ยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2552-2556

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 17, 2009 13:31 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีพิจารณายุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2552-2556 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้

1. เห็นชอบในยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2552-2556 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สำหรับงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ สำนักงบประมาณจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็น

2. เห็นชอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาจัดทำแผนงานโครงการเสนอขอจัดสรรงบประมาณปี 2553-2556 จากงบปกติ โดยในปี 2552 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเจียดจ่ายงบประมาณดำเนินการไปก่อน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า

1. จากมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 2/2550 วันที่ 6 กันยายน 2550 ซึ่งเห็นชอบการเปิดตลาดสินค้ากาแฟภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ในปี 2553 ทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ จึงเห็นสมควรจัดทำยุทธศาสตร์กาแฟเพื่อเตรียมความพร้อมแก่เกษตรกรชาวสวนกาแฟ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกส่วนในการพัฒนาสินค้ากาแฟทั้งระบบเพื่อให้สามารถแข่งขันกับ ประเทศคู่แข่งในการผลิตได้ตลอดไป

2. คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบยุทธศาสตร์กาแฟปี 2552-2556 และมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรรับข้อสังเกตไปปรับปรุงยุทธศาสตร์กาแฟในการเพิ่มผลผลิตด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยไม่ขยายพื้นที่เพาะปลูกส่งเสริมและสนับสนุนจุดแข็งในเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้ากาแฟลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งให้จัดทำรายละเอียดแผนงาน โครงการเพื่อขอใช้เงินงบกลางสำหรับปีงบประมาณ 2552 เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบสำหรับปี 2553-2556 ให้จัดทำแผนงาน โครงการเสนอขอจัดสรรงบประมาณจากงบปกติ

ยุทธศาสตร์กาแฟ ประกอบด้วย

1. วิสัยทัศน์ เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน รักษาคุณภาพ และเอกลักษณ์กาแฟไทย โดยมีพันธกิจ ดังนี้

(1) ส่งเสริม/สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณภาพผลผลิต

(2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ดีและเหมาะสม

(3) สร้าง/พัฒนาเครือข่ายระหว่างเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร

(4) สร้างมาตรฐานและภาพลักษณ์กาแฟไทย

2. เป้าหมาย

(1) ลดต้นทุนการผลิตกาแฟเท่าหรือมากกว่าเวียดนาม ไม่เกินร้อยละ 10

(2) เพิ่มผลผลิตต่อไร่กาแฟที่ปลูกเป็นพืชเดี่ยวจาก 200 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2552 เป็น 300 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2556 และปลูกร่วมกับพืชอื่นจาก 143 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2552 เป็น 180 กิโลกรัม/ไร่ ปี 2556

(3) เพิ่มปริมาณแปลงกาแฟที่ได้รับการรับรอง GAP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

3. ยุทธศาสตร์และมาตรการดำเนินงาน

3.1 ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต

(1) จัดระบบการผลิตในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช

1) เขตการผลิตกาแฟ

  • ศึกษาวิเคราะห์ความถูกต้องของพื้นที่ที่มีศักยภาพและพื้นที่ปลูกจริง รวมทั้งสำรวจข้อมูลด้านโลจิสติกส์
  • วิเคราะห์คาดคะเนแนวโน้มในด้านราคา ต้นทุน และผลตอบแทน (ประชุม/สัมมนา)
  • จัดทำข้อมูลแผนที่แสดงความเหมาะสม และวางแผนกำหนดเขตปลูกกาแฟในพื้นที่ที่ปลูกกาแฟเป็นพืชเดี่ยว

และปลูกเป็นพืชร่วม

2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกร

  • จัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่ขึ้นทะเบีบนภาคสนาม พิมพ์คู่มือและแบบ คำร้อง วัสดุสำนักงาน และค่าจัดทำหีบห่อทาง

ไปรษณีย์ ประมวลผลและจัดทำฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศกาแฟ ติดตาม/นิเทศงาน รายงานผลและ

บริหารโครงการ

(2) พัฒนาและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรดินอย่างมีประสิทธิภาพ

1) สำรวจ วิเคราะห์พื้นที่เพาะปลูกกาแฟ

2) สำรวจ จำแนก วิเคราะห์ข้อมูลดิน และประเมินความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกกาแฟ

3) ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการจัดการดิน

4) ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงาน

(3) ปรับปรุงสวนกาแฟเสื่อมโทรม

1) ส่งเสริมการตัดทำสาวต้นกาแฟที่ให้ผลผลิตติดต่อกันเกิน 5 ปี รณรงค์การตัดแต่งกิ่ง โดยการจัดทำแปลงสาธิต

อบรมความรู้เกษตรกร

2) ปรับเปลี่ยนสวนเก่าโดยใช้กาแฟสายพันธุ์ดี ที่ให้ผลผลิตสูง และจำนวนครั้งในการเก็บเกี่ยวน้อย และจัดทำ

แปลงทดสอบกาแฟสายพันธุ์ดี

(4) พัฒนาการผลิตของเกษตรกรให้ได้มาตรฐาน GAP

1) ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตกาแฟให้ได้มาตรฐาน GAP โดยการพัฒนาความรู้เจ้าหน้าที่ จัดเวทีชุมชน

เพื่อวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ปัญหา/ความต้องการเกษตรกร แนวทางการพัฒนาเฉพาะพื้นที่และอบรมความรู้เกษตรกร

2) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรดีที่เหมาะสม

3) การตรวจรับรองสวน/ผลผลิตที่ได้มาตรฐาน GAP

(5) วิจัยและพัฒนาการผลิต

1) วิจัยเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต

  • วิจัยพันธุ์กาแฟโรบัสต้าที่ให้ผลผลิตสูงมีจำนวนครั้งในการเก็บเกี่ยวน้อย
  • วิจัยพันธุ์กาแฟอาราบิก้า ต้านทานโรคราสนิม มีความเหมาะสมแต่ละพื้นที่รสชาติดี มีความหลากหลายของพันธุ์
  • วิจัยเทคโนโลยีการผลิตในการเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต (การตัดแต่ง อัตราปุ๋ยที่เหมาะสม

การป้องกันกำจัดโรคและแมลงเป็นต้น)

2) วิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวในการปรับปรุงคุณภาพปราศจากสารพิษออคราทอกซิน เอ

3.2 ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กาแฟ

(1) ส่งเสริมการแปรรูปในสถาบันเกษตรกร

1) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูป/สัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้

2) สนับสนุนเงินทุน/เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน

3) วิจัยพัฒนาการแปรรูปสินค้าผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

3.3 ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาและส่งเสริมด้านการสร้างเสถียรภาพราคา

(1) ส่งเสริมการซื้อขายเมล็ดกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟตามชั้นคุณภาพ

1) จัดทำมาตรฐานเมล็ดกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟตามชั้นคุณภาพ โดยการจัดทำมาตรฐาน ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลทาง

วิทยาศาสตร์สำหรับใช้ประกอบในการจัดทำมาตรฐาน

2) ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการซื้อขายกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟตามชั้นคุณภาพ โดยการจัดงานส่งเสริมการขาย

และประชาสัมพันธ์ทางสื่อ

(2) บริการตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ

1) การจัดระเบียบบริหารการนำเข้าและส่งออกสินค้ากาแฟ

2) จัดหาตลาดให้เกษตรกรด้วยการส่งเสริมการจัดทำสัญญาข้อตกลงซื้อขายเมล็ดกาแฟระหว่างเกษตรกร/สถาบัน

เกษตรกรกับผู้ประกอบการ

3) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์และความเคลื่อนไหวราคาตลาดโลก เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการ

ตัดสินใจจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร

3.4 ยุทธศาสตร์ด้านการปรับฐานการบริหารจัดการ

(1) มอบให้คณะอนุกรรมการพืชสวนและคณะทำงานพืชกาแฟ ซึ่งอยู่ภายใต้คณะอนุกรรมการพืชสวนรับผิดชอบในการ

พิจารณาในเรื่องกาแฟทั้งระบบ และให้กรมวิชาการเกษตรเป็นสำนักงานเลขานุการ

(2) สร้างเครือข่ายข้อมูลกาแฟภายในประเทศและต่างประเทศ

(3) พัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตกาแฟ (ประชุม/สัมมนา)

(4) พัฒนาเครือข่ายกลุ่มรับซื้อและจัดการผลผลิต

(5) การติดตามประเมินผล

3.5 งบประมาณตามยุทธศาสตร์ รวมเป็นเงิน 212.818 ล้านบาท

3.6 หน่วยงานรับผิดชอบ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงาน มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ

3.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

(1) ต้นทุนการผลิตกาแฟลดลงเทียบเท่ากับเวียดนามหรือสูงกว่าไม่เกินร้อยละ 10

(2) เพิ่มผลผลิตต่อไร่กาแฟที่ปลูกเป็นพืชเดี่ยวเป็น 300 กิโลกรัม/ไร่ หรือปลูกเป็นพืชร่วม 180 กิโลกรัม/ไร่ในปี 2556

(3) ได้ผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพจากแปลงที่ได้รับการรับรอง GAP เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ได้ผลผลิตกาแฟเพียงพอกับความต้อง

การใช้ของอุตสาหกรรมกาแฟในประเทศ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ