สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2566

ข่าวการเมือง Tuesday April 11, 2023 17:12 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (11 เมษายน 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทองผาภูมิ                                         จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข                                         7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  กำแพงเพชร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                                  วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  กาญจนบุรี (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    6.           เรื่อง            มาตรการการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชี                                                  มาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลง : กรณีศึกษารถดัดแปลง
                    7.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ                                        ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2566
                    8.           เรื่อง           รายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ                                                   ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    9.           เรื่อง           สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ

ครั้งที่ 1/2566

                    10.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270                                         ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 18 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565)


ต่างประเทศ
                    11.           เรื่อง           ผลการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary                                                   Conference 2022: PP-22)
                    12.            เรื่อง            การของบกลางเพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระค่าหุ้นเพิ่ม                                        ทุนแบบสามัญและเฉพาะเจาะจงของกลุ่มธนาคารโลก ปี 2561
                    13.            เรื่อง           การเสนอรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) เป็นรายการตัวแทนมรดก                                                  วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก
                    14.            เรื่อง           การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่าง                                                  กระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐ                                        รัสเซีย
                    15.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมใหญ่คณะกรรมการนโยบายด้านกฎหมาย                                         (Regulatory Policy Committee - RPC) ครั้งที่ 27 ขององค์การเพื่อความร่วมมือ                                        ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง
แต่งตั้ง
                    16.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความคิดเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ บริการสาธารณะ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การค้าชายแดน การบริการ และรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างประกาศ

กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตรวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การศึกษา การคมนาคมและการขนส่งของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

1.2 ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน และระบบเศรษฐกิจ

1.3 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

1.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) บริเวณหมายเลข 1.1 ถึงหมายเลข 1.8           - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยพักผ่อนและการดำรงชีวิตประจำวันทั่วไป โดยมีร้านค้า ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่น ๆ ไว้รองรับอย่างเพียงพอกับการอยู่อาศัยในระดับที่ได้มาตรฐาน และไม่ควรมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยกำหนดให้มีการขยายตัวอยู่ในบริเวณศูนย์กลางชุมชนเดิม และในพื้นที่ต่อเนื่องโดยรอบซึ่งสามารถรับบริการจากศูนย์กลางของชุมชนได้อย่างทั่วถึง ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยห้ามการอยู่อาศัยประเภทอาคารขนาดใหญ่ อาคารชุดหอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม เว้นแต่อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร การประกอบกิจการโรงงานที่สามารถดำเนินการ ได้แก่ การทำขนมปังหรือขนมเค้ก การทำน้ำดื่ม ตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมจักรยาน เป็นต้น
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) บริเวณหมายเลข 2.1 ถึงหมายเลข 2.3           - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยในชีวิตประจำวันทั่วไปที่ค่อนข้างหนาแน่น รวมทั้งการอยู่อาศัยร่วมกับการพาณิชยกรรม มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการไว้รองรับอย่างเพียงพอและได้มาตรฐาน โดยมีลักษณะขยายตัวออกจากบริเวณศูนย์กลางเดิมต่อจากที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย โดยกำหนดห้ามอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ห้ามเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การกำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล การประกอบกิจการโรงงานที่สามารถดำเนินการ ได้แก่ การทำกาแฟ การซ่อมรองเท้า การซ่อมเครื่องใช้ฟฟ้า การซ่อมจักรยาน การตกแต่งด้วยแก้ว มุก หรืออัญมณี เป็นต้น
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) บริเวณหมายเลข 3.1 ถึงหมายเลข 3.5           - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านการค้าและพาณิชยกรรม และการเป็นแหล่งงานของชุมชนหลัก ได้แก่ ตึกแถว อาคาร สำนักงาน ร้านค้า ตลาด หรืออาคารชุด เพื่อการพักอาศัยโดยไม่จำกัดความสูงของอาคาร ซึ่งที่ดินประเภทนี้ห้ามเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล ที่มีผลกระทบต่อชุมชนที่หนาแน่น การประกอบกิจการโรงงานที่สามารถดำเนินการ ได้แก่ การซ่อมรองเท้า การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า การซ่อมนาฬิกา เป็นต้น
4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณหมายเลข 4.1 ถึงหมายเลข 4.19           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าทางด้านการเกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตอาหารและแหล่งผลิตพืชผลทางด้านเกษตรกรรมของชุมชนรวมทั้งยังใช้เป็นพื้นที่ฉนวนสำหรับป้องกันการขยายตัวของเมืองแบบไร้ทิศทาง และยังมีประโยชน์ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของชุมชนอีกด้วย เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการทำการเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่อยู่โดยรอบนอกของชุมชนทั้งหมด ซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างดีและมีระบบการชลประทานที่สามารถส่งน้ำเข้าถึงได้ทั่วพื้นที่ โดยสามารถสร้างที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวและได้กำหนดห้ามอาคารขนาดใหญ่ อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม เว้นแต่อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร สำหรับการประกอบกิจการโรงงานที่สามารถดำเนินการ ได้แก่ โรงงานเกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตร การถนอมเนื้อสัตว์ การถนอมพืช การทำเกี่ยวกับไม้ เป็นต้น
5. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) บริเวณหมายเลข 5          - มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาส่งเสริมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กิจการด้านเกษตร การอยู่อาศัยที่มีคุณภาพที่ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายถาวรต่อพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) บริเวณหมายเลข 6.1 ถึงหมายเลข 6.3           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนให้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ หรือการประกอบกิจกรรมนันทนาการของประชาชน เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา สนามเด็กเล่น เป็นต้น โดยกำหนดไว้ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ เช่น แม่น้ำ คลองต่าง ๆ หากเป็นที่ดินของเอกชน ให้ใช้เพื่อการอยู่อาศัย เกษตรกรรม แต่ห้ามจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย อาคารสูง อาคารใหญ่ ตึกแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม และให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งแม่น้ำแควน้อยไม่น้อยกว่า 12 เมตร
7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) บริเวณหมายเลข 7.1 และหมายเลข 7.2           - มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธารและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ โดยกำหนดไว้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขยง หากเป็นที่ดินของเอกชนให้ใช้เพื่อการอยู่อาศัย ประกอบกิจการโรงแรมประเภท 1 มีห้องพักไม่เกิน 30 ห้องเกษตรกรรม แต่ห้ามจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยอาคารสูง อาคารใหญ่ ตึกแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม
8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) บริเวณหมายเลข 8.1 ถึงหมายเลข 8.4            - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้บริการทางด้านวิชาการความรู้ให้แก่ชุมชน เช่น โรงเรียนอนุบาลทองผาภูมิศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทองผาภูมิ
9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) บริเวณหมายเลข 9.1 และหมายเลข 9.2           - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ตั้งของวัดและศาสนสถานอื่น ๆ สำหรับการปฏิบัติศาสนกิจด้านต่าง ๆ พื้นที่สุสาน สถาบันศาสนา สามารถที่จะตั้งอยู่ภายในชุมชนพักอาศัยทั่วไป เพื่อเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชุมชน ได้แก่         วัดทองผาภูมิและวัดท่าขนุน
10. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) บริเวณหมายเลข 10.1 ถึงหมายเลข 10.11          - มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณะหรือการให้บริการแก่ประชาชนเป็นส่วนใหญ่ สถานที่ทำงานของราชการ สถานบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลทองผาภูมิ สำนักงานเทศบาลตำบลทองผาภูมิ ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี เป็นต้น

3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท

4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ข ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง

4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

2. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. .... ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ตรวจพิจารณาแล้ว โดยตัดผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจากองค์ประกอบของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญ

1. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับ โดยยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงมาตรการในการควบคุมดูแลเรื่องการเรี่ยไรของทางราชการและป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและพฤติมิชอบ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนี้

1.1 แก้ไขเพิ่มเติมนิยาม คำว่า ?เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร? โดยเพิ่มกรณีบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการเรี่ยไร เนื่องจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544 ข้อ 18 (4) กำหนดให้กรณีที่หน่วยงานของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรของบุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไรแล้ว ซึ่งการเพิ่มกรณีบุคคลหรือนิติบุคคลไว้ในนิยามนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนและครอบคลุมถึงกรณีดังกล่าว

1.2 เพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร โดยเพิ่มผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรเนื่องจากมีผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ตามข้อ 15 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544 และปัจจุบันมีการเรี่ยไรผ่านระบบออนไลน์ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

1.3 เพิ่มกรณีการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร โดยกำหนดให้กรณีที่กรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง เพื่อเป็นการอุดช่องว่างกรณีที่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทำให้กรรมการเท่าที่มีอยู่สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้

1.4 แก้ไขเพิ่มเติมชื่อตำแหน่งของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัด จาก ?อัยการจังหวัด? เป็น ?อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด? เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชื่อตำแหน่งตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2544 และจาก ?สรรพากรพื้นที่จังหวัด? เป็น ?สรรพากรพื้นที่? เพื่อให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง

1.5 ย้ายร่างข้อ 11 (การประชุมของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร) เป็นร่างข้อ 12 และย้ายร่างข้อ 12 (หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร) เป็นร่างข้อ 11 เพื่อให้การเรียงลำดับการดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าวถูกต้องตามรูปแบบการร่างกฎหมายและเรียงลำดับขั้นตอนการใช้หน้าที่และอำนาจใหม่เพื่อให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง

1.6 แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำ ร่างข้อ 20 (4) และ (5) จาก ?ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ? เป็น ?ระบบอิเล็กทรอนิกส์? เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ถ้อยคำและการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

1.7 แก้ไขเพิ่มเติมบทเฉพาะกาล โดยกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรและคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัดตามระเบียบเดิมปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ แทนวันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวมีความต่อเนื่องจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้ง และเพิ่มความว่า ?หรือผู้ว่าราชการจังหวัด? เพื่อให้สอดคล้องกับผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการตามข้อ 15 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544

2. ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นควรตัดผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจากองค์ประกอบของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรและควรเพิ่มให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรในการวินิจฉัยปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความคล่องตัว

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญ

1. ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงคมนาคมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 12 เมษายน 2566 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 18 เมษายน 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว และช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้การจราจรมีความคล่องตัว รวมทั้งเป็นการลดการใช้พลังงานของประเทศ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว และกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ได้ยืนยันความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงนี้ด้วยแล้ว

2. ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงหยุดเทศกาลสงกรานต์ของปี พ.ศ. 2566 โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมผ่านทางตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 12 เมษายน 2566 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 18 เมษายน 2566 ประมาณการสูญเสียรายได้ประมาณ 164,709,500 บาท และกระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เงินค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ที่จัดเก็บได้ เป็นเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง ซึ่งกรมทางหลวงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน โดยนำส่งเป็นเงินนอกงบประมาณ (ทุนหมุนเวียน) และนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 จึงไม่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณแผ่นดินหรือภาระทางการคลังในอนาคต และไม่เข้าข่ายเป็นการดำเนินการที่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นอกจากนี้ การยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจโดยสามารถประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ประมาณ 266,525,800 บาท ซึ่งประเมินจากมูลค่าการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถและมูลค่าจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง รวมทั้งยังมีผลประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าเงินได้รวมอยู่ด้วย ได้แก่ การเพิ่มกำลังซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ และผู้ผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวซึ่งคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยมีค่าผลทวีคูณของการใช้จ่ายต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier Effects) ประมาณ 1.38 เท่า คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 227 ล้านบาท เป็นต้น

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ อว. เสนอว่า

1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร รวม 13 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การศึกษา (3) เทคโนโลยี (4) นิติศาสตร์ (5) นิเทศศาสตร์ (6) บริหารธุรกิจ (7) รัฐประศาสนศาสตร์ (8) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (9) วิทยาศาสตร์ (10) ศิลปศาสตร์ (11) เศรษฐศาสตร์ (12) สถาปัตยกรรมศาสตร์ และ (13) สารสนเทศศาสตร์

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรได้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563 และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว

3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชา ดังนี้

3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ

(ก) เอก เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?

(ข) โท เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ม.?

(ค) ตรี เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.บ.?

3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สีเขียว

4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ อว. เสนอว่า

1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาและสีประจำสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี รวม 9 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การศึกษา (3) เทคโนโลยี (4) นิติศาสตร์ (5) นิเทศศาสตร์ (6) บริหารธุรกิจ (7) รัฐประศาสนศาสตร์ (8) วิทยาศาสตร์ และ (9) ศิลปศาสตร์

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีได้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น โดยได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563 และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว

3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม รวมทั้งสีประจำสาขาวิชา ดังนี้

3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีปริญญาสามชั้น คือ

(ก) เอก เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?

(ข) โท เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.ม.?

(ค) ตรี เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.บ.?

3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สีเขียวมะกอก

4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 2 แล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม

เศรษฐกิจ-สังคม
6. เรื่อง มาตรการการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลง : กรณีศึกษารถดัดแปลง

คณะรัฐมนตรีมีมติ

1. รับทราบมาตรการการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลง : กรณีศึกษารถดัดแปลง ตามที่คณะกรรมการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ

2. ให้กระทรวงการคลัง (กค.) เร่งรัดดำเนินการศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของมาตรการการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลง : กรณีศึกษารถดัดแปลง ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการพิจารณาดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว

สาระสำคัญของเรื่อง

คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า

1. หน่วยงานของรัฐมีการใช้รถดัดแปลง* ตั้งแต่ปี 2552 เพื่อนำไปใช้อำนวยความสะดวกในงานราชการและจัดบริการสาธารณะแก่ชุมชน ซึ่งปัจจุบันความต้องการจัดซื้อรถดัดแปลงเพื่อให้บริการแก่ชุมชนและจัดการระบบสาธารณูปโภคเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของประชากรและชุมชน โดยจากข้อมูลระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของกรมบัญชีกลางตั้งแต่ปี 2552-2561 พบว่า มีสัญญาซื้อขายรถดัดแปลงระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบริษัทเอกชน จำนวน 1,721 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินทั้งสิ้น 8,634.68 ล้านบาท ซึ่งเมื่อตรวจสอบจากกระบวนการจัดซื้อรถดัดแปลงแล้วพบว่า มีประเด็นปัญหา ดังนี้

1.1 การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในการจัดทำขอบเขตงาน (Terms of Reference: TOR เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทใดบริษัทหนึ่งและมีการกำหนดราคากลางที่สูงเกินควร โดยรถดัดแปลงหลายประเภทไม่ได้มีการกำหนดคุณลักษณะและราคากลางไว้ตามมาตรฐานครุภัณฑ์ ดังนั้น หลายหน่วยงานจึงเลือกจัดซื้อโดยการสืบราคาและค้นหารายละเอียดของครุภัณฑ์จากแคตตาล็อกของผู้เสนอราคาซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทหรือบริษัทในเครือเพื่อทำการเปรียบเทียบราคาที่จะนำมากำหนดราคากลาง ทั้งที่เป็นการสืบราคาจากแหล่งเดียวกันและเมื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคา มักพบว่า เป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกันหรือบริษัทในเครือเดียวกันที่เข้าร่วมเสนอราคาและหมุนเวียนกันเป็นผู้ชนะการประมูล

1.2 การเข้าเสนอราคาอาจไม่มีลักษณะเป็นการแข่งขัน โดยบริษัทที่ร่วมเสนอราคาได้เสนอราคาอยู่ในช่วงราคาเดียวกัน ประกอบกับระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐไม่ได้กำหนดจำนวนการเคาะประมูลของบริษัท ซึ่งการเสนอราคาประมูลของบริษัทบางแห่งมีการเคาะราคาเพียงรายละ 1 ครั้ง และมีส่วนต่างของราคาที่ใกล้เคียงกันมากอยู่ระหว่าง 1,500-51,000 บาท ทำให้การเคาะราคาประมูลดังกล่าวอาจไม่มีลักษณะเป็นการแข่งขันการเข้าเสนอราคาที่แท้จริง อีกทั้งหน่วยงานของรัฐบางแห่งเลือกที่จะพิจารณาเพียงเอกสารเสนอราคาเท่านั้น

1.3 การจัดซื้อรถดัดแปลงราคาแพง โดยราคาตัวรถดัดแปลงและส่วนประกอบของรถเมื่อนำมาเทียบเคียงกับส่วนต่างราคาของสินค้าควบคุมประเภทรถยนต์แล้วพบว่า ราคาจำหน่ายปลีกเพิ่มขึ้นจากราคาโรงงานผลิตร้อยละ 29 และเมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วจะมีกำไรจากการประมูลร้อยละ 52.10 ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาตลาด

1.4 การเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้มีอำนาจอนุมัติให้จัดซื้อเช่น การให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น ๆ เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติให้บริษัทที่เสนอราคาได้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ

2. คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นควรเสนอมาตรการการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลง : กรณีศึกษารถดัดแปลง เพื่อป้องกันและปราบปรามทุจริตในการจัดซื้อรถดัดแปลงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในภาพรวมของประเทศ ป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ป้องกันความเสี่ยงในการกำหนดราคากลางของรถดัดแปลงอื่น ๆ ที่อาจสูงเกินควรและการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เสนอราคาให้รายใดรายหนึ่ง ดังนี้

มาตรการ/การดำเนินการ          หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย
(1) การจัดทำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ ราคาต้นทุน และผลตอบแทนตามปกติทางการค้าของยานพาหนะดัดแปลง : กรณีศึกษารถดัดแปลง ดังนี้

(1.1) พิจารณาต้นทุนและอุปกรณ์ส่วนควบต่าง ๆ ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายทางการตลาด และภาษีการจดประกอบที่เกี่ยวข้องของรถดัดแปลงให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้าในเชิงคุณภาพ

(1.2) ศึกษาลักษณะงานที่มีความจำเป็นในการใช้รถดัดแปลง โดยสอบถามไปยังหน่วยงานที่ประสงค์ใช้รถประเภทดังกล่าว ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถิติการใช้รถประเภทดังกล่าวของแต่ละหน่วยงาน เพื่อกำหนดมาตรฐานการออกแบบพร้อมราคา และเพื่อให้ครอบคลุมประเภทรถที่สอดคล้องกับบริบทการใช้งานในแต่ละพื้นที่ โดยคำนึงถึงมาตรฐานและต้นทุนที่แตกต่างกัน

(1.3) กำหนดราคามาตรฐานรถดัดแปลง โดยหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                    (1.4) ในการดำเนินการในระยะต่อไป ให้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลงอื่น ๆ โดยจัดลำดับความสำคัญจากสถิติการร้องเรียนที่เกี่ยวกับยานพาหนะดัดแปลงอื่น ๆ ตลอดจนมูลค่าความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านความคุ้มค่า ผลลัพธ์ ผลผลิต ผลกระทบ และความพึงพอใจต่อสาธารณชน          กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมบัญชีกลาง) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และสำนักงบประมาณ (สงป.)
(2) การบูรณาการข้อมูลเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลงฯ ดังนี้

(2.1) จัดทำและบูรณาการฐานข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อประกอบการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งจัดทำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางของยานพาหนะดัดแปลงอื่น ๆ โดยจัดลำดับความสำคัญจากมูลค่าความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และจัดทำฐานข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อประกอบการจัดซื้อจัดจ้าง

                    (2.2) นำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางที่แล้วเสร็จไปดำเนินการในระบบออนไลน์กลางของภาครัฐ และต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้          กค. มท. และ สงป.

(3) การตรวจสอบเชิงรุกเพื่อป้องกันการสมยอมราคาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของรถดัดแปลงเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่งในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลงฯ

(3.1) ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลงฯ

(3.2) ให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตระดับกระทรวงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการตรวจสอบการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยสร้างแรงจูงใจและยกระดับมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตและมาตรการคุ้มครองพยานให้เป็นไปตามหลักการสากล

                    (3.3) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำมาตรการการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางให้สามารถอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของยานพาหนะดัดแปลงฯ ไปพิจารณากำหนดเป็นตัวชี้วัดในแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          กค. มท. สงป. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
(4) การดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ของประเทศไทยรอบที่ 2 ในหมวดการป้องกันการทุจริต และข้อเสนอแนะจากคู่มือพิชิตความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตในสัญญาภาครัฐจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย เช่น ประเด็นการขยายระยะเวลาการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ และแนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อคุณธรรมจริยธรรมในระดับองค์กร ระดับกระบวนการ และระดับบุคคลและเครื่องมือจัดซื้อจัดจ้างสมัยใหม่มาประกอบการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความเหมาะสมมากขึ้น รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเผยแพร่การดำเนินงานผ่านทางเว็บไซต์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะและประชาคมระหว่างประเทศต่อไป          กค. มท. และ สงป.
* รถดัดแปลง หมายถึง รถที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของรถจากเดิมตามที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก โดยในเรื่องนี้หมายถึงรถที่ดัดแปลงแล้วนำไปใช้อำนวยความสะดวกในงานราชการและจัดบริการสาธารณะแก่ชุมชน เช่น รถบรรทุกน้ำ รถบรรทุกขยะมูลฝอยและรถดูดสิ่งปฏิกูล

7. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการติดตามดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการการจัดทำ (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปีที่ 4 (25 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2565) (ฉบับที่ 1) โดยคณะอนุกรรมการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลประจำปี ได้เสนอร่างรายงานฯ เพื่อกรรมการ กตน. (ผู้แทนส่วนราชการ) พิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว เพื่อนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และเสนอคณะรัฐมนตรีทราบรวมทั้งจัดพิมพ์เล่มรายงานผลการดำเนินงานฯ ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่ผลงานรัฐบาลต่อไป
                    2. การบูรณาการระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิดเชื่อมโยงกับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน          ข้อเสนอแนะ/มติที่ประชุม กตน.
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม
    1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินการ ดังนี้
          1.1 ฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer One) ที่เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้แก่ ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลกิจกรรมการเกษตร ข้อมูลพื้นที่ทำการเกษตรและเอกสารสิทธิ์ และข้อมูลเครื่องจักรกลการเกษตร จัดเก็บไว้บนคลาวด์กลางของภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service: GDCC) โดยสำนักงานเศรษฐกิจทางการเกษตร (สศก.) เป็นหน่วยงานร่วมบูรณาการและบริหารจัดการข้อมูลกับกรมการปกครองเพื่อให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
          1.2 ปรับปรุงแอปพลิเคชัน (Food And Agriculture Revolution Model Information System: FAARMis) เวอร์ชั่น 2 สำหรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้สามารถรองรับการแสดงผลได้ทุกอุปกรณ์ โดยปรับปรุงระบบบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ (1) ข้อมูลบุคคลและข้อมูลครัวเรือน (2) ข้อมูลเครื่องจักรกลการเกษตร (3) ข้อมูลแปลงเอกสารสิทธิ์และแปลงไม่มีเอกสารสิทธิ์ (4) ข้อมูลกิจกรรมการเกษตร (5) ข้อมูลลายมือชื่อดิจิทัล (6) การเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (7) การตรวจสอบข้อมูลบุคคล ข้อมูลแปลงที่ดินและข้อมูลกิจกรรมการเกษตร และ (8) การแสดงผลรายงาน
          1.3 ส่งข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้กับระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) เพื่อนำไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ เพื่อค้นหา     ?คนจนเป้าหมาย?
    2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้ดำเนินการ ดังนี้
          2.1 การดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกลาง ได้แก่ (1) การจัดทำระบบการจัดเก็บประวัติ (2) การทำการเกษตรของเกษตรกรและการใช้ที่ดิน (3) การจัดทำระบบการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และ (4) การจัดทำรายงานและการให้บริการการสืบค้นข้อมูลทะเบียนเกษตรกร โดยดำเนินการบูรณาการระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรจากกรมส่งเสริมการเกษตร               กรมปศุสัตว์ และกรมประมง ทั้งนี้ บริษัทผู้รับจ้างได้ทำแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 25661
          2.2 การศึกษาออกแบบกระบวนการทำงานการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ให้ครอบคลุมทั้งพืช ปศุสัตว์และประมง โดยกำหนดเสนอผลการศึกษาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และจัดทำรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 25662
          2.3 การจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิดเชื่อมโยงกับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ                 ได้จัดทำบัญชีข้อมูลด้านการเกษตรในเว็บไซต์             nabc-catalog.oae.go.th โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 91 องค์กร ปัจจุบันมีชุดข้อมูล 1,041 ชุดข้อมูล ทั้งนี้ มีชุดข้อมูลที่เชื่อมโยงเข้ากับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ data.go.th จำนวน 128 ชุดข้อมูล และอยู่ระหว่างการปรับปรุงชุดข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติกำหนด          ข้อเสนอแนะ :
1. กษ. เห็นว่าระบบ Farmer One ยังอยู่ภายใต้การพัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer technology Center: NECTEC) ซึ่งจะส่งมอบให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นผู้ดูแลระบบต่อไปในอนาคต โดย NECTEC ได้มีการทำงานร่วมกับ กษ. อย่างใกล้ชิดเพื่อให้การพัฒนาระบบสามารถส่งและประมวลผลข้อมูลได้อย่างแม่นยำและเที่ยงตรง ทั้งในการจัดทำชุดข้อมูลและการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยหากมีการใช้งานและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระบวนการส่งต่อข้อมูลเป็นไปโดยอัตโนมัติจะสามารถช่วยให้ข้อมูลมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ รวมทั้งสะท้อนตามสภาพการณ์จริงได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
2. การเชื่อมต่อข้อมูลเกษตรกรเข้ากับระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชุดข้อมูล โดยข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุด คือ กิจกรรมทางการเกษตรจะมีการปรับปรุงข้อมูลบ่อยครั้งกว่า ในขณะที่ข้อมูลรายชื่อและจำนวนเกษตรกรที่มีการเคลื่อนไหวน้อย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นรายปี
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ กษ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะและความเห็นไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. โครงการดำเนินการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างแรงงานไทยในต่างประเทศ มีการดำเนินงานและแผนงานของหน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน          ข้อเสนอแนะ/มติที่ประชุม กตน.
การแก้ไขปัญหาการว่างงานและส่งเสริมการมีงานทำและการส่งเสริมการจ้างงานในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระทรวงแรงงาน (รง.) ได้ดำเนินการ เช่น
    1. การให้บริการจัดหางานในต่างประเทศ ในช่วงปี 2561 - 2565 มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ 423,451 คน สร้างรายได้ส่งกลับประเทศไทย จำนวน 1,020,774 ล้านบาท ทั้งนี้ สามารถจำแนกจำนวนแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศด้วยวิธีการเดินทางอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้               (1) การแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง 44,254 คน (2) บริษัทหางานจัดส่ง 109,677 คน (3) กรมการจัดหางานจัดส่ง 51,607 คน (4) นายจ้างพาลูกจ้างไปทำงานในต่างประเทศ 48,270 คน และ (5) นายจ้างส่งลูกจ้างไปฝึกงานในต่างประเทศ และการแจ้งการเดินทางกลับไปทำงานในต่างประเทศ (Re-entry) 169,643 คน
    2. การขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างแรงงานไทยในต่างประเทศ ภายใต้ ?โครงการการดำเนินการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างงานไทยในต่างประเทศ? โดยผลการดำเนินงานและความคืบหน้า ดังนี้
          2.1 สาธารณรัฐเกาหลี รง. ได้ดำเนินการ เช่น ขยายตลาดแรงงานไทยตามระบบการอนุญาตจ้างงานแรงงานต่างชาติและขอความร่วมมือพิจารณาเพิ่มโควตาการจัดส่งแรงงานของประเทศไทย จากเดิม จำนวน 3,000 คน เป็น 5,000 คน และจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในอุตสาหกรรมต่อเรือด้วยวีซ่าทักษะฝีมือ     (E-7) ในตำแหน่งช่างเชื่อม ช่างทาสี และช่างไฟฟ้า โดยข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับรองสัญญาจ้างแล้วกว่า 2,400 คน และเดินทางถึงสาธารณรัฐเกาหลีแล้ว 118 คน
          2.2 สาธารณรัฐฟินแลนด์และราชอาณาจักรสวีเดน รง. ได้ผลักดันการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานเก็บผลไม้ตามฤดูกาลอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานการจ้างงานสากล รวมทั้งได้หารือในประเด็นความต้องการแรงงานประเภทแรงงานฝีมือ (Skill Workers) และการขยายตลาดแรงงานไทยในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ เช่น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานนวดไทย และผู้ประกอบการอาหารไทย
          2.3 ประเทศญี่ปุ่น รง. ได้ดำเนินการประสานความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การจัดทำร่างข้อตกลงว่าด้วยโครงการแรงงานทักษะเฉพาะ และการจัดทำความตกลงด้านการประกันสังคมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศญี่ปุ่น และขยายตลาดแรงงาน ได้แก่ การประกาศรับสมัครคัดเลือกผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคชาวไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น และการจัดหาและทดสอบคนหางานเพื่อไปทำงานประเภทวีซ่าแรงงานทักษะเฉพาะในตำแหน่งทำความสะอาดอาคาร รวม 10 อัตรา
    3. การพัฒนาฝีมือแรงงานไทยในต่างประเทศ ภายใต้ ?โครงการส่งเสริมศักยภาพมาตรฐานฝีมือแรงงานไทยในต่างประเทศ? ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2563 มีแรงงานไทยผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในต่างประเทศ ในสาขาผู้ประกอบอาหารไทยและไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด) จำนวน 554 คน (ร้อยละ 97.70) ใน 12 ประเทศ สร้างรายได้เข้าประเทศ จำนวน 254.84 ล้านบาท
    4. แนวทางการขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศปี 2567 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณดำเนินงานโครงการส่งเสริมศักยภาพมาตรฐานฝีมือแรงานไทยในต่างประเทศ จำนวน 10 ล้านบาท เพื่อดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้แก่แรงงานไทยในต่างประเทศ ในสาขาอาชีพภาคบริการ สาขาผู้ประกอบอาหารไทย สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (ไทยสัปปายะ สปาตะวันตก) และสาขาพนักงานนวดแผนไทยในประเทศแถบทวีปอเมริกา เอเชีย และออสเตรเลีย โดยมีเป้าหมายดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 240 คน          ข้อเสนอแนะ :
1. ควรมีการบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเดินทางของคนไทย/แรงงานไทย การสอดส่อง Social Media ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการลักลอบไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี (สป.รง.)
2. ควรผลักดันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินงานโครงการส่งเสริมศักยภาพมาตรฐานฝีมือแรงงานไทยในต่างประเทศในปีงบประมาณถัดไป เพื่อให้แรงงานไทยในต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในตลาดสากลและมีโอกาสในการขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศผ่านหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ [รง. (กรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน)]
ความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุม กตน. :
1. เนื่องจากกฎหมาย/ระเบียบ/หลักเกณฑ์ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ทำให้การจัดทำบันทึกความร่วมมือด้านแรงงานกับต่างประเทศเกิดความล่าช้า และเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนจึงจำเป็นต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างรอบด้าน ดังนั้น รง. จึงควรขอความร่วมมือ กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเร่งรัดการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารเงื่อนไขสัญญา และบันทึกความร่วมมือด้านแรงงานกับต่างประเทศในเรื่องต่าง ๆ ด้วยความรอบคอบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ
2. รง. ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานไทยให้มีทักษะแรงงานตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาทักษะแรงงานเพิ่มเติมให้แก่แรงงานไทยที่ครบกำหนดการทำงานในต่างประเทศและกลับมายังประเทศไทย (โครงการแรงงานคืนถิ่น) เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการกลับไปทำงานในต่างประเทศได้ในอนาคต ตลอดจนการจัดหางานภายในประเทศรองรับแรงงานกลุ่มดังกล่าว
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ รง. กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของหน่วยงานและความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    4. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ดังนี้
                        4.1 ผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565) ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณ
รายจ่าย          วงเงิน พ.ร.บ.
งบประมาณ          จัดสรร          แผนการใช้จ่ายฯ          ผลการใช้จ่ายฯ          สูง/ต่ำกว่าแผนฯ
ภาพรวม
 ร้อยละ/พ.ร.บ.
 ร้อยละ/จัดสรร          3,185,000.00
00          2,221,823.9202
69.76          1,389,392.2268
43.62
62.53          1,404,312.3453
44.09
63.21          14,920.1185
0.47
0.67
รายจ่ายประจำ
 ร้อยละ/พ.ร.บ.
 ร้อยละ/จัดสรร          2,520.329.09
91          1,628,075.2147
64.60          1,154,574.1141
45.81
70.92          1,080,644.4803
42.88
66.38          -73,929.6339
-2.93
-4.54
รายจ่ายลงทุน
ร้อยละ/พ.ร.บ.
ร้อยละ/จัดสรร          664,670.90
09          593,748.7056
89.33          234,818.1127
35.33
39.55          323,667.8650
48.70
54.51          88,849.7523
13.37
14.96
                        4.2 สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มีวงเงินทั้งสิ้นเกิน 1,000 ล้านบาท ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 โดยในภาพรวมรายการผูกพันใหม่ฯ จำนวน 32 รายการ วงเงิน 84,051.5874 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินงบประมาณ (พ.ศ. 2566 - 2571) จำนวน 73,122.5708 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ จำนวน 7,556 ล้านบาท และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด ร้อยละ 5 จำนวน 3,373.0166 ล้านบาท
                    5. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้ กตน. โดยดำเนินการขยายผลการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามนโยบายตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีใน 2 เรื่องหลัก ดังนี้
                        5.1 การส่งเสริมการนำไทยสู่เมืองหลวงสุขภาพโลก ได้ประชาสัมพันธ์นโยบาย Medical Hub หรือการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ประเทศไทยเป็นจุดหมายสำคัญด้านการท่องเที่ยวที่มีความพร้อมทุกด้านสำหรับชาวต่างชาติ โดย Medical Tourism Association โดยในปี 2564 ได้จัดอันดับให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยติดอันดับ 5 ของโลก เนื่องจากแพทย์ไทยมีศักยภาพ มาตรฐานการรักษาอยู่ในระดับสากล ค่ารักษาพยาบาลสมเหตุสมผลและค่าครองชีพไม่สูงมากเหมาะแก่การพักฟื้นในระยะยาว นอกจากนี้ เรื่อง Wellness ทั้งการนวดไทย สปา ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เป็นซอฟต์เพาเวอร์ที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและรายได้เข้าประเทศและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์มียอดเข้าถึง 4.42 ล้านคน Like 53,547 ครั้ง Share 19,487 ครั้ง
                        5.2 การเยียวยาและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้มีการตั้งศูนย์บัญชาการจัดการน้ำท่วม (ส่วนหน้า) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ชัยนาท หนองบัวลำภู สงขลา จันทบุรี            สุราษฎร์ธานี และกาญจนบุรี เพื่อสื่อสารข้อมูลสู่ประชาชนหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายได้ประชาสัมพันธ์มาตรการช่วยเหลือและการเยียวยาจากภาครัฐ เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร พืชไร่ ปศุสัตว์ ประมง การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษีสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อบริจาคให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ขยายกำหนดเวลายื่นงบฯ รายเดือนสำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่ประกาศเขตอุทกภัย และมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินของรัฐต่าง ๆ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินกว่า 6,258 ล้านบาท ช่วยผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 ในอัตรา 5,000 บาท 7,000 บาท และ 9,000 บาท/ครัวเรือน ตามกรณี พร้อมอธิบายหลักเกณฑ์ วิธีการขอรับเงินการช่วยเหลือเยียวยาอุทกภัย โดยมียอดเข้าถึงทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเด็นดังกล่าว 90.20 ล้านคน Like 39.85 ล้านครั้ง Share 1.17 ล้านครั้ง
จากการประสานงานภายใน กตน. แจ้งว่า
1 บริษัทที่รับผิดชอบไม่สามารถดำเนินงานตามแผนได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งบนเครื่องแม่ข่ายของ สศก.
2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความสมบูรณ์ โดยคาดว่าสามารถส่งมอบได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566

8. เรื่อง รายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) เสนอรายงานประจำปี กพยช. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 มาตรา 16 (6) ที่บัญญัติให้สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพยช. มีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กพยช. เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1. ภาพรวมสถานการณ์กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2562 - 2564          1.1) สถิติจำนวนคดีที่รับแจ้งความ 1,923,542 คดี และจำนวนผู้ต้องหาที่จับกุมได้ ในปี 2562 ? 2564 จำนวน 1,883,197 คน
1.2) สถิติจำนวนคดีอาญาที่เข้าสู่การพิจารณา 1,642,011 คดี และคดีเสร็จไปของศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักร 1,490,814 คดี
1.3) สถิติจำนวนผู้อยู่ในการควบคุมของกรมราชทัณฑ์ทั่วประเทศ แบ่งเป็น นักโทษเด็ดขาด 814,905 คน ผู้ต้องขังระหว่าง (อุทธรณ์-ฎีกาไต่สวน-พิจารณา และสอบสวน) 166,899 คน และการกระทำผิดซ้ำหลังจากได้รับการปล่อยตัวในปีแรก 96,288 คน
1.4) สถิติคดีรับเข้าของศาลปกครองชั้นต้น 24,180 คดี และคดีแล้วเสร็จ 20,159 คดี
2. ผลการดำเนินงานของ กพยช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช. จำนวน 6 คณะ          2.1) ภาพรวมการดำเนินงาน กพยช. โดยคณะกรรมการได้มีการประชุม จำนวน 2 ครั้ง และมีผลงานสำคัญ เช่น
          2.1.1) การจัดทำร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำให้ผู้พ้นโทษไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขในสังคมโดยเฉพาะการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งงานหรือสถานประกอบการที่ตรงกับความรู้ความสามารถของตนภายหลังการพ้นโทษมาแล้ว โดยกำหนดหลักเกณฑ์การจัดการประวัติการกระทำความผิด ตั้งแต่การเปิดเผยประวัติอาชญากรรมสำหรับคดีที่มีความสำคัญและกระทบต่อความสงบสุขของสังคมส่วนรวมและไม่เปิดเผยประวัติอาชญากรรมเพื่อให้โอกาสผู้กระทำความผิดในการกลับคืนสู่สังคม (ปัจจุบันสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วตามแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
          2.1.2) การจัดทำร่างพระราชบัญญัติชะลอการฟ้อง พ.ศ. ....      เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้แสดงความรับผิดชอบในการกระทำ ชดเชยเยียวยา บรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำให้แก่ผู้เสียหายในชั้นแรกและเป็นการเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เสียหายอันนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคู่กรณี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และสังคม มากกว่าการดำเนินการให้มีการพิจารณาลงโทษ ซึ่งจะทำให้คดีอาญาระงับลงและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม (ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอยู่ระหว่างการขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
          2.1.3) การจัดทำกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2566 ? 2569 เพื่อพัฒนาองค์กรความรู้และเสริมสร้างนวัตกรรมด้านกระบวนการยุติธรรม และทิศทางการศึกษาวิจัยด้านการยุติธรรมในอนาคตที่ตรงตามความต้องการของหน่วยงานและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งขับเคลื่อนให้มีการนำงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 5 กรอบ ได้แก่ (1) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา (2) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ปกครอง (3) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมาย (4) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในกระบวนการยุติธรรม และ     (5) กรอบการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
          2.1.4) การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 เพื่อส่งเสริมสังคมสงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทุกคนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ (Peace Justice and Strong Institutions) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสังคมที่สงบสุข สร้างความปลอดภัย ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม และสร้างสถาบันที่มีธรรมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้ ประกอบด้วย 12 เป้าหมายย่อย 24 ตัวชี้วัด โดยจำแนกเป็นประเด็นหลัก 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสังคมสงบสุข (Peace) (2) ด้านยุติธรรม (Justice) และ (3) ด้านไม่แบ่งแยก (Strong Institutions) มีผลงานที่สำคัญ เช่น (1) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 (2) จัดงานนิทรรศการ ?ก้าวพอดี 2565? พลิกโฉมประเทศไทยก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน (A Bright Leap Forward 2022: Transforming Thailand towards Sustainable Growth) ระหว่างวันที่ 22 ? 25 กันยายน 2565 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ (3) ประชุมหารือข้อมูลตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 16 ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดให้มีความชัดเจนและสามารถรายงานข้อมูลได้อย่างครบถ้วน
2.2) ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 6 คณะ เช่น (1) การเตรียมความพร้อมในการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ .. พ.ศ. .... (เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา) (2) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม พ.ศ. .... (3) พิจารณาการบริหารจัดการงานวิจัยด้านการบริหารงานยุติธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมไทย และ (4) พิจารณาแนวทางการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2566 - 2569
3. ผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ กพยช. ตามพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 (มาตรา 10)          ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของ กพยช. เช่น (1) จัดทำร่างแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) (2) จัดทำร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) (3) ประสานงานและส่งเสริมความร่วมมือในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 16 และ (4) จัดทำกรอบวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ.          2566 - 2569
4. การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565)          แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ (1) รายงานข้อมูลสถานการณ์ตามตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) เช่น ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ทั่วถึงและเท่าเทียมของประชาชน และ (2) รายงานผลการดำเนินการโครงการสำคัญภายใต้แผนแม่บทฯ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 164 โครงการ และใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8,818.46 ล้านบาท
5. ผลการดำเนินงานของ      ฝ่ายเลขานุการ (สกธ.) เพื่อสนับสนุนภารกิจของ กพยช.          5.1) พัฒนาข้อมูลและสถิติที่สำคัญต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม จัดทำรายงานสถานการณ์อาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรม ประจำปี พ.ศ. 2564 (White Paper on Crime & Justice 2020) โดยสำรวจสถานการณ์ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมผ่านข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และการสำรวจสถานการณ์การตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม และพฤติกรรมการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน
5.2) พัฒนาระบบการใช้มาตรการต่อผู้กระทำผิดอาญาแทนการควบคุมตัว (Non-custodial Measures) ได้ทำการศึกษาทบทวนและประเมินผลการใช้เงื่อนไขการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 และกลไกอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 และศึกษาเปรียบเทียบการใช้มาตรการต่อผู้กระทำผิดอาญาแทนการควบคุมตัวในประเทศไทยและต่างประเทศ
5.3) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม ดำเนินการพัฒนารูปแบบและวิธีการเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่เน้นการสื่อสารที่มีความทันสมัย และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยนำเสนอผ่านรูปภาพและภาษาที่เข้าใจได้ง่ายในรูปแบบอินโฟกราฟิก โมชั่นกราฟิก วิดีโอ และบทความ รวมถึงช่องทางออนไลน์
5.4) ขับเคลื่อนงานด้านกระบวนการยุติธรรมในมิติเชิงพื้นที่ ดำเนินการขับเคลื่อนกรอบแนวทางในการป้องกันอาชญากรรม ผ่านการดำเนินโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมระดับจังหวัด
5.5) เชื่อมโยงข้อมูลด้านกระบวนการยุติธรรม โดยพัฒนาการเชื่อมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับระบบงานคดีของตำรวจ การพัฒนาระบบนำเข้าและตรวจสอบความถูกต้องและจัดการบัญชีชุดข้อมูลหลักของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้เกิดการยกระดับในการให้บริการและการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นตามกรอบด้านการให้บริการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล ในเครือข่าย DATA EXCHANGE CENTER : DXC
5.6) จัดประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 19    (The 19th National Symposium on Justice Administration) ในหัวข้อ ?กระบวนการยุติธรรมกับความท้าทายในทศวรรษหน้า? ระหว่างวันที่        30 - 31 มีนาคม 2565 ในรูปแบบ Online Event มีผู้เข้าร่วมประชุมผ่านทางออนไลน์ จำนวน 10,000 คน

9. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายพีรพันธ์ คอทอง) ทำหน้าที่ประธาน [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (1 ตุลาคม 2562) ที่เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดฯ โดยมีอำนาจหน้าที่ติดตามการดำเนินงานยุทธศาสตร์สับปะรด และรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. สถานการณ์สับปะรดโรงงานและแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสับปะรด ปี 2566
                        1.1 สถานการณ์สับปะรดโรงงาน
                              1.1.1 สถานการณ์การผลิต ในปี 2566 คาดว่า มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 430,958 ไร่ ผลผลิตรวม 1.65 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปี 2565 เนื่องจากเกษตรกรได้ลดพื้นที่ปลูกจากปัญหาต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาปุ๋ยและสารเคมีและปัญหาการขาดแคลนแรงงานประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา ทุเรียน มะพร้าว และมันสำปะหลัง เนื่องจากราคามันสำปะหลังในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดีและใช้ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า
                              1.1.2 สถานการณ์การตลาด ผลผลิตสับปะรดร้อยละ 72 ของผลผลิตทั้งหมด จะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สำหรับส่งออกไปต่างประเทศและผลผลิตร้อยละ 28 ของผลผลิตทั้งหมด ใช้เพื่อการบริโภคและอื่น ๆ ภายในประเทศ โดยในปี 2565 มีปริมาณการส่งออกสับปะรดในรูปแบบผลิตภัณฑ์รวม 512,574 ตัน มูลค่า 23,869 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 12.14 ทั้งนี้ พบว่า ประเทศที่ไทยส่งออกสับปะรดกระป๋องไปมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
                              1.1.3 ราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2566 (เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์) สับปะรดที่เข้าโรงงาน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่อยู่ที่กิโลกรัมละ 6.50 บาท) และสับปะรดที่ใช้บริโภค เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.14 บาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่อยู่ที่กิโลกรัมละ 10.06 บาท)
                        1.2 แนวทางดำเนินการบริหารจัดการสับปะรดปี 2566 คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ได้ดำเนินการตามแนวทางฯ ในจังหวัดแหล่งผลิตที่สำคัญ เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี ซึ่งมีการดำเนินการ ดังนี้
                              1.2.1 เชื่อมโยงตลาดล่วงหน้า เช่น การประชุมเพื่อบริหารจัดการการผลิตและการตลาดสับปะรดในพื้นที่ และการประสานโรงงานสับปะรดในพื้นที่เพื่อสอบถามความต้องการผลผลิต
                              1.2.2 กระจายผลผลิต เช่น กระจายผลผลิตผ่านเครือข่ายร้านธงฟ้า เครือข่ายเซลล์แมนจังหวัด เครือข่ายสหกรณ์ และการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์
                              1.2.3 ส่งเสริมการบริโภค เช่น ดำเนินโครงการ ?พาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย? และการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การบริโภคสับปะรดสด
                              1.2.4 ส่งเสริมการแปรรูป เช่น ส่งเสริมการแปรรูปสับปะรดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น น้ำสับปะรด แยม และขนม และขยายช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตแปรรูปจากสับปะรด ได้แก่ น้ำสับปะรด และชีสพายสับปะรด ไปยังร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ
                              1.2.5 ส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อบริโภคสด เช่น ส่งเสริมให้ปลูกสับปะรดสายพันธุ์เพื่อบริโภคสดมากขึ้น และแนะนำให้เกษตรกรวางแผนการผลิตโดยเน้นส่งตลาดบริโภคผลสดมากกว่าส่งเข้าโรงงาน
                              1.2.6 แนวทางอื่น ๆ เช่น ส่งเสริมการปลูกสับปะรดพันธุ์บริโภคผลสดที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด
                        มติที่ประชุม : รับทราบสถานการณ์สับปะรดโรงงานและแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสับปะรดปี 2566 และมอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการ ดังนี้
                        (1) ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอุปทาน อุปสงค์ สินค้าสับปะรดปี 2566
                        (2) ให้สศก. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพาณิชย์เพื่อประสานผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธาน คพจ. และพาณิชย์จังหวัดติดตามสถานการณ์และดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดทั้ง 5 ด้าน ตามแผนระดับจังหวัด รวมถึงแนวทางอื่นที่จังหวัดได้ดำเนินการ และรายงานผลการดำเนินการให้ สศก. ทราบเป็นระยะ
                    2. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด ปี 2564 - 2565
                        แผนปฏิบัติการด้านสับปะรดฯ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการผลิต (2) ด้านอุตสาหกรรมแปรรูป และ (3) ด้านการตลาดและส่งออก โดยในปี 2564 มีแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับสับปะรด จำนวน 24 โครงการ 9 กิจกรรม บรรลุเป้าหมาย จำนวน 23 โครงการ 3 กิจกรรม เนื่องจากมีการยกเลิกบางโครงการในด้านการตลาดและการส่งออกเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019     (โควิด-19) และในปี 2565 มีแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับสับปะรด จำนวน 17 โครงการ 13 กิจกรรม บรรลุเป้าหมาย จำนวน 16 โครงการ 12 กิจกรรม เนื่องจากในด้านการผลิต : การพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร มีสหกรณ์เพียง 4 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการและสหกรณ์ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินทุนของตนเองในการรวบรวม ส่งผลให้ปริมาณการรวบรวมผลผลิตสับปะรดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
                        มติที่ประชุม : รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านสับปะรดปี 2564 - 2565
                    3. (ร่าง) แผนพัฒนาด้านสับปะรด พ.ศ. 2566 - 2570
หัวข้อ          สาระสำคัญ
(1) วิสัยทัศน์          ศูนย์กลางระดับโลกในการผลิต แปรรูป และสร้างคุณค่า มูลค่าทางเศรษฐกิจจากสับปะรดอย่างยั่งยืน
(2) พันธกิจ          มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1) สนับสนุนและพัฒนาสับปะรดให้สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน
2) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบการวิจัยและสายพันธุ์ การบริหารจัดการแปลง การบริหารจัดการดินและน้ำ การบริหารโซนนิ่งการเกษตร การจัดการระบบโลจิสติกส์ การบริหารผลผลิตสับปะรดให้มีความสมดุลทั้งอุปสงค์ อุปทานของระบบเศรษฐกิจการเกษตรมูลค่าสูง และการบริโภคที่มีคุณภาพ
3) เสริมสร้างขีดความสามารถและการบริหารจัดการภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทานเพื่อการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการแปรรูปการตลาด
4) ส่งเสริม พัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิตเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง มีความมั่นคงในอาชีพ สามารถบริหารจัดการการเกษตรที่ยั่งยืนด้วยตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5) ส่งเสริมการสร้างสรรค์วิชาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิต การแปรรูปและการตลาด
(3) ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย          1) พื้นที่ปลูกที่ได้รับการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากนโยบายภาครัฐ จำนวน 1,000 ไร่ต่อปี
2) ผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรด เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี
3) มูลค่าการส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์สับปะรดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี (จากปีฐาน ปี 2565 จำนวน 23,700 ล้านบาท)
4) รายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี (จากปีฐาน ปี 2565 จำนวน 330,700 ล้านบาท)
(4) แผนปฏิบัติการ          1) การพัฒนาเกษตรกร สถาบันเกษตร และการบริหารจัดการระบบนิเวศสับปะรดที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมาตรฐานการจัดการที่ยั่งยืน
2) การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และเทคโนโลยีการแปรรูปในภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง แข่งขันได้
3) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสับปะรดคุณภาพระดับโลก
                        มติที่ประชุม :
                        (1) เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาด้านสับปะรด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาสับปะรดได้เห็นชอบ และให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุมไปปรับปรุงแผนพัฒนาด้านสับปะรดฯ ให้มีความสมบูรณ์ เช่น ควรขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน และควรมีการออกแบบการจัดการข้อมูลเพื่อให้เห็นความเสี่ยงของแต่ละโครงการ
                        (2) มอบหมายคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาสับปะรดกำกับดูแลการดำเนินงาน และให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตาม (ร่าง) แผนพัฒนาด้านสับปะรดฯ และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ ทราบทุกไตรมาส เพื่อฝ่ายเลขานุการฯ จะได้รวบรวมนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติต่อไป
                    4. การเสนอให้มีกฎหมายพืชสับปะรดเป็นการเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาสับปะรดใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) พืชสับปะรดยังขาดเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาระยะยาว (2) พื้นที่เพาะปลูกยังขาดการควบคุมหรือจัดระเบียบ และ (3) โรงงานแปรรูปและเกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาได้เอง โดยจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติ หรือ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาพืชสับปะรดให้เป็นกฎหมายที่ใช้กำกับดูแลระบบอุตสาหกรรมสับปะรดของประเทศ
                        มติที่ประชุม : มอบหมายคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ พิจารณาข้อเสนอที่อาจจะให้มีกฎหมายพืชสับปะรดเป็นการเฉพาะ และรายงานให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติทราบต่อไป

10. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 18 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 18 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565) และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
                    สำหรับรายงานความคืบหน้าฯ ครั้งที่ 18 รอบเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 เป็นรายงานความคืบหน้าฯ รอบสุดท้าย นับแต่แผนการปฏิรูปประเทศประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 และได้มีการปรับปรุงและประกาศใช้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบดำเนินการในการสร้างรากฐานของประเทศในช่วง 5 ปีแรกที่ได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ และเกิดการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งปรับเปลี่ยน ยกเลิก กระบวนการ และกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ ประกอบกับระยะเวลาของแผนการปฏิรูปประเทศได้สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี (27 กันยายน 2565) ทั้งนี้ จากการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาได้บรรลุผลของการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ แล้ว
                    รายงานดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำคัญรวม 3 ส่วน ได้แก่ 1) สรุปผลการดำเนินการของแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 ด้าน 2) สรุปผลการดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายการปฏิรูปประเทศ และ 3) การดำเนินการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้
                    1. สรุปผลการดำเนินการของแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 ด้าน
                    สศช. ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้ง 13 ด้าน จากข้อมูลที่หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงาน/โครงการผ่านระบบติดตามและประเมินแห่งชาติ (eMENSCR) พบว่า การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 ด้าน มีผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการตามแผนปฏิรูปประเทศที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดผลตามมาตรา 258 อันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 257 ของรัฐธรรมนูญฯ แล้วสรุปได้ดังนี้
                              1.1 ด้านการเมือง มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น การจัดทำชุดความรู้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในรูปแบบหนังสือ จัดทำเป็นหลักสูตร และมีการออกแบบสื่อการเรียนการสอน (Tool kit) สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป รวมทั้งมีการนำหลักสูตรดังกล่าวไปเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ผ่านศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และจัดให้มีแอปพลิเคชัน Smart Vote Civic Education เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าถึงข้อมูลผู้รับสมัครรับเลือกตั้ง ข้อมูลพรรคการเมือง และข้อมูลที่ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
                              1.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมให้เกิดการปรับตัวของการทำงานและการให้บริการของภาครัฐให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยปัจจุบันมีงานบริการภาครัฐผ่านระบบ e-Service รวม 343 บริการ มีแพลตฟอร์มกลางสำหรับประชาชน Citizen Portal ผ่านแอปพลิเคชัน ?ทางรัฐ? และแพลตฟอร์มกลางสำหรับภาคธุรกิจผ่านเว็บไซต์ (www.bizportal.go.th)
                              1.3 ด้านกฎหมาย มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อให้การตรากฎหมายเป็นไปโดยละเอียด รอบคอบ ไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น และพัฒนากฎหมายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
                              1.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติระยะเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 ในการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า จัดให้มีทนายความอาสาให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 203 สถานี และจัดให้มีการให้คำปรึกษาทางกฎหมายผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งจัดให้มีระบบการปล่อยตัวชั่วคราวได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดเพื่อให้ประชาชนได้รับการอำนวยความยุติธรรม เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมยิ่งขึ้น
                              1.5 ด้านเศรษฐกิจ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีระบบภาษีเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของรัฐ โดยมีระบบการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ (e-Filling) และมีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า พ.ศ. .... หรือ พ.ร.บ. FTA เพื่อจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า และกองทุน FTA เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ทั้งภาคการผลิตสินค้าเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ
                              1.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ซึ่งเป็นกลไกภาครัฐที่สำคัญในการบูรณาการการบริหารจัดการน้ำทั้งหมดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำในทุกมิติ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ
                              1.7 ด้านสาธารณสุข มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีคลินิกหมอครอบครัว หรือ PCC : Primary Care Cluster ซึ่งเป็นระบบที่มีทีมหมอครอบครัวดูแลประชาชนจำนวน 10,000 คนต่อทีม สามารถให้บริการประชาชนได้ทุกที่ ทุกเวลา และมีระบบโทรเวชกรรม หรือ Telemedicine ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้แบบ Real-time ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา และได้รับบริการเหมือนกับการรับบริการที่โรงพยาบาล
                              1.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti-Fake News Center : AFNC) เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิด รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาข่าวปลอมผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Website Line และ Facebook รวมถึงการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม
                              1.9 ด้านสังคม มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการจัดให้มีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม โดยได้กระจายที่ดินทำกินให้ชุมชนแล้วจำนวน 1,442 ผืน ครอบคลุมพื้นที่ 70 จังหวัด รวมเนื้อที่ 5,757,682 ไร่ อันเป็นการช่วยเหลือประชาชนทั่วประเทศให้มีที่ดินทำกินรวม  69,368 ราย
                              1.10 ด้านพลังงาน มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ (เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) เพื่อปรับกระบวนการอนุมัติ อนุญาตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถลดระยะเวลาและขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และปรับกระบวนการอนุมัติโครงการภาครัฐและเอกชนให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นการลงทุนทางด้านพลังงานของประเทศ และลดต้นทุนที่เกิดจากระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ
                              1.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ มีระบบการจัดการเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์ด้วยระบบดิจิทัล (e-Complaint and Appeal) และมีระบบรับแจ้งเบาะแสทางเว็บไซต์ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Management System : WMS) แบบครบวงจร โดยได้เริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ปัจจุบันมีผู้แจ้งเบาะแสทั้งหมด 76 เรื่อง เป็นการแจ้งแบบปกปิดตัวตน จำนวน 66 เรื่อง และเป็นการแจ้งแบบปิดเผยตัวตน จำนวน 10 เรื่อง
                              1.12 ด้านการศึกษา มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 เพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา และมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด โดยมีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ และการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้นในแต่ละปีในสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจำนวน 541 สถานศึกษา
                              1.13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพชุมชนสู่การเป็นเมืองแห่งศิลปะ ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ นครราชสีมา และเชียงราย และการพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในหลายพื้นที่ เช่น ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ กรุงเทพฯ ย่านศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา ย่านเจริญเมือง จังหวัดแพร่ รวมถึงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ ?เที่ยวชุมชน ยลวิถี? ให้มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เช่น ชุมชนแหลมสัก จังหวัดกระบี่ บ้านเมืองรวง จังหวัดเชียงราย
                    2. สรุปผลการดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายการปฎิรูปประเทศ โดยเป็นกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน 45 ฉบับ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งมีสถานะความคืบหน้าของกฎหมาย ประกอบด้วย (1) กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 10 ฉบับ โดยดำเนินการแล้วเสร็จเพิ่มเติมจากรอบก่อนหน้า จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2565 (2) กฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน 35 ฉบับ ซึ่งมีสถานะการจัดทำ/ปรับปรุงคืบหน้ากว่ารอบรายงานที่ผ่านมา จำนวน 1 ฉบับ และยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างหน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 22 ฉบับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการเร่งดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงให้แล้วเสร็จ และนำเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป สรุปได้ ดังนี้
แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)          จำนวนกฎหมาย (ฉบับ)          อยู่ระหว่างการดำเนินการ          แล้วเสร็จ
                    หน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย          สลค. พิจารณาเพื่อเสนอ ครม. เห็นชอบหลักการ          สคก. ให้ความเห็นต่อร่างกฎหมาย          รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายก่อนประกาศใช้
1. ด้านการเมือง          2          1          1
2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน          2          1                                        1
3. ด้านกฎหมาย          5          1          1                    1          2
4. ด้านกระบวนการยุติธรรม          1                                                  1
5. ด้านเศรษฐกิจ          7          2          1          1                    3
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          1          1
7. ด้านสาธารณสุข          1                              1
8. ด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ          2                    2
9. ด้านสังคม          4          2                    1                    1
10. ด้านพลังงาน          8          7                                        1
11. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและพฤติมิชอบ          10          6          2                    1          1
12. ด้านการศึกษา          1                                        1
13. ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์          1          1
รวมจำนวนกฎหมาย (ฉบับ)          45          22          7          3          3          10

                    ทั้งนี้ สศช. ได้สรุปรายงานสถานะความคืบหน้าของกฎหมายที่วุฒิสภาเห็นควรให้ความสำคัญในการเร่งรัด ทั้ง 10 ฉบับ และรายงานการจัดทำร่างกฎหมายปฏิรูปที่รัฐบาลแถลงไว้กับรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 เพื่อใช้ในการกำกับ ติดตาม เร่งรัดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงร่างกฎหมายที่ยังไม่แล้วเสร็จโดยเฉพาะกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำร่างกฎหมาย ให้แล้วเสร็จตามความจำเป็นและเหมาะสมกับการพัฒนาประเทศต่อไป
                    3. การดำเนินการในระยะต่อไป
                    หลังจากแผนการปฏิรูปประเทศสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการจะต้องนำประเด็นปฏิรูปประเทศมาดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 (ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) แผนระดับที่ 3 (ได้แก่ แผนปฏบัติราชการ และแผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ ที่เป็นกลไกสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงาน/โครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐในแต่ละปีงบประมาณโดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ) และการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานตามแนวทางการดำเนินการภายหลังการสิ้นสุดของแผนปฏิรูปประเทศตามคณะรัฐมนตรี (27 กันยายน 2565) โดยมีมติรับทราบผลการประชุมของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 รวมทั้ง สศช. ได้เชื่อมโยงประเด็นปฏิรูปประเทศกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมายระดับหมุดหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินการขับเคลื่อน ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการในประเด็นการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่ต่อเนื่องและเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืน ส่งผลให้การพัฒนาประเทศบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ


ต่างประเทศ
11. เรื่อง ผลการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน กสทช.) เสนอ  ผลการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU1 Plenipotentiary Conference 2022: PP-22)  และรับทราบการแสดงเจตจำนงของประเทศไทยโดยสำนักงาน กสทช. ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาโทรคมนาคม ปี ค.ศ. 2025 (World Telecommunication Development Conference 2025: WTDC-25) ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงาน กสทช. รายงานว่า การประชุม PP-22 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กันยายน-14 ตุลาคม 2565 ณ กรุงบูคาเรสต์ ราชอาณาจักรโรมาเนีย โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ และมีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 3,783 คน โดยมีนาย Sarbin Sarmas  ผู้แทนจากประเทศโรมาเนีย เป็นประธานการประชุม สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.          ผลการเลือกตั้ง การประชุม PP-22 มีการเลือกตั้งตำแหน่งผู้บริหารของ ITU
วาระปี ค.ศ. 2023-2026 คณะกรรมการกฎข้อบังคับวิทยุ และสมาชิกสภาบริหาร โดยประเทศไทยได้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภาบริหาร ITU ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศสำหรับวาระการดำรงตำแหน่งระหว่างปี ค.ศ. 2023-2026 และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาบริหาร ITU สำหรับภูมิภาคเอเชียและออสตราเลเชีย2วาระปี ค.ศ. 2023-2026  ด้วยคะแนนจำนวน 152 เสียง ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 4 จาก 13 ประเทศสมาชิกที่ได้รับเลือก (มีประเทศที่สมัคร 16 ประเทศ) เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอินโดนิเซีย และสหพันธรัฐมาเลเซีย  ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิก ITU วาระปี ค.ศ. 2023-2026 ของประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยประสบผลสำเร็จอย่างมากจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมในสภาบริหารและในการประชุมอื่น ๆ ในกรอบ ITU ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของ ITU ทั้งนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในการรับทราบและการแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ที่สภาบริหารพิจารณาในแต่ละปี และยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้แสดงบทบาทผู้แทนสมาชิกสภาบริหารและผู้แทนของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและออสตราเลเชียในเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย
                    2. การกล่าวถ้อยแถลงเชิงนโนบาย ประธาน กสทช. (ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์) หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเพิ่มจำนวนประชากรที่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และโครงการเน็ตประชารัฐ รวมทั้งส่งเสริมด้านสาธารณสุข เช่น บริการการแพทย์ทางไกล ส่งเสริมการใช้ 5G ในโรงพยาบาลศิริราชให้เป็น ?Smart Hospital? นอกจากนี้ ประเทศไทยโดยสำนักงาน กสทช. ได้ให้การสนับสนุน ITU มาโดยตลอด และสนับสนุนการย้ายที่ตั้งสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ ITU และแสดงเจตจำนงเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WTDC-25 ทั้งนี้ ได้ขอให้ประเทศสมาชิกสนับสนุนประเทศไทยในการลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งสภาบริหารของ ITU
                    3. สรุปผลการประชุมฯ และประเด็นที่สำคัญ การประชุม PP-22 ประกอบด้วย การประชุมเต็มคณะ การประชุมย่อย และการประชุมเฉพาะกิจ โดยมีมติที่ประชุมที่สำคัญ ได้แก่ (1) การแก้ไขข้อมติที่ 25 เรื่อง Strengthening the ITU regional presence ซึ่งได้ปรับเนื้อหาให้เป็นปัจจุบันขึ้น เช่น การทบทวนบทบาทของสำนักงานภูมิภาคอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและการเพิ่มความสนใจให้กลุ่มประเทศด้อยพัฒนาหรือพัฒนาน้อยที่สุด      (2) การแก้ไขข้อมติที่ 71 เรื่อง Strategic plan ซึ่งเป็นข้อมติที่ได้รับการแก้ไขว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ของ ITU ประจำปี ค.ศ. 2024-2027 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายสำคัญคือ การส่งเสริมการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสม และการเปลี่ยนสู่สังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืน (3) การแก้ไขข้อมติที่ 77 เรื่อง Scheduling and duration of conferences,forums, assemblies and Council sessions of the Union (2023-2027) ว่าด้วยการกำหนดช่วงระยะเวลาสำหรับการจัดการประชุมต่าง ๆ ของ ITU ระหว่างปี 2023-2027 โดยข้อมติดังกล่าวครอบคลุมถึงการจัดการประชุม WTDC-25 ในปี ค.ศ. 2025 ณ กรุงเทพมหานคร และ (4) การออกข้อมติใหม่ที่ 216 เรื่อง Use of frequency assignments by military radio installations for national defense services ซึ่งเป็นข้อมติว่าด้วยการจัดสรรคลื่นความถี่โดยการใช้งานทางทหารสำหรับกิจการเพื่อความมั่นคงของชาติ
                    4. การลงนามในกรรมสารสุดท้าย [Final Acts of the Plenipotentiary
Conference (Bucharest, 2022)] โดยหัวหน้าคณะผู้แทนหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)            จากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมฯ ได้ลงนามในกรรมสารสุดท้ายซึ่งรวบรวมข้อตัดสินใจและข้อมติที่แก้ไข รวมทั้งข้อมติใหม่ที่ที่ประชุมได้ให้การรับรอง ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจะถือปฏิบัติตามกรรมสารสุดท้ายที่ได้ลงนามรับรอง
                    5. บทบาทของคณะผู้แทนไทย โดยผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศสำนักงาน กสทช.           (นายนทชาติ จินตกานนท์) รองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนาง Doreen Bogdan-Martin จากประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ได้รับเลือกในตำแหน่งเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นอกจากนี้ ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนาย Tomas Lamanauskas จากสาธารณรัฐลิทัวเนียผู้ได้รับเลือกในตำแหน่งรองเลขาธิการ ITU และกล่าวในที่ประชุมเต็มคณะเพื่อแสดงความยินดีกับสาธารณรัฐอินเดียในการรับเป็นเจ้าภาพการประชุม World Telecommunication Standardization Assembly (WTSA) ในปี ค.ศ 2024 รวมทั้งกล่าวในที่ประชุม Working Group of the Plenary เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสารสนเทศของกลุ่มคนเปราะบางอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับประเทศต่าง ๆ เช่น ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ลิทัวเนีย ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนถ้อยคำแถลงของราชอาณาจักรเดนมาร์กในหัวข้อที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติและการใช้ภาษาแก่ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้หญิง โดยได้กล่าวถึงประเด็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้เข้าร่วมประชุมที่ยึดจากเพศสภาพหรืออายุนั้นเป็นเรื่องที่ล้าหลังและไม่ควรทำ
                    6. การหารือทวิภาคีระหว่างการประชุม PP-22 โดยหัวหน้าคณะผู้แทนและรองหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ เครือรัฐบายามาส ลิทัวเนีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ออสเตรเลีย สหพันธรัฐรัสเซีย ราชอาณาจักรโรมาเนีย และราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียได้มีการประชุมหารือทวิภาคีกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้ประกอบการ  เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันในการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งในตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งสมาชิก ITU
                    7. การแสดงเจตจำนงเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WTDC-25 รองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้แสดงเจตจำนงในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว  ณ กรุงเทพมหานคร ในปี 2568 ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่การเชื่อมต่อการเข้าถึง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นนโยบายสำคัญโดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ WTDC-25 ทั้งนี้ การรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WITDC-25 ไม่เพียงแต่เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย ยังเป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทยที่จะรับรองการประชุมสำคัญระดับโลก รวมถึงบุคคลที่เป็นผู้นำสำคัญของโลกในระดับรัฐมนตรีของประเทศต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีในการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนและการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคม นอกจากนี้ การประชุม WTDC-25 เป็นการส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ซึ่งจะส่งผลต่อการพิจารณาการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการกำหนดนโยบายที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคต
1สภาบริหารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)
2ดินแดนที่ประกอบด้วย เครือรัฐออสเตรเลีย ราชอาณาจักรนิวซีแลนค์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก

12.  เรื่อง  การของบกลางเพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนแบบสามัญและเฉพาะเจาะจงของกลุ่มธนาคารโลก ปี 2561
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง (กค.) ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 200.60 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการชดเชยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนแบบสามัญและเฉพาะเจาะจงของกลุ่มธนาคารโลก1 ปี 2561 โดยเบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่น ตามที่นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ รวมทั้งมอบหมายให้ กค. และสำนักงบประมาณ (สงป.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (11 กันยายน 2561) เห็นชอบการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบสามัญและการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงของธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (International Bank for Reconstruction and Development IBRD) และบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) ในวงเงิน จำนวน 78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ? 2565 กระทรวงการคลัง (กค.) ได้ดำเนินการชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนของ IBRD และ IFC ดังกล่าวมาแล้ว 3 ครั้ง จำนวน 54.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมียอดคงเหลือที่ต้องชำระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (งวดสุดท้าย) จำนวน 23.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม กค. คาดว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะไม่เพียงพอที่จะชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนงวดสุดท้าย เนื่องจากในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 ค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่าที่สำนักงบประมาณ (สงป.) ได้ประมาณการไว้ ดังนั้น กค. จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 200.60 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการชดเชยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของ IBRD และ IFC ดังกล่าว โดย สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบในหลักการ/ไม่ขัดข้อง
                    2. พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (3) บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) กำหนดแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนดำเนินการตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไว้ว่า การอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จะต้องกระทำเท่าที่จำเป็น และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน โดยการดำเนินการดังกล่าวจะกระทำได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ที่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณ นอกเหนือจากที่ได้รับการจัดสรร หรือที่ได้รับการจัดสรรไปแล้วแต่ไม่เพียงพอ และมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องขอใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน แล้วจึงเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว
                    3. โดยที่เรื่องนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ ซึ่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9                (3) กำหนดให้กรณีที่วงเงินเกินกว่า 100 ล้านบาท ให้หน่วยรับงบประมาณนำเรื่องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จึงเข้าข่ายเรื่องที่ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ประกอบกับเรื่องดังกล่าวจัดอยู่ในด้านการสร้างรายได้และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า กค. ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี         เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน แล้วจึงเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังนั้น จึงเห็นควรนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการตามที่ กค. เสนอให้มีผลดำเนินการได้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ความเห็นชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (3) แล้ว
1กลุ่มธนาคารโลก ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่ 1) IBRD ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและโครงการเงินกู้แก่กลุ่มประเทศรายได้ป่านกลาง 2) สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association: IDA) ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดผ่านโครงการเงินกู้ที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน 3) IFC ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ให้เงินลงทุน และสร้างตลาดเพื่อพัฒนาภาคเอกชนของประเทศสมาชิก 4) สถาบันค้ำประกันการลงทุนแบบพหุภาคี (The Multilateral Investment Guarantee Agency: MIGA) ทำหน้าที่สนับสนุนการลงทุนต่างประเทศในประเทศที่มีความเสี่ยงโดยการค้ำประกันเงินลงทุน และ 5) ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุน (International Centre for Settlement of Investment Disputes: ICSID) ทำหน้าที่เจรจา ไกล่เกลี่ย และยุติข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุน

13.  เรื่อง การเสนอรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเอกสารรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก [องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO)] ร่วมกับสหพันธรัฐมาเลเซีย (มาเลเซีย) เนการาบรูไนดารุสซาลาม (บรูไน) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย) และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (สิงคโปร์) รวมทั้งให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอรายการมรดกร่วมเคบายา ในฐานะตัวแทนของประเทศไทย เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโกตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ร่วมกับสหพันธรัฐมาเลเซีย เนการาบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่งเอกสารดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแล้ว เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 โดยเอกสารดังกล่าวมีสาระสำคัญครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น
                    1. ชื่อเรื่องที่นำเสนอ เคบายา: ความรู้ ทักษะ ประเพณีและการปฏิบัติ  (Kebaya: Knowledge, Skills, Tradition and Practices)
                    2. หลักเกณฑ์การพิจารณา
                              1) ความสอดคล้องกับลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
                                        - เคบายาเป็นชุดที่สวมใส่ในชีวิตประจำวันและในโอกาสสำคัญต่าง ๆ แสดงถึงวิธีการแต่งตัวที่สง่างามและภูมิฐาน ซึ่งพัฒนาไปตามกาลเวลาพร้อมกับวิถีชีวิตของผู้หญิงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเครื่องแต่งกายที่สะท้อนถึงรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมหลากหลาย โดยสามารถอยู่รวมกันอย่างกลมกลืนจนเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                                        - การทำเคบายาต้องใช้ทักษะและความรู้เฉพาะด้าน เช่น การออกแบบ การเลือกและการตัดผ้าและส่วนประกอบ การตัดเย็บ การปักแบบต่าง ๆ ตามเนื้อผ้า ทักษะและความรู้เหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาจากบุคคลในครอบครัว
                              2) ส่งเสริมการเป็นที่รู้จักและการตระหนักถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และจะมีส่วนช่วยสำหรับการส่งเสริมการเจรจาที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก และแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์: จะช่วยสร้างความตระหนักรับรู้และความชื่นชมและภาคภูมิใจของคนไทยและเล็งเห็นคุณค่าความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่มีร่วมกันในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชนในการคิดค้นและแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นระหว่างกัน สะท้อนถึงการอยู่ร่วมกันในความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับประเทศและแสดงถึงการสร้างสรรค์ร่วมกันของมนุษยชาติ
                    ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เคยเสนอรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของประเทศไทยแล้ว จำนวน 6 รายการ โดยได้รับการประกาศให้ขึ้นทะเบียนแล้ว 3 รายการ คือ โขน นวดไทย และโนรา ส่วนอีก 3 รายการ คือ สงกรานต์ในประเทศไทย ต้มยำกุ้ง และผ้าขาวม้าอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของยูเนสโก ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนการเสนอรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไมได้ของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นพันธกรณีที่มีอยู่แล้ว จึงไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป อันเป็นข้อห้ามตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาได้

14.  เรื่อง การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามเห็นชอบต่อการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และขออนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว (เป็นฉบับที่ 4) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีเนื้อหาหลักสอดคล้องกับพิธีสารและบันทึกความเข้าใจในด้านวัฒนธรรมที่สิ้นสุดลงแล้ว โดยมุ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างกันทั้งในด้านศิลปะ ภาษา วรรณกรรม ตลอดจนความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์ การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านใหม่ ๆ เช่น ด้านภาพยนตร์ การส่งผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี การละคร และทัศนศิลป์ การผลิตผลงานศิลปะร่วมกันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ซึ่งกันและกัน เป็นต้น ตลอดจนการเข้าร่วมงานและกิจกรรมทางวัฒนธรรมของแต่ละฝ่าย รวมทั้งการจัดงานวัฒนธรรมรัสเซียในประเทศไทยและงานวัฒนธรรมไทยในสหพันธรัฐรัสเซีย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้มีการดำเนินการร่วมกัน ดังนี้ 1) พิธีสารฯ ฉบับที่ 1 (ปี 2547 - 2549) 2) พิธีสารฯ ฉบับที่ 2 (ปี 2552 ? 2554) และ        3) บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับที่ 3 (ปี 2558 - 2560)

15. เรื่อง รายงานสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมใหญ่คณะกรรมการนโยบายด้านกฎหมาย (Regulatory Policy Committee - RPC) ครั้งที่ 27 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ รายงานสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมใหญ่คณะกรรมการนโยบายด้านกฎหมาย (Regulatory Policy Committee - RPC) ครั้งที่ 27 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (18 มกราคม 2565) เห็นชอบให้ประเทศไทย โดย สคก. เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการ RPC ดังกล่าว และที่ประชุม RPC ได้มีมติรับประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ RPC ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป
                    OECD ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ RPC ครั้งที่ 27 (The 27th Meeting of the Regulatory Policy Committee) ระหว่างวันที่ 4 - 6 ธันวาคม 2565 ณ สำนักงานใหญ่ OECD กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่ง สคก. ได้เข้าร่วมประชุมใหญ่ดังกล่าวในฐานะสมาชิก รวมทั้งได้มีการหารือระดับทวิภาคีกับเจ้าหน้าที่ของ OECD เพื่อขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือระหว่าง สคก. กับ OECD ในระยะต่อไป โดย สคก. ได้รายงานสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ดังนี้
                    1. สรุปผลการประชุมใหญ่คณะกรรมการนโยบายด้านกฎหมาย (Regulatory Policy Committee - RPC) ครั้งที่ 27 ซึ่งมีหัวข้อการประชุม 3 หัวข้อ ได้แก่
                              1.1 การออกกฎหมายเพื่อผลลัพธ์ที่ดี (Regulating for Results) โดยที่ประชุมได้อภิปรายถึงความสำคัญของกฎหมายว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้รัฐสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายที่สำคัญ และมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายว่ารัฐบาลจะสามารถรับประกันว่ากฎระเบียบจะถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ เช่น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน และการพัฒนาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างไร โดยในหัวข้อนี้ที่ประชุมได้มีประเด็นอภิปราย 4 ประเด็น คือ
                                        1) การพิจารณาว่ากฎระเบียบเป็นทรัพย์สิน (Regulations as assets) โดยในปัจจุบันกฎระเบียบต่าง  ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและจะเกิดขึ้น เพื่อให้ยังสามารถคงสถานะความเป็นทรัพย์สินและเป็นประโยชน์ต่อรัฐได้ต่อไปรัฐจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎระเบียบทั้งระบบมากกว่าการศึกษาหรือประเมินกฎระเบียบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และรัฐต้องดูแลการใช้บังคับกฎระเบียบระบบอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ทั้งนี้ การประเมินคุณค่าของกฎระเบียบว่ากฎระเบียบนั้นเป็นทรัพย์สินหรือมีประโยชน์ต่อรัฐและสังคมในวงกว้างหรือไม่จะต้องมีการใช้ข้อมูลสถิติต่าง ๆ มาใช้ประกอบการประเมินอย่างกว้างขวางว่ารัฐควรออกกฎระเบียบเพื่อแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากน้อยเพียงใด และควรดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้ ในการดำเนินการรัฐบาลคาดหวังให้หน่วยงานกำกับดูแลเผยแพร่ (1) ข้อมูลบนเว็บไซต์ของตนเกี่ยวกับลักษณะขอบเขต และวัตถุประสงค์ของกฎระเบียบที่รับผิดชอบหรือมีส่วนรับผิดชอบ (2) การทบทวนในปัจจุบันหรือล่าสุดของกฎระเบียบและระบบการกำกับดูแลเหล่านั้น รวมทั้งผลจากการประเมินนั้นและ (3) ส่งต่อแผนสำหรับการปรับปรุงกฎหมายหรือการปฏิบัติงานที่ได้รับไปยังผู้รับผิดชอบ
                                        2) ความเชื่อมั่นในกฎระเบียบและหน่วยงานกำกับดูแล (Trust in regulation and regulators) โดยได้มีการนำเสนอรายงานผลสำรวจของ OECD เรื่อง การสร้างความไว้วางใจเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย (OECD (2022), Building Trust to Reinforce Democracy: Main Findings from the 2021 OECD Survey on Drivers of Trust in Public Institutions) ซึ่งผลสำรวจในปี 2564 แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ที่เชื่อใจและไม่เชื่อใจรัฐบาลของประเทศตนมีจำนวนเท่า ๆ กัน ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามค่อนข้างมีความมั่นใจในความน่าเชื่อถือของรัฐบาลของตนในการให้บริการและเตรียมพร้อมสำหรับวิกฤตการณ์ในอนาคต แต่รัฐบาลยังคงไม่สามารถตอบสนองอย่างเพียงพอต่อข้อเสนอแนะที่ได้รับจากสาธารณะ และคนส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่ได้รับโอกาสในการเป็นตัวแทนและการมีส่วนร่วมการตัดสินใจเกี่ยวกับกฎระเบียบมากเท่าที่ควร ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายถึงวิธีการสร้างความเชื่อมั่นว่ารัฐที่นำความคิดเห็นที่ได้รับจากประชาชนไปดำเนินการต่อจะได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้น หรืออย่างน้อยต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจว่ารัฐได้รับฟังประชาชนแล้วและอธิบายว่ามีการนำความคิดเห็นนั้นไปใช้หรือไม่อย่างไร และเพราะเหตุใด รวมทั้งแสดงให้เห็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการนำความคิดเห็นของประชาชนไปแก้ปัญหา อย่างไรก็ดี รัฐไม่ควรรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนมากจนเกินความจำเป็นเนื่องจากประชาชนจะเกิดความเหนื่อยหน่ายเมื่อแสดงความคิดเห็นไปหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่เห็นผลลัพธ์ของการมีส่วนร่วมนั้นอย่างเป็นรูปธรรม
                              3) การกำกับดูแลเพื่อผลลัพธ์ (Regulating for outcomes) ซึ่งกฎระเบียบและกระบวนการกำกับดูแลควรได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงการบรรลุผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับสังคม พลเมือง สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ในกรณีของการออกกฎระเบียบซึ่งเป็นไปเพื่อกำกับดูแลเรื่องที่เป็นความท้าทายใหม่หรือเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น รัฐต้องให้ความสำคัญกับการพิจารณาอย่างเป็นระบบถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระยะสั้นและระยะยาวโดยต้องพิจารณาด้วยว่าการออกกฎระเบียบอย่างรวดเร็วหรือการรีรอไม่ออกกฎระเบียบในเรื่องนั้นอาจส่งผลเสียได้ จึงควรต้องมีการหาจุดสมดุลและออกกฎระเบียบที่ยืดหยุ่น รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นเพื่อออกกฎระเบียบที่ชัดเจน เป็นประโยชน์ และไม่สร้างภาระให้แก่ผู้ประกอบการหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นมากจนเกินควร และพยายามรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสถิติต่าง ๆ ให้มากที่สุด
                              4) การกำกับดูแลเพื่ออนาคต (Regulating for the future) โดยปัจจุบันมีฉันทามติระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องปรับแนวปฏิบัติด้านกฎระเบียบหากรัฐต้องดำเนินการตามนโยบายที่มีความสำคัญ เช่น การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการส่งเสริมนวัตกรรมที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและเคารพสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอประสบการณ์และข้อแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ที่รัฐบาลสามารถดำเนินการเพื่อนำมาซึ่งรูปแบบการกำกับดูแลที่ปรับเปลี่ยนได้ และมีการประสานงานที่ดีขึ้น เช่น (1) กรอบการดำเนินการเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่ง OECD อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานเพื่อกำหนดกรอบการกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าว (OECD STI Outlook 2023: emerging technology governance framework) และ (2) การกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐต้องดำเนินการประเมินกฎระเบียบและปรับปรุงการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ สิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาระดับนานาชาติ แต่การดำเนินการด้านกฎระเบียบภายในของแต่ละประเทศยังคงขาดการเชื่อมต่อกัน
                              1.2 ความท้าทายในการส่งเสริมนโยบายการกำกับดูแลในระดับต่าง ๆ ของรัฐ (The challenge of fostering regulatory policy across levels of governments) โดยได้มีการนำเสนอประสบการณ์ระดับชาติในการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติของ OECD และร่วมกันหารือเกี่ยวกับ (1) ความท้าทายของรัฐว่ามีทางเลือกอะไรบ้างเพื่อส่งเสริมความสอดคล้องกันของกฎระเบียบในระดับต่าง ๆและลดความซ้ำซ้อนของกฎระเบียบของรัฐบาล (2) กลยุทธ์ เครื่องมือ แนวปฏิบัติที่ดี และบทเรียนที่จะช่วยรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นในการออกแบบ และใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมคุณภาพการกำกับดูแลในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น (3) แบบของการจัดการด้านธรรมาภิบาลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น และ (4) ปัญหาด้านข้อจำกัดในแง่ของทรัพยากร บุคลากร การเงิน และทางเทคนิค ที่รัฐบาลระดับท้องถิ่นต้องเผชิญเมื่อดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติด้านกฎระเบียบที่ดี
                              1.3 ความคืบหน้าการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของ OECD โดยผู้รับผิดชอบโครงการต่าง ๆ ได้รายงานความคืบหน้าของโครงการต่อที่ประชุม
                    2. สรุปผลการหารือระดับทวิภาคีกับเจ้าหน้าที่ของ OECD เพื่อขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากับ OECD ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 วัตถุประสงค์ โดย สคก. จำเป็นต้องเร่งดำเนินการด้านการพัฒนากฎหมายอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้การพัฒนาระบบกฎหมายของประเทศไทยส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน สคก. จึงหารือกับเจ้าหน้าที่ OECDเพื่อกำหนดรายละเอียดของโครงการความร่วมมือร่วมกัน
                              2.2 รายละเอียดของโครงการความร่วมมือ
                                        1) โครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยมีโครงการ 3 ประเภท ที่น่าจะมีความสำคัญสำหรับประเทศไทย (1) จัดทำหรือปรับปรุงคู่มือการดำเนินการตามคำแนะนำของ OECD รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (2) ดำเนินการประเมินผลของการนำคำแนะนำจากโครงการ Country Programme ไปใช้บังคับรวมถึงแสวงหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และ (3) ต่อยอดจากโครงการแรกด้วยการประเมินและพัฒนาองค์ประกอบอื่น ๆ ของการมีกฎระเบียบที่ดีขึ้น เช่น การตราและบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการตรากฎหมาย และจากการประชุมร่วมกันได้ข้อสรุปว่า สคก. ควรดำเนินโครงการเหล่านี้ในลักษณะของแผนงานความร่วมมือระยะยาว โดยในลำดับแรก (ปีงบประมาณ 2566) สคก. ควรเลือกดำเนินโครงการตาม (1) ก่อนเป็นลำดับแรก
                                        2) แนวทางการดำเนินโครงการ โดยโครงการความร่วมมือระหว่าง สคก. กับ OECD ในปีงบประมาณ 2566 มุ่งเน้นไปที่การออกแบบแนวทางการจัดลำดับความสำคัญเพื่อรองรับการดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย (RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายของประเทศไทยให้เหมาะสมกับกฎหมายแต่ละฉบับหรือแต่ละประเทศ โดยหวังว่าคู่มือการจัดลำดับความสำคัญของกฎหมายจะสามารถทำให้ประเทศไทยบริหารจัดการทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยดำเนินการตามลำดับ (1) จัดทำคู่มือการจัดลำดับความสำคัญของกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย (RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของประเทศไทย (2) จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และ (3) ทดลองใช้บังคับคู่มือดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานนำร่องที่มีศักยภาพ
                                        3) งบประมาณที่ต้องใช้ โดยเจ้าหน้าที่ของ OECD ประเมินว่า สคก. จะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการนี้ 249,644 ยูโร (ประมาณ 9 ล้านบาท) ต้องสนับสนุนเงินสมทบให้แก่ OECD เพื่อดำเนินการจัดทำคู่มือการจัดลำดับความสำคัญและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับภารกิจและการเดินทางของเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญจาก OECD (ที่พัก ค่าเดินทาง ฯลฯ) และค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ทั้งนี้ งบประมาณไม่รวมค่าใช้จ่ายของที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมในประเทศ เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ โดยจะใช้งบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ซึ่ง สคก. ได้รับอนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 สำหรับโครงการพัฒนาคุณภาพของระบบกฎหมายของประเทศตามข้อกำหนดว่าด้วยแนวทางในการออกกฎหมาย หรือRecommentation of the Council on Regulatory Policy and Governance 2021 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 11,946,800 บาทถ้วน โดยมีรายละเอียดการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้
รายการ          จำนวนเงิน (บาท)
1. โครงการเพิ่มพูนทักษะการทำงานของเจ้าหน้าที่ สคก. ที่สำนักงานใหญ่ของ OECD ประเทศฝรั่งเศส          1,444,000
2. โครงการความร่วมมือระหว่าง สคก. กับ OECD
          2.1 ส่วนของการให้เงินสนับสนุนสมทบแก่ OECD
          2.2 ส่วนของการสำรองเงิน (เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดประชุมในประเทศและการดำเนินการอื่น ๆ)           10,502,800
ประมาณ 9,000,000
ประมาณ 1,500,000

แต่งตั้ง
16. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายชาญเวช      บุญประเดิม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเกษตรและประมง) ในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แทน นายนิยม ไวยรัชพานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเนื่องจากได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2566 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
                    ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ