สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 ธันวาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday December 13, 2022 17:52 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (13 ธันวาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราช                                                  กฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....]
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของ                                                  สถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    3.           เรื่อง           (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ                                                  นวัตกรรม พ.ศ. 2566 ? 2570
                    4.           เรื่อง           แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ

พ.ศ. 2564 ? 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 ? 2570 และ (ร่าง)

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 ? 2570

                    5.           เรื่อง            รายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 1

(พ.ศ. 2562-2564)

                    6.            เรื่อง            มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565
                    7.           เรื่อง            สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนตุลาคม 2565
                    8.           เรื่อง           โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว                                         สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรม                                        ทางหลวง
                    9.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและ                                                  บริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 2/2565
                    10.           เรื่อง            การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย                                                   (Digital Startup)
                    11.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565
                     12.           เรื่อง           ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการดำเนินโครงการหลวง                                                   จำนวน 39 โครงการ
                    13.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 19/2565

                    14.           เรื่อง           รายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2565

                    15.           เรื่อง           สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ

ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 18 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ?

30 กันยายน 2565)

                    16.           เรื่อง           แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2566


ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำของการประชุมสุดยอดอาเซียน-                                        สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022
                    18.            เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    19.            เรื่อง           รายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                    20.            เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการ                                                  แลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567                                         ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวง                                                  วัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
                    21.            เรื่อง          การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                                  สาธารณรัฐเฮลเลนิกว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือ

เดินทางทูต

แต่งตั้ง
                    22.           เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 310/2565 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี                                                   เป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ


?
กฎหมาย
1. เรื่อง การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....]
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ  ทั้งนี้ ในเรื่องของชื่อสถาบัน             ที่จะจัดตั้งคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปปรับแก้ไขเพื่อความเหมาะสมและถูกต้องต่อไป

ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่ ดศ. เสนอ เป็นการจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NBDI) โดยยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐซึ่งเป็นหน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) ดศ. ให้เป็นองค์การมหาชนซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยเป็นหน่วยงานกลางเพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน วิเคราะห์ และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ทำหน้าที่ให้บริการ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่น เกี่ยวกับการพัฒนาคลังข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างให้เกิดแพลตฟอร์มข้อมูลที่บูรณาการข้อมูลรายสาขา สำหรับการใช้ประโยชน์เชิงวิเคราะห์ เช่น การกำหนดนโยบายในเรื่องต่าง ๆ การวางแผนธุรกิจ ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งให้บริการคำปรึกษาด้านข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแก่ทั้งภาครัฐและเอกชน และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านข้อมูลขนาดใหญ่ โดยให้มีคณะกรรมการสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดนโยบายการบริหารงาน ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการ และการดำเนินงานของ NBDI เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และกำหนดให้เมื่อ NBDI ดำเนินการครบ 5 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และ NBDI จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าตามตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน หากพิจารณาเห็นว่าไม่คุ้มค่าในการจัดตั้ง ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอรัฐมนตรีผู้รักษาการเพื่อยุบเลิก และโอนถ่ายภารกิจไปให้หน่วยงานอื่นต่อไป โดยในส่วนกรอบอัตรากำลังรวมในปีที่ 1 จนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะมีการใช้อัตรากำลังจำนวน 113 อัตรา (รวมผู้อำนวยการองค์การมหาชน) เป็นกรอบอัตรากำลังที่ตัดโอนมาจากสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ จำนวน 70 อัตรา ทั้งนี้ ดศ. ได้ดำเนินการขอจัดตั้งองค์การมหาชนต่อสำนักงาน ก.พ.ร. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 (เรื่อง ขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน) และคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) แล้ว

สถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NBDI) ที่จะจัดตั้งขึ้น จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการและประชาชน กล่าวคือ ทำให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันในการวางแผนนโยบายพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็น Thailand 4.0 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อันช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีการขับเคลื่อน วิเคราะห์ และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างเป็นเอกภาพ รวมทั้งทำให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างหน่วยงานรัฐกับรัฐ และรัฐกับเอกชน เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายของประเทศและการตัดสินใจของรัฐบาลในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินโครงการ เช่น โครงการ Health Link เป็นโครงการออกแบบและพัฒนาระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาทั่วประเทศ เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติการรักษา ทำให้มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลด้านประวัติการรักษาข้ามโรงพยาบาล เพิ่มความสะดวกปลอดภัยให้กับการดูแลสุขภาพของประชาชน ลดค่าใช้จ่ายการเดินทางสำหรับการขอประวัติการรักษา ลดค่าบริหารจัดการเอกสารของโรงพยาบาล โครงการ Travel Link ระบบบริการข้อมูลอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยว เป็นการรวบรวมชุดข้อมูลการท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น แหล่งท่องเที่ยว ที่พักแรม การเดินทางโดยสารสาธารณะ โดยเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อใช้ในการต่อยอดในการพัฒนาระบบบริการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว อันเป็นเครื่องมือสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศ รวมทั้งเป็นข้อมูลให้บริการข้อมูลแก่ผู้ประกอบการที่จะช่วยธุรกิจท่องเที่ยวในการวางแผนหลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การใช้ประโยชน์ข้อมูลด้านการศึกษา เพื่อนำมากำหนดนโยบายที่เหมาะสมในการดูแลเรื่องการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และประชาชนคนไทยอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ในแผนงานระยะ 5 ปีจะมุ่งเน้นการตอบโจทย์ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว แรงงาน และยุติธรรม รวมไปถึงการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามสาขา (Agenda-based) และเป็นการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านข้อมูลของประเทศ

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

1. ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้น เรียกว่า ?สถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน)? เรียกโดยย่อว่า ?สญช.? และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า ?National Big Data Institute (Public Organization)? เรียกโดยย่อว่า ?NBDI? เป็นหน่วยงานของรัฐ ทำหน้าที่ให้บริการ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่น เกี่ยวกับการพัฒนาคลังข้อมูลขนาดใหญ่1 ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

1.1 จัดทำยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

1.2 ส่งเสริม ประสาน และให้บริการ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการให้บริการ หรือการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

1.3 ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งให้บริการคำปรึกษาด้านข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแก่ทั้งภาครัฐและเอกชน

1.4 ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานในระดับสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพการบูรณาการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศไทย

1.5 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาธุรกิจด้านการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศ

1.6 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์ความรู้ และบุคลากรของประเทศด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

1.7 ดำเนินการอื่นเพื่อพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศตามที่กฎหมายกำหนด หรือคณะกรรมการมอบหมาย หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

2. กำหนดหน้าที่และอำนาจของสถาบัน เช่น ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นของรัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนโครงการด้านการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาอุตสาหกรรม ด้านข้อมูลขนาดใหญ่ กู้ยืมเงิน ถือหุ้น เข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติกำหนด

3. กำหนดให้มีคณะกรรมการสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหาร สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 4 คน ได้แก่ ปลัด ดศ. เลขาธิการ ก.พ.ร. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (สงป.) ผู้อำนวยการ สพร. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 5 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงเป็นที่ประจักษ์ในด้านวิทยาศาสตร์ ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร การบริหาร สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน

4. กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการ และการดำเนินงานของสถาบันเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งกำหนดนโยบายการบริหารงาน อนุมัติงบประมาณประจำปี ออกระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดหรือประกาศเกี่ยวกับสถาบัน เป็นต้น

5. กำหนดให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการของสถาบัน ประกอบด้วย เงินและทรัพย์สินที่รับโอนมาจาก GBDI เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน และดอกผลหรือรายได้จากทรัพย์สินของสถาบัน

6. กำหนดให้ NBDI จัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี และทำรายงานประจำปีเสนอรัฐมนตรีทุกสิ้นปีงบประมาณ รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของสถาบันในปีที่ล่วงมาแล้ว รายงานทางการเงินพร้อมทั้งรายงานของผู้สอบบัญชี รวมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการและแผนงานที่จะจัดทำในภายหน้า

7. กำหนดบทเฉพาะกาล เพื่อให้นำระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือกฎอื่นของ สศด. มาบังคับใช้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้จนกว่าจะได้มีระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือกฎอื่น เพื่อปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

8. กำหนดให้เมื่อ NBDI ดำเนินการครบ 5 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และ NBDI จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน หากพิจารณาเห็นว่าไม่คุ้มค่าในการจัดตั้ง ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอรัฐมนตรีผู้รักษาการเพื่อยุบเลิก และโอนถ่ายภารกิจไปให้หน่วยงานอื่นต่อไป

1 ?ข้อมูลขนาดใหญ่? หมายความว่า การรวมกันของชุดข้อมูลที่มีขนาดและความซับซ้อนสูง รวมถึงข้อมูลที่มีและไม่มีโครงสร้าง การจดบันทึก การจัดเก็บ การค้นหา การเชื่อมโยงข้อมูลต้องใช้เทคโนโลยีด้านข้อมูลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ รวมทั้งการประมวลผลเชิงวิเคราะห์ มักใช้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างการวิเคราะห์ เช่น เพื่อหาแนวโน้มทางธุรกิจ ตัดสินคุณภาพของงานวิจัย ป้องกันโรค วิเคราะห์ทำนายผลผลิตบอกสภาพการจราจรตามเวลาจริง     เป็นต้น

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ศธ. เสนอว่า
                    1. ได้มีกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561 ซึ่งออกโดยอาศัยชอำนาจตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ได้กำหนดประเภทของสถานศึกษา และการดำเนินการของสถานศึกษาแต่ละประเภทเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว กำหนดให้สถานศึกษาที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษาต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษา นั้น มีสภาพปัญหาในทางปฏิบัติ ผู้บริหารสถานศึกษามักจะบังคับนักเรียนหญิงซึ่งตั้งครรภ์ออกจากสถานศึกษาเดิม โดยให้ย้ายไปศึกษาต่อในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ ศธ. ปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561 ในข้อ 7 ?ต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์? ศธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้สถานศึกษาที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษาต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์
                      2. ในคราวประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 2/2564             เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561 ดังนี้
กฎกระทรวง (เดิม)          ร่างกฎกระทรวง (ใหม่)
ข้อ 7 สถานศึกษาตามข้อ 2 * ที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษาต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษา           ข้อ 7 สถานศึกษาตามข้อ 2 ที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษาต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์

เศรษฐกิจ-สังคม
3. เรื่อง (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 ? 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 ? 2570 [(ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 ? 2570] ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 ? 2570 [(ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 ? 2570] และมอบหมายให้ อว. นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่ง (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 ? 2570                มีวิสัยทัศน์ คือ สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต                         มีเป้าประสงค์ ได้แก่ (1) คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูงเพียงพอในการพลิกโฉมประเทศ ให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน (2) เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้ ยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต และ (3) สังคมไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินงานภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่                    ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยมีแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 :                  การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต โดยมีแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนากำลังคนสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็น ฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยมีแผนงานที่สำคัญ (Flagship) ภายใต้ยุทธศาสตร์ 13 แผนงาน เช่น (1) พัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 และเป็นศูนย์กลางด้านวัคซีนในระดับอาเซียนภายใน 5 ปี (2) พัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ให้เป็นอันดับหนึ่งของอาเซียนภายใน 5 ปี (3) เร่งพัฒนาการผลิตและการส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูงให้ไทยเป็นผู้นำของโลก โดยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและประเทศที่สั่งซื้อ โดยมีเป้าหมายว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำของโลกในการผลิตและส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูง โดยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและจำนวนประเทศที่สั่งซื้อมากขึ้นหนึ่งเท่าตัว (4) เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นแบตเตอรี่และชิ้นส่วนสำคัญที่ก้าวหน้าและล้ำยุคสู่อนาคต ให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียน โดยมีเป้าหมายว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของอาเซียน ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าภายใน 5 ปี (5) เพิ่มศักยภาพและโอกาสสำหรับผู้สูงวัย ให้ประเทศมีผู้สูงอายุที่สามารถพึ่งตนเองได้ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคมในสัดส่วนสูงขึ้น โดยมีเป้าหมายว่า ผู้สูงอายุไทยที่สามารถพึ่งตนเองได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคมมีสัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใน 5 ปี (6) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้า ล้ำยุคสู่อนาคตและเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอวกาศในอนาคต รวมทั้งการสร้างดาวเทียมส่งไปสำรวจดวงจันทร์ โดยมีเป้าหมายว่า ประเทศไทยสามารถสร้างดาวเทียมที่วิจัย/พัฒนาโดยคนไทย และส่งไปโคจรสำรวจรอบดวงจันทร์ภายใน 6 ปี (7) พัฒนาการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ของอาเซียน รวมถึงด้านศาสตร์โลกตะวันออกภายใน 5 ปี โดยใช้แผนงาน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2566 ? 2570 และ (2) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 ? 2570 โดยมี อว. คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกในการขับเคลื่อนตาม (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 ? 2570 โดยใช้งบประมาณจากแหล่งงบประมาณต่าง ๆ ได้แก่ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา และงบประมาณแหล่งอื่น ๆ ได้แก่ งบประมาณที่จัดสรรโดยตรงจากสำนักงบประมาณ งบประมาณขององค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ จังหวัดและท้องถิ่น กองทุนของภาคส่วนการพัฒนาต่าง ๆ (เช่น กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แหล่งทุนภาคเอกชน และแหล่งทุนต่างประเทศ)
                    2. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 ? 2570 ของ อว. โดยให้ อว. รับความเห็นไปพิจารณาเพิ่มเติม เช่น ควรปรับปรุงตัวชี้วัดให้สามารถประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ มีความท้าทายและสามารถสะท้อนความสำเร็จในระดับประเทศได้มากขึ้น และควรเพิ่มเติมแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ เช่น การลดความเหลื่อมล้ำ โดยควรส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคมีบทบาทมากขึ้นในการช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรและพัฒนาภูมิภาคให้สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของพื้นที่ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ควรเพิ่มการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อบรรเทาและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงปัญหาภัยพิบัติเรื้อรังที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน (น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า ฝุ่นควัน) เป็นต้น

4. เรื่อง แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 ? 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 ? 2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 ? 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ                   พ.ศ. 2564 ? 2570 (แผนด้านการอุดมศึกษาฯ) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 ? 2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ (แผนด้าน ววน.) พ.ศ. 2566 ? 2570 ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบายฯ) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 ? 2570 ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) 2) ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem Building) และ 3) จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education Transformation) และมีการขับเคลื่อนสำคัญกำหนดเป็น 7 นโยบายหลัก (Flagship Policies) และ 3 กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) ตามความสำคัญเร่งด่วน เช่น กำลังคนระดับสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตเพิ่มขึ้น การรองรับสังคมสูงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยสมบูรณ์ การยกระดับฐานข้อมูลระบบอุดมศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ               มีเสถียรภาพ เป็นต้น
                     2. (ร่าง) แผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566 ? 2570 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม 2) การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม 3) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุคเพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และ 4) การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา สภานโยบายฯ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบต่อแผนทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวแล้ว

5. เรื่อง  รายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2564)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 1                   (พ.ศ. 2562-2564)  ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. โครงการชุมชนไม้มีค่าเป็นกิจกรรมการปฏิรูปประเทศที่สำคัญและเร่งด่วน ซึ่งภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 กันยายน 2561)  คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า               [นายสนิท อักษรแก้ว เป็นประธานอนุกรรมการ และรองเลขาธิการ วช. (ปัจจุบัน คือ รองผู้อำนวยการ วช.)                    เป็นเลขานุการ] เพื่อศึกษาและพิจารณารายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการชุมชนไม้มีค่าภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม รวมทั้งติดตามประเมินผล และจัดทำข้อเสนอในการขับเคลื่อนโครงการชุมชน                ไม้มีค่า และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นระยะ
                    2. ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 1  (พ.ศ.2562-2564) ของหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้ 5 กลไกหลักในการขับเคลื่อน สรุปได้ ดังนี้
กลไกหลัก          การดำเนินการ
1. การปลดล็อกทางกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง          กรมป่าไม้ได้ดำเนินการ ดังนี้
? ออกพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ?ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม? เพื่อเป็นการปลดล็อกไม้หวงห้าม1 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่                  วันที่ 17 เมษายน 2562
? จัดทำระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาต
ให้ทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือปลูกไม้ยืนต้นในเขตป่าสงวนแห่งชาติ                พ.ศ. 2565 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565)
? ผลักดันการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรสำหรับไม้ ไม้แปรรูปและของทำด้วยไม้ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร              พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
2. การเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์  กล้าไม้มีค่าทางเศรษฐกิจสูง           กรมป่าไม้ดำเนินการเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์กล้าไม้มีค่าทางเศรษฐกิจแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไป จำนวน 516,584 คน รวมทั้งสิ้น 243,782,291 กล้าไม้ และได้จัดทำเรือนเพาะชำกล้าไม้ชุมชนใน 730 ชุมชน ซึ่งสามารถผลิตกล้าไม้ได้ชุมชนละ 20,000 กล้าไม้ รวมทั้งสิ้น 14,600,000 กล้าไม้
3. การวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน          วช. ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น (1) การจัดทำฐานข้อมูล/                 แอปพลิเคชันและแปลงสาธิตสำหรับประชาชนเพื่อใช้ในการตัดสินใจปลูก         ไม้มีค่า ได้ฐานข้อมูล ?ชนิดไม้มีค่าที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และแปลงสาธิต       การปลูก? (2) การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการประเมินมูลค่าไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ได้เกณฑ์มาตรฐาน ตัวชี้วัดฐานข้อมูลราคากลางของ    ไม้เศรษฐกิจ และคู่มือการประเมินมูลค่าไม้สำหรับประชาชนและสถาบันการเงินใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อได้ (3) การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแม่นยำทางป่าไม้ (Precision Forestry) เพื่อสนับสนุนการจัดการและการประเมินมูลค่าไม้ (เช่น เทคโนโลยีการดูแลรักษาสวนไม้สักแม่นยำสูง ต้นแบบเทคโนโลยีการตรวจและประเมินการทำลายของมอดป่าเจาะต้นสักในต้นไม้และหมอนไม้) (4) การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อใช้สำหรับการจัดอบรมประชาชนและขยายผลสู่ระดับชุมชน ให้เกิดการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผลิตกล้าไม้คุณภาพดี (5) การสนับสนุนด้านต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการแปรรูป เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจการ และเกิดเป็นโรงงานชุมชนต้นแบบและแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าไม้ และ (6) การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและ  นวัตกรรม ทั้งการใช้ประโยชน์จากไม้ขนาดเล็ก เศษไม้ ปลายไม้ เพื่อการสร้างบ้าน อาคาร เฟอร์นิเจอร์ เชื้อเพลิงอัดเม็ด และพลังงาน เพื่อให้ประชาชนและชุมชนได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิค และวิธีการในการใช้ประโยชน์จากไม้เศรษฐกิจ
4. การขยายผลในพื้นที่
ทั่วประเทศไทย          สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)                     กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ขยายผล                         การดำเนินงานและสื่อสารสร้างการรับรู้และเข้าใจ โดยจัดทำเวทีขยายผล                การดำเนินงานในตัวแทน 17 จังหวัด มีชุมชนเข้าร่วมโครงการผ่านกิจกรรมป่าครอบครัวจำนวน 1,218 ราย ในพื้นที่ 15,123 ไร่ ได้แก่ ภาคเหนือ (จังหวัดแพร่และลำพูน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดสกลนคร กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และอุบลราชธานี) ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี และชุมพร) และภาคกลาง/ตะวันออก/ตะวันตก (จังหวัดสมุทรปราการ อยุธยา นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี จันทบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ  สามารถดำเนินการชุมชนไม้มีค่า คิดเป็นมูลค่า 227.74                 ล้านบาท และการใช้ประโยชน์ทางอ้อมผ่านการประเมินมูลค่าระบบนิเวศสะสม
พ.ศ. 2562-2564 คิดเป็นมูลค่า 1,202.38 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,430.12                    ล้านบาท
5. การประเมินมูลค่าการตลาดและแปรรูป          ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มชุมชนไม้มีค่า จำนวน  321 ชุมชน ทำให้มีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นไม้และป่าไม้ประมาณ 90 ล้านบาท รวมทั้งสนับสนุนชุมชนไม้มีค่าในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ซึ่งมีชุมชนเข้าร่วม จำนวน 60 ชุมชน ได้ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนประมาณ 468,355 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ จากจำนวนต้นไม้  895,532 ต้น โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมเป็นเงิน            2.72 ล้านบาท นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังได้สนับสนุนเกษตรกรในการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน โดยเบื้องต้นได้สนับสนุนเฉพาะในพื้นที่เอกสารสิทธิ์ จำนวน                 292 ต้น และให้มูลค่าหลักประกันแก่เกษตรกรที่ใช้ต้นไม้ยื่นกู้ คิดเป็นมูลค่า 3.10 ล้านบาท (ใช้ในการค้ำประกันเป็นวงเงิน 2.98 ล้านบาท) และการสร้าง               ผู้ประเมินมูลค่าต้นไม้ได้ผู้ประเมินที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินจาก             ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,504 คน
6. กลไกอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนชุมชนไม่มีค่า          ? องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ทส. ส่งเสริมเกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ของเกษตรกร โดยมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ 87,640 ไร่ แบ่งเป็นประเภทไม้โตช้า เช่น พะยูง สัก ประดู่ 18,540 ไร่ และไม้โตเร็ว เช่น กระถินเทพา ยูคาลิปตัส 69,100 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ 9,172 ราย และ    มีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวม 150,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
? กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์จากกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ                     ตามกฎกระทรวงกำหนดให้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้ให้แก่เกษตรกรและประชาชน ในจังหวัดขอนแก่น ตราด กระบี่ พิษณุโลก นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี และอ่างทอง รวมทั้งได้ขับเคลื่อนการใช้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์หลักประกันร่วมกับ ธ.ก.ส. ทั้งนี้ สถิติการนำต้นไม้มาเป็นหลักประกัน ตั้งแต่มีการจดทะเบียนการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกัน (ตั้งแต่วันที่                     16 มีนาคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2564)  จำนวน 143,056 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 136.83 ล้านบาท โดยมีการจำแนกเป็นผู้ให้สินเชื่อ 3 ราย ได้แก่              1) พิโกไฟแนนซ์ จำนวน  119,764 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 5.86 ล้านบาท             2) ธ.ก.ส. จำนวน  292 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 2.98 ล้านบาท และ                     3) ธนาคารกรุงไทย จำนวน 23,000 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 128 ล้านบาท

                    3. ผลลัพธ์ความสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 1
                              3.1 ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนจำนวน 514,642 ครัวเรือนได้รับประโยชน์จากโครงการ โดยเมื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจจาก 379 ชุมชน คิดเป็นมูลค่ารวม 3.10 ล้านบาท และชุมชนจำนวน 1,114 ครัวเรือน  ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม และนำไปสร้างอาชีพ เกิดรายได้จากการขายผลผลิตในพื้นที่โดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ไร่ละไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อปี รวมทั้งโครงการยังสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งข้นด้านอุตสาหกรรมไม้เพื่อการส่งออกของประเทศและเกิดกลไกการเพิ่มมูลค่าให้ต้นไม้จากการใช้ทางตรงและทางอ้อมเพื่อการออมในระยะยาว
                              3.2 ด้านสังคม ชุมชนสามารถปลูกและตัดไม้ในที่ดินตนเองได้โดยเสรีและได้รับความสะดวกในการทำไม้ที่ปลูกโดยไม่ต้องขออนุญาต เป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการปลูกสร้างสวนป่าของภาคเอกชนและชุมชน จากผลการปลดล็อคกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างชุมชนไม้มีค่าต้นแบบ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และสร้างความตระหนักรับรู้ถึงมูลค่าระบบนิเวศ ตลอดจนชุมชนมีขวัญ กำลังใจ และแรงจูงใจในการเพิ่มและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวทั้งในที่ส่วนบุคคลและพื้นที่สาธารณะประโยชน์
                              3.3 ด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยเฉพาะในส่วนป่าเศรษฐกิจประมาณ 107,928 ไร่ ในพื้นที่ชุมชนตามภูมินิเวศ สร้างความสมดุลของระบบนิเวศจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่สีเขียว                 นอกเขตอนุรักษ์ และสามารถลดจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียว อันเป็นการ            ลดก๊าซเรือนกระจกและลดสภาวะโลกร้อนของประเทศ
                    4. แผนการดำเนินงานโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565-2567) หน่วยงานได้              บูรณาการร่วมกันกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายในระยะที่ 2  โดยคาดว่าจะเกิดชุมชนไม้มีค่าเพิ่มขึ้น 4,969 ชุมชน ประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์ 4,650 ครัวเรือน ต้นไม้เพิ่มขึ้น 60,052,500 ต้น และมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 14,040 ไร่ รวมทั้งการดำเนินงานต่อเนื่องของหน่วยงานตามกลไกที่รับผิดชอบทั้ง 5 กลไก เช่น (1) กรมป่าไม้เสนอยกเลิกพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 เนื่องจากหมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และ (2) วช. อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมต้นแบบการปลูกไม้มีค่าและพืชเศรษฐกิจร่วมกับ                การเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา2 แบบครบวงจรใน 11 จังหวัด ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

1เดิมมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ขึ้นในที่ดินประเภทอื่นที่ไม่ใช่ป่า เป็นไม้หวงห้าม
2เนื่องจากพื้นที่ดำเนินโครงการชุมชนไม้มีค่าเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม โดยเห็ดไมคอร์ไรซามีคุณสมบัติอุ้มน้ำและกักเก็บธาตุอาหารได้ดีสามารถช่วยฟื้นฟูคุณภาพดิน  ส่งผลให้ปลูกไม้มีค่าได้ผลดี  รวมทั้งเห็ดชนิดดังกล่าวสามารถนำมารับประทานได้

6.  เรื่อง  มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ            มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 (จำนวน 6 เรื่อง)               [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 (เรื่อง มติ กก.วล. ให้ถือว่าการประชุม กก.วล. เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องสิ่งแวดล้อม) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 (เรื่อง มติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 ครั้งที่ 11/2548  และครั้งที่ 12/2548) รับทราบมติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญ และเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          ความเห็นของที่ประชุม/มติ กก.วล.
1. รายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชลบุรี ? พัทยา ของกรมทางหลวง
ภายหลังการเปิดให้บริการทางหลวงพิเศษฯ ทำให้ประชาชนบริเวณอำเภอศรีราชา ไม่สามารถเข้าใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ได้โดยตรง [ต้องเข้า-ออก ที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบางพระ (คีรี) และด่านฯ หนองขาม] ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางจึงได้มีการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ บริเวณที่พักริมทาง (Service Area) เพื่อก่อสร้างด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางฝั่งละประมาณ 2.50 ไร่ ใช้เป็นทางเข้า-ออกเสริมในช่วงระหว่างทางแยกต่างระดับบางพระถึงทางแยกต่างระดับหนองขาม บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ทำให้มีด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางเพิ่มขึ้นเป็น 6 แห่ง          มติ กก.วล. : รับทราบมติคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ                       ต่อรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯโดยให้                           กรมทางหลวงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ   อย่างเคร่งครัด

2. ความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหามลพิษกรณีโรงงานของบริษัท วิน โพรเสส  จำกัด ตำบลบางบุตร                    อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
ทส. ได้รายงานความก้าวหน้าต่อการแก้ไขปัญหามลพิษ
กรณีโรงงานฯ ดังนี้
          2.1 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ศาลจังหวัดระยองมีคำพิพากษาให้บริษัทฯ ที่ครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาตดำเนินการกำจัดวัตถุอันตรายให้เสร็จภายใน 2 ปี ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ศาลจังหวัดระยอง ได้แถลงความคืบหน้าการกำจัดบำบัดของเสีย และให้เวลาบริษัทฯ 4 เดือน ในการจัดการของเสียให้เป็นรูปธรรม
          2.2 กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยจังหวัดระยองได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษและเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ตำบลบางบุตร          มติ กก.วล. :
1. รับทราบความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหามลพิษฯ
2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ (1) ให้กรมควบคุมมลพิษติดตามการฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายจากบริษัทฯ ตามมาตรา 96 และมาตรา 97แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 25351 และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบบริษัทฯ (2) ให้ มท. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องและ (3) ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เร่งรัดและกำกับดูแลให้บริษัทฯ             ขนย้ายวัตถุอันตรายไปกำจัดตามคำพิพากษาของศาลฯ
โดยเร็ว

3. ผลการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติภัยสารเคมี บทเรียนจากเหตุเพลิงไหม้  กรณีโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้  เคมีคอล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
          3.1 อก. ได้จัดทำมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติภัยในโรงงาน เช่น จัดทำแผนการตรวจโรงงานที่มีความเสี่ยง สั่งการ ให้คำแนะนำ และกำชับกวดขันโรงงานฯ ทั่วประเทศ 2,582 แห่ง และออกประกาศ อก. เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 โรงงานที่มีการเก็บหรือการใช้สารอันตราย ตั้งแต่ 1 ตัน/1 สารต้องรายงานข้อมูลต่อกรมโรงานอุตสาหกรรม โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2565
          3.2 มท. ได้จัดทำมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น เตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการสาธารณภัยและกำหนดมาตรการการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับมาตรการ             ผังเมือง
          3.3 ทส. ได้จัดทำมาตรการจัดการมลพิษในสิ่งแวดล้อมกรณีภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายทั้งด้านการป้องกันการจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินจากสารเคมีและวัตถุอันตราย รองรับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ การเตรียมความพร้อม โดยจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินมลพิษจากสารเคมี และด้านการตอบโต้เหตุ โดยแต่งตั้งคณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และคณะทำงานเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติภัยสารเคมีในอนาคตสำหรับผู้ประกอบการ/โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ (หน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานสนับสนุน) และ     ภาคประชาชน/ชุมชนด้วย
          ความเห็นที่ประชุม :
1. เห็นควรเพิ่มเติมมาตรการเรื่องการสุ่มตรวจไว้ในแผนการควบคุมกำกับดูแลโรงงานที่ประกอบกิจการโรงงานที่อาจมีความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน และปรับให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในทุกปี เพื่อให้การควบคุมมีประสิทธิภาพ
2. ควรหามาตรการให้ความช่วยเหลือในการจ่ายค่าชดเชยแก่ภาคส่วนต่าง ๆ และประชาชนให้เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
มติ กก.วล. : รับทราบผลการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติภัยสารเคมี บทเรียนจากเหตุเพลิงไหม้ฯ และให้กรมควบคุมมลพิษ อก. และ มท. รับความเห็นของ กก.วล. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป

4. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
          4.1 โครงการต่อเชื่อมถนนพรานนก-                พุทธมณฑลสาย 4 กับสะพานพระราม 8 ของ            สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นการปรับปรุง แก้ไขรายละเอียดตามความเห็นคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ เช่น การกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านเสียง โดยติดตั้งกำแพงกันเสียงสูง 3 เมตร บนทางยกระดับของโครงการฯ 25 แห่ง รวมความยาว 3,248 เมตร กำหนดการตรวจวัดคุณภาพอากาศและระดับเสียง ปีละ 2 ครั้ง และสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่อยู่ใกล้แนวเส้นทางโครงการในระยะ 500 เมตร ปีละ 1 ครั้ง ในช่วง 3 ปีแรกของการดำเนินการ
          4.2 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา  ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์                    จังหวัดสงขลา-ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง [ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นรายละเอียด (Environmental Impact Assessment : EIA) ก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ตำบลเกาะใหญ่               อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา-ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง] ของกรมทางหลวงชนบท เป็นการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดตามประเด็นและหัวข้อที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯกำหนด เช่น กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพน้ำผิวดิน/นิเวศวิทยาในน้ำ มีการใช้สารละลายโพลิเมอร์แทนการใช้สารเบนโทไนต์2 และติดตั้งกระบะป้องกันการล้นเพื่อป้องกันมิให้สารละลายโพลิเมอร์ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา และด้านระบบนิเวศที่สำคัญ/นิเวศเฉพาะ ก่อนการก่อสร้างฐานรากหรือตอม่อจะมีการใช้ปลอกเหล็กเพื่อใช้เป็นผนังกั้นน้ำและทำการติดตั้งม่านดักตะกอนล้อมรอบบริเวณก่อสร้างฐานรากเพื่อควบคุมการฟุ้งกระจายของตะกอนสู่ทะเลสาบ กำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำและนิเวศวิทยาในน้ำ                2 ครั้งต่อปี ติดตามตรวจสอบการกระจายตัวของโลมาอิรวดี 2 ครั้งต่อปี  และสำรวจสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม 1 ครั้งต่อปี ตลอดระยะเวลาก่อสร้างและดำเนินการ          มติที่ประชุม : เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ต่อรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้ง 2 โครงการ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเพิ่มเติมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                 (โควิด-19) และดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่กำหนดไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด
2. ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการฯ                      ที่กำหนดไว้
3. โครงการต่อเชื่อมถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 กับสะพานพระราม 8ฯ ให้สำนักการโยธาฯ รับประเด็นเพิ่มเติมต่าง ๆ ไปพิจารณาดำเนินการ เช่น การบริหารจัดการพื้นที่บริเวณโรงพยาบาลศิริราช การเพิ่มความถี่การตรวจวัด PM2.5 ในระยะดำเนินการ การแก้ไขสรุปผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ การปรับปรุงมาตรการจัดการดินจากการก่อสร้าง และการจัดการของเสียอันตราย การดูแลเรื่องปัญหาการจราจร               การป้องกันอุบัติเหตุในระหว่างการก่อสร้าง                  การประสานหน่วยงาน
เพื่อขออนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้างโครงการและประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
4. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาฯ ให้กรมทางหลวงชนบทรับประเด็นเพิ่มเติมต่าง ๆ ไปพิจารณาดำเนินการ เช่น การจัดการปริมาณดินที่ขุดจากการทำตอม่อสะพาน การจัดการของเสียอันตราย
ที่เกิดขึ้นในช่วงดำเนินการก่อสร้าง การปรับปรุงข้อมูลด้านสาธารณสุข และด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ดินที่ประชาชนจะมีการอุทิศให้ การจัดหาพาหนะและจุดสกัดเพื่อใช้ในการลาดตระเวนและติดตามผลกระทบต่อโลมาอิรวดีในระยะยาวและการขออนุญาตเข้าดำเนินโครงการในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง

5. การจัดทำดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม (Environmental  Performance Index: EPI) ของประเทศไทย
          5.1 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดคะแนนตัวชี้วัด EPI3           ปี 2561-2565 ไว้ที่ 50 คะแนน ปี 2566-2570 กำหนดไว้ที่ 55 คะแนน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2576-2580
          5.2 ในปี 2565 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ดำเนินโครงการจัดทำดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของไทย เพื่อศึกษาองค์ประกอบและวิธีการคำนวณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบข้อมูลในการประเมิน EPI ของไทย สรุปได้ ดังนี้
                    5.2.1 การจัดทำดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมฯ มีกรอบการประเมิน 3 แนวทาง ดังนี้            (1) ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเยลและมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย               (EPI Yale & Columbia 2020)  (2) ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมที่ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานในไทย (EPI+)               มีรูปแบบการคำนวณและค่าถ่วงน้ำหนักสอดคล้องกับEPI Yale & Columbia 2020 แต่ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานในไทยที่เป็นปัจจุบันในการคำนวณ ซึ่งเป็นข้อมูลไม่เกินปี 2563 (ค.ศ. 2020) และ (3) ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมที่ใช้ตัวชี้วัดในบริบทของไทยเป็นตัวชี้วัดที่ได้รับการคัดเลือกว่ามีรูปแบบการคำนวณที่สอดคล้องกับบริบทของไทยและเชื่อมโยงกับนโยบายและแผนของประเทศ รวมทั้งตัวชี้วัดตามเป้าหมาย             การพัฒนาที่ยั่งยืนและแผนอื่น ๆ ของไทย เพื่อสร้างสมรรถนะสิ่งแวดล้อมที่เป็นดัชนีที่สอดคล้องกับ                 การพัฒนาของไทย
                    5.2.2 ข้อมูล EPI ของไทยที่เผยแพร่ในปี 2563 มีคะแนนเฉลี่ย 45.4 คะแนน อยู่ลำดับที่ 78 (จากทั้งหมด 180 ประเทศ) แต่หากใช้ข้อมูล EPI+ พบว่า คะแนนจะเพิ่มขึ้นเป็น 57.9 เนื่องจากค่าคะแนนที่ได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลของไทยที่ยังไม่มีความชัดเจน ประกอบกับมหาวิทยาลัยฯ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น พื้นที่คุ้มครองทางทะเล  การสูญเสีย                พื้นที่ป่า สถานภาพปริมาณสัตว์น้ำคงเหลือ  ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการบำบัดน้ำเสีย ทั้งนี้ หากไทยสามารถปรับข้อมูลให้มีความทันสมัย จะทำให้คะแนนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศสูงขึ้น จาก 43.5เป็น 63  คะแนน  ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น จาก 48.4 เป็น 50.0 และลำดับของไทยจะปรับจากลำดับที่ 78 เป็นลำดับที่ 40 อย่างไรก็ตามเนื่องจากในแต่ละรอบที่มหาวิทยาลัยฯ ประเมินค่า EPI  ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณ การถ่วงน้ำหนัก และชุดข้อมูลประกอบกับข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณอาจจะไม่ใช่ข้อมูลปัจจุบันของไทย จึงเห็นควรใช้ EPI+ ในการประเมินค่าคะแนน EPI
โดยการนำเข้าข้อมูลจาก 21 หน่วยงาน4 และให้ สศช. นำข้อมูลพิจารณาประกอบการรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 18 ทั้งนี้ สผ. อยู่ระหว่างการพัฒนา EPI Thailand เพื่อให้ไทยมีกรอบการประเมินที่สะท้อนบริบทการบริหาร                 จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ต่อไป          มติที่ประชุม :
1. เห็นชอบรายงานผลการจัดทำดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมฯ และให้ สศช. นำดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมที่ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานในประเทศ (EPI+) ไปพิจารณาใช้ประกอบการรายงานผลสัมฤทธิ์ของ           การดำเนินงานในแผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว ภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 18 การเติบโต             อย่างยั่งยืน
2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 21 หน่วยงานนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปี
3. ให้ สผ. เป็นหน่วยประสานงานกลางในการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นประจำทุกปี

6. (ร่าง) แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)
สผ. ได้จัดทำ (ร่าง) แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนฯ เพื่อเป็นแนวทาง
การดำเนินงานด้านพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนให้กับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายภายในปี 2570 พื้นที่สีเขียวได้รับการดูแรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและบรรลุปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานของประเทศมีตัวชี้วัด ได้แก่ (1) พื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากร 10 ตารางเมตรต่อคน                                (2) ร้อยละของพื้นที่สีเขียวในเมืองและชุมชน                 (เมืองขนาดใหญ่ ร้อยละ 5 เมืองขนาดกลาง  ร้อยละ 5 และเมืองขนาดเล็ก ร้อยละ 10) (3) พื้นที่สีเขียวต้นแบบ ภูมิภาคละ 5 แห่ง และ (4) เครือข่ายพื้นที่สีเขียวภูมิภาคละ 5 เครือข่าย และมีแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้
(1) ทุกภาคส่วนมีจิตสำนึกและหน้าที่ในการจัดการพื้นที่สีเขียว (2) เมืองมีความมั่นคงทางอาหาร สามารถรองรับภัยพิบัติและมีฐานทรัพยากรเพื่อเอื้อต่อการดำรงชีวิตของประชาชน  (3) เครื่องมือ กลไก เพื่อเอื้อต่อการเพิ่มและการจัดการพื้นที่สีเขียว และ (4) ตระหนักใน                 ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อสร้างพลังทางสังคม           มติที่ประชุม :
1. เห็นชอบ (ร่าง) แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนฯ
2. ให้ สผ. นำ (ร่าง) แนวทางฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินงานต่อไป




1พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2532 มาตรา 96 บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแหน หรือค่าเสียหายเพื่อการนั้น และมาตรา 97 บัญญัติให้ผู้ใดกระทำหรือละเว้น                 การกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลาย หรือทำให้สูญหาย หรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่                 ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น
2เบนโทไนต์และโพลิเมอร์ คือ วัตถุดิบที่ใช้สำหรับการขุดเจาะพื้นดินเพื่อให้แนวดินคงรูปและง่ายต่อการขุดเจาะปัจจุบันมีการนำ               โพลิเมอร์มาใช้งานแทนเบนโทไนต์สำหรับงานบางประเภท เนื่องจากย่อยสลายง่ายกว่าและมีคุณภาพดีกว่ามาก
3ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Index: EPI) เป็นการพัฒนาวิธีการและตัวชี้วัดเพื่อประเมินว่าประเทศหนึ่ง ๆ มีการดำเนินการต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับใด ซึ่งวิธีการประเมินตัวชี้วัดนี้พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของมหาวิยาลัยเยลและมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งมีการรายงานผลครั้งแรกในปี 2014 มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างมาตรฐานในการชี้วัดผลงานของประเทศหนึ่ง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมาตามหลักวิซาการในลักษณะคล้ายกันกับตัวชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) กับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product: GNP) อย่างไร              ก็ตาม ปัจจุบันไทยยังไม่มีตัวชี้วัดสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยตรง จึงใช้เกณฑ์การประเมินของมหาวิทยาลัยฯ ที่มีการเผยแพร่ค่า EPI ของแต่ละประเทศในทุก ๆ 2 ปี
4สศช. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมประมง                      กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรน้ำ สผ. กรมควบคุมมลพิษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งซาติ การประปาส่วนภูมิภาค  และการประปานครหลวง

7. เรื่อง  สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนตุลาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนตุลาคม 2565  ดังนี้
                    สาระสำคัญ
1.          สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนตุลาคม 2565 ดังนี้
          ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนตุลาคม 2565 เท่ากับ 108.06 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ                ปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 101.96 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 5.98 (YoY) น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.41 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ตามการชะลอตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าในกลุ่มอาหาร เนื่องจากมาตรการค่าครองชีพของภาครัฐ รวมถึงกระทรวงพาณิชย์ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการในการลดหรือตรึงตราราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพประกอบกันฐานราคาที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ระดับสูง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้เทียบกับเดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ร้อยละ 0.33 (MoM) สูงขึ้นเพียงเล็กน้อยตามราคาผักสดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ขณะที่ เนื้อสัตว์ ผลไม้สด เครื่องประกอบอาหาร และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาดราคาลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมีการเคลื่อนไหว ดังนี้
          หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อยู่ที่ร้อยละ 9.58 (YoY) ตามการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวของกลุ่มอาหารสด โดยสูงขึ้นร้อยละ 10.48 จากร้อยละ 10.97 ในเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่ราคาชะลอตัว อาทิ เนื้อสัตว์ (เนื้อสุกร ไก่สด) ผักสดและผลไม้ (ต้นหอม ผักบุ้ง ส้มเขียวหวาน แตงโม) รวมทั้ง เครื่องประกอบอาหาร  (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง) สาเหตุที่ทำให้สินค้าในหมวดอาหารยังสูง เนื่องจากการทยอยปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนมาแล้วจากช่วงก่อนหน้า ราคาจึงทรงตัวอยู่ระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม และอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ปรับลดลง อาทิ แป้งข้าวเจ้า ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักชี ขึ้นฉ่าย กล้วยน้ำว้า มะพร้าวผลแห้ง/ขูด และมะขามเปียก เป็นต้น
          หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม อยู่ที่ร้อยละ 3.56 (YoY) ตามการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวของกลุ่มพลังงาน โดยสูงขึ้นร้อยละ 13.07 จากร้อยละ 16.10 ในเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้ง ค่ายาและเวชภัณฑ์ ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอสกอฮอล์ ราคาชะลอตัวเช่นกัน นอกจากนี้ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน) ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (สบู่ถูตัว ยาสีฟัน ค่าแต่งผมชาย) และ      ค่าโดยสารสาธารณะ ราคาสูงขึ้น สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ ยาสมุนไพร/ยาแผนโบราณ หน้ากากอนามัย แป้งผัดหน้า เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า เป็นต้น
          เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก อยู่ที่ร้อยละ 3.17 (YoY)  สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนตุลาคม 2565 เทียบกับเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.33 (MoM)  ตามการสูงขึ้นของราคาผักสด (แตงกวา ผักบุ้ง ต้นหอม) ข้าวสารเจ้า ขนมปังปอนด์ ค่าโดยสารสาธารณะ และน้ำมันดีเซล ขณะที่ เนื้อสัตว์ (เนื้อสุกร ไก่สด) ผลไม้ (ส้มเขียวหวาน ลองกอง) เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม น้ำปลา) อาหารโทรสั่ง (Delivery) และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ราคาปรับลดลง และดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 10 เดือน                 (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 6.15 (AoA)
                    ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนตุลาคม 2565 ชะลอตัวร้อยละ 9.9 (YoY) เทียบกับร้อยละ 10.5 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ตามการชะลอตัวของสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาปรับสูงขึ้นตามราคาปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตยังสูงกว่าปีก่อน คือ ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง และเงินบาทที่อ่อนค่า
                    ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนตุลาคม 2565 ชะลอตัวร้อยละ 3.6 (YoY) จากร้อยละ 5.2 ในเดือนก่อนหน้า ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงกว่าปีก่อนยังคงมีสาเหตุจากราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ ปัญหาอุทกภัย และราคาพลังงานที่สูงขึ้น
                    สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 47.7 จากระดับ 46.4 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต                (3 เดือนข้างหน้า) ยังอยู่ในความเชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.7 สาเหตุมาจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่คาดว่าจะออกมาในช่วงที่เหลือของปี และราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะกดดันต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคได้ในระยะต่อไป
                    2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
                    แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะชะลอตัว ตามราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพหลายรายการที่ชะลอตัวลง และบางรายการราคาทรงตัวแม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐ ประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย จะส่งผลให้สินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อของไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่อุปทานยังตึงตัว อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น จากการส่งออก การท่องเที่ยว และราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่ยังอยู่ในระดับดี รวมถึงเงินบาทที่ยังอ่อนค่า ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป
                    ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 5.5 - 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

8. เรื่อง โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) (โครงการร่วมลงทุน O&M) ตามหลักการของโครงการร่วมลงทุน O&M ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่ ทล. เสนอแล้ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. โครงการทางหลวงพิเศษ M82 เป็นส่วนแรกของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82             สายบางขุนเทียน - ปากท่อ มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยสามารถรองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสู่ภาคใต้ของประเทศ แบ่งเบาปริมาณจราจรบน ทล. 35 (ถนนพระราม 2) ทั้งนี้ ปัจจุบัน ทล. อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษ M82 ในส่วนของงานโยธา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย ด้วยแหล่งเงินงบประมาณแผ่นดิน ปี 2563 - 2565 คาดว่าจะแล้วเสร็จ ปี 2566 (2) ระยะที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว ด้วยแหล่งเงินงบเงินทุนค่าธรรมเนียมฯ จากแผนประมาณการรายจ่ายที่ได้ขอความตกลงกับ กค. ระหว่างปี 2565 - 2567 คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2568
                    2. ทล. ได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินโครงการ ประเมินความเหมาะสมของโครงการ และเสนอรูปแบบที่เหมาะสมของการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการร่วมลงทุน O&M ตามขั้นตอนการนำเสนอโครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ                พ.ศ. 2562) รวมทั้งได้นำข้อคิดเห็นต่าง ๆ จากภาคเอกชน (Market Sounding) มาประกอบการศึกษา โดยสรุปได้ว่า รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Grossing Cost เป็นรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์สูงสุดของจำนวนเงินงบประมาณที่จ่ายไป โดยตามผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นรูปแบบการลงทุนที่ภาครัฐมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงสุดและให้ผลลัพธ์ความคุ้มค่าของเงิน (Value for Money: VfM)               เมื่อเทียบกับกรณีที่ภาครัฐดำเนินการเอง (Public Sector Comparison: PSC) สูงสุด
                    ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Gross Cost มีแนวทางการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้
                              (1) เอกชนจะเป็นผู้ลงทุนงานระบบ1 และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง และโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ Build Transfer Operate (BTO)
                              (2) เอกชนเป็นผู้จัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านทาง เพื่อนำส่งรายได้ทั้งหมดให้แก่ภาครัฐ
                              (3) เอกชนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการตลอดอายุของสัญญา โดยจะได้รับค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) โดยภาครัฐแบ่งเป็นการจ่ายคืนค่าตอบแทนเงินลงทุนค่างานระบบและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เป็นระยะเวลา 10 ปี และค่าตอบแทนการให้บริการในส่วนของค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากปีที่เปิดให้บริการ
                    3. ทล. ได้คำนวณมูลค่าโครงการร่วมลงทุน O&M ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณมูลค่าของโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2562 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการคำนวณมูลค่าโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 โดยโครงการร่วมลงทุน O&M มีมูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 29,412.44 ล้านบาท ณ อัตราคิดลด ร้อยละ 3 จึงถือเป็นโครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไปที่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562 และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญของหลักการของโครงการร่วมลงทุน O&M สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
3.1 วัตถุประสงค์          (1) เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขับบน ทล. 35 (ถนนพระราม 2) โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น อันเกิดจากการขยายตัวของชุมชนเมืองทั้ง 2 ข้างทาง ของ ทล. 35 ที่มีชุมชนหนาแน่นและสถานที่สำคัญหลายแห่งส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกและความล่าช้าในการเดินทางและการขนส่งสินค้าของประชาชน ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากทางเศรษฐกิจและสังคมต่อผู้เดินทางและต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการทางหลวงพิเศษ M82
(2) เพิ่มโครงข่ายถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และในอนาคตเมื่อพัฒนาโครงการฯ ต่อจากบ้านแพ้วไปจนถึงปากท่อจะสามารถเชื่อมต่อกับโครงการในอนาคต ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายนครปฐม - ชะอำ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเชื่อมต่อการเดินทางจากพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครไปสู่พื้นที่ภาคใต้ได้โดยตรง ช่วยให้การเดินทางมีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมโลจิสติกส์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
3.2 แนวเส้นทาง          โครงการทางหลวงพิเศษ M82 มีแนวเส้นทางอยู่บน ทล. 35 (ถนนพระราม 2) ลักษณะเป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง ขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 24.7 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ของ กทพ. ประมาณบริเวณกิโลเมตร 11+959 (ของ ทล. 35) และมีจุดสิ้นสุดประมาณบริเวณกิโลเมตร 36+645 (ของ ทล. 35) ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
3.3 ขอบเขตของโครงการ          ครอบคลุม
- งานออกแบบ ก่อสร้าง และติดตั้งงานระบบและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสำหรับโครงการทางหลวงพิเศษ M82
- ดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการฯ ทั้งในส่วนของงานโยธาที่รัฐเป็นผู้ลงทุนและงานระบบที่เอกชนเป็นผู้ลงทุน
ลักษณะโครงการ ได้รับการออกแบบให้มี
- การควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์ (Full Control of Access) รองรับการสัญจรที่สามารถใช้ความเร็วได้อย่างปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด
- ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบปิด (Closed System) คิดค่าผ่านทางตามระยะทางแบบมีค่าแรกเข้า ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (ระบบ M-Flow) หรือรูปแบบที่เหมาะสม
- จุดขึ้น - ลง โครงการทางหลวงพิเศษ M82 เพื่อเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมหลักตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งกำหนดไว้ในตำแหน่งจัดเก็บค่าผ่านทางที่เหมาะสมตลอดแนวโครงการ จำนวน 6 แห่ง และตำแหน่งจัดเก็บค่าผ่านทางบริเวณรอยต่อโครงการฯ เชื่อมต่อกับโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ของ กทพ.
- อาคารศูนย์ควบคุมกลาง อาคารหน่วยตรวจการณ์และกู้ภัย อาคารศูนย์ดำเนินงานและบำรุงรักษา และอาคารปฏิบัติงานซ่อมบำรุง
3.4 รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน          เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
รายการ          ขอบเขตงาน
3.4.1 หน้าที่และความรับผิดชอบของเอกชนในการดำเนินโครงการร่วมลงทุน O&M           - ผู้ออกแบบ ก่อสร้าง และติดตั้งงานระบบและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยมีรูปแบบงานระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (ระบบ M-Flow) หรือรูปแบบที่เหมาะสม งานระบบอำนวยการและบริหารจัดการจราจร ตามมาตรฐานและข้อกำหนดของ ทล.
- ผู้ดำเนินงานและบำรุงรักษาทั้งหมดสำหรับโครงการฯ ทั้งในส่วนของงานโยธาที่รัฐเป็นผู้ลงทุนและงานระบบที่เอกชนเป็นผู้ลงทุน
- ผู้ดำเนินการบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางนำส่งให้กับภาครัฐ ทั้งหมดตามขอบเขตและเงื่อนไขที่กำหนดตลอดอายุของสัญญา
3.4.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินโครงการร่วมลงทุน O&M           - รับผิดชอบเวนคืนที่ดินและก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดของโครงการทางหลวงพิเศษ M82
- เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เอกชนคู่สัญญาลงทุนก่อสร้าง รวมถึงรายได้ทั้งหมดจากค่าธรรมเนียมผ่านทาง
- กำกับดูแลและติดตามตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานของเอกชน
- จ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) แก่เอกชนตามเกณฑ์ประสิทธิภาพการให้บริการ โดยภาครัฐแบ่งเป็นการจ่ายคืนค่าตอบแทนเงินลงทุนค่าติดตั้งงานระบบและองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี และค่าตอบแทนการให้บริการในส่วนของค่าดำเนินการและบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากปีที่เปิดให้บริการ
3.4.3 ระยะเวลาของโครงการร่วมลงทุน O&M           มีระยะเวลารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 32 ปี นับแต่วันเริ่มต้นงานที่ ทล. กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
(1) ระยะเวลาการออกแบบและก่อสร้างไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันเริ่มต้นงานที่ ทล. กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน โดยจะเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเริ่มเปิดให้บริการโครงการร่วมลงทุน O&M ได้ทันทีเมื่อดำเนินการออกแบบและก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนระยะเวลา 2 ปี ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาที่กรมทางหลวงกำหนด
(2) ระยะเวลาการดำเนินงานและบำรุงรักษาไม่เกิน 30 ปี นับแต่วันเปิดให้บริการสายทาง โดยจะไม่มีการขยายระยะเวลาการดำเนินงานและบำรุงรักษา ถึงแม้ว่าเอกชนจะสามารถดำเนินการออกแบบและก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการได้ก่อนระยะเวลาออกแบบและก่อสร้าง 2 ปี จะหมดลง
3.4.4 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโครงการร่วมลงทุน O&M           ภาครัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทางและทรัพย์สินที่เอกชนได้ลงทุน
3.4.5 การแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชน          - ภาครัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทางและเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้โดยตรง
- เอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางของโครงการฯ และนำส่งให้ภาครัฐตามอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางที่กำหนด โดยเอกชนจะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะทยอยจ่ายให้เอกชนหลังจากเริ่มเปิดให้บริการเป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากปีที่เปิดให้บริการ

3.5 มาตรการสนับสนุนโครงการร่วมลงทุน          การจ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) เป็นมูลค่าปัจจุบัน (Present Value: PV) ไม่เกินกรอบวงเงิน 11,340.28 ล้านบาท2 อัตราคิดลดร้อยละ 3 ต่อปี โดยภาครัฐแบ่งจ่ายคืนค่าตอบแทนเงินลงทุนค่าติดตั้งงานระบบเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี และค่าตอบแทนการให้บริการในส่วนของค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากปีที่เปิดให้บริการ โดยใช้จ่ายจากเงินทุนค่าธรรมเนียมฯ ตามแผนประมาณการรายจ่ายที่จะขอทำความตกลงกับ กค. ภายหลังได้รับอนุมัติโครงการร่วมลงทุน O&M จากคณะรัฐมนตรี                    ตามขั้นตอนต่อไป
3.6 แหล่งเงินทุนและแผนการใช้จ่ายเงิน          ในส่วนของการจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) จะใช้แหล่งเงินทุนจากเงินทุนค่าธรรมเนียม3 ซึ่งเป็นเงินที่จัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทางของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองตามความในพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 (พ.ร.บ. กำหนดค่าธรรมเนียมฯ พ.ศ. 2497) และนำส่งเข้าบัญชีเงินทุนค่าธรรมเนียมฯ ที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับ กค. โดยมีแผนการใช้จ่ายเงิน ดังนี้
แผนการใช้จ่ายเงิน (ล้านบาท)
ปีที่ 1          ปีที่ 2          ปีที่ 3          ปีที่ 4          ปีที่ 5          ปีที่ 6          ปีที่ 7          ปีที่ 8          ปีที่ 9          ปีที่ 10
408.67          422.10          436.21          451.02          466.57          482.90          500.05          518.05          536.95          556.80
ปีที่ 11          ปีที่ 12          ปีที่ 13           ปีที่ 14          ปีที่ 15          ปีที่ 16          ปีที่ 17          ปีที่ 18           ปีที่ 19          ปีที่ 20
437.65          459.53          482.51          506.64          531.97          558.57          586.49          615.82          646.61          678.94
ปีที่ 21          ปีที่ 22          ปีที่ 23          ปีที่ 24          ปีที่ 25          ปีที่ 26           ปีที่ 27          ปีที่ 28          ปีที่ 29          ปีที่ 30
712.89          748.53          785.96          825.26          866.52          909.85          955.34          1,003.11          1,053.26          1,105.92
- จากการวิเคราะห์คาดการณ์กระแสเงินสดของเงินทุนค่าธรรมเนียมฯ ในอนาคตจากกระแสรายได้และภาระรายจ่ายในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตพบว่า บัญชีเงินทุนค่าธรรมเนียมฯ มีกระแสเงินสดสุทธิเพียงพอสำหรับการนำไปใช้จ่ายเงินค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) ของโครงการฯ ระหว่างปีงบประมาณ 2568 - 2597
                    4. คค. แจ้งว่า คณะกรรมการ PPP ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ได้พิจารณาโครงการร่วมลงทุน O&M และมีมติ ดังนี้
                              4.1 เห็นชอบหลักการของโครงการร่วมลงทุน O&M (ตามข้อ 3) ตามที่ ทล. เสนอ เพื่อ คค. นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการร่วมลงทุน O&M ต่อไป
                              4.2 มอบหมายให้ คค. ทล. และคณะกรรมการคัดเลือกรับไปดำเนินการ ดังนี้
                                        4.2.1 ให้ คค. และ ทล. พิจารณาแผนการลงทุนโครงการด้านการคมนาคมขนส่งอื่น ๆ ในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงการร่วมลงทุน O&M อย่างรอบคอบ และไม่ให้เกิดภาระการลงทุนที่ซ้ำซ้อนในแนวเส้นทางเดียวกัน
                                        4.2.2 ให้ คค. กำกับดูแลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง เช่น ทล. กทพ. และผู้ประกอบการอื่น ๆ ให้มีระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เป็นโครงข่ายเดียวกัน (Single Platform) และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงานได้อย่างไร้รอยต่อ (Seamless)
                                        4.2.3 ให้ ทล. และคณะกรรมการคัดเลือกเร่งดำเนินการในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้ไม่กระทบต่อแผนการเปิดให้บริการโครงการทางหลวงพิเศษ M82 ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2568 โดยคำนึงถึงสิทธิและประโยชน์ของผู้รับบริการและการใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และนวัตกรรมของเอกชน ในการดำเนินโครงการฯ รวมถึงดำเนินการตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการนำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้กับโครงการร่วมลงทุนที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการร่วมลงทุน O&M แล้ว
                                        4.2.4 ให้ ทล. กำกับการดำเนินการในเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการทางหลวงพิเศษ M82 ให้เป็นไปตามแผนงาน เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนที่ได้รับคัดเลือกตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
                                        4.2.5 ให้ ทล. และคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณากำหนดเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) ให้แก่เอกชน ที่อิงอยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์ประสิทธิภาพของการให้บริการควบคู่กับข้อตกลงและเงื่อนไขคุณภาพของการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) โดยเฉพาะมิติในด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง รวมไปถึงความสะอาดของพื้นที่โดยรอบของแนวเส้นทางโครงการฯ
                              4.3 มอบหมายให้ ทล. คค. และคณะกรรมการคัดเลือกรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
1 งานระบบ ได้แก่ ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow ซึ่งมีตำแหน่งจัดเก็บค่าผ่านทางบริเวณทางขึ้น - ลง จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ด่านพันท้ายนรสิงห์ ด่านมหาชัย 1 ด่านมหาชัย 2 ด่านสมุทรสาคร 1 ด่านสมุทรสาคร 2 และด่านบ้านแพ้ว และตำแหน่งจัดเก็บค่าผ่านทางบริเวณรอยต่อเชื่อมต่อกับโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ของ กทพ. ระบบควบคุมการจราจร (Traffic Surveillance and Control System) ระบบเครือข่ายสื่อสาร (Communication Network System) และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2 ประกอบด้วย (1) ค่าตอบแทนเงินลงทุนค่าติดตั้งงานระบบ จำนวน 139.99 ล้านบาท รวมมูลค่า 1,399.90 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 1,159.36 ล้านบาท และ (2) ค่าตอบแทนการให้บริการในส่วนของค่าดำเนินงานและบำรุงรักษาในปีแรก จำนวน 268.68 ล้านบาท อัตราการเพิ่มร้อยละ 5 ต่อปี รวมมูลค่า 17,850.79 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 10,180.92 ล้านบาท
3 คณะกรรมการบริหารเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบและรับทราบการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) โครงการฯ รูปแบบ PPP Gross Cost โดยนำเงินทุนค่าธรรมเนียมฯ จ่ายเป็นค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) ให้กับเอกชน ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 และภายหลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว ทล. จะรายงานต่อคณะกรรมการบริหารเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางเพื่อทราบ และดำเนินการคัดเลือกเอกชนผู้ร่วมทุนพร้อมทั้งเจรจาการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึงการจ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) ตามระเบียบกรมทางหลวงว่าด้วยเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง พ.ศ. 2549 ต่อไป

9. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 2/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุม กบส. ครั้งที่ 2/2565 พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติและรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป
                    2. เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 (แผนปฏิบัติการฯ)
                    3. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 (เรื่อง ผลการประชุม กบส.            ครั้งที่ 1/2561) เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) [เดิม บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)] และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)1 (บมจ. โทรคมนาคมฯ) ให้เหมาะสม
                    สำหรับงบประมาณที่จะใช้จ่ายในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นั้น เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อมาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะบูรณาการ โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน ผลสัมฤทธิ์         ความคุ้มค่า ศักยภาพและความพร้อมในทุกมิติ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ
                    แผนปฏิบัติการฯ มีฐานะเป็นแผนระดับที่ 3 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาระบบ               โลจิสติกส์สามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้
                    1. เป้าหมายการพัฒนา ?เพื่อให้ระบบโลจิสติกส์เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าที่สำคัญในอนุภูมิภาคและภูมิภาค? โดยอาศัยหลักการและแนวคิด 4 ประการ ประกอบด้วย                 (1) ความต่อเนื่องของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ จากผลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ผ่านทาและนำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ต่อเนื่อง (2) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประโยชน์ในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างครอบคลุม (3) การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และ (4) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
                    2. เป้าหมายและตัวชี้วัดภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ได้แก่
เป้าหมาย          ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
(1) สัดส่วนต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อ GDP ลดลง          สัดส่วนต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 5 ต่อปี
(ปัจจุบัน สัดส่วนต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อ GDP ณ ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 6.4)2
(2) สัดส่วนต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อ GDP ลดลง          สัดส่วนต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 5 ต่อปี
(ปัจจุบัน สัดส่วนต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อ GDP ณ ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 6.4)
(3) ประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศด้านพิธีการศุลกากร (ประสิทธิภาพฯ ด้านพิธีการศุลกากร) ดีขึ้น          อันดับประสิทธิภาพฯ ด้านพิธีการศุลกากรดีขึ้นอยู่ในอันดับ 25 หรือคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.20 (ปัจจุบัน อันดับประสิทธิภาพฯ ด้านพิธีการศุลกากรของไทย ณ ปี 2561 อยู่ที่ 36 โดยมีคะแนนอยู่ที่ 3.14 คะแนน)3
(4) ประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศด้านสมรรถนะผู้ให้บริการ               โลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและธุรกิจ (ประสิทธิภาพฯ ด้านสมรรถนะ                         ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและธุรกิจ) ดีขึ้น          อันดับประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศด้านสมรรถนะผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและธุรกิจดีขึ้น อยู่ในอันดับ 25 หรือคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.60 (ปัจจุบัน อันดับประสิทธิภาพฯ ด้านสมรรถนะผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ทั้งภาครัฐและธุรกิจของไทย ณ ปี 2561 อยู่ที่ 32 โดยมีคะแนนอยู่ที่ 3.41 คะแนน)
                    3. แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 5 แนวทาง 18 กลยุทธ์ โดยในแต่ละแนวทางการพัฒนามีโครงการสำคัญ ที่ สศช. ได้รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการ รวม 195 โครงการ/มาตรการ (ไม่นับรวมโครงการย่อย) วงเงินรวมที่คาดว่าจะใช้ลงทุนในช่วงแผนปฏิบัติการฯ ประมาณ 704,000 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2565)
หัวข้อ          สาระสำคัญ
แนวทางการพัฒนาที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก
เป้าหมาย          ต้นทุนการขนส่งสินค้าในกิจกรรมโลจิสติกส์ลดลง
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมดเฉลี่ยร้อยละ 7
กลยุทธ์          (1) สร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ระหว่างท่าเรือ รถไฟ ถนน และท่าอากาศยานอย่างครอบคลุม เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่อุตสาหกรรม และด่านชายแดนสำคัญ
(2) พัฒนาศูนย์บริการโลจิสติกส์และปรับปรุงด่านชายแดนที่สำคัญ
(3) บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์บริการโลจิสติกส์
(4) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
หน่วยงานหลัก          คค.
หน่วยงานสนับสนุน          กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และภาคเอกชน
โครงการสำคัญ          จำนวน 106 โครงการ กรอบวงเงิน 701,394.6866 ล้านบาท เช่น
- โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (คค.) วงเงิน 25,375.86 ล้านบาท
- แผนดำเนินการจัดตั้งจุดจอดพักรถบรรทุกให้ครบ 43 แห่ง (คค.) วงเงิน 4,100 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 ช่วง (คค.) วงเงิน 260,920.83 ล้านบาท
- โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 34 (คค.) วงเงิน 20,991.6 ล้านบาท
แนวทางการพัฒนาที่ 2 การยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าโซ่อุปทาน
เป้าหมาย          ต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมลดลง
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          (1) ต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าเกษตรสำคัญต่อยอดขายเฉลี่ยร้อยละ 3 - 5 ต่อปี
(2) ต้นทุนโลจิสติกส์สินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญต่อยอดขายลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3 - 5 ต่อปี
กลยุทธ์          (1) พัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร
(2) พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม
(3) การดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานหลัก          กษ. และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
หน่วยงานสนับสนุน          กค. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คค. ดศ. กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. และเอกชน
โครงการสำคัญ          จำนวน 22 โครงการ กรอบวงเงิน 1,701.8361 ล้านบาท เช่น
- โครงการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เกษตรเพื่อลดการสูญเสีย (กษ.) - โครงการเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน (อก.)
- โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตสินค้าข้าว (กษ.)
แนวทางการพัฒนาที่ 3 การพัฒนาพิธีการศุลกากรและกระบวนการนำเข้า - ส่งออกที่เกี่ยวข้องและอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ
เป้าหมาย          ประสิทธิภาพด้านพิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าดีขึ้น
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          (1) ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้า (Time Release Study: TRS) ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี
(2) จำนวนธุรกรรมการให้บริการนำเข้าและส่งออกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นร้อยละ 100
กลยุทธ์          (1) การพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลและใช้ประโยชน์จากระบบ NSW
(2) พัฒนากระบวนการโลจิสติกส์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
(3) พัฒนาการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน ณ ประตูการค้าที่สำคัญ
(4) เร่งพัฒนาความร่วมมือและแก้ไขอุปสรรคการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
(5) ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
หน่วยงานหลัก          กค.
หน่วยงานสนับสนุน          กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงกลาโหม กษ. คค. ดศ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พณ. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และภาคเอกชน
โครงการสำคัญ          จำนวน 30 โครงการ กรอบวงเงิน 241.3981 ล้านบาท เช่น
- โครงการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงทางอิเล็กทรอนิกส์สินค้าประมง ผ่านระบบ National Single Window (กษ.) วงเงิน 20 ล้านบาท
- โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการให้บริการประชาชนเพื่อรองรับงาน NSW (คค.) วงเงิน 24.3801 ล้านบาท
แนวทางการพัฒนาที่ 4 การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (Logistics Service Providers: LSPs)
เป้าหมาย          ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          (1) มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี
(2) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สาขาขนส่งและโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี
กลยุทธ์          (1) เสริมสร้างศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์
(2) ยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยสู่เวทีสากล
หน่วยงานหลัก          พณ.
หน่วยงานสนับสนุน          กษ. อว. คค. ดศ. พน. กระทรวงแรงงาน (รง.) สธ. อก. และภาคเอกชน
โครงการสำคัญ          จำนวน 18 โครงการ กรอบวงเงิน 323.3853 ล้านบาท เช่น
- โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศบริหารจัดการขนสงสินค้าทางถนน เพื่อช่วยสนับสนุนและยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนของประเทศไทย (คค.) วงเงิน 67 ล้านบาท
- โครงการกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยี (พณ.) วงเงิน 5.2 ล้านบาท
แนวทางการพัฒนาที่ 5 การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาบุคลากร และการติดตามผลด้านโลจิสติกส์
เป้าหมาย          ผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ได้รับการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          จำนวนโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ที่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นทุกปี
กลยุทธ์          (1) ส่งเสริมการวิจัยและนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัยภายในประเทศ
(2) ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนากิจกรรมโลจิสติกส์
(3) พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์
(4) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาด้านโลจิสติกส์
หน่วยงานหลัก          อว. และ รง.
หน่วยงานสนับสนุน          กค. กษ. พณ. สธ. อก. และภาคเอกชน
โครงการสำคัญ          จำนวน 19 โครงการ กรอบวงเงิน 209.574 ล้านบาท เช่น
- โครงการการพัฒนาแผนที่นำทางสำหรับการขนส่งที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (อว.) วงเงิน 50 ล้านบาท
- โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและการบริหารจัดการสำหรับระบบโลจิสติกส์ของประเทศที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล (อว.) วงเงิน 90 ล้านบาท
- โครงการพัฒนาการวิเคราะห์และทดสอบระบบรางรถไฟความเร็วสูง (อว.) วงเงิน 45 ล้านบาท
- โครงการพัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหรรมโลจิสติกส์ (รง.) วงเงิน 49.3635 ล้านบาท
1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 มกราคม 2563) เห็นชอบในหลักการให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ควบรวมกิจการเป็นบริษัทเดียวตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้บริษัทที่ตั้งใหม่ใช้ชื่อ ?บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ? ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (1 กันยายน 2563) รับทราบการใช้ชื่อบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการดังกล่าว โดยเมื่อจดทะเบียนจะใช้ชื่อว่า ?บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)? ทั้งนี้ ดำเนินการควบรวมกิจการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564
2 รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2564 สศช.
3 Logistics Performance Index (LPI) Report 2018 ธนาคารโลก
4 ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3

10. เรื่อง  การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
                    1. มอบหมาย ดศ. โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัล [วิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (Digital Startup)] และบริการดิจิทัล ที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล
                    2. มอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย
                    สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย เห็นควรให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรปรับแผนการปฏิบัติงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ดศ. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยเริ่มมีการพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (Digital Startup) ตั้งแต่ปี 2555 และรัฐบาลเริ่มมีการเร่งรัดพัฒนาระบบนิเวศที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาธุรกิจดังกล่าว ใน พ.ศ. 2559 โดยมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ ทำให้เกิดการเติบโตของวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยในปี 2559 มีมูลค่าการลงทุนในผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นไทย ประมาณ 94.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2565 มีมูลค่าการลงทุนดังกล่าว ประมาณ 530.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจคิดเป็นอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 63.51 ต่อปี1 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นยังประสบปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาธุรกิจในเรื่องของการเข้าสู่ตลาด เช่น (1) การได้รับการสนับสนุนที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้แผนการดำเนินงานของผู้ประกอบการไม่มีความต่อเนื่อง (2) การเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นไปด้วยความยากลำบาก (3) สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นส่วนใหญ่มีธุรกิจที่เป็น Software as a Service (Saas) หรือบริการซอฟต์แวร์ ซึ่งไม่มีสินทรัพย์เป็นการค้ำประกัน เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการใช้บริการดิจิทัลของผู้ประกอบการไทยอย่างเต็มศักยภาพ ดศ. โดย สศด. จึงเห็นควรส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของไทยด้วยการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลต่อไป
                    2. ระหว่างปี 2564 - 2565 ดศ. โดย สศด. ได้หารือกับกรมบัญชีกลางและจัดทำเอกสารกรอบแนวคิดและข้อเสนอแนะการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          รายละเอียด
2.1 คำนิยามที่สำคัญ          - บริการดิจิทัล หมายถึง โปรแกรมบริการ (Software as a Service) อันเกิดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน หรือชุดของคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานตามที่กำหนดไว้ รวมถึงบริการผ่านระบบ ช่องทาง หรือกระบวนการ (แพลตฟอร์ม) ที่ใช้ในการให้บริการดิจิทัลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล สินค้า หรือบริการ ระหว่างผู้พัฒนาและผู้ใช้บริการ โดยให้บริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น
- วิสาหกิจเริ่มต้นดิจิทัล หมายถึง บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและเริ่มต้นดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาแล้วไม่เกิน 5 ปี ในธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัล ได้แก่ กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software) กิจการฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Hardware and Smart Device) กิจการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Services) กิจการพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) เป็นต้น
2.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล          - เพื่อส่งเสริมการนำบริการดิจิทัลจากวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ และส่งเสริมการพัฒนาบริการดิจิทัลหรือแพลตฟอร์มของไทย กระตุ้นการบริโภคบริการดิจิทัลภายในประเทศ ทดแทนบริการดิจิทัลจากต่างประเทศให้สามารถใช้ในวงกว้าง และมีมาตรฐานเทียบเคียงที่เชื่อถือได้
- เพื่อให้มีการรวบรวมรายการบริการดิจิทัลของผู้ประกอบการดิจิทัลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและเพื่อนำไปต่อยอดเป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
2.3 วิธีการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล          ให้ผู้ประกอบการดิจิทัลยื่นเสนอผลงานพร้อมเอกสารรับรองนิติบุคคลไทย การรับรองคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบและพิจารณาขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล
2.4 คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอขึ้นทะเบียนได้ เช่น             (1) เป็นวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย และมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทยโดยแสดงหนังสือรับรองนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีเป็นนิติบุคคลในรูปแบบอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจาก สศด.
   (2) มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาหรือให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ในประเทศไทยหรือมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาหรือให้บริการอุปกรณ์ด้านดิจิทัลหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อัจฉริยะหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีนวัตกรรมในประเทศไทย หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการด้านดิจิทัล
   (3) ได้รับการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตหรือพัฒนาหรือบริการซอฟต์แวร์อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อัจฉริยะ และบริการดิจิทัล เช่น ISO/IEC 29110 หรือ Capability Maturity Model Integration (CMMI) หรือมาตรฐานอื่น ๆ ตามที่ สศด. กำหนด ที่ยังไม่หมดอายุอย่างหนึ่งอย่างใด จากหน่วยรับรอง (Certified Body) หรือได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์ที่ สศด. กำหนด
   (4) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกปิดกิจการ
   (5) ไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ และไม่เป็นบุคคลซึ่งถูกแจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานของกรมบัญชีกลาง
2.5 หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล             (1) ด้านความสามารถในการทำงาน
      (1.1) บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลต้องสามารถใช้บริการได้จริงครบถ้วนในทุกฟังก์ชันการใช้งาน อ้างอิงตามข้อมูลสินค้าและบริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ยื่นประกอบการพิจารณา
      (1.2) ต้องมีผู้ใช้บริการแล้วหรือมีผลการใช้งานจากผู้บริโภค
      (1.3) บริการมีความน่าเชื่อถือ มีหลักฐานการรับรองคุณภาพ เช่น ตัวอย่างใบเสร็จการซื้อขายบริการ การใช้บริการในภาคธุรกิจ ใบรับรองคุณภาพ หรือหนังสือรับรองผลงาน
      (1.4) มีรายละเอียดข้อมูลคุณลักษณะเฉพาะของบริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลครบถ้วน อย่างน้อยประกอบด้วย หน้าที่การทำงานของระบบ ภาพสินค้าและบริการ เป็นต้น
      (1.5) เว็บไซต์บริษัทต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าและบริการและสามารถตรวจสอบได้
   (2) ด้านราคา
      กำหนดราคาค่าบริการที่มีรายละเอียดชัดเจน กรณีที่ผ่านการพิจารณาการขึ้นทะเบียนสินค้าและบริการดิจิทัลแล้ว สามารถปรับลดราคาเพื่อเป็นข้อเสนอราคาพิเศษได้ แต่ไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ กรณีที่มีคุณลักษณะเฉพาะของสินค้าและบริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพิ่มเติมจากเดิม หากต้องการปรับเปลี่ยนราคาขายจะสามารถดำเนินการได้หลังจาก 6 เดือนไปแล้วเท่านั้น หรือได้รับความเห็นชอบจาก สศด. สินค้าและบริการดิจิทัลที่ผ่านหลักเกณฑ์จะได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัลตามระยะเวลาของใบรับรองมาตรฐานจากหน่วยรับรอง (ประมาณ 2 ปี) ทั้งนี้ หากพบภายหลังว่ามีการละเมินทรัพย์สินทางปัญญา หรือมีปัญหาการใช้งานที่ไม่สามารถยอมรับได้ หรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ระบุไว้ สินค้าและบริการดิจิทัลนั้นจะถูกถอดถอนจากบัญชีบริการดิจิทัล และผู้ขายต้องรับผิดชอบต่อความเสียหาย โดยผู้ซื้อจะได้รับการปกป้องจากข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา
2.6 ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา          ในระยะเริ่มต้น ใช้งบประมาณของ สศด. ในการดำเนินการขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัลและการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการ
2.7 ประโยชน์ที่จะได้รับ          - ผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ รวมถึงภาคเอกชนและประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ผ่านกลไกนโยบายภาครัฐ และเป็นการลดภาระด้านงบประมาณในการบำรุงรักษาระบบดิจิทัลสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ใช้บัญชีบริการดิจิทัล
- ผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นที่ประกอบธุรกิจที่มีมาตรฐานตามที่ สศด. กำหนดได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล ซึ่งเป็นการแสดงการรับรองคุณภาพ สร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าว รวมถึงเป็นการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลของไทยอีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ บัญชีบริการดิจิทัล แบ่งประเทศบริการโดยเทียบเคียงกับการจัดประเภทครุภัณฑ์2 ของสำนักงบประมาณ (สงป.) โดยประกอบด้วยหมวดหมู่หลัก 11 หมวดหมู่ ดังนี้ (1) บริการดิจิทัลด้านการศึกษา  (EdTech) (2) บริการดิจิทัลด้านการเกษตร (AgTech) (3) บริการดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว (Travel Tech) (4) บริการดิจิทัลด้านการเงิน (FinTech) (5) บริการดิจิทัลด้านการบริการภาครัฐ (GovTech) (6) บริการดิจิทัลด้านสุขภาพ (Health Tech) (7) บริการดิจิทัลด้านการให้บริการ (Service Tech) (8) บริการดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) (9) บริการดิจิทัลด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) (10) บริการดิจิทัลด้านการจัดการข้อมูลระบบ (Data Platform) และ (11) อื่น ๆ โดยมีตัวอย่างวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นและคำอธิบายสินค้าและบริการ ดังนี้
ชื่อวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น          ประเภทบริการ          คำอธิบายสินค้าหรือบริการ
Toktor VR          EdTech          แอปพลิเคชันเรียนภาษาผ่านการท่องเที่ยวในโลกความจริงเสมือน (Virtual Reality) ด้วยเนื้อหาวิดีโอสามมิติ 180 องศา

Link-Data Platform          Data Platform          แพลตฟอร์มให้บริการข้อมูลแผนที่ผ่านแอปพลิเคชันในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบด้วยชุดเครื่องมือที่เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่และระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ได้ ฟังก์ชันหลักคือการวัดที่ดินและวางแผนการทำการเกษตร
Virtual Clinic
(Health at Home)          Health Tech          แพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้สูงอายุปรึกษาแพทย์ทางไกลและให้บริการเรียกพยาบาลมารักษา (เช่น เจาะเลือดเพื่อทราบปัญหาสุขภาพ บริการทำแผล และหัตการ) ที่บ้าน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแลหรือพาไปโรงพยาบาลเป็นประจำ
                    3. คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ได้พิจารณากรอบแนวคิดและข้อเสนอแนะ                 การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย และมีมติเห็นชอบให้มีการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล พร้อมผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และขับเคลื่อนบัญชีบริการดิจิทัลในภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผู้ประกอบการดิจิทัลไทยในวงกว้าง และมอบหมายให้ สศด. ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
                    4. ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดการสนับสนุนสินค้าหรือบริการบางประเภทอย่างเป็นรูปธรรม ได้มี                   การกำหนดสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เป็นรายการพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนภายใต้กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (กฎกระทรวงฯ) พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดรายละเอียดที่สำคัญ เช่น (1) นิยามหรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ (2) บัญชีสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง และ (3) หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบและ/หรือให้การรับรองสินค้าและบริการ เป็นต้น โดยมีรายการพัสดุฯ ที่สำคัญ เช่น
กฎหมาย          รายการพัสดุ          ลักษณะเฉพาะ/ชื่อบัญชี          หน่วยงานตรวจสอบ/รับรอง
กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2563          พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม          สินค้าหรือบริการที่มีรายชื่อตามบัญชีนวัตกรรมไทย          สงป.
กฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563          พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ          พัสดุที่ได้รับการรับรองและออกเครื่องหมายสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand)          สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
          พัสดุที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อม          สินค้าหรือบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน แต่มีคุณสมบัติหรือคุณภาพเทียบเท่าหรือสูงกว่าสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน โดยพิจารณาจากขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน การนำกลับไปใช้ (reuse) การแปรใช้ใหม่ (recycle) และการนำไปกำจัดตามบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม          กรมควบคุมมลพิษ
          พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ          ผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิต จัดทำขึ้น จำหน่าย หรือให้บริการโดยผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้ขึ้นบัญชีรายการพัสดุและบัญชีรายชื่อผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ดังนั้น หากภาครัฐต้องการผลักดันให้มีบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐมีการจัดซื้อจัดจ้างจากวิสาหกิจเริ่มต้นดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม ก็สามารถกำหนดผลิตภัณฑ์ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง และการรับรองสินค้าหรือบริการด้านดิจิทัลไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวได้ โดยต้องกำหนดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรับรองหรือตรวจสอบบริการดิจิทัลที่ชัดเจน แต่โดยที่พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 ได้ระบุอำนาจหน้าที่และภารกิจของ สศด. ไว้ ค่อนข้างกว้างขวาง มิได้กำหนดให้เป็นหน่วยงานรับรองอย่างชัดเจน กรมบัญชีกลางในการประชุมหารือ ตามข้อ 2 ได้เสนอแนะให้ สศด. นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายให้ สศด. ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรองและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น โดยกรมบัญชีกลางจะเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกาศกฎกระทรวง เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อไป
                    5. หากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่ ดศ. เสนอ ดศ. จะจัดทำหนังสือถึงกรมบัญชีกลางเพื่อเสนอนโยบายการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อกรมบัญชีกลางนำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณาตามขั้นตอนรวมถึงประสานงานกรมบัญชีกลางเรื่องการเชื่อมโยงระบบการทำงานและข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อเตรียมการรองรับการใช้งานบัญชีบริการดิจิทัลภายหลังการประกาศกฎกระทรวง
1 ข้อมูลจาก https://startupdirectory.techsauce.co/ แจ้งเพิ่มเติมโดย ดศ.
ปี          มูลค่าการลงทุนฯ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
2559          94.37
2560          113.90
2561          73.96
2562          123.48
2563          484.41
2564          312.04
2565          530.10
2 อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการดำเนินการระหว่างภาครัฐที่ต้องการใช้บริการดิจิทัลจากบัญชีบริการดิจิทัลจะเป็นกลไกการจัดซื้อจัดจ้างในรูปแบบบริการ เพื่อให้หน่วยงานสามารถใช้บริการระบบดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องถือครองเป็นครุภัณฑ์ให้เกิดภาระงบประมาณบำรุงรักษา

11. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)                  ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้
                     1. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2565
                     2. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ (นโยบายดาวเทียมสื่อสารฯ)
                    และให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     ดศ. รายงานว่า คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ได้รับทราบและพิจารณาการดำเนินการภายใต้อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                     1. รับทราบคำสั่งคณะกรรมการฯ ที่ 1/2565 ลงวันที่ 20 เมษายน 2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน จำนวน 6 คณะ ดังนี้
                               1.1 คณะอนุกรรมการปรับปรุงแนวทางการพัฒนากิจการอวกาศของประเทศไทย
                               1.2 คณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ (Space Situational Awareness and Space Traffic Management) (คณะอนุกรรมการฯ เฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ)
                               1.3 คณะอนุกรรมการเตรียมการจัดตั้งสำนักงานประสานงานภูมิภาคของสำนักงานกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติ (UNOOSA) ในประเทศไทย
                               1.4 คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายอวกาศ
                               1.5 คณะทำงานเตรียมการจัดประชุมความร่วมมือด้านอวกาศระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย
                              1.6 คณะทำงานจัดทำนโยบายการดำเนินงานดาวเทียมแห่งชาติ
                    2. รับทราบผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการฯ เฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ ซึ่งกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม กระทรวงกลาโหมอยู่ระหว่างการปรับปรุง (ร่าง) นโยบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามมติคณะอนุกรรมการฯ เฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ ก่อนเสนอคณะอนุกรรมการฯ เฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรอวกาศ และคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
                    3. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงาน เรื่อง (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. .... ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและขอให้หน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนการให้ข้อมูลประกอบการพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. .... ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ต่อไป
                    4. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานศูนย์ประกอบทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ (National Assembly Integration and Test: AIT) ในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาดาวเทียมของประเทศไทย และมอบหมายสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ให้ดำเนินการขยายผลและส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจอวกาศแก่ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงขยายขีดความสามารถของศูนย์ประกอบทดสอบดาวเทียมแห่งชาติให้รองรับการให้บริการหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป
                    5. รับทราบการขอข้อมูลความชัดเจนของนโยบายการดำเนินการโครงการดาวเทียมแห่งชาติ เพื่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน กสทช.)                 ใช้ประกอบการพิจารณาในการกำหนดแนวทางการจัดสรรสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมต่อไป
                    6. เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2580 (National Space Master Plan 2023-2037) (แผนแม่บทอวกาศฯ) โดยมีองค์ประกอบสำคัญได้แก่ (1) วิสัยทัศน์ คือ ?มุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากกิจการอวกาศเพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน? (2) พันธกิจ เช่น พัฒนาและส่งเสริมความมั่นคงอวกาศ พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอวกาศ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศ ติดตาม เฝ้าระวังวิจัยและสำรวจอวกาศ (3) ประเด็นยุทธศาสตร์ จำนวน 8 ยุทธศาสตร์ อาทิ ยุทธศาสตร์ที่ 1 กิจการอวกาศเพื่อความมั่งคง และยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอวกาศ และยุทธศาสตร์ที่ 8 การสร้างกลไกการขับเคลื่อนแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ และ (4) จุดมุ่งเน้นของแผนแม่บทอวกาศฯ 3 ระดับ
                    โดย สทอภ. ได้ดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศฯ ตามความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว เช่น กำหนดเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัดและผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนอย่างชัดเจนตามกรอบระยะเวลาของ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศฯ และสร้างความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ เป็นต้น
                    ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีมติให้รับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการและมอบหมายให้ สทอภ. นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป และมอบหมายบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (บมจ.NT) ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการมีดาวเทียมสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่สามารถกำกับดูแลและบริหารจัดการเอง เพื่อใช้ในการให้บริการสาธารณะ ความมั่งคง และเชิงพาณิชย์โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี และขอให้หน่วยงานที่ดำเนินการด้านดาวเทียมร่วมกันบูรณาการการทำงานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
                    7. (ร่าง) นโยบายดาวเทียมสื่อสารฯ
                               7.1 สาระสำคัญของ (ร่าง) นโยบายดาวเทียมสื่อสารฯ
หัวข้อ          รายละเอียด
7.1.1
เหตุผลและความจำเป็น          - ที่ผ่านมารัฐได้รับการจัดสรรช่องสัญญาณ จำนวน 1 วงจรดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (สัญญาสัมปทานดาวเทียม) เพื่อใช้ในกิจการของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้งานในปัจจุบัน ต่อมาหน่วยงานของรัฐได้มีการเช่า/ซื้อช่องสัญญาณของดาวเทียมเพิ่มเติมจากดาวเทียมไทยคม 6 ไทยคม 7 และช่องสัญญาณจากต่างชาติ
- นอกจากการใช้งานดาวเทียมเพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการสื่อสารแล้ว หน่วยงานของรัฐมีการใช้งานดาวเทียมเพื่อสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ โดยเป็นการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และดาวเทียมระบบนำร่อง
- จากการศึกษาพบว่า มีหลายประเทศที่มีการดำเนินงานดาวเทียมโดยรัฐเป็นเจ้าของเพื่อใช้ในกิจกรรมการบริการสาธารณะและด้านความมั่งคง รวมไปถึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่สำคัญของประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีดาวเทียมของหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 168 ดวง และของหน่วยงานทหาร จำนวน 230 ดวง (จากทั้งหมด 2,944 ดวง)
7.1.2
นิยามของดาวเทียมแห่งชาติ          ดาวเทียมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐหรือดาวเทียมที่รัฐมีสิทธิในการควบคุม และ/หรือบริการจัดการเพื่อสนันสนุนภารกิจของรัฐ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และรักษาความมั่นคงของประเทศ
7.1.3
แนวความคิดหลัก          การออกแบบนโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติอยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดหลักในการดำเนินงาน ดังนี้
(1) จัดให้มีดาวเทียมสื่อสารของประเทศที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐหรือรัฐมีสิทธิในการควบคุม และ/หรือบริหารจัดการ เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่งคงของประเทศ
(2) ใช้ประโยชน์จากเอกสารข่ายงานดาวเทียมและตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมในนามประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 60
(3) ให้ บมจ.NT รัฐวิสาหกิจในสังกัด ดศ. ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจด้านการให้บริการการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ
(4) ดำเนินการภายใต้กรอบแห่งกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือการจัดทำบริการสาธารณะ
7.1.4
แนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ          มีแนวทางการดำเนินการ 3 แนวทาง
(1) แนวทางที่ 1 รัฐลงทุนการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเองโดยตรงเป็นการดำเนินงานโดยรัฐลงทุนในดาวเทียมเองโดยตรง และใช้ดาวเทียมดังกล่าวในกิจการของรัฐเท่านั้น ซึ่งรัฐจะมีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการดาวเทียม โดยให้ กสทช. พิจารณาการจัดสรรสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมรองรับการดำเนินงานดาวเทียมแห่งชาติ
(2) แนวทางที่ 2 รัฐมอบหมายให้ บมจ.NT เข้าร่วมการคัดเลือกผู้ขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) โดยแข่งขันกับเอกชนอย่างเป็นธรรม เมื่อ บมจ.NT ได้รับการจัดสรรวงโคจรดาวเทียมแล้ว ให้ บมจ.NT จัดสรรความจุบางส่วนให้รัฐใช้งาน และนำความจุที่เหลือไปหารายได้ทางธุรกิจต่อไป
(3) แนวทางที่ 3 รัฐมีนโยบายให้ กสทช. กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการคัดเลือกผู้ขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) โดยกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) จะต้องจัดสรรช่องสัญญาณในสัดส่วนหรือรูปแบบการบริหารความจุตามที่รัฐกำหนดเพื่อการใช้งานในภารกิจของรัฐเป็นการเฉพาะโดยรัฐจะต้องมีสิทธิในการบริหารจัดการช่องสัญญาณในส่วนของรัฐ และมี Gateway เฉพาะสำหรับสนับสนุนการใช้งานของรัฐ รวมทั้งมีสิทธิในการเป็นผู้ควบคุมดาวเทียม ร่วมกับผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ในส่วนการบริหารจัดการการใช้งานในภารกิจของรัฐดังกล่าว รัฐจะมอบหมายให้ บมจ.NT ดำเนินการ โดยรัฐจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการใช้งานในภารกิจของรัฐและคลื่นความถี่ที่เหลือไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
ทั้งนี้ การดำเนินการในทั้ง 3 แนวทางดังกล่าว ล้วนมีข้อดี ข้อเสีย/ข้อจำกัดในการดำเนินการที่แตกต่างกันไป ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องพิจารณาทางเลือกในการดำเนินการที่สอดคล้องกับบริบท สถานการณ์ ความพร้อมและศักยภาพ ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ
7.1.5
ชุดข่ายงานดาวเทียมที่มีความเป็นไปได้สำหรับการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ          - ได้มีการจัดชุดข่ายงานดาวเทียม (Package) ออกเป็น 5 ชุด1 ดังนี้
  (1) ชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 1 ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่ 50.5 องศาตะวันออก และ 51 องศาตะวันออก มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทวีปแอฟริกา เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางส่วนของประเทศจีน มหาสมุทรอินเดีย และบางส่วนของมหาสมุทรแอตแลนติก
(2) ชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 2 ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางส่วนของประเทศจีน บางส่วนของประเทศออสเตรเลีย และมหาสมุทรอินเดีย
(3) ชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 3 ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่ 119.5 องศาตะวันออก และ 120 องศาตะวันออก พื้นที่ให้บริการครอบคลุมทวีปเอเชีย                          ทวีปออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย และบางส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิก
(4) ชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 4 ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่ 126 องศาตะวันออก              มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย และบางส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิก
(5) ชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 5 ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่ 142 องศาตะวันออก                มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย และบางส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิก
-  ในการพิจารณาความเป็นไปได้สำหรับชุดข่ายงานดาวเทียมที่จะนำมาใช้สำหรับดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ พื้นที่ให้บริการของดาวเทียม (Footprint) และความต้องการใช้งานของภาครัฐและคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้อง โดยจากการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ พบว่า ชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 2 (ตำแหน่งวงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก) และชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 3 (ตำแหน่งวงโคจรที่ 119.5 องศาตะวันออก และ 120 องศาตะวันออก) มีความเป็นไปได้สำหรับการดำเนินงานดาวเทียมแห่งชาติ เนื่องจากมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งยังมีดาวเทียมที่ใช้งานตำแหน่งวงโคจรดังกล่าวอยู่แล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของสถานีภาคพื้นที่ดินสำหรับการใช้งานชุดข่ายงานดาวเทียมทั้ง 2 ชุดดังกล่าว2
7.1.6
ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ          ประกอบด้วย 4 มิติ ดังนี้
(1) งบประมาณในการดำเนินงาน เนื่องจากการลงทุนเพื่อจัดทำดาวเทียมในแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณที่สูง ถึงแม้รัฐจะสามารถลงทุนโดยตรงได้แต่อาจก่อให้เกิดภาระงบประมาณแก่ภาครัฐในระยะยาวได้ นอกจากนี้ รัฐยังสามารถพิจารณาดำเนินการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติโดยร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ไม่เป็นภาระงบประมาณแก่รัฐเกินควร
(2) ความพร้อมทางเทคโนโลยี การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างดาวเทียม ปัจจุบันไทยมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอวกาศที่เริ่มพัฒนาผลิตชิ้นส่วนและดาวเทียม และอาจพิจารณาทางเลือกในการจัดหาหรือนำเข้าชิ้นส่วนหรือดาวเทียมจากผู้ผลิตต่างประเทศ โดยต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดทำและเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่มีความพร้อมและศักยภาพในการบริหารจัดการสถานีบริการภาคพื้นดิน ตัวรับสัญญาณการบริหารจัดการและควบคุมดาวเทียม และการนำดาวเทียมไปใช้ประโยชน์ด้วย
(3) บุคลากร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อร่วมกันออกแบบดาวเทียม ภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในภารกิจของรัฐ สำหรับการบริหารจัดการดามเทียมนั้น บมจ.NT ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจด้านการให้บริการโทรคมนาคม ถือเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการดาวเทียมโดยมีประสบการณ์ในการจัดการสถานีบริการภาคพื้นดิน แต่อย่างไรก็ตาม บุคลากรของ บมจ.NT ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ และสั่งสมความเชี่ยวชาญ ในการบริหารจัดการดาวเทียม โดยในระยะแรกยังอาจจำเป็นต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญของภาคเอกชนในการบริหารจัดการ
(4) นโยบายและการบริหารจัดการของรัฐ รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดทิศทางการดำเนินงานตามนโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติอย่างชัดเจน โดยกำหนดเป็นโครงการขับเคลื่อนสำคัญ (Flagship Project) พร้อมทั้งมีการกำหนดแผนงานโครงการ งบประมาณ กลไกการดำเนินงาน และหน่วยงานรับผิดชอบ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการออกแบบและกำหนดทิศทางการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว

                     7.2 ความเห็นของคณะกรรมการฯ
                                    ในระยะเร่งด่วน ควรแจ้งให้สำนักงาน กสทช. พิจารณากำหนดเงื่อนไข                  ในการคัดเลือกผู้ขอรับอนุญาตฯ เพิ่มเติม3 โดยให้จัดสรรความจุให้เพียงพอต่อความต้องการของภาครัฐ และมอบหมายให้ บมจ.NT พิจารณาการเข้าไปมีส่วนร่วมในการควบคุม และ/หรือ บริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่มีเหตุวิกฤตฉุกเฉินหรือสงคราม
                     7.3 มติคณะกรรมการฯ
                               7.3.1 เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายดาวเทียมสื่อสารฯ โดยให้รับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดำเนินการ และให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                               7.3.2 มอบหมาย บมจ.NT ดำเนินการจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญดำเนินการสำรวจความต้องการใช้งานดาวเทียมฯ ในเชิงลึกต่อไป โดยให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้วย เช่น สทอภ. เป็นต้น
                              7.3.3 มอบหมายให้ประธานกรรมการ บมจ.NT และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.NT ร่วมกันพิจารณาตามข้อสั่งการของประธานกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ ดังนี้
                                        (1) การมีดาวเทียมเป็นของตนเอง และสามารถบริหารจัดการและควบคุมดาวเทียมได้เอง ภายในระยะเวลา 3 ปี
                                        (2) การเข้าร่วมประมูลเพื่อคัดเลือกผู้ขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package)
                                        (3) ประสานงานกับ กสทช. ในการเจรจาขอรับสิทธิในการเข้าใช้ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมใหม่กับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)

1 ชุดข่ายงานดาวเทียมอ้างอิงจาก (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ในลักษณะจัดชุด (Package) (ฉบับแก้ไขปรับปรุง) ที่อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป                ณ ขณะนั้น
2 ทั้งนี้ อำนาจในการพิจารณาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรและข่ายงานดาวเทียมสำหรับการดำเนินงานดาวเทียมแห่งชาติเป็นอำนาจของ กสทช. ในการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3 สำนักงาน กสทช. ได้ชี้แจงว่า ได้นำหลักการของ (ร่าง) นโยบายดาวเทียมสื่อสารฯ พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการฯ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในระยะเร่งด่วน เสนอให้ กสทช. พิจารณาเพื่อใช้ประกอบการแก้ไขปรับปรุงประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ด้วยแล้ว

12. เรื่อง ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการดำเนินโครงการหลวง จำนวน 39 โครงการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินโครงการหลวง จำนวน 39 โครงการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้
                    1. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ต้นน้ำชั้นที่ 1
                    2. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และวันที่ 17 มีนาคม 2535 ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม (โซนซี1)
                    3. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528 วันที่ 21 ตุลาคม 2529 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ลุ่มน้ำชันที่ 1 บี และลุ่มน้ำ               ชั้นที่ 2
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. ที่ผ่านมาการดำเนินโครงการหลวง จำนวน 39 โครงการ ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พระเยา ตาก แม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ 61,659 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา เช่น โครงการหลวง               อินทนนท์2 จังหวัดเชียงใหม่ โครงการหลวงแม่สะเรียง3 จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการดำเนินการโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้เข้าดำเนินการ โดยกรมป่าไม้ได้มีประกาศกรมป่าไม้ เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้เข้าดำเนินการ เพื่อควบคุม ดูแลรักษาหรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ4 ตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติ               ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พระราชบัญญัติป่าสงวนฯ) ซึ่งกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้เข้าดำเนินการโครงการพัฒนาป่าไม้โครงการหลวงจำนวน 39 โครงการ เพื่อควบคุม ดูแล รักษา หรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ ตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง (มูลนิธิฯ) ในการนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นแนวทางในการวางรากฐานพัฒนาชุมชนในทุกมิติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มีความพอมี พอกิน พอใช้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นจากรายได้ที่เพียงพอ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่า ให้ราษฎรมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้คงความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำ ตลอดจนการจัดระเบียบการอยู่อาศัย การใช้ประโยชน์ที่ดินของราษฎรให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
                    2. อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นและเป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง5 เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องออกจากพื้นที่นั้น แต่เนื่องจากโครงการหลวงเป็นการดำเนินการระยะยาวและต้องดำเนินการโดยตัวมูลนิธิฯ เอง จึงไม่อาจดำเนินการตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
                    3. มูลนิธิฯ จึงได้ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนฯ (ป.ส.21) ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดที่ตั้งสถานีวิจัยและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงและพื้นที่ทำกินของเกษตรกรสมาชิกโครงการหลวง 39 โครงการ ในพื้นที่                7 จังหวัด เนื้อที่รวม 61,659 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่จำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ (โซนซี) และอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ลุ่มน้ำชั้น 1 บี ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความเห็นชอบการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐในการดำเนินโครงการหลวงดังกล่าวและให้ดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายโดยเคร่งครัด
                    4. ปัจจุบันการดำเนินงานโครงการหลวงทั้ง 39 โครงการ มีกิจกรรมหลักที่สำคัญประกอบด้วย งานวิจัย งานพัฒนา และงานตลาด เพื่อให้เกิดความสมดุลในระยะยาวโดยการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพบนฐานความรู้ จากผลงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งมีชนิดของพันธุ์พืชและสัตว์ให้เกษตรกรเลือกประกอบอาชีพตามความเหมาะสมภายใต้มาตรฐานอาหารปลอดภัยและระบบการผลิตและการตลาดที่ดี ทำให้เกษตรกรได้เพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนและชุมชนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาสังคมและระบบสาธารณสุข ส่งเสริมการออมทรัพย์ตลอดจนจัดให้มีแผนการใช้               ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ได้สนับสนุนการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน การปลูกป่าชาวบ้าน                การฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการรักษาคุณภาพน้ำในลำธาร และการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการทั้งจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงภาคเอกชนต่าง ๆ ตลอดจนการให้บริการถ่ายทอดความรู้กับหน่วยงาน เกษตรกร และบุคลากรภายนอกทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
                    5. การผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ดังกล่าวจะช่วยให้การใช้ประโยชน์ในที่ดินเกิดความชัดเจนของพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาให้ชุมชนโครงการหลวงมีความสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติด การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว และที่สำคัญคือกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาครัฐ

1 เขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (Zone C) หมายถึง พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่กำหนดไว้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่าหายาก เพื่อการป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษา การวิจัย นันทนาการของประชาชนและความมั่นคงของชาติ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีหมายถึง พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปแล้ว และ (2) พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมหมายถึง พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่มีสภาพป่าสมบูรณ์หรือมีศักยภาพเหมาะสมต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ประกาศใช้หลังพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
2 ปัจจุบันดำเนินงานด้านงานวิจัยงานทดสอบ งานสาธิตการผลิตการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพพร้อมทั้งการฟื้นฟูและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานสาธิตการผลิตไม้ดอกไม้ผลกาแฟ พืชผักการพัฒนาอาชีพ ทั้งในภาคการเกษตรการปลูกพืชผัก ทั้งในระบบอินทรีย์และระบบ GAP การปลูกไม้ดอก ไม้ผล กาแฟ และปศุสัตว์
3 ปัจจุบันดำเนินงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพเกษตรกรในการเพาะปลูกพืชผัก ไม้ผล ภายใต้ระบบมาตรฐาน อาหารปลอดภัย ได้แก่ ระบบการเพาะปลูกที่ดี (GAP) รวมทั้งส่งเสริมการปลูกพืชไร่ กาแฟ และจัดทำคอกสาธิตการเลี้ยงหมูหลุมเพื่อนำมูลสัตว์มาปรับปรุงโครงสร้างดิน และเพื่อขยายพันธุ์หมูแก่เกษตรกรที่สนใจ สร้างรายได้ที่มั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกร รวมทั้งสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนและชุมชน การพัฒนายุวเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ หมู่บ้านสะอาด การฟื้นฟูและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4 ทส. โดยกรมป่าไม้ได้มีประกาศกรมป่าไม้เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว รวมทั้งสิ้น 39 ฉบับ (ตามจำนวนโครงการหลวง) ซึ่งมีสาระสำคัญในทำนองเดียวกันกล่าวคือ เป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้เข้าดำเนินการในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เป็นที่ตั้งของโครงการหลวงแต่ละแห่งเพื่อพัฒนาป่าไม้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการหลวง
5 เช่น มูลนิธิโครงการหลวง สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น

13. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้
                    1. รับทราบการขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า (โครงการพัฒนาศักยภาพฯ) ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ โดยมอบหมายให้ อส. ดำเนินโครงการในส่วนที่เหลือโดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป และเร่งเสนอรายงานผลการดำเนินโครงการพร้อมทั้งส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบ                  สำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) โดยเร็ว
                    2. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) ราย 3 เดือน ครั้งที่ 10 (1 สิงหาคม ? 31 ตุลาคม 2565) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 และการจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ราย 3 เดือน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    1. โครงการพัฒนาศักยภาพฯ ของ ทส.
                              1.1 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ทส. ส่งเรื่องขอขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพฯ ของ อส. โดยขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการดังกล่าวจากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566 ภายใต้กรอบวงเดิม 741.588 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา อส. ได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า จำนวน 50 จังหวัด 125 แห่ง โดยเป็นงานก่อสร้างจำนวน 107 แห่ง ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 105 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98 และอยู่ระหว่างดำเนินการจำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 2 (ข้อเสนอในครั้งนี้) ได้แก่
หน่วยงาน          ผลการดำเนินงาน (ปัญหา/อุปสรรค)
(1) เขตห้ามล่าสัตว์ป่ากุดทิง จังหวัดบึงกาฬ          ?          การก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (งานงวดที่ 4) มีความล่าช้า เนื่องจากถูกต่อต้านจากกลุ่มสมัชชาคนจน
?          หน่วยงานได้เปลี่ยนพิกัดพื้นที่ก่อสร้าง โดยให้อยู่บริเวณเดียวกับอาคาร 2 รายการที่ก่อสร้างไปแล้ว
?          ปัจจุบันผู้รับจ้างได้ขอยกเลิกสัญญากับหน่วยงานแล้ว
(2) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน จังหวัดระนอง          ?          หน่วยงานได้แจ้งยกเลิกสัญญาผู้รับจ้าง เนื่องจากผู้ประกอบการทิ้งงาน ไม่เข้าพื้นที่ดำเนินการ
?          อยู่ระหว่างประเมินตรวจสอบรายละเอียดประมาณการปริมาณงานและราคาส่วนที่ยังเหลืออยู่และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้แล้วเสร็จ เพื่อประกอบการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่โดยมีแผนจะดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ระหว่างเดือนตุลาคม ? พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ การก่อสร้างให้แล้วเสร็จคาดว่าต้องใช้เวลา 120 วันนับแต่วันทำสัญญาใหม่
                              ทั้งนี้ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 โครงการพัฒนาศักยภาพฯ มีการเบิกจ่ายเงินแล้วจำนวน 696.9552 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.98 ของกรอบวงเงินอนุมัติ (741.5880 ล้านบาท)
                              1.2 มติ คกง.
                               1.2.1 เห็นควรรับทราบการขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพฯ ตามที่ อส. เสนอ ทำให้โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการในเดือนกันยายน 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพฯ ในส่วนที่เหลือ เห็นควรให้ อส. พิจารณาดำเนินการโดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป1
                              1.2.2 เห็นควรให้ อส. เร่งเสนอรายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพฯ ให้ คกง. ทราบพร้อมทั้งส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 โดยเร็ว
                    2. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 10 (1 สิงหาคม ? 31 ตุลาคม 2565) มีรายละเอียด ดังนี้
                              2.1 ภาพรวมผลการดำเนินงานและเบิกจ่าย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 ดังนี้
แผนงาน          จำนวน
โครงการ          รายละเอียด
(1) โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ          1,073          ?          ผลการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 535,914.42 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.21 ของกรอบวงเงินอนุมัติ
(2) โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ          12          ?          กรอบวงเงินอนุมัติราวม 17,961.77 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
           - โครงการที่มีการเบิกจ่ายร้อยละ 50 - 100 ของแผนการเบิกจ่ายจำนวน 5 โครงการ วงเงินอนุมัติรวม 17,890.03 ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 81.38 ของแผนการเบิกจ่าย
          - โครงการที่มีการเบิกจ่ายต่ำกว่าร้อยละ 50 ของแผนการเบิกจ่าย จำนวน 2 โครงการ ดังนี้
?          โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 เพื่อรองรับการเป็นเครือข่ายห้องปฏิบัติการวินิจฉัยการติดเชื้อโรคโควิด-19 โรคอุบัติใหม่ และเชื้อโรคระบาดอื่น ๆ ในเขตภาคเหนือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วงเงินอนุมัติ 24.00 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายร้อยละ 49.66 ของแผนการเบิกจ่าย
?          โครงการก่อสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำหนองจองคำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน วงเงินอนุมัติ 30.00 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายร้อยละ 49.81 ของแผนการเบิกจ่าย
(3) โครงการที่ยังไม่มีการเบิกจ่าย          5          ?          กรอบวงเงินอนุมัติรวม 17.74 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
           - โครงการของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 4 โครงการ
          - จังหวัดชัยนาท จำนวน 1 โครงการ
ทั้งนี้ ทุกโครงการได้มีการลงนามผูกพันสัญญาแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จทันภายในกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการที่สิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2565
(4) โครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินโครงการแล้ว แต่มีการกันวงเงินไว้เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีความ          4          ?          มีการกันวงเงินไว้กรณีจำเป็นต้องคืนเงินให้ร้านค้า/ผู้ประกอบการที่ถูกระงับสิทธิจำนวนเงินรวม 15.15 ล้านบาท อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้หน่วยงานปฏิบัติตามแนวทางการเตรียมแหล่งเงินรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 แล้ว

                              2.2 ข้อเสนอแนะของ คกง.
                                        2.2.1 โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการ ดังนี้
                                                  (1) เร่งดำเนินการคืนวงเงินเหลือจ่าย ตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายให้ครบถ้วน และจัดส่งรายงานผลสำเร็จของโครงการ ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ตามข้อ 19 และ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 โดยเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
                                                  (2) สำหรับโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแต่ยังไม่มีการเบิกจ่าย หากได้ดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จแต่ยังไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนการเบิกจ่ายได้ทัน ให้เร่งขอขยายระยะเวลาเบิกจ่ายตามขั้นตอนของกฎหมายโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ดำเนินการแล้วเสร็จได้ทันภายในเดือนธันวาคม 2565
                                        2.2.2 โครงการที่ยังไม่มีการเบิกจ่าย เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งทำการปรับปรุงข้อมูลในระบบ Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform (eMENSCR) และต้องจัดส่งรายงานความก้าวหน้าแก่ สบน. เป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้สามารถติดตามผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยสะท้อนภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการได้อย่างแท้จริง รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อบริหารจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                                        2.2.3 โครงการที่มีแนวโน้มจะเกิดกรณีที่มีคดีความ และ/หรืออยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นควรให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการวางแผนในการเตรียมแหล่งเงินรองรับการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกรณีไม่สามารถเบิกจ่ายเงินกู้ส่วนที่เหลือได้ทันภายในเดือนธันวาคม 2565 และให้ปฏิบัติตามแนวทางตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565
                              2.3 มติ คกง.
                                        2.3.1 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 รายเดือน 3 ครั้งที่ 10 (1 สิงหาคม ? 31 ตุลาคม 2565)
                                        2.3.2 เห็นควรมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ข้อ 2.2 ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
1 ทส. ได้ชี้แจงว่า อส. ได้จัดเตรียมแหล่งเงินอื่น อาทิ การปรับแผนงบประมาณของ อส. เพื่อรองรับการดำเนินโครงการในส่วนที่เหลือแล้ว

14. เรื่อง รายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์รายการสะดวก (Government Easy Contact Center: GECC) (เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้เกิดการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนที่เดินทางมาติดต่อราชการกับหน่วยงานของรัฐ มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) โดยผลการดำเนินการของ GECC ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผล และการรองรับมาตรฐาน GECC โดย สปน. พิจารณาร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. ดังนี้
หัวข้อ          ประเด็นการพิจารณา
1.1 ปัจจัยการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก          1.1.1 ด้านสถานที่ สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ไม่สร้างภาระให้แก่ประชาชน
1.1.2 ด้านบริการ มุ่งเน้นมาตรฐานในการบริการและออกแบบระบบการบริการ             ที่สอดคล้องกับการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
1.1.3 ด้านบุคลากร มุ่งเน้นการมี Service Mind ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการให้บริการ
1.1.4 ด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมตามภารกิจ โดยต้องมีมาตรฐานในการบริการประชาชน
1.2 หลักเกณฑ์ประเมิน          1.2.1 เกณฑ์ด้านกายภาพ (Self Checklist) มี 14 ข้อ (ต้องดำเนินการให้ครบถ้วน) พิจารณาจากจุดให้บริการหรือข้อมูลที่สามารถเห็นได้ในเชิงประจักษ์
1.2.2 เกณฑ์ด้านคุณภาพ มี 42 ข้อ 70 คะแนน แบ่งเป็น 1) เกณฑ์ขั้นพื้นฐาน รวม 20 คะแนน (ต้องดำเนินการให้ครบถ้วน) และ 2) เกณฑ์ขั้นสูง รวม 50 คะแนน (ต้องได้อย่างน้อย 34 คะแนน)
1.2.3 เกณฑ์ด้านผลลัพธ์ มี 6 ข้อ 30 คะแนน (ต้องได้อย่างน้อย 16 คะแนน) พิจารณาจากความพึงพอใจของประชาชน ความสะดวกในการติดต่อราชการและการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการให้บริการประชาชน
1.3 ระดับการรับรอง (ระยะเวลาการรับรองมาตรฐาน 3 ปี นับแต่ปีที่ได้รับการรับรอง)          1.3.1 ระดับพื้นฐาน (สีฟ้า) : มีการให้บริการ สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย (70-79 คะแนน)
1.3.2 ระดับก้าวหน้า (สีเงิน) : มีการเพิ่มเติมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการให้บริการ (80-89 คะแนน)
1.3.3 ระดับเป็นเลิศ (สีทอง) : มีการเพิ่มเติมนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับให้บริการด้วยระบบดิจิทัล สะดวกทุกที่ ทุกเวลา (90-100 คะแนน)
1.4 สิ่งจูงใจ          1.4.1 โล่การรับรองมาตรฐาน GECC เป็นสิ่งย้ำเตือนให้เห็นถึงคุณค่าของหน่วยงานของรัฐที่พัฒนางานในด้านต่าง ๆ จนสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มศักยภาพถือเป็นคุณค่าอันทรงเกียรติของหน่วยงานในการรักษามาตรฐาน GECC
1.4.2 ตรารับรองมาตรฐาน GECC เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้รู้ว่าประชาชนจะได้รับการบริการที่มีมาตรฐาน สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย เบ็ดเสร็จได้ ณ จุดจุดเดียว
                    2. การส่งเสริมผลักดันให้หน่วยงานของรัฐมีการพัฒนาการให้บริการประชาชนตามาตรฐาน GECC ได้แก่ (1) จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการประเมินเพื่อขอรับการรับรองมาตรฐาน GECC ให้แก่ผู้แทนหน่วยงานระดับกระทรวงและระดับจังหวัดผ่านระบบออนไลน์ (2) กำหนดต้นแบบ GECC ในระดับเป็นเลิศ (สีทอง) ประจำปี พ.ศ. 2565 ได้แก่ ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงพาณิชย์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลสวนปรุง เพื่อเป็นแบบอย่างและกระตุ้นให้หน่วยงานศึกษาและเรียนรู้กระบวนการที่ทำให้ประสบความสำเร็จ (3) สร้างองค์ความรู้ตามแนวทางการปฏิบัติที่ดี จัดทำและเผยแพร่คู่มือการรับรองมาตรฐาน GECC และสร้าง Coaching ในการสมัครให้แก่หน่วยงาน และ (4) เปิดช่องทางให้คำปรึกษาหารือผ่านเฟซบุ๊กตลอด 24 ชั่วโมง LINE Official Account และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการเป็นวิทยากรเผยแพร่องค์ความรู้และแนวทางการขับเคลื่อนมาตรฐาน GECC
                    3. การตรวจประเมินมาตรฐาน GECC โดยคณะอนุกรรมการตรวจประเมินมาตรฐาน ศูนย์ราชการสะดวก จำนวน 10 คณะ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
                              3.1 ขั้นตอนที่ 1 ตรวจคัดกรองเอกสารใบสมัครเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน GECC ผ่านระบบการรับสมัครออนไลน์ที่เว็บไซต์ศูนย์บริการประชาชน สปน. (www.psc.opm.go.th) มีหน่วยงานในพื้นที่ 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร สมัครขอรับการรับรองจำนวนทั้งสิ้น 1,491 ศูนย์
                              3.2 ขั้นตอนที่ 2 ตรวจประเมินหน่วยงานที่ผ่านการคัดกรองเอกสารใบสมัครในพื้นที่ จำนวน 732 ศูนย์ คิดเป็นร้อยละ 49.09 ของจำนวนหน่วยงานที่สมัครโดยใช้วิธีการตรวจประเมินที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ระบบ Video Conference การสัมภาษณ์ผู้รับบริการ ณ จุดให้บริการ และการลงพื้นที่เพื่อ Site Visit สำหรับหน่วยงานที่ควรส่งเสริมผลักดันให้ได้รับมาตรฐานในระดับเป็นเลิศหรือระดับที่สูงขี้น และหน่วยงานที่อาจส่งผลให้ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GECC
                              3.3 ขั้นตอนที่ 3 เสนอผลการตรวจประเมินหน่วยงานที่ผ่านการตรวจประเมินในพื้นที่ให้คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวกพิจารณาให้การรับรองมาตรฐาน GECC จำนวน 666 ศูนย์
                    4. ผลการรับรองมาตรฐาน GECC โดยคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวกได้พิจารณาการรับรองมาตรฐาน GECC ประจำปี 2565 จำนวน 732 ศูนย์ สรุปได้ดังนี้
                              4.1 ผ่านการรับรองมาตรฐาน GECC จำนวน 666 ศูนย์ คิดเป็นร้อยละ 90.98 แบ่งเป็น (1) ระดับเป็นเลิศ (สีทอง) จำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงพาณิชย์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลสวนปรุง (2) ระดับก้าวหน้า (สีเงิน) จำนวน 79 ศูนย์ (เช่น กรมการกงสุล ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลำปาง โรงพยาบาลป่าซาง สำนักงานขนส่งจังหวัดพิจิตร สำนักทะเบียนอำเภอแม่ริม และสำนักงานที่ดินจังหวัดประทุมธานี)1 และ (3) ระดับพื้นฐาน (สีฟ้า) จำนวน 584 ศูนย์ (เช่น ศูนย์บริการศุลกากร ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลระยอง สำนักงานขนส่งจังหวัดตราด และสำนักทะเบียนอำเภอเมืองสงขลา)2
                              4.2 ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GECC จำนวน 66 ศูนย์ คิดเป็นร้อยละ 9.02 เช่น สำนักงานหนังสือผ่านแดนชั่วคราว บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด สำนักทะเบียนอำเภอ บังคับคดี และยุติธรรมจังหวัด เนื่องจากไม่มีความพร้อมของพื้นที่การให้บริการสำหรับประชาชน เจ้าหน้าที่ขาดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน GECC ส่งผลต่อการกำหนดระบบหรือแนวทางการให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐาน และการนำนโยบายและมาตรฐานการให้บริการมาใช้อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่เท่าที่ควร ทั้งนี้ ได้มีการส่งเสริมและนำตัวอย่างหน่วยงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาสร้างองค์ความรู้เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการพัฒนาการให้บริการประชาชนมากขึ้น
                    5. การจัดพิธีมอบโล่และตรารับรองมาตรฐาน GECC เพื่อเป็นเกียรติแก่หน่วยงานที่ได้รับการรับรอง จำนวน 666 ศูนย์ รวมทั้งกระตุ้นให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการให้บริการประชาชนมากขึ้น โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) และเฟศบุ๊กคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวก ทั้งนี้ มีการสำรวจความพึงพอใจสำหรับการจัดพิธีผ่านระบบออนไลน์ พบว่า มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดร้อยละ 55.01 และมีข้อเสนอแนะ เช่น หน่วยงานที่ได้รับมาตรฐาน GECC ควรได้รับมอบโล่และตราจากประธานในพิธีโดยตรง และการจัดพิธีในภาพรวมสวยงาม เหมาะสม ควรดำเนินการต่อไป
                    6. การตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน GECC โดยมีแนวทางการตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน GECC ผ่านระบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีศูนย์ราชการสะดวกที่ไม่ผ่านการตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน GECC จำนวน 36 ศูนย์ ซึ่ง สปน. ได้แจ้งหน่วยงานแก้ไขปรับปรุงการให้บริการตามผลการประเมินให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันแล้ว
                    7. ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อน GECC เช่น (1) ควรส่งเสริมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการแก้ไขปัญหาของประชาชน เพื่อขอรับการรับรองมาตรฐาน GECC มากขึ้น (2) ควรส่งเสริมการใช้ระบบไอทีและแอปพลิเคชันในการให้บริการ และ (3) ควรส่งเสริมให้มีการตรวจรักษามาตรฐาน GECC อย่างต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนในการให้บริการประชาชน โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการตรวจประเมิน เช่น คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด และควรมีคณะทำงานในการตรวจรักษามาตรฐาน GECC เป็นการเฉพาะ
                    8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ (1) ประชาชนและภาคเอกชนเกิดความพึงพอใจและมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการของหน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GECC และได้รับการบริการที่ดี ?มีความสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงการบริการได้ง่าย? (2) หน่วยงานของรัฐมีการพัฒนาภารกิจการให้บริการประชาชนตามแนวทางและมาตรฐานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพแบบเดียวกัน ซึ่งจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านการบริการต่อองค์กรและบุคลากร และ (3) เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนภายใต้การให้บริการของหน่วยงานของรัฐที่มีความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
1และ2 เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งมิได้ระบุในเอกสารรายงานที่เสนอคณะรัฐมนตรี)

15. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 18 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี     ครั้งที่ 18 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. นโยบายหลัก 9 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม          1.1) เปิดตัวการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ชุมชนเมืองเก่าสบสม-หาดไคร้ จังหวัดเชียงราย เพื่อผลักดัน ส่งเสริม และพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมย่านชุมชนที่มีความเข้มแข็งในด้านวิถีวัฒนธรรมพื้นถิ่น ยกระดับให้เป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์
1.2) ฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิปัญญาผ้าไทย ?Thai Fabric Wisdom? เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ พัฒนาเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในเรื่องผ้าไทยของประเทศ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมผ้าไทย
1.3) สนับสนุน Soft Power ส่งออกวัฒนธรรมความนิยมไทยสู่สากล สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย เช่น ส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศในประเทศไทยมากกว่า 100 โครงการ และส่งเสริม สนับสนุนเยาวชน ศิลปินท้องถิ่น ศิลปินอาชีพ และศิลปินแห่งชาติของไทยที่มีความสามารถโดดเด่นให้เป็น Soft Power ไปสู่ระดับโลก
2) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก          เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงเนื่องในโอกาสการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการพลิกโฉมการศึกษา (Transforming Education Summit 2022: TES) มีประเด็นสำคัญ เช่น ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการศึกษาเน้นพัฒนา 3 ด้านหลัก (ผู้เรียนรู้ ผู้สอน และระบบการศึกษา) ผ่านการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีนวัตกรรม มุ่งมั่นสร้างหลักประกันการกลับเข้าสู่การเรียน กำหนดมาตรการเพื่อรักษามาตรฐานและคุณภาพระบบการศึกษา และส่งเสริมความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษาตอบสนองความต้องการของนักลงทุนต่างประเทศ
3) การพัฒนาเศรษฐกิจ  และความสามารถในการแข่งขันของไทย          3.1) พัฒนาภาคเกษตร เช่น (1) ประเทศไทย-ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียร่วมหารือพัฒนากลไกความร่วมมือด้านการเกษตร เสริมความมั่นคงทางอาหารและสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน โดยเน้นการเสริมสร้างเศรษฐกิจที่มีความสมดุลรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างความมั่นคงทางอาหาร และ (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ร่วมกับกระทรวงคมนาคมลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบการตรวจสอบสินค้าเกษตรก่อนส่งออกไปยังประเทศปลายทาง (Pre-Shipment Inspection Center: PSI) เพื่อให้เป็นการบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์ PSI ณ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะส่งผลให้ในปี 2565-2566 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาท
3.2) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว ได้แก่ (1) สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาลงนามบันทึกความเข้าใจกับธนาคารกรุงไทยในการเชื่อมโยงระบบบริการชำระเงินของธนาคารเข้ากับระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และ (2) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวิ่งเทรลภูเขาชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 1 รายการ Amazing Thailand World Mountain and Trail Running Championships 2021 ระหว่างวันที่ 3-6 พฤศจิกายน 2565 ณ ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
3.3) พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการและการลงทุนในภูมิภาค เช่น (1) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-มองโกเลีย และประชุมคณะกรรมร่วมทางการค้าไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1 โดยไทยเป็นแหล่งผลิตหรือส่งออกอาหาร เช่น ไก่แช่เย็น/แช่แข็ง อาหารทะเลแช่เย็น/แช่แข็งและแปรรูป มองโกเลียเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมของไทย เช่น สินแร่ หนังสัตว์ และผ้าแคชเมียร์ และ (2) พณ. ร่วมกับ กษ. จัดงาน ?เกษตรคอมเมิร์ซบนโลกออนไลน์? ผลัดดันเกษตรกรขายของผ่าน 4 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Maknet Phenixbox Thaitrade และ Freshket ซึ่งมีสินค้ารวมกว่า 200 รายการ มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 ราย และสร้างมูลค่าการตลาดได้มากกว่า 10 ล้านบาท
3.4) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและองค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกาลงนามในร่างข้อตกลงการรับทุนโครงการความร่วมมือ Phuket Smart City Technical Assistant Package เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารและดิจิทัลร่วมกัน
3.5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม เช่น (1) ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนเอกชนผลิต ?เครื่องผลิตน้ำมันทางเลือกจากขยะ? ขุมทรัพย์แบล็กโกลด์ของคนในชุมชนสนับสนุนมาตรการ Zero-waste ประกอบด้วย เครื่องผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม และต้นแบบเครื่องกำจัดขยะพลาสติกและโฟมประเภท  โพลีสไตรีนโฟมหรือ PS (Polystyrene) ของบริษัท ซินฮวดเฮงนวัตกรรม จำกัด และ (2) เปิดศูนย์ปัญญาประดิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat AI Center) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ของประชาชนที่มีความสนใจ
4) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก          แก้ไขปัญหาการจัดการขยะและของเสียอย่างเป็นระบบ โดยจัดโครงการประกวดและมอบรางวัลการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ?จังหวัดสะอาด? ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อนำไปขยายผลการดำเนินการให้มีต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเพิ่มขึ้น
5) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย          5.1) สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน โดยจัดหาอุปกรณ์ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งดำเนินการ 2 รูปแบบ คือ การบริจาคเป็นเงินสด และการบริจาคเป็นอุปกรณ์ ผ่านโครงการคนละเครื่อง ?พี่แบ่งให้น้องได้เรียน?
5.2) กำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล โดยอนุมัติการปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวสำหรับผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในลักษณะงบประมาณผูกพันต่อเนื่อง 4 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565)
5.3) สนับสนุนค่าใช้จ่ายหรือทุนการศึกษาให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา โดยส่งต่อข้อมูลของนักศึกษาไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่นักศึกษาสังกัดอยู่ เพื่อให้พิจารณาทุนการศึกษาหรือให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ
6) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม          6.1) คณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) มีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 อนุมัติประกาศให้ไทยเป็นเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสประเทศไทย (Thailand Wellness Economic Corridor: TWC) ให้กับกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวทางการแพทย์และสุขภาพ ใน 12 สาขาเศรษฐกิจเวลเนสเป้าหมาย โดยใช้นวัตกรรมในกลุ่มจังหวัดภาคฝั่งอันดามัน
6.2) เปิดศูนย์โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองแบบครบวงจรเพื่อลดการส่งต่อและเสียชีวิต โดยเปิดศูนย์โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ชัยภูมิ เซฟฮาร์ท (Chaiyaphum Heart and Brain Safe Hear Center)
7) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน          ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ?การสนับสนุนให้เกิดการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ภายใต้กองทุนนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมทำความเย็น (EGAT Cooling Innovation Found: CIF)? เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมการลดใช้พลังงาน
8) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ          พิธีมอบโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center: GECC) ประจปี 2565 โดยมีหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานฯ 666 ศูนย์ โดยพิจารณามุมมองสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่             (1) ด้านสถานที่ สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ไม่สร้างภาระให้แก่ประชาชน (2) ด้านบุคลากร มีจิตบริการให้บริการด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพ เกิดความเชื่อมั่น                (3) ด้านงานที่ให้บริการ ต้องตอบสนองความต้องการของประชาไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน บริการมีมาตรฐาน และ (4) ด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและภารกิจโดยทุกด้านต้องมีมาตรฐานในการบริการประชาชน
9) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ และกระบวนการยุติธรรม          ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน 77 ครั้ง ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ช่วยเหลือประชาชนทั้งสิ้น 78,520 ราย ทุนทรัพย์ 19,487 ล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทำนายความ 5,905 ล้านบาท
                    2. นโยบายเร่งด่วน 7 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายเร่งด่วน          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน          1.1) ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ออกไปอีก                 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน - 20 พฤศจิกายน 2565 และขยายเวลาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอัตราศูนย์สำหรับน้ำมันดีเซล (บี0) และน้ำมันเตาที่นำไปผลิตกระแสไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2565 - 15 มีนาคม 2566 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ และช่วยให้ราคาขายปลีกของน้ำมันดีเซลและค่าไฟฟ้าไม่สูงจนกระทบ                  ต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
1.2) ในเดือนกันยายน 2565 ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ มีผลการดำเนินการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ ได้แก่ (1) ดอกเบี้ยเกินอัตรา 12 คดี (2) แก๊งค์หมวกกันน็อค 25 คดี และ (3) กู้ออนไลน์ 2 คดี รวม 39 คดี โดยดำเนินการเสร็จสิ้น 3 คดี
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน          2.1) โครงการพัฒนาระบบนวัตกรรมการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยให้คำปรึกษาทางการแพทย์ทางไกลให้กับผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวช และติดตั้งระบบ Telemedicine ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ครบทั้ง 11 หน่วยงาน
2.2) จัดการประชุมระดับสูงสำหรับผู้กำหนดนโยบายด้านสตรีและเศรษฐกิจภายใต้แนวคิด ?การเสริมพลังสตรีทางเศรษฐกิจผ่านแนวคิดเศรษฐกิจ BCG (Women?s Empowerment through BCG)? โดยผู้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีจากกระทรวงหรือหน่วยงานด้านสตรีและเศรษฐกิจจากเขตเศรษฐกิจเอเปค คณะผู้แทน ผู้นำระดับสูงของสำนักเลขาธิการเอเปค สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค และประธานหุ้นส่วนเชิงนโยบายด้านการเพิ่มการมีส่วนร่วมของสตรีในระบบเศรษฐกิจ
3) การยกระดับศักยภาพแรงงาน          3.1) โครงการการดำเนินการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างงานไทยในต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐฟินแลนด์ ราชอาณาจักรสวีเดน และประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้ไปทำงานในต่างประเทศ ทำให้แรงงานไทยได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายการจ้างงาน และได้รับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อันพึงมีอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามกรอบกฎหมาย
3.2) ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565) โดยจัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จากเดิมร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 ของค่าจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ปรับลดอัตราเงินสมทบจากเดือนละ 432 บาท เหลือเดือนละ 240 บาท เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างและผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมในช่วงผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าครองชีพ
4) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21           มอบโล่เชิดชูเกียรติแก่องค์กรดีเลิศและองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และเร่งรัดพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์                ปี 2565 มีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการอบรมมากว่า 4,000 คน
5) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและ     สร้างความสงบสุข         ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้          ระหว่างวันที่ 1 - 30 กันยายน 2565 จับกุมคดียาเสพติด 18,902 คดี ผู้ต้องหา 18,529 คน และยึดยาบ้า 25.65 ล้านเม็ด ไอซ์ 1,306.57 กิโลกรัม เฮโรอีน 214.95 กิโลกรัม เคตามีน 15.44 กิโลกรัม และยาอี 50,065 เม็ด
6) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน          อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ SMART Visa ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2565 มีผู้ขอรับรองคุณสมบัติ 403 คำขอ และมีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติ 297 คำขอ
7) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย          7.1) ดำเนินมาตรการป้องกัน ?ก่อน? เกิดภัย การให้ความช่วยเหลือ ?ระหว่าง? เกิดภัย และการแก้ไขปัญหาใน ?ระยะยาว? เช่น เร่งตรวจสอบจุดเสี่ยงอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วสำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ประชาชน และจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด
7.2) ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม -                  26 กันยายน 2565 ได้แก่ (1) กลุ่มเกษตรกรด้านพืช ใน 46 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 146,296 ราย พื้นที่เสียหาย 881,271 ไร่ ดำเนินการช่วยเหลือแล้ว 344 ราย ในพื้นที่ 1,649 ไร่ วงเงิน 2.74 ล้านบาท (2) กลุ่มเกษตรกรด้านประมง ใน 23 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 3,932 ราย พื้นที่เสียหาย 4,984 ไร่ ดำเนินการช่วยเหลือแล้ว            96 ราย ในพื้นที่ 92 ไร่ วงเงิน 0.43 ล้านบาท และ (3) กลุ่มเกษตรกรด้านปศุสัตว์ ใน                  9 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 3,846 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 785,983 ตัว อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

16. เรื่อง แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เสนอแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2566 ตามมติคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและ              ลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศปถ. รายงานว่า คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการฯ และให้ ศปถ. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ พ.ศ. 2566
ประเด็น          การดำเนินงาน
1) ชื่อในการรณรงค์          ?ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ?
2) เป้าหมายการดำเนินการ          เพื่อให้ประชาชนเดินทางอย่างสุขใจกับชีวิตวิถีใหม่ ที่ห่างไกลอุบัติเหตุใน                    ช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ พ.ศ. 2566
3) ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน          (1) ระดับภาพรวม เช่น จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่ เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง และจำนวนผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง
(2) ระดับหน่วยงาน เช่น จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ที่เกิดบนถนนในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยช่วงเทศกาลปีใหม่ ย้อนหลัง 3 ปี และจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เฉลี่ยน 3 ปีย้อนหลัง
(3) ระดับพื้นที่ เช่น จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ที่เป็นเด็กและเยาวชน (เฉพาะผู้ขับขี่) ที่มีพฤติกรรมดื่มแล้วขับลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5                เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่ เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง และจำนวนผู้เสียชีวิตในอำเภอเสี่ยงที่เป็นสีแดง ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยช่วงเทศกาลสงกรานต์ ย้อนหลัง 3 ปี
4) แนวทางการดำเนินการ          แนวทาง
การดำเนินการ          เทศกาลปีใหม่          เทศกาลสงกรานต์
ช่วงรณรงค์/ประชาสัมพันธ์          1 - 21 ธันวาคม 2565          1 มีนาคม - 3 เมษายน 2566
ช่วงดำเนินการ          22 ธันวาคม 2565 - 11 มกราคม 2566          4 - 24 เมษายน 2566

5) มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ
          5.1) ด้านการบริหารจัดการ          เช่น (1) จัดตั้งศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ระดับส่วนกลาง จังหวัด กรุงเทพมหานคร อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ (2) การลดปัจจัยเสี่ยงโดยดำเนินการมาตรการเชิงรุก ได้แก่ การประชาคมชุมชน/หมู่บ้าน มาตรการเคาะประตูบ้าน ด่านครอบครัว ด่านชุมชน และการจัดกิจกรรมทางศาสนา ?1 อำเภอ 1 กิจกรรม?
          5.2) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม          เช่น (1) สำรวจ ตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจุดที่เกิดอุบัติเหตุใหญ่ และปรับปรุงแก้ไขให้มีความปลอดภัย และ (2) จัดทำแผนอำนวยความสะดวกการจราจร
          5.3) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ          เช่น (1) กำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารไม่ประจำทาง พนักงานขับรถโดยสาร และพนักงานประจำรถให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายอย่างเคร่งครัด และการตรวจสอบสภาพรถตามที่กฎหมายกำหนด (2) เข้มงวด กวดขันกับผู้ใช้รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกิน และรถบรรทุกขนาดเล็กที่บรรทุกผู้โดยสารในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย และ (3) เข้มงวดกับรถตู้ส่วนบุคคลหรือรถเช่าของผู้ประกอบการธุรกิจให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย
          5.4) ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย          เช่น (1) บังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง (2) ดำเนินการตามมาตรการ ?ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์? อย่างเข้มข้นภายใต้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว ทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต และ (3) รณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่แนวทางความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในชุมชน/หมู่บ้าน และสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลในพื้นที่ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ หอกระจายข่าว เสียงตามสาย และวิทยุชุมชน
          5.5) ด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ          เช่น จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน
                    2. แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงวันหยุดที่มีวันหยุดราชการติดต่อกัน                 4 วันขึ้นไป หรือวันหยุดราชการติดต่อกัน 4 วันขึ้นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
ประเด็น          การดำเนินงาน
1) เป้าหมายการดำเนินการ          เพื่อให้ประชาชนเดินทางอย่างสุขใจกับชีวิตวิถีใหม่ ที่ห่างไกลอุบัติเหตุใน                        ช่วงวันหยุด
2) แนวทางการดำเนินการ          (1) ช่วงก่อนวันหยุด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัด และกรุงเทพมหานคร นำกรอบแนวทางการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงวันหยุดตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงวันหยุดไปบูรณาการการดำเนินงานทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดแนวทางมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงวันหยุด และเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่องเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงควบคู่กับการรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน
(2) ช่วงวันหยุด ให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามแนวทาง มาตรการที่กำหนดอย่างเข้มข้น โดยให้เน้นการดำเนินการในพื้นที่ และเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนให้ลดลง
(3) ช่วงหลังวันหยุด ให้ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ศปถ. ทราบ
3) ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน          (1) ระดับภาพรวม เช่น จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ลดลง เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงวันหยุดของปีที่ผ่านมา และจำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ ลดลงเมื่อเทียบกับสถิติในช่วงวันหยุดของปีที่                   ผ่านมา
(2) ระดับหน่วยงาน จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ที่เกิดบนถนน อปท. ลดลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงวันหยุดของปีที่ผ่านมา และจำนวนรถโดยสารสาธารณะที่เกิดอุบัติเหตุและจำนวนผู้เสียชีวิต ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงวันหยุดของปีที่ผ่านมา
(3) ระดับพื้นที่ จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ที่เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งไม่สวมหมวกนิรภัยลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงวันหยุดของปีที่ผ่านมา และจำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ที่เกิดเหตุบริเวณทางข้าม/ทางม้าลาย ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5                         เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงวันหยุดของปีที่ผ่านมา
4) มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ
          4.1) ด้านการบริหารจัดการ          เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัด และกรุงเทพมหานครนำกรอบแนวทางการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงวันหยุดไปบูรณาการการดำเนินงานทุกภาคส่วนและกำหนดแนวทาง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงวันหยุด
          4.2) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม          เช่น (1) สำรวจ ตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จุดที่เกิดอุบัติเหตุใหญ่ และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้มีความปลอดภัย (2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญในการนำข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรการแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางร่วม ทางแยกที่ตัดเข้าสู่ถนนสายหลักหรือบริเวณทางร่วมทางแยกในพื้นที่ชุมชนที่มีการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
          4.3) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ          (1) กำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารไม่ประจำทาง พนักงานขับรถโดยสาร และพนักงานประจำรถให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยกำชับให้ขับขี่ด้วยความเร็วที่กฎหมายกำหนดและผลัดเปลี่ยนพนักงานขับรถโดยสารตามระยทาง/ช่วงเวลาที่กำหนดตลอดจนให้ตรวจสอบสภาพรถโดยสารสาธารณะ และรถโดยสารไม่ประจำทางให้มีความปลอดภัย และ (2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รถณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการใช้สื่อในพื้นที่ทุกช่องทาง และการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน และขับขี่ยานพาหนะอย่างปลอดภัย
          4.4) ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย          เช่น (1) บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง และต่อเนื่อง (2) ดำเนินการตามมาตรการ ?การตรวจวัดแอลกอฮอล์? อย่างเข้มข้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต และ (3) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่แนวทางความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในชุมชน/หมู่บ้าน โดยให้ผู้นำชุมชนนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว เสียงตามสาย และวิทยุชุมชน รวมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรับทราบ
          4.5) ด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ          (1) จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบการติดต่อสื่อสาร การสั่งการ การประสานงาน และการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน และ (2) จัดเตรียมความพร้อมของหน่วยกู้ชีพและกู้ภัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ การสั่งการ ระบบการติดต่อสื่อสาร และดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน

ต่างประเทศ
17.  เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป              สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 (ร่างแถลงการณ์ฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างแถลงการณ์ฯ [สหภาพยุโรป (European Union: EU) จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 ในระวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป ในวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม โดยจะมีการรับรองร่างแถลงการณ์ฯ ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว] ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างแถลงการณ์ฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรปในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในหลายสาขา เพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยผู้นำอาเซียนและสหภาพยุโรปจะร่วมให้การรับรอง (adopt) ซึ่งมีสาระสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ (1) สันติภาพและความมั่นคง (2) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า (3) ความเชื่อมโยงการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล และการลดช่องว่างด้านการพัฒนา (4) การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน (5) สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) และ (6) ประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
                    ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับไม่มีการลงนาม ดังนั้น ร่างแถลงการณ์ฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

18.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน (ASEAN Transport Ministers Meeting: ATM ครั้งที่ 28 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่               15-18 ตุลาคม 2565 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  (นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (11 ตุลาคม 2565) เห็นซอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม ATM ครั้งที่ 28 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารที่เกี่ยวข้อง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การประชุม ATM ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธาน มีผลลัพธ์การประชุมที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ที่ประชุมได้รับทราบ ดังนี้
                                        1.1.1 ความคืบหน้าการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Flight Crew Licensing: MRA-FCL) และพิธีสารเพื่อการดำเนินงาน (Implementing Protocols: IPs) รวมถึงแผนที่นำทางเพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินการตาม MRA-FCL และ IPs เพื่อสนับสนุนตลาดการบินเดียวของอาเซียน
                                        1.1.2 การดำเนินการตามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนผ่านระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน โดยมี 6 ประเทศเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) มาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการด้านการขนส่งและศุลกากรสำหรับ              การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน และความคืบหน้า การดำเนินโครงการนำร่องกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ระหว่างไทยและเวียดนาม ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกของเส้นทางการค้าและความยืดหยุ่นของรูปแบบการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
                                        1.1.3  ความคืบหน้าการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในประเด็นต่าง ๆ เช่น (1) การดำเนินกิจกรรมด้านการขนส่งทางทะเลในปี 2565 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-จีน ปี 2564-2568 (2) โครงการการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติม และโครงการการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน เพื่อสนับสนุนข้อริเริ่ม            ต่าง ๆ ของอาเซียน และ (3) โครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาโครงการให้คำปรึกษา และโครงการเทคโนโลยีและการจัดการ ภายใต้แผนที่นำทางความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-เกาหลี ปี 2564-2568
                              1.2 ที่ประชุมได้รับรอง ดังนี้
                                        1.2.1 หลักการสำหรับการจัดทำกฎระเบียบว่าด้วยการบริการด้านการขนส่งโดยใช้แอปพลิเคชันสำหรับการขนส่งผู้โดยสารในอาเซียน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดทำกรอบการกำกับดูแลที่เหมาะสม
                                        1.2.2 กรอบดำเนินการเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนตู้คอนเทนเนอร์ในอาเซียน                  ซึ่งกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการปรับปรุงกระบวนการจัดการตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อแก้ปัญหาค่าระวางตู้สินค้าที่สูงขึ้นและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                              1.3 ที่ประชุมตระหนักถึงความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในภาคอุตสาหกรรมการบินและได้รับรองคู่มืออาเซียนว่าด้วยระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยานในการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของท่าอากาศยานเพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคการบิน
                    2. การประชุม ATM-จีน ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565 โดยที่ประชุมได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 การลงนามในพิธีสารว่าด้วยการขยายสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียน-จีน โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนได้รับพิธีสารที่ลงนามดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนเร่งรัดดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้สัตยาบัน              พิธีสารซึ่งจะเป็นผลให้สายการบินของทั้งสองฝ่ายสามารถทำการบินในเส้นทางต่าง ๆ และเชื่อมโยงจุดบินเพิ่มขึ้นเพื่อขยายความเชื่อมโยงทางอากาศ
                              2.2 ความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรมด้านการขนส่งทางน้ำ ในปี 2565ได้แก่ (1) การฝึกอบรมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยความปลอดภัยในการเดินเรือเฟอรี่ (2) การสัมมนาออนไลน์ว่าด้วย             แอปพลิเคชันสำหรับการบริหารจัดการและการให้บริการทางน้ำอัจฉริยะในการรักษาความปลอดภัยในการเดินเรือและการป้องกันสิ่งแวดล้อมในช่องแคบมะละกาและสิงคโปร์ และ (3) ใบรับรองเรือแบบอิเล็กทรอนิกส์/ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจสำหรับการนำเข้าส่งออกและโลจิสติกส์ทางน้ำ
                              2.3 ความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-จีน ปี 2564-2568 และโครงการต่าง ๆ เช่น (1) เส้นทางรถไฟจีน-สปป. ลาว ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 (2) การก่อสร้างทางรถไฟสายชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซียซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ (3) การก่อสร้างทางด่วนเส้นทางพนมเปญ-สีหนุวิลล์ ในกัมพูชา ซึ่งได้เริ่มดำเนินการในปี 2562 โดยเปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 และ (4) พิธีเปิดโครงการเชื่อมเกาะซามาล-เมืองดาเวา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565
3. การประชุม ATM-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565 สรุปได้ ดังนี้
                              3.1 รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการจำนวน 27 โครงการ ภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่น ปี 2563-2564 และรับรองคู่มือแนวปฏิบัติด้านมาตรการการรักษาความปลอดภัยท่าเรือสำหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และการตรวจสอบการอบรม และเอกสารอ้างอิงทางเทคนิคด้านการบำรุงรักษาสะพานสำหรับแนวเส้นทางการขนส่งข้ามพรมแดนของอาเซียน
                              3.2 รับทราบความคืบหน้าการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงด้านการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น และมอบหมายให้คณะทำงานด้านการขนส่งทางอากาศดำเนินการให้ได้ข้อสรุปเพื่อให้การจัดทำความตกลงฯ มีความเสรีมากขึ้นและเกิดประโยชน์ร่วมกัน
                              3.3 รับรองแผนงานความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น ปี 2565-2566 โดยมีข้อเสนอโครงการใหม่เพิ่มเติม 1 โครงการ คือ แผนงานโครงการการรักษาความปลอดภัยการบินของอาเซียน-ญี่ปุ่น ปี 2566-2570
                    4. การประชุม ATM-เกาหลี ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 สรุปได้ ดังนี้
                              4.1 ที่ประชุมได้รับทราบ ดังนี้
                                        4.1.1 ผลการประชุมความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-เกาหลี ครั้งที่ 12             เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อสนับสนุนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-เกาหลี และมุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืนและปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีการประยุกต์ใช้ดิจิทัลและมีความสามารถในการฟื้นตัวต่อความท้าทายต่าง ๆ
                                        4.1.2 ความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรมภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-เกาหลี ปี 2564-2568 และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณานำเสนอข้อเสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งที่ยั่งยืน การขนส่งในเขตเมือง และแอปพลิเคชันด้านการขนส่ง จัดทำเป็นแผนงานฯ ในอนาคต
                              4.2 ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและเกาหลีเร่งรัดการส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการนำร่องในการดำเนินการเพื่อการเป็นตลาดการขนส่งทางน้ำร่วมอาเซียน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือยะโฮร์ (มาเลเซีย) ท่าเรือดาเวา (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์) และท่าเรือสิงคโปร์ ภายในปี 2565
                              4.3 ให้เจ้าหน้าที่อาวุโสและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อสรุปต่อ                  ร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาเซียน-เกาหลี ในการสนับสนุนการเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียนและเกาหลีรวมถึงภายนอกภูมิภาค
                    5. การรับรองถ้อยแถลงประธานการประชุม รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนได้รับรอง (1) ถ้อยแถลงประธานการประชุม ATM ครั้งที่ 28 (2) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุม ATM-จีน ครั้งที่ 21 (3) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุม ATM-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 20 และ (4) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุม ATM-เกาหลี ครั้งที่ 13 ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐมนตรีขนส่งของเมียนมาไม่ได้เข้าร่วมการประชุมฯ ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้มีการแก้ไขชื่อเอกสารและแก้ไขถ้อยคำในเอกสารให้สอดคล้องกับชื่อเอกสารที่แก้ไข รวมทั้งปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาให้มีความถูกต้องยิ่งขึ้น ดังนี้
                              5.1 การประชุม ATM ครั้งที่ 28 มีการแก้ไขชื่อเอกสารจาก ?แถลงการณ์ร่วมการประชุม? เป็น ?ถ้อยแถลงประธานการประชุม ATM ครั้งที่ 28?
                              5.2 การประชุม ATM-จีน ครั้งที่ 21 โดยมีการแก้ไข เช่น แก้ไขชื่อเอกสารจาก ?แถลงการณ์ร่วมการประชุม? เป็น ?ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุม ATM อาเซียน-จีน ครั้งที่ 21? และตัดรายชื่อโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
                              5.3 การประชุม ATM-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 20 โดยแก้ไขชื่อเอกสารจาก ?แถลงการณ์ร่วมการประชุม? เป็น ?ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 20?
                              5.4 การประชุม ATM-เกาหลี ครั้งที่ 13 โดยมีการแก้ไข เช่น แก้ไขชื่อเอกสารจาก ?แถลงการณ์ร่วมการประชุม? เป็น ?ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุม ATM-เกาหลี ครั้งที่ 13?
                              ทั้งนี้ การแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขถ้อยคำและปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาให้มีความถูกต้องในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565
                    6. การลงนามความตกลง 2 ฉบับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอธิรัฐฯ) ลงนามความตกลง 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปและอำนวยความสะดวกการเดินทางและการขนส่งสินค้า และ (2) ความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้มแข็งขึ้น
                    7. คค. มีความเห็นว่า การประชุม ATM ในครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบพบหน้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเป็นก้าวสำคัญในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน โดยมีการรับรองเอกสารจำนวน 9 ฉบับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงานของอาเซียนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ การอำนวยความสะดวกในการขนส่ง และการขนส่งที่ยั่งยืน อีกทั้งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการขนส่งของไทยและอาเซียนให้มีความยั่งยืน มั่นคง และมีมาตรฐานระดับนานาชาติ โดยเฉพาะการร่วมลงนามในความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจและเสริมสร้างความเติบโตด้านเศรษฐกิจการบินระหว่างภูมิภาคสนับสนุนการฟื้นฟูภาคการบินภายหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 บูรณาการความร่วมมือของอาเซียนด้านการค้นหาและช่วยเหลือด้านการแพทย์ และอำนวยความสะดวกในภูมิภาค

19.  เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอรายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ                คณะผู้บริหาร พณ. ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี                          (8 กรกฎาคม 2551) ให้รัฐมนตรีที่เดินทางไปต่างประเทศ เมื่อกลับมาแล้วให้รายงานสรุปการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีด้วย] มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจบันเทิงไทย
                              1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นำคณะผู้บริหารระดับสูง พณ. เข้าร่วมรับเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี องค์ประธานในพิธีเปิดงาน American Film Market (Thai Night) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรม Hotel Casa del Mar นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอมริกา โดยจัดขึ้นภายใต้ธีม THAILAND TRANSFORMED  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพลิกโฉมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในทุกมิติ โดยเน้นย้ำจุดแข็งของธุรกิจภาพยนตร์ไทย เช่น บุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทาง สถานที่ถ่ายทำที่สวยงามและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย พร้อมทั้งนำเสนอการพัฒนาที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยที่พร้อมต้อนรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากทั่วโลก โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานจำนวนกว่า 250 ราย จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
                              1.2 กิจกรรมเจรจาธุรกิจในงาน American Film Market 2022 ระหว่างวันที่                   1-6 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน จำนวน 8 ราย ผู้ประกอบการต่างชาติ จำนวน 99 ราย จาก               25 ประเทศ โดยประเทศที่เข้าร่วมเจรจาการค้ามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐอินเดีย มาเลเซีย และแคนาดา ตามลำดับเกิดผลการเจรจาธุรกิจ รวม 269 ครั้ง มูลค่าการค้ารวม                 849.68 ล้านบาท ทั้งนี้ ธุรกิจที่ได้รับความสนใจสูง ได้แก่ การบริการถ่ายทำภาพยนตร์ในไทย การขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ และการร่วมลงทุน นอกจากนี้ ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัทของไทยและบริษัทต่างชาติเพื่อร่วมผลิตผลงานภาพยนตร์เรื่องอินทรีแดง (2024) โดยมีมูลค่าจากการลงนามฯ จำนวน 190 ล้านบาท
                    2. การหารือกับผู้บริหารบริษัทต่าง ๆ ดังนี้
                              2.1 บริษัท Space Exploration Technologies Corp. หรือ Spacex เป็นบริษัทที่ออกแบบและผลิตยานอวกาศ รวมถึงธุรกิจการเดินทางสู่อวกาศ โดยปัจจุบันได้พัฒนาและผลิตจรวดขนส่งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 15 ครั้ง ลดต้นทุนในการขนส่งจรวดได้ถึง 10 เท่า นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ Starlink ซึ่งเป็นโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมกว่า 44 ประเทศทั่วโลก มีดาวเทียมรวมกว่า 3,000 ดวง (ในอาเซียนครอบคลุมสาธารณรัฐสิงคโปร์ มาเลเซีย และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย) ทำให้สามารถเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็ว ทั้งนี้ หากบริษัทฯ ขยายการให้บริการครอบคลุมไทยก็จะสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเมืองไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) การพัฒนาระบบการศึกษา                       และการพัฒนาสาธารณสุขให้ทันสมัยและเข้าถึงได้ในพื้นที่ห่างไกล
                              2.2 บริษัท LAX-C Inc. ดำเนินกิจการโดยนักธุรกิจคนไทย ซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้า กระจายสินค้า ค้าส่งและค้าปลีกสินค้าไทยให้แก่ธุรกิจร้านอาหารและร้านขายสินค้าไทยรายใหญ่ที่สุดในฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา มีการจำหน่ายสินค้า อาหาร และเครื่องใช้จากไทย รวมถึงสินค้าหายาก เช่น ขนมจาก ขนมตาล                  ข้าวเหนียวปิ้ง สะตอ ทุเรียนหมอนทอง และศาลพระภูมิ โดยบริษัทฯ นำเข้าสินค้าจากไทยปีละประมาณ 300 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค่ากว่า 400 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สินค้าประเภทอาหารที่จะเข้าสู่สหรัฐอเมริกาจะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบที่เข้มงวดปรับบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดใหญ่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนต้องให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล เนื่องจากผู้บริโภคชาวสหรัฐอเมริกามีความอ่อนไหวต่อประเด็นด้านสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร
                              2.3 บริษัท Overhill Farms Inc. เป็นธุรกิจในเครือบริษัท CP Foods North America (CPF) ที่ผลิตอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับห้างค้าปลีกที่มีสาขาทั่วสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ บริษัท CPF มีนโยบายผลักดันและส่งเสริมอาหารไทยต้นตำรับ (Authentic Thai Food) ไปทั่วโลก โดยปัจจุบันได้นำผัดไทยพร้อมรับประทานไปจำหน่ายในห้างค้าส่งขนาดใหญ่ที่มีสาขาครอบคลุมทั่วสหรัฐอเมริกาและอยู่ระหว่างพัฒนาสูตรอาหารไทยอื่น ๆ เช่น ข้าวผัด ผัดกระเพราไก่ ข้าวซอยไก่ ต้มข่าไก่ และแกงเขียวหวาน ซึ่งนโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของ พณ. ที่ใช้สินค้าอาหารไทยเป็น Soft Power เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้จักอาหารไทยและนำไปสู่ความนิยมในการใช้และบริโภคสินค้าไทยอื่น ๆ นอกจากนี้ ได้หารือแนวทางความร่วมมือในการส่งเสริมการขยายตลาดสินค้าอาหารไทยเพื่อผลักดันให้ไทยไปสู่การเป็นครัวลก โดยบริษัท CPF เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีศักยภาพที่จะสนับสนุนนโยบายดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จได้
                    3. แนวทางการดำเนินการต่อไป
                              3.1 ผลักดันการส่งออกธุรกิจบริการเอนเตอร์เทนเมนต์และแอนิเมชันของไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงในการนำรายได้เข้าสู่ประเทศ โดยส่งเสริมด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับโลก งานเทศกาลที่มีศักยภาพ และการจับคู่ธุรกิจ
                              3.2 ส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารไทยในฐานะครัวของโลกเพื่อแสดงจุดแข็งด้านการผลิตและการแปรรูปสินค้าอาหาร และการนำเสนอนวัตกรรมด้านอาหารใหม่ ๆ ผ่านการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารที่สำคัญในสหรัฐอเมริกา การเชิญผู้นำเข้ารายสำคัญเข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาหาร THAIFEx-Anuga Asia รวมทั้ง              การส่งเสริมการขายสินค้าอาหารไทยร่วมกับผู้นำเข้าและห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตที่สำคัญในพื้นที่
                              3.3 ส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทย โดยใช้อาหารไทยเป็น Soft Power เพื่อสื่อสารวัฒนธรรมด้านอาหารของไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ เช่น การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทยและธุรกิจบริการอาหารไทยในต่างประเทศผ่านการส่งเสริมตราสัญลักษณ์ Thai Select กิจกรรมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทยผ่านกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย (Influencer) รวมถึง                การขยายตลาดคนรุ่นใหม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และการประชาสัมพันธ์ผ่านสถาบันสอนทำอาหารที่มีชื่อเสียง

20.  เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และ                 ปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 ? 2567 (Memorandum of Understanding on the cooperation in the field of tourism including the 2023 - 2024 Korea - Thailand Mutual Visit Year) ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มีใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง  รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว                       แห่งสาธารณรัฐเกาหลีตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา                       แห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เป็นผลสืบเนื่องจากการหารือ ในโอกาสที่ นายมุน ซึง-ฮย็อน (Moon Seong-Hyun) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชนระหว่างไทยและเกาหลีใต้ร่วมกัน รวมถึงการกำหนดให้ปี พ.ศ. 2566 - 2567 เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างไทยและเกาหลีใต้ (Korea - Thailand Mutual Visit Year)
                    2. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา                        แห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรของทั้งสองประเทศ ผ่านการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสถิติด้านการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนกิจกรรมและโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในช่วงปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี                       ปี พ.ศ. 2566 - 2567 โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

21.  เรื่องการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิกว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล                   แห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิกว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว รวมทั้งเห็นชอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน ให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างความตกลงฯ
                    1. ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตที่มีอายุใช้ได้ของแต่ละฝ้ายในการเดินทางเข้า ออก แวะผ่าน และพำนักอยู่ในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นระยะเวลา     ไม่เกินเก้าสิบ (90) วัน ภายในห้วงระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบ (180) วัน โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้อง                ไม่ดำเนินกิจการซึ่งได้รับค่าตอบแทนและต้องมีใบอนุญาตทำงานภายใต้กฎหมายของคู่ภาคี
                    2. ร่างความตกลงฯ มิได้ยกเว้นคนชาติของคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชึ่งถือหนังสือเดินทางทูตที่มีอายุใช้ได้ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการทูตหรือทางกงสุลของคู่ภาคีนั้นในดินแดนของคู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นผู้แทนของคู่ภาคีนั้นประจำองค์การระหว่างประเทศที่มีที่ตั้งในดินแดนของคู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งจากข้อกำหนดของการตรวจลงตราที่รับรองโดยรัฐผู้รับก่อนจะเดินทางไปยังดินแดนของรัฐผู้รับ
                    3. ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตที่มีอายุใช้ได้ของแต่ละฝ่าย ซึ่งมีสิทธิได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 1 อาจเดินทางเข้า แวะผ่าน หรือออกจากดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง ณ จุดผ่านแดนทุกแห่งที่เปิดเพื่อการสัญจรของผู้โดยสารระหว่างประเทศ
                    4. คู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจระงับการใช้บังคับความตกลงฉบับนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ การรักษาความสงบเรียบร้อยสาธารณะ หรือการสาธารณสุข โดยคู่ภาคีที่ตัดสินใจระงับการใช้บังคับความตกลงฉบับนี้ จะแจ้งให้คู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบถึงการระงับเป็นลายสักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้า (15) วันปฏิหินก่อนมาตรการดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
                    5. ร่างความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับในเวลาสามสิบ (30) วัน นับจากวันที่ได้รับการแจ้งเป็น                ลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายที่คู่ภาคีฝ่ายหนึ่งได้แจ้งให้คู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบผ่านช่องทางการทูตว่าได้ดำเนินการ      ตามกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้ว

แต่งตั้ง
22. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 310/2565 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 310/2565 เรื่อง มอบหมายให้                        รองนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ดังนี้
                    ตามที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบาย                         มติคณะรัฐมนตรี และระเบียบแบบแผน และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง                              ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ นั้น
                    เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี               (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ