สถานการณ์ไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2553

ข่าวทั่วไป Thursday March 31, 2011 14:02 —กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน

ปี2553 มีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผ่านระบบสายส่งของประเทศรวมทั้งสิ้น 149,320 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้นจาก ปี2552 ร้อยละ10.4 โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าของประเทศรวม 31,485 เมกะวัตต์เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ2.9 แบ่งเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ55.2 และภาคเอกชนร้อยละ47.8 สำหรับรายละเอียดของสถานการณ์ปี2553 มีดังนี้

1.กำลังการผลิตติดตั้งโรงจักรไฟฟ้าปี2553 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งโรงจักรไฟฟ้าของระบบแยกตามประเภทดังนี้

1.1โรงไฟฟ้าพลังความร้อน มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 8,185 เมกะวัตต์ เป็นสัดส่วนร้อยละ26.0 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ64.2 และภาคเอกชนร้อยละ35.8

1.2โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมมีกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 16,091 เมกะวัตต์เป็นสัดส่วนร้อยละ51.1 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งระบบซึ่งเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ42.7 และภาคเอกชนร้อยละ57.3

1.3โรงไฟฟ้าพลังน้ำมีกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น3,488 เมกะวัตต์เป็นสัดส่วนร้อยละ11.1 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งเป็นของภาครัฐและผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก

1.4โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 805 เมกะวัตต์ เป็นสัดส่วนร้อยละ 2.5 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งเป็นของภาครัฐทั้งหมด

1.5โรงไฟฟ้าดีเซล มีกำลังการผลิตติดตั้ง 29 เมกะวัตต์ เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งเป็นของภาครัฐทั้งหมด

1.6โรงไฟฟ้าระบบการผลิตพลังงานร่วม (Cogeneration) มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 2,768 เมกะวัตต์ เป็นสัดส่วนร้อยละ 8.8 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งเป็นของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กและผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

ขนาดเล็กมาก

1.7เครื่องยนต์ก๊าซ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 90 เมกะวัตต์ เป็นสัดส่วนร้อยละ0.3 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งเป็นของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก

1.8โรงไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 29 เมกะวัตต์เป็นสัดส่วนร้อยละ0.1 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งเป็นของภาครัฐและผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก

2.การผลิตพลังงานไฟฟ้าปี2553 กำลังผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบรวมทั้งสิ้น 25,094 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปี2552 ร้อยละ 8.8 และผลิตพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 159,518 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี2552 ร้อยละ7.5 ซึ่งเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ46.6 และภาคเอกชนร้อยละ53.4

2.1การผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทโรงจักร

2.1.1ผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมีจำนวนทั้งสิ้น 45,743 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 19.2 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.7 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ โดยเป็นการผลิตของภาครัฐในสัดส่วนร้อยละ 64.4 และภาคเอกชนร้อยละ 35.6

2.1.2ผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมรวมทั้งสิ้น 92,750 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 5.9 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.1 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ โดยเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ 42.2 และภาคเอกชนร้อยละ 57.8

2.1.3ผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำรวมทั้งสิ้น 5,537 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 22.5 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.5 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งเป็นการผลิตของภาครัฐและผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก

2.1.4ผลิตจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซรวมทั้งสิ้น 280 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 10.5 เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.2 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งเป็นการผลิตของภาครัฐทั้งหมด

2.1.5ผลิตจากโรงไฟฟ้าดีเซลรวมทั้งสิ้น 44 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 33.3 ซึ่งเป็นการผลิตของภาครัฐทั้งหมด

2.1.6ผลิตจากโรงไฟฟ้าระบบการผลิตพลังงานร่วม (Cogeneration) ของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน รวมทั้งสิ้น 14,921 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 0.5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.4 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ 2.1.7ผลิตจากเครื่องยนต์ก๊าซรวมทั้งสิ้น 215 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้นจากปี2552 เกือบ 3 เท่า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งเป็นการผลิตของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก

2.1.8ผลิตจากโรงไฟฟ้าอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม รวมทั้งสิ้น 28 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 กว่า 2 เท่า ซึ่งเป็นการผลิตของภาครัฐและผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก

2.2การผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามชนิดเชื้อเพลิงพลังงาน

2.2.1ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ 109,454 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 12.2 เป็นสัดส่วนร้อยละ 68.6 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ

2.2.2ผลิตจากถ่านหินและลิกไนต์ 28,207 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 0.7 เป็นสัดส่วนร้อยละ 17.7 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ

2.2.3ผลิตจากน้ำมันเตา 997 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 65.1 เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.6 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ

2.2.4ผลิตจากพลังน้ำ 5,537 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 22.5 เป็นสัดส่วนร้อยละ 3.5 ของ การผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ

2.2.5ผลิตจากน้ำมันดีเซล 159 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากปี 2552 เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 ของ การผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ

2.2.6ผลิตจากระบบการผลิตพลังงานร่วมและเครื่องยนต์ก๊าซของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน 15,136 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้น จากปี 2552 ร้อยละ 1.4 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.5 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ

2.2.7ผลิตจากแหล่งพลังงานอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม รวมทั้งสิ้น 28 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 กว่า 2 เท่า

3. การใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าปี2553 มีการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเทียบเท่าน้ำมันดิบรวมทั้งสิ้น 34,211 พันตันเพิ่มขึ้นจากปี2552 ร้อยละ9.0 โดยแยกตามชนิดการใช้เชื้อเพลิงดังนี้

3.1ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 1,023,888 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเฉลี่ย 2,805 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 10.6 เป็นสัดส่วนร้อยละ 72.8 ของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ 42.1 และภาคเอกชนร้อยละ 57.9

3.2ปริมาณการใช้ถ่านหินและลิกไนต์รวมทั้งสิ้น 20,438 พันตัน หรือเฉลี่ย 56 พันตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 1.1 เป็นสัดส่วนร้อยละ 19.8 ของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ 78.3 และภาคเอกชนร้อยละ 21.7

3.3ปริมาณการใช้น้ำมันเตารวมทั้งสิ้น 241 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 52.5 เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.7 ของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบโดยเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ 58.3 และภาคเอกชนร้อยละ 41.7 3.4ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลรวมทั้งสิ้น 39 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 56.0 เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 ของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งเป็นสัดส่วนของภาครัฐร้อยละ 63.6 และภาคเอกชนร้อยละ 36.4 3.5ปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียน (แกลบ กากอ้อย ขยะ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร) รวมทั้งสิ้น 7,173 พันตัน หรือเฉลี่ย 20 พันตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 1.6 เป็นสัดส่วนร้อยละ 4.8 ของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบซึ่งเป็นการใช้ของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กและผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมากนอกจากนี้ยังมีการใช้ก๊าซชีวภาพ 124,765,114 ลูกบาศก์เมตรก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิต 10,298,553 จิกะจูล และแบล็คลิเคอ 13,632,526 จิกะจูล ซึ่งทั้งหมดเป็นการใช้ของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กและผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก เป็นสัดส่วนร้อยละ 1.8 ของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ

4. การนำเข้า และส่งออกพลังงานไฟฟ้าปี 2553 ประเทศไทยมีการนำเข้าและส่งออกพลังงานไฟฟ้าบริเวณแนวชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สหภาพพม่า และราชอาณาจักรกัมพูชา ดังรายละเอียดคือ

4.1มีการนำเข้าพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 7,287 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 กว่า 3 เท่าโดยเป็นสัดส่วนการนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร้อยละ 97.8 และประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ร้อยละ 2.2 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 7,273 ล้านบาท

4.2มีการส่งออกพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,615 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 3.5โดยเป็นสัดส่วนการส่งออกให้ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร้อยละ 68.8 ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ร้อยละ 27.5 และประเทศสหภาพพม่า และประเทศสหพันธ์รัฐมาเลเซียร้อยละ 3.7 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,711 ล้านบาท

5.การใช้พลังงานไฟฟ้าปี 2553 มีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผ่านระบบสายส่งของประเทศรวมทั้งสิ้น 149,320 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้น จากปี 2552 ร้อยละ 10.4

5.1การใช้พลังงานไฟฟ้าแยกตามสาขาเศรษฐกิจ

5.1.1สาขาอุตสาหกรรม เป็นสาขาที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุด คือรวมทั้งสิ้น 63,630 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 12.3 เป็นสัดส่วนร้อยละ 42.6 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ 5.1.2สาขาธุรกิจ ซึ่งรวมการใช้ของภาครัฐและองค์กรไม่แสวงหากำไรมีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 51,155 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 8.6 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.3 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ 5.1.3สาขาบ้านอยู่อาศัย มีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 33,337 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 9.8 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.3 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ

5.1.4สาขาเกษตรกรรม มีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 336 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 5.7 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.2 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ

5.1.5สาขาอื่นๆ (การใช้พลังงานไฟฟ้าชั่วคราว) มีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 788 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 13.2 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.5 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ

5.1.6 สาขาขนส่ง มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในการเดินรถไฟฟ้าของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และแอร์พอร์ตเรลลิงค์ รวมทั้งสิ้น 74 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 19.4 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ

5.2 การใช้พลังงานไฟฟ้าแบ่งตามพื้นที่5.2.1 เขตนครหลวง คือ พื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ มีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 45,061 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 8.0 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.2 ของ การใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ

5.2.2 เขตภูมิภาค คือ พื้นที่ที่เหลือทั้งหมดของประเทศ มีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 104,259 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 11.5 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.8 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ

6.อัตราค่าไฟฟ้าปี2553 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ