สถานการณ์พลังงานของประเทศไทยปี 2552

ข่าวทั่วไป Thursday March 31, 2011 15:43 —กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน

การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทยในปี 2552 มีปริมาณ 66,339 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ0.7 และคิดเป็นมูลค่าการใช้พลังงานรวม1,032 พันล้านบาท โดยมีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนร้อยละ81.2 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดและพลังงานทดแทนร้อยละ 18.8 ทั้งนี้ การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ มีปริมาณ 53,855 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ0.4 ประกอบด้วย น้ำมันสำเร็จรูป มีการใช้ 31,615 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ1.3 ไฟฟ้ามีการใช้ 11,539 พันตันน้ำมันสำเร็จรูปเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 0.02 ถ่านหิน/ลิกไนต์มีการใช้ 47.7% 7,088 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 8.5 และก๊าซธรรมชาติมีการใช้ 3,613 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ14.6 สำหรับพลังงานทดแทน(ฟืน ถ่าน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะและก๊าซชีวภาพ)มีการใช้ 12,484 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตามน้ำมันสำเร็จรูปยังคงมีการใช้ในสัดส่วนที่สูงกว่าพลังงานชนิดอื่นโดยมีการใช้ร้อยละ47.7 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดซึ่งมีการใช้ไฟฟ้า ถ่านหิน/ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทนร้อยละ17.4 10.7 5.4 และ 18.8 ก๊าซธรรมชาติมีการใช้3,613 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ14.6 สำหรับพลังงานทดแทน(ฟืน ถ่าน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะและก๊าซชีวภาพ)มีการใช้12,484 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ2.0 อย่างไรก็ตามน้ำมันสำเร็จรูปยังคงมีการใช้ในสัดส่วนที่สูงกว่าพลังงานชนิดอื่นโดยมีการใช้ร้อยละ47.7 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดซึ่งมีการใช้ไฟฟ้า ถ่านหิน/ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทนร้อยละ 17.4 10.7 5.4 และ 18.8

ส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในแต่ละสาขาเศรษฐกิจ พบว่า โดยรวมมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นประกอบด้วย การใช้พลังงานในสาขาเกษตรกรรม3,499 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ0.2จากปีก่อนสาขาอุตสาหกรรม 24,055 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ1.5 สาขาบ้านอยู่อาศัย10,0761.5 สาขาบ้านอยู่อาศัย 10,076 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 สาขาธุรกิจการค้า5,222 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และสาขาขนส่ง 23,487 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ1.7 ทั้งนี้สาขาเกษตรกรรมมีการใช้พลังงานในสัดส่วนร้อยละ 5.3 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดและมีการใช้ในสาขาอุตสาหกรรม บ้านอยู่อาศัย ธุรกิจการค้า และขนส่งร้อยละ 36.2 15.2 7.9 และ 35.4

การผลิตพลังงานมีปริมาณ 61,699 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ1.6 โดยมีการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนร้อยละ66.5 ของการผลิตพลังงานทั้งหมด พลังงานทดแทนและพลังงานอื่นๆร้อยละ33.5 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์มีปริมาณ 41,048 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ3.4 จากปีก่อนประกอบด้วยน้ำมันดิบมีการผลิต 7,806 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ6.7 ลิกไนต์มีการผลิต5,061 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ส่วนก๊าซธรรมชาติมีการผลิต 22,874 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 8.4 คอนเดนเสทมีการผลิต 3,811 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ2.3 และไฟฟ้าพลังน้ำและอื่นๆมีการผลิต 1,496 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ5.1 สำหรับพลังงานทดแทนและพลังงานอื่นๆ(ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรขยะ ก๊าซชีวภาพ แบล็คลิเคอ และขยะ ก๊าซชีวภาพ แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิต)มีการผลิต 20,651 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ2.3 การนำเข้าพลังงานมีปริมาณ 59,386 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.1 โดยมีการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนร้อยละ 99.9 ของการนำเข้าพลังงานทั้งหมดและพลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 0.1 การนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์มีปริมาณ 59,333 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ0.1 จากปีก่อน ประกอบด้วยน้ำมันดิบมีการนำเข้า 40,083 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 1.1 ถ่านหินมีการนำเข้า 10,320 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ2.9 น้ำมันสำเร็จรูปมีการนำเข้า 429 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ17.9 ก๊าซธรรมชาติ มีการนำเข้า8,294 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น ร้อยละ0.4 และไฟฟ้ามีการนำเข้า 207 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ12.7 สำหรับพลังงานหมุนเวียน(ฟืน และถ่าน)มีการนำเข้า 53 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 การส่งออกพลังงาน มีปริมาณ 12,712 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ8.5 โดยมีการส่งออกพลังงานเชิงพาณิชย์ ในสัดส่วน ร้อยละ 99.8 ของการส่งออกพลังงานทั้งหมด และพลังงานทดแทนร้อยละ 0.2 การส่งออกพลังงานเชิงพาณิชย์มีปริมาณ 12,686 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ประกอบด้วยน้ำมันสำเร็จรูปมีการส่งออก 10,141 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 น้ำมันดิบมีการส่งออก 2,270 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ4.9 ไฟฟ้ามีการส่งออก 169 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ67.3 ก๊าซโซลีนธรรมชาติมีการส่งออก82 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 24.8 และถ่านหินมีการส่งออก24 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 48.9 สำหรับพลังงานทดแทน (ถ่าน และเอทานอล)มีการส่งออก 26 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ54.4 ปี 2552 ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันรวม 7 โรงมีกำลังการกลั่นรวมทั้งสิ้น 1,119,500 บาร์เรลต่อวันนอกจากนี้ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 5 โรงมีขนาดรวม 1,710 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันและโรงแยกก๊าซพลังเพชร ซึ่งทำการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นหลักอีก 1 โรง มีขนาด 120 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยพบว่าในปี 2552 มีการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปซึ่งประกอบด้วย น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันก๊าดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.9 15.3 15.3 13.0 11.3 และ 0.2 การใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ในปี2552 พบว่ามีการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติร้อยละ73.7 ของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ถ่านหิน/ลิกไนต์ร้อยละ20.2 น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลร้อยละ0.7 ที่เหลือเป็นพลังงานทดแทนและพลังงานอื่นๆ (แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ ก๊าซชีวภาพ แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิต)พลังน้ำ และอื่นๆ (พลังงานความร้อนใต้พิภพ แสงอาทิตย์ ลม)คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.4 สถานการณ์การใช้พลังงานทดแทนจากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยต้องจัดหาพลังงานทดแทนเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันซึ่งภาครัฐมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพลังงานทดแทนที่สามารถผลิตได้จากภายในประเทศ ประกอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ก๊าซชีวภาพ ขยะ เชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล และไบโอดีเซลและก๊าซธรรมชาติและไบโอดีเซล)และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์โดยพบว่าการใช้พลังงานทดแทนในปี2552 มีปริมาณ 5,861พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 21.7 โดยมีการใช้ในรูปของไฟฟ้า ความร้อน เชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล และไบโอดีเซล)และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในสัดส่วนร้อยละ8.8 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดการใช้ไฟฟ้า และความร้อน ที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทน(ประกอบด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ)มีปริมาณ 279 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบและ3,537 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ตามลำดับ ส่วนเชื้อเพลิงชีวภาพมีปริมาณการใช้ประกอบด้วยเอทานอล334 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบและไบโอดีเซล 478 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบในขณะที่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ 1,233 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ