สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 เมษายน 2567

ข่าวการเมือง Tuesday April 23, 2024 16:51 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (23 เมษายน 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระ                                        ในอสังหาริมทรัพย์บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการของการรถไฟฟ้าขนส่ง                                                  มวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุ                                        ออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษ                                        ในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงวัตถุตำรับยกเว้น พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง กำหนดภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ                                        บรรจุสารระเหย ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสารระเหยต้องจัดทำก่อนนำออกจำหน่าย                                         พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความ                                                  เสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตร พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    9.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน                                                  แห่งชาติกรณีสายการบินปฏิบัติต่อคนพิการไม่เหมาะสม
                    10.           เรื่อง           ขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันงบประมาณการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนน                                                  เลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ระยะที่ 1 เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
                    11.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี                                        ฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
                    12.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำและปัญหาคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง
                    13.           เรื่อง           รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    14.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำและคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ                                        บางปะกง
                    15.           เรื่อง           โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
                    16.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ                                                   ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้า                                        ร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว                                                   เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม                                         2567 โดยไม่ถือเป็นวันลา

ต่างประเทศ
                    17.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำ                                        ประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่ง                                                            ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                    18.           เรื่อง           ขออนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างเครือข่ายความเป็นเลิศของคน                                                  ประจำเรือภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กับ                                                  กรมเจ้าท่าประเทศไทย (Memorandum of Understanding between The                                         Asia-Pacific Economic Cooperation Seafarers Excellence Network                                                   (APEC SEN) and Marine Department of Thailand)
                    19.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป                                         (General Border Committee: GBC) ไทย - ลาว ครั้งที่ 28
                    20.           เรื่อง           การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่                                         6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021)
                    21.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการ                                        ท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการบินพลเรือนและการ                                                  ท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
                    22.           เรื่อง           ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็น                                        ทางการของสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์                                         แห่งบรูไนดารุสซาลาม
                    23.           เรื่อง            ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่ง                                                  ราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลของสุลต่านและยัง ดี-เปอร์ตวน แห่งบรูไนดารุสซา                                        ลาม
                    24.           เรื่อง           การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                                  สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือ                                                  หนังสือเดินทางราชการ
                    25.            เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงาน                                        แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงไฟฟ้า พลังงาน และทรัพยากรแร่สาธารณรัฐ                                        ประชาชนบังกลาเทศ (Memorandum of Understanding Between the                                                   Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of                                                   Power, Energy and Mineral Resources of the People?s Republic of                                                   Bangladesh on Energy Cooperation)
                    26.           เรื่อง           ร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) ที่จะเริ่มการเจรจาจัดทำความ                                        ตกลงการค้าเสรีไทย ? บังกลาเทศ
                    27.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการ                                        ท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา                                                  แห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน
                    28.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนา                                                  แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57
                    29.           เรื่อง           การเข้าประชุม Sustainable Finance for Tiger Landscapes Conference

ณ ประเทศภูฏาน

                    30.           เรื่อง           การยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือ                                                  เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติรัสเซีย เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว

แต่งตั้ง
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                    (กระทรวงพลังงาน)
                    32.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์
                    33.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาสื่อ                                                  ปลอดภัยและสร้างสรรค์
                    34.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน                                        ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
                    35.           เรื่อง           แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การ                                                  บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                    1. ในการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. มีความจำเป็นต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนที่อยู่ในแนวสายทางรถไฟฟ้า เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้าที่อยู่บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ แต่ในระยะหลังเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้มีการร้องขอให้ รฟม. พิจารณากำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์แทนการเวนคืน ในกรณีที่ รฟม. เข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งส่งผลให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นสามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ได้ลดน้อยลงจากปกติ แต่ไม่ถึงขนาดที่จะต้องมีการเวนคืนเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด เช่น ทางวิ่งของรถไฟฟ้าพาดผ่านบริเวณเหนือที่ดินบางส่วน โดยเจ้าของยังสามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ได้แต่ไม่สามารถใช้สอยได้ตามปกติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและประหยัดงบประมาณจากการที่จะต้องจ่ายค่าทดแทนจากการเวนคืน
                    2. โดยที่มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 กำหนดให้หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนนั้นให้เป็นไปตามที่กฎกระทรวงกำหนดซึ่งปัจจุบันมีเพียงกฎกระทรวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ใต้พื้นดินเท่านั้น แต่ยังไม่มีกฎกระทรวงที่กำหนดเงินทดแทนกรณีที่มีการก่อภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำแต่อย่างใด ทำให้ รฟม. ไม่สามารถพิจารณากำหนดค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าวให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ คค. จึงเห็นควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและเพื่อให้ประชาชนได้รับค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์แทนการเวนคืนที่ดินในจำนวนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งคณะกรรมการ รฟม. มีมติ (ประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวและให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ รฟม. ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงกับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ฯ เพื่อให้ รฟม. เข้าใช้ที่ดินได้ก่อน และเมื่อมีกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว รฟม. จะดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนต่อไป
                    3. รฟม. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 (รวม 14 วัน) รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์                    บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ          หมายเหตุ
1. คณะกรรมการ          มีหน้าที่ในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทน          ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน
2. ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดให้พิจารณากำหนดค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์แทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์          อสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้สอยได้น้อยลงจากปกติ และภาระในอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีลักษณะตาม ข้อ 5          เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอาจร้องขอต่อ รฟม. ให้ดำเนินการจัดซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก็ได้
3. หลักเกณฑ์การพิจารณาราคาที่ดินที่จะนำมากำหนดค่าทดแทน          ให้คณะกรรมการคำนึงถึงราคา ขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ประกอบกัน ดังนี้ 1) ราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด ณ วันที่คณะกรรมการกำหนดค่าทดแทน 2) ราคาประเมินที่ดินของทางราชการที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 3) ขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ และ 4) สภาพการใช้ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงกับที่ดินนั้น          รายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นไปตามร่างข้อ 5 ถึงข้อ 8
4. ราคาค่าที่ดิน          เมื่อทราบราคาที่ดินให้ถือว่าสภาพและลักษณะภาระอันพึงมีแก่อสังหาริมทรัพย์ผลประโยชน์และความเสียหายอยู่ในเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้ได้ร้อยละ 75 ของราคาที่ดิน          -
5. ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องพิจารณากำหนดค่าทดแทน          อสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระในอสังหาริมทรัพย์น้อยจนถือว่าไม่ทำให้การใช้สอยของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายลดน้อยลง โดยต้องมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้
 1. อยู่ในเขตที่ดินที่ต้องห้ามหรือข้อจำกัดการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารบางประเภทตามกฎหมาย หรือกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนมีผลใช้บังคับ
 2. สิ่งก่อสร้างของ รฟม. ยกระดับพาดผ่านไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งปลูกสร้างลงในที่ดินนั้นประกอบกับสิ่งก่อสร้างนั้นต้องมีความสูงมากกว่า 13 เมตร และมีความสูงมากกว่าระดับที่บุคคลใดจะก่อสร้างในที่ดินนั้นได้ไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร และ
 3. สิ่งก่อสร้างและข้อห้ามของ รฟม. ต้องไม่กระทบสิทธิการใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นที่บุคคลใดจะพึงมีโดยปกติสุขและชอบด้วยกฎหมายในวันที่พระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์          - กรณีนอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้นี้ให้คณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณีไป
- กรณีที่อสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในเกณฑ์ได้รับค่าทดแทนแต่มีบางส่วนไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับค่าทดแทน เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถร้องขอให้                    รฟม. จัดซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้ง 2 ส่วนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก็ได้
6. การกำหนดค่าทดแทนในกรณีอื่น          ลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ต้องแก้ไขปรับปรุงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ในที่ดิน หรือทำให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องหยุดกิจกรรมใด ๆ เป็นการชั่วคราว เนื่องจากการแก้ไขปรับปรุงหรือต้องย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ในระหว่างการแก้ไขปรับปรุง ให้คณะกรรมการกำหนดเงินค่าทดแทนเฉพาะที่ได้เสียหายจริง          การขอรับเงินทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายแสดงหลักฐานการสูญเสียรายได้ต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่ รฟม. กำหนด
7. หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดค่าทดแทนในกรณีที่มีการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นการชั่วคราว          ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงอัตราค่าเช่าที่ดินนั้น หรืออัตราค่าเช่าที่ดินในบริเวณใกล้เคียง และกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนฯ ด้วย          รฟม. เข้าใช้เพื่อเตรียมก่อสร้างหรือดำเนินการสร้าง ขยาย ปรับปรุง หรือบำรุงรักษากิจการขนส่งมวลชน

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุดไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
                    1. ปัจจุบันได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวและการออกใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า (เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971 ที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยที่ผ่านมายังไม่เคยมีการออกใบอนุญาตลักษณะนี้) แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับแล้ว (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564) โดยให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติด
                    2. โดยที่มาตรา 37 และมาตรา 44 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดได้บัญญัติให้เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้รับแจ้งการห้ามนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดที่ต่างประเทศได้แจ้งผ่านเลขาธิการสหประชาชาติระบุห้ามนำเข้าไปยังประเทศใด ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดการห้ามนำเข้าประเทศนั้น และห้ามผู้ใดส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังประเทศที่ระบุห้ามนำเข้า เว้นแต่ได้รับอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวจากประเทศนั้นและใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวจากเลขาธิการคณะกรมการอาหารและยา ทั้งนี้ การขอรับใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวและการออกใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราว และการให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้าเพื่อให้การขออนุญาตและการอนุญาตสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สธ. จึงมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดดังกล่าวแต่เนื่องจากร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม สธ. ได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ตามที่ สธ. เสนอ และในคราวประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ 22-8/2566 เมื่อวันที่                       18 กันยายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                    3. สธ. ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 และแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (ฉบับที่ 2)                      พ.ศ. 2565 แล้ว โดยได้นำร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า พ.ศ. .... รับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมายระหว่างวันที่ 2 - 17 ตุลาคม 2566 รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                    ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                    1. กำหนดคุณสมบัติผู้ขอรับอนุญาต ดังนี้
                              1.1 เป็นผู้รับอนุญาตส่งออกวัตฤออกฤทธิ์ตามมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดตามชนิดและประเภทของวัตถุออกฤทธิ์ที่จะส่งออกนั้น
                              1.2 เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด
                    2. กำหนดกระบวนการพิจารณาอนุญาต ดังนี้
                              2.1 การยื่นคำขอ หรือการติดต่อใด ๆ และการออกเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ดำเนินการดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข หรือสถานที่อื่นตามที่เลขาธิการ อย. กำหนด
                              2.2 ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตต่อให้ผู้อนุญาต1 ตามแบบที่เลขาธิการ อย. กำหนด พร้อมด้วยข้อมูล เอกสารหรือหลักฐาน ได้แก่
                                        (1) เลขที่ใบอนุญาตส่งออกวัตถุออกฤทธิ์
                                        (2) หนังสือมอบอำนาจผู้แทนยื่นคำขอ
                                        (3) หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐของประเทศปลายทางที่แสดงความจำนงขอให้ส่งออกไปยังประเทศนั้น หรือใบอนุญาตนำเข้าของประเทศปลายทางผู้รับวัตถุออกฤทธิ์นั้น
                                        (4) เอกสารหรือหลักฐาน ซึ่งระบุชื่อ จำนวนหรือปริมาณ และคุณลักษณะของวัตถุออกฤทธิ์ตามที่กำหนดในแบบคำขอ รวมทั้งชื่อและที่ตั้งของสถานที่ทำการของผู้นำเข้าประเทศผู้รับตลอดจนวิธีการในการส่งออก
                                        (5) ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานอื่นตามที่กำหนดในแบบคำขอรับอนุญาต
                              2.3 เมื่อได้รับคำขอให้ผู้อนุญาตตรวจสอบคำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานใด ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งให้ผู้ขออนุญาตดำเนินการแก้ไข ภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตหรือไม่จัดส่งข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไปและให้ผู้อนุญาตคืนคำขออนุญาต เอกสาร และหลักฐานให้แก่ผู้ขออนุญาต พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอให้ทราบด้วยและให้ผู้อนุญาตจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
                              2.4 เมื่อเห็นว่าคำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้ผู้อนุญาตออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขออนุญาต และให้พิจารณาออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
                    3. กำหนดให้ชื่อ ชนิด จำนวนหรือปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์ที่อนุญาตให้ส่งออกเฉพาะคราวต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตของประเทศผู้รับ และไม่เกินจำนวนหรือปริมาณที่ระบุไว้ในใบอนุญาตของประเทศผู้รับ
                    4. กำหนดให้ในการส่งออกให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
                              4.1 นำวัตถุออกฤทธิ์ที่ส่งออกไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจสอบยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ พร้อมเอกสารหรือหลักฐานเพื่อทำการตรวจสอบ
                              4.2 ส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ตามชนิดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และตามจำนวนและปริมาณที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองของประเทศที่จะนำเข้า ในกรณีที่ส่งออกได้น้อยกว่าจำนวนและปริมาณดังกล่าว ให้แจ้งต่อผู้อนุญาตเพื่อแก้ไขใบอนุญาตให้ถูกต้องตามปริมาณที่ส่งออกจริง
                              ทั้งนี้ เพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ผู้อนุญาตอาจพิจารณายกเว้นการปฏิบัติดังกล่าวทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้
                    5. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
                              5.1 เสนอรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่ได้รับอนุญาตไปยังสำนักงาน อย. ตามแบบและภายในระยะเวลาที่เลขาธิการ อย. กำหนด
                              5.2 จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ที่ส่งออก และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด เช่น ชื่อวัตถุออกฤทธิ์และปริมาณสารสำคัญตามที่ได้รับอนุญาต ข้อความว่า ?วัตถุออกฤทธิ์? ด้วยตัวอักษรสีแดง เห็นได้ชัดเจน ขนาดบรรจุ เดือน ปี ที่ผลิต และครั้งที่ผลิต เป็นต้น
                              5.3 ส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ตามที่ได้รับอนุญาต
                              ทั้งนี้ กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการในการป้องกัน ปราบปรามหรือแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือปฏิบัติตามความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ ผู้อนุญาตอาจพิจารณายกเว้นการปฏิบัติดังกล่าวทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้
1ม.15 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดได้กำหนดนิยามของคำว่า ?ผู้อนุญาต? หมายความว่า เลขาธิการ อย. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ อย. มอบหมาย

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    สธ. เสนอว่า
                    1. ได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว และยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวต่อไป โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราค่าธรรมเนียมการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เพื่อให้มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยอันเป็นข้อมูลสำคัญในการใช้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ รวมทั้งเพื่อเป็นการควบคุมและกำกับดูแลไม่ให้เกิดการรั่วไหลของยาเสพติดและนำไปใช้ในทางที่ผิด สรุปได้ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้มีสิทธิขออนุญาต          ? ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ที่ประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ที่จะขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษหรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์
2. การพิจารณาคำขออนุญาต          ? กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้อนุญาต (เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา) แจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยหากผู้ขออนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไปและให้ผู้อนุญาตจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
? กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้อนุญาตพิจารณาและออกใบอนุญาตให้ภายใน 14 วัน โดยให้แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ
3. การยื่นคำขอและการติดต่อ          ? การยื่นคำขอ การแจ้ง และการติดต่อใด ๆ และการออกเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยหากมีเหตุไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการดังกล่าวได้ ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สธ. หรือสถานที่อื่นตามที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
4. ค่าธรรมเนียม          ? ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท         4 ฉบับละ 1,000 บาท (อัตราคงเดิม)
? ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน สภากาชาดไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
                    2. เนื่องจากประมวลกฎหมายยาเสพติดได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป จึงอยู่ในบังคับของมาตรา 22 วรรคสอง ประกอบมาตรา 39 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามประมวลกฎหมายยาเสพติดภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่                    9 ธันวาคม 2566
                    3. สธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ผ่านเว็บไซต์ของกรมควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (www.fda.moph.go.th) และระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ระหว่างวันที่ 1 - 16 กันยายน 2565 รวมทั้งจัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายด้วยแล้ว

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงวัตถุตำรับยกเว้น พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงวัตถุตำรับยกเว้น พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                       สธ. เสนอว่า
                      1. ปัจจุบันได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดวัตถุตำรับให้เป็นวัตถุตำรับยกเว้นจากมาตรการควบคุม เช่น (1) การมีใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งสำหรับการขายวัตถุออกฤทธิ์                 (2) การขอรับใบอนุญาตเฉพาะคราวสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกแต่ละคราว (3) การปฏิบัติการเกี่ยวกับการนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือ (4) การจัดให้มีคำเตือนหรือข้อควรระวัง โดยให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ที่ประสงค์จะขอให้วัตถุตำรับใด เป็นวัตถุตำรับยกเว้นสามารถยื่นคำขอได้ ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับแล้ว              (ใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564) โดยให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติด
                     2. โดยที่ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 59 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาจประกาศกำหนดให้วัตถุตำรับใดเป็นวัตถุตำรับยกเว้นได้ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 อย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างปรุงผสมอยู่ (2) มีลักษณะที่ไม่อาจก่อให้เกิดการใช้ที่ผิดทาง (3) ไม่สามารถจะแยกสกัดเอาวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้นกลับมาใช้ในปริมาณที่จะทำให้เกิดการใช้ที่ผิดทาง และ (4) ไม่ก่อให้เกิดอันตรายทางด้านสุขภาพและสังคมได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดในกฎกระทรวง สธ. จึงมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎกระทรวงวัตถุตำรับยกเว้น พ.ศ. .... เพื่อให้มีมาตรการหรือยกเว้นมาตรการควบคุมตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
                               2.1 กำหนดวันใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                               2.2 กำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ที่ประสงค์จะขอให้วัตถุตำรับใดเป็นวัตถุตำรับยกเว้นให้ยื่นคำขอตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้
                               2.3 กำหนดให้ผู้จะยื่นคำขอตามข้อ 2.2 ต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
                               2.4 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศระบุวัตถุตำรับให้เป็นวัตถุตำรับยกเว้นจากมาตรการควบคุมประการหนึ่งประการใด หรือหลายประการ ดังนี้
                                          2.4.1 การมีใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง สำหรับการจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4
                                          2.4.2 การขอรับใบอนุญาตเฉพาะคราวสำหรับการนำเข้า หรือส่งออกแต่ละคราว ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ทั้งนี้ ในการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ของผู้รับอนุญาตในแต่ละครั้งต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวจากผู้อนุญาตทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออกอีกด้วย
                                         2.4.3 การจัดให้มีคำเตือนหรือข้อระวังเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดการอื่นเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติตามลักษณะนี้
                                         2.4.4 กำหนดให้ยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือยื่นคำขอ ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือสถานที่อื่นที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                      3. ในคราวประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ครั้งที่ 22 - 8/2566 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และ สธ. ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 และแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 แล้ว โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมายและเว็บไซต์กองควบคุมวัตถุเสพติด อย. ระหว่างวันที่ 2 - 17 ตุลาคม 2566 และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็น และการวิเคราะห์แก่ประชาชนผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้
                     4. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ซึ่ง สธ. ได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติด ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ตามที่ สธ. เสนอ

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง กำหนดภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสารระเหย             ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสารระเหยต้องจัดทำก่อนนำออกจำหน่าย พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง กำหนดภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสารระเหย ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสารระเหยต้องจัดทำก่อนนำออกจำหน่าย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุด ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      สธ. เสนอว่า
                      1. ปัจจุบันได้มีกฎกระทรวง (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารระเหยต้องจัดให้มีภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อที่บรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าว แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับแล้ว (ใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564) โดยให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติด
                     2. โดยที่ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 97 กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารระเหยต้องจัดให้มีภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อที่บรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดในกฎกระทรวง สธ. จึงมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎกระทรวง กำหนดภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสารระเหยที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสารระเหยต้องจัดทำก่อนนำออกจำหน่าย พ.ศ. .... เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำฉลากที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสารระเหยจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
                                2.1 กำหนดวันใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                                2.2  กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวง (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533
                               2.3 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำฉลาก ที่ผู้ผลิตสารระเหยหรือผู้นำเข้าสารระเหยก่อนนำออกจำหน่าย ต้องจัดให้มีภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อที่บรรจุเป็นภาษาไทย ดังต่อไปนี้
                                           (1) คำว่า ?สารระเหย?
                                         (2) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า แล้วแต่กรณี
                                         (3) ปริมาณที่บรรจุระบบเมตริก
                                          (4) ชื่อทางเคมีและอัตราส่วนของสารผสมทั้งหมดในสารระเหย
                                         (5) วิธีการใช้ และวิธีเก็บรักษา
                                         (6) คำว่า ?คำเตือน ห้ามสูดดม เป็นอัตรายต่อชีวิต?
                                         (7) ภาพและข้อความตามท้ายกฎกระทรวงนี้
                                         ซึ่งข้อความดังกล่าวต้องใช้สีที่เห็นได้ชัดเจน ตัดกับสีของภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อที่บรรจุ สำหรับคำว่า ?สารระเหย? และคำว่า ?คำเตือน ห้ามสูดดม เป็นอันตรายต่อชีวิต? ให้ใช้ตัวอักษรสีแดงบนพื้นขาว รวมถึงภาพและข้อความต้องมีขนาดเหมาะสมและเห็นได้ชัดเจน
                                2.4 กำหนดปริมาณของภาชนะที่ต้องจัดให้มีฉลากต้องมี ขนาดบรรจุสารระเหยเกิน                   550 มิลลิลิตร หรือ 550 กรัม
                     3. ในคราวประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ครั้งที่ 18 - 4/2566 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และ สธ. ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 และแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 แล้ว โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมายและเว็บไซต์กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤษภาคม 2566 และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์แก่ประชาชนผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้
                      4. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ซึ่ง สธ. ได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติด ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ตามที่ สธ. เสนอ

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     คค. เสนอว่า
                      1. โดยที่พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 58 บัญญัติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดให้มีการประกันภัยแก่คนโดยสาร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งปัจจุบันการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในรูปแบบของการให้สัมปทานกิจการรถไฟฟ้าแก่เอกชนหรือผู้ร่วมลงทุน ซึ่งสัญญาสัมปทานหรือสัญญาร่วมลงทุนได้กำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารแล้ว สำหรับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. ที่ไม่ได้ให้สัมปทาน ยังไม่มีกฎกระทรวงรองรับในเรื่องเกี่ยวกับประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารแต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อเป็นหลักประกันให้คนโดยสารได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการรถไฟฟ้า ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร               ที่ รฟม. ดำเนินการเอง และให้ครอบคลุมถึงกรณีผู้รับสัมปทานกิจการรถไฟฟ้า จึงต้องมีการออกกฎกระทรวงเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมตามนัยพระราชบัญญัติดังกล่าว
                     2. คค. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. .... เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการรถไฟฟ้า โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสารให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
                               2.1 กำหนดคำนิยามที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                                         2.1.1 ?การประกันภัย? หมายความว่า การประกันภัยความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร จากเหตุอันเกิดจากการให้บริการรถไฟฟ้าในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร (ไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของคนโดยสารและบุคคลอื่น)
                                         2.1.2 ?ผู้รับประกันภัย? หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
                                         2.1.3 ?คนโดยสาร? หมายความว่า ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้ใช้ตั๋วโดยสารผ่านเข้าไปและอยู่ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสารเพื่อวัตถุประสงค์ในการเดินทาง และให้รวมถึงบุคคลที่ได้รับการยกเว้นค่าโดยสารด้วย
                                         2.1.4 ?ความเสียหาย? หมายความว่า ความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร จากเหตุอันเกิดจากการให้บริการรถไฟฟ้า ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร (แต่ไม่รวมถึงเหตุอื่น เช่น การทะเลาะกันระหว่างผู้โดยสาร การก่อการร้าย หรือจากความประมาทของคนโดยสาร)
                                         2.1.5 ?บริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร? หมายความว่า พื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าส่วนที่คนโดยสารได้ผ่านการตรวจตั๋วโดยสารแล้ว
                                2.2 กำหนดให้ รฟม. จัดให้มีการประกันภัยกับผู้รับประกันภัยตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป สำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารซึ่งอยู่ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร ในวงเงินความคุ้มครองที่เหมาะสม โดยอย่างน้อยต้องคำนึงถึงลักษณะและประเภทของโครงการรถไฟฟ้า ตลอดระยะเวลาการให้บริการรถไฟฟ้า
(ไม่ระบุจำนวนวงเงินความคุ้มครองไว้ในร่างกฎกระทรวงฯ เนื่องจากเป็นการประกันความรับผิดทางละเมิดต่อผู้เสียหายมีลักษณะเป็นความเสียหายที่ไม่อาจทราบได้ว่าจะถูกเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใด โดยความเสียหายต่อบุคคลภายนอกดังกล่าวจะพิจารณาตามลักษณะความร้ายแรงของอุบัติเหตุ ประกอบกับอาชีพหรือฐานานุรูปของผู้ประสบเหตุ เป็นต้น และเพื่อให้การกำหนดวงเงินสำหรับการประกันภัยเป็นไปอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินการของโครงการรถไฟฟ้าแต่ละโครงการ)
                               2.3 กำหนดให้ในกรณีที่ รฟม. ให้สัมปทานกิจการรถไฟฟ้าให้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่จัดให้มีการประกันภัยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้แทน รฟม. และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และการประกันภัยดังกล่าวต้องคงมีอยู่ตลอดระยะเวลาตามสัญญาสัมปทาน โดยให้มี รฟม. เป็นผู้เอาประกันภัยร่วมและเป็นผู้รับประโยชน์ร่วม ทั้งนี้ การประกันภัยดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก รฟม. ก่อน เนื่องจากในกรณีที่มีการให้สัมปทานกิจการรถไฟฟ้า ให้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่จัดให้มีการประกันภัยแทน รฟม. โดยให้ รฟม. ตรวจสอบให้การจัดทำประกันภัยสอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                               2.4 กำหนดให้การประกันภัยใดที่ได้ทำไปแล้ว ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าการประกันภัยนั้นจะสิ้นสุดความคุ้มครอง
                     3. ในคราวประชุมคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2566 วันที่           18 พฤษภาคม 2566 มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตร พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตร พ.ศ. ....                     ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดให้มีการทำสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตรทั่วราชอาณาจักร เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำการเกษตรจากผู้ถือครองทำการเกษตรทุกรายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งที่มีอยู่ในทะเบียนเกษตรกรและนอกทะเบียนเกษตรกร ดังนี้
                      1. กฎกระทรวงนี้ มีอายุ 10 ปี
                     2. กำหนดบทนิยาม ดังนี้
                                2.1 ?การเกษตร? หมายความว่า การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด การทำนาเกลือสมุทร การทำประมงน้ำจืด การทำประมงทะเล และการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง
                               2.2 ?ผู้ถือครองทำการเกษตร? หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งควบคุม หรือจัดการ และมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการทำการเกษตร ในที่ดินที่ตนถือครอง รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบทั้งด้านเทคนิคและด้านการเงินในการทำการเกษตร ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ถือครองทำการเกษตร ณ วันสำมะโน
                               2.3 ?หัวหน้าครัวเรือน? หมายความว่า สมาชิกในครัวเรือนคนใดคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการยอมรับนับถือหรือยกย่องจากสมาชิกในครัวเรือนให้เป็นหัวหน้าครัวเรือน
                     3. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตรเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำการเกษตร เพื่อใช้สำหรับการวางแผนกำหนดนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตรในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น และใช้ในการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา
                                เมื่อจะจัดทำสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตร ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติแจ้งวันจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างและระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลแก่ผู้ถือครองทำการเกษตรหรือหัวหน้าครัวเรือนซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างดังกล่าว
                     4. กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตร ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
                     5. กำหนดให้ผู้ถือครองทำการเกษตรหรือหัวหน้าครัวเรือนที่อยู่ในเขตท้องที่ ตามข้อ 4. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยการให้สัมภาษณ์ หรือตอบแบบสอบถาม ผ่านระบบเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือด้วยวิธีการอื่นตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติประกาศกำหนด
                     6. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบจัดทำสำมะโน หรือการสำรวจตัวอย่างการเกษตรตามกฎกระทรวงนี้

8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....                ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) เสนอ
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                      สำนักงาน กกต. เสนอว่า
                      1. โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 269 (4) บัญญัติให้อายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้1 มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และได้มีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 อายุของวุฒิสภาจึงครบกำหนด 5 ปี และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 แต่ยังอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีสมาชิกวุฒิสภาขึ้นใหม่2
                      2. ดังนั้น เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง ให้ดำเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภา โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 107 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งบัญญัติให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภาให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และภายใน 5 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวันเริ่มดำเนินการเพื่อเลือกไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
                     3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 11 บัญญัติให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามข้อ 2. ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทำให้ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ จำนวน 20 กลุ่ม (กลุ่มละ          10 คน) จากการเลือกระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศตามลำดับ3 ดังนี้
                                 (1) กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง
                                (2) กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
                                (3) กลุ่มการศึกษา
                                 (4) กลุ่มการสาธารณสุข
                               (5) กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก
                               (6) กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง
                                (7) กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน
                                 (8) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน
                                (9) กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
                                 (10) กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตาม (9)
                                (11) กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว
                                (12) กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม
                                (13) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม
                                (14) กลุ่มสตรี
                               (15) กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น
                                (16) กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา
                                (17) กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์
                                (18) กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม
                                (19) กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
                                (20) กลุ่มอื่น ๆ
                      4. ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาตามบททั่วไปต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 โดยมีอำนาจหน้าที่ เช่น
                                (1) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                                (2) กลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติ
                               (3) การอนุมัติพระราชกำหนด
                                 (4) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
                                (5) การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา
                                (6) การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน (การตั้งกระทู้ถาม การตั้ง
กรรมาธิการ และการเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาและในที่ประชุมรัฐสภา)
                                (7) การให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
                                (8) การพิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งตามกฎหมายอื่น (เช่น ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น)
                      5. ในการนี้ เพื่อให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภา เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 วรรคห้า และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 12 จึงได้จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. .... ขึ้น โดยมีสาระสำคัญเป็นการให้ดำเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภา และจัดทำร่างแผนการจัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาใช้บังคับ กกต. จะกำหนดวันเริ่มดำเนินการเพื่อเลือกไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ [กกต. คาดว่า (1) พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 (2) ประกาศกำหนดวันเลือกและวันรับสมัครในวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 (3) กำหนดวันเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับอำเภอในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 (4) กำหนดวันเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัดในวันที่ 16 มิถุนายน 2567 (5) กำหนดวันเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับประเทศ ในวันที่ 26 มิถุนายน 2567 และ (6) กำหนดวันที่จะประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567]
1 วุฒิสภาชุดปัจจุบันเป็นไปตามบทเฉพาะกาล มาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคำแนะนำ ประกอบด้วย               (1) คสช. คัดเลือกผู้ได้รับเลือกจากบัญชีรายชื่อที่ได้รับจาก กกต. ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ฯ จำนวน 50 คน (2) คสช. คัดเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อที่ได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 194 คน และ (3) ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำนวน 6 คน
2 มาตรา 109 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง ให้สมาชิกวุฒิสภาอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีสมาชิกวุฒิสภาขึ้นใหม่
3 มาตรา 42 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561

เศรษฐกิจ-สังคม
9. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีสายการบินปฏิบัติต่อคนพิการไม่เหมาะสม
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรณีสายการบินปฏิบัติต่อคนพิการไม่เหมาะสมซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 247 วรรคสอง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอและแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีสายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารชาวต่างชาติ         ซึ่งมีความพิการทางร่างกายและจำเป็นต้องใช้รถเข็นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนที่นำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินและปฏิเสธการเดินทาง เนื่องจากรถเข็นไฟฟ้าดังกล่าวบรรจุแบตเตอรี่ลิเธียมขนาดความจุ 240 วัตต์ - ชั่วโมง (Watt - Hour: Wh) เกินกว่าที่สายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้ (ไม่เกิน 160 Wh) ซึ่งไม่สอดคล้องกับประกาศสำนักงานการบินพลรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เรื่อง หลักเกณฑ์การพาแบตเตอรี่ลิเธียมไปกับอากาศยาน พ.ศ. 2559 ข้อ 6 ที่กำหนดข้อยกเว้นการพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถวีลแชร์ที่มีขนาดไม่เกิน 300 Wh หรือ 25 g (Lithium Content : LC) ไปกับอากาศยานได้ รวมทั้งกรณีเจ้าหน้าที่ของการท่าอากาศยานเชียงใหม่ได้ถอยสะพานเทียบเครื่องบินออกในขณะที่ผู้โดยสารยังอยู่บนสะพานจนผู้โดยสารเกือบพลัดตกจากทางลาดของสะพานดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ระมัดระวัง
                    2. กสม. เห็นว่า สายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์เลือกปฏิบัติต่อผู้เสียหายด้วยเหตุแห่งความพิการ และท่าอากาศยานเชียงใหม่กระทำการโดยไม่ระมัดระวังตามสมควรในฐานะผู้รับผิดชอบความปลอดภัยของผู้โดยสาร              อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้จะมีมาตรฐานการดำเนินงานของสายการบินในด้านการรักษาความปลอดภัยและนโยบายเกี่ยวกับผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่มีลักษณะแตกต่างกัน แต่ยังคงเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการเดินทางของคนพิการนอกจากนี้ นโยบายต่าง ๆ              ของสายการบิน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย [ปัจจุบัน คือ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท )] และ กพท. ยังมีช่องว่างที่เปิดโอกาสให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการและจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง กสม. จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
                    3. คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 พฤศจิกายน 2566) รับทราบข้อเสนอแนะกรณีสายการบินปฏิบัติต่อคนพิการไม่เหมาะสม ตามที่ กสม. เสนอ และมอบหมายให้ คค. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) กพท. ทอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ คค. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของ กสม. ในเรื่องดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พม. สคก. หน่วยงานในสังกัด คค. สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กรมท่าอากาศยาน ทอท. และ กพท.) และสายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้วเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.          สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้ คค. ทบทวนแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางทางอากาศยานของผู้โดยสารที่เป็นคนพิการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และมาตรฐานขององค์การการบินระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการปฏิเสธการรับขนผู้โดยสารที่เป็นคนพิการและประเด็นมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่สายการบินและท่าอากาศยานต้องจัดให้ผู้โดยสารที่เป็นคนพิการ
          โดยปัจจุบัน กพท. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างข้อกำหนดของ กพท. ฉบับที่ .. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ผู้ดำเนินการต้องจัดไว้บริการผู้โดยสารที่เป็นบุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้พิการ เด็ก และคนชรา ให้มีโอกาสได้เข้าถึงการเดินทางทางอากาศได้อย่างเท่าเทียมเช่นคนปกติทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับภาคผนวก 9 ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกและบทแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก 9 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ                 ค.ศ. 1944 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15/10 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 27 และมาตรา 71 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ม. 20 (8)

10. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันงบประมาณการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ระยะที่ 1 เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายการการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ระยะที่ 1 เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (โครงการสร้างระบบระบายน้ำฯ) จากเดิม 655.20 ล้านบาท เป็น 680.20 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณไว้เดิม (รวมเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด) จำนวน 25.00 ล้านบาท รวมทั้งอนุมัติขยายระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายการดังกล่าว จาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 เป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2567 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 มีนาคม 2563) อนุมัติให้หน่วยรับงบประมาณก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการใหม่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำหรับรายการที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 43 รายการ ซึ่งรวมถึงโครงการสร้างระบบระบายน้ำฯ วงเงินรวม 655.20 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการเบิกจ่าย ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          เป็นเงิน
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563           112.90
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564           451.40
เงินนอกงบประมาณ (เงินสมทบจากเมืองพัทยา)           62.70
เงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด          28.20
รวมวงเงินภาระผูกพัน          655.20
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. โครงการสร้างระบบระบายน้ำฯ มีเป้าหมายเพื่อวางท่อระบายน้ำขนานแนวถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ตั้งแต่สถานีสูบน้ำบ้านเขาน้อยถึงคลองนาเกลือรวมระยะทาง 5,291 เมตร เพื่อรวบรวมน้ำที่ไหลบ่าจากพื้นที่เทศบาลข้างเคียง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงให้ระยะลงคลองนาเกลือ ไม่ให้ไหลเข้าท่วมถนนเลียบทางรถไฟ ถนนสุขุมวิท และพื้นที่ชั้นในของเมืองพัทยา
                    2. เมืองพัทยาได้ประกวดราคาและว่าจ้างเอกชนให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการสร้างระบบระบายน้ำฯ ตามสัญญาจ้างเลขที่ 85/2564 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 โดยสัญญาเริ่มต้นวันที่ 26 ธันวาคม 2563 และสิ้นสุดสัญญาวันที่ 17 สิงหาคม 2565 วงเงินทำสัญญาทั้งสิ้น 621.00 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณ (สงป.)              ได้เห็นชอบความเหมาะสมของราคาค่าก่อสร้างดังกล่าวแล้ว มีรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณ สรุปได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          เป็นเงิน
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563           112.86
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565           446.04
เงินนอกงบประมาณ (เงินสมทบจากเมืองพัทยา)           62.10
รวมวงเงินภาระผูกพัน          621.00
โดยที่ผ่านมาเมืองพัทยาได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโดยไม่เพิ่มวงเงินตามระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 7 (2) โดยให้ขยายเวลาจาก 2 ปีงบประมาณ (ปี 2563 - 2564) เป็น 3 ปีงบประมาณ (ปี 2563 - 2565) แล้ว
                    3. สัญญา (ตามข้อ 2.) ได้กำหนดงวดงานไว้จำนวน 20 งวดงาน ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างโครงการสร้างระบบระบายน้ำฯ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขอนัดสำรวจชี้แนวท่อระบายน้ำสถานีพัทยาและท่อน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคที่กีดขวางการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งเมืองพัทยา                  การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค และเอกชนคู่สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินได้ร่วมสำรวจชี้แนวท่อประปาและท่อระบายน้ำที่กีดขวางการก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยพบว่ามีท่อระบายน้ำเสียแรงดันของเมืองพัทยาและท่อส่งน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคกีดขวางการดำเนินงาน รวมถึงแนวการก่อสร้างท่อระบายน้ำในโครงการสร้างระบบระบายน้ำฯ อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงได้มีมติให้แก้ไขปัญหาเรื่องท่อน้ำเสียแรงดันและท่อส่งน้ำประปาที่กีดขวางการก่อสร้างก่อน จึงได้มีการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติม โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อสร้างแต่ไม่เปลี่ยนแปลงวงเงินงบประมาณ             และให้ขยายเวลาการดำเนินงานตามสัญญาออกไปอีก 40 วัน รวมระยะเวลาดำเนินงานที่เปลี่ยนแปลง 640 วัน โดยเมืองพัทยาได้ทำการออกแบบเปลี่ยนแปลงแนวการก่อสร้างจากเดิมที่ขนานกับถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ไปเป็นการก่อสร้างวางท่อระบายน้ำเพื่อเบี่ยงหลบอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูงโดยก่อสร้างตามแนวขอบที่ดินใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ได้มีการเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้างอาคารสถานี ส่งผลให้ความยาวของการวางท่อระบายน้ำมีความยาวเพิ่มขึ้นประมาณ 200 เมตร จากเดิม 5,291 เมตร เป็น 5,491 เมตร และต้องเปลี่ยนชนิดท่อระบายน้ำจาก HDPE ชนิดลอนเสริมเหล็ก ขนาด 2,000 มิลลิเมตร เป็นท่อเหล็กรับแรงดันขนาด 1,800 มิลลิเมตร เนื่องจากระดับท่อที่จะทำการก่อสร้างใหมไม่สามารถระบายน้ำ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงตามธรรมชาติได้จึงต้องใช้วิธีการสูบส่งแทน ส่งผลให้ต้องเพิ่มวงเงินงบประมาณตามสัญญาในการก่อสร้างโครงการสร้างระบบระบายน้ำฯ เป็นจำนวนเงิน 59.20 ล้านบาท และจะทำให้งบประมาณโดยรวมเปลี่ยนแปลง จากเดิม 621.00 ล้านบาท เป็น 680.20 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าวงเงินการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ (รวมเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด) ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ จำนวน 655.20 ล้านบาท (3 มีนาคม 2563) เป็นเงิน 25.00 ล้านบาท รวมถึงต้องขยายระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2567
                    4. ที่ผ่านมาเมืองพัทยาได้ดำเนินงานไปแล้วจำนวน 16 งวดงาน เป็นระยะทาง 4,291 เมตร เบิกจ่ายงบประมาณแล้วเป็นเงิน 515.43 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณและเงินสมทบ สรุปดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          เบิกแล้ว
          งบประมาณรายจ่ายประจำปี          เงินสมทบ
ปี 2563           112.86          12.54
ปี 2564          200.00          22.22
ปี 2565          151.03          16.78
ปี 2566          ไม่ได้ขอรับจัดสรรงบประมาณ          -
รวม          515.43
                    5. สงป. พิจารณาแล้วเห็นชอบให้เมืองพัทยาเพิ่มวงเงินงบประมาณรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ในวงเงิน 680.20 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มเติมจากวงเงินตามสัญญาจำนวน 59.20 ล้านบาท โดยให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 53.28 ล้านบาท และให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้ของเมืองพัทยาสมทบ จำนวน 5.92 ล้านบาท แต่เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว เป็นการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ เมืองพัทยาจึงต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิ่มกรอบวงเงินรายการดังกล่าว รวมทั้งขอขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันในคราวเดียวกันตามนัยข้อ 7 (3) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ก่อนลงนามแก้ไขสัญญา

11. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
                       คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่ร่วมดำเนินการ จำนวน 5 หน่วยงาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรืองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น แล้วแต่กรณี ภายในกรอบวงเงินทั้งสิ้น 227,105,500 บาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ถัวจ่ายกันได้ในระหว่างภารกิจ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                      สำนักงาน กกต. รายงานว่า เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภาจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่                      10 พฤษภาคม 2567 ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภาโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 107 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ สำนักงาน กกต. ได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนเงิน 1,198,866,800 บาท แต่เนื่องจากสำนักงาน กกต. มีค่าใช้จ่ายในภารกิจที่จำเป็นต้องดำเนินการก่อนมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา เช่น การเผยแพร่ความรู้ รณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร การเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภาอีกจำนวน 317,551,300 บาท รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,516,418,100 บาท แต่สำนักงาน กกต. มีเงินนอกงบประมาณคงเหลือเพียง 90,445,800 บาท ซึ่งเมื่อนำมาสมทบกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ยังคงไม่เพียงพอต่อการดำเนินการดังกล่าว โดยยังขาดอยู่อีกจำนวน 227,105,500 บาท ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการประชุม ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 มีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กกต. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 227,105,500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายที่สำนักงาน กกต. ดำเนินการเอง จำนวน 100,949,700 บาท และ (2) ค่าใช้จ่ายของหน่วยงานสนับสนุน 5 หน่วยงาน จำนวน 126,155,800 บาท สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
ประเภทรายจ่าย          งบประมาณ (บาท)
1) รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ดำเนินการโดยสำนักงาน กกต.          100,949,700

   1.1) ภารกิจการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา          50,404,700
   1.2) ภารกิจส่งเสริมการมีส่วนร่วม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา          34,260,000

   1.3) ภารกิจในการควบคุมสอดส่อง สืบสวนสอบสวน ไต่สวน วินิจฉัยชี้ขาด และดำเนินคดีในศาล และคุ้มครองพยาน          15,909,000

   1.4) ภารกิจตรวจติดตาม นิเทศ ประเมินผลในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา          126,000

   1.5) ภารกิจสนับสนุนการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาส่วนกลาง          250,000
2) รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ดำเนินการโดยหน่วยงานสนับสนุน          126,155,800

   2.1) ภารกิจการเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา โดยสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง          39,135,000

   2.2) ภารกิจการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยกองการสื่อสาร กรมการปกครอง          912,720
   2.3) ภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ          34,397,380
   2.4) ภารกิจสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการและประสานงานการเลือกสมาชิกวุฒิสภา และสำนักงานเขต โดยกรุงเทพมหานคร          17,353,200
  2.5) ภารกิจสนับสนุนการดูแลและเฝ้าระวังไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค          28,900,000

  2.6) ภารกิจสนับสนุนการดูแลและเฝ้าระวังไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรีและสมุทรปราการ โดยการไฟฟ้านครหลวง          5,457,500

รวม          227,105,500

12. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำและปัญหาคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำและปัญหาคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ  และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ดังนี้
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำและปัญหาคุณภาพน้ำของลุ่มน้ำบางปะกง ดังนี้
                    1. การจัดตั้งหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                    ตามคำสั่งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่ 4/2567 ลงวันที่ 13 เมษายน 2567 เพื่อดำเนินการ อำนวยการ บริหารจัดการ รวบรวมบูรณาการ ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ควบคุม กำกับ สั่งการ และประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานดูแลสถานการณ์น้ำในภาวะน้ำท่วม น้ำแล้ง และคุณภาพน้ำในระดับเสี่ยงรุนแรง (ระดับ 1) เพื่อให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
                    2. ผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                    หน่วยบริหารจัดการน้ำทรัพยากรน้ำได้มีการประชุมจำนวน 2 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567  และ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                              (1) กรมชลประทานได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะผลการดำเนินการแก้ไขจุดทำนบดินชั่วคราวที่เกิดความเสียหายให้มีความมั่นคงแข็งแรงเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคประชาชน
                              (2) กรมควบคุมมลพิษดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำ พบว่าคุณภาพน้ำและค่าความเค็มยังสูงกว่ามาตรฐานและจะมีการตรวจวัดอย่างต่อเนื่องจนกว่าเหตุการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ
                              (3) มอบหมายกรมชลประทานดำเนินการตามมาตรา 83 แห่ง พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561  ซึ่งเป็นการรับผิดทางแพ่งในกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำสาธารณะ
                              (4) กรมชลประทานได้ทำแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยได้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของการส่งน้ำในระบบคลองต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาคลองที่ใช้ประโยชน์ในด้านประมงก่อนทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาให้คำนึงถึงคุณภาพน้ำเน่าเสียด้วยนอกเหนือจากการพิจารณาเฉพาะค่าความเค็ม และให้พิจารณาสูบน้ำเค็มออกจากในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดก่อนนำน้ำคุณภาพดีเข้าในระบบคลอง เพื่อเป็นการลดการใช้น้ำและใช้น้ำให้คุ้มค่าที่สุด สำหรับปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในการผลักดันและเจือจางความเค็ม ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำน่าน และลุ่มน้ำป่าสัก ในกรณีการเพิ่มการระบายน้ำมาช่วยเหลือลดผลกระทบในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำบางปะกง
                              (5) สทนช.ดำเนินการจัดตั้งหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ โดยตั้งที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการร่วมกันแบบบูรณาการ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาและการรับมือในเชิงพื้นที่ภายใน 3 วัน ก่อนการพิจารณายกระดับเป็นกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)
                              (6) ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลสำรวจการปรับปรุงบ่อน้ำบาดาลเดิมในพื้นที่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้น้ำบ่อบาดาล ในกรณีไม่สามารถใช้น้ำผิวดินได้
                              (7) ให้กรมประมง มอบหมายสำนักงานประมงจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสมุทรปราการ ดำเนินการปฏิบัติงานเชิงรุก และเชิงป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสำรวจความเสียหายและแก้ไขปัญหาการใช้น้ำด้านประมงโดยเร่งด่วน
                    3. การตั้งหน่วยปฏิบัติการจัดการทรัพยากรน้ำชั่วคราวในภาวะวิกฤติ
                    สทนช.ได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการจัดการทรัพยากรน้ำชั่วคราวในภาวะวิกฤติโดยมีที่ตั้ง ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการร่วมกันแบบบูรณาการ โดยมีรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นประธาน และรองอธิบดีกรมชลประทานเป็นรองประธาน และมีการประชุมครั้งแรกในวันที่ 18 เมษายน 2567
                    4. การประกาศเขตภัยพิบัติ
                    จังหวัดฉะเชิงเทราได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยน้ำเค็มปะปนกับน้ำจืดด้านในคลองเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ประกอบด้วย
                    (1) พื้นที่หมู่ที่ 1 2 4 และ 6 ตำบลเทพราช พื้นที่หมู่ 4 ตำบลเกาะไร่  และพื้นที่หมู่ที่ 1-3  ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์
                    (2) พื้นที่หมู่ 1-12 ตำบลคลองเปรง และหมู่ที่ 1-3 ตำบลหนามแดง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

13. เรื่อง รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบรับรองแล้วตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของรายงานฯ
                    กค. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 75 วรรคสาม บัญญัติให้
กค. เสนอรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พร้อมด้วยรายงานผลการตรวจสอบของ สตง. ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาภายใน 210 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในวันที่ 26 เมษายน 2567)
                    2. กค. ได้จัดทำรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยใช้ข้อมูลจากการรับจ่ายเงินที่หน่วยงานของรัฐบันทึกเข้ามาในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (NEW GFMIS Thai) และข้อมูลหนี้สาธารณะจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะข้อมูลเงินลงทุนของรัฐบาลจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและข้อมูลที่ดินราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ ซึ่ง สตง. ได้ตรวจรับรองแล้ว และเห็นว่ารายงานการเงินดังกล่าวแสดงฐานะการเงินของรัฐบาลไทย ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 และผลการดำเนินงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐสำหรับบัญชีการเงินแผ่นดิน และมาตรฐานการจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท)
รายการบัญชี          ปีงบประมาณ พ.ศ.          เพิ่ม (ลด)
          2566          2565          จำนวนเงิน          ร้อยละ
สินทรัพย์รวม          8,580,625.75          8,293,497.789          287,127.97          3.46
หนี้สินรวม          10,367,112.11          9,776,959.23          590,152.88          6.04
สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนรวม          (1,786,486.36)           (1,483,461.45)          (303,024.91)          (20.43)
รายได้รวม          2,788,950.08          2,654,628.83          134,321.25          5.06
ค่าใช้จ่ายรวม          3,328,789.20          3,563,391.79          (234,602.59)          (6.58)
รายได้สูง/(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิรวม          (539,839.12)          (908,762.96)           368,923.84          40.60
                              2.1 รัฐบาลมีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 287,127.97 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.46 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของที่ดินที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์จากการปรับใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่เป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบบัญชีปี พ.ศ. 2566-2569 และการปรับปรุงราคาประเมินที่ดินให้มีความถูกต้องตรงตามมาตรฐานการประเมินราคาที่ดิน เงินให้กู้ยืมระยะสั้น เงินให้กู้ยืมระยะยาว และรายได้รัฐค้างรับรัฐบาลมีหนี้สินรวมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 590,152.88  ล้านบาท                 คิดเป็นร้อยละ 6.04  เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการกู้เงินเพื่อการบริหารหนี้ และรัฐบาลมีสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนรวมลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  จำนวน 303,024.91 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.43 เนื่องจากการปรับปรุงบัญชีและการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดระยะยาวเพิ่มขึ้นตามมูลค่ายุติธรรม
                              2.2 รัฐบาลมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 134,321.25 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.06 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีอากร การจัดเก็บรายได้เบ็ดเตล็ดอื่นเพิ่มขึ้น และการนำส่งเงินเหลือจ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และรัฐบาลมีค่าใช้จ่ายรวมลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 234,602.59 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.58 เนื่องจากการลดลงของค่าใช้จ่ายอุดหนุนตามมาตรการของรัฐเพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุม ดังนั้น รัฐบาลจึงขาดทุนลดลงจำนวน 368,923.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.60 (จากปี 65 จำนวน 908,762.96 ล้านบาท เป็น 539,839.12 ล้านบาท)
                              2.3 ผลการวิเคราะห์
                              รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มีรายการเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย สินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 3.46 หนี้สินรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 6.04 สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนรวมลดลงคิดเป็นร้อยละ 20.43 รายได้รวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 5.06 ค่าใช้จ่ายรวมลดลง คิดเป็นร้อยละ 6.58  และรัฐบาลขาดทุนลดลงจำนวน 368,923.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.60 (จากปี 65 จำนวน 908,762.96 ล้านบาท เป็น 539,839.12 ล้านบาท) อย่างไรก็ดี รายงานการเงินแผ่นดินจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้สะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลยังสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ (Going Concern) เนื่องจากมีแนวโน้มในการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้อย่างต่อเนื่องด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้การเร่งส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ  การบริหารเงินคงคลังให้เพียงพอต่อการเบิกจ่ายของหน่วยงานของรัฐในแต่ละช่วงเวลา บริหารที่ราชพัสดุให้เกิดความคุ้มค่า เหมาะสมกับศักยภาพที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริหารเงินลงทุนโดยมีการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องโดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาการลงทุนให้ครอบคลุมจากทุกแหล่งเงิน รวมทั้งการบริหารหนี้สาธารณะให้ครอบคลุมต้นทุนและความเสี่ยง พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้ โดยหนี้สาธารณะในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในอัตราร้อยละ 62.44 จากกรอบชำระหนี้สาธารณะในอัตราร้อยละ 70  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมภายในประเทศ
                              2.4 ประโยชน์และผลกระทบ
                              การจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ เป็นรายงานแสดงผลการดำเนินงานทางการเงินและฐานะการเงินของแผ่นดิน เพื่อเสนอข้อมูลด้านการเงินการคลังขอรัฐบาล โดยรัฐบาลสามารถกำกับดูแล การดำเนินงาน วางแผน และควบคุมการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้มีการจัดเก็บรายได้แผ่นดินและบริหารรายจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งประชาชนและภาคส่วน                 ต่าง ๆ ได้รับทราบผลการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งสะท้อนความโปร่งใสในการบริหารของรัฐบาล

14. เรื่อง รายงานสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำและคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำและคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
                    เนื่องด้วยได้เกิดเหตุการณ์ทำนบดินชั่วคราวปิดกั้นคลองประเวศบุรีรมย์พังทลาย เมื่อวันที่              9 เมษายน 2567 ทำให้น้ำเค็มจากแม่น้ำบางปะกงไหลทะลักเข้าคลองประเวศบุรีรมย์ และคลองสาขา ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและพืชรวมทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อประชาชน จึงมีความจำเป็นในการบริหารสถานการณ์ดังกล่าวให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเรงด่วน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติจึงได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ      พ.ศ. 2561 มาตรา 24 ประกอบกับ มติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ที่ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ โครงสร้างและขั้นตอนการปฏิบัติตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561     จึงได้ดำเนินการตั้งหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการให้เข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
                    เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ความเค็มของคลองประเวศบุรีรมย์และคลองอื่น ๆ ในพื้นที่โครงการชลประทานพระองค์ไชยานุชิต ยังมีปัญหาความเค็มและปัญหาคุณภาพน้ำไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานส่งผลกระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร จึงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการและสนับสนุนเครื่องมือเครื่องจักรรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ตั้งหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปการแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำและคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ดังนี้
                    1. สถานการณ์ความเค็มรุกล้ำ
                    กรมควบคุมมลพิษและกรมชลประทานได้ตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่องโดยพบว่า คลองประเวศบุรีรมย์ช่วงต้นคลองถึงสี่แยกคลองเปร็งตัดคลองประเวศ คุณภาพน้ำอยู่ในมาตรฐานแต่คุณภาพน้ำคลองพระยาสมุทร ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา คลองเปร็งตอนล่าง ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ คลองพระยานาคราช ตำบลบ้านระกาศ ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
                    2. ผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                    หน่วยบริหารจัดการน้ำทรัพยากรน้ำได้มีการประชุมจำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 และ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2567 สรุปผลการดำเนินการได้ ดังนี้
                              (1) กรมชลประทานเร่งดำเนินการกำจัดวัชพืชในคลองที่อาจส่งผลกระทบทำให้น้ำเน่าเสียก่อนการนำน้ำจืดเข้าสู่ระบบคลอง เพื่อใช้น้ำจืดในการเจือจางให้น้อยที่สุดในการฟื้นฟูคุณภาพน้ำรวมถึงกำกับควบคุมและตรวจสอบ การใช้น้ำระหว่างที่ลำเลียงน้ำโดยไม่ไปให้นำน้ำไปใช้เพิ่มในกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้การระบายน้ำที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
                              (2) กรมควบคุมมลพิษดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำต่อเนื่องทุกวันและหากคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงปลาได้
                              (3) กรมชลประทานดำเนินการสำรวจคลองพระยานาคราช และคลองพระยาสมุทรและดำเนินการจัดทำแผนการระบายน้ำเสียออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยแผนการระบายน้ำเสียออกจะต้องไม่ให้เกิดการเพิ่มปัญหาให้กับอีกพื้นที่หนึ่งด้วย
                              (4) กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการสนับสนุนการเป่าล้างบ่อบาดาลเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำ และไม่สามารถใช้น้ำผิวดินได้
                              (5) กรมประมงมอบหมายให้สำนักงานประมงจังหวัด จัดทำแผนการใช้น้ำเพื่อการประมง และกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อประมงของแต่ละตำแหน่งในบริเวณคลองต่าง ๆ และประสานไปยังกรมชลประทานเพื่อบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
                              (6) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พัฒนาระบบติดตามคุณภาพน้ำแบบออนไลน์ เพื่อให้การติดตามแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                              (7) หน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้มีคำสั่งที่ 3/2567 ลงวันที่ 17 เมษายน 2567               ตั้งหน่วยปฏิบัติการจัดการทรัพยากรน้ำชั่วคราวในภาวะวิกฤติโดยมีที่ตั้ง ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์            ไชยานุชิต เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการบูรณาการการดำเนินการแก้ไขปัญหากับทุกหน่วยงานมีการดำเนินการประชุมติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการทุกวัน
                              (8) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรา 83 แห่ง พ.ร บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
                              (9) เนื่องด้วยขอบเขตของปัญหายังสามารถบริหารจัดการได้และสถานการณ์เริ่มดีขึ้นจึงไม่พิจารณายกระดับสถานการณ์เป็นระดับ 2 จึงไม่จำเป็นต้องจัดตั้งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)
                    3. การประชาสัมพันธ์และการสร้างการรับรู้
                    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และการสร้างการรับรู้ ดังนี้
                              (1) กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์สถานการณ์คุณภาพน้ำ ผลการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติการจัดการทรัพยากรน้ำชั่วคราวในภาวะวิกฤติ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทุกวันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุการณ์
                              (2) กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการประชาสัมพันธ์และเร่งสำรวจพื้นที่เพาะปลูกที่อาจจะได้รับผลกระทบ พร้อมให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
                              (3) กรมชลประทาน ประชาสัมพันธ์การบริหารจัดการและผลการระบายน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการแก้ไขสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำและคุณภาพน้ำ
                              (4) กรมประมง ดำเนินการประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
                              (5) กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการประชาสัมพันธ์การดำเนินการเร่งใช้สารซุปเปอร์ พด.6 บำบัดน้ำเน่าเสีย หลังน้ำเค็มรุกคลองประเวศบุรีรัมย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
                              (6) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ สถานการณ์คุณภาพน้ำ และผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                    4. การประกาศเขตภัยพิบัติ
                              4.1 จังหวัดฉะเชิงเทรา
                              จังหวัดฉะเชิงเทราได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยน้ำเค็มปะปนกับน้ำจืดด้านในคลอง โดยดำเนินการประกาศในวันที่ 17 มษายน 1567 และ 20 เมษายน 2567 ประกอบด้วย
                                        (1) พื้นที่หมู่ที่ 1 2 4  และ 6 ตำบลเทพราช พื้นที่หมู่ 4 ตำบลเกาะไร่ พื้นที่ หมู่ที่ 1-3 ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์ และพื้นที่หมู่ 3 และ 5 ตำบลเทพราช อำเภอหนองจอก
                                        (2) พื้นที่หมู่ 1-12 ตำบลคลองเปร็ง และหมู่ที่ 1-3 ตำบลหนามแดง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
                                        (3) พื้นที่หมู่ 1-9 ตำบลหนองจอก อำเภอบางปะกง
                              4.2 จังหวัดสมุทรปราการ
                              จังหวัดสมุทรปราการอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียเพื่อพิจารณาการประกาศเขตภัยพิบัติ
                    4. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
                    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการช่วยเหลือด้านประมง ด้านเกษตร และด้านน้ำอุปโภคบริโภค ดังนี้
                              (1) การให้ความช่วยเหลือด้านประมง
                              กรมประมงสรุปข้อมูลทะเบียนเกษตรกรบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่                           จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.บางปะกง จำนวน รวม 1,670 ราย    อ.บ้านโพธิ์ จำนวนรวม 829 ราย อ.เมืองฉะเชิงเทรา จำนวนรวม 1,261 ราย และ จังหวัดสมุทรปราการจำนวน 1 อำเภอ คือ อ.บางบ่อ จำนวนรวม 745 ราย
                              (2) การให้ความช่วยเหลือด้านเกษตร
                                        (2.1) กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านโพธิ์ จ. ฉะเชิงเทรา ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น โดยสนับสนุนฟางก้อนในการคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชเพื่อลดการสูญเสียความชื้นจากหน้าดิน รวมทั้งได้ร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดิน เก็บตัวอย่างดินและน้ำ ในนาข้าว บ่อปลา น้ำในคลองลาดขวาง ในพื้นที่ตำบลคลองประเวศ ม.1 และ ม.3 เพื่อตรวจความเค็มและคุณภาพดินของเกษตรกร จำนวน                  3 ราย
                                        (2.2) อบต.เทพราช ได้นำรถน้ำมาสนับสนุนน้ำจืดให้กับเกษตรกรในพื้นที่
                              (3) การให้ความช่วยเหลือด้านอุปโภค บริโภค
                              กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รวบรวมข้อมูลการช่วยเหลือด้านอุปโภคบริโภคจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การประปาส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการสนับสนุนการช่วยเหลือแจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค ระหว่างวันที่ 13-21 เมษายน 2567 จำนวนทั้งสิ้น 240,000 ลิตร

15. เรื่อง โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ โดยคณะทำงานรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วน (คณะทำงานฯ)
                    2. เห็นชอบในหลักการกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการฯ) และหน่วยงานตามที่คณะกรรมการนโยบายฯ มอบหมาย
                    โดยมอบหมายหน่วยงานรับความเห็นของ กค. ไปดำเนินการ ดังนี้
                              1) มอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.) กค. และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเงินการดำเนินโครงการฯ
                              2) มอบหมายคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการฯ) ที่จะจัดตั้งขึ้นร่วมกับ กค. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรับทราบละเอียดโครงการฯ การลงทะเบียนโครงการฯ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                              3) ในการดำเนินโครงการฯ ควรมุ่งเน้นการกำกับดูแลการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ข้อกฎหมายรวมถึงรักษากรอบวินัยการเงินการคลังอย่างรอบคอบ และเคร่งครัด
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 ตุลาคม 2566) เห็นชอบในหลักการในการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ต่อมานายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 262/2566 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายฯ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2566 โดยมีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดนโยบายโครงการฯ วัตถุประสงค์โครงการฯ แนวทางการดำเนินโครงการฯ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ และแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการฯ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี กำกับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เป็นต้น
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet1 (ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตฯ) ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายฯ รับเรื่องนี้ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (9 เมษายน 2567) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตฯ ตามที่คณะกรรมการนโยบายฯ เสนอ และให้คณะกรรมการนโยบายฯ เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อสรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    3. คณะกรรมการนโยบายฯ ในคราวการประชุม ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 มีมติ (1) รับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ (เบื้องต้น) ที่คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการ (2) เห็นชอบกรอบหลักการโครงการฯ (3) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการฯ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้การรับรองมติการประชุมดังกล่าวและมอบหมายให้ กค. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ นำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 คณะทำงานฯ ได้รวบรวมข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วนสำหรับโครงการฯ เพิ่มเติมจากที่เคยเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ เช่น การดำเนินโครงการฯ ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ มีจำนวน 14 หน่วยงานตอบในกลุ่มคำถามนี้ ซึ่งมีหน่วยงานเห็นด้วยร้อยละ 86 โดยให้เหตุผลหลัก คือ ภาครัฐควรต้องมีการควบคุมราคาสินค้าในช่วงดำเนินโครงการนี้ และไม่เห็นด้วยร้อยละ 21 เนื่องจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นชั่วคราวในช่วงที่มีโครงการและไม่ควรดำเนินโครงการนี้เนื่องจากสิ้นเปลืองงบประมาณ และมีเหตุผลอื่นร้อยละ 36 โดยให้เหตุผลหลัก คือ โครงการไม่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ยั่งยืน ทำให้เกิดเงินเฟ้อและเศรษฐกิจหดตัวเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นต้น (ยังไม่ได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ รับทราบ)
                    4. คณะกรรมการนโยบายฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ได้มีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการฯ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
กลุ่มเป้าหมาย          ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) กลุ่มประชากรที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
(2) สัญชาติไทย
(3) มีอายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน
(4) ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
(5) เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
แนวทางการเข้าร่วมโครงการฯ          (1) ประชาชนทุกคนต้องยืนยันตัวตนก่อนเข้าร่วมโครงการฯ โดยให้กลุ่มผู้ใช้สิทธิยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ
(2) ตรวจสอบสถานะบุคคลและที่อยู่ตามทะเบียนบ้านกับข้อมูลกรมการปกครองของผู้ใช้สิทธิ
(3) ประชาชนเปิดแอปพลิเคชันเพื่อแสกน QR Code ณ ร้านค้าในพื้นที่ตามทะเบียนบ้าน
ทั้งนี้ ผู้จัดทำระบบจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการเข้าร่วมโครงการฯ ของประชาชนข้างต้น ตลอดจนเงื่อนไขอื่นที่อาจเพิ่มเติมภายหลัง (หากมี)
เงื่อนไขการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้า          (1) การใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างประชาชนและร้านค้าในระดับอำเภอ (878 อำเภอ)
(2) การชำระเงินภายใต้โครงการฯ ต้องเป็นแบบพบหน้า (Face to Face)
(3) กำหนดให้ประชาชนใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กและร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก
ประเภทร้านค้า          ร้านค้าที่จะเข้าโครงการฯ แบ่งตามการรับการใช้จ่ายได้ ดังนี้
(1) ร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากประชาชนต้องเป็นร้านค้าขนาดเล็กรวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก - ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
(2) ร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากร้านค้าไม่มีการกำหนดเงื่อนไข
ทั้งนี้ รูปแบบและขั้นตอนการยืนยันตัวตน และเงื่อนไขการสมัครและวิธีการสมัครของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้เป็นไปตามที่ พณ. กำหนด
ประเภทสินค้า          (1) กำหนดให้สินค้าทุกประเภทเข้าร่วมโครงการฯ ได้ ยกเว้นสินค้าที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ (Negative List) ซึ่งได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย อัญมณี น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ มอบหมายให้ พณ. พิจารณาสินค้าที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเติมได้
(2) การใช้จ่ายตามโครงการฯ ไม่รวมถึงบริการ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนร้านค้า          ประเด็น          หน่วยงาน
(1) กรอบแนวทาง กรอบหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการฯ (ระหว่างประชาชนกับร้านค้า)          ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ
(2) หลักเกณฑ์การสมัครร้านค้าเข้าร่วมโครงการฯ          พณ.
(3) แบบฟอร์มการลงทะเบียนดิจิทัล          ดศ. ร่วมกับ สพร.
(4) ระบบฐานข้อมูลร้านค้าของหน่วยงานต้นสังกัด          พณ. ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงมหาดไทย
(5) ระบบการเคลียร์ริ่งเฮาส์ (การเงิน) : การชำระเงินผ่านระบบระหว่างประชาชนกับร้านค้าและระหว่างร้านค้ากับร้านค้า          ดศ. ร่วมกับ สพร.
(6) การคัดกรองข้อมูลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการฯ           ดศ. ร่วมกับ สพร.
(7) การตรวจสอบการมีอยู่จริงของร้านค้าที่ลงทะเบียนในระบบ (ในพื้นที่เขตอำเภอ)           มท. ร่วมกับกรุงเทพมหานคร
(8) ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล          ดศ.
(9) ตรวจสอบ วินิจฉัย ร้องทุกข์ กล่าวโทษ การเรียกคืน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์          สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เงื่อนไขการใช้จ่ายระหว่างร้านค้า          ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและการชำระเงินภายใต้โครงการฯ ต้องเป็นแบบพบหน้า (Face to Face)
เงื่อนไขคุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ได้           ร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ได้แก่
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) หรือ
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT) หรือ
(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินในโครงการฯ และการถอนเงินสดจากโครงการฯ          (1) วิธีการใช้จ่ายเงิน : การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ
   (1.1) รอบที่ 1 เป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็กเท่านั้น ทั้งนี้ เงื่อนไขร้านค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ เป็นไปตามที่ พณ. กำหนด
   (1.2) ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป เป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขร้านค้า
(2) ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที หลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป
(3) ร้านค้าที่จะสามารถถอนเงินสดได้เฉพาะร้านที่มีคุณสมบัติตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ โดยมีการยื่นขอเบิกจ่ายผ่านผู้จัดทำระบบและผู้จัดทำระบบมีหน้าที่โอนเงินให้ร้านค้าที่เบิกจ่ายโดยตรง
ผู้พัฒนาและดำเนินการระบบ          มอบหมายให้ สพร. และ ดศ. เป็นผู้พัฒนาและดำเนินการระบบสำหรับโครงการฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(1) ประชาชน
   (1.1) ระบบลงทะเบียนและตรวจสอบคุณสมบัติกลุ่มเป้าหมายตามเงื่อนไขโครงการฯ เช่น อายุ เงินได้พึงประเมิน เงินฝาก เป็นต้น
   (1.2) ระบบยืนยันตัวตนสำหรับประชาชนและการตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครอง
(2) ร้านค้า
   ระบบลงทะเบียนและตรวจคุณสมบัติร้านค้า (ตามเงื่อนไขที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด)
(3) ระบบการใช้จ่าย
   (3.1) ระบบการใช้จ่ายรอบที่ 1: การใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กเท่านั้น
   (3.2) ระบบการใช้จ่ายรอบที่ 2 ขึ้นไป: การใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขร้านค้า
(4) ระบบการชำระเงิน
   (4.1) ระบบการใช้จ่ายสำหรับการชำระบัญชี (Clearing and Settlement) ระหว่างบัญชีของประชาชนและบัญชีของร้านค้าที่ธนาคารที่รับชำระเงิน (Open Loop)
   (4.2) ระบบการชำระเงินให้ผู้ประกอบการร้านค้าโดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขแหล่งเงิน
   (4.3) ตรวจสอบร้านค้าที่ตรงตามเงื่อนไขในการถอนเงินได้ (ร่วมกับกรมสรรพากร)
   (4.4) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยรับงบประมาณและเบิกจ่ายเงิน โดยจะต้องกระทบยอด (Reconcile) ความถูกต้องของเงินที่จะเบิกจ่าย
   ทั้งนี้ ระบบการใช้จ่ายระหว่างประชาชนและร้านค้าเป็นระบบเปิด (Open Loop) ที่ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของทุกรายการใช้จ่ายตามเงื่อนไข รวมถึงการชำระบัญชีของโครงการฯ ตามเงื่อนไขทั้งหมดจนจบโครงการและบริหารจัดการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(5) ระบบอื่น ๆ เช่น
   (5.1) ระบบตรวจสอบธุรกรรม (Transaction) ที่มีความต้องสงสัยเข้าข่ายการกระทำผิดเงื่อนไข (Fraud)
   (5.2) ระบบอื่น ๆ ที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้โครงการฯ สามารถขับเคลื่อนได้สำเร็จ
          (5.2.1) กำหนดวันที่ในการลงทะเบียนร้านค้า วันที่ลงทะเบียนประชาชน และวันที่เริ่มใช้จ่าย
          (5.2.2) ระบบที่เตรียมให้ประชาชนและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีการให้ยืนยันหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับประชาชนและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ (Consent)
   (5.3) กำหนดชื่อเว็บไซต์และจำทำเว็บไซต์ (Website) สำหรับใช้ดำเนินโครงการ
แหล่งเงินในการดำเนินโครงการฯ          เป็นเงินจำนวน 500,000 ล้านบาท จำแนกได้ ดังนี้
(1) เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้มีแหล่งเงินในการรองรับการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
(2) การดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ จำนวน 172,300 ล้านบาท ซึ่งจะพิจารณานำมาสนับสนุนการดำเนินนโยบายรัฐภายใต้วัตถุประสงค์และกฎหมายจัดตั้งของหน่วยงานรัฐนั้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร ทั้งนี้ ในการดำเนินการต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐและอยู่ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานดังกล่าวด้วย
(3) การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีความล่าช้าในการประกาศใช้ จึงอาจพิจารณาแนวทางการบริหารเงินงบประมาณในปี 2567 ร่วมกับสำนักงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้งบประมาณ เช่น การปรับลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นหรืองบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ                  พ.ศ. 2567 การใช้งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นต้น
ระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ           เนื่องจากมีแนวทางการใช้แหล่งเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และ พ.ศ. 2568 ในการดำเนินโครงการฯ ดังนั้น จึงจะต้องมีการพิจารณาระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ให้สอดคล้องกับแหล่งเงินดังกล่าว โดยระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จะต้องไม่เกินเดือนกันยายน 2569
แนวทางการตรวจสอบและวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์          คณะกรรมการนโยบายฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
(1) คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ โดยมีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดแนวทางการตรวจสอบ พิจารณา และวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการฯ รวมถึงการกระทำที่อาจฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบกรณีมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการตามโครงการฯ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ                                ต่อคณะกรรมการนโยบายฯ โดยมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธาน
(2) คณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการฯ ซึ่งสามารถกำหนดรายละเอียดที่ไม่ขัดต่อกรอบหลักการเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการฯ ได้ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) เป็นประธาน
ประโยชน์          จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน โดยการดำเนินโครงการฯ ที่มีขอบเขตและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมและช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายฯ ได้พิจารณากำหนดกรอบการดำเนินโครงการฯ ที่ระมัดระวังและป้องกันความเสี่ยงทางด้านการคลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนโดยรวม ตลอดจนรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด

1 คณะกรรมการนโยบายฯ ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีมติรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตฯ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแล้วและมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานฯ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยรับฟังความคิดเห็นให้รอบคอบและครบถ้วน รวมทั้งรายงานผลการรวบรวมข้อเท็จจริงและความเห็นให้คณะกรรมการนโยบายฯ ทราบ เพื่อรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งต่อมานายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 83/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วน ลงวันที่       23 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินโครงการฯ

16. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยไม่ถือเป็นวันลา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม -              3 สิงหาคม 2567 (รวม 23 วัน)1 ต่อไป ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สปน. รายงานว่า
                    1. ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 (ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 (โครงการฯ) ระหว่างวันที่               14 กรกฎาคม-3 สิงหาคม 2567 (รวมระยะเวลาบรรพชาอุปสมบท 21 วัน) โดยกำหนดผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 5,621 คน แบ่งเป็น ส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จำนวน 73 คน กำหนดจัดพิธี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (วัดราชบพิธฯ) โดยมีวัดราชบพิธฯ ร่วมกับ สปน. พศ. และกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการฯ (ใช้งบประมาณของ สปน. ดำเนินโครงการฯ ในส่วนกลางภายในกรอบวงเงิน 2 ล้านบาท) และส่วนภูมิภาค2 ทุกจังหวัด ๆ ละ 73 คน รวม 5,548 คน กำหนดจัดพิธี ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่กำหนด โดยมี มท. และ พศ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการฯ
                    2. โครงการฯ มีรายละเอียดการดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการ/กิจกรรม          ระยะเวลา
(1) การรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ (สปน. ได้มีหนังสือแจ้งเวียนส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐด้วยแล้ว)           วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม-วันอังคารที่ 30 เมษายน 2567
(2) การตรวจสอบคุณสมบัติ          เดือนพฤษภาคม 2567
(3) การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ           เดือนมิถุนายน 2567
(4) การเตรียมดำเนินโครงการฯ เช่น จัดหาเครื่องอัฐบริขารและการขอมติคณะรัฐมนตรีโดยไม่ถือเป็นวันลา          เดือนมีนาคม-เดือนมิถุนายน 2567
(5) พิธีปลงผม (โดยมีการรายงานตัวในวันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567)           วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567
(6) พิธีรับประทานผ้าไตรจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดราชบพิธฯ (ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จากส่วนกลาง 73 คน และผู้แทนจังหวัด ๆ ละ 1 คน)           วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567
(7) พิธีบรรพชาอุปสมบท          วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2567
(8) ศึกษาและปฏิบัติธรรม          วันจันทร์ที่ 15-วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567
(9) พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล          วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567
(10) การศึกษาและปฏิบัติธรรม          วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม-วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567
(11) พิธีลาสิกขา          วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567
                    3. เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ สปน. จึงขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีความประสงค์
จะอุปสมบทถวายพระราชกุศลมีโอกาสได้เข้าร่วมและได้รับสิทธิในการเข้าร่วมอุปสมบทเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ถือเป็นวันลาเสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ซึ่งเป็นการยกเว้นการปฏิบัติตามข้อ 29 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 และเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 31 แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปีบำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่เคยลาอุปสมบทระหว่างรับราชการมาแล้ว สามารถลาบรรพชาอุปสมบทถวายพระราชกุศลครั้งนี้ได้อีก โดยจะได้รับเงินเดือนตามปกติในระหว่างการลา สำหรับผู้ที่ไม่เคยลาอุปสมบทระหว่างรับราชการมาก่อน และได้ลาบรรพชาอุปสมบทถวายพระราชกุศลในครั้งนี้ จะได้รับเงินเดือนตามปกติในระหว่างการลา และจะไม่เสียสิทธิในการลาอุปสมบทที่จะได้รับเงินเดือนระหว่างการลาในอนาคต
1 ระยะเวลาบรรพชาอุปสมบทเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม-3 สิงหาคม 2567 (รวม 21 วัน)
2 สปน. แจ้งว่าเป็นการใช้งบประมาณของ มท. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินโครงการฯ ในส่วนภูมิภาคภายในกรอบวงเงิน 55 ล้านบาท

17 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                     คณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตามที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (คณะกรรมการฯ) เสนอ
                      สาระสำคัญ
                     รายงานผลการดำเนินงานฯ ที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เสนอ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ซึ่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) พิจารณาดำเนินการในประเด็นการแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ และให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วนในการออกแบบกฎ กติกาที่เป็นประชาธิปไตย ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ตลอดจนสอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และหารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภา เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง รวมทั้งเป็นไปตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ด้วย โดยคณะกรรมการดังกล่าวซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเสร็จแล้ว จึงได้เสนอรายงานดังกล่าวซึ่งมีประเด็น 2 เรื่อง ได้แก่
                     1. การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการทำประชามติ
                     คณะกรรมการฯ เห็นว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะเป็นไปโดยสอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป และเมื่อเสร็จแล้วจะต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงเห็นควรจัดให้มีการออกเสียงประชามติจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ (1) การทำประชามติครั้งที่ 1 ว่าเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2) การทำประชามติครั้งที่ 2 เป็นการทำประชามติในขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ (3) การทำประชามติ ครั้งที่ 3 เป็นการทำประชามติเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการจัดทำประชามติครั้งที่ 1 ควรกำหนดคำถามประชามติว่า ?ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์? อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ควรกำหนดคำถามประชามติเกี่ยวกับการให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และไม่ควรเป็นผู้พิจารณาจำนวนและที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ควรให้เป็นหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินการ เมื่อถึงขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256)
                    2. การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564
                     คณะกรรมการฯ ได้มีข้อห่วงใยเพิ่มเติมโดยเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวสามารถเป็นเครื่องมือทางประชาธิปไตยที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนสามารถแสดงเจตจำนงในเรื่องต่าง ๆ ได้โดยตรง โดยเห็นควรให้มีการแก้ไขในประเด็นต่าง ๆ เช่น กำหนดแบ่งประเภทให้มีการออกเสียงประชามติที่มีลักษณะเพื่อมีข้อยุติและการออกเสียงประชามติที่มีลักษณะเพื่อให้คำปรึกษาหารือแก่คณะรัฐมนตรี กำหนดให้มีการออกเสียงประชามติในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือระดับจังหวัด โดยอาจไม่จำเป็นต้องเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี กำหนดคะแนนการออกเสียงประชามติที่มีลักษณะเพื่อมีข้อยุติโดยให้มีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง และคะแนนเห็นชอบต้องมากกว่าคะแนนเสียงไม่ประสงค์ลงคะแนน กำหนดให้สามารถออกเสียงประชามติผ่านทางไปรษณีย์ได้ เป็นต้น

ต่างประเทศ
18. เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างเครือข่ายความเป็นเลิศของคนประจำเรือภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กับกรมเจ้าท่าประเทศไทย (Memorandum of Understanding between The Asia-Pacific Economic Cooperation Seafarers Excellence Network (APEC SEN) and Marine Department of Thailand)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างเครือข่ายความเป็นเลิศของคนประจำเรือภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกับกรมเจ้าท่า ประเทศไทย (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงคมนาคม (คค.) โดยกรมเจ้าท่าดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย สำหรับการลงนามดังกล่าวตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคนประจำเรือ จึงมีการประชุมหารือเกี่ยวกับเครือข่ายความเป็นเลิศ Seafarer Excellence Network (SENAP) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถระดับโลกของนักเดินเรือในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จนนำไปสู่การจัดตั้ง SENAP อย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2561 โดยมี 11 ประเทศให้การสนับสนุนการจัดตั้ง SENAP ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี สาธารณรัฐเปรู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และต่อมาได้มีมติเปลี่ยนชื่อจาก SENAP เป็น APEC Seafarer Excellence Network (APEC SEN) ในเดือนเมษายน 2562 โดยมีสำนักเลขาธิการ APEC SEN ณ Korea Institute of Maritime and Fisheries Technology (KIMFT) เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี เป็นผู้ดำเนินการจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนสำนักงานและบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยสภาขับเคลื่อนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน 3 ด้านหลัก ได้แก่                 (1) การศึกษาและฝึกอบรมคนประจำเรือ (2) การสรรหาบุคลากร การพัฒนาอาชีพและการเปลี่ยนงาน                     (3) สวัสดิการที่ดีขึ้นของคนประจำเรือ ผู้ทำงานและสำนักเลขาธิการ APEC SEN โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและที่เกิดขึ้นใหม่ของอุตสาหกรรมการเดินเรือและนักเดินเรือของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเน้นการเสริมสร้างการจ้างงานผ่านเครือข่ายออนไลน์และออฟไลน์ที่เข้มแข็ง เพื่อให้ได้การศึกษาและการฝึกอบรมการเดินเรือที่มีคุณภาพ การได้รับสวัสดิการที่ดีขึ้นโดยให้การสนับสนุนร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาอาชีพและการฝึกอบรมใหม่สำหรับการเปลี่ยนงานของคนประจำเรือในยุคดิจิทัล
                    2. APEC SEN ได้จัดการประชุมเพื่อพิจารณาหารือเกี่ยวกับโครงการของ APEC SEN ร่วมกับหน่วยงานของไทย โดยมีผู้แทนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมสุขภาพจิต และกรมเจ้าท่า เข้าร่วมการประชุมเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มความร่วมมือระหว่าง APEC SEN และไทย ทั้งนี้ คค. โดยกรมเจ้าท่า ได้ตอบรับเข้าร่วม 2 โครงการ ได้แก่
                              2.1 การส่งนักเรียนฝึกจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า จำนวน 4 คน เข้าร่วมโครงการ the Global Onboard Training Programme (GOBT Programme) ประจำปี 2566 ณ KIMFT เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี
                              2.2 การจัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์ (Letter of Request) เข้าร่วมโครงการ Train-the-Trainer Course on Global onboard Training ship targeted for Indonesia, Thailand, the Philippines, and Vietnam ซึ่งเป็นการส่งครูฝึกและเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาฝึกอบรมไทยเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการสร้างขีดความสามารถ ณ สาธารณรัฐเกาหลี
                              นอกจากนี้ APEC SEN ได้หารือแนวทางการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่าง APEC SEN กับกรมเจ้าท่า ประเทศไทย โดยผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายไทยเห็นควรให้เริ่มการจัดทำบันทึกความร่วมมือในกรอบของด้านการฝึกอบรมภายใต้การดำเนินงานของกรมเจ้าท่า คค. หากความร่วมมือดังกล่าวประสบความสำเร็จอาจพิจารณาจัดทำความร่วมมือในกรอบอื่น ๆ ต่อไป เช่น ด้านสวัสดิการ การพัฒนาอาชีพ
และการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
                    3. APEC SEN ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้ คค. โดยกรมเจ้าท่าพิจารณา ซึ่ง คค. โดยกรมเจ้าท่า ได้พิจารณาและปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และ APEC SEN ไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของ คค. โดยกรมเจ้าท่าแต่อย่างใด ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์           เพื่อให้ APEC SEN และกรมเจ้าท่าของประเทศไทยส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันและเพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและที่กำลังเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมการเดินเรือและคนประจำเรือในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อย่างไร้รอยต่อ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมทางเพศ
ขอบเขตความร่วมมือ          ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมความพยายามร่วมกันในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น
(1) การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และ/หรือภาคเอกชนสำหรับกิจกรรมของ APEC SEN ซึ่งรวมถึงการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับคนประจำเรือที่ส่งเสริมการแบ่งปันประสบการณ์ การหารือด้านนโยบาย การเสริมสร้างศักยภาพและความร่วมมือเชิงปฏิบัติที่มีส่วนสนับสนุนโดยตรงต่อเป้าหมายและลำดับความสำคัญของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
(2) การทำงานร่วมกันในการออกแบบและดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ [เช่น การจัดสัมมนา/ประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ การเรียน/ฝึกอบรมผ่านสื่อออนไลน์ (e-learning) หรือการฝึกภาคปฏิบัติบนเรือ]
(3) การคำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ตัดสินใจร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้
การสนับสนุนทางการเงิน          ทั้งสองฝ่ายจะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ผ่านการเตรียมการดังต่อไปนี้
(1) สถาบันแต่ละแห่ง1 จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายโดยตรงของสมาชิก รวมถึงค่าประกันสุขภาพส่วนบุคคล และประกันชีวิต
(2) สถาบันที่เป็นเจ้าภาพจะให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นทั้งหมด รวมถึงการออกหนังสือเชิญพื้นที่ทำงาน และการเข้าถึงฐานข้อมูลทางด้านวิชาการ
(3) การสนับสนุนทางการเงินอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
การมีผลบังคับใช้          บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับเมื่อมีการลงนามของทั้งสองฝ่าย และจะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี
การบอกเลิกและการต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ          (1) บันทึกความเข้าใจฉบับนี้อาจถูกบอกเลิกได้โดยภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยแจ้งการบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการบอกเลิกบันทึกความเข้าใจจะมีผลใช้บังคับใน 90 วัน นับจากวันที่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งได้รับการแจ้งการบอกเลิกดังกล่าว
(2) บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลา 5 ปี ต่อเนื่องกันเว้นแต่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะส่งหนังสือแจ้งการไม่ต่ออายุเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังภาคีอีกฝ่ายหนึ่งอย่างน้อย 90 วัน ก่อนวันหมดอายุของรอบการต่ออายุ
การแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ และการแก้ไขข้อแตกต่าง          (1) บันทึกความเข้าใจฉบับนี้อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยการตัดสินใจร่วมกันของทั้งสองฝ่ายผ่านการแลกเปลี่ยนจดหมายที่ลงนาม
(2) ทั้งสองฝ่ายตัดสินใจที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อแก้ไขข้อแตกต่างใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากบันทึกความเข้าใจฉบับนี้โดยการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งอาจบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามความเหมาะสม
พันธกรณี          บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายต่อภาดีทั้งสองฝ่าย
                    4. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ (1) เป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง APEC SEN และไทยในด้านคนประจำเรือ (2) เป็นการส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชยนาวีของไทยให้มีศักยภาพ โดยสามารถแข่งขันกับบุคลากรด้านพาณิชยนาวีของต่างประเทศได้ (3) เป็นการยกระดับหลักสูตรการศึกษาและการฝึกอบรมทางน้ำของประเทศไทยให้มีคุณภาพ ทันสมัย สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงเป็นการอำนวยความสะดวกในการพัฒนาอาชีพและการฝึกอบรมใหม่สำหรับคนประจำเรือในยุคดิจิทัล
1สถาบันในที่นี้หมายถึง สถาบันฝึกอบรมคนประจำเรือ ในส่วนของไทย คือ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีของกรมเจ้าท่าในส่วนของ APEC SEN คือ KIMFT ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งและเป็นฝ่ายเลขานุการของ APEC SEN หรืออาจกำหนด

19. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - ลาว ครั้งที่ 28
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - ลาว ครั้งที่ 28 (การประชุมคณะกรรมการฯ) ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กห. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการฯ ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2566 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยมีผลการประชุมและกิจกรรมที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ผลการประชุมคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                                        (1) ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย - ลาว ฉบับปี 25661 โดยสนับสนุนให้ทุกกลไกประสานความร่วมมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง
                                        (2) ที่ประชุมเห็นชอบไม่ให้กำลังทหารและตำรวจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลาดตระเวนล่วงล้ำดินแดนทางบก ทางน้ำ และทางอากาศของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเด็ดขาดยกเว้นกรณีการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยตามลำแม่น้ำโขงตามหลักมนุษยธรรม โดยจะต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบทันที
                                        (3) ที่ประชุมเห็นชอบให้ทั้งสองฝ่ายเพิ่มการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและดำเนินมาตรการที่จำเป็นภายใต้กฎหมายของแต่ละประเทศ รวมทั้งเพิ่มความร่วมมืออย่างจริงจังในการจัดระเบียบชายแดน เพื่อป้องกัน สกัดกั้น และปราบปรามผู้ลักลอบนำพาผู้เข้าเมืองและแรงงานผิดกฎหมาย รวมทั้งให้ความร่วมมือด้านแรงงาน การต่อต้านการค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติดและสินค้าผิดกฎหมาย
                                        (4) ประสานความร่วมมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยจัดชุดประสานงานประจำพื้นที่ชายแดนไทย - สปป.ลาว ดำเนินการลาดตระเวนตามลำแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองร่วมกันอย่างน้อยปีละ            2 ครั้ง พร้อมทั้งเสนอให้จัดทำระเบียบปฏิบัติประจำว่าด้วยการลาดตระเวนทางน้ำเพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งอาชญากรรมบริเวณชายแดน
                                        (5) การแลกเปลี่ยนการศึกษา โดยฝ่ายไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการแลกเปลี่ยนการศึกษาดูงานสำหรับนายทหารระดับกลาง สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับฝึกอบรมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้แก่กำลังพลของกองทัพประชาชนลาว
                                        (6) ฝ่าย สปป.ลาว รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างผู้บัญชาการทหารสูงสุดกับหัวหน้ากรมใหญ่เสนาธิการ กองทัพประชาชนลาว ครั้งที่ 2 ณ สปป.ลาวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและกีฬาระหว่างสองกองทัพ
                                        (7) ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 28 และฝ่ายไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 29 โดยกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ
                              1.2 กิจกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
                                        (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้หารือกับนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงป้องกันประเทศ สปป.ลาว (พลเอกจันสะหมอน จันยาลาด)ในประเด็นการร่วมกันรับมือกับภัยคุกคามข้ามชาติในรูปแบบต่าง ๆ การให้การสนับสนุน สปป.ลาว ในฐานะประธานอาเซียน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
                                        (2) การหารือก่อนการประชุมฯ ได้แก่ 1) ฝ่ายไทยเห็นพ้องร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดน ฝุ่นควันข้ามแดน (PM 2.5) และบุคคลสองสัญชาติและ 2) สปป.ลาว เสนอให้เร่งรัดการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน และการแก้ไขปัญหายาเสพติดและเสนอให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในแม่น้ำโขงบริเวณพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร - แขวงสะหวันนะเขต
1คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 ธันวาคม 2566) เห็นชอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว ฉบับปี 2566 เพื่อเป็นกลไกความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย - ลาว โดยมีกลไกความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (JBC) ไทย - ลาว คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ไทย ? ลาว คณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดตามชายแดนไทย ? ลาว

20. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564                (ค.ศ. 2021)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเลื่อนกำหนดวันแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) จากเดิม ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2567 เลื่อนเป็น ระหว่างวันที่                  21 - 30 พฤศจิกายน 2567 ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) มาแล้วจำนวน 4 ครั้ง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ลำดับ          มติคณะรัฐมนตรี          สาระสำคัญของมติคณะรัฐมนตรี
1          17 มีนาคม 2563          เห็นชอบในหลักการให้ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021)
2          11 พฤษภาคม 2564          เห็นชอบการเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 จากเดิม ปี พ.ศ. 2564                     (ค.ศ. 2021) เป็น ปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022)
3          1 กุมภาพันธ์ 2565          - เห็นชอบการเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 จากเดิม ในปี พ.ศ. 2565                    (ค.ศ. 2022) เป็น ปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023)
- หากจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาการจัดการแข่งขัน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสถานการณ์ที่ไม่กระทบกับงบประมาณและกรอบการดำเนินงานการจัดการแข่งขันดังกล่าว กก. สามารถดำเนินการตามขั้นตอนและแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
4          24 ตุลาคม 2566          - รับทราบการเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) จากเดิม ระหว่างวันที่ 17 - 26 พฤศจิกายน 2566 เลื่อนเป็นระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2567
- เห็นชอบในหลักการกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน วงเงิน 1,745 ล้านบาท
                    2. กก. โดยการกีฬาแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งว่า คณะกรรมการบริหารสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia: OCA) มีมติให้ประเทศไทยเลื่อนการจัดการแข่งขันกีฬาเอเขียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานครและจังหวัดชลบุรี ในระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2567 เลื่อนเป็น ระหว่างวันที่ 21 - 30 พฤศจิกายน 2567 เนื่องจากคณะกรรมการโอลิมปิกชาติสมาชิกต้องการเวลาในการเตรียมทีมและเก็บตัวฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส (กำหนดจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม - 11 สิงหาคม 2567) ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธาน) ได้แจ้งกำหนดการใหม่ไปยังประเทศสมาชิกสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย จำนวน 45 ประเทศ*
เรียบร้อยแล้ว
* รายชื่อประเทศสมาชิกสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) 45 ประเทศ ได้แก่ (1) สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (2) ราชอาณาจักรบาห์เรน (3) สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (4) ราชอาณาจักรภูฏาน (5) บรูไนดารุสซาลาม (6) ราชอาณาจักรกัมพูชา                            (7) สาธารณรัฐประชาชนจีน (8) สาธารณรัฐจีน (ใต้หวัน) (9) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (10) สาธารณรัฐอินเดีย (11) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (12) สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (13) สาธารณรัฐอิรัก (14) ประเทศญี่ปุ่น (15) ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (16) สาธารณรัฐคาซัคสถาน (17) รัฐคูเวต (18) สาธารณรัฐคีร์กีซ (19) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว                  (20) สาธารณรัฐเลบานอน (21) เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (22) ประเทศมาเลเซีย (23) สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (24) ประเทศมองโกเลีย (25) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (26) สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (27) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (28) รัฐสุลต่านโอมาน (29) สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (30) รัฐปาเลสไตน์ (31) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (32) รัฐกาตาร์ (33) ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (34) สาธารณรัฐสิงคโปร์ (35) สาธารณรัฐเกาหลี (36) สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (37) สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (38) สาธารณรัฐทาจิกิสถาน (39) สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ - เลสเต (40) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (41) ประเทศเติร์กเมนิสถาน (42) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (43) สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน                   (44) สาธารณรัฐเยเมน และ (45) ราชอาณาจักรไทย

21. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการบินพลเรือนและการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการบินพลเรือนและการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ขอให้ กก. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กก. ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (นาย Hasan Mahmud) ในวันที่ 26 เมษายน 2567 ซึ่ง กก. ได้ขอให้หน่วยงานภายใต้สังกัดที่มีภารกิจด้านการท่องเที่ยว [กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)] พิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวแล้ว โดยหน่วยงานดังกล่าวแจ้งว่า ไม่มีข้อขัดข้องต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                    2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          (1) มุ่งพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในระยะยาวเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
(2) เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศให้มากขึ้น
กรอบความร่วมมือ          (1) จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวต่าง ๆ
(2) จัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยว
(3) ประชาสัมพันธ์ให้เกิดการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ
(4) สนับสนุนกิจกรรมและโครงการร่วมกัน
การดำเนินการ          แลกเปลี่ยนข้อมูล/ประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวในสาขาต่าง ๆ ดังนี้
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา จิตวิญญาณ และความเชื่อ รวมถึงแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวชาวพุทธระหว่างกัน
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและองค์การต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยวในการพัฒนาการท่องเที่ยวและจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกัน
- พัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการรูปแบบใหม่และยั่งยืน
- สนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวและบริการ
- แลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
- ข้อมูลสถิติด้านการท่องเที่ยว
- โปรแกรมการศึกษา/วิจัย ประชุม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการบริการ
- การออกกฎหมายควบคุมกิจกรรมการท่องเที่ยว
การติดตามการดำเนินงาน          จัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเพื่อติดตามและให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้
ความผูกพันตามกฎหมาย          ไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมาย
การแก้ไข          สามารถแก้ไขและเพิ่มเติมได้ โดยต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต
การบังคับใช้ การต่ออายุ และการยกเลิก          มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนาม และต่ออายุอัตโนมัติ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งความประสงค์ในการยกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูตก่อนที่บันทึกความเข้าใจฯ จะสิ้นอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน

22. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ แห่งบรูไนดารุสซาลาม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ แห่งบรูไนดารุสซาลาม  (สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ) (ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ กต. พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้ง  ให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ ในการหารือกับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ ดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กต. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยและเนการาบรูไนดารุสซาลาม (บรูไนฯ)  มีความสัมพันธ์กันอย่างยาวนาน โดยมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง             2 ประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ มีกำหนดเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 29-30 เมษายน 2567   กต. จึงเสนอร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีสามารถรับรองร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมดังกล่าวร่วมกับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ ในวันที่ 29 เมษายน 2567รวมทั้งสามารถเผยแพร่เอกสารดังกล่าวต่อสาธารณชนได้ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ
                    2. ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างผู้นำของทั้ง             2 ประเทศ ในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างรอบด้านโดยมีสาระสำคัญเป็นการสรุปผลการหารือระหว่างผู้นำของทั้ง 2  ประเทศ และเน้นย้ำถึงการกระชับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างกันให้มากขึ้น ทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค

23. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลของสุลต่านและยัง ดี-เปอร์ตวน แห่งบรูไนดารุสซาลาม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลของสุลต่านและยัง ดี-เปอร์ตวน แห่งบรูไนดารุสซาลาม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน เบ็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย  และรัฐบาลของสุลต่านและยัง ดี-เปอร์ตวน แห่งบรูไนดารุสซาลาม ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลของสุลต่านและยัง ดี-เปอร์ตวน แห่งบรูไนดารุสซาลาม มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไทย ? บรูไนดารุสซาลาม โดยเอกสารดังกล่าวมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ภายใต้กรอบทวิภาคีและพหุภาคี การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามรูปแบบที่มีศักยภาพ อาทิ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไมซ์ และการท่องเที่ยวมุสลิม และการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด การยกระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการประสานงานเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านการบินระหว่างสองประเทศ โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อย่างไรก็ดี ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย ดังนั้น จึงเข้าข่ายที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548

24. เรื่อง การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ  ดังนี้
                    1. การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (บังกลาเทศ) ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People's Republic of Bangladesh on Visa Exemption for Holders of Official Passports) (ความตกลงฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ขอให้ กต. สามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    2. ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้ลงนามดังกล่าว
                    3. ให้ กต. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ
                    สาระสำคัญ
1)          นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศมีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่
24-27 เมษายน 2567 โดยไทยและบังกลาเทศได้เห็นชอบที่จะจัดให้มีการลงนามความตกลงฯ ในโอกาสดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อราชการระหว่างผู้ถือหนังสือเดินทางราชการของทั้งสองฝ่ายและเพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศมากขึ้น
                    2) ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการระบุรายละเอียดและเงื่อนไขของการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการระหว่างไทยและบังกลาเทศสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
ข้อตกลง          (1) ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการที่มีอายุการใช้งานได้ของทั้งประเทศไทยและบังกลาเทศ (รัฐภาคีคู่สัญญา) จะได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับการเดินทางเข้า ? เดินทางออก เดินทางผ่าน และพำนักอยู่ในดินแดนของรัฐภาคีสู่สัญญา ได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วันนับจากวันที่เดินทางเข้า โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องไม่เข้ารับการจ้างงาน           ใด ๆ ไม่ทำธุรกิจส่วนตัว หรือกิจการส่วนตัวอื่นใด ในในดินแดนของรัฐภาคีคู่สัญญา
(2) ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการที่มีอายุการใช้งานได้ของรัฐภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตหรือทางกงสุลของฝ่ายตนหรือเป็นผู้แทนของฝ่ายตนประจำองค์การระหว่างประเทศในดินแดนของรัฐภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายตลอดจนสมาชิกในครอบครัวของบุคคลเหล่านั้นที่ถือหนังสือเดินทางราชการที่มีอายุการใช้งานได้ของรัฐภาคีคู่สัญญาสามารถเดินทางเข้า พำนักอยู่ใน และเดินทางออกจากดินแดนของอีกฝ่ายได้โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราเป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ ระยะเวลาพำนักนั้นจะได้รับการขยายไปจนสิ้นสุดวาระการแต่งตั้งของบุคคลเหล่านั้นเมื่อมีคำร้องขอของกระทรวงการต่างประเทศหรือสถานเอกอัครราชทูตของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามความตกลงนี้อาจเดินทางเข้า เดินทางผ่าน หรือเดินทางออกจากดินแดนของรัฐภาคีคู่สัญญา ณ ด่านที่เปิดสำหรับการสัญจรระหว่างประเทศใด ๆ โดยมีเงื่อนไขว่า บุคคลเหล่านั้นจะต้องเคารพกฎหมายและข้อบังคับของรัฐภาคีคู่สัญญาเกี่ยวกับการเข้าเมือง การเดินทางและการพำนักที่ใช้บังคับกับคนต่างชาติ
(4) ภาคีคู่สัญญาจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบผ่านช่องทางการทูตโดยทันทีในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและข้อบังคับของฝ่ายตนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเมืองการเดินทาง และการพำนักที่ใช้บังคับกับคนต่างชาติ
(5) ความตกลงนี้จะไม่กระทบต่อพันธกรณีสำหรับคนชาติของรัฐภาคีคู่สัญญาที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้บังคับในดินแดนของรัฐของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
(6) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะปฏิเสธการเดินทางเข้าหรือยกเลิกการพำนักของบุคคลใด ๆ ที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราภายใต้ความตกลงนี้ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยสาธารณะ ความมั่นคงแห่งชาติ หรือสาธารณสุข
การดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง          1) ภาคีคู่สัญญาจะจัดส่งตัวอย่างหนังสือเดินทางราชการที่มีอายุใช้ได้ของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งผ่านช่องทางทางการทูตภายใน 30 วันนับจากวันที่ลงนามความตกลงนี้
(2) ในกรณีที่มีการนำหนังสือเดินทางราชการแบบใหม่ที่อ่านได้ด้วยเครื่องมาใช้ ภาคีคู่สัญญาจะต้องจัดส่งตัวอย่างหนังสือเดินทางแบบใหม่ของตนให้แก่ภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยผ่านช่องทางการทูตล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนการใช้หนังสือเดินทางดังกล่าว
การระงับการมีผลใช้บังคับ          ภาคีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจระงับการระงับการใช้บังคับความตกลงนี้บางส่วนหรือทั้งหมดด้วยเหตุผลด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยสาธารณะ ความมั่นคงแห่งชาติ หรือสาธารณสุขโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการระงับและการยกเลิกการระงับดังกล่าวผ่านช่องทางการทูตล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน
การระงับข้อพิพาท          ข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดจากการดำเนินการหรือการใช้บังคับความตกลงนี้ให้ระงับโดยการเจรจาและการปรึกษาหารือระหว่างภาคีคู่สัญญา
ผลบังคับใช้          มีผลใช้บังคับในวันที่ 60 หลังจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายจากภาคีคู่สัญญาว่าได้ดำเนินกระบวนการทางกฎหมายภายในที่จำเป็นต่อการใช้บังคับความตกลงฉบับนี้สมบูรณ์แล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี และจะได้รับการขยายระยะเวลาออกไปอีกวาระละ 5 ปี เว้นแต่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกโดยแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 90 วัน
การแก้ไข          ความตกลงนี้อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรของภาคีคู่สัญญา และจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 30 นับแต่วันที่ภาคีคู่สัญญาได้รับแจ้งจากอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายผ่านช่องทางการทูตเพื่อยืนยันการยินยอมหรือเห็นชอบต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหรือในวันที่ภาคีคู่สัญญาเห็นชอบร่วมกัน
                    3. กต. แจ้งว่า ได้สอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  กระทรวงมหาดไทย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)  สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงฯ แล้ว ทุกหน่วยงานไม่มีข้อขัดข้องต่อการจัดทำความตกลงฯ

25.  เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงไฟฟ้า พลังงาน และทรัพยากรแร่สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (Memorandum of Understanding Between the Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Power, Energy and Mineral Resources of the People?s Republic of Bangladesh on Energy Cooperation)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงไฟฟ้า พลังงาน และทรัพยากรแร่สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (Memorandum of Understanding Between the Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Power, Energy and Mineral Resources of the People?s Republic of Bangladesh on Energy Cooperation)
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงไฟฟ้า พลังงาน และทรัพยากรแร่สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
                    ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงไฟฟ้า พลังงาน และทรัพยากรแร่สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เป็นเอกสารที่กำหนดกรอบและแนวทางในการดำเนินกิจกรรม/โครงการความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายบังกลาเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพลังงานที่มีความมั่นคงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการขยายโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนร่วมกันในภาคพลังงานระหว่างสองประเทศ
                    2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวเป็นกรอบและแนวทางการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างไทยและบังกลาเทศในด้านพลังงาน ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรด้านพลังงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใน 5 มิติหลัก ได้แก่ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานหมุนเวียน ไฟฟ้า รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด ซึ่งจะดำเนินการในรูปแบบทวิภาคีโดยการจัดตั้งการประชุมด้านพลังงานประจำปี (Energy Forum) เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวนโยบายด้านพลังงานร่วมกัน การดำเนินความร่วมมือในโครงการด้านพลังงานแบบรัฐต่อรัฐ การผลักดันและอำนวยความสะดวกให้กับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านพลังงาน

26. เรื่อง ร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) ที่จะเริ่มการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย ? บังกลาเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) ที่จะเริ่มการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย ? บังกลาเทศ (ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บังกลาเทศได้มีหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือกับไทยใน 3 ด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย - บังกลาเทศ ในการนี้ พณ. บังกลาเทศ จึงได้เสนอร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของ พณ. ไทยและบังกลาเทศในการเริ่มเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ไทย - บังกลาเทศ ภายในปี 2567 โดยมีสาระสำคัญระบุว่า ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนผลการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ที่แต่ละฝ่ายจัดทำไว้ และจะสานต่อการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งรัดกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงผ่านกลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee)

27. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ขอให้ กก. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
(จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถานในวันที่ 23 เมษายน 2567)
                     ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประจำชาติของทั้งสองประเทศ
กรอบ
ความร่วมมือ          - ประสานงานระหว่างสมาคมการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการนำเที่ยว และบริษัทนำเที่ยว
- สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมของหน่วยงานสาธารณะ องค์กรเอกชน และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศของตน
- แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับโครงการลงทุนด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการลงทุนในด้านการท่องเที่ยว
- แจ้งให้นักลงทุนที่สนใจทราบเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศตลอดจนโครงการลงทุนที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางการทูตอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการ          - แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยว ตลอดจนการจัดการสถานประกอบการที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยว
- จัดฝึกอบรมด้านวิชาชีพและการจัดสัมมนาเพื่อปรับปรุงและสร้างความตระหนักรู้ในด้านการท่องเที่ยว และดำเนินการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรในภาคโรงแรมและอาหาร
- ส่งเสริมความร่วมมือในด้านการฝึกอบรมบุคลากรและการฝึกอบรมพนักงานในด้านการท่องเที่ยว
- อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาในด้านการท่องเที่ยว
- แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและเทศกาลท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในประเทศของตนและส่งเสริมให้คู่ภาคีเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดังกล่าวหรือกิจกรรมระหว่างประเทศอื่น ๆ ในด้านการท่องเที่ยว
- แลกเปลี่ยนความรู้ทางสื่อโฆษณาและข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศของตน รวมถึงข้อมูลสถิติด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ
- อำนวยความสะดวกในการเดินทางเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน
การระงับ
ข้อพิพาท          - ความแตกต่างใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ จะได้รับการแก้ไขโดยผ่านการหารือระหว่างผู้เข้าร่วมผ่านช่องทางการทูต
ผลผูกพัน          - บันทึกความเข้าใจฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีที่ผูกพันตามกฎหมายต่อผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย
- กิจกรรมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะดำเนินการตามกฎหมายของทั้งสองประเทศและอยู่ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณของทั้งสองฝ่าย
การบังคับใช้
การแก้ไข
และการยกเลิก          - จะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นระยะเวลา 5 ปี และจะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลา 5 ปี ติดต่อกัน
- บันทึกความเข้าใจฯ อาจได้รับการแก้ไขโดยได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันจากผู้เข้าร่วม
- ในกรณีที่คู่ภาคีมีเจตนาที่จะไม่ต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ ให้แจ้งผู้เข้าร่วมรายอื่นทราบเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนวันหมดอายุ

28. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 ให้การรับรองร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57
                    ทั้งนี้ สหประชาชาติกำหนดให้มีการรับรองร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 โดยไม่มีการลงนาม ในช่วงการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 (The fifty-seventh session of the Commission on Population and Development - CPD57) ระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2567 - 3 พฤษภาคม 2567 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
                    สาระข้อเท็จจริงของเรื่อง
                    การประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนา (Commission on Population and Development - CPD) เป็นการประชุมประจำปีในกรอบสหประชาชาติเพื่อติดตาม ทบทวน ประเมินผล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของการประชุมระหว่างประเทศเรื่องประชากรและการพัฒนา รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือประเด็นท้าทายใหม่ด้านประชากร ซึ่งที่ผ่านมาจะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ เป็นข้อมติคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการประชุม ICPD ประธานการประชุม CPD57 จึงเสนอให้มีเอกสารผลลัพธ์ในรูปแบบร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และเสริมสร้างความร่วมมือระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ความร่วมมือเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และความร่วมมือไตรภาคี เพื่อบรรลุการขจัดความยากจน การเพิ่มอายุคาดเฉลี่ย (Life Expectancy) การลดการเสียชีวิตของเด็กและมารดา การปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน และบริการด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว โดยสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในลักษณะบูรณาการ และตระหนักถึงความท้าทายที่สำคัญ อาทิ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากร ความยากจน ผลกระทบด้านลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งทำให้ความเปราะบางและความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น และมีผลกระทบเชิงลบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนั้น ยังส่งเสริมการตระหนักถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทุกคน ในฐานะตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (agents of change) เพื่อการพัฒนา และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการตาม PoA of ICPD และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    1. ผลผูกพัน
                    ร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างถ้อยแถลงร่วมดังกล่าว ดังนั้น ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฯ
                    2. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ
                    การให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของประเทศไทยโดยถือเป็นการย้ำความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการดำเนินการตาม PoA of ICPD และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับในการบูรณาการความเชื่อมโยงระหว่างประชากรกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อบรรลุการขจัดความยากจน การเพิ่มอายุคาดเฉลี่ย การลดการเสียชีวิตของเด็กและมารดา การปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน และบริการด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว และความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรับมือกับวิกฤตด้านประชากร และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ. 2030

29. เรื่อง การเข้าประชุม Sustainable Finance for Tiger Landscapes Conference ณ ประเทศภูฏาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้
                    1.เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม Paro Pledge for Tigers: A Billion-dollar Commitment to Biodiversity Conservation (ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ) ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย [ที่ปรึกษากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (นางรุ่งนภา พัฒนวิบูลย์)] หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
(จะมีการจะรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ระหว่างการประชุม Sustainable Finance for Tiger Landscapes Conference ในวันที่ 23 เมษายน 2567)
                    สาระสำคัญ
                    1. ประเทศภูฏานได้เชิญประเทศไทยเข้าร่วมประชุม Sustainable Finance for Tiger Landscapes Conference ระหว่างวันที่ 22 - 23 เมษายน 2567 ณ ประเทศภูฏาน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงินและการระดมทุนสำหรับการอนุรักษ์เสือโคร่งและถิ่นที่อยู่อาศัย โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 13 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นถิ่นอาศัยของเสือโคร่ง เช่น ประเทศอินเดีย เนปาล อินโดนีเซีย จีน และไทย รวมถึงหุ้นส่วนทวิภาคีและพหุภาคี และนักลงทุนรายใหญ่
                    2. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว มีจำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ Paro Pledge for Tigers:              A Billion-Dollar Commitment to Biodiversity Convention (คำปฏิญาณ PARO สำหรับเสือโคร่ง: ความมุ่งมั่นในการใช้เงิน 1 พันล้านดอลลาร์ ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการตระหนักถึงจำนวนประชากรของเสือโคร่งในหลายพื้นที่ที่มีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากภัยคุกคามจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย การล่าและการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ที่ประชุมจึงร่วมกันสนับสนุนการกระตุ้นการระดมทุนเพิ่มเติมจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่ง ภายในปี ค.ศ. 2034 (พ.ศ. 2577) โดยจะส่งเสริมให้มีการดำเนินการ ดังนี้
                              2.1 การระดมทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติม ตลอดจนวิทยาการที่เป็นปัจจุบัน และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค
                              2.2 การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากกลไกทางการเงินใหม่ ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินงานตาม Global Tiger Recovery Program 2.0 [แผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลก ปี ค.ศ. 2023 - 2034 (พ.ศ. 2566 - 2577)] และแผนอื่น ๆ
                              2.3 การเชิญชวนให้ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เสือโคร่ง
                              2.4 การเชื่อมโยงการอนุรักษ์เสือโคร่งกับเป้าหมายระดับโลก (เช่น กรอบงานคุนหมิง-               มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก) ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                              2.5 การติดตามการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ในการอนุรักษ์เสือโคร่ง และการประเมินผลกระทบที่ได้รับ
                              ทั้งนี้ การร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย             จึงไม่มีผลกระทบหรือมาตรการลงโทษใด ๆ หากประเทศไทยไม่ดำเนินการตาม
                    3. ที่ผ่านมา ทส. ได้มีการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ได้แก่ (1) การสร้างระบบติดตามประชากรเสือโคร่งและเหยื่อในพื้นที่อาศัยของเสือโคร่ง (2) การเสริมสร้างศักยภาพและมาตรฐานการลาดตระเวนให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยสำคัญของเสือโคร่ง และ (3) การจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่ง ฉบับที่ 2 (ปี 2566 - 2577) (ทส. แจ้งว่า มีความสอดคล้องกับ Global Tiger Recovery Program 2.0 ตามข้อ 2.2)
                    4. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ เช่น (1) มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาวิจัยและการอนุรักษ์เสือโคร่งร่วมกับนักอนุรักษ์ระดับโลก (2) ได้รับการยอมรับในการเป็นผู้นำกลุ่มประเทศเอเชียที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่าชนิดอื่นที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก (3) เป็นการเปิดโอกาสในการหาการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนงบประมาณและการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากร และ (4) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์เสือโคร่ง เหยื่อและการป้องกันพื้นที่ จากการหาโอกาสด้านการเงินและแหล่งเงินทุนจากองค์กรภาคี ตลอดจนมีการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนทางการเงินในอนาคตของประเทศที่เป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่ง

30. เรื่อง การยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติรัสเซีย เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการในการกำหนดให้ ?สหพันธรัฐรัสเซีย? อยู่ในรายชื่อประเทศในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 60 วัน เป็นกรณีพิเศษ โดยมีเงื่อนไขให้มีผลบังคับใช้ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 เพื่อประโยชน์ต่อมิติเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับสหพันธรัฐรัสเซีย โดยเฉพาะด้านความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
                    2. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินหกสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. มอบหมายให้หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกำกับติดตามและประเมินผลกระทบจากการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ทั้งนี้ หากมีผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวต่อไปได้
                    สาระสำคัญ
                    1. กต. เสนอว่า
                              1.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (16 ตุลาคม 2566) เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 90 วัน เป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขบทอาศัยอำนาจของร่างประกาศให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                              1.2 ต่อมามีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 90 วัน เป็นกรณีพิเศษ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567
                    2. ที่ผ่านมาในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเดินทางมาประเทศไทยมากกว่า 1.61 ล้านคนซึ่งมากเป็นอันดับหนึ่งของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปและมากเป็นอันดับห้าของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางเข้าประเทศไทย โดยประเทศไทยมีรายได้จากท่องเที่ยวชาวรัสเซีย รวม 84,666 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ประเทศไทยและรัสเซียได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดาเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ส่งผลให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาไทยและรัสเซียสามารถเดินทางระหว่างกันและพำนักในประเทศได้ไม่เกิน 30 วัน โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์พำนักอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 30 วัน จะต้องขอรับการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (TR) เพื่อให้สามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสูงสุดไม่เกิน                90 วัน1 และปัจจุบันมีประเทศหรือดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และสามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยได้เป็นเวลาไม่เกิน 30 วัน
                    3. การกำหนดรายชื่อสหพันธรัฐรัสเซียเป็นประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินไม่เกิน 60 วัน จะเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียให้เดินทางมาท่องเที่ยวและพำนักในราชอาณาจักรตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2567 ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในภาพรวม
                    4. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567 กต. ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มท. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ประชุมไม่ขัดข้องในการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติรัสเซียเพื่อพำนักในประเทศไทยได้ไม่เกิน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567
                    5. กต. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และ 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่าจะสูญเสียรายได้จากการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเพื่อพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ไม่เกิน 60 วัน จากค่าธรรมเนียมรหัส TR (1,000 บาทต่อคน) รวมประมาณ 4.6 ล้านบาท
                    6. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ ?สหพันธรัฐรัสเซีย? อยู่ในรายชื่อประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 60 วัน ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567
หนังสือเดินทางธรรมดา
รายชื่อประเทศที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา
(ความตกลงระหว่างกัน)          รายชื่อประเทศตามร่างประกาศฯ ที่ กต. เสนอ
(มาตรการที่ให้แต่ฝ่ายเดียว)
พำนักไม่เกิน 30 วัน          พำนักไม่เกิน 60 วัน
จีน          รัสเซีย
ฮ่องกง
ลาว
มาเก๊า
มองโกเลีย
รัสเซีย
เวียดนาม
1 ถ้าประสงค์ขออยู่ต่อมากกว่า 30 วัน ต้องขอวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว (TR) ที่สถานทูตไทย (ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท) ซึ่งได้สูงสุด 60 วัน ทั้งนี้ สามารถขอขยายเวลากับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ค่าธรรมเนียมอยู่ต่อ 1,900 บาท) จะทำให้อยู่ได้เพิ่มอีก 30 วัน รวมเป็น 90 วัน โดยจะไม่นับรวมระยะเวลา 30 วัน ตามความตกลง (MOU) รวมอยู่ในระยะเวลา 60 วัน

แต่งตั้ง
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (กระทรวงพลังงาน)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                      1. นายชำนาญ กายประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นายโสภณ มณีโชติ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     3. นางสาวภาวิณี โกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

32. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์ จำนวน 12 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิม ได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ดังนี้
                      1. นายพิเศษ จียาศักดิ์                                  ผู้ทรงคุณวุฒิ
                      2. นางสาวอรพรรณ พนัสพัฒนา            ผู้ทรงคุณวุฒิ
                     3. นายชาคริต พิชญางกูร                     ผู้ทรงคุณวุฒิ
                     4. หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล           ผู้ทรงคุณวุฒิ
                     5. นายเสริมคุณ คุณาวงศ์                     ผู้ทรงคุณวุฒิ
                     6. นายตุล ไวฑูรเกียรติ                                ผู้ทรงคุณวุฒิ
                     7. นายชวัตถ์วิช เมืองแก้ว                     ผู้แทนสมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรม ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
                      8. นายนนท์ หรยางกูร                                 ผู้แทนสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย
                     9. นายวรพจน์ นิ่มวิจิตร                                ผู้แทนสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
                      10. นางสาวชญาภัช แสงทับทิม             ผู้แทนสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทย
                      11. นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์            ผู้แทนสมาคมโรงแรมไทย
                     12. นายธีรภัทร เจริญสุข                      ผู้แทนสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวม 7 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้
                     1. นายอำนวย โชติสกุล                                           ประธานกรรมการ
                      2. นางสาวชูสะอาด กันธรส                                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน
                      3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน
                     4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม เพ็ญภินันท์                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรม
                     5. ศาสตราจารย์สุมาลี วงษ์วิทิต                                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
                      6. นายบุญเกียรติ การะเวกพันธุ์                                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล
                     7. นายภาณุ จันทร์เจียวใช้                                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ รวม 8 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ดังนี้
                     1. นายเธียรชัย ณ นคร                                             ประธานกรรมการ
                     2. นางวัฒนาพร ระงับทุกข์                                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     3. รองศาสตราจารย์ปานใจ ธารทัศนวงศ์            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     4. รองศาสตราจารย์อดิศร เนาวนนท์                        กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     5. รองศาสตราจารย์จิรดา วุฑฒยากร                       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                      6. นางสาวพรวิลัย เดชอมรชัย                                 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     7. ร้อยตำรวจโทหญิง สุทธิมา พิพัฒน์พิบูลย์            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     8. นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง                                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

35. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก รวม 6 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
                      1. นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์            ประธานกรรมการ
                      2. นายพิสิทธิ์ ปทุมบาล                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจ
                      3. นายบัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน
                     4. นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                      5. นายนิคม แหลมสัก                       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านป่าไม้
                     6. นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุตสาหกรรม
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ