สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มกราคม 2565

ข่าวการเมือง Monday January 24, 2022 16:28 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (24 มกราคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ผ่านระบบ Video Conference) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.          เรื่อง          ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนด
                                        ให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.                                         (การกำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้)

                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริต

ต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. ?.

                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย

ราชภัฏพระนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.

                    4.           เรื่อง           ร่างกฎหมายการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน                                         เงินอุดหนุน และประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการภาครัฐอันเนื่องมาจากการ                                                  บรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า                                         พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วย                                                  สิทธิบัตร พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ

เศรษฐกิจ สังคม

                    6.           เรื่อง           ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2565 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการ                                        จากรัฐบาล)
                    7.           เรื่อง           การขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560                                         - 2564)
                    8.           เรื่อง           การปรับปรุงชื่อสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในต่างประเทศ
                    9.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 2/2565

                    10.          เรื่อง          การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

พ.ศ. 2542

                    11.          เรื่อง          ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                             รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                    12.          เรื่อง          ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 3/2565

                    13.          เรื่อง          ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้

ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565

ต่างประเทศ

                    14.           เรื่อง           ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอด

ที่เกี่ยวข้อง

                    15.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิ                                        มนุษยชนแห่งชาติตามรายงานคู่ขนานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของ                                        ประเทศไทย ตามกระบวนการ Universal Periodic Review รอบที่ 3
                    16.            เรื่อง           การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้กับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

                    17.            เรื่อง           การจัดทำและลงนามเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 (Addendum No. 1) ของสัญญา                                        การให้ (Grant Contract) ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปของกิจกรรมเสริมสร้าง                                        ขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการอาเซียนภายใต้โครงการ ARISE Plus
                    18.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์                                                             (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and                                                   Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 14 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers?                                         Conference ครั้งที่ 14

แต่งตั้ง

                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                    20.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงแรงงาน)
                    21.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน                                                  ภาคใต้เพิ่มเติม
                    22.           เรื่อง           แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาค                                                  ทางการศึกษา
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง

ในกระทรวงวัฒนธรรม

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396












กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (การกำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                     1. ปัจจุบันผู้ประกอบการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 585) พ.ศ. 2558 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 และไม่มีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องการขอจดภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ในขณะที่ผู้ประกอบการขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของกระดาษ ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน มีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามบทบัญญัติในมาตรา 81/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
                     2. ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการเสียภาษีระหว่างผู้ประกอบการขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของกระดาษ และผู้ประกอบการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กค. พิจารณาแล้วเห็นสมควรกำหนดเพิ่มเติมให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เพื่อให้เหมือนกับกิจการขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของกระดาษ
                     3. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยเห็นว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ เนื่องจากเป็นการกำหนดให้ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่ใช่การลดอัตราภาษีหรือยกเว้นภาษี จึงไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐแต่อย่างใด แต่อาจจะทำให้รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่สามารถประมาณการรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขอจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นกับความสมัครใจของผู้ประกอบการ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     กำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต มีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อขอจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริต               ต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. ?. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นกระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ               ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน                    และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ เป็นการกำหนดกลไกการคุ้มครองประชาชนที่ถูกฟ้องคดีปิดปากอันเนื่องจากการแสดงความคิดเห็น การให้ถ้อยคำ การแจ้งเบาะแสหรือข้อมูล หรือการจัดทำคำร้องหรือคำกล่าวหา เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐหรือบุคคลใดอันเป็นการสอบสวน การตรวจสอบ หรือการไต่สวนในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ เพื่อให้เกิดการบังคับใช้อย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ฉบับปรับปรุง) กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 ?การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและพัฒนาระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ? ซึ่งมีเป้าหมายของกิจกรรมปฏิรูปคือการมีกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปาก อันจะทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ                เกิดประโยชน์ทั้งแก่ประเทศ สังคม และประชาชน
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. กำหนดบทนิยาม ?การฟ้องคดีปิดปาก? หมายความว่า การนำกระบวนการยุติธรรมด้วยวิธีการเสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเป็นทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางปกครอง รวมถึงคดีที่เกี่ยวข้องกับคดีเดิมที่ได้มีการเสนอข้อหาต่อศาลไว้ก่อนแล้ว ซึ่งกระทำในลักษณะของการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้ง หรือเอาเปรียบบุคคลใด หรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ มาใช้เป็นเครื่องมือ โดยมีวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายเพื่อข่มขู่ ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น หรือเอาผิดกับบุคคลใดอันเนื่องมาจากบุคคลนั้นได้แสดงความคิดเห็น ให้ถ้อยคำ แจ้งเบาะแสหรือข้อมูล การจัดทำคำร้องหรือคำกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบ หรือเพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกป้องประโยชน์สาธารณะโดยสุจริต และให้หมายความรวมถึงการเริ่มต้นคดีโดยการร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนตามกฎหมาย และการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินคดีปกครองกับผู้                   ถูกฟ้องดคีด้วย
                     2. กำหนดให้การดำเนินคดีหรือการฟ้องคดี ในลักษณะดังต่อไปนี้เป็นการฟ้องคดีปิดปาก
                               2.1 การดำเนินคดีหรือการฟ้องคดีซึ่งมีสาเหตุอันเนื่องมาจากกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้แสดงความคิดเห็น ให้ถ้อยคำ แจ้งเบาะแสหรือข้อมูล จัดทำคำร้องหรือคำกล่าวหาเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ หรือเพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกป้องประโยชน์สาธารณะโดยสุจริต และ
                               2.2 การดำเนินคดีหรือการฟ้องคดีอันมีลักษณะของการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้ง หรือเอาเปรียบผู้ถูกดำเนินคดี หรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโชน์ที่พึงได้โดยชอบ หรือเพื่อใช้ในการข่มขู่ ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น การต่อรองหรือยุติการดำเนินคดี
                    3. กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินคดีอาญาในการฟ้องคดีปิดปาก โดยกำหนดให้ในกรณีที่ความปรากฏต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าการดำเนินคดีหรือการฟ้องคดี อาจเข้าข่ายเป็นลักษณะของการฟ้องคดีปิดปากตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมีอำนาจตรวจสอบ สอบสวน หรือทำความเห็นในคดี
                     4. กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการทางวินัย ทางปกครอง หรือทางแพ่ง เกี่ยวกับการฟ้อง               คดีปิดปาก ดังนี้
                               4.1 ในกรณีที่ความปรากฏต่อเจ้าหน้าที่หากมีการดำเนินการทางวินัย หรือทางปกครองเกี่ยวกับการฟ้องคดีปิดปาก หรือผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าการดำเนินการทางวินัย หรือทางปกครอง อาจเข้าข่ายเป็นลักษณะของการฟ้องคดีปิดปาก ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีอำนาจตรวจสอบ สอบสวน หรือไต่สวนข้อเท็จจริง                  เพื่อดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจจัดทำคำสั่งทางปกครองพิจารณาว่าการดำเนินการทางวินัยหรือทางปกครองนั้นเป็นหรือไม่เป็นการฟ้องคดีปิดปาก
                                        ในการพิจารณาทำความเห็นที่เป็นเหตุของการฟ้องคดีปิดปาก ในคดีปกครอง            ในชั้นจัดทำความเห็นของเจ้าหน้าที่ว่าเป็นหรือไม่เป็นการฟ้องคดีปิดปาก ให้ผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีมีสิทธิอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งหรือความเห็นของเจ้าหน้าที่นั้นไปยังผู้มีอำนาจ พิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นได้
                              4.2 ในกรณีที่มีการฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีในทางแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เป็นคดีละเมิดหรือคดีอื่นที่เกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีอันเนื่องมาจากการฟ้องคดีปิดปาก เพื่อขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน หรือขอให้ยุติการกระทำบางอย่างของผู้ถูกฟ้องคดี ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น พิจารณาในเบื้องต้นก่อนว่าคดีดังกล่าวเป็นหรือไม่เป็นการฟ้องคดีปิดปาก และหากศาลเห็นว่าเป็นการฟ้องคดีปิดปาก ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง ยกฟ้อง หรือมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร
                     5. กำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้ถูกฟ้องคดีและการพิจารณาคดีของศาลในการฟ้องคดีปิดปาก โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจเรียกคู่ความหรือเรียกให้หน่วยงานหรือบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ความเห็น หรือดำเนินการอื่นใด เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณคดี รวมทั้งมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. พนักงานสอบสวน หรือหน่วยงานหรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้องตรวจสอบหรือรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม โดยศาลมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อให้ความคุ้มครองผู้ถูกฟ้องคดีได้ตามที่ศาลเห็นสมควร และในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้รับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา ศาลอาจใช้ดุลพินิจในการสั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ถูกฟ้องคดีโดยไม่มีประกัน หรือหลักประกันก็ได้
                     6. กำหนดให้ในการดำเนินคดีหรือการฟ้องคดีปิดปาก ให้เจ้าหน้าที่นำความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. พนักงานสอบสวน และผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน แล้วแต่กรณี มาประกอบการพิจารณาตามหน้าที่และอำนาจของตน ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษกับคู่กรณี และให้ถือว่าความเห็นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                     7. กำหนดให้บุคคลที่ถูกฟ้องคดีปิดปากอาจยื่นคำขอรับการช่วยเหลือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ โดยในการขอรับความช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
                     8. กำหนดให้ในระหว่างการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลผู้ถูกฟ้องคดีปิดปาก หากบุคคลดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยไม่มีเหตุอันสมควร                 หรือพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากไม่สมควรได้รับความคุ้มครองช่วยเหลืออีกต่อไป คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจพิจารณายุติหรือระงับการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ หรือยกเลิกมาตรการในการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวก็ได้
                    9. กำหนดบทกำหนดโทษ
                               9.1 กำหนดให้ในกรณีที่มีการฟ้องคดีปิดปากตามพระราชบัญญัตินี้ โดยที่ผู้ฟ้องคดีมีสถานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต               และเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางวินัยหรือเป็นเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับเจ้าพนักงานของรัฐนั้น
                                         ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุว่าการฟ้องคดีมีลักษณะเป็นการฟ้องคดีปิดปาก และผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ให้ถือว่าการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐนั้นเป็นความผิดทางวินัยหรือเป็นเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตำแหน่งด้วย
                               9.2 กำหนดให้ผู้ใดกระทำการโดยไม่สุจริตได้ยื่นฟ้องคดีปิดปากในลักษณะเพื่อกลั่นแกล้งบุคคลให้ต้องรับโทษทางอาญา หรือได้นำความอันเป็นเท็จยื่นฟ้องต่อศาลเป็นคดีอาญา หรือเข้าลักษณะเป็นการฟ้องคดีเพื่อต่อรองหรือข่มขู่โดยมุ่งหวังให้การสอบสวน การตรวจสอบ หรือการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือตามกฎหมายอื่น ต้องยุติลง ให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานขัดขวางกระบวนยุติธรรมตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเจ้าพนักงานของรัฐเป็นผู้กระทำการ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้
                    10. กำหนดให้บรรดาคดีที่เกี่ยวกับการฟ้องคดีปิดปากที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ และอยู่ระหว่างดำเนินคดีหรือคดียังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                      เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (ฉบับที่ ..)                พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา             ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งกำหนดปริญญาเพิ่มเติมระดับชั้นปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยี และกำหนดเพิ่มเติมชื่อปริญญาในสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ รวมทั้งกำหนดอักษรย่อและสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ซึ่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

4. เรื่อง ร่างกฎหมายการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน           และประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการภาครัฐอันเนื่องมาจากการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร            ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ ที่ กค. เสนอ เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน และประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการ           ของภาครัฐ อันเนื่องมาจากการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเป็นการลดภาระภาษีและช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส          โคโรนา 2019 และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
                    สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
                    1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากโครงการของภาครัฐ ได้แก่
                               (1) เงินเยียวยาที่ได้รับตามโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ตามมาตรา 33            แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
                              (2) เงินอุดหนุนที่ได้รับตามโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (รง.) โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องไม่นำรายจ่ายที่จ่ายจากเงินอุดหนุนตามโครงการดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้มีการรับเงินตามโครงการทั้ง 2 โครงการดังกล่าว
                    2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับเป็นเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน            เงินอุดหนุน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการของภาครัฐเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
                               (1) เงินได้ที่ได้รับเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว และค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินตามโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
                              (2) เงินได้ที่อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้รับเป็นค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์จากผู้ประกอบการนำเที่ยวตามโครงการกำลังใจ
                                 (3) เงินได้ที่ได้รับเป็นค่าเดินทางและค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์จากผู้ประกอบการนำเที่ยว          ในลักษณะร่วมจ่าย (Co-pay) ตามโครงการทัวร์เที่ยวไทย
                              (4) เงินได้ที่ได้รับสำหรับค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าและค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ตามโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3
                              (5) เงินได้ที่ได้รับสำหรับค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าและค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เฉพาะผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษตามโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
                              (6) เงินได้ที่ได้รับเป็นค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม และค่าซื้อสินค้าอื่น ที่ได้ใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐตามโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3
                              (7) เงินได้ที่ได้รับในรูปของ e-Voucher เป็นค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าสินค้าหรือบริการตามโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
                              (8) เงินได้ที่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐและไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้รับเป็นค่าครองชีพตามโครงการเราชนะ
                              (9) เงินได้ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้รับตามโครงการ ม33 เรารักกัน
                              (10) เงินได้ที่ได้รับตามโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33            ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
                              (11) เงินได้ที่ได้รับเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาตามโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงศึกษาธิการ
                               (12) เงินได้ที่ได้รับตามโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs             ของกรมการจัดหางาน รง. ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องไม่นำค่าใช้จ่ายที่จ่ายจากเงินได้ที่ได้รับตามโครงการดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2564

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. ?.             รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ พณ. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ที่ พณ. เสนอ เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมการต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม ซึ่งเจ้าของเครื่องหมายดังกล่าวต้องชำระเพิ่มในกรณีที่ไม่ได้ต่ออายุการจดทะเบียนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละสามสิบของค่าธรรมเนียมรายปีซึ่งเรียกเก็บจากผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรซึ่งไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมรายปีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยกำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อเป็นการลดภาระให้กับเจ้าของเครื่องหมายการค้าและผู้ทรงสิทธิบัตรและบรรเทาความเดือดร้อนและผลกระทบทางเศรษฐกิจด้วย รวมทั้งเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น                        แก่ประชาชนจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 สิงหาคม 2564

                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ?. เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมการต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม ซึ่งเจ้าของเครื่องหมายดังกล่าวต้องชำระเพิ่มในกรณี             ที่ไม่ได้ต่ออายุการจดทะเบียนภายในกำหนดเวลาสิ้นอายุตามมาตรา 54 วรรคสอง มาตรา 80 มาตรา 81 และมาตรา 94 ประกอบด้วยมาตรา 54 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
                     2. ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. ?. เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละสามสิบของค่าธรรมเนียมรายปีซึ่งเรียกเก็บจากผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรซึ่งไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมรายปีตามมาตรา 43 วรรคสาม มาตรา 65 และมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วย มาตรา 43 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
ทั้งนี้ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่ม (ค่าปรับ) ตามร่างกฎกระทรวง ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ             ในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 และร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับดังกล่าวไม่มีผลเป็นการขยายระยะเวลาการยื่นคำขอต่ออายุ และการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุ เจ้าของเครื่องหมายการค้าและผู้ทรงสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรยังคงต้องยื่นคำขอต่ออายุและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้          ในกฎหมาย

เศรษฐกิจ สังคม

6. เรื่อง ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2565 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) เสนอผลการสำรวจความต้องการของประชาน พ.ศ. 2565 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (17 มิถุนายน 2545) ที่ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลัก ๆ ของรัฐบาล แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ] โดยเป็นการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ครัวเรือนละ 1 ราย จำนวน 6,970 ราย ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน 2564 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
                    1. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ในปี 2565 มากที่สุด คือ การแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง เช่น ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา น้ำมันเชื้อเพลิง และขนส่งมวลชน (ร้อยละ 84.5) รองลงมาคือ การจ่ายเงินเยียวยาและชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ร้อยละ 45.8) และการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น แจกชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยตนเอง หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ อาหาร และยารักษาโรค (ร้อยละ 34.6) ตามลำดับ โดยทุกกลุ่มอาชีพและทุกช่วงวัยต้องการให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพสูงมากที่สุด ยกเว้นเกษตรกร            ที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาด้านการเกษตร เช่น ราคาพืชผลตกต่ำ และจัดหาตลาดรองรับผลผลิต
                    2. ความวิตกกังวลต่อการเปิดประเทศไทยเพื่อรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในประเทศ มีประชาชนที่มีความวิตกกังวลต่อการเปิดประเทศฯ (ร้อยละ 77) โดยให้เหตุผลว่าการเปิดประเทศฯ อาจเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่จากนักท่องเที่ยว และอาจเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ๆ ในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่มีประชาชนที่ไม่มีความวิตกกังวลต่อการเปิดประเทศฯ (ร้อยละ 23) โดยให้เหตุผลว่า มีมาตรการกักตัวอย่างเข้มงวด และมีการควบคุม ดูแลตนเองตลอดเวลา เช่น ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ โดยกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา และประชาชนกลุ่มอายุ 18-19 ปี มีความวิตกกังวลต่อการเปิดประเทศฯ มากที่สุด
                    3. ความคิดเห็นต่อนโยบายให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยการปรับตัวและป้องกันตนเองอย่างเข้มข้น เช่น การสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง เป็นต้น ซึ่งมีประชาชนเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว (ร้อยละ 63) โดยให้เหตุผลว่าคนจะมีรายได้/มีงานทำ และเศรษฐกิจดีขึ้น ขณะที่ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว (ร้อยละ 37) โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่เพิ่มขึ้น
                    4. ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 29.9 มีความพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 42.2 มีความพึงพอใจในระดับน้อย-น้อยที่สุด ร้อยละ 21.8 และมีความไม่พึงพอใจ ร้อยละ 6.1
                    5. การรู้จัก/ทราบช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ เช่น สายด่วน 1212 สายด่วนตำรวจไซเบอร์ (โทร 1441) และเว็บไซต์ www.1212occ.com โดยประชาชนรู้จัก/ทราบช่องทางดังกล่าว (ร้อยละ 25) และประชาชนไม่รู้จัก/ไม่ทราบ (ร้อยละ 75) นอกจากนี้ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และพ่อบ้าน/แม่บ้าน (อยู่บ้านเฉย ๆ) รู้จัก/ทราบช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ บนโลกออนไลน์น้อยกว่าร้อยละ 10
                    6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำนักงานสถิติแห่งชาติมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
                              6.1 ควรให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเร่งด่วนตามความต้องการในแต่ละกลุ่มผ่านนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน เช่น การขยายเวลาลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา การจ่ายเงินชดเชยเยียวยา และปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
                              6.2 ควรมีการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม และสร้างความตระหนักให้ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การใช้ชีวิตวิถีใหม่แบบ New Normal            และการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง
                              6.3 ควรมีมาตรการอย่างเข้มข้นในการเปิดประเทศ เช่น มีการกักตัวตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 ด้วยวิธี Real-time PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction: RT-PCR) และการจัดสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
                              6.4 ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมถึงช่องทางในการร้องเรียน/ร้องทุกข์เรื่องการถูกหลอกลวง เช่น สายด่วน 1212 และสายด่วนตำรวจ              ไซเบอร์ (โทร 1441) โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ควรให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยออนไลน์มากที่สุด
                              6.5 ควรเร่งแก้ไขฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างอาชีพให้กับประชาชน เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ จัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และเร่งรัดการใช้จ่าย/การลงทุนในหน่วยงานภาครัฐ

7. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 - 2564)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบดังนี้
                      1. เห็นชอบการขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 ? 2564) (แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6) ออกไปอีก 1 ปี โดยให้ยังคงใช้ได้ต่อจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ตามที่คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ (คกช.) เสนอ
                     2. ให้ คกช. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)                   ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป รวมทั้งให้ คกช. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำแนวทางของสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติ มาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6 ด้วย เพื่อให้การพัฒนากีฬามวลชนในประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณในการดำเนินงาน รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และความร่วมมือจากเครือข่ายของสมาชิกสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติมาปรับใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6 ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คกช. รายงานว่า
                    1. คกช. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ดังนี้
                              1.1 เห็นชอบ การขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6 ออกไปอีก            1 ปี โดยยังบังคับใช้ได้ต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565
                              1.2 เห็นชอบหลักการ (ร่าง) แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2566 - 2570) [(ร่าง) แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 7] โดยให้เสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็น และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    2. แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 ? 2564)
                    วิสัยทัศน์
                    การกีฬาเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตประชาชนทุกภาคส่วน และเป็นกลไกสำคัญในการสร้างคุณค่าทางสังคมและส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ
                    เป้าประสงค์
                    (1) ประชากรทุกภาคส่วนมีความสนใจในการออกกำลังกายและเล่นกีฬา
                    (2) นักกีฬาผู้แทนของไทยประสบความสำเร็จในการแข่งกีฬาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับทวีป และระดับโลก เพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีและนำมาซึ่งความภูมิใจแก่คนในชาติ
                    (3) อุตสาหกรรมกีฬาของไทยสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
                    ตัวชี้วัด
                    (1) ประชากรทุกภาคส่วนออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งประเทศ
                    (2) อันดับการแข่งขันการกีฬาในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ ไม่ต่ำกว่า
                              2.1) นักกีฬาไทย
                              - อันดับที่ 7 ของเอเชียในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์
                              - อันดับที่ 6 กีฬาเอเชียนเกมส์
                              - อันดับที่ 1 กีฬาซีเกมส์
                              2.2) นักกีฬาคนพิการไทย
                              - อันดับที่ 6 ของเอเชียในการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์
                              - อันดับที่ 6 กีฬาเอเชียนพาราเกมส์
                              - อันดับที่ 1 กีฬาอาเซียนพาราเกมส์
                    (3) มูลค่าอุตสาหกรรมการกีฬามีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
                     ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมให้เกิดความรู้และความตระหนักด้านการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐาน
                    (1) การเร่งสร้างและพัฒนาพลศึกษาและสุขศึกษาในสถานศึกษาทั่วประเทศ
                    (2) การส่งเสริมการพัฒนาการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐานในชุมชนท้องถิ่นนอกสถานศึกษา
                    (3) การจัดวางระบบโครงข่ายและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและชุมชน
                    ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมให้มีมวลชนออกกำลังกายและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการกีฬา
                    (1) การจัดหาและพัฒนาสถานที่และอุปกรณ์ที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของมวลชน
                    (2) การเสริมสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาสำหรับประชากรทุกกลุ่ม
                    (3) การส่งเสริมการพัฒนาอาสาสมัครและบุคลากรการกีฬาเพื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ
                    ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและต่อยอดเพื่อความสำเร็จในระดับอาชีพ
                    (1) การเลือกสรรและพัฒนานักกีฬาที่มีความสามารถทางการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
                    (2) การพัฒนาบุคลากรการกีฬาอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานสากล เพื่อการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและการอาชีพอย่างยั่งยืน
                    (3) การสร้างและพัฒนาศูนย์บริการการกีฬาและศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติที่เป็นมาตรฐาน
                    (4) การส่งเสริมและจัดเตรียมการดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพของนักกีฬาและบุคลากรการกีฬา
                    (5) การส่งเสริมและพัฒนากีฬาเพื่อการอาชีพอย่างเป็นระบบ
                    ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
                    (1) การส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการกีฬา
                    (2) การพัฒนาการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ (Sport Tourism)
                    ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
                    (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาทั้งในระดับส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น
                    (2) การพัฒนาและการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการกีฬา
                    (3) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการกีฬา เพื่อนำไปพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาและสุขภาพของประชาชน
                    ยุทธศาสตร์ที่ 6 การยกระดับการบริหารจัดการด้านการกีฬาให้มีประสิทธิภาพ
                    (1) การสร้างความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกีฬา
                    (2) การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการออกกำลังกายและการกีฬาตั้งแต่ระดับชาติ ภูมิภาค และท้องถิ่น เพื่อการติดตามและประเมินผล
                    (3) การยกระดับการบริหารจัดการกีฬาบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล
                    3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6 มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนงานภายใต้แผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 อันได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)    (2) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (3) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ อันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด 19 พ.ศ. 2564 - 2565 (4) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และ (5) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2565 ในหลายมิติ โดยยกตัวอย่างได้ ดังนี้
แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6          ความสอดคล้องกับแผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่
     1) การส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการกีฬา
     2) การพัฒนาการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ (Sport Tourism)          ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ประเด็นที่ 4.7 การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและการพัฒนาประเทศ
? การส่งเสริมการกีฬาเพื่อพัฒนาสู่ระดับอาชีพ
? การพัฒนาบุคลากรด้านการกีฬาและนันทนาการเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมกีฬา
          แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การส่งเสริมประชาชนเป็นศูนย์กลางในการสร้างวิถีชีวิตทางการเมืองและการออกกำลังกายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และการสร้างโอกาสทางการกีฬาและการพัฒนานักกีฬาอาชีพ อาทิ
? ส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชนเมืองและท้องถิ่นในพื้นที่นำร่องในเมืองและ 37 จังหวัดนำร่องที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเมืองกีฬา (Sports City)
ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6  เพื่อให้การดำเนินงานของแผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6 ในปี 2565 เกิดความต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด 19 พ.ศ. 2564 - 2565 ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 28 ได้บัญญัติให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยังคงใช้ได้ต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 อันจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนการพัฒนาแผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6 สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม            อีกทั้ง (ร่าง) แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 7 อยู่ระหว่างการเสนอตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องและจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2566 ดังนั้น จึงให้ขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาฯ ฉบับที่ 6 ออกไปอีก 1 ปี โดยให้ยังคงใช้ได้ต่อจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565

8. เรื่อง การปรับปรุงชื่อสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในต่างประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงชื่อหน่วยงาน จากเดิม สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็น สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ อว. รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการให้มีที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่ปรึกษาฯ ประจำสถานเอกอัครราชทูตทั้ง 3 แห่ง (ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม และกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) นั้น อว. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยมีการจัดตั้งสำนักงานที่ปรึกษาฯ จำนวน 2 แห่ง คือ สำนักงานที่ปรึกษาฯ ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม สำหรับประเทศญี่ปุ่นได้จัดให้มีที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นสำนักงานที่ปรึกษาฯ
                    2. สำนักงานที่ปรึกษาฯ ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ดำเนินงานภายใต้กรอบบทบาทและหน้าที่ของ วท. ด้านการพัฒนานโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การสร้างความร่วมมือวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ วท.                   ในต่างประเทศในด้านต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้ 1) ติดต่อประสานงานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในเขตอาณาที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนานโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งสร้างความร่วมมือวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนบุคลากร องค์ความรู้ ข้อมูล การฝึกอบรมและศึกษาดูงาน 2) ทำงานร่วมกับทีมประเทศไทยของเขตอาณาที่รับผิดชอบและหน่วยงานในต่างประเทศของส่วนราชการอื่น และร่วมเป็นคณะผู้แทนไทยในการประชุมระหว่างประเทศ เพื่อเจรจาความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนที่มีเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง 3) ติดตามความเคลื่อนไหว ศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กฏระเบียบและมาตรการทางการค้า และการผลิตของประเทศในเขตอาณาที่รับผิดชอบ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการส่งออกของอุตสาหกรรมไทย เพื่อเป็นการเตือนภัยล่วงหน้าและร่วมคณะเจรจาฝ่ายไทยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 4) ศึกษาวิเคราะห์ ติดตาม และรายงานความคืบหน้าข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศต่าง ๆ ในเขตอาณา       ที่รับผิดชอบเพื่อใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานใน วท.
                    3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 มาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 13 บัญญัติให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของ วท. ไปเป็นของ อว. ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ ส่งผลให้สำนักงานที่ปรึกษาฯ ต้องมีการปรับหน้าที่ให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามบทบาทหน้าที่ของ อว. ตลอดจนการปรับปรุงชื่อสำนักงานที่ปรึกษาฯ ให้มีความสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นของ อว. ต่อไป เช่น ภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในต่างประเทศ เป็นต้น
                    อว. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงชื่อหน่วยงานในต่างประเทศ ดังกล่าว

9. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 ดังนี้
                    1. อนุมัติให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน (โครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    2. อนุมัติให้กรมการข้าว กษ. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว (โครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เนื่องจากได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) และภัยธรรมชาติ ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    3. อนุมัติให้กรมปศุสัตว์ กษ. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ (โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อฯ โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 เนื่องจากจำเป็นต้องซื้อวัสดุการเกษตร (ตัวอ่อนแช่แข็ง) จากต่างประเทศ ซึ่งมีขั้นตอนในเชิงเทคนิคที่ต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตตัวอ่อนสำหรับการนำเข้าและได้รับผลกระทบของโรคโควิด 19 ทำให้เป็นอุปสรรคในการขนส่งและส่งมอบตัวอ่อนแช่แข็งตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    4. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1 ? 3 เร่งรัดดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้ รวมถึงเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดของโครงการโดยเร็ว และรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติ คกง. ไปประกอบการดำเนินงานโดยเคร่งครัดต่อไป
                    5. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ให้เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้อย่างเคร่งครัด

10. เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดสินค้าควบคุมปี 2565 จำนวน 5 รายการ ได้แก่ 1. หน้ากากอนามัย 2. ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย 3. ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ 4. เศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ 5. ไก่ เนื้อไก่ ตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันพุธที่ 19 มกราคม 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    พณ. เสนอว่า
                    ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม จะสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565  ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องออกประกาศใหม่ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน และนำลงประกาศราชกิจจานุเบกษาก่อนวันสิ้นสุดผลการบังคับใช้ รวมทั้งกำหนดมาตรการกำกับดูแลสินค้าควบคุมให้มีกำหนดระยะเวลาต่อเนื่องในการบังคับใช้ จึงเห็นควรกำหนดสินค้าควบคุม โดยมีรายละเอียดดังนี้
                    1. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การกำกับดูแล ติดตาม ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมีปริมาณเพียงพอ และมีราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จึงเห็นควรกำหนดสินค้าควบคุม จำนวน 3 รายการ คือ 1) หน้ากากอนามัย 2) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย และ 3) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ
                    2. เนื่องจากผู้ประกอบการจากประเทศจีนย้ายฐานการผลิตมาในประเทศไทย และกลุ่มอาเซียน เพื่อผลิตเยื่อรีไซเคิลส่งออกไปต่างประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเศษกระดาษหมุนเวียนในประเทศขาดแคลน ซึ่งส่งผลต่อราคาเศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก เพื่อกำกับดูแลให้มีปริมาณ และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม             จึงเห็นควรกำหนดเศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นสินค้าควบคุม
                    3. จากราคาไก่มีการปรับสูงขึ้น เพื่อให้การกำกับดูแล ติดตาม ปริมาณไก่ เนื้อไก่ ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อการบริโภคของประชาชนมีอย่างเพียงพอ และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรม จึงเห็นควรกำหนดไก่ เนื้อไก่เป็นสินค้าควบคุม
                    ทั้งนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันพุธที่ 19 มกราคม 2565 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบกำหนดสินค้าควบคุม จำนวน 5 รายการ ได้แก่ 1) หน้ากากอนามัย 2) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย 3) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ 4) เศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ 5) ไก่ เนื้อไก่ เพื่อกำหนดมาตรการกำกับดูแลให้สินค้ามีปริมาณเพียงพอ และราคาอยู่ในเกณฑ์   ที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค

11. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                 พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,084,264,470 บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 รับทราบมติของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุม ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยเห็นชอบในหลักการของโครงการจ้างแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และสายงานบริการทางการแพทย์อื่น เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,335,644,448 บาท และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณากำหนดจำนวนกรอบอัตรากำลังที่จะจ้างงานภายใต้โครงการจ้างแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และสายงานบริการทางการแพทย์อื่น เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เป็นไปตามความเหมาะสม จำเป็น และสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในแต่ละพื้นที่
                    2. กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับลดจำนวนอัตรากำลังพนักงานราชการตามโครงการจ้างแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และสายงานบริการทางการแพทย์อื่น เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากเดิม จำนวน 5,000 อัตรา เป็น จำนวน 2,402 อัตรา ระยะเวลาการจ้างไม่เกิน 1 ปี ในระยะแรก โดยใช้งบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 1,084,264,470 บาท และขอความเห็นชอบไปยังสำนักงบประมาณ
                    3. นายกรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ให้กระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในกรอบวงเงินทั้งสิ้น 1,084,264,470 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ 2,402 อัตรา สำหรับโครงการจ้างแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และสายงานบริการทางการแพทย์อื่น เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ดังนี้
                    1. อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการทัวร์เที่ยวไทย โดยปรับลดจำนวนสิทธิโครงการฯ จากเดิม 1,000,000 สิทธิ เป็น 200,000 สิทธิ ทำให้กรอบวงเงินลดลงจาก 5,000 ล้านบาท เป็น 1,000 ล้านบาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565 พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พิจารณา กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้โครงการฯ โดยเคร่งครัด
                    2. อนุมัติให้จังหวัดน่าน และจังหวัดสตูล เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาอัตลักษณ์น่าน มุ่งสู่เมืองสร้างสรรค์ (Creative City) และโครงการการฝึกอบรมราษฎร (ชาวเล) เกาะหลีเป๊ะ ม.7, 8 ในการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพไลฟ์การ์ดเพื่อยกระดับความปลอดภัยเกาะหลีเป๊ะ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เพื่อให้หน่วยงานสามารถเบิกจ่ายงบประมาณเงินกู้ของโครงการฯ ได้แล้วเสร็จ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    3. อนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยปรับลดกรอบวงเงินในกิจกรรมการพัฒนา Platform การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จากเดิม 20 ล้านบาท เป็น 19,027,420 บาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิม สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    4. อนุมัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    5. อนุมัติให้วิทยาลัยสารพัดช่างตรัง เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้นเพื่อเพิ่มทักษะและการประกอบอาชีพเสริม ของวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง วงเงิน              5 ล้านบาท โดยขยายระยะเวลาโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนมกราคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    6. อนุมัติให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นสิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    7. อนุมัติให้จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดยโสธร จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดสกลนคร เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    8. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ตามข้อ 1-7 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ 19 และ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป

13. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม              พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่            21 มกราคม 2565 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรอบวงเงิน 8,070.7242 ล้านบาท และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 กรอบวงเงิน 1,351.9812 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเป็นการสนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวนไม่เกิน 200 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (กุมภาพันธ์ - เมษายน 2565) รวมจำนวนไม่เกิน 600 บาทต่อคนต่อเดือน เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาและลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติมีรายได้ลดลง และไม่สามารถหารายได้จากแหล่งอื่นมาทดแทนได้เพียงพอ   ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นและสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในภาวะวิกฤต รวมทั้งส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ
                    2. อนุมัติโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรอบวงเงิน 34,800 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยรัฐสนับสนุนวงเงินค่าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไปและบริการนวดสปา ทำผม ทำเล็บ และบริการขนส่งสาธารณะจากภาครัฐในอัตราร้อยละ 50 ทั้งนี้ ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 1,200 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2565) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับฐานรากอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มอุปสงค์การบริโภคและกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยทุกระดับมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการรวมทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชนในสถานการณ์ที่ราคาสินค้าสูงขึ้น
                    3. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พิจารณาดำเนินการดังนี้
                              3.1 ดำเนินการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจและรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ว่าเป็นการดำเนินการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งถือเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้นเท่านั้น และในกรณีที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ภาครัฐก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินโครงการในลักษณะเช่นนี้อีก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                              3.2 พิจารณาปรับปรุงจำนวนกลุ่มเป้าหมายและวงเงินของโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือป็นพิเศษ ระยะที่ 2 ให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิภายหลังจากการเปิดลงทะเบียนไปสักระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพื่อให้สามารถนำกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ที่เหลือไปใช้จ่ายในโครงการอื่นต่อไป
                              3.3 พิจารณากำหนดมาตรการเพิ่มเติมในการกำกับและติดตามการดำเนินโครงการ เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการดำเนินโครงการโดยมิชอบได้ อาทิ ร้านค้าที่รับสแกนสิทธิแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด
                    4. อนุมัติโครงการเราเที่ยวด้วยกันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรอบวงเงิน 9,000 ล้านบาท (ปรับลดจากข้อเสนอจำนวน 13,200 ล้านบาท หรือ ลดลง 4,200 ล้านบาท) โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ระยะเวลา 6 เดือน (เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2565) พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พิจารณากำหนดมาตรการเพิ่มเติมในการกำกับและติดตามการดำเนินโครงการ เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการดำเนินโครงการโดยมิชอบทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ต่อไป
                    5. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1 และข้อ 2 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 4 ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
                    6. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดำเนินการประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเฉพาะในส่วนของผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและรับทราบถึงข้อมูลของโครงการอย่างชัดเจนและทั่วถึง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการกำกับติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้

ต่างประเทศ

14. เรื่อง ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง รวม 10 รายการ เมื่อวันที่ 26 ? 28 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนการาบรูไนดารุสลาม (บรูไน) ทรงเป็นองค์ประธานการประชุม โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของคู่เจรจา 8 ประเทศ [สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) เครือรัฐออสเตรเลีย (ออสเตรเลีย) สาธารณรัฐอินเดีย สหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย) และนิวซีแลนด์] ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 25 ฉบับ และแสดงวิสัยทัศน์ของไทยโดยเน้นเรื่องการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019            (โควิด-19) การฟื้นฟูและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุมฯ

ประเด็น          สาระสำคัญ
1. การสร้างประชาคมอาเซียน          ผู้นำอาเซียนและคู่เจรจาสนับสนุนข้อริเริ่มของบรูไน เช่น ข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวมเพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติอาเชียน (ASEAN SHIELD) การรับรองขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเล และการส่งเสริมความร่วมมือด้านสุขภาพจิต
2. การรับมือกับโรคโควิด-19          2.1 ประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านวัคซีนเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงการใช้เงินจากกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 เพื่อจัดซื้อวัคซีนผ่านโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีน          โควิด-19 หรือโคแวกซ์ (Covid-19 Vaccines Global Access Facility: COVAX Facility) ให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนในมูลค่าประเทศละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐและสำนักเลขาธิการอาเซียนในมูลค่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดส่งวัคซีนได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2565 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังสนับสนุนให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับคู่เจรจาเพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความมั่นคงและพึ่งพาตนเองด้านวัคซีนได้ในอนาคต
2.2 คู่เจรจาหลายประเทศได้ประกาศข้อริเริ่มเพื่อสนับสนุนอาเซียนในด้านวัคซีน เช่น ออสเตรเลียประกาศมอบวัคซีนให้อาเซียนเพิ่มเติมอีก 10 ล้านโดส ภายในช่วงกลางปี 2565 เกาหลีใต้ได้ประกาศที่จะให้เงินสนับสนุนกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 เพิ่มเติมอีก 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐฯ ได้ประกาศจะให้วัคซีนแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งอาเซียน เพิ่มเติมอีก 500 ล้านโดสภายในปี 2565 และจีนได้ประกาศข้อเสนอจัดตั้งศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-จีนด้านการวิจัยและพัฒนาความมั่นคงทางสาธารณสุข
2.3 อาเซียนยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับที่ตั้งของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Disseases: ACPHEED) โดยอินโดนีเซีย ไทย (ได้รับการสนับสนุนจาก           6 ประเทศ) และเวียดนาม (ได้รับการสนับสนุนจากลาว) ยืนยันความพร้อมที่จะเป็นที่ตั้งของศูนย์ฯ
3. การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
          3.1 ที่ประชุมย้ำถึงความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูหลังโรคโควิด-19 อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน โดยเน้นการดำเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนยังเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการเริ่มเปิดภูมิภาคและการเดินทางระหว่างกันอย่างปลอดภัย โดยใช้ประโยชน์จากกรอบการจัดทำระเบียงการเดินทางของอาเซียน (ASEAN Travel Corridor Arrangement Framework: ATCAF) เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางที่จำเป็น เช่น ราชการและธุรกิจ โดยไทยเสนอให้พิจารณาขยายให้ครอบคลุมการท่องเที่ยว รวมทั้งผลักดันให้อาเซียนจัดทำการรับรองวัคซีนและใบรับรองการฉีดวัคซีนระหว่างกัน
3.2 อาเซียนและคู่เจรจาเห็นพ้องกันถึงความจำเป็นในการเร่งรัดการบูรณาการความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) มีผลใช้บังคับตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2565 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและขยายโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการในภูมิภาค ซึ่งไทยได้ยื่นสัตยาบันสารสำหรับ RCEP ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนแล้ว เมื่อวันที่               28 ตุลาคม 2564
3.3 ที่ประชุมฯ ได้มีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ความร่วมมือด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์อาเซียนในประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 แถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน และแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลรวมทั้งจะมีการประกาศให้          ปี 2565 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียน-รัสเซีย
3.4 ที่ประชุมฯ เห็นพ้องที่จะส่งสริม ?วาระสีเขียวอาเซียน? เพื่อให้อาเซียนสามารถมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และคู่เจรจาของอาเซียนได้แสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนอาเซียนในการเสริมสร้างความร่วมมือดังกล่าวให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 ได้ประกาศให้ปี 2564 และ 2565 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนอาเซียน-จีน และออสเตรเลียได้ประกาศข้อริเริ่มโครงการออสเตรเลียสำหรับอนาคตของอาเซียน (Australia for ASEAN Futures Initiatives) มูลค่า 124 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ
4. ความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและภาคีภายนอก          ผู้นำอาเซียนต่างยินดีที่อาเซียนรับสหราชอาณาจักรเป็นคู่เจรจาลำดับที่ 11 และเห็นชอบการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership) ระหว่างอาเซียนกับจีนและออสเตรเลีย รวมทั้งเห็นพ้องให้มีการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศต่าง ๆ เช่น การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและจีน การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี และความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป ในปี 2565
5. สถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค
          5.1 บริบทของสภาพภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ (สหรัฐฯ -จีน) ประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาจะเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียนภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific: AOIP) นอกจากนี้ ไทยได้เสนอให้อาเซียนพิจารณาแนวทางใหม่ ๆ ในการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในภูมิภาค เพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างกัน
5.2 ทะเลจีนใต้ ประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาบางประเทศได้แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ในกรอบการประชุมต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ที่ประชุมฯ           ได้ย้ำถึงความสำคัญของการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพความปลอดภัย เสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่าน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) และการเจรจาประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct: COC) ที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงอนุสัญญานุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 [United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) 1982]
5.3 การจัดตั้งหุ้นส่วนไตรภาคีด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย (AUKUS) ประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชาและสหพันธรัฐมาเลเซีย แสดงความห่วงกังวลต่อการจัดตั้ง AUKUS ซึ่งอาจนำไปสู่การแข่งขันสะสมอาวุธและความตึงเครียดในภูมิภาค รวมทั้งเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเคารพและธำรงรักษาหลักการในสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) อย่างไรก็ดี ออสเตรเลียและสหรัฐฯ ได้ใช้โอกาสการประชุมครั้งนี้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการตาม AOIP และความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค รวมทั้งพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty: NPT)
5.4 สถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) สหรัฐฯ และนิวซีแลนด์กล่าวประณามรัฐประหารในเมียนมาอย่างชัดเจนและเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังทางการเมือง นอกจากนี้ ทุกประเทศทั้งอาเซียนและคู่เจรจาต่างสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของอาเซียนในการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ในเมียนมาผ่านการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ ของผู้นำอาเซียน และสนับสนุนการทำงานและบทบาทของผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนเรื่องเมียนมาเพื่อช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและสร้างบรรยากาศสำหรับการหารือที่สร้างสรรค์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. การส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียน ปี 2565          บรูไนได้ส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้แก่ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) โดยนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาได้ประกาศแนวคิดหลักของการเป็นประธานอาเซียน ปี 2565 ได้แก่ ?ASEAN A.C.T.: Addressing Challenges Together?
                    2. ที่ประชุมฯ ได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 25 ฉบับ โดยสาระสำคัญของเอกสารไม่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้แล้ว
                    3. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น
ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ เช่น          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. การสร้างประชาคมอาเซียน          1.1 จัดทำข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวมเพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียน
1.2 รับรองขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025
1.3 ส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ภาคทะเล และด้านสุขภาพจิต          กต. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

2. การรับมือกับโรคโควิด-19
          2.1 ส่งเสริมความร่วมมือให้มีการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม
2.2 หาข้อสรุปเกี่ยวกับที่ตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ACPHEED)          กต. สธ. สถาบันวัคซีน
แห่งชาติ

3. การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
          3.1 สนับสนุนให้ความตกลง RCEP มีผลบังคับใช้ตามเป้าหมาย (ภายในช่วงเดือนมกราคม 2565)
3.2 เปิดภูมิภาคและการเดินทางระหว่างกันอย่างปลอดภัยในอาเซียน รวมถึงผลักดันให้อาเซียนจัดทำการรับรองวัคซีนและใบรับรองการฉีดวัคซีนระหว่างกัน
3.3 การส่งเสริมการเข้าถึงดิจิทัลและการนำดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น เศรษฐกิจดิจิทัลและการค้าอิเล็กทรอนิกส์
3.4 ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานสะอาด และการเงินสีเขียว โดยสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG)
3.5 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและการสร้างอนาคต
ขนาดย่อม และรายย่อย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี          กระทรวงการคลัง (กค.) กต. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดศ.
ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) สธ. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

4. ความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและภาคีภายนอกและสถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค          4.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์แบบรอบด้านระหว่างอาเซียนกับจีนและออสเตรเลีย
4.2 เตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรปสมัยพิเศษ ในปี 2565
4.3 พิจารณาหาแนวทางในการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
4.4 ส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษา และการแลกเปลี่ยนระดับประชาชน
4.5 สนับสนุนให้การเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในประเด็นคาบสมุทรเกาหลีมีความคืบหน้า
4.6 รักษาและส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคงเสถียรภาพ และเสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่านเหนือทะเลจีนใต้          กต. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) วธ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) (กรมประชาสัมพันธ์)



15. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามรายงานคู่ขนานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ตามกระบวนการ Universal Periodic Review รอบที่ 3
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามรายงานคู่ขนานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ตามกระบวนการ Universal Periodic Review รอบที่ 3 ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้แจ้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ยธ. รายงานว่า ยธ. ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดประชุมหารือร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตช. ศอ.บต. และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแล้ว เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 รวมทั้ง ยธ. ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยแล้วซึ่งมีผลการพิจารณาในภาพรวม สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.          สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
1. ควรเร่งกระบวนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ต้องปฏิบัติตาม และเร่งพิจารณาการให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
          ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับการดำเนินงานของ ยธ. แล้ว โดยร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ได้ยกร่างขึ้นตามหลักการของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งที่ผ่านมา ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมายตามลำดับแล้ว ปัจจุบันอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำหรับการพิจารณาการให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีปลัด ยธ. เป็นประธาน และมีผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมเป็นอนุกรรมการได้มีมติให้ประเทศไทยคงท่าทีเดิม โดยยังไม่เข้าเป็นภาคีพิธีสารฯ แต่ควรสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพิธีสารฯ ให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(1) ควรพิจารณายกเลิกบทบัญญัติที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ กสม. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 247 (4) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 26 (4) เพื่อความเป็นอิสระของ กสม. ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในอนาคต
(2) ควรเพิ่มข้อบัญญัติในกฎหมายให้ กสม. มีหน้าที่และอำนาจในการไกล่เกลี่ยให้ชัดเจน          กสม. สามารถเสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กร รวมทั้งการเพิ่มหน้าที่และอำนาจในการไกล่เกลี่ยให้มีความชัดเจนได้ด้วยตนเอง เนื่องจากประธาน กสม. เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ดังนั้น จึงเป็นอำนาจของ กสม. ที่จะสามารถดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ รวมทั้งยังสอดคล้องกับหลักการปารีสเกี่ยวกับสถานะของ กสม. ที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเป็นอิสระ และมีหน้าที่กึ่งศาลเพื่อรับฟังและพิจารณาข้อร้องเรียนและเรื่องราวร้องทุกข์ โดยแสวงหาแนวทางยุติปัญหาอย่างสมานฉันท์ผ่านกระบนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

3. การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) และผลกระทบด้านสิทธิมบุษยชน
(1) ควรกำหนดมาตรการการช่วยเหลือเยียวยาให้ทั่วถึงและครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม และกำหนดช่องทางการให้ความช่วยเหลือที่สะดวก เพื่อการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ และใช้สิทธิในทางปฏิบัติได้จริง











(2) ควรคำนึงถึงการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มยากลำบากที่สุดให้สามารถกลับมาพึ่งพาตนเองได้












(3) ควรดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำแรงงานผิดกฎหมายเข้าประเทศและปัญหาบ่อนการพนัน





(1) ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดย สธ. ได้ให้สิทธิการตรวจคัดกรองและการเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน รวมทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางดูแลเกี่ยวกับเรื่องค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ สำหรับการฉีดวัคซีนมีเป้าหมายให้สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม โดยในพื้นที่ที่มีการระบาดหนักได้เร่งดำเนินการฉีดวัคซีน เพื่อให้การแพร่ระบาดของเชื้อลดลงและป้องกันการเสียชีวิตและป่วยหนักให้เร็วที่สุด สำหรับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้ใด้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาด สำหรับมาตรการเพื่อช่วยเหลือตั้งแต่เด็กแรกเกิด เยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน และผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมทั้งผู้มีรายได้น้อย พม. ได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนนมผงสำหรับเด็กเล็กเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากนี้ กค. ได้มีมาตรการบรรเทาและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาด ได้แก่ 1) มาตรการทางการคลัง 2) มาตรการทางภาษี และ 3) มาตรการทางการเงิน

(2) ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานของ รง. แล้ว โดย รง. ให้ความคุ้มครองแรงงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกันทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติโดยไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งได้ดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ สำหรับแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ นอกจากนี้ได้ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ รวมทั้งนายจ้าง/สถานประกอบการ โดยดำเนินการ ดังนี้ 1) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน 2) การส่งเสริมการให้บริการจัดหางาน 3) การแนะแนวและการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ 4) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ       5) การจ้างงานเพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) 6) การส่งเสริมการจ้างานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ 7) การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ 8) การฝึกทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ สศช. ได้กำหนดแนวทางพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวไว้ในแผนแม่บทเฉพาะกิจ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแล้ว

(3) ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดย รง. ได้ดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีนายจ้าง/สถานประกอบการและแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ตช. ได้จัดให้มีการประชุมและศึกษาวิเคราะห์ ทบทวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละกองกำกับเป็นประจำทุกเดือน โดยเน้นย้ำ กำกับ ดูแล ให้ดำเนินการตาม พรบ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 และ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ สศช. ได้กำหนดแนวทางพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกฎหมายแล้ว
4. สถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง
(1) ควรรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมที่ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นรวมทั้งไม่ใช้คำพูดที่เป็นการตีตราเลือกปฏิบัติหรือสร้างความเกลียดชัง
(2) ควรเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริงให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างทันท่วงที เพื่อเป็นการต่อต้านข่าวลวงแทนการจับกุมผู้กระทำความผิด
(3) การใช้มาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยการยุติหรือสลายการชุมนุมแม้กฎหมายจะบัญญัติไว้เป็นขั้นตอนให้ดำเนินการได้ แต่การใช้มาตรการเช่นว่านั้นย่อมส่งผลกระทบตามมา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีทั้งเด็ก เยาวชน ผู้หญิง ดังนั้น หากเป็นไปได้ ขอให้หลีกเลี่ยงการใช้มาตรการดังกล่าวเท่าที่จำเป็น


(1) ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ที่ผ่านมา ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ดำเนินการส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพมาอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกบ้าน วัด โรงเรียน (บวร)




(2) ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานของ ดศ. แล้ว โดย ดศ. ได้กำหนดมาตรการต่อต้านและตรวจสอบข่าวลวง โดยบูรณาการร่วมกับศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

(3) ตช. ได้ให้ความเคารพต่อสิทธิของประชาชน และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยซึ่งในทางปฏิบัติกรณีการชุมนุมโดยสงบจะไม่มีการสลายการชุมนุมดังกล่าว แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) รัฐบาลจึงได้ ประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีความจำเป็นต้องควบคุมและดูแลความสงบเรียบร้อย หรือจำกัดไม่ให้มีการชุมนุมเกิดขึ้น โดยมีการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจน ตลอดจนแจ้งและบอกกล่าวประชาชนทุกครั้งก่อนที่จะมีการจับกุมเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
5. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เรื่องกองทุนยุติธรรม
   ควรพิจารณาปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการขอรับการช่วยเหลือทางการเงินของประชาชน           ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานของ ยธ. โดยสำนักงานกองทุนยุติธรรมแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาวิจัย ?โครงการจ้างที่ปรึกษาดำเนินงานและพัฒนางานกองทุนยุติธรรม? โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDR) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกองทุนยุติธรรม
6. ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(1) ควรพิจารณาเยียวยาเหยื่อของความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้าน  อื่น ๆ อาทิ การให้สามารถกลับคืนสู่สภาพการดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ การเยียวยาด้านจิตใจ
(2) ควรบังคับใช้กฎหมายด้านความมั่นคงเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่เท่าที่จำเป็นอย่างยิ่งและในระยะเวลาที่จำกัดและพึงระวังอย่างยิ่งในการดำเนินมาตรการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนบนพื้นฐานของหลักกฎหมายและการไม่เลือกปฏิบัติ



(1) ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและ ศอ.บต. แล้ว โดย ศอ.บต. มียุทธศาสตร์แนวทางการให้ความช่วยเหลือซึ่งครอบคลุม 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) การเยียวยาชีวิตและร่างกายในกรณีที่เสียชีวิต บาดเจ็บ และบาดเจ็บสาหัส 2) การเยียวยาทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหาย และ 3) การเยียวยาด้านจิตใจ

(2) ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยที่ปัจจุบัน พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ถือเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ในการยับยั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ และสำหรับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายและการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะแนวทางการปรับลดพื้นที่ที่บังคับใช้กฎหมายความมั่นคงเมื่อสถานการณ์และเหตุการณ์โดยรวมเข้าสู่สภาวะปกติ สำหรับการตรวจดีเอ็นเอกับกลุ่มเป้าหมายในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปิดล้อมตรวจค้นเป็นการดำเนินการโดยศูนย์พิสูจน์หลักฐานของตำรวจซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัด รวมถึงมีชุดนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยสนับสนุนดำเนิ่นการในพื้นที่ด้วย ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งยังไม่เคยได้รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด

16.  เรื่อง การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Memorandum of Understanding between the Association of Southeast Asia Nations and the Organisation for Economic Co-Operation and Development) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกและเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในนามอาเซียนตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงพณิชย์ขอเสนอร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1.วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและ OECD ในประเด็นที่มี
ความสนใจร่วมกัน รวมทั้งกำหนดกรอบยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงาน และพัฒนา
ความร่วมมือในสาขาความร่วมมือที่สำคัญ
                    2. สาขาสำคัญสำหรับความร่วมมือ รวม 36 สาขาในด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ (1) การตอบสนองต่อโควิด-19 (2) ภาษีอากร (3) การจัดการการเงินภาครัฐ (4) แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ (5) การอำนวยความสะดวกทางการค้า (6) การลงทุน (7) การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (8) การค้าบริการ (9) ห่วงโซ่มูลค่าโลก (10) การแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภค (11) วิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม และรายย่อย (12) การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (13) นวัตกรรม (14) ผลิตภาพ (15) เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน (16) การบูรณาการทางการเงิน (17) หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (18) การขนส่ง (19) สถิติ (20) การท่องเที่ยว (21) การวัดความอยู่ดีมีสุขและนโยบายด้านความอยู่ดีมีสุข (22) การลดช่องว่างของการพัฒนาภายในอาเซียน (23) เมืองอัจฉริยะ (24) โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (25) การศึกษา (26) การพัฒนาทักษะ (27) การจ้างงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน (28) สิ่งแวดล้อม (29) สิ่งแวดล้อมทั่วทั้งภาคส่วน (30) การจัดหาเงินทุนสำหรับจัดการภัยพิบัติและการบริหารจัดการภัยพิบัติ (31) สาธารณสุข (32) การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (33) เพศสภาพ               (34) ธรรมาภิบาล (35) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการคุ้มครองทางสังคม (36) ด้านอื่น ๆ ของความร่วมมือ
                    3. การใช้บังคับและระยะเวลา จะมีผลใช้บังคับนับจากวันที่ลงนามโดยมีระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นสามารถขยายระยะเวลาได้ตามที่มีการตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร และจะสิ้นสุดการมีผลใช้บังคับหากมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน
                    ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ที่จะมีการลงนามในช่วงการประชุม OECD Ministerial Meeting on Southeast Asia ณ กรุงโซล ระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2565

17.  เรื่อง การจัดทำและลงนามเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 (Addendum No. 1) ของสัญญาการให้ (Grant Contract) ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปของกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการอาเซียนภายใต้โครงการ ARISE Plus
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 (Addendum No. 1) ของสัญญาการให้ (Grant Contract) ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปของกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการอาเซียนภายใต้โครงการ ARISE Plus โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก พร้อมทั้งอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในเอกสารดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจากร์ตา ว่า รัฐบาลไทยเห็นชอบต่อเอกสารแล้ว และให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามในเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 (Addendum No. 1) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กิจกรรมการเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการอาเซียนเป็น 1 ใน 5องค์ประกอบสำคัญของโครงการ ARISE Plus โดยนอกจากจะสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถด้านบุคลากรของสำนักเลขาธิการอาเซียนแล้ว ยังสนับสนุนการดำเนินโครงการการอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมและศุลกากรอาเซียน (ASEAN Customs and Transport Facilitation) ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญการศึกษา และเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งเป็นการดำเนินการเพิ่มเติมจากสัญญาการให้ฯ ที่ลงนามไปแล้ว จึงต้องจัดทำและลงนามในเอกสารเพิ่มเติมฯ เพื่อที่จะขยายขอบเขตโครงการ
                    2. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 คณะกรรมการ High Level Implementation Committee (HLIC) ภายใต้สำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการงบประมาณดังกล่าวได้เห็นชอบการจัดทำเอกสารเพิ่มเติมฯ ดังกล่าว และเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ณ กรุงจาการ์ตาได้มีหนังสือถึงเลขาธิการอาเขียน นำส่งเอกสารเพิ่มเติมฯ ซึ่งเอกอัครราชทูตฯ ได้ลงนามในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยแล้ว

18. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 14 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers? Conference ครั้งที่ 14
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (Zero Draft-2022 Communique) ในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน (Berlin Agriculture Ministers? Conference) ครั้งที่ 14 และอนุมัติในหลักการว่า หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. เอกสารร่างแถลงการณ์เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนและการปกป้องดินสำหรับการเกษตร เพื่อปกป้องความมั่นคงด้านอาหารตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการเปลี่ยนระบบอาหารที่การประชุมสุดยอดระบบอาหารแห่งสหประชาชาติให้ความสำคัญ โดยร่างดังกล่าวให้ความสำคัญของการดำเนินการใน 4 ด้าน ได้แก่
                              1.1 การส่งเสริมสุขภาพดิน ส่งเสริมการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพของดินอย่างยั่งยืน การจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ เพื่อบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีสสนับสนุน       ข้อริเริ่มโครงการ 4per1000 และการดำเนินการ RECSOIL (Recarbonization of Global Soils) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งความสำคัญของวาระการดำเนินการตามนโยบายการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่อาหารและการเกษตรที่ยั่งยืน
                              1.2 การฟื้นฟูความเสื่อมสภาพของดิน ความพยายามในการฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติซึ่งปกป้องดินและเสริมสร้างสุขภาพติน รวมทั้งความมุ่งมั่นต่อการแปรสภาพเป็นทะเลทรายตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (United Nations Convention to Combat Desertification: UNCCD) ตลอดจนการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมในด้านการจัดการที่ดิน ดินและน้ำอย่างยั่งยืน
                              1.3 การใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างจำกัด ให้ความสำคัญกับการจัดการดินและที่ดินอย่างยั่งยืน และเน้นถึงความสำคัญของการประชุมสมัชชาความร่วมมือดินโลก (Global Soil Partnership: GSP) ซึ่งเป็นกลไกในการส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืนในทุกระดับ
                              1.4 การเข้าถึงที่ดินและการรักษาสิทธิ์ในการครอบครอง ส่งเสริมการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติตามความสมัครใจว่าด้วยการกำกับดูแลที่รับผิดชอบต่อการครอบครองที่ดิน การประมง และป่าไม้ในบริบทของความมั่นคงอาหารระดับชาติ (Voluntary Guidelines on the Responsible Governance of Land, Fisheries and Forests in the Context of National Food Security: CFS VGGT)
                    2. ร่างแถลงการณ์ฯ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และการดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 การขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร ข้อ 2.4 ปรับปรุงดินและที่ดิน (การอนุรักษ์ดินและน้ำ)เป้าหมายที่ 13 ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน ข้อ 13.2 ลดการปลดปล่อยคาร์บอนในดิน และเป้าหมายที่ 15 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศฯ บนบก ข้อ 15.3 ลดความเสื่อมโทรมของดินและที่ดิน และข้อ 15.5 เพิ่มความหลากหลายทางขีวภาพในดิน และเป็นการแสดงจุดยืนของประเทศไทยในการสนับสนุนนโยบายด้านระบบอาหารโลกเพื่อผลักดันและนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

แต่งตั้ง

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายถาวร                 สกุลพาณิชย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค [นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านวิจัย)] สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง               รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นางบุปผา พันธุ์เพ็ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                   รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง                                ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชดา ธนาดิเรก เป็นกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ด้านประสานการมีส่วนร่วม) เพิ่มเติม

22. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.  2561 ประกอบด้วย
                     1. นายสมชัย ฤชุพันธุ์                               ประธานกรรมการ
                    2. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน
                    3. รองศาสตราจารย์ชโยดม สรรพศรี               กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา
                     4. นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล
                    5. นายนิกร เภรีกุล                               กรรมการและเลขานุการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และเพื่อการสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 3 ราย ดังนี้
                     1. นายโกวิท ผกามาศ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
                     2. นายกฤษฎา คงคะจันทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม
                     3. นายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มกราคม 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ