สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 มีนาคม 2566

ข่าวการเมือง Wednesday March 8, 2023 09:41 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (7 มีนาคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำนักท้อน และ                                                  ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ                                         บางส่วนในท้องที่ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้                                        ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน                                                  เคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร                                         (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินอุดหนุนตาม                                                  มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์)
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่                                                  ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. .... (เพื่อ                                        กำกับดูแลธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลิสซิ่งรถยนต์และ                                                            รถจักรยานยนต์)
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎหมายขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนัก                                        ลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package) รวม 3 ฉบับ [ร่างพระราชกฤษฎีกา                                                  ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                                         (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบอัตโนมัติ) ร่างพระราชกฤษฎีกาออก                                        ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                                                   (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูง) และร่างพระราช                                                  กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)                                         พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง)
                    8.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร                                         (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเงิน                                        ให้แก่กองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม)
                    9.           เรื่อง           การจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขัน                                        และการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงาน                                                  เร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่                                         (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....]
                    10.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร                                         (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการกีฬา)
                    11.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร                                         (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้                                        พ้นโทษ)
                    12.           เรื่อง           ร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ                                         ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์                                         พ.ศ. ....
                    13.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ ..)                                         พ.ศ. ....
                    14.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบ                                                  ธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ....
                    15.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการกักตุนโภค                                                  ภัณฑ์ พ.ศ. 2563 พ.ศ. ....
                    16.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีจากโทเคนดิจิทัลเพื่อ                                                  การลงการลงทุน (Investment Token)]

เศรษฐกิจ-สังคม
                    17.           เรื่อง           การขยายอายุมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (ระยะเวลา 1 ปี)
                    18.           เรื่อง           การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาล                                                  ทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565
                    19.           เรื่อง           ขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ เพื่อจัดตั้งวัดอนาลโยทิพยา                                        ราม จังหวัดพะเยา
                    20.           เรื่อง           ขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ เพื่อจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก                                         (ที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) จังหวัดเลย
                    21.           เรื่อง           ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่านชายเลน กรณีแผนงานโครงการ                                        วางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำประปา จำนวน 3 โครงการ
                    22.           เรื่อง           ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534                                         วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชาย                                                  เลนสำหรับการดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองสวีเฒ่า                                                   บนเส้นทางสายปากแพรก-วิสัยใต้ พร้อมถนนผิวจราจรหินคลุก หมู่ที่ 1 ตำบลปาก                                        แพรกเชื่อม ตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
                    23.           เรื่อง           การกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการของสำนักงานธนานุเคราะห์ ประจำปีงบประมาณ 2566                                         จำนวน 300,000,000.00 บาท (สามร้อยล้านบาท)
                    24.           เรื่อง           การปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์สำหรับการตรวจลงตรา                                                  ประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการ                                                  ลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term                                                   Resident Visa : LTR Visa)
                    25.           เรื่อง           การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน                                         กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงวัฒนธรรม
                    26.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดี                                        เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565
                    27.           เรื่อง           โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มี                                        ภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดน                                        ภาคใต้ ระยะที่ 4)
                    28.           เรื่อง           ขอเพิ่มค่าป่วยการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการตั้งคำขอ                                        งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    29.           เรื่อง           หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วย                                                  ฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus                                         Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 3)
                    30.           เรื่อง           ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำ                                                  เหมืองแร่และเพื่อประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมือง ตั้งอาคาร                                                  สำนักงาน อู่ซ่อม โรงงานโม่และย่อยหิน โรงงานคอนกรีต พื้นที่ทำการขึ้น - ลง                                                   เพื่อทำเหมืองตามแผนผังโครงการทำเหมือง ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงรายธนะวงศ์                                         ที่จังหวัดเชียงราย
                    31.           เรื่อง           การให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย                                                  หมายเลข G1/65 G2/65 และ G3/65
                    32.           เรื่อง           การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นของธนาคารอาคาร                                        สงเคราะห์
                    33.           เรื่อง           ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 [เรื่อง ผลการดำเนินการ                                        ตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่อง                                         แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน] เกี่ยวกับกรอบ                                        เวลาในการทบทวนความจำเป็นในการคงอยู่หรือยุบเลิกองค์การมหาชน
                    34.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
                    35.           เรื่อง           โครงการสลากการกุศลเพิ่มเติม
                    36.           เรื่อง           มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบ                                        จากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น
                    37.           เรื่อง           ผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ                                         2565 นโยบายของคณะกรรมการ และโครงการและแผนงานของการรถไฟฟ้า                                                  ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในอนาคต
                    38.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                    39.           เรื่อง           รายงานผลการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานการประชุมระหว่าง                                                  นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่น                                                   รัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    40.           เรื่อง          (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570)
                    41.           เรื่อง            ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็น                                                  ค่าใช้จ่ายโครงการฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง (โครงการหนองขวัญ)
                    42.           เรื่อง           (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566-2569)
                    43.           เรื่อง             ขอขยายเวลาดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง                                                   รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โครงการพาณิชย์...ลดราคา!                                                   ช่วยประชาชน ปี 2565 และโครงการพาณิชย์...ลดราคา!  ออนทัวร์ ทั่วไทย
                    44.           เรื่อง           ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบ                                                  กลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ                                        ควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ของ                                        กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ                                                  นวัตกรรม
                    45.            เรื่อง            ขออนุมัติหลักการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวรักษ์โลก                                         BCG Model เพื่อขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน                                        หรือจำเป็น พ.ศ. 2566
                    46.           เรื่อง            การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบ                                                  กลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง                                         ซ่อมแซมถนน แหล่งกักเก็บน้ำหรือสิ่งสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ที่อยู่ในความ                                                  รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัย

ต่างประเทศ
                    47.           เรื่อง           การลงนามข้อตกลงรับทุนสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกภายใต้โครงการ                                                  การผลักดันการประยุกต์ใช้และการจัดการตลอดวงจรของการพัฒนายานยนต์                                                  ไฟฟ้าในประเทศไทย
                    48.            เรื่อง           มาตรการรองรับการเสียภาษีขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ขององค์การเพื่อ                                                  ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
                    49.           เรื่อง           ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการ                                        ยอมรับแลสเซ-ปาสเซที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์
                    50.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างคำมั่นโดยสมัครใจ (Voluntary Commitment) ใน                                        การประชุมทบทวนการดำเนินการด้านน้ำในห้วงแรกของทศวรรษระหว่างประเทศ                                        แห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018 - 2023 (Midterm                                         Comprehensive Review of the Implementation of the Objectives of                                         the International Decade for Action ?Water for Sustainable                                                             Development?: United Nations 2023 Water Conference)
                    51.           เรื่อง           โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติ                                                  แหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ                                                   ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    52.           เรื่อง           การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร                                                   และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    53.           เรื่อง           ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป (อียู) สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022
                    54.           เรื่อง           ผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22
                    55.            เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินเดีย ครั้งที่ 9
                    56.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาทางการเมืองโดฮาของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยประเทศ                                                  พัฒนาน้อยที่สุด ครั้งที่ 5

แต่งตั้ง
                    57.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    58.           เรื่อง           การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน                                                  พลังงาน (ครั้งที่ 1) (กระทรวงพลังงาน)
                    59.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา                                                  ศาสตร์
                    60.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความ                                        ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                    61.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
                    62.           เรื่อง          การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
                    63.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัช                                                  กรรม แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
                    64.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงพาณิชย์)
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำนักท้อน และตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำนักท้อน และตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอว่า
                    1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 มิถุนายน 2565) อนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ของกรมทางหลวง ตามที่ คค. เสนอในข้อ 2 นั้น กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 กรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง  ทางแยกเข้าพัทยา และทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) และทางเข้าท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาในท้องที่ตำบลสำนักท้อน และตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
                    2. ลักษณะโครงการเป็นการสร้างทางหลวงในท้องที่ตำบลสำนักท้อน และตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง มีจุดเริ่มต้น ที่ กม.0+000.000 - กม.1+920.000 รวมระยะทาง 1.920 กิโลเมตร วงเงินการก่อสร้าง 4,400,000,000 บาท มีปริมาณทรัพย์สินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ประกอบด้วย ที่ดินประมาณ 20 แปลง สิ่งปลูกสร้าง           3 ราย พืชผลต้นไม้ 20 ราย รวมค่าทดแทนในการเวนคืน รวมเป็นเงินประมาณ 107,700,000 บาท
                    3. เหตุผลและความจำเป็นของการดำเนินการและการวิเคราะห์ความคุ้มค่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่สำคัญของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะช่วยเติมเต็มโครงข่ายคมนาคมให้สมบูรณ์ เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปสู่ภาคตะวันออกได้อย่างสะดวกทั้งทางน้ำ ทางบก ทางราง และทางอากาศ เกิดการเชื่อมต่อระบบขนส่งอย่างไร้รอยต่อ สามารถรองรับการไหลเวียนของการจราจรที่เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเสริมการให้บริการของโครงการสนามบินอู่ตะเภาเพื่อยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 รวมถึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเมืองการบินตะวันออก อันจะทำให้การพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออกกลายเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจที่สำคัญของไทย ตลอดจนเป็นแรงผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบิน และประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการดำเนินการโครงการดังกล่าว รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัดในพื้นที่ดังกล่าว
                    4. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งประชาชนเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวร้อยละ 82.76
                    5. สงป. แจ้งว่า จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กรมทางหลวงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว
                    6. คค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินเพื่อกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำนักท้อน และตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ประกอบด้วยชื่อโครงการ รายละเอียดโครงการ แผนบริหารโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ
                    7. คค. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มิถุนายน 2565) [เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย] โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาแล้วพบว่า แนวเขตการปกครองและชื่อหมู่บ้านที่ปรากฏในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้สอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 และแนวเขตที่ดินที่ปรากฏในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำนักท้อน และตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำนักท้อน และตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 กรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ทางแยกเข้าพัทยาและทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) และทางเข้าท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ บางส่วนในท้องที่ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ บางส่วนในท้องที่ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า การขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ        เพื่อก่อสร้างวัดบ้านห้วยน้ำผัก (สำนักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก และตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2537 ทำให้พื้นที่ตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก (สำนักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) บางส่วน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ 3 งาน 46 ตารางวา ซึ่งไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การขออนุญาตสร้างวัดได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติบางส่วนดังกล่าว โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เกี่ยวกับการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย บางส่วน ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการกำหนดพื้นที่การขยาย การเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ                 พ.ศ. 2564 โดยรับฟังความเห็น ดังนี้ (1) ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืชทางเว็บไซต์ http://portal.dnp.go.th/content/nationalpark ระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2565 ร่วมแสดงความคิดเห็น จำนวน 586 คน เห็นด้วย จำนวน 560 คน ไม่เห็นด้วยจำนวน 10 คน และมีความเห็นไม่สอดคล้องกับเหตุผล จำนวน 9 คน (2) จัดให้มีการรับฟังความเห็น ณ ศาลาประชาคมบ้านห้วยน้ำผัก (โรงเรียนบ้านห้วยน้ำผักเดิม) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น 91 คน ปรากฏว่าส่วนมากเห็นชอบ/เห็นด้วยกับการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย บางส่วน จำนวนเนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ 3 งาน 46 ตารางวา                 เพื่อจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก (ที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) สำหรับแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ได้ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองท้องที่แล้วตามมติคณะรัฐมนตรี             (22 มีนาคม 2565) เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย และแก้ไขชื่อผู้มีอำนาจลงนามในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาให้เป็นปัจจุบันแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดให้เพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ บางส่วนในท้องที่ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก และตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2537

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
                    1. กฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. 2548 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว ได้กำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข รวมทั้งผู้มีอำนาจในการออกบัตรประจำตัวดังกล่าวโดยที่เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกเมืองพัทยา ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้แก่ ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2562 ได้แก่ (1) ข้าราชการและพนักงานราชการในสังกัดกรมอนามัย กรมควบคุมโรค และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในราชการบริหารส่วนภูมิภาค และ (2) ข้าราชการในสังกัดราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ สังกัดกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งข้อมูลเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขดังกล่าวมีเป็นจำนวนมากและยังขาดฐานข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำให้เกิดช่องว่างในการบริหารจัดการ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. 2548 จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. .... เพื่อกำหนดรูปแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการออกบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็วในการออกบัตรให้แก่เจ้าพนักงานและกำหนดผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
                    2. ในคราวประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข ครั้งที่ 136 - 1/2565 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565      ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1 แล้ว
                    3. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของกองกฎหมาย      กรมอนามัย ระหว่างวันที่ 10 - 28 กุมภาพันธ์ 2565 และได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่      กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมควบคุมโรค สาธารณสุขจังหวัด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น จำนวน 293 ราย เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ จำนวน 275 ราย และไม่เห็นด้วยในบางประเด็น จำนวน 18 ราย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ร่างกฎกระทรวงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
                    1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข     และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. 2548
                    2. กำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขและผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และให้บัตรประจำตัวเจ้าพนักงานดังกล่าวมีอายุ 6 ปีนับตั้งแต่วันออกบัตร และให้ใช้ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่ตนมีอำนาจและหน้าที่ และให้สามารถแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
                    3. กำหนดผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข มีดังนี้
                        (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สำหรับเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ผู้ดำรงตำแหน่งส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
                        (2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการนั้น สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุขซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการและพนักงานราชการในสังกัด และหน่วยงานของส่วนราชการซึ่งเป็นราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในจังหวัด
                        (3) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเมืองพัทยา และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้าราชการ พนักงานราชการในหน่วยงานของส่วนราชการ ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค
                        (4) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                        (5) นายกเทศมนตรี เจ้าพนักงานสาธารณสุขสำหรับพนักงานเทศบาลในเขตเทศบาล และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับพนักงานเทศบาลในเขตเทศบาล
                        (6) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าพนักงานสาธารณสุขสำหรับพนักงานส่วนตำบลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับพนักงานส่วนตำบลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
                        (7) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานสาธารณสุขสำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครในเขตกรุงเทพมหานคร และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครในเขตกรุงเทพมหานคร
                        (8) นายกเมืองพัทยา เจ้าพนักงานสาธารณสุขสำหรับพนักงานเมืองพัทยาในเขตเมืองพัทยา     และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับพนักงานเมืองพัทยาในเขตเมืองพัทยา
                    4. กำหนดให้การออกบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานตามกฎกระทรวงนี้ดำเนินการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมอนามัยจัดทำขึ้น ดังนี้
                        (1) ให้ผู้ขอมีบัตรกรอกแบบคำขอในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำบัตรดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง และดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวตามคู่มือการจัดทำบัตรที่กรมอนามัยจัดทำขึ้น
                        (2) ในกรณีจัดทำบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานใหม่เพราะเหตุบัตรหมดอายุ บัตรหาย บัตรถูกทำลาย หรือบัตรชำรุด ให้ผู้ขอมีบัตรดำเนินการกรอกแบบคำขอในระบบ่อิเล็กทรอนิกส์โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำบัตรต้องบันทึกเหตุทำบัตรใหม่พร้อมเอกสารหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และให้เรียกคืนบัตรเดิมเพื่อทำลายต่อไป เว้นแต่กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย
                    5. เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ใดพ้นจากหน้าที่ที่รับผิดชอบ ให้ถือว่าบัตรดังกล่าวหมดอายุและให้คืนบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน หรือในกรณีที่ผู้รับผิดชอบจัดทำบัตรทราบเหตุแห่งการพ้นจากเจ้าพนักงานให้จำหน่ายชื่อจากระบบทันทีที่ทราบเหตุนั้น และเรียกคืนบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานภายใน 30 วัน

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ อก. เสนอว่า
                    1. คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในการประชุมครั้งที่ 703-8/2564 เมื่อวันที่     17 สิงหาคม 2564 เห็นชอบการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.3243-25XX แล้วให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดำเนินการต่อไป
                    2. ต่อมา สมอ. ได้จัดทำประกาศ สมอ. เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน      พ.ศ. .... ลงวันที่ 15 กันยายน 2564 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือ ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง        ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของ สมอ. (www.tisi.go.th) และได้แจ้งไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ทำ ผู้นำเข้า     สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคม สถาบันการศึกษา ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้แสดงความคิดเห็น จำนวน 10 ราย ได้แก่ (1) กรมชลประทาน (2) กรมโยธาธิการและผังเมือง       (3) กรมโรงงานอุตสาหกรรม (4) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (5) กรมทางหลวง (6) กรมอู่ทหารเรือ                              (7) กรุงเทพมหานคร (8) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศไทย (9) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย      (10) การท่าเรือแห่งประเทศไทย และมีผู้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม จำนวน 3 ราย ได้แก่ (1) บริษัท ราชสีมาผลิตเหล็ก จำกัด (2) บริษัท กรุงเทพผลิตเหล็ก จำกัด (3) บริษัท เอ็นเอส สยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด
                    3. คณะอุนกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 1/4 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีได้ประชุมเมื่อวันที่       22 พฤศจิกายน 2564 เพื่อพิจารณาข้อคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน มาตรฐานเลขที่ มอก. 3243-25XX และผ่านการรับรองจากคณะกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 1 ในการประชุมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ได้มีมติให้คงเนื้อหาเดิม และเพิ่มเติมวิธีการทดสอบแรงดึง-ความยืดตามมาตรฐานอ้างอิง JIS Z 2241 และวิธีทดสอบดัดโค้งตามมาตรฐานอ้างอิง JIS Z 2248 โดยไม่ได้เป็นการแก้ไขในสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนดทางด้านวิชาการหรือมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความเสียหายอันอาจเกิดแก่ประชาชนหรือกิจการอุตสาหกรรม หรือเศรษฐกิจของประเทศ
                    4. สมอ. ได้เสนอคณะกรรมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพิจารณาในการประชุมครั้งที่                        710-3/2565 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการวิชาการรายสาขาคณะที่ 1/4 และคณะกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 1 และเห็นชอบให้ สมอ. ดำเนินการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3243-25XX และ อก. โดย สมอ. ได้แจ้งผลการพิจารณาความคิดเห็นให้ผู้แสดงความคิดเห็นทราบแล้ว
                    5. อก. โดย สมอ. ได้จัดทำประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6696 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งประกาศดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 20 กันยายน 2565)
                    6. อก. โดย สมอ. ได้กำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ เป็นไปตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งบัญญัติให้ระบุวันเริ่มใช้บังคับไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                    7. อก. ได้รายงานผลกระทบจากการบังคับใช้ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ดังนี้
                        7.1 ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย
                              ผู้ทำ ผู้นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน
                        7.2 ผลกระทบด้านสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ต้องถูกจำกัด
                              ผู้ทำหรือผู้นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน จะต้องได้รับใบอนุญาตทำหรือนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวตามมาตรา 20 หรือ มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2551 และผู้จำหน่ายจะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐาน
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3243 - 2564 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6696 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565
                    2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (15 กุมภาพันธ์ 2565) เห็นชอบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยให้สิทธิประโยชน์เป็นเงินอุดหนุนแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศที่ผลิตและประกอบรถยนต์ และรถกระบะประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle : BEV) และรถจักรยานยนต์ (BEV) ในปี 2565 ? 2568 ต่อมา กค. ได้ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ลงวันที่ 21 มีนาคม 2565 และประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ดังนี้
                     1. รถยนต์ที่มีราคาขายปลีกไม่เกิน 2 ล้านบาท รัฐจะให้สิทธิประโยชน์เป็นเงินอุดหนุน คันละ 70,000 บาท สำหรับรถยนต์ที่ใช้ขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง แต่ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง และให้เงินอุดหนุน คันละ 150,000 บาท สำหรับรถยนต์ที่ใช้ขนาดแบตเตอรี่ 30 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงขึ้นไป โดยมีเงื่อนไขว่าภายในปี 2567 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องผลิตรถยนต์รุ่นใดก็ได้ เพื่อชดเชยเท่ากับจำนวนรถยนต์แบบแบตเตอรี่ไฟฟ้าซึ่งมีการนำเข้ามาในประเทศแบบสำเร็จรูปทั้งคัน (Completely Built Up : CBU)1
                     2. รถกระบะที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท รัฐจะให้สิทธิประโยชน์เป็นเงินอุดหนุน คันละ 150,000 บาท สำหรับรถยนต์กระบะ BEV ที่ใช้ขนาดแบตเตอรี่ขนาดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ที่ผลิตภายในประเทศ
                    3. รถจักรยานยนต์ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท รัฐจะให้สิทธิประโยชน์เป็นเงินอุดหนุน คันละ 18,000 บาท ทั้งรถที่ผลิตในประเทศแบบ (Completely Knocked Down : CKD)2 และรถแบบ CBU โดยมีเงื่อนไขว่าภายในปี 2567 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องผลิตรถจักรยานยนต์รุ่นใดก็ได้ เพื่อชดเชยเท่ากับจำนวนรถที่นำเข้ามาในประเทศแบบสำเร็จรูปทั้งคัน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ขอรับสิทธิเงินอุดหนุนตามมาตรการดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ เช่น เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรี เป็นผู้นำเข้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ลงวันที่ 21 มีนาคม 2565
                     2. กค. (กรมสรรพากร) จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการกำหนดให้เงินอุดหนุนที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับจากรัฐตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น (การคำนวณกำไรสุทธิตามรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ของประมวลรัษฎากร คือ 12 เดือนตามปีปฏิทิน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทจะกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีของตนเอง แต่จะต้องเป็น 12 เดือนโดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้) โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น (เสียภาษีย้อนหลัง) มาตรการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (BEV) ลดลง ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อยานยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาถูกลง ทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในการลงทุน และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้มีการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (BEV) เพิ่มขึ้นในอนาคต
                     3. กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่า มาตรการนี้ไม่อยู่ในประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ แต่ได้ประมาณการจากการจ่ายเงินอุดหนุนตามมาตรการดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ? 2568 จำนวน 43,000 ล้านบาท คิดเป็นรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะสูญเสียประมาณ 8,600 ล้านบาท แต่จะเป็นการสนับสนุนให้มีความต้องการการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและทำให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะทำให้มีการจ้างงานและการพัฒนาฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้น
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้รับเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด
                     2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                    3. ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. .... (เพื่อกำกับดูแลธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลิสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันกำหนดแนวทางการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
                    3. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดแนวทางในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการกำกับดูแลต่อไป โดยให้ กค. รับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     4. ให้ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการกำหนดให้ธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีซซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจดังกล่าว เพื่อรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจทางการเงินและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 4 หมวด ได้แก่ หมวด 1 การกำกับผู้ประกอบธุรกิจ หมวด 2 การตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจ หมวด 3 การแก้ไขการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ และหมวด 4 บทกำหนดโทษ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

หมวด 1 การกำกับผู้ประกอบธุรกิจ
ผู้ประกอบการ/หน่วยงาน          รายละเอียด
1. ผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์          - ประกาศข้อมูลในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลดและค่าบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น รวมทั้งข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและลูกค้าที่มาติดต่อหรือใช้บริการทราบข้อมูล และให้รายงานต่อ ธปท. ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด
- แจ้งและแสดงวิธีการและรายละเอียดในการคำนวณอัตราค่าบริการรายปี ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ย ส่วนลดและค่าบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นให้ประชาชนและลูกค้าทราบ โดย ธปท. มีอำนาจประกาศกำหนดวิธีการคำนวณอัตราค่าบริการรายปีให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติได้
- จัดทำบัญชีเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนด โดยสถาบันวิชาชีพที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบ และ ธปท. อาจกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งรายงานหรือข้อมูลไม่ว่าในรูปสื่อใด ๆ หรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่ ธปท. กำหนด
2. ธปท.           - ประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้ เช่น การทำนิติกรรมหรือสัญญากับประชาชนผู้บริโภค หรือลูกค้าในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ เนื้อหาสาระ วิธีการคำนวณผลประโยชน์ หรือแบบสัญญา การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ

หมวด 2 การตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจ
หน่วยงาน/เจ้าหน้าที่          รายละเอียด
1. ธปท.           - ธปท. มีอำนาจแต่งตั้งพนักงาน ธปท. หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ตรวจการ เพื่อตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของผู้ประกอบธุรกิจ ตลอดจนลูกหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจนั้น
2. ผู้ตรวจการที่ ธปท. แต่งตั้ง           ผู้ตรวจการมีหน้าที่ ดังนี้
1) สั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของผู้ประกอบธุรกิจ
2) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ
3) ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และ
4) เข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานในสถานที่ประกอบการของลูกหนี้หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ประกอบธุรกิจกระทำความผิดโดยทุจริตในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ให้ผู้ตรวจการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 3 การแก้ไขการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจ กรรมการ หุ้นส่วน ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการได้กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ให้ ธปท. มีหนังสือเตือนไปยังผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ระงับการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม หรือมีคำสั่งห้ามการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนดังกล่าว

หมวด 4 บทกำหนดโทษ
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามร่างพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ ต้องระวางโทษปรับตามที่กำหนด ทั้งนี้ หากมิได้มีการฟ้องต่อศาลภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ ธปท. พบการกระทำผิดหรือภายใน 5 ปี นับแต่วันกระทำผิด เป็นอันขาดอายุความ
ทั้งนี้ ให้ร่างพระราชกฤษฎีกานี้มีผลบังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

7. เรื่อง ร่างกฎหมายขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package) รวม 3 ฉบับ [ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบอัตโนมัติ) ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูง) และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญ
                    ร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 3 ฉบับ ที่ กค. เสนอ ประกอบไปด้วย
                    1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบอัตโนมัติ) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 738) พ.ศ. 2564 โดยขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักร และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรในระบบอัตโนมัติ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม จากเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 [โดยพระราชกฤษฎีกาเดิมได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 แต่ยังมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงทุนในเครื่องจักรดังกล่าวตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติไปแล้ว (ระบบ Automation ที่ลดการใช้แรงงานคนโดยใช้เครื่องจักรในการทำงานแทน) ที่ยังจ่ายเงินไม่แล้วเสร็จภายในปี 2565] เพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนมีการลงทุนในระบบอัตโนมัติในประเทศไทยเพิ่มขึ้น อันเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
                    2. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูง) โดยเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ) สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นเงินเดือนให้แก่การจ้างงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่        31 ธันวาคม 2568 (โดยพระราชกฤษฎีกาเดิมได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจ้างงานบุคลากรที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น อันเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
                    3. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง) โดยเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม หรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้างในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐที่กำหนด [ปัจจุบันมี 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และเมื่อพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลใช้บังคับ กระทรวงการคลังจะออกประกาศกระทรวงการคลังให้คณะกรรมการเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center of Robotics Excellence: CoRE) เป็นหน่วยงานรับรองเพิ่มอีก 1 หน่วยงาน] ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (โดยพระราชกฤษฎีกาเดิมได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้มีทักษะที่สูงขึ้น อันเป็นการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาการประกอบกิจการของเอกชนในประเทศไทย
                    กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่าจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ รวม 3 มาตรการ ประมาณปีละ 803 ล้านบาท รวม 3 ปีภาษีประมาณ 2,409 ล้านบาท

8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเงินให้แก่กองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบ ดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. เห็นชอบตามที่ กค. เสนอมอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเงินให้แก่กองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวมทั้งร่วมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้ เช่น ผลการรับเงินบริจาคของกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จำนวน 4 กองทุน การนำเงินบริจาคที่กองทุนดังกล่าวได้รับไปใช้ประโยชน์ และนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้ กค. เป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และให้ อว. ดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    ร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ กค. เสนอ เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อสนับสนุนการบริจาคเงินให้แก่กองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวม 4 กองทุน ได้แก่ 1) กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา 2) กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข            3) กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 4) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินหรือรายจ่ายที่บริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์       (e-Donation) ของกรมสรรพากรที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568    (รวม 3 ปีภาษี) ซึ่งเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 717) พ.ศ. 2564 ซึ่งสิ้นสุดการใช้บังคับเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
                     กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวจะทำให้สูญเสียรายได้ภาษีเงินได้ประมาณ 10 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 3.33 ล้านบาท) แต่จะเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนบริจาคเงินให้แก่กองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้มีการยกระดับขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันและด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

9. เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....]
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ดังนี้
                    1. เห็นชอบการจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน)
                     2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    3. ให้ อว. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญ
                    1. การจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ เป็นองค์การมหาชน และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ที่ อว. เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน)         โดยแยกหน่วยบริหารและจัดการทุน จำนวน 3 หน่วย ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ให้เป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยมีภารกิจในการเป็นกลไกบริหารและจัดการทุนที่สำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ และสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมและกิจการแห่งอนาคต การพัฒนาพื้นที่ และการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน รวมถึงการระดมทุนจากบุคคลทั่วไปหรือหน่วยงานอื่นเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม และการนำผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคม
                    2. อว. ได้ดำเนินการขอจัดตั้งองค์การมหาชนดังกล่าวต่อสำนักงาน ก.พ.ร. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 (เรื่อง ขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน) และคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งเห็นชอบกรอบอัตรากำลังจำนวน 113 อัตรา และให้คงอัตรากำลังดังกล่าวจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบหรือไม่ขัดข้องในหลักการ

10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการกีฬา)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ
                     1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. เห็นชอบตามที่ กค. เสนอมอบหมายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการกีฬา ร่วมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้เพื่อการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมทั้งร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยรับบริจาคสำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการกีฬาทุกแห่งใช้ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)                   ของกรมสรรพากร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาคและหน่วยรับบริจาค และให้ กก. ดำเนินการต่อไป
                     สาระสำคัญ
                    1. ร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ กค. เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนการกีฬาให้แก่ 1) การกีฬาแห่งประเทศไทย 2) คณะกรรมการกีฬาจังหวัด 3) สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด 4) สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า ?แห่งประเทศไทย? (เช่น สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬามวยสากลแห่งประเทศไทย และสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย) หรือกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ และ 5) กรมพลศึกษา โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินบริจาค สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์       (e-Donation) ของกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 (รวม 2 ปีภาษี)           โดยมาตรการภาษีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 696) พ.ศ. 2563 ซึ่งได้สิ้นสุดไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ซึ่งจะสอดคล้องกับการขยายระยะเวลาการให้สิทธิหักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายได้       2 เท่าสำหรับการบริจาคอื่น ๆ ที่กำหนดให้มีระยะเวลาถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เช่น การบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา
                     2. กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และคาดว่ามาตรการภาษีดังกล่าวจะมีผลทำให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีลดลงปีละประมาณ 1 ล้านบาท (รวม 2 ปีภาษี ประมาณ 2 ล้านบาท) แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยรับบริจาคเพื่อสนับสนุนการกีฬา จะได้รับบริจาคจากภาคเอกชนตามมาตรการภาษีดังกล่าวปีละประมาณ 8 ล้านบาทเศษ          (ในปี 2565) ซึ่งมาตรการนี้ภาคเอกชนและภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมสนับสนุนการกีฬาของประเทศอย่างต่อเนื่อง และเป็นการช่วยลดภาระงบประมาณของภาครัฐในด้านการกีฬาได้อีกทางหนึ่ง

11. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. เห็นชอบตามที่ กค. เสนอมอบหมายกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษ รวมทั้งร่วมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้และนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่ กค. เป็นรายปี เพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และให้ ยธ. ดำเนินการต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ กค. เสนอ เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างงานผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวเข้าทำงาน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 4 ปี (4 ปีภาษี) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (มาตรการเดิมได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564) ทั้งนี้        เพื่อเป็นการส่งเสริมและจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษเข้าทำงานอย่างต่อเนื่อง
                     กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้ตามมาตรรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่ามาตรการภาษีดังกล่าวจะมีการจ้างงานผู้พ้นโทษ 39,000 คน และทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 705 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 176.25 ล้านบาท) แต่จะทำให้ผู้พ้นโทษมีงานทำภายหลังได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ ช่วยให้ผู้พ้นโทษที่กระทำความผิดซ้ำมีจำนวนลดลง และผู้พ้นโทษมีรายได้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. กำหนดบทนิยามคำว่า ?ผู้พ้นโทษ? หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำเนื่องจากครบกำหนดโทษตามหมายศาล ลดวันต้องโทษจำคุกหรือพักการลงโทษ
                    2. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรับผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวเข้าทำงาน สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษเฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2565 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (รวม 4 ปีภาษี)
                    3. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เนื่องจากรายจ่ายในการจ้างงานบุคคลดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาอื่นที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรอีก ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
                    4. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้ หากต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้สิทธิสิ้นสุดลงและต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิไปแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น

12. เรื่อง ร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์        วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการร่วมลงทุนในโครงการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สรุปได้ดังนี้
                    1. กำหนดให้ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ (1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2) หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัยและนวัตกรรมตามที่สภานโยบายฯ กำหนด และ (3) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายฯ กำหนด
                    2. กำหนดให้การร่วมลงทุนซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม หรือเชิงสาธารณประโยชน์ หรือเพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน หรือเพื่อสร้างให้เกิดธุรกิจฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่ และต้องคำนึงถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการร่วมลงทุน รวมถึงมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในการจัดทำและดำเนินโครงการ
                    3. กำหนดรูปแบบการร่วมลงทุนในโครงการการร่วมลงทุน ดังนี้
                              (1) ร่วมลงทุนกับเอกชนจัดตั้งบริษัทร่วมทุน
                              (2) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน
                               (3) รูปแบบอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานเจ้าของโครงการ
                    4. กำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนให้ดำเนินการร่วมลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้
                    5. กำหนดวิธีการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุน ดังนี้
                              (1) คัดเลือกจากเอกชนอย่างน้อยสามรายที่เข้ายื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม และเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความพร้อม และความสามารถในการเข้าร่วมลงทุนเหมาะสมตามเกณฑ์ที่หน่วยงานเจ้าของโครงการตั้งไว้
                              (2) ใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเชิญชวน
เฉพาะเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนดรายใดรายหนึ่ง
ให้เข้ายื่นข้อเสนอ
                    6. กำหนดให้การพิจารณาอนุมัติโครงการร่วมลงทุนของหน่วยงานเจ้าของโครงการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติพิจารณาความสอดคล้องของนโยบายการร่วมลงทุน ข้อเสนอและเงื่อนไขการร่วมลงทุนและความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แผนธุรกิจ และแผนการจัดการความเสี่ยง รวมถึงความพร้อมของผู้ร่วมทุนและประสบการณ์ของผู้บริหาร และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการออกระเบียบเพิ่มเติมในรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานพิจารณาอนุมัติโครงการร่วมลงทุนและการคัดเลือกเอกชน
                    7. กำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชน        โดยร่างสัญญาร่วมลงทุนจะต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดหรือผ่านการตรวจพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และกรณีที่คู่สัญญาหรือบริษัทร่วมทุนทำผิดสัญญา หรือผิดกฎหมาย หรือดำเนินกิจการผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง หรือมีผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกันอย่างต่อเนื่องและไม่มีแนวโน้มว่าจะสามารถทำกำไรได้ในอนาคตให้หน่วยงานเจ้าของโครงการพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือถอนการลงทุน ด้วยกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้

13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญ
                    ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 โดยแก้ไขเพิ่มเติมสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม โดยกำหนดให้สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 8 ห้อง และมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 30 คน ซึ่งให้บริการเพื่อหารายได้เสริม เมื่อได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบให้นายทะเบียนออกหนังสือรับแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 โดยกำหนดให้หนังสือรับแจ้งมีอายุ 5 ปี นับแต่วันแจ้ง เพื่ออนุรักษ์อาคารที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ทรงคุณค่าเฉพาะในแต่ละท้องถิ่นและเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับโรงแรม      โดยเพิ่มเติมให้สามารถนำอาคารที่มีลักษณะเป็นแพ และอาคารที่มีลักษณะพิเศษ เช่น เต็นท์ กระโจม มาประกอบธุรกิจโรงแรมได้ รวมทั้งกำหนดเพิ่มเติมเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้พัก เช่น อาคารสำหรับใช้เป็นโรงแรมที่มีลักษณะเป็นแพต้องจัดให้มีเครื่องลอยน้ำหรือเสื้อชูชีพหรือกรณีเป็นเต็นท์ กระโจม ต้องจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอในห้องพักและบริเวณทางเดิน นอกจากนี้ ห้องพักที่ให้บริการแบบห้องพักรวมโดยคิดค่าบริการเป็นรายคน (Hostel) ต้องจัดให้มีเลขประจำเตียงกำกับไว้ทุกเตียงเป็นเลขอารบิก ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถกำกับดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าพักแต่ละราย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการดังกล่าวสามารถดำเนินการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมได้ อันเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการสถานที่พักโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ภาคธุรกิจขนาดย่อมและขนาดเล็กในเมืองท่องเที่ยวเมืองรองสามารถนำอาคารที่มีรูปแบบพิเศษอื่นมาประกอบธุรกิจโรงแรมได้เพื่อให้ธุรกิจที่พักโรงแรมในประเทศไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน      ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรมได้เห็นชอบด้วยแล้ว

14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญ
                    เรื่องที่กระทรวงมหาดไทยเสนอสืบเนื่องปัจจุบันอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมมีลักษณะของอาคารที่มีความหลากหลายมากขึ้น มีการนำอาคารตามประเภทอื่นมาให้บริการที่พักแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป เช่น การสร้างบังกะโลชั้นเดียวแบ่งเป็นห้อง ตู้คอนเทนเนอร์ แพที่อยู่ตามเขื่อนต่างๆ บ้านต้นไม้ เต็นท์แบบเป่าลม เป็นต้น ซึ่งลักษณะและโครงสร้างของอาคารไม่สอดคล้องกับอาคารที่จะนำมาประกอบธุรกิจโรงแรมตามที่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารกำหนดซึ่งทำให้ไม่สามารถขอรับใบอนุญาตให้ใช้อาคารเป็นโรงแรม เพื่อจะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ เพื่อให้อาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าวสามารถประกอบธุรกิจโรงแรมได้ โดยกำหนดมาตรการเกี่ยวกับลักษณะของโรงแรมและระบบความปลอดภัยสำหรับอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมให้มีความเหมาะสมต่อประเภทและขนาดของโรงแรม เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปสำหรับอาคารที่สร้างใหม่และอาคารประเภทอื่นที่จะนำมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม โดยมีการกำหนดนิยาม ?อาคารลักษณะพิเศษ? ให้มีความชัดเจนโดยหมายความว่าสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้เพื่อใช้เป็นโรงแรมที่มีลักษณะ แบบ รูปทรง สัดส่วนขนาดหรือเนื้อที่แตกต่างจากสภาพอาคารทั่วไป เช่น        แพหรือสิ่งใดๆ ที่นำมาใช้ประกอบหรือสร้างให้เป็นรูปร่างลอยอยู่ในน้ำได้ เต็นท์ โครงสร้างแบบอัดอากาศ (bubble) ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น และกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่จะใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องดำเนินการตามที่กำหนดในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างของโรงแรม ระบบป้องกัน และระงับอัคคีภัย ระบบทางหนีไฟ ลักษณะภายในและภายนอกของอาคาร และการนำอาคารลักษณะพิเศษมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีมาตรฐานของอาคารและความปลอดภัยสำหรับอาคารลักษณะพิเศษที่นำมาประกอบธุรกิจโรงแรมอันจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อันเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการสถานที่พักโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ภาคธุรกิจขนาดย่อมและขนาดเล็กในเมืองท่องเที่ยวเมืองรองสามารถนำอาคารที่ มีรูปแบบพิเศษอื่นมาประกอบธุรกิจโรงแรมได้ เพื่อให้ธุรกิจที่พักโรงแรมในประเทศไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้เห็นชอบด้วยแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ

15. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2563 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2563 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในภาพรวมของโลกและของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น จึงสามารถผ่อนคลายการบังคับใช้บรรดามาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินชีวิตขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหลายให้เข้าสู่ภาวะปกติ โดยหน่วยงานภาครัฐสามารถนำมาตรการทางกฎหมายเข้าแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว อันเป็นกรณีที่สภาพการณ์อันเป็นเหตุผลในการออกพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497 อีกต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

16. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีจากโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงการลงทุน (Investment Token)]
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ และให้ส่งนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังเสนอเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้และมูลค่าของฐานภาษีอันเนื่องมาจากการโอนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่เสนอขายต่อประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบสินทรัพย์ดิจิทัล (ตลาดแรก) และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (ตลาดรอง) ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป เพื่อให้มาตรการภาษีในการออกและเสนอขายโคเคนดิจิทัลต่อประชาชนในตลาดแรก และการขายโทเคนดิจิทัลในตลาดรองมีภาระที่เท่าเทียมกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และการขายหลักทรัพย์ในตลาดรองตามลำดับ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อยู่ระหว่างการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (โดยหากมีการแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วเสร็จจะทำให้โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนมีสถานะเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งจะไม่มีภาระภาษีเงินได้และภาระภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกับการซื้อขายหุ้นในตลาดแรกที่ผู้ออหุ้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและในตลารองที่ผู้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจะทำให้เกิดการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลทั้งในตลาดแรกและตลอดรองเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีเพียง 2 บริษัทผู้ออกโทเคนดิจิทัลเท่านั้น คือ บุพเพสันนิวาสโทเคน (Destiny Token) ที่ระดมทุนไปสร้างภาพยนตร์ และสิริ ฮับ โทเคน (Siri Hub Token) ที่ระดมทุนไปใช้ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
                    กระทรวงการคลังได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2566 ถึงปี 2567 เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลใช้บังคับจะมีการออกและเสนอขายโทเคนเพื่อการลงทุนมูลค่ารวมประมาณ 128,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 25,600 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 8,960 ล้านบาท ดังนั้น จะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ในช่วง 2 ปีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คาดการณ์รวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ประมาณ 35,279.55 ล้านบาท และการขายโทเคนเพื่อการลงทุนในตลาดรองไม่อาจประมาณการการสูญเสียรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากไม่อาจคาดการณ์ปริมาณและมูลค่าการขายโทเคนเพื่อการลงทุนในตลาดรองได้ อย่างไรก็ดีการขายโทเคนเพื่อการลงทุนในตลาดรองส่วนใหญ่เกิดขึ้นในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 744) พ.ศ. 2565 แล้ว แต่อย่างไรก็ตามมาตรการภาษีดังกล่าวจะเป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุนแล้วสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการระดมทุน และลดอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกิจการที่มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศโดยรวม
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์          ? บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต่อประชาชน (ในตลาดแรก)
? บุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้อขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (ในตลาดรอง)
2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี          ? ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้และมูลค่าของฐานภาษีอันเนื่องมาจากการโอนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ออกเสนอขายต่อประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ตลาดแรก) ทั้งนี้ ในกรณีโทเคนดิจิทัลที่ออกเสนอขายต่อประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์สินดิจิทัลใดมีลักษณะของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนและโทเคนดิจิทัลที่มีวัตถุประสงค์อื่นให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีข้างต้นเฉพาะกรณีที่สามารถแยกส่วนของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน และโทเคนดิจิทัลที่มีวัตถุประสงค์อื่นออกจากกันได้เท่านั้น
? ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (ตลาดรอง)
3. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข          ? เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด และในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว ให้สิทธิในการได้รับยกเว้นภาษีสิ้นสุดลงตั้งแต่วันแรกที่ได้ใช้สิทธิไป
4. ระยะเวลาบังคับใช้          ? ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป (ย้อนหลังไปถึงวันที่พระราชกำหนดการประกอบสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับ)


เศรษฐกิจ-สังคม
17. เรื่อง การขยายอายุมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (ระยะเวลา 1 ปี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. ขยายอายุมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการให้สินเชื่อฯ) (วงเงิน 250,000 ล้านบาท) ออกไปอีก 1 ปี (เดิมระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี) เพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจภายใต้ (1) มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู เพื่อให้ความช่วยเหลือและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโครนา 2019 (โรคโควิด 19) แต่ยังประกอบธุรกิจและมีศักยภาพในการแข่งขัน แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูธุรกิจ และ      (2) มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว เพื่อเป็นแหล่งทุนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่มีความพร้อม และต้องการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อรองรับบริบทใหม่และการเปิดประเทศหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
                    2. ไม่ขยายอายุมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (มาตรการรับโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ฯ) (วงเงิน 100,000 ล้านบาท) เนื่องจาก กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันกับสถาบันการเงิน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมเริ่มฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องนำหลักประกันมาเข้าโครงการ
                    3. โอนวงเงินคงเหลือของมาตรการรับโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ฯ (ตามข้อ 2) ภายหลังสิ้นสุดมาตรการ ณ วันที่ 9 เมษายน 2566 มารวมไว้เป็นวงเงินภายใต้มาตรการให้สินเชื่อฯ (ตามข้อ 1) เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ คาดว่าจะมีวงเงินคงเหลือตามมาตรการรับโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ฯ สูงสุดจำนวน 29,000 ล้านบาท ซึ่งหากโอนวงเงินคงเหลือดังกล่าวแล้วจะทำให้มาตรการให้สินเชื่อฯ มีวงเงินคงเหลือรวมทั้งสิ้นประมาณ 61,500 ล้านบาท (จากเดิมที่คาดว่าจะคงเหลือ 32,500 ล้านบาท) หลังจากการต่ออายุมาตรการดังกล่าว ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
มาตรการ          จำนวนเงินคงเหลือ (ณ 9 เม.ย. 66)
(1) มาตรการให้สินเชื่อฯ           32,500
(2) มาตรการรับโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ฯ           29,000
วงเงินคงเหลือทั้งสิ้น (รวม 2 มาตรการ)          61,500


18. เรื่อง การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เป็นรายเขต 9 เขต โดยมีราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราตันอ้อยละ 1,106.40 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. อัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ 66.38 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ 474.17 บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
                    การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เป็นรายเขต 9 เขต ดังนี้
เขตคำนวณราคา          ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย          ผลตอบแทนการผลิตฯ ที่ 10 ซี.ซี.เอส.
(บาทต่อตันอ้อย)
          ที่ 10 ซี.ซี.เอส.
(บาทต่อตันอ้อย)          อัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อย (บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.)
เขต 1          1,153.56          69.21          494.38
เขต 2          1,057.85          63.47          453.36
เขต 3          1,091.39          65.48          467.74
เขต 4          1,057.74          63.46          453.32
เขต 5          1,159.30          69.56          496.84
เขต 6          1,145.69          68.74          491.01
เขต 7          1,114.75          66.89          477.75
เขต 9          1,131.24          67.87          484.82
หมายเหตุ เขต 8 จำนวน 1 โรงงาน ประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลชลบุรีไม่เปิดหีบอ้อย
                    ข้อเสนอในครั้งนี้มีอัตราเฉลี่ยทั่วประเทศเปรียบเทียบกับราคาอ้อยขั้นตันและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 และราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ดังนี้
ราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย          ฤดูการผลิต
ปี 2563/2564          ฤดูการผลิต
ปี 2564/2565
          ขั้นสุดท้าย (เฉลี่ยรายเขต) ตามมติคณะรัฐมนตรี (8 กุมภาพันธ์ 2565)          ขั้นต้น (ทุกเขต)
ตามมติคณะรัฐมนตรี
(8 กุมภาพันธ์ 2565)          ขั้นสุดท้าย
(เฉลี่ยรายเขต) เสนอมาในครั้งนี้
ราคาอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. (บาทต่อตันอ้อย)          รายเขตเฉลี่ย
1,002.20          ทุกเขต
1,070          รายเขตเฉลี่ย
1,106.40
อัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อย (บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.)          รายเขตเฉลี่ย
60.13          ทุกเขต
64.20          รายเขตเฉลี่ย
66.38
ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย (บาทต่อตันอ้อย)          รายเขตเฉลี่ย
429.51          ทุกเขต
458.57          รายเขตเฉลี่ย
474.17
                    ทั้งนี้ ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2564/2565 ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอในครั้งนี้อยู่ในระดับสูงกว่าราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ดังนั้นกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจึงไม่มีภาระที่จะต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ส่วนประเด็นข้อพิพาท เรื่อง น้ำตาลภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ระหว่างประเทศไทยกับบราซิล นั้น กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่าเรื่องนี้ไม่ขัดกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด

19. เรื่อง ขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ เพื่อจัดตั้งวัดอนาลโยทิพยาราม จังหวัดพะเยา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 ไร่ เพื่อจัดตั้งวัดอนาลโยทิพยาราม ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. วัดอนาลโยทิพยาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีขนาดพื้นที่ 15 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ต๊ำและป่าแม่นาเรือ ได้รับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องตั้งวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2530 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา1 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2531 มีสิ่งปลูกสร้าง เช่น อุโบสถ กุฏิพระ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอธรรม ศาลาการปฏิบัติธรรม บ้านพักรับรองผู้มาปฏิบัติธรรม รวมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พุทธศาสนิกขน เช่น ถนนและลานจอดรถ สำหรับค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพื้นที่และก่อสร้างเสนาสนะ2 ได้รับบริจาคจากพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธา โดยวัดอนาลโยทิพยาราม เป็นสถานที่สำคัญเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวจังหวัดพะเยาและพุทธศาสนิกชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวทั่วไป มีการเปิดอบรมปฏิบัติธรรมโดยทางวัดเป็นศูนย์พัฒนาจิตประจำจังหวัดพะเยา และให้ความร่วมมือกับคณะสงฆ์และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในการใช้สถานที่ของวัดเพื่อจัดประชุม อบรม สัมมนาต่าง ๆ ตลอดมา
                    2. พื้นที่วัดอนาลโยทิพยารามเป็นพื้นที่เดิมที่กรมป่าไม้ได้เคยอนุญาตให้นายดวงดี วงศ์ใหญ่ เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ต๊ำและแม่นาเรือ เพื่อประโยชน์ในการสร้างสำนักสงฆ์อนาลโย มีกำหนดระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2529-12 สิงหาคม 2559 โดยปัจจุบันยังไม่ได้มีการต่อการอนุญาตหรืออนุญาตในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ตรวจสอบสภาพป่าและรายงานว่าการได้รับอนุญาตที่ผ่านมาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ระเบียบ หลักเกณฑ์ถูกต้องครบถ้วนรวมทั้งไม่มีการทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ทั้งก่อนและหลังการอนุญาตสิ้นอายุ และได้ดูแลพื้นที่ขออนุญาตและบริเวณใกล้เคียงเป็นอย่างดี ไม่ให้บุคคลใดเข้ามาตัดต้นไม้ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่นี้ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
                    3. วัดอนาลโยทิพยารามตั้งอยู่บนพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จึงต้องขออนุมัติผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
                              3.1 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 (เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง) ที่กำหนดว่า ต่อไปจะไม่อนุมัติให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ อีก ไม่ว่ากรณีใด
                              3.2 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เรื่อง การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลางและลุ่มน้ำป่าสัก และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ (ลุ่มน้ำชายแดน)] ที่เห็นชอบผลการศึกษาวิจัย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำตลอดจนข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ รวมทั้งแผนที่แสดงชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ
ตามมติ กก.วล.
                    4. พศ. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ที่กำหนดว่า ในการเสนอเรื่องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐต่อคณะรัฐมนตรีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ เช่น การใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้ถือเป็นหลักปฏิบัติว่า ส่วนราชการเจ้าของเรื่องต้องขอความเห็นชอบจาก ทส. โดยตรงก่อนและให้นำความเห็นชอบของ ทส. ดังกล่าวเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมกับเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป โดย ทส. พิจารณาแล้วเห็นชอบให้ พศ. ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อสร้างวัดอนาลโยทิพยาราม โดยให้ขออนุมัติผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 3 รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 (เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า) ที่กำหนดว่าในกรณีที่การดำเนินการโครงการใด  1 ของหน่วยงานของรัฐ มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า และจะต้องมีการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ด้วย ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรร/อนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนให้กับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ดำเนินการปลูกป่าตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ กก.วล. กำหนด โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการนั้น ๆ ด้วย ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 โดยให้ยกเว้นโครงการบางประเภทที่ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณค่าปลูกป่าทดแทน ซึ่งรวมถึงโครงการเพื่อสร้างศาสนสถานและสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา
1 วิสุงคามสีมา คือ ที่ดินที่แยกต่างหากจากที่ดินของบ้านเมือง เป็นเขตพื้นที่ที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่สงฆ์เพื่อกระทำสังฆกรรมได้ตามพระธรรมวินัย ซึ่งภายในวิสุงคามสีมานิยมสร้างอุโบสถไว้สำหรับการทำสังฆกรรมของสงฆ์ดังกล่าว วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจึงเป็นวัดที่สมบูรณ์ในพระพุทธศาสนา
2 เสนาสนะ หมายความว่า ที่นอนและที่นั่ง ที่อยู่ (ใช้เฉพาะพระภิกษุ สามเณร)


20. เรื่อง ขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ เพื่อจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก (ที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) จังหวัดเลย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14-3-46 ไร่ เพื่อจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก (ที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. โครงการจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก (ที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีขนาดพื้นที่ 14-3-46 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ และเขตอุทยานแห่งชาติภูสวนทรายโดยมีสิ่งปลูกสร้าง เช่น กุฏิพระ ที่พักสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ศาลาฉัน โรงครัว ห้องน้ำ โรงปั่นไฟ โรงน้ำร้อน โรงเก็บของ โรงรถ โรงเก็บพัสดุ โรงซ่อม และโรงเก็บฟืน รวมพื้นที่ใช้สอยของอาคารโครงการเท่ากับ 505.95 ตารางเมตร ทั้งนี้ โครงการฯ ได้จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พุทธศาสนิกชนที่เข้ามาภายในโครงการฯ เช่น ถนนและลานจอดรถสำหรับค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพื้นที่และก่อสร้างเสนาสนะ* ได้รับบริจาคจากพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธา โดยโครงการฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อความมั่นคงของประเทศในพื้นที่รอยตะเข็บชายแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงที่รัฐบาลได้จัดตั้งหมู่บ้านห้วยน้ำผักเป็นชุมชนคล้ายทหารเพื่อความมั่นคงเมื่อปี 2532 เพื่อเป็นการแสดงอาณาเขตของประเทศให้ชัดเจน และมีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ที่รวมถึงการจัดตั้งวัดและโรงเรียน ซึ่งที่ผ่านมาโครงการฯ ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของราษฎรในพื้นที่เพื่อความมั่นคงและเพื่อความร่มเย็นผาสุกทางจิตใจตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งเป็นสาขาของวัดป่าบ้านตาด (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ตั้งแต่ปี 2536
                    2. ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่อำเภอนาแห้วและกรมการศาสนา) ได้ขออนุญาตเพื่อจัดตั้งวัดตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2536 แต่ในระหว่างการพิจารณา รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก และตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลยให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2537 ทับซ้อนกับพื้นที่โครงการฯ และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 กำหนดให้พื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ทำให้โครงการฯ ไม่สามารถจัดตั้งเป็นวัดได้ถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้โครงการฯ ไม่สามารถทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาให้ถูกต้องตามธรรมวินัย และโดยผลของกฎหมายอุทยานแห่งชาติและพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ทำให้โครงการฯ ไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ได้ จึงได้มีการดำเนินการอนุมัติ อนุญาตในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้
                              2.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ บางส่วนในท้องที่ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ดังกล่าว เนื้อที่ประมาณ 14-3-46 ไร่ เพื่อจัดตั้งที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธรให้เป็นวัด ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)ตรวจพิจารณา แต่ สคก. ไม่สามารถตรวจพิจารณาพระราชกฤษฎีกาและได้ขอยุติการพิจารณาและส่งคืนร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เนื่องจากพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 8 วรรคสามได้บัญญัติให้มีขั้นตอนการดำเนินการแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 กรณีของการกำหนด ขยาย หรือเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ว่าจะต้องมีการรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ทส. จึงได้ดำเนินการรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมในระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2565 เพื่อประกอบการขออนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติอีกครั้ง โดยขณะนี้ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี
                              2.2 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 มีมติเห็นชอบต่อรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก (ที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) ที่จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการขออนุมัติการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จากคณะรัฐมนตรี โดยให้โครงการฯ ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เช่น การติดตั้งป้ายเตือน ?ห้ามติดเครื่องในขณะจอด? และกำหนดให้ขับรถภายในโครงการฯ ไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การปลูกต้นไม้ภายในโครงการและปลูกต้นไม้ประจำถิ่นเพิ่มเติม การจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเกรอะและบ่อดักไขมันเพื่อรองรับน้ำเสียจากโรงครัว และการจัดให้มีถังรองรับมูลฝอย โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบลแสงภารับไปกำจัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เช่น การดูแลความแข็งแรงของภาชนะรองรับมูลฝอยให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ และการดูแลต้นไม้รอบพื้นที่โครงการฯ และบริเวณพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่โครงการฯ ให้มีสภาพดีอยู่เสมอ)
                    3. โครงการจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก (ที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) ตั้งอยู่บนพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จึงต้องขออนุมัติผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
                              3.1 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 (เรื่องขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง) ที่กำหนดว่า ต่อไปจะไม่อนุมัติให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ อีก ไม่ว่ากรณีใด
                              3.2 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เรื่อง การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ (ลุ่มน้ำชายแดน)] ที่เห็นชอบผลการศึกษาวิจัย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำตลอดจนข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ รวมทั้งแผนที่แสดงชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ตามมติ กก.วล.
* เสนาสนะ หมายความว่า ที่นอนและที่นั่ง ที่อยู่ (ใช้เฉพาะพระภิกษุ สามเณร)

21. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่านชายเลน กรณีแผนงานโครงการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำประปา จำนวน 3 โครงการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เพื่อดำเนินการแผนงานโครงการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำประปา (โครงการฯ) จำนวน 3 โครงการ ในพื้นที่ป่าชายเลนในตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน และตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง และตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
                    ทั้งนี้ โครงการฯ จำนวน 3 โครงการ ดังกล่าวจะต้องมีการวางท่อตามแนวเขตทางซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ระยะทาง 4.74 กิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ 2 - 3 - 84.88 ไร่ ซึ่งเข้าข่ายเป็นการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง
                    ทั้งนี้ ปัจจุบันพื้นที่ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน และตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง และตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ได้รับความเดือดร้อนเรื่องน้ำอุปโภคมาก ทั้งคุณภาพน้ำจากน้ำบ่อตื้นมีรสชาติเค็ม ปริมาณน้ำประปาหมู่บ้านมีไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งค่าน้ำประปาที่มีราคาสูงซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยวิธีอื่นได้ นอกจากการขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคไปยังพื้นที่ดังกล่าว

22. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลนสำหรับการดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองสวีเฒ่า บนเส้นทางสายปากแพรก-วิสัยใต้ พร้อมถนนผิวจราจรหินคลุก หมู่ที่ 1 ตำบลปากแพรกเชื่อม ตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลนสำหรับการดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองสวีเฒ่า บนเส้นทางสายปากแพรก-วิสัยใต้ พร้อมถนนผิวจราจรหินคลุก หมู่ที่ 1 ตำบลปากแพรกเชื่อมตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร (สะพานฯ) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    ทั้งนี้ พื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างสะพานฯ ตามที่ มท. เสนอครั้งนี้ อยู่ในเขตป่าคาบเกี่ยวพื้นที่ป่าชายเลน เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 55 ตารางวา ซึ่งได้ดำเนินการขออนุญาตเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าแล้ว จึงเข้าข่ายเป็นการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และสำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่มีข้อขัดข้อง

23. เรื่อง การกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการของสำนักงานธนานุเคราะห์ ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 300,000,000.00 บาท (สามร้อยล้านบาท)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 300 ล้านบาท (วงเงินดังกล่าวได้รับการบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2566 ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    ทั้งนี้ พม. โดยสำนักงานธนานุเคราะห์กู้เงิน จำนวน 300,000,000.00 บาท จากสถาบันการเงินที่ได้ยื่นข้อเสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุด มีวัตถุประสงค์เพื่อไว้ใช้ในกิจการเป็นเงินทุนในการหมุนเวียน และรองรับธุรกรรมการรับจำนำ ที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อประกันการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยสำนักงานฯ มีความสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำส่งเงินรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารทางการเงินการคลังของรัฐบาลในภาพรวม

24. เรื่อง การปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa : LTR Visa)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอการปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายของผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (Highly Skilled Professionals) ภายใต้การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa : LTR Visa) และมอบหมายให้ สกท. ออกประกาศต่อไป และหากต้องมีการปรับปรุงคุณสมบัติฯ ให้คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.) พิจารณาตามหน้าที่และอำนาจตามขั้นตอนต่อไป
                    สาระสำคัญการปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์ของผู้มีสิทธิได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการ LTR Visa (จากเดิมที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565) สรุปได้ ดังนี้
                    การปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายของผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการรองรับคุณสมบัติแก่ชาวต่างชาติที่มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษในสาขาวิชาที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ดังนี้
อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม*          อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่
1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ
4) อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
5) อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
6) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
7) อุตสาหกรรมการบิน
8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
9) อุตสาหกรรมดิจิทัล
10) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
11) อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
12) อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยตรงและมีนัยสำคัญ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น
13) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย
14) อุตสาหกรรมเป้าหมายอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามที่คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ความเห็นชอบ          1) อุตสาหกรรมยานยนต์
2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ
4) อุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ
5) อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
6) อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
7) อุตสาหกรรมการบิน อากาศยาน และอวกาศ
8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
9) อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
10) อุตสาหกรรมดิจิทัล
11) อุตสาหกรรมการแพทย์
12) อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ
13) อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยตรงและมีนัยสำคัญ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น
14) ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
15) อุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยชาวต่างชาติซึ่งขอรับการรับรองคุณสมบัติฯ ต้องทำงานโดยใช้ทักษะเชี่ยวชาญพิเศษในด้านใดด้านหนึ่งต่อไปนี้
          (1) การวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรม เป้าหมายหรือเทคโนโลยีเป้าหมาย เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ1 นาโนเทคโนโลยี2 และเทคโนโลยีวัสดุขั้นสูง3
          (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษา
          (3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการประกอบธุรกิจ
          (4) การวางแผนและพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อยกระดับการผลิตและการบริการของธุรกิจ
          (5) การให้บริการหรือให้คำปรึกษาด้านการเงินหรือการตลาด
          (6) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
          (7) การบริหารจัดการหรือให้คำปรึกษาในโครงการบ่มเพาะ4 โครงการเร่งการเติบโต5 และการสนับสนุนนวัตกรรมและระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพ6
          (8) การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก
          (9) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน โดยหอการค้าต่างประเทศและองค์กรส่งเสริมการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ
หมายเหตุ : *อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมเป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. 2/2565 เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการ LTR Visa

1 เทคโนโลยีชีวภาพ คือการนำความรู้ด้านชีววิทยา โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น พันธุวิศวกรรม การโคลน การถ่ายฝากตัวอ่อน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
2 นาเทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่นำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบเพื่อประดิษฐ์วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และสังเคราะห์ให้วัสดุมีข้อด้อยลดลง ด้วยการตรวจวิเคราะห์และวินิจฉัยที่มีความละเอียดแม่นยำสำหรับวัสดุหรือสิ่งของที่อยู่ในระดับนาโนเมตร
3 เทคโนโลยีวัสดุขั้นสูง เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้วัสดุที่ผ่านการควบคุมให้มีโครงสร้างที่แม่นยำและเฉพาะเจาะจง ทำให้เกิดคุณสมบัติพิเศษที่ดีกว่าวัสดุพื้นฐานทั่วไป หรือทำให้วัสดุมีหน้าที่พิเศษตามความต้องการและควบคุมได้ โดยวัสดุขั้นสูงผ่านกระบวนการผลิตและใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น วัสดุที่มีโครงสร้างระดับนาโน เป็นต้น
4 โครงการบ่มเพาะ คือโครงการด้านธุรกิจที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่สตาร์ทอัพตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นไอเดียให้เกิดรูปแบบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ
5 โครงการสนับสนุน คือโครงการที่ช่วยให้สตาร์ทอัพเร่งอัตราการเติบโตและเพิ่มมูลค่าธุรกิจที่มีอยู่แล้วภายในกรอบเวลาที่สั้นกว่าเดิม
6 ระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพ คือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจให้ง่ายมากขึ้น เพื่อเร่งสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เช่น นักลงทุน สื่อ โรงเรียนสอนทำธุรกิจ

25. เรื่อง การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงวัฒนธรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) และกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รวมทั้งสิ้น 98 อัตรา ตามมติคปร. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ดังนี้
                    1. กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พน. จำนวน 38 อัตรา
                    2. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ยธ. จำนวน 50 อัตรา
                    3. กรมการศาสนา วธ. จำนวน 10 อัตรา
                    สำหรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการดังกล่าวให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณกำหนด
                    สาระสำคัญ
                    คปร. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติเห็นชอบการจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พน. สำนักงาน ป.ป.ส. ยธ. และกรมการศาสนา วธ. โดยมีเงื่อนไขไม่ให้นำตำแหน่งที่ได้รับการจัดสรรมายุบเลิกเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งอื่นเป็นระดับที่สูงขึ้น ดังนี้
จำนวนคำขอ          มติ  คปร. เห็นชอบ          สาระสำคัญ
1. กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พน.
53 อัตรา          38 อัตรา          เพื่อปฏิบัติภารกิจที่เพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 โดยได้เพิ่มรูปแบบในการบริหารจัดการผลประโยชน์จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (ระบบPSC)1 และระบบสัญญาจ้างบริการ ซึ่งเป็นการปรับบทบาทของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจากการทำหน้าที่กำกับดูแลเป็นเข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบกิจการปิโตรเลียม รวมถึงภารกิจด้านอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากการสิ้นสุดสัมปทานและการเปลี่ยนผ่านไปใช้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตและการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการด้านปิโตรเลียมโดยคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
2. สำนักงาน ป.ป.ส. ยธ.
120 อัตรา          50 อัตรา          เพื่อปฏิบัติภารกิจตามนโยบายและมาตรการในการปราบปรามและยึดทรัพย์สินเครือข่ายการค้ายาเสพติด จำนวน 3 ภารกิจ ได้แก่ (1) การดำเนินการสืบสวนทางการเงินและทางเทคโนโลยีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (2) การยึด อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด และ (3) การดำเนินคดีข้อหาสมคบและสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจหลักของส่วนราชการที่มีความสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ
3. กรมการศาสนา วธ.
15 อัตรา          10 อัตรา          เพื่อปฏิบัติภารกิจการประกาศจัดตั้งวัดคาทอลิกและการจัดทำทะเบียนศาสนสถานของศาสนาที่ทางราชการให้การรับรอง โดยดำเนินการเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต และตรวจสอบข้อมูลเชิงกฎหมายหลายฉบับ เช่น กรรมสิทธิ์ที่ดินและใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และภารกิจการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ เช่น จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ และติดตามและรายงานความก้าวหน้าและความสำเร็จของการส่งเสริมคุณธรรมในภาพรวมของประเทศ รวมถึงเป็นผู้แทนกรมการศาสนาชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย

                    ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตาม ประเมินผลที่แสดงถึงความคุ้มค่าและประสิทธิภาพของการบริหารอัตรากำลัง จึงเห็นควรให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สำนักงาน ป.ป.ส. และกรมการศาสนากำหนดเป้าหมายผลผลิตและผลลัพท์จากการได้รับการจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ดังกล่าว และรายงานผลให้สำนักงาน ก.พ. ทราบ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
1 ระบบ PSC เป็นระบบที่ใช้แทนระบบสัมปทาน โดยเป็นสัญญาที่รัฐตกลงกับนักลงทุนเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในการสำรวจ พัฒนาและผลิตทรัพยากรปิโตรเลียมในอาณาเขตและตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ ภายใต้ระบบ PSC นักลงทุนในฐานะคู่สัญญาจะไม่มีสิทธิในการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมที่ตนสามารถผลิตขึ้นมาได้แต่อย่างใด รัฐยังคงเป็นเจ้าของปิโตรเลียมทั้งที่อยู่ในแหล่งกำเนิด และปิโตรเลียมที่สามารถผลิตขึ้นมาในเชิงพาณิชย์ นักลงทุนมีเพียงสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียมตามสัดส่วนที่ได้ตกลงไว้กับรัฐซึ่งตรงกันข้ามกับนักลงทุนภายใต้ระบบสัญญาสัมปทานที่มีสิทธิโดยตรงในการเป็นเจ้าของปิโตรเลียมที่ตนสามารถนำขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด

26. เรื่อง รายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 กรอบวงเงินช่วยเหลือ 8,159.14 ล้านบาท โดยช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยทุกรายที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงาน ในอัตรา 120 บาทต่อตัน ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ได้จ่ายเงินช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับการช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น จำนวน 125,276 ราย ปริมาณอ้อย 67,591,326.297 ตัน วงเงินที่จ่ายช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น 8,110,959,155.64 บาท ดังนี้
                        (1) เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงานผลิตน้ำตาลทราย จำนวน 121,615 ราย ปริมาณอ้อย 66,553,323.417 ตัน วงเงินที่ช่วยเหลือ 7,986,398,810.04 บาท
                        (2) เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงานผลิตน้ำตาลทรายแดง จำนวน 184 ราย ปริมาณอ้อย 103,729.885 ตัน วงเงินที่จ่ายช่วยเหลือ 12,447,586.20 บาท
                        (3) เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงานผลิตเอทานอล จำนวน 3,477 ราย ปริมาณอ้อย 934,272.995 ตัน วงเงินที่จ่ายช่วยเหลือ 112,112,759.40 บาท
                    2. การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีในฤดูการผลิตปี 2564/2565 ส่งผลทำให้มีพื้นที่ตัดอ้อยสด จำนวน 6.49 ล้านไร่ พื้นที่การเก็บเกี่ยวอ้อยที่ถูกลับลอบเผาเพียง 2.43 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 8.92 ล้านไร่
                    ผลกระทบ
                    1. การดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เป็นการช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนในการตัดอ้อยสดของชาวไร่อ้อยและเป็นแรงจูงใจให้ชาวไร่อ้อยมุ่งมั่นที่จะตัดอ้อยสดเพิ่มขึ้น
                    2. ทำให้มีพื้นที่ตัดอ้อยสด จำนวน 6.49 ล้านไร่ พื้นที่การเก็บเกี่ยวอ้อยที่ถูกลักลอบเผาเพียง 2.43 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 8.92 ล้านไร่ ทั้งยังเป็นการสนับสนุนและจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น            และตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

27. เรื่อง โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 4)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
1. โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2566-2570 (โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 4) (โครงการทุนอุดมศึกษาฯ ระยะที่ 4)
2. ค่าใช้จ่ายในวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2574 จำนวนทั้งสิ้น 419.5 ล้านบาท ได้แก่ เงินทุนค่าครองชีพ ภายในวงเงิน 400 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทุนอุดมศึกษาฯ ระยะที่ 4 ภายในวงเงิน 19.5 ล้านบาท ทั้งนี้ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะใช้งบประมาณปกติของส่วนราชการสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2574 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.) จะขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณเป็นรายปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
สาระสำคัญของโครงการทุนอุดมศึกษาฯ ระยะที่ 4 สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          1) เปิดโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่นักเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และไม่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาได้
2) สนับสนุนทุนการศึกษา (ค่าครองชีพ) ระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาขาดแคลนตามความต้องการของพื้นที่ให้แก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี ความประพฤติดี        แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
3) ยกระดับการศึกษาของเยาวชนที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ       5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น สร้างศักยภาพในการประกอบอาชีพและการมีงานทำในพื้นที่
4) ส่งเสริมให้ผู้รับทุนมีจิตอาสาและจิตสาธารณะในการตอบแทนสถาบันอุดมศึกษาที่ตนเองศึกษาอยู่รวมทั้งมีจิตสำนึกในการตอบแทนท้องถิ่น ภูมิลำเนา และประเทศชาติ
ระยะเวลา          ปีการศึกษา 2566-2570 (5 รุ่น)
กลุ่มเป้าหมาย          เยาวชนและบิดามารดาของเยาวชนต้องมีภูมิลำเนาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี และสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในเขตพื้นที่ดังกล่าว จำนวน 2 กลุ่ม ดังนี้
1) กลุ่มที่ 1 สำหรับเยาวชนที่ไม่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาได้ โดยสนับสนุนสถานที่ศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษ หรือสนับสนุนสถานที่ศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษร่วมกับสิทธิพิเศษบางประการ เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา และการลดค่าเล่าเรียน (ตามเงื่อนไขที่สถานศึกษากำหนด) ทั้งนี้ จะต้องสอบคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษาจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.) ด้วย
2) กลุ่มที่ 2 สำหรับเยาวชนที่สามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ โดยสนับสนุนทุนค่าครองชีพในสาขาวิชาที่ขาดแคลนหรือเป็นที่ต้องการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยจะพิจารณาจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัด สป.อว. ที่มีผลการเรียนดี ความประพฤติดี แต่ฐานะยากจน
การสนับสนุนทุนการศึกษา          ทุนค่าครองชีพรวมทั้งหมดจำนวน 500 ทุน จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 4 ปี ดังนี้
1) ผู้ได้รับทุนกลุ่มที่ 1 (ลำดับที่ 1-250 จากการสอบคัดเลือก) จะได้รับทุนจำนวน 250 ทุน เป็นเงินจำนวน 40,000 บาทต่อปีการศึกษา ตามระยะเวลาของหลักสูตรจาก สป.อว. (ผู้ได้รับทุนกลุ่มที่ 1 ที่สอบได้คะแนนในลำดับที่ 251 เป็นต้นไป        จะไม่ได้รับทุนค่าครองชีพจาก สป.อว. แต่จะได้รับการสนับสนุนสถานที่ศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษ)
2) ผู้ได้รับทุนกลุ่มที่ 2 จะได้รับทุนจำนวน 250 ทุน เป็นเงินจำนวน 40,000 บาทต่อปีการศึกษา ตามระยะเวลาของหลักสูตรจาก สป.อว.
งบประมาณ          งบประมาณทั้งสิ้น 419.5 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) เงินทุนค่าครองชีพจำนวน     5 รุ่น รุ่นละ 500 ทุน เป็นเงินทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา (4 ปีการศึกษา) รวมเป็นเงิน 400 ล้านบาท และ 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทุนอุดมศึกษาฯ ระยะที่ 4 เช่น การจัดประชุม การจัดโครงการปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศ การดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกผู้รับทุน ภายในวงเงิน 19.5 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะใช้งบประมาณของส่วนราชการและปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2574 สป.อว. จะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ประโยชน์ที่ได้รับ          เยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนตามความต้องการของพื้นที่ มีงานทำ ได้รับค่าตอบแทนตรงตามคุณวุฒิและศักยภาพของตนเอง ได้รับการพัฒนาเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นภูมิลำเนาของตนเองได้ รวมทั้งส่งผลให้ผู้รับทุนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ทั้งด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากภูมิลำเนาของตน

28. เรื่อง ขอเพิ่มค่าป่วยการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการตั้งคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบการเพิ่มค่าป่วยการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) จากเดิม เดือนละ 1,000 บาทต่อคน เป็น เดือนละ 2,000 บาทต่อคน
2. เห็นชอบให้ สธ. โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ตั้งคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของรายการการจ่ายเงินค่าป่วยการให้แก่ อสม. และ อสส. ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอัตราค่าป่วยการตามข้อ 1 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
สาระสำคัญ
1. ปัจจุบัน อสม. ปฏิบัติหน้าที่1 โดยได้รับค่าป่วยการ2 ในอัตราเดือนละ 1,000 บาทต่อคน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 โดย อสม. ที่จะมีสิทธิได้รับค่าป่วยการต้องมีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ อสม. ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานแน่นอน และมีการรายงานผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยปัจจุบันมี อสม. จำนวน 1,075,163 คน และ อสส. จำนวน 15,000 คน
2. ในสถานการณ์ปัจจุบัน อสม. ยังคงต้องปฏิบัติงานตามภารกิจเดิมที่กำหนดอย่างต่อเนื่องและมีภารกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายรัฐบาลในการดูแลสุขภาพที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระยะ Post-Pandemic ในชุมชน จำนวน 4 งาน ดังนี้ (1) คัดกรองเพื่อประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน 9 ด้าน (2) สร้างความรอบรู้ และให้บริการดูแลสุขภาพตามสภาพปัญหาในแต่ละด้าน       และประสานภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี (3) ปฏิบัติงานในระยะ Post-Pandemic ของโรคโควิด 19 และ (4) ติดตามผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดในระบบสมัครใจบำบัด
3. ทั้งนี้ สธ. ได้เปรียบเทียบอัตราค่าป่วยการกับค่าใช้จ่ายของ อสม. ในการปฏิบัติงาน พบว่า อัตราค่าป่วยการอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายของ อสม. มาโดยตลอด สรุปได้ ดังนี้
ปีงบประมาณ          ประมาณการค่าใช้จ่าย* (บาทต่อเดือน)          อัตราค่าป่วยการ
(บาทต่อเดือน)          แตกต่าง
(บาทต่อเดือน)
2552          1,220
(คำนวณบนฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจำนวน 4 วัน)          600          600
2562          1,730
(คำนวณบนฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจำนวน 4 วัน)          1,000          730
2566          3,370
(คำนวณบนฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจำนวน 8 วัน**)          1,000          2,370

หมายเหตุ          * คำนวณจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ค่าเสียโอกาส) ค่าพาหนะในการออกปฏิบัติงาน และค่าโทรศัพท์สำหรับติดต่อประสานงานในการปฏิบัติงาน
          4. เพื่อให้การปฏิบัติงานของ อสม. สำเร็จและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุน อสม. กลาง ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบการเพิ่มค่าป่วยการให้แก่ อสม. และ อสส. จากเดิมเดือนละ 1,000 บาทต่อคน เพิ่มเป็นเดือนละ 2,000 บาทต่อคน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป และมอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพตั้งคำขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีในการเพิ่มค่าป่วยการ อสม. เป็นเดือนละ 2,000 บาทต่อคน ทั้งนี้คาดว่าจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นในแต่ละปีงบประมาณ จำนวน 13,081 ล้านบาท
1 แบ่งภารกิจของ อสม. ออกเป็น 9 งานหลัก ได้แก่ (1) การส่งเสริมสุขภาพ (2) การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคต่าง ๆ ในชุมชน (3) การฟื้นฟูสุขภาพ (4) การคุ้มครองผู้บริโภค (5) การจัดการสุขภาพชุมชนและการมีส่วนร่วมในแผนสุขภาพตำบล (6) การสนับสนุนอาสาสมัครประจำครอบครัว (7) การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (8) การเข้าร่วมกับทีมหมอครอบครัวในการช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วยและครอบครัวในชุมชน และ (9) กิจกรรมอื่น ๆ
2 หมายถึง เงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ อสม. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม. ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สิทธิได้รับเงินค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2566

29. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 3)
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (หลักเกณฑ์ UCEP Plus) (ฉบับที่ 3) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. การเสนอหลักเกณฑ์ UCEP Plus ฉบับที่ 3 ของ สธ. ในครั้งนี้ เป็นการแก้ไขหลักเกณฑ์ UCEP Plus และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นมา เพื่อเพิ่มเติมรายการยาต้านไวรัสโควิด 19 ในบัญชี และอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ UCEP Plus หมวดที่ 3 ค่ายา จำนวน 1 รายการได้แก่ รายการยาต้านไวรัส Molnupiravir 200 mg ในอัตรา 15 บาท/เม็ด (ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป) เนื่องจากปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมและบริษัทยาสามารถจำหน่ายยา Molnupiravir ให้แก่โรงพยาบาลเอกชนได้แล้ว ดังนั้น จึงสามารถกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายที่แน่นอนสำหรับรายการยา Molnupiravir ในบัญชี และอัตราค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์ UCEP Plus ได้
โดยการเพิ่มรายการยาในครั้งนี้จะส่งผลให้มีรายการยาต้านไวรัสโควิด 19 ในบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้าย รวมทั้งสิ้น 2 รายการ ดังนี้
รายการ          ราคาต่อหน่วย (บาท)          หมายเหตุ
Favipiravia 200 mg film-coated tablet, 1 tablet          14.50          รายการเดิม
Molnupiravir 200 mg capsule, hard, 1 capsule           15.00          เสนอเพิ่มครั้งนี้

สำหรับกรณียาต้านไวรัสอีก 3 รายการ ได้แก่ (1) Remdesivir (2) Nirmatrelvir/Ritonavir และ           (3) Tixagevimab/Cilgavimab (Long ? acting Antibody) ให้เบิกยาหรืออัตราค่าใช้จ่ายจากกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ ตามอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลกำหนด แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ คณะกรรมการสถานพยาบาล ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ได้รับทราบการเพิ่มรายการยา Molnupiravir ในบัญชี และอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ UCEP Plus ดังกล่าวแล้ว
2. การเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายรายการยาในบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายในครั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 36 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งบัญญัติให้หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVD - 19)] เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

30. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่และเพื่อประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมือง ตั้งอาคารสำนักงาน อู่ซ่อม โรงงานโม่และย่อยหิน โรงงานคอนกรีต พื้นที่ทำการขึ้น - ลง เพื่อทำเหมืองตามแผนผังโครงการทำเหมือง ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงรายธนะวงศ์ ที่จังหวัดเชียงราย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอผ่อนผันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเชียงรายธนะวงศ์ (ห้างเชียงรายฯ)  ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี1 เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ตามคำขอต่ออายุประทานบัตรที่ 2/2561 (ประทานบัตรที่ 31118/15825) เนื้อที่ 28 ไร่       2 งาน 45 ตารางวา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และขอผ่อนผันพื้นที่เพื่อประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองฯ เนื้อที่ 105 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ห้างเชียงรายฯ ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่า เพื่อประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองฯ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                    ทั้งนี้ อก. โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป
1 พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ซึ่งสภาพป่าส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้ถูกทำลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงไปเพื่อพัฒนาการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นแล้ว

31. เรื่อง การให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 G2/65 และ G3/65
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติให้สิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 (1) และวรรคสอง ประกอบมาตรา 23 มาตรา 53/1 และมาตรา 53/8 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แก่ผู้ขอสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต ดังนี้
                        1.1 อนุมัติให้บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (บ.ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่) เป็นผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 และ G3/65
                        1.2 อนุมัติให้บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (บ.เชฟรอน) เป็นผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G2/65
                        ทั้งนี้ พน. ได้จัดทำร่างสัญญาแบ่งปันผลผลิตของทั้ง 3 แปลงสำรวจข้างต้น ตามแบบ ชธ/ป12 ท้ายกฎกระทรวงกำหนดแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต พ.ศ. 2561
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจลงนามกับผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 G2/65 และ G3/65 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 53/2 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    3. เห็นชอบให้ใช้ข้อกำหนดการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในสัญญาแบ่งปันผลผลิตของแปลงสำรวจแบ่งปันผลผลิตของแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 G2/65 และ G3/65 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558

32. เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นของธนาคารอาคารสงเคราะห์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้น1 ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (จากการประมาณการของ ธอส. ในปี 2566 จะมีพนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้น จำนวน 409 คน) ตามผลประเมินการปฏิบัติงานประจำปี ในอัตราร้อยละ 4 - 6 ของค่ากลางในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงาน (Midpoint)2 ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกินร้อยละ 3.75 ของฐานเงินเดือนค่าจ้างรวมของพนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นประจำปีนั้น ๆ ดังนี้
                    1. หลักเกณฑ์การจ่าย
                        1.1 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เท่ากับระดับ A+ (สูงกว่ามาตรฐานมาก) ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไม่เกินอัตราร้อยละ 6 ของ Midpoint
                        1.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เท่ากับระดับ A (สูงกว่ามาตรฐาน) ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ของ Midpoint
                        1.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เท่ากับระดับ S (มาตรฐาน) ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไม่เกินอัตราร้อยละ 4 ของ Midpoint
                        1.4 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เท่ากับระดับ N (ควรปรับปรุง) และระดับ D           (ไม่น่าพอใจ) ไม่ได้รับเงินตอบแทนพิเศษ
                    2. การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้น ตามผลประเมินการปฏิบัติงานประจำปีนั้น ไม่ถือเป็นเงินเดือน ไม่เป็นการจ่ายเป็นประจำ และไม่ใช้เป็นฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือนในทุกกรณี
                    3. ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
หมายเหตุ : 1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553) เห็นชอบการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินดือนเต็มขั้นให้แก่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในลักษณะนี้มาแล้ว คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
               2 Midpoint คือ ค่ากลางในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงาน/ข้าราชการ ตามผลประเมินการปฏิบัติงานประจำปีโดยการคำนวณค่ากลางในแต่ละระดับ = (เงินเดือนขั้นต่ำของพนักงานในระดับนั้น + เงินเดือนขั้นสูงของพนักงานในระดับนั้น)

33. เรื่อง ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 [เรื่อง ผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่อง แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน] เกี่ยวกับกรอบเวลาในการทบทวนความจำเป็นในการคงอยู่หรือยุบเลิกองค์การมหาชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 [เรื่อง ผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่อง แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน] ข้อ 5 ที่ให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาทบทวนความจำเป็นในการคงอยู่หรือยุบเลิกองค์การมหาชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหน่วยงานตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 (เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการคงอยู่หรือยุบเลิกองค์การมหาชน) เป็นประจำทุกปีงบประมาณ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (28 พฤษภาคม 2561) ข้อ 5 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาทบทวนความจำเป็นในการคงอยู่หรือยุบเลิกองค์การมหาชนที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นประจำทุกปีงบประมาณ เพื่อให้เกิดการประเมินผลสัมฤทธิ์และปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และให้พิจารณาส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภาครัฐในสาขาและรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสร้างเครือข่ายประชารัฐและการถ่ายโอนภารกิจด้านการปฏิบัติไปให้หน่วยงานภายนอกภาครัฐ รวมทั้งคำนึงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของภาครัฐและประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (11 ตุลาคม 2565) เห็นชอบในหลักการให้องค์การมหาชนต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
                    2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำแนวทางการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน [กรอบการประเมินความคุ้มค่าฯ จะพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ คือ (1) ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง (2) ผลการปฏิบัติงาน (3) กลไกสำคัญในระบบนิเวศ เช่น การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินภารกิจโดยภาคเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ และ (4) ความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต] เพื่อประเมินการดำเนินงานขององค์การมหาชนในระยะยาว โดยเฉพาะความสามารถในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งและความคุ้มค่าในการดำเนินงานเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร โดยผลการประเมินความคุ้มค่าฯ จะนำไปสู่ข้อเสนอเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนต่อไป ในกรณีที่องค์การมหาชนไม่ผ่านการประเมินมากกว่าหนึ่งองค์ประกอบสองรอบการประเมินติดต่อกัน หรือปรากฏข้อเท็จจริงว่า การดำเนินงานขององค์การมหาชนนั้นหมดความจำเป็นตามวัตถุประสงค์จัดตั้ง ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานผลการประเมิน/การดำเนินงานดังกล่าวพร้อมความเห็นที่มีต่อการคงอยู่ หรือการปรับบทบาทภารกิจ หรือการปรับปรุงประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน หรือการยุบเลิก หรือการถ่ายโอนภารกิจขององค์การมหาชนไปให้หน่วยงานอื่นหรือการดำเนินการอื่น เสนอต่อ กพม. พิจารณาเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
                    3. กพม. ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เห็นว่า เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการนำมติคณะรัฐมนตรีไปปฏิบัติ จึงมีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรียกเลิกมติคณะรัฐมนตรี              (28 พฤษภาคม 2561) ข้อ 5 (กำหนดให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาทบทวนความจำเป็นในการคงอยู่หรือยุบเลิกองค์การมหาชนที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นประจำทุกปีงบประมาณ) เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี (11 ตุลาคม 2565) (กำหนดให้องค์การมหาชนต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี)

34. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สภากาชาดไทย หรือเหล่ากาชาดจังหวัด หรือกิ่งกาชาดอำเภอ ซึ่งเป็นตัวแทนของสภากาชาดไทย ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากบำรุงสภากาชาดไทย ประจำปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มอบให้สภากาชาดไทย เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลาก ซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (4) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามที่สภากาชาดไทย เสนอ

35. เรื่อง โครงการสลากการกุศลเพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. ให้มีการออกสลากการกุศลเพื่อสนับสนุนโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศล (คณะกรรมการฯ) จำนวน 3 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 921.45 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 และครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่                21 กุมภาพันธ์ 2566 ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
โครงการ/หน่วยงานเจ้าของโครงการ          วงเงิน
1) โครงการขยายพื้นที่บริการ เพิ่มศักยภาพการให้บริการ รักษาพยาบาลและการ        รองรับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์/มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คณะแพทยศาสตร์)          604.19
2) โครงการศูนย์นวัตกรรมด้านการแพทย์ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม/กรมการแพทย์ (โรงพยาบาลราชวิถี)          67.26
3) โครงการก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมต่อต้านการทุจริตแห่งประเทศไทย/มูลนิธิต่อต้านการทุจริตแห่งประเทศไทย          250.00
                    2. มอบหมายให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลดำเนินการ ดังนี้
                        2.1 เป็นผู้จัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และจ่ายเงินรางวัลสลากการกุศล ตามข้อ 1
                        2.2 ประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนตามข้อ 1 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการออกสลากการกุศล การขออนุญาตการออกสลากการกุศลโดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการนำส่งเงินให้หน่วยงานเจ้าของโครงการตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ โดยให้ผู้รับใบอนุญาตการออกสลากการกุศลเสียภาษีการพนันเหลือร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (4) ของกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2543)
                        2.3 จัดทำแผนการออกสลากการกุศลและแผนการใช้เงินของแต่ละโครงการและรายงานต่อคณะกรรมการฯ เพื่อประโยชน์ในการกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
                    3. มอบหมายให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการ ดังนี้
                        3.1 กำหนดระยเวลาในการผูกพันวงเงินของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนและหากเกิดกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการไม่สามารถผูกพันวงเงินได้ตามกำหนด ให้ยกเลิกวงเงินดังกล่าวหรือให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาในการดำเนินโครงการดังกล่าว
                        3.2 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการใช้เงินภายในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนโดยจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงเป็นกิจกรรมที่แตกต่างจากโครงการที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

36. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้จ่ายในวงเงิน 3,191,740,000 บาท โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคมถึงเมษายน 2566 เพื่อให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน โดยเป็นกรอบวงเงินของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 517,950,000 บาท และเป็นกรอบวงเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 2,673,790,000 บาท โดยให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ดำเนินมาตรการตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานในคราวประชุมเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 และมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคมถึงเมษายน 2566 และใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดสรรเงินสนับสนุนตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 โดยให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณต่อไป ซึ่งประมาณการงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ ดังนี้
ใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือน          การไฟฟ้านครหลวง          การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค          รวม
          ล้านราย          ล้านบาท          ล้านราย          ล้านบาท          ล้านราย          ล้านบาท
มกราคม - เมษายน 2566          2.20          517.95          17.42          2,673.79          19.62          3,191.74
                    เพื่อเป็นการดำเนินการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงขอรับการสนับสนุนแหล่งงบประมาณในการดำเนินการ โดยเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณการดำเนินมาตรการดังกล่าว สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคมถึงเมษายน 2566 โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณต่อไป

37. เรื่อง ผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ 2565 นโยบายของคณะกรรมการ และโครงการและแผนงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในอนาคต
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ  รายงานผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในปีงบประมาณ 2565 นโยบายของคณะกรรมการ รฟม. และโครงการและแผนงานของ รฟม. ในอนาคต (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ รฟม. พ.ศ. 2543 มาตรา 73 ที่บัญญัติให้ รฟม. ทำรายงานปีละครั้งเสนอคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลของงานในปีที่ล่วงมาแล้วและ                คำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการฯ โครงการและแผนงานที่จะทำในภายหน้า) ทั้งนี้ คณะกรรมการ รฟม. ได้เห็นชอบรายงานดังกล่าวของ รฟม. แล้ว เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)
                              1.1 ด้านการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มีผลการดำเนินการ ดังนี้
โครงการ          ผลการดำเนินการ/ความก้าวหน้า
โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (4 โครงการ)
(1) รถไฟฟ้าสายสีส้ม
ช่วงศูนย์วัฒนธรรม              แห่งประเทศไทย-มีนบุรี
(สุวินทวงศ์)          ? งานก่อสร้างงานโยธา มีความก้าวหน้าร้อยละ 98.31 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 0.77)
? งานผลิตและติดตั้งงานระบบรถฟฟ้าและงานเดินรถ มีความก้าวหน้าร้อยละ 21.25 (ตามแผน)
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2568
(2) รถไฟฟ้าสายสีชมพู
ช่วงแคราย-มีนบุรี
          ? งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้าร้อยละ 93.04 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 2.74)
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2567
(3) รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
          ? งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า และงานเดินรถมีความก้าวหน้าร้อยละ 96.79 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.35)
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2566
(4) รถไฟฟ้าสายสีม่วง
ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
          ? งานศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนงานระบบ มีความก้าวหน้าร้อยละ 40.80 (ตามแผน)
? งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีความก้าวหน้าร้อยละ 70.33 (ตามแผน)
? งานที่ปรึกษาโครงการฯ มีความก้าวหน้าร้อยละ 27.75 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 2)
? งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ                               มีความก้าวหน้าร้อยละ 27.57 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.82)
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2570
โครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา (1 โครงการ)
(1) รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ ? ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย          ? งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีความก้าวหน้าร้อยละ 18 (ล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 13.10) เนื่องจากมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นในการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองและการร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย
? งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ                 มีความก้าวหน้าร้อยละ 21.25 (ตามแผน)
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม 2571
โครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ (5 โครงการ)
(1) รถไฟฟ้า
จังหวัดภูเก็ต           ? เสนอขอความเห็นชอบรูปแบบการลงทุนฯ มีความก้าวหน้าร้อยละ 20                  (ตามแผน)
? งานคัดเลือกที่ปรึกษาฯ มีความก้าวหน้าร้อยละ 72 (ตามแผน)
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2570

(2) รถไฟฟ้า
จังหวัดเชียงใหม่          ? เสนอขอความเห็นชอบรูปแบบการลงทุนฯ มีความก้าวหน้าร้อยละ 34                (ตามแผน)
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2571

(3) รถไฟฟ้า
จังหวัดนครราชสีมา
(4) รถไฟฟ้า
จังหวัดพิษณุโลก          ? อยู่ระหว่างคัดเลือกที่ปรึกษาความเหมาะสมโครงการฯ
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2574
(5) รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)
          ? งานศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มีความก้าวหน้าร้อยละ 64 (ตามแผน)
? คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนสิงหาคม 2571

                    นอกจากนี้ รฟม. ได้เปิดให้บริการชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV Contactless (ระบบชำระเงินแบบไร้สัมผัส) ในโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลและสายฉลองรัชธรรมแก่ประชาชนทั่วไปแล้ว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565
                              1.2 ด้านการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน : ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าแล้ว 2 เส้นทาง มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
เส้นทาง          ผลการดำเนินงาน
          ผู้โดยสารเฉลี่ย
(คน-เที่ยว/วัน)          เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ
พ.ศ. 2564 (ร้อยละ)          ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
(ระดับมาก-มากที่สุด)
รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล
          226,834          28.58          89.52
(เป้าหมายร้อยละ 87.00)
รถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม          38,802          18.47          89.62
(เป้าหมายร้อยละ 88.00)

                              1.3 ด้านการเงิน รฟม. มีผลประกอบการกำไรสุทธิ 1,317.63 ล้านบาท โดยมีรายได้ 15,600.30 ล้านบาท (เป็นเงินอุดหนุน 9,555.26 ล้านบาท) และค่าใช้จ่ายรวม 14,282.67 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ร้อยละ 100 นอกจากนี้ มีรายได้จากธุรกิจต่อเนื่องรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล 112.24 ล้านบาท (เป้าหมาย 109.37 ล้านบาท) และสายฉลองรัชธรรม 26.25 ล้านบาท (เป้าหมาย 25.47 ล้านบาท)
                              1.4 ด้านการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล รฟม. ได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยพนักงานร้อยละ 96.95 มีสมรรถนะตามมาตรฐานที่องค์กรกำหนด (เป้าหมายร้อยละ 96.61) และมีระดับความผูกพันเท่ากับ 4.26 (เป้าหมาย 4.25) นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาระบบ Chatbot เพื่อปรับปรุงและพัฒนาบริการให้ข้อมูลข่าวสารแบบอัตโนมัติผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ รวมทั้งดำเนินการแผนต่าง ๆ เช่น การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารก่อสร้าง การบริหารโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการจัดการความรู้ด้านการเดินรถไฟฟ้า
                              1.5 ด้านการกำกับดูแลที่ดี รฟม. ได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลองค์กรแล้วเสร็จ โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดทำ/ทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ รฟม. และการดำเนินการตามแนวปฏิบัติในการแสดงความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรมของผู้นำระดับสูง ทั้งนี้ ในปี 2565 รฟม. มีผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เท่ากับ 93.32 คะแนน (ปี 2564 เท่ากับ 88.01 คะแนน) ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 2 ของรัฐวิสาหกิจสังกัด คค.
                    2. นโยบายของคณะกรรมการ รฟม. เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานและกำกับดูแลการดำเนินงาน เช่น ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรงเวลา และราคาสมเหตุสมผล เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผน ศึกษาระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและในเมืองหลักอื่น และพัฒนาระบบเชื่อมต่อ (Feeders) เพื่อเพิ่มศักยภาพและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเชื่อมการเดินทางจากระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนไปยังจุดหมายต่าง ๆ
                    3. โครงการและแผนงานของ รฟม. ในอนาคต
                              3.1 ด้านการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รฟม. มีโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 4 โครงการ อยู่ระหว่างการประกวดราคา 1 โครงการ และอยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์โครงการซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในปีงบประมาณ 2567-2569 จำนวน 5 โครงการ โดยมีเป้าหมายว่าการดำเนินงานจะต้องมีความสำเร็จตามแผน นอกจากนี้ มีแผนพัฒนาระบบเชื่อมต่อเพื่อสนับสนุนการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น การพัฒนาระบบจอดรถอัตโนมัติ (Smart Parking)
                              3.2 ด้านการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รฟม. มีเป้าหมายความพึงพอใจและจำนวนของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าและบริการเสริมอื่น ๆ ดังนี้
สายรถไฟฟ้า          ความพึงพอใจ
(ระดับมาก-มากที่สุด)           จำนวนผู้โดยสาร
(คน-เที่ยว/วัน)
สายเฉลิมรัชมงคล          ร้อยละ 85          232,000
สายฉลองรัชธรรม          ร้อยละ 85          39,772

                              3.3 ด้านการเงิน รฟม. จะหารายได้จากธุรกิจต่อเนื่องเพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ                  ร้อยละ 5 พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่เพื่อสนับสนุนการหารายได้ และบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้สูงกว่าปีที่ผ่านมา
                              3.4 ด้านการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล บุคลากรร้อยละ 93 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรณะและมีคะแนนความผูกพันที่ระดับ 4.25 นอกจากนี้ จะพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อรองรับการดำเนินงานและสนับสนุนการให้บริการ โดยจะเชื่อมโยงระบบกับหน่วยงานภายนอกให้แล้วเสร็จตามแผน
                              3.5 ด้านการกำกับดูแลที่ดี จะพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลองค์กรใน 4 มิติ ได้แก่                (1) การมีส่วนร่วม (2) การส่งเสริมการสื่อสารธรรมาภิบาล (3) การสร้างมาตรฐานการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลที่ดี และ (4) การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยตั้งเป้าหมายผลการประเมิน ITA อยู่ในระดับ A
                    4. ความเห็นของ คค.
                    คค. ได้มอบหมายให้ รฟม. ดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล สรุปได้ ดังนี้
                              4.1 ด้านการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เช่น เร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารผลกระทบต่อการจราจรในทุกมิติและเร่งรัดศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาคให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว
                              4.2 ด้านการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เช่น จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกและปลอดภัยและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงาน               ต่าง ๆ เพื่อให้มีการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ อย่างไร้รอยต่อ
                              4.3 ด้านการเงิน ให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้จากธุรกิจต่อเนื่องเพื่อให้ รฟม. สามารถเพิ่มรายได้นอกเหนือจากการให้บริการรถไฟฟ้าได้
                              4.4 ด้านเทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อกำกับ
ติดตาม และพัฒนาการก่อสร้าง การเดินรถ ระบบตัวรถ และการให้บริการประชาชน

38. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ  รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (23 มกราคม 2561) ที่ให้ สปน. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน] โดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                    1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว 7,004,562 คน จำแนกได้ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร 459,756 คน และส่วนภูมิภาค 6,544,806 คน โดยแบ่งออกเป็น เพศชาย 3,144,409 คน                 เพศหญิง 3,860,153 คน
                    2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ 16  หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 1,280,611 คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา                 904 สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการ/กิจกรรม          ส่วนราชการ          จำนวน (ครั้ง)
(1) จิตอาสาพัฒนา ได้แก่ 1) การปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน สถานที่ราชการ และบริเวณโดยรอบ
2) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน  3) การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม                4) การบริจาคโลหิตและหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ 5) การมอบสิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้ และผู้ป่วยติดเตียง 6) การปลูกต้นไม้ และพัฒนาแหล่งน้ำ (ขุดลอกคลอง การฉีดจุลินทรีย์ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย และกำจัดวัชพืช) และ 7) จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และวิชาชีพความรู้ด้านการออม          กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.)กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
          17,061

(2) จิตอาสาภัยพิบัติ ได้แก่ 1) การช่วยเหลือ
ประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัย และ               ภัยหนาว (มอบถุงยังชีพ บริจาคสิ่งของ เครื่องกันหนาวและทำความสะอาดพื้นที่) และ               2) การอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย และภัยพิบัติต่าง ๆ          กห. กค. พม. ทส. มท. ยธ. วธ. ศธ. สธ. อก. กปส. และ ตช.          1,064
(3) จิตอาสาเฉพาะกิจ ได้แก่ 1) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ และเข้าร่วมงานพระราชพิธี 2) การจัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญ และ 3) การบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล          กห. กต. พม. ทส. มท. ยธ. วธ. ศธ. กปส. และ ตช.           317
(4) วิทยากรจิตอาสา 904 โดยเป็นการบรรยายความรู้เกี่ยวกับ 1) บทบาท หน้าที่ และกิจกรรมจิตอาสา 2) สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย และ 3) โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ          พม. ทส. ยธ. วธ. ศธ. สธ. กปส. และ ตช.           24
รวม          18,466
                    3. สปน. ได้ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) โดยการลงพื้นที่ และรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                              3.1 จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิม                  พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2565 โดยหน่วยงานได้จัดกิจกรรมและรายงานผลการดำเนินงานให้ สปน. ทราบ จำนวน 18 หน่วยงาน จัดกิจกรรมจำนวน 289 ครั้ง                       มีผู้เข้าร่วมจำนวน 63,108 คน เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้ การปรับปรุงภูมิทัศน์ การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และการบริจาคโลหิต
                              3.2 โครงการในภารกิจของ ศอญ. จอส. พระราชทาน ซึ่ง สปน. ได้รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว ได้แก่ โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้
                              3.3 เข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ. จอส. พระราชทาน พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 10  ครั้ง เช่น (1) รับทราบสถานการณ์ในภาพรวม เช่น สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และการเตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ และ (2) รายงานผลการช่วยเหลือประชาชนโดยใช้เงินกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สปน. เช่น การมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติมจากเหตุการณ์ ณ จังหวัดหนองบัวลำภู และการจัดทำถุงยังชีพเหตุอุทกภัยในจังหวัดต่าง ๆ
                              3.4 ลงพื้นที่ติดตามความต่อเนื่องของโครงการจิตอาสาพระราชทานจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร และ (2) โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลอง                    แม่ข่า รวมทั้งลงพื้นที่ประสบอุทกภัยและให้กำลังใจกำลังพลจิตอาสาช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัด (จังหวัดอุบลราชธานี เชียงใหม่ และร้อยเอ็ด)
                              3.5 ประสานการดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยรวมอย่างต่อเนื่อง

39. เรื่อง รายงานผลการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่น รัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เสนอรายงานผลการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยมีข้อเสนอ 8 ด้าน รวม 61 ประเด็น สรุปผลการดำเนินการได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินการในภาพรวม
                              1.1 โครงการที่ดำเนินการไปแล้ว จำนวน 8 ประเด็น ส่วนใหญ่อยู่ในด้านการเยียวยา ฟื้นฟู และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) ด้านการท่องเที่ยว และข้อเสนอเชิงนโยบาย/ข้อสั่งการเพิ่มเติมของนายกรัฐมนตรี ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ ความพร้อมทั้งสถานที่ องค์ความรู้ เทคโนโลยี บุคลากร และความร่วมมือและผลักดันจากภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่
                              1.2 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 37 ประเด็น ส่วนใหญ่อยู่ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาออกแบบ การจัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมาย ทั้งนี้ โครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นด้วยแล้ว โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2566
                              1.3 โครงการที่อยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 16 ประเด็น เนื่องจากพบปัญหาอุปสรรคบางประการ เช่น โครงการพัฒนาและบำรุงรักษาร่องน้ำและสัญญาณการเดินเรือ (ตั้งแต่คลองปากหรา คลองตลิ่งชัน และคลองยวน) พบว่า ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการสำรวจออกรูปแบบร่องน้ำ คำนวณระยะทาง ปริมาณเนื้อดิน และจุดที่ต้องวางเครื่องหมายการเดินเรือ และโครงการขับเคลื่อน Thailand Green Rubber ยกระดับยางไทยสู่สากลเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปที่เกี่ยวกับยางพาราของประเทศพบว่า เกษตรกรยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน และมีความกังวลต่อตลาดที่มารับซื้อผลผลิตที่ผ่านการรับรองแล้ว รวมทั้งการปฏิบัติตามหลักการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนมีความยุ่งยากและซับซ้อน เกษตรกรจึงไม่พร้อมที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการโดยมีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นการพัฒนา          ดำเนินการแล้ว          อยู่ระหว่างการดำเนินการ          อยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณ
(1) ด้านเกษตร (7 ประเด็น) เช่น การขับเคลื่อนและยกระดับยางไทยสู่สากล การส่งเสริมการเลี้ยงแพะและการสนับสนุนให้มีการทำประมงนอกน่านน้ำ เช่น ปลาทูน่า
          -          4 ประเด็น
วงเงินรวม
1,241.60 ล้านบาท          3 ประเด็น
(2) ด้านการท่องเที่ยว                  (14 ประเด็น) เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์และส่งเสริมความปลอดภัยในเมืองท่องเที่ยว การพัฒนาเมืองอัจฉริยะอันดามันและการยกระดับการท่องเที่ยว                  เชิงสุขภาพ และการบริการสินค้า
เพื่อสุขภาพ
          2 ประเด็น          7 ประเด็น
วงเงินรวม
139.84 ล้านบาท          5 ประเด็น
(3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน              (14 ประเด็น) เช่น การยกระดับมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพ
ทางหลวง การพัฒนาท่าเรือชุมชนและการศึกษาโครงข่ายคมนาคมแก้ไขปัญหาจราจรในเขตเมือง          -          9 ประเด็น
วงเงินรวม
716.27 ล้านบาท          5 ประเด็น
(4) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
(4 ประเด็น) เช่น การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการเพิ่มศักยภาพบริการทางการแพทย์และการแพทย์ฉุกเฉิน          -          3 ประเด็น
วงเงินรวม
5,596.84 ล้านบาท          1 ประเด็น
(5) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (1 ประเด็น) คือ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ ฟื้นฟูพะยูน และสัตว์ทะเลหายาก          -          1 ประเด็น
วงเงินรวม
68.8 ล้านบาท          -
(6) ด้านการเยียวยา ฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  (10 ประเด็น) เช่น การจัดมหกรรมแสดงและจำหน่ายสินค้าเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 2 และการส่งเสริมการจ้างงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19          3 ประเด็น
          5 ประเด็น
วงเงินรวม
754.4 ล้านบาท          2 ประเด็น
(7) โครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี (7 ประเด็น) เช่น การพัฒนาระบบบริการสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล                        การพัฒนาศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ฟื้นฟูพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก จังหวัดตรัง และโครงการ Phuket Health Sandbox จังหวัดภูเก็ต          -
          7 ประเด็น
วงเงินรวม
415.46 ล้านบาท          -
(8) ข้อเสนอเชิงนโยบาย/ข้อสั่งการเพิ่มเติมของนายกรัฐมนตรี
(4 ประเด็น) เช่น การกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเป็นระบบ การเป็นเจ้าภาพ
จัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษและการยกระดับเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชกระท่อมและกัญชาด้วยการวิจัยและพัฒนา           3 ประเด็น
          1 ประเด็น
วงเงินรวม
4,180 ล้านบาท          -
รวมทั้งสิ้น 61 ประเด็น          8 ประเด็น
(ร้อยละ 13.1)           37 ประเด็น
(ร้อยละ 60.7)           16 ประเด็น
(ร้อยละ 26.2)

                     2. ผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน ได้แก่ ยกระดับภาคการเกษตรไปสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูงโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในการแปรรูปสินค้าเกษตร พัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับโลก พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพและเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่และบรรเทาผลกระทบและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
                    3. ปัจจัยความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงาน ได้แก่ ข้อเสนอของภาคเอกชนสามารถดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและบูรณาการกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ การมีกระบวนการที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการขับเคลื่อนติดตามผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นรูปธรรม
                    4. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานระยะต่อไป ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
                              4.1 ข้อเสนอแนะการพัฒนาเชิงพื้นที่ ได้แก่ (1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยการยกระดับมาตรฐานภาคการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูง การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคเกษตรกรรมสู่เกษตรมูลค่าสูงและการพัฒนาระบบสาธารณสุขรองรับการให้บริการที่เพียงพอ   (2) พัฒนาและแก้ไขปัญหาที่มาจากการเติบโตของความเป็นเมือง โดยเฉพาะการบริหารจัดการขยะและน้ำเสียและ (3) เร่งรัดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ในกลุ่มจังหวัดอันดามัน เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
                              4.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไก กรอ. โดยปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ใน กรอ. เพื่อให้การพิจารณาและเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและสามารถแข่งขัน
เป็นไปอย่างบูรณาการ ต่อเนื่อง และยั่งยืน

40. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) และมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานสื่อสารมวลชนของประเทศดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ (พ.ศ. 2566-2570) โดยกำหนดแผนงาน โครงการ ตัวชี้วัดประจำปีให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการฯ (พ.ศ. 2566-2570) แล้วนำแผนงาน โครงการ ตัวชี้วัดประจำปีดังกล่าวบรรจุเข้าสู่แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อ กปช. ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กปช. รายงานว่า นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2563-2565                          (ฉบับปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) มีผลการประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่มีความเหมาะสมเชิงสาระในทุกด้านของเนื้อหาสาระของแผนแล้วโดยรวมถือว่า ?มีความพึงพอใจ? และประชาชนมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานตามแผนอยู่ในระดับ ?มาก? มีการสื่อสารข้อมูลภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับข้อมูลเป็นอย่างดี แต่มีประเด็นที่ต้องพัฒนา ได้แก่ การสร้างหน่วยงานกลางในการสื่อสารภาครัฐ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนและภาคประชาชน และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ซึ่งนโยบายและแผนฯ พ.ศ. 2563-2565 ได้สิ้นสุดลงตามกรอบระยะเวลาของแผนในปี 2565  กปช. จึงได้ดำเนินการจัดทำและเสนอ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ (พ.ศ. 2566-2570) ตามกระบวนการและขั้นตอนการจัดทำและนำเสนอแผนระดับที่ 3 ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางหลักของงานด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ โดยการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 10 การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม แผนย่อยที่ 3 การใช้สื่อและสื่อสารมวลชน การปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมของคนในสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในการประชุมสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาการฯ) ครั้งที่ 13/2565 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบ
(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ (พ.ศ. 2566-2570) และ กปช. ได้ปรับรายละเอียดให้มีความชัดเจนตามความเห็น              สภาพัฒนาการฯ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีแล้ว สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วิสัยทัศน์          ?การประชาสัมพันธ์ที่ประชาชนเชื่อมั่นด้วยการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์ เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศต่อประชาคมโลก?
วัตถุประสงค์           (1) เพื่อกำหนดเรื่องสื่อสารที่สำคัญ (Specific Core Content) ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างถูกต้อง แม่นยำ
(2) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก
(3) เพื่อบริหารประเด็นข้อมูลข่าวสารและปฏิบัติการสารสนเทศต่อต้านข่าวปลอม              (Fake News) พัฒนาคลังข้อมูลข่าวสารอัจฉริยะ และสร้างเครือข่าย รวมทั้งช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งยกระดับการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
(4) เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศเพื่อสนับสนุนการสื่อสารในยุคดิจิทัล
เป้าหมายและตัวชี้วัดระดับเป้าหมาย          กำหนดตัวชี้วัดของแต่ละเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 10 การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม

41. เรื่อง  ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง (โครงการหนองขวัญ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 300,000,000 บาท เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง (โครงการหนองขวัญ) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ
                    สาระสำคัญ
                     1. กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรและการอุปโภคบริโภคให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์บางส่วน  จึงได้มีความจำเป็นในการดำเนินโครงการฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง (โครงการหนองขวัญ) ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาวังยาง - หนองขวัญ สำนักงานชลประทานที่ 4 กรมชลประทาน โดยที่โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ด้านชลประทาน ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี และยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
                              1.1 ชื่อโครงการ โครงการฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง (โครงการหนองขวัญ)
                              1.2 วัตถุประสงค์
                                        (1) เพื่อใช้ในการทดน้ำจากแม่น้ำปิงให้เข้าอาคารปากคลองส่งน้ำคลอง                   MC-หนองขวัญ ซึ่งจะมีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลประโยชน์ และเพื่อการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรในเขตพื้นที่ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์บางส่วน
                                        (2) เพื่อให้ราษฎรมีสภาพทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากรายได้ของผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มมากขึ้น
                              1.3 สาระสำคัญของโครงการ
                                        (1) ก่อสร้างฝายเกเบี้ยน (Gabion) ขนาดความสูง 3.00 เมตร และสันฝายมีความยาว 337 เมตร
                                        (2) งานสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 2 แห่ง
                                        (3) งานก่อสร้างประตูระบายน้ำหนองขวัญ (ปตร. หนองขวัญ) 1 แห่ง ขนาด                    3.00 X 4.00 เมตร
                                        (4) งานก่อสร้างรางน้ำ ขนาดความกว้าง 4.00 เมตร ความลึก 4.00 เมตร และความยาว 60.00 เมตร
                                        (5) งานปรับปรุงคลองส่งน้ำหนองขวัญ
                              1.4 พื้นที่ดำเนินการ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาวังยาง-หนองขวัญ สำนักงานชลประทานที่ 4 กรมชลประทาน
                              1.5 งบประมาณ ขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 300,000,000 บาท
                              1.6 ระยะเวลาดำเนินการ มีแผนระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี
                              1.7 ผลผลิตของโครงการ ทำให้มีฝายเพื่อทดน้ำเข้าทางระบายน้ำ (ทรบ.)                            คลองหนองขวัญ ซึ่งสามารถส่งน้ำได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ราษฎรสามารถทำการเกษตรได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง
                    2. สำนักงบประมาณได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมชลประทานใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน 300,000,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง (โครงการหนองขวัญ) โดยเบิกจ่ายในงบลงทุน และขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

42. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566-2569)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566-2569)                (ร่างแผนแม่บทฯ)
                    2. ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบทิศทางและแนวทางดำเนินงาน รวมทั้งใช้เป็นกรอบแนวทางจัดทำและเสนอคำของบประมาณของหน่วยงานตามห้วงระยะเวลาการบังคับใช้ของแผน
                    3. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนมิติการบริหารงานและเป้าหมายของร่างแผนแม่บทฯ และใช้เป็น                 แนวทางการจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามห้วงระยะเวลาการบังคับใช้ของแผน
                    4. ให้ ยธ. (สำนักงานกิจการยุติธรรม) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการประสาน สนับสนุนและติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติ และรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง

43. เรื่อง   ขอขยายเวลาดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 และโครงการพาณิชย์...ลดราคา!  ออนทัวร์ ทั่วไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 และโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย ไปจนถึงเดือนเมษายน 2566 สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับดำเนินโครงการดังกล่าวไปจนถึงเดือนเมษายน 2566 เห็นควรดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยให้กระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ รวมทั้งรวบรวม ประมวลผล และประเมินความสำเร็จของโครงการ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการในลักษณะดังกล่าวข้างต้น เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

44. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) เสนอการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (24 มกราคม 2566) ในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ของหน่วยงานสนับสนุน จากเดิม 10 หน่วยงาน เป็น 11 หน่วยงาน โดยขอเพิ่มกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) อีก 1 หน่วยงาน ภายในวงเงินงบประมาณเดิมของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จำนวน 18,362,500 บาท โดยปรับเป็น ศธ. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 16,142,500 บาท อว. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 2,220,000 บาท

45.  เรื่อง  ขออนุมัติหลักการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวรักษ์โลก BCG Model เพื่อขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวรักษ์โลก BCG Model เพื่อขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2566 เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
                    สาระสำคัญ
                     โครงการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวรักษ์โลก BCG Model มีรายละเอียด ดังนี้
                    1. ความเป็นมาการทำนาข้าวจะมีการปล่อยก๊าซมีเทน หรือ คาร์บอนเตตระไฮไดรด์                    (Carbon Tetrahydride) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก มีคุณสมบัติที่จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น การลดภาวะโลกร้อน
คือ ต้องจัดการลดก๊าซมีเทน โดยการทำนาแบบประณีต คือ การใช้ระบบชีวมวล ชีวภาพ และจุลินทรีย์ ที่ลดละเลิก
การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว และปุ๋ยเคมี รวมทั้งการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการทำนา และส่งเสริมการทำนาแบบยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร                ศูนย์ข้าวชุมชน และตระหนักถึงการรักษาสภาพแวดล้อม
                    2. วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการลดต้นทุนการผลิตให้กลุ่มชาวนาผู้ปลูกข้าวโดยการทำนาแบบประณีตหรือการใช้ระบบชีวมวล ชีวภาพ และจุลินทรีย์ ที่ลดละเลิกการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและปุ๋ยเคมี รวมทั้งการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร 2) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวในการยกระดับการผลิตข้าวให้มีปริมาณและคุณภาพข้าว ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและปลอดภัย                     ต่อสิ่งแวดล้อม 3) เพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถพัฒนาการผลิตข้าว อันนำไปสู่มาตรฐานข้าวยั่งยืน (Sustainable Rice Platform) หรือ SRP ที่จะพัฒนาและการยกระดับมาตรฐานข้าวไทยสู่เวทีการส่งออกในต่างประเทศเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก
                    3. เป้าหมาย ศูนย์ข้าวชุมชนที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว จำนวน 292 ศูนย์ พื้นที่ดำเนินการ 58,400 ไร่ และพื้นที่ให้บริการ 60 ล้านไร่
                    4. พื้นที่ และขอบเขตการดำเนินการพื้นที่ผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่อยู่ในกลุ่มของศูนย์ข้าวชุมชนที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว จำนวน 292 ศูนย์ ซึ่งเป็นศูนย์ข้าวชุมชนที่มีความพร้อมในการดำเนินงานตามเงื่อนไขของโครงการฯ ในพื้นที่ 74 จังหวัด ดำเนินการศูนย์ละ 200 ไร่ เพื่อดำเนินการปลูกข้าวรักษ์โลก ซึ่งมีรูปแบบการเกษตรแบบยั่งยืน โดยไม่มีการเผาฟาง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าว มีการจัดการศัตรูข้าวด้วยการใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและสารชีวภัณฑ์  นอกจากนี้ มีการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรและเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต ลดความเสียหายอันเกิดจากศัตรูข้าวหรือกิจกรรมการทำนา และเพิ่มศักยภาพในการผลิตข้าวคุณภาพดีปลอดสารพิษ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และรายได้ของเกษตรกรจากผลผลิตข้าวปลอดสารพิษส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                    5. เงื่อนไขคุณสมบัติพื้นฐานของศูนย์ข้าวชุมซนที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 1) เป็นศูนย์ข้าวชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าวแล้วเสนอความต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามเงื่อนไข 2) เป็นศูนย์ข้าวชุมชนที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล ตามประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3) เป็นศูนย์ข้าวชุมชนที่มีความพร้อมในการผลิตข้าวคุณภาพดีได้มาตรฐาน ลดละเลิกการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและ 4) ศูนย์ข้าวชุมชนที่ขอรับการสนับสนุนโครงการฯ ต้องดำเนินโครงการและกิจกรรมที่ไม่ซ้ำช้อนกับโครงการ               อื่น ๆ ภายใต้แผนงาน/โครงการ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของส่วนราชการอื่น ๆ

46. เรื่อง  การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน แหล่งกักเก็บน้ำหรือสิ่งสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจาก สาธารณภัย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                    พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน แหล่งกักเก็บน้ำ หรือสิ่งสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัย จำนวน 67 จังหวัด 2,765 โครงการ งบประมาณ 8,171,598,800 บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ


ต่างประเทศ
47. เรื่อง การลงนามข้อตกลงรับทุนสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกภายใต้โครงการการผลักดันการประยุกต์ใช้และการจัดการตลอดวงจรของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงโครงการการผลักดันการประยุกต์ใช้และการจัดการตลอดวงจรของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (ร่างข้อตกลงฯ) ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization: UNIDO) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างข้อตกลงดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สามารถพิจารณาดำเนินการภายใต้หลักการดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งมอบหมายให้เลขาธิการ สกพอ. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามข้อตกลงรับการสนับสนุนฝ่ายไทย โดยเป็นที่ยอมรับระหว่างภาคีแล้วว่าไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็มสำหรับลงนาม และมอบหมายให้ สกพอ. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกำกับการดำเนินโครงการ (Project Executing Entity)       เพื่อดำเนินงานดังกล่าวต่อไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ
(สกพอ. มีกำหนดลงนามในภายในเดือนมีนาคม 2566)
                    สาระสำคัญ
                    ร่างข้อตกลงฯ ที่ สกพอ. เสนอในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการลงนามความร่วมมือในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนระหว่าง สกพอ. และ UNIDO เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการขนส่ง      โดยผลักดันนวัตกรรมและปรับใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการลงทุนและสร้างต้นแบบทางเทคโนโลยีในพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งนี้ ได้เลือกระบบขนส่งสาธารณะในเทศบาลระยองเป็นต้นแบบของการพัฒนาดังกล่าว





48.  เรื่อง มาตรการรองรับการเสียภาษีขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ขององค์การเพื่อความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการรองรับการเสียภาษีขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอ ดังนี้
หน่วยงาน          ประเด็นมอบหมาย
สกท.          1) ดำเนินการให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 เพื่อเพิ่มเติมแหล่งเงินของกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (กองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ) ในส่วนของเงินที่ได้รับการจัดสรรจากรายได้จากการจัดเก็บ Top - up Tax ตาม Pillar 2 (เป็นการดำเนินการเพื่อรองรับการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ)
2) นำเสนอมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยให้เงินสนับสนุนนักลงทุนที่มีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดการลงทุนอย่างยั่งยืนภายในประเทศ ภายใต้พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 ต่อคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถฯ) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
3) นำเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบจากแนวทางการจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
กระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร)          ดำเนินการตรากฎหมายและ/หรือกำหนดแนวทางดำเนินการตามความเหมาะสม ดังนี้
1) การจัดเก็บ Top - up Tax ตาม Pillar 2 (กรมสรรพากรอยู่ระหว่างจัดทำกฎหมาย)
2) การจัดสรรรายได้จากการจัดเก็บ Top - up Tax ให้แก่กองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ ในอัตราอย่างน้อยร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินรายได้ดังกล่าว (เป็นการหารือในเบื้องต้น โดย สกท. และกรมสรรพากรจะหารือร่วมกันในรายละเอียดเพื่อกำหนดอัตราดังกล่าวที่ชัดเจนต่อไป)
3) การจัดส่งข้อมูลผู้ชำระ Top - up Tax ให้แก่ สกท.
ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดการดำเนินการตามข้อเสนอนี้ ให้ สกท. และกรมสรรพากรหารือร่วมกันต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. มาตรการที่ สกท. เสนอในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดรับกับแนวทางการจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่ของ OECD ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ Inclusive Framework on BEPS เพื่อให้ประเทศไทยยังคงความสามารถในการชักจูงการลงทุนและรักษาฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป
                    2. กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ Inclusive Framework on Base Erosion and Profit Shifting (BEPS) จัดตั้งขึ้นโดย OECD เพื่อเป็นกลไกให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกเข้าร่วมเพื่อกำหนดทิศทางและวิธีการในการนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและโยกย้ายกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าวตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ทั้งนี้ ในการประชุม The 13th  Inclusive Framework on BEPS เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 OECD ได้นำเสนอแนวทางการจัดเก็บภาษีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง (Pillar) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
แนวทางที่ 1 (Pillar 1)          แนวทางที่ 2 (Pillar 2)
จัดเก็บภาษีกลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ (Multi - National Enterprises: MNES ที่มีรายได้รวมมากกว่า 20,000 ล้านยูโร และมีอัตรากำไรมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ โดยแบ่งสัดส่วนการจัดเก็บภาษีไปยังประเทศผู้ใช้งานร้อยละ 25 ของส่วนกำไรที่เกินร้อยละ 10 ของรายได้          กำหนดให้ MNEs ที่มีรายได้รวมตั้งเต่ 750 ล้านยูโรขึ้นไปต้องเสียภาษีขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ในอัตราร้อยละ 15 ในแต่ละประเทศที่บริษัทลูกประกอบกิจการ และหากบริษัทลูกในประเทศต่าง ๆ เสียภาษีจริง (Effective Tax Rate: ETR) ต่ำกว่าร้อยละ 15 จะต้องเสียภาษีส่วนต่าง (Top - Up Tax) ให้ประเทศที่บริษัทแม่ตั้งอยู่1
(ที่มาของข้อเสนอของ สกท. ในครั้งนี้)
[คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 โดย OECD คาดว่า แนวทางที่ 2 (Pillar 2) จะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2566 อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรแจ้งว่าขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำกฎหมายการจัดเก็บ Top-up Tax โดยคาดว่าจะเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวได้ภายในปี 2566 และจะมีผลบังคับใช้ในปี 2568]

1การคำนวณอัตราภาษีที่แท้จริง (ETR) และ Top-up Tax จะคำนวณจากข้อมูลทางการเงินของบริษัทในเครือทั้งหมดในประเทศนั้น ๆ

49. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ1 ที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์ (ร่างความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้ กต. สามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    2. เห็นชอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน ให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามดังกล่าว
                    3. มอบหมายให้ กต. และกระทรวงมหาดไทย (มท.) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ และระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับร่างความตกลงฯ ในโอกาสแรก
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1) สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2559 ฝ่ายสหภาพยโรป (European Union: EU) ได้ยื่นเรื่องขอให้ฝ่ายไทยยอมรับเอกสารการเดินทางแลสเซ-ปาสเซที่ออกโดยอียู (European Union Laissez-Passer) และให้ตรวจลงตราประเภททูตสำหรับเจ้าหน้าที่ Eบ ที่จะเดินทางมาประจำการหรือปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องจัดทำความตกลงเป็นการเฉพาะ
                    2) ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2564 - 2565 ฝ่ายไทยและฝ่าย EU ได้เริ่มการเจรจาจัดทำร่างความตกลงฯ จนล่าสุดทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบให้ยอมรับแลสเซ-ปาสเซที่ออกโดย EU ให้มีสถานะเทียบเท่าหนังสือเดินทาง โดยให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติในการรับรองแลสเซ-ปาสเซของสหประชาชาติ และตามบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนเหตุผลของการเดินทางเข้ามายังราชอาณาจักรไทย จึงถือว่าการเจรจาเสร็จสิ้นและบรรลุผลสำเร็จ
                    3) ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
1                    1. รัฐบาลไทยจะยอมรับแลสเซ-ปาสเซที่ออกโดย EU (แลสเซ-ปาสเซของ EU) เป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์เทียบเท่ากับหนังสือเดินทาง
          2. ผู้ถือแลสเซ-ปาสเซของ EU ที่ยังมีอายุการใช้งานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการทูตมีสิทธิ์ที่จะยื่นขอรับการตรวจลงตราประเภททูตหรือประเภทอัธยาศัยไมตรี2 ได้ โดยข้อกำหนดนี้จะบังคับใช้กับบุคคลในครอบครัวของบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการทูตดังกล่าวด้วย
          3. ผู้ถือแลสเซ-ปาสเซของ EU ที่ยังมีอายุการใช้งานที่มิได้มีหน้าที่เกี่ยวกับการทูตมีสิทธิ์ที่จะยื่นขอรับการตรวจลงตราประเภทราชการหรือประเภทอัธยาศัยไมตรี โดยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพำนักในไทย ข้อกำหนดนี้จะบังคับใช้กับบุคคลในครอบครัวของบุคคลเหล่านั้นด้วย
2          ความตกลงนี้จะไม่ยกเว้นผู้ถือแลสเซ-ปาสเซของ EU จากพันธกรณีในการเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในไทย โดยไม่กระทบต่อเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต
3          EU จะดำเนินการป้องกันการปลอมแปลงและรับประกันว่าแลสเซ-ปาสเซของ EU จะเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเอกสารการเดินทางที่อ่านด้วยเครื่องตามข้อแนะนำขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
4                    1. EU จะจัดหาตัวอย่างของแลสเซ-ปาสเซของ EU ที่ยังมีอายุการใช้งานให้แก่ไทยผ่านช่องทางการทูต อย่างน้อย 30 วันก่อนที่ความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับ
          2. EU จะแจ้งให้รัฐบาลไทยรับทราบอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมเกี่ยวกับการแก้ไขใด ๆ ในกฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการออกแลสเซ-ปาสเซของ EU ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบของแลสเซ-ปาสเซของ EU
5          ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต เพื่อขอแก้ไขหรือปรับปรุงความตกลงนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน การปรับหรือการแก้ไขใด ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคู่ภาคีแล้วจะมีผลใช้บังคับในวันที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
6          ความแตกต่างหรือข้อขัดแย้งใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการอนุวัติการหรือการปรับใช้ข้อบทในความตกลงนี้จะต้องทำให้ยุติอย่างฉันมิตรผ่านการปรึกษาหารือหรือการเจรจาระหว่างคู่ภาคี
7                    1. ความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 60 นับจากวันที่ได้รับการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายโดยคู่ภาคีว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการภายในที่จำเป็นของตนแล้ว
          2. ความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีการบอกเลิกโดยภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังภาคีอีกฝ่ายเป็นเวลา 6 เดือนล่วงหน้าผ่านช่องทางการทูต
1แลสเซ-ปาสเซ (Laissez-Passez) เปรียบเหมือนหนังสือเดินทางของเจ้าหน้าที่ EU ที่จะใช้เดินทางเข้า-ออกไปยังประเทศต่าง ๆ โดยปัจจุบันหนังสือเดินทางแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ (1) หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport) (2) หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) (3) หนังสือเดินทางกึ่งราชการ (Public Affairs Passport) (4) หนังสือเดินทางธรรมดา (Ordinary Passport)    (5) หนังสือเดินทางสหประชาชาติ (United Nation Passport) และ (6) หนังสือเดินทางหมู่ (Collective Passport)
2การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa) จะจำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในไทยเป็นการชั่วคราวสำหรับกรณี ดังนี้ (1) การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือ หนังสือเดินทางราชการ หรือ หนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูต หรือ หนังสือเดินทางราชการเพื่อการอื่นนอกจากการเข้ามาประจำการในไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่การทูต หรือกงสุล หรือราชการ และ (2) การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาซึ่งประสงค์จะเข้ามาในไทยในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ

50. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างคำมั่นโดยสมัครใจ (Voluntary Commitment) ในการประชุมทบทวนการดำเนินการด้านน้ำในห้วงแรกของทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018 - 2023 (Midterm Comprehensive Review of the Implementation of the Objectives of the International Decade for Action ?Water for Sustainable Development?: United Nations 2023 Water Conference)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างคำมั่นโดยสมัครใจ (Voluntary Commitment) ที่ประเทศไทยจะประกาศ ในหัวข้อ ?ประเทศไทยให้ความสำคัญกับความมั่นคงน้ำอุปโภคบริโภค เพื่อการเข้าถึงน้ำสะอาดของทุกภาคส่วน? ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างคำมั่นโดยสมัครใจในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ ให้ สทนช. หรือผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนของประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมทบทวนการดำเนินการด้านน้ำในห้วงแรกของทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018 ? 2023 (การประชุมฯ) ระหว่างวันที่ 22 - 24 มีนาคม 2566 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยในการประชุมฯ จะมีหนึ่งในผลลัพธ์ที่สำคัญคือ Water Action Agenda (วาระดำเนินการด้านน้ำ) ซึ่งจัดทำโดยการรวบรวมและใช้คำมั่นโดยสมัครใจของประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุมทั้งหมดมาประกอบกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเกี่ยวกับน้ำให้บรรลุตามเป้าหมายที่ประเทศสมาชิกกำหนดร่วมกัน
                    2. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 สทนช. ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทยเพื่อร่วมกันกำหนดและพิจารณาคำมั่นโดยสมัครใจของประเทศไทยตามข้อเสนอของ สทนช. ?ประเทศไทยให้ความสำคัญกับความมั่นคงน้ำอุปโภคบริโภคเพื่อการเข้าถึงน้ำสะอาดของทุกภาคส่วน? เพื่อใช้ประกอบในการประชุมฯ ซึ่งคำมั่นโดยสมัครใจดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการมุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคในชนบทและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นเทียบเท่าชุมชนเมือง ในราคาที่เหมาะสม พร้อมทั้งเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนและปรับปรุงระบบประปาชนบท ทั้งนี้ สทนช. แจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องและเห็นว่าเรื่องนี้ไม่เข้าข่ายหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


51. เรื่อง โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ (โครงการฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 16 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
                    2. ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีอำนาจอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมภายใต้กรอบงบประมาณ งบเงินอุดหนุนรายการโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และสามารถจ่ายเงินงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศ เพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ตามที่ได้รับจัดสรร
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1) ยธ. ได้ดำเนินการตามแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศเชิงรุกในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อร่วมกันควบคุมและสกัดกั้นสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยได้จัดทำโครงการฯ ภายใต้เอกสารข้อตกลง (Letter of Agreement : LoA) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายและการควบคุมยาเสพติดระหว่างสำนักงาน ป.ป.ส. กับหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสกัดกั้นยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ตั้งแต่ต้นทางภายนอกประเทศมีให้เข้าสู่แหล่งผลิตในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำและสกัดกั้นยาเสพติดจากแหล่งผลิตที่จะออกสู่ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการลดผลกระทบต่อสถานการณ์ยาเสพติดภายในประเทศไทยโดยตรง
                    2) ยธ. (สำนักงาน ป.ป.ส.) เห็นว่า พื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนของโครงการฯ ไทยควรสนับสนุนงบประมาณให้กับโครงการนี้ต่อไป โดยโครงการมีรายละเอียด ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          1. เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2. เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมแม่น้ำโขงปลอดภัยเพื่อการควบคุมยาเสพติด 6 ประเทศ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2562 - 2565) ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
3. เพื่อพัฒนาบุคลากรและระบบการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
4. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในการร่วมกันควบคุมปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ระยะเวลา          กุมภาพันธ์ - กันยายน 2566
กรอบการดำเนินการ          1. ส่งเสริมการปราบปราม และสกัดกั้นยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะดำเนินการโดยชุดปราบปรามของประเทศเพื่อนบ้านตามจุดตรวจ จุดสกัด ตามเส้นทางคมนาคมแนวชายแดนให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเสริมสร้างประสิทธิภาพของด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางคมนาคม
2. การสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ และการบำรุงรักษาเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องตรวจสารเสพติดเพื่อตรวจยาเสพติดในขณะปฏิบัติหน้าที่ ยานพาหนะในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของชุดปฏิบัติการปราบปรามและสกัดกั้นยาเสพติด
3. การพัฒนาการเสริมสร้างศักยภาพ โดยการฝึกอบรมบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม สกัดกั้น และตรวจพิสูจน์ยาเสพติด เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาบทบาทประเทศไทยในการดำเนินการเชิงรุกซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. การป้องกันยาเสพติด โดยส่งเสริมหมู่บ้านคู่ขนาน/หมู่บ้านสีขาวตามแนวชายแดนไทย - ลาว/ไทย - กัมพูชา เพื่อควบคุมสกัดกั้นและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทำให้บ้านคู่ขนานปลอดจากปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ เช่น การลักลอบค้ายาเสพติด ค้าสิ่งผิดกฎหมาย ในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ
5. การบริหารการจัดการ และการดำเนินการศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย (ศูนย์ประสานงานฯ) ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งขึ้น โดยการสนับสนุนงบประมาณในการบริหารจัดการศูนย์ประสานงานฯ ในประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ จะเป็นการพัฒนาระบบการประสานงานร่วมกันให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการรายงานผลความคืบหน้าในการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
การกำกับติดตาม          1. ประสานติดตามความคืบหน้าในการดำเนินโครงการฯ ผ่านอัครราชทูตที่ปรึกษาด้านควบคุมยาเสพติดประจำประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และประสิทธิภาพในการกำกับติดตามการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการฯ
2. ให้หน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของแต่ละประเทศจัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินงานและนำส่งให้กับสำนักงาน ป.ป.ส.ไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง
งบประมาณ          จำนวน 16 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบเงินอุดหนุน รายการโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ


52. เรื่อง การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปในโอกาสแรก ตามผลการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    สาระสำคัญ
                    1. กต. รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2565 เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และเข้าร่วมประชุมผู้นำกลุ่ม G-20 และเยือนประเทศอื่น ๆในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้อง จึงได้กราบบังคมทูลเชิญให้ทรงเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการหารือ
1) การเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ      พระบรมราชินี          เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียและพระบรมวงศานุวงศ์ 6 พระองค์ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นการเข้าเฝ้าฯ อย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์ของทั้งสองประเทศนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อปี 2500
2) ผลการหารือทวิภาคี          เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 นายกรัฐมนตรีและคณะได้เข้าเฝ้าฯ หารือทวิภาคีกับมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย โดยมีประเด็นการหารือ สรุปได้ ดังนี้
(1) ความคืบหน้าการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีภายหลังการปรับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐบาลไทยกับซาอุดีอาระเบียให้กลับสู่ระดับปกติอย่างสมบูรณ์ เช่น การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต การจัดทำแผนการขับเคลื่อนและส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ซาอุดีอาระเบีย และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี-ไทย เพื่อเป็นรากฐานในการดำเนินการส่งเสริมความร่วมมือและเป็นกลไกติดตามการดำเนินงานไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง การค้าและการลงทุน ความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน แรงงาน สาธารณสุข การท่องเที่ยว การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน
(2) ความร่วมมือด้านพลังงาน ปิโตรเคมี พลังงานสะอาด และพลังงานทดแทน โดยลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวและแอมโมเนียในประเทศไทย ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ACWA Power Company Limited ของซาอุดีอาระเบีย
(3) ด้านความมั่นคงทางอาหาร ไทยพร้อมจะให้ความร่วมมือและสนับสนุนซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงปลาและสัตว์ทะเลซึ่งซาอุดีอาระเบียให้ความสนใจ นอกจากนี้ ไทยกำลังพิจารณาจัดการประชุมระดับผู้นำในประเด็นความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนในต้นปี 2566 และมีความยินดีหากซาอุดีอาระเบียสนใจเข้าร่วมประชุมดังกล่าวด้วย
(4) ด้านแรงงาน ภายหลังที่ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจสำเร็จแล้ว จึงเริ่มดำเนินการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบียหลังจากที่ไม่ได้มีการจัดส่งแรงงานมากกว่า 32 ปี ซึ่งอาชีพที่เป็นที่ต้องการ เช่น การพยาบาล การท่องเที่ยว การแพทย์และสาธารณสุขการจัดตั้งโรงเรียนพยาบาล โรงเรียนวิชาการโรงแรม และการต้อนรับ
(5) ด้านศาสนาและวัฒนธรรม โดยซาอุดีอาระเบียให้ความร่วมมือในการดูแลคนไทยที่เดินทางไปแสวงบุญในด้านกิจการฮัจย์ และสนับสนุนแนวทางอิสลามสายกลางและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกชนต่างศาสนา และสังคมพหุวัฒนธรรม
(6) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ส่งเสริมความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราแก่ชาวซาอุดีอาระเบียที่เดินทางมายังประเทศไทย (ผ.30) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป
3) ถ้อยแถลงร่วมเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย          ภายหลังการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเสร็จสิ้น ทั้งสองฝ่ายได้ประชาสัมพันธ์ถ้อยแถลงร่วมเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีสาระสำคัญเกี่ยวกับผลการหารือทวิภาคีในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการเมือง กลาโหมและความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน สังคมและการศึกษา ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย และความร่วมมือด้านฮัจย์ รวมถึงประเด็นพัฒนาการในภูมิภาคและความร่วมมือในกรอบพหุภาคี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 (เรื่อง ถ้อยแถลงร่วมเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย)
4) กิจกรรมอื่น ๆ ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินเยือน          (1) พิธีแลกเปลี่ยนความตกลงและบันทึกความเข้าใจ จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 1) บันทึกความเข้าใจการจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี-ไทย 2) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย 3) ข้อตกลงความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย 4) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และ 5) บันทึกความเข้าใจระหว่างองค์กรกำกับดูแลและต่อต้านการทุจริต ราชอาณาจักรชาอุดีอาระเบียและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(2) พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เช่น ประธานวุฒิสภา จุฬาราชมนตรีและคณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทย
                    ทั้งนี้ ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตร โดยซาอุดีอาระเบียสนับสนุนการส่งออกปุ๋ยและตอบรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารของไทย [กต. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)] การส่งเสริมความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราแก่ชาวซาอุดีอาระเบีย (ผ.30) และการตรวจลงตราแก่ชาวไทยที่จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบีย [กต. และ กระทรวงมหาดไทย (มท.)] และการส่งเสริมความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะข้อริเริ่มซาอุดีอาระเบียตามวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย ค.ศ. 2030 ซาอุดีสีเขียวและตะวันออกกลางสีเขียว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ของไทย และแนวคิดหลักของการประชุมเอเปคและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                    โดยกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กษ. กระทรวงพลังงาน พณ. มท. กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข อก. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาแล้วรับทราบ/เห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง ตามที่ กต. เสนอ

53. เรื่อง ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป (อียู) สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป (European Union: EU) สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-EU สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. การประชุมสุดยอดอาเซียน-EU จัดขึ้น ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม โดยเมื่อวันที่        13 ธันวาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมผู้บริหารระดับสูงในช่วงอาหารกลางวัน จัดโดยสภาธุรกิจอาเซียน-EU ซึ่งเป็นกิจกรรมปิดสำหรับผู้นำอาเซียนและ EU กับผู้บริหารบริษัทชั้นนำจากประเทศสมาชิก EU เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาคเอกชน EU และส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งได้หารือทวิภาคีกับผู้บริหารของ EU และผู้นำประเทศสมาชิก EU และเป็นสักขีพยานการลงนามกรอบความตกลงความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านไทย-EU สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำนโยบายเศรษฐกิจของไทยที่ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืนผ่านแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญต่อการทำการค้ากับ EU และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิก EU มาลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและไฮโดรเจนเขียวในไทยและอาเซียน และความร่วมมือเรื่องก๊าซธรรมชาติเหลว (liquefied natural gas: LNG) เพื่อลดความผันผวนของราคา LNG ในตลาดโลก รวมทั้งได้เสนอให้ EU อำนวยความสะดวกแก่สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากไทย และย้ำถึงการดำเนินการของไทยและอาเซียน เพื่อยกระดับมาตรฐานและสนับสนุนให้อาเซียนเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานโลก รวมทั้งเกื้อกูลการผลิตสินค้าของ EU ซึ่งจะสนับสนุนการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-EU (Thailand-European Union Free Trade Area: Thai-EU FTA) และเป็นแนวทางสำหรับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-EU (ASEAN-European Union Free Trade Area: ASEAN-EU FTA) ต่อไป ทั้งนี้ ภาคเอกชน EU ได้แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านการค้าในอาเซียนที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะนำมาหารือกับผู้นำอาเซียนอื่น ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
                              1.2 นายกรัฐมนตรีได้หารือกับรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจ             และกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (นายวัลดิส ดอมบรอฟสกิส) ในการขอรับการสนับสนุนการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-EU โดยนายดอมบรอฟสกิสฯ แจ้งว่าหากประเด็นที่ฝ่าย EU ให้ความสำคัญ เช่น ภาคบริการ สิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับการพิจารณาแก้ไขก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเจรจา
                    2. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-EU สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 โดยมีประธานคณะมนตรียุโรป และนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียน เป็นประธานร่วมในการประชุมฯ ที่จัดขึ้นเพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-EU และเป็นครั้งแรกที่ผู้นำอาเซียนได้พบปะหารือกับผู้บริหารของ EU และผู้นำประเทศสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศ โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมืออาเซียน-EU รวมทั้งประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สำคัญ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
(1) ภูมิรัฐศาสตร์และความท้าทายด้านความมั่นคง          - การต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งสองฝ่ายยืนยันส่งเสริมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางไซเบอร์ ความมั่นคงทางทะเล และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้ EU แสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมบรรยากาศของความร่วมมือ
- สถานการณ์ในยูเครน EU ขอประณามอย่างรุนแรงต่อการใช้กำลังรุกรานยูเครนอย่างไร้เหตุผลและไม่ชอบด้วยกฎหมาย และนายกรัฐมนตรีได้ย้ำท่าทีของไทยในเรื่องยูเครนว่า ทุกฝ่ายต้องร่วมกันสร้างพื้นที่ทางการทูตเพื่อให้มีการหารือและหายุทธศาสตร์ทางออก โดยได้เสนอแนวทางให้แยกเรื่องการต่อสู้ในพื้นที่ออกจากความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม รวมทั้งเปิดทางสำหรับปฏิบัติการทางอากาศด้านมนุษยธรรมในการส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ยูเครน โดยมีเงื่อนเวลาจนถึงสิ้นสุดฤดูหนาว เพื่อช่วยรักษาชีวิตชาวยูเครนท่ามกลางฤดูหนาวที่โหดร้าย
(2) การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ          - ที่ประชุมเห็นพ้องต่อการส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง เสรี ครอบคลุมและตั้งอยู่บนกฎกติกา โดยมีองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เป็นแกนกลาง รวมทั้งเน้นย้ำการส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ห่วงโซ่อุปทานโลกและมุ่งมั่นจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-EU
- ที่ประชุมได้เน้นประเด็นการเสริมสร้างความเชื่อมโยงภายหลังจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และยินดีต่อการลงนามความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศที่ครอบคลุมระหว่างอาเซียนกับ EU (ASEAN-EU Comprehensive Air Transport Agreement: AE-CATA)1 ซึ่งเป็นความตกลงระดับภูมิภาคต่อภูมิภาคฉบับแรกของโลก เพื่อส่งเสริมการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างกัน
(3) การเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล          - ที่ประชุมแสดงความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
- EU ได้เน้นย้ำข้อริเริ่ม ?Global Gateway?2 ซึ่งมุ่งหวังที่จะระดมทุนมูลค่า 300,000 ล้านยูโร (10.8 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2570 เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านดิจิทัล ทั้งนี้ อาเซียนได้ขอให้ EU สนับสนุนการสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาสีเขียว ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ส่งเสริมให้อาเซียนร่วมมือกับ EU โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านสีเขียวโดยไม่นำมาตรฐานต่าง ๆ มาเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และเสนอจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการอาเซียน-EU เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งได้ย้ำถึงข้อเสนอไทยที่จะจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหารโลกในปี 2566

                    3. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า การเข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมผู้บริหารระดับสูงในช่วงอาหารกลางวัน และการประชุมสุดยอดอาเซียน-EU สมัยพิเศษฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
                              3.1 การประชุมโต๊ะกลมผู้บริหารระดับสูงในช่วงอาหารกลางวัน เช่น
ประเด็น          ผลการประชม          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) เศรษฐกิจและการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน          - ไทยเสนอความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ EU/ประเทศสมาชิก EU เรื่องความผันผวนของราคา LNG ในตลาดโลก
- ไทยขอให้ EU อำนวยความสะดวกแก่สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากไทย และเกื้อกูลการผลิตสินค้าของ EU          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
กระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
กระทรวงพลังงาน (พน.)
กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
(2) การเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล          ไทยได้เน้นย้ำนโยบายเศรษฐกิจของไทยที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิก EU มาลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน และการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและไฮโดรเจนเขียวในไทย          คค. พน. และสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
                              3.2 การประชุมสุดยอดอาเซียน-EU สมัยพิเศษฯ เช่น
ประเด็น          ผลการประชุม          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) การเมืองความมั่นคงและสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ          - ที่ประชุมยืนยันส่งเสริมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางไซเบอร์ ความมั่นคงทางทะเล และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
- ไทยได้เน้นย้ำความสำคัญที่ EU ควรต้องแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาค
- ไทยย้ำความจำเป็นในการสร้างพื้นที่ทางการทูต รวมทั้งเสนอให้ EU ร่วมกับสหประชาชาติในการออกข้อมติเพื่อเปิดทางสำหรับปฏิบัติการทางอากาศด้านมนุษยธรรมในการส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ยูเครน          กต.
(2) เศรษฐกิจและการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน          - ที่ประชุมเห็นพ้องต่อการส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง เสรี ครอบคลุม และตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ โดยมี WTO เป็นแกนกลาง
- ที่ประชุมเน้นย้ำส่งเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานและยืนยันการจัดทำความตกลง ASEAN-EU FTA
- ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญต่อความเชื่อมโยงเป็นตัวขับเคลื่อนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และลงนามความตกลง AE-CATA เพื่อช่วยส่งเสริมการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างกันโดยสายการบินของทั้งสองภูมิภาค          คค. และ พณ.
(3) การเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล
          - ที่ประชุมมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
- EU เน้นย้ำข้อริเริ่ม ?Global Gateway? เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านดิจิทัล ทั้งนี้ อาเซียนได้ขอให้ EU สนับสนุนการสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาสีเขียว
- ไทยส่งเสริมให้อาเซียนร่วมมือกับ EU โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านสีเขียว โดยไม่นำมาตรฐานต่าง ๆ มาเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
- ไทยเสนอให้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการอาเซียน-EU เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์          กต. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คค. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ทส พณ. และ สกท.

1คณะรัฐมนตรีมีมติ (5 ตุลาคม 2565) เห็นชอบและอนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศที่ครอบคลุมระหว่างรัฐสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกและร่างเอกสารบันทึกการหารือ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
2คือ การเน้นการลงทุนใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานสะอาด ด้านโทรคมนาคม ด้านคมนาคม ด้านธุรกิจสุขภาพ     และด้านการศึกษา-วิจัย

54. เรื่อง ผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22 และพิจารณามอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ ต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย (The Indian Ocean Rim Association: IORA) ครั้งที่ 22 ณ กรุงธากา บังกลาเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วม มีผู้แทนระดับรัฐมนตรีและระดับอื่น ๆ ของประเทศสมาชิก IORA จำนวน 23 ประเทศ และประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจา 9 ประเทศ เข้าร่วมด้วย สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการประชุมฯ
(1) การรับรองแถลงการณ์ธากา          ที่ประชุมได้รับรองแถลงการณ์ธากา เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม IORA ครั้งที่ 22 ซึ่งมีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ (22 พฤศจิกายน 2565) อย่างไรก็ตาม มีการแก้ไขรายละเอียดบางประการ ดังนี้
(1) เพิ่มเติมข้อความแสดงความเสียใจต่อรัฐบาลและประชาชนสาธารณรัฐอินโดนีเซียสำหรับความสูญเสียจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในจังหวัดชวาตะวันตกของอินโดนีเซีย
(2) เพิ่มเติมเรื่องการรับรองสาธารณรัฐอินเดียเป็นรองประธาน IORA วาระปี 2566 ? 2568
(3) ตัดข้อความที่ระบุให้ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศคู่เจรจาลำดับที่ 11 เนื่องจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านยังไม่เห็นพ้องด้วย
(4) เพิ่มเติมข้อความแสดงความยินดีต่อการเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำกลุ่ม G20 ที่เกาะบาหลีซึ่งอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ
(5) ตัดข้อความเรื่องการเผยแพร่คำมั่นว่าด้วยความเท่าเทียมทางเพศของ IORA ในวันสตรีสากล ค.ศ. 2022
(2) การกล่าวถ้อยแถลงของผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายวิชาวัฒน์ฯ)          ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายวิชาวัฒน์ฯ) ได้กล่าวถ้อยแถลง โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนความร่วมมือในกรอบ IORA เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมในภูมิภาค มีสาระสำคัญ เช่น (1) เน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับความท้าทายและความเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมืองโลกในปัจจุบัน โดยส่งเสริมความเชื่อมโยงทางกายภาพและดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและความมั่นคงทางทะเล (2) สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันเพื่อยกระดับการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนและการประมงอย่างยั่งยืน และ (3) ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเล และเสนอให้เชื่อมโยงแผนดำเนินงานของ IORA กับเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการประชุมเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสที่ดีสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและการพัฒนาที่ครอบคลุมในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียในยุคหลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
(3) ประเด็นที่ประเทศสมาชิกและประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจาให้ความสำคัญ          ประเด็นที่ประเทศสมาชิกและประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจาให้ความสำคัญ ได้แก่  (1) การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 (2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (3) การใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน (4) การส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก IORA และ (5) การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศสมาชิก IORA

                    2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า การประชุม IORA ครั้งที่ 22 มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ ได้แก่
ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2022-2027)          การติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของไทย เช่น เข้าร่วมการประชุมคณะทำงาน กลุ่มประเทศ ขับเคลื่อนสาขาความร่วมมือ ให้ความเห็นต่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนริเริ่มกิจกรรมที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของไทยในอนาคตและติดตามผลในสาขาต่าง ๆ ดังนี้
(1) สาขาความมั่นคงและปลอดภัยทางทะเล
(2) สาขาการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
(3) สาขาการบริหารจัดการด้านประมง
(4) สาขาการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
(5) สาขาความร่วมมือทางด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(6) สาขาการท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
(7) สาขาเศรษฐกิจภาคทะเล
(8) สาขาการส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี          กระทรวงกลาโหม (กห.) (กองทัพเรือ) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) (กรมประมง) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
(2) ความร่วมมือเพื่อรับมือกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19          การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก IORA และประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยและขยายโอกาสความร่วมมือตามความเหมาะสม          พม. ดศ. และ พณ.
(3) การกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นคาบเกี่ยวของ IORA
          การเพิ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นคาบเกี่ยวของ IORA และการเตรียมการเพื่อจัดตั้งคณะทำงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ          ทส.


55.  เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินเดีย ครั้งที่ 9
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission for Bilateral Cooperation: JC) ไทย-อินเดีย ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 และพิจารณามอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย (นายสุพรหมณยัม ชัยศังกระ) ในการประชุม JCไทย-อินเดีย ครั้งที่ 9 เพื่อฟื้นฟูพลวัตความร่วมมือที่ชะลอตัวลงหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในทุกมิติ สรุปได้ ดังนี้
ด้าน          สาระสำคัญ/ผลการประชุมฯ
(1) การเมือง/ความร่วมมือทวิภาคี
          เห็นพ้องที่จะรื้อฟื้นและผลักดันกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ โดยเฉพาะในโอกาสครบรอบ 75 ปีความสัมพันธ์ไทย-อินเดียในปี 2565 รวมถึงผลักดันการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน โดยฝ่ายอินเดียแสดงความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JC ไทย-อินเดีย ครั้งต่อไปในช่วงต้นปี 2566
(2) การทหารและความมั่นคง          ฝ่ายไทยแสดงความสนใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ส่วนฝ่ายอินเดียประสงค์ที่จะขยายความร่วมมือกับไทยด้านความมั่นคงและยกระดับการฝึกร่วมระหว่างกองทัพ รวมถึงส่งเสริมความมั่นคงทางทะเล และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของอินเดียในอินโด-แปซิฟิก เพื่อป้องกันการขยายอิทธิพลของสาธารณรัฐประชาชนจีนในมหาสมุทรอินเดียและภูมิภาคแปซิฟิกผ่านการดำเนินการ เช่น การยกระดับความร่วมมือทางการทหารกับทุกเหล่าทัพ และการเพิ่มบทบาทความร่วมมือทางทหารในภูมิภาค
(3) เศรษฐกิจ          - ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อการเติบโตของการค้าทวิภาคีที่บรรลุสถิติใหม่กว่า 14,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเห็นพ้องที่จะร่วมกันแก้ไขข้อติดขัดด้านการค้า การลงทุน และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างภาคเอกชนให้มีความแน่นแฟ้น โดยเร่งจัดการประชุม India-Thailand Joint Business Forum (ITJBF) ระหว่างภาคเอกชนจากทั้งสองฝ่ายในโอกาสแรก รวมถึงผลักดันการแลกเปลี่ยนระหว่างธุรกิจ Startup และ Unicorn
- ฝ่ายไทยผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนผ่านการดำเนินการ เช่น (1) ขอให้อินเดียยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้า และการกำหนดกฎระเบียบที่เคร่งครัดเกินไป (2) จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับรัฐต่าง ๆ ของอินเดีย (3) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างภาคธุรกิจผ่านกลไกการประชุม ITJBF และความร่วมมือด้าน Startup และ (4) การผลักดันเทคโนโลยี FinTech1 เพื่ออำนวยความสะดวกในการจ่ายเงินของนักท่องเที่ยวอินเดียในไทย
(4) ความเชื่อมโยงคมนาคม           เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความเชื่อมโยงคมนาคม (1) ทางบก โดยผลักดันการก่อสร้าง ถนนสามฝ่าย อินเดีย-เมียนมา-ไทย ให้แล้วเสร็จ (2) ทางทะเล โดยเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือสองฝ่าย โดยเฉพาะในกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal
Initiative for Multi - Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) และ (3) ทางอากาศ โดยผลักดันการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
(5) สังคมและวัฒนธรรม          เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคในด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา และการพัฒนาระหว่างไทยกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียเพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
(6) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอวกาศ          เห็นพ้องที่จะรื้อฟื้นการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-อินเดีย ครั้งที่ 6 และทบทวนแผนงาน Programme of Cooperation ค.ศ. 2022 - 2025 เพื่อขยายขอบเขตความร่วมมือดังกล่าว ทั้งนี้ ไทยประสงค์จะมีความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสารสนเทศ และการสื่อสาร ตลอดจนความร่วมมือด้านอวกาศกับอินเดียให้มากขึ้น
(7) ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี          - ASEAN โดยอินเดียประสงค์ให้ไทยเป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมความร่วมมือในเสาหลักภายใต้ข้อริเริ่ม Indo-Pacific Oceans Initiative (IPO) ผลักดันความร่วมมือภายใต้เอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific: AOIP) รวมทั้งสนับสนุนการยกระดับความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน
- BIMSTEC โดยอินเดียคาดหวังให้ไทยในฐานะประธาน BIMSTEC ผลักดันการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะผ่านการผลักดันโครงการถนนสามฝ่าย อินเดีย-เมียนมา-ไทย ให้แล้วเสร็จ และฝ่ายอินเดียยังประสงค์ให้ไทยผลักดันความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเลให้สำเร็จ
- Quad โดยอินเดียประสงค์ให้ไทยเป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนเสาหลักตามข้อริเริ่ม IPOI ซึ่งเห็นว่า ความร่วมมือดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคและสามารถดำเนินไปภายใต้ความร่วมมือที่สร้างสรรค์ และเน้นย้ำความสำคัญของกลุ่มภาคี Quad ว่า มิได้มุ่งส่งเสริมเพียงมิติความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงเท่านั้น และแตกต่างจากโครงการสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) ของจีน

          ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายดอนฯ) และรัฐนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย (นายสุพรหมณยัมฯ) ได้ร่วมลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุม JC ไทย-อินเดีย ครั้งที่ 9 และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับ ได้แก่         (1) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการวิจัยทางการแพทย์ระหว่างสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดียกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ (2) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการกระจายเสียงและแพร่ภาพระหว่างสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งอินเดีย (Prasar Bharati) กับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ( Thai PBS) [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (16 สิงหาคม 2565) เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม JC ไทย-อินเดีย และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย (นายสุพรหมณยัมฯ) ตามที่ กต. เสนอ]
1Financial Technology คือ เทคโนโลยีทางด้านการเงิน โดยเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เช่น การเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่าน Mobile Banking หรือ QR Code

56. เรื่อง ร่างปฏิญญาทางการเมืองโดฮาของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ครั้งที่ 5
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองโดฮา ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ครั้งที่ 5 ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างปฏิญญาดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญในการย้ำความมุ่งมั่นในช่วง 10 ปีข้างหน้าของรัฐสมาชิกในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโดฮาเพื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด วาระปี ค.ศ. 2022 - 2031 ซึ่งได้รับการรับรองโดยสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 ตลอดจนพิจารณาความเป็นไปได้ของระบบหรือวิธีการอื่น ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินการให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมที่ก้าวหน้า รวมทั้งมอบหมายให้เลขาธิการสหประชาชาติประกันการระดมทรัพยากรและการประสานงานจากทุกส่วนในระบบงานสหประชาชาติเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำแผนปฏิบัติการโดฮาฯ ไปปฏิบัติและติดตามผลในทุกระดับ
                    ทั้งนี้ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (United Nations Conference on Least Developed Countries: LDCS) เป็นเวทีสำคัญระดับผู้นำในการหารือเรื่องการพัฒนาและแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการประชุมฯ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 9 มีนาคม 2566 ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ เป็นการประชุม ครั้งที่ 5 โดยจะมีการรับรองปฏิญญาทางการเมืองโดฮาเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุม


แต่งตั้ง
57. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นายพิชิต    บุญสุด อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

58. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (ครั้งที่ 1) (กระทรวงพลังงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 6 เมษายน 2566 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2567

59. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ แทนประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่    7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

60. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวม 6 คน ดังต่อไปนี้
                    1. นายสมัย โชติสกุล                     เป็นประธานกรรมการ
                     2. นายวรพนธ์ ตันติวันรัตน์           เป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
                    3. นายเสน่ห์ สุขหล้า                     เป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
                    4. นายนิคม เกษมปุระ                      เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    5. นายกฤษฎา ชัยกุล                     เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     6. นายอำนวย ภู่ระหงษ์                      เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

61. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน จำนวน 7 คน ดังนี้
                    1. นายสิงหเดช ชูอำนาจ
                    2. นายสมบัติ นิเวศรัตน์
                    3. นางสุภางค์ จันทวานิช
                    4. นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
                    5. นายบวรนันท์ ทองกัลยา
                    6. นายพิชัย ซื่อมั่น
                    7. นายเกษม มหัทธนทวี
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

62. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้
                    1. นายเธียรชัย ณ นคร                               ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ
                    2. ศาสตราจารย์นันทวัฒน์ บรมานันท์          ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ
                    3. นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ                              ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ
                    4. นายสิปป์บวร แก้วงาม                     ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ
                    5. นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ                    ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ
                    6. นายเชิดศักดิ์ หิรัญสิริสมบัติ                    ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ
                    7. พลเอก ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์          ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ
                    8. นางสาวธิดารัธ ธนภรรคภวิน                    ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ
                    9. นายสุวิช สุทธิประภา                              ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

63. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ดังรายชื่อต่อไปนี้
                     1. นายโอภาส การย์กวินพงศ์ (ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข)           เป็นประธานกรรมการ
                    2. นายสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย (ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข) เป็นกรรมการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป และให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง คือเท่ากับวาระของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมชุดปัจจุบันที่คงเหลืออยู่

64. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงพาณิชย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นางมนัสนิตย์ จิรวัฒน์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ