สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 ตุลาคม 2566

ข่าวการเมือง Wednesday October 25, 2023 09:40 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (24 ตุลาคม 2566) เวลา 09.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติ                                                  ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช                                                  กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.                                         2551 พ.ศ. 2562
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี วันประสูติ                                                  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์                                         พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           การขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดตามมาตรา 22 วรรคสอง                                                   แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์                                        ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558)
                    4.           เรื่อง           ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                                   วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ                                                  ขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543)

เศรษฐกิจ-สังคม
                    5.           เรื่อง           ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด                                        ฉะเชิงเทรา พร้อมอาคารชุดพักอาศัยและสิ่งก่อสร้างประกอบ
                    6.           เรื่อง           การเลื่อนวันหยุดชดเชยวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 และการกำหนด                                                  วันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2567
                    7.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพ                                        จัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564                                                   (ค.ศ. 2021)
                    8.           เรื่อง           ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่าย)                                         ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
                    9.           เรื่อง           การขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาใน                                        หรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา                                                   จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว
                    10.           เรื่อง           ขออนุมัติการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ                                        กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับโครงการเช่าพื้นที่บริเวณศูนย์ราชการเฉลิมพระ                                                  เกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
                    11.           เรื่อง           รายงานการโอนงบประมาณรายจ่ายตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ

พ.ศ. 2561 มาตรา 51 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

                    12.           เรื่อง           สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกันยายน 2566
                    13.           เรื่อง           รายงานความก้าวหน้าและผลการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา                                                  อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570)
                    14.           เรื่อง           รายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่ง                                        มวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย
                    15.           เรื่อง           การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน                                                  การเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3

ต่างประเทศ
                    16.           เรื่อง           การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบ                                                  หนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับ                                        ภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in                                                             International Law) ประจำปี 2566
                    17.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน                                         ครั้งที่ 10 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    18.            เรื่อง           การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 5
                    19.           เรื่อง           รายงานการเตรียมความพร้อมการดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับ                                                  ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล
                    20.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่น                                        ที่เกี่ยวข้อง
                    21.           เรื่อง           ร่างถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ระหว่าง                                                  กระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งเครือรัฐ                                                  ออสเตรเลีย
                    22.           เรื่อง           การประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2023 (WRC-23) ของสหภาพ                                        โทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
                    23.           เรื่อง           การประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - ญี่ปุ่น
                    24.           เรื่อง           การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกระทรวง                                        วัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการ                                                  ท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

แต่งตั้ง
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

(สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง

(กระทรวงยุติธรรม)

                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงยุติธรรม)
                    29.           เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 285/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการ                                        ดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

?
กฎหมาย
1. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                      ทั้งนี้ การเสนอเรื่องตามที่ พม. เสนอ เป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย       พ.ศ. 2562 ดังนั้น การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่ได้มีผลใช้บังคับแล้วให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 แต่โดยที่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองดังกล่าวเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการกระทำความผิดและการกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์หลายหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีขั้นตอนการปฏิบัติแตกต่างกันตามภารกิจ ส่งผลให้ต้องมีการแสวงหาข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะ และปัญหาอุปสรรค รวมถึงรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการกำหนดหลักเกณฑ์กลางที่สามารถใช้รวมกันได้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน       6 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า และเผยแพร่พระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ รวมทั้งเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญผู้มีผลงานโดดเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของโลก ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งกระทรวงการคลังได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าว มาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                      สาระสาคัญของร่างกระทรวง
                      กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

3. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
                     ทั้งนี้ การเสนอเรื่องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยที่ มาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 บัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้น ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลา 2 ปีดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ประกอบกับ มาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564)
                      โดยที่ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการชำระค่าธรรมเนียม การขอคืนค่าธรรมเนียม และการตรวจสอบการชำระค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... เป็นกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ มีผลบังคับใช้ จะครบกำหนดระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากร่างประกาศดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย การเตรียมข้อมูล เพื่อดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วจะนำสรุปผลเสนอคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยต่อไป จึงไม่สามารถดำเนินการร่างประกาศในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ได้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (การยางแห่งประเทศไทย) จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองฉบับดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556

4. เรื่อง ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ประกอบมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ
                     ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาในการออกกฎตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ เป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ประกอบมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 จำนวน 6 ฉบับ คือ กฎกระทรวงกำหนดประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือองค์การเอกชนที่ต้องรายงานสถิติ ข้อมูลต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 40 [กฎหมายลำดับรองที่จะต้องออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 มีจำนวนทั้งหมด 6 ฉบับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองมีผลใช้บังคับแล้ว จำนวน   4 ฉบับ โดยกฎหมายลำดับรองอีก 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดกิจการอื่น ซึ่งออกตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 เป็นกรณีที่กฎหมายเปิดช่องให้กำหนดกิจการอื่นเพิ่มเติมได้ในภายหลัง (ไม่เข้าข่ายมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562) และ 2) กฎกระทรวงที่เสนอขอขยายระยะเวลาในครั้งนี้]
                      การขอขยายระยะเวลาการออกกฎดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการดำเนินการออกกฎดังกล่าวหรือยังไม่ได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว โดยระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ทั้งนี้ สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 1 ฉบับดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎดังกล่าวต้องใช้เวลาในการทบทวน ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างรอบด้าน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ประกอบมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 จำนวน 1 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า คณะรัฐมนตรีสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ แม้ขณะนี้ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก็ได้รับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โดยได้นำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดทำสถิติข้อมูลผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้แล้ว
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ประกอบมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

เศรษฐกิจ-สังคม
5. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมอาคารชุดพักอาศัยและสิ่งก่อสร้างประกอบ
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา จาก ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมอาคารชุดพักอาศัยและสิ่งก่อสร้างประกอบ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมอาคารชุดพักอาศัยและสิ่งก่อสร้างประกอบ ตำบลคลองนา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา (ไม่เพิ่มวงเงิน) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ไปดำเนินการต่อไป
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                      สำนักงาน ป.ป.ช. รายงานว่า เนื่องจากที่ดินแปลงที่สำนักงาน ป.ป.ช. จะใช้ก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ตำบลบางแก้ว)1 ตั้งอยู่ในเขตประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2562 ข้อ 17 ที่กำหนดให้ที่ดินประเภท ล. เป็นที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (เขตสีเขียวมีเส้นทแยงสีฟ้า) เฉพาะที่ดินซึ่งเป็นของรัฐ ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การประมงหรือเกี่ยวข้องกับการประมง หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น และไม่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 37 ประกอบกับมาตรา 38 ที่บัญญัติให้ในเขตที่ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวม หรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวม เว้นแต่กรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนที่ผังเมืองรวมจะใช้บังคับในพื้นที่นั้น และจะใช้ประโยชน์ที่ดินเช่นนั้นต่อไป แต่โดยที่การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคาร ไม่ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อน ส่งผลให้ที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ได้รับการยกเว้น จึงไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารได้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการก่อสร้างสอดคล้องกับพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2562 สำนักงาน ป.ป.ช. จึงมีความจำเป็นต้องขอเปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา จาก ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดจะเชิงเทรา พร้อมอาคารชุดพักอาศัยและสิ่งก่อสร้างประกอบ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมอาคารชุดพักอาศัยและสิ่งก่อสร้างประกอบ ตำบลคลองนา2 อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งกองทัพบกได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่แล้ว
1 ที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ฉช. 679 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนเนื้อที่ 5-1-0 ไร่ ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560
2 เป็นพื้นที่บางส่วนของที่ราชพัสดุใช้ประโยชน์ในราชการของกองทัพบก แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ฉช. 487 ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 917 ตำบลคลองนา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนเนื้อที่ 3-1-96 ไร่

6. เรื่อง การเลื่อนวันหยุดชดเชยวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 และการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2567
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                     1.  เห็นชอบให้เลื่อนวันหยุดชดเชยวันสิ้นปี ประจำปี 2566 จากวันอังคารที่ 2 มกราคม 2567 เป็นวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566
                     2. เห็นชอบการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2567 จำนวน 1 วัน                คือ วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2567 และรับทราบภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี 2567 จำนวน 20 วัน
                     3. ในกรณีที่หน่วยงานใดมีภารกิจในการให้บริการประชาชน หรือมีความจำเป็น หรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าว (ตามข้อ 1 และ 2) ที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและกระทบต่อการให้บริการประชาชน
                     4. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงแรงงานพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมของการกำหนดให้วันดังกล่าวข้างต้นเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณีต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     1. การเลื่อนวันหยุดชดเชยวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 เนื่องด้วยในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ประชาชนจำนวนมากจะเดินทางกลับภูมิลำเนาและเดินทางท่องเที่ยวไปจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ปริมาณรถยนต์บนถนนมีจำนวนมาก และส่งผลให้การจราจรติดขัด ดังนั้น เพื่อให้เกิดการกระจายตัวในการเดินทางของประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเห็นควรให้เลื่อนวันหยุดชดเชยวันสิ้นปี จากวันอังคารที่ 2 มกราคม 2567 เป็นวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566
                     ทั้งนี้ การเลื่อนวันหยุดชดเชยวันสิ้นปี จากวันอังคารที่ 2 มกราคม 2567 เป็นวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566 จะทำให้มีวันหยุดราชการติดต่อกัน รวม 4 วัน (วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566 ถึงวันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2567) ซึ่งจำนวนรวมวันหยุดไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
                     2. ภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2567
                                2.1 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี ลงวันที่        24 พฤษภาคม 2562 และมติคณะรัฐมนตรี (1 พฤษภาคม 2544) เรื่อง วันหยุดชดเชยของทางราชการ มีผลทำให้ภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี 2567 มีจำนวน 19 วัน ดังนี้
1.   วันขึ้นปีใหม่                                                                        วันจันทร์ที่ 1 มกราคม
2.   วันมาฆบูชา                                                                        วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์
     (วันหยุดชดเชยวันมาฆบูชา)                                                              วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์
3.   วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช                                วันเสาร์ที่ 6 เมษายน
     และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
     (วันหยุดชดเชยวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า                                วันจันทร์ที่ 8 เมษายน
     จุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์)
4.   วันสงกรานต์ (รวม 3 วัน)                                                               วันเสาร์ที่ 13-วันจันทร์ที่
                                                                                                       15 เมษายน
     (วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์)                                                              วันอังคารที่ 16 เมษายน
5.  วันฉัตรมงคล                                                                                 วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม
     (วันหยุดชดเชยฉัตรมงคล)                                                             วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม
6.   วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ                                        (สำนักพระราชวังจะกำหนด
                                                                                                 เป็นปี ๆ ไป)
7.   วันวิสาขบูชา                                                                        วันพุธที่ 22 พฤษภาคม
8.   วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี                     วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน
9.   วันอาสาฬหบูชา                                                                        วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม
10. วันเข้าพรรษา                                                                       วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม
     (วันหยุดชดเชยวันเข้าพรรษา)                                                             วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม
11. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร                               วันอาทิตย์ 28 กรกฎาคม
     รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
     (วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษา                                         วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม
     พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี
     ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
12. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง                     วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม
     และวันแม่แห่งชาติ
13. วันนวมินทรมหาราช                                                                       วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม
    (วันหยุดชดเชยวันนวมินทรมหาราช)                                                    วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม
14. วันปิยมหาราช                                                                       วันพุธที่ 23 ตุลาคม
15. วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จ                               วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม
     พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
     บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
16. วันรัฐธรรมนูญ                                                                        วันอังคารที่ 10 ธันวาคม
17. วันสิ้นปี                                                                                  วันอังคารที่ 31 ธันวาคม
                                2.2 กำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2567 จำนวน 1 วัน คือ วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2567
                               ทั้งนี้ การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษดังกล่าวจำนวน 1 วัน จะทำให้มีภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2567 รวมทั้งสิ้น 20 วัน
                    สลค. พิจารณาแล้วเห็นว่า การเลื่อนวันหยุดชดเชยวันสิ้นปี จากวันอังคารที่ 2 มกราคม 2567 เป็นวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566 เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของการเดินทางเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ และการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2567 เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงดังกล่าว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางและเกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ อีกทั้งการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนวันหยุดชดเชยและกำหนดวันหยุดเพิ่มเป็นกรณีพิเศษล่วงหน้าจะช่วยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชนสามารถวางแผนการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าได้อย่างเหมาะสมต่อไป

7. เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบดังนี้
                      1. รับทราบการเลื่อนวันจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6         พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) จากเดิม ระหว่างวันที่ 17 ? 26 พฤศจิกายน 2566 เลื่อนเป็น ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ? 6 มีนาคม 2567 ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                     2. เห็นชอบในหลักการกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ ในวงเงิน 1,745 ล้านบาท โดยให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ ประกอบด้วย เงินสะสมของ กกท. เงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ และงบประมาณสนับสนุนจากจังหวัดเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ รวมเป็นเงิน 1,207.01 ล้านบาท และใช้จ่ายจากรายได้จากการจัดการแข่งขันฯ ประกอบด้วยรายได้จาก TV Right รายได้จากผู้สนับสนุน รายได้จากค่าลงทะเบียน และรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมและค่าบริการ รวมเป็นเงิน 202.50 ล้านบาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 335.49 ล้านบาท ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ เห็นควรให้ กกท. ใช้จ่ายจากเงินสะสมของ กกท. และเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมทั้งเงินรายได้จากการจัดการแข่งขันฯ ในโอกาสแรกก่อน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                     ทั้งนี้ การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยสู่ประชาคมโลกผ่านการถ่ายทอดสดการแข่งขันไปทั่วโลกและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนนานาชาติให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมของประเทศในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สังคม ประกอบกับจะส่งผลให้ประเทศไทยมีรายได้เพิ่มเติมจากการจัดการแข่งขันและรายได้จากการใช้จ่ายของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ ผู้แทนองค์กรกีฬาต่าง ๆ รวมทั้งผู้สังเกตการณ์ ประมาณ 15,000 คน ซึ่งเป็นการกระจายรายได้ลงสู่พื้นที่ที่ใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันและทำให้ธุรกิจในท้องถิ่นมีโอกาสขยายธุรกิจและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาค SME ให้มากขึ้น

8. เรื่อง ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่าย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)     กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่าย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมจำนวน 8,268.469 ล้านบาท และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข              และรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน

9. เรื่อง การขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ดังนี้
                     1. เห็นชอบในหลักการการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าว ซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว ในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 เมษายน 2567
                      2. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการออกประกาศให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็วต่อไป
                      สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                      1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้รับทราบข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกี่ยวกับความไม่สะดวกในการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เช่น ต้องใช้ระยะเวลาในการผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองมากกว่า 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลและวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน
                      2. จากข้อมูลสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2566 พบว่า ในเดือนมกราคม - กันยายน 2566 นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยมากที่สุด ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย (จำนวนประมาณ 3.1 ล้านคน) และมีประมาณการรายได้สะสมอยู่ที่ประมาณ 52,755 ล้านบาท (ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อคน/ทริป เท่ากับ 16,588 บาท) ประกอบกับตามข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวรายด่านจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พบว่า ในปี 2566 นักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวนเฉลี่ย 1 แสนคนต่อเดือน ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวมาเลเซียมีความประสงค์จะขอเดินทางเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก และเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ รวมทั้งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังมีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงทั่วประเทศซึ่งเป็นการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย
                     2. แบบ ตม.6 เป็นเอกสารที่กำหนดขึ้นตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ของด่านตรวจคนเข้าเมืองประจำเส้นทางนั้น และถ้าผู้นั้นเป็นคนต่างด้าวต้องยื่นรายการตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยคนไทยได้รับการยกเลิกการกรอกแบบ ตม.6 โดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ        ที่ 42/2560 เรื่อง แก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางสัญชาติไทย ตั้งแต่เมื่อวันที่               16 กันยายน 2560 และที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยได้เคยออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2565 เพื่อกำหนดให้คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยพาหนะทางอากาศ ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) เพื่อเป็นการลดความแออัดและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยาน ส่งผลให้ในปัจจุบันการกรอกและยื่นแบบ ตม.6 ยังมีผลใช้บังคับแก่คนต่างด้าวหรือชาวต่างชาติสำหรับการเดินทางทางบกและทางน้ำ เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย ด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา และด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง
                      3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้หารือกับหน่วยงานภายใน เช่น สำนักงาน ปลัดกระทรวง กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหากรณีนักท่องเที่ยวมาเลเซีย ไม่ได้รับความสะดวกบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา โดยได้มีข้อเสนอในการขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว (ในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 เมษายน 2567) ซึ่งตรงกับช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมาเลเซีย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่จะเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทยจำนวนมากในช่วงฤดูกาลดังกล่าว
                     ประโยชน์และผลกระทบ
                     หากสามารถดำเนินขั้นตอนในบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น จะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ลดความแออัดบริเวณหน้าด่านตรวจคนเข้าเมือง และช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวตลาดหลักที่มีศักยภาพ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น เกิดการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ที่มีการเดินทางท่องเที่ยวในภูมิภาคต่าง ๆ ต่อเนื่องไป รวมทั้งช่วยให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

10. เรื่อง ขออนุมัติการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับโครงการเช่าพื้นที่บริเวณศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับจัดสรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 189,747,300 บาทเพื่อสมทบเพิ่มเติมงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ     พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ให้เต็มกรอบวงเงินตามสัญญาเช่าพื้นที่อาคารและสัญญาบริการ ของโครงการเช่าพื้นที่บริเวณศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

11. เรื่อง รายงานการโอนงบประมาณรายจ่ายตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 51 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการโอนงบประมาณรายจ่ายตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 51 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                      ด้วยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 51 กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณรายงานการโอนงบประมาณรายจ่ายงบกลางระหว่างรายการที่กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายงบกลาง หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรายงานต่อรัฐสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ นั้น
                     สำนักงบประมาณได้ดำเนินการจัดทำรายงานการโอนงบประมาณรายจ่ายตามนัยมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 ดังนี้
                     1. การโอนงบประมาณรายจ่ายงบกลางระหว่างรายการ (ไม่มีการโอนงบประมาณ)
                     2. การโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการระหว่างหน่วยรับงบประมาณ มีการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการระหว่างหน่วยรับงบประมาณ จำนวน 1 แผนงาน คือ แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รายการโอนออก วงเงินทั้งสิ้น 38.3750 ล้านบาท และรายการรับโอน วงเงินทั้งสิ้น 38.3750 ล้านบาท สรุปได้ดังนี้
                               2.1 รายการโอนออก จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 38.3750 ล้านบาท เนื่องจากเป็นภารกิจถ่ายโอนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปยังกรมควบคุมมลพิษ
                               2.2 รายการรับโอน จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ จำนวน 2 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 38.3750 ล้านบาท เพื่อนำงบประมาณมาใช้ในภารกิจถ่ายโอนของกรมควบคุมมลพิษ
                     3. การโอนงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ มีการโอนงบประมาณ จำนวน 20 กระทรวง 91 หน่วยงาน ดังนี้
                               3.1 รายการโอนออก จำนวน 8 กระทรวง 24 หน่วยงาน วงเงินทั้งสิ้น 1,479.4492 ล้านบาท จำแนกเป็น การโอนออกภายในกระทรวง จำนวน 5 กระทรวง 12 หน่วยงาน วงเงิน 176.7072 ล้านบาท และการโอนออกต่างกระทรวง จำนวน 5 กระทรวง 14 หน่วยงาน วงเงิน 1,302.7420 ล้านบาท โดยมีเหตุผลในการโอนงบประมาณรายจ่ายบุคลากรจำแนกได้ ดังนี้
                                         1) การโอนย้าย ตาย ลาออก เกษียณอายุของอัตรากำลังระหว่างปีงบประมาณ
                                         2) การสรรหาและบรรจุอัตรากำลังล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
                                         3) การปรับลดการบรรจุกำลังพลตามนโยบายกระทรวงกลาโหม
                                         4) การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านลดลง เนื่องจากจำนวนข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านลดลง
                                3.2 รายการรับโอน จำนวน 17 กระทรวง 67 หน่วยงาน วงเงินทั้งสิ้น 1,479.4492 ล้านบาท จำแนกเป็น การโอนภายในกระทรวง จำนวน 5 กระทรวง 14 หน่วยงาน วงเงิน 176.7072 ล้านบาท และการโอนต่างกระทรวง จำนวน 15 กระทรวง 56 หน่วยงาน วงเงิน 1,302.7420 ล้านบาท โดยมีเหตุผลในการโอนงบประมาณรายจ่ายบุคลากรจำแนกได้ ดังนี้
                                         1) บรรจุอัตราว่าง อัตราใหม่ รับโอนอัตรากำลังระหว่างปีงบประมาณ
                                          2) ค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น ค่าตอบแทนพิเศษเงินเดือนเต็มขั้น ค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุข เงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้มีเหตุพิเศษ
                                         3) การปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการโอนย้ายข้าราชการประจำ สำนักงานต่างประเทศ
                                          4) ค่าเช่าบ้านของข้าราชการตามสิทธิเพิ่มขึ้นระหว่างปีงบประมาณ

12. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกันยายน 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกันยายน 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนกันยายน 2566 ดังนี้
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนกันยายน 2566 เท่ากับ 108.02 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2565 ซึ่งเท่ากับ 107.70 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.30 (YoY) จากร้อยละ 0.88 ในเดือนสิงหาคม 2566 ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ และกลุ่มอาหารที่ราคาลดลง ทั้งเนื้อสัตว์ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.63 (YoY) ชะลอตัวจากร้อยละ 0.79 ในเดือนสิงหาคม 2566
                    อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนสิงหาคม 2566) พบว่า ประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียน จาก 7 ประเทศ  ที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย) โดยอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรป อาทิ สหราชอาณาจักร อิตาลี และเยอรมนี
                    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายน 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.30 (YoY) มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
                    หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.59 (YoY) ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ได้แก่ น้ำมันกลุ่มเบนซิน และกลุ่มแก๊สโซฮอล์ (ยกเว้นกลุ่มดีเซลที่ราคาลดลงเนื่องจากมาตรการตรึงราคาของภาครัฐ) ค่าโดยสารสาธารณะ อาทิ ค่าโดยสารเครื่องบิน และค่าโดยสารรถมล์เล็ก/สองแถว หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล อาทิ ยาแก้ไข้หวัด แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ค่าแต่งผมชายและสตรี สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า  เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้ง ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า ราคาลดลงเช่นกัน
                    หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงครั้งแรกในรอบ 23 เดือน โดยลดลงร้อยละ 0.10 (YoY)  หลังจากที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ตามการลดลงของเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อสุกร และไก่สด โดยเฉพาะเนื้อสุกรที่ปริมาณผลผลิตมีจำนวนมาก ผักสด อาทิ ผักคะน้า ต้นหอม และพริกสด เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้อต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ น้ำมันพืช และมะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ราคายังคงลดลงต่อเนื่องตามราคาต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า ไขไก่ นมถั่วเหลือง ผลไม้สด (แตงโม ทุเรียน องุ่น) รวมถึงกาแฟผงสำเร็จรูปกับข้าวสำเร็จรูป และอาหารกลางวัน
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกันยายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2566 ลดลงร้อยละ 0.36 (MoM) โดยหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.50 จากการลดลงของสินค้าในกลุ่มพลังงาน ทั้งค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงค่าโดยสารเครื่องบิน นอกจากนี้ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ของใช้ส่วนบุคคล (ยาสีฟัน ผ้าอนามัย โฟมล้างหน้า) ราคาลดลง สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ เสื้อบุรุษและสตรี อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องถวายพระ บุหรี่ สุรา และไวน์ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.16 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด กุ้งขาว ผักสด (ต้นหอม มะเขือ ผักคะน้า) ผลไม้สด (เงาะ ลองกอง มังคุด) อาหารโทรสั่ง (delivery) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป/แพ็คพร้อมปรุง สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว นมเปรี้ยว น้ำพริกแกง และกาแฟผงสำเร็จรูป
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคไตรมาสที่ 3 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.52 (YoY) และเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.39 (QoQ)  สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค. - ก.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.82 (AoA)
2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
                    อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้าจากราคาเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ และเครื่องประกอบอาหารที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าในกลุ่มพลังงาน (ค่ากระแสไฟฟ้า ราคาน้ำมัน) และสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มลดลงจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และฐานราคาในช่วงเดียวกันของปี 2565 อยู่ระดับสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาคการท่องเที่ยว และการส่งออก รวมถึงรายได้เกษตรกร และค่าจ้างเฉลี่ยที่อยู่ในระดับดี รวมทั้ง สถานการณ์อุปทานพลังงานที่ยังตึงตัว สินค้าเกษตรในหลายประเทศได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง อาจเป็นแรงส่งที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวน้อยกว่าที่คาดได้
                    ด้วยปัจจัยดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 จากเดิมอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.0-2.0 (ค่ากลางร้อยละ 1.5) ในเดือนกรกฎาคม 2566  เป็นระหว่างร้อยละ 1.0-1.7      (ค่ากลางร้อยละ 1.35)  และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
                    ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกันยายน 2566 ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.7 จากระดับ 53.4 ในเดือนก่อนหน้า ปรับเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน และอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สาเหตุคาดว่ามาจากเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการวีซ่าฟรีให้กับนักท่องเที่ยวจีนและคาซัคสถาน ตลอดจนนโยบายการดำเนินงานของรัฐบาลชุดใหม่ที่ครอบคลุมการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน รวมทั้งการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและประชาชน อย่างไรก็ตาม          ราคาสินค้าและบริการ รวมถึงราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยทอนต่อความเชื่อมั่นของประชาชน

13. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าและผลการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570)
          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570)               ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และรับทราบผลการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                              กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามและรายงานแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) ต่อคณะรัฐมนตรี ขอรายงานสรุปผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และผลการทบทวนแผนปฏิบัติการฯ ดังนี้
                                        1. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารฯ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตแห่งอาเซียนควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วยมาตรการหลัก 4 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors)
สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้มีนวัตกรรมอาหาร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่ใช้ฐานความรู้และทักษะเพื่อใช้เป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทย  โดยให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารอนาคต (Future Food)
มาตรการที่ 2 สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต (Future Food Innovation) ยกระดับนวัตกรรมอาหารอนาคตสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย
มาตรการที่ 3 สร้างโอกาสทางธุรกิจ (New Marketing Platform) สร้างโอกาสทางธุรกิจผ่านแพลตฟอร์ม (Platform) ที่เหมาะสมกับผู้ผลิตทุกระดับให้อุตสาหกรรมไทยมีบทบาทในตลาดโลกโดยการเชื่อมโยงสู่ภาคการผลิต การค้าสู่สากล รวมถึงการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง
มาตรการที่ 4 สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม (Enabling) เป็นมาตรการสร้างปัจจัยเอื้อสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย และลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม รับผิดชอบต่อสาธารณะ และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2.1 มาตรการที่ 1 : สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors)  มีการดำเนินงาน ดังนี้
(1) กระทรวงอุตสาหกรรม มีการพัฒนากระบวนการสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการเชื่อมโยงสถาบันการเงิน เป็นต้น โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 235 ผลิตภัณฑ์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จำนวน 1,149 กิจการ  และการเพิ่มทักษะแรงงาน จำนวน 3,680 คน
(2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการยกระดับเกษตรกรให้เป็นนักรบพันธุ์ใหม่ (Smart Farmer) ผ่านการอบรมด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ จำนวน 320 คน และ Smart Officer ประจำจังหวัด จำนวน 77 คน  รวมถึงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่องในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 800 คน มีการถ่ายทอดความรู้ด้านการแปรรูปสัตว์น้ำให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 257 คน       และกลุ่มองค์กรประมงชุมชนท้องถิ่น จำนวน 25 กลุ่ม นอกจากนี้ มีการยกระดับเกษตรกรให้ปลูกพืชเชิงอุตสาหกรรมให้ตรงความต้องการของห่วงโซ่อุปทาน โดยการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ (พืชอาหาร) ในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 2,805 คน ครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 7,931 ไร่ อีกทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และมาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูปให้กับวิสาหกิจชุมชน/เกษตรกร จำนวน 154 กิจการ 566 คน  ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ จำนวน     9 ผลิตภัณฑ์  และการพัฒนา GMP ให้กับโรงสีข้าว จำนวน 5 กิจการ
(3) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีการจัดทำโปรแกรมเร่งการเจริญเติบโต (Food Technology Accelerator) ของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะด้านนวัตกรรมอาหาร (Reskills/Upskills) ผ่านกิจกรรมอบรมต่าง ๆ เช่น PADTHAI (Program to Accelerate and Develop Thai Food SMEs)  การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ  ด้านนวัตกรรมกลิ่นรส ด้าน Foresight into the BCG Economy: Food & Agriculture Series   การเร่งรัดการเติบโตทางธุรกิจของนวัตกรรมอาหาร  ผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภค  และทักษะนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเกษตรสู่ Smart Farm  เป็นต้น มีผู้ประกอบการผ่านโปรแกรมดังกล่าว จำนวน 834 คน และได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร 61 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ มีการพัฒนาเทคโนโลยี ปรับปรุงกระบวนการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 108 กิจการ
                                                  (4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีการนำระบบอัตโนมัติ/หุ่นยนต์/ เทคโนโลยี Internet of Things มาใช้ในการจัดการเกษตร ได้แก่ ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP)  ระบบ Customer Relationship Management (CRM)  ระบบ Material Requirement Planning (MRP)  ระบบ Enterprise Asset Management (EAM)  ระบบ Financial Risk Management (FRM)  และระบบ Supply Chain Management (SCM) โดยมีการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ ธุรกิจเกษตร เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2,567 กิจการ/คน
(5) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยการบ่มเพาะองค์ความรู้ ผ่านโปรแกรม SME VUCA PROACTIVE จำนวน 17 กิจการ ซึ่งมี 1 กิจการได้รับคัดเลือกเป็นต้นแบบ SME VUCA World Award ระดับ Gold นอกจากนี้ มีการให้คำปรึกษาและพัฒนาการดำเนินธุรกิจ Technology for All จากโค้ชธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร โดยผ่านการ Pitching และนำสินค้าออกสู่ตลาดบนแพลตฟอร์ม Shopee จำนวน 22 กิจการ
(6) กระทรวงมหาดไทย มีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพเกษตรกร เช่น การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก การปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน จำนวน 1,040 คน นอกจากนี้ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และสินค้าเกษตรแปรรูป/เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัย ให้มีคุณภาพมาตรฐาน  และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 2,080 กิจการ/กลุ่ม มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 1,014 ผลิตภัณฑ์  และเพิ่มศักยภาพเกษตรกร จำนวน 814 คน  รวมถึงมีการสร้าง Yong Smart Farmer จำนวน 440 คน และได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ จำนวน 22 กลุ่ม ตลอดจนมีการเชื่อมโยงธุรกิจรายใหญ่(Big Brothers) ในการช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานชุมชน ได้แก่ การสร้างลานตากเมล็ดกาแฟในพื้นที่หมู่บ้านผาแดง จังหวัดพะเยา  การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตลาดหัวปลี จังหวัดสระบุรี เป็นต้น
(7) กระทรวงแรงงาน มีการพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ มีอาชีพและกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 12,691 คน
2.2 มาตรการที่ 2 : สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต (Future Food Innovation) มีการดำเนินงาน ดังนี้
(1) กระทรวงอุตสาหกรรม มีการพัฒนาศักยภาพและบูรณาการ
ความร่วมมือในเครือข่ายหน่วยงาน Center of Food Excellence (CoFE) เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนและเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยมีสถาบันอาหารเป็นหน่วยงานหลัก ซึ่งศูนย์บริการห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรมอาหารของสถาบันอาหาร ได้ดำเนินการบริการทดสอบด้านเคมี จำนวน 57,356 รายการ บริการทดสอบด้านจุลชีววิทยา จำนวน 15,165 รายการ บริการสอบเทียบ จำนวน 14,507 ตัวอย่าง และบริการทดสอบความชำนาญ จำนวน 4,293 ห้องปฏิบัติการ
(2) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีการสร้างนักวิจัยให้สามารถผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูงที่สามารถกล่าวอ้างทางสุขภาพ  (Health Claim) ได้ ในเรื่องสารสกัดที่มีฤทธิ์ต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ  นวัตกรรมสารสำคัญในอาหารจากธรรมชาติเพื่อควบคุมภาวะความดันโลหิตและไขมันในเลือดสำหรับสังคมที่เข้าสู่ภาวะก่อนและสูงวัย  การผลิตเพปไทด์ไฮโดรไลเซทจากรำข้าว เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ  และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์พลอยได้ในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล  เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน  โดยได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype) ระดับห้องปฏิบัติการ จำนวน           8 ต้นแบบ และระดับอุตสาหกรรม จำนวน 1 ต้นแบบ ได้รับอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จำนวน 8 เรื่อง             และสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Patent for Innovation) จำนวน 2 เรื่อง รวมทั้งได้กระบวนการใหม่ระดับห้องปฏิบัติการ จำนวน 1 กระบวนการ
นอกจากนี้ ได้จัดให้มีหน่วยงานในรูปศูนย์ให้บริการด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารเพื่อให้บริการแบบครบวงจร ณ เมืองนวัตกรรมอาหาร ส่วนขยายที่อยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมโยงข้อมูลการให้บริการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอาหารและนวัตกรรมอาหารปลอดภัย จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์  มีการให้บริการทดสอบแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารกว่า 500 รายการ และห้องปฏิบัติการมีวิธีทดสอบใหม่ที่ได้มาตรฐานเพื่อใช้ทดสอบอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 12 เรื่อง
(3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการวิจัยและพัฒนาอาหารดัชนีไกลซีมิกต่ำจากแป้งต้านทานการย่อย เพื่อผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมน้ำตาล จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์
2.3 มาตรการที่ 3 : สร้างโอกาสทางธุรกิจ (New Marketing Platform)
มีการดำเนินงาน ดังนี้
          (1) กระทรวงพาณิชย์ มีการจัดงานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX-ANUGA ASIA 2022 ?The Hybrid Edition? โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า จำนวนทั้งสิ้น 1,603 กิจการ แบ่งเป็นผู้ประกอบการไทย จำนวน 722 กิจการ และผู้ประกอบการต่างชาติ จำนวน 881 กิจการ เกิดมูลค่าการเจรจาการค้า 66,169 ล้านบาท นอกจากนี้ มีการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าระดับภูมิภาค ได้แก่ งาน THE NORTHERN PRODUCTS THAILAND 2022 ซึ่งมีผู้ประกอบการจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด เข้าร่วมกิจกรรมเจรจาธุรกิจและจำหน่ายสินค้าภายในงาน จำนวน 40 กิจการ เกิดมูลค่า การจำหน่าย 3,500,145 บาท และมียอดการเจรจาธุรกิจ จำนวน 48 คู่ มูลค่า 2,585,000 บาท และงาน Amazing Singburi เกิดมูลค่าการจำหน่าย 4,800,000 บาท  เป็นต้น
(2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  มีการอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม/สหกรณ์โคนม จำนวน 5 แห่ง แห่งละ 20 คน รวม 100 คน เพื่อให้สามารถเปิดร้านนมหน้าฟาร์มประจำชุมชนสำหรับจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์จากนมที่ผลิตได้ในชุมชน ตลอดจนมีการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าชุมชน จำนวน 90 คน
(3) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการพัฒนาชุมชนให้ได้มาตรฐานการท่องเที่ยว จำนวน 49 ชุมชน และนำชุมชนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพแล้ว ไปเชื่อมตลาดการท่องเที่ยว จำนวน        26 ชุมชน ทำให้ได้เมนูท้องถิ่น เพื่อรองรับการท่องเที่ยว เกิดเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ คือ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร นอกจากนี้ มีการจัดงาน Amazing Thai Taste Festival ? Amazing New Chapters @Petchaburi ทำให้เกิดเงินหมุนเวียน 15,215,740 บาท
          (4) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูล MSME Big Data ให้เป็นปัจจุบัน จำนวน 1 ฐานข้อมูล โดยสามารถสืบค้นข้อมูลได้ที่ www.sme.go.th  นอกจากนี้ มีการพัฒนาระบบให้บริการ SME Access โดยการเชื่อมโยง บูรณาการข้อมูลและอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย 4 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ SME ONE (ความร่วมมือจำนวน          59 หน่วยงาน มีผู้ใช้บริการ จำนวน 644,390 คน)  SME Academy 365 (ระบบ E-Learning มีผู้ใช้บริการ จำนวน 10,423 คน)  SME CONNEXT (แอปพลิเคชันเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ)  และ SME Coach (ให้คำปรึกษาออนไลน์ มีผู้ประกอบการได้รับคำปรึกษา จำนวน 1,017 คน)
(5) กระทรวงอุตสาหกรรม มีการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์         เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวระดับชุมชน จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านทุ่งประดู่ หมู่บ้านรวมไทย        และหมู่บ้านม้าร้อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2.4 มาตรการที่ 4 : สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม (Enabling)
(1) กระทรวงอุตสาหกรรม มีการสร้างปัจจัยเอื้อสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย และลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ดังนี้
(1.1) การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สาขาอาหาร จำนวน       36 มาตรฐาน เช่น แป้งมันสำปะหลัง  มอโนโซเดียม แอล-กลูทาเมต  น้ำตาลไอซิง  นมและผลิตภัณฑ์นม  ไส้กรอกโบโลญญา  ไส้กรอกแฟรงก์เฟิร์ตเตอร์  ไส้กรอกเวียนนา  ธัญพืชและผลิตภัณฑ์ธัญพืช  ข้าวโพด  ไขมันและน้ำมันจากสัตว์และพืช  และจุลชีวของห่วงโซ่อาหาร  เป็นต้น  นอกจากนี้ มีการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จำนวน 255 ผลิตภัณฑ์ และการตรวจติดตาม จำนวน 32 ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) จำนวน 97 คำขอ
 (1.2) การส่งเสริมอ้อยพันธุ์ดีสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพและผลผลิตสูง จำนวน 1,092,491 ต้นกล้า ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ทำให้ผลผลิตตันต่อไร่ของเกษตรกรที่ใช้อ้อยพันธุ์ดีสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 นอกจากนี้ มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย ในรูปแบบฟาร์มอ้อยอัจฉริยะต้นแบบ (Smart Sugarcane Farm) นำร่อง ขนาดแปลงเล็ก กลาง และใหญ่ จำนวน 20.03 ไร่ ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 299 คน มีความรู้ด้านการจัดการฟาร์มอ้อยอัจฉริยะ (Smart Farming) รวมทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่นสนับสนุนการบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่และการจัดทำแปลงสาธิตต้นแบบอัจฉริยะให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย จำนวน 50 คน และพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 39 คน ให้สามารถใช้งานและถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้าน Smart Farming ได้
(1.3) การพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Cluster)                    เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม จำนวน 29 กลุ่ม เช่น  คลัสเตอร์อาหารอนาคต กทม. ปริมณฑล  คลัสเตอร์อาหารพร้อมทาน (TFF) กทม. ปริมณฑล  คลัสเตอร์อาหารแปรรูป (TTT) กทม. ปริมณฑล  คลัสเตอร์กาแฟ จังหวัดเชียงราย  คลัสเตอร์ผลไม้แห่งขุนเขา จังหวัดพิษณุโลก  คลัสเตอร์เกษตรแปรรูปและอาหารแปรรูป จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์  และคลัสเตอร์สมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
(2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการดำเนินการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการส่งออก จำนวน 4,946 ตัวอย่าง  และการตรวจสุขลักษณะโรงงาน โดยมีโรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ผ่านมาตรฐาน GMP จำนวน 318 กิจการ และผ่านมาตรฐาน HACCP จำนวน 315 กิจการ  รวมทั้งมีการรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรกร จำนวน 900 คน ครอบคลุมพื้นที่ 38 แปลง และฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 40 ฟาร์ม นอกจากนี้ มีการตรวจติดตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 40 ฟาร์ม  และการตรวจสถานรับซื้อและกระจายสินค้าสัตว์น้ำตามมาตรฐานสุขอนามัย จำนวน 35 ร้าน
ในส่วนร้านอาหารมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ/อุตสาหกรรมอาหารใช้วัตถุดิบทางการเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน  ผ่านการรับรองร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q                 (Q Restaurant) โดยมีร้านอาหารทั้งร้านใหม่และร้านเดิมที่ตรวจต่ออายุการรับรอง ผ่านการรับรอง จำนวน 3,153 แห่ง รวมถึงการส่งเสริมการสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับอาหารในระดับต่าง ๆ ผ่านการพัฒนาและขยายผลระบบตามสอบสินค้าเกษตร โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 538 คน และมีการส่งเสริมการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่            ในรูปแบบการสร้างเครือข่ายการผลิตเพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบ จำนวน 40 แปลง
(3) กระทรวงการคลัง มีการจัดทำโครงการต่อยอด New Gen, Smart Farmer, Young Farmer เพื่อสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจร่วมกับเครือข่ายธุรกิจ ซึ่งมีผู้ได้รับการพัฒนาร่วมกับเครือข่าย จำนวน 300 คน
(4) กระทรวงมหาดไทย มีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายองค์ความรู้ KBO (Knowledge-Based OTOP) จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยผู้ผลิตและประกอบการ OTOP จำนวน 47 คน                         20 ผลิตภัณฑ์
(5) กระทรวงแรงงาน มีการพัฒนาฝีมือแรงงานรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย                  (ซึ่งอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของโครงการ) ภายใต้โครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการฝึกอบรมแรงงานผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ  โครงการพัฒนาทักษะแรงงานด้านท่องเที่ยวและบริการ  โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  โครงการเพิ่มทักษะกำลังแรงงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  โครงการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ  โครงการยกระดับเพื่อเพิ่มศักยภาพฝีมือและสมรรถนะแรงงาน  โครงการเสริมสร้างสมรรถนะแรงงานด้านเทคโนโลยีรองรับการทำงานในศตวรรษที่ 21  และโครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานรองรับการท่องเที่ยวและบริการให้มีมูลค่าสูง  โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 4,444 คน
(6) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ จำนวน 26 โครงการ มูลค่า 1,412 ล้านบาท        การส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน        6 โครงการ  มูลค่า 195 ล้านบาท  การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตหรือให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่ จำนวน     2 กิจการ มูลค่า 299 ล้านบาท  การส่งเสริมการลงทุนในกิจการโรงงานผลิตพืช จำนวน 4 โครงการ มูลค่า 129 ล้านบาท  การส่งเสริมการลงทุนในกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร จำนวน 2 โครงการ มูลค่า 254 ล้านบาท  และการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตหรือถนอมอาหาร จำนวน 2 โครงการ มูลค่า 385 ล้านบาท
(7) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการพัฒนาและยกระดับคลัสเตอร์ต้นแบบสู่ความเป็นเลิศ ทำให้เกิดคลัสเตอร์ต้นแบบธุรกิจอาหารแปรรูป จำนวน 75 กิจการ ในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน ลำปาง และกรุงเทพฯ นอกจากนี้ มีการยกระดับผู้ประกอบการรายย่อยสู่การเป็น Formulization รองรับการประกอบการในยุค Next Normal ด้านมาตรฐานสินค้า จำนวน 212 กิจการ และเข้าสู่ระบบของภาครัฐ จำนวน 25 กิจการ
3. ผลการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1        (พ.ศ. 2562-2570)
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม           ได้จัดการประชุมทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานร่วมดำเนินการ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6 อาคาร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ จำนวน        17 หน่วยงาน 44 คน และหน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 4 หน่วยงาน 6 คน  ซึ่งผลจากการทบทวนแผนปฏิบัติการฯ      ขอสรุปประเด็นปัญหาและการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป ดังนี้
3.1 ประเด็นปัญหา
(1) โรคระบาดและภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตของสินค้าเกษตรที่สำคัญลดลงส่งผลต่อระดับราคาของวัตถุดิบและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
(2) การทำเกษตรของไทย ส่วนใหญ่เป็นเกษตรแปลงเล็ก ทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรมาช่วยในการเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือหากมีการรวมแปลงก็ไม่สามารถนำเครื่องจักรของเกษตรแปลงใหญ่มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบในประเทศ แต่ยังคงต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เนื่องจากปริมาณการผลิตวัตถุดิบในประเทศไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารอนาคต ซึ่งยังต้องพึ่งพิง Functional Ingredients ที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากลจากต่างประเทศ มาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต
(4) ภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศชะลอตัว ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาไม่สูงมาก เช่น สับปะรดกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก
(5) การขาดแคลนแรงงานในกระบวนการผลิตอาหารแปรรูป
(6) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาในเรื่องการออกประกาศเกี่ยวกับการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเชิงนโยบายในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอาหารของประเทศ ควบคู่กับแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในการสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตอาหารอนาคต
(7) ทิศทางอาหารอนาคตในปัจจุบัน เริ่มให้ความสำคัญผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุด เช่น สินค้าเกษตรผลสด (เกรดคุณภาพเยี่ยม) รวมถึงอาหารที่ดีต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยในกระบวนการหมักเพื่อให้เกิด Probiotics จะได้แอลกอฮอล์ ซึ่งยังติดข้อจำกัดที่ไม่สามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้อย่างถูกกฎหมาย
(8) การจัดประเภทอาหารอนาคตโดยใช้พิกัดศุลกากรในปัจจุบัน ยังไม่ชัดเจน                 มีเพียงอาหารอินทรีย์ที่สามารถใช้พิกัดศุลกากรได้
(9) ห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารในส่วนภูมิภาคยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะให้บริการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปทดสอบที่ต่างประเทศ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง
                                                 3.2 การดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจะใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อกำกับการดำเนินงานตามมาตรการต่าง ๆ  ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอนาคต ซึ่งเป็นกลุ่มอาหารที่มีมูลค่าสูง ส่งผลให้เกิดการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย โดยการยกระดับมาตรฐานการผลิตอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไทยสู่สากลตามนโยบาย Soft Power ของรัฐบาลปัจจุบัน ขณะที่ยังให้การสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอาหารกลุ่มโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารพื้นฐานและเป็นสินค้าสำคัญในการส่งออกของประเทศไทย  เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเป็น 1 ใน 10 ของผู้ส่งออกอาหารโลกได้ภายในปี พ.ศ. 2570
สำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป            มีดังนี้
(1)  อาหารโภคภัณฑ์
(1.1) ควรมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำแผนจัดการภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยรักษาความมั่นคงทางวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศไทย รวมถึงสามารถรักษาเสถียรภาพราคาของผลผลิตทางการเกษตรได้
(1.2) ควรมีการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่การเกษตร (Zoning) ให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ และมีความสะดวกในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งหากมีการทำโซนนิ่งพื้นที่การเกษตรที่ดี การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยทดแทนแรงงานคนได้ เช่น การให้เช่าใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร โดยผู้ให้บริการมีการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ใช้กับผู้ผลิตเครื่องจักรในประเทศไทย ทั้งนี้ สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีราคาสูง        ควรพิจารณามาตรการจูงใจเกษตรกรในการผ่อนชำระได้เหมือนรถยนต์ โดยใช้เครื่องจักรค้ำประกัน
(1.3) ควรมีการปรับปรุงสายพันธุ์พืช เช่น สับปะรด เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนต่อโรคและแมลงได้ดี โดยมีแผนการปรับปรุงสายพันธุ์อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาสายพันธุ์ต้องใช้ระยะเวลาหลายปี
(1.4) ควรมีการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) เช่น เครื่องสำหรับเจาะ/จิกตาสับปะรด ปัจจุบันใช้แรงงานคน สามารถเจาะตาได้ 7 ลูก/นาที หากใช้เครื่องจักรจะสามารถทำได้ถึง 60 ลูก/นาที เป็นต้น
(1.5) ควรสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาในการยืดอายุสินค้าเกษตร เช่น ทุเรียนผลสด ซึ่งจะทำให้ผลผลิตสามารถกระจายไปต่างประเทศได้ระยะทางที่ไกลขึ้น และเข้าถึงผู้บริโภคมากกว่าในปัจจุบัน
(2)  อาหารอนาคต
(2.1) ควรเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจำกัดนิยามความหมายของอาหารอนาคต และกำหนดพิกัดศุลกากรให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ และการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป
(2.2) ควรให้ความสำคัญกับเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ และมีการเจรจาต่อรองกับประเทศที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ตลอดจนมีการทบทวนโควตาอัตราภาษี (Tariff Rate Quota: TRQ) การนำเข้าสินค้าเกษตรตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศ
(2.3) ควรเร่งให้มีการพิจารณาออกประกาศเกี่ยวกับการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) เพื่อผู้ประกอบการจะได้นำไปใช้อ้างอิงในการจำหน่ายสินค้า และลดต้นทุนในเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับผลทางสุขภาพ
(2.4) ควรพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารในส่วนภูมิภาคให้มีศักยภาพในการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างครอบคลุมทุกรายการตามที่ตลาดต้องการ

14. เรื่อง รายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในการปรับปรุงการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของ ขสมก. และ รฟท. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า คณะกรรมการฯ ได้พิจารณารายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของ ขสมก. และ รฟท. แล้ว เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 สรุปได้ ดังนี้
                    1. รายงานผลการให้บริการสาธารณะของ ขสมก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตั้งแต่        1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565)
                              1.1 สรุปสาระสำคัญของรายงานผลการให้บริการสาธารณะของ ขสมก.
                                        (1) ลักษณะของการบริการและปริมาณการให้บริการสาธารณะ ขสมก. ให้บริการรถโดยสารธรรมดา มีรถวิ่งจริง จำนวน 1,477 คัน (เป้าหมาย 1,460 คัน) ระยะทางรวม 88.92              ล้านกิโลเมตร (เป้าหมาย 111.38 ล้านกิโลเมตร) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจาก ขสมก. ขาดอัตรากำลังพนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสาร และ ขสมก. เน้นการให้บริการในช่วงเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาเร่งด่วนและมีรถเสียระหว่างการให้บริการ ส่งผลต่อการเปลี่ยนกะรถและทำให้ในช่วงบ่ายมีจำนวนรถโดยสารให้บริการน้อย อีกทั้งกรมการขนส่งทางบกได้ปฏิรูปเส้นทางการเดินรถซึ่งมีระยะทางสั้นกว่าเดิมจึงทำให้กิโลเมตรทำการลดลง
                                        (2) ผลการดำเนินงานของ ขสมก. โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น
                                                      (2.1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ที่ร้อยละ 88.80 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.80 (เป้าหมายร้อยละ 86) เนื่องจาก ขสมก. มีการอบรมพนักงานในการให้บริการผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง
                                                      (2.2) จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ 13.48 ครั้งต่อล้านกิโลเมตรสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดให้ไม่เกิน 8 ครั้งต่อล้านกิโลเมตร เนื่องจากรถโดยสารมีสภาพชำรุดทรุดโทรมจากอายุการใช้งาน สภาพพื้นผิวถนนที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ทำให้มีจุดเสี่ยงตามถนนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงมีพนักงานขับรถใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ในการขับรถโดยสารสาธารณะ
                                                  (2.3) จำนวนครั้งที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยที่ตรวจจับได้จากระบบตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติการเดินรถ (Global Positioning System: GPS) มีการตรวจจับได้ จำนวน 126,740 ครั้ง เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเก็บข้อมูลจากจำนวนครั้งที่พนักงานขับรถโดยสารใช้ความเร็วเกินกำหนด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสัญญาณ GPS ไม่เสถียรและมีการนับซ้ำซ้อน ทำให้จำนวนครั้งที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
                                                  (2.4) ต้นทุนต่อกิโลเมตรทำการสูงกว่าเป้าหมาย โดยอยู่ที่ 44.42 บาทต่อกิโลเมตรทำการ (เป้าหมาย 37.83 บาทต่อกิโลเมตรทำการ) เนื่องจากต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตัวรถ เช่น           ค่าประกันภัย ค่าเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายพนักงาน มีการปรับเพิ่มสูงกว่ากรอบการคำนวนตามบันทึกข้อตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                                                  (2.5) การร้องเรียนเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยจากระบบการร้องเรียนโดยผู้โดยสาร ผ่าน Call Center จำนวน 2,322 ครั้ง เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ขสมก. มีช่องทางการร้องเรียนหลายช่องทาง ได้แก่ Call Center ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน ศูนย์ปลอดภัยกระทรวงคมนาคม (คค.) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และตู้จดหมาย ปณ. 5 อย่างไรก็ตาม      การจัดทำรายงานในครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลจาก Call Center เท่านั้น
                                        (3) การพิจารณาเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะ มีจำนวน 2,530.59 ล้านบาท (กรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ จำนวน 2,279.78 ล้านบาท) โดยมีการหักค่าการปรับผลการประเมินค่าตัวชี้วัดในบันทึกข้อตกลงการให้บริการสาธารณะ (บันทึกข้อตกลงฯ) จำนวน 786.99 ล้านบาททำให้ผลขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะประจำปี 2565 ภายหลังจากการปรับผลการประเมินค่าตัวชี้วัด คิดเป็นจำนวน 1,743.60 ล้านบาท โดยแบ่งจ่าย 3 งวด คือ งวดที่ 1 จำนวน 1,139.89 ล้านบาท (เบิกจ่ายแล้ว) งวดที่ 2-3 รวมจำนวน 603.70 ล้านบาท
                              1.2 มติคณะกรรมการฯ
                                        (1) รับทราบรายงานผลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของ ขสมก. ซึ่งมีผลการขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะ จำนวน 2,530.59 ล้านบาท และให้ ขสมก. เบิกจ่ายเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งวดที่ 2-3 จำนวน 603.70 ล้านบาท
                                        (2) ข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ เห็นควรให้ ขสมก. ดำเนินการ ดังนี้
                                                   (2.1) เก็บข้อมูลรายได้ค่าโดยสารจากการจำหน่ายตั๋วโดยสาร            (ตั๋วกระดาษ) บัตรสวัสดิการ และบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แยกตามประเภทของราคาค่าโดยสารที่มีการลดหย่อนตามกลุ่มผู้โดยสาร เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กนักเรียน/นักศึกษา เพื่อให้การจัดทำประมาณการรายได้ค่าโดยสารและจำนวนตั๋วโดยสารสำหรับขอรับเงินอุดหนุนจากภาครัฐมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง
                                                  (2.2) พัฒนาและปรับปรุงระบบ GPS ให้มีความเสถียรเพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน และควรรวบรวมข้อมูลการร้องเรียนให้ครบทุกช่องทาง รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้จากระบบ GPS และระบบการร้องเรียนมาวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของ ขสมก. ต่อไป
                                                  (2.3) ประเด็นตัวชี้วัดจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุสำหรับรถโดยสารธรรมดาที่ ขสมก. เป็นฝ่ายผิดซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก ดังนั้น ขสมก. ต้องให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในการให้บริการผู้โดยสาร
                                                  (2.4) เร่งจัดทำรายงานทางการเงินให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรณีที่ ขสมก. ไม่ได้นำมาตรฐานรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงินที่ประกาศโดยสภาวิชาชีพบัญชี และมีผลบังคับใช้สำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่         1 มกราคม 2563 มาถือปฏิบัติ เพื่อมิให้เกิดกรณีการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่องบการเงินสำหรับงวดบัญชีปีถัดไป
                                                  (2.5) ขสมก. มีผลการขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะที่ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนค่อนข้างสูงในแต่ละปี ขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้ คค. พิจารณาทบทวนบทบาทของ ขสมก. ในการให้บริการรถโดยสารประจำทางในพื้นที่ดังกล่าวให้ชัดเจน รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์จำนวนผู้โดยสารที่ยังต้องการใช้บริการสาธารณะเชิงสังคม1 เพื่อนำมากำหนดแนวทางการให้บริการสาธารณะเชิงสังคมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนกำหนดแนวทางการให้เงินอุดหนุนสำหรับการให้บริการสาธารณะเชิงสังคมที่เหมาะสมยิ่งขึ้นและไม่เป็นภาระทางการเงินของภาครัฐเกินความจำเป็น
                    2. รายงานผลการให้บริการสาธารณะของ รฟท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตั้งแต่           1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565)
                              2.1 สรุปสาระสำคัญของรายงานผลการให้บริการสาธารณะของ รฟท.
                                        (1) ลักษณะของบริการและปริมาณการให้บริการสาธารณะ รฟท. ให้บริการรถไฟเชิงสังคม2 131 ขบวนต่อวัน (เป้าหมาย 152 ขบวนต่อวัน) มีจำนวนผู้โดยสาร 12.37 ล้านคน (เป้าหมาย 24.22 ล้านคน) และกิโลเมตรทำการ 7.85 ล้านกิโลเมตร (เป้าหมาย 8.30 ล้านกิโลเมตร) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้ผู้ใช้บริการยังไม่กลับมาใช้บริการประกอบกับภาครัฐและภาคเอกชนยังมีนโยบายให้บุคลากรหมุนเวียนปฏิบัติงาน ณ สถานที่ทำงานกับที่พักอาศัย รฟท. จึงงดให้บริการเชิงสังคมเป็นการชั่วคราวในแต่ละช่วงเวลา ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารและกิโลเมตรทำการลดลง
                                        (2) ผลการดำเนินการของ รฟท. โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น
                                                  (2.1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ที่ 4.12 สูงกว่าเป้าหมาย (เป้าหมายระดับความพึงพอใจคือ 4 จาก 5) โดยผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในด้านราคามากที่สุด ส่วนความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมและความสะอาด
                                                  (2.2) ประสิทธิภาพการบริหารเวลาเดินรถให้ตรงต่อเวลาอยู่ที่ร้อยละ 85.04 สูงกว่าเป้าหมาย (เป้าหมายร้อยละ 80 ของจำนวนเที่ยวที่ตรงต่อเวลา)
                                                  (2.3) การเกิดอุบัติเหตุต่อการเดินรถโดยสารเชิงสังคม จำนวน 0 ครั้ง เป็นไปตามเป้าหมาย (เป้าหมายอุบัติเหตุร้ายแรง จำนวน 0 ครั้ง และอุบัติเหตุสำคัญ จำนวน 0 ครั้ง)
                                                  (2.4) จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการมีจำนวน 12.37 ล้านคนต่ำกว่าเป้าหมาย (เป้าหมาย 24.22 ล้านคน) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้โดยสารยังไม่กลับมาใช้บริการ
                                                  (2.5) ต้นทุนการดำเนินงานอยู่ที่ 469.05 บาทต่อกิโลเมตรสูงกว่าเป้าหมาย (เป้าหมาย 397.96 บาทต่อกิโลเมตร) เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม รถจักร เครื่องจักรและล้อเลื่อน รวมถึงค่าใช้จ่ายการรักษาความสะอาดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
                                        (3) การพิจารณาเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะมีจำนวน 3,063.42 ล้านบาท (กรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ จำนวน 3,278.87 ล้านบาท) โดยมีการหักค่าการปรับผลการประเมินค่าตัวชี้วัดในบันทึกข้อตกลงฯ จำนวน 296.17 ล้านบาท ทำให้ผลขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะประจำปี 2565 ภายหลังจากการปรับผลการประเมินค่าตัวชี้วัด คิดเป็นจำนวน 2,767.25 ล้านบาท โดยแบ่งจ่าย 3 งวด คือ งวดที่ 1 จำนวน 1,639.43 ล้านบาท และงวดที่ 2 จำนวน 655.77 ล้านบาท (งวดที่ 1 และ 2 มีการเบิกจ่ายแล้ว) และงวดที่ 3 จำนวน 472.05 ล้านบาท
                              2.2 มติคณะกรรมการฯ
                                        (1) รับทราบรายงานผลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของ รฟท. ซึ่งมีผลการขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะ จำนวน 3,063.42 ล้านบาท และให้ รฟท. เบิกจ่ายเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งวดที่ 3 จำนวน 472.05 ล้านบาท
                                        (2) ข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ
                                                  (2.1) ผู้โดยสารยังคงมีความพึงพอใจในบางรายการที่ต่ำกว่าค่าเป้าหมายเช่นเดียวกับปี 2564 เช่น ความพึงพอใจด้านความสะอาดและความเพียงพอของจำนวนห้องน้ำบริเวณสถานี และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ดังนั้น ควรให้ คค. กำกับให้ รฟท.จัดทำแนวทางในการเพิ่มคุณภาพการให้บริการในเรื่องดังกล่าวเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในอนาคต นอกจากนี้ ความพึงพอใจด้านราคาควรเกิดจากความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการบริการที่ดีและราคาที่ถูกลงควรสอดคล้องกับต้นทุนที่ต่ำลง ทั้งนี้ การลดลงของขบวนรถหรือจำนวนรถโดยสารในปัจจุบันอาจไม่ได้สะท้อนถึงคะแนนความพึงพอใจที่สูงขึ้น รฟท. จึงควรเร่งปรับจำนวนขบวนรถให้มีความเหมาะสมต่อความต้องการเดินทางเพื่อให้การให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสะท้อนความพึงพอใจของผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง
                                                  (2.2) ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลงแต่จำนวนผู้โดยสารของ รฟท. ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร จึงควรให้ คค. และ รฟท. ศึกษาและวิเคราะห์จำนวนผู้โดยสารที่ยังต้องการใช้บริการสาธารณะเชิงสังคมเพื่อกำหนดแนวทางและการให้บริการสาธารณะเชิงสังคมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนกำหนดแนวทางการให้เงินอุดหนุนสำหรับการให้บริการสาธารณะที่เหมาะสมและไม่เป็นภาระทางการเงินของภาครัฐเกินความจำเป็น
                                                  (2.3) รฟท. ควรเร่งจัดทำต้นทุนมาตรฐานให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้มีข้อมูลสำหรับอ้างอิงและใช้ประกอบการดำเนินงานของ รฟท. นอกจากนี้ ในการจัดทำรายงานผู้สอบบัญชีของ รฟท. ซึ่งเป็นรายงานแบบมีเงื่อนไขในประเด็นการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและการไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอทำให้กระทบต่อรายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ค่าเช่า และลูกหนี้ของ รฟท. จึงควรให้ คค. กำกับดูแลให้ รฟท. แก้ไขรายงานให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ภายในปีบัญชีถัดไป
1 บริการสาธารณะเชิงสังคม คือ บริการสาธารณะโดยรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอย่างเสมอภาค
2 รถไฟเชิงสังคม คือ ขบวนรถไฟที่ให้บริการในลักษณะของการให้บริการสังคม โดยเป็นรถไฟชั้น 3 ประกอบด้วย รถไฟธรรมดา รถไฟชานเมือง และรถไฟท้องถิ่น ซึ่งจะหยุดรับส่งผู้โดยสารทุกสถานีและผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้รถไฟในชีวิตประจำวัน

15. เรื่อง การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยให้กองทุนฯ ทยอยโอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ เนื่องจากจำนวนเงินดังกล่าวมีความเหมาะสมกับประมาณการกระแสเงินรับ - จ่ายของกองทุนฯ และมีเงินสดคงเหลือเพียงพอเพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 2 ปี และภาระชดเชยที่ต้องดำเนินการ อย่างไรก็ดี หากกองทุนฯ ได้รับเงินที่มีนัยสำคัญให้พิจารณาทบทวนเพื่อขออนุมัตินำส่งเงินเข้าบัญชีสะสมฯ เพิ่มเติมต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนฯ เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 11 และ FIDF 32 มาแล้ว รวม 22 ครั้ง (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 - 2566) วงเงินรวมทั้งสิ้น 248,980 ล้านบาท โดยล่าสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โอนเงินของกองทุนฯ เข้าบัญชีสะสมฯ รวมเป็นทั้งสิ้น 8,062 ล้านบาท โดยเป็นการนำส่งเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 2,000 ล้านบาท      ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 และเป็นการนำส่งเงินเพิ่มเติมจำนวน 6,062 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ซึ่งกองทุนฯ ได้นำส่งเงินชำระหนี้ครบตามจำนวนดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า กองทุนฯ ได้ทบทวนประมาณการกระแสเงินรับ - จ่ายของกองทุนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้วเห็นว่ากองทุนฯ จะมีสภาพคล่องคงเหลือภายหลังสำรองค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่สามารถชำระหนี้ FIDF 1 และ FIDF 3 ได้จำนวน 2,000 ล้านบาท คณะกรรมการจัดการกองทุนในการประชุมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จึงเห็นควรให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้กองทุนฯ นำส่งเงินดังกล่าวเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยทยอยโอนเงินเข้าบัญชีสะสมฯ         ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566 ยอดหนี้ต้นเงินกู้ FIDF 1 และ FIDF 3 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายงาน          จำนวนเงิน
ยอดรวมต้นเงินกู้ที่รับมาดำเนินการตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555          1,138,305.89
ยอดชำระหนี้สะสมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 - สิงหาคม 2566 (เงินต้น จำนวน 469,032.39 ล้านบาท ดอกเบี้ย จำนวน 365,343.27 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการ จำนวน 13.60 ล้านบาท)          834,389.26
ยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 (รวมการลดภาระหนี้จากบัญชี Premium FIDF3 จำนวน 14,347 ล้านบาท)          654,926.50
ที่มา : รายงานการบริหารหนี้ตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มดำเนินการถึง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566
1 FIDF 1 เป็นการชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่ กค. กู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541
2 FIDF 3 เป็นการชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่ กค. กู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545
3 Premium FIDF คือ บัญชีเงินฝากจากเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Premium FIDF 1) และบัญชีเงินฝากจากการกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนฯ (Premium FIDF 3) ซึ่งเป็นบัญชีที่ใช้สะสมเงินส่วนเพิ่มที่เกิดจากราคาซื้อขายพันธบัตรสูงกว่าราคาที่ตราไว้เพื่อนำไปสมทบชำระหนี้ FIDF

ต่างประเทศ
16. เรื่อง การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2566
                    คณะรัฐมนฺตรีมีมติเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติ ปี 2560 (ความตกลงฯ) ที่แก้ไขเพิ่มเติม ปี 2565 สำหรับการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law)     (การฝึกอบรมฯ) ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2566 รวมทั้งอนุมัติให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ของฝ่ายไทยสำหรับการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2566 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามขอให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และโดยที่ฝ่ายสหประชาชาติแจ้งว่าไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ในกรณีนี้จึงไม่ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็มให้ผู้ลงนามเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    1. เรื่องเดิม
                              1.1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 มิถุนายน 2560) อนุมัติให้จัดทำความตกลงระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบของหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม 2560 ณ กรุงเทพมหานคร มีรายละเอียดสำคัญ เช่น กำหนดค่าใช้จ่ายระหว่างการจัดฝึกอบรม        โดยสหประชาชาติจะรับผิดชอบในการจัดหาสถานที่สำหรับการฝึกอบรม อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าตอบแทนสำหรับวิทยากร ส่วนไทยจะรับผิดชอบในการจัดหาสถานที่พัก อาหารเช้า - ค่ำ สำหรับผู้เข้าร่วมที่ได้รับทุน การจัดหายานพาหนะในการเดินทางไป - กลับสถานที่จัดอบรม รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าร่วม รวมทั้งได้กำหนดให้สหประชาชาติและไทยอาจตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อขยายความตกลงฉบับนี้ให้ครอบคลุมถึงการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่จะจัดขึ้นที่ประเทศไทยในปีต่อ ๆ ไปได้
                              1.2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 สิงหาคม 2565) เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อต่ออายุความตกลงฯ สำหรับการจัดฝึกอบรมฯ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2565 และอนุมัติให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯของฝ่ายไทยสำหรับการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2565
                    2. สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                              2.1 ที่ผ่านมา กต. เคยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรมฯ ประจำภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก มาแล้ว 9 ครั้ง ล่าสุดปี 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมรับการอบรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงยุติธรรม กต. และอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งทุกครั้งประสบความสำเร็จด้วยดีและได้รับคำชื่นชมจากสหประชาชาติและผู้แทนของหลายที่เข้าร่วม
                              2.2 ในปี 2566 สหประชาชาติได้ทาบทามประเทศไทยเพื่อเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการฝึกอบรมฯ กต. และสำนักงานกฎหมายสหประชาชาติจึงได้ร่วมกันพิจารณายกร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขอต่ออายุความตกลงฯ ตามข้อ 1.1 ประเทศเจ้าภาพขึ้น สำหรับการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2566 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ผ่านมาของไทยในการจัดการฝึกอบรมและการประชุมระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เนื้อหามีความแตกต่างจากร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขอต่ออายุความตกลงฯ ในปี 2565 โดยไม่ระบุข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนหรือยกเลิกการฝึกอบรมฯ - ในกรณีที่มีสภาวการณ์และข้อห่วงกังวลที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ? 19

17. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กค. รายงานว่า
                    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting : AFMGM) ครั้งที่ 10 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน (ASEAN Finance and Health Ministers? Meeting : AFHMM) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 25 สิงหาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีผลการประชุม สรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการประชุม AFMGM 10
(1) ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการสนับสนุนการเงินเพื่อโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมการเงินเพื่อการปรับตัวไปสู่การใช้พลังงานสะอาด รวมทั้งการดำเนินงานของกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (ASEAN Infrastructure Fund : AIF) ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวในที่ประชุมว่า สนับสนุนทิศทางการดำเนินงานของ AIF รวมไปถึงการนำเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียนเวอร์ชัน 21 (ASEAN Taxonomy Version 2) มาใช้ในการคัดกรองโครงการหรือการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในภาวะที่การค้าการลงทุนและเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ภูมิภาคอาเซียนควรพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้ากับคู่ค้านอกภูมิภาคอาเซียน รวมถึงอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งเชิงกายภาพและดิจิทัลเพิ่มเติม
(2) รับทราบความคืบหน้าของความร่วมมือทางการเงินอาเซียนและแผนงานสำหรับปีงบประมาณ 2566 - 2567 ของคณะทำงานต่าง ๆ และรับทราบการหารือเกี่ยวกับการจัดการด้านการคลังในประเทศสมาชิกอาเซียน และแนวคิดในการจัดตั้งเวทีการคลังอาเซียน (ASEAN Treasury Forum : ATF) ซึ่งจะช่วยพัฒนาแนวทางการบริหารการคลังภาครัฐให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้น
(3) เห็นชอบแนวทางในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน เช่น การยกระดับแนวคิดเริ่มข้ามสาขาภายใต้ความร่วมมือด้านการเงินอาเซียนและด้านความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น  และการจัดตั้งคณะทำงานของอาเซียนเพื่อทบทวนพันธกิจของคณะทำงานภายใต้ความร่วมมือด้านการเงินการคลังอาเซียนให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของอาเซียนหลังปี 2568
1.2 ผลการประชุม AFHMM
ที่ประชุมได้ร่วมหารือในประเด็นการเตรียมความพร้อมสำหรับโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแนวทางในการจัดหาแหล่งทุนสำหรับการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ได้นำเสนอร่างผลการศึกษาการประเมินความต้องการเงินทุน ซึ่งมีประเด็นสำคัญ คือ การเสนอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาการให้เงินสนับสนุนแก่กองทุนอาเซียน เพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเหตุการณ์ฉุกเฉินสาธารณะและโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ (COVID-19 and Other Public Health Emergencies and Emerging Diseases ASEAN Response Fund : CARF) หรือการขอรับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับพหุภาคี (Multilateral Development Banks : MDBs)2 ในลักษณะของการบริจาคเงินให้เปล่า หรือเงินกู้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นว่าขนาดของกองทุน CARF ยังคงมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับความต้องการเงินทุนด้านการรับมือกับโรคระบาด ดังนั้น จึงควรมีความพยายามในการระดมทุนทั้งจากในประเทศและจาก MDBs

                    2. ที่ประชุม AFHGM ครั้งที่ 10 และที่ประชุม AFHMM ได้รับรองร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม AFHGM ครั้งที่ 10 และ AFHMM ซึ่งในช่วงระหว่างการประชุมได้มีการปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว โดยมีบางถ้อยคำแตกต่างจากฉบับร่างที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสะท้อนข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยไม่กระทบสาระสำคัญ ไม่กระทบหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ เช่น การเพิ่มข้อความที่เสนอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมถึงมาตรการริเริ่มระดับทวิภาคีและพทุภาคีในด้านการป้องกันการเตรียมความพร้อม และการรับมือกับโรคระบาค          (Pandemic Prevention, Preparedness, and Response : PPR) การเพิ่มข้อความที่มุ่งหวังจะเห็นการขยายขอบเขตของ ASEAN Taxonomy ให้สามารถใช้งานร่วมกับ Taxonomy ในภูมิภาคอื่นได้ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเพิ่มเติมในการเพิ่มประสิทธิผลของโครงการภายใต้ความร่วมมืออาเซียนทั้งด้านการคลังและสาธารณสุข

??????????_______________________________
1ASEAN Taxonomy คือ มาตรฐานกลางที่ใช้ในการจำแนกและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอาเซียน ครอบคลุมวัตถุประสงค์หลัก 4 ด้าน ได้แก่ (1) การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (3) การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และ       (4) การสนับสนุนการบริหารทรัพยากรให้ยืดหยุ่นหรือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จัดทำขึ้นโดย ASEAN Taxonomy Board (ATB) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียน สำหรับ ASEAN Taxonomy Version 2 มีการเพิ่มเติมประเด็นเกี่ยวกับการยกเลิกการใช้ถ่านหินในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดเพิ่มเติม (Plus Standard)
2ธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับพหุภาคี (Multilateral Development Banks : MDBS) ประกอบด้วย ธนาคารโลก (World. Bank) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและทางด้านวิชาการแก่ประเทศสมาชิก

18.  เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 5
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย สำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 5 (การประชุมฯ) และเห็นชอบต่อกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย สำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 5  ทั้งนี้หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Legally binding) ต่อประเทศไทยขอให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมฯ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ประเทศไทยได้ทำการภาคยานุวัติเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท      (อนุสัญญาฯ) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560) โดยอนุสัญญาฯ             มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากการปลดปล่อยปรอทและสารประกอบปรอท1           สู่บรรยากาศ ดิน และน้ำ ปัจจุบันมีภาคีสมาชิก จำนวน 147 ประเทศทั่วโลก (เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เครือรัฐออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นต้น)
                    2. สำนักเลขาธิการอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอทได้แจ้งว่าจะมีการประชุมฯ ระหว่างวันที่         30 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยมีคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว จำนวน 13 ราย ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการกากของเสียและสารอันตราย ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย (2) ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท จำนวน 2 ราย (3) ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 4 ราย (4) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 4 ราย (5) ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จำนวน 1 ราย (6) ผู้แทน ทส. จำนวน 1 ราย
                    3. กรอบการเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท         สมัยที่ 5 มีสาระสำคัญคือ สนับสนุนการดำเนินการเพื่อปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ ความต้องการจำเพาะของประเทศกำลังพัฒนา และสอดคล้องกับนโยบายของไทย ส่วนท่าทีของประเทศไทยมีประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอทและการกำหนดเกณฑ์การปนเปื้อนของปรอท

1สารประกอบปรอท หมายถึงสารใด ๆ ที่ประกอบด้วยอะตอมของปรอท เช่น เมอคิวรี่คลอไรด์ซัลเฟตเมอคิวรี่

19. เรื่อง รายงานการเตรียมความพร้อมการดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการเตรียมความพร้อมการดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
                      ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอลที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยที่อาศัยอยู่ ณ รัฐอิสราเอล เพื่อเป็นการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอลที่กลับมาให้มีความพร้อมเข้าสู่การจ้างงานและ/หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ยกระดับภาคการเกษตรของประเทศไทยด้วยความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญของแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่จากรัฐอิสราเอล และเพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงกว่าการเป็นแรงงานรับจ้างทั่วไป ซึ่งการทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงล้ำหน้าทันสมัย และพัฒนาให้เป็นฟาร์มต้นแบบเกษตรสมัยใหม่ และแม่นยำสูง จะนำไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ต่อยอดเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรได้ ทั้งนี้ การช่วยเหลือและสร้างความมั่นคงในอาชีพให้แก่แรงงานเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
                      สาระสำคัญ
                     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานอิสราเอลสู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                      1. จากสถานการณ์เหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอลที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทย ที่อยู่ ณ รัฐอิสราเอล ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน (2566) ที่ระบุว่ามีแรงงานไทยในรัฐอิสราเอล จำนวนมากถึง 25,887 คน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2566) โดยส่วนใหญ่เดินทางไปเป็นแรงงานภาคการเกษตรมากถึงร้อยละ 90 ของแรงงานไทยในรัฐอิสราเอล หรือประมาณ 24,000 คน ซึ่งหลังจากที่เกิดเหตุความไม่สงบดังกล่าว มีแรงงานไทยที่ต้องการกลับประเทศไทยเป็นจำนวน 8,345 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2566) ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ เป็นแรงงานที่ได้รับการพัฒนาและมีทักษะในด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัย เนื่องจากรัฐอิสราเอลเป็นประเทศที่มีระบบด้านการเกษตร มีความทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย การปลูกพืชในโรงเรือน หรือเทคโนโลยีการให้น้ำหยดแบบอัจฉริยะ ผลผลิตที่สำคัญ คือ พืชผัก ทั้งผักเมืองร้อน และผักเมืองหนาวหรือจะเป็นพืชสวน เช่น ส้ม มะม่วง อะโวคาโด อินทผลัม ทับทิม รวมถึงฟาร์มปศุสัตว์ ดังนั้น แรงงานไทย จำนวน 8,345 คน ที่จะเดินทางกลับจากรัฐอิสราเอลเป็นแรงงานที่มีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ด้านการเกษตรสมัยใหม่         มีศักยภาพด้านการเกษตรที่จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาระบบการเกษตรของประเทศไทย สามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาภาคการเกษตรไทยให้มีความทันสมัยและแม่นยำสูง
                     2. วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอล พัฒนาแรงงานที่กลับมาให้มีความพร้อมเข้าสู่การจ้างงานและ/หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรในประเทศไทย และเพื่อยกระดับภาคการเกษตรของประเทศไทยด้วยความรู้ประสบการณ์ และความชำนาญของแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่จากรัฐอิสราเอล
                      3. การดำเนินการ
                               3.1 การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอลสู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                               3.2 จัดทำเอกสารหนังสือชี้ชวนเข้าร่วมโครงการ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์คุณสมบัติและความเชี่ยวชาญของแรงงาน เพื่อเป็นทางเลือกอาชีพของแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอล
                               3.3 สำรวจและคัดกรองแรงงานไทยที่กลับจากรัฐอิสราเอลที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเกษตร
                               3.4 การประมวลถอดองค์ความรู้ และพัฒนาทักษะครูพี่เลี้ยงเพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่สู่การปรับใช้อย่างเหมาะสม ให้คำปรึกษาและสร้างความเชื่อมั่นการทำเกษตรสมัยใหม่
                               3.5 การพัฒนาเตรียมทักษะรองรับการจ้างงานตามความต้องการของนายจ้าง
                                3.6 สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งลงทุนในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรักบ้านเกิด เช่น การเขียนแผนธุรกิจเกษตร แนวทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต
                               3.7 การสื่อสารความรู้ความเข้าใจ ถึงความก้าวหน้า ผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ ประโยชน์ต่อสาธารณะ และความสำเร็จตามลำดับชั้นของโครงการ
                                 3.8 การจัดการข้อมูลเพื่อติดตาม ประเมินผล สอบทานประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและการรายงาน เพื่อจัดทำรายงานการดำเนินงาน
                     4. ระยะเวลาดำเนินการ เดือนพฤศจิกายน 2566 - กันยายน 2567
                      ประโยชน์และลดผลกระทบ
                      1. แรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัฐอิสราเอลเกิดรายได้จากการถอดองค์ความรู้     การถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่
                     2. แรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัฐอิสราเอลมีโอกาสในการประกอบอาชีพทางการเกษตร
                     3. ผลิตภาพการผลิตภาคเกษตรปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหน่วยผลิตที่มีความเชื่อมโยงกับโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานอิสราเอลสู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ในระยะต่อไป
                     ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา
                      เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ หากงบประมาณไม่เพียงพอ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเสนอขอใช้จ่ายจากจบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป

20. เรื่อง สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดลอม ครั้งที่ 17 (17th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment: 17 th AMME) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว ทำหน้าที่ประธานการประชุม) โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ (นายกรัฐมนตรีอนุมัติเปลี่ยนแปลงหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมติดภารกิจในช่วงการประชุมดังกล่าว) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.          การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566
                              1.1 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถ้อยแถลงถึงความเปราะบางของภูมิภาคอาเซียนต่อปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และมลพิษ โดยประเทศไทยจะร่วมต่อสู้กับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินงาน เช่น ปรับยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand's Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy: LT-LEDS)3 และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ฉบับปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ ซึ่งได้จัดส่งให้กับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยแล้ว รวมถึงการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อบรรลุเจตนารมณ์ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 นอกจากนี้ ประเทศไทยมีการบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สอดคล้องกับกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลกและเน้นถึงการจัดการปัญหามลพิษ โดยเฉพาะมลพิษจากพลาสติก
                              1.2 ที่ประชุมรับรองประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
                                        (1) การขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียนของประเทศไทยจำนวน 2 แห่ง4 ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว (จังหวัดเพชรบูรณ์) เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 56 และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง (จังหวัดเลย) เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 57
                                        (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ (UNFCCC COP 28) เพื่อเสนอผู้นำอาเซียนให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-7 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย)
                                        (3) การมอบรางวัล ASEAN Eco-Schools และรางวัล ASEAN Youth Eco-Champions Award5 ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยประเทศไทยมีโรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านหัวหินเข้ารับรางวัล ASEAN Eco-Schools Award ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา และนายมนตรี เจือไทสง อาจารย์โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านหัวหินเข้ารับรางวัล  ASEAN Youth Eco-Champions Award
                                        (4) แผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ซึ่งริเริ่มโดยอินโดนีเซียเพื่อแก้ไขปัญหาการคุกคามต่อการสูญเสียทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญของภูมิภาค
                              1.3 ที่ประชุมรับทราบประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
                                        (1) ผลสรุปความสำเร็จความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (บรูไน) เพื่อสนับสนุนความร่วมมือและประสานการดำเนินงานข้อริเริ่มด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และองค์กรระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศรวมถึงให้ข้อแนะนำด้านนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน
                                        (2) การดำเนินโครงการ Horizontal Learning for ASEAN Sustainable Cities ณ อินโดนีเซีย เพื่อเป็นเวทีให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และบทเรียนร่วมกันในเรื่องการพัฒนาเมืองยั่งยืน โดยเฉพาะการจัดการขยะและการพัฒนาเมือง การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือที่มีศักยภาพระหว่างผู้ออกนโยบายภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการริเริ่มเมืองยั่งยืนของอาเซียน
                                        (3) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลของประเทศสมาชิกและความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการและข้อริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับขยะพลาสติก เช่น ความสำเร็จของการจัดประชุมปฏิบัติการ ASEAN-Indo Pacific Workshop on Marine Plastic Debris และการประชุม ASEAN Conference on Combating  Plastic Pollution ที่อินโดนีเซียกำลังจะจัดขึ้น6
                    2. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมกับคู่เจรจา ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566
การประชุม          รายละเอียด
การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม
อาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three
Environment Minister Meeting)
          ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอาเซียนร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีโดยเฉพาะประเด็นปัญหาขยะพลาสติกในทะเล
การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม
อาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan
Ministerial Dialogue on
Environment and Climate Change)
          ที่ประชุมร่วมกันรับรองเอกสารข้อริเริ่มฉบับใหม่ ?Strategic Program for ASEAN Climate and Environment SPACE? และประเทศญี่ปุ่นเปิดตัว ?SPACE? เพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินงานเพื่อบริหารจัดการวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกที่มีความเชื่อมโยงกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการแก้ไขปัญหามลพิษ
การประชุมระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม
อาเซียน-สหรัฐอเมริกา (ASEAN-U.S:
Ministerial Dialogue on
Environment and Climate Change
          ที่ประชุมร่วมกันรับรองเอกสาร ASEAN-US. Environment and Climate Work Plan เพื่อสนับสนุนอาเซียนในการดำเนินงานการมีส่วนร่วมตามที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDCs)7 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ

                    3. เรื่องอื่น ๆ ในที่ประชุม
                              3.1 บรูไนได้ส่งมอบการลงนามเอกสารการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับรองเลขาธิการอาเซียนสำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเพื่อดำเนินการต่อไป
                              3.2 ประเทศไทยได้หารือร่วมกับ สปป. ลาว และคณะทำงานวิชาการโรงเรียนมัธยมสมบูนนาซอน เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการก่อสร้างสวนรุกขชาติ
ไทย-ลาว ที่สร้างขึ้น ณ โรงเรียนมัธยมสมบูนนาซอน โดยเสนอแนะให้มีการพัฒนาสวนรุกขชาติเป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Centre) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรของ สปป.ลาว ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อการดูแลรักษาสวนรุกขชาติไทย - ลาว อย่างยั่งยืนต่อไป
1 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน คือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแล้วสามารถตั้งถิ่นฐานและแพร่กระจายได้ในธรรมชาติ เป็นชนิดพันธุ์เด่นในสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ชนิดพันธุ์พื้นเมืองสูญพันธุ์ รวมถึงคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพและก่อให้เถิดความสูญเสียทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขอนามัย [ประเทศไทยมีพืชต่างถิ่น เช่น วงศ์พืช (เช่น วงศ์ถั่ว วงศ์ดาวเรือง และวงศ์บานไม่รู้โรย) ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา และวงศ์หญ้าที่เป็นวัชพืช (เช่น หญ้าคา)] ซึ่งมีพฤติกรรมรุกรานและเจริญเติบโตรวดเร็ว
2 กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อพลิกฟื้นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและทำให้โลกเข้าสู่เส้นทางการฟื้นฟู ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ คือ (1) เพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทุกระบบนิเวศ (2) ดำรงรักษาหรือเพิ่มพูนประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ (3) แบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม (สารที่สกัดได้จากทรัพยากรชีวภาพซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เช่น ผลิตยารักษาโรค เครื่องสำอาง และอาหารเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ) อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม และ (4) แก้ปัญหาช่องว่างทางการเงินและแนวทางการดำเนินงานอื่น ๆ
3 คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 ตุลาคม 2564) เห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าชเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย ตามที่ ทส. เสนอ
4 คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 มีนาคม 2565) เห็นชอบการนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน ตามที่ ทส. เสนอ
5 เป็นรางวัลโรงเรียนที่มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมดีเด่นและครูผู้สอนสิ่งแวดล้อมศึกษาดีเด่น
6 ทส. แจ้งว่า การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา  อินโดนีเซีย
7 การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด NDCs  เป็นกลไกสำคัญเพื่อบรรลุความตกลงปารีสในความพยายามกำจัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์  โดยให้ประเทศภาคีรายงานการมีส่วนร่วมระดับชาติในการกำหนดเป้าหมายและความก้าวหน้าของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

21. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
                    2. ให้ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
                    3. หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
                    สาระสำคัญ
                    1. นางสาว Angela Jane Macdonald เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลีย ประจำประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมคำนับปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับหน้าที่ซึ่งระหว่างการเยี่ยมคำนับได้นำส่งร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ดังกล่าว ให้กระทรวงกลาโหมพิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศบนพื้นฐานของความร่วมมือและความสัมพันธ์ทางทหารที่ดีระหว่างกัน ตั้งแต่มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลออสเตรเลียเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือด้านการป้องกันของออสเตรเลีย (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of Australia concerning the Australian Defence Co-operation Programme) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2529
                    2. ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการกำหนดขั้นตอนกรอบแนวทางและการดำเนินการตามกฎหมายที่เหมาะสมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาศักยกาพในด้านต่าง ๆ สนับสนุนความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่มีร่วมกันในปัจจุบัน อาทิ การบริหารจัดการโรคระบาด การต่อต้านการก่อการร้าย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงทางทะเล ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคง อันจะนำไปสู่ขีดความสามารถในการป้องปรามและตอบสนองต่อภัยคุกคามและสิ่งท้าทายร่วมกันในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
                    การจัดทำร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จะเป็นการยกระดับความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงกลาโหมเครือรัฐออสเตรเลียให้มีความแน่นแฟ้นและมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นประโยนช์ต่อการพัฒนาศักยภาพและการเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่มีร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องและส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับเครือรัฐออสเตรเลีย

22. เรื่อง การประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2023 (WRC-23) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนงานงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบเอกสารท่าที ข้อเสนอ และแนวทางการดำเนินการของประเทศไทยสำหรับการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2023 (WRC-23) โดยให้คณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุม WRC-23 สามารถปรับเปลี่ยนท่าทีของประเทศไทยหรือกำหนดท่าทีของประเทศไทยเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ โดยยึดความเหมาะสมและผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
                    2. มอบอำนาจเต็มให้แก่คณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมการประชุม WRC-23 ในการอภิปราย ลงมติ และลงนามในกรรมสารสุดท้ายของการประชุม WRC-23
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) เพื่อมอบอำนาจเต็มให้แก่คณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมการประชุม WRC-23
                    เรื่องเดิม
                    สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ได้มีหนังสือที่ CAV265 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2566 แจ้งเชิญประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2023 (World Radiocommunication Conference: WRC-23) ระหว่างวันที่                     20 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม 2566 ณ Dubai World Trade Center นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และหนังสือที่ CL-23/27 ลงวันที่ 5 กันยายน 2566 ขอให้ประเทศสมาชิกที่จะเข้าร่วมการประชุม WRC-23 จัดส่งหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) ซึ่งลงนามโดยผู้นำประเทศ หรือหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                    สาระสำคัญ
                    1. การประชุม WRC-23 จัดขึ้นทุกๆ 3-4 ปี เพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับวิทยุ (Radio Regulations) ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดคลื่นความถี่และการกำกับดูแลการใช้วงโคจรดาวเทียมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ โดยพิจารณาจากผลการศึกษาของ ITU ที่เกี่ยวข้องและข้อเสนอต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ข้อบังคับวิทยุที่แก้ไขปรับปรุงแล้วจะมีผลผูกพันประเทศสมาชิกตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
                    2. สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการประชุม WRC-23 ให้ประเทศสมาชิกต้องส่งเอกสารข้อเสนอ (Proposals) ต่อที่ประชุม WRC-23 ให้ ITU ภายในวันที่ 30 ตุลาคม 2566
                    3. มาตรา 31 แห่งอนุสัญญาของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้ระบุหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะผู้แทนของประเทศสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการประชุม WRC-23 ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของ ITU ว่าจะต้องมีหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) ซึ่งลงนามโดยผู้นำประเทศ หรือหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยให้ระบุเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ผู้แทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (1) มอบอำนาจเต็มให้แก่คณะผู้แทน (2) มอบอำนาจให้คณะผู้แทนเป็นตัวแทนของรัฐโดยไม่มีข้อจำกัด หรือ (3) ให้สิทธิแก่คณะผู้แทนหรือผู้แทนรายใดลงนามในกรรมสารสุดท้าย (Final Acts)
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    1. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นว่า กรรมสารสุดท้ายเป็นเอกสารผลการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม เพื่อรับรอง       (1) ตัวบทของตราสารการแก้ไขข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (2) ข้อมติ และ                  (3) ข้อเสนอแนะ โดยไม่ใช่เป็นการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันของรัฐภาคีต่อการแก้ไขข้อบังคับวิทยุ จึงไม่ใช่หนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับสอดคล้องกับท่าทีของประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากกรรมสารสุดท้ายจะถูกร่างขึ้นในวันสุดท้ายของการประชุม WRC-23 กสทช. จึงยังมิได้เสนอร่างกรรมสารสุดท้ายต่อคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ อย่างไรก็ดีสำหรับการดำเนินการภายในประเทศ กสทช. จะดำเนินการจัดทำตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติให้สอดคล้องตามข้อบังคับวิทยุดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 27 (1) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    2. การเข้าร่วมการประชุม WRC-23 จะเป็นโอกาสในการแสดงบทบาทการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก ITU มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 รวมทั้งเป็นที่ตั้งสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ ITU ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 อีกทั้งที่ผ่านมาประเทศไทยได้แสดงบทบาทในเวทีการประชุมต่าง ๆ และได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมระดับนานาชาติของ ITU หลายครั้ง

23. เรื่อง การประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - ญี่ปุ่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - ญี่ปุ่น ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    การประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - ญี่ปุ่น จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ ?อนาคต 50 ปีข้างหน้าของอาเซียน - ญี่ปุ่น: การออกแบบวิถีสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกัน? เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีแห่งมิตรภาพและความร่วมมืออาเชียน - ญี่ปุ่น โดยมีรัฐมนตรีท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียน และผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยว และหน่วยงานของญี่ปุ่นเข้าร่วม โดยการประชุมฯ จัดขึ้นคู่ขนานกับงานส่งเสริมการขายทางการท่องเที่ยว พ.ศ. 2566 (Tourism Expo Japan 2023) ในวันที่ 26 - 29 ตุลาคม 2566         ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
                    การประชุมหารือฯ ดังกล่าว ได้จัดให้มีการหารือใน 2 ประเด็นหลักด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ (1) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ (2) การแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นโดยรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน และผู้แทนจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น จะแสดงความเห็นต่อประเด็นหลักด้านการท่องเที่ยวดังกล่าว
                    ทั้งนี้ รัฐมนตรีท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกอาเซียน - ญี่ปุ่น จะพิจารณาให้การรับรองร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - ญี่ปุ่น ในวันที่ 28 ตุลาคม 2566 และจะมีการเผยแพร่ถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ ดังกล่าว ภายหลังการประชุมฯ

24. เรื่อง การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยหากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมหรือผู้แทนได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                    ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องนำร่างบันทึกความเข้าใจฯ เสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อให้สามารถลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้ในระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 29 - 30 ตุลาคม 2566
                    สาระสำคัญ
                    1. สืบเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (ในขณะนั้น) ได้หารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมลาวพลาซ่า เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างกัน โดยมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและลาว ในปี พ.ศ. 2563 โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการจัดทำความตกลงด้านวัฒนธรรมระหว่างกันให้ครอบคลุมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนศิลปินแห่งชาติ ศิลปินดีเด่นและบุคลากรทางศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ การแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ และการแลกเปลี่ยนการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดทำร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและนำส่งร่างความตกลงฯ ให้แก่ฝ่ายลาวพิจารณาฝ่านช่องทางการทูต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562
                    2. ในโอกาสการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 1 - 2 มิถุนายน 2565 ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายลาวเร่งรัดการพิจารณาร่างความ    ตกลงดังกล่าว ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า ฝ่ายลาวประสงค์จะปรับความตกลงให้เป็นการลงนามระดับกระทรวงแทนระดับรัฐบาล เนื่องจากการจัดทำความตกลงในระดับรัฐบาลมีหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน และเสนอเปลี่ยนชื่อจากร่างความตกลงเป็นร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้มีการหารืออย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ได้จัดทำร่วมกันแล้วซึ่งมีกรอบระยะเวลา 5 ปี และถือเป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมฉบับแรกระหว่างไทยและลาว
                    3. สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มุ่งเน้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างสองประเทศ และความเข้าใจระหว่างประชาชนให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือในสาขาวัฒนธรรม อาทิ การฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลข่าวสารด้านวัฒนธรรม ตลอดจนความร่วมมือต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของกันและกัน การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพิพิธภัณฑ์วิทยา การก็บรักษาอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ และการค้นคว้าทางโบราณคดี รวมทั้งการดำเนินการร่วมกันต่อต้านการลักลอบค้าวัตถุทางวัฒนธรรม
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การตอบรับของฝ่ายลาวต่อข้อเสนอการจัดทำเอกสารความตกลงในมิติวัฒนธรรมสะท้อนถึงความไว้เนื้อเชื่อใจที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างสองประเทศ และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบและการพัฒนาที่ยั่งยืน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 ? 2569) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งระบุให้ทั้งสองฝ่ายกระชับความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นโดยใช้กลไกการปรึกษาหารือและความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งในการพัฒนาความสัมพันธ์ไทยและลาวต่อไปในอนาคต ผ่านความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม

แต่งตั้ง
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งนางรุ่งรัตนา บุญ-หลง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี     ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งนางสาวจอมขวัญ       กลับบ้านเกาะ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอโอนข้าราชการตำรวจรายพลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (ประเภทบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงยุติธรรม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง นายธนากร คัยนันท์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. (นักบริหารระดับต้น) สำนักงาน ป.ป.ส. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

29. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 285/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 285/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้
                    ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหา                 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)             รับไป ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อมา       จึงมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 393/2563 สั่ง ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  และให้รายงานการปฏิบัติงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ นั้น
                    เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับกฎหมาย และกฎระเบียบของราชการ อันต้องอาศัยการอำนวยความสะดวกจากภาครัฐ และการประสานงานกับหน่วยงานรัฐ และรัฐยังจำเป็นต้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน                 พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐนตรี ที่ 393/2563 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2563 และมีคำสั่งดังต่อไปนี้
                    ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
ประกอบด้วย
                    (1) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ                              ประธาน
                        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
                    (2) นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ                              กรรมการ
                         รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
                    (3) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา                    กรรมการ
                    (4) ปลัดกระทรวงการคลัง                                        กรรมการ
                    (5) ปลัดกระทรวงคมนาคม                              กรรมการ
                    (6) ปลัดกระทรวงยุติธรรม                                        กรรมการ
                    (7) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ                    กรรมการ
                        นโยบายรัฐวิสาหกิจ
                    (8) นายพิชิต อัคราทิตย์                                        กรรมการ
                    (9) นายวรวิทย์ จำปีรัตน์                                        กรรมการ
                    (10) นายโชติชัย เจริญงาม                              กรรมการ
                    (11) นายพิชิต ชื่นบาน                                        กรรมการ
                    (12) พลตำรวจเอก วิสนุ ปราสาททองโอสถ                    กรรมการ
                    (13) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน          กรรมการและเลขานุการ
                          การขนส่งและจราจร
                    ข้อ 2 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
                    (1) เป็นตัวแทนภาครัฐในการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งศาล และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง
                     (2) ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ  แก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทยจำกัด (มหาชน) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ และอำนาจของภาครัฐโดยไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาของศาล
                    (3) กลั่นกรอง ตรวจสอบ และประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์แก่กระบวนการพื้นฟูกิจการ และการดำเนินกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่มีการร้องขอ และไม่ขัดต่อกฎหมาย
                    (4) เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้แทนหน่วยงานเอกชน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ
                    (5)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                    (6) รายงานการปฏิบัติงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ
                    ข้อ 3 คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานเฉพาะเรื่องได้
                    ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานได้รับเบี้ยประชุม หรือค่าใช้จ่าย
ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
          ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ