สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566

ข่าวการเมือง Wednesday February 15, 2023 09:54 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (14 กุมภาพันธ์ 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ สันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย                                                    (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่าง                                                  พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติ
                                        ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไข                                        เพิ่มเติมพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 พ.ศ. ....                                         รวม 4 ฉบับ
                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ                                                  ทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. ....
                    4.            เรื่อง           ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เรื่อง การจัดเก็บ                                                  ค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร                                                  พุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารเรือ ฉบับที่ .. และร่างกฎกระทรวง                                                   (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียนใน                                                  สังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2521 ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลทหารเรือ                                         ฉบับที่ .. รวม 2 ฉบับ
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน                                                   พ.ศ. 2535

เศรษฐกิจ-สังคม
                    7.           เรื่อง           ผลการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ                                                  ภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC)
                    8.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนธันวาคม                                         2565
                    9.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565
                    10.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ                                        ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6/2565
                    11.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่

พ.ศ. 2566

                    12.           เรื่อง           ความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการละ                                        เว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทาง                                                  สาธารณะ
                    13.           เรื่อง           การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน                                        เฉพาะกิจ
                    14.           เรื่อง           การดำเนินงานโครงการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการการเดินอากาศ

ณ สนามบินอู่ตะเภา ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

                    15.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 3,786.55 ล้านบาท เพื่อ                                        ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ (จำนวน 32                                         จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
                    16.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี                                                  ฉุกเฉินหรือจำเป็นของสำนักงานอัยการสูงสุด
                    17.           เรื่อง           การเสนอวิธีและขั้นตอนยุติการดำเนินการของกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของ                                        การระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ต่อคณะรัฐมนตรี
                    18.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566
                    19.           เรื่อง           ขออนุมัติปรับระยะเวลาและแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มี                                        ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 4 จากปี                                         พ.ศ. 2564 ? 2567 เป็นปี พ.ศ. 2566 ? 2569
                    20.           เรื่อง           โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD : OKMD National Knowledge                                         Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2)
                    21.           เรื่อง           การพิจารณามีมติให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดใน                                                  หน่วยงานของรัฐมาปฏิบัติงานที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล                                         เป็นการชั่วคราว
                    22.           เรื่อง           สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ                                                  นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 20 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 30 พฤศจิกายน 2565)
                              23.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงใน                                                  พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 3
                              24.           เรื่อง            รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนธันวาคม 2565 และทั้งปี 2565
ต่างประเทศ
                    25.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง                                        สภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP 27) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เมือง                                                  ชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
                    26.           เรื่อง           การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป                                                   (European Union: EU)
                    27.           เรื่อง           ขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยน                                        ข้อมูลการต่อต้านการทำการประมงผิดกฎหมาย ระหว่างกรมประมง กระทรวง                                                  เกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และกรมประมง กระทรวงเกษตรและ                                        พัฒนาชนบทแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                    28.           เรื่อง            ร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงาน                                                  คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง
                    29.           เรื่อง           รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย ? ซาอุดีอาระเบีย

แต่งตั้ง
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม และรองโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม
                    31.           เรื่อง           การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป.
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    33.           เรื่อง           ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                    34.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
                    35.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                    36.           เรื่อง           ผลการสรรหากรรมการในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
                    37.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง                                                   (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    38.           เรื่อง            การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลและ                                                  คณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล








































กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                    2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
                    3. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ  เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ให้สามารถดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ตลอดจนการลงทุนร่วมลงทุนกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำผลงานการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประกอบกิจการให้เกิดรายได้ในเชิงพาณิชย์ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินธุรกิจหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของสถาบัน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ในเรื่องดังต่อไปนี้
พระราชบัญญัติเดิม          ร่างพระราชบัญญัตินี้
1. วัตถุประสงค์ของ วว.
?          ให้ วว. มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) ริเริ่ม จัดดำเนินการวิจัย และให้บริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศในทางเศรษฐกิจและสังคม ให้แก่หน่วยงานของรัฐและวิสาหกิจเอกชน          คงเดิม
(2) วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การอนามัยและสวัสดิภาพของประชาชน          คงเดิม
(3) สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตตามนโยบายของรัฐบาลโดยเผยแพร่ผลของการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม            (3) ดำเนินการและสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตตามนโยบายของรัฐบาล โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้และเผยแพร่ผลของการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
(4) ฝึกอบรมนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          คงเดิม
(5) ให้บริการในการทดสอบ ตรวจวัด และบริการอื่น ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          คงเดิม
            (6) ดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศตลอดจนการลงทุน ร่วมลงทุนกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อนำผลงานการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปประกอบกิจการให้เกิดรายได้ในเชิงพาณิชย์
  (7) กระทำการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสถาบัน
2. อำนาจหน้าที่ของ วว.
?          วว. มีอำนาจหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(1) ซื้อ สร้าง จัดหา โอน รับโอน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครองหรือทรัพยสิทธิต่าง ๆ และจำหน่ายสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้

  (1) ซื้อ ขาย จ้าง รับจ้าง สร้าง จัดหา โอน รับโอน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ อนุญาต แลกเปลี่ยน และจำหน่าย หรือการทำนิติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่กิจการของ วว. ตลอดจนถือครองกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพยสิทธิต่าง ๆ ในทรัพย์สินของ วว. และจำหน่ายทรัพย์สิน ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้
          ในกรณีการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน                    ในกรณีการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเกินกว่าสิบล้านบาท ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
(2) รับค่าตอบแทนในการวิจัย และค่าบริการในการให้บริการภายในอำนาจหน้าที่ของ วว. รวมทั้งทำความตกลงและกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าตอบแทนและค่าบริการนั้น            (2) รับค่าตอบแทนในการวิจัย ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ดอกผลของเงิน ค่าสิทธิประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา รายได้ และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด ที่ได้จากการดำเนินกิจการภายในอำนาจหน้าที่ของ วว. รวมทั้งทำความตกลงและกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าตอบแทนและค่าบริการนั้น
(3) จัดตั้งหน่วยงาน ดำเนินงานและปรับปรุงหน่วยงานเกี่ยวกับการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี           คงเดิม
(4) ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือของเอกชน ในกิจการที่เกี่ยวกับการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการนำผลของการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์            (4) ทำความตกลงและร่วมมือกับบุคคล องค์กรหรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของ วว. และการนำผลของการวิจัยไปใช้เป็นประโยชน์
(5) จัดให้มีและดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งชาติทางกายภาพ เพื่อการตรวจวัดปริมาณและคุณภาพต่าง ๆ           คงเดิม
(6) รวบรวมและเผยแพร่ข้อนิเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          คงเดิม
(7) จัดพิมพ์โฆษณาเอกสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนกรรมวิธีในทางหรือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับงานของสถาบัน          คงเดิม
(8) กู้ยืมเงิน ให้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สิน หรือลงทุน ทั้งนี้ เพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น            (8) กู้ยืมเงิน ให้กู้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สิน ถือหุ้น หรือเข้าเป็นหุ้นส่วน ลงทุนหรือร่วมลงทุนกับนิติบุคคลอื่น ในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์
          การกู้ยืมเงิน การให้กู้ยืมเงิน หรือการลงทุน ถ้าเป็นจำนวนเงินเกินคราวละห้าล้านบาท ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน                    การกู้ยืมเงิน การให้กู้ยืมเงิน การเข้าถือหุ้น การเข้าเป็นหุ้น และการลงทุน หรือการร่วมลงทุน ถ้าเป็นจำนวนเงินเกินคราวละยี่สิบล้านบาท ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
(9) ร่วมมือกับประเทศอื่น องค์การ หรือหน่วยงานต่างประเทศ ในกิจการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          ยกเลิก เนื่องจากซ้ำซ้อนกับข้อ (4) ที่แก้ใหม่
(10) จัดให้มีและให้ทุนการศึกษาและทุนการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          คงเดิม
            (10) ออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อใช้ในการดำเนินการในกิจการของ วว. โดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการคลัง (กค.) มีความเห็นในเรื่องนี้)
  (11) จัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลอื่นจัดตั้งบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอย่างอื่นเพื่อนำผลงานการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประกอบกิจการใช้ให้เกิดรายได้ในเชิงพาณิชยกรรม (กค. และสำนักงบประมาณ (สงป.) มีความเห็นในเรื่องนี้)
  (12) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ วว.
3. รายได้ของ วว.
?          รายได้ของ วว. มีดังต่อไปนี้
(1) เงินทุนอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้
คงเดิม
(2) เงินทุนอุดหนุนจากแหล่งอื่น และเงินที่มีผู้อุทิศให้          คงเดิม
(3) ค่าตอบแทนและค่าบริการที่ วว. ได้รับ            (3) ค่าตอบแทน ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงดอกผลของเงิน ค่าสิทธิประโยชน์ รายได้และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ วว. ได้รับ
(4) ดอกเบี้ยและผลประโยชน์อย่างอื่นจากการให้กู้ยืมเงิน การลงทุน และจากทรัพย์สินของ วว.
?          ในกรณีที่รายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ วว. และค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม และ วว. ไม่สามารถหาเงินจากทางอื่นได้ รัฐพึงจ่ายเงินให้แก่ วว. เท่าจำนวนที่จำเป็น          คงเดิม

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 พ.ศ. .... รวม 4 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการ
                              1.1 ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                              1.2 ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                              1.3 ร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                              1.4 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 พ.ศ. ....
รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                    2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติ รวม 4 ฉบับ ดังกล่าว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
                    3. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างพระราชบัญญัติ รวม 4 ฉบับ ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550  และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในตลาดทุน สร้างความชัดเจนในการกำกับดูแล และเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ดังนี้
                    1. ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แก้ไขเพิ่มเติมประเด็น
                              1) เพิ่มการรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดทุน (เช่น กำหนดให้การขออนุญาต การรายงาน และการส่งหรือยื่นเอกสารสามารถดำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เท่านั้น เป็นต้น)
                              2) ปรับปรุงการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตลาดรอง และองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ (เช่น ให้อำนาจคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สามารถกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ได้ทุกประเภทและทุกแห่ง เป็นต้น)
                              3) ปรับปรุงการระดมทุนและการกำกับดูแลสำนักงานสอบบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุน (เช่น การไม่กำหนดมูลค่าขั้นต่ำ ? ขั้นสูงของหุ้นกู้ การผ่อนคลายข้อห้ามหักกลบลบหนี้ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์มีอำนาจกำกับดูแลการจัดทำงบการเงินของกองทุนรวม และที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฯลฯ เป็นต้น)
                              4) เพิ่มหลักการเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ การประกอบวิชาชีพ หรือการให้บริการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (แก้ไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีในตลาดทุน จากเดิมเป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการต่ออายุคำขอความเห็นชอบราย 5 ปี เป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการให้ความเห็นชอบแบบไม่จำกัดอายุการให้ความเห็นชอบ)
                              5) เพิ่มมาตรการคุ้มครองพยานในชั้นการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ (เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานคุ้มครองพยานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยใช้แนวทางเดียวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546)
                              6) เพิ่มอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นพนักงานสอบสวนและมีอำนาจสอบสวนในความผิดบางประเภท (เช่น ให้อำนาจเลขาธิการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีอำนาจสอบสวนผู้กระทำความผิดในความผิดฐานบอกกล่าว เผยแพร่ หรือให้คำรับรองข้อความอันเป็นเท็จ ความผิดฐานใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหลักทรัพย์ และความผิดฐานสร้างราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น)
                              7) ปรับปรุงบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง (เพิ่มบทกำหนดโทษทางอาญาและเปรียบเทียบความผิด และเพิ่มบทกำหนดโทษทางปกครองและโทษปรับเป็นพินัย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565)

                    2. ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แก้ไขเพิ่มเติมประเด็น
                              1) เพิ่มการรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดทุน (เช่น กำหนดให้การขออนุญาต การรายงาน และการส่งหรือยื่นเอกสารสามารถดำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เท่านั้น เป็นต้น)
                              2) ปรับปรุงการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลาดรอง องค์กรและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง [แก้ไขหลักเกณฑ์ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จากเดิมพิจารณาจาก ?จำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง? เป็น ?จำนวนสิทธิออกเสียง? เพื่อเป็นการสะท้อนสิทธิออกเสียงที่แท้จริงของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (เช่น กรณีผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ 1 หุ้น อาจมีสิทธิออกเสียงได้ 0.5 เสียง ซึ่งแตกต่างจากผู้ถือหุ้นสามัญ          1 หุ้น มีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง) และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีอำนาจให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนก่อนการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ผู้แนะนำการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน และผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น]
                              3) เพิ่มมาตรการคุ้มครองพยานในชั้นการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ (เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานคุ้มครองพยานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยใช้แนวทางเดียวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546)
                              4) เพิ่มอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นพนักงานสอบสวนและมีอำนาจสอบสวนในความผิดบางประเภท (เช่น ให้อำนาจเลขาธิการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีอำนาจสอบสวนผู้กระทำความผิดในความผิดฐานบอกกล่าว เผยแพร่ หรือให้คำรับรองข้อความอันเป็นเท็จ ความผิดฐานใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหลักทรัพย์ และความผิดฐานสร้างราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น)
                              5) ปรังปรุงบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง (ปรับปรุงบทกำหนดโทษทางปกครองสำหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า)
                    3. ร่างพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แก้ไขเพิ่มเติมประเด็น
                              1) เพิ่มการรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดทุน (เช่น กำหนดให้การขออนุญาต การรายงาน และการส่งหรือยื่นเอกสารสามารถดำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เท่านั้น เป็นต้น)
                              2) เพิ่มมาตรการคุ้มครองพยานในชั้นการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ (เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานคุ้มครองพยานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยใช้แนวทางเดียวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546)
                    4. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 พ.ศ. .... แก้ไขเพิ่มเติมประเด็น
                              1) เพิ่มการรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดทุน (เช่น กำหนดให้การขออนุญาต การรายงาน และการส่งหรือยื่นเอกสารสามารถดำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เท่านั้น เป็นต้น)
                              2) เพิ่มมาตรการคุ้มครองพยานในชั้นการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ (เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานคุ้มครองพยานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยใช้แนวทางเดียวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546)
                              3) เพิ่มอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นพนักงานสอบสวนและมีอำนาจสอบสวนในความผิดบางประเภท (เช่น ให้อำนาจเลขาธิการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีอำนาจสอบสวนผู้กระทำความผิดในความผิดฐานบอกกล่าว เผยแพร่ หรือให้คำรับรองข้อความอันเป็นเท็จ ความผิดฐานใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหลักทรัพย์ และความผิดฐานสร้างราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น)
ทั้งนี้ การดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ รวม 4 ฉบับดังกล่าวสอดคล้องกับการปรับปรุงกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัย รวมทั้งมีกลไกส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                    ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย และเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. (www.sec.or.th) และระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว

3. เรื่อง ร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกำหนดฯ ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ สืบเนื่องจากปัจจุบันได้มีการตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 กำหนดมาตรการป้องกันการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งรวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการควบคุมตัว ต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมตัวและแจ้งให้พนักงานอัยการและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องที่ทราบโดยทันที ซึ่งขณะนี้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบได้มีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวในระดับหนึ่งแล้ว โดยได้จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น ตลอดจนฝึกอบรมความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน รวมทั้งวางระเบียบและแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน เหมาะสม เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการกระทำให้บุคคลสูญหาย          เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ แต่โดยที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 22 กุมภาพันธ์                   พ.ศ. 2566 ในขณะที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการตามกฎหมายแจ้งว่ายังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความพร้อมด้านงบประมาณ การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ และขั้นตอนการปฏิบัติงานในการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียด ซับซ้อน และมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนโดยตรง หากมีการใช้บังคับกฎหมายในขณะที่หน่วยงานยังไม่มีความพร้อมอาจเกิดผลร้ายแรงต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เสนอร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... เพื่อขยายกำหนดเวลาในการมีผลใช้บังคับของมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวออกไป โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เตรียมความพร้อมในด้านอุปกรณ์และบุคลากรสำหรับการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ตลอดจนให้มีการวางหลักเกณฑ์และมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนอย่างแท้จริง สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทำให้บุคคลสูญหาย         เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกำหนด
                    1. ขยายกำหนดระยะเวลาในการมีผลใช้บังคับบางมาตรา ได้แก่ มาตรา 22 (ในการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว) มาตรา 23 (ในการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว) มาตรา 24 (การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว) และมาตรา 25 (การไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัวกรณีอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย ละเมิดต่อความเป็นส่วนตัว เกิดผลร้ายต่อบุคคลหรือเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนสอบสวน) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ออกไป โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
                    2. ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการควบคุมตัวตามมาตรา 22 และมาตรา 23 เร่งเตรียมการให้มีความพร้อมรองรับการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายมีมาตรการและกลไกที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยเร็ว
ทั้งนี้ ให้พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

4.  เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติเสนอ และส่งให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาโดยด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. มอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) ดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจลงตรา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ออกตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยกำหนดให้ใช้หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นเอกสารประกอบการอนุญาตเข้าเมืองและเป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตเข้าเมือง
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
                    2. กำหนดคำนิยามต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
                              - ผู้ดำเนินการเดินอากาศ หมายความว่า เจ้าของอากาศยานผู้จดทะเบียนอากาศยาน           หรือผู้ดำเนินการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
                              - บัตรผ่านแดน (Border pass) ให้หมายความรวมถึง บัตรผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border pass) บัตรผ่านแดนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Border pass) และบัตรผ่านแดนอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
                              - ด่านช่องทางบกและช่องทางน้ำ หมายความว่า ด่านตรวจคนเข้าเมืองถาวรทางบกและทางน้ำ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้หมายความรวมถึงด่านตรวจ จุดตรวจ หรือช่องทางอื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกำหนดเพื่อการตรวจสอบนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และยานพาหนะของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
                              - ยานพาหนะเชิงพาณิชย์ หมายความว่า ยานพาหนะที่ใช้เพื่อการประกอบธุรกิจที่เดินทาง ผ่านด่านช่องทางอากาศ ด่านช่องทางบกและช่องทางน้ำ
                              - ผู้ดำเนินการ หมายความว่า นิติบุคคลผู้ได้รับมอบหมายจากกองทุนให้เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียม การจัดเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านด่านช่องทางบกและช่องทางน้ำ เพื่อส่งให้กองทุน
                    3. กำหนดให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราดังต่อไปนี้
                              3.1 เดินทางผ่านช่องทางอากาศ ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราคนละ 300 บาทต่อคนต่อครั้ง
                              3.2 เดินทางผ่านช่องทางบกและช่องทางน้ำ ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราคนละ 150 บาทต่อคนต่อครั้ง
                    4. กำหนดให้ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแก่บุคคลต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ถือหนังสือเดินทางเพื่อการทูต กงสุล หรือการปฏิบัติราชการ (Diplomatic or Official Passport) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศ (Work Permit) หรือหนังสืออนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด ผู้โดยสารผ่าน ซึ่งมิได้ออกนอกบริเวณห้องผู้โดยสารผ่าน ในกรณีการเดินทางระหว่างประเทศ (Transit Passenger) นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติซึ่งเป็นทารกและเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี และบุคคลอื่น ตามที่คณะกรรมการกำหนด
                    5. กำหนดคุณลักษณะของผู้ดำเนินการเดินอากาศที่มีหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียม โดยเป็นผู้ได้รับใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศซึ่งมีสถานที่ประกอบธุรกิจหลักหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรตั้งอยู่ในไทย หรือเป็นผู้ดำเนินการเดินอากาศของต่างประเทศที่ให้บริการแบบประจำมีกำหนด หรือแบบไม่ประจำประเภทเที่ยวบินเช่าเหมาลำที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินเป็นช่วงเวลา และมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ในไทยหรือมีตัวแทนรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเก็บและนำส่งเงินค่าธรรมเนียมของผู้โดยสารขาเข้าในไทย
                    6. กำหนดหน้าที่ของผู้ดำเนินการเดินอากาศ ดังนี้
                              6.1 ลงทะเบียนกับกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเพื่อพัฒนาระบบของตนเองเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อนำเข้า นำส่ง และแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้โดยสาร รวมถึงข้อมูลการชำระค่าธรรมเนียมกับระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (Thailand Tourism Fee: TTF)     ตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด ก่อนทำการบินเข้าประเทศไทย
                              6.2 จัดเก็บค่าธรรมเนียม โดยให้จัดเก็บผ่านบัตรโดยสารเครื่องบิน ทั้งนี้ ให้แสดงอัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บไว้ในบัตรโดยสารหรือเอกสารอย่างอื่นที่ผู้โดยสารต้องชำระ
                              6.3 นำส่งบัญชีรายชื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็นผู้โดยสารขาเข้าก่อนอากาศยานนั้นออกเดินทางจากสนามบินประเทศต้นทาง
                              6.4 นำส่งค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้ให้แก่กองทุนตามวิธีการที่กองทุนกำหนดภายในระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากกองทุน
                    7. กำหนดหน้าที่เพิ่มเติมของผู้ดำเนินการเดินอากาศของต่างประเทศ ที่ให้บริการแบบประจำมีกำหนดและไม่มีสำนักงานสาขาฯ โดยต้องมีการวางเงินล่วงหน้าไว้กับกองทุนตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด และต้องนำส่งบัญชีรายชื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็นผู้โดยสารขาเข้าและค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้แก่กองทุนตามวิธีการที่กำหนด ภายในระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากกองทุน
                    8. กำหนดหน้าที่ของผู้ดำเนินการ (นิติบุคคลผู้ได้รับมอบหมายจากกองทุนให้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียม) ดังนี้
                              8.1 ลงทะเบียนกับกองทุนเพื่อพัฒนาระบบของตนเอง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อนำเข้า นำส่ง และแลกเปลี่ยนข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รวมถึงข้อมูลการชำระค่าธรรมเนียมกับระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนดให้แล้วเสร็จโดยเร็วก่อนเริ่มดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
                              8.2 จัดเก็บค่าธรรมเนียมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านด่านช่องทางบกและช่องทางน้ำแทนกองทุน โดยผ่านเว็บไซต์ โมบายแอปพลิเคชันตู้ให้บริการชำระค่าธรรมเนียม (Kiosk) และช่องทางอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
                    9. กำหนดให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศและผู้ดำเนินการที่ได้ลงทะเบียนกับกองทุนและพัฒนาระบบของตนแล้วให้เริ่มจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามประกาศฉบับนี้ และมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากกองทุนตามที่ได้ตกลงกัน
                    10. กำหนดให้สำนักงานปลักกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอาจแต่งตั้งนิติบุคคลให้เป็นตัวแทนทำหน้าที่ประสานงานด้านข้อมูลกับผู้ดำเนินการเดินอากาศและมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการดำเนินการจากกองทุนตามที่ได้ตกลงกัน โดยมีหน้าที่ในการจัดทำรายการสรุปบัญชีรายชื่อ ข้อมูลผู้โดยสารขาเข้าประเทศไทยของแต่ละผู้ดำเนินการเดินอากาศในทุกเที่ยวบิน ยอดรวมในแต่ละวันในแต่ละเดือนของแต่ละสนามบินพร้อมทั้งวิเคราะห์กลั่นกรองตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวรวมถึงข้อมูลอื่นๆ ตามที่กองทุนกำหนด จัดทำเอกสารการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ดำเนินการเดินอากาศ และประสานติดตามทวงถามตามที่กองทุนกำหนด เพื่อให้สามารถตรวจสอบรายละเอียด และยืนยันการชำระค่าธรรมเนียมได้
                    11. กำหนดให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศหรือผู้ดำเนินการเกิดข้อปัญหาในการปฏิบัติตามประกาศ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประสานกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารพุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารเรือ ฉบับที่ .. และร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2521 ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลทหารเรือ ฉบับที่ .. รวม 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารพุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารเรือ ฉบับที่ .. และร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2521 ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลทหารเรือ ฉบับที่ .. รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กห. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากเครื่องแบบทหารเรือและเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลทหารเรือขาดความสง่างามไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันและยังไม่เป็นสากล ส่งผลให้การแต่งกายของทหารเรือไทยและทหารเรือต่างประเทศเกิดความแตกต่างกันไม่เป็นไปตามหลักสากลนิยม จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบทหารเรือเพื่อปรับปรุงส่วนประกอบของเครื่องแบบให้มีความเป็นสากลและให้เกิดความสง่างาม สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
                    2. กห. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารเรือ ฉบับที่ .. และร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2521 ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลทหารเรือ ฉบับที่ .. รวม 2 ฉบับ ขึ้นและคณะกรรมการตรวจร่างกฎหมายประจำ กห. และสภากลาโหมได้เห็นชอบด้วยแล้ว
                    3. นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารเรือ ฉบับที่ ..
                        1.1 แก้ไขเพิ่มเติมส่วนประกอบของเครื่องแบบทหารเรือ ดังนี้
                              (1) เข็มขัดประกอบเครื่องแบบปกติขาวคอพับ แก้ไขส่วนของเครื่องแบบทหารเรือในส่วนของเข็มขัด จาก ?เข็มขัดสีดำ? เป็น ?เข็มขัดสีขาว? เพื่อให้เป็นไปตามสากลนิยมของทหารเรือนานาประเทศ เนื่องจากทหารเรือต่างประเทศส่วนใหญ่นิยมแต่งกายโดยใช้เข็มขัดสีขาวประกอบเครื่องแบบปกติขาวคอพับ
                              (2) แก้ไขสายรัดคางประกอบหมวกทรงหม้อตาลสำหรับนายทหารสัญญาบัตรชายและนักเรียนนายเรือ จาก ?ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมหนังสีดำ? เป็น ?ทำด้วยแถบไหมทอง หรือวัตถุเทียมไหมทอง? และแก้ไขหมวกหนีบสำหรับนายทหารสัญญาบัตรชั้นนายพลเรือ ด้วยการเพิ่มขลิบสีทองขนาดใหญ่ที่ขอบสาบหมวก
                    2. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2521 ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลทหารเรือ ฉบับที่ .. เป็นการแก้ไขเข็มขัดเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลทหารเรือ สำหรับประกอบเครื่องแบบปกติขาวคอพับ จาก ?เข็มขัดสีดำ? เป็น ?เข็มขัดสีขาว?

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ อก. เสนอว่า
                    1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดให้การรายงานข้อมูลต่าง ๆ ของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้ง 2 ฉบับ (รวม 7 ประเภทโรงงาน เช่น โรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ โรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี และโรงงานที่มีสารมลพิษหรือสารเคมี) ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด แต่โรงงานทั้ง 7 ประเภทที่กำหนดไว้ดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมถึงโรงงานที่ทำให้เกิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และโรงงานที่รับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว
                    2. ประกอบกับปัจจุบัน อก. กำหนดให้การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเป็นไปตามประกาศ อก. เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 โดยโรงงานผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว และโรงงานผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องส่งรายงานประจำปีตามแบบใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วสำหรับผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (สก.3) และใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วสำหรับผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (สก.5) ภายในวันที่ 1 มีนาคมของปีถัดไป และหากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 (มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติโรงงานฯ ดังกล่าวเป็นบทกำหนดโทษสำหรับการขออนุญาตต่าง ๆ ในการประกอบกิจการโรงงาน เช่น ที่ตั้งโรงงานและเอกสารจำเป็นในการขอตั้งโรงงาน ไม่ใช่บทกำหนดโทษสำหรับการรายงาน)
                    3. อก. พิจารณาแล้ว เพื่อให้มีการกำหนดโรงงานที่ทำให้เกิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและโรงงานที่รับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมีการรายงานข้อมูลและมีการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางวิชาการ รวมทั้งเพื่อให้การกำหนดโทษสำหรับการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเป็นไปตามที่บัญญัติตามมาตรา 46 (ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษสำหรับการรายงาน โดยบัญญัติให้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (7) กำหนดข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ทราบเป็นครั้งคราวหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ดังนี้
                        3.1 ผู้ที่เข้าข่ายต้องรายงานข้อมูล ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำนวน 64,107 โรงงาน จำแนกเป็นโรงงานผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 61,854 โรงงาน และโรงงานผู้รับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 2,253 โรงงาน (ข้อมูล ณ วันที่ 17 มกราคม 2566)
                        3.2 วิธีการรายงานข้อมูล กำหนดให้รายงานข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก                หรือกระทำ ณ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
                        3.3 ข้อมูลที่ต้องรายงานและกำหนดเวลาการรายงาน
                              (1) โรงงานผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว กำหนดให้รายงานข้อมูลรายละเอียดการกักเก็บและการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
                              (2) โรงงานผู้รับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว กำหนดให้รายงานข้อมูลรายละเอียดวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
                    4. อก. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน โดยได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (www.diw.go.th) และระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ระหว่างวันที่ 1 - 15 ธันวาคม 2565 รวม 15 วัน ทั้งนี้ มีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 5 ราย จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ประกอบกิจการโรงงาน หน่วยงานของรัฐ และประชาชน เป็นต้น และเห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ทำให้เกิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและผู้ประกอบกิจการโรงงานที่รับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ต้องรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วให้พนักงงานเจ้าหน้าที่ทราบ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนด โดยกำหนดให้เพิ่มเป็นข้อ 8 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535




เศรษฐกิจ-สังคม
7. เรื่อง ผลการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอผลการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC)1
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 พฤศจิกายน 2564) รับทราบผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (Conference of the parties: COP 26) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 12 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร และถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) เป็นการเน้นจุดยืนของไทยที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศและทุกภาคส่วน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการแก้ไขปัญหา ซึ่งไทยได้เข้าเป็นภาคีความตกลงปารีส2 และดำเนินการที่สอดคล้องตามพันธกรณีมาอย่างต่อเนื่อง โดยไทยได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานตามแผนที่การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMA)3 นอกจากนี้ ได้แสดงเจตนารมณ์ของไทยที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในหรือก่อนปี ค.ศ. 2065
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่าคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานคณะกรรมการ] ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่       4 ตุลาคม 2565 มีมติรับทราบผลการประชุม TCAC ซึ่งจัดขั้นระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดงานและผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจของไทย ทูตานุทูตจากประเทศต่าง ๆ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ และมอบหมายให้ ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นำผลการประชุมฯ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ เช่น
1. ภาพรวมและวัตถุประสงค์          เพื่อเป็นเวทีสร้างพลังขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยในทุกระดับและทุกภาคส่วนเพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 พร้อมทั้งเป็นการเริ่มต้นดำเนินงานตามความตกลงปารีสอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ไทยมุ่งสู่เป้าหมายที่ได้แสดงเจตจำนงไว้ต่อประชาคมโลกในการประชุม COP 26 ตามที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงไว้
2. พิธีเปิดการประชุมและกิจกรรมในห้องประชุมใหญ่          - นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ?เป้าหมาย Net zero 2065        เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของไทยในเวทีโลก (Mission to D-emission 2065 for Thailand Sustainable Growth)? เพื่อยืนยันถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนาระดับชาติตลอดจนขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) เพื่อสร้างความสมดุลแห่งการพัฒนาและเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น การเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ และการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
- รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ประธานกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติได้เน้นย้ำการมุ่งยกระดับการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในประเทศร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเข้มข้นและมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ ?TCAC: Road to COP 27 and Beyond? และ ?จากนโยบายสู่ความสำเร็จด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ? โดยเน้นย้ำว่า ทส.          ได้แปลงเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่นโยบายและแผนเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม เช่น แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2563 และแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดได้กล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงถึงความพร้อมในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
- เครือรัฐออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น สมาพันธรัฐสวิส และสหรัฐอเมริกาได้กล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับไทยในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การสนับสนุนด้านพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้า
- องค์การสหประชาชาติได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการและนำเสนอกรอบความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนและโครงการนำร่องด้านสภาพภูมิอากาศที่ดำเนินการกับไทย
- ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจตอบรับต่อเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศและพร้อมสนับสนุนภาครัฐ โดยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนต่ำ
- เยาวชนและภาคประชาชนพร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทยด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและการออกแบบธุรกิจเพื่อสังคม
3. การเสวนาเชิงวิชาการในห้องประชุมใหญ่          - เสริมสร้างไทยสู่ความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางการบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน เช่น (1) ภาครัฐ โดย สผ. ในฐานะผู้กำหนดนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศได้ระบุถึงเส้นทางสู่ความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศผ่านการจัดทำเครื่องมือเชิงนโยบายและกลไกสนับสนุน เช่น กลไกทางการเงินและกฎหมาย และ (2) รัฐวิสาหกิจและเอกชนโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมปรับกลยุทธ์องค์กรและการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน โดยใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดและเพิ่มแหล่งกักเก็บดูดซับคาร์บอน
- บูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่การดำเนินงานระดับจังหวัดนำเสนอความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับบริบทการพัฒนาระดับพื้นที่และแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ระหว่างหน่วยงานด้านนโยบายและตัวแทนของจังหวัดเพื่อนำเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด
- ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อแบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จของโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไทยร่วมดำเนินการกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice NAMA)4 โดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้กับเกษตรกรและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4 ด้าน         คือ การปรับพื้นที่นาให้ราบเรียบด้วยระบบเลเซอร์ การจัดการน้ำในนาแบบเปียกสลับแห้ง การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการจัดการฟางในนาข้าวอย่างถูกวิธี
4. การเสวนาเชิงวิชาการในห้องประชุมกลุ่มย่อย          - ป่าไม้และการกักเก็บคาร์บอน นำเสนอแลกเปลี่ยนนโยบายและการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ โดยต้องบูรณาการจากทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อน เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าทั้งในพื้นที่ของภาครัฐ         การป้องกันการบุกรุกป่าและควบคุมไฟป่า
- เกษตรกรเท่าทันภูมิอากาศ นำเสนอสาระสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรและความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการข้าวยั่งยืนที่เน้นการจัดการน้ำในนาแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสอดคล้องกับโครงการ Thai Rice NAMA ที่จะเป็นต้นแบบที่ดีในการทำนาทั้งเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนจากการใช้น้ำและการใช้ปุ๋ย
- การบริการข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในภาคเมือง นำเสนอในเรื่องต่าง ๆ เช่น (1) การพัฒนาข้อมูลด้านภูมิอากาศ (2) การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และ (3) แนวทาง/แนวคิดการออกแบบภูมิสถาปัตย์ที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเมืองให้มีการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ
- พลังงานและการขนส่งที่ยั่งยืนผ่านนโยบายและทิศทางการดำเนินงานภายใต้แผนพลังงานชาติ พ.ศ. 2565 เช่น การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การส่งเสริมให้ระบบรางเป็นโครงข่ายหลักของประเทศในการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างเมือง การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ เช่น EV-Bus EV-Boat EV-Bike สำหรับภาคเอกชนได้สะท้อนถึงข้อจำกัดของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเด็นราคาและความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน              โดยจะต้องครอบคลุมพื้นที่ใช้งานและพัฒนาให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ได้ทุกค่ายรถยนต์
- ตลาดคาร์บอนเครดิต4 ตอบโจทย์ธุรกิจรักษ์โลกด้วยกลไกราคา เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานในการใช้กลไกราคาหรือตลาดคาร์บอนเพื่อสร้างโอกาสและแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการในการลดก๊าซเรือนกระจก       โดยดำเนินการผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของไทย
5. การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานและองค์กรภาคธุรกิจ          เช่น (1) เทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Teachnology) เช่น เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอนและพลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า และ (2) แหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนในธรรมชาติ (Green and Blue Carbon) เช่น ระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง
1 เป็นการประชุมที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศที่เน้นการมีส่วนร่วมจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักรู้ เข้าใจ และให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065
2 ไทยได้ลงนามความตกลงปารีสเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 เพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองในทางนโยบายของไทยในการเข้าร่วมมือกับประชาคมโลกเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (5 เมษายน 2559) เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมในพิธีลงนามระดับสูงความตกลงปารีส] ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินการตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
3  แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี พ.ศ. 2564-2573 เป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่ร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2573 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 พฤษภาคม 2560) เห็นชอบ]
4 โครงการ Thai Rice NAMA ดำเนินการในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี
4  คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่บุคคลหรือองค์กรได้รับจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปีซึ่งหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ปริมาณคาร์บอนที่เหลือจะถูกนำมาตีราคาและสามารถนำไปจำหน่ายในรูปแบบคาร์บอนเครดิต ให้กับองค์กรอื่น ๆ ที่ต้องการได้ สำหรับตลาดคาร์บอนเครดิต คือพื้นที่กลางสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่กระตุ้นให้ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม

8. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สศช.)  ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เสนอ ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติ
                              1.1 การขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) สศช. ได้ปรับเปลี่ยนชื่อแผนแม่บทฯ จากเดิม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580)             (ฉบับปรับปรุง) เป็น แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งอยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่มีส่วนสนับสนุนการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ  ต้องประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยมีเป้าหมายของแผนแม่บทฯ เป็นเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยและสอดคล้องกับปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand: FVCT) เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการวิเคราะห์และจัดทำโครงการ/การดำเนินงานให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน
                              1.2 การดำเนินการปฏิรูปประเทศ ภายหลังจากที่แผนการปฏิรูปประเทศได้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์มีความยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานของรัฐจะต้องทบทวนยกเลิกกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ                 และคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ โดยในส่วนของ สศช. จะจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 เพื่อยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศที่หมดความจำเป็นโดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ สศช. จะเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้ความเห็นชอบการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติยกเลิกฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
                              1.3 ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ได้กำหนดกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการไว้ 3 ระดับ ได้แก่ (1) กลไกเชิงยุทธศาสตร์ เป็นกลไกในระดับนโยบายเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ระดับปฏิบัติในการทำงานอย่างบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนาต่างๆ  (2) กลไกตามภารกิจ เป็นการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่ต้องจัดทำแผนระดับ         3เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 รวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และ (3) กลไกระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงและขยายผลประเด็นการพัฒนาระดับประเทศไปสู่ระดับชุมชนโดยมีแผนพัฒนาในระดับพื้นที่ (One Plan) เช่น แผนพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน และท้องถิ่น ที่มีความสอดคล้องกัน
และสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาของแต่ละภูมิสังคมของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมโดยเริ่มจากความต้องการจุดย่อยสู่จุดใหญ่ (Bottom-up) ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ระดับตำบล ได้มุ่งเน้นพื้นที่ที่มีภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่มีศักยภาพในการประสานความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาของหมุดหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจนข้ามรุ่นและการพัฒนาคนสมรรถนะสูงและการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่เติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น
                    2. การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
                              2.1 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) สศช. ได้ร่วมกับภาคีภาคการพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ในการออกแบบและพัฒนาระบบการแสดงผลข้อมูล (Dashboard) ที่แสดงสถานะการพัฒนา สภาพปัญหา และภูมิสังคมของพื้นที่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจและสอดคล้องกับความต้องการของภาคีพัฒนาระดับต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง โดยจะช่วยสนับสนุนการทำงานทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติเพื่อให้การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาสอดคล้องกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย
                              2.2 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านแผนระดับที่ 3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565           มีแผนปฏิบัติการด้าน... เข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองรวม 25 แผน โดยเป็นแผนฯ ที่มีกฎหมายรองรับ 9 แผน และเป็นแผนฯ ที่จัดทำโดยไม่มีกฎหมายรองรับ 16 แผน จะเห็นได้ว่าหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน...อาจยังไม่ได้ทำความเข้าใจกับหลักการในการมีแผนปฏิบัติการด้าน... เฉพาะที่จำเป็นเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อให้มีแผนปฏิบัติการด้าน...เฉพาะกรณีที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือเฉพาะที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาเชิงประเด็นที่ยังคงมีช่องว่างการพัฒนาที่ต้องอาศัยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่มิใช่เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภายในกระทรวงเดียวกันเท่านั้น จึงควรให้ความสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน...ให้เป็นแผนที่เติมเต็มช่องว่างการพัฒนาและพุ่งเป้าในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
                              3.1 ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565         มีการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR จำนวน 36,948 โครงการ  หากเทียบกับรายการโครงการตามรหัสงบประมาณในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของแต่ละหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ พบว่า มีข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานส่วนหนึ่งที่ไม่มีการนำเข้าในระบบ eMENSCR ซึ่งส่งผลให้ข้อมูลที่ใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติไม่มีความครอบคลุมและครบถ้วน ทั้งนี้ การนำเข้าข้อมูลโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขอให้ทุกหน่วยงานของรัฐมอบหมายให้หน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบโครงการ นำเข้าข้อมูลของทุกโครงการ/การดำเนินงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                              3.2 การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลผ่านกลไกการตรวจราชการ โดยใช้ข้อมูลสถานะการบรรลุเป้าหมายจากรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (รายงานประจำปี) FVCT             และข้อมูลโครงการจากระบบ eMENSCR เพื่อประกอบการวางนโยบายและแนวทางการตรวจสอบและประเมินผล      ในภาคราชการ ทั้งนี้ ประเด็นการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่ (1) การท่องเที่ยว ในประเด็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมและการพัฒนาระบบนิเวศการท่องเที่ยว และ (2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตในประเด็นการพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น และการพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน ทั้งนี้          การตรวจราชการของกระทรวงที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ผู้ตรวจราชการจะต้องประสานและบูรณาการกับผู้ตรวจราชการกระทรวงอื่น ๆ ที่มีส่วนสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายเพื่อตรวจติดตามการดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะส่งผลให้มีความสอดคล้องและสามารถบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรม
                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติทุกหน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี และราย 5 ปี เพื่อถ่ายระดับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายแผนระดับที่ 2 และแผนระดับที่ 3 อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกโครงการ/การดำเนินงานที่บรรจุไว้ภายใต้แผนปฏิบัติราชการส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริง และในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน?.หน่วยงานผู้รับผิดชอบจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการวิเคราะห์หาช่องว่างของการพัฒนาเพื่อนำไปกำหนดประเด็นในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน...โดยใช้ข้อมูลจากระบบ eMENSCR และการวิเคราะห์ข้อมูลสถานะการบรรลุเป้าหมายจากรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและช่องว่างในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมาย FVCT โดยในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน...ในห้วงที่ 2 ของยุทธศาสตร์ชาติ ให้ยึดเป้าหมายของแผนแม่บทฯ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2580) เป็นกรอบในการกำหนดประเด็นเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิด ?พุ่งเป้า? ในการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับชาติร่วมกัน

9. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ  รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565 (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ               การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 24 ที่บัญญัติให้ สศช. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 23 ประเด็น                  37 เป้าหมาย และเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย 140 เป้าหมาย สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 การประเมินผลในภาพรวม 6 มิติ
มิติ          ผลการประเมิน
(1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
          ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทยลดลง โดยมีสาเหตุสำคัญจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส            โคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับความอยู่ดีมีสุขของนานาประเทศที่ลดลงทั่วโลก
(2) ขีดความสามารถในการแข่งขันการพัฒนาเศรษฐกิจ
และการกระจายรายได้          มีการพัฒนาที่ลดลง จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจมีความ                      ท้าทายเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมยังอยู่ในระดับที่ดี
(3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ                                ภาพรวมมีทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าสถานการณ์ในช่วง                  ปี 2565 ประเทศไทยมีการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมลดลง
(4) ความเท่าเทียมและเสมอภาคทางสังคม          มีการพัฒนาค่อนข้างคงที่ โดยหดตัวลงเล็กน้อยจากสถานการณ์ด้านสิทธิส่วนบุคคลและการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่
(5) ความหลากหลายทางชีวภาพคุณภาพสิ่งแวดล้อม
และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ          ความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในภาพรวมลดลงส่วนความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติในภาพรวมมีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย
(6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึง                    การให้บริการของภาครัฐ          มีการพัฒนาที่ดีขึ้น เนื่องจากการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ การปรับปรุงระบบราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพ      การบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐค่อนข้างคงที่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

                    1.2 การประเมินผลการพัฒนายุทธศาสตร์ 6 ด้าน
                              1.2.1 ภาพรวมการพัฒนาในช่วง 5 ปีแรก (พ.ศ. 2561-2565)
ด้าน          ผลการประเมิน
(1) ความมั่นคง          มีการพัฒนาค่อนข้างคงที่จากความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและหลากหลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และนาโนเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดพื้นที่ปฏิบัติการทางทหารใหม่ ซึ่งอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของรูปแบบสงครามในอนาคต รวมถึงมีความขัดแย้งในประเทศเพิ่มขึ้น
2) การสร้างความสามารถ
ในการแข่งขัน          การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลงเล็กน้อย ชื่งส่วนใหญ่เป็นผลจากปัจจัยด้านการค้าระหว่างประเทศและด้านการคลังภาครัฐเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย
(3) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์          คนไทยมีคุณภาพชีวิต สุขภาวะ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นลดลง รวมทั้งความก้าวหน้า
ของคนในภาพรวมและการพัฒนาสังคมและครอบครัวไทยมีการปรับตัวลดลง
(4) การสร้างโอกาส
และความเสมอภาคทางสังคม          การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมปรับตัวลดลง โดยส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การจ้างงานและวิถีชีวิตของคนไทยเป็นจำนวนมาก
(5) การสร้างการเติบโต
บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม          มีการดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ พื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นและมีผลการดำเนินการในภาพรวมดีขึ้น
(6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ          ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐในภาพรวมมีการพัฒนาดีขึ้น แต่หากพิจารณาในช่วงปี 2564-2565 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐค่อนข้างคงที่

                    1.2.2 ผลการประเมินสถานะการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น พบว่า  สถานะการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ระดับประเด็นมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ                  ปี 2564 สรุปได้ ดังนี้
                               (1) เป้าหมายระดับประเด็นที่บรรลุตามค่าเป้าหมายที่กำหนด จำนวน 12 เป้าหมาย (เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 10 เป้าหมาย) เช่น การต่างประเทศ (เป้าหมาย : การต่างประเทศของไทยมีเอกภาพ ทำให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีมาตรฐานสากล และมีเกียรติภูมิในประชาคมโลก) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (เป้าหมาย : ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เกิดศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อกระจายความเจริญด้านเศรษฐกิจและสังคม) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล (เป้าหมาย : ความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศดีขึ้น)         เขตเศรษฐกิจพิเศษ (เป้าหมาย : การลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจทั้งหมดได้รับการยกระดับ) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต (เป้าหมาย :  คนไทยทุกช่วงวัยมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและคุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต)          การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี (เป้าหมาย : คนไทยมีสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น) การเติบโตอย่างยั่งยืน (เป้าหมาย  สภาพแวดล้อมของไทยมีคุณภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน) และการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (เป้าหมาย : ภาครัฐมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้)
                              (2) เป้าหมายระดับประเด็นที่บรรลุเป้าหมายต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด จำนวน                 9 เป้าหมาย (ลดลงจากปี 2564  ซึ่งมีจำนวน 12 เป้าหมาย) เช่น การท่องเที่ยว (เป้าหมาย : รายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองเพิ่มขึ้น) ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ (เป้าหมาย : ผู้ประกอบการในทุกระดับเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น)  เศรษฐกิจฐานราก (เป้าหมาย : รายได้ของประชากรกลุ่มรายได้น้อยเพิ่มขึ้นอย่างกระจายและต่อเนื่อง) และการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (เป้าหมาย : ความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศเพิ่มสูงขึ้น)
                              (3) เป้าหมายระดับประเด็นที่บรรลุเป้าหมายระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง จำนวน 6 เป้าหมาย (ลดลงจากปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 5 เป้าหมาย) เช่น อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (เป้าหมาย : ผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มขึ้น) และการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ                (เป้าหมาย : แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพให้มีระบบนิเวศที่ดี)
                              (4) เป้าหมายระดับประเด็นที่บรรลุเป้าหมายระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต จำนวน 10 เป้าหมาย (เท่ากับปี 2564) เช่น ความมั่นคง (เป้าหมาย : ประชาชนอยู่ดีกินดีและมีความสุขดีขึ้น) การเกษตร (เป้าหมาย : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในสาขาเกษตรเพิ่มขึ้น และผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น)        การท่องเที่ยว (เป้าหมาย : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้านการท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้น)  การต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบ (เป้าหมาย : ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ)
                    2. ประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ สรุปได้  ดังนี้
                              2.1 หน่วยงานมีความเข้าใจว่าแผนแม่บทฯ เป็นแผนของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง  ส่งผลให้การดำเนินงานต่าง ๆ  ขาดการบูรณาการที่ควรต้องมุ่งเน้นการบรรลุผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมาย
                              2.2 หน่วยงานบางหน่วยไม่ได้นำเข้าแผนปฏิบัติราชการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และแผนปฏิบัติการด้าน... หลายแผนขาดการกำหนดองค์ประกอบของแผน
                              2.3 การนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบU eMENSCR ยังไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติยังไม่มีความครอบคลุมและครบถ้วนทุกการดำเนินงานของรัฐ อีกทั้งการกำหนดประเด็นการตรวจติดตามยังไม่ครอบคลุมประเด็นที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
                              2.4 ข้อมูลสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติไม่เพียงพอและไม่ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาในด้านต่าง ๆ การจัดทำแผนยังขาดข้อมูลประกอบการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคตและข้อมูลประกอบการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่เหมาะสม รวมทั้งข้อเสนอโครงการส่วนใหญ่ไม่ได้มีการอ้างถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น ข้อมูลสถิติและงานวิจัย ทำให้ไม่สะท้อนเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการ
                    3. ข้อเสนอแนะในการดำเนินการระยะต่อไป เช่น
                              3.1 หน่วยงานของรัฐต้องทำความเข้าใจหลักการ วัตถุประสงค์ และความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ต่าง ๆ โดยเฉพาะแผนแม่บทฯ ซึ่งทุกหน่วยงานของรัฐต้องปรับกระบวนทัศน์และมองเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ เป็นเป้าหมายการทำงานร่วมกัน
                              3.2 หน่วยงานของรัฐต้องศึกษาและทำความเข้าใจในหลักการของการจัดทำแผน             ระดับที่ 3 ซึ่งเป็นแผนในเชิงปฏิบัติที่ถ่ายระดับแผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 และต้องกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด แนวทางการพัฒนา และโครงการ/การดำเนินงานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับที่ 2 และแผนระดับที่ 1 อย่างเป็นรูปธรรม
                              3.3 หน่วยงานของรัฐต้องยึดหลักการของแผนปฏิบัติการด้าน... ที่เป็นแผนการพัฒนาเชิงประเด็น ไม่ใช่การดำเนินภารกิจปกติ และต้องมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานระดับกระทรวงมากกว่า 1 กระทรวงขึ้นไป โดยต้องจัดทำเท่าที่จำเป็นหรือต้องมีกฎหมายกำหนดให้จัดทำขึ้นเท่านั้น

10. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ  สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 13  ธันวาคม 2565  ผ่านระบบการประชุมทางไกล และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565  โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการแผนการดำเนินงานของ กตน. ปีงบประมาณ พ.ศ 2566 (เดือนกันยายน 2565-มีนาคม 2566) และขอความร่วมมือให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานของ กตน. ต่อไป  โดยในห้วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 มีแผนการดำเนินงานฯ ดังนี้
                              1.1 จัดการขยะมูลฝอยครบวงจร จัดการของเสียอันตรายและของเสียจากภาคอุตสาหกรรม แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันไฟป่า และดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว ปี 2566   (เดือนมกราคม 2566)
                              1.2 พัฒนาระบบการให้บริการประชาชน ขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล  พัฒนาและยกระดับศักยภาพแรงงานไทย ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน และพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข (เดือนกุมภาพันธ์ 2566)
                              1.3 จัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้ง ขับเคลื่อน soft power  นำสายไฟและสายสื่อสารลงดิน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) (เดือนมีนาคม 2566)
                    2. การส่งเสริมการนำไทยสู่เมืองหลวงสุขภาพโลก
ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน          ข้อเสนอแนะ/มติที่ประชุม กตน.
(1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical
Tourism Hub) และการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
          (1.1) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ดำเนินการ ดังนี้
                    (1.1.1) ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) (พ.ศ. 2560-2569) โดยคณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติได้จัดทำโครงการสำคัญเร่งด่วน (Flagship Project) ได้แก่ 1) ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) 2. ศูนย์กลางบริการรักษาพยาบาล (Medical Service Hub)                     3. ศูนย์กลางบริการวิชาการ (Academic Hub) และ               4. ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub)
                    (1.1.2) ดำเนินโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก1 โดยคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้ส่งเสริมการลงทุนผ่านโครงการฯ มีความคืบหน้า เช่น                   1) กรมธนารักษ์อนุญาตให้ สธ. (โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต) ใช้ที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ภก153 (บางส่วน) ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 141-2-64 ไร่ เพื่อดำเนินโครงการฯ 2) คณะทำงานโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 เห็นชอบรูปแบบการบริหารจัดการโครงการฯ ได้แก่ 2.1) งบประมาณแผ่นดิน 2.2) เงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาเอเชีย 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่าง สธ. กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด และ 2.4) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนและ 3) โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ โดยได้จัดจ้างที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพิจารณาเลือกรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการโครงการฯ ต่อไป          1. เนื่องจากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของสำนักงานปลัด สธ. เห็นควรมอบ สำนักงานปลัด สธ. เป็นหน่วยดำเนินการขับเคลื่อนโครงการฯ (สธ.)
2. ควรผลักดันการยกระดับมาตรฐานการให้บริการของสถานประกอบการและพัฒนาทักษะแรงงานด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ และควรเร่งจัดเก็บข้อมูลรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทยตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้พัฒนาแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป (กก.)
3. เห็นควรดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดินในการดำเนินโครงการ Sports Complex ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องในที่ดินที่มีพื้นที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ป่าชายเลน
(กก.)
4. มุ่งกลุ่มตลาดเป้าหมายใหม่ ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียรวมถึงตลาดที่จะเข้ามาแทนสหพันธรัฐรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐคาซัคสถานซึ่งมีกำลังซื้อสูง (กก.)
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ สธ. กก. กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับข้อเสนอแนะไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
          (1.2) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ได้ดำเนินการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนี้
                    (1.2.1) ดำเนินการผ่านกลไกคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ได้แก่ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวอันดามันอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่)
                    (1.2.2) ดำเนินการภายใต้แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2566 มีการดำเนินการ เช่น ยกระดับสถานประกอบการตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพระดับสากล พัฒนาเมืองสมุนไพรและจังหวัดท่องเที่ยว ยกระดับการสร้างสรรค์สินค้า บริการและกิจกรรมเมืองท่องเที่ยวให้มีคุณค่าและมูลค่าสูงและยกระดับการบริการและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืนและในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีการจัดทำคำของบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านบริการท่องเที่ยวประเภทที่พักแบบพำนักระยะยาว (Long Stay) ขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพ Specialized Expo 2028 เพื่อยกระดับจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลกและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในรูปแบบ Sports Tourism โดยจัดกิจกรรมวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬางาน AIR SEA LAND กลุ่ม Ex-Treme และ World Sports Event
(2) การพัฒนาภาคการท่องเที่ยว และส่งเสริม            การท่องเที่ยวทุกฤดูกาล กก. ได้จัดทำปฏิทินกิจกรรมท่องเที่ยวและกีฬาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565-กันยายน 2566 และดำเนินโครงการยกระดับภาพลักษณ์                       การท่องเที่ยวไทย เช่น ส่งเสริมเทรนด์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมือง              รอง มุ่งเน้นการทำการตลาดเชิงรุก เร่งพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างสร้างสรรค์และยกระดับภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูง (High value Tourism)
                    3. การเยียวยาและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย มีการดำเนินงานและแผนงานของหน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน          ข้อเสนอแนะ/มติที่ประชุม กตน.
(1)  นโยบายรัฐบาลเร่งด่วนในการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย
          (1.1) มท. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ได้ดำเนินการ เช่น
                    (1.1.1) ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและเสียหายจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ทั้งด้านที่อยู่อาศัยและการเกษตร จำนวน                1.05 ล้านครัวเรือนตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้การช่วยเหลือตามระเบียบฯ จำนวน 20 จังหวัด วงเงิน 71.14 ล้านบาท และตามอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 62 จังหวัด วงเงิน 914.61 ล้านบาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้การช่วยเหลือตาม     ระเบียบฯ จำนวน 13 จังหวัด วงเงิน 20.45 ล้านบาท และตามอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 42 จังหวัด วงเงิน 149.39 ล้านบาท
                    (1.1.2) ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแนวทางการปฏิบัติให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบ     สาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินทั้งในรูปแบบเอกสารและระบบออนไลน์ และขอรับการจัดสรรงบประมาณจาก สงป.
                    (1.1.3) ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 (ระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม-              28 ตุลาคม 2565)  โดยเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2565)2 โดยในห้วงเดือนดังกล่าวได้ช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000, 7,000 หรือ 9,000 บาท แล้วแต่กรณีระยะเวลาที่น้ำท่วมขัง และให้ตรวจสอบผู้ได้รับผลกระทบให้ชัดเจนและครอบคลุม             ทุกพื้นที่
          (1.2) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  (พม.) ได้ดำเนินการ ดังนี้
                    (1.2.1) เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์อุทกภัย โดยหน่วยงานในพื้นที่และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมพร้อม เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ จัดตั้งศูนย์อพยพหรือสถานที่พักพิงชั่วคราว จัดทำแผนการฟื้นฟูพัฒนาผู้ประสบภัยหรือได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแผนความต่อเนื่องของ                 กรมกิจการเด็กและเยาวชน พม.
          (1.2.2) จัดทำแผนฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลดโดยจัดการฝึกอาชีพระยะสั้นให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เสริมสร้างทักษะอาชีพและคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยด้านการฝึกอาชีพ และส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพแก่สตรีและครอบครัวในพื้นที่ประสบภัย
(2) ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับสำรวจบ้านเรือนและพื้นที่ทำกินที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย
          (2.1) กษ. ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยตั้งแต่เดือนสิงหาคม-30 พฤศจิกายน 2565 จนสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จำนวน 66 จังหวัด และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 3 จังหวัด (จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี และนครศรีธรรมราช) เช่น ด้านพืช ให้ความช่วยเหลือแล้ว 7,296 ราย พื้นที่ 35,880 ไร่ วงเงิน 63.40 ล้านบาท  ด้านประมง ให้ความช่วยเหลือแล้ว 3,775 ราย พื้นที่  5,273 ไร่ วงเงิน 33.95 ล้านบาท และด้านปศุสัตว์ ให้ความช่วยเหลือแล้ว 38 ราย ช่วยเหลือสัตว์ตายและสูญหาย 179,377 ตัว คิดเป็นเงิน 420,000 บาท
          (2.2) พม. ได้ดำเนินการ เช่น
                    (2.2.1) ช่วยเหลือเป็นเงินสงเคราะห์ เช่น ช่วยเหลือเฉพาะหน้าทุกกลุ่มเป้าหมายตามระเบียบของ พม. จำนวน 1,678 ราย เป็นเงิน 5.34 ล้านบาท เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน เป็นเงิน 172.625 ล้านบาท และเงินสงเคราะห์เด็กรายบุคคลจากกองทุนคุ้มครองเด็ก เป็นเงิน 8.5 ล้านบาท
                    (2.2.2) มอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 324,460 ครัวเรือน เป็นเงิน 8.8                 ล้านบาท และมอบอาหารปรุงสุกให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 219,725 กล่อง เป็นเงิน 904,700 บาท
                    (2.2.3) จัดตั้งศูนย์อพยพ/ศูนย์พักพิงชั่วคราวมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเข้ามาใช้บริการจำนวน 54 คน และบูรณาการความร่วมมือกับจังหวัด เหล่ากาชาด มูลนิธิ และเครือข่ายต่าง ๆ ในการให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเข้ามาใช้บริการ จำนวน 6,634 คน          ข้อเสนอแนะ :
1. ควรประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรและทุกภาคส่วนให้เข้าใจถึงความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตร ทั้งพืช ประมง และปศุสัตว์รวมถึงเงื่อนไขจำเป็นในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ [กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)]
2. ควรนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการตรวจสอบยืนยันความเสียหายจากภัยพิบัติด้านการเกษตร เพื่อลดระยะเวลาและข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรในการสำรวจตรวจสอบความเสียหาย (กษ.)
3. ควรบูรณาการความร่วมมือในการเยียวยาและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยระหว่าง พม. กับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเน้นบูรณาการด้านงบประมาณ บุคลากรและทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (พม.)
4. ควรมีการกำหนดมาตรการและกลไกในการเยียวยาและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย (พม.)
5. ควรมีการระดมความช่วยเหลือและจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค/ถุงยังชีพให้หน่วยงานนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน (พม.)
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ กษ. พม. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    4. รับทราบรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณที่เกินกว่า                  1,000 ล้านบาทขึ้นไป ดังนี้
                              4.1 ผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ วันที่                    9 ธันวาคม 2565
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณ
รายจ่าย          วงเงิน พ.ร.บ.
งบประมาณ          จัดสรร          แผนการใช้จ่ายฯ          ผลการใช้จ่ายฯ          สูง/ต่ำกว่าแผนฯ
ภาพรวม
ร้อยละ/พ.ร.บ.
ร้อยละ/จัดสรร          3,185,000,000          1,898,636.8943
59.61          841,722.3389
26.43
44.33          964,841.0940
30.29
50.82          ?123,118.7551
3.87
6.48
รายจ่ายประจำ
ร้อยละ/พ.ร.บ.
ร้อยละ/จัดสรร          2,520,329.0991          1,308,464.6161
51.92          731,142.9279
29.01
55.88          754,517.6968
29.94
57.66          ?23,374.7689
0.93
1.79
รายจ่ายลงทุน
ร้อยละ/พ.ร.บ.
ร้อยละ/จัดสรร          664,760.9009          590,172.2782
88.79          110,579.4110
16.64
18.74          210,323.3972
31.64
35.64          ?99,743.9862
15.01
16.90

                              4.2 สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2565 โดยในภาพรวมรายการผูกพันใหม่ฯ จำนวน 32  รายการ วงเงินทั้งสิ้น 84,051.59 ล้านบาท จำแนกเป็น เงินงบประมาณ (พ.ศ. 2566-2571) จำนวน 73,122.57 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ จำนวน 7,556 ล้านบาท   และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด ร้อยละ 5 จำนวน 3,373.02 ล้านบาท
                    5. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับประชาชน ภายใต้ กตน. โดยดำเนินการขยายผลการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามนโยบายตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
                              5.1 การติดตามสถานการณ์อุทกภัย โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม (Join Information Center: JIC) ระดับเขต ร่วมทำงานจัดการด้านข่าวสารกับศูนย์บัญชาการจัดการน้ำท่วม (ส่วนหน้า) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ชัยนาท หนองบัวลำภู สงขลา จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และกาญจนบุรี เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมสื่อสาร สู่ประชาชนได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์มียอดเข้าชม จำนวน 41.51 ล้านคน มียอดกดถูกใจ (Like) จำนวน 29.01 ล้านครั้ง และมียอดกดส่งต่อ (Share) จำนวน                   3.24 ล้านครั้ง
                              5.2 การขับเคลื่อนงานวิจัยเละนวัตกรรมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร (900 ต้นแบบเทคโนโลยี) โดยประชาสัมพันธ์ให้เห็นว่ารัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูง มีการนำเสนอผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการทำเกษตรมูลค่าสูงภายใต้ BCG Model ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์มียอดเข้าชมจำนวน 2.54 ล้านคน มียอดกดถูกใจ (Like) จำนวน 147,950 ครั้ง และมียอดกดส่งต่อ (Share) จำนวน 12,492 ครั้ง
                              5.3 การส่งเสริมการนำไทยสู่เมืองหลวงสุขภาพโลก โดยประชาสัมพันธ์ความสำคัญของการส่งเสริมการนำไทยสู่เมืองหลวงสุขภาพโลก มุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ สร้างความเชื่อมั่นในการเข้ามารับบริการด้านสุขภาพ และเกิดความร่วมมือในการเพิ่มมูลค่าทางการแข่งขันด้านธุรกิจสุขภาพของประเทศ

หมายเหตุ 1คณะรัฐมนตรีมีมติ (1 มีนาคม 2565) อนุมัติหลักการโครงการฯ วงเงิน 1,411.70 ล้านบาท ตามที่ สธ. เสนอโดยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้ สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) (หนังสือ สงป. ด่วนที่สุด ที่ นร 0723/130 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2564)
หมายเหตุ 2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 พฤศจิกายน 2565) เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีจ่ายเงินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ตามที่ มท. เสนอ

11. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล             ปีใหม่ พ.ศ. 2566 ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565  รับทราบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2566
                    ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ดำเนินการตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2566 โดยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 ภายใต้ชื่อ ?ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ? ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2565 - 4 มกราคม 2566 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสรุปผลการดำเนินการ ดังนี้
                    สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 (รวม 7 วัน)
จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ
(ครั้ง)          จำนวนผู้บาดเจ็บ (คน)
(admit)          จำนวนผู้เสียชีวิต
(ราย)
2,440          2,437          317

                    โดยผลการดำเนินงานช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2565 - 4 มกราคม 2566เปรียบเทียบกับเทศกาลปีใหม่ 3 ปีย้อนหลัง เป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดในภาพรวม ประกอบด้วย
                    1. การเกิดอุบัติเหตุ 2,440 ครั้ง ลดลงร้อยละ 22.63 ผู้บาดเจ็บ (admit) 2,437 คน  ลดลง                     ร้อยละ 23.02 ผู้เสียชีวิต 317 ราย ลดลงร้อยละ 13.39
                    2. การเกิดอุบัติเหตุใหญ่ 21 ครั้ง ลดลงร้อยละ 30.00
                    3. การเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ 183 ราย ลดลงร้อยละ 11.02
                    4. ผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ลดลงร้อยละ 34.42ดื่มแล้วขับ ลดลงร้อยละ 40.00 การไม่สวมหมวกนิรภัย ลดลงร้อยละ 9.20 และไม่คาดเข็มขัดนิรภัยลดลง                   ร้อยละ 38.46

13. เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐนตรีเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 เรื่อง มาตรการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (8 มกราคม 2562) รับทราบมาตรการป้องกันฯ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ และให้ มท. เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรการป้องกันฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้ มท. รวบรวมผลการดำเนินการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป] มีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
มาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
[ตามมติคณะรัฐมนตรี (8 มกราคม 2562)]          ผลการดำเนินการของ มท.
1. มาตรการระยะเร่งด่วน
          1.1 มาตรการทางการบริหาร (ควรดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน)
                    1.1.1 ผู้บริหารในแต่ละหน่วยงาน              ที่เกี่ยวข้อง ควรลงพื้นที่ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในสังกัดตามสายการบังคับบัญชาในการกำกับดูแลเรื่องการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ หากเจ้าหน้าที่ที่กำกับดูแลเรื่องดังกล่าวละเลยหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ที่ติดตั้งป้ายโฆษณาให้ถือเป็นความผิดวินัยหรืออาญาตามแต่กรณี          อปท. ได้ตรวจสอบการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะพบว่า มีป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ 11,117 ป้าย มีการสั่งรื้อถอนป้าย 1,802 ป้าย มีการดำเนินคดี 78 ป้าย

                    1.1.2 ป้ายโฆษณาทุกประเภทต้องมีเลขทะเบียนควบคุมเป็นระบบเดียวซึ่งสามารถบ่งบอกว่าหมายเลขนั้น หน่วยงานใดเป็นผู้ออกใบอนุญาตหรือกำกับดูแลป้ายโฆษณาในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อสร้างให้เกิดความเข้มงวดในการกำกับดูแลและจัดระเบียบป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ รวมทั้งเป็นข้อมูลในการดำเนินการกับผู้ที่ติดตั้งป้ายโฆษณาผิดกฎหมายและหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตผิดกฎหมายด้วย          -
                    1.1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีช่องทางที่เหมาะสมสำหรับแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ อีกทั้งหน่วยงานนั้นจะต้องมีแนวทางการจัดการที่ชัดเจนและรายงานผลการดำเนินการภายหลังได้รับการแจ้งเบาะแสให้ประชาชน   ผู้แจ้งเบาะแสรับทราบด้วย          อปท. ได้จัดให้มีช่องทางในการแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณา
รุกล้ำทางสาธารณะ เช่น แจ้งเบาะแส ณ อปท. นั้น ๆ
ทางโทรศัพท์ของหน่วยงาน ทางไปรษณีย์ รวมทั้งผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Line และเว็บไซต์ของ อปท. นั้น ๆ อีกทั้งยังได้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การจัดระเบียบทางเท้าและทางสาธารณะ เพื่อป้องกัน                การกระทำความผิดและเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือกับ อปท. เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว
                    1.1.4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดพื้นที่เฉพาะสำหรับการติดป้ายโฆษณาโดยไม่มีค่าธรรมเนียมหรือค่าอนุญาตโดยรวมเป็นศูนย์กลางในสถานที่ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และให้มีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและลดโอกาส
ในการที่เจ้าหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์          -
                    1.1.5 ในกรณีที่หน่วยงานภาครัฐจัดจ้างให้ภาคเอกชนดำเนินการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดขนาดมาตรฐานของชื่อหรือสัญลักษณ์ของบริษัทเอกชนที่ปรากฏบนป้ายโฆษณาให้มีขนาดตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดหรือดึงดูดความสนใจได้เทียบเท่ากับข้อความประชาสัมพันธ์หรือข้อความรณรงค์ที่ปรากฏบนป้าย   นั้น ๆ เพื่อป้องกันการโฆษณาแฝงของภาคเอกชนที่อาจเกิดขึ้น          อปท. รับทราบการกำหนดขนาดมาตรฐานของชื่อหรือสัญลักษณ์ของบริษัทเอกชนที่ปรากฏบนป้ายโฆษณาไม่ให้สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดหรือดึงดูดความสนใจได้เทียบเท่ากับข้อความประชาสัมพันธ์หรือข้อความรณรงค์ที่ปรากฏบนป้ายนั้น ๆ เพื่อป้องกันการโฆษณาแฝงในกรณีจัดจ้างให้ภาคเอกชนดำเนินการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ
          1.2 มาตรการทางกฏหมาย (ควรดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี)
                     1.2.1 กำหนดนิยามคำว่าป้ายโฆษณาให้ชัดเจน รวมถึงกำหนดลักษณะ รูปแบบและขนาดของป้ายโฆษณาให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางในการควบคุมดูแลเรื่องป้ายโฆษณาในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          นิยามคำว่า ?ป้าย? เกี่ยวข้องกับกฎหมาย 2 ฉบับ คือ(1) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 4 บัญญัติให้นิยามคำว่า  ?อาคาร? ให้หมายความรวมถึงป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้น
สำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะ
และมีขนาดเกิน 1 ตารางเมตรหรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกิน 10 กิโลกรัม หรือที่ติดหรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้วระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้น
เมื่อวัดจากพื้นดิน   และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่
กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งถือได้ว่าเป็นป้ายที่มีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้าง โดยที่กฎหมายควบคุมอาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย                       การสาธารณสุข  การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
          การผังเมือง  การสถาปัตยกรรมและการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ตลอดจนเพื่อใช้เป็นข้อปฏิบัติในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามมาตรฐานสากล ดังนั้นคำว่า ?ป้าย? ภายใต้วัตถุประสงค์ของกฎหมายควบคุมอาคารจึงมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวแล้ว
          (2) พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 มาตรา 10 และมาตรา 11 บัญญัติให้อาคารหมายความรวมถึงป้ายตามกฎหมายควบคุมอาคารด้วย เจ้าพนักงานตามกฎหมายนี้จึงสามารถดำเนินการตามกฎหมายต่อป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะได้ เพราะมาตรา 10  ได้กำหนดลักษณะของการกระทำที่กว้าง สามารถตีความให้เข้ากับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะได้ทุกกรณี
อย่างไรก็ตาม หากมีการกำหนดนิยามคำว่า "ป้าย" ขึ้นใหม่จะทำให้การตีความในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแคบลง และไม่สามารถดำเนินการจัดการกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะได้ครอบคลุมทุกกรณี
                    1.2.2 กำหนดค่ามาตรฐานความเข้มของแสงบนป้ายโฆษณาที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายรวมทั้งกำหนดให้ป้ายโฆษณาที่มีแสงสว่างในตัวเองต้องมีระบบการปรับความเข้มของแสงอัตโนมัติตามแสงธรรมชาติ          พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม หมวด 5 เหตุรำคาญ มาตรา 25 (4) บัญญัติให้
การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง
ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่าเถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถือว่าเป็นเหตุรำคาญตามกฎหมายซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดก่อเหตุรำคาญดังกล่าว หากในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ                   ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้นระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งได้ ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่มีกฎหมายใช้บังคับในการดำเนินการอยู่แล้วและการกำหนดค่ามาตรฐานความเข้มของแสงบนป้ายโฆษณาอาจจะเป็นการสร้างความยุ่งยากในการดำเนินการสอบสวนให้กับเจ้าพนักงานตามกฎหมายซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งการกำหนดให้ป้ายโฆษณาจะต้องมีระบบปรับความเข้มของแสงอัตโนมัติตามแสงธรรมชาติอาจจะเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการเกินสมควร
                    1.2.3 ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมการขออนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณาให้มีความเหมาะสมกับปัจจุบัน โดยกำหนดกรอบเป็นช่วงอัตรา และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตน โดยพิจารณาจากขนาดของป้าย พื้นที่ติดตั้งป้าย แล้วกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่จะเป็นรายได้ของรัฐ เพื่อนำมาพัฒนาดูแลรักษาพื้นที่นั้น ๆ อย่างเหมาะสม          การกำหนดค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณาเป็นไปตามกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่                             (1) พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ เป็นการบังคับใช้กับป้ายที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกิน 1 ตารางเมตร หรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกิน 10 กิโลกรัม หรือป้ายที่ติดหรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้ว ระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยมีอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
ใบอนุญาต          ค่าธรรมเนียม
1) ใบอนุญาตก่อสร้าง          ฉบับละ 200 บาท
2) ใบอนุญาตดัดแปลง          ฉบับละ 100 บาท
3) ใบอนุญาตรื้อถอน          ฉบับละ 50 บาท
4) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย          ฉบับละ 50 บาท
5) ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้          ฉบับละ 200 บาท
6) ใบรับรอง          ฉบับละ 100 บาท
7) ใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร          ฉบับละ 100 บาท
8) ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง          ฉบับละ 10 บาท

9) การตรวจแบบแปลนก่อสร้าง หรือดัดแปลงป้าย ให้คิดค่าธรรมเนียมสำหรับการก่อสร้างหรือสำหรับส่วนที่มีการดัดแปลงตามพื้นที่ของป้าย โดยเอาส่วนที่กว้างที่สุดคูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุด          ตารางเมตรละ 4 บาท (เศษของตารางเมตรหรือเมตรตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปให้ถือเป็นหน่วยเต็ม ถ้าต่ำกว่ากึ่งหนึ่งให้                   ปัดทิ้ง)

          (2) พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดฯ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปิดแผ่นประกาศหรือเขียนข้อความหรือภาพ ติดตั้งเขียนป้ายหรือเอกสาร หรือทิ้งหรือโปรยแผ่นประกาศเพื่อโฆษณาแก่ประชาชน                ฉบับละ 200 บาท
(3) พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 47 บัญญัติให้ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดในเขตทางหลวง หรือรุกล้ำเข้าไปในเขตทางหลวง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง ในการอนุญาต ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ รวมทั้งมีอำนาจกำหนดมาตรการในการจัดการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมการป้องกันอุบัติภัย และการติดขัดของการจราจรด้วยซึ่งผู้ได้รับอนุญาตต้องชำระค่าใช้เขตทางหลวงตามอัตรา
          ที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2564 ได้กำหนดอัตราค่าใช้เขตทางหลวงตามมาตรา 47 สำหรับป้ายบอกทาง ได้แก่                  1) ป้ายชี้ทางป้ายละ 7,000 บาทต่อปี 2) ป้ายติดตั้งข้างทาง ป้ายละ 11,000 บาทต่อปี 3) ป้ายชนิด แขวนยื่น ป้ายละ 45,000 บาทต่อปี และ 4) ป้ายชนิดคร่อมผิวจราจร ป้ายละ 124,000 บาทต่อปี นอกจากนี้ ยังมีกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้าย พ.ศ. 2563 ที่มีผลใช้บังคับสำหรับป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันที่                 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป1
ดังนั้น การจัดเก็บค่าธรรมเนียมจึงมีความเหมาะสมและมีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจนแล้ว
                    1.2.4 ปรับบทลงโทษเป็นลักษณะของอัตราก้าวหน้า คือ ปรับในอัตราที่สูงขึ้นตามจำนวนครั้งที่กระทำความผิด ซึ่งหากกระทำผิดเกินจำนวนครั้งที่กำหนดให้ระงับสิทธิในการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะทุกกรณี          มท. โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) จะได้นำไปพิจารณาประเมินผลสัมฤทธิ์ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดฯ ส่วนการแก้ไขบทลงโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ และพระราชบัญญัติทางหลวงฯ เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวในการพิจารณาดำเนินการ
                    1.2.5 กรณีไม่ทราบผู้ใดเป็นผู้ติดตั้งป้ายโฆษณา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ได้รับประโยชน์จากป้ายโฆษณานั้นเป็นผู้ติดตั้งเว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าถูกกลั่นแกล้งหรือไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าว          การสันนิษฐานว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากป้ายโฆษณาไว้ก่อนอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 29 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
2. มาตรการระยะยาว (ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง)
          2.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดเวทีเพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายแก่สมาคมโฆษณา สมาคมคอนโดมิเนียม หรือสมาคมภาคธุรกิจเอกชนอื่น ๆ ในพื้นที่นั้นซึ่งมีความประสงค์จะติดตั้งป้ายโฆษณาในบริเวณดังกล่าว เพื่อขอความร่วมมือและเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับเจ้าของป้ายโฆษณาได้มีการรับทราบและมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน          มท. โดย สถ. จะได้พิจารณาแนวทางเพื่อให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดดำเนินการจัดเวทีให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวต่อไป
          2.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เครือข่ายประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะเพื่อความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง          อปท. ได้ประชาสัมพันธ์และจัดให้มีช่องทางที่เหมาะสมสำหรับแจ้งเบาะแสการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะแล้ว


                    3. การดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงาน
                              3.1 สถ. ได้นำมาตรการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะไปเป็นตัวชี้วัดย่อยในแบบประเมินประสิทธิภาพของ อปท. ในด้านที่ 1 การบริหารจัดการ ตัวชี้วัด 10 อปท. มีการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และได้สรุปผลคะแนนในภาพรวมของทั้งประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เรียบร้อยแล้ว2
                              3.2 ปัญหาและอุปสรรคทางด้านการปฏิบัติงานของ อปท. เช่น ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแจ้งรื้อถอนป้าย ปัญหาเขตความรับผิดชอบและหน่วยงานที่รับผิดชอบขาดบุคลากรในการปฏิบัติงานและลงพื้นที่ตรวจสอบ บุคลากรของ อปท. ขาดความรู้ความรู้ความเข้าใจระเบียบและข้อกฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ และขาดความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย
ทั้งนี้ มท. จะได้มีหนังสือแจ้งจังหวัด เพื่อให้ดำเนินการกำชับ อปท. ดำเนินการตามมาตรการป้องกันฯ อย่างเคร่งครัดอีกครั้ง และขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อดำเนินการจัดทำโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะต่อไป
????__________________________
1กฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้าย พ.ศ. 2563 ข้อ 2 ให้กำหนดอัตราภาษีป้าย ดังต่อไปนี้ (1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน (ก) ป้ายที่มีข้อความที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ให้คิดอัตรา 10 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร (ข) ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา        5 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร (2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่น (ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ให้คิดอัตรา 52 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร (ข) ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 26 บาทต่อห้าร้อยตารางเชนติเมตร (3) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ (ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ให้คิดอัตรา 52 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร (ข) ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 50  บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
2อปท. ที่เข้ารับการประเมิน จำนวน 7,773 แห่ง ผ่านตัวชี้วัด (5 และ 3 คะแนน) จำนวน 5,844 แห่ง (ร้อยละ 75.18) ไม่ผ่านตัวชี้วัด (1 และ 0 คะแนน) จำนวน 1,929 แห่ง (ร้อยละ 24.82)

13. เรื่อง การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อกลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชนทั่วไปที่เป็นกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ทำให้ยังไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพของประชาชน สถาบันการเงินเฉพาะกิจเห็นถึงความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผ่อนปรนภาระให้กับลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนด้วย ดังนั้น เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง กค. พิจารณาแล้วเห็นควรขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ1 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) จากเดิมอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 0.125 ต่อปี (เนื่องจากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2565 สำหรับการนำส่งเงินในปี 2565 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565-31 ธันวาคม 2565) สิ้นอายุการใช้บังคับแล้วทำให้การนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ อยู่ที่อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี) ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ออกไปอีก 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566-31 ธันวาคม 2566 และกลับมาใช้อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี สำหรับรอบการนำส่งเงินตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป
                     2. คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ได้พิจารณาทบทวนอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และมีมติ ดังนี้
                              2.1 เห็นชอบการขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธอท. โดยปรับลดอัตราเงินนำส่งลงกึ่งหนึ่งจากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.125 ต่อปีของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนออกไปอีก 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี 2566 (แต่ละปีแบ่งการนำส่งเงินออกเป็น 2 งวด โดยนำส่งเงินร้อยละ 0.0625 ต่องวด โดยงวดเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 จะส่งเงินเข้ากองทุนฯ เดือนสิงหาคม และงวดเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2566 จะส่งเงินเข้ากองทุนฯ เดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป)
                              2.2 มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกองทุนฯ ยกร่างประกาศ กค. เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ..... โดยใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม                 พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. ยกเลิกประกาศ กค. เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565
                     2. กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอัตรา ดังต่อไปนี้
                              2.1 ร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนสำหรับการนำส่งเงินในปี 2566
                              2.2 ร้อยละ 0.25 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนสำหรับการนำส่งเงินในปี 2567 เป็นต้นไป
                     3. กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
1 กองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มั่นคงและมีเสถียรภาพ ช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจรวม 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธอท. โดยดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของ กค. ซึ่งกองทุนฯ มีหน้าที่หลักในการเรียกเก็บเงินนำส่งเข้ากองทุนฯ จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง


14. เรื่อง การดำเนินงานโครงการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (โครงการฯ) วงเงินลงทุน 1,256 ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และอนุมัติการจัดหาแหล่งลงทุนโครงการฯ โดยจัดหาเงินกู้ระยะยาว วงเงิน 1,256 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง (กค.) ไม่ค้ำประกันเงินกู้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า การดำเนินโครงการฯ จะเป็นการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา1 ให้สามารถเปิดให้บริการการเดินอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐน ภายในปี 2568 และให้สอดคล้องตามกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งคณะกรรมการบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 และครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 เห็นชอบด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญของโครงการ สรุปได้ ดังนี้
                    สาระสำคัญของโครงการฯ
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์          เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน 3 ด้านดังนี้
(1) ด้านบริการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services : ATS) ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพสามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินที่สนามบินอู่ตะเภาได้ตามเป้าหมาย
(2) ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินที่สนามบินอู่ตะเภาได้ตามเป้าหมาย
(3) ด้านบุคลากรให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อการให้บริการการเดินอากาศในส่วนที่เกี่ยวข้องที่สนามบินอู่ตะเภา
2. เป้าหมาย          สนามบินอู่ตะเภาสามารถเปิดให้บริการการเดินอากาศโดย บวท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน ภายในปี พ.ศ. 2568 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภาอยู่ที่ประมาณ 241,100 เที่ยวบิน ในปี พ.ศ. 2591
3. ขอบเขตการดำเนินโครงการ          ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่
(1) ด้านก่อสร้าง
          - ก่อสร้างอาคารหอควบคุมการจราจรทางอากาศและพื้นที่สนับสนุน ความสูงประมาณ 59 เมตร จากระดับพื้นดิน
          - ก่อสร้างอาคารสำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ (Communication, Navigation, and Surveillance Services : CNS) ประกอบด้วย อาคาร 3 กลุ่ม ได้แก่ อาคารระบบวิทยุสื่อสาร (Communication) เป็นอาคารสำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์เครื่องรับ ? ส่งวิทยุสื่อสาร อาคารระบบช่วยการเดินอากาศ (Navigation) เป็นอาคารสำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์ช่วยการเดินอากาศและอาคารระบบติดตามอากาศยาน (Surveillance) สำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์ติดตามอากาศยานรองรับการใช้งานเป็นหอควบคุมการจราจรทางอากาศสำรองของสนามบินอู่ตะเภา
(2) ด้านการจัดหาและติดตั้งระบบและอุปกรณ์
          - ระบบการสื่อสาร (Communication System) ระบบวิทยุสื่อสาร แบบคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงและคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงมาก (VHF/UHF)
          - ระบบช่วยการเดินอากาศ (Navigation System) ประกอบด้วย ระบบช่วยการเดินอากาศแบบ ILS/DME CAT II (เครื่องช่วยการเดินอากาศในการนำอากาศยานและลงจอด) พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนและระบบช่วยการเดินอากาศแบบ DVOR/DME (เครื่องช่วยเดินอากาศระบุตำแหน่งและระยะห่าง) เตรียมการสำหรับสนามบิน ซึ่งต่อไปจะต้องมีการกำหนดแนวทางการติดตั้ง/ใช้งานระบบช่วยการเดินอากาศดังกล่าวนี้ร่วมกัน เนื่องจากสนามบินจะไม่สามารถติดตั้งระบบซ้ำซ้อนกันได้
          - ระบบติดตามอากาศยาน (Surveillance System)
          - ระบบจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management System : ATMS) ได้แก่ ระบบจัดการจราจรทางอากาศสำหรับ Aerodrome Control Service
          - ระบบสนับสนุนอื่น ๆ สำหรับบริการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services : ATS) เช่น CCTV สำหรับบริการควบคุมการจราจรทางอากาศ
(3) ด้านบุคลากร ประกอบด้วย
          - สรรหาบุคลากร ประกอบด้วย พนักงานประจำ รวม 79 อัตรา เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน ปฏิบัติงาน U-Tapao Aerodrome Control ณ หอควบคุมการจราจรทางอากาศอู่ตะเภา จำนวน 35 อัตรา และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินกรุงเทพปฏิบัติงาน Bangkok Approach Control ณ ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินกรุงเทพ จำนวน 28 อัตรา และวิศวกร จำนวน 16 อัตราและพนักงานชั่วคราว (Outsource) จำนวน 30 อัตรา สนับสนุนงานศูนย์ประกอบการ (ไฟฟ้า/โยธา/แม่บ้าน/คนสวน/รักษาความปลอดภัย)2
          - พัฒนาบุคลากร โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ บุคลากรสำหรับการให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศและการใช้เทคโนโลยี และระบบอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง บุคลากรสำหรับการนำเทคโนโลยี ระบบอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศเข้าใช้งาน และบุคลากรสนับสนุนอื่น ๆ
(4) ด้านการเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการ เช่น การกำหนดขั้นตอนและแนวทางวิธีปฏิบัติ (Procedure) การฝึกอบรมการใช้อุปกรณ์ (Human Machine Interface : HMI) และฝึกอบรมทำความคุ้นเคยแนวทางวิธีปฏิบัติ และการดำเนินการด้านระบบการจัดการด้านนิรภัย (Safety Management System : SMS)
4. ประมาณการรายได้          ประกอบด้วย
1) รายได้หลัก จากการให้บริการบริเวณสนามบินและเขตประชิดสนามบิน (Terminal Charge) ณ สนามบินอู่ตะเภา
2) รายได้เพิ่มเติม จากการให้บริการตามเส้นทางบิน (En ? route Charge) ที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดให้บริการ ณ สนามบินอู่ตะเภา และจากการให้บริการบริเวณสนามบินและเขตประชิดสนามบิน (Terminal Charge) ณ สนามบินภูมิภาคอื่นที่เป็นคู่สนามบินกับสนามบินอู่ตะเภาที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเปิดให้บริการ
สำหรับประมาณการโครงสร้างและอัตราค่าบริการที่เรียกเก็บ ณ สนามบินอู่ตะเภา มีการคาดว่าจะมีการปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บปัจจุบันตั้งแต่ปี 2566 ภายใต้อัตราค่าบริการขั้นสูง (Ceiling) อัตรา En ? route Charge 3,500 บาทต่อหน่วย Terminal Charge 600 บาทต่อหน่วย จนถึงปี 2574 และหลังจากนั้นเรียกเก็บค่าบริการตามอัตราต้นทุนค่าบริการตามคาดการณ์ปริมาณเที่ยวบินในแต่ละประเภทการทำการบินและตามประมาณการของประเภทอากาศยานที่ใช้ในการทำการบินในอนาคต
5. กรอบวงเงินลงทุน          มีกรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,256 ล้านบาท โดยมีแผนการเบิกจ่ายลงทุนตั้งแต่ปี 2566 ? 2568
แผนการเบิกจ่ายลงทุน          วงเงิน (ล้านบาท)          ปีงบประมาณ (ล้านบาท)
                    2566          2567          2568
(1) การก่อสร้างอาคารหอควบคุมการจราจรทางอากาศและอาคารสนับสนุน สำหรับรองรับการติดตั้งระบบ/อุปกรณ์สนับสนุน          337          -          106.80          230.20
(2) การจัดหาและติดตั้งระบบ/อุปกรณ์สนับสนุน          775          67.95          264.36          442.69
(3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่น เช่น ค่าใช้จ่ายในการสำรวจพื้นที่ ติดตั้งและควบคุมงาน          36.96          -          23.50          13.46
(4) งบสำรองโครงการ          107.04          6          37          64.04
รวมวงเงินลงทุนทั้งสิ้น          1,256          73.95          431.66          750.39

6. แหล่งที่มาเงินลงทุน          ใช้เงินกู้ในการดำเนินโครงการฯ กรอบวงเงินไม่เกิน 1,256 ล้านบาท ซึ่ง คค. ได้เสนอสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อบรรจุแผนจัดหาเงินกู้ระยะยาวปีงบประมาณ 2566 แล้ว
7. ผลตอบแทนทางการเงิน          โครงการฯ มีความคุ้มค่าในการลงทุน3 โดยมีผลตอบแทนทางการเงิน ดังนี้
- มีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return : FIRR) อยู่ที่ร้อยละ 4.26
- มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 2.75 อยู่ที่ 68.59 ล้านบาท
- มีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 19 ปี 7 เดือน
8. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ          - มีอัตราผลตอบแทนทางการเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) อยู่ที่ร้อยละ 56.96
- มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 12 อยู่ที่ 2,575.05 ล้านบาท
9. การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม          พื้นที่ดำเนินโครงการฯ อยู่ภายในบริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และทางขับสนามบินอ่ตะเภา ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทร. ที่มีความจำเป็นต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ [Environmental and Health Impact Assessment (EHIA)] (ปัจจุบันคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติเห็นชอบรายงาน EHIA ของโครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และทางขับสนามบินอู่ตะเภาแล้ว)
10. ประโยชน์ที่จะได้รับ          (1) สร้างโอกาสในการจ้างงาน การท่องเที่ยว และเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(2) การเพิ่มความปลอดภัยทางการบิน (Safety) ในพื้นที่
(3) เพิ่มความสามารถในการรองรับเที่ยวบินในบริเวณกรุงเทพมหานคร โดยการปรับปรุงพัฒนาเส้นทางการบินเพื่อช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน
(4) ลดการกระจุกตัวของเที่ยวบินและลดความล่าช้าให้กับเที่ยวบินโดยเฉพาะเส้นทางบินทิศตะวันออกที่ทำการบินไปสู่กรุงเทพมหานคร

1 ปัจจุบันกองทัพเรือ (ทร.) เป็นผู้ให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามอู่ตะเภา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สนามบินอู่ตะเภามีเที่ยวบินเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 65 เที่ยวบินต่อวัน หรือประมาณ 24,000 เที่ยวบินต่อปี
2 ตัวเลขอัตรากำลังข้างต้นเป็นตัวเลขประมาณการจากการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตหากมีการศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดเพิ่มเติม หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากนโยบายด้านการบริหารอัตรากำลังในอนาคต
3 คู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ พ.ศ. 2555 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แนะนำว่า สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ (Financial Internal Rate of Return : FIRR) ควรมากกว่าอัตราเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต้นทุนเงินลงทุนของโครงการ (Weighted Cost of Capital : WACC) ในขณะที่การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ ที่ผ่านมา สศช. ได้กำหนดเกณฑ์อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ร้อยละ 9 ? 12 แล้วแต่ลักษณะของโครงการ

15. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 3,786.55 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ (จำนวน 32 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ) วงเงิน 3,786.55 ล้านบาท ประกอบด้วย       กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 2,654.83 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 1,131.72 ล้านบาท            เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ (จำนวน 32 จังหวัด) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ? พฤศจิกายน 2565 ได้เกิดอุทกภัยและภัยพิบัติจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านทั่วประเทศไทย โดยมีพายุและพายุโซนร้อน (มู่หลาน หมาอ๊อน โนรู และเนสาท) ทำให้ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทได้รับความเสียหายสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ซึ่ง ทล. และ ทช. ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและซ่อมแซมเส้นทางเพื่อให้จราจรผ่านได้ในระยะเร่งด่วนแล้ว
                    2. คค. ได้เสนอขอให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ จำนวน 340 รายการ ครอบคลุมพื้นที่                 50 จังหวัด วงเงิน 7,168.31 ล้านบาท ซึ่ง สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ คค. ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงินทั้งสิ้น 3,786.55 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ 32 จังหวัด ประกอบด้วย ทล. จำนวน 117 รายการ วงเงิน 2,654.83 ล้านบาท และ ทช. จำนวน 58 รายการ วงเงิน 1,131.72 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายในงบลงทุนค่าสิ่งก่อสร้าง และขอให้ ทล. และ ทช. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งแบบรูปรายการและประมาณการค่าก่อสร้างเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป.         ตามขั้นตอนต่อไป สำหรับรายการในส่วนที่เหลือ เห็นควรให้ คค. พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หรือใช้จ่ายจากงบประมาณที่เหลือจ่ายจากการจัดซื้อจัดจ้างในโอกาสแรก โดยถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่ง ทล. และ ทช. คาดว่าจะใช้เงินงบประมาณ ปี พ.ศ. 2566 ? 2567 เพื่อดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้
หน่วยงาน          ความเสียหายทั้งสิ้น          หน่วยนับ          แหล่งเงิน
                              วงเงินที่เสนอขอรับจัดสรรสนับสนุนงบกลางฯ (ที่เสนอในครั้งนี้)          ปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2566          กรอบวงเงินที่เหลือ (รายการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบกลางฯ และรายการ ที่ ทล. และ ทช. คาดว่าจะใช้งบประมาณ ปี 2567)
ทล.          10,557.12          ล้านบาท          2,654.83          69.34          7,832.95
          1,018          รายการ          117          551          350
ทช.          2,776.96          ล้านบาท          1,131.72          33.79          1,611.45
          191          รายการ          58          22          111
รวมทั้งสิ้น          13,334.08          ล้านบาท          3,786.55          103.13          9,444.40
          1,209          รายการ          175          573          461

                    3. ทล. และ ทช. แจ้งว่ามีความพร้อมในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างหากได้รับการจัดสรรงบประมาณจะเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

16. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของสำนักงานอัยการสูงสุด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ของสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,480,600 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ การบริหารจัดการคดี และการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ พ.ศ. 2565 ตามนัยข้อ 8 และข้อ 9 (1) ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562
                    ทั้งนี้ ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี                  และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อส. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปกค.) มีมติเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2565 เห็นชอบแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกส่งต่อระดับชาติ                       การบริหารจัดการคดี และการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ                 พ.ศ. 2565 เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติในการยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีสาะสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ เช่น
(1) กลไกการส่งต่อระดับชาติ          แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
(1.1) ขั้นตอนเผชิญเหตุหรือรับแจ้งเหตุ เมื่อเจ้าหน้าที่ด้านป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ได้รับแจ้งเหตุเบาะแสเกี่ยวกับพฤติการณ์อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์หรือการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หากมีการร้องขอความช่วยเหลือให้ออกมาจากสถานที่ใดให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจเป็นผู้เสียหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุของหน่วยงานด่านหน้าต้องดำเนินการนำตัวเข้าสู่กระบวนการของกลไกการส่งต่อระดับชาติโดยทันที
(1.2) ขั้นตอนคัดกรองเบื้องต้น โดยมีการซักถาม แสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้ความช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพเบื้องต้นตามความจำเป็น เช่น การตรวจร่างกายและสังเกตสภาพจิตใจ
(1.3) ขั้นตอนการคัดแยก เป็นการคัดแยกผู้เสียหายด้วยการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงตามคำให้สัมภาษณ์ พร้อมแสวงหาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ให้ได้อย่างเพียงพอ
(1.4) ขั้นตอนการคุ้มครอง เป็นการนำผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือคุ้มครองในสถานคุ้มครองของรัฐหรือที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ ซึ่งจะต้องจัดให้มีการประเมินความช่วยเหลือเป็นรายกรณี การบำบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจและการเตรียมส่งกลับคืนสู่สังคมไปยังประเทศต้นทาง
(2) แนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการคดี          (2.1) ให้มีความร่วมมือและประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวน พนักงานอัยการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
(2.2) จัดทำแผนการสืบสวนสอบสวน และบริหารจัดการคดีด้วยการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นไปได้ เช่น การหลบหนีของผู้เสียหายและกรณีบุคคลซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
(3) การกำกับและติดตามแผนปฏิบัติการฯ           (3.1) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เพื่อกำกับและติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ
(3.2) กำหนดให้มีทีมสหวิชาชีพเพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์และให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ เบาะแส และพฤติการณ์เกี่ยวกับการมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิด เช่น เจ้าหน้าที่แรงงาน พิจารณาข้อบ่งชี้เกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาข้อบ่งชี้เกี่ยวกับตัวบุคคล และพนักงานอัยการพิจารณาข้อบ่งชี้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
(3.3) สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระดับชาติ เช่น ด้านการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ประโยชน์ทางแรงงาน และการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้เสียหาย ซึ่งทำหน้าที่กำกับ ติดตาม และวินิจฉัยชี้ขาดการดำเนินงานของทีมสหวิชาชีพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสภาพร่างกายและบาดแผลทางจิตใจของผู้ที่อาจเป็นผู้เสียหาย การฟื้นฟูเยียวยาสภาพจิตใจ และการประเมินการให้ความช่วยเหลือ

                    2. ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการ ปกค. ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบการจัดทำความต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ รวมจำนวน 82,940,791 บาท โดยให้หน่วยงานจัดทำคำขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น พ.ศ. 2562
                    3. ในส่วนของ อส. มีหน้าที่ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวโดยมีทั้งการให้คำปรึกษา แนะนำ เข้าร่วมสอบสวนตามที่พนักงานสอบสวนและกรมสอบสวนคดีพิเศษร้องขอ รวมทั้งมีบทบาทหน้าที่ในคดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ คดีที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร และการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ อส. จึงขอรับการจัดสรรงบประมาณจากรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2566 ประกอบด้วย 1) ค่าเบี้ยเลี้ยง 2) ค่าเช่าที่พัก 3) ค่าพาหนะ (ค่าโดยสารเครื่องบินภายในประเทศและค่าเช่ารถตู้โดยสารเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารจัดการคดีและการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหาย) 4) ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 5) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวแถวเอเชีย/ตะวันออกกลางเพื่อติดตามคดี (สำหรับข้าราชการอัยการระดับ 3 และระดับ 4 ประกอบด้วยค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าเช่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะเดินทางไปสนามบิน)

17. เรื่อง การเสนอวิธีและขั้นตอนยุติการดำเนินการของกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ต่อคณะรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอวิธีและขั้นตอนยุติการดำเนินการของกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (Corporate Bond Stabilization Fund) (กองทุน BSF) เพื่อให้ กค. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. กองทุน BSF จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 เพื่อรักษาเสถียรภาพและสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้ที่มีพื้นฐานดีแต่ประสบปัญหาสภาพคล่องชั่วคราวอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019              (โรคโควิด 19) ด้วยวิธีการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ออกใหม่ ซึ่งเป็นมาตรการเชิงป้องกันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและทำให้กลไกตลาดกลับมาทำงานเป็นปกติในระยะเวลาอันสั้น โดยตลอดระยะเวลาการดำเนินการที่ผ่านมา กองทุน BSF มิได้ให้ความช่วยเหลือบริษัทผู้ออกตราสารหนี้รายใด (เนื่องจากไม่มีบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ยื่นขอความช่วยเหลือจากกองทุน BSF)
                    2. คณะกรรมการกำกับกองทุน BSF ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบให้ยุติการเปิดรับการขอความช่วยเหลือของกองทุน BSF หลังวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป และยุติการดำเนินการของกองทุน BSF โดยมีเหตุผลสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ภาวะตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนทำงานได้เป็นปกติ เนื่องจากผู้ออกตราสารหนี้ส่วนใหญ่สามารถระดมทุนได้ตามจำนวนที่เสนอขาย โดยปริมาณหุ้นกู้ออกใหม่มากกว่าที่ครบกำหนดอย่างต่อเนื่อง สะท้อนว่าโอกาสที่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะประสบปัญหาสภาพคล่องลดลง
                              2.2 คุณภาพหุ้นกู้ในตลาดปรับดีขึ้นในปี 2565 สะท้อนจากบริษัทที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2563 และปี 2564 นอกจากนี้ ความเสี่ยงการผิดชำระหนี้ในตลาดตราสารหนี้ปรับลดลงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่คลี่คลายลง อีกทั้ง หุ้นกู้เสี่ยงที่เข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน BSF มีจำนวนลดลงเหลือประมาณ 16,000 ล้านบาท และในจำนวนดังกล่าวมีหุ้นกู้เสี่ยงในกลุ่ม BBB- ซึ่งมีโอกาสขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน BSF เพียง 5,000 ล้านบาท               ซึ่งคาดว่าไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวม ประกอบกับในระยะต่อไป ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือปัจจัยภายนอก เช่น การดำเนินนโยบายการเงิน แบบตึงตัวของธนาคารกลางหลักของโลก ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าผลกระทบโดยรวมจะไม่รุนแรงเท่าช่วงต้นของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปี 2563
                              2.3 การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีความรุนแรงลดลงต่อเนื่อง โดยภาครัฐได้ประกาศลดระดับความรุนแรงของโรคโควิด 19 จากเดิมที่เป็น ?โรคติดต่ออันตราย? ให้เป็น ?โรคติดต่อเฝ้าระวัง? ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 พร้อมกับผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดหลายด้านเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้สถานการณ์ใกล้เคียงกับการเป็นโรคประจำถิ่นมายิ่งขึ้น ประกอบกับประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงมากขึ้น จึงคาดว่าอัตราการเสียชีวิตจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและไม่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกจนเกิดความเสี่ยงเชิงระบบในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน
                    3. วิธีและขั้นตอนยุติการดำเนินการของกองทุน BSF
                              3.1 ให้ ธปท. ขายคืนหน่วยลงทุนที่ถืออยู่ทั้งหมด (ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565 กองทุน BSF มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิประมาณ 1,002.63 ล้านบาท)
                              3.2 ให้ยุติการดำเนินการของกองทุน BSF ภายใน 30 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบวิธีและขั้นตอนยุติการดำเนินการของกองทุน BSF
                              3.3 ให้มีการวินิจฉัยผลกำไรหรือความเสียหายของกองทุน BSF ตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่คณะกรรมการพิจารณาผลการดำเนินการกำหนดและให้รายงานต่อ ธปท. และ กค. โดยหากมีกำไรเกิดขึ้น ให้ ธปท. นำส่ง กค. เป็นรายได้แผ่นดิน แต่หากเกิดความเสียหาย ให้ กค. ชดเชยความเสียหายให้แก่ ธปท.        ในวงเงินไม่เกิน 4 หมื่นล้านบาท (ตามมาตรา 20 และ 21 แห่งพระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563)
                              3.4 ให้กองทุน BSF ชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันยุติการดำเนินการของกองทุน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาชำระบัญชีเกิดกว่า 90 วัน ให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละ              30 วัน จำนวนไม่เกิน 2 ครั้ง

18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 ดังนี้
                    1. อนุมัติให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2565            รอบที่ 5 (โครงการค่าบริการสาธารณสุขฯ) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ จากเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนมีนาคม 2566 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    2. มอบหมายให้ สปสช.เร่งรัดการตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายเละคำขออุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่เสนอโดยเคร่งครัด รวมถึงพิจารณาความเหมาะสมในการคืนกรอบวงเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการในส่วนที่ได้มีการพิจารณาคำขออุทธรณ์ที่มีความชัดเจนแล้วเพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ในภาพรวม
                    3. อนุมัติให้จังหวัดเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากปี 2565 (โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ)           ของกระทรวงมหาดไทย (มท) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามชั้นตอนแล้ว
                    4. มอบหมายให้ มท. เร่งตรวจสอบการดำเนินโครงการของหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยกรณีที่จังหวัดไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี ให้เร่งรัดจังหวัดดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการและหรือเสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564                  พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564)
                    5. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1 และ 3 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                     1. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการกรณีโครงการค่าบริการสาธารณสุขฯ ของ สปสช. สธ.
โครงการ          มติคณะรัฐมนตรีเดิม          มติ คกง.
โครงการค่าบริการสาธารณสุขฯ ของ สปสช. สธ.          สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 (กรอบวงเงิน 25,845.8471 ล้านบาท)          ขยายระยะเวลาโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566
เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย และการพิจารณาคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือกรณีค่าความเสียหายจากการรับบริการฉีดวัตซีน
                    2. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการกรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ของ มท.
                              2.1 มท. ได้ขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ จำนวน 18 จังหวัด (จังหวัดชลบุรี จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดระนอง จังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดยะลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดราชบุรี จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดหนองคาย จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดตรัง) สรุปได้ ดังนี้

รายการ          เหตุผล          จำนวนโครงการ          วงเงิน
(ล้านบาท)
(1) ขอยกเลิกโครงาร จำนวน 10 จังหวัด (จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดพิจิตร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดตรัง และจังหวัดราชบุรี)          ดำเนินการไม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่          12          11.9570
          ได้รับงบประมาณจากแหล่งเงินอื่นแล้ว          2          7.5000
          ลงนามผูกพันสัญญาจัดซื้อจัดจ้างไม่ทันภายในเดือนพฤศจิกายน 2565          2          7.4749
          ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอราคา/ไม่สามารถจัดหาผู้รับจ้างได้          2          15.5555
          ผู้ชนะคัดเลือกไม่มาลงนามสัญญา          2          2.1103
          อยู่ระหว่างการพิจารณาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน          1          3.0000
รวม          21          47.5977
(2) ขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จำนวน 16 จังหวัด (จังหวัดชลบุรี จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดระนอง จังหวัดระยอง จังหวัดยะลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดราชบุรี จังหวัดหนองคาย จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดพะเยา จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดตรัง และจังหวัดมหาสารคาม)          ดำเนินการแล้วเสร็จอยู่ระหว่างเบิกจ่าย          9          69.4236
          ผูกพันสัญญาแล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในเดือน มีนาคม 2566           171          254.4764
          ผูกพันสัญญาแล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จหลังเดือน มีนาคม 2566          2          11.0100
รวม          182          334.9100

                              2.2 มติ คกง.
                                        อนุมัติให้จังหวัดเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ตามที่คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ดังนี้
                                        (1) จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดพิจิตร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดตรัง และจังหวัดราชบุรี ยกเลิกการดำเนินโครงการ รวม 21 โครงการ กรอบวงเงิน 47.5977 ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถจัดหาผู้รับจ้างและลงนามผูกพันสัญญาได้ทันภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 รวมถึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี
                                        (2) จังหวัดชลบุรี จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดระนอง จังหวัดระยอง จังหวัดยะลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดราชบุรี จังหวัดหนองคาย จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดพะเยา จังหวัดยโสธร                               จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดตรัง และจังหวัดมหาสารคาม รวม 182 โครงการ                 กรอบวงเงิน 334.9100 ล้านบาท ขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เป็นภายในเดือนมีนาคม 2566 เนื่องจากได้ลงนามผูกพันสัญญาแล้ว ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของ คกง.           เห็นควรมอบหมายให้จังหวัดเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด

 19. เรื่อง ขออนุมัติปรับระยะเวลาและแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 4 จากปี พ.ศ. 2564 ? 2567 เป็นปี พ.ศ. 2566 ? 2569
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอดังนี้
                    1. ปรับระยะเวลาและแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 4 จากเดิมปี พ.ศ. 2564 ? 2567 เป็นปี พ.ศ. 2566 ? 2569                   (4 รุ่น)
                    2. ปรับลดจำนวนการผลิตทุนประเภทที่ 1 ทุนระดับปริญญาตรี ? โท จากเดิม 600 ทุน เป็น 375 ทุน และทุนประเภทที่ 2 ทุนระดับปริญญาโท จากเดิม 600 ทุน เป็น 375 ทุน
                    3. ปรับลดกรอบวงเงินงบประมาณตามนัยการดำเนินงานโครงการ สควค. ระยะที่ 4 ปี พ.ศ. 2566 ? 2569 ตั้งแต่เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกจนถึงรุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษา จากเดิม ในกรอบวงเงินงบประมาณ 1,654.98 ล้านบาท เป็น 1,097.93 ล้านบาท (ปรับลดลงจำนวน 557.05 ล้านบาท)
                    ทั้งนี้ ให้ ศธ. โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศสาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปีให้สอดคล้องกับจำนวนครูที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องการ โดยผลิตไม่เกินจำนวนความต้องการบรรจุข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในกรอบอัตราอย่างเคร่งครัด พร้อมรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตครูสอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดำเนินการมาแล้ว 3 ระยะ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ (23 มีนาคม 2564) เห็นชอบในหลักการโครงการ สควค. ระยะที่ 4 ปี พ.ศ. 2564 ? 2567 แต่เนื่องจากช่วงเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการตามช่วงเวลาดังกล่าวไม่ทันต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงบประมาณ (สงป.) สสวท. จึงไม่มีงบประมาณสำหรับการดำเนินงานให้ทุนการศึกษาในปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 ซึ่งต่อมา สสวท. ได้รับจัดสรรงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการกำหนดนโยบายผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการประชุมครั้งที่ 39 ? 1/2565 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบให้เลื่อนระยะเวลาแผนการดำเนินงานโครงการ สควค. ระยะที่ 4 จากปี พ.ศ. 2564 - 2567 เป็นปี พ.ศ. 2566 ? 2569             และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป รวมทั้ง สสวท. ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการบรรจุข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี พ.ศ. 2568 - 2573 เพื่อรองรับการบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาทุนโครงการ สควค. ดังนั้น เพื่อให้การสร้างและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้าสู่ระบบได้อย่างต่อเนื่อง สามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสูงเข้าสู่ระบบทดแทนบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ และทำให้การดำเนินงานโครงการ สควค. ระยะที่ 4 มีระยะเวลาการผลิตเป็นไปตามแผน 4 ปี สอดคล้องกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ ศธ. (สสวท.) ได้รับจัดสรร รวมถึงสอดคล้องกับข้อมูลความต้องการบรรจุข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในครั้งนี้ ศธ. จึงได้เสนอขอปรับระยะเวลาและแผนการดำเนินงานปรับลดจำนวนการผลิตทุนและปรับลดกรอบวงเงินงบประมาณของโครงการ สควค. ระยะที่ 4 ดังนี้
ประเด็น          มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564          ที่ ศธ. เสนอขอปรับรายละเอียดในครั้งนี้
ระยะเวลาการดำเนินงาน          ปี พ.ศ. 2564 ? 2567          ปี พ.ศ. 2566 - 2569
จำนวนทุนและประเภททุนการศึกษา          รวมทั้งหมด 1,200 ทุน ประกอบด้วย
- ทุนประเภทที่ 1 ทุนระดับปริญญาตรี ? โท จำนวนไม่เกินปีละ 150 ทุน ระยะเวลารับทุน 6 ปีการศึกษา จำนวน 4 รุ่น (พ.ศ. 2564 ? 2567) ศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2564 - 2573 รวม 600 ทุน
- ทุนประเภทที่ 2 ทุนระดับปริญญาโท จำนวนไม่เกินปีละ 150 ทุน ระยะเวลารับทุน 2 ปีการศึกษา จำนวน 4 รุ่น (พ.ศ. 2564 ? 2567) ศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2564 ? 2568 รวม 600 ทุน          รวมทั้งหมด 750 ทุน (ปรับลดจำนวนทุนลง 450 ทุน)
ประกอบด้วย
- ทุนประเภทที่ 1 ทุนระดับปริญญาตรี ? โท จำนวนไม่เกินปีละ 100 ทุน ระยะเวลารับทุน 6 ปีการศึกษา จำนวน 4 รุ่น (พ.ศ. 2566 ? 2569) ศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2566 ? 2575 รวม 375 ทุน (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้รับจัดสรรแล้ว 75 ทุน)
- ทุนประเภทที่ 2 ทุนระดับปริญญาโท จำนวนไม่เกินปีละ 100 ทุน ระยะเวลารับทุน 2 ปีการศึกษา จำนวน 4 รุ่น (พ.ศ. 2566 ? 2569) ศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2566 -2570 รวม 375 ทุน (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้รับจัดสรรแล้ว 75 ทุน)
งบประมาณ          1,654.98 ล้านบาท ประกอบด้วย
1) ทุนการศึกษา 1,377.48 ล้านบาท
2) งบดำเนินการ 277.5 ล้านบาท          ปรับลดกรอบวงเงินงบประมาณเป็น 1,097.93 ล้านบาท (ปรับลดลงจำนวน 557.05 ล้านบาท) ประกอบด้วย
1) ทุนการศึกษา 860.93 ล้านบาท
2) งบดำเนินการ 237 ล้านบาท
หมายเหตุ : สาระสำคัญอื่น ๆ ยังคงเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 และได้เริ่มกระบวนการรับนักศึกษาปริญญาตรีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แล้ว


20. เรื่อง โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD : OKMD National Knowledge Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ สบร. ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD : OKMD National Knowledge Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2) (ศูนย์ฯ OKMD) (โครงการฯ) ในบริเวณพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
                    2. เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณในการพัฒนาศูนย์ฯ OKMD ระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ          พ.ศ. 2567 ? 2569) ซึ่งประกอบด้วยงบประมาณการก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่อาคาร รวมทั้ง 970 ล้านบาท ดังนี้
ปีงบประมาณฯ พ.ศ.          จำนวนเงิน (ล้านบาท)
2567          194
2568          388
2569          388
รวมทั้งสิ้น          970
                    3. ในส่วนของการดำเนินการเช่าพื้นที่จากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ให้ สบร. หารือกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ถึงเงื่อนไขและข้อกำหนดการเช่าพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ได้ขอดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD : OKMD National Knowledge Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2) (ศูนย์ฯ OKMD) (โครงการฯ) ในบริเวณพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และขอความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณในการพัฒนาศูนย์ OKMD ระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ? 2569) ซึ่งประกอบด้วยงบประมาณการก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่อาคาร รวมทั้งสิ้น 970 ล้านบาท โดยโครงการฯ มีวัตถุประสงค์ เช่น (1) เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่เป็นพื้นที่กายภาพที่เปิดกว้างสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต และกระตุ้นให้เกิดการค้นพบศักยภาพของตนเอง (Potential Searching) ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่ทันสมัยและหลากหลาย (2) เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่นำเสนอความรู้และทักษะแห่งอนาคต (Future Knowledge and Skills) โดยเฉพาะทักษะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหมที่สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของโลก และทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Soft Skils) (3) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ทันสมัย เป็นต้น โดยศูนย์ฯ OKMD ประกอบด้วยอาคาร 2 หลังติดกัน คือ 1) อาคาร Ratchadamnoen Center 1 ซึ่งอาคารดังกล่าวเคยเป็นที่ทำการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (เดิม) ขนาด 5 ไร่ จัดเป็นศูนย์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ ประกอบด้วยพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ (1) พื้นที่ห้องสมุดมีชีวิต (Living Library) เพื่อเป็นพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และปลูกฝังอุปนิสัยรักการเรียนรู้         (2) พื้นที่เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (Learning Space) เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะแห่งอนาคต ประกอบด้วยพื้นที่อเนกประสงค์ พื้นที่ปฏิบัติการทางนวัตกรรม พื้นที่ปฏิบัติการด้านงานฝีมือ พื้นที่ปฏิบัติการด้านสื่อ และพื้นที่ปฏิบัติการสำหรับเด็ก (3) พื้นที่แสดงออก (Expression Space) เป็นพื้นที่ส่งเสริมการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วยหอประชุมอเนกประสงค์ พื้นที่จัดนิทรรศการ และพื้นที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โดยจะย้ายพื้นที่ TK park (ตั้งอยู่ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิล์ด กรุงเทพมหานคร) มารวมไว้ในอาคารนี้ด้วย และ 2) อาคารRatchadamnoen Center 2 ซึ่งอาคารดังกล่าวเคยเป็นอาคารอนุรักษ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 1 ไร่ (อาคาร 7) ประกอบด้วยพื้นที่จัดกิจกรรมทางวิชาการ จัดแสดงนิทรรศการและผลงานหลากหลายสาขาโดยจะย้ายสำนักงาน สบร. (ตั้งอยู่ที่ชั้น 19 อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล) มารวมไว้ในอาคารนี้ด้วย ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 13/2565 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการฯ และเห็นควรให้ สบร. พิจารณาดำเนินการปรับปรุงเอกสารโครงการฯ เพิ่มเติม เช่น ควรต้องมีการวางแผนจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี โดยต้องปรับให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย สามารถที่จะปรับเปลี่ยนให้ทันกับยุคสมัยได้ตลอดเวลา และกลุ่มเป้าหมายควรให้ครอบคลุมทุกกลุ่มด้วย ซึ่ง สบร. แจ้งว่าได้ดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ ตามข้อเสนอของสภาพัฒนาฯ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และต่อมาสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แจ้งความเห็นมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้วว่า สบร. ได้รับความเห็นชอบของสภาพัฒนาฯ ไปดำเนินการด้วยแล้ว
                    2. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และ สศช. พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการ/ไม่ขัดข้องต่อโครงการฯ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น เห็นควรให้ สบร. จัดทำรูปแบบรายการแบบประมาณการราคาค่าก่อสร้างและปรับปรุงอาคารตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยคำนึงถึงภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งจัดทำแผนบริหารการดำเนินงานของศูนย์ฯ OKMD เพื่อให้สามารถจัดหารายได้มาสนับสนุนศูนย์ฯ OKMD ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระงบประมาณของประเทศได้ทางหนึ่ง รวมทั้งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า (คณะกรรมการอนุรักษ์ฯ) แจ้งว่า โครงการดังกล่าวอยู่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกซึ่งคณะกรรมการอนุรักษ์ฯ โดยในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการฯ และให้ สบร. นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง และพิจารณาแผนการดำเนินงานในกรุงรัตนโกสินทร์และคณะกรรมการอนุรักษ์ฯ เช่น ควรจัดพื้นที่ภายนอกอาคารแสดงนิทรรศการเป็นการถาวร เพื่อให้ความรู้และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับมรดกสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น (Modern Architecture) ในพื้นที่ และข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดี เนื่องจากเป็นพื้นที่สำคัญในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ไปพิจารณาดำเนินการและก่อสร้างอาคารตามรูปแบบที่เสนอคณะกรรมการอนุรักษ์ฯ ต่อไป

21. เรื่อง การพิจารณามีมติให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐมาปฏิบัติงานที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นการชั่วคราว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐมาปฏิบัติงานที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 180 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป โดยถือว่าข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่มาปฏิบัติงานใน สคส. เป็นการชั่วคราวไม่ขาดจากสถานภาพเดิมและคงได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วแต่กรณี จากสังกัดเดิมตามนัยมาตรา 94 วรรคห้า         แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ดศ. รายงานว่า
                    1. เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 28พฤษภาคม 2562 สคส. ได้ดำเนินการตามภารกิจต่าง ๆ ตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ เช่น
                              1.1 จัดตั้ง สคส. พร้อมทั้งดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ เช่นคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และคณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                              1.2 จัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นทุนประเดิมไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานในช่วงเริ่มต้นสำหรับการดำเนินภารกิจของ สคส. วงเงินรวมทั้งสิ้น 395.36 ล้านบาท และต่อมา สคส. ได้ทบทวนวงเงินที่ขอรับการจัดสรรคงเหลือ 99.75 ล้านบาท เนื่องจากมีภารกิจจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและหากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจะทำให้ภารกิจเร่งด่วนตามแผนการปฏิบัติงานหยุดชะงักไม่เป็นไปตามระยะเวลา รวมทั้งต้องใช้หรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็วภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ (สงป.)
                              1.3 จัดทำกรอบโครงสร้างองค์กร อัตรากำลัง และแผนการบรรจุอัตรากำลังของ สคส. สำหรับรองรับภารกิจในการดำเนินการตามนโยบายที่สำคัญเฉพาะด้านของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบแล้ว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

                                        โครงสร้างองค์กร
                                        การแบ่งหน่วยงานใน สคส. แบ่งออกเป็น 8 สำนัก และ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย สำนักบริหารกลาง สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์วิจัยและพัฒนา สำนักส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักกฎหมาย ศูนย์ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักตรวจสอบและกำกับดูแล ฝ่ายตรวจสอบภายใน ฝ่ายพัฒนาองค์กร และฝ่ายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                                        1.3.2 อัตรากำลัง และแผนการบรรจุ
                                        กรอบอัตรากำลังของ สคส. รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 210 คน โดยแบ่งแผนการบรรจุอัตรากำลังดังกล่าว ดังนี้
แผนการบรรจุ          อัตรากำลัง (คน)
ปีที่ 1 (พ.ศ. 2566)          126
ปีที่ 2 (พ.ศ. 2567)          52
ปีที่ 3 (พ.ศ. 2568)          32
รวมทั้งสิ้น          210

                    2. สคส. ได้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562       แล้ว ซึ่งได้จัดให้มีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ และเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งแผนโครงสร้างและอัตรากำลัง (ตามข้อ 1) แต่ยังขาดพนักงานมาขับเคลื่อนและดำเนินการตามภารกิจของ สคส. และนโยบายของรัฐบาลให้แล้วเสร็จบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจาก สคส. ยังไม่ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินการดังกล่าว จึงยังไม่สามารถคัดเลือกและบรรจุพนักงานได้ตามแผนการบรรจุอัตรากำลังที่คณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้เห็นชอบไว้ ทั้งนี้ ภายหลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว สคส. จะเร่งดำเนินการคัดเลือกและบรรจุพนักงานในระยะแรก จำนวน 49 คน เพื่อปฏิบัติภารกิจเร่งด่วน เช่น (1) การจัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562           (2) การจัดทำแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (3) การพิจารณาดำเนินการเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติดังกล่าว (4) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน และ (5) การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่ประชาชน
                    3. สคส. ได้ขอความอนุเคราะห์ยืมตัวบุคลากรเพื่อมาปฏิบัติงานที่ สคส. เป็นการชั่วคราว จาก 10 หน่วยงาน รวมจำนวน 19 คน ทั้งนี้ หน่วยงานต่าง ๆ ได้แจ้งผลการพิจารณาสรุปได้ดังนี้
ความเห็นหน่วยงานต้นสังกัด          หน่วยงาน (แห่ง)          จำนวนบุคลากร (คน)
1. อนุญาตให้บุคลากรมาปฏิบัติงานที่ สคส.           9          15
2. บุคลากรขอยกเลิกการไปปฏิบัติงานที่ สคส.                     3
3. ไม่สามารถให้การสนับสนุนบุคลากรได้          1          1
รวมทั้งสิ้น          10          19
                    4. สคส. ได้ดำเนินการขอยืมบุคลากรจากหน่วยงานซึ่งอนุญาตให้บุคลากรมาปฏิบัติงานที่ สคส.       เป็นการชั่วคราวได้ จำนวน 9 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 15 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ลำดับ          ชื่อ ? สกุล          ตำแหน่ง
สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
1          นายปฐมพงษ์ ขาวจันทร์          นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
2          นางสุนทรีย์ ส่งเสริม          นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ
3          นางสาวสุรีย์รัชญ์ กลิ่นจันทร์          นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ
4          นายทวีสิทธิ์ เพ็ญรัศมีพูนสุข          นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
5          นางสาวศิริรัตน์ อมตะธงไชย          นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
6          นางสาวฉัตรเพชร วัฒนสนธิ          นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
7          นางสาวธนพร ทองขาว          นักการข่าวชำนาญการ
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
8          นางสาวปฏิญญา บ่มไล่          นิติกร
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
9          นายษมภูมิ สุขอนันต์          พนักงานกองทุนยุติธรรม ตำแหน่ง นิติกร
10          นายอดุลย์ สืบยุบล          พนักงานราชการ ตำแหน่ง นักบริหารจัดการงานยุติธรรม
การประปาส่วนภูมิภาค
11          นายกิตตินันท์ ศรีมงคล          เศรษฐกร 7
องค์การคลังสินค้า
12          นางสาวชลาลัย ยิ่งรุ่งเรือง          พนักงานบริหารทั่วไป 4
กระทรวงกลาโหม
13          พันเอกหญิง ศิริลักษณ์ มิ่งโมฬี          ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
14          ร้อยตรี ฐานันดร สำราญสุข          ประจำกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
15          นายชาลี วรกุลพิพัฒน์          หัวหน้าทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
ซึ่งตามนัยมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติงานเป็นพนักงานของ สคส. เป็นการชั่วคราวภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และให้ถือว่า ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่มาปฏิบัติงานใน สคส. เป็นการชั่วคราว โดยไม่ขาดจากสภาพภาพเดิมและคงได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วแต่กรณี จากสังกัดเดิม*ทั้งนี้ ปัจจุบัน สคส. ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมตัวข้าราชการและพนักงานราชการในสังกัด ดศ. (สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) รวมทั้งสิ้น 6 คน (รวมอยู่ใน 15 คน ตามข้อ 4) มาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ความเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว
* ทั้งนี้ มาตรา 94 วรรคสี่ บัญญัติให้ภายใน 180 วันนับแต่วันที่จัดตั้ง สคส. แล้วเสร็จ ให้ สคส. ดำเนินการคัดเลือกข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐตามวรรคสองเพื่อบรรจุ เป็นพนักงานของ สคส. ต่อไป

22. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 20 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 30 พฤศจิกายน 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี    ครั้งที่ 20 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 30 พฤศจิกายน 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. นโยบายหลัก 9 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์          สืบสาน รักษาและต่อยอดพระราชดำรัสและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คัดเลือกให้ ?ดอนกอยโมเดล? ซึ่งเป็นกลุ่มผ้าทอต้นแบบของอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานแนวทางการพัฒนาครามและสีย้อมธรรมชาติสู่คอลเลกชันผ้าไทยร่วมสมัย เพื่อร่วมนิทรรศการและสาธิตในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สร้างรายได้มากกว่า 143,900 บาท
2) การสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศ และความสงบสุขของประเทศ          ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด : ขยายผลยึดทรัพย์เครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญ   โดยจับกุมเครือข่ายยาเสพติดของเครือข่ายทุน มิน หลัด (นักธุรกิจชาวเมียนมา)             ยึดทรัพย์สินมูลค่า 1,858 ล้านบาท ทั้งนี้ การติดตามจับกุมตั้งแต่ ปี 2562-2565 จำนวน   5 คดี ยึดยาบ้า 3.53 ล้านเม็ด ไอซ์ 86.98 กิโลกรัม คีตามีน 6 กิโลกรัม และเฮโรอีน 380 กรัม
3) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม          3.1) เปิดตัว ?โขนภาพยนตร์ หนุมาน WHITE MONKEY? โดยเปิดฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2565 และรอบปกติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และดำเนินตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะ การแสดงโขน รวมทั้งดำเนินตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสืบทอดไปสู่เยาวชนของชาติ
3.2) จัดงาน ?มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข? เมื่อวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2565 เพื่อส่งเสริมการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและรวบรวมข้อมูลด้านพุทธธรรมของพระพุทธศาสนาให้สามารถสืบค้นในรูป Big Data ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.3) ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยที่มีศักยภาพ ?Thai 5F Soft Power? ได้แก่ Food (อาหาร) Film (ภาพยนตร์) Fashion (ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น) Fighting (ศิลปะการต่อสู้-มวยไทย) และ Festival (การอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาลประเพณีสู่ระดับโลก) ดังนี้
3.4) จัดการแสดงทางวัฒนธรรม 5F ในการประชุมเอเปค 2022 ผ่านผลงานการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ (1) OPEN TO ALL OPPORTUNITIES เป็นการบรรเลงบทเพลง (2) CONNECT IN ALL DIMENSIONS การแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไหมไทยร่วมสมัยจากดีไซน์เนอร์เขตเศรษฐกิจเอเปคทั้ง 21 เขต และ (3) BALANCE IN ALL ASPE CTS การร้อยเรียงศิลปวัฒนธรรมถ่ายทอดในรูปแบบการแสดงประเพณีดั้งเดิม และการแสดงร่วมสมัย
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก          4.1) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 นายกรัฐมนตรีได้เปิดการประชุม APEC CEO Summit เพื่อผลักดันความร่วมมือกับภาคเอกชน ภายใต้หัวข้อ ?Embrace, Engage, Enable? และได้กล่าวปาฐกถาเสนอแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ ได้แก่ (1) การส่งเสริมความยั่งยืน มุ่งมั่นที่จะนำเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) มาขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (2) การเติบโตที่ครอบคลุม ส่งเสริมบรรยากาศการดำเนินธุรกิจและการลงทุนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และ (3) การมุ่งไปสู่ดิจิทัล โดยร่วมกันเพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล
4.2) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค 2022       มีการรับรองปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 ที่มีแนวคิดเศรษฐกิจ BCG           มีผลลัพธ์ดังนี้
หัวข้อหลัก          ผลลัพธ์
เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์
(Open)          เอเปคได้เดินหน้าสานต่อการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ผลงานที่เป็นรูปธรรม คือ จัดทำแผนงานต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิก และเตรียมรับมือกับประเด็นการค้าการลงทุนใหม่ๆ
เชื่อมโยงกัน
(Connect)          เอเปคได้ฟื้นฟูการเดินทางข้ามแดนระหว่างกันอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ เพื่อสร้างความพร้อมรับมือวิกฤตใหม่ในอนาคต
สู่สมดุล
(Balance)          ผู้นำเอเปคทุกคนได้ร่วมกันรับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG เพื่อวางรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อย่างครอบคลุม ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ และเอเปคได้ร่วมเปิดตัวเว็บไซต์ bangkokgoals.apec.org ด้วย

5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย          5.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง โดยขยายเวลาขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาล ระยะที่ 3 ออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 -         31 มีนาคม 2566 เพื่อช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนและให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีระยะเวลาปรับตัวเพื่อรองรับการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานฯ ระยะที่ 3 ต่อไป
5.2) พัฒนาภาคอุตสาหกรรม โดยดำเนินโครงการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) จำนวน 50 ราย ได้รับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องจักรให้สามารถลดต้นทุนด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานทดแทน มีเครื่องจักร จำนวน 1,309 เครื่อง วงเงินลงทุน จำนวน 193.86 ล้านบาท          มีผลตอบแทน จำนวน 62.67 ล้านบาท และ (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้จากอ้อย (ใบและยอดอ้อย) มาเป็นพลังงานทางเลือกเป็นการเฉพาะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยไม่ต้องขออนุญาตเพิ่มเติมประเภทหรือโครงการใหม่ในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้กับโรงงานน้ำตาลทรายและโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล
5.3) พัฒนาภาคเกษตร เช่น (1) องค์การอาหารและเกษตรแห่งชาติ สหประชาชาติประกาศให้ ?ระบบการเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย? เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทย (2) โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งมอบโค จำนวน 27 ตัว ให้แก่เกษตรกร 27 ราย ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และ (3) โครงการสานฝันสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้เกษตรกร ปล่อยสินเชื่อสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตร อาชีพนอกภาคเกษตรหรือการลงทุนค้าขาย ให้วงเงินกู้สูงสุดรายละไม่เกินจำนวน 100,000 บาท
5.4) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว โดยจัดงาน Gala Dinner ?Michelin Guide Thailand, The New Horizon? โดยมิชลินได้เผยรายชื่อร้านอาหารและร้านอาหารริมทาง (สตรีทฟู้ด) คุณภาพดีราคาย่อมเยาที่ได้รับสัญลักษณ์ ?บิบ กูร์มองด์? (Bib Gourmand) ประจำปี 2566 ของมิชลิน จำนวน 189 ร้าน
5.5) พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้า การบริการและการลงทุนในภูมิภาค ได้แก่ (1) กระทรวงพาณิชย์ได้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เช่น สัปปะรด มังคุด และข้าวเหนียว ตามนโยบาย ?อมก๋อยโมเดล? เพื่อตรึงราคาตลาดให้เพิ่มสูงขึ้น และ (2) เสริมสร้างความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐสิงคโปร์ ดังนี้ (2.1) ประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) ครั้งที่ 6 (2.2) ลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างไทย-สิงคโปร์ และ (3) กิจกรรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching: OBM) ระหว่างผู้ส่งออกไทย จำนวน 33 บริษัท และผู้นำเข้าจากสิงคโปร์ จำนวน 11 บริษัท สร้างมูลค่าการค้า จำนวน 30 ล้านบาท
5.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ โดยเปิดตัวบัญชี LINE ALERT เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติร้ายแรง ประกอบด้วย 6 รูปแบบหลัก ได้แก่     (1) อัปเดตภัยพิบัติ 4 ประเภท คือ พายุ น้ำท่วม ไฟไหม้ และแผ่นดินไหว (2) เช็คพื้นที่เสี่ยง (3) รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน (4) โรงพยาบาลใกล้เคียง (5) การป้องกันตนเอง และ (6) บริจาค ทั้งนี้ สามารถเพิ่มบัญชี LINE ALERT ได้ด้วยไอดี @linealert
5.7) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม โดยจดสิทธิบัตร ?แผ่นกรองอากาศคาร์บาโน (CARBANO air filter)? สามารถกรองฝุ่นดักจับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย ละอองเกสรดอกไม้ และยับยั้งเชื้อก่อโรคได้
6) การพัฒนา สร้างความเข้มแข็งของฐานราก          6.1) ดำเนินโครงการ Life DD Market Roadshow by องค์กรตลาด จำนวน 11 ครั้ง มีผู้ประกอบการและเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 1,000 ราย และมีรายได้หมุนเวียน จำนวน 21 ล้านบาท
6.2) ดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านตามแนวทาง ?แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง? ครอบคลุมทั้งประเทศ 74,709 หมู่บ้าน รวม 16,856 กิจกรรม แบ่งเป็น (1) ด้านการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ จำนวน 3,145 กิจกรรม (2) ด้านพัฒนาคน จำนวน 1,948 กิจกรรม (3) ด้านสังคม จำนวน 4,230 กิจกรรม (4) ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 1,425 กิจกรรม และ (5) ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 6,108 กิจกรรม
7) การปฏิรูปกระบวน
การเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในโครงการครุศึกษายุคใหม่ (Strengthening Teachers Education Program: STEP) เพื่อนำองค์ความรู้และเทคนิคการสอนภาคปฏิบัติจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้เป็นโมเดลต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ระดับปริญญาตรีของไทย มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 แห่ง
8) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม          8.1) กำหนดนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2568 จำนวน 19 สาขา เช่น สาขาโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและการพัฒนาประเทศ
8.2) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจัดระบบสารสนเทศข้อมูลสุขภาพให้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพ เชื่อมโยงข้อมูล และสร้างนวัตกรรมใหม่ ลดปัญหาความเสี่ยงในการถูกโจมตีด้านความปลอดภัย และเพิ่มคุณค่าการนำข้อมูลไปใช้ในการวางนโยบายการดูแลประชาชนในอนาคต เช่น โรคเรื้อรัง สังคมผู้สูงอายุ และภาวะแทรกซ้อนในโรคอื่น ๆ
 9) การป้องกัน ปราบ
ปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ และกระบวนการยุติธรรม          กระทรวงยุติธรรมเสนอการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยและมีมาตรฐานสากล จำนวน 22 ฉบับ (สถานะ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) เช่น ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน) ร่างพระราชบัญญัติระบบนิติวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. ....

                    2. นโยบายเร่งด่วน 9 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายหลัก          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิต          1.1) ดำเนินโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 5 เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019         (โควิด-19) โดยกลุ่มผู้มีบัตรฯ ที่มีรายได้ 30,001-100,000 บาท/ปี ให้ได้รับความช่วยเหลือ 400 บาท/คน/ปี และกลุ่มผู้มีบัตรฯ ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ให้ได้รับความช่วยเหลือ 500 บาท/คน/ปี
1.2) จัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ?มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน? ครั้งที่ 1 เพื่อช่วยเหลือแก้ไขหนี้ให้กับประชาชนผ่าน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การแก้ปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิม (2) การสร้างรายได้ผ่านการสร้างอาชีพหรืออาชีพเสริม และ (3) การให้ความรู้ทางการเงินและการส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ มีประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือไม่ต่ำกว่า 15,000 ราย
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน          2.1) ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 40 ครอบครัว โดยจัดตั้งทีมปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน จัดทีมผู้จัดการให้ความช่วยเหลือดูแลเป็นรายกรณี (Case Manager: CM) และประเมินสุขภาพจิตและความเข้มแข็งของครอบครัว และบูรณาการเครือข่ายในพื้นที่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
2.2) จ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2565 โดยจ่ายเงินแล้ว จำนวน 10.61 ล้านคน เป็นเงิน 8,002.32 ล้านบาท ในส่วนของกรณีผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างแนวทางการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุฯ กรณีกรมบัญชีกลางโอนเงินไม่สำเร็จ (reject) และถูกระงับการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ
3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก          ดำเนินโครงการ SME ปรับตัวรับมือ VUCA World ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ภาคบริการ Traditional Service และ Modern Service เช่น ร้านอาหาร การท่องเที่ยว การแพทย์วิถีใหม่ การดูแลผู้สูงอายุ นวดสปา และธุรกิจขนส่ง จำนวน 76 กิจการ มีผู้ประกอบการได้รับรางวัลจากการประกวด SME VUCA World Award เพื่อเป็น Role Model ต้นแบบ จำนวน 7 ราย ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวน 865.52 ล้านบาท
4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม          4.1) การบูรณาการระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิดเชื่อมโยงกับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ โดยพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับด้านการเกษตร เช่น ระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิด (Open Data) พัฒนา API Engine สำหรับเชื่อมโยงกับกรมที่ดิน พัฒนาแอปพลิเคชั่น FAARMis และกำหนดชุดข้อมูลทะเบียนเกษตรกรส่งให้ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP)
4.2) ดำเนินโครงการต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ โดยพัฒนาสร้างโรงเรือนต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ควบคู่กับพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือโดยทดลองปลูกผักบนแปลงไฮโดรโปนิกส์ เพื่อทดสอบระบบการควบคุมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง ธาตุอาหาร และค่าความเป็นกรดด่าง รวมทั้งพัฒนาหัววัดในระบบการเพาะปลูกแบบแปลงดิน
5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน          5.1) จัดทำโครงการ ?Samart Skills? พัฒนาแรงงานทักษะสูงด้านดิจิทัล โดยมอบทุนการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจให้เข้าเรียนเพิ่มความรู้และทักษะทางอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด และช่วยหาช่องทางให้ผู้ที่สำเร็จการอบรมแล้วหางานที่เหมาะสมกับตนเองได้
5.2) จัดทำโครงการยกระดับสมรรถนะแรงงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะฝีมือแรงานและภาษาต่างประเทศให้แรงงานไทยก่อนไปทำงาน โดยได้ฝึกสำเร็จแล้ว 1 รุ่น
5.3) จัดทำโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและแรงงานให้เป็น ?แรงงานทักษะสูง? สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Reskill/Upskill) จำนวน 60 หลักสูตร และโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) จำนวน 12 หลักสูตร
6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต          จัดทำแพลตฟอร์มเชื่อมโยงนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์รังสีวินิจฉัยและการรักษาสู่การใช้งานจริงและอุตสาหกรรมการแพทย์ (Medical AI connecting to the medical industry Project) เพื่อส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ต้นแบบในการทดสอบการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ และส่งเสริมบริษัท และ Startup กลุ่มพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์และกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลให้สามารถต่อยอดและแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ
7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21           ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบ่มเพาะเยาวชนให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยจัดอบรมความรู้ให้แก่ครูเพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลกิจกรรมจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมให้เกิดขึ้นจริงในโรงเรียน เน้นการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาความรู้และทักษะด้านสะเต็มศึกษา (STEM Education) ซึ่งดำเนินการให้กับครูและนักเรียนแล้ว จำนวน 1,487 คน
8) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้          ดำเนินโครงการศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ (Center for Assistance to Reintegration and Employment: CARE) (ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เข้ารับบริการแนะนำแหล่งงานและตำแหน่งงาน จำนวน 166 คน และบริการให้การสงเคราะห์ด้านต่าง ๆ จำนวน 165 คน รวมทั้งสิ้น 331 คน ทั้งนี้ ได้มีการติดตามผู้พ้นโทษด้วยระบบรายงานผลการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพผู้พ้นโทษและผู้ถูกคุมประพฤติ (CARE Support) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (วันที่ 1-31 ตุลาคม 2565) จำนวน 30 คน มีผู้ที่มีงานทำแล้ว จำนวน 29 คน
9) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย          9.1) เสริมสร้างศักยภาพกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การบรรยาย และการฝึกซ้อมสถานการณ์จำลองเกี่ยวกับกระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการแล้ว 4 รุ่น มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ทั้งสิ้น 902 คน
9.2) การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่น (1) โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีผลการดำเนินงานร้อยละ 13.20 (ภาพรวมร้อยละ 30.26) (2) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ (ระยะที่ 1) มีผลการดำเนินงานร้อยละ 0.49 (ภาพรวมร้อยละ 19.83) และ (3) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผลการดำเนินงานร้อยละ 0.03 (ภาพรวมร้อยละ 20.94)

23. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัด
หนองบัวลำภู ครั้งที่ 3
                              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความ
รุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 3 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 3 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต จำนวน
37 ราย (รวมผู้ก่อเหตุ) ผู้บาดเจ็บ 11 ราย รวมแล้ว 48 ราย 40 ครอบครัว ปัจจุบันผู้บาดเจ็บยังคงรักษาตัว
ในโรงพยาบาล 1 ราย ผู้บาดเจ็บที่อาการดีขึ้น และหายเป็นปกติกลับบ้านแล้ว 10 ราย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบและเสริมสร้างความมั่นคงในชุมชน ดังนี้
1)  การช่วยเหลือเยียวยาทางด้านจิตใจ
(1)  ทีมปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต (Case Manager : CM)                40 ทีม ได้เยี่ยมบ้านให้คำปรึกษาแนะนำเยียวยาจิตใจ จัดทำสมุดพกครอบครัว ร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายครอบครัว 40 ครอบครัว ประสานส่งต่อเพื่อให้ได้รับสิทธิและบริการที่ตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการ  โดยทีม CM ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านและทำกระบวนการให้ความช่วยเหลือตามแผนช่วยเหลือระยะเร่งด่วน  และแผนฟื้นฟูระยะปานกลาง (6 เดือน) โดยครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบมีความพร้อมและมีแผนในการดำเนินชีวิตของตนเองต่อไป  33 ครอบครัว และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ อาชีพ และที่อยู่อาศัย  7 ครอบครัว ทั้งนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีแผนในการติดตามผลระยะ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี
(2)  ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับทีมปฏิบัติการฯ พม. ได้จัดกิจกรรม ?คืนรอยยิ้ม? และ ?บายศรีสู่ขวัญ? เพื่อประเมินสภาพจิตใจและภาวะเสี่ยง ให้กับสมาชิกครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบและสมาชิกชุมชน โดยภาพรวมสมาชิกครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงมีความพร้อมด้านจิตใจ 37 ครอบครัว และมีครอบครัวที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 3 ครอบครัว
(3)  การจัดการแข่งขันกีฬาเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอ
นากลาง มีประชาชนเข้าร่วม จำนวน 500 ราย ได้มีการแข่งกีฬาฟุตบอลเยาวชนชาย เยาวชนหญิง และวอลเลย์บอลเยาวชนหญิง มีการมอบถ้วยรางวัลจากผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 12 รางวัล  มีการแข่งขันกีฬาเปตองผู้สูงอายุ  และมอบถ้วยรางวัลจากผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 3 รางวัล สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล จำนวน 60 ชุด ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่อำเภอนากลาง จำนวน 90 ราย
2)  การช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในครอบครัวผู้ประสบเหตุ เด็กในพื้นที่ตำบล                   อุทัยสวรรค์ มีการดำเนินการ ดังนี้
(1)  สนับสนุนทุนการศึกษาจากกองทุนคุ้มครองเด็ก 41 ราย เป็นเงิน 206,000 บาท             และได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากแหล่งเงินอื่นเพิ่มเติม จำนวน 6 ราย ได้แก่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 2 รายๆ ละ 1,500 บาท ทุนโรงเรียนกีฬาจังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 ราย ได้รับการยกเว้นค่าบำรุงการศึกษาจากโรงเรียนเอกชน จำนวน 3 รายๆ ละ 3,000 บาท และได้รับสนับสนุนค่าพาหนะเดินทางไปโรงเรียน จำนวน 1 ราย เดือนละ 600 บาท
(2) ให้การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ จำนวน 2 ราย ๆ ละ 2,000 บาท/เดือน
(3) ส่งเข้ารับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพในสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม                             จังหวัดกาญจนบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 ราย
(4) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) ได้สนับสนุนชุดเสริมพัฒนาการเด็ก จำนวน 200 ชุด ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง ในอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู
(5) ปรับปรุงห้องสมุดของโรงเรียนหนองกุงศรีโพธิ์สมพร เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชั่วคราว จากงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ห้องน้ำสำหรับเด็กเล็ก จากองค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์                     การปรับปรุงห้องน้ำได้รับการสนับสนุนกำลังพลจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 จังหวัดเลย การปรับปรุงโรงอาหาร            รั้ว และอื่น ๆ ได้สนับสนุนจากสมาคมกู้ภัยสันติธรรมนากลาง คาร์เปเตียม บีชคลับ หาดบางเทา จังหวัดภูเก็ต และบริษัท SM เอนจิเนียร์ลิงค์ การติดตั้งกล้องวงจรปิดในอาคารเรียนได้รับการสนับสนุนของบริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล จำกัด อุตสาหกรรม(บริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง) และการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่วันพุธที่ 4 มกราคม 2566 ปัจจุบันมีเด็กปฐมวัยเข้าใช้บริการ 68 ราย นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาบริการและเสริมสร้างพัฒนาการเด็กโดยใช้การเรียนการสอนแบบมอนเทสซอริ (Montessori) โดยผู้เชี่ยวชาญมอนเทสซอริสากล ของมูลนิธิมอนเทสซอริประเทศออสเตรเลีย ได้จัดอบรมครูพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอุทัยสวรรค์ จำนวน 5 ราย ในหลักสูตรปฐมวัยเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ พร้อมสนับสนุนสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนแบบมอนเทสซอริของประเทศออสเตรเลีย จำนวน 1 ชุด  และกรมกิจการเด็กและเยาวชนได้สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องใช้และมอบหมายบุคลากรที่มีความชำนาญเข้ามาร่วมเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
(6) การก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
แห่งเดิมประมาณ 200 เมตร เป็นการขอใช้พื้นที่จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้เมื่อวันที่                 11 มกราคม 2566 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้อนุญาตให้องค์การบริหารส่วนตำบล
อุทัยสวรรค์ ใช้ที่ดินเพื่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลอุทัยสวรรค์ จำนวนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน แปลงที่ดินเลขที่ 26 ระวาง ส.ป.ก. ที่ หรือกลุ่มที่ 5442III9806 โดยจังหวัดหนองบัวลำภูได้ขอรับการสนับสนุนเพื่อก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งใหม่จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน 8,582,000 บาท เพื่อรองรับเด็ก จำนวน 100 ราย
3)  การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยให้แก่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน
40 หลัง  ประกอบด้วย บ้านที่มีผู้สูงอายุ จำนวน 14 หลัง  บ้านที่มีผู้พิการ จำนวน 10 หลัง และบ้านผู้มีรายได้น้อย
ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก จำนวน 16 หลัง ได้รับงบประมาณจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ และกองบุญแห่งการให้ จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับการสนับสนุนกำลังพลจากมณฑลทหารบกที่ 28 จังหวัดเลย มณฑลทหารบกที่ 24 กรมทหารพรานที่ 23 ค่ายศรีสองรัก กองพันทหารราบที่ 3 สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานหนองบัวลำภู วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู และช่างชุมชน ในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Panasonic จังหวัดขอนแก่น ในการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 28 หลัง
4)  เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาชีพและรายได้ ให้แก่ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ จำนวน                  40 ครอบครัว และประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุ ได้แก่
(1)  การเพิ่มพูนทักษะอาชีพ สร้างอาชีพ และอาชีพทางเลือก จำนวน 9 ราย ได้แก่
การได้รับการสนับสนุนสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย จำนวน 2 ราย องค์การบริหาร
ส่วนตำบลอุทัยสวรรค์จ้างงาน จำนวน 1 ราย การจัดหาอุปกรณ์ในการทอผ้า จำนวน 1 ราย การได้รับการฝึกทำอาหารและสูตรการทำอาหาร (ก๋วยเตี๋ยว) จำนวน 1 ราย ประมงจังหวัดหนองบัวลำภูมอบพันธุ์ปลา จำนวน 1 ราย และปศุสัตว์จังหวัดหนองบัวลำภูมอบไก่ไข่ จำนวน 1 ราย ประสานความช่วยเหลือตามมาตรา 35 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 1 ราย การหางานให้ทำเป็นงานก่อสร้าง จำนวน 1 ราย
(2)  ฝึกอาชีพจักสานเส้นพลาสติกให้กลุ่มอาชีพและประชาชนในตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จำนวน 39 ราย ฝึกอาชีพ และส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพผ้ามัดย้อม และผ้ามัดหมี่ ในชุมชนพื้นที่ตำบล              กุดแห่ อำเภอนากลาง จำนวน 30 ราย และฝึกอาชีพการทำอาหารจานเดียว ให้กับผู้ประสบเหตุ และประชาชนตำบลกุดแห่ อำเภอนากลาง จำนวน 33  ราย
(3)  ประชาสัมพันธ์หาผู้ที่ต้องการซื้อกระบือจากครอบครัวผู้สูงอายุที่ต้องการจำหน่ายกระบือของบุตรชายที่เสียชีวิต โดยได้จัดหาผู้ซื้อกระบือได้ครบทั้ง 5 ตัว เป็นเงิน 470,000 บาท
5)  ประสานกับสถาบันการเงินและให้คำปรึกษาแนะนำการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
รายครัวเรือน เมื่อรวมหนี้ของสมาชิกในครัวเรือนทั้งหมดปรากฏว่า เป็นหนี้ทั้งสิ้น 20,323,639 บาท
ต่อมาได้มีการปรับหนี้ในส่วนของครอบครัวผู้ที่ประสบเหตุ พบว่ามีจำนวน 35 ครอบครัว เป็นเงิน 5,924,035.09 บาท ชำระปิดหนี้ จำนวน 7 ครอบครัว เป็นเงิน 388,985.38 บาท และยินยอมผ่อนชำระตามระบบ 28 ครอบครัว เป็นเงิน 5,535,050.52 บาท
6)  การสร้างกลไกการทำงานเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีการดำเนินการ ดังนี้
(1)  อบรมพัฒนาศักยภาพประชาชนในตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง ให้เป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จำนวน 120 ราย
(2)  พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
ให้เป็น อพม. เชี่ยวชาญผู้สูงอายุ จำนวน 71 ราย
 (3)  พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จำนวน 40 ราย และทีม One Home พม) จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 20 ราย ให้สามารถเป็นนักปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือผู้จัดการรายกรณี (Case Manager : CM)
(4) พัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งผู้นำในการป้องกันความรุนแรงในชุมชน (ชรบ.)                จังหวัดหนองบัวลำภู ของอำเภอนากลาง จำนวน 120 ราย พร้อมทั้งจัดให้มีชุดปฏิบัติการเพื่อเป็นเวรยามประจำหมู่บ้าน สร้างความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตให้แก่ประชาชนในพื้นที่นากลาง
(5) ส่งเสริมให้สตรีในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบเข้าเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาสตรี จำนวน 30 ราย
(6) ส่งเสริมให้ผู้ได้รับผลกระทบฯ เข้าถึงสิทธิสวัสดิการ จำนวน 21 ราย โดยได้รับบัตรประจำตัวประชาชน 1 ราย และบัตรประจำตัวคนพิการ 20 ราย
(7) จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 3 ตำบล ในพื้นที่เกิดเหตุ (ตำบลอุทัยสวรรค์            ตำบลด่านช้าง และตำบลกุดแห่) พร้อมจัดทำแผนชุมชนเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับครัวเรือนเปราะบาง   ซึ่งเป็นครอบครัวที่คัดกรองจากพื้นที่ จำนวน 1,492 ครัวเรือน และให้การช่วยเหลือครัวเรือนเปราะบางจำนวน 159 ราย เป็นเงิน 1,192,000 บาท ได้แก่ช่วยเหลือเงินสงเคราะห์คนพิการ 12 ราย เป็นเงิน 36,000 บาท  ผู้สูงอายุ 39 ราย เป็นเงิน 117,000 บาท ผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พึ่ง 12 ราย เป็นเงิน  36,000 บาท เด็ก 49 ราย        เป็นเงิน 60,000 บาท และสนับสนุนการดำเนินโครงการบ้านพอเพียง 47 ราย เป็นเงิน 940,000 บาท และขยายให้มีศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ครบทั้ง 9 ตำบลในอำเภอนากลาง จังหวัดนครสวรรค์
 (8) ได้มีการจัดทำแผนเผชิญเหตุทางสังคม กรณีเกิดเหตุการณ์ในพื้นที่ตำบล
อุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ที่ทำการปกครองจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันยาเสพติดจังหวัด นายอำเภอนากลาง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนากลาง และผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองบัวลำภู
 (9) การถอดบทเรียนกรณีความรุนแรงจังหวัดหนองบัวลำภูร่วมกับภาคีเครือข่าย
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาปัจจัยความสำเร็จ ข้อจำกัด และกลไก แนวทางการการบริหารจัดการภาวะวิกฤติ
ความรุนแรงทางสังคมที่มีประสิทธิภาพโดยศึกษาจากเหตุการณ์หนองบัวลำภู เพื่อเตรียมการเผชิญเหตุการณ์
ในอนาคต โดยค้นพบกลไกสำคัญ คือ การมีผู้บัญชาการเหตุการณ์ (CEO) เป็นหัวใจความสำเร็จในการบริหารจัดการ การมีศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลและการสื่อสาร มีระบบข้อมูลข่าวสาร เป็นกลไกที่ช่วยทำให้การขับเคลื่อนงานเป็นระบบต่อเนื่อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงาน การแจ้งข่าว และการประชาสัมพันธ์
นอกจากนี้การมีทีมจัดการรายกรณี (CM) ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบได้รับการช่วยเหลือ ฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้การตั้งทีมช่วยเหลือ ฟื้นฟู ในลักษณะของทีมสหวิชาชีพ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวง
ยุติธรรม และกระทรวงมหาดไทย  ร่วมลงพื้นที่และส่งต่อข้อมูล ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ผู้ได้รับผลกระทบและครอบครัวได้รับการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ครอบคลุมทุกมิติ และรวดเร็ว ลดความกังวล สามารถดำเนินวิถีชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
                    7)  เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร่วมงานบำเพ็ญกุศลอุทิศ 100 วัน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 500 ราย ซึ่งมีกิจกรรมเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชั่วคราว ณ โรงเรียนบ้านหนองกุงศรีโพธิ์ศรีสมพร มอบถ้วยรางวัลการแข่งกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล และเปตอง จำนวน 15 รางวัล มอบเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ จำนวน 13 ราย เป็นเงิน 39,000 บาท เงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง จำนวน 15 ราย เป็นเงิน  45,000 บาท เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน จำนวน 52 ราย เป็นเงิน 64,000 บาท และเงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ จำนวน 12 ราย เป็นเงิน 36,000 บาท

24. เรื่อง  รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนธันวาคม 2565 และทั้งปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนธันวาคม 2565 และทั้งปี 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
          สาระสำคัญ
          1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนธันวาคม 2565 และทั้งปี 2565
          การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2565 มีมูลค่า 21,718.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (776,324 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 14.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 12.5               การส่งออกไทยเดือนนี้หดตัวจากฐานที่สูงในปีที่ผ่านมา แต่เมื่อพิจารณาในแง่ของมูลค่าการส่งออกยังทำได้มากกว่าค่าเฉลี่ยห้าปีย้อนหลัง (20,759.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแอ ซึ่งหลายประเทศในเอเชียต่างได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ยังมีปัจจัยหนุนจากค่าระวางเรือที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาคการท่องเที่ยวทั่วโลกที่ฟื้นตัวส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มสูงขึ้น และการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ การส่งออกไทย ทั้งปี 2565 (มกราคม-ธันวาคม) มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 287,067.9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 5.5 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 4.7
                    มูลค่าการค้ารวม
          มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนธันวาคม 2565 การส่งออก มีมูลค่า 21,718.8           ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 14.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 22,752.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 12.0 ดุลการค้า ขาดดุล 1,033.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ภาพรวมทั้งปี 2565 (มกราคม-ธันวาคม) การส่งออก มีมูลค่า 287,067.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.5 การนำเข้า มีมูลค่า 303,190.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.6 ดุลการค้า ขาดดุล 16,122.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
                    มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนธันวาคม 2565 การส่งออก มีมูลค่า 776,324 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 823,082 ล้านบาท
หดตัวร้อยละ 3.3 ดุลการค้า ขาดดุล 46,758 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมทั้งปี 2565 (มกราคม-ธันวาคม) การส่งออก มีมูลค่า 9,944,317 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.1 การนำเข้า มีมูลค่า 10,646,953 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.9 ดุลการค้า ขาดดุล 702,636 ล้านบาท
          การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 11.2 แต่ยังมีสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 21.6 (ขยายตัวในตลาดจีน
อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 1.5 (ขยายตัวในตลาดซาอุดีอาระเบีย อิสราเอล แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแอฟริกาใต้) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 35.5 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เนเธอร์แลนด์ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา) ไก่สด แช่เย็น
แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 22.8 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์) นมและผลิตภัณฑ์จากนม ขยายตัวร้อยละ 2.7 (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ ฮ่องกง และลาว) สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 4.1 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 12.4 (หดตัวในตลาดจีน ไต้หวัน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย และเวียดนาม) ยางพารา หดตัวร้อยละ 47.7 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 20.5 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และกัมพูชา) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 45.4 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์           และเวียดนาม) ทั้งนี้ ปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.8
          การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
          มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 15.7 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี อาทิ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 65.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 83.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย ตุรกี และแคนาดา) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 8.1 (ขยายตัวในตลาดเบลเยียม ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เวียดนาม และอิตาลี) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 56.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 17.1 (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเม็กซิโก) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 25.7 (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม กัมพูชา อินเดีย และญี่ปุ่น) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หดตัวร้อยละ 24.3  (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ12.4 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เยอรมนี อินเดีย และสหราชอาณาจักร)  ทั้งนี้ ทั้งปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 4.4
          ตลาดส่งออกสำคัญ
          การส่งออกไปยังตลาดสำคัญในภาพรวมยังหดตัวต่อเนื่อง ตามการลดลงของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าซึ่งสอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจการค้าโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 13.6 หดตัวในทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 3.9 จีน
ร้อยละ 20.8 ญี่ปุ่น ร้อยละ 13.7  อาเซียน (5)  ร้อยละ 24.2 CLMV ร้อยละ 11.8 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 4.9    (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 16.5 โดยหดตัวในเอเชียใต้ ร้อยละ 11.6 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 18.0 ทวีปแอฟริกา                    ร้อยละ 26.7  ลาตินอเมริกา ร้อยละ 9.4 รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 47.7  ขณะที่ ตะวันออกกลาง                     และสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 4.7 และร้อยละ 23.7 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 29.0 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 10.4
          2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
          การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การแก้ไขอุปสรรคการค้าชายแดน กระทรวงพาณิชย์เดินหน้าเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน และได้ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในเดือนธันวาคม 2565 มีจุดผ่านแดนฝั่งไทย
เปิดทำการแล้วทั้งสิ้น 72 แห่ง จากทั้งหมด 97 แห่ง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเปิดทำการแล้ว 65 แห่ง
(2) การผลักดันความสัมพันธ์ทางการค้า โดยเดินหน้าจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (SECA)                  กับออสเตรเลีย ใน 8 สาขาสำคัญ เช่น เกษตร ท่องเที่ยว สุขภาพ การศึกษา การค้าดิจิทัล เศรษฐกิจสร้างสรรค์
การลงทุน พลังงานสีเขียว และช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า เจรจาปรับปรุงกฎถิ่นกำเนิดและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง FTA 2 ฉบับสำคัญ ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) และความตกลงการค้าเสรีของอาเซียน (ATIGA) ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับผู้ประกอบการไทย ลดอุปสรรคการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีและผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกับประเด็นการค้าใหม่ ๆ (3) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อวางแผนเจาะตลาดให้ตรงเป้าหมายเพิ่มโอกาสในการค้าและการส่งออก อาทิ ผลักดันสินค้ากลุ่ม BCG ไปยังผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ในแคนาดา ที่ปัจจุบันให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ศึกษาไลฟ์สไตล์ของชาวอเมริกันแต่ละ Gen เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการไทยนำไปใช้ในการวางแผนการผลิต ทำการตลาด และส่งออกสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคแต่ละ Gen อย่างเหมาะสม (4) การเดินหน้าโครงการประกันรายได้ ผ่านโครงการประกันรายได้ งวดที่ 11 ในเดือนธันวาคม 2565 ช่วยเหลือเกษตรกร โดยเฉพาะยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดโลก             และปาล์มน้ำมันที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากอินโดนีเซียเร่งรัดการส่งออก และยกเลิกการเก็บภาษีชั่วคราว ทำให้ราคาลดลง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ช่วยจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางรายได้มากขึ้น และพร้อมที่จะผลักดันการส่งออกไปยังตลาดอื่นที่มีความต้องการต่อไปในอนาคต
          แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทยใน
ปี 2566 โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศยูโรโซน ที่ชะลอตัวลงจากกำลังซื้อที่อ่อนแอ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของตลาดเป้าหมายการส่งออกยังคงเติบโตได้ดี อาทิ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และอาเซียน รวมถึงการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์ของจีน จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย อย่างไรก็ดี มีปัจจัยที่ต้องติดตาม อาทิ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงตึงเครียด (สหรัฐฯ-จีน-ไต้หวัน หรือรัสเซีย-ยูเครน) สร้างอุปสรรคด้านการค้าและความเสี่ยงต่อปัญหาห่วงโซ่อุปทาน แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้ากับความสามารถในการปรับตัวของผู้ส่งออกไทยเพื่อรับมือระเบียบการค้าใหม่ ๆ เป็นต้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนเตรียมรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ ผันผวน โดยมีแผนผลักดันการส่งออกใน 3 ตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และ CLMV            ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้เข้าสู่ประเทศชดเชยตลาดหลักที่ชะลอตัว

ต่างประเทศ
25. เรื่อง สรุปผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP 27) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอสรุปผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (Conference of the parties: COP 27) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ และมอบหมาย ทส. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเตรียมการดำเนินงานตามภารกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกตกต่ำของประเทศ1 ฉบับปรับปรุง [Thailand?s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy: LT-LEDS (Revised Version)] และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด2 (Nationally Determined Contribution: NDC) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (NDC ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ3 (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) พิธีสารเกียวโต4             และความตกลงปารีส5 มีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการภายใต้กรอบ UNFCCC เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่ง ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของประเทศภายใต้กรอบ UNFCCC        ได้จัดส่ง NDC ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 และยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ต่อสำนักเลขาธิการ UNFCCC แล้ว เมื่อวันที่ 2 และ   7 พฤศจิกายน 2565 ตามลำดับ
                    2. ในการประชุม COP 27 ระหว่างวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ประกอบด้วย การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 17 (CMP 17) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 4 (CMA 4) การประชุมองค์กรย่อยเพื่อให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 57 (SBSTA 57) และการประชุมองค์กรย่อยด้านการดำเนินงาน ครั้งที่ 57 (SBI 57) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
การประชุม          สาระสำคัญ
2.1 การประชุม The Sharmel-Sheikh Climate Implementation Summit และการประชุม High-Level Segment          ? จัดขึ้นระหว่างที่ 7-8 และวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2565 มีประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรี หรือผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลเข้าร่วมจำนวน 164 ประเทศ
? มีการกล่าวถ้อยแถลงซึ่งให้ความสำคัญกับการกำหนดแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับเป้าหมายที่ประกาศไว้ ทั้งในด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดนเน้นย้ำว่าการสนับสนุนทางการเงินและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศยืนยันที่จะเพิ่มการสนับสนุนการเงินด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกลุ่มประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กซึ่งได้รับผลกระทบทางลบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกลุ่มประเทศที่มีความเปราะบางต้องการผลักดันให้มีกลไกทางการเงินสำหรับการสูญเสียและความเสียหายเป็นการเฉพาะ
? รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงจุดยืนของไทยในการมีส่วนร่วมกับประชาคมโลกเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการปรับปรุงยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ และการยกระดับเป้าหมาย NDC ค.ศ. 2030 เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ในทุกสาขา ควบคู่กับการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม การดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศภายใต้ความตกลงปารีส การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน รวมทั้งเน้นย้ำการส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy Model)        ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน
2.2 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่          ? จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2565 โดยมีสรุปผลการประชุมและข้อตัดสินใจที่สำคัญ เช่น
(1) การจัดทำแผนงานสำหรับการยกระดับเป้าหมายและการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation Work Programme: MWP) ครอบคลุมทุกสาขาตามคู่มือแนวทางการประเมินก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศ 2006 IPCC6 Guideline for National Greenhouse Gas Inventories ซึ่งจะได้มีการนำเสนอรายงานประจำปีของ MWP ในการประชุมโต๊ะกลมระดับสูงประจำปีเพื่อยกระดับการดำเนินงานก่อนปี ค.ศ. 2030 โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake: GST)7
(2) ที่ประชุมให้การรับรองคำแนะนำต่อการจัดการผลกระทบจากการใช้มาตรการในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การสำรวจความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบ (การดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากคาร์บอนและไฮโดรเจน) รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพในการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบข้ามพรมแดนของนโยบายกำหนดราคาคาร์บอน (Carbon pricing) มาตรการลดก๊าซเรือนกระจก และมาตรการฝ่ายเดียวทางการค้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีและนโยบายด้านการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอให้สำนักเลขาธิการฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับเครื่องมือและระเบียบวิธีในการจัดทำแบบจำลองและการประเมินผลกระทบจากการใช้มาตรการในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในการประชุมองค์กรย่อยภายใต้กรอบ UNFCCC ครั้งที่ 59 (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม             ค.ศ. 2023)
(3) ที่ประชุมแสดงความกังวลที่มีประเทศจำนวนมากยังไม่สามารถจัดทำและ/หรือดำเนินการตามแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ8 (National Adaptation Plan: NAP) อย่างพอเพียง เนื่องจากข้อจำกัดในการเข้าถึงกองทุนภูมิอากาศสีเขียว9 (Green Climate Fund: GCF) ดังนั้น จึงให้กองทุน GCF เร่งให้เงินทุนสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา และหาแนวทางการเร่งการอนุมัติโครงการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศต่าง ๆ          และรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุม COP 28
(4) ที่ประชุมเห็นชอบต่อข้อตัดสินใจของที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 4 ในรายละเอียดการดำเนินงานเกี่ยวกับเครือข่ายซานติอาโก (Santiago Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านเทคนิคเพื่อช่วยลดการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งที่ประชุมรับทราบว่าเงินกองทุนที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน        ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเห็นชอบการจัดตั้งกองทุนใหม่ภายใต้กรอบ UNFCCC และความตกลงปารีสเพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเปราะบาง ลดการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งจากเหตุการณ์รุนแรงและเหตุการณ์ที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น โดยให้มีการแต่งตั้ง Transitional Committee เพื่อกำหนดรายละเอียดของกองทุนและจัดทำรายงานการวิเคราะห์การเข้าถึงแหล่งเงินปัจจุบัน ช่องว่างและปัญหาอุปสรรคของการเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อการดังกล่าวต่อไป
2.3 การดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในระหว่างการประชุม COP 27          ? การหารือทวิภาคีระดับรัฐมนตรีกับผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการน้ำระหว่างประเทศแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ถึงความเป็นไปได้ถึงความร่วมมือด้านการจัดการน้ำภายใต้ข้อริเริ่ม ?Water as Leverage? ซึ่งพัฒนาบนฐานของประสบการณ์ งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ พร้อมเชิญชวนให้ไทย (กรุงเทพมหานคร) เข้าร่วมเป็นหนึ่งในเมืองตัวอย่างเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำในเขตเมือง และเข้าร่วมการประชุม UN 2023 Water Conference ที่เนเธอร์แลนด์จะเป็นเจ้าภาพในระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2566 ณ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
? การหารือทวิภาคีระดับรัฐมนตรีกับรองผู้แทนพิเศษด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกา โดยเชิญชวนไทยเข้าร่วมข้อริเริ่มระดับโลกด้านการลดก๊าซมีเทน (Global Methane Pledge) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อร่วมกันลดการปล่อยก๊าซมีเทนของโลกร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2030 ครอบคลุมทั้งภาคการเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรมและข้อริเริ่มด้านยานยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle Goal: ZEV) ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการขาย ZEV ขนาดเล็กให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของไทยในภาพรวมที่มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ไทยมีมาตรการที่จะเพิ่มการผลิต ZEV เป็นร้อยละ 30 จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ภายในปี ค.ศ. 2030 ทั้งนี้การผลักดันเพื่อเร่งการดำเนินการต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากต่างประเทศทั้งด้านการเงินและเทคนิค โดย ทส. จะสื่อสารข้อริเริ่มดังกล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาตามกระบวนการภายในประเทศต่อไป
? การหารือทวิภาคีเพื่อการเตรียมการก่อนการประชุม Steering Committee ระหว่างฝ่ายไทยกับเยอรมนีอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 เพื่อเร่งขับเคลื่อนโครงการภายใต้แผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล ภายใต้งบประมาณ         40 ล้านยูโร รวมถึงหารือความร่วมมือและการสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติม ทั้งด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน การพัฒนา Smart grid การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ขจัดคาร์บอนออกจากการผลิตพลังงาน (Decarbonization) ในภาคอุตสาหกรรม ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งได้เชิญชวนให้ไทยเข้าร่วม Climate Club ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงานด้าน Decarbonization
                    3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เข้าร่วมกิจกรรม Thailand Chapter-Net zero cement and concrete roadmap 2050 เพื่อเผยแพร่ความสำเร็จของภาคเอกชน โดยเฉพาะแผนที่นำทางอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยที่มุ่งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050 ร่วมกับ Global Cement and Concrete Association องค์กรซีเมนต์และคอนกรีตระดับโลก ตลอดจนการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมเสวนาคู่ขนาน ณ ศาลาไทย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีประเด็นในการเสวนาที่สำคัญ เช่น บทบาทสำคัญของภาคการเกษตร การถ่ายโอนเทคโนโลยี ความเป็นธรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การมีส่วนร่วมของเยาวชน ความร่วมมือภายใต้ความตกลงปารีส การจัดการน้ำ บทบาทของภาคเอกชนและภาคธุรกิจ และการประยุกต์ใช้แนวทางธรรมชาติในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ การเดินทางไปเข้าร่วมประชุม COP 27 ของคณะผู้แทนไทย เป็นการเข้าร่วมการประชุมแบบเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral)10 ซึ่งได้รับการชดเชยคาร์บอนเครดิต ในปริมาณ 300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยความอนุเคราะห์จาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รายละ 100 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าซึ่งผ่านการประเมินโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
                    4. ทส. พิจารณาแล้วเห็นว่า จากผลการประชุมดังกล่าวจำเป็นต้องมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงาน ดังนี้
ประเด็น          หน่วยงาน
1. จัดทำภาพรวมในการขับเคลื่อนตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065          ทส.
2. จัดทำ/ปรับปรุงนโยบาย แผน มาตรการ และขับเคลื่อนการดำเนินงานในการลดก๊าซเรือนกระจกและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามกรอบเวลาร่วมในการดำเนินงานตาม NDC          อว. กษ. คค. พน. ทส. อก. และสำนักงาน
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
3. ติดตามและเตรียมความพร้อมภายในประเทศเพื่อรองรับผลกระทบจากการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกต่อประเทศกำลังพัฒนา เช่น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับในเรื่องสินค้าที่จะส่งออกไปขายต่างประเทศให้ได้รับการยอมรับมากขึ้นและไม่ให้ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าได้          กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และ สศช.
4. จัดทำนโยบาย แผน มาตรการ และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกลไกระหว่างประเทศวอร์ซอด้านการสูญเสียและความเสียหายที่เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ          กษ. ทส. มท. กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
5. พิจารณาแนวทางและขับเคลื่อนการขอรับการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และ/หรือจัดสรรงบประมาณตามนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ          กค. ทส. สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
และธนาคารแห่งประเทศไทย
6. ขับเคลื่อนการปฏิบัติการเสริมพลังความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ และ ทส.
7. เตรียมความพร้อมและจัดทำรายงานตามกรอบความโปร่งใสในการดำเนินงานและการสนับสนุน          ทส.
8. เตรียมการด้านนโยบายและกลไกภายในประเทศเพื่อรองรับแนวปฏิบัติและกฎการดำเนินงานตามความตกลงปารีส          ทส. และ พณ.
9. การเผยแพร่ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ          ทุกหน่วยงานที่มีการดำเนินงาน
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1 จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการร่วมมือกับประชาคมโลกในการพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5-2 องศาเซลเซียส โดยมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มข้นตามความตกลงปารีส
2 เป็นการกำหนดเป้าหมายในระยะสั้นที่แต่ละประเทศจะดำเนินการในระยะ 5-10 ปี และจะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยทุก 5 ปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้จัดทำเอกสาร NDC ฉบับปรับปรุงมาแล้ว 1 ครั้ง โดยได้ตั้งเป้าหมายจะลดก๊าซเรือนกระจกใน 3 สาขา ได้แก่ (1) สาขาพลังงานและขนส่ง (2) สาขาของเสีย และ (3) สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ NDC ฉบับที่ 2 จะมีการจัดทำอีกครั้งในปี ค.ศ. 2025 ตามกรอบเวลาที่กำหนดในความตกลงปารีส
3 เป็นเวทีการเจรจาระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติรวมทั้งไทย (ไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา UNFCCC เมื่อปี 2537) ได้เข้าร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำคัญของการเจรจา คือ การควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นระดับที่จะเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติอย่างแก้ไขไม่ได้
4 เป็นข้อตกลงที่กำหนดพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับประเทศพัฒนาแล้วและผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยความสมัครใจ ซึ่งไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมรับรองพิธีสารเกียวโตเมื่อปี 2545
5 ที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา UNFCCC ได้จัดทำความตกลงปารีส เมื่อปี 2559 เพื่อกำหนดความร่วมมือการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันระดับโลก 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ (1) การควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามควบคุมให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (2) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว และ (3) การสร้างเงินกองทุนหมุนเวียนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ
6 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน และสรุป ?สถานะขององค์ความรู้? เรื่องภาวะโลกร้อนในรายงานการประเมินซึ่งตีพิมพ์ทุก ๆ 5 ปี
7 ความตกลงปารีสกำหนดให้มีการประเมินสถานการณ์ดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) ทุก 5 ปี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและประเมินความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาพรวมทุกมิติ โดยเฉพาะการประเมินระดับความสำเร็จในการควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ณ ปลายศตวรรษ ไม่ให้เกิน 2 หรือ 1.5 องศาเซลเซียส
8 เป็นกระบวนการที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านการปรับตัวแคคูน UNFCCC: Cancun Agreement เพื่อให้ภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาฯ สามารถจัดทำและดำเนินการ NAP ซึ่งเป็นกลไกและวิธีการในการระบุความจำเป็นต่อการปรับตัวในระยะกลางและระยะยาว เพื่อลดความเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอำนวยให้เกิดการบูรณาการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ากับนโยบาย แผนงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งใหม่หรือที่มีอยู่แล้วให้มีลักษณะที่สอดคล้องกัน
9 เป็นกลไกทางการเงินหลักของกรอบ UNFCCC และความตกลงปารีส ในการจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ได้กำหนดหลักการให้มีการสนับสนุนการดำเนินงานประเทศกำลังพัฒนาอย่างสมดุล โดยสนับสนุนด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 50 และด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร้อยละ 50 โดยร้อยละ 50 ของการสนับสนุนด้านการปรับตัวดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก และอีกร้อยละ 50 จะสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 25         ของการสนับสนุนทั้งหมด
10 คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ปล่อยจากการจัดงานตั้งแต่ก่อนเริ่มจนจบงาน เช่น การเดินทาง การพักแรม อาหาร ของแจก ของเสียที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน โดยผู้จัดงานสามารถทำการชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการจัดงาน (Carbon Offset) ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยเท่ากับปริมาณการปล่อยเพื่อให้งานที่จัดนั้นเป็น ?Carbon Neutral Event?



26. เรื่อง การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (European Union: EU)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป1 (European Union: EU) ของไทย และเห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย - สหภาพยุโรป ตามข้อ 3 รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมประกาศหรือออกแถลงการณ์เปิดการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (European Union: EU) ถือเป็นนโยบายสำคัญที่ควรเร่งดำเนินการ เนื่องจากสหภาพยุโรปถือเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ           มีประชากรเกือบ 500 ล้านคน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDP) อยู่ที่ประมาณ 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ประมาณ 38,000 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ไทยและสหภาพยุโรปยังมีมูลค่าการค้าระหว่างกันค่อนข้างสูง โดยสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของไทย ปัจจุบันสินค้าส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากสหภาพยุโรป ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ทั้งนี้ ที่ผ่านมามูลค่การค้าระหว่างไทย ? สหภาพยุโรป ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ยกเว้นในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ปี 2563 และ ปี 2564) และในช่วง 3 ปีล่าสุด (ปี 2563 - ปี 2565) อัตราดุลการค้าของไทยและสหภาพยุโรปก็ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไทยเป็นฝ่ายที่ได้ดุลการค้าอย่างมีนัยสำคัญ
                    2. ปัจจุบันไทยมีความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับ 18 ประเทศ2 รวม 14 ฉบับ โดย FTA ฉบับล่าสุด คือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)3 มีผลใช้บังคับเมื่อปี 2565 ส่งผลให้ไทยมีมูลค่าการค้ากับ 18 ประเทศที่มี FTA            ด้วย ครอบคลุมร้อยละ 60.9 ของการค้าไทยกับโลก นอกจากนี้ ไทยยังมีแผนที่จะจัดทำ FTA กับคู่ค้าสำคัญอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มโอกาสการค้าและการลงทุนของไทย ซึ่งสหภาพยุโรป (European Union: EU) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ เป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพและได้แสดงความสนใจที่จะจัดทำ FTA กับไทย โดยมีการหารือถึงความเป็นไปได้ใน FTA ร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2562 คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศ (Foreign Affairs Council: FAC) ได้มีข้อมติให้เพิ่มพูนความสัมพันธ์กับไทย รวมทั้งให้มีพัฒาการในการดำเนินการเพื่อฟื้นการเจรจา FTA กับไทยซึ่งหยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 2557
                    2. พณ. (โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) ได้มอบสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (Institute of Future Studies for Development: IFD) ศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำ FTA ไทย - สหภาพยุโรป ซึ่งผลการศึกษามีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ผลการวิเคราะห์แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ บนสมมติฐานการลดภาษีศุลกากรทุกสินค้าทั้งของไทยและสหภาพยุโรปพบว่า การจัดทำ FTA ไทย - สหภาพยุโรป จะทำให้ GDP ของไทย ขยายตัวร้อยละ 1.28 ต่อปี สวัสดิการสังคมของไทยเพิ่มขึ้น 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.81 รวมทั้งทำให้การกระจายรายได้ในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น
                              2.2 ประโยชน์และผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับจาก FTA
ประโยชน์          ผลกระทบ
- ช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันและส่วนแบ่งตลาดสินค้าของไทยในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
- เสริมสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมและบริการของไทยที่เหมาะสม ช่วยปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการของไทยไปสู่การผลิตและบริการใหม่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งจะช่วยดึงดูดการลงทุนเพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในอาเซียน          - อาจส่งผลต่อโครงสร้างการผลิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปทำให้ธุรกิจที่แข่งขันไม่ได้ต้องปรับตัวโดยเปลี่ยนไปผลิต
สินค้าหรือบริการอื่นทดแทน

- ช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น          - แรงงานบางส่วนต้องเปลี่ยนงานไปทำในสาขาอื่นหากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต
- เป็นโอกาสของไทยในการยกระดับมาตรฐานและกฎระเบียบในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันทางการค้า และการค้า และการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นและจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในภาพรวม          - ไทยอาจต้องเผชิญกับมาตรฐานกฎระเบียบในเรื่องต่าง ๆ เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงาน ซึ่งทำให้ภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานกฎระเบียบที่เป็นสากลมากขึ้น ซึ่งควรต้องมีระยะเวลาปรับตัวที่เหมาะสม การเตรียมความพร้อม และมาตรการช่วยเหลือเยียวยา

                    2.3 สินค้า บริการ และการลงทุนที่คาดว่าไทยจะส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นจากการจัดทำ FTA ไทย-สหภาพยุโรป
สินค้า บริการ และการลงทุน ที่จะส่งออกเพิ่มขึ้น          สินค้า บริการ และการลงทุนที่จะนำเข้ามาเพิ่มขึ้น
สินค้า: ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก          สินค้า: เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ขนส่ง และผลิตภัณฑ์จากนม
บริการและการลงทุน: อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมค้าส่งและค่าปลีก และอุตสาหกรรมผลิตอาหาร          บริการและการลงทุน: บริการการเงินและประกันภัย โทรคมนาคม บริการด้านสิ่งแวดล้อม บริการด้านวิชาชีพ การจัดส่งสินค้า และการขนส่งทางทะเล

                    3. การจัดทำร่างกรอบการเจรจา FTA ไทย ? สหภาพยุโรป พณ. ได้ถามความเห็นและได้เชิญภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตร ภาคประชาสังคม และผู้แทนคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ประชุมหารือหลายครั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงเดือนมกราคม 2566 เพื่อจัดทำร่างกรอบการเจรจาฯ โดยใช้หลักการเดียวกับการยกร่างกรอบการเจรจา FTA ไทย - สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติห็นชอบไว้ (7 มิถุนายน 2565) และใช้หลักการเดียวกับกรอบเจรจา FTA อาเซียน - แคนาดา ที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติเห็นชอบไว้ (9 มิถุนายน 2564) ในการจัดทำร่างกรอบการเจรจาฯ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองการลงทุน รัฐวิสาหกิจ และความโปร่งใส ทั้งนี้ ร่างกรอบการเจรจาฯ มีเนื้อหาครอบคลุม 20 หัวข้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมสูงสุดกับประเทศ โดยคำนึงถึงความพร้อมระดับการพัฒนา และภูมิคุ้มกันของประเทศ ตลอดจนการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนา (Sustainable Development Goals : SDG) เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนและเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยมีสาระสำคัญ เช่น การลดอุปสรรคและการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การรักษาสิทธิของรัฐในการใช้มาตรการหรือใช้เวลาปรับตัวที่เหมาะสมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ความร่วมมือด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น

1ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปรวม 27 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย ไซปรัส เช็กเดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวะเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และโครเอเชีย
2ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ และจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เปรู ชิลี และฮ่องกง
(ส่วนใหญ่เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ไทยเข้าร่วมในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน มีเพียง ญี่ปุ่น ชิลี เปรูออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์          ที่ไทยได้จัดทำความตกลงการค้าเสรีในรูปแบบทวิภาคี)
3ประเทศสมาชิก RCEP รวม 15 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน
ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

27. เรื่อง ขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลการต่อต้านการทำการประมงผิดกฎหมาย ระหว่างกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และกรมประมง กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลการต่อต้านการทำการประมงผิดกฎหมายระหว่างกรมประมง กษ. แห่งราชอาณาจักรไทย และกรมประมง กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                    2. อนุมัติในหลักการว่า ก่อนที่จะมีการลงนาม หากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจในประเด็นที่ไม่ใช่หลักการสำคัญ ให้ กษ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                    3. อนุมัติให้อธิบดีกรมประมงหรือผู้ที่อธิบดีกรมประมงมอบหมายเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
                    4. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ (ตามข้อ 3)
[สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) ประสงค์ให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างการประชุมคณะทำงานร่วมกลุ่มย่อยด้านการประมงระหว่างไทยและเวียดนาม ครั้งที่ 7 ซึ่งเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในช่วงต้นปี 2566 ซึ่งคาดว่าประมาณดือนมีนาคม 2566)]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลการต่อต้านการทำการประมงผิดกฎหมาย ระหว่างกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และกรมประมง กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (อธิบดีกรมประมงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในช่วงเดือนมีนาคม 2566) โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำการประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะข้อมูลเรือประมงรุกล้ำน่านน้ำ ข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับและใบรับรองการจับสัตว์น้ำเพื่อไม่ให้มีสินค้าประมงจากการทำการประมงผิดกฎหมายเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิต และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการต่อต้านการทำการประมงผิดกฎหมาย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นระยะเวลา 5 ปี และอาจต่ออายุได้อีก 5 ปี ตามที่คู่ภาคียอมรับร่วมกันล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนวันที่บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะสิ้นสุด ทั้งนี้หากมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ แต่ละฝ่ายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และไม่ถือเป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
                    ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมประมงจัดทำความตกลง/บันทึกความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวกับการส่งเสริม การป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมร่วมกับประเทศต่าง ๆ และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐฟิจิ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สาธารณรัฐเกาหลี สหภาพเมียนมา ประเทศญี่ปุ่น และราชอาณาจักรกัมพูชา รวมทั้งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 (เรื่อง สรุปผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) และข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ที่ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการดำเนินการเพื่อขยายความร่วมมือด้านการทำประมงกับประเทศต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอมาในครั้งนี้นั้น จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยในการมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกี่ยวกับการป้องกันและขจัดการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งเสริมสร้างบทบาทที่เข้มแข็งขององค์กรของไทยในการจัดการประมงในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค

28. เรื่อง  ร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง (ร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สกพอ. สามารถพิจารณาดำเนินการภายใต้หลักการดังกล่าวข้างต้นโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวของฝ่ายไทย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 ตุลาคม 2562) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่าง สกพอ. กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง (บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจฯ) และนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ของฝ่ายไทย โดยบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจฯ ดังกล่าว เกิดจากการพบปะหารือกันระหว่าง สกพอ. กับนายหลิน จี รองเลขาธิการรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง ในโอกาสเยือนมณฑลกวางตุ้ง ระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤษภาคม 2562 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง สกพอ. กับมณฑลกวางตุ้งในส่วนที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าควรจัดให้มีการทำบันทึกความเข้าใจระหว่าง สกพอ. กับมณฑลกวางตุ้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน ตลอดจนความเชื่อมโยงระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับมณฑลกวางตุ้งและโครงการอ่าวกวางตุ้ง - ฮ่องกง - มาเก๊า (Guangdong - Hong Kong - Macao Greater Bay Area : GBA)
                    2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจฯ มีสาระสำคัญเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับมณฑลกวางตุ้ง และเขตอ่าวกวางตุ้ง - ฮ่องกง ? มาเก๊า ความร่วมมือในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้านการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รวมทั้งด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีระยะเวลาบังคับใช้       3 ปี นับจากวันที่ได้ลงนาม (22 ตุลาคม 2562 - 21 ตุลาคม 2565) เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันที่จะขยายระยะเวลาของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2565 สกพอ. และรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งได้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและดำเนินการตามกรอบบันทึกความเข้าใจดังกล่าว อันเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ดังนี้
อุตสาหกรรมเป้าหมาย          ผลการดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2565
(1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่          ร่วมผลักดันให้บริษัท BYD Auto ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน นำเข้ายานยนต์ไฟฟ้ามายังประเทศไทย และลงทุนโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบยานยนต์แบตเตอรี่ (Electronic Vehicles: EV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (Plug - In Hybrid Electric Vehicle : PHEV ในพื้นที่ EEC โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2567 ด้วยกำลังการผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้า 150,000 คันต่อปี เพื่อส่งออกไปยังอาเซียนและยุโรป
(2) อุตสาหกรรมการแพทย์          มีบริษัทชั้นนำด้านจีโนมิกส์ ของ GBA ได้แก่ บริษัท BGI Genomics ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าร่วมลงทุนและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการแพทย์จีโนมิกส์กับหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษา ภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในการรองรับบริการการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศไทย

                    3. ปัจจุบันบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจฯ ได้สิ้นสุดระยะเวลาบังคับใช้แล้ว รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งจึงประสานกับ สกพอ. ผ่านช่องทางทางการทูต (สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว) เสนอขยายระยะเวลาไปจนกว่าจะมีการประชุมระดับสูงไทย - มณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เพื่อให้ สกพอ. และรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งสามารถดำเนินการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้านการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รวมทั้งด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดพิธีลงนามร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ ผ่านระบบออนไลน์ภายในเดือนธันวาคม 25652 ทั้งนี้ ในการประชุมระดับสูงไทย - มณทลกวางตุ้งดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาร่วมกันจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจฯ ฉบับใหม่ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่มีความสำคัญในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป ซึ่งจะมีการรับรองบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจฯ ฉบับใหม่ในช่วงการประชุมดังกล่าวด้วย
                    ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ (กรมเอเชียตะวันออก) พิจารณาแล้ว ร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของรัฐธรรมนูญของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
1สกพอ. แจ้งว่าการประชุมระดับสูงไทย - มณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2566 คาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ
2สกพอ. แจ้งว่าการลงนามในร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ ผ่านระบบออนไลน์ จะลงนามทันทีหลังจาก
ที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ เนื่องจากเลยระยะเวลา
กำหนดการลงนามภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ แล้ว

29. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย ? ซาอุดีอาระเบีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย ? ซาอุดีอาระเบีย (บันทึกความเข้าใจฯ) และเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวต่อไป โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. คณะผู้แทนประเทศไทยและประเทศซาอุดีอาระเบียได้จัดการประชุมเจรจาร่วมกันเมื่อวันที่          29 สิงหาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร และได้จัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำได้มีมติรับทราบผลการเจรจาดังกล่าวแล้ว ในคราวการประชุมครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูต (เนื้อหาของหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตมีสาระสำคัญเหมือนกับบันทึกความเข้าใจฯ)
                    2. บันทึกความเข้าใจฯ และหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตที่เสนอในครั้งนี้ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
รายการ          สาระสำคัญ
2.1 พิกัดเส้นทางบิน          สายการบินที่กำหนดของแต่ละฝ่ายสามารถทำการบินตามเส้นทาง ดังต่อไปนี้
ไทย จุดใด ๆ ในไทย - จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดต่าง ๆ ในซาอุดีอาระเบีย - จุดพ้นใด ๆ
ซาอุดีอาระเบีย จุดใด ๆ ในซาอุดีอาระเบีย - จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดต่าง ๆ ในไทย - จุดพ้นใด ๆ
2.2 ความจุความถี่
          สายการบินที่กำหนดสายหนึ่งหรือหลายสายของแต่ละฝ่ายสามารถทำการบินด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพ1 ที่ 3 และ 4 โดยไม่จำกัดแบบอากาศยาน ไปยัง/มาจากจุดต่าง ๆ ที่ระบุในพิกัดเส้นทางการบิน ดังนี้
เที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร: ไม่เกิน 42 เที่ยวบิน/สัปดาห์
เที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า: ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวบิน
(สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 จะต้องมีการตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย2)
2.3 การทำการบินเที่ยวบินเช่าเหมาลำ          สายการบินของภาคีทั้งสองฝ่ายต้องขออนุญาตในการทำการบินเที่ยวบินเช่าเหมาลำจากเจ้าหน้าที่การเดินอากาศ และการให้บริการนั้นจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการทำการบินแบบประจำ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของภาคีทั้งสองฝ่าย
2.4 การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน          สายการบินที่กำหนดของแต่ละฝ่ายสามารถทำการบินในเส้นทางที่ตกลงกัน (ตามพิกัดเส้นทางบิน) โดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันในลักษณะ
 (1) ร่วมกันกับสายการบินของภาคีเดียวกัน
 (2) ร่วมกันกับสายการบินระหว่างคู่ภาคี เพื่อ
          (2.1) ทำการบินช่วงเส้นทางบินระหว่างประเทศ (International sector)
          (2.2) ทำการบินช่วงเส้นทางบินภายในประเทศ (Domestic sector) โดยจะต้องเป็นการจราจรต่อเนื่องไปยัง/มาจากบริการระหว่างประเทศของตน3
(3) ร่วมกันกับสายการบินของประเทศที่สาม
ทั้งนี้ การนับหักสิทธิความจุความถี่จะหักจากสิทธิของประเทศที่กำหนดสายการบินผู้ดำเนินบริการเท่านั้น (Operating Airline)
2.5 การใช้อากาศยานเช่า          - สายการบินที่กำหนดของแต่ละฝ่ายอาจเช่าอากาศยาน [หรืออากาศยานพร้อมลูกเรือ (wet lease)] จากบริษัทหรือสายการบินใด ๆ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับ โดยมีเงื่อนไขว่าจะไม่ก่อให้เกิดการแฝงสิทธิของสายการบินผู้ให้เช่าอากาศยาน นอกจากนี้ ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจห้ามการใช้อากาศยานเช่าที่ไม่เป็นไปตามข้อบทเรื่องความปลอดภัยด้านการบิน (aviation safety) และการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน (aviation security) ของบันทึกความเข้าใจฯ ปี 2548
- การอนุมัติการเช่าอากาศยานพร้อมลูกเรือ (wet lease) สำหรับการทำการบินประจำฤดูกาล เจ้าหน้าที่การเดินอากาศจะพิจารณาเป็นรายกรณีไป
2.6 การกำหนดสายการบิน          ทั้งสองฝ่ายยืนยันให้ภาคีแต่ละฝ่ายสามารถแต่งตั้งสายการบินที่กำหนดได้หลายสาย
2.7 เรื่องอื่น ๆ          คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหารือและปรับปรุงความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศในการเจรจาการบินครั้งต่อไป
2.8 การมีผลใช้บังคับ          บันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตและข้อกำหนดในบันทึกความเข้าใจฯ จะแทนที่ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในบันทึกความเข้าใจฯ ปี 2548 ยกเว้นวรรค 2.1 และเอกสารแนบ (ค) และ (ง) ของบันทึกความเข้าใจฯ ปี 2548 โดยระหว่างรอให้บันทึกความเข้าใจฯ มีผลใช้บังคับ เจ้าหน้าที่การเดินอากาศของทั้งสองฝ่ายอาจพิจารณาอำนวยความสะดวกแก่สายการบินในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้

                    3. ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการเจรจาดังกล่าว การปรับปรุงสิทธิการบินระหว่างสองประเทศในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การทำการบินของสายการบินของทั้งสองฝ่ายมีความคล่องตัว เพิ่มความยืดหยุ่นในการวางแผนการตลาดให้การให้บริการของสายการบินเกิดความคุ้มทุนมากขึ้น ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้โดยสารด้วย นอกจากนี้ การปรับปรุงสิทธิการบินตามที่ คค. เสนอในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจการขนส่งสินค้า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การค้าและการบริการระหว่างทั้งสองประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งในระดับรัฐบาลและระดับสายการบินของทั้งสองประเทศต่อไป
1สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพทางการบิน (Freedoms of the Air) หมายถึง สิทธิในการดำเนินบริการเดินอากาศแบบประจำระหว่างประเทศ โดยแต่ละประเภทมีความหมาย ดังนี้ สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 1 อนุญาตให้สายการบินบินผ่านน่านฟ้า สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 2 อนุญาตให้สายการบินแวะจอด เช่น เติมน้ำมันกรณีฉุกเฉิน สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 อนุญาตให้สายการบินขนส่งผู้โดยสารและสินค้าจากประทศของตนไปยังประเทศอื่น สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 4 อนุญาตให้สายการบินขนส่งผู้โดยสารและสินค้าจากประเทศอื่นไปยังประเทศของตน สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 อนุญาตให้สายการบินขนส่งผู้โดยสารและสินค้าจากประเทศคู่ตกลงเพื่อไปยังประเทศที่สามในอาณาเขตของตน
2ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไม่หารือเกี่ยวกับสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ในการเจรจาครั้งนี้
 3เช่น สายการบิน ซาอุดีอาระเบียน แอร์ไลนส์ ทำการบินจากกรุงเจดดาห์ มายังกรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นบริการระหว่างประเทศ) ซาอุดีอาระเบียน แอร์ไลนส์ อาจทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินไทยจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดภูเก็ต (เส้นทางบินภายในประเทศ) ได้

แต่งตั้ง
30. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม และรองโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม และรองโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทุกกระทรวงแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวงอย่างเป็นทางการ แล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ] เนื่องจาก วธ. มีการเปลี่ยนแปลงการมอบหมายการปฏิบัติราชการใหม่ [เดิม วธ. ได้มีคำสั่ง วธ. ที่ 4/2564 ลงวันที่ 5 มกราคม 2564 แต่งตั้ง (1) นายประสพ เรียงเงิน รองปลัด วธ. เป็นโฆษก วธ. และ (2) นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง ผู้ช่วยปลัด วธ. เป็นรองโฆษก วธ.] ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของ วธ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน วธ. จึงแต่งตั้งโฆษกและรองโฆษก วธ. ขึ้นใหม่ ซึ่ง วธ. ได้มีคำสั่ง วธ. ที่ 15/2566 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก วธ. และรองโฆษก วธ. ลงวันที่ 16 มกราคม 2566 ด้วยแล้ว ดังรายนามต่อไปนี้
                     1. นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัด วธ. เป็นโฆษก วธ.
                     2. นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัด วธ. เป็นรองโฆษก วธ.

31. เรื่อง การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอนนางชุติมา หาญเผชิญ                    รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เหมาะสม เพื่อมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท) สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของทางราชการและสำนักนายกรัฐมนตรี โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว

32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง พันตำรวจโท อนุรักษ์ จิรจิตร เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

33. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมชุดใหม่ จำนวน 9 คน ดังนี้
                    1. นายประพันธ์ เทียนวิหาร           ผู้แทนเกษตรกร
                    2. นายเด่นณรงศ์ ธรรมมา            ผู้แทนเกษตรกร
                    3. นายบุญช่วย มหิวรรณ                     ผู้แทนเกษตรกร
                    4. นายสมศักดิ์ ป้องปัญจมิตร           ผู้แทนเกษตรกร
                    5. นายตระกูล สว่างอารมย์           ผู้แทนเกษตรกร
                    6. นายฉลองชาติ ยังปักษี                     ผู้แทนเกษตรกร
                    7. นายปราณพงษ์ ติลภัทร           ผู้ทรงคุณวุฒิ
                    8. นายธนู มีแสงเงิน                      ผู้ทรงคุณวุฒิ
                    9. นางวรรณนภา บุญสุข                     ผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

34. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ดังนี้
                    1. กลุ่มบุคคลที่เป็นผู้แทนจากสถาบันหรืองค์การ 1.1 นายวิจารย์ สิมาฉายา (ผู้แทนสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย) 1.2 รองศาสตราจารย์พนิต ภู่จินดา (ผู้แทนสมาคมนักผังเมืองไทย)
                     2. กลุ่มบุคคลผู้มีคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ 2.1 นายวีระพงษ์ บุญญานุสนธิ์ (ด้านกฎหมายและการจัดรูปที่ดิน) 2.2 รองศาสตราจารย์ชโยดม สรรพศรี (ด้านการวางแผนภาคและเมือง การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง และการจัดรูปที่ดิน)
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอแต่งตั้ง นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แทน นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

36. เรื่อง ผลการสรรหากรรมการในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จำนวน 4 คน ตามที่คณะกรรมการสรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า  ได้คัดเลือกแล้ว ก่อนเสนอให้นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้แก่
                    1. นายไมตรี สุเทพากุล
                     2. นายสมชาติ สร้อยทอง
                    3. พันตำรวจเอก ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล
                    4. นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ

37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และเพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนในคราวเดียวกัน รวมจำนวน 2 ราย ดังนี้
                    1. แต่งตั้ง นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                     2. แต่งตั้ง นางอภิญญา ชมภูมาศ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

38. เรื่อง  การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลและคณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูล และคณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ฯ ดังนี้
                    1. คณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูล
                    องค์ประกอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็น ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  อธิบดีกรมการปกครอง  อธิบดีกรมที่ดิน  อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อธิบดีกรมสรรพากร  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ  เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ   เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล  ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย  ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  นายพีรพล เวทีกูล  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายชโยดม สรรพศรี  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์                  นางเมธินี เทพมณี  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์  นายกุลเชษฐ์ มงคล  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารธุรกิจ และนายฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ  ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ   สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                    หน้าที่และอำนาจ
                    1) จัดทำ เสนอแนะ และติดตามการดำเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติตามมาตรา 6            (1) แห่งพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 และนโยบายและแผนระดับชาติอื่น                     ที่คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนด
                    2) รวบรวมข้อมูลและจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งแนวทางและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่คณะกรรมการเฉพาะด้านนั้นรับผิดชอบ และเสนอต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อประกอบการจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                    3) เสนอแนะต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ข้อมูลด้านต่างๆ  ที่จำเป็นต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเสนอมาตรการในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนดังกล่าวและประเด็น              อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบประกาศเป็นนโยบายและแผนเฉพาะด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลต่อไป
                    4) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายและแผนเฉพาะด้านในความรับผิดชอบแล้วรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    5) กำกับดูแลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและแผนงานเฉพาะด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลของหน่วยงานของรัฐและการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลตามหมวด 5 ภายในขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการเฉพาะด้าน
                    6) เชิญหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือคำแนะนำ ตลอดจนส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการคำเนินงานได้
                    7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการเฉพาะด้านมอบหมาย
                    8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย หรือตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเฉพาะด้าน
                    2. คณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล
                    องค์ประกอบ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ผู้แทนแพทยสภา ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ผู้แทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล  และผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมีผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer) ประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและเลขานุการ  ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการกองโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล  สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                    หน้าที่และอำนาจ
                    1) จัดทำนโยบายแผนงาน แนวทาง และมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาด้านสุขภาพดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อประกอบการจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                    2) เสนอแนะต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนด้านสุขภาพดิจิทัล รวมทั้งเสนอมาตรการในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนด้านสุขภาพดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานในการบูรณาการและการประมวลผลข้อมูลสุขภาพ
                    3) ติดตาม กำกับดูแล และประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการสุขภาพดิจิทัลของหน่วยงานในระบบสุขภาพ
                    4) เชิญหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือคำแนะนำ ตลอดจนส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการดำเนินงานได้
                    5) แต่งตั้งที่ปรึกษาจำนวนไม่เกิน 4 คน เพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล
                    6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการเฉพาะด้านมอบหมาย
                    7) ปฎิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย หรือตามที่มีกฎหมายกำหนด
                    ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ