สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มีนาคม 2567

ข่าวการเมือง Wednesday March 20, 2024 09:47 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 19 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ณ หอประชุมพญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง                                         การจัดตั้งภาคกลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่ม                                                  จังหวัด
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย                                                  การยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนที่                                                  กระทรวงสาธารณสุขจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับ                                        การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก                                                            กระทรวงการคลัง)
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ-สังคม
                    4.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะ                                                  แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ? 2571
                    5.           เรื่อง           ขออนุมัติเพิ่มวงเงินงบประมาณ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง                                                   สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา จำนวน 14 ตอน และขยายระยะเวลาก่อ                                        หนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพิ่มเติม โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง                                         สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา จำนวน 10 ตอน ของกรมทางหลวง
                    6.           เรื่อง           การดำเนินงานโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง
                    7.           เรื่อง           สรุปผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ

ตอนบน 2

                    8.           เรื่อง           ผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ                                        ตอนบน 2 (พะเยา เชียงราย น่าน และแพร่) เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567

และวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567 ต่างประเทศ

                    9.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับ                                                  กระทรวงกลาโหมแห่งสาธารณรัฐเช็กว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร
                    10.           เรื่อง           ร่างแผนการความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร (Thailand                                         - UK Strategic Partnership Roadmap)
                    11.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรี                                                  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 31 (Joint Statement of the                                                   Thirty - First ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council)
แต่งตั้ง
                    12.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    13.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงวัฒนธรรม)
?

กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค               กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.บ. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดจำนวน 18 กลุ่มจังหวัด ในพื้นที่ 6 ภาค และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง1 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 โดยกำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 และกำหนดบทเฉพาะกาลตามมาตรา 592 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 (มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565) จึงทำให้ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปอีก 2 ปีจนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2567
                    2. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ ก.น.บ. พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดเพื่อร่วมกันบูรณาการเชิงพื้นที่ในการพัฒนา การปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณในโครงการที่กลุ่มจังหวัดจะได้ประโยชน์ร่วมกันหรือเพื่อใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และมาตรา 36 บัญญัติให้ ก.น.บ. พิจารณาจัดตั้งภาคเพื่อให้ราชการส่วนกลาง จังหวัด กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐร่วมกันบูรณาการเชิงพื้นที่ในการพัฒนา การปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.บ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การบริหารงานและการพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาคเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดการบูรณาการการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกัน ทั้งการปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ จึงได้ยกร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด                  ขึ้นโดยการกำหนดภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ยังคงเป็นไปตามหลักการแบ่งกลุ่มของประกาศ ก.น.จ. ฉบับเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับการบริหารจัดการและการบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัด โดยแบ่งเป็นภาค จำนวน 6 ภาค3 และกลุ่มจังหวัดจำนวน 18 กลุ่มจังหวัด ซึ่งการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวพิจารณาจากการรวมกลุ่ม การพัฒนาเชิงพื้นที่ในภาพรวม ซึ่งมีความใกล้เคียงกันทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม เช่น ศาสนา วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ และความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก เช่น นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การพัฒนาเชิงพื้นที่มีทิศทางที่ชัดเจน และสอดคล้องกับบริบท/ศักยภาพของพื้นที่โดยรวมและมีการบูรณาการการทำงานและการจัดทำงบประมาณ                        เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยให้ราชการส่วนกลาง จังหวัด กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ ร่วมกันบูรณาการเชิงพื้นที่ในการพัฒนาการปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณ
                    3. ในคราวประชุม ก.น.บ. ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว และมอบหมายให้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.บ. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป


                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด โดยจัดตั้ง               ภาค จำนวน 6 ภาค กลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
รายการ          รายละเอียด
1. ภาคเหนือ 4 กลุ่มจังหวัด (17 จังหวัด)
          1.1 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


          1.2 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2


          1.3 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1


          1.4 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2          ? จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน โดยให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ โดยให้จังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี โดยให้จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 กลุ่มจังหวัด (20 จังหวัด)
          2.1 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1

          2.2 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 2
          2.3 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนกลาง

          2.4 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1

          2.5 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2          ? จังหวัดอุดรธานี จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู โดยให้จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยให้จังหวัดสกลนครเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยให้จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ โดยให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอำนาจเจริญ โดยให้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
3. ภาคกลาง 4 กลุ่มจังหวัด (17 จังหวัด)
          3.1 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน



          3.2 กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล


          3.3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1


          3.4 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2          ? จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง โดยให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็น                     ศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ โดยให้จังหวัดนครปฐมเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยให้จังหวัดราชบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์                        จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทราสาคร โดยให้จังหวัดเพชรบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
4. ภาคตะวันออก 2 กลุ่มจังหวัด (8 จังหวัด)
          4.1 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1

          4.2 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2          ? จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง โดยให้จังหวัดชลบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระแก้ว โดยให้จังหวัดปราจีนบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
5. ภาคใต้ 2 กลุ่มจังหวัด (11 จังหวัด)
          5.1 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย


          5.2 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน          ? จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา โดยให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
? จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล โดยให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
6. ภาคใต้ชายแดน 1 กลุ่มจังหวัด (3 จังหวัด)
          6.1 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน          ? จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี โดยให้จังหวัดยะลาเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
1 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ                     พ.ศ. 2551 บัญญัติให้ ก.น.จ. พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2 มาตรา 59 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 บัญญัติให้บรรดาประกาศ หลักเกณฑ์ แนวทาง มติ หรือคำสั่ง ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลอยู่ในวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้จนกว่าจะมีการออกประกาศ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ แนวทาง มติ หรือคำสั่งตาม               พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ
3 ภาค พิจารณาจากหลักการ ดังนี้ (1) ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ โดยพิจารณาจากจังหวัดที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันและมีลักษณะภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกัน (2) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีโครงสร้างเศรษฐกิจ ศักยภาพ และประเด็นการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันในลักษณะ Cluster มีระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Regional Product: GRP) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานะการพัฒนาและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคได้ รวมทั้งมีสภาพสังคมที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ศาสนา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ และ (3) ปัจจัยด้านนโยบายการพัฒนาพื้นที่และความมั่นคงของประเทศ

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนที่กระทรวงสาธารณสุขจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนที่กระทรวงสาธารณสุขจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                  ตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้าแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                      1. กค. ได้มีมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนที่จ่ายให้เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ไม่ต้องนำค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รวม 3 ฉบับ ดังนี้
ปีภาษี          กฎกระทรวง          ค่าตอบแทนที่ได้รับยกเว้นภาษี
2563          กฎกระทรวง ฉบับที่ 366 (พ.ศ. 2563) ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร          ? ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
? ค่าตอบแทนในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ และสาธารณสุขเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
2564          กฎกระทรวง ฉบับที่ 378 (พ.ศ. 2564) ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร          ? ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
? ค่าตอบแทนในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และ บุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
? ค่าตอบแทนในการให้บริการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานให้บริการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นอกสถานพยาบาลตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
2565          กฎกระทรวง ฉบับที่ 388 (พ.ศ. 2566) ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
                      2. ในปีภาษี 2566 สธ. ยังคงมีการจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการเบิกจ่ายเงินสำหรับค่าตอบแทนดังกล่าวของ สธ. ซึ่งได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงิน 986.45 ล้านบาท และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2565 จำนวนเงิน 2,995.96 ล้านบาท
                     3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อเป็นการให้ขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เห็นควรขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค. โดยเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ออกไปอีก 1 ปีภาษี โดยการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.)
                     4. กค. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้วเห็นว่ารายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค. ไม่อยู่ในประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ อย่างไรก็ดี หากมิได้กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนดังกล่าว จะสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ประมาณ 200 ล้านบาท โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากมาตรการนี้ จะเป็นการช่วยให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการบรรเทาภาระภาษีและมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. กำหนดให้เงินได้ดังต่อไปนี้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้
                               1.1 ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่ง สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
                               1.2 ค่าตอบแทนในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่ง สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
                               1.3 ค่าตอบแทนในการให้บริการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่ง สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้บริการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นอกสถานพยาบาลตามที่ได้รับอนุญาต                จาก กค.
                     2. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ.2566

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้พิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการประมง ตลอดจนพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                      1. ปัจจุบันกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ การโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ การโอนใบอนุญาตในลักษณะควบรวมปริมาณสัตว์น้ำ การแก้ไขรายการในใบอนุญาต และการยกสิทธิการทำการประมง โดยกรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดห้วงเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ สำหรับปีการประมง 2567 - 2568 พ.ศ. 2567 กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ สำหรับปีการประมง 2567 - 2568 มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ตั้งแต่วันที่ 1 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สถานที่ที่กำหนด (ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์มีอายุ 2 ปี ซึ่งจะสิ้นอายุทั้งหมดในวันที่ 31 มีนาคม 2567) ซึ่งในข้อ 5 ของประกาศฯ กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์                 ต้องแสดงหรือแนบเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ ประกอบกับกฎกระทรวงฯ ข้อ 6 (9) กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ตามมาตรา 98 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 (สร. 3) ประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
                      2. ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในแต่ละรอบปีการประมงจะมีเรือประมงที่ไม่ได้รับอนุญาตทำให้ไม่สามารถออกทำการประมงได้ หรือได้รับใบอนุญาตแต่ไม่สามารถออกทำการประมงได้อันเกิดจากปัจจัยบางประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจราคาสัตว์น้ำที่ตกต่ำ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน รวมถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการไม่คุ้มทุนในการออกทำประมง และเมื่อไม่มีการออกเรือก็มิได้ปรับปรุงหรือดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม จึงทำให้สภาพเรือไม่มีความพร้อม ไม่เหมาะสม และไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่จะได้รับหนังสือ สร. 3 ซึ่งกรมประมงได้พิจารณาทบทวนเห็นว่า วัตถุประสงค์ของการออกหนังสือ สร. 3 เป็นการกำหนดให้มีมาตรฐานในการจับ การดูแลสัตว์น้ำ                 การแปรรูป การขนส่ง รวมถึงการขนถ่าย ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค หนังสือ สร. 3 จึงเป็นเอกสารรับรองความพร้อมของเรือประมงในการออกทำการประมง ไม่ใช่เอกสารที่รับรองสิทธิในขอรับใบอนุญาตซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวประมงและการใช้ทรัพยากร ดังนั้น จึงเห็นควรให้ตัด ข้อ 6 (9) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงตามมาตรา 98 ออก นอกจากนี้ ปัจจุบันกฎกระทรวงฯ                    พ.ศ. 2562 ยังมีความไม่สอดคล้องกับบริบทการทำการประมงของชาวประมงในปัจจุบัน ประกอบกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือขอให้ยกเลิก แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2562 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีบัญชามอบหมายให้                    กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
                     3. กษ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. .... ขึ้น มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงการขออนุญาต และการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2562 และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์และการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์ การโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์และใบอนุญาตในลักษณะควบรวมปริมาณสัตว์น้ำ การแก้ไขรายการในใบอนุญาต การยกสิทธิการทำการประมงให้ผู้รับใบอนุญาตรายอื่น และกำหนดหลักเกณฑ์การทดแทนเรือประมง ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ผ่านระบบกลางกฎหมาย http://www.law.go.th ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2566 และเวทีการประชุม               ณ กรมประมง เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 และวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ด้วยแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2562
                     2. กำหนดให้กรณีผู้ขออนุญาตได้ยื่นคำขอไว้ตามห้วงเวลาที่กำหนดและไม่ได้รับใบอนุญาตทำการประมง เนื่องจากผู้ขออนุญาตหรือเรือประมงมีลักษณะต้องห้ามที่จะได้รับใบอนุญาตทำการประมง และต่อมาภายหลังลักษณะต้องห้ามได้สิ้นสุดลงแล้ว ให้พิจารณาออกใบอนุญาตเพิ่มเติมได้ และกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมและค่าอากรได้ไม่เกิน 90 วัน (เดิม ไม่ได้กำหนดการขยายระยะเวลาการชำระ) นับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้ขออนุญาตชำระค่าธรรมเนียมและค่าอากร เนื่องจากผู้ขออนุญาตไม่สามารถมาชำระค่าธรรมเนียมและค่าอากรการประมงได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
                     3. กำหนดให้นำเรือประมงลำอื่นมาทดแทนได้ กรณีเรือลำเดิมที่ได้รับอนุญาต จม ไฟไหม้ อันเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนทะเบียนเรือไทย (เดิม กำหนดเฉพาะเหตุเรือประมงชำรุดทรุดโทรม)
                      4. กำหนดให้สามารถเพิ่มเครื่องมือทำการประมงภายหลังได้รับใบอนุญาตทำการประมง โดยให้การขอเพิ่มเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด
                     5. กำหนดให้การขอรับโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ให้สามารถดำเนินการได้ในกรณีผู้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นเจ้าของเรือเดิมเสียชีวิต (กำหนดขึ้นใหม่)
                     6. กำหนดให้ลดเอกสารบางรายการที่หน่วยงานรัฐสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ระหว่างหน่วยงานและไม่เกี่ยวข้องกับการขอรับอนุญาต เช่น หนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงตามความในมาตรา 98 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อลดภาระให้ชาวประมง
                     7. กำหนดให้กรณีที่ไม่สามารถทำการประมงในพื้นที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำการประมง ให้ขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทำการประมงได้ โดยขนาดของเรือและเครื่องมือทำการประมงที่จะอนุญาตให้เปลี่ยนพื้นที่การทำการประมงต้องไม่มีผลกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำสูงสุดที่สามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะไปทำการประมง และเป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด




เศรษฐกิจ-สังคม
4. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ? 2571
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา                      คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (แผนอัตรากำลังโรงพยาบาลฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 จำนวน 731 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 208.08 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                      ทั้งนี้ แผนอัตรากำลังฯ จะส่งผลต่อการเพิ่มอัตรากำลังและบุคลากร และภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต จึงเห็นควรที่มหาวิทยาลัยพะเยาจะพิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็นตามภารกิจหลัก อย่างประหยัด และคุ้มค่า และคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จ่าย โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างยั่งยืน ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ                   พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                      อว. รายงานว่า
                     1. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นโรงพยาบาลขนาด 56 เตียง ได้เปิดให้บริการรักษาพยาบาลแผนก ผู้ป่วยนอก (ในเวลาราชการ) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 และให้บริการแผนกผู้ป่วยนอก (นอกเวลาราชการ) แผนกผู้ป่วยใน และแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 โดยเปิดให้บริการรักษาพยาบาลอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทางจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ พบว่าปี 2561-2564 มีผู้เข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโรงพยาบาลได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางการให้บริการระบาดวิทยา และเป็นโรงพยาบาลสนามที่รองรับโรคระบาด เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติ เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และมีหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ชุมชนในจังหวัดภาคเหนือตอนบนสำหรับสาขาที่เปิดให้บริการ ได้แก่ เวชปฏิบัติทั่วไป จักษุวิทยา อายุรกรรม แพทย์แผนไทยประยุกต์ จิตเวชศาสตร์ กายภาพบำบัด ศัลยกรรมกระดูก ระบบทางเดินหายใจ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน คลินิกอายุรกรรม ประสาทและสมอง กุมารเวชกรรม รังสีวิทยา ศัลยกรรม ศูนย์ตรวจสุขภาพ และโสต ศอ นาสิก โดยในปี 2565 มีผู้เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 58,130 คน แผนกผู้ป่วยใน จำนวน 1,376 คน และมีเตียงผู้ป่วยสามัญ ผู้ป่วยพิเศษ และผู้ป่วยวิกฤต รวม 56 เตียง
                     2. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยามุ่งเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ1 ขนาด 400 เตียง โดยมีแผนการพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ปีงบประมาณ พ.ศ.          การดำเนินการตามแผนพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา
2568-2571
          ขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง [โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1)]2
2571-2575          ขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง [โรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S (Standard-level Hospital)]2
ซึ่งเป็นไปตามประกาศแพทยสภาที่ 97/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดดำเนินการหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิตและรับรองสถาบันผลิตแพทย์ (สำหรับสถาบันเปิดดำเนินการใหม่) พ.ศ. 2565 ที่ระบุว่า โรงพยาบาลหลักหรือสถานฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกหลักจะต้องเป็นโรงพยาบาล ระดับไม่ต่ำกว่าโรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S ขนาด 300 เตียงขึ้นไป ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมหาวิทยาลัยพะเยาเคยได้รับการประเมินด้านศักยภาพการพัฒนาจัดตั้งโรงพยาบาลจาก สธ. ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและการให้บริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
                     3. ปัจจุบันโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นโรงพยาบาลขนาด 56 เตียง โดยมีอัตรา                       กำลังบุคลากรทางการแพทย์ (อัตรากำลังฯ) จำนวน 185 อัตรา แบ่งเป็น 5 ฝ่าย ดังนี้



ฝ่าย          อัตรากำลังฯ (คน)
สายวิชาการ          3
การบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ : งานด้านการแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่ นายแพทย์           3
สายสนับสนุน          182
(1) อำนวยการ : งานด้านบริหารทั่วไป การเงินและบัญชี แผนและพัสดุ และโครงสร้างพื้นฐาน และวิศวกรรมทางการแพทย์           34
(2) การบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ : งานด้านเภสัชกรรม เทคนิคการแพทย์ รังสีวิทยา สหเวชกรรมฟื้นฟู และศูนย์บริการธาลัสซีเมีย           18
(3) การพยาบาล : งานด้านการพยาบาลผู้ป่วยประเภทต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ห้องคลอด ผู้ป่วยวิกฤต          111
(4) บริการปฐมภูมิและสร้างเสริมสุขภาพ : งานปฐมภูมิและสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วยคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คลินิกแพทย์แผนจีน และงานโภชนาการ           7
(5) พัฒนาและสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ : งานประกันสุขภาพ งานเวชระเบียนและเวชสถิติ และงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน           12
รวม          185
                     4. อัตรากำลังของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา (ตามข้อ 3.) มีไม่เพียงพอต่อภารกิจการบริการสุขภาพและไม่สอดคล้องกับจำนวนคนไข้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเพื่อให้สามารถรองรับการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ                  ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยพะเยา และพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น อว. (มหาวิทยาลัยพะเยา) จึงได้จัดทำแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 โดยขอรับจัดสรรอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 731 อัตรา งบประมาณรวม 208.08 ล้านบาท เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                                4.1 วัตถุประสงค์
                                         (1) ขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1 ขนาด 200 เตียง ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 เพื่อรองรับการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและ               การขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S
                                          (2) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของเขตสุขภาพที่ 1 ในเขตพื้นที่ล้านนาตะวันออก (จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา) เป็นหน่วยให้บริการที่เป็นโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับสูง รวมทั้งพัฒนาเรื่องต่าง ๆ เช่น ระบบบริการสุขภาพด้านอุบัติเหตุฉุกเฉิน การดูแลผู้สูงอายุในเขตบริการ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและระบบการส่งต่อเพื่อลดความแออัดในเขตสุขภาพที่ 1
                                         (3) พัฒนาศูนย์การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อรองรับการเป็นสถานฝึกปฏิบัติการในชั้นคลินิกสำหรับนิสิตแพทย์มหาวิทยาลัยพะเยาให้มีศักยภาพ สามารถใช้เป็นแหล่งฝึกบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนทั้งก่อนปริญญาและหลังปริญญา
                                         (4) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ เช่น ศูนย์ตรวจสุขภาพ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง
                               4.2 อัตรากำลังที่เสนอขอตั้งใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 จำนวน                   731 อัตรา (พนักงานมหาวิทยาลัย) เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 208.08 ล้านบาท โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          อัตรากำลัง (คน)          เงินเดือนเริ่มต้น3      (ล้านบาท)          เงินเพิ่มพิเศษวิชาชีพ (พ.ต.ส.)3 (ล้านบาท)          งบประมาณ      (ล้านบาท)
2568          166          43.61          4.22          47.83
2569          206          56.57          5.13          61.70
2570          166          42.65          2.61          45.26
2571          193          50.00          3.28          53.28
รวม          731          192.83          15.25          208.08
หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง
                              4.3 แผนความต้องการอัตรากำลังของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ? 2571 สรุปได้ ดังนี้

รายละเอียด          จำนวนเตียง (สะสม)          อัตรากำลัง
ที่เสนอขอครั้งนี้ (คน)          งบประมาณ (ล้านบาท)
                    วิชาการ          สนับสนุน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ได้แก่
(1) บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 300 คนต่อวัน
(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 30 คนต่อวัน
(3) บริการผู้ป่วยใน จำนวน 92 เตียง (ไม่รวมห้องผ่าตัด ห้องคลอดและไตเทียม)
โดยจะเปิดบริการเพิ่มเติม เช่น
(1) ภาควิชาอายุรศาสตร์ : บริการคลินิก HIV/บริการคลินิกชะลอไตเสื่อม/บริการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 10 เครื่อง/บริการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร
(2) ภาควิชาศัลยศาสตร์ : บริการผ่าตัดทางศัลยศาสตร์ ผ่าตัดทางกล้อง/บริการล้างไตทางช่องท้อง/บริการให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งศัลยศาสตร์ และมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ           36
สะสม
(92)
(ปัจจุบัน          มี 56 เตียง)          27          139          47.83
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ได้แก่
(1) บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 400 คนต่อวัน
(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 40 คนต่อวัน
(3) บริการผู้ป่วยใน จำนวน 164 เตียง (ไม่รวมห้องผ่าตัด ห้องคลอดและไตเทียม)
โดยจะเปิดบริการเพิ่มเติม เช่น
(1) ภาควิชาอายุรศาสตร์ : ขยายบริการหอผู้ป่วย ICU จาก 4 เตียง เป็น 16 เตียง/บริการคลินิกอายุรศาสตร์โรคมะเร็ง/บริการคลินิกอายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหาร
(2) ภาควิชาศัลยศาสตร์ : ขยายบริการ          72
สะสม
(164)          35
สะสม
(62)          171
สะสม
(310)          61.70
สะสม
(109.54)
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 ได้แก่
(1) บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 600 คนต่อวัน
(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 60 คนต่อวัน
(3) บริการผู้ป่วยใน จำนวน 208 เตียง (ไม่รวมห้องผ่าตัด ห้องคลอดและไตเทียม)
โดยจะเปิดบริการเพิ่มเติม เช่น
(1) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ : ขยายบริการหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก/บริการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
(2) ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู : บริการคลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู          44
สะสม
(208)          12
สะสม
(74)          154
สะสม
(464)          45.26
สะสม
(154.79)
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2571 ได้แก่
(1) บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 700 คนต่อวัน
(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 70 คนต่อวัน
(3) บริการผู้ป่วยใน จำนวน 264 เตียง (ไม่รวมห้องผ่าตัด ห้องคลอดและไตเทียม)
โดยจะเปิดบริการเพิ่มเติม ได้แก่ ภาควิชาอายุรศาสตร์ : บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว           56
สะสม
(264)          12
สะสม
(86)          181
สะสม
(645)          53.28
สะสม
(208.08)
รวม          264          731          208.08
หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง
                               4.4 แผนความต้องการอัตรากำลังของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา จำแนกตามฝ่ายต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้




ฝ่าย          แผนปี 2568          แผนปี 2569          แผนปี 2570          แผนปี 2571          แผนภาพรวม       ปี 2568-2571
          อัตรากำลังฯ (คน)          เงินเดือน+เงินอื่น4 (ล้านบาท)          อัตรากำลังฯ (คน)          เงินเดือน+เงินอื่น4 (ล้านบาท)          อัตรากำลังฯ (คน)          เงินเดือน+เงินอื่น4 (ล้านบาท)          อัตรากำลังฯ (คน)          เงินเดือน+เงินอื่น4 (ล้านบาท)          อัตรากำลังฯ (คน)          งบประ มาณ สะสม 4 ปี (ล้านบาท)
สายวิชาการ
ฝ่ายบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เช่น นายแพทย์ ทันตแพทย์           27          14.81          35          19.19          12          6.58          12          6.58          86          47.16
สายสนับสนุน
(1) ฝ่ายอำนวยการ เช่น นิติกร วิศวกร นักวิชาการและบัญชี นักประชาสัมพันธ์ พนักงานขับรถยนต์            26          6.34          48          12.38          25          6.29          20          5.05          119          30.07
(2) ฝ่ายบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เช่น เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ เจ้าพนักงานเภสัชกร ผู้ช่วยทันตแพทย์           20          5.29          56          14.48          40          10.50          38          10.42          154          40.68
(3) ฝ่ายการพยาบาล เช่น พยาบาล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ ผู้ช่วยพยาบาล           85          19.56          56          12.96          76          18.86          114          29.24          331          80.62
(4) ฝ่ายบริการปฐมภูมิและสร้างเสริมสุขภาพ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุข           0          0          5          1.30          4          1.03          2          0.54          11          2.87
(5) ฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ เช่น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักเวชสถิติ เจ้าพนักงานเวชระเบียน           8          1.83          6          1.40          9          1.99          7          1.45          30          6.67
รวม          166          47.83          206          61.70          166          45.26          193          53.28          731          208.08
หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง
                     5. ประโยชน์และผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับ
                                5.1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา สามารถรองรับผู้รับบริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในแต่ละปีภายใต้ความร่วมมือของโรงพยาบาลในเขตพื้นที่                   5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา แพร่ น่าน เชียงราย และลำปาง ดังนี้
ประเภทผู้รับบริการ          เป้าหมายการให้บริการด้านสุขภาพในแต่ละปี (คน)
          25655 (ปัจจุบัน)          2568          2569          2570          2571
ผู้ป่วยนอก          58,130          75,000          100,000          150,000          175,000
ผู้ป่วยใน          1,376          2,500          3,600          4,800           5,600
                               5.2 มหาวิทยาลัยพะเยาสามารถยกระดับเพื่อรองรับการเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในโรงพยาบาล โดยสามารถผลิตนิสิตในระบบวิทยาศาสตร์สุขภาพ (คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์) ปีการศึกษา 2568-2571 ดังนี้
คณะต่าง ๆ                         ในระบบวิทยาศาสตร์สุขภาพ          เป้าหมายการรับนิสิตในแต่ละปีการศึกษา (คน)
          2568          2569          2570          2571
คณะแพทยศาสตร์          80          92          92          92
คณะทันตแพทยศาสตร์           30          45          45          45
คณะพยาบาลศาสตร์          180          180          180          180
คณะเภสัชศาสตร์          180          180          180          180
คณะสหเวชศาสตร์          155          155          155          155
คณะสาธารณสุขศาสตร์           410          410          410          410
รวมทั้งสิ้น          1,035          1,062          1,062          1,062
                     6. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลฯ แล้ว เห็นว่า แผนความต้องการอัตรากำลังฯ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาขีดความสามารถ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น (1) ควรทบทวนภารกิจของหน่วยงานให้สอดคล้องกับภาระงาน เช่น การขยายสถานที่บริการ ควรฝึกวิชาชีพเฉพาะทางหลักสูตรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น (2) ควรวิเคราะห์ปริมาณงานเฉลี่ย (3) การของบประมาณตามแผนความต้องการอัตรากำลังฯ ควรคำนึงถึงภาระผูกพันในการจัดสรรงบประมาณด้านบุคลากรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยพะเยาได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระยะเวลาการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณเพื่อรองรับการขอเพิ่มอัตรากำลังดังกล่าวไม่สอดคล้องกับระยะเวลาการขอรับจัดสรรงบประมาณในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยพะเยาจึงได้ปรับระยะเวลาของแผนอัตรากำลังฯ จากเดิมปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2569 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571
1 โรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ คือ โรงพยาบาลทั่วไปหรือหน่วยบริการอื่น ๆ ทั้งหน่วยบริการของภาครัฐและเอกชน ซึ่งภารกิจของหน่วยบริการจะมีขอบเขตการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางสาขาต่อยอด เช่น สาขาต่อยอดของอายุรศาสตร์ สาขาต่อยอดของศัลยกรรม
2 หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดการจัดระดับของหน่วยบริการสุขภาพและโรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ โดยแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ เช่น (1) โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) หมายถึง โรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญ จึงประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลักทุกสาขา และสาขารองที่จำเป็น โดยกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยระดับกลางและเป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียง ตั้งแต่ 150 เตียงขึ้นไป (2) โรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S หมายถึง โรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญเฉพาะ จึงประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาหลัก สาขารอง และสาขาย่อยบางสาขา โดยกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยระดับมาตรฐาน และเป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียง 300 เตียงขึ้นไป
3 อว. แจ้งว่า เงินเดือนเริ่มต้นอ้างอิงจากหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/ว20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 [เรื่อง การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง] โดยใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณเงินเดือนแต่ละตำแหน่ง (เช่น ตำแหน่งนายแพทย์ คิดจากเงินเดือนแรกบรรจุตามที่ ก.พ. กำหนด คือ 21,000 บาทต่อเดือน x 1.7 เท่าของเงินเดือนแรกบรรจุ [เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542] ทำให้เงินเดือนตำแหน่งนายแพทย์ที่เสนอในครั้งนี้เท่ากับ 35,700 บาทต่อเดือน) สำหรับข้อมูลอัตราเงิน พ.ต.ส. เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของตำแหน่งนิติกรและผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข พ.ศ. 2565
4 เงินอื่น คือ เงิน พ.ต.ส.
5 อว. แจ้งว่า จำนวนผู้รับบริการในปี 2565 เป็นข้อมูลปัจจุบันสำหรับการดำเนินการในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านสุขภาพในปี 2566 ประกอบด้วย ผู้ป่วยนอก จำนวน 65,442 คน และผู้ป่วยใน จำนวน 1,729 คน

5. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินงบประมาณ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา จำนวน 14 ตอน และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพิ่มเติม โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา จำนวน 10 ตอน ของกรมทางหลวง
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวง (ทล.) เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา จำนวน 14 ตอน ตามปริมาณงานและวงเงินค่างานจริง ซึ่งไม่เกินกรอบวงเงินที่สำนักงบประมาณได้พิจารณาให้ความเห็นชอบไว้แล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 และอนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จำนวน 10 ตอน ตามนัยข้อ 7 (3) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ ทล. ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยการดำเนินการจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ทั้งนี้ สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ได้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รองรับไว้ ให้ ทล. ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบริหารวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ สำหรับภาระงบประมาณส่วนที่คงขาดอยู่ให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รองรับตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

                      ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา (โครงการฯ) แบ่งเป็นจำนวน 40 ตอน ปัจจุบันมีงานก่อสร้าง 16 ตอนที่พบปัญหาและจำเป็นต้องแก้ไขรูปแบบการก่อสร้าง ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านวิศวกรรมเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมในการแก้ไข เปลี่ยนแปลงรูปแบบก่อสร้างและได้ข้อยุติว่าการปรับรูปแบบของโครงการฯ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิศวกรรมแล้ว โดยการปรับรูปแบบของโครงการฯ ส่งผลให้ค่าก่อสร้างงานโยธาเพิ่มขึ้นจากค่างานตามสัญญาจากเดิม 59.410.2475 ล้านบาท เป็น 66,165.9010 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจำนวน 6,755.6535 ล้านบาท) ซึ่งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มวงเงินงบประมาณเฉพาะในส่วนของงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 12 ตอน วงเงิน 4,970.7107 ล้านบาท (คงเหลือที่ต้องขอคณะรัฐมนตรีอนุมัติจำนวน 1,784.9429 ล้านบาท) พร้อมทั้งให้ ทล. ตรวจสอบงานก่อสร้างในส่วนที่ดำเนินการก่อสร้างไปก่อนการแก้ไขสัญญาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2566 ทล. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบงานโครงการฯ ในส่วนของงานก่อสร้างที่ได้ดำเนินการก่อสร้างก่อนลงนามในสัญญาแก้ไขดังกล่าว (ซึ่งยังไม่มีการจ่ายค่างานในส่วนที่ดำเนินการไปก่อน) จำนวน 14 ตอน พบว่า มีงานก่อสร้างบางตอนที่วงเงินลดลง (จากเดิมวงเงินรวม 1,784.9429 ล้านบาท เป็นวงเงินรวม 1,740.9882 ล้านบาท ซึ่งเป็นข้อเสนอในครั้งนี้) ทั้งนี้ การเพิ่มค่างานของทั้ง 16 ตอน จะทำให้กรอบวงเงินค่างานก่อสร้างของทั้งโครงการฯ รวม 40 ตอน เพิ่มขึ้นจากเดิม 59,410.2475 ล้านบาท เป็น 66,121.9464 ล้านบาท แต่ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวงเงินค่างานก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 (69,970 ล้านบาท)
                     อนึ่ง คค. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเพิ่มวงเงินงบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณ ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา จำนวน 14 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ตอนที่ 5 ตอนที่ 6 ตอนที่ 17 ตอนที่ 18 ตอนที่ 19 ตอนที่ 20 ตอนที่ 21 ตอนที่ 23 ตอนที่ 24 ตอนที่ 32 และตอนที่ 39 วงเงิน 1,740.9882 ล้านบาท
                      และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ (ก่อหนี้                ผูกพันฯ) ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา จำนวน 10 ตอน ดังนี้
           1) ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันฯ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2563 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2568 จำนวน 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 3 ตอนที่ 6 ตอนที่ 17 และตอนที่ 32
           2) ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันฯ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2566 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2568 จำนวน 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 5 ตอนที่ 20 และตอนที่ 24
                       3) ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันฯ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2567 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2568 จำนวน 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 18 ตอนที่ 19 และตอนที่ 39

6. เรื่อง การดำเนินงานโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง และมอบหมายให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)  รับไปตั้งคณะทำงานพิจารณารายละเอียดและงบประมาณอีกครั้ง  ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                   สทบ. รายงานว่า
                   1. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง1 (กองทุนหมู่บ้านฯ) เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนสำหรับสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในด้านการประกอบอาชีพ ด้านการผลิต การแปรรูปและการบริการของประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหมู่บ้านและชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจ้างแรงงาน การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ในหมู่บ้านและชุมชนโดยมุ่งเน้นทั้งภาคการผลิต การแปรรูป การจำหน่าย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านและชุมชน สร้างโอกาสให้ประชาชน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยการมอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง
                   2. สทบ. ได้มีการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพเลี้ยงโคของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สมาชิกกองทุนฯ) อย่างต่อเนื่องโดยมีการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ 3 โครงการ ได้แก่
                             2.1 โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านฯ พื้นที่ต้นแบบจังหวัดสุโขทัย ระยะที่ 1 (ไม่ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ) เป็นผลมาจาก กทบ. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบและอนุมัติโครงการดังกล่าว ซึ่งกำหนดเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนฯ เลี้ยงโค จำนวน 1,000 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 2 ตัว วงเงินครัวเรือนละ 50,000 บาท สนับสนุนงบประมาณเพื่อการกู้ยืมปลอดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 5 ปี ภายในวงเงินงบประมาณ 50 ล้านบาท งบบริหารโครงการวงเงินงบประมาณ 5 ล้านบาท รวมวงเงินงบประมาณ 55 ล้านบาท โดยเจียดจ่ายจากงบบริหารโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน2
                             2.2 โครงการโคล้านครอบครัว [คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 มีนาคม 2566) เห็นชอบในหลักการโครงการ] โดย กทบ. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการโครงการโคล้านครอบครัว โดยดำเนินการภายใต้สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินงบประมาณรวม 5,000 ล้านบาท ให้สินเชื่อแก่กองทุนหมู่บ้านฯ สำหรับให้สมาชิกกองทุนฯ กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ จำนวน 100,000 ครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. ตามต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้นจริง อัตราร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลา 4 ปี (ในช่วงระหว่างปี 2567 - 2570) และอนุมัติให้ สทบ. ใช้งบประมาณจากโครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านฯ ระยะที่ 3 จำนวน 350 ล้านบาท เพื่อชดเชยต้นทุนทางการเงินให้ ธ.ก.ส. และงบบริหารโครงการ
                             2.3 โครงการโคเงินล้าน (ไม่ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ) โดย กทบ. ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 มีมติเห็นชอบและอนุมัติโครงการ ?โคเงินล้าน? นำร่อง ระยะที่ 1 กำหนดเป้าหมายดำเนินการในการส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนฯ เลี้ยงโค จำนวน 400 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 50,000 บาท วงเงินงบประมาณ 20 ล้านบาท และงบบริหารโครงการ วงเงินงบประมาณ 5 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณจากรายได้สะสมของ สทบ. วงเงินงบประมาณ 25 ล้านบาท
                   3. สทบ. แจ้งว่า จากการดำเนินงานโครงการเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพเลี้ยงโคของ สทบ. ที่ผ่านมา พบปัญหาและอุปสรรค ดังนี้
                             3.1 โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านฯ พื้นที่ต้นแบบจังหวัดสุโขทัย ระยะที่ 1
                                      3.1.1 ประสบปัญหาโคตายจากโรคระบาด3
                                      3.1.2 สมาชิกไม่อาจชำระหนี้ได้ตามสัญญาที่กำหนดรวมกรณีเกษตรกรเสียชีวิต ซึ่งอาจแก้ไขโดยให้ทายาท/สมาชิกรายอื่นที่สนใจมารับช่วงต่อ
                             3.2 โครงการโคล้านครอบครัว
                                      3.2.1 ระยะเวลาดำเนินโครงการโคล้านครอบครัวมีจำกัดทำให้บางกองทุนหมู่บ้านฯ เข้าร่วมโครงการฯ ไม่ทัน
                                      3.2.2 การพิจารณาสินเชื่อของธนาคารล่าช้า
                   4. โครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง (ข้อเสนอของ กทบ.ในเรื่องนี้) ดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินสินเชื่อของสถาบันการเงินที่กำหนด กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท ให้สินเชื่อแก่กองทุนหมู่บ้านฯ สำหรับให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงโค จำนวน 100,000    ครัวเรือน ๆ ละ 50,000 บาท โดยจะได้รับคำแนะนำการเลี้ยงโคจากกรมปศุสัตว์ และรัฐจัดหาตลาดเพื่อรองรับ ต่อยอดและขยายผลในการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ในด้านการผลิต การแปรรูปและการจัดจำหน่าย กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถสร้างรายได้ต่อครัวเรือนอย่างน้อย 240,000 บาท ต่อครัวเรือน จากต้นทุน 50,000 บาทหรือ 4.8 เท่า ในระยะเวลา 5 ปี (โค 2 ตัว เฉลี่ยราคาโคตัวละ 25,000 บาท สร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 120,000 บาทต่อตัว) รวมทั้งสอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้านการพัฒนาด้านการเกษตรและปศุสัตว์ให้มีการลงทุนไปทั่วโลก โดยมีรายละเอียดการดำเนินโครงการ ดังนี้
                             4.1 กลุ่มเป้าหมาย กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่มีประวัติการกู้เงินและชำระเงินดี โดยเคยกู้เงิน ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน หรือธนาคารอื่น ๆ แล้วชำระหนี้ได้
                             4.2 วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ครัวเรือนสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ลดภาระค่าครองชีพให้กับครัวเรือนสมาชิก ยกระดับการผลิตโคเนื้อที่มีคุณภาพสูงสู่ตลาดภายในและต่างประเทศ ส่งเสริมการตลาด ขยายโอกาสทางการค้า เพิ่มศักยภาพการแข่งขันสร้างความมั่นคงทางอาหาร และให้สมาชิกเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพการเลี้ยงโคคุณภาพสูง
                             4.3 งบประมาณโครงการ จากวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่กำหนดกรอบวงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท
                             4.4 ประเภทสินเชื่อและระยะเวลากู้ สินเชื่อระยะยาวระยะเวลาการชำระคืนเงินในปีที่ 3 นับจากวันลงนามในนิติกรรมสัญญา4
                             4.5 จำนวนเป้าหมายและวงเงินสำหรับกองทุนหมู่บ้านฯ กองทุนหมู่บ้านฯ กำหนดเป้าหมายโครงการให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงโค จำนวน 100,000 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 50,000 บาท ดำเนินการโดยให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ แจ้งความประสงค์ต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเพื่อเป็นตัวแทนยื่นเสนอขอรับสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงินในฐานะนิติบุคคลที่กำหนดตามแนวทางที่กำหนดต่อไป
                                4.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เกิดการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรและเกิดความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของรัฐบาล พัฒนาด้านการตลาดในประเทศและการส่งออกไปตลาดในภูมิภาคและตลาดโลก สร้างความเข้มแข็งและการยกระดับการผลิตของเกษตรกรรายย่อยและเอกชน ให้สามารถเลี้ยงโคเนื้อเชิงอุตสาหกรรมตอบสนองต่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้เพิ่ม ลดความยากจนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ได้อย่างน้อย 120,000 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ต่อแม่โค 1 ตัว ดังนี้
ลำดับที่          รายละเอียด          รายได้จากการขายโค (บาท)
1          แม่โคปลด          18,000
2          โค 1 ปี          20,000
3          โค 2.5 ปี          25,000
4          โค เพิ่งคลอด          7,000
5          โค 4 ปี          20,000
6          โค เพิ่งคลอด          7,000
7          โค 2 ปี ตั้งท้อง 3 เดือน          23,000
รวม          120,000
                   5. กทบ. [รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธาน] ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยขอรับชดเชยดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี กรอบวงเงิน 400 ล้านบาท ตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และมอบหมายให้ สทบ. ประสานกระทรวงการคลัง (กค.)  เพื่อขอความเห็นการดำเนินโครงการในลักษณะกึ่งการคลังที่รัฐจะต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายดังกล่าว โดยให้ธนาคารของรัฐเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดเชยอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริงตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ หากมีกรณีที่ต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินงานโครงการเพื่อทำให้การดำเนินโครงการสามารถขับเคลื่อนได้บรรลุวัตถุประสงค์ ขอให้ประธาน กทบ. มีอำนาจปรับเปลี่ยนตามความเห็น กค. และสำนักงบประมาณ
1 กองทุนหมู่บ้านฯ สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชน โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนจากการคัดเลือกจากสมาชิกในชุมชน 9 - 15 คน เพื่อเป็นผู้ดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับกองทุนให้แก่สมาชิก เช่น การขอรับจัดสรรเงินทุนจากรัฐ เป็นต้น
2 โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโครงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการประกอบอาชีพ ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการบริการของประชาชน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  การจ้างแรงงาน การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนของ สทบ. ทั้งหมด 6 โครงการ ยกตัวอย่างเช่น โครงการเพิ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ระยะที่ 3 โครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
3 เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease) สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส โดยทำให้โคมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร มีเม็ดตุ่มพองเกิดที่ริมฝีปากและช่องปากทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ ซึ่งโคที่เป็นโรคนี้จะผอมและน้ำนมจะลดลงอย่างมาก อัตราการติดโรคสูง อัตราการตายร้อยละ 0.2 - 5 เป็นต้น
4 สทบ. จะได้หารือร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ ขั้นตอน เงื่อนไข วิธีปฏิบัติที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมถึงระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ที่ชัดเจน ให้ได้ข้อยุติก่อนดำเนินการต่อไป

7. เรื่อง สรุปผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1.          เห็นชอบข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัด
ภาคเหนือตอนบน 2 ตามที่เสนอ
2.          มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามข้อ 1 และรายงานผลการดำเนินงานให้
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบต่อไป
                    ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบให้มีการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ณ จังหวัดพะเยา และติดตามการตรวจราชการของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา น่าน และแพร่) ระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2567 โดยมีประเด็นตรวจราชการสำคัญ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาเกษตรให้มีมูลค่าสูง (2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์                     (3) การพัฒนาศักยภาพการค้า การลงทุน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (4) การยกระดับคุณภาพชีวิตเสริมสร้างความมั่นคง และ (5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวคล้อมอย่างยั่งยืนโดยมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวบรวมและจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติราชการการติดตามงานและโครงการ รวมทั้งข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพะเยา
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    1. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 มีเป้าหมายการพัฒนา ?ท่องเที่ยวบนพื้นฐานวัฒนธรรมร่วมสมัย ยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร สิ่งแวดล้อมยั่งยืน สู่เศรษฐกิจมั่งคั่ง?
                    2. ภาพรวมของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน และแพร่ มีศักยภาพด้านการค้าชายแดน โดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและมีเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย จึงเป็นประตูเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและจีนตอนใต้ เป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ โดยมีแหล่งต้นน้ำที่สำคัญและมีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ มีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสปา และท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งมีทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ของกลุ่มล้านนาตะวันออก ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวและบริการเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาพื้นที่ด้วยเช่นกัน อาทิ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ภาคการเกษตรยังขาดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการขาดองค์ความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์ด้านการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาหมอกควัน และปัญหาการบุกรุกและตัดไม้ทำลายป่าและขาดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ จึงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง และปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน
                    3. ผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนดร์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2  ของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐนตรี รวม 28 คน มีประเด็นการตรวจราชการสำคัญและข้อสั่งการสรุปได้ ดังนี้
                              3.1 การพัฒนาเกษตรให้มีมูลค่าสูง
                                        1) มอบเงินตามมาตรการช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าวผ่านสถาบันการเกษตร                  ปี 2566/2567 ข้อสั่งการ (1) ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย จัดอบรม
ให้ความรู้ในการเก็บน้ำยางแก่เกษตรกรในพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรขายน้ำยางที่เหมาะสมสำหรับแปรรูปให้กับสหกรณ์การเกษตรเมืองพะเยา เพื่อให้เกษตรกรขายน้ำยางสำหรับแปรรูปได้ราคาสูงกว่าตลาดรับซื้อ และ                  (2) ให้เกษตรอำเภอดอกคำใต้ แก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคในอำเภอดอกคำใต้ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                                        2) รับฟังข้อร้องเรียนจากผู้แทนเกษตรกร และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดพะเยา ณ ศาลากลางจังหวัดพะเยา ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมด้านการตลาดแก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชกระท่อม รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากมิจฉาชีพที่อาจหลอกลวงเกษตรกร (2) ให้การยางแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการก่อสร้างโรงงานแปรรูปยางพาราที่ได้มาตรฐานในพื้นที่อำเภอภูซางและอำเภอแม่ใจ และ (3) ให้กรมประมง พิจารณาจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่กว๊านพะเยาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ร่วมกันจัดทำแผนจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่กว๊านพะเยาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว
                                        3) ตรวจเยี่ยมการดำเนินการของสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้สหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด จัดทำแผนธุรกิจ เพื่อนำไปหารือร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เรื่อง ?โครงการล้านละร้อย? โดยจะเป็นแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในการพักชำระหนี้ต่อไป
                                        4) เยี่ยมชม ?ผลิตภัณฑ์จักสาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว? ณ วัดดอกบัวและโรงสีข้าวชุมชนบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมการข้าวดำเนินการส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรผู้สนใจในเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์และพัฒาพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตข้าว และสนับสนุนเครื่องอัดฟางให้แก่โรงสีข้าวชุมชน (2) ให้กรมพัฒนาที่ดินบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกรมการข้าวในการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาที่ไม่เหมาะสมเป็นพื้นที่ปลูกหญ้าเลี้ยงโค และ (3) ให้กรมชลประทานรับข้อเสนอของเกษตรกรไปพิจารณาดำเนินการโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่บ้านตุ่น
                                        5) เยี่ยมชมฐานการเรียนรู้การปลูกพืชอินทรีย์ภายในศูนย์เรียนรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพัฒนาที่ดินประจำตำบล และเกษตรอินทรีย์ (PGS) นิทรรศการ และการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มสมาชิก ณ ศูนย์เรียนรู้ฯ ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการประสานขอความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ ในการสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการปลูกหญ้าและการเลี้ยงโคให้แก่เกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว เป็นการปลูกหญ้าและเลี้ยงโค รวมทั้งประสานกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำบ่อบาดาลให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
                                        6) ตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนสวนเห็ดกรรณิกา (โครงการระบบควบคุมความชื้นในโรงเรือนเห็ดอัจฉริยะ) ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ณ วิสาหกิจชุมชนสวนเห็ดกรรณิกา หมู่ที่ 1 บ้านห้วยขม ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดำเนินการ ดังนี้ (1) ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรสมัยใหม่ IoT  : Smart Farm เช่น เซนเซอร์อุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ การวัดค่าปุ๋ย ความเป็นกรด ความเป็นด่างในน้ำ หรือ ในดิน ฯลฯ พร้อมทั้งพัฒนาต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และ (2) บูรณาการการทำงานและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในพื้นที่ เช่น ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์อากาศ ข้อมูลผลผลิตพืชผล   การเลือกใช้ปุ๋ย ข้อมูลด้านเกษตรกรรมอื่น ๆ เป็นต้น พร้อมส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มทางการเกษตรสมัยใหม่ (Agricultural Digital Platform) ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเกษตรทั้งวงจร
                              3.2 การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
                                        1) เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ณ หาดเชียงราย (พัทยาน้อย) ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในพื้นที่ให้มากขึ้น และให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด กรมการท่องเที่ยว และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐาน รวมทั้งดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว เพื่อรองรับและสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
                                        2) เยี่ยมชมโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และพบปะผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ณ ชุมชนปางควาย บ้านใหม่นาวา ตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด กรมการท่องเที่ยว และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) บูรณาการและประสานการดำเนินงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ส่งเสริม พัฒนา และปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งเสริมสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป (2) ให้กรมการท่องเที่ยว ส่งเสริม พัฒนา และบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้มีมาตรฐานเพื่อรองรับ และสร้างความมั่นใจให้แก่นักทองเที่ยว และ (3) ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว และเส้นทางการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
                                        3) ตรวจเยี่ยมชุมชนบ้านโป่งศรีนคร และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น                 ณ บ้านโป่งศรีนคร ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด บูรณาการและประสานกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกตามความต้องการของชุมชน (2) ให้กรมการท่องเที่ยว ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า และบุคลากรผู้ให้บริการของชุมชนให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป และ (3) ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่งเสริมและประชาสัมหันธ์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว และเส้นทางการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
                                        4) ตรวจราชการแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ณ วัดป่าพุทธชินวงศาราม พร้อมทั้งพบปะชุมชนและเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนในตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด บูรณาการและประสานกับชุมชนและหน่วยงาน ต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยว และดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา เชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตท้องถิ่น
                              3.3 การพัฒนาศักยภาพการค้า การลงทุน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
                                        1) ประชุมหารือกับภาคเอกชนเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดพะเยา และเยี่ยมบูธผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ณ ร้านอาหารแสงจันทร์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประสานเชื่อมโยง กระทรวงพาณิชย์ ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME ที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การจัดทำเครื่องหมายการค้า และมาตรฐานต่าง ๆ รวมทั้งประสานผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่และเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาดกับกระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานสินค้าและเครื่องหมายการค้าและขยายผล Business Development Service (BDS) ในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME เพื่อช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย
                                        2) ตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมล้านนาสันปูเลย ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้ธนาคารออมสินเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม และจัดทำโครงการดี ๆ ออกสู่สังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
                                        3) ตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรเชียงของ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมศุลกากรเข้มงวดการตรวจปล่อยการผ่านแดนสินค้าประเภทยางพาราแต่เนื่องจากกรมศุลกากรไม่มีอำนาจในการห้ามผ่านแดนสินค้า จึงให้ประสานกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการต่อไป และ (2) ให้ด่านศุลกากรเชียงของ ตรวจสอบข้อตกลงระหว่างกรมศุลกากรกับกรมขนส่งทางบก กรณีการย้ายสถานที่ปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรจากพื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control Area CCA) ไปยังอาคารศูนย์เปลี่ยนถ่ายฯ
                                        4) ตรวจเยี่ยมศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ พิจารณาและส่งเรื่องมาที่คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและกำกับดูแลระบบ National Single Window (NSW) โดยระบุว่าในส่วนของหน่วยงานตนเองจะต้องดำเนินการเรื่องใดบ้าง มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มขึ้นหรือไม่  พร้อมประมาณการงบประมาณที่จะต้องใช้ เช่น กรมศุลกากรอาจจะต้องมีการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ตู้สินค้ารวมถึงเครื่องชั่งน้ำหนักรถบรรทุกสินค้าเพิ่มเติม ประมาณการงบประมาณ 500 ล้านบาท เป็นต้น
                                        5) ตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรเชียงแสน ติดตามการดำเนินงาน ตามนโยบายรัฐบาล ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) มอบหมายให้นายอำเภอเชียงแสนส่งเสริมการท่องเที่ยว (2) ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้เจรจาการปล่อยน้ำจากเขื่อนในสาธารณรัฐประชาชนจีน และ (3) ให้กรมศุลกากรสนับสนุนให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ ส่งเสริมการส่งออกสินค้าโดยเพิ่มชนิดและปริมาณของสินค้าให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มดุลการค้าระหว่างประเทศ
                                        6) ตรวจเยี่ยมท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนเพื่อลดอุปสรรคการค้าชายแดนและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ณ ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ
                                                  6.1) ให้หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น (ระดับจังหวัด อำเภอ) เช่น จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ ประสานงานกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพมียนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระชับความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาปัญหาไฟป่าและการเผาเพื่อทำการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนในพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งนี้ ในกรณีที่หน่วยงานระดับท้องถิ่นของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความประสงค์ที่จะขอรับความช่วยเหลือจากฝ่ายไทยในการดับไฟป่าในฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อาจพิจารณาตัวอย่างการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเป็นกรอบรองรับความร่วมมือและมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนในการประสานงานกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเพิ่มเติม เพื่อลดจุดความร้อนที่ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน
                                        6.2) ให้กระทรวงการต่างประเทศหารือกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกเลิกการกรอกใบ ตม. 6 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะเดียวกับจุดผ่านแดนถาวรอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามนโยบายรัฐบาล
                                        6.3) ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กรมเอเชียตะวันออก) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันสาธารณรัฐประชาชนจีนในการให้ความเห็นชอบการกำหนดให้ท่าเรือกวนเหล่ย ของมณฑลยูนนาน เป็นด่านที่สามารถนำเข้าผลไม้จากไทยได้เพิ่มเติม
                                        6.4) ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาหารือกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control  Area - CCA) โดยเฉพาะด่านศุลกากรเชียงของ เนื่องจากมีความพร้อมในการจัดตั้งพื้นที่ควบคุมร่วมกัน
                                        6.5) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) เพิ่มความเข้มงวดและประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะการค้ายาเสพติด  การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมทางไซเบอร์
                              7) รับพังการบรรยายสรุป และเยี่ยมชมผลการดำเนินงานของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ณ ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการ (1) วางแผนดูแลเรื่องสถานกักกันให้ปลอดโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์ก่อนส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการรับรองความปลอดโรค ปลอดภัยจากการตรวจสอบคุณภาพของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ปัจจุบันประเทศไทยต้องส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อกักกันสัตว์รอการส่งออก) รวมทั้งเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการขยายตลาดการส่งออกสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม และซาอุดีอาระเบียต่อไป และ (2) เตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์ อาทิ การจัดหาวัคซีนสำหรับสัตว์ หากความต้องการของตลาดส่งออกมีมากขึ้น
                              8) ตรวจเยี่ยมการดำเนินการสถานที่กักสัตว์ ณ สถานที่กักสัตว์ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการ (1) จัดทำกรอบข้อมูลหรือแนวทางการดำเนินงาน เพื่อประกอบการเจรจาเรื่องการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ผ่านอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไปยังแขวงบ่อแก้ว  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตามเส้นทาง R3A และ (2) ศึกษาโมเดลเมืองสิงห์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นสถานที่กักกันสัตว์ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสาธารณรัฐประชาชนจีน  เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่กักกันสัตว์ต้นแบบสำหรับการส่งออกสัตว์ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน
                              9) ตรวจติดตามการดำเนินงานท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยดำเนินการตามระเบียบของกรมปศุสัตว์และระเบียบพิธีการของกรมศุลกากรอย่างเคร่งครัด โดยให้เป็นไปตามมาตรฐาน EIA เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
                              10) ติดตามการดำเนินการก่อสร้างท่าเรือบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ (สบรวก) ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมเจ้าท่าเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเรือบริวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ (สบรวก) เมื่อได้รับงบประมาณปี พ.ศ. 2567 แล้ว ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการตามระเบียบในการจัดทำ TOR และเตรียมการหาผู้รับจ้าง เมื่อได้ผู้รับจ้างแล้วให้เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาตามแผนงาน รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ (2) เมื่อกรมเจ้าท่าดำเนินการก่อสร้างท่าเรือบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ (สบรวก) แล้วเสร็จและส่งมอบให้เทศบาลตำบลเวียงแล้ว ให้เทศบาลตำบลเวียงดูแลท่าเรือฯ ให้มีความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย จัดไฟฟ้าแสงสว่างให้เพียงพอ และเตรียมการจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการดูแลอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ รวมถึงงบประมาณในการบำรุงรักษาท่าเรือ
                                        11) ติดตามการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1020 เชียงราย-อำเภอเชียงของ ตอนอำเภอเทิง - บ้านต้า จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงดำเนินการ ดังนี้ (1) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทั้งต่อประชาชนในพื้นที่และแรงงาน ในระหว่างการก่อสร้างในช่วงทางที่ผ่านพื้นที่ชุมชน อาทิ ติดตั้งป้ายเตือน ไฟฟ้าส่องสว่าง และสัญญาณเพิ่มความปลอดภัยอื่น ๆ รวมทั้งให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้สัญจรเมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยขอให้มีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจร สัญญาณไฟกระพริบ แถบชะลอความเร็ว (Rumble Strip) รวมถึงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย  อื่น ๆ และ (2) ประสานผู้รับจ้างในการทำทางลาด (Slope) เชื่อมทางต่างระดับระหว่างถนนหลักกับถนนเข้าชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้าออกได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
                                        12) ติดตามการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย ? เชียงราย - เชียงของ ณ อาคารบริหารงานส่วนกลาง ศูนย์การเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟทางคู่สาย เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด
                                        13) ติตตามการดำเนินการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณาจัดทำมาตรการการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการทำใบขับขี่ต่างแดน ณ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และรองรับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลและ (2) ให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบก และกระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากร นำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน เพื่อพิจารณาแนวทางเร่งรัดการพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ให้เป็นศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ให้สำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนบริเวณด่านพรมแดนเชียงของ ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญและมีศักยภาพในการขยายตัวด้านการนำเข้า - ส่งออกในอนาคต โดยศูนย์เปลี่ยนถ่ายฯ จะมีการเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ที่มีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2572
                                        14) ตรวจเยี่ยมการส่งเสริมตลาดสินค้าและพัฒนาผู้ประกอบการของกระทรวงพาณิชย์ ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้ามัดย้อมชิโบริ ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานพาณิชย์ในภูมิภาค จัดหาช่องทางขยายตลาดภายในประเทศ (2) ให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพิ่มพูนองค์ความรู้และคำปรึกษากลยุทธ์การเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ และสนับสนุนการขยายตลาดสู่ยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญต่อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากญี่ปุ่น และ (3) ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้การช่วยเหลือและให้คำแนะนำ อาทิ การจดอนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า รวมถึงการสร้างแบรนด์
                                        15) ตรวจเยี่ยมการส่งเสริมตลาดสินค้าและพัฒนาผู้ประกอบการของกระทรวงพาณิชย์ ณ กลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านต๊ำน้ำล้อม ?ลินชวา? ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนับสนุนองค์ความรู้ด้านระบบบัญชี การวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการที่ทันสมัย (2) ให้กรมส่งสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้ความรู้และคำปรึกษากลยุทธ์การเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ และ (3) ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้การช่วยเหลือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (ตราสัญลักษณ์) เพื่อการสร้างแบรนด์ ซึ่งเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์การตลาดส่งเสริมตลาดสร้างการรับรู้ในสินค้าของกลุ่มเพิ่มมากขึ้น
                                        16) ประชุมหารือและเข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง ?ติดปีกกาแฟเชียงรายส่งออกด้วย FTA? ณ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการดังนี้
                                                  16.1) ให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัย การเพิ่มศักยภาพการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อแปลงและสนับสนุนพันธุ์กาแฟ
                                                  16.2) ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และสำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ
                                                  16.3) ให้กรมการค้าต่างประเทศ และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพิ่มพูนความรู้เรื่องการค้าระหว่างประเทศและการส่งออกแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ
                                                  16.4) ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเสริมสร้างความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ
                                                  16.5) ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) สนับสนุนเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึงและมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ควบคู่กับการให้ความรู้ทางการเงินเพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถใช้เงินทุนในการปรับปรุงและขยายพื้นที่ปลูกกาแฟ ต่อยอดอาชีพเกษตรได้อย่างยั่งยืน
                                        17) ตรวจเยี่ยมและติดตามการส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตีเหล็กและ    อุตสาหกรรมผ้ามัดย้อม ข้อสั่งการ (1) ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ พิจารณาสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตีเหล็กและผ้ามัดย้อมให้ครอบคลุมมากขึ้น (2) ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ดำเนินการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และการลดต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์เหล็ก รวมถึงสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สนับสนุนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ และ (3) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) บูรณาการร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการผลักดันการแก้ไขผังเมืองอย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่
                                        18) ตรวจเยี่ยมและติดตามการส่งเสริมผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้จังหวัดแพร่ ณ สมาคมการค้า ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้จังหวัดแพร่ ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ข้อสั่งการ ดังนี้
                                                  18.1) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) บูรณาการกับกรมป่าไม้องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต เพื่ออำนวยความสะดวก รวมทั้งผลักดันการขออนุญาตดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมไม้เป็นรูปแบบ One Stop Service
                                                  18.2) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) บูรณาการร่วมกับ                 กรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการผลักดันการแก้ไขผังเมืองอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่
                                                  18.3) ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ พิจารณาสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการรายย่อยให้ครอบคลุมมากขึ้น
                                                  18.4) ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ของไทยโดยสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้ให้รองรับบริบทที่เปลี่ยนไป เพิ่มผลิตภาพ รวมทั้งพัฒนาช่องทางการตลาด ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ตลอดจนยกระดับการเข้าถึงบริการการพัฒนาสถานประกอบการแก่รู้ประกอบการในรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ และให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) บูรณาการกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหาแนวทางการลดต้นทุนหรือสนับสนุนการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้แก่ผู้ประกอบการ
                                                  18.5) ให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ร่วมผลักดันและสนับสนุนให้ไม้สักเป็นพืชเศรษฐกิจของพื้นที่ 5 จังหวัด (ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์)
                                        19) ตรวจเยี่ยมและติดตามการส่งเสริมวิสาหกิจสุรากลั่นชุมชน ณ วิสาหกิจชุมชนสุราสักทองแพร่ ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ข้อสั่งการ (1) ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และกองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ พิจารณาการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชนมากขึ้น (2) ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ศภ.1) สนับสนุนการยกระดับผลิตภาพการผลิตของกระบวนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สุราชุมชน การพัฒนาตลาดออนไลน์ และการสร้างแบรนด์ และ (3) ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) บูรณาการกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต โดยนำเศษวัสดุจากไม้มาใช้เป็นพลังงานชีวมวลสำหรับการผลิตสุรากลั่นชุมชน
                              3.4 การยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความมั่นคง
                                        1) ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน (คทช.) พื้นที่จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมพัฒนาที่ดิน เร่งรัดพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แหล่งน้ำ ไฟฟ้า และระบบบริหารจัดการในพื้นที่ เช่น แหล่งน้ำอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตได้เข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และ  (2) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ พัฒนาผลผลิตการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น รวมถึงพัฒนาช่องทางการตลาด เพื่อให้เกษตรกรสามารถมีช่องทางการแข่งขันของตลาด นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับสากล  รวมทั้งสนับสนุนการยกระดับการผลิตของเกษตรกร สร้างองค์ความรู้ใหม่และเทคนิคการทำเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และส่งเสริมการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                                        2) ติดตามการแก้ไขปัญหาความมั่นคงชายแดนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และการดูแลสวัสดิการของกำลังพลและครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้งการควบคุมไฟป่าแบบบูรณาการ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ณ ฐานปฏิบัติการดอยช้างมูบ กองกำลังผาเมือง ตำบลโปร่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และมณฑลทหารบกที่ 34 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้กองกำลังผาเมือง และมณฑลทหารบกที่ 34 ดำเนินการ ดังนี้
                                                  2.1) สนับสนุนรัฐบาลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือประชาชน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ เนื่องจากกองทัพเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งด้านกำลังพล และยุทโธปกรณ์ สามารถให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
                                                  2.2) ใช้กลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีอยู่ทั้งในระดับพื้นที่และระดับภูมิภาค ในการประสานความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์กับกำลังทหารของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งดำเนินการลาดตระเวนร่วมตามแนวชายแดน เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อใจและสร้างความเข้มแข็งของกลไกความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนร่วมกัน
                                                  2.3) สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เนื่องจากประชาชนมีความคาดหวัง และเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของกองทัพในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งกองทัพมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทั้งต้นน้ำ (การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน) กลางน้ำ (การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตอนใน) และปลายน้ำ (การสนับสนุนรัฐบาลในการบำบัดผู้ติดยาเสพติด) ทั้งนี้ กำลังพลทุกนายจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด ทั้งเป็นผู้เสพยาเสพติด หรือผู้ค้ายาเสพติด
                                                  2.4) หมั่นทบทวนภารกิจและโยบายที่ได้รับมอบหมายอยู่เสมอเพื่อให้กำลังพลมีความพร้อมในการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ตลอดจนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามต่าง 1 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                        3) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงบ้านปางปูเลาะ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มุ่งเน้นส่งเสริมความมั่นคงในอาชีพ และอัตลักษณ์ของราษฎรบนพื้นที่สูง เพื่อส่งเสริมการมีรายได้  ขยายโอกาสในการสร้างตลาด และการจำหน่ายสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน พร้อมขยายผลสู่ระดับนานาชาติ รวมทั้งผลักดันและขยายผลการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์โปรแกรมออกแบบลวดลายสินค้าอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์และระบบอีคอมเมิร์ซ www.pyhill.com ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา
                                        4) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดร่องคือตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ส่งเสริมการให้ความรู้กับผู้สูงอายุ ในประเด็นการรู้เท่าทันและป้องกันภัยจากเทคโนโลยีดิจิทัล และผลักดันโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (17 จังหวัดภาคเหนือ) ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยเพิ่มการผลิตผู้บริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ อำเภอละ 4 คน จำนวน 196 อำเภอ รวม 784 คน
                                        5) ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำอิง ชุมชนห้วยขี้เหล็ก บ้านหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ณ ชุมชนห้วยขี้เหล็ก บ้านหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลครึ่ง      อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้เทศบาลตำบลครึ่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาเรื่องตลิ่งริมแม่น้ำถูกกัดเซาะ ประสานกับสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงรายในการขอรับสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วนและ (2) ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง พิจารณาจัดทำแผนงานขอรับสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2569 สำหรับโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริม แม่น้ำอิง ชุมชนห้วยขี้เหล็ก บ้านหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
                                        6) ตรวจเยี่ยมการบูรณาการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติ ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบุคคลที่ประสบปัญหาไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิ เพื่อจะได้รับโอกาสในการเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานะทางทะเบียนราษฎร เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล เป็นต้น และ (2) ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ส่งเสริมการปลูกฝังการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และสามารถใช้เงินกองทุนป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับระเบียบของกองทุนฯ
                                        7) ตรวจเยี่ยมสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด ณ มณฑลทหารบกที่ 34 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พิจารณาแนวทางส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้ติดยาเสพติดหลังการบำบัดพื้นฟู และมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ โดยพิจารณาขอรับการสนับสนุนจากกองทุนป้องกัน  ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมทั้งหารือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ผู้ติดยาเสพติดหลังการบำบัดพื้นฟู รวมถึงนำตัวอย่างที่ดีในพื้นที่อื่นมาปรับใช้ด้วย
                                        8) ตรวจเยี่ยมการฝึกอาชีพตามโครงการคืนคนดีสู่สังคม ศูนย์ฝึกอาชีพสร้างงานสร้างรายได้ และตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการนายจ้าง ผู้นำชุมชนท้องถิ่นท้องที่ ณ ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล ตำบลวารี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และเยี่ยมชมบูธกิจกรรมการให้บริการด้านแรงงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมการจัดหางานนำ ?ล้างรถด่วนเชียงรายโมเดล? ของศูนย์ฝึกอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ เมตตา....พระไพศาลประชาทร วิ. วัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ไปต่อยอดร่วมกับเอกชน กลุ่มธุรกิจปั๊มน้ำมัน เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับแรงงานและผลักดันให้แรงงานเข้าสู่ระบบผู้ประกันตน มาตรา 40 และ (2) ให้กรมพัฒนาฝืมือแรงงาน ส่งเสริมและต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของท้องถิ่นหรือชุมชน ให้ได้มาตรฐานและสามารถนำไปจำหน่ายและส่งออกสู่ตลาดได้มากขึ้น
                              3.5 การอนุรักษ์ พื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
                                        1) ตรวจราชการและรับฟังการบรรยาย แนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูหนองหลวงจังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมทรัพยากรน้ำ เร่งดำเนินการจัดทำแผนหลักการพัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟูหนองหลวงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ (2) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหลวงให้เป็นไปตามแผนหลักการพัฒนา การอนุรักษ์ และพื้นฟูหนองหลวงต่อไป
                                        2) ตรวจราชการและรับฟังการบรรยายสรุปโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองฮ่าง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวัน ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมทรัพยากรน้ำ เร่งดำเนินการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบ พื้นที่ชุ่มน้ำหนองฮ่างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งนำเสนอคณะรัฐนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองฮ่าง ตำบลทานตะวัน ตำบลหัวง้ม ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และดำเนินการขับเคลื่อนตามขั้นตอนต่อไป และ (2) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำหนองฮ่าง และพื้นที่โดยรอบ ให้เป็นไปตามผลการศึกษา
                                        3) ติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 4 (เชียงราย) ตำบลสันทราย อำเกอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และป่าชุมชนบ้านร่องบอน ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ดังนี้
                                                  3.1)  โครงการที่ผ่านความเห็นชอบจากการประชุมบูรณาการการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ในประเด็นการผลักดันการพัฒนาด่านการค้าชายแดน จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก อำภอภูซาง จังหวัดพะเยา ให้กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่หนองเล็งทรายแบบอารยเกษตรสู่วิถียั่งยืนให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งรัดดำเนินการต่อไป
                                                  3.2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการโครงการสำคัญดังนี้ (1) ด้านทรัพยากรน้ำ ได้แก่ (1.1) โครงการอนุรักษ์พื้นฟูเวียงหนองหล่ม - หนองเขียว พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หมู่ที่ 2 บ้านป่าสักหลวง ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (1.2) โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (วิทยาเขตน่าน) บ้านคั่งถี่ หมู่ที่ 13 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน (1.3) โครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากลำน้ำว้า สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยซ้อ และพื้นที่การเกษตรในพื้นที่การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) หมู่ที่ 1 บ้านห้วยซ้อ ตำบลหมอเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน (1.4) โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยเคียน พร้อมระบบกระจายน้ำ หมู่ที่ 5 ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา (1.5) โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำมิน พร้อมระบบกระจายน้ำ หมู่ที่  6 7  และ 13 น้ำมิน น้ำมินเหนือ และน้ำลาว ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (1.6) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำฝ่ายสบทรายพร้อมระบบกระจายน้ำ บ้านดอนมูล หมู่ที่ 16 ตำบลปง    อำเภอปง จังหวัดพะเยา (1.7) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแก้มลิงน้ำยมหลง พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอทิตย์สนับสนุนพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ข้าว บ้านหัวเมือง หมู่ที่ 9 ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และ (1.8) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยแม่ยางน้อย-หนองสองห้อง - ห้วยร่องจ้อย ระบบกระจายน้ำ ตำบลแม่ยางร้อง อำภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (2.1) โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณการท่องเที่ยวน้ำตกขุนแจ อุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย (2.2) โครงการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก (เตรียมการ) จังหวัดเชียงราย (2.3) โครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ในพื้นที่ป่านันทนาการน้ำตกตาดหมอก น้ำตกวังเขียวและน้ำตกนางกวัก จังหวัดน่าน (2.4) โครงการปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ จังหวัดน่าน (2.5) โครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและยกระดับการท่องเที่ยวน่านสู่ท่องเที่ยวคุณภาพสูง (2.6) โครงการปรับปรุงเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอุทยานแห่งชาติภูซาง จังหวัดพะเยา (2.7) โครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่เตรียมการป่านันทนาการน้ำตกแม่แคม น้ำตกนาคูหา และถ้ำผาสิงห์ จังหวัดแพร่ (2.8) โครงการปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ จังหวัดแพร่ และ (2.9) โครงการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมเชิงนิเวศเละเชิงสุขภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนจังหวัดแพร่
                                                  3.3) ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5   ในช่วงสถานการณ์วิกฤตไปปฏิบัติอย่างเร่งด่วน โดยควบคุมกำกับดูแลการจัดการไฟในพื้นที่ป่า โดยเฉพาะพื้นที่มุ่งเป้า 11 ป่าอนุรักษ์ และ10 ป่าสงวนแห่งชาติ รวมถึงพื้นที่เกษตรเผาไหม้ซ้ำซากในพื้นที่สูง
                                                  3.4) ให้กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำรวจพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดปัญหาภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร โดยมีการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์การขุดเจาะ รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ และบุคลากรพร้อมปฏิบัติงาน  24 ชั่วโมง และให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ประสานผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือ พร้อมตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมกับจังหวัด
                                                  3.5) ให้กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเฝ้าระวังการบุกรุกและตัดไม่มีค่า โดยให้มีการลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของกำลังพลเป็นสำคัญด้วย
                                                  3.6) ให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดและสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ประสานหน่วยงานท้องถิ่นในการดูแลไม่ให้มีการทิ้งน้ำเสียลงแหล่งน้ำ รวมถึงบ่อขยะ เพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางน้ำและการเกิดไฟไหม้บ่อขยะ โดยต้องมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน
                                                  3.7) ให้กรมป่าไม้ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคประชาชนในการบริหารจัดการป่าร่วมกับภาครัฐ โดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจ ความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ ร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                                                  3.8 ปัจจุบันปัญหาไฟป่าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้สูญเสียสภาพป่าไม้และสัตว์ป่าจำนวนมาก รวมถึงสร้างมลพิษหมอกควัน ฝุ่น PM2.5    ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ จึงขอให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังดูแลป้องกันไฟป่าที่จะเกิดขึ้นในป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ และป่าชุมชน
                                        4) ติดตาม ?การฟื้นฟูและพัฒนากว๊านพะเยา โดยท้องถิ่นและซุมชน? ภายใต้โครงการพัฒนากว๊านพะเยาและความสำเร็จของศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ ณ อุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK Park) ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้สถาบันสารสนเทศและทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ดำเนินการ ดังนี้
                                                  4.1) ร่วมกับศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัด 4 จังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จัดทำข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำของจังหวัดเพิ่มเติม โดยเฉพาะข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก     ผังน้ำระดับจังหวัดแบบออนไลน์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศให้ทันสมัย
                                                  4.2) ร่วมสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัด 4 จังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ให้ทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ในประเด็นการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และกรอบอัตราเจ้าหน้าที่ ให้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
                                                  4.3) ร่วมสนับสนุนการนำร่องศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ให้เป็นศูนย์อบรมและพัฒนาศักยภาพ เพื่อการขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัด
                                                  4.4) ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ประชาชน รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสที่ทวีความรุนแรง
                                        5) ติดตามผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและ                 ฝุ่นละอองขนาดเล็กของจังหวัดเชียงราย และตรวจเยี่ยมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ดังนี้
                                                  5.1) ให้จังหวัดถือปฏิบัติตามแนวทางที่กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้สั่งการในการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ปี 2566-2567 ตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5   ปี 2567 รวมถึงกลไกบริหารจัดการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดโดยเคร่งครัด
                                                  5.2) ให้จังหวัดประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลหมู่บ้าน/ชุมชน มิให้มีการเผา และดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5   พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบถึงมาตรการ กฎหมาย และผลการปฏิบัติของภาครัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ตลอดจนช่องทางในการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และช่องทางการแจ้งเหตุ
                                                  5.3) ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย จัดกำลังเจ้าหน้าที่ และเครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้พร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง กรณีเกิดสถานการณ์ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยากและสถานการณ์มีแนวโน้มทวีความรุนแรง ให้ประสานขอรับการสนับสนุนอากาศยานปีกหมุนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ฮ.ปภ.32) หรือหน่วยงานที่มีอากาศยานในการช่วยดับไฟ
                                        3.6 ประเด็นอื่น ๆ (โครงการสำคัญของแต่ละกระทรวง)
                                                  1) ตรวจราชการและรับฟังการบรรยาย โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาแม่สาย และสาขาเชียงราย ณ สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงราย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้การประปาส่วนภูมิภาคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาผลักดันการดำเนินโครงการที่จำเป็นต้องดำเนินการก่อน - หลัง เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองเชียงราย และการท่องเที่ยวในอนาคต และ (2) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ดำเนินการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาแม่สาย และสาขาเชียงรายให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมต่อไป
                                                  2) ประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและ
ภารกิจสำคัญในกำกับของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา น่าน และแพร่) ข้อสั่งการ ดังนี้
                                        2.1) ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและปัญหากรรมสิทธิที่ดินและการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์เพื่อสร้างวัดในที่ดินของรัฐในประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วย ที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่ป่าไม้ ที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ราชพัสดุ ที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และที่อุทยานแห่งชาติ
                                        2.2) ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโครงการวัดอารามภิรมย์ และวัดท่องเที่ยวต่าง ๆ  โดยเฉพาะการสร้างประวัติเรื่องราว (Story) กิจกรรมสร้างแรงจูงใจด้านการศรัทธา โดยให้เชื่อมโยงข้อมูลกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รวมทั้งการอำนวยความสะดวกของจุดให้บริการและสาธารณูปโภค
                                        2.3) ให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติดำเนินการจัดทำชุดข้อมูลในระดับต่าง ๆ คือ A (กองทุนดีเด่น) B (กองทุนที่ต้องปรับปรุงฯ) และ C (กองทุนที่ไม่ได้ดำเนินการแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาส่งเสริม ผลักดัน หรือนำกลับมาดำเนินการใหม่
                                        2.4) ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการศิลานุปัฏฐากและกุฏิชีวาภิบาลโดยบูรณาการความร่วมมือให้ขับเคลื่อนได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
                              3) ติดตามผลการปฏิบัติงานและมอบนโยบายกระทรวงการคลังให้กับคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดพะเยา (คบจ. พะเยา) ณ ห้องประชุมสำนักงานสรรพากรพื้นที่พะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานคลังจังหวัด แนะนำหรือสนับสนุนช่วยเหลือส่วนราชการในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน และ (2) ให้หน่วยงานจัดเก็บภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ให้ได้มากที่สุด
                              4) ตรวจเยี่ยมการให้บริการประชาชนด้านกงสุลของสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมการกงสุลศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับการให้บริการประชาชนด้านกงสุลอย่างต่อเนื่อง (2) ให้สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวทุกแห่ง ร่วมมือกับสำนักงานจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนในภารกิจหรือโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง และ (3) ให้กรมการกงสุลเพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันมิให้คนไทยโดนหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศและตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์
                              5) ติดตามการใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน เกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการ ณ จังหวัดเชียงราย (ชุมชนป่าตึงริมกก ร้านโอโซนฟาร์ม บริษัท เฮลท์ เฮิร์บ เซ็นเตอร์ และบ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย) และจังหวัดพะเยา (มหาวิทยาลัยพะเยา และอุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK Park)) ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมสึกษา การวิจัยและการสร้าง นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย และให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นกลไกในการประสานและนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายชุมชน เกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (2) ให้มหาวิทยาลัย     ราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                              6) มอบนโยบายและเป็นสักขีพยานการลงนามข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อว. For EV) ณ มหาวิทยาลัยพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงฯ ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย ?อว. For EV? ทั้ง 3 เสาหลัก คือ การผลิตกำลังคน (EV-HRD) การส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV-Transformation) และการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมในยานยนต์ไฟฟ้า (EV-Innovation) และ (2) ให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมมือปรับเปลี่ยนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย Green Campus และเป็นกระทรวงต้นแบบในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
                              7) ตรวจเยี่ยมปางควายเวียงหนองหล่ม ณ ปางควายเวียงหนองหล่ม จุดห้วยน้ำราก ตำบลจันจว้า อำกอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมชลประทานสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร (2) ให้กรมปศุสัตว์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ดำเนินการวิจัยขยายพันธุ์หญ้า และผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปให้แก่เกษตรกร เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ และ (3) ให้ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายสนับสนุนอาหารสัตว์ อาทิ หญ้าแห้ง ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง
                              8) ติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ณ ท่าอากาศยานแพร่ ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ข้อสั่งการ ให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรรับความเห็นในพื้นที่ไปพิจารณาดำเนินการสนับสนุนให้มีการผลิตน้ำแข็งแห้งเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจฝนหลวง
                              9) ติดตามการดำเนินการก่อสร้างทางลอดและปรับปรุงถนนบริเวณแยกศูนย์ราชการบนถนนสาย ชร. 1023 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงชนบทเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างทางลอดและปรับปรุงถนนบริเวณแยกศูนย์ราชการบนถนนสาย ชร.1023 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ให้ได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้โดยเร็ว ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงคมนาคม และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงคมนาคม ?คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน? และเป็นการช่วยแก้ปัญหาการจราจรบริเวณทางแยกบนถนนสาย ชร.1023 ที่เป็นคอขวด บริเวณหน้าท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น
                              10) ติดตามโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1  (ทางลอดหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา) ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงให้ความสำคัญในการออกแบบติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง และสัญญาณเพิ่มความปลอดภัย ได้แก่ สัญญาณไฟจราจร สัญญาณไฟกระพริบ รวมถึงป้ายเตือนแถบชะลอความเร็ว (Rumble Strip) รวมถึงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยอื่น ๆ
                              11) ตรวจเยี่ยมงานสร้างท่อร้อยสายใต้ดินพื้นที่เมืองเชียงราย (โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน) ของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ณ บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช และบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร อำเกอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กรมทางหลวง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม รวมถึงหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานท่อร้อยสายภายในจังหวัดเชียงราย เพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ และรองรับการพัฒนาเขตเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ร่วมกันศึกษา วางแผน และติดตามการดำเนินงานจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่จังหวัด เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของทุกหน่วยงาน และเกิดการใช้ทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                              12) ติดตามแผนโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย และการติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงขยายของการประปาส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง) ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการให้การประปาส่วนภูมิภาค ดำเนินการ ดังนี้
                                        12.1) เร่งดำเนินโครงการงานก่อสร้างสถานีเพิ่มแรงดัน พร้อมวางท่อจ่ายน้ำ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 3 ตำบลนางแล อำภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ได้รับงบประมาณปี 2568 ให้สำเร็จลุล่วง และดำเนินการของบประมาณในปี 2569 เพื่อดำเนินการในพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 11 และ หมูที่ 16 ตำบลนางแล เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคให้กับพื้นที่ตำบลนางแลอย่างทั่วถึงตามลำดับต่อไป
                                        12.2) เร่งดำเนินโครงการงานปรับปรุงระบบผลิตน้ำประปา ขนาด 500 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับงบประมาณปี 2568 เพื่อแก้ไขปัญหากำลังการผลิตไม่เพียงพอ ให้สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำของเมืองเชียงราย ซึ่งมีการขยายตัวของชุมชน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่อย่างรวดเร็ว
                                        12.3) เร่งรัดการจัดเตรียมความพร้อมโครงการปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ให้มีความพร้อมและให้หน่วยงานภายในการประปาส่วนภูมิภาค ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเตรียมแผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย - อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย รายงานความก้าวหน้า และรายงานวิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2569
                                        12.4) การดำเนินการตามข้อ 12.1-12.3 ให้ปฏิบัติตรงตามกรอบเวลาปฏิทินงบประมาณ และให้ปฏิบัติตามข้อระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                              13) ประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม ตำบลบ้านต๊ำ  อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ดังนี้
                                        13.1) ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 5 ร่วมกับสำนักงานยุติธรรมจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหารือแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่
                                        13.2) ให้สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พิจารณาเพิ่มบทบาทสำนักงานยุติธรรมจังหวัด โดยเน้นการทำงานในเชิงรุก เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงการให้บริการและเป็นหน่วยงานที่ประชาชนนึกถึงมื่อประสบความเดือดร้อน รวมทั้งพิจารณาจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม โดยกำหนดตัวชี้วัดที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจน
                                        13.3) ให้กรมราชทัณฑ์ เร่งดำเนินการขยายผลการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการควบคุมผู้ต้องขัง เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม และตรวจสอบแผนการย้ายเรือนจำทั่วประเทศให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละจังหวัด รวมทั้งพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมของผู้ต้องขังก่อนปล่อย ให้มีความรู้และทักษะที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริงเมื่อพ้นโทษ
                                        13.4) ให้กรมบังคับคดี ทบทวนเรื่องการไกล่เกลี่ยโดยต้องเกิดจากความสมัครใจ และอยู่ในวิสัยที่ลูกหนี้ปฏิบัติได้จริง รามทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการไกล่เกลี่ยให้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินการจัดทำงานวิจัยเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในภารกิจของกรมบังคับคดี เพื่อทำให้การบังคับคดีเป็นไปด้วยความยุติธรรม
                                        13.5) ให้กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ปรับบทบาทการทำงาน เน้นการทำงานเชิงรุกที่ต้องเข้าไปทำงานร่วมกับชุมชนและหมู่บ้าน และเน้นคดีแพ่ง (คดีกำกับการปกครอง)
                              14) ตรวจเยี่ยมการรณรงค์เชิญชวนผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เข้าสู่ระบบประกันสังคมภาคสมัครใจเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 40 ณ ตลาดล้านเมือง และเยี่ยมผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ณ บ้านเลขที่ 29 หมู่ 9 ตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ(1) ให้สำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่แรงงานอิสระ เรื่องสิทธิประโยชน์ และตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตลอดไป รวมถึงการส่งเสริม สร้างความรู้ ให้คำแนะนำในการดูแลผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ให้กับครอบครัวของผู้ประกันตน ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเข้าถึงการขอรับสิทธิประโยชน์ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น (2) ให้กรมการจัดหางาน ส่งเสริมอาชีพการรับงานไปทำที่บ้านให้กับครอบครัวหรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพให้มีรายได้ (3) ให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ประสานภาคีเครือข่ายด้านแรงงานในระดับพื้นที่ เช่น อาสาสมัครแรงงาน เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนให้คำปรึกษาและแนะนำด้านสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงานในหมู่บ้านและชุมชน
                              15) รับฟังบรรยายสรุปผลสถานการณ์ด้านแรงงานและสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย และตรวจเยี่ยมการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพและการฝึกอบรมหลักสูตรนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 20 เชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดหลักสูตรการฝึกอบรมนวดไทยเพื่อสุขภาพและการฝึกอบรมหลักสูตรนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ผ่านการฝึกและผู้รับบริการ ทั้งนี้ ให้ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัดเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้ผ่านการฝึกอบรม และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการมากขึ้น และส่งผู้ผ่านการฝึกเข้าสู่ตลาดแรงงานกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว
                              16) ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ดังนี้
                                        16.1) ให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงรายมีการจัดทำผังภาพรวมในมิติเกษตรและมิติพื้นที่ โดยจัดทำผังที่แสดงถึงทิศทางน้ำ ระบบน้ำดี น้ำเสีย และความลาดเอียงเส้นความชันความสูง (Contour Line) ของพื้นที่เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำ พร้อมทั้งจัดทำผังที่แสดงถึงพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ และยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งการวางแผนการบริหารจัดการพื้นที่
                                        16.2) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบริหารจัดการการใช้ประโยชน์และไม่ใช้ประโยซน์ให้มีความชัดเจนของพื้นที่ในสถานศึกษา หากพื้นที่ส่วนใดยังไม่มีการใช้ประโยชน์ให้ปลูกต้นไม้ อาทิ ต้นยางนา
                                        16.3) ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ) จัดทำแนวทางการประเมินวิทยฐานะ ว PA ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประเทศ ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
                                        16.4) ให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงรายมีการเรียนการสอนที่ครบวงจร ครอบคลุมการเรียนรู้ในหลายมิติ และจัดการเรียนรู้แบบคู่ขนานระหว่างกระบวนการเรียนรู้ที่อยู่ในวิถีชีวิตกับการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อก่อให้เกิดรายได้ให้กับผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน
                              17) ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย และมอบนโยบาย ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่นำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติ (2) ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่มีการบูรณาการจัดการศึกษากับทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ และ (3) ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่มีการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อาทิ การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์
                              18) ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลเชียงราย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย จัดทำข้อมูลด้านการศึกษาของนักเรียน เช่น ข้อมูลการศึกษาต่อของนักเรียนที่ครอบคลุมในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อมูลด้านระยะทางภูมิลำเนาของนักเรียน สถานศึกษาเดิม และเหตุผลที่สมัครเข้าเรียนในสถานศึกษาใหม่
                              19) การติดตามการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ?เรียนดี  มีความสุข?              ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม ตำบลเวียง อำภอเทิง จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาปรับปรุง แก้ใข ยกเลิกกฎระเบียบ ประกาศ คำสั่งที่ไม่ทันสมัย และไม่มีความจำเป็น เพื่อลดภาระงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา (2) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีสิ่งก่อสร้างชำรุด ทรุดโทรม เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับปรับปรุงหรือซ่อมแซม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา และ (3) ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมอาคารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ที่ชำรุดทรุดโทรม
                              20) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คุณภาพ สู่ Health Rider และการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ณ สนามกีฬาโรงเรียนปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม ตำบลตาลชุม อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ข้อสั่งการ ดังนี้
                                        20.1) ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) Heath Rider ในเรื่อง (1) ความรู้เรื่องยาทั่วไป เพื่อให้ข้อแนะนำผู้ป่วยเมื่อไปส่งยา (2) การประเมินสุขภาพของผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อดูแลติดตามข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยตามเกณฑ์คุณสมบัติอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) Health Rider และ (3) ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน               (อสม.) ให้กำลังใจผู้รับการบำบัดระหว่างรับยาอดยาบ้า
                                        20.2) ให้องค์การเภสัชกรรม พิจารณาดำเนินการศึกษาแนวปฏิบัติของยาอดยาบ้า เรื่องขนาดยา วิธีการบริหารยา และวิธีการจ่ายยา เพื่อให้มีความปลอดภัยกับผู้ป่วย ก่อนการส่งเสริมการใช้ยาอดยาบ้าต่อไป
                                        20.3) ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเติมเต็มจัดหาอาชีพให้ผู้ที่รับการรักษาฟื้นฟูยาเสพติดที่รักษาหายแล้วเพื่อสร้างรายได้ และพัฒนาชุมชนต่อไป  โดยเฉพาะชุมชนตำบลตาลชุม และตำบลน้ำปั้ว  อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 197 คน ให้ดูแลรายบุคคลในการจะสนับสนุนให้มีอาชีพต่อไป
                              21) ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน (1) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 จังหวัดเชียงราย (2) การแพทย์แผนไทยและโรงงานผลิตสมุนไพร โรงพยาบาลแม่ใจ จังหวัดพะเยา และ (3) โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ร่วมกันพัฒนา วิจัย และตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร เพื่อผลิตยาสมุนไพรสำหรับใช้ในระบบบริการทางการแพทย์ทดแทนยาแผนปัจจุบัน และส่งเสริมศักยภาพในการปลูกสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชนให้เป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ (2)  ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ค้นหาวิธีลดระดับสารปนเปื้อนในผักและสมุนไพร เพื่อให้ประชาชนบริโภคได้อย่างปลอดภัย

8. เรื่อง ผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (พะเยา เชียงราย น่าน และแพร่) เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 และวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (พะเยา เชียงราย น่าน และแพร่) เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567และวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567
                    2. เห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด จำนวน 9 โครงการ กรอบวงเงิน 155,00,000 บาท โดยให้กลุ่มจังหวัดและจังหวัดขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                    พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของวงเงินโครงการ สำหรับโครงการเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) วงเงิน 50,000,000 บาท และโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองเก่าแพร่ วงเงิน 45,000,000 บาท ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรับไปหารือกับสำนักงบบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติมและนำเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในโอกาสแรก รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดต่อไป
                    3. เห็นชอบในหลักการของโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน                4 โครงการ กรอบวงเงิน 145,880,000 บาท โดยให้ส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างรอบคอบ สำหรับ 4 โครงการที่อยู่ในคำขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ได้แก่ (1) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมผิวถนน สาย บ้านฝั่งหมิ่น บ้านนาก้า อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน วงเงิน 9,858,000 บาท (2) โครงการปรับปรุงช่อมแซมผิวถนน สาย บ้านเด่น บ้านห้วยลี่ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน วงเงิน 9,000,000 บาท (3) โครงการปรับปรุงช่อมแซมถนน สาย บ้านนาก้อ - บ้านสบกอน 2 อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน วงเงิน 9,902,000 บาท และ (4) โครงการปรับปรุงชอมแซมถนน สาย บ้านตอน บ้านป่าต้าง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน วงเงิน 6,112,000 บาท วงเงินรวม 34,872,000 บาท ขอให้พิจารณาเป็นโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดต่อไป
                    4. มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) ในส่วนที่เหลือจำนวน 74 โครงการ เพื่อบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
                    5. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน 2  ไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                    6. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามข้อ 2 - 5 และรายงานผลการดำเนินการให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    1. นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้จัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ณ จังหวัดพะเยา โดยมอบหมายให้ สศช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ เป็นฝ่ายเลขานุการจัดการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (พะเยา เชียงราย น่าน และแพร่) เพื่อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพะเยา
                    2. ในช่วงระหว่างวันที่ 1 - 6 มีนาคม 2567 สศช. ร่วมกับสำนักงบประมาณและกระทรวงมหาดไทยได้ประสานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และภาคเอกชนในการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่เป็นความต้องการของพื้นที่ โดยในช่วงระหว่างวันที่ 2 - 4 มีนาคม 2567 สศช. สำนักงบประมาณและกระทรวงมหาดไทยได้ลงพื้นที่ประชุมหารือเพื่อพิจารณาโครงการตามความต้องการของพื้นที่ที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที
                    3. สศช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ ได้จัดการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน 2 (พะเยา เชียงราย น่าน และแพร่) เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 และวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานการประชุมฯ และมีผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้แทนสถาบันภาคเอกชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้แก่ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เข้าร่วมประชุมฯ โดยข้อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 สรุปได้ดังนี้
                              3.1 ข้อเสนอโครงการที่มีความพร้อมและดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี จำนวน 9 โครงการ กรอบวงเงิน 155,000,000 บาท ดังนี้ (1) โครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Gastronomy tourism สู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน วงเงิน 20,000,000 บาท (2) โครงการ A Cup to Village เพิ่มขีดความสามารถการเป็นนวัตกรด้านชาและกาแฟเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน วงเงิน 15,000,000 บาท (3) โครงการยกระดับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 วงเงิน 15,000,000 บาท (4) โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วงเงิน 26,120,000 บาท (5) โครงการยกระดับการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูง ตามแนวทางตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ จังหวัดพะเยา วงเงิน 23,880,000 บาท (6) โครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและยกระดับการท่องเที่ยวน่านสู่ท่องเที่ยวคุณภาพสูง วงเงิน 14,000,000 บาท (7) โครงการน่านเมืองเก่ามีชีวิต สร้างสรรค์ เมืองแห่งวัฒนธรรมสู่มรดกโลก วงเงิน 21,000,000 บาท (8) โครงการเกษตรปลอดภัยและมูลค่าสูง (กาแฟ) จังหวัดน่าน วงเงิน 15,000,000 บาท และ (9) โครงการยกระดับการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าจังหวัดแพร่ วงเงิน 5,000,000 บาท สำหรับ โครงการเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) วงเงิน 50,000,000 บาท และโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองเก่าแพร่ วงเงิน 45,000,000 บาท ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรับไปหารือกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานเกี่ยวข้องพิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติม
                    มติที่ประชุม :
                    เห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด จำนวน 9 โครงการ กรอบวงเงิน 155,000.000 บาท โดยให้กลุ่มจังหวัดและจังหวัดขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ               พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของวงเงินโครงการ สำหรับโครงการเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) วงเงิน 50,000,000 บาท และโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองเก่าแพร่ วงเงิน 45,000,000 บาท ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรับไปหารือกับสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติม และนำเสนอในการประชุมคณะรัฐนตรีพิจารณาในโอกาสแรก รวมทั้งให้กลุ่มจังหวัดและจังหวัดนำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
                              3.2 ข้อเสนอประเด็นการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน 78 โครงการ ดังนี้
                                        (1) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนากลุ่มจังหวัด จำนวน 2 เรื่อง 11 โครงการ ดังนี้
                                                  1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 1202 ตอนควบคุม 0200 ตอน สันต้นแหน - ป่าแดด ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย (2) โครงการการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (3) โครงการเมืองศูนย์กลางนวัตกรรมเกษตรปลอดภัยและอุตสาหกรรมอาหารอนาคตมูลค่าสูงล้านนาตะวันออก (4) โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนต้นพันธุ์ลำไยเพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกลำไยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (5) โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (17 จังหวัดภาคเหนือ) (6) โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเศรษฐกิจการเกษตรสีเขียวมูลค่าสูง (7) โครงการพัฒนาระบบนิเวศเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวมูลค่าสูง และจัดตั้งศูนย์ประสานงานเขตพัฒนาพิเศษล้านนาตะวันออก และ (8) โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตพืชทางเลือกตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่
                                                  2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 3 โครงการประกอบด้วย (1) โครงการพัฒนาด่านการค้าชายแคนภายในกลุ่มจังหวัด (จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน, จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา) (2) ขอให้ผลักดันการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC) ให้ครอบคลุมจังหวัดภายในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และ (3) ขอให้ผลักดันให้มีศึกษาสายทางคมนาคมขนส่งทางรางเชื่อมโยง สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ไปยังจังหวัดน่าน ให้ครอบคลุมจังหวัดภายในกลุ่มจังหวัด (โครงข่ายคมนาคมขนส่งทางรางล้านนาตะวันออก)
                                        (2) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดเชียงราย จำนวน 2 เรื่อง 7 โครงการ ดังนี้
                                                  1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการอำนวยความปลอดภัยให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) (2) โครงการพัฒนาเชียงรายเมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (3) โครงการพัฒนาพื้นที่และปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ตำบลริมกก และตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย (4) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบหนองหลวง จังหวัดเชียงราย และ (5) โครงการพัฒนาและพื้นฟูเวียงหนองหล่ม จังหวัดเชียงราย
                                                  2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย (1) ขอให้ผลักดันการดำเนินงานตามแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดเชียงราย และ (2) ขอให้เร่งรัดผลักดันการบริหารจัดการโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่าย รูปแบบการขนส่งสินค้าอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ให้เป็นศูนย์บริการแบบเป็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS)
                                        (3) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดพะเยา จำนวน 2 เรื่อง 30 โครงการ ดังนี้
                                                  1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 27 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการพลิกโฉมถนนสายวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Soft Power พะเยา (2) โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานพะเยา (3) โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายสร้างมูลค่าเพิ่มปลานิล (4) โครงการก่อสร้างอาคารผ่าตัด อุบัติเหตุ ผู้ป่วยหนัก และผู้ป่วยใน 11 ชั้น (พร้อมครุภัณฑ์ประกอบอาคาร) โรงพยาบาลพะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา (5) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์วัดศรีโคมคำพระอารามหลวง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา (6) โครงการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา (7) โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 - 2573) รองรับการผลิตบัณฑิตแพทยศาสตร์และการเป็น Medical Hub ที่ได้มาตรฐานของล้านนาตะวันออก (8) โครงการถนนสาย จ 1 ผังเมืองรวมเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา (สายเลี่ยงเมืองพะเยา) (9) โครงการถนนสายแยก ทล.1 - ทล.1202 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (สายเลี่ยงเมืองพะเยา) (10) โครงการถนนสาย ค ตามผังเมืองรวมชุมชน เชียงคำ - สบบง - บ้านทราย จังหวัดพะเยา (11) โครงการซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต โดยวิธี Pavement In Place Recycling รหัสสายทาง พย.ถ.10057 บ้านเวียง - บ้านปี้ เทศบาลตำบลเวียง เชื่อม ตำบลฝ่ายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (12) โครงการเสริมผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต รหัสสายทาง พย.ถ.10022 บ้านร่องไผ่ - บ้านต่ำดอนมูล ตำบลบ้านต๋อม เชื่อม ตำบลบ้านต่ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา (13) โครงการสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา (14) โครงการปรับปรุงอาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ พร้อมจัดซื้อครุภัณฑ์ อบจ.พะเยา (15) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบอาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ อบจ.พะเยา และพื้นที่ใกล้เคียง (16) โครงการก่อสร้างสปอร์ตคอมเพล็ก อบจ.พะเยา (17) โครงการพัฒนาย่านนวัตกรรมผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาการอยู่อาศัยอย่างชาญฉลาด (18) โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวริมกว๊านพะเยา (19) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำอิง (20) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำยม (21) โครงการพัฒนาพื้นที่หนองเล็งทรายแบบอารยเกษตรสู่วิถียั่งยืน (22) โครงการงานบูรณะทางหลวงหมายเลข 1179 เพื่อรองรับการขนส่งด้านการเกษตร (23) โครงการบูรณะทางหลวงหมายเลข 1251 เพื่อรองรับการขนส่งด้านการเกษตร (24) โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับกรค้าการลงทุน จังหวัดพะเยา (25) โครงการบูรณะทางหลวงหมายเลข 1126 เพื่อรองรับการค้าการลงทุน จังหวัดพะเยา (26) โครงการก่อสร้างฝ่ายดินซีเมนต์จำนวน 400 ตัว และ (27) ขอรับการสนับสนุนเป็นเงินอุดหนุนจ่ายขาดต็มจำนวน เพื่อก่อสร้างปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน และจัดซื้อจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การตลาดที่จำเป็นให้กับสถาบันเกษตรกร
                                                  2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 3 โครงการประกอบด้วย (1) ขอให้เร่งรัดการจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพะเยา (2) ขอให้ผลักดันการจัดตั้งสถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง (องค์การมหาชน) และ (3) ขอให้พิจารณาจังหวัดพะเยาเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
                                        (4) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดน่าน จำนวน 2 เรื่อง 13 โครงการ ดังนี้
                                                  1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 11 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมผิวถนน สาย บ้านฝั่งหมิ่น บ้านนาก้า อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน (2) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมผิวถนน สาย บ้านเด่น บ้านห้วยลี่ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (3) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนน สาย บ้านนาก้อ - บ้านสบกอน 2 อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (4) โครงการปรับปรุงช่อมแซมถนน สาย บ้านตอน บ้านป่าต้าง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน (5) โครงการก่อสร้างแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สายบ้านถ่อน ตำบลจอมพระ - บ้านก๋ง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (6) โครงการปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย นน.3026 แยกทางหลวงหมายเลข 101 - บ้านน้ำตาว อำเภอปัว, อำเภอท่าวังผา (7) โครงการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างและสัญญาณจราจร นน.007 ถนนเชิงลาดสะพานดู่ใต้พัฒนา อำเกอเมือง จังหวัดน่าน (8) โครงการก่อสร้างสะพานและทางต่างระดับสะพานปากนาย สะพานข้ามเขื่อนสิริกิติ์ เชื่อมทางหลวงหมายเลข 1026 และทางหลวงหมายเลข 1339 จังหวัดอุตรดิตถ์ - จังหวัดน่าน ตอน อำเภอน้ำปาด - อำเภอนาหมื่น (9) โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองน่าน (10) โครงการพัฒนาศักยภาพท่าอากาศยานน่านนคร ก่อสร้างขยายทางวิ่งทางขับลานจอดเครื่องบินองค์ประกอบอื่น ๆ และปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร ท่าอากาศยานน่านนคร ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่านจังหวัดน่าน และ (11) โครงการปรับภูมิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวการก่อสร้างระบบเคเบิ้ลใต้ดินในเขตเทศบาลเมืองน่าน
                                                  2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย (1) ขอให้ผลักดันการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง และ (2) ขอให้ผลักดันการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดน่านแห่งใหม่
                                        (5) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดแพร่ จำนวน 2 เรื่อง 17 โครงการ ดังนี้
                                                  1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 16 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการ ?สูบน้ำขึ้นดอย สอย PM2.5 สร้างป่าคาร์บอนเครดิต? (2) โครงการยกระดับการท่องเทียวพื้นที่หอชมวิวริมน้ำยม ตำบลป่าแมต (3) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดแพร่ (4) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำยม เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดแพร่ (5) โครงการยกระดับผ้าทอแพร่ครบวงจรสู่ระดับสากล (6) โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการแฟชั่นจังหวัดแพร่ และทดลองตลาด Phrae Entrepreneur Fashion Incubation and Market Test Project (7) โครงการส่งเสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในจังหวัดแพร่ สู่เชิงพาณิชย์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง (8) โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการแรงงานและส่งเสริมการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ตลาดยุคใหม่ (9) โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ แฟชั่นไลฟ์สไตล์ เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนด้านแฟชั่นในระดับสากล (10) โครงการพลิกโฉมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมแฟชั่นจังหวัดแพร่ ด้วยเอไอ ปัญญาประดิษฐ์ Transforming Phrae Industry With AI (11) โครงการ 4F Food Fashion Film Festival (12) โครงการยกระดับการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองรอง อัตลักษณ์ วิถีชีวิตเมืองลอง ?เมืองลอง ต้องลอง? (13) โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 11 สาย อ.เด่นชัย - ลำปาง ตอน แยกแม่แขม ? บ้านมาย ระยะทาง 13.266 กิโลเมตร (14) โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแนวใหม่ ทางเลี่ยงเมืองร้องกวาง ระยะทาง 14.898 กิโลเมตร (15) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแพร่ ขยายทางวิ่ง ทางขับเดิม ลานจอดทางวิ่งติดตั้งไฟนำร่อง ก่อสร้างถนนตรวจการภายในสนามบิน รั้ว ถนนภายนอก เพื่อทดแทนถนนเดิม รางระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียบ่อหน่วงน้ำ อาคารตับเพลิง อาคารประปา อาคารที่พักผู้โดยสาร อาคารศูนย์ขนส่ง ลานจอดรถยนต์ และเขตปลอดภัยรอบทางวิ่ง อาคารที่พักผู้โดยสาร (หลังใหม่) และที่จอดรถ และ (16) โครงการก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้และออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแห่งประเทศไทย
                                                  2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 1 โครงการ ดังนี้ (1) ขอให้ผลักดันการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative and Design Center : TCDC)
                              3.3 ข้อเสนอกลุ่มจังหวัดฯ ของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จากการพิจารณาข้อเสนอประเด็นการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ของภาคเอกชนจำนวน 78 โครงการ โดย สศช. สำนักงบประมาณ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และภาคเอกชน พบว่า ข้อเสนอกลุ่มจังหวัดฯ ของภาคเอกชนที่มีความพร้อมดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี มีจำนวน 4 โครงการกรอบวงเงิน 145,880,000 บาท ดังนี้ (1) โครงการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 1202 ตอนควบคุม 0200 ตอน สันต้นแหน - ป่าแดด ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย วงเงิน 50,000,000 บาท (2) โครงการอำนวยความปลอดภัยให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) วงเงิน 50,000,000 บาท (3) โครงการพลิกโฉมถนนสายวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Soft Power พะเยา วงเงิน 25,880,000 บาท และ (4) โครงการ ?สูบน้ำขึ้นดอย สอย PM2.5 สร้างป่าคาร์บอนเครดิต? 20,000,000 บาท สำหรับ (1) โครงการปรับปรุงช่อมแซมผิวถนน สาย บ้านฝั่งหมิ่น บ้านนาก้า อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน วงเงิน 9,858,000 บาท (2) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมผิวถนน สาย บ้านเด่น บ้านห้วยลี่ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน วงเงิน 9,000,000 บาท (3) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนน สาย บ้านนาก้อ - บ้านสบกอน 2 อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน วงเงิน 9,902,000 บาท และ (4) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนสาย บ้านตอน บ้านป่าต้าง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน 6,112,000 บาท สำนักงบประมาณได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า ทั้ง 4 โครงการ วงเงินรวม 34,872,000 บาท อยู่ในคำขอรับงบประมาณรายจ่งบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยทั้ง 4 โครงการดังกล่าว ขอให้พิจารณาเป็นโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง
                              3.4 การประชุมหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) กับผู้ว่าราชการจังหวัดและภาคเอกชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน) เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดพะเยา ซึ่งความเห็นที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 โดยผู้แทนภาคเอกชนมีความเห็นเพิ่มเติม โดยขอให้เร่งรัดผลักดันโครงการที่สำคัญเพื่อยกระดับกลุ่มจังหวัดฯ ให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง ส่งเสริมการค้า การลงทุนเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย
                                        (1) ด้านการค้า การลงทุน เศรษฐกิจชายแดน จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ (1) เร่งรัดผลักดันโครงการพัฒนาด่านการค้าชายแดนภายในกลุ่มจังหวัด (จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน) และ (2) เร่งรัดผลักดันโครงการพัฒนาท่าอากาศยานแพร่ขยายทางวิ่ง ทางขับเดิม ลานจอด ทางวิ่งติดตั้งไฟนำร่อง ก่อสร้างถนนตรวจการภายในสนามบิน รั้ว ถนนภายนอก เพื่อทดแทนถนนเดิม รางระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียบ่อหน่วงน้ำ อาคารดับเพลิง อาคารประปา อาคารที่พักผู้โดยสาร อาคารศูนย์ขนส่ง ลานจอดรถยนต์ และเขตปลอดภัยรอบทางวิ่ง อาคารที่พักผู้โดยสาร (หลังใหม่) และที่จอดรถ (จังหวัดแพร่)
                                        (2) ด้านคุณภาพชีวิต จำนวน 2 เรื่อง คือ (1) ขอรับการสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 - 2573) รองรับการผลิตบัณฑิตแพทยศาสตร์และการเป็น Medical Hub ที่ได้มาตรฐานของล้านนาตะวันออก (จังหวัดพะเยา) และ (2) ขอให้กรมท่าอากาศยานพิจารณาความเหมาะสมของการพัฒนาท่าอากาศยานพะเยา
                                         (3) ด้านอื่น ๆ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ ขอให้ผลักดันการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative and Design Center : TCDC (จังหวัดแพร่) และขอรับการสนับสนุนโครงการก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้และออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแห่งประเทศไทย (จังหวัดแพร่)
                              มติที่ประชุม :
                              1. เห็นชอบในหลักการของโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน 4  โครงการ กรอบวงเงิน 145,880,000 บาท โดยให้ส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างรอบคอบ สำหรับ 4 โครงการที่อยู่ในคำขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ได้แก่ (1) โครงการปรับปรุงซ่อมแชมผิวถนนสาย บ้านฝั่งหมิ่น บ้านนาก้า อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน วงเงิน 9,858,000 บาท (2) โครงการปรับปรุงช่อมแชมผิวถนน สาย บ้านเด่น บ้านห้วยลี่ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน วงเงิน 9,000,000 บาท (3) โครงการปรับปรุงช่อมแซมถนน สาย บ้านนาก้อ - บ้านสบกอน 2 อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน วงเงิน 9,902,000 บาท และ (4) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนน สาย บ้านตอน บ้านป่าต้าง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน วงเงิน 6,112,000 บาท วงเงินรวม 34,872,000 บาท ตามข้อ 3.3 ขอให้พิจารณาเป็นโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง
                              2. มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) ในข้อ 3.2 ในส่วนที่เหลือจำนวน 74 โครงการ เพื่อบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
                              3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอในข้อ 3.4 ไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ต่างประเทศ
9. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสาธารณรัฐเช็กว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้
                     1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง กห. แห่งราชอาณาจักรไทย กับ กห. แห่งสาธารณรัฐเช็กว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ)
                     2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                      3. หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้ กห. พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเช็ก (นางสาวยานา เชร์โนโควา) มีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการและลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในวันที่ 25 มีนาคม 2567 ณ ศาลาว่าการกลาโหม]
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กห. รายงานว่า
                      1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (10 มิถุนายน 2556) เห็นชอบให้ กห. จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง กห. แห่งราชอาณาจักรไทยกับ กห. สาธารณรัฐเช็ก (Memorandum of Understanding between the Ministry of Defence of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Defence of the Czech Republic on Mutual Cooperation) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ (ซึ่งได้สิ้นสุดการมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566)
                     2. สาธารณรัฐเช็กได้มีหนังสือเสนอร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่มาให้ฝ่ายไทยพิจารณา ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันเพื่อพิจารณาถ้อยคำและสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ จนได้ข้อยุติร่วมกันแล้ว โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่มีสาระสำคัญคงเดิม โดยมีการปรับเพิ่มในส่วนของประเด็นขอบเขตความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร และระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ จากเดิม มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี และจะขยายอัตโนมัติเป็นเวลา 5 ปี เป็น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามจนกว่าผู้เข้าร่วมฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยกเลิกบันทึกความเข้าใจฯ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์ และหลักการ          เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารระหว่างกัน โดยสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เข้าร่วมแต่ละฝ่าย และหลักการของความเสมอภาค ต่างตอบแทน และผลประโยชน์ร่วมกัน โดยไม่ก่อให้เกิดสิทธิและพันธะภายใต้กฎหมายภายในและระหว่างประเทศ และจะถูกนำไปปฏิบัติโดยสอดคล้องกับกฎหมายภายในและระเบียบของแต่ละประเทศ
ขอบเขต และสาขาความร่วมมือ          (1) จะร่วมมือกันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประชุมหารือ/เชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ การฝึกอบรมและการฝึกในสาขาต่าง ๆ ดังนี้
   (1.1) นโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
   (1.2) การปฏิบัติการรักษาสันติภาพและมนุษยธรรม
   (1.3) ความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร
   (1.4) ประวัติศาสตร์ทางทหาร
   (1.5) การฝึกและศึกษาทางทหาร
(2) ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายอาจตกลงที่จะร่วมมือในสาขาอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อที่ 1 หากความร่วมมือดังกล่าวมีความจำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์ของบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้
ความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร          (1) การส่งเสริมจะส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารในด้านต่าง ๆ ดังนี้
   (1.1) การจัดหา การใช้งาน การซ่อมแซม การซ่อมคืนสภาพ การบำรุงรักษา และการพัฒนาให้ทันสมัยของสิ่งอุปกรณ์ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
   (1.2) การจัดตั้งสายการผลิตร่วม และ/หรือการผลิตภายใต้ใบอนุญาต สำหรับสิ่งอุปกรณ์ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
   (1.3) การวิจัยและพัฒนาสิ่งอุปกรณ์ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
   (1.4) การเตรียมความพร้อมและการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่เทคนิค
(2) ความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารจะถูกดำเนินการผ่านความตกลงระหว่างรัฐบาล หรือสัญญาเฉพาะระหว่างหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจจากทั้งสองประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล
(3) การดำเนินความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารอาจจำเป็นต้องได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะ จากหน่วยงานที่มีอำนาจของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย (เช่น ใบอนุญาตส่งออก/นำเข้า) เนื่องจากเป็นข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องของผู้เข้าร่วม
ค่าใช้จ่าย          ผู้เข้าร่วมแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนเองซึ่งเกี่ยวข้องกับความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ หากมิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น
ผลบังคับใช้ และการแก้ไข          (1) จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามและอาจแก้ไขได้ทุกเวลา โดยความเห็นชอบร่วมกัน
(2) บันทึกความเข้าใจฯ อาจถูกทบทวนโดยผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายในทุก 5 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ผู้เข้าร่วมฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจแจ้งอีกฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษรถึงความประสงค์ที่จะยกเลิกบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ โดยการยกเลิกจะไม่มีผลกระทบต่อโครงการความร่วมมือ และกิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ ที่กำลังดำเนินการและยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ในขณะที่บันทึกความเข้าใจฯ ถูกยกเลิก
                       ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มิได้มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับส่วนที่ 1 วรรค 2 ของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระบุว่า บันทึกความเข้าใจนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือพันธกรณีใด ๆ ภายใต้กฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

10. เรื่อง ร่างแผนการความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร (Thailand - UK Strategic Partnership Roadmap)
                     คณะรัฐมนตรีมีติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                      1. ร่างแผนการความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร (ร่างแผนฯ) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างแผนฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้ กต. พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                     2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในร่างแผนฯ
(จะมีการลงนามในร่างแผนฯ ระหว่างการเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร ในวันที่ 20 มีนาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานคร)
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กต. รายงานว่า
                      1. ไทยกับสหราชอาณาจักรมีกำหนดครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 170 ปี               ในปี 2568 ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีกลไกการหารือทวิภาคีที่สำคัญ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ซึ่งเป็นกลไกความร่วมมือด้านการค้าที่สำคัญในระดับรัฐมนตรี ทำหน้าที่ส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพ ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าลำดับที่ 3 ของไทยในภูมิภาคยุโรป และในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางมายังประเทศไทยจำนวน 817,220 คน เมื่อคำนึงถึงความสัมพันธ์ทางการทูตที่ยาวนาน และความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างกัน ทั้งสองประเทศจึงเห็นพ้องที่จะจัดทำร่างแผนฯ เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ไทย - สหราชอาณาจักร สู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างเป็นทางการ และใช้เป็นแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร รวมทั้งเพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนความร่วมมือในสาขาที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
                     2. ร่างแผนฯ มี 8 สาขา สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
สาขา          รายละเอียด
1) เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน          (1) ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่เปิดกว้างมากขึ้น ผ่านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับโลก เช่น กรอบ JETCO เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว อาหารและสินค้าเกษตร สาธารณสุข ดิจิทัล การเงินและการลงทุน มาตรฐานและการตรวจสอบรับรอง
(2) กระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า การปฏิรูปกฎระเบียบ และการพัฒนาภาคการเงิน รวมถึงความร่วมมือภายใต้โครงการบูรณาการเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร - อาเซียน
(3) เพิ่มการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการเงิน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งการพัฒนาภาคการเงินของไทย
(4) การเพิ่มขีดความสามารถในด้านเทคโนโลยี การบินและอวกาศ เทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรม ผ่านการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมโดยบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ [Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM)]
2) การเมือง รัฐสภา และพหุภาคี          (1) เพิ่มความถี่ของการแลกเปลี่ยนการเยือนและการประชุมของผู้นำ รัฐมนตรีระดับสูง และเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และระหว่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหารือเพื่อเตรียมการอำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างทั้งสองประเทศสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต
(2) ร่วมกันจัดการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร ในระดับรัฐมนตรี เป็นประจำทุกปี หรือตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน
(3) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันผ่านกรอบอาเซียน - สหราชอาณาจักร และกลไกที่เกี่ยวข้องที่มีอาเซียนเป็นผู้นำ สนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคืบหน้าในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการอาเซียน - สหราชอาณาจักร อย่างสม่ำเสมอ
3) ความมั่นคง และกลาโหม          (1) จัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีด้านความมั่นคงอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนในระดับทวิภาคีมากยิ่งขึ้นในประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคง และติดตามความร่วมมือทวิภาคีในประเด็นความมันคงอย่างต่อเนื่อง
(2) กระชับความสัมพันธ์ด้านกลาโหม ผ่านกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานต่าง ๆ ของกองทัพไทย เพื่อแสวงหาโอกาสในการส่งเสริมศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถ
(3) ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือด้านการป้องกันและต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ และความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรมไซเบอร์ ภัยคุกคามจากการแสวงหาผลประโยชน์ และการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก การอพยพย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมาย และการค้ายาเสพติด โดยมุ่งมั่นการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ ผ่านความช่วยเหลือเชิงเทคนิค การหารืออย่างสม่ำเสมอ และการแลกเปลี่ยนนโยบายทั้งในระดับทวิภาคี และในกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงที่เกี่ยวข้อง
(4) สานต่อความร่วมมือในการต่อสู้กับภัยคุกคามด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนให้การสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาค รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานด้านการเงินที่ผิดกฎหมายของอาเซียนภายใต้กรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ
4) การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ พลังงาน เศรษฐกิจสีเขียว และการพัฒนาที่ยั่งยืน          (1) ร่วมกันผลักดันการเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศโลกภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส และเป้าหมายรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
(2) สนับสนุนไทยในการพัฒนาและดำเนินการตามแผนการเปลี่ยนผ่านสู่คาร์บอนต่ำ และเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคสีเขียว ดึงดูดการลงทุนสีเขียว และการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะส่งเสริมการลดคาร์บอนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบพลังงาน และห่วงโซ่อุปทาน
(3) แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและสนับสนุนการแบ่งปันความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น การกำหนดราคาคาร์บอน และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
(4) เสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และมลพิษทางอากาศ
5) เกษตรกรรม          (1) การแลกเปลี่ยนนโยบายและกระชับความสัมพันธ์ผ่านการเจรจาด้านการเกษตรประจำปีอย่างเป็นทางการ
(2) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน และการประมง ผ่านการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ นโยบาย เทคโนโลยี และการวิจัยในระดับทวิภาคี
(3) การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านสุขภาพสัตว์ การควบคุมและการเฝ้าระวังโรค ความมั่นคงด้านอาหาร สวัสดิภาพสัตว์ การแปรรูปอาหาร การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พืชสวน และการลดการดื้อยาต้านจุลชีพในภาคเกษตรกรรม
6) ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความร่วมมือด้านเทคโนโลยี          (1) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและนวัตกรจากไทยและสหราชอาณาจักรเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่ทั้งสองฝ่ายเผชิญร่วมกัน ผ่านกองทุนความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร
(2) จัดตั้งกลไกการหารือด้านเทคนิคและความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยน กำกับดูแล และการปรับใช้แอปพลิเคชันสำหรับบริการสาธารณะ
(3) กระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านความปลอดภัยทางโซเบอร์ โดยการอำนวยความสะดวกการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน และการเจรจาเชิงเทคนิคอย่างต่อเนื่อง
(4) รับรองว่าทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์ร่วมกันจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต โดยเทคโนโลยีแห่งอนาคตจะถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของประชาธิปไตย ผ่านการมีส่วนร่วมในระบบพหุภาคี การพัฒนามาตรฐานในระดับสากลภายใต้กระบวนการที่เปิดกว้าง โปร่งใส และครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
7) สาธารณสุข          (1) เสริมสร้างการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal health coverage: UHC) เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุขระดับประเทศและภูมิภาค โดยการดำเนินการต่าง ๆ เช่น สนับสนุนความเป็นผู้นำของไทยในด้านการพัฒนาระบบสาธารณสุขและการยกระดับระบบสาธารณสุขระดับภูมิภาค การกระชับความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสาธารณสุข สนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างความยืดหยุ่นของระบบสาธารณสุขเพื่อจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ และปรับปรุงการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งดำเนินการร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดใหญ่
(2) สนับสนุนความร่วมมือพหุภาคีและการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) โดยประสานงานในระดับพหุภาคีในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น ความมั่นคงด้านสาธารณสุข หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การดื้อยาของเชื้อโรค สุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ เป็นต้น
8) ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน การศึกษาและซอฟต์พาวเวอร์          (1) จัดกิจกรรมรำลึกการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร ในปี 2568 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 170 ปี
(2) จัดทำบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษา การส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันและร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เช่น การสอน การเรียนรู้ และการประเมินทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
(3) การจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม การเสริมสร้างระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการขับเคลื่อนความเป็นสากลของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา และการขยายการมีส่วนร่วม
(4) การกระชับความร่วมมือด้านการศึกษาผ่านการจัดตั้งหลักสูตรการศึกษาระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ การยอมรับคุณวุฒิทางวิชาการและวิชาชีพร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยระหว่างกัน
(5) การริเริ่มจัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือทางศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรในระยะยาว รวมทั้งสนับสนุนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ค่านิยม และแนวคิดระหว่างประชาชนของไทยและสหราชอาณาจักร
(6) การฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนโอกาสการทำงานในสาขาวิชาชีพและโอกาสในการศึกษาของไทย
                     ทั้งนี้ ร่างแผนฯ ฉบับนี้ไม่มีเจตนาที่จะสร้างภาระผูกพันทางกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
                     3. ประโยชน์ที่ได้รับ: ร่างแผนฯ จะเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ ตลอดจนขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรให้ก้าวหน้ามีผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
                      4. กต. แจ้งว่า ร่างแผนฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับในร่างแผนฯ ระบุว่า ไม่มีเจตนาที่จะสร้างภาระผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างแผนฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

11. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 31 (Joint Statement of the Thirty - First ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 31 (Joint Statement of the Thirty - First ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 31 (31st ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council Meeting) ให้การรับรอง (adopt) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 31 ในวันที่ 24 มีนาคม 2567 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                    สาระสำคัญ
                    ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 31      มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการรับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 (ASCC Blueprint 2025) และสนับสนุนการดำเนินการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างเต็มที่ภายใต้หัวข้อหลัก ?อาเซียน : การยกระดับความเชื่อมโยงและความยืดหยุ่น?(ASEAN: Enhancing Connectivity and Resilience) ผ่านการให้ความสำคัญไปที่หัวข้อย่อย 2 ประเด็น คือ ?การยกระดับการเชื่อมโยง? และ ?การยกระดับความยืดหยุ่น? ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของ สปป. ลาว โดยหัวข้อย่อย ?การยกระดับการเชื่อมโยง? มีการให้ความสำคัญใน 4 ประการ ได้แก่ (1) การบูรณาการและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ (2) การสร้างอนาคตที่ครอบคลุมและยั่งยืน (3) การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลแห่งอนาคต (4) วัฒนธรรมและศิลปะ : การส่งเสริมบทบาทของวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียนเพื่อให้เกิดความบูรณาการและความยั่งยืน ทั้งนี้ มีการให้ความสำคัญใน 5 ประการ สำหรับหัวข้อย่อย ?การยกระดับความยืดหยุ่น? ได้แก่ (1) การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2588 (ASEAN Community Vision 2045) (2) การเสริมสร้างความเป็นกลางของอาเซียน (3) การส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม : ความยืดหยุ่นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) สตรีและเด็ก : การส่งเสริมบทบาทของสตรีและเด็กต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในภูมิภาคอาเซียน และ (5) สุขภาพ : การเปลี่ยนความยืดหยุ่นของอาเซียนต่อการพัฒนาของอาเซียนในบริบทใหม่

                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    1. ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 31 (Joint Statement of the Thirty - First ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council) ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศกอปรกับไม่มีการลงนามในร่างถ้อยแถลงร่วมดังกล่าว ดังนั้น ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฯ
                    2. การให้ความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 31 (Joint Statement of the Thirty - First ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council) มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของประเทศไทย
โดยถือเป็นการย้ำเจตจำนงและความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการมีส่วนร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินความร่วมมือและรับรองในหลักการเอกสารผลลัพธ์ในด้านต่าง ๆ ที่จะได้นำเสนอต่อการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป

แต่งตั้ง
12. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นางชนิดา เกษมศุข ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวัฒนธรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                     1. นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
                     2. นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ