(ต่อ2) คำอธิบายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .(ฉบับรับฟังความคิดเห็น)

ข่าวการเมือง Friday May 25, 2007 14:31 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยบุคคลดังนี้
(๑) นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี ๑ คน
(๒) รัฐมนตรีอื่นนอกจากนายกรัฐมนตรีอีกไม่เกิน ๓๕ คน ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เช่น รอง
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ รัฐมนตรีช่วยว่าการ เป็นต้น
๙.๒ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเข้าดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี
๙.๒.๑ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๑๖๗ บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง กล่าวคือต้องเป็น ส.ส. โดยที่
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สิ้นสุดลง
สภาผู้ราษฎรเป็นผู้พิจารณาและลงมติให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งบุคคลใดเป็นนายกรัฐ
มนตรี โดยมติดังกล่าวจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ของสภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระหรือเกิน
แปดปีไม่ได้ แล้วแต่ว่าระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งกรณีใดจะยาวกว่ากัน
๙.๒.๒ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี
ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จะ
ต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และไม่เป็น ส.ว. หรือเคยเป็น ส.ว. ซึ่ง
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี ซึ่งคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเหล่านี้ยังคงเดิมใน
สาระสำคัญ แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติแก้ไขในรายละเอียดบางประการ คือ ในลักษณะ
ต้องห้ามที่ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปี
ก่อนได้รับการแต่งตั้ง โดยไม่คำนึงว่าโทษจำคุกดังกล่าวจะมีระยะเวลาเท่าใด เว้นแต่เป็นความผิดซึ่ง
กระทำโดยประมาทหรือเป็นความผิดลหุโทษ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี อาจดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือ ส.ว. ด้วยก็ได้
๙.๓ อำนาจหน้าที่และการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการในการตราพระราชกำหนด
(มาตรา ๑๘๐) การตราพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๑๘๓) ประกาศกฎอัยการศึก (มาตรา ๑๘๔)
ประกาศสงครามโดยความเห็นชอบของรัฐสภา (มาตรา ๑๘๕) ทำสนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญา
สงบศึก และสนธิสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ (มาตรา ๑๘๖) พระ
ราชทานอภัยโทษ (มาตรา ๑๘๗) ถอดฐานันดรศักดิ์และเรียกคือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (มาตรา
๑๘๘) แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง และเทียบเท่า และการให้
พ้นจากตำแหน่ง (มาตรา ๑๘๙) เป็นต้น
ในการเข้าบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายและชี้แจงการดำเนิน
การตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ต่อรัฐสภาภายใน ๑๕ วันนับแต่วันเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา
๑๗๒ และในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
กฎหมาย และแนวนโยบายที่ได้แถลงไว้ข้างต้น รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบาย
ทั่วไปของคณะรัฐมนตรี
เนื่องด้วยรัฐมนตรีอาจดำรงตำแหน่ง ส.ส. ด้วยในขณะเดียวกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการใช้
อำนาจขัดกัน ร่างรัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๓ ด้วยว่า ในการประชุมสภาผู้แทน
ราษฎร รัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่ง ส.ส. อยู่ด้วยไม่สามารถลงมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง
การปฏิบัติหน้าที่หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้นได้
๙.๔ การพ้นจากตำแหน่งของคณะรัฐมนตรี
๙.๔.๑ การสิ้นสุดเฉพาะตัว
ความเป็นรัฐมนตรีจะสิ้นสุดเฉพาะตัวตามมาตรา ๑๗๘ เมื่อ
ตาย
ลาออก
ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่
ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา ๑๕๔ หรือมาตรา ๑๕๕
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗๐
พระบรมราชโองการให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๗๙
การอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๕๘ มาตรา ๒๕๙ หรือมาตรา ๒๖๐
วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๖๕ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
๙.๔.๒ การพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
มาตรา ๑๗๖ บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเมื่อ 28
ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๗๘
อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีลาออก
๙.๕ คณะรัฐมนตรีรักษาการ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติเพิ่มเติมในกรอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีรักษา
การไว้ในมาตรา ๑๗๗ เพื่อมิให้มีการใช้อำนาจเกินจำเป็นอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายในด้านต่าง
ๆ และอาจก่อภาระอันเกินสมควรต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้ โดยได้บัญญัติเงื่อนไขในการปฏิบัติ
หน้าที่ไว้โดยสรุปดังนี้
๑) ไม่กระทำการอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการ
๒) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน
หรือจำเป็น
๓) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการอันจะผูกพันต่อคณะรัฐมนตรี
ชุดต่อไป
๔) ไม่ใช้ทรัพยากรหรือบุคลากรของรัฐเพื่อประโยชน์แห่งการเลือกตั้ง
หมวด ๑๐
ศาล (มาตรา ๑๙๓-๒๒๓)
๑๐.๑ ศาลรัฐธรรมนูญ
๑๐.๑.๑ องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๐๐ บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ๑ คน และ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก ๘ คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจาก
บุคคลดังต่อไปนี้
ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือก
โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน ๓ คน
ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปก
ครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน ๒ คน
ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้
จริงและได้รับเลือกจากคณะกรรมการสรรหาฯ จำนวน ๒ คน
ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความ
รู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง และได้รับเลือกจากคณะกรรมการ
สรรหาฯ จำนวน ๒ คน
๑๐.๑.๒ วิธีการสรรหา
คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์หรือ
รัฐศาสตร์หรือสังคมศาสตร์อื่น ๆ ตามมาตรา ๒๐๐ (๓),(๔) เพื่อให้วุฒิสภาเป็นผู้คัดเลือกต่อไป
คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาล
ปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และประธานองค์กร
อิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน
๑๐.๑.๓ วาระการดำรงตำแหน่ง
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๙ ปี และจำ
ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวเท่านั้น ตามมาตรา ๒๐๔
๑๐.๑.๔ อำนาจหน้าที่
๑) ในกรณีที่ศาลที่ใช้กฎหมายในการบังคับแก่คดีเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง หรือ
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
บุคคลดังกล่าวสามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น
ๆ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๗ และ ๒๐๘
๒) ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญทิ่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป ตามที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๒๑๐
๓) คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐ
มนตรี และองค์กรอื่นของรัฐ
๑๐.๒ ศาลยุติธรรม
๑๐.๒.๑ อำนาจหน้าที่
ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจรณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีทีศาลรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น โดยศาลยุติธรรมแบ่ง
ออกเป็น ๓ ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ได้บัญญัติให้
ศาลฎีกามีอำนาจในการพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้ง ส.ส. และให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและ
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ตามมาตรา ๒๑๔
วรรคสาม
๑๐.๒.๒ คณะกรรมการตุลาการ
คณะกรรมการตุลาการเป็นผู้ที่มีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
การเลื่อนเงินเดือน การลงโทษ ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม รวมไปให้ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมพ้น
จากตำแหน่ง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการ โดยเพิ่ม
จำนวนของผู้พิพากษาศาลฎีกาขึ้น และลดจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาลง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้พิพากษาศาล
สูงที่มีประสบการณ์และมีอาวุโสมากกว่าเป็นผู้มีบทบาทในการปกครองมากขึ้น โดยองค์ประกอบ
ของคณะกรรมการตุลาการประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ได้แก่ ศาลฎีกา ๖ คน ศาลอุทธรณ์ ๔ คน
ศาลชั้นต้น ๒ คน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๒ คน ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ
และได้รับเลือกจากวุฒิสภา
๑๐.๒.๓ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกา มีหน้าที่หลักคือพิจารณาคดีที่มีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง (นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการ
การเมืองอื่น) ร่ำรวยผิดปรกติ ทุจริตหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอาญาหรือ
กฎหมายอื่น (มาตรา ๒๖๖) โดยองค์คณะที่พิจารณาจะมาจากการเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
ที่ประชุมจะเลือกผู้พิพากษาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน ๙ คน และเป็น
องค์คณะรายคดีเท่านั้น
เขตอำนาจในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯนั้นคลอบคลุมไปถึงบุคคลซึ่งมี
ส่วนร่วมในการกระทำความผิดในฐานะเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน (มาตรา ๓๐๘ วรรคสอง
เดิม) ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้บัญญัติเพิ่มเติมให้รวมไปถึง ผู้ให้ ผู้ขอให้ หรือรับว่าจะให้
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำ
การ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ด้วย (มาตรา ๒๖๖ วรรคสอง)
๑๐.๓ ศาลปกครอง
๑๐.๓.๑ อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีการบัญญัติเขตอำนาจของศาลปกครองให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อ
ป้องกันการทับซ้อนกันในเรื่องเขตอำนาจศาล โดยมาตรา ๒๑๘ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจ
พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราช
การ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจาก
การดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวม
ทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปก
ครอง
๑๐.๓.๒ คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง การเลือก
ตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การลงโทษ รวมทั้งการให้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งตุลาการในศาลปกครอง
คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองประกอบด้วย
ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานกรรมการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๙ คน ซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครอง และได้รับ
เลือกจากตุลาการในศาลปกครองด้วยกันเอง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา ๒ คน และจากคณะรัฐมนตรีอีก ๑ คน
๑๐.๔ ศาลทหาร
ร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติเขตอำนาจของศาลทหารให้ชัดเจนขึ้น โดยให้ศาลทหารมีอำนาจ
หน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร และคดี
อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด ๑๑
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๒๔-๒๔๙)
๑๑.๑ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
๑๑.๑.๑ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.)
ก) องค์ประกอบ
มาตรา ๒๒๔ บัญญัติให้ ก.ก.ต. ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอื่น
อีก ๔ คน
ข) การสรรหา
การสรรหากรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๒๒๖ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
(๑) สรรหาโดยคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๓ คน ซึ่งคณะ
กรรมการสรรหาดังกล่าวประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปก
ครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๒) สรรหาโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกา จำนวน ๒ คน
เมื่อได้ผู้ที่ได้รับการสรรหาแล้ว วุฒิสภาจะเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำรายชื่อ
ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งต่อไป
ค. วาระการดำรงตำแหน่ง
กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๗ ปี และจะดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
เท่านั้นตามมาตรา ๒๒๗
ง. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๒๓๐ ประกอบกับมาตรา ๒๓๑ กำหนดให้ ก.ก.ต. เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัด
หรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหา ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่
กรณี
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม ก.ก.ต. มี
อำนาจ ออกประกาศกำหนดระเบียบกำหนดการทั้งหลายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง กำหนดมาตรการและ
ควบคุมการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง มีคำสั่งให้ข้าราชการ หรือหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ปฏิบัติ
การอันจำเป็นต่อการเลือกตั้ง สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
ที่เกิดขึ้นตามกฎหมายอันเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่
ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ รวมถึงการดำเนินการอื่นใดตามที่กฎหมาย
บัญญัติ
ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการวินิจฉัยของ ก.ก.ต. ให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิ
เลือกตั้งก่อนการประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส. มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่ออุทธรณ์คำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้
๑๑.๑.๒ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ก) องค์ประกอบ
มาตรา ๒๓๕ บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวน ๓ คน โดยเลือกกันเองให้
เป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ๑ คน
ข) การสรรหา
มาตรา ๒๓๖ บัญญัติให้มีคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้สรรหา แล้วจึงส่งรายชื่อบุคคลที่ได้
รับการสรรหาให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบต่อไป
คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธาน
ศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ค) อำนาจหน้าที่
มาตรา ๒๓๗ บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจพิจารณาและสอบสวนหา
ข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่หรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎ
มาย ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม การปฏิบัติ
หน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ นอกจากนี้ร่างรัฐ
ธรรมนูญฉบับนี้ยังได้เพิ่มอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินในการดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้
ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย
ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่ามีบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีปัญหาเกี่ยวกับ
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ให้มีอำนาจเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และในกรณีที่เห็นว่า กฎ
คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีปัญหาเกี่ยวด้วยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือ
ความชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้มีอำนาจเสนอเรื่องไปยังศาลปกครองได้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๘
๑๑.๑.๓. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ก) องค์ประกอบ
มาตรา ๒๓๙ บัญญัติให้ ป.ป.ช. ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิอีก ๘ คน
ข) การสรรหา
มาตรา ๒๓๙ วรรคสาม บัญญัติให้มีคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้สรรหา แล้วจึงส่งรายชื่อ
บุคคลที่ได้รับการสรรหาให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบต่อไป
คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธาน
ศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ค) วาระการดำรงตำแหน่ง
ป.ป.ช. มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๙ ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวตามมาตรา ๒๔๐
ง) อำนาจหน้าที่
ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ในการไต่สวนและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการถอด
ถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมือง เกี่ยวกับความร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่ในระดับสูงของรัฐ รวมถึงตรวจสอบความถูก
ต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น โดยต้อง
รายงานผลการตรวจสอบพร้อมทั้งข้อสังเกตต่อครม. สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทุกปี และนำ
รายงานดังกล่าวเผยแพร่ต่อไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๓
นอกจากนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้ให้ ป.ป.ช. มีหน้าที่กำกับดูแลคุณธรรมและจริย
ธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการใหม่ในเรื่องคุณธรรม
และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
๑๑.๑.๔ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ค.ต.ง.)
ก) องค์ประกอบ
ค.ต.ง. ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอื่นอีก ๖ คน และ ค.ต.ง. มี
หน่วยธุระการเป็นของตนเอง โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่ในกำกับของ
ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ข) การสรรหา
มาตรา ๒๔๕ วรรคสี่ บัญญัติให้มีคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้สรรหาบุคคลที่จะเข้าดำรง
ตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วจึงส่งรายชื่อบุคคลที่ได้รับ
การสรรหาให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบต่อไป
คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธาน
ศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ค) วาระการดำรงตำแหน่ง
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๖ ปี และดำรงตำแหน่งได้
เพียงวาระเดียวเท่านั้น
ง) อำนาจหน้าที่
ค.ต.ง. มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา แนะ
นำ และเสนอแนะให้มีการแก้ไขบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินภาครัฐอย่างเป็นอิสระและ
เป็นกลาง โดยอยู่ภายใต้การกำกับการปฏิบัติงานของ ค.ต.ง.
๑๑.๒ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
๑๑.๒.๑ องค์กรอัยการ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติในมาตรา ๒๔๖ ให้องค์กรอัยการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้สามารถมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้องค์กรอัยกรมีหน่วยธุร
การที่มีอิสระในการบริหารงานต่าง ๆ และในการแต่งตั้งอัยการสูงสุดนั้น ประธานวุฒิสภาเป็นผู้รับ
สนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
เมื่อองค์กรอัยการมีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญแล้ว พนักงานอัยการย่อมต้องห้ามมิ
ให้ดำรงตำแหน่งหรือกระทำกิจการใด ๆ เช่นเดียวกับที่กำหนดไว้สำหรับผู้พิพากษาหรือตุลาการ
๑๑.๒.๒ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ก) องค์ประกอบ
มาตรา ๒๔๗ บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิฯ ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และ
กรรมการอื่นอีก ๖ คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
ข) การสรรหา
มาตรา ๒๔๗ วรรคห้า บัญญัติให้มีคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้สรรหาบุคคลที่จะเข้าดำรง
ตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วจึงส่งรายชื่อบุคคลที่ได้รับ
การสรรหาให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบต่อไป
คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธาน
ศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ค) วาระการดำรงตำแหน่ง
กรรมการสิทธิฯ มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว
ง) อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการสิทธิฯ คือ ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือ
การละเลยกระทำการ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยคณะ
กรรมการสิทธิมีอำนาจเสนอเรื่องอันเกี่ยวด้วยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรือความ
ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของการกระทำทางปกครอง พร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
หรือศาลปกครอง ได้โดยตรง แล้วแต่กรณี
๑๑.๒.๓ สภาที่ปรึกษาเศรษฐิจและสังคมแห่งชาติ
มาตรา ๒๔๙ ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้
กว้างขวางขึ้น กล่าวคือ นอกจากจะมีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐ
มนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ยังให้อำนาจในการให้คำปรึกษาและข้อ
เสนอแนะเกี่ยวกับการตรากฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย เพื่อให้การเสนอกฎหมายของคณะ
รัฐมนตรีได้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น
หมวด ๑๒
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา ๒๕๐-๒๖๙)
๑๒.๑ การตรวจสอบทรัพย์สิน
ร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๐ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องยื่นบัญชี
แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของคน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมถึงทรัพย์สิน
ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ได้มอบหมายให้อยู่ในความครอบครอบหรือดูแลของบุคคลอื่น
ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ต่อ ป.ป.ช. ทุกครั้งที่เข้ารับหรือพ้นจากตำแหน่ง โดยบัญชีทรัพย์สิน
ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. จะต้องมีการเปิดเผยให้สาธารณชนทราบโดยเร็วภายใน
๓๐ วันนับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นบัญชีดังกล่าว
ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน แสดงรายการทรัพย์สินอันเป็นเท็จ
หรือจงใจปกปิดข้อเท็จจริงอันต้องแจ้งให้ทราบ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวต้องพ้นจาก
ตำแหน่ง และให้ ป.ป.ช. เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
วินิจฉัยชี้ขาดต่อไป ซึ่งเมื่อศาลมีคำวินิจฉัยแล้ว ผู้นั้นต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ
ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา ๕ ปี
๑๒.๒ การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
นอกจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ ที่ห้าม ส.ส. ส.ว. นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่งในหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ห้ามแทรกแซงหรือรับสัมปทานของรัฐ และ
ห้ามรับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยงานของรัฐแล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้เพิ่มเติมโดย
ห้ามมิให้เข้าเป็นหุ้นส่วนในกิจการสื่อสารมวลชนหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ประกอบกิจการดังกล่าว
ด้วย เพื่อมิให้มีการครอบงำการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งข้อห้ามดังกล่าวทั้งหมดยังมีผล
รวมไปถึงคู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายจากผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองดังกล่าวด้วย
มาตรา ๒๕๗ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวใช้อำนาจแทรงแซงการ
ปฏิบัติราชการหรือการบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเครื่องมือ
ในการดำเนินการ เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพรรคการเมือง ไม่วาโดยทางตรงหรือทางอ้อม
นอกจากนี้ยังได้บัญญัติให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และรวมไปถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่
บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัททั้ง
หรือกระทำการอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดย
ทางอ้อมด้วย
๑๒.๓ การถอดถอนออกจาตำแหน่ง
มาตรา ๒๖๑ บัญญัติให้ ส.ว. มีอำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือผู้
ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริตต่อหน้า
ที่ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
กระบวนการในการถอดถอนนั้น เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องจาก ส.ส. หรือ ส.ว. ซึ่ง
เข้าชื่อกันจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภาแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาส่ง
เรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน เมื่อ ป.ป.ช. เห็นว่าคดีมีมูล ก็ให้
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อม
ความเห็นไปยังประธานวุฒิสภาและอัยการสูงสุด เพื่อให้วุฒิสภาจัดให้มีการลงมติถอดถอนและเพื่อ
ให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
ผู้ที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งต้องพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่
วุฒิสภามีมติถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับ
ราชการเป็นเวลา ๕ ปี
๑๒.๔ การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มาตรา ๒๖๖ บัญญัติให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจ
ในการพิจารณาคดีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. หรือข้าราชการทางการเมืองอื่น ถูกกล่าวหา
ว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำ
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
ในการเสนอคดีต่อศาลนั้น ผู้เสียหายจากการกระทำการดังกล่าวข้างต้นมีสิทธิยื่นคำร้องต่อ
ป.ป.ช. จากนั้นให้ ป.ป.ช. ทำการไต่สวนข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งไปยัง
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเมื่อ ป.ป.ช. เห็นว่าคดีมีมูลก็ให้ส่งเรื่อง
ไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ต่อไป
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ