคล้องกับความจำเป็น และเพื่อป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาในทุกช่วงระดับชั้น โดยเพาะอย่างยิ่งในช่วงชั้นรอยต่อเป็นรายบุคคลตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีการพัฒนาตามศักยภาพ จำนวน 3,017,081 คน/ครั้ง
			2.2 เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสในระบบการศึกษาได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 8,983 คน
			2.3 เยาวชนและแรงงานนอกระบบการศึกษาได้รับการช่วยเหลือตามความจำเป็นหรือสนับสนุนให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนาทักษะวิชาชีพที่เหมาะสม หรือได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อการประกอบสัมมาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จำนวน 25,000 คน
			2.4 ครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษาได้รับการพัฒนาคุณภาพทั่วถึง (ครูหรือนักศึกษาครู 23,983 คน และโรงเรียน 750 แห่ง) เกิดการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาครูต้นแบบและสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทำให้การผลิตครูมีคุณภาพและกระจายตัวอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
			2.5 องค์ความรู้ นวัตกรรม และต้นแบบ สำหรับภาครัฐและสังคมใช้เป็นแนวทางในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา เช่น ผลงานองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงระบบ รวมถึงโครงการต้นแบบของ กสศ. ได้รับการนำไปใช้หรือถ่ายทอดไปสู่ภาคี เพื่อนำไปใช้ขยายผลในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

18. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2564 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2564 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอดังนี้
		สาระสำคัญ
		ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3/2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 0.8 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 2/2564 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.7 เป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นวงกว้าง กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายภาคส่วน อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 3/2564 อาทิ การกลั่นปิโตรเลียม เนื่องจากปีนี้มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของโรงกลั่นบางราย ประกอบกับความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลงจากการระบาด ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อน Hard Disk Drive จากการระบาดระลอกล่าสุด ที่รุนแรงและกระจายไปมากกว่าระลอกที่ผ่านมา และยังมีการระบาดที่เป็นคลัสเตอร์ของโรงงานของผู้ผลิต รถจักรยานยนต์ เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดที่รุนแรงกว่าปีก่อนมาก ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในไตรมาสที่ 3/2564 อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามแนวโน้มสินค้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ออกมาที่มีการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบเพิ่มขึ้นมาก ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีการขยายตัวที่ดีทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
		ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อในประเทศและต่างประเทศเริ่มขยายตัวในหลายสินค้า หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว นอกจากนี้เริ่มมีคำสั่งซื้อสินล่วงหน้าเพื่อใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่
		อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนตุลาคม 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
		1. รถยนต์และชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 6.02 จากปัญหาขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนรถยนต์เริ่มคลี่คลาย โรงงานผลิตชิ้นส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศส่งชิ้นส่วนให้ไทยได้มากขึ้น ทำให้กลับมาผลิตได้เป็นปกติและสามารถส่งออกสินค้าได้มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
		2. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 12.41 ตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่
		3. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 6.26 จากการหยุดซ่อมบำรุงบางหน่วยกลั่นของโรงกลั่นบางแห่งในปีก่อน รวมถึงในช่วงนี้ประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจากประชาชนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้วในปีนี้ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีเพิ่มขึ้น
		4. เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวร้อยละ 36.17 ตามคำสั่งซื้อที่กลับเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าจากอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนตลาดในประเทศได้รับคำสั่งซื้อเป็นเครื่องเรือนทำด้วยโลหะเพิ่มขึ้น
		5. ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ ขยายตัวร้อยละ 12.88 จากคำสั่งซื้อที่กลับเข้ามามากขึ้นโดยเฉพาะจากลูกค้าจีน ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มดีขึ้นและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศที่เริ่มคลี่คลาย
		แนวโน้มอุตสาหกรรมสาขาสำคัญ ไตรมาสที่ 4/2564
		อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลก ยังอยู่ในระดับสูงจึงเป็นโอกาสในการแข่งขันของผู้ผลิตในประเทศ
		อุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะยังคงมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.32 และ 3.73 ตามลำดับ เนื่องจากผู้บริโภคได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น สถานการณ์การแพร่ระบาดจึงคลี่คลายขึ้นตามลำดับ รวมถึงผลกระทบจากน้ำท่วมส่งผลให้กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ายังมีความต้องการจากผู้บริโภคในประเทศ นอกจากนี้จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายในตลาดส่งออกหลักของไทย ส่งผลบวกต่อการขยายตัวของการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
		อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ซึ่งได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ ส่วนการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ
		อุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.31 ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.17 เนื่องจากมีประเทศคู่แข่งทางการค้าเพิ่มขึ้น และไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ยางแปรรูปขั้นปฐมของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น
		อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า การคลายมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศ รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตและการส่งออกยังมีความเสี่ยงจากการระบาดที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

19. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่าเป็นเงินทั้งสิ้น 574,111,263 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า โดยเป็นค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ตามมาตรา 13 (4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประเมินตามกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้ราคาสัตว์ที่ถูกทำลายอันเนื่องจากเป็นโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาดหรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2560 แล้ว
		สาระสำคัญ
		โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดต่อสำคัญในสุกรที่เกิดจากเชื้อไวรัส หากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยาก เพราะในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและยาที่รักษาโรค    เชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทานในผลิตภัณฑ์จากสุกรและสิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิตและความรุนแรงของโรคยังทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบร้อยละ 100 โรคนี้ไม่ติดต่อสู่คนและสัตว์ชนิดอื่น อีกทั้งมีการการตรวจพบการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) แพร่กระจายในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งแตกต่างไปจากไวรัส ASF ที่เคยตรวจพบในทวีปยุโรปและเอเชียมาก่อนหน้านี้ ประกอบกับปัจจุบันยังพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรร่วมกับโรคระบาดร้ายแรงในสุกรอื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เช่น โรคกลุ่มอาการระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจในสุกร (พีอาร์อาร์เอส, Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome : PRRS) เป็นต้น ทำให้การวินิจฉัย ชันสูตรโรค การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมีความยากลำบากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงจากการที่เกษตรกรต้องสูญเสียสุกรที่ป่วยตายจากโรคและไม่สามารถเลี้ยงสุกรต่อไปได้ เนื่องจากเชื้อโรคยังสะสมอยู่ในพื้นที่ และทำให้เกิดโรคซ้ำในฟาร์มจนทำให้สูญเสียอาชีพการเลี้ยงสุกรไปในที่สุด อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ได้แก่ โรงงานอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สุกร ธุรกิจการค้าเวชภัณฑ์สัตว์ รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง มีมูลค่าความเสียหายรวมไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกร ซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณเป็นจำนวนมากและใช้เวลานานในการฟื้นฟู จะก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนเนื้อสุกรในการบริโภคอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและความมั่นคงทางอาหารของประเทศอีกด้วย และทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสในการส่งออกสุกรมีชีวิต เนื้อสุกรแช่แข็งและผลิตภัณฑ์สุกรไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 22,000 ล้านบาทต่อปี
		จากความรุนแรงของโรคทั้งสองข้างต้น หากไม่มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม จะต้องมีการทำลายสุกรเพื่อการควบคุมโรคและเกิดการสูญเสีย ดังนี้
		1) ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจำนวน 187,272 ราย เป็นเกษตรกรรายย่อย 184,091 ราย เลี้ยงสุกรขุน 2,247,332 ตัว สุกรพันธุ์ 390,993 ตัว ลูกสุกร 689,562 ตัว เป็นเกษตรกรรายใหญ่ 3,181 ราย เลี้ยงสุกรขุน 5,746,265 ตัว สุกรพันธุ์ 683,998 ตัว และลูกสุกร 1,532,035 ตัว
			1.1 กรณีเกิดโรคร้อยละ 30 ของสุกรที่เลี้ยง จะเกิดความสูญเสียสำหรับ                                 เกษตรกรรายย่อยจำนวน 5,133,886,800 บาท เกษตรกรรายใหญ่จำนวน 11,544,610,200 บาท รวม 16,678,497,000 บาท
			1.2 กรณีเกิดโรคร้อยละ 50 ของสุกรที่เลี้ยง จะเกิดความสูญเสียสำหรับ                 เกษตรกรรายย่อยจำนวน 8,556,478,000 บาท เกษตรกรรายใหญ่จำนวน 19,236,245,500 บาท รวม 27,792,723,500 บาท
			1.3 กรณีเกิดโรคร้อยละ 80 ของสุกรที่เลี้ยง จะเกิดความสูญเสียสำหรับ                       เกษตรกรรายย่อยจำนวน 13,690,364,800 บาท เกษตรกรรายใหญ่จำนวน 30,777,992,800 บาท รวม 44,468,357,600 บาท
			1.4 กรณีเกิดโรคร้อยละ 100 ของสุกรที่เลี้ยง จะเกิดความสูญเสียสำหรับ                        เกษตรกรรายย่อยจำนวน 17,112,956,000 บาท เกษตรกรรายใหญ่จำนวน 38,472,491,000 บาท รวม 55,585,447,000 บาท
		2) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
			2.1 โดนระงับการส่งออกเนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป เป็นมูลค่าปีละประมาณ 6,000 ล้านบาท
			2.2 สูญเสียโอกาสการส่งออกสุกรมีชีวิต เป็นมูลค่าปีละประมาณ 16,000 ล้านบาท โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มูลค่าประมาณ 1,700 ล้านบาท สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มูลค่าประมาณ 3,400 ล้านบาท
			2.3 ด้านธุรกิจอาหารสัตว์ 66,666 ล้านบาท
			2.4 ด้านธุรกิจเวชภัณฑ์ 3,500 ล้านบาท
			2.5 ผลกระทบด้านราคาสุกรขุนมีชีวิตภายในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคเกิดความตื่นตระหนก ทำให้ราคาลดลง ดังนี้
				2.5.1 ราคาลดลงกิโลกรัมละ 10 บาท ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ปีละ 22,000 ล้านบาท
				2.5.2 ราคาลดลงกิโลกรัมละ 20 บาท ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ปีละ 44,000 ล้านบาท
				2.5.3 ราคาลดลงกิโลกรัมละ 30 บาท ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ปีละ 66,000 ล้านบาท
		ทั้งนี้ ข้อ 2.3 และ 2.4 ประมาณการความเสียหายจากการระบาดของโรคที่ร้อยละ 50
		3) ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรเป็นจำนวนมาก และใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเป็นเวลานาน
ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีระบบการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างต่อเนื่องทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ และได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด รวมทั้งยังคงดำเนินการตามแผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรโดยดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำลายสุกรและชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย อาศัยอำนาจตามมาตรา 13 (4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ซึ่งได้ดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2564 ในพื้นที่ 39 จังหวัด ได้แก่ อ่างทอง จันทบุรี ชลบุรี สระแก้ว ตราด ฉะเชิงเทรา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ นครพนม หนองคาย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ บึงกาฬ ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย แพร่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน อุทัยธานี อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช จำนวนเกษตรกร 4,855 ราย จำนวนสุกร 142,079 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 559,657,408 บาท จำแนกเป็นประเภทของเกษตรกรตามปริมาณการเลี้ยงสุกรที่ดำเนินการตามมาตรการลดความเสี่ยงดังนี้
ขนาดฟาร์ม	ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร
ปีงบประมาณ 2563	จำนวนเกษตรกรที่ดำเนินการตามมาตรการลดความเสี่ยง
	จำนวนเกษตรกร	จำนวนสุกร	จำนวนเกษตรกร 	จำนวนสุกร
ขนาดเล็ก	174,152	1,957,283	 4,057 	 63,937
ขนาดกลาง	9,939	1,369,604	 313 	 47,506
ขนาดใหญ่	3,181	7,962,298	 24 	 30,636
ภาพรวมทั้งประเทศ	187,272	11,289,185	4,394	 142,079
หมายเหตุ : 1. การลดความเสี่ยงโดยใช้งบประมาณจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติในเกษตรกรจำนวน 1,617 ราย จำนวนสุกร 29,312 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 89,458,319 บาท
		  2. การลดความเสี่ยงโดยใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 ในเกษตรกรจำนวน 3,238 ราย 112,767 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 470,199,089 บาท
			ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (23 มีนาคม 2564 ถึง 15 ตุลาคม 2564) ไปแล้วในพื้นที่ 56 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี หวัดสระแก้ว นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองบัวลำภู มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ หนองคาย บึงกาฬ ร้อยเอ็ด นครพนม อุดรธานี มุกดาหาร สกลนคร ยโสธร เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา แพร่ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เพชรบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตรัง กระบี่ ระนอง นครศรีธรรมราช ชุมพร พัทลุง พังงา และสงขลา จำนวนเกษตรกร 4,941 ราย จำนวนสุกร 159,453 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 574,111,263 บาท ทั้งนี้ เกษตรกรยังไม่ได้รับเงินค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย รายละเอียดตามเอกสารแนบ รวมทั้งได้กำหนดแผนการดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดรวมทั้งไม่เป็นการสร้างภาระด้านความจำเป็นในการครองชีพต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่ถูกทำลายสุกรมากเกินไป จึงมีความจำเป็นต้องมีงบประมาณสำรองสำหรับการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ที่กรมปศุสัตว์ จากการประเมินความเสี่ยงของฟาร์มสุกรต่อการเกิดโรคระบาดที่สำคัญในสุกรในระดับสูง - สูงมากทั่วประเทศไทย ในปี 2564 พบฟาร์มสุกรที่มีระดับความเสี่ยงสูง - สูงมากจำนวนทั้งสิ้น 33,333 ราย มีจำนวนสุกรทั้งหมด 770,276 ตัว และกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการลดความเสี่ยงของฟาร์มเลี้ยงสุกรที่มีความเสี่ยงสูง - สูงมากไปแล้ว 9,796 ราย มีจำนวนสุกร 301,532 ตัว จึงมีฟาร์มสุกรที่มีความเสี่ยงสูง - สูงมากอีกจำนวน 23,537 ราย มีจำนวนสุกร 468,744 ตัว การดำเนินการลดความเสี่ยงกำหนดเป้าหมายที่ร้อยละ 15 ของฟาร์มที่พบความเสี่ยงสูง - สูงมากของฟาร์มที่ยังคงเหลืออยู่ คิดเป็นฟาร์มที่ต้องลดความเสี่ยงที่ 3,531 ฟาร์ม มีจำนวนสุกรทั้งสิ้น 70,312 ตัว จะต้องใช้งบประมาณในการจ่ายค่าชดใช้ราคาสัตว์ที่ถูกทำลายเพิ่มเติมอีก 409,215,840 บาท (คำนวณที่สุกรขุน 1 ตัว น้ำหนักตัวละ 100 กิโลกรัมๆละ 77.60 บาท) และค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลาย (อาหารสัตว์) เป็นเงิน 118,124,160 บาท (คำนวนที่สุกรขุน 1 ตัว กินอาหารวันละประมาณ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20 บาท สำรองอาหารไว้ 28 วัน)
			การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรข้างต้นของประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยในการนำเข้าสุกรมีชีวิตและซากสุกรสำหรับการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่น ซึ่งปี พ.ศ.2573 การส่งออกสุกรมีชีวิตและซากสุกรทั้งหมดของประเทศไทยสามารถส่งออกเป็นมูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 300 เมื่อเทียบกับปี 2562 และแนวโน้มการส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
			สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมีแนวโน้มขยายเป็นวงกว้างขึ้น        อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ซึ่งมีรายงานการระบาดของโรคครั้งแรกของทวีปเอเชียที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบันพบการระบาดไปแล้ว 38 ประเทศทั่วโลก เป็นประเทศในทวีปยุโรปจำนวน 13 ประเทศ ทวีปแอฟริกาจำนวน 8 ประเทศ ทวีปเอเชียจำนวน 15 ประเทศ ทวีปอเมริกา 1 ประเทศ และประเทศแถบโอเชียเนียจำนวน 1 ประเทศ ซึ่งประเทศล่าสุดในทวีปเอเชียที่พบการระบาดของโรค คือ ราชอาณาจักรภูฏาน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 รวมทั้งยังพบการระบาดในประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและสหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรของแต่ละประเทศ อีกทั้งยังคงพบการระบาดของโรคในประเทศดังกล่าวซ้ำ แม้ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมที่ดีแต่จากปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ประเทศไทยพบความเสี่ยงสูงถึงสูงมากต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่ 244 อำเภอ ใน 56 จังหวัด ดังนี้
	จำนวนรวมทั้งประเทศ*	จำนวนที่พบความเสี่ยงสูงมาก	คิดเป็นร้อยละ
จังหวัด	77	56	72.72
อำเภอ	928	244	26.29
จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร	168,529	4,941	2.93
จำนวนสุกร	12,228,255	159,453	1.30
*หมายเหตุ : ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์ ปี พ.ศ.2564 และรายชื่อ
                จังหวัดที่พบความเสี่ยงมากต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ข้อมูลระหว่างวันที่ 23 มีนาคม 2564 	      ถึง 15 ตุลาคม 2564)
		ซึ่งเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยที่มีระบบการป้องกัน โรคทางชีวภาพที่ไม่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามจากการดำเนินการมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในวงจำกัด ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพรวม                             ของอุตสาหกรรมการผลิตสุกรโดยรวมของทั้งประเทศ ซึ่งการดำเนินการตามแผนเฝ้าระวังป้องกันและควบคุม             โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและต่อเนื่อง หากล่าช้าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาทดังกล่าวข้างต้น

ต่างประเทศ

20. เรื่อง การยกเลิกเงื่อนไขการนำเข้าสินค้าหอมหัวใหญ่ตามพันธกรณีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP)
	คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเลิกหลักเกณฑ์การนำเข้าตามพันธกรณีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย - นิวซีแลนด์ (Thailand - New Zealand Closer Economic Partnership: TNZCEP) ข้อย่อย 3) ของหลักเกณฑ์การนำเข้าสินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่และหอมหัวใหญ่ ที่กำหนดว่า ?ให้นำเข้าเฉพาะกรณีที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตและแปรรูปในกิจการของตนเอง และห้ามจำหน่ายจ่ายโอนเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ภายในประเทศ? สำหรับสินค้าหอมหัวใหญ่ ส่วนสินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ให้ยังคงหลักเกณฑ์นี้ไว้เช่นเดิมตามที่คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์เสนอ
		สารสำคัญของเรื่อง
		คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 เห็นชอบหลักเกณฑ์การนำเข้าสินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ หัวพันธุ์มันฝรั่ง และมันฝรั่ง ภายใต้พันธกรณีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย - นิวซีแลนด์ (Thailand - New Zealand Closer Economic Partnership: TNZCEP) และพันธกรณี ตามความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย (The Thailand - Australia Free Trade Agreement : TAFTA) ตั้งแต่ปี 2563เป็นต้นไป โดยกำหนดให้การนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่งสามารถนำเข้าได้เฉพาะกรณีเพื่อใช้ในการผลิตและแปรรูปในกิจการของตนเองเท่านั้น ซึ่งภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติดังกล่าวแล้ว ประเทศนิวซีแลนด์ได้ประสานมายังกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์(พณ.) ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าว (ในส่วนของหอมหัวใหญ่) ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีความตกลง TNZCEP เนื่องจากตามความตกลง TNZCEP ได้กำหนดไว้ว่า ภาคีจะต้องไม่นำมาใช้หรือคงไว้ซึ่งมาตรการที่มิใช่ภาษีสุลกากรใด ๆ ในการนำเข้าสินค้าใด ๆ ของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง หรือการส่งออกสินค้าใด ๆ ไปยังภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นไปตามสิทธิและพันธกรณีของตนภายใต้องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) หรือเป็นไปตามข้อบทอื่น ๆ ในความตกลงกัน ซึ่งหลักเกณฑ์การนำเข้าสินค้าข้างต้นนั้นเป็มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่ถือเป็นอุปสรรคทางการค้าตามความตกลง TNZCEP ประกอบกับปัจจุบันมีผู้ที่ต้องการใช้หอมหัวใหญ่ของประเทศนิวซีแลนด์ในร้านอาหารหรือนำมาประกอบอาหารบางส่วน ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จึงขอปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การนำเข้าเฉพาะสินค้าหอมหัวใหญ่ภายใต้พันธกรณีความตกลง TNZCEP ตามที่ประเทศนิวซีแลนด์แสดงความกังวลมา รายละเอียด ดังนี้

หลักเกณฑ์ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
14 มกราคม 2563
	ขอแก้ไขในครั้งนี้

ฯลฯ
3.1 หลักเกณฑ์การนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่และหอมหัวใหญ่ตามพันธกรณีความตกลง TNZCEP
1) ผู้นำเข้าต้องเป็นนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่/หอมหัวใหญ่
ไว้กับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี ตามแบบคำขอ
ขึ้นทะเบียนที่กำหนด (แบบ ทอ.7)
2) ผู้นำเข้าต้องขอหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามความตกลง TNZCEP ตามหลักเกณฑ์/ระเบียบที่ พณ. กำหนด
3) ให้นำเข้าเฉพาะกรณีที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตและแปรรูปในกิจการของตนเองและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่/หอมหัวใหญ่ภายในประเทศ
4) ให้นำเข้าทางด่านศุลกากรที่มีด่านตรวจพืชและด่านอาหารและยา หรือมีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของด่านดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่
ฯลฯ





คงเดิม





คงเดิม


๓) ให้นำเข้าเฉพาะกรณีที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตและแปรรูปในกิจการของตนเองและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ภายในประเทศ

คงเดิม


ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง โดย สศช. มีความเห็นเพิ่มเติมว่า กษ. และ พณ. ควรติดตามและกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าหอมหัวใหญ่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถพิจารณาใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safe Guard: SSG) ได้ทันท่วงที

21. เรื่อง  ขอความเห็นชอบโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Project Cooperation Agreement: PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes โดยมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ร่วมกับผู้แทนโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) และที่ปรึกษาโครงการ (Lead Service Provider) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) ข้อตกลงความร่วมมือฯ และเอกสารโครงการดังกล่าว ในประเต็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ส่งผลกระทบผูกพันเชิงนโยบายให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
ทั้งนี้ จะมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการ ฯ (PCA) ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้เสนอโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) รอบที่ 6 (GEF-6) โดยมีโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เป็นหน่วยบริหารโครงการ (GEF Agency) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้มีหนังสือถึง สผ.                        เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 แจ้งว่าประธานบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Chief Executive Officer) ให้การอนุมัติข้อเสนอโครงการดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โครงการฯ มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
หัวข้อ	รายละเอียด

วัตถุประสงค์	เพื่อบูรณาการต้นทุนธรรมชาติสู่การจัดทำนโยบายและการดำเนินการของภาคเศรษฐกิจหลักทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองและบรรเทาผลกระทบจากภาคการผลิตที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการให้บริการของระบบนิเวศ
เป้าหมาย	 มีแนวทางการจัดทำนโยบายเพื่อสนับสนุนการบูรณาการต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม
และบูรณาการต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมเข้าไปในระบบบัญชีประชาชาติ
ขอบเขตและพื้นที่ดำเนินการ	โครงการฯ มุ่งเน้นใน 2 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว และภาคการจัดการน้ำและได้คัดเลือกจังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในการเป็นแหล่งน้ำลำธารครอบคลุมจนถึงพื้นที่ชายฝั่งและทะเล ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
องค์ประกอบโครงการ	ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำนโยบายและการสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการบูรณาการต้นทุนธรรมชาติในระดับชาติ โดยจะเป็นการพัฒนากรอบแนวคิด แผนที่นำทาง (Road map) เพื่อนำระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทย โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาคการท่องเที่ยว ภาคการจัดการน้ำกับการให้บริการของระบบนิเวศ รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลต้นทุนธรรมชาติกับนโยบาย แผน และงบประมาณด้านการจัดการน้ำและการท่องเที่ยวของประเทศ สำหรับจัดทำเครื่องมือกลไกทางการตลาด สนับสนุนการบูรณาการข้อมูลบัญชีต้นทุนธรรมชาติในนโยบายระดับชาติ
องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการบัญชีต้นทุนธรรมชาติสู่แผนพัฒนาระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น เป็นการดำเนินการในระดับจังหวัด โดยคัดเลือกจังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ มุ่งเน้นภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำของจังหวัดครอบคลุมตั้งแต่ระบบนิเวศของพื้นที่ต้นน้ำจนถึงพื้นที่ชายฝั่งและทะเลการดำเนินงาน ประกอบด้วยการริเริ่มการพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนธรรชาติสำหรับภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำในระดับจังหวัด การเสริมสร้างสมรรถนะให้เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นให้สามารถบูรณาการข้อมูลต้นทุนธรรมชาติในพื้นที่เข้าสู่นโยบาย แผน งบประมาณ ระดับภูมิภาคได้ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบ ฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชายฝั่งและทะเล
องค์ประกอบที่ 3 การจัดทำข้อมูล การเสริมสร้างความรู้ความตระหนัก การสร้างเครือข่ายเพื่อการบูรณาการบัญชีต้นทุนธรรมชาติ และการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่องค์ความรู้ ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบัญชีต้นทุนธรรมชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 1 และ 2 ทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด

ผลสัมฤทธิ์	บัญชีต้นทุนธรรมชาติในภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำที่จะนำไปบูรณาการสู่การจัดทำนโยบายระดับชาติและระดับท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาแผนการจัดการ กลไกการตัดสินใจ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในระดับจังหวัด บนพื้นฐานของการให้ความรู้ การสร้างกลไกและนโยบาย และข้อมูลการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งและแหล่งน้ำสะอาด รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับต้นทุนธรรมชาติแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานรับผิดชอบ	1. สผ. เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ (The Executing Agency)
2. โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารโครงการ
3. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการ (Lead Service Provider)
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งให้ความร่วมมือและร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (In-kind) ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และจังหวัดกระบี่

งบประมาณและแหล่งที่มา	รวมทั้งสิ้น 8.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นทุนที่ได้รับจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) จำนวนเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีเงื่อนไขในการให้การสนับสนุน คือ ผู้เสนอโครงการจะต้องสนับสนุนงบประมาณสมทบ (co-financing) ในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in-kind) เป็นจำนวน 3 เท่าของวงเงินที่ได้รับ โดย สผ. ในฐานะหน่วยงานดำเนินโครงการ (The Executing Agency) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in-kind) ในรูปแบบบุคลากร มูลค่าทรัพยากรการดำเนินงาน ซึ่งเป็นงบประมาณและทรัพยากรที่แต่ละหน่วยได้รับจัดสรรในทุกปีตามปกติ ไม่ใช่การขอรับจัดสรรเพิ่มเติม รวมมูลค่าทั้งสิ้น 6.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ	54 เดือน นับจากวันที่มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือโครงการ
ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนอื่น	1. ในระดับชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ยุทธศาสตร์ที่  5 เรื่องการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้มีแนวทางการประเมินมูลค่าการให้บริการของระบบนิเวศ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
2. ในระดับโลก เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ส่งเสริมให้มีการประเมินมูลค่าทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเพื่อจัดทำมาตรการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพต่อไป


 22. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ลาว ครั้งที่ 22
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ลาว ครั้งที่ 22 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		กต. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน             ปรมัตถ์วินัย) ได้เข้าร่วมการประชุมฯ เมื่อวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2564 ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นในบริบทของการฉลองโอกาสครบรอบ 70 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ภายใต้แนวคิดหลัก ?การฟื้นฟูอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนไปด้วยกัน? สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1.ผลการประชุมฯ

ประเด็นความร่วมมือ	สาระสำคัญ
1) ด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อส่งเสริมความมั่นคงร่วมกัน	1.1 ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือตามแนวชายแดน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการลักลอบข้ามแดนผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ และปัญหายาเสพติด ซึ่งฝ่าย สปป. ลาว ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ
1.2 ฝ่าย สปป. ลาว ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้อำนวยความสะดวกให้แรงงานลาวเดินทางกลับภูมิลำเนาและขอให้ดูแลช่วยเหลือแรงงานลาวที่ยังอยู่ในไทยต่อไป โดยทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องให้กระทรวงแรงงานของทั้ง 2 ประเทศหารือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อนำเข้าแรงงานอย่างถูกกฎหมาย ฝ่าย สปป. ลาว ขอบคุณฝ่ายไทยที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดตั้งคณะศาลปกครองในศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป. ลาว
2) ด้านเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูที่มั่นคงและยั่งยืนของ 2 ประเทศ	2.1 ฝ่าย สปป. ลาว เห็นพ้องในหลักการเรื่องการกลับมาเปิดจุดผ่านแดน 7 จุด ที่ปิดชั่วคราวเพื่อควบคุมโรค และเห็นพ้องกับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่ให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อหารือมาตรการในการเปิดการท่องเที่ยวระหว่างกันในจังหวัดชายแดนในลักษณะ one-day trip โดยอาจเริ่มจากจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นการนำร่อง
2.2 ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดให้เกิดการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ สปป. ลาว ที่จะเปลี่ยนประเทศจาก Land-Locked เป็น Land-Linked  และเห็นพ้องให้มีการหารีอ 3 ฝ่าย (ไทย-ลาว-จีน) เพื่อเชื่อมโยงระบบรางของไทยกับ สปป. ลาวให้เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยเห็นว่าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงสำหรับรถไฟแห่งใหม่ที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 เป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันในสาขาใหม่ ๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
2.3 ฝ่าย สปป. ลาวขอให้ไทยพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมและขยายกรอบการรับซื้อไฟฟ้าให้มากกว่า 9,000 เมกะวัตต์ โดยทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมการขายไฟฟ้าจากสปป. ลาว ผ่านระบบสายส่งของไทยไปยังประเทศอื่น ๆ

3) ด้านการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในระดับประชาชน	3.1 ฝ่าย สปป. ลาว ขอบคุณความช่วยเหลือจากภาครัฐและภาคเอกชนของไทยในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
3.2 ฝ่ายไทยแสดงความพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการมอบทุนในสาขาต่าง ๆ นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอนฯ)  ได้ทำพิธีเชิงสัญลักษณ์เพื่อส่งมอบศูนย์บำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดและศูนย์รองรับผู้ป่วยอุบัติเหตุเบื้องต้นให้แก่โรงพยาบาลเมืองโพนโฮง และส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์ สำหรับเตรียมการรองรับผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลเด็กนครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว เพื่อเป็นการฉลองโอกาสครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับ สปป. ลาว
	2. ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบร่างบันทึกการประชุมฯ โดยสาระสำคัญของเอกสารไม่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้แล้ว
		3. ผลการหารือทวิภาคี
			3.1 ความร่วมมือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยฝ่าย สปป. ลาว ตั้งเป้าหมายการฉีตวัคซีนให้ประชากร 5 ล้านคน (จากทั้งหมดประมาณ 7 ล้านคน) ภายในเดือนธันวาคม 2564 และจะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในช่วงต้นปี 2565 รวมทั้งอยู่ระหว่างการจัดทำแผนเปิดประเทศในอนาคต โดยคำนึงถึงจำนวนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเป็นสำคัญและขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาฉีดวัคซีนให้แรงงานลาวในไทยทั้งในและนอกระบบ ซึ่งฝ่ายไทยได้ย้ำนโยบายที่จะฉีดวัคซีนให้ประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
			3.2 การคุ้มครองดูแลภาคเอกชนไทยใน สปป. ลาว ฝ่ายไทยย้ำให้ฝ่าย สปป. ลาว ดูแลภาคเอกชนและคนไทยในสปป. ลาว ให้ได้รับความสะดวกและการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งฝ่าย สปป. ลาวตอบรับและสนับสนุนให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนใน สปป. ลาว ในด้านการเกษตรเพื่อส่งออกมากขึ้น
			3.3 การบริหารจัดการในแม่น้ำโขง ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันบริหารจัดการน้ำ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในแม่น้ำโขง โดยฝ่ายไทยขอให้ สปป. ลาวเร่งรัดการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการระหว่างไทยกับ สปป. ลาว
			3.4 ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ทั้ง 2 ฝ่ายย้ำการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26

23. เรื่อง ผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) ผ่านระบบการประชุมทางไกล
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion: GMS)  ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) (การประชุมสุดยอดผู้นำฯ ครั้งที่ 7) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564 รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอแผนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน GMS และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		สศช. รายงานว่า การประชุมสุดยอดผู้นำฯ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธานการประชุมและประธานธนาคารพัฒนาเอเชียเป็นประธานร่วมการประชุม โดยมีผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขงเข้าร่วมการประชุม ซึ่งในส่วนของไทยมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุม
		สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ 3 ฉบับ โดยไม่มีการลงนาม ทั้งนี้ ผู้นำ 6 ประเทศ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินงานต่อไปของแผนงาน GMS ดังนี้
ผู้นำประเทศ	ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

(1) นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา 	1) เน้นย้ำการคว้าโอกาสภายใต้บริบทเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกันบนฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลควบคู่กับการพัฒนาทักษะแรงงานในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
2) ให้ความสำคัญต่อการแสวงหาแหล่งเงินทุนอื่น ๆ และเห็นว่าความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเป็นแนวทางสำคัญในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาโครงการที่มีความสำคัญสูงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
3) แผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากโควิด-19 พ.ศ. 2564-2566 จะส่งผลให้การเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทาน การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และสาธารณสุขในอนุภูมิภาค GMS เป็นไปอย่างราบรื่นและกลับคืนสู่สภาวะปกติ
(2) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน)	1) เน้นย้ำเจตนารมณ์ของจีนในการกระชับและส่งเสริมความร่วมมือในทุกมิติกับประเทศเพื่อนบ้านใน GMS โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการหารือในทุกระดับ รวมทั้งการยกระดับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจด้วยการเร่งรัดการให้สัตยาบันต่อความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของประเทศภาคีและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2) เน้นย้ำความสอดประสานของแผนงาน GMS และกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เช่น ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(3) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)	เน้นย้ำการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รัดกุมเพื่อรองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต รวมถึงการยกระดับความร่วมมือเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมสำหรับการสร้างเศรษฐกิจฐานคุณค่าและการเตรียมอนุภูมิภาคให้พร้อมกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอนาคต
(4) ประธานสภาบริหารแห่งรัฐสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา)	เน้นย้ำความสำเร็จของแผนงานความร่วมมือ GMS ที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศสมาชิกอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมา นอกจากนี้ได้เน้นย้ำความพยายามของรัฐบาลในการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงการเติมเต็มข้อตกลงต่าง ๆ ที่เมียนมาเป็นสมาชิกหรือภาคี
(5) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม	1) เน้นย้ำความร่วมมือของประเทศสมาชิกเพื่อขับเคลื่อน GMS ผ่านความร่วมมือหลากหลายสาขา การสร้างความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และดิจิทัล ซึ่งจะเอื้อต่อการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตกที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
2) เสนอให้มีการจัดตั้งเวทีระดับสูงระหว่างประเทศสมาชิก GMS และหุ้นส่วนการพัฒนาเพื่อกระชับความสัมพันธ์และระดมทรัพยากรทางการเงินในการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
(6) ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย	1) นำเสนอบทบาทสำคัญของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank: ADB) ในการขับเคลื่อนแผนงานความร่วมมือ GMS ผ่านการให้การสนับสนุนทางการเงินกับโครงการต่าง ๆ จำนวน 27.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
2) ประเด็นสำคัญเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ เช่น การส่งเสริมการเติบโตด้านสุขภาพและการคุ้มครองทางสังคมสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน และการส่งเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ
(7) นายกรัฐมนตรีไทย	1) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งเพื่อการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อทั้งในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอื่น ๆ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเมืองกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งจะเป็นช่องทางส่งออกและนำเข้าสินค้าแห่งใหม่ของ GMS ทั้งนี้ ไทยมีความพร้อมในการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกับจีนและ สปป. ลาว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและขยายห่วงโช่มูลค่าในอนุภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกGMS และ ADB เร่งผลักดันการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามพรมแดน GMS สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
2) เร่งพัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อมุ่งสู่อนุภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ภาคธุรกิจทุกระดับปรับตัวเพื่อให้ GMS มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ไทยได้พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง
3) ผลักดันให้ GMS เป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน มีความมั่งคั่งและยั่งยืน โดยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับอนุภูมิภาคจากโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ ทั้งนี้ ไทยได้จัดทำแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พ.ศ. 2564-2566 ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลการดำเนินงานใน GMS อีกทางหนึ่ง รวมทั้งความร่วมมือชายแดน GMS ปลอดภัยผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการเพิ่มพูนความร่วมมือเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อในระดับภูมิภาค รวมทั้งได้กำหนดให้การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) เป็นวาระแห่งชาติด้วย
		2.ผลลัพธ์ความสำเร็จของแผนงาน GMS มีดังนี้
			2.1 ความเชื่อมโยง ได้พัฒนาโครงการในสาขาคมนาคมขนส่งแล้วเสร็จ จำนวน 11 โครงการ มีมูลค่ารวมกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 54 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้ผลักดันการดำเนินงานในระยะแรกของความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน (Cross-Border Transport Agreement: CBTA) สู่การปฏิบัติแล้วเสร็จ ในส่วนของด้านพลังงาน ได้มุ่งสู่การเป็นแหล่งซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคโดยหลายประเทศได้เริ่มซื้อขายไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 3 ฝ่าย ไทย-สปป. ลาว-มาเลเซีย รวมทั้งบูรณาการการพัฒนา พลังงานหมุนเวียนใน GMS และจัดทำแผนแม่บทด้านพลังงานของ GMS ในระยะต่อไป
			2.2 ความสามารถในการแข่งขัน ได้กำหนดมาตรฐานการเพาะปลูก ความปลอดภัยด้านปศุสัตว์ การประกันคุณภาพ และสนับสนุนการเกษตรที่ปรับตัวตามสภาพภูมิอากาศซึ่งดำเนินการตามหลักการการเกษตรยั่งยืนและเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ธุรกิจ Startup เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพ นอกจากนี้ ได้พัฒนาเมืองอัจฉริยะและผลักดันเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ที่ยั่งยืนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
			2.3 ความเป็นประชาคม มุ่งดำเนินโครงการที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ สนับสนุนการปรับภูมิประเทศที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ และใช้เทคโนโลยีสีเขียว และเครื่องมือทางการเงินสีเขียวในการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำการสร้างประชาคม GMS ที่มีภูมิคุ้มกันต่อการแพร่ระบาดในอนาคตและพัฒนา BCG Economy
  			2.4 การพัฒนาพื้นที่และระเบียงเศรษฐกิจ ได้จัดทำการศึกษานำร่องการวางแผนเฉพาะส่วนเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้เชื่อมโยงเมียนมา-สปป. ลาว-จีน เพื่อเปิดรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนี้ ได้ปรับเส้นทางใหม่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจต่าง ๆ และประเมินโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เพื่อขยายโอกาสในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจใหม่ต่อไป
			2.5 กรอบการลงทุนในภูมิภาค พ.ศ. 2565 ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ จำนวน 204 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 7.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการที่มีแหล่งเงินทุนและอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 155 โครงการโครงการที่ได้รับความสนใจในการร่วมลงทุนจากภาคเอกชน จำนวน 15 โครงการ และโครงการที่อยู่ระหว่างรองบประมาณ 34 โครงการ
		2.6 การจัดทำเอกสารเชิงยุทรศาสตร์ ได้แก่ (1) กรอบยุทธศาสตร์แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 ซึ่งได้ประเมินกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนา GMS ในระยะ 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการคว้าโอกาสภายใต้บริบทเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกันบนฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัดกรรม และ (2) แผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคควิด-19  พ.ศ. 2564 ? 2566 ซึ่งนำเสนอเสาหลัก ?สุขภาพหนึ่งเดียว? อันเป็นแนทางการพัฒนาสุขภาพของประชาชนและปศุสัตว์ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาการเพาะปลูกพืชผลเพื่อความมั่นคงทางอาหาร และแนวทางการพัฒนาคุณภาพความเป็นเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน

24. เรื่อง ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่หนึ่ง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่หนึ่ง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 11 - 15 ตุลาคม 2564 [(คณะรัฐมนตรีมีมติ      (5 ตุลาคม 2564) เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบในการรับรองปฏิญญาคุนหมิงโดยไม่มีการลงนาม] โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมระดับสูง ระหว่างวันที่ 12 - 13 ตุลาคม 2564 มีการอภิปรายร่วมภายใต้หัวข้อหลัก ?Ecological Civilization-Building a Shared Future for All Life on Earth? และการรับรองปฏิญญาคุนหมิง สรุปได้ ดังนี้
		1.1 สาระสำคัญของการอภิปรายร่วม ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นพ้องว่าการเพิ่มความพยายามและความมุ่งมั่นการดำเนินงานเพื่อฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 โดยใช้แผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการคุ้มครอง อนุรักษ์พื้นที่อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่ทางบกและพื้นที่ทางทะเลของโลก และการผสานการดำเนินงานกับความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ ความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพอนามัย
			1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถ้อยแถลงในระหว่างการประชุมระดับสูง ในหัวข้อ ?Putting Biodiversity on a path to recovery? โดยเน้นย้ำในเรื่อง 1) ความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูระบบนิเวศรวมถึงการเตรียมความพร้อมในการฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 2) นำเสนอการดำเนินงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงนโยบายของประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะการดำเนินนโยบาย Bio-Circular-Green-Economy (BCG Model) และเป้าหมายในการฟื้นฟูระบบนิเวศที่สำคัญ และ 3) การจัดเตรียมกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายและวิธีการดำเนินงานที่จะต้องคำนึงถึงบริบทความพร้อมของแต่ละประเทศและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ รวมถึงการสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อดำเนินการร่วมกัน ทั้งในด้านการเงินการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างสมรรถนะ พร้อมทั้งแสดงความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับประชาคมโลก
1.3 การรับรองปฏิญญาคุนหมิง เป็นการแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมร่วมกับประชาคมโลกเพื่อการอนุรักษ์และคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในมิติต่าง ๆ ซึ่งปฏิญญาคุนหมิงที่มีการรับรองในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564 ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนตามความเห็นของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ โดยไม่กระทบกับสาระสำคัญตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในคราวประชุมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564
2. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่ ระหว่างวันที่ 11 และ 14 - 15 ตุลาคม 2564 ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรย่อยและคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาฯ และรับรองกรอบงบประมาณปี ค.ศ. 2020 สำหรับการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ และพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ (เช่น พิธีสารคาร์ตาเฮน่า เกี่ยวกับความตกลงระหว่างประเทศที่เน้นเรื่องการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของสิ่งมีชีวิตใด ๆ ก็ตาม ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ และพิธีสารนาโงย่า เกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม)
3. ในส่วนของวาระการประชุมที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย วิทยาศาสตร์และวิชาการและการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ และพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ เช่น การทบทวนความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ของอนุสัญญาฯ กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพหลังปี ค.ศ. 2020 การบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในภาคส่วนต่าง ๆ ความหลากหลายทางชีวภาพกับสุขอนามัย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตรกรรม การจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง เป็นต้น ซึ่งจะนำไปพิจารณาต่อในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่สอง ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2565 ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จะประสานการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมดังกล่าวต่อไป

25. เรื่อง ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 20
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีเนการาบรูไนดารุสซาลาม (บรูไน) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย)1 เข้าร่วมการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมระหว่าง AEC Council และรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล2 ที่ประชุมฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือระหว่างเสาประชาคมและองค์กรรายสาขาในการขับเคลื่อนประเด็นการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล โดยเน้นย้ำการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อยให้สามารถใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลและตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ นอกจากนี้ ได้สนับสนุนและให้ความเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ของผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน [คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 ตุลาคม 2564) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ดังกล่าวแล้ว]
2. การประชุม AEC Council ครั้งที่ 20 สรุปได้ ดังนี้
	2.1 ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ3 ที่ประชุมฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการในประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่บรูไนในฐานะประธานอาเซียน จะผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2564 รวม 13 ประเด็น4 โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 7 ประเด็น เช่น การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียนหลังการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน และการจัดทำแถลงการณ์ร่วม เรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและความมั่นคงทางพลังงานของอาเซียน โดยประเด็นที่เหลือ เช่น การประกาศการเจรจาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา การจัดทำแผนปฏิบัติการภูมิภาคว่าด้วยการปฏิบัติตามบรรทัดฐานความรับผิดชอบของรัฐบนโลกไซเบอร์ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2564 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับรองกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเห็นชอบแผนงานบันดาร์เสรีเบกาวัน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอาเซียนไปสู่ความเป็นดิจิทัล
			2.2 การดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากการทบทวนแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2025 ระยะกลาง5 ที่ประชุมฯ เห็นพ้องในประเด็นความท้าทายสำหรับข้อเสนอแนะที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายสาขา โดยขอให้องค์กรรายสาขาเร่งพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะในประเด็นที่คาบเกี่ยวระหว่างเสาประชาคม โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าโลกและการรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 หรืออาจพิจารณาจัดทำแผนงานทางเลือกสำหรับข้อเสนอแนะที่คาดว่าจะไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่ระบุในข้อเสนอแนะฯ
2.3 การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี ค.ศ. 20256 ที่ประชุมฯ รับทราบความคืบหน้าการจัดทำวิสัยทัศน์ฯ และแนวโน้มสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของอาเซียนหลังปี ค.ศ. 2025 ได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง (2) การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัล เทคโนโลยี และนวัตกรรม (3) สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (4) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความขาดแคลนทรัพยากร (5) การเปลี่ยนแปลงอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัล การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงฉับพลันในอนาคต และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความสัมพันธ์กับคู่เจรจา
2.4 การเตรียมการเป็นประธานอาเซียนในปี 2565 ของราชอาณาจักรกัมพูชา7 (กัมพูชา) ที่ประชุมฯ รับทราบการกำหนดประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาจะผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2565 ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน ได้แก่ (1) การส่งเสริมความเชื่อมโยงทางดิจิทัล วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (2) การลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน (3) การรวมตัวกันมากขึ้น ครอบคลุมทุกภาคส่วน มีความเป็นเอกภาพ และมีความสามารถในการแข่งขัน และ (4) การเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลกเพื่อการเติบโตและการพัฒนา
2.5 ข้อเสนอแนะของคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้นำอาเซียน ที่ประชุมฯ เห็นชอบข้อเสนอแนะฯ ได้แก่ (1) มุ่งเน้นข้อริเริ่มที่มีคุณภาพและพร้อมรับความท้าทายใหม่ ๆ ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพ ประสิทธิภาพการดำเนินการ และผลกระทบต่อการบูรณาการของอาเซียน             (2) ดำเนินการตามข้อริเริ่มอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ควรจัดทำแผนดำเนินงานที่มีรายละเอียดกิจกรรมและองค์กรรายสาขาที่เกี่ยวข้องกับทั้งสามเสาประชาคม รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (3) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการดำเนินการ ติดตาม และประเมินผล เพื่อให้การดำเนินการเกิดผลผลิตและผลลัพธ์ตามแผน โดยต้องมีการประสานงานระหว่างองค์กรรายสาขามากขึ้น และ (4) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรจัดทำแผนกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมกว่าแค่ภาคเอกชน
3. ความเห็นและข้อสังเกต
	3.1 การประกาศเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดาเป็นหนึ่งในประเด็นด้านเศรษฐกิจที่บรูไนผลักดันให้ประสบความสำเร็จในปี 2564 ทั้งนี้ ได้มีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เพื่อประกาศเจรจาจัดทำความตกลงฯ แล้ว (คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 พฤศจิกายน 2564) เห็นชอบการเข้าร่วมเจรจาฯ แล้ว]
	3.2 ประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับแนวโน้มใหม่ ๆ ของโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัลและประเด็นความยั่งยืน นอกจากนี้ หลายประเทศนอกภูมิภาคได้ผลักดันประเด็นความยั่งยืนโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้เป็นประเด็นในการเจรจาความตกลงทางด้านเศรษฐกิจการค้ามากขึ้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมทั้งคำนึงถึงและตอบสนองต่อแนวโน้มของอาเซียนและประเทศคู่เจรจาเพื่อให้มีความพร้อมต่อการเจรจาในอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยยังคงเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนและพร้อมรับการเจรจาในอนาคตต่อไป
1 ข้อมูลที่ประสานเพิ่มเติมจากกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564
2 หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
3 หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
4 ข้อมูลที่ประสานเพิ่มเติมจากกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2565 พบว่าขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 12 ประเด็น โดยประเด็นที่ยังไม่ได้ดำเนินการ 1 ประเด็น คือ การจัดประชุมให้ความรู้ด้านการเงินของอาเซียนซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2565
5 หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ กระทวงพาณิชย์ (พณ.)
6 หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
7 หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงพลังงาน (พน.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)

26. เรื่อง รายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 9 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอรับทราบายงานผลการประชุมระดับอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติครั้งที่ 9 (The 9th ASEAN Ministerial Meeting on Disaster Management: AMMDM) และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) การเฉลิมฉลองวันจัดการภัยพิบัติของอาเซียน หัวข้อ ?การสร้างความเข้มแข็งในการเป็นหุ้นส่วนและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน? 2) การประชุมผู้นำภาคีเพื่อการดำเนินตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 10 [The 10th Meeting of the Conference of the Parties (COP) to AADMER]  3) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-จีน ด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 1 (The 1st AMMDM Plus China) และ 4) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-ญี่ปุ่น ด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 1 (The 1st  AMMDM Plus Japan) ด้วยระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 อนุมัติร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นความตกลงฉบับแรกของอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติและให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการดังกล่าว) โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายนิพนธ์ บุญญามณี) และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจโท ณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นรองประธานการประชุมฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายนิพนธ์ฯ) ได้กล่าวถ้อยแถลงของประเทศ ในหัวข้อ ?การสร้างความเข้มแข็งในการเป็นหุ้นส่วนและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน?              โดยเน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และองค์กรภาคีเครือข่ายต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้นวัตกรรมในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุลหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งได้แสดงความพร้อมของไทยในโอกาสรับตำแหน่งประธานการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management: ACDM) ในปี 2565 โดยมีแนวทางในการขับเคลื่อนงานของไทย คือ ?BALANCING ACT? โดยเฉพาะการเตรียมการล่วงหน้าก่อนเกิดภัยพิบัติ การคำนึงถึงเพศภาวะและความครอบคลุมถึงประชากรทุกกลุ่ม การขับเคลื่อนหลักการ Bangkok Principles เพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในภาคสาธารณสุข และการสร้างความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น
		2. มติที่ประชุม AMMDM ครั้งที่ 9 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
			2.1 รับทราบผลการดำเนินงานของ ACDM และศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on disaster management: AHA Centre) โดยเฉพาะการสนับสนุนการจัดการกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย พร้อมทั้งได้แสดงความยินดีกับการปฏิบัติงานครบรอบ 10 ปี ของ AHA Centre
			2.2 รับทราบความคืบหน้าการทบทวนระเบียบการจัดการทางการเงินกองทุนอาเซียนสำหรับการจัดการภัยพิบัติและบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตลอดจนยอดเงินคงเหลือและข้อเสนอการจัดสรรเงินในกองทุน รวมถึงการใช้กองทุนให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นกรณีพิเศษเพื่อจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้แก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ*
			2.3 เห็นชอบการเปิดตัวเว็บไซต์ระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานภายใต้แผนงานความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินและเอกสารผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้แก่ (1) รายงานการดำเนินงานของอาเซียนเพื่อมุ่งสู่ความสามารถในการอยู่ร่วมกับภัยพิบัติอย่างยั่งยืน (2) รายงานแนวทางการบูรณาการความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียนร่วมกับองค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) แผนยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานร่วมระหว่างอาเซียนและองค์การสหประชาชาติ ฉบับที่ 4 ค.ศ. 2021 - 2025 (4) รายงานแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคด้านการปรับตัวต่อภัยแล้ง ค.ศ. 2021 - 2025 และ (5) กรอบแผนงานด้านการจัดการภัยพิบัติระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการปกป้อง การคำนึงถึงเพศภาวะและประชากรทุกกลุ่ม ค.ศ. 2021 ? 2025
			2.4 เห็นชอบในหลักการต่อร่างเอกสารสำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน ด้านการจัดการภัยพิบัติ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างขอบเขตการดำเนินงานสำหรับกลไกความร่วมมือ ACDM Plus China และการประชุม AMMDM Plus China (2) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุม AMMDM Plus China ครั้งที่ 1 และ (3) ร่างแผนงานความร่วมมืออาเซียน-จีน ด้านการจัดการภัยพิบัติ ค.ศ. 2021 ? 2025 และร่างเอกสารสำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ด้านการจัดการภัยพิบัติ จำนวน 2 ฉบับได้แก่ ร่างขอบเขตการดำเนินงานสำหรับกลไกความร่วมมือ ACDM Plus Japan และการประชุม AMMDM Plus Japan และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุม AMMDM Plus Japan ครั้งที่ 1
			2.5 ที่ประชุมฯ แสดงความยินดีต่อการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาเซียนและสหพันธรัฐรัสเซีย [ตามมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤษภาคม 2563)] เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และขอให้สำนักเลขาธิการอาเซียนเร่งรัดการจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างอาเซียนและสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ รวมทั้งแสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการจัดตั้งกลไกความร่วมมือระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติร่วมกับประเทศคู่เจรจา 2 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนงาน AADMER Work Programme ค.ศ. 2021 ? 2025 และการจัดตั้งกลไกดังกล่าวร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลี ในปี 2565
*  ฉันทามติ 5 ข้อ ของอาเซียน ประกอบด้วย (1) ต้องมีการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาทันที โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างที่สุด (2) ต้องมีการหารือที่สร้างสรรค์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้น เพื่อหาทางออกโดยสันติวิธีเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน (3) ผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเป็นสื่อกลางของกระบวนการหารือภายใต้การช่วยเหลือของเลขาธิการอาเซียน (4) อาเซียนจะให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมผ่านศูนย์ประสานงานเพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน และ (5) ผู้แทนพิเศษรวมถึงคณะผู้แทนจะเดินทางเยือนเมียนมาเพื่อพบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

27. เรื่อง ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation on the Realization of Energy Partnership between the Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Economy, Trade and Industry of Japan) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)                 เป็นผู้ลงนามในบันทึกความร่วมมือดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความร่วมมือดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
		สาระสำคัญ
		1. ความร่วมมือภายใต้บันทึกความร่วมมือนี้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญกับการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลกจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนรวมถึงเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานอัจฉริยะแห่งอนาคตระหว่างสองประเทศในรูปแบบต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความสนใจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสังคมของทั้งสองประเทศ
		2. ขอบเขตของความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างภาคีคู่สัญญาภายใต้บันทึกความร่วมมือนี้รวมถึง 1) น้ำมันและก๊าซ 2) ไฟฟ้า 3) พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 4) พลังงานนิวเคลียร์ 5) นวัตกรรม เทคโนโลยี และพลังงานอัจฉริยะ 6) เทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และความร่วมมือด้านพลังงานอื่น ๆ ตามที่คู่ภาคีจะกำหนดร่วมกัน โดยขอบเขตดังที่กล่าวมานี้สามารถดำเนินการในรูปแบบของการหารือทวิภาคี การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศและสถิติด้านพลังงาน การฝึกอบรม การพัฒนาทักษะและการถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ การส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน ในด้านพลังงานระหว่างสองประเทศและ/หรือในประเทศที่สาม การดำเนินโครงการและเผยแพร่โครงการความร่วมมือที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาพลังงาน การจัดทำแผนที่นำทางด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2050 ตามเป้าหมายระดับชาติของแต่ละประเทศ รวมถึงรูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ ตามแต่คู่ภาคีจะกำหนดร่วมกัน
		3. การประสานความร่วมมือภายใต้บันทึกความร่วมมือฯ คู่ภาคีจะดำเนินกิจกรรมความร่วมมือผ่านกรอบการประชุม JTEPD ที่มีอยู่ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนของคู่ภาคีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันกำหนดโครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ โดยคู่ภาคีสามารถจัดตั้งคณะทำงาน (Working Group) ภายใต้กรอบการประชุม JTEPD โดยมีความรับผิดชอบในการดำเนินความร่วมมือเฉพาะด้านและจะต้องรายงานความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต่อที่ประชุม JTEPD ต่อไป ทั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับความร่วมมือหลัก 2 เรื่อง ได้แก่ การจัดทำแผนที่นำทางด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2050 และเทคโนโลยีการดลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

แต่งตั้ง

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางสาวสุภัค ไชยวรรณ รองผู้อำนวยการ (นักบริหารระดับต้น) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
 		1. นายสมบูรณ์ วัชระชัยสุรพล รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
 		2. นายโกมล บัวเกตุ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นางปาณิสรา ดวงสอดศรี เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

31. เรื่อง ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้ง นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 190,000 บาท ค่าตอบแทนพิเศษประจำปี รวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ผู้รับจ้างจะได้รับตามที่กระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว

32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (แทนผู้ที่ขอถอนตัว)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
 		1. แต่งตั้งนายอนุสิษฐ คุณากร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการรักษาผลประโยชน์ของชาติ) ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แทนผู้ที่ขอถอนตัว
 		2. ให้การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 รวม 9 คน และนายอนุสิษฐ คุณากร ซึ่งได้รับการเสนอแต่งตั้ง (ตามข้อ 1.) รวม 10 คน มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งในครั้งนี้เป็นต้นไป

33. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 15 คน (นับรวมประธานกรรมการและกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง และผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง) และแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงแทนประธานกรรมการและกรรมการเดิมที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งสามปี ดังนี้
 		1. นายชยาวุธ จันทร 		 	เป็นประธานกรรมการ
 		2. พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ 	เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ)
 		3. นายสราวุธ เบญจกุล  			เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ)
		4. ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล 	เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ)
		5. นายนิวัติ ลมุนพันธ์ 			เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ) (ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจ)
 		6. นายเดชบุญ มาประเสริฐ    		เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ) (ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจ)
 		7. พลเอก ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ 		เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ)
		8. พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ 		เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ)
		9. พลตำรวจโท สัญชัย สุนทรบุระ 		เป็นกรรมการ
 		10. นางสาวนัทรียา ทวีวงศ์ 		เป็นกรรมการ
		11. นายบุญยิ่ง เจริญฐิติวงศ์ 		เป็นกรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจ)
		12. นายชูรัฐ เลาหพงศ์ชนะ 		เป็นกรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจ)
  		13. นายชัยยงค์ พัวพงศกร 		เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ) (ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจ)
  		14. นางชลิดา พันธ์กระวี 			เป็นกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ)
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งคุณหญิงปัทมา               ลีสวัสดิ์ตระกูล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ด้านจิตวิทยาองค์การ)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เสนอแต่งตั้ง นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ด้านจิตวิทยาองค์การ) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

36. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง รวมจำนวน 3 ราย ดังนี้
 		1. เลื่อน นางสาวอุไร เล็กน้อย รองอธิบดี (นักบริหาร) กรมกิจการเด็กและเยาวชน ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 		2. เลื่อน นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ รองอธิบดี (นักบริหาร) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 		3. เลื่อน นางอภิญญา ชมภูมาศ รองอธิบดี (นักบริหาร) กรมกิจการผู้สูงอายุ ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 มกราคม 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ