สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มกราคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday January 18, 2022 17:13 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

		วันนี้ (18 มกราคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ผ่านระบบ Video Conference) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ?.
2. 	เรื่อง 	ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวก
เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
และการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
3. 	เรื่อง 	ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน
ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน
โดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
4. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติอื่น				ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ
5. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ สังคม

6. 	เรื่อง 	ขอความเห็นชอบในหลักการให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขอรับใบอนุญาต
ให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียง ประเภทกิจการทางธุรกิจ
โดยวิธีการประมูล
7. 	เรื่อง 	สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2564
8. 	เรื่อง 	รายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง
พ.ศ. 2562
9. 	เรื่อง 	รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ
ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 13 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564)
10. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้า				ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา
11. 	เรื่อง 	สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 7/2564
12. 	เรื่อง 	รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง					ครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 					พุทธศักราช 2560 เรื่อง การป้องกันและลดอันตรายจากอุบัติเหตุทางถนน
ที่มีสาเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย
13. 	เรื่อง 	แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ
14. 	เรื่อง 	ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน				หรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565
15.	เรื่อง	ขออนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ ? ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษ				แห่งประเทศไทย
16.	เรื่อง	ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนา				อิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 10)
พ.ศ. 2562 ? 2566
17.	เรื่อง	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปหลักประกันสุขภาพ				ถ้วนหน้าของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai universal health 					coverage reform for sustainable development) ของคณะกรรมาธิการ
การสาธารณสุข วุฒิสภา

ต่างประเทศ

18. 	เรื่อง 	การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานของคณะกรรมาธิการอาเซียน
ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก พ.ศ. 2564 ? 2568
(Draft ACWC Work Plan 2021 ? 2025)
19. 	เรื่อง 	ขอความเห็นชอบร่างบันทึกแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่ง					ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคม
แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
20. 	เรื่อง  	ความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา
21. 	เรื่อง 	ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 28 และการประชุม				ระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา
ครั้งที่ 26
22. 	เรื่อง 	ร่างเอกสารที่จะมีการร่วมลงนาม รับรอง และให้ความเห็นชอบในการประชุม					รัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
23. 	เรื่อง 	OECD เชิญไทยเข้าร่วมคณะกรรมการ Regulatory Policy Committee ในฐานะ 				Participant
24. 	เรื่อง 	การเข้าร่วมการประชุม The 4th Asia Ministerial Conference on Tiger 					Conservation ณ ประเทศมาเลเซีย ผ่านการประชุมทางไกล
25. 	เรื่อง 	การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้อง
26. 	เรื่อง 	ผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย
ลาว และจีน ครั้งที่ 1/2565

แต่งตั้ง

27. 	เรื่อง 	แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
28. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(กระทรวงพาณิชย์)
29. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(สำนักนายกรัฐมนตรี)
30. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคาร					สงเคราะห์
31. 	เรื่อง 	แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
32. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม				แห่งชาติ

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
 		ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
 		1. สืบเนื่องจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2554 พื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในฤดูน้ำหลาก สาเหตุเพราะการระบายน้ำลงสู่โครงการแก้มลิง (คลองมหาชัย - คลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เป็นไปอย่างล้าช้า ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ดำเนินชีวิตอย่างยากลำบาก ทรัพย์สินและบ้านเรือนได้รับความเสียหาย
 		2. เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังและเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ มท. จึงมีโครงการขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองพระยาราชมนตรี ช่วงจากคลองหนองใหญ่ถึงคลองภาษีเจริญ เนื่องจากคลองพระยาราชมนตรีเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างคลองหลักสองแห่ง ได้แก่
			แห่งแรก   คลองภาษีเจริญ 	ระบายน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน
			แห่งที่สอง คลองมหาชัย	ระบายน้ำไปสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย
ถึงคลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีนต่อไป
ซึ่งปัจจุบันคลองพระยาราชมนตรีมีความกว้างลดลงเหลือเพียง 6 ถึง 8 เมตรไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องขยายคลองให้มีความกว้างขนาด 20 เมตร พร้อมก่อสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อรักษาแนวคลอง รักษาเขตแนวที่ดินของประชาชน และป้องกันการพังทลายของตลิ่ง โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณคลองหนองใหญ่ และสิ้นสุดโครงการบริเวณคลองภาษีเจริญ ระยะความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร (1,500 เมตร) ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะช่วยแบ่งและเร่งการระบายน้ำจากคลองภาษีเจริญไปสู่คลองมหาชัยและลงสู่โครงการแก้มลิง (คลองมหาชัยถึงคลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ลดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้
 		3. กทม. จึงมีความจำเป็นต้องเข้าไปทำการสำรวจให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัดในพื้นที่ของโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจและเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด
 		4. เมื่อก่อสร้างตามโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในฤดูน้ำหลาก ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากคลอง            พระยาราชมนตรีและคลองภาษีเจริญ ลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย ? คลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 		5. กทม. ได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 โดยจัดให้มีกิจกรรมการประชาสัมพันธ์และตอบแบบสอบถาม การจัดเวทีสาธารณะ และมีการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ
		6. สำนักงบประมาณ แจ้งว่า กทม. มีแผนการจัดกรรมสิทธิ์และการเบิกจ่ายค่าทดแทน ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ม.ค. 2564 - ธ.ค. 2568) ประมาณการค่าจัดกรรมสิทธิ์ จำนวน 192,039,000 บาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณของ กทม. ทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการตามร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ กทม. จะต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่า ต้นทุนที่เหมาะสมและผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ รวมทั้งความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบด้วย
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เพื่อขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก คลองพระยาราชมนตรีช่วงจากคลองหนองใหญ่ถึงคลองภาษีเจริญ มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
 		1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทยตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		2. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) กระทรวงแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
		ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
 		1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รัฐบาลจึงกำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวมีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย อันจะส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องให้แก่ประชาชนและแรงงาน ส่งผลให้เกิดการลงทุนมากขึ้น และทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยอนุญาตให้คนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการพำนักระยะยาว ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 กันยายน 2564 และ 7 ธันวาคม 2564) เห็นชอบในหลักการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวเกี่ยวกับการกำหนดประเภทการตรวจลงตรา (วีซ่า) สำหรับผู้พำนักระยะยาว (long ? term resident visa : LTR Visa) แล้ว
 		2. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายรัฐบาลและมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย มท. จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย มาเพื่อดำเนินการ
 		สาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
 		1. กำหนดประเภทการตรวจลงตรา สำหรับผู้พำนักระยะยาวขึ้นมาใหม่ โดยเป็นการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พำนักระยะยาว (long ? term resident visa : LTR Visa) โดยมีอายุการตรวจลงตรา 10 ปี
 		2. กำหนดคุณสมบัติของคนต่างด้าว ที่ได้รับสิทธิการตรวจลงตราประเภท LTR รวมถึงผู้ติดตามของคนต่างด้าว (คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 20 ปี จำนวนไม่เกิน 4 คน) 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
 			2.1 กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen)
 			2.2 กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner)
 			2.3 กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work ? from ? Thailand professional)
 			2.4 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (High ? skilled professional)
 			ทั้งนี้ คุณสมบัติของคนต่างด้าวดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ สกท. ประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
 		3. การยื่นคำขอรับรองคุณสมบัติและการยื่นขอรับการตรวจลงตราโดยคนต่างด้าวตามข้อ 2. จะต้องยื่นคำขอหนังสือรับรองคุณสมบัติพร้อมหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศ หรือช่องทางอื่นตามที่ สกท. กำหนด
 		 	เมื่อคนต่างด้าวได้รับการรับรองคุณสมบัติเป็นหนังสือแล้วให้ยื่นคำขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภท LTR จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศ หรือ สตม. โดยให้มีอายุการตรวจลงตรา 10 ปี และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้คราวแรกไม่เกิน              5 ปี สำหรับใช้ได้หลายครั้ง และเมื่อครบระยะเวลาอนุญาต ให้ขยายระยะเวลาขออยู่ต่อได้อีกคราวละไม่เกิน 5 ปี      รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10 ปี โดยคนต่างด้าวและผู้ติดตามจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราปีละ 10,000 บาท ทั้งนี้ การตรวจลงตราให้เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขตามที่ กต. และ สตม. กำหนด
 		4. การแจ้งที่พัก คนต่างด้าวและผู้ติดตามจะต้องแจ้งข้อมูลที่พักต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเมื่อพำนักในราชอาณาจักรทุก 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
 		5. การอนุญาตให้ทำงาน เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
 		6. การขอเปลี่ยนประเภทวีซ่า หากคนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งได้รับวีซ่า LTR มีความประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรด้วยวัตถุประสงค์อื่นให้สามารถกระทำได้ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สตม. กำหนด
 		7. การเพิกถอนวีซ่า คนต่างด้าวจะถูกเพิกถอนวีซ่า LTR เมื่อไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ และคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
		ทั้งนี้ กำหนดให้ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		รง. เสนอว่า เพื่อเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 ธันวาคม 2564 รง. จึงได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ซึ่งมีหลักการสำคัญเป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสของคนต่างด้าวตามร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี สามารถทำงานในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทยของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศที่มากขึ้น และจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องให้แก่ประชาชนและแรงงาน ส่งผลให้เกิดการลงทุนมากขึ้น และทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
 		สาระสำคัญของร่างประกาศ
		1. กำหนดบทนิยามคำว่า ?คนต่างด้าว? หมายความว่า คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสของคนต่างด้าวตามร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
 		2. กำหนดให้คนต่างด้าวสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ และเมื่อได้ยื่นคำขอแล้ว ให้คนต่างด้าวสามารถทำงานไปพลางก่อนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงาน
 		3. กำหนดอายุของใบอนุญาตทำงาน ดังนี้
 			3.1 กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานโดยมีนายจ้าง ให้ใบอนุญาตทำงานมีอายุเท่าสัญญาจ้าง แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน และคนต่างด้าวสามารถต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้ โดยให้ต่ออายุตามระยะเวลาในสัญญาจ้าง แต่ไม่เกินครั้งละห้าปี
 			3.2 กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีนายจ้าง ให้ใบอนุญาตทำงานมีอายุเท่าที่คนต่างด้าวร้องขอ แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน และคนต่างด้าวสามารถต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้ โดยให้ต่ออายุตามระยะเวลาที่คนต่างด้าวร้องขอ แต่ไม่เกินครั้งละห้าปี
 		4. นอกจากใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุลงตามข้อ 3. การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานเป็นอันสิ้นสุดเมื่อการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเป็นอันสิ้นสุดลงตามร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย เช่น คนต่างด้าวไม่ดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม เป็นต้น

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
 		1. อนุมัติหลักการ
 			(1) ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
 			(2) ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
 			(3) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และ
 			(4) ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับมติของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา และความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณไปประกอบการตรวจพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
 		2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
 		3. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
 		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
 		1. ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. ?. มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ตัดตั้ง ?กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา? ในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามความต้องการของประเทศ และด้านการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง ตามความต้องการของประเทศ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
 			1.1 เงินและทรัพย์สินของกองทุน
 				(1) กำหนดให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
 					(1.1) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาจากทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
 					(1.2) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
 					(1.3) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปีตามกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา
 					(1.4) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้เพื่อสมทบกองทุน
 					(1.5) เงินอุดหนุนจากต่างประเทศรวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ
					(1.6) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน หรือที่ได้รับตามกฎหมายหรือนิติกรรมสัญญา
 					(1.7) เงินสมทบกองทุนที่สถาบันอุดมศึกษานำส่งกองทุน
 					(1.8) ค่าตอบแทนหรือรายได้จากการดำเนินกิจการของกองทุน
					(1.9) ดอกผล ประโยชน์หรือรายได้อื่นที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
 				(2) กำหนดให้รายได้ของกองทุนให้นำเข้าสมทบกองทุนโดยไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดิน
 			1.2 การจัดสรรเงินกองทุน
 				กำหนดให้การจัดสรรเงินกองทุนให้เป็นไปตามคำรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการรับเงินอุดหนุนการพัฒนาการอุดมศึกษาระหว่าง สป.อว. และสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชนซึ่งได้รับจัดสรร โดยคำรับรองดังกล่าวต้องกำหนดผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดที่ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษา และเป็นไปตามความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง
 			1.3 คณะกรรมการบริหารกองทุน
 				(1) กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง และให้รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ
 				(2) กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีหน้าที่และอำนาจบริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และมีหน้าที่และอำนาจอื่น ๆ เช่น เสนอแนะต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำคำขอและการจัดสรรเงินกองทุน พิจารณาจัดสรรเงินกองทุน วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน เป็นต้น
 			1.4 สำนักงานบริหารกองทุน
 				(1) กำหนดให้มีสำนักงานบริหารกองทุนซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามมาตรา 40/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ใน สป.อว.
 				(2) กำหนดให้สำนักงานบริหารกองทุนมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง มีหน้าที่บริหารสำนักงานกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงาน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงาน
 			1.5 การตรวจสอบและประเมินผล
				(1) กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย ผู้แทน กค. เป็นประธานกรรมการ และให้ สป.อว. จัดให้มีผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจสอบในการปฏิบัติตามหน้าที่ตามสมควร โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบการบริหารกองทุนและสำนักงานบริหารกองทุน เพื่อรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน
 				(2) กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการอุดมศึกษา ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นเลขานุการ โดยคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาระบบการอุดมศึกษา และการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการการอุดมศึกษา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสนอสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติต่อไป
 			1.6 บทเฉพาะกาล
 				กำหนดให้ยกเลิกการจัดสรรเงินเข้ากองทุนให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และให้ยุบเลิกและโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หน้าที่ หนี้ ภาระผูกพัน โครงการ เงินงบประมาณ บุคลากร และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มาเป็นของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
 		2. ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ                (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 3 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขข้อความให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เช่น แก้ไขถ้อยคำในบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอรับเงินอุดหนุนด้านการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา แก้ไขถ้อยคำในบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา เป็นต้น

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ อว. รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
 		1. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 มาตรา 3 บัญญัติให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม หมายความว่า วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขานิวเคลียร์ สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย และสาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ประกอบกับมาตรา 6 บัญญัติให้การกำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเพิ่มเติมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม พ.ศ. 2563 บัญญัติให้มีวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพิ่มขึ้นอีก 2 สาขา ได้แก่ (1) สาขาธรณีวิทยา และ (2) สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม
 		2. ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาและขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน ตลอดจนสิ่งแวดล้อม สมควรกำหนดให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขานิติวิทยาศาสตร์และสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพื่อเป็นการส่งเสริมและควบคุมการประกอบวิชาชีพดังกล่าว รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน ทั้งนี้ การกำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเพิ่มเติม เพื่อให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านนิติวิทยาศาสตร์ และด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ด้วยการควบคุมดูแลความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวให้ถูกต้องตามจรรยบรรณแห่งวิชาชีพ โดยใช้กลไกในการออก การพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ในการจัดการควบคุมวิชาชีพดังกล่าวได้ครอบคลุมตามหลักวิชาการที่เป็นสากล และการดำเนินการต้องไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินระยะยาวต่อไป
 		3. ในคราวประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการในการกำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเพิ่มเติม (1) วิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์ และ (2) วิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและปฏิบัติตามแนวทาง ในการกำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเพิ่มเติมตามกฎหมายต่อไป
		4. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เพื่อกำหนดให้สาขานิติวิทยาศาสตร์ และสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพิ่มขึ้น
 		5. ในคราวประชุมคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่         5 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 2. แล้ว
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		กำหนดให้สาขานิติวิทยาศาสตร์ และสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจ สังคม

6. เรื่อง ขอความเห็นชอบในหลักการให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียง ประเภทกิจการทางธุรกิจ โดยวิธีการประมูล
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (บมจ. อสมท) ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียง ประเภทกิจการทางธุรกิจโดยวิธีการประมูล ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		สปน. รายงานว่า
		1. บมจ. อสมท เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยปัจจุบันดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคผ่านระบบเอฟเอ็ม จำนวน 60 สถานี เพื่อนำเสนอสาระความรู้และความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ โดยให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศประมาณร้อยละ 92.4 และมีประชากรในเขตพื้นที่เป้าหมายที่ให้บริการประมาณร้อยละ 93.8 แต่เนื่องจาก กสทช. ได้กำหนดระยะเวลาการถือครองหรือใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2560 ตามนัยมาตรา 83 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และต่อมาได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 76/2559 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2559 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ข้อ 7กำหนดให้ กสทช. หรือสำนักงาน กสทช. ดำเนินการเรียกคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2555) เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปี นับแต่วันครบกำหนดแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ดังกล่าว จึงทำให้วันสิ้นสุดของการใช้คลื่นความถี่ คือวันที่ 3 เมษายน 2565 รวมทั้ง บมจ. อสมท ถูกจัดอยู่ในประเภทกิจการธุรกิจที่ต้องขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ด้วยวิธีการประมูล [ตามนัยประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียง ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ข้อ 8) ดังนั้น บมจ. อสมท จึงต้องคืนคลื่นความถี่ และเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่เพื่อขอใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงต่อไป (ตามนัยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 41]
		2. บมจ. อสมท ได้ประมาณการรายได้ เงินลงทุน ต้นทุนการผลิต และการดำเนินงานโดยวิเคราะห์จากแนวโน้มของตลาดและความต้องการของผู้ฟังภายใต้เงื่อนไขของ กสทช. เพื่อหาข้อสรุปแนวทางเลือกในการขอใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียงประเภทกิจการทางธุรกิจ โดยวิธีการประมูล และเสนอคณะกรรมการ บมจ. อสมท พิจารณา โดยมีทางเลือกในการเข้าร่วมประมูล1 ดังนี้
			2.1 ทางเลือกที่ 1 : ประมูลคลื่นความถี่วิทยุเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงตามที่เคยถือครองทั้งหมด จำนวน 60 คลื่นความถี่ โดยพิจารณาจากการรักษาความเป็นหนึ่งในการเป็นผู้ให้บริการที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ (Nationwide Coverage Area)
			2.2 ทางเลือกที่ 2  : ประมูลคลื่นความถี่วิทยุเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงบางส่วนจากที่เคยถือครอง โดยพิจารณาจากผลประกอบการที่ผ่านมา โอกาสในการทำธุรกิจในรอบระยะเวลาของใบอนุญาตฯ ความเป็นไปได้ในการบริหารต้นทุน และความคุ้มค่าของการลงทุนเป็นหลัก ทั้งนี้ ปัจจัยที่ใช้กำหนดทางเลือกการประมูลคลื่นความถี่มาจากแผนยุทธศาสตร์องค์กร แนวโน้มตลาดพฤติกรรมการรับฟังของผู้บริโภค ความคุ้มค่าในการลงทุนของแต่ละทางเลือก และศักยภาพในการผลิตรายการวิทยุของ บมจ. อสมท โดยราคาการประมูลตั้งต้นจะเป็นไปตามที่ กสทช. กำหนด ส่วนราคาที่จะประมูลเพื่อให้ได้มาในแต่ละคลื่นความถี่นั้น ทาง บมจ. อสมท จะมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมที่ บมจ. อสมท จะจ่ายได้เมื่อเข้าการประมูลจริง โดยจะเป็นราคาที่ทำให้ บมจ. อสมท มีความคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ตัวเลขคาดการณ์ทางการเงินจะมีการทบทวนและปรับปรุงให้เหมาะสมก่อนการเข้าร่วมประมูล
		3. ในการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ นอกจากจะช่วยรักษารายได้และส่วนแบ่งทางการตลาดแล้ว ยังเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ขององค์กรและสร้างความยั่งยืนให้กับ บมจ. อสมท ในอนาคตอีกด้วย อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ 1) ความเสี่ยงด้านการเงิน เช่น อาจจำเป็นต้องมีการจัดหาแหล่งเงินทุนหรือใช้เงินทุนจากการกู้ยืมเพิ่มเติม 2) ความเสี่ยงด้านแผนงาน เช่น อาจพบความเสี่ยงจากการประมูลหากไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินแผนงานให้แข่งขันเชิงธุรกิจได้ และ 3) ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน เช่น บมจ. อสมท อาจไม่สามารถประมูลคลื่นความถี่ได้ครบตามจำนวนการถือครองคลื่นที่มีอยู่เดิม จึงจำเป็นต้องมีแผนบริหารจัดการอย่างชัดเจน
		4. กสทช. ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการออกใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการบริการทางธุรกิจ โดยวิธีการประมูล โดยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 กสทช. ได้ออกประกาศเชิญชวน เรื่อง การขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ในระบบเอฟเอ็ม สำหรับการให้บริการกระจายเสียง ประเภทกิจการทางธุรกิจ และได้ประกาศราคาการประมูลตั้งต้นแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 โดย กสทช. จะเปิดยื่นคำขอรับใบอนุญาตฯ ในช่วงระหว่างวันที่            17 - 25 มกราคม 2565 และจะจัดการประมูลในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 25652
		5. คณะกรรมการ บมจ. อสมท ในการประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ บมจ. อสมท ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียงประเภทกิจการทางธุรกิจ โดยวิธีการประมูล สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประมูลตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด ให้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
1ข้อมูลที่ประสานเพิ่มเติมจาก บมจ. อสมท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 สำหรับการพิจารณาทางเลือกนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาผลการศึกษาแนวทางเลือกในการขอใบอนุญาตฯ โดยวิธีการประมูล จากที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor: FA) จากภายนอก โดย FA จะเสนอผลการศึกษาฯ ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ บมจ. อสมท พิจารณาผลการศึกษาดังกล่าวต่อไป
2ข้อมูลที่ประสานเพิ่มเติมจาก บมจ. อสมท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565

7. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่             1 ตุลาคม 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการพืชน้ำมันฯ โดยมีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบาย แผนการบริหาร การจัดการ             การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชน้ำมันและน้ำมันพืชต่อคณะรัฐมนตรี) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
 		1. การบริหารการนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ปี 2565 [คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่                      3 ธันวาคม 2562 เห็นชอบการเปิดตลาดฯ คราวละ 3 ปี (ปี 2563 ? 2565) และการบริหารการนำเข้าฯ ปีต่อปี]        คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ มีมติ ดังนี้
 			1.1 เห็นชอบการบริหารการนำเข้าฯ* ภายใต้กรอบความตกลงองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) และกรอบการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) อื่น ๆ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ เช่น
การบริหารการนำเข้า
กรอบ WTO และกรอบ FTA อื่น ๆ	กรอบ AFTA
น้ำมันถั่วเหลือง
(1) คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ กำหนดแนวทางและมาตรการบริหารการนำเข้า
(2) จัดสรรปริมาณการนำเข้าให้เป็นไปตามที่สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปและสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยกำหนด	แสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบฟอร์ม ดี (Form D) ประกอบการนำเข้า
มะพร้าว
(1) จัดสรรให้นิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตและดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบัน
(2) ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และเดือนกันยายน-ธันวาคมของแต่ละปี 	1) ต้องได้รับอนุมัติปริมาณการนำเข้าจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าวภายใต้คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ
2) เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าไว้กับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี
3) ต้องนำเข้ามาเพื่อการแปรรูปเป็นน้ำมันพืชหรืออาหารคนในกิจการของตนเอง
4) ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมาจำหน่าย จ่าย โอน ภายในประเทศ
5) กรณีนำเข้ามะพร้าวพิกัดศุลกากร 0801.12.00 และ 0801.19.90 (มะพร้าวผล) ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมะพร้าวนำเข้าไปจ้างกะเทาะภายนอกโรงงานตนเอง
6) กรณีนำเข้ามะพร้าว พิกัดฯ 0801.12.00 และ 0801.19.90 ต้องรายงานบัญชีสมดุลแปรสภาพมะพร้าวผลเป็นเนื้อมะพร้าว
7) ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และเดือนกันยายน-ธันวาคมของแต่ละปี
มะพร้าวฝอย
(1) จัดสรรให้นิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้มะพร้าวฝอยเป็นวัตถุดิบในการผลิตและดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบัน
(2) ให้นำเข้าได้ทั้งปี 	1) เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าไว้กับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี
2) ต้องนำเข้ามาเพื่อการแปรรูปเป็นน้ำมันพืชหรืออาหารคนในกิจการของตนเองไม่เกินปริมาณที่ระบุไว้ในแผนการนำเข้า และการใช้ในกิจการของตนเอง
3) ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมาจำหน่าย จ่าย โอน ภายในประเทศ
4) ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม-พฤษภาคมและเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของแต่ละปี
เนื้อมะพร้าวแห้ง
(1) จัดสรรให้นิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้เนื้อมะพร้าวแห้งเป็นวัตถุดิบในการผลิตและดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบัน
(2) ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม-พฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของแต่ละปี 	เช่นเดียวกับมะพร้าวฝอย
น้ำมันมะพร้าว
(1) จัดสรรให้นิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้น้ำมันมะพร้าวฯ เป็นวัตถุดิบในการผลิตและดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบัน
(2) ให้นำเข้าได้ทั้งปี 	1) เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าไว้กับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี
2) ต้องนำเข้ามาเพื่อการแปรรูปเป็นน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค หรืออาหารคนในกิจการของตนเอง ไม่เกินปริมาณที่ระบุไว้ในแผนการนำเข้าและการใช้ในกิจการของตนเอง
3) ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมาจำหน่าย จ่าย โอน ภายในประเทศ
4) ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม-พฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของแต่ละปี

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจัดสรรโควตาตามกรอบความตกลง WTO มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้งและน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ให้เป็นไปตามที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนด
 			1.2 การบริหารการนำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลง AFTA เพื่อให้ผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวแต่ละรายที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้าสามารถนำเข้าได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด            ในการจัดสรรปริมาณการนำเข้าให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าวหรือคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชกำหนดแล้วแต่กรณี
 		2. การบริหารการนำเข้ามะพร้าวผลพิกัดฯ 0801.12.00 พิกัดฯ 0801.19.10 และพิกัดฯ 0801.19.90 ตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2565 ในช่วงแรก (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565) คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ มีมติ ดังนี้
 			2.1 เห็นชอบการบริหารการนำเข้ามะพร้าวผลช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้ผลการรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศของผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้าฯ ในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564 มาพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้าให้แก่ผู้มีสิทธินำเข้าในอัตรา 1 : 2.5 (นำเข้า            1 ส่วน ต่อการรับซื้อมะพร้าวผลในประเทศ 2.5 ส่วน*)
 			2.2 เห็นชอบการจัดสรรปริมาณการนำเข้ามะพร้าวผลฯ ให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้า จำนวน 16 ราย ปริมาณรวม 64,515 ตัน ทั้งนี้ การนำเข้าต้องเป็นไปตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ
			2.3 มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพืชน้ำมันฯ แจ้งรายชื่อผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้ามะพร้าวผลฯ จำนวน 16 ราย ให้กรมการค้าต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
* การบริหารการนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ปี 2565 ดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับปี 2564
* จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 มีการคาดการณ์ว่าผลผลิตมะพร้าวผลในประเทศจะมีจำนวนมาก คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ จึงมีมติให้นำเข้าฯ 1 ส่วน ต่อการรับซื้อมะพร้าวผลในประเทศ 2.5 ส่วน เพื่อให้เกิดดุลยภาพระหว่างอุปสงค์และอุปทาน

8. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอรายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2563-31 พฤษภาคม 2564 (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 มาตรา 6 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้ รง. รวบรวมจัดทำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ จำนวนคดี การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในงานประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนด) สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
 		1. ด้านนโยบาย (Policy) สร้างกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยแต่งตั้งคณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมง คณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันปัญหาการบังคับใช้แรงงาน และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และกำหนดมาตรการถอดรายการสินค้าออกจากรายการที่ถูกขึ้นบัญชีการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ
 		2. ด้านการป้องกัน (Prevention) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รง. ได้ดำเนินการบริหารจัดการแรงงานในกิจการประมง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและเพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้ขยายระยะเวลาดำเนินการเพื่อตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 การทำประกันสุขภาพ และการยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงานและต่อใบอนุญาตทำงาน รวมทั้งได้กำหนดให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้าง 3 ภาษา (เมียนมา ลาว กัมพูชา) ไว้ในฉบับเดียวกัน และลูกจ้างเก็บรักษาไว้ 1 ฉบับ เพื่อเป็นหลักประกันว่าแรงงานต่างด้าวจะได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย นอกจากนี้ รง. ได้จัดตั้งศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว จำนวน 10 แห่ง ซึ่งได้ให้บริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว เช่น การให้คำปรึกษา แนะนำ การติดตามค่าจ้างค้างจ่าย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว จำนวนทั้งสิ้น 2,686 ราย
 		3. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Prosecution) รง. ได้บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างกรมประมง และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ดำเนินการตรวจเรือประมงจำนวน 60,288 ลำ พบการกระทำความผิด 20 ลำ ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดเวลาพักไม่ถูกต้อง/ไม่มีเอกสารเวลาพัก ไม่จัดทำสัญญาจ้าง เอกสารจ่ายค่าจ้างไม่ถูกต้อง และไม่จัดทำหลักฐานเวลาพัก เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ และดำเนินคดีกับนายจ้างที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 7 คดี ในเรื่องไม่นำลูกจ้างไปรายงานตัวตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่จัดทำสัญญาจ้าง ไม่จัดทำเอกสารการจ่ายค่าจ้าง และไม่จ่ายเงินค่าจ้างผ่านบัญชีธนาคารแก่ลูกจ้าง รวมทั้งได้ดำเนินการตรวจเรือประมงกลางทะเล จำนวน 431 ลำ พบการกระทำความผิด จำนวน 8 ลำ พนักงานตรวจแรงงานจึงได้ออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติ จำนวน 8 คำสั่ง ในเรื่องเกี่ยวกับการไม่ส่งมอบสัญญาจ้าง 3 ภาษาให้ลูกจ้าง ไม่จัดทำเอกสารเวลาพัก และไม่จัดให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุด
		4. ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) รง. โดยสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานประมง 1,067 ราย จากกองทุนประกันสังคม จำนวน 18.63             ล้านบาท ในกรณีแรงงานเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และว่างงาน รวมทั้งดำเนินการจ่ายเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน 249 ราย จำนวน 49.23 ล้านบาท ในกรณีแรงงานประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานในกิจการประมง
		5. ด้านการมีส่วนร่วม (Partnership) รง. ได้ดำเนินโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง (Ship to Shore Rights Project) ร่วมกับสหภาพยุโรปและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดและดำเนินมาตรการปกป้องและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิแรงงานทางทะเลรวมถึงแรงงานต่างด้าว ซึ่งนำไปสู่การให้สัตยาบันพิธีสารส่วนเสริมอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง รวมทั้งได้จัดตั้งศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลาร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม Stella Maris เพื่อช่วยเหลือแรงงานประมงทะเลให้ได้รับสิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ได้ดำเนินโครงการ ATLAS Project โดยร่วมกับกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ตลอดจนดำเนินการร่วมกับองค์การแรงานระหว่างประเทศ ภายใต้การส่งเสริมการรวมตัวและเจรจาต่อรอง โดยอยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นายจ้างและลูกจ้างมีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น
 		นอกจากนี้ รง. ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อให้แรงงานในแรงงานประมงได้รับการคุ้มครองสิทธิสอดคล้องตามมาตรฐานสากล เช่น การกำหนดนโยบาย งบประมาณ บุคลากร เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองแรงงานในแรงงานประมงให้เกิดผลในทางปฏิบัติ การกำหนดกลไกในการดำเนินงานและบรรทัดฐาน ในการคุ้มครองแรงงานประมง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและผลักดันกลไกของหน่วยงานภาครัฐ และการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562

9. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 13 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564)
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 13 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
		รายงานดังกล่าวประกอบด้วย รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการฯ และการดำเนินการในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้
		1. ความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564
			1.1 รายงานความคืบหน้าของกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) สศช. ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานรับผิดชอบหลักรายงานความคืบหน้าการดำเนินการรายกิจกรรม Big Rock ที่เกี่ยวข้องตามเป้าหมายย่อยของความสำเร็จ (Milestone : MS) ระดับความสำเร็จตามระยะเวลาแล้วเสร็จ ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) โดยมีความคืบหน้าการดำเนินการของกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13  ด้าน สรุปได้ดังนี้
				1.1.1 ด้านการเมือง ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนจำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ BR0101 การส่งเสริมความรู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข BR0102 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะทุกระดับ BR0105 การปรับปรุงโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ BR0103 การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และ BR0104 การส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง
				1.1.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผนทั้งหมด ได้แก่ BR0201 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานและการบริการภาครัฐไปสู่ดิจิทัล BR0202 จัดโครงสร้างองค์กร และระบบงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัวและเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ BR0203 ปรับเปลี่ยนการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสู่ระบบเปิด เพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งคนเก่ง ดีและมีความสามารถอย่างคล่องตัว ตามหลักคุณธรรม BR0204 สร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และ BR0205 ขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว คุ้มค่า โปร่งใส ปราศจากการทุจริต
				1.1.3 ด้านกฎหมาย ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผน จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ BR0301 มีกลไกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน BR0303 จัดให้มีกลไกกำหนดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแล และบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย BR0304 จัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย BR305 จัดทำประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน จำนวน 1 กิจกรรม ได้แก่ BR0302 จัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
				1.1.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผน จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ BR0401 มีการให้ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้า ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม BR0402 การรับแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่ BR0404 ปฏิรูประบบการปล่อยตัวชั่วคราว BR0405 การบันทึกภาพและเสียงในการตรวจค้น จับกุมและการสอบปากคำในการสอบสวน และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน จำนวน 1 กิจกรรม ได้แก่ BR0403 การจัดหาทนายความอาสา ประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ
				1.1.5 ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผนทั้งหมด ได้แก่ BR0501 การสร้างเกษตรมูลค่าเพิ่ม BR0502 การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง BR0503 การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย BR0504 การเป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการลงทุนของไทยในภูมิภาค (Regional Trading/Investment Center) และ BR0505 การพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
				1.1.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 4 กิจกรรม โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนจำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ BR0602 การบริหารจัดการเขตทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัด BR0604 ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษกรณีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ BR0601 เพิ่มและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมาย และ BR0603 การบริหารจัดการน้ำเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
				1.1.7 ด้านสาธารณสุข ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผนทั้งหมด ได้แก่ BR0701 การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข รวมถึงโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ เพื่อความมั่นคงแห่งชาติด้านสุขภาพ BR0702 การปฏิรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสร้างเสริมสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การป้องกันและดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อสำหรับประชาชนและผู้ป่วย BR0703 การปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาลการรักษาพยาบาลที่บ้าน/ชุมชน และการดูแลสุขภาพตนเองในระบบสุขภาพปฐมภูมิเชิงนวัตกรรม BR0704 การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพและกองทุนที่เกี่ยวข้องให้มีความเป็นเอกภาพ บูรณาการ เป็นธรรม ทั่วถึง เพียงพอ และยั่งยืนด้านการเงินการคลัง และ BR0705 การปฏิรูปเขตสุขภาพ
				1.1.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 3 กิจกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผนทั้งหมด ได้แก่ BR0801 การพัฒนาระบบคลังข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการจัดการ Fake News BR0802 การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ และ BR0803 การยกระดับการรู้เท่าทันสื่อ
				1.1.9 ด้านสังคม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผนทั้งหมด ได้แก่ BR0901 การมีระบบการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้หลังวัยเกษียณที่เพียงพอและครอบคลุมในกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบ BR0902 ผลักดันให้มีฐานข้อมูลทางสังคมและคลังความรู้ในระดับพื้นที่ เพื่อให้สามารถจัดสวัสดิการและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย BR0903 การปฏิรูปการขึ้นทะเบียนคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิสวัสดิการ และความช่วยเหลือได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง BR0904 การสร้างกลไกที่เอื้อให้เกิดชุมชนเมืองจัดการตนเอง และ BR0905 การสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน
				1.1.10 ด้านพลังงาน ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผนทั้งหมด ได้แก่ BR1001 ศูนย์อนุมัติอนุญาตเบ็ตเสร็จ One-Stop-Service ด้านกิจการไฟฟ้าที่แท้จริง BR1002 การพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงาน BR1003 การใช้มาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ BR1004 การพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและสร้างฐานทางเศรษฐกิจใหม่ (New S-Curve) และ BR1005 ปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพื่อเพิ่มการแข่งขัน
				1.1.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผน จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ BR1101 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต BR1103 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็ว โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติในการดำเนินคดีทุจริตทั้งภาครัฐและภาคเอกชน BR1104 การพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใส ไร้ผลประโยชน์ และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนจำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ BR1102 การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ และ BR1105 การพัฒนามาตรการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่
				1.1.12 ด้านการศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผนทั้งหมด ได้แก่ BR1201 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาระดับปฐมวัย BR1202 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 BR1203 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน BR1204 การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ นำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน และ BR1205 การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน
				1.1.13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผนทั้งหมด ได้แก่ BR1301 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในทุกช่วงวัย ผ่านการปฏิรูปอุตสาหกรรมบันเทิงและการใช้กลไกร่วมระหว่างเอกชนในการขับเคลื่อน BR1302 การพัฒนาการเรียนรู้และเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ BR1303 การส่งเสริมประชาชนเป็นศูนย์กลางในการสร้างวิถีชีวิตทางการกีฬาและการออกกำลังกายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และการสร้างโอกาสทางการกีฬาและการพัฒนานักกีฬาอาชีพ BR1304 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการกำลังคนของประเทศแบบบูรณาการ และ BR1305 การบริหารจัดการศักยภาพบุคลากรของประเทศ
			1.2 ความคืบหน้ากฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 โดยจากกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) รวมทั้งสิ้น 45 ฉบับ ความคืบหน้าของกฎหมาย ประกอบด้วย (1) ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564 และ          (2) อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน 43 ฉบับ ทั้งนี้ สศช. จะประสานหน่วยงานผู้รับผิดชอบ เพื่อเร่งรัดดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)	จำนวนกฎหมาย
(ฉบับ)	สถานะของกฎหมาย
		แล้วเสร็จ	อยู่ระหว่างการดำเนินการ
1. ด้านการเมือง	2		2
2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน	2		2
3. ด้านกฎหมาย	5	1	4
4. ด้านกระบวนการยุติธรรม	1		1
5. ด้านเศรษฐกิจ	7		7
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม	1		1
7. ด้านสาธารณสุข	1		1
8. ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ	2		2
9. ด้านสังคม	4	1	3
10. ด้านพลังงาน	8		8
11. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ	10		10
12. ด้านการศึกษา	1		1
13. ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์	1		1
รวมจำนวนกฎหมาย (ฉบับ)	45	2	43
			1.3 ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อการรายงานความคืบหน้าฯ (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564) โดยสามารถสรุปภาพรวมของประเด็นที่สำคัญ เช่น (1) โครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณครอบคลุมทุกโครงการ (2) การดำเนินโครงการมีระยะเวลาแล้วเสร็จล่าช้ากว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ (3) ควรมีการประสานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินกิจกรรม/โครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามแผนการปฏิรูปประเทศ และ (4) ข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ โดย สศช. ได้รวบรวมรายละเอียดของประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะและประมวลรายงานการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ในรายงานความคืบหน้าฯ (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) เรียบร้อยแล้ว
			อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีการกำหนดสาระสำคัญประกอบด้วยเป้าหมายย่อยของความสำเร็จ (MS) ระยะเวลาแล้วเสร็จ (ภายในเดือนธันวาคม 2565) และแผนงาน/โครงการของหน่วยงานที่รองรับการขับเคลื่อนการดำเนินการ โดยหน่วยงานรับผิดชอบโครงการได้จัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสำนักงบประมาณ ซึ่ง สศช. ได้ติดตามผลการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock พบว่า รายการโครงการฯ ประจำปี 2565 จำนวน 371 โครงการ สามารถจำแนกประเภทตามการได้รับจัดสรรงบประมาณประกอบด้วย  (1) โครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 220 โครงการ (2) โครงการที่ใช้เงินนอกงบประมาณ จำนวน 22 โครงการ และ (3) โครงการที่ไม่ใช้งบประมาณในการดำเนินการ จำนวน 8 โครงการ ทำให้มีโครงการส่วนหนึ่งที่ไม่มีงบประมาณรองรับการดำเนินการ ประกอบกับบางโครงการได้รับการจัดสรรงบประมาณในวงเงินที่น้อยกว่าที่เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณส่งผลต่อการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งหน่วยงานอาจพิจารณาดำเนินการได้ ดังนั้น (1) การปรับแผนปฏิบัติราชการรายปีของหน่วยงานจากรายการโครงการอื่นที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วและมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศในลำดับรองลงไป มาดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและสามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศเป็นลำดับแรก (2) การจัดหาแหล่งเงินงบประมาณอื่นมาใช้ในการดำเนินโครงการที่มีความจำเป็น และ (3) การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อดำเนินการในไตรมาสที่ 1 ให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ หน่วยงานสามารถดำเนินโครงการอื่นที่สนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายแผนการปฏิรูปประเทศควบคู่การดำเนินโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock เพื่อช่วยขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ สำหรับโครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จล่าช้ากว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ณ ปี 2565 ให้หน่วยงานพิจารณารายงานความสำเร็จตามเป้าหมายย่อยในห้วงเวลาดังกล่าวให้ชัดเจนและเห็นผลเป็นรูปธรรม
		2. การดำเนินการในระยะต่อไป
		สศช. จะดำเนินการประสานและบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการกิจกรรม Big Rock เพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการ                     การกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock โดยหน่วยงานรับผิดชอบโครงการต้องนำเข้าข้อมูลแผนงาน/โครงการในระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการในระดับโครงการ และหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ต้องรายงานความก้าวหน้าในระดับเป้าหมายย่อย (MS) ในระบบ eMENSCR อย่างต่อเนื่องในทุกสิ้นไตรมาส เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการติดตามเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการตามกิจกรรม Big Rock ได้อย่างตรงจุดและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการสรุปประมวลข้อมูลดังกล่าวประกอบการจัดทำรายงานความคืบหน้าตามมาตรา 270 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรายงานรัฐสภาทราบในรอบการรายงานต่อไป

10. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงานวุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ เช่น ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งรัดการจัดทำกฎหมายลำดับรองตาม มาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ มาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยการตราพระราชกฤษฎีกาจัดทำโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยมิได้สิทธิที่ดินนั้น เพื่อจะได้จัดให้มีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในโครงการต่อไป รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง โดยให้ พน. จัดหางบประมาณจากเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97 (1) ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาส และให้ชุมชนในท้องถิ่นเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความรู้สึกที่ดีมีความรักและหวงแหนอยากที่จะช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินให้ใช้งานได้อย่างยั่งยืนต่อไป
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ พน. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		พน. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 แล้ว โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ สรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ	ผลการพิจารณา
1. กรณีการขยายเขตไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    - ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเร่งรัดการจัดทำกฎหมายลำดับรองตาม ม. 64 แห่งพ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ ม. 121 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยการตรา พ.ร.ฎ. จัดทำโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยมิได้สิทธิที่ดินนั้น เพื่อจะได้จัดให้มีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในโครงการต่อไป


- ให้กรมป่าไม้และคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เร่งรัดการพิจารณาการอนุญาตให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามเงื่อนไขที่กำหนด



- ควรจัดทำสัญญาประชาคมระหว่างประชาชนในหมู่บ้านกับหน่วยงานภาครัฐในการร่วมกันกำหนดแนวทางและมาตรการในการป้องกันรักษาป่าไม้และแหล่งน้ำ รวมทั้งระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่า และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติระบบนิเวศน์วิทยาและสิ่งแวดล้อม

- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายลำดับรองตาม ม. 64แห่ง พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติฯ และ ม. 121 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเสร็จแล้ว โดยได้ดำเนินกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว และจะนำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้า คกก. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าและ คกก. อุทยานแห่งชาติ พิจารณา เมื่อผ่านความเห็นชอบของ คกก. แล้ว จะเร่งรัดจัดทำกฎหมายเพื่อเสนอเข้า ครม. เห็นชอบและประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป

- กรมป่าไม้ได้มีการเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่เป็นโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่ตามที่ คกก. นโยบายที่ดินแห่งชาติได้เสนอไว้ ปัจจุบันได้ดำเนินการในส่วนพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปแล้ว 9,630 ไร่ 34 ตารางวา และกรมป่าไม้อยู่ในระหว่างการพิจารณาพื้นที่อื่น ๆ
เพิ่มเติม

- การจัดทำสัญญาประชาคมจะเกี่ยวพันกับการอนุญาตใช้พื้นที่หวงห้ามในการที่จะเข้าไปสนับสนุนระบบสาธารณูปโภค ถึงแม้ปัจจุบันได้มีข้อผ่อนผันทางกฎหมายมากขึ้น แต่ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการตาม
ระเบียบในการอนุญาตใช้พื้นที่ จึงจะสามารถดำเนินการเรื่องจัดทำสัญญาประชาคมได้ตามลำดับ
ขั้นต่อไป
2. กรณีแนวทางบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนของการมีไฟฟ้าใช้ของหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    - ควรสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง โดยให้ พน. จัดหางบประมาณจากเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97 (1) ของ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสและให้ชุมชนในท้องถิ่นเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความรู้สึกที่ดีมีความรักและหวงแหนอยากที่จะช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินให้ใช้งานได้อย่างยั่งยืนต่อไป รวมถึงควรเร่งรัดจัดทำหลักเกณฑ์การใช้เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตามมาตรา 97 (1) ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ในการสำรวจและติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าให้กับประชาชนที่ด้อยโอกาสและอยู่ในพื้นที่ห่างไกลด้วย

    - ควรให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดหาพัสดุ อุปกรณ์และก่อสร้างโรงไฟฟ้า ตั้งแต่เริ่มต้นของขั้นตอนการสำรวจ ออกแบบโรงไฟฟ้า/การจ่ายไฟฟ้าด้วยระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือน (Solar Home System: SHS) โดยจะต้องทำงานประสานกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสำรวจหาความต้องการของการใช้ไฟฟ้าของหมู่บ้าน ครัวเรือน และการนำมาคำนวณขนาดของโรงไฟฟ้า/SHS ที่เหมาะสม

    - ต้องมีการตั้งคณะกรรมการโรงไฟฟ้า/SHS ของแต่ละหมู่บ้านโดยจัดตั้งเป็น ?วิสาหกิจเพื่อสังคม? (Social Enterprise) คัดสรรจากสมาชิกหมู่บ้านและผู้นำ เพื่อทำหน้าที่ร่วมกับผู้แทนจากองค์การบริหาร
ส่วนตำบล และผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ไฟฟ้ากำกับดูแลการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน การบำรุง รักษา ซ่อมแซม และการเสนอของบประมาณมาตรการบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าและบริหารงบประมาณสำหรับแก้ไขข้อขัดข้องของโรงไฟฟ้า/SHS

    - ควรใช้แนวทางการจ่ายไฟฟ้าของหมู่บ้านในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นแม่แบบ (Model) ให้กับพื้นที่ในจังหวัดอื่นด้วย


- พน. เห็นว่า การใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตาม ม. 97 (1) ต้องดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบซึ่งมีขั้นตอนและต้องใช้เวลาดำเนินการจึงเห็นว่า การสนับสนุนจ่ายไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ดังเช่นหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถจัดทำโครงการเสนอกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตาม ม. 97 (4) ?เพื่อการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย? ซึ่งสามารถ
ดำเนินการได้เลย




- ด้านการจัดหาพัสดุฯ และด้านการควบคุมปฏิบัติการฯ กฟภ. มีความพร้อมดำเนินการตามข้อเสนอแนะรายงานฯ โดยมีแนวทางดำเนินการโดยจัดทำรายละเอียดโครงการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และดำเนินการฝึกอบรม การควบคุมปฏิบัติการบำรุง รักษาโรงไฟฟ้า/SHS แก่ชุมชนท้องถิ่น ให้สามารถดูแลบำรุงรักษาได้ต่อไป



- การจัดตั้งเป็น ?วิสาหกิจเพื่อสังคม? จะต้องมีแหล่งงบประมาณสนับสนุนที่ชัดเจนโดยเฉพาะเมื่อมีการซ่อมใหญ่หรือการเปลี่ยนอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์หรือเปลี่ยนชุดแบตเตอรี่เมื่อหมดอายุซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และเรื่องปฏิบัติตามข้อกำหนดเงื่อนไข กฎเกณฑ์ความรับผิดชอบร่วมกันของชุมชนในการดูแล บำรุงรักษาโรงไฟฟ้า/SHS เพื่อความยั่งยืน





- พน. ได้มีการเสนอให้มี ?คณะอนุกรรมการ? ภายใต้ ?คณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า? เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกล รวมถึงจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาแนวทางดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในภาพรวมของประเทศนำเสนอคณะกรรมการกำหนดเป็นนโยบายในการปฏิบัติต่อไป

11. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 7/2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น	ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
1) การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันไฟป่าอย่างยั่งยืน
    1.1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ
          1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ดำเนินการ เช่น (1) ผลการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 เปรียบเทียบ ปี 2563 และ 2564 พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือระหว่างวันที่ 1 ม.ค. - 31 พ.ค. โดยจำนวนวันที่ PM2.5 มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน ปี 2564 ลดลงร้อยละ 8ค่าเฉลี่ย PM2.5 ปี 2564 ลดลงร้อยละ 13 และจุดความร้อนภาพรวม ลดลงร้อยละ 52 (2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ภายใต้คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อเสนอแนะมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการสำหรับป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว (3) พัฒนาระบบบริหารจัดการการเผาในที่โล่ง โดยจัดทำระบบเสร็จสมบูรณ์ และคาดว่านำระบบมาใช้งานจริงในพื้นที่ภาคเหนือในช่วงต้นปี 2565 (4) จัดกิจกรรมชิงเก็บ ลดเผา นำเชื้อเพลิงไปใช้ประโยชน์ ร่วมกับหมู่บ้าน เครือข่าย และราษฎร ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเก็บขนเชื้อเพลิงจากพื้นที่ได้รวมทั้งสิ้น 2,478.38 ตัน นำเชื้อเพลิงไปใช้ประโยชน์ 123.21 ตัน (5) พัฒนาระบบพยากรณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล โดยสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ 3 วัน และอยู่ระหว่างการพัฒนาให้พยากรณ์ล่วงหน้า 7 วัน เพื่อเป็นการแจ้งเตือนประชาชน ผ่านช่องทางเว็บไซต์ Air4Thai.com และทางแอปพลิเคชัน Air4Thai
           2) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ดำเนินการ เช่น (1) ให้ทุกจังหวัดจัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ภายใต้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ (2) จัดทำแผนเผชิญเหตุ ปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เสี่ยง การแบ่งพื้นที่รับผิดชอบภารกิจถึงระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และ (3) เน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทางโดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไปปรับใช้ในการขยายผล
           3) กทม. ได้ดำเนินการ เช่น (1) เฝ้าระวังฝุ่นละออง PM2.5ในพื้นที่ กทม. โดยมีสถานีตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 ในรูปแบบของตู้คอนเทนเนอร์ แบบติดตั้งบนเสาเหล็ก และแบบติดตั้งภายนอกอาคาร รวมทั้งสิ้น 70 จุด ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต มีรถตรวจวัดคุณภาพอากาศ จำนวน 4 คัน และเครื่องตรวจวัดแบบภายนอกอาคาร จำนวน 4 เครื่อง (2) เพิ่มพื้นที่สีเขียวในรูปแบบของสวนสาธารณะและสวนหย่อม รวม 8,769 แห่ง โดยมีอัตราส่วนพื้นที่สีเขียว 7.30 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน และจัดทำโครงการ GREEN BANGKOK 2030 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ 10 ตารางเมตรต่อคน ภายในปี 2573 โดยมีสวนสาธารณะตามโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว 6 แห่ง
     1.2) การควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะต่าง ๆ
           1) ทส. ได้ดำเนินการ เช่น ยกเลิกการใช้เครื่องตรวจวัดควันดำแบบกระดาษกรอง และกำหนดระยะเวลาการใช้เครื่องมือวัดควันดำระบบวัดค่าความทึบแสงทดแทนเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568
           2) กระทรวงคมนาคม (คค.) ได้ดำเนินการ เช่นมาตรการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด โดยเปลี่ยนไปใช้น้ำมันไบโอดีเซล B20 ในรถโดยสารสาธารณะ 2,184 คัน และเรือโดยสารสาธารณะ 117 ลำ
           3) กทม. ได้ดำเนินการ เช่น ตรวจสอบรถราชการในสังกัด กทม. ครั้งที่ 2 จำนวน 7,014 คัน ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 3 คัน และให้นำรถไปปรับปรุงแก้ไขให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
     1.3) การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องปัญหาฝุ่นและมลพิษทางอากาศ
          1) ทส. ได้ดำเนินการ เช่น สื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และการจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
           2) กทม. ได้ดำเนินการ เช่น ประชาสัมพันธ์และรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมควบคุมมลพิษ และในช่วงวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5 จะมีการเพิ่มรอบเวลาแจ้งเตือนผลตรวจวัดฝุ่นละอองให้ประชาชนรับทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ จากเดิม 1 รอบเวลา เป็น 3 รอบเวลา ได้แก่ 07.00 น. 12.00 น. และ 15.00 น.
      1.4) ข้อเสนอแนะของ ทส. เช่น ควรกำหนดมาตรการรองรับกรณีเลื่อนการบังคับใช้เฉพาะรถยนต์ใหม่ตามมาตรฐานยูโร 5 ออกไปเป็นภายในปี 2567 เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและผลักดันการขยายเครือข่ายการตรวจวัดคุณภาพอากาศให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งให้บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเอกภาพ	ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : เช่น
1) คณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ได้ขยายผลการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งจะได้มีการรายงานผลการติดตามเพื่อฝ่ายเลขานุการ กตน. นำเสนอ กตน. ทราบต่อไป
2) ให้ ทส. ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญของการลดลงของฝุ่นละออง PM2.5
ร้อยละ 9 ในปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ปี 2563 ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) ที่มีมาตรการปิดเมืองและมาตรการทำงานที่บ้าน ในขณะนั้นหรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยหรือไม่
3) เห็นควรให้พิจารณาความเป็นไปได้ของการเชื่อมโยงการเกิดจุดความร้อนกับการจัดสรรงบประมาณหรืองบพัฒนาพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการขับเคลื่อนการลดจุดความร้อนและเฝ้าระวังการเผาของชุมชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่
4) เห็นควรให้มีการศึกษาเรื่องการนำเครื่องมือการจัดการมลพิษทางอากาศรูปแบบเดียวกับที่ใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีความคุ้มค่าและสามารถลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ได้
มติที่ประชุม :
1) รับทราบ
2) เห็นควรให้ ทส. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา
2) การพัฒนาความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับโลก
     2.1) การพัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว โดย ทส. ได้ดำเนินการ เช่น (1) พัฒนาอุทยานแห่งชาติ ด้านอารยสถาปัตย์ โดยติดตั้งอุปกรณ์ขอความช่วยเหลือและป้ายสัญลักษณ์สำหรับห้องน้ำเพื่อคนทั้งมวล 155 แห่ง (2) พัฒนาและฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเพื่อเสริมศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถการท่องเที่ยว             (3) อนุรักษ์และพัฒนามรดกธรณีและอุทยานธรณี โดยส่งเสริมและสนับสนุนอุทยานธรณีเพื่อพัฒนาระดับอุทยานธรณีในระดับต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 7 พื้นที่ และ (4) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่
     2.2) แนวทางการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสู่ระดับโลก
          1) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ได้ดำเนินการ เช่น ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้แก่หน่วยงานเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวทั้งภาครัฐภาคเอกชน และประชาชนผู้สนใจ ด้วยการจัดอบรม เสวนา ผ่านสื่อออนไลน์
         2) มท. ได้ดำเนินการ เช่น ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ปี 2564 ผ่านโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และโครงการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
     2.3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยววิถีเกษตรในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 77 แห่ง
     2.4) พัฒนาโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีแผนการดำเนินการ 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 งานศึกษาและเตรียมความพร้อมโครงการ ระยะที่ 2 เตรียมพื้นที่ก่อสร้าง และระยะที่ 3 งานก่อสร้าง นอกจากนี้ จังหวัดภูเก็ตได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน Specialized Expo ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้ชื่องาน Expo 2028-Phuket, Thailand เป็นงานมหกรรมแสดงนวัตกรรมและการพัฒนาระดับโลก
     2.5) ข้อเสนอแนะ เช่น กก. เสนอว่า ควรพัฒนาระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายใต้รูปแบบเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นระบบในระยะต่อไป ทส. เสนอว่า ควรมีการปรับปรุง แก้ไข ระเบียบข้อบังคับให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้สามารถร่วมดำเนินการด้านการท่องเที่ยวกับภาคเอกชนได้ และ กษ. เสนอว่า ควรส่งเสริมให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรพัฒนาสินค้าของฝากของที่ระลึก และขายผ่านตลาดออนไลน์
3) รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป
     3.1) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 โดยในภาพรวมมีผลการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน
793,887.1054 ล้านบาท (รายจ่ายประจำ 637,907.7992 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 155,979.3063 ล้านบาท) ซึ่งสูงกว่าแผนการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 225,023.7599 ล้านบาท
     3.2) สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีวงเงินทั้งสิ้นเกิน 1,000 ล้านบาท ภาพรวมรายการ
ผูกพันใหม่ฯ 5 กระทรวง วงเงินภาระผูกพัน มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 9 รายการ 19,999.1455 ล้านบาท	ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : เช่น
1) ให้ กก. ส่งข้อมูลการวิเคราะห์ตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยว และการกระจายรายได้ในระดับพื้นที่ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ประเภทผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ และประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดวิสัยทัศน์ และนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
2) การท่องเที่ยวจะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการสนับสนุนประชาชนในการหารายได้เพิ่มเติม โดยเฉพาะการค้าชุมชนภาคการเกษตร ที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้มีการยกระดับเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม (SMEs) ในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจระดับล่างต่อไป
3) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งหลายประเทศยังคงจำกัดการเดินทาง จึงควรมีการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวของไทยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็น Virtual Tours ให้มากยิ่งขึ้น
มติที่ประชุม :
1) รับทราบ
2) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอแนะของ กก. ทส. มท. และ กษ. ไปพิจารณา


















มติที่ประชุม : รับทราบ
4) รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการใน กตน.
โดยคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ได้รายงานผลงานที่สำคัญของรัฐบาลเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ในปี 2565 ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับหัวข้อหลักของการจัดประชุม ?เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล?โดยมี 20 หน่วยงาน ได้ส่งผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
(1) ด้านการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมเพื่อผลักดันการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและสมดุลในทุกมิติ (2) ด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน และ (3) ด้านการฟื้นฟูความเชื่อมโยง โดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว	ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ จะช่วยสร้างประโยชน์ให้ประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งประโยชน์ทางตรง คือ การแสดงศักยภาพของประเทศในการรองรับด้านการค้า การลงทุน และประโยชน์ทางอ้อม เช่น การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการท่องเที่ยว จึงเห็นควรให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประเทศที่เข้าร่วมประชุม และประชาชนในประเทศได้รับทราบ และเห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพที่ดี
2) ควรส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐจัดสัมมนาในประเด็นเกี่ยวกับการประชุมAPEC ในระดับภูมิภาคให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภูมิภาค กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
มติที่ประชุม : รับทราบผลการรวบรวมและบูรณาการผลงานที่สำคัญของรัฐบาล เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC ปี 2565 ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ

12. เรื่อง รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่อง การป้องกันและลดอันตรายจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่อง การป้องกันและลดอันตรายจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผผ.) เสนอ และให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินไปพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ผผ. รายงานว่า รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่เป็นระยะซึ่งรวมถึงการบังคับใช้และรณรงค์กวดขันให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2561 - 2564) ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือเพียง 18 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนภายในปี 2564 อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยยังไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้รถจักรยานยนต์เท่าที่ควร ทำให้แนวโน้มการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น ผผ. จึงได้เสนอรายงานการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัยต่อคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. สภาพปัญหาและปัจจัยที่ทำให้การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัยไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ในระยะยาว สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น	สภาพปัญหา/ปัจจัย
(1) การบังคับใช้กฎหมายการสวมหมวกนิรภัย	1) พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 มีการเพิ่มอัตราค่าปรับให้สูงขึ้นแต่ยังพบผู้ขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าปรับแต่ผู้ขับขี่ยังคงขาดจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยและวินัยจราจร รวมทั้งสถิติอุบัติเหตุทางถนนไม่ได้ลดลง
2) การบังคับใช้กฎหมายจราจรของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่า การตั้งจุดตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยมากขึ้น แต่ในปัจจุบันจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจมีไม่เพียงพอต่อการตั้งด่าน อีกทั้งยังขาดแคลนเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน โดยการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ไม่สามารถติดตั้งให้ครอบคลุมได้ในทุกพื้นที่และเกิดปัญหากล้องใช้งานไม่ได้หรือไม่สามารถบันทึกภาพได้บ่อยครั้ง รวมทั้งพบว่าเจ้าหน้าที่มีการเลือกปฏิบัติและละเว้นการจับกุมต่อพวกพ้องของตนหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่า
(2) การบริหารจัดการด้านนโยบาย การรณรงค์และมาตรการของรัฐในการสร้างทัศนคติและการปลูกฝังวินัยการสวมหมวกนิรภัย	1) การบริหารจัดการของภาครัฐ หน่วยงานของรัฐมีนโยบายหรือมาตรการที่น่าสนใจและโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี แต่ภาครัฐไม่มีการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องภายหลังจากเริ่มดำเนินมาตรการ/โครงการ จึงไม่สามารถสร้างความตระหนักรู้และปลูกจิตสำนึกด้านวินัยจราจรแก่ผู้ใช้รถและถนนในระยะยาวได้ อีกทั้งหน่วยงานบางแห่งไม่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ใช่ภารกิจหลักของหน่วยงาน จึงทำให้การแก้ปัญหาการสวมหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ในระยะยาว
2) การสร้างทัศนคติและการปลูกฝังวินัยการสวมหมวกนิรภัยให้แก่เด็กปฐมวัยและเยาวชน ปัจจุบันอัตราการสวมหมวกนิรภัยในกลุ่มเด็กและเยาวชนมีเพียงร้อยละ 7 ขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่มีอัตราการสวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 43 ส่งผลให้เด็กและเยาวชนอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 19 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ในช่วงปี 2556 -2560 มีจำนวนสูงถึง 17,634 ราย หรือเฉลี่ยปีละ 3,526 ราย ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐได้เผยแพร่ความรู้เรื่องกฎจราจรเบื้องต้นมากกว่าการปลูกฝังค่านิยม การสร้างวินัย หรือการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัย และไม่ได้สร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์เรื่องการปกป้องความปลอดภัยของเด็กปฐมวัยและเยาวชนในด้านความปลอดภัยทางถนนจากการโดยสารรถจักรยานยนต์ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเน้นการเสริมสร้างปลูกฝัง สร้างความตระหนักรู้ โดยให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจัดทำแผนงานเพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการกำหนดการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัยด้วย
(3) การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์	ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างกฎระเบียบและกระตุ้นให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัย โดยเป็นการดำเนินการร่วมกับภาครัฐในการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัย เช่น สถานประกอบกิจการเข้าร่วมโครงการกับคณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร (สอจร.) โดยมีการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยร้อยละ 100 ตลอดทั้งปี ซึ่งจากสถิติ พบว่า มีจำนวนการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของพนักงานลดลง อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมหรือการสนับสนุนจากภาคเอกชนยังไม่มีความต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอหรือหากมีส่วนร่วมจะจำกัดเฉพาะในช่วงที่มีการรณรงค์จากภาครัฐเท่านั้น
		2. ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย สรุปได้ดังนี้
หน่วยงาน	ข้อเสนอแนะ
(1) กระทรวงมหาดไทย (มท.)	1) กำหนดให้นโยบายและมาตรการด้านความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระเร่งด่วนและจัดตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับจังหวัด
2) สนับสนุนและผลักดันการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละจังหวัดและทุกจังหวัด รวมทั้งควรมีการจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนนของจังหวัดเป็นประจำทุกเดือน
3) สร้างเครือข่ายประชาคมทำงานกับชุมชนและรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่มีการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยใช้กลไก สอจร. ระดับจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนให้ชุมชนเกิดการตื่นตัว
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
1) ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่อง โดยให้บรรจุในงบประมาณรายจ่ายประจำปี
2) ให้ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนของ อปท. จัดทำโครงการรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมหรือเข้าร่วมการอบรมและควรกำหนดให้พื้นที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นเขตสวมหมวกนิรภัยร้อยละ 100 รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อจัดทำข้อเสนอ มาตรการ และแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นประจำทุกไตรมาส พร้อมทั้งถอดบทเรียนจากอุบัติเหตุที่ผ่านมาเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
(2) กระทรวงคมนาคม (คค.)	เร่งรัดการพิจารณาร่างระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์และใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. .... ในการกำหนดให้ผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรและผู้ที่ได้รับใบสั่งต้องเข้ารับการอบรมทุกครั้ง รวมทั้งเร่งรัดการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) ข้อกำหนดว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถ การกำหนดคะแนน การตัดคะแนน การคืนคะแนน และการเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการขับรถและวินัยจราจร พ.ศ. 2562 และ 2) ร่างระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์และใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. .... ซึ่งต้องสอดคล้องกับการตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(3) กระทรวงศึกษาธิการ 	1) บรรจุหลักสูตรเรื่องความปลอดภัยทางถนนและสร้างจิตสำนึกในการสวมหมวกนิรภัยให้แก่เด็กและเยาวชน โดยปลูกฝังตั้งแต่เด็กปฐมวัยหรืออนุบาลและระดับเยาวชน เช่น การสอดแทรกหลักสูตรความปลอดภัยทางถนนในวิชาสุขศึกษาและจัดทำโครงการ ?หนูน้อยหัวดี? ผ่านสื่อการสอนที่เข้าใจง่าย โดยสถานศึกษาควรสร้างและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน ระบบการตรวจ ติดตาม ประเมินผล และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างวัฒนธรรมการขับขี่อย่างปลอดภัยแก่นักเรียน
2) ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนนผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการระหว่างสถานศึกษาท้องถิ่นกับ อปท. โดยจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในโรงเรียนและพัฒนาหลักสูตรให้สอดรับกันในแต่ละช่วงอายุของเยาวชน
(4) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)	1) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการรณรงค์ส่งเสริมการสร้างค่านิยมเรื่องการสวมหมวกนิรภัยในชุมชน โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขพื้นฐานในแต่ละตำบลและสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการสวมหมวกนิรภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนตนเอง โดยให้ติดตามและรายงานผลการดำเนินการทุกไตรมาส
2) จัดทำสถิติจำนวนผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการไม่สวมหมวกนิรภัยเพื่อนำมาวิเคราะห์และศึกษาสาเหตุที่แท้จริงและวางแผนแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดต่อไป
3) อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อนำความรู้ในเรื่องการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในทุกจังหวัด เนื่องจาก อสม. สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความไว้วางใจต่อประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
(5) กระทรวงแรงงาน (รง.) (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)	1) ประสานผู้ประกอบกิจการจัดโครงการรณรงค์ ?สวมหมวกนิรภัย 100%? เพื่อเปิดโอกาสให้สถานประกอบกิจการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
2) จัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยภายในสถานประกอบกิจการ โดยให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องกฎจราจรและเทคนิคการสวมหมวกนิรภัยที่ปลอดภัยรวมทั้งกำหนดให้สถานประกอบกิจการเป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 100
3) ออกประกาศ รง. เพื่อขอความร่วมมือให้นายจ้างสถานประกอบกิจการรณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 100
(6) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)	1) เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ควรมีการตั้งด่านตรวจจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจรอย่างสม่ำเสมอ
2) นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาโดยติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดกฎจราจร
3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ระบบใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการกำหนดค่าปรับให้สูงขึ้นและเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันทั้งประเทศ
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มงวด สม่ำเสมอ และไม่เลือกปฏิบัติ

13. เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอความคืบหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ปัญหาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำเพื่อให้ คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		คค. รายงานว่า คค. โดยกรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และแผนบูรณาการมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับสิ่งล้วงล้ำลำน้ำ สรุปผลการดำเนินการได้ ดังนี้
		1. ความคืบหน้าการดำเนินการ
			1.1 จัดทำโครงการสำรวจจัดทำแผนที่และรายละเอียดสิ่งปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำทั่วประเทศ โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจำแนกสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ได้รับอนุญาตและที่ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อนำมากำหนดแนวเขตทางน้ำให้มีความชัดเจนรวมทั้งเป็นมาตรการในการควบคุมและป้องกันการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมาย ทั้งนี้ มีการดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี 2563 ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยมีผลการดำเนินงาน ร้อยละ 38 และระยะที่ 3 ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วและอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการ
			1.2 ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ โดยมีการจัดทำพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 ซึ่งได้ปรับแก้อัตราโทษให้มีความเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ทางน้ำสาธารณะที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น (จากเดิมระวางโทษ ?ปรับไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 500 ถึง 10,000 บาท? เป็น ?จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 1,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันวันละไม่เกินตารางเมตรละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าท่า?) ยกเลิกการอนุญาตย้อนหลังให้แก่สิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกำหนดให้สันนิษฐานว่าเจ้าหน้าที่ของกรมเจ้าท่าผู้ใดได้รับแจ้งเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่มิชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ดำเนินการตามกฎหมายเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง
			1.3 ดำเนินการกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ปลูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตและได้รับอนุญาต
				(1) ขึ้นทะเบียนสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำที่สร้างก่อนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2515 โดยประชาชนไม่ต้องเสียค่าตอบแทนรายปีสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในกรณีดังกล่าว
				(2) ออกใบอนุญาตให้สิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือสร้างไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 32/2560 เรื่อง การบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชนในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ สั่ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้ ได้มีการแจ้งสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อกรมเจ้าท่า จำนวน 86,906 รายการ ขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ จำนวน 59,123 ราย ไม่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 19,891 ราย และไม่อนุญาต จำนวน 7,892 รายการ (จำนวน 19,891 ราย ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมเจ้าท่า)
			1.4 ดำเนินคดีกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ได้แจ้งต่อกรมเจ้าท่าแต่ไม่ได้รับอนุญาต สรุปได้ ดังนี้
ความคืบหน้า	จำนวน (ราย)
กรมเจ้าท่าได้ออกคำสั่งให้รื้อถอน	9,892
อยู่ระหว่างอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์	5,378
ผู้กระทำความผิดดำเนินการรื้อถอนเองไปแล้ว	822
อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล	950
อยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดี	683
คดีถึงที่สุดและศาลมีคำพิพากษาให้ดำเนินการรื้อถอน	59
			1.5 รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการหวงแหนรักษาทางน้ำสาธารณะให้กับประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมและป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ลำน้ำสาธารณะ ดังนี้
				(1) มอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พิจารณาอนุญาตสิ่งล่วงล้ำลำน้ำและดำเนินคดีสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งขอรับการสนับสนุนจาก อปท. ที่จัดเก็บค่าตอบแทนในการใช้พื้นที่สาธารณะ โดยนำรายได้ดังกล่าวมาใช้ในการดูแลรักษาทางน้ำและรื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ผิดกฎหมาย
				(2) ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน ชุมชน และ อปท. เกี่ยวกับการปลูกสร้างและโทษของการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้เกิดจิตสำนึกรักษ์แหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน
				(3) บูรณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) จังหวัด อปท. และหน่วยงานอื่น ๆ ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ไม่รับอนุญาต
				(4) จัดทำบันทึกความร่วมมือในโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ลำน้ำสาธารณะระหว่างกรมเจ้าท่า สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ อปท. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยของผู้มีฐานะยากจนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมเจ้าท่า เช่น โครงการเทศบาลตำบลหาดเล็ก องค์กรชุมชนจังหวัดตราด จังหวัดตราด
				(5) จัดตั้งอาสาสมัครทางน้ำในชุมชน ได้แก่ เครือข่ายอาสาวารีและเยาวชนรักษ์น้ำ เพื่อประชาสัมพันธ์และแสวงหาแนวร่วมของชุมชนและท้องถิ่น
				(6) เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ผิดกฎหมาย โดยให้มีการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด
		2. ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ
			2.1 ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ การรุกล้ำลำน้ำมีจำนวนมาก กำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณไม่เพียงพอ รวมทั้งความร่วมมือจากชุมชน อปท. และหน่วยงานอื่นมีอำนาจหน้าที่ไม่มากพอ ส่งผลให้การป้องกันการรุกล้ำลำน้ำและการบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพซึ่งทำให้มีการรุกล้ำลำน้ำเพิ่มขึ้น
			2.2 ข้อเสนอแนะ
				(1) จัดสรรกำลังเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย การตรวจตรา การปราบปราม การดำเนินคดี และการรื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ
				(2) ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อจัดทำโครงการและดำเนินการด้านต่าง ๆ ได้แก่
					(2.1) โครงการสำรวจจัดทำแผนที่และรายละเอียดสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำเพิ่มเติมในลำคลองและทางน้ำอื่น ๆ เพื่อให้ครอบคลุมทางน้ำทุกประเภท
					(2.2) โครงการปักหลักเขตควบคุมทางน้ำ
					(2.3) โครงการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับทางน้ำสาธารณะและสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ
					(2.4) การรื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ได้แจ้งแต่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงดำเนินคดีและรื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
				(3) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้โดยเร่งจัดทำโครงการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทางน้ำสาธารณะแก่ประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น โดยเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า เครือข่ายอาสาวารีและเยาวชนรักษ์น้ำ รวมทั้งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
				(4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน โดยเร่งจัดทำโครงการฝึกอบรมและเพิ่มเครือข่ายอาสาวารีและเยาวชนรักษ์น้ำให้ครอบคลุมการดูแลรักษาทางน้ำสาธารณะทั่วประเทศ และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเครือข่ายอาสาวารีและเยาวชนรักษ์น้ำ รวมทั้งกิจกรรมของชุมชนและท้องถิ่นในการดูแลรักษาทางน้ำ
				(5) บูรณาการหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ เช่น มท. (กรมการปกครอง อปท.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการตรวจตราและบังคับใช้กฎหมาย
				(6) ประสานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและ อปท. เพื่อนำเงินค่าตอบแทนรายปีสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่จัดเก็บได้มาสนับสนุนการตรวจตราและการรื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ

14. เรื่อง ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เพื่อดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,480,000,000 บาท ตามที่ พณ. เสนอ
		สาระสำคัญ
		พณ. เห็นควรจัดทำโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 โดยมีรายละเอียดสรุปดังนี้
		1. วัตถุประสงค์
			(1) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
			(2) เพื่อประชาชนได้มีช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันในราคาประหยัดได้มากขึ้น โดยเฉพาะเป็นการช่วยให้สามารถเข้าถึงประชาชน อันเป็นการหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่ที่มีความเสี่ยงได้
			(3) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและการบริโภคภาคครัวเรือน รวมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า ตลอดจนเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น
			(4) เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
		2. วิธีดำเนินการ
			ดำเนินการจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพให้แก่ประชาชนในราคาประหยัด ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน โดยมีรายละเอียดในการดำเนินงานดังนี้
			2.1 กิจกรรมบริหารจัดการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางจำหน่าย โดยจัดหาสถานที่จำหน่ายและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น รถยนต์ พนักงานขับรถ พนักงานขาย เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ ป้ายราคา ป้ายประชาสัมพันธ์ ประจำจุดจำหน่าย พนักงานขนสินค้า เป็นต้น เพื่อจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ เพื่อจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพผ่านช่องทางดังนี้
				(1) จำหน่ายผ่านบริเวณร้านสะดวกซื้อ ห้างท้องถิ่น หรือตลาด พื้นที่สาธารณะหรือลานอเนกประสงค์ และสถานีบริการน้ำมัน รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 จุด ตามแหล่งชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภูมิภาค 76 จังหวัด มีรายละเอียด ดังนี้
					(1.1) จัดหาจุดจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ เพื่อจำหน่ายสินค้าให้แก่ประชาชน
					(1.2) จัดหาพนักงานขายของประจำจุดจำหน่าย
					(1.3) จัดหาสถานที่จัดเก็บสินค้า เพื่อรอกระจายไปยังจุดจำหน่าย และจัดหารถยนต์หรือรถบรรทุกเพื่อขนส่งสินค้าจากสถานที่จัดเก็บสินค้า ไปยังสถานที่จำหน่าย
					(1.4) จัดหาพนักงานปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินค้า อาทิ พนักงานกำกับดูแลและดำเนินการสั่งสต๊อกสินค้า พนักงานควบคุมดูแลและจัดทำสต๊อกสินค้าที่อยู่ในสถานที่จัดเก็บสินค้า พนักงานรักษาความปลอดภัยสถานที่จัดเก็บสินค้า และพนักงานบริหารจัดการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลง
					(1.5) จัดหาอุปกรณ์สนับสนุนสำหรับจำหน่ายสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการจำหน่ายสินค้า และลดการใกล้ชิดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ถังน้ำแข็ง เครื่องวัดอุณหภูมิ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ถุงมืออนามัย หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ฉีดฆ่าเชื้อ ป้ายแสดงสัญลักษณ์ในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 เครื่องขยายเสียง (โทรโข่ง) เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ ตะกร้า เชือกกั้น เครื่องคิดเลขจำหน่ายสินค้า เครื่องชั่งสินค้า เป็นต้น
					(1.6) ออกแบบและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายไวนิล หรือสติ๊กเกอร์ เป็นต้น พร้อมติดตั้งในบริเวณที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
					(1.7) จัดทำป้ายแสดงราคา
				(2) จำหน่ายผ่านรถ Mobile จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คัน ตามแหล่งชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีรายละเอียดดังนี้
					(2.1) จัดหารถยนต์ 4 ล้อ (รถโมบาย) พร้อมพนักงานขับรถ เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คัน และพนักงานขายของประจำพาหนะ
					(2.2) จัดหาสถานที่จัดเก็บสินค้า เพื่อรอกระจายไปยังพาหนะที่เข้าร่วมโครงการฯ และจัดหารถยนต์หรือรถบรรทุกเพื่อขนส่งสินค้าจากสถานที่จัดเก็บสินค้า ไปยังสถานที่ที่พาหนะจอดซื้อหรือขึ้นของ
					(2.3) จัดหาพนักงานปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินค้า อาทิ พนักงานกำกับดูแลและดำเนินการสั่งสต๊อกสินค้า พนักงานควบคุมดูแลและจัดทำสต๊อกสินค้าที่อยู่ในสถานที่จัดเก็บสินค้า พนักงานรักษาความปลอดภัยสถานที่จัดเก็บสินค้า และพนักงานบริหารจัดการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลง
					(2.4) จัดทำอุปกรณ์สำหรับจำหน่ายสินค้าประจำพาหนะแต่ละคัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการจำหน่ายสินค้า และลดการใกล้ชิดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ถังน้ำแข็ง เครื่องวัดอุณหภูมิ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ถุงมืออนามัย หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ฉีดฆ่าเชื้อ ป้ายแสดงสัญลักษณ์ในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 เครื่องขยายเสียง (โทรโข่ง) เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ ตะกร้า เชือกกั้น เครื่องคิดเลขจำหน่ายสินค้า เครื่องชั่งสินค้า เป็นต้น
					(2.5) ออกแบบและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ อาทิ ป้ายไวนิล สติ๊กเกอร์ พร้อมติดตั้งด้านข้างพาหนะในบริเวณที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
					(2.6) จัดทำป้ายแสดงราคา
			2.2 กิจกรรมการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ เพื่อจัดหาและจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพตามชนิด ปริมาณและราคาตามที่กรมฯ กำหนด เช่น สินค้าเกษตร เนื้อไก่ ไข่ไก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น จากสมาคม/ผู้ค้าปลีก/ค้าส่ง/Supplier ในพื้นที่ เพื่อจำหน่ายในจุดจำหน่าย
			2.3 กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ เพื่อดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบในวงกว้างผ่านสื่อต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมรณรงค์กระตุ้นการบริโภค
		3. ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน
		4. งบประมาณ วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,480,000,000 บาท
		ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และจากภาวะการปรับราคาสินค้าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากโรคระบาดจากสัตว์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเพื่อให้ประชาชนได้มีช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันในราคาประหยัดได้มากขึ้น อันเป็นการหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่ที่มีความเสี่ยงได้ รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการค้าภายในประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์ แต่เนื่องจากงบประมาณของกรมการค้าภายในมีไม่เพียงพอในการดำเนินการ กรมการค้าภายในจึงขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565

15. เรื่อง ขออนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ ? ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการทางพิเศษสายกะทู้ ? ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) (โครงการฯ) และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา 68 (1) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอดังนี้
		1. อนุมัติให้ กทพ. ดำเนินโครงการฯ ระยะทางรวม 3.98 กิโลเมตร โดยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่ การออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&M) โดยเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมดให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ Build - Transfer - Operate (BTO) พร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทาง โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี [นับจากวันที่ กทพ. มีหนังสือแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน (Notice to Proceed)] ตามรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามรายละเอียดที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐประกาศกำหนด ของโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต (รายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบไว้ (เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561)
		2. มอบหมายให้ กทพ. กระทรวงคมนาคม (คค.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการนโยบายฯไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
		สำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินวงเงิน 5,792.24 ล้านบาท เห็นควรให้ กทพ. เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด ตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

		สาระสำคัญของเรื่อง
		เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 โดยกระทรวงคมนาคม (คค.) ได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) พิจารณาศึกษาโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต (โครงการฯ) ซึ่งต่อมา กทพ. ได้จัดทำโครงการฯ มีวัตถุประสงค์ เช่น (1) เพิ่มเส้นทางการเดินทางระหว่างตัวเมืองฝั่งตะวันออกของภูเก็ตไปยังหาดป่าตองให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และนักท่องเที่ยว (2) ลดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพเส้นทางที่ลาดชันและคดเคี้ยว และ (3) ใช้เป็นเส้นทางอพยพกรณีเกิดภัยพิบัติ (เช่น กรณีเกิดสึนามิ) เป็นต้น โดยมีลักษณะเป็นโครงการก่อสร้างทางยกระดับ มีอุโมงค์อยู่ในช่วงกลางของแนวเส้นทาง ระยะทางรวม 3.98 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษขนาด 4 ช่องจราจรต่อทิศทางจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมกับถนนพระเมตตาในพื้นที่ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการฯ ในพื้นที่ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ มีทางขึ้น - ลง 2 แห่ง ด่านเก็บค่าผ่านทางตั้งอยู่บริเวณตำบลกะทู้ 1 ด่าน โดยมีการประมาณการเงินลงทุนเริ่มต้นของโครงการรวมวงเงินทั้งสิ้น 14,670.57 ล้านบาท (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 5,792.24 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง จำนวน 8,662.61 ล้านบาท ค่าควบคุมงานก่อสร้าง จำนวน 215.72 ล้านบาท) (วงเงินปรับปรุง ณ ปี 2566) ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี (พฤษภาคม 2565 - กรกฎาคม 2570) โดยจะดำเนินการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost คือ ภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด โดยเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมดให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ Build - Transfer - Operate (BTO) พร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทาง ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์ในรายได้อื่น ๆ นอกจากรายได้ค่าผ่านทางไม่ได้รวมไว้ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน เนื่องจากเมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าทางการเงินของรัฐในกรณีการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนแล้ว พบว่าในรูปแบบ PPP Net Cost มีความเหมาะสมมากกว่ารูปแบบอื่น เมื่อพิจารณาจากรายได้ที่รัฐจะได้รับจากเอกชนในรูปแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ลดความเสี่ยงเรื่องรายได้ค่าผ่านทางกรณีไม่เป็นไปตามคาดการณ์ และภาระที่ภาครัฐต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับเอกชน โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี

16. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 10) พ.ศ. 2562 ? 2566
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 [เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 10) พ.ศ. 2562 ? 2566] (โครงการฯ ระยะที่ 10) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้
		1. ปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาจากนักศึกษาชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดในจังหวัดชายแดนภาคใต้
		2. ขอเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น ?โครงการจัดส่งนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย?
		สาระสำคัญของเรื่อง
		มท. รายงานว่า
		1. มท. ได้นำความเห็นของหน่วยงาน (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 เมษายน 2562) ไปพิจารณาแล้วเห็นว่า การปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายการอุดหนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว จะเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบให้สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของรัฐได้เป็นกรณีพิเศษ รวมทั้งผู้สำเร็จการศึกษาจะได้กลับไปปฏิบัติงานในภูมิลำเนาของตนเอง ซึ่งจะช่วยสร้างสรรค์ความเจริญ เชื่อมประสานและมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่อันเป็นการแก้ไขปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา การศึกษา รวมถึงปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
		2. ประมาณการค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ? 2566 สรุปได้ ดังนี้
ปีงบประมาณ (พ.ศ.)	2564	2565	2566	รวมทั้งสิ้น
วงเงิน (ล้านบาท)	5.92	5.92	5.92	17.76
หมายเหตุ : ไม่มีการเปลี่ยนแปลงวงเงินงบประมาณ
		3. มท. แจ้งว่า ได้หารือเกี่ยวกับการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แล้ว เนื่องจาก ศธ. ได้เคยมีความเห็น (หนังสือ ศธ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0237/2121 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2564) ว่า โครงการจัดส่งนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยตามที่ มท. เสนอ             มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ ศธ. ได้ให้การช่วยเหลือจัดสรรทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องให้ทุกคนอยู่แล้ว โดยในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า มอบให้ 20,000 บาท/คน/ปี ซึ่งในปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมา ศธ. ได้มอบทุนในระดับอุดมศึกษาจำนวน 1,229 ทุน คิดเป็นจำนวนเงิน 24.58 ล้านบาท ดังนั้น มท. จึงชี้แจงกับ ศธ. ว่า ถึงแม้กลุ่มเป้าหมายของ มท. และ ศธ. จะเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันคือ ?ผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้? แต่อย่างไรก็ตาม เป้าประสงค์ของโครงการจัดส่งนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยนั้น มีวิธีดำเนินการแตกต่างจาก ศธ. กล่าวคือ ทุนการศึกษาของ ศธ. นั้น เป็นลักษณะของการให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาเพื่อเป็นการเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในขณะที่โครงการ ของ มท. เป็นลักษณะในมิติของความมั่นคงในการใช้ ?การศึกษา? เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการขยายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นกรณีพิเศษ โดยมีทุนการศึกษาเป็นส่วนสนับสนุนโอกาสดังกล่าว รวมถึงให้ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษา เมื่อเรียนจบจะได้รับการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อกลับมาพัฒนาพื้นที่บ้านเกิดอันเป็นการแก้ไขปัญหาเชิงสังคมจิตวิทยาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (9 เมษายน 2562)            ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ได้ให้ความเห็นไว้ ทั้งนี้ ศธ. ได้พิจารณาข้อหารือดังกล่าวแล้วเห็นด้วยกับข้อหารือเพิ่มเติมของ มท. โดยมีข้อสังเกตว่า โครงการของ มท. มีความชัดเจนถึงความแตกต่างของวิธีดำเนินการ และผู้รับทุนการศึกษาจะต้องไม่รับทุนการศึกษาอื่นซ้ำซ้อนในปีการศึกษาเดียวกัน
		4. มท. ได้ดำเนินการจัดทำร่างระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินทุนอุดหนุนการศึกษาแก่นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... (ร่างระเบียบฯ) เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้แล้ว โดยมีสาระสำคัญเพื่อให้นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความเสียหายหรือที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งเรียนดี มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้รับการบรรเทาความทุกข์ร้อนจากความไม่สงบเรียบร้อยและการถูกกระทำ ตามเจตนารมณ์ของ มท. ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชน ซึ่งกระทรวงการคลัง (กค.) โดยกรมบัญชีกลางได้เห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวแล้ว

17. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai universal health coverage reform for sustainable development) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai universal health coverage reform for sustainable development) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai universal health coverage reform for sustainable development) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่า เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการเงินการคลัง จึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ยกระดับการบูรณาการและความยั่งยืนด้านการเงินการคลัง โดยให้มีชุดสิทธิประโยชน์หลักที่ครอบคลุมบริการสาธารณสุขที่จำเป็นและเบิกจ่ายรูปแบบเดียวกัน และในระยะยาวเสนอให้มีการเก็บภาษีสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน และรวมกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบเป็นระบบเดียว (Single fund) (2) ยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมทุกคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนและสิทธิรวมถึงคนต่างด้าว (3) พัฒนาการจัดบริการสุขภาพแบบเพิ่มคุณค่า (value based healthcare) โดยสนับสนุนให้มีการนำร่องการจัดบริการแบบเพิ่มคุณค่าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และขยายผลการจัดบริการแบบเพิ่มคุณค่าอย่างเหมาะสมตามข้อเสนอจากการประเมินผลการนำร่อง เพื่อวางระบบอย่างยั่งยืนต่อไป
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงบประมาณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		สธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ตามข้อ 1 แล้ว โดยประเด็นการรวมกองทุนสุขภาพภาครัฐทุกระบบเป็นระบบเดียว (Single Fund) ทั้งสิทธิของคนไทยและคนต่างด้าว มีหน่วยงานไม่เห็นด้วยเนื่องจากผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเป็นผู้ที่ต้องมีการร่วมจ่าย โดยผ่านการเก็บเงินสมทบทั้งนี้ หน่วยงานส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยสรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ	ผลการพิจารณา
     1. ควรยกระดับการบูรณาการและความยั่งยืนด้านการเงินการคลัง
         (1) ให้มีชุดสิทธิประโยชน์หลักที่ครอบคลุมบริการสาธารณสุขที่จำเป็นและเบิกจ่ายรูปแบบเดียวกัน และการบูรณาการงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของหน่วยงาน            ต่าง ๆ ได้แก่ สธ. สปสช. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานอื่น ๆ และเน้นการทำงานเชิงรุก










     (2) การจ่ายชดเชยค่าบริการต้องจัดการอย่างมีกลยุทธ์ ปรับระบบเพื่อให้กองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันสุขภาพภาครัฐมีการบริหารจัดการไปในทิศทางที่สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน





ในระยะยาว เสนอให้มีการเก็บภาษีสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน และรวมกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบเป็นระบบเดียว (Single fund) ทั้งสำหรับคนไทยและคนต่างด้าวที่อยู่ประเทศไทยทุกคนเพื่อให้มีเอกภาพ โดยมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


- สธ. ได้มีกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 ภายใต้โครงการพัฒนาระบบการเงินการคลังและการบริหารจัดการด้านบริการสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาข้อเสนอชุดสิทธิประโยชน์หลักที่จำเป็นสำหรับคนไทยทุกคนที่มีมาตรฐานและบริหารจัดการระบบเดียว โดยเฉพาะบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ให้มีมาตรฐานและบริหารจัดการระบบเดี่ยวทั้งด้านขอบเขตสิทธิประโยชน์กลไกการเงินการคลัง/ธุรกรรมเบิกจ่าย และระบบบริการรองรับและได้มีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบให้ สปสช. ขยายการบูรณาการบริการ P&P ร่วมกับ สสส. สธ. ระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ และกองทุนที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการงบประมาณและกิจกรรม P&P อย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2565 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (26 ม.ค. 64) เห็นชอบเรื่องดังกล่าวแล้ว
- สปสช. ทำหน้าที่บริหารจัดการสิทธิประโยชน์และจ่ายค่าชดเชยการตรวจคัดกรองและป้องกันการติดเชื้อ Covid - 19 สำหรับคนไทยทุกคนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น การจ่ายเงินช่วยเหลือบริการสายด่วน 1330 การสนับสนุนชุดตรวจ ATK เป็นต้น และได้มีการทำงานร่วมกัน โดยบูรณาการสิทธิประโยชน์และบริการดูแลรักษาที่สอดคล้องและใกล้เคียงกันอย่างต่อเนื่อง เช่น บริการ Home Isolation และ Community Isolation เป็นต้น
- การจัดเก็บภาษีส่วนประกอบอาหารที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประมาณการจำนวนเงิน 9,500 ล้านบาทต่อปี จากการเก็บภาษี 5% ของมูลค่าการผลิตส่วนประกอบอาหารที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นการจัดเก็บที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรงและอาจทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงจนต้นทุนด้านสุขภาพในอนาคตลดลง อย่างไรก็ตามอาจเป็นภาระแก่ผู้บริโภค สำหรับการรวมกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบเป็นระบบเดียว (Single fund) ทั้งสำหรับคนไทยและคนต่างด้าวนั้นเห็นควรกำกับทิศทางนโยบาย ในกรณีมีหน่วยบริหารการคลังระบบสาธารณสุขหลายหน่วย (Multiple purchasers) โดยกำหนดให้มีองค์กรในระดับประเทศทำหน้าที่อภิบาลระบบ โดยมีอำนาจตามกฎหมายที่จะสั่งให้หน่วยบริหารการคลังระบบสาธารณสุขต้องปฏิบัติตามกติกาเดียวกัน
     2. ยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมทุกคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนและสิทธิรวมถึงคนต่างด้าว กรณีคนไทย บูรณาการการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพของรัฐเป็นระบบเดียวกันให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยใช้กลไกที่มีอยู่แล้ว กรณีคนต่างด้าว การเข้าประเทศต้องมีกลไกและกระบวนการที่ทำให้เป็นการเข้าเมืองถูกกฎหมาย ต้องมีประกันสุขภาพเมื่อเข้ามาในประเทศ โดยใช้กลไกหลักประกันสุขภาพภาครัฐเป็นหลักและระบบเดียวกับคนไทยเพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ต้องมีการร่วมจ่ายก่อนป่วย เพื่อให้ได้สิทธิประกันสุขภาพภาคบังคับ โดยจ่ายผ่านระบบภาษี การจ่ายสมทบ (contribution) หรือการซื้อประกันสุขภาพ สำหรับกลุ่มคนต่างด้าวที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบประกันสุขภาพให้ใช้ระบบหลักประกันสุขภาพที่บริหารจัดการโดย สปสช.	- สปสช. อยู่ระหว่างขับเคลื่อนงานดังกล่าวร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางการขยายความครอบคลุมการประกันสุขภาพภาคบังคับสำหรับคนต่างด้าวทุกคนที่เข้ามาประเทศไทยที่ไม่มีระบบประกันสุขภาพ โดยนำร่องใน 4 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยว, ผู้ต้องขัง, แรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ และ Stateless เพื่อให้มี
สิทธิประโยชน์ การจ่ายสมทบ/ซื้อประกัน และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเป็นระบบหรือมาตรฐานเดียว โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานหลักรับผิดชอบต่อไป
     3. พัฒนาการจัดบริการสุขภาพแบบเพิ่มคุณค่า (value based healthcare) โดยสนับสนุนให้มีการนำร่องการจัดบริการแบบเพิ่มคุณค่าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและขยายผลการจัดบริการแบบเพิ่มคุณค่าอย่างเหมาะสมตามข้อเสนอจากการประเมินผลการนำร่อง เพื่อวางระบบอย่างยั่งยืนต่อไป	- สปสช. มีแผนงานและกระบวนการในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุน สปสช. อย่างต่อเนื่องภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ สปสช. เช่น การปรับประสิทธิภาพการบริหารกองทุนฯ และมาตรการในการควบคุมกำกับการเบิกจ่ายให้ถูกต้องกรณีบริการที่จ่ายชดเชยตามรายการ (Fee Schedule) ปีงบประมาณ 2565 การขยายรูปแบบบริการต่าง ๆ เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ (new normal) ซึ่งจะช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลและใช้ศักยภาพของทรัพยากรสาธารณสุขที่อยู่นอกโรงพยาบาล การพัฒนาระบบการดูแลในชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการของประชาชน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มประสิทธิภาพระบบสุขภาพในภาพรวม
     นอกจากนั้น ภายใต้กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 สปสช.อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อดำเนินงานโครงการนำร่องการจัดบริการแบบเน้นคุณค่า (Value - Based Healthcare) ในพื้นที่เขตสุขภาพนำร่อง 4 เขต โดยประสานการทำงานร่วมกับ สธ. ที่รับผิดชอบกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การปฏิรูปเขตสุขภาพให้มีระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการคล่องตัวและร่วมรับผิดชอบด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานและท้องถิ่น

ต่างประเทศ

18. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานของคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก พ.ศ. 2564 ? 2568 (Draft ACWC Work Plan 2021 ? 2025)
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนงานของคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children: ACWC) พ.ศ. 2564  - 2568 (ร่างแผนงานของ ACWC พ.ศ. 2564  - 2568) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (ASEAN Minister in Charge of Social Welfare and Development: AMMSWD Minister) ของประเทศไทยมีหนังสือแจ้งการรับรองต่อร่างแผนงานของ ACWC พ.ศ. 2564 - 2568 ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในฐานะประธาน              การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ในโอกาสแรก ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ACWC เป็นกลไกด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับสตรีและเด็กในอาเซียนมีอำนาจหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมการอนุวัติการตราสารระหว่างประเทศ ตราสารอาเซียนและตราสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำหนดนโยบาย แผนงาน และกลยุทธ์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กในอาเซียน โดยจะมีการจัดทำแผนงานระยะ 5 ปี เพื่อเป็นแผนงานหลักในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กของ ACWC ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกับพันธกรณีตามตราสารระหว่างประเทศที่ประทศไทยได้รับรองและเป็นภาคี รวมถึงมีการบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้ แผนงานของ ACWC พ.ศ. 2559 ? 2563 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการอาเซียนจึงได้ จัดทำร่างแผนงานของ ACWC พ.ศ. 2564 - 2568              ซึ่งจะเป็นแผนงานฉบับใหม่สำหรับการดำเนินงานในระยะอีก 5 ปีข้างหน้า โดยร่างแผนงานดังกล่าวประกอบด้วย               4 ส่วนหลัก ดังนี้
หัวข้อ	สาระสำคัญ
1. ภาพรวม	1.1 วิสัยทัศน์ของ ACWC คือ การเป็นผู้นำในการดำเนินการที่สำคัญในระดับภูมิภาคโดยการขับเคลื่อนวาระและการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ ตลอดจนการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินนโยบายและการโน้มน้าวให้เกิดยุทธศาสตร์และแนวทางในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็กในอาเซียน โดยความสำเร็จที่ผ่านมา ACWC ได้เสริมสร้างพัฒนาการในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสตรีและเด็กในอาเซียนและบรรลุเป้าหมายที่สำคัญ เช่น (1) การวิเคราะห์ ศึกษา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (2) การจัดให้มีพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้การเสวนา และการเรียนรู้ระหว่างประเทศอาเซียน (3) การมีส่วนร่วมในกลไกระดับภูมิภาคในการดึงดูดการมีส่วนร่วมของเสาหลักของประชาคมอาเซียน เพื่อหาแนวทางแก้ไขสำหรับปัญหาเกี่ยวกับสตรีและเด็กในภูมิภาค
1.2 การจัดการและการแก้ไขข้อท้าทาย เช่น (1) การนำอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบมาใช้ในการพัฒนากฎหมายและนโยบายความเท่าเทียมทางเพศทั่วทั้งภูมิภาค (2) การลดอัตราความยากจนและช่องว่างความยากจน (3) การลดความเปราะบางของเด็กและวัยรุ่นผ่านนโยบายการคุ้มครองทางสังคมระดับชาติ
2. ผลผลิตและผลลัพธ์ที่สำคัญ	2.1 แนวทางการดำเนินการ เช่น (1) การสร้างจากความสำเร็จของ ACWC ในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา (2) ความเชื่อมโยงกับเป้าหมายของอาเซียนที่ชัดเจนและการมีส่วนร่วมต่อแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568                    (3) ความสอดคล้องกับข้อตกลงสากล เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี (ปฏิญญาเวียนนา)
2.2 ภารกิจและหน้าที่ของ ACWC เช่น (1) พัฒนานโยบาย โครงการ และยุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็กเพื่อที่จะบรรลุกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน (2) กำหนดแนวทางการทำงานและการหารือร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ภาควิชาการและภาคประชาสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับสิทธิสตรีและเด็ก (3) ส่งเสริมความตระหนักรู้สาธารณะและการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิสตรีและเด็กในอาเซียน
2.3 ผลผลิต เช่น (1) การประชุมหารือระดับภูมิภาคว่าด้วยการศึกษาขอบเขตของแรงงานข้ามชาติที่เป็นสตรีในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รวมทั้งในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2) การจัดทำงบประมาณสาธารณะเพื่อสิทธิสตรีและสิทธิเด็กในอาเซียน (3) การนำกรอบยุทธศาสตร์ในการบูรณาการความเสมอภาคทางเพศไปปฏิบัติ
2.4 กรอบผลลัพธ์ เช่น (1) การสนับสนุนของอาเซียนที่เพิ่มขึ้นสำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสตรีและเด็กผ่านการวิจัย วิเคราะห์ และประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ (2) การบูรณาการสิทธิสตรีและสิทธิเด็กในอาเซียนให้เป็นสถาบันและมีมาตรฐาน (3) ความตระหนักรู้และการเผยแพร่เกี่ยวกับสิทธิสตรีและสิทธิเด็กในภูมิภาคเพิ่มขึ้น

3. การดำเนินการ
เพื่อไปสู่การปฏิบัติ	3.1 การมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับอาเซียน เช่น (1) การประชุมหารือระหว่าง ACWC กับคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยสตรี (2) การมีส่วนร่วมในคณะทำงานที่จะถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังจากการรับรองกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการความเสมอภาคทางเพศอาเซียน (3) การสนับสนุนความก้าวหน้าของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมการป้องกันเพื่อมุ่งไปสู่สังคมแบบสันติ ครอบคลุม เข้มแข็ง และกลมเกลียว พ.ศ. 2560
3.2 การเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือและการระดมทรัพยากร เช่น (1) การใช้
กองทุน ACWC สำหรับการดำเนินโครงการ (2) การจัดประชุมหุ้นส่วนความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อวางแผนและหารือเกี่ยวกับการหนุนเสริมเงินทุนสำหรับแผนงานของ ACWC
(3) การระดมความเชี่ยวชาญและความชำนาญเฉพาะด้านของเครือข่ายคู่ค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างและแบ่งปันความรู้
3.3 โครงสร้างเชิงสถาบันและบทบาท ประกอบด้วย (1) บทบาทของผู้แทน ACWC เช่น เป็นผู้นำ ดำเนินการ ติดตามและรายงานผลลัพธ์ของแต่ละโครงการและแผนงานโดยรวม รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานระดับประเทศ (2) บทบาทของสำนักเลขาธิการอาเซียน เช่น ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ ACWC สนับสนุน ACWC ในการสำรวจแหล่งเงินทุนและช่วยเหลือ ACWC ในการพัฒนาและเผยแพร่สื่อมัลติมีเดีย
3.4 การประเมินโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในคู่มืออาเซียนว่าด้วยการพัฒนาข้อเสนอสำหรับโครงการความร่วมมืออาเซียน
4. การติดตาม
และประเมินผล	4.1 หลักการและแนวทางปฏิบัติ เช่น (1) การให้ความสำคัญกับการตรวจสอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ (2) การขยายการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (3) การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน และ ACWC ในทุกมิติของกระบวนการติดตามและประเมินผล
4.2 กรอบผลลัพธ์และดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เช่น (1) จำนวนหน่วยงานและหุ้นส่วนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิสตรีและสิทธิเด็กในอาเซียนที่เพิ่มขึ้น              (2) จำนวนข้อริเริ่มและโครงการที่เพิ่มขึ้นโดยองค์กรเฉพาะสาขาอาเซียนที่บูรณาการองค์ประกอบด้านสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (3) จำนวนกิจกรรมการเข้าถึงสื่อออฟไลน์ ออนไลน์ และโซเชียลมีเดียของอาเซียนด้านสิทธิสตรีและสิทธิเด็กเพิ่มขึ้น
4.3 ข้อมูลพื้นฐานและเป้าหมาย มี 2 ระดับ ได้แก่ (1) เป้าหมายผลลัพธ์ คือเหตุการณ์สำคัญที่ระดับผลลัพธ์ตามที่ระบุไว้ในกรอบผลลัพธ์ (2) เป้าหมายผลผลิตประจำปี คือ การส่งมอบผลลัพธ์เฉพาะที่จัดลำดับความสำคัญในแผนงานทุกปี ทั้งนี้ เป้าหมายที่ระบุไม่ได้ถูกเจาะจงและอาจได้รับการปรับปรุงแก้ไขตามภูมิทัศน์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การดำเนินการตามแผนงานอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้
4.4 การเก็บรวบรวมข้อมูลและคุณภาพของข้อมูล มีการพัฒนาชุดเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation: M&E) เพื่อช่วย ACWC ในการรวบรวมตรวจสอบข้อมูล โดยข้อมูลปฐมภูมิจะถูกรวบรวมจากแหล่งที่สามารถเข้าถึงได้ เช่น รายงานความสำเร็จของโครงการและจะได้รับการสนับสนุนด้วยข้อมูลทุติยภูมิ แหล่งข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ แหล่งข้อมูลทางการในระดับประเทศและระดับภูมิภาค และรายงานที่เกี่ยวข้องจากอาเซียนและองค์กรระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือ
4.5 การรายงานความก้าวหน้าในการบรรลุผลลัพธ์ แบ่งเป็น (1) ระดับผลผลิตโดยข้อมูลการติดตามผลจะถูกรวบรวมและวิเคราะห์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อรายงานต่อที่ประชุม ACWC ซึ่งจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (2) ระดับผลลัพธ์ โดย ACWC จะทำการประเมินระยะครึ่งแผนในปี 2566 ซึ่งจะเป็นแนวทางให้กับ ACWC ในการปรับเปลี่ยนแนวทางใด ๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ผลลัพธ์เกิดการเปลี่ยนแปลง (3) ระดับผลกระทบ ACWC จะเป็นผู้ประเมินผลกระทบในปี 2568 ซึ่งเป็นการประเมินผลลัพธ์ระยะสุดท้ายที่จะแสดงให้เห็นถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ในประสิทธิผลของแผนงาน
4.6 การรักษาและสร้างขีดความสามารถด้านการประเมินผล เช่น (1) การเสริมสร้างขีดความสามารถเชิงสถาบันสำหรับ M&E (2) การจัดตั้งหน่วยงานประสานงานหลักของ M&E ในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน สำหรับการดำเนินการตามแผนงานของ ACWC พ.ศ. 2564 - 2568 (3) การเปลี่ยนไปใช้ M&E แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
		2.2 ร่างแผนงานของ ACWC พ.ศ. 2564 - 2568 ได้รับความเห็นชอบโดยการแจ้งเวียน (Ad - referendum Endorsement) จากคณะผู้แทน ACWC ของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะ AMMSWD Minister ของประเทศไทยจะต้องรับรองร่างแผนงานดังกล่าวร่วมกับ AMMSWD Ministers ของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการแจ้งเวียน เพื่อให้ร่างแผนงานของ ACWC พ.ศ. 2564 - 2568 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

19. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างบันทึกแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมแห่งสหพันธรัสเซีย
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างกระทรวงคมนาคม (คค.)  และกระทรวงคมนาคมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (ร่างบันทึกแสดงเจตจำนงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกแสดงเจตจำนงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้อยู่ในดุลยพินิจของ คค. โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าวตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
		ทั้งนี้ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม (คค.) ได้จัดทำความร่วมมือแบบทวิภาคีด้านการขนส่งกับประเทศต่าง ๆ  ทั้งในรูปแบบการขนส่งเฉพาะด้าน และความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกสาขา เช่น (1) สาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาขนส่งทางราง ได้แก่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 ? 2565 และดำเนินโครงการรถไฟเส้นทางกรุงเทพมหานคร ? นครราชสีมา และนครราชสีมา ? หนองคาย (2) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงระหว่างกันและระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดน อาทิ โครงการสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) โครงการก่อสร้างสะพานรถไฟระหว่างหนองคาย ? เวียงจันทน์ การสร้างกลไกความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย ตลอดจนความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาบุคลากรครอบคลุมทุกสาขาการขนส่ง (3) สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้แก่ เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลในสาขาการขนส่งอย่างยั่งยืน ครอบคลุมการขนส่งทางราง ทางทะเล ขนส่งมวลชนในเมือง (รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้ารางเบา รถประจำทาง รถกระเช้า) โลจิสติกส์ ความปลอดภัย           ทางถนน และการขนส่งด้วยเทคโนโลยีสะอาด และ (4) สาธารณรัฐเกาหลี สาขาขนส่งทางถนน ได้แก่ พัฒนาแผนงานและโครงการด้านการขนส่งทางถนนครอบคลุมการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองหลวง ระบบขนส่งอัจฉริยะ          และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การส่งเสริมการร่วมลงทุนจากภาคเอกชน เป็นต้น ซึ่งร่างบันทึกแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งที่ คค. เสนอครั้งนี้ เป็นความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกสาขาการขนส่งระหว่าง คค. และกระทรวงคมนาคมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ได้แก่ การขนส่งทางราง ทางทะเล ทางถนน และการบิน
		สาระสำคัญของร่างบันทึกแสดงเจตจำนงฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น	สาระสำคัญ
การพัฒนาความร่วมมือด้านการขนส่ง	- การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งซึ่งครอบคลุมระบบราง การขนส่งทางทะเล ทางถนน และการบินตามกฎหมายและข้อบังคับของภาคีแต่ละฝ่าย
- การสร้างเงื่อนไขที่ส่งเสริมการเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารฝ่านการขนส่งหลายรูปแบบระหว่างอาณาเขตของประเทศคู่ภาคี
- การสนับสนุนและช่วยเหลือทางวิชาการ โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ด้านการขนส่ง ความร่วมมือในกรอบของโครงการวิจัยและกิจกรรมด้านการศึกษา
- การพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการนำทางด้วยดาวเทียมในด้านการขนส่ง
- การเสริมสร้างความมั่นคงด้านการขนส่ง
ขององค์การระหว่างประเทศ รวมถึงคณะกรรมาธิการเศรษฐ
- การจัดทำรายละเอียดข้อเสนอเพื่อประสานจุดยืนของคู่ภาคีภายใต้กรอบการทำงานขององค์การระหว่างประเทศ รวมถึงคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิก (APEC) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย - ยุโรป (ASEM)
การจัดกิจกรรมร่วมกัน	- จัดการประชุม หารือ และศึกษาดูงานในหลายระดับ
- แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแผนการพัฒนาด้านการขนส่งของแต่ละประเทศอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงโครงการด้านการขนส่งที่ภาคีอีกฝ่ายมีความสนใจ
- ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศในด้านการขนส่ง
ผลผูกพัน	- ไม่เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศและจะไม่ก่อให้เกิดสิทธิและพันธกรณีใด ๆ ที่มีผลผูกพันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ผลบังคับใช้
	- มีอายุ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนาม และจะต่ออายุโดยอัตโนมัติได้อีก 2 ปี เว้นแต่คู่ภาคีจะแจ้งความประสงค์ที่จะยกเลิกการดำเนินการ

20. เรื่อง  ความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา (Cooperation Agreement between the Association of Southeast Asian Nations and the Government of Hungary on Education Cooperation) (ร่างความตกลงฯ) และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ ของฝ่ายอาเซียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		รัฐบาลฮังการีให้ความสนใจเกี่ยวกับการดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษาร่วมกับอาเซียน โดยทั้ง 2 ฝ่าย ได้เห็นพ้องให้มีการจัดทำความตกลงความร่วมมือ (Cooperation Agreement) เพื่อให้การดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษามีความเป็นรูปธรรม ครอบคลุม และรอบด้านมากขึ้น โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้แทนดำเนินการในนามของประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกับฮังการี ทั้งนี้ ความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษาฉบับเดิมได้หมดอายุลงเมื่อเดือนกันยายน 2564 และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียนได้ให้การรับรองร่างความตกลงฯ ฉบับปรับปรุง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว สำนักเลขาธิการอาเซียนจึงได้มีหนังสือขอรับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิก และประเทศไทยจะต้องแจ้งความเห็นชอบต่อร่างความตกลงดังกล่าวต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจากาตาร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายในวันที่ 26 มกราคม 2565 เพื่อเลขาธิการอาเซียนจะได้ดำเนินการลงนามในร่างความตกลงฯ ต่อไป
		ร่างความตกลงฯ ประกอบด้วย 10 ข้อบท โดยมีสาระสำคัญ เช่น
		1.การสานต่อโครงการทุนการศึกษาอาเซียน-ฮังการี เพื่อสนับสนุนนักเรียนสัญชาติอาเซียนและฮังการีที่ต้องการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานอกประเทศรบ้านเกิดตั้งแต่ในระดับปริญญาตรีไปถึงระดับหลังปริญญาเอก และส่งเสริมนักเรียนและอาจารย์ที่มีผลงานโดดเด่นเข้าร่วมโครงการการศึกษาวิจัยทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการศึกษาและการวิจัยร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย
		2. ฮังการีจะให้โอกาสนักเรียนจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฮังการี โดยจะให้ความสำคัญในสาขาเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและการเงิน วัฒนธรรมและศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร
	3. อาเซียนจะให้โอกาสนักเรียนและอาจารย์ฮังการีได้เข้าร่วมโครงการการศึกษาและการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษในอาเซียน โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
		4. ข้อผูกพันที่เกิดจากสมาชิกของฮังกาในสหภาพยุโรปจะไม่ส่งผลต่อความตกลงฉบับนี้             การดำเนินงานจากความตกลงฉบับนี้จะไม่ส่งผลอันจะทำให้เป็นโมฆะ แก้ไข หรือส่งผลกระทบต่อข้อผูกพันของฮังการี โดยเฉพาะจากสนธิสัญญา รวมถึงข้อผูกพันจากกฎหมายของสหภาพยุโรป
		5. ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการแปลภาษา การดำเนินงาน หรือการใช้บทบัญญัติความตกลงฉบับนี้จะตัดสินโดยทั้งสองฝ่ายผ่านการปรึกษาหารือและเจรจา
		6. ร่างความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นทั้ง 2 ฝ่าย สามารถขยายระยะเวลาความตกลงดังกล่าวได้อีก 3 ปี ตามที่ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องและลงนามเป็นลายลักษณ์อักษร
		ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ ร่างความตกลงฯ จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและนักศึกษาไทยที่จะได้รับโอกาสในการพัฒนาด้านวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม และทักษะในการใช้ชีวิต รวมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ระหว่างกันตลอดจนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

21. เรื่อง ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนซ.) เสนอผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26 ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะประธานคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประจำปี 2564 เป็นประธานการประชุมและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมประชุมฯ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 พฤศจิกายน 2564) อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมฯ และเห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานและความร่วมมือเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. ที่ประชุมฯ ได้มีมติอนุมัติประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานและความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโซง ภายใต้พันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนฯ และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขง พ.ศ. 2564-2573 ซึ่งเป็นไปตามกรอบการหารือที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 พฤศจิกายน 2564) อนุมัติไว้ ได้แก่ 1) การปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และการปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการร่วม คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และ 2) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2564 ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
		2.  ไทยได้กล่าวขอบคุณประเทศสมาชิกฯ ในการขับเคลื่อนแผนงานต่าง ๆ ภายใต้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้สำเร็จเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้เน้นย้ำความสำคัญในเรื่อง 1) การบูรณาการความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในอนุภูมิภาค 2) การสนับสนุนประเทศสมาชิกในการเร่งรัดพัฒนาช่องทางการแบ่งปันข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกันใน                อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้มีการปรับตัวรองรับการผันผวนของสภาพภูมิอากาศ และ 3) การพัฒนาในมิติที่คำนึงถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
		3. ความสำเร็จของการประชุมฯ
			1) ประเทศสมาชิกได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของกรอบความร่วมมือคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โดยมีความรับผิดชอบร่วมกันในการใช้และปกป้องทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิด
การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนฯ
			2) ประเทศหุ้นส่วนการพัฒนาแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และแสดงข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ บนแม่น้ำโขง รวมทั้งเน้นย้ำการวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีคุณภาพเพื่อให้มีการพิจารณาให้ครอบคลุมต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนา พร้อมทั้งชื่นชมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการดำเนินความร่วมมือเชื่อมโยงกรอบความร่วมมือระหว่างลุ่มน้ำโขงตอนบนและตอนล่าง

22. เรื่อง ร่างเอกสารที่จะมีการร่วมลงนาม รับรอง และให้ความเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ครั้งที่ 2 (The 2nd ASEAN Digital Ministers Meeting : ADGMIN) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 5 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ว่าด้วยสาขาความร่วมมือด้านดิจิทัล ตามข้อ 1 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารตามข้อ 2 และข้อ 3 รวมทั้งให้ความเห็นชอบเอกสารตามข้อ 4 และข้อ 5 ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
		สาระสำคัญของร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ครั้งที่ 2 (The 2nd ASEAN Digital Ministers Meeting : ADGMIN) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้
		1. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเขียน) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ว่าด้วยสาขาความร่ามมือด้านดิจิทัล (Memorandum of Understanding between  the Association of Southeast Asian Nations  (?ASEAN?) and the International Telecommunication Union (?TU?) In the Field of Digital Cooperation)  เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บท ADM 2025 เพื่อเร่งการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนและขับเคลื่อนอย่างสมดุลและมีคุณภาพโดยมีขอบเขตความร่วมมือของบันทึกความเข้าใจฯ อาทิ นโยบายดิจิทัลและโทรคมนาคม ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความมั่นคงด้านดิจิทัล ความเชื่อมโยงทางดิจิทัล การสร้างความเท่าเทียมทั่วถึงทางดิจิทัล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ ICT เพื่อรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน
		2. ร่างปฏิญญาเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw Declaration) ระบุถึงแนวคิดหลักของการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 2 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลเพื่อเป็นพลังสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนจากโรคโควิด - 19 โดยแสดงเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนภูมิภาคอาเซียนให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิหัล ค.ศ. 2025 (ASEAN Digital Masterplan: ADM 2025)
		3. ร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน - จีน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ 2021 ? 2025 (Action Plan on Implementing the ASEAN - China Partnership on Digital Economy Cooperation (2021 - 2025) เป็นการขับเคลื่อนความร่วมมือไปสู่การปฏิบัติโดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนานวัตกรรม ICT ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด ? 19 และผลักดันภาคส่วนต่าง ๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
		4. ร่างเอกสารแนวคิดข้อเสนอโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน ? ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ (Project Proposal Concept - Project for Enhancing ASEAN-Japan Capacity Building Programme for Cybersecurity and Trusted Digital Services) เสนอโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในฐานะผู้รับผิดชอบศูนย์ความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ASEAN - Japan Cybersecurity Capacity Building Centre : AJCCBC) เพื่อขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น (TICA) ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ภายหลังปี 2565 เนื่องจากกิจกรรมของศูนย์ฯ จะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม               ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และยกระดับความเชื่อมั่นบริการดิจิทัลสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2566 - 2569
		5. ร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุม          ที่เกี่ยวข้อง (The 2nd  ASEAN Digital Ministers' Meeting and Related Meetings Joint Media Statement) เป็นเอกสารที่ระบุถึงความสำเร็จและความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนตามแผนแม่บท ADM 2025 ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการปรับเปลี่ยนไปสู่ประชาคมดิจิทัลและกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจที่แข็งแกรงเพื่อเป็นพลังสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนจากโรคโควิด - 19 รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือกับคู่เจรจาเพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านดิจิทัล พัฒนาบุคลากร และแสวงหาเทคโนโลยีที่เกิดใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
		ทั้งนี้การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล (The 2nd ASEAN Digital Senior Officials? Meeting : ADGSOM) ครั้งที่ 2 และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล (ADGMIN) ครั้งที่ 2 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง กำหนดจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคม 2565

23. เรื่อง OECD เชิญไทยเข้าร่วมคณะกรรมการ Regulatory Policy Committee ในฐานะ Participant
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าเป็นสมาชิกของคณะกรรมการนโยบายกฎระเบียบ (Regulatory Policy Committee :RPC) สำหรับค่าใช้จ่ายเป็นค่าสมาชิก ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเจียดจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานฯ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		1. RPC ได้จัดการประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เพื่อพิจารณาความเหมาะสมทั้งด้านความพร้อมและมาตรฐานของระบบกฎหมายไทยและได้ให้การรับรองการเข้าเป็นสมาชิกของ RPC ประเภท Participant ของประทศไทย ซึ่งที่ประชุมมีมติรับรองวาระการเสนอให้ OECD มีคำเชิญประเทศไทยให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก RPC โดยไม่มีประเทศสมาชิกประเทศใดได้คัดค้านหรือตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติม
		2. เพื่อให้เป็นไปตามมติที่ประชุม RPC ในข้อ 1 OECD จึงได้มีหนังสือที่ MC/2021.392.pb ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ถึงนายกรัฐมนตรี โดยมีใจความสำคัญเป็นการส่งคำเชิญให้ประเทศไทยพิจารณาตอบรับเข้าร่วมเป็นสมาชิก RPC อย่างเป็นทางการ
		3. กระทรวงการต่างประเทศได้รับหนังสือเชิญดังกล่าวผ่านช่องทางการทูตและได้มีหนังสือที่ กต 0703/1273 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 แจ้งสำนักงานฯ ถึงคำเชิญให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก RPC โดยได้ให้ความเห็นว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิก RPC จะเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยในการพัฒนากฎหมายอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันจะส่งผลเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอีกด้วย
		4. การเข้าร่วมเป็นสมาชิก RPC ของประเทศไทยนั้นจะมีผลเมื่อประเทศไทยส่งหนังสือตอบรับคำเชิญและชำระค่าสมาชิกรายปีสำหรับปี 2564 ที่กำหนดไว้เป็นจำนวน 11,400 ยูโร (ประมาณ 436,392 บาท คำนวณจากอัตราขายถัวเฉลี่ยที่ 38.28 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 10 มกราคม 2565)

24. การเข้าร่วมการประชุม The 4th Asia Ministerial Conference on Tiger Conservation ณ ประเทศมาเลเซีย ผ่านการประชุมทางไกล
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (Draft Kuala Lumpur Joint Statement on Tiger Conservation) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (Draft Kuala Lumpur Joint Statement on Tiger Conservation) ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
		การประชุม The 4th  Asia Ministerial Conference on Tiger Conservation จะมีการพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมกัวลาลัมเปอร์ ฯ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
		1. การรักษาและป้องกัน เสริมสร้างศักยภาพในการลาดตระเวนพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยและนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเสือโคร่ง
		2. สำรวจติดตาม ประเมินผลประชากรเสือโคร่ง เหยื่อ และถิ่นที่อยู่อาศัย ส่งเสริมการฟื้นฟู
ประชากรเสือโคร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Tiger Recovery Action Plan: STRAP)
		3. จัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศที่สำคัญ
		4. ให้ความร่วมมือและแบ่งปันข้อมูล เพื่อลดปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย
โรคติดเชื้อที่มีผลกระทบต่อเสือโคร่งและเหยื่อ ยกระดับความร่วมมือระหว่างพรมแดน และความร่วมมือระดับประเทศเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่ง
		5. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน แลกเปลี่ยนความรู้และการตระหนักต่อส่วนรวมเสริมสร้างพัฒนาขีดความสามารถสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามประเมินผล และใช้ระบบสารสนเทศเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการ
		6. แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับเสือโคร่ง
		7. การประเมินและจัดหาเงินทุนให้เพียงพอสำหรับการอนุรักษ์เสือโคร่ง
		8. ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและวาระการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่ง
		ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย มีความเห็นว่าไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ อีกทั้งร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ไม่เป็นสนธิสัญญา
ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย      พ.ศ. 2560
		โดยการประชุม The 4th Asia Ministerial Conference on Tiger Conservation มีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 ? 21 มกราคม 2565 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผ่านระบบการประชุมทางไกล

25. เรื่อง การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสาร จำนวน 8 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 (2) ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้ง 21 (3) ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - สาธารณรัฐอินเดีย ครั้งที่ 9 (4) ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 1 (5) ร่างขอบเขตหน้าที่สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน (6) ร่างขอบเขตหน้าที่สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - สหพันธรัฐรัสเชีย (7) แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน - สาธารณรัฐอินเดีย ปี ค.ศ. 2021 - 2022 และ (8) แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน - สหพันธรัฐรัสเซีย ปี ค.ศ. 2022 ? 2024 รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างเอกสาร 8 ฉบับดังกล่าว ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
		สาระสำคัญของร่างเอกสารทั้ง 8 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้
		1. ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 มีสาระสำคัญ อาทิ
			1) รัฐมนตรีให้ความสำคัญต่อการเร่งรัดการดำเนินการของแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียน ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ซึ่งสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียนและหน่วยงานย่อยสานต่อความร่วมมือและการทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงองค์กรอาเซียนเฉพาะสาขา ภาคเอกชน คู่เจรจาของอาเซียน และชุมชนเพื่อสนับสนุนให้ภาคการท่องเที่ยว            ฟื้นตัวอย่างทั่วถึงมากขึ้น
			2) รัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญหลักของการเปิดการท่องเที่ยวใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2564
			3) รัฐมนตรีให้การรับรองคู่มือด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยสำหรับบุคลากรและสภาพแวดล้อมในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งครอบคลุม 8 สาขาด้านการท่องเที่บงและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
			4) รัฐมนตรีรับทราบการพัฒนากรอบข้อตกลงระเบียงการเดินทางของอาเซียน (ASEAN Travel Corridor Arrangement Framework: ATCAF)
			5) รัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 7 ยุทธศาสตร์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี พ.ศ. 2558 - 2568 (ASEAN Tourism Strategic Plan: ATSP 2016 - 2025) ฉบับปรับปรุง เพื่อรับรองความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะจุดหมายปลายทางเดียวกันด้านการท่องเที่ยว
			6) รัฐมนตรีส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและภาคเอกชนสร้างเสริมความร่วมมือในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาค เพื่อรับรองความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะจุดหมายปลายทางเดียวกันด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ
		2. ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 21 มีสาระสำคัญ อาทิ
			1) รัฐมนตรีรับทราบผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่มีผลต่อการเดินทางระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนบวกสาม ซึ่งทำให้อัตราการเดินทางลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2564 และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและมุมมองต่อมาตรการในการบรรเทาผลกระทบที่ดำเนินการโดยประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามและหารือถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับภูมิภาคเพื่อการเปิดภาคการท่องเที่ยวใหม่อีกครั้ง
			2) รัฐมนตรีรับทราบถึงการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญที่ได้รวมเข้าไว้กับแผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม ปี พ.ศ. 2564 - 2568 (ASEAN Plus Three Cooperation Work Plan 2021 - 2025) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในประเทศสมาชิกอาเชียนบวกสามเพื่อความพยายามในการฟื้นฟูการท่องเที่ยว ฯลฯ
		3. ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ? สาธารณรัฐอินเดีย ครั้งที่ 9          มีสาระสำคัญ อาทิ
			1) รัฐมนตรียินดีต่อ ปี พ.ศ. 2565 ในฐานะที่เป็น ?ปีแห่งความสัมพันธ์อาเซียน ? สาธารณรัฐอินเดีย? เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 30 ปีของอาเซียน ? สาธารณรัฐอินเดีย				2) รัฐมนตรีสนับสนุนให้สอดประสานการดำเนินงานร่วมกันระหว่างแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียน ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) และแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน - สาธารณรัฐอินเดีย ปี พ.ศ. 2564 - 2565 รวมทั้งรับทราบสถานะล่าสุดของการดำเนินการตามแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน - สาธารณรัฐอินเดีย ปี พ.ศ. 2564 ? 2565 ในมิติสำคัญตามที่ได้หารือในการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน - สาธารณรัฐอินเดีย ในปี พ.ศ. 2565  ฯลฯ
		4. ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ? สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 1            มีสาระสำคัญ อาทิ
			1) รัฐมนตรียินดีต่อการยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน - สหพันธรัฐรัสเซีย ในระดับรัฐมนตรี
			2) รัฐมนตรีแสดงความชื่นชมต่อโครงการที่ครอบคลุม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและความตกลงระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซีย
			3) รัฐมนตรีมีความพยายามร่วมกันในการสร้างความเชื่อมั่นและการส่งเสริมให้อาเซียนและสหพันธรัฐรัสเซียเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและเป็นที่นิยม
			4) รัฐมนตรีรับรองแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ? สหพันธรัฐรัสเซีย ปี พ.ศ. 2565 - 2567 (ASEAN - Russia Federation Tourism Work Plan 2022 - 2024) ซึ่งให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน - สหพันธรัฐรัสเซีย ในอีก 2 ปีข้างหน้า รวมถึงจัดลำดับความสำคัญของการพื้นฟูด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน ? สหพันธรัฐรัสเซีย ฯลฯ
		5. ร่างขอบเขตหน้าที่สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน มีสาระสำคัญเพื่อทบทวนและปรับปรุงความเข้าใจระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียนปี พ.ศ. 2541 ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการหมุนเวียนตำแหน่งของประธานการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนในทุกปี โดยการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนมีวัตถุประสงค์ในการจัดขึ้นเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ รวมถึงยกระดับความร่วมมือในภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางภายในอาเซียน การค้าและการลงทุนอย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ ยั่งยืน ครอบคลุม และฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น
		6. ร่างขอบเขตหน้าที่สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - สหพันธรัฐรัสเซีย               มีสาระสำคัญเพื่อสนับสนุนการยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียน ? สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นระดับรัฐมนตรี โดยการแสวงหาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การลงทุน การส่งเสริมการตลาด การเสริมสร้างขีดความสามารถ ความปลอดภัยและความมั่นคง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนเพื่อประโยชน์ของอาเซียนและสหพันธรัฐรัสเชีย
		7. แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ? สาธารณรัฐอินเดีย ปี ค.ศ. 2021 - 2022 ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลักภายใต้แผนฯ ได้แก่ (1) พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (2) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการท่องเที่ยว (3) ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการท่องเที่ยว (4) การลงทุนด้านการท่องเที่ยว และ (5) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว
		8. แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ? สหพันธรัฐรัสเซีย ปี ค.ศ. 2022 - 2024 ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลักภายใต้แผนฯ ได้แก่ (1) ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (2) สร้างเสริมความเข้มแข็งของโครงการสร้างขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน - สหพันธรัฐรัสเซีย (3) ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการท่องเที่ยว (4) อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยวระหว่างอาเซียนและสหพันธรัฐรัสเซีย และ (5) สนับสนุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุมระหว่างอาเซียนและสหพันธรัฐรัสเซีย
		ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรกัมพูชามีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 19 มกราคม 2565 ณ จังหวัดพระสีหนุ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในรูปแบบการประชุมแบบผสมผสาน (Hybrid platform)


26. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ครั้งที่ 1/2565
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ครั้งที่ 1/2565 สรุปได้ ดังนี้
		สาระสำคัญ
		คณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ได้มีการประชุม                  ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานกรรมการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม สรุปผลการประชุม ดังนี้
		1. รับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2565 สั่ง ณ วันที่ 4 มกราคม 2565 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน
		2. รับทราบความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย
		3. รับทราบผลการประชุมไตรภาคีเพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีสาระสำคัญในการเห็นชอบร่วมกันในการลงทุนร่วมกันในสะพานแห่งใหม่ระหว่างไทยและลาว รวมถึงเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคและด้านธุรกิจเพื่อร่วมหารือกันต่อไป
		4. รับทราบสถานะการค้าและการขนส่ง ภายหลังรถไฟลาว-จีน เปิดให้บริการ เปรียบเทียบสถิติการส่งออกสินค้าผ่านชายแดนหนองคายในช่วงเดือนธันวาคมปี 2563 กับช่วงเดือนธันวาคม 2564 (ช่วงที่มีการเปิดการให้บริการรถไฟลาว - จีน) พบว่ามีปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 116,552 ตัน เป็น 304,119 ตัน ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4.64 พันล้านบาท เป็น 6.91 พันล้านบาท มูลค่านำเข้าส่งออกที่ด่านหนองคายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากมีรถไฟลาว - จีนเกิดขึ้น ปัจจุบันมีการเพิ่มรถไฟเป็นจาก 4 ขบวนต่อวันเป็น 14 ขบวนต่อวัน และจากการขนส่งขบวนละ 12 แคร่ เป็น 25 แคร่ ซึ่งจะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นประมาณ 8 เท่า แต่ยังมีปริมาณการขนส่งทางรถไฟไม่มากนักเนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19
		5. เห็นชอบแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน อาทิ
			1) แผนการก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย
			2) การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพาน ได้แก่ การบริหารจัดการสะพานเดิม ระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่
			3) การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้า
				พื้นที่ด่านศุลกากรหนองคายคาดว่ามีความสามารถในการรองรับรถบรรทุกสูงสุด 650 คันต่อวัน ทั้งนี้ แนวทางพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าของฝั่งไทย - ลาว เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รองต่อในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
				(1) ระยะเร่งด่วน :   การพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า
				(2) ระยะยาว : การพัฒนาพื้นที่นาทาเพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า (เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต)
		6. ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการการกำกับติดตามเพื่อขับเคลื่อนดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
			1) กรมทางหลวง
				กรมทางหลวงอยู่ระหว่างดำเนินการพื้นที่สำหรับการตรวจปล่อยสินค้าขาออกบริเวณหนองสองห้อง โดยระยะเร่งด่วนจะดำเนินการปี 2565 วงเงินงบประมาณ 10 ล้านบาท และขอรับงบประมาณในปี 2566 จากพื้นที่ที่ดินสงวนฯ เดิม 87 ไร่ เหลือพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้ประมาณ 80 ไร่ วงเงินงบประมาณ 280 ล้านบาท รองรับรถบรรทุกได้ประมาณ 201 คัน พร้อมห้องน้ำ และจุดพักคอย รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปได้ 82 คัน ที่จอดรถสำหรับคนพิการ 6 คัน
			2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
				กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการระยะสั้น โดยการครอบคลุมเรื่องการลงนามพิธีสารฯ ระหว่างไทย - จีน และการอบรมพัฒนาบุคลากร เตรียมความพร้อมในพื้นที่ด่าน ระยะกลางโดยการครอบคลุมการเตรียมความพร้อมที่ด่านและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการกักกันและตรวจปล่อยสินค้าเกษตรขาเข้า - ออก รวมถึงแผนการเพิ่มบุคลากรประจำด่าน และการพัฒนาระบบเชื่อมโยงด้าน IT และการออกใบรับรองสุขอนามัยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และในระยะยาวอยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการ
			3) กรมศุลกากร
				โครงการระบบตรวจสอบ Mobile X-Ray ภายในวงเงินไม่เกิน 130 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ ครั้งที่ 1/2564 มีมติให้               กรมศุลกากรจัดเตรียมความพร้อมในด้านกระบวนการและพิธีศุลกากร ซึ่งด่านศุลกากรหนองคายขอรับการสนับสนุนระบบตรวจสอบตู้สินค้าด้วยเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ได้จำนวน 1 คัน รุ่น MT1213DE โดยสามารถใช้ได้ทั้ง Standard Mode ที่มีขีดความสามารถ 20-25 คัน/ตู้ ต่อชั่วโมง และ Drive-through Mode มีขีดความสามารถที่ 150 คัน/ตู้ ต่อชั่วโมง
			4) กระทรวงการต่างประเทศ
				กระทรวงการต่างประเทศรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในฝั่งลาวเพื่อแลกเปลี่ยนและบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ใช้ประกอบการวางยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการส่งออกของไทย และอำนวยความสะดวกให้ฝ่ายไทย สามารถใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงในภูมิภาคได้เต็มประสิทธิภาพ และหยิบยกในการหารือระดับสูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของลาวและจีน เพื่อติดตามความคืบหน้าและผลักดันการเชื่อมต่อรถไฟลาว - จีน กับระบบรางของไทย เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ประกอบการ และส่งเสริมการส่งออกของไทยผ่านทางรถไฟต่อไป
			5) กระทรวงอุตสาหกรรม
				กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างดำเนินการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี โดยมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีมาตรฐาน และศูนย์กระจายสินค้าทางรางเพื่อรองรับรถไฟจากลาวและจีน ซึ่งประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วย อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง และศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น
		7. เห็นชอบในหลักการการจัดทำกรอบความตกลง (Framework Agreement) การขนส่งทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีสาระสำคัญการกำหนดสิทธิการเดินรถไฟระหว่างสามประเทศเพื่อให้เกิดการเดินรถไฟอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่งตั้ง

27. เรื่อง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2565 เรื่อง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
		อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และข้อ 4 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้แทนการค้าไทย พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้แทนการค้าไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 จึงมีคำสั่งแต่งตั้ง หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
 		1. นางสาวนุสรา กาญจนกูล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
 		2. นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
 		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป



29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอแต่งตั้งนายสราวุธ                    ชีวะประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ดังนี้
 		1. นายพชร อนันตศิลป์ 	 	ประธานกรรมการ
 		2. นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ 	กรรมการ
 		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งตนแทน

31. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นางบุษกร ปราบณศักดิ์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังรายชื่อต่อไปนี้
 		1. นายชัยชนะ มิตรพันธ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 		2. นายอุดมเกียรติ บุญวรเศรษฐ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 		3. นายพีรเดช ณ น่าน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 		4. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์
 		5. นางสาวภัทรา โชติวิทยะกุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารธุรกิจ
		6. นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
	 	ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มกราคม 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ