การเคลื่อนไหวของดัชนีราคาผู้บริโภคลดลง เนื่องมาจากราคาสินค้าอุปโภค บริโภคที่ลดลงตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 8.02 (mom) และดัชนีราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์สด ลดลงร้อยละ 3.62 เป็ด ไก่สด ลดลงร้อยละ 2.89 ขณะที่ผักและผลไม้มีราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.14 เนื่องจากภาวะอุทกภัยในพื้นที่เพาะปลูกและประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลกินเจ โดยเฉลี่ยทำให้ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ร้อยละ 0.65
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2554
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 417 รายการครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่อง นุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2554
ปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกันยายน 2554 เท่ากับ 112.86 (เดือนสิงหาคม 2554 เท่ากับ 113.23 )
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2554 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม 2554 ลดลงร้อยละ 0.33
2.2 เดือนกันยายน 2553 สูงขึ้นร้อยละ 4.03
2.3 เทียบเฉลี่ย 9 เดือน (มกราคม - กันยายน ) 2554 กับระยะเดียวกันของ ปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 3.75
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2554 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2554 ลดลงร้อยละ 0.33 (เดือนสิงหาคม 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 0.43) ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.96 เนื่องจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ และราคาอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสุกร ไก่สด น้ำมันพืช น้ำตาลทราย สำหรับสินค้าอื่นๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและ ผลไม้ เครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป ค่าน้ำประปา ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการส่วนบุคคล และค่าซื้อยานพาหนะ เป็นต้น
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.65 (เดือนสิงหาคม 2554 ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 1.66) สาเหตุจากการสูงขึ้นของราคาผักและผลไม้ ร้อยละ 4.14 ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักคะน้า มะเขือ แตงกวา ผักกาดขาว มะนาว มะเขือเทศ ฟักทอง ถั่วฝักยาว ต้นหอม ผักชี และส้มเขียวหวาน ชมพู่ มะม่วง เป็นต้น ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 0.56 เช่น ไข่ไก่ นมผง นมเปรี้ยว ครีมเทียม เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 1.89 (น้ำปลา ซีอี๊ว ซอสมะเขือเทศ น้ำพริกแกง) และอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.35 ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป อาหารตามสั่ง และอาหารแบบตะวันตก (ไก่ทอด พิซซ่า)
3.2 ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.96 (เดือนสิงหาคม 2554 ลดลงร้อยละ 0.36) เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องสาเหตุสำคัญจากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ โดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงร้อยละ 8.02 และค่าโดยสาธารณะลดลงร้อยละ 0.99 ตามภาวะราคาน้ำมันตลาดโลกและนโยบายภาครัฐบาล นอกจากนี้ราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.12 เครื่องรับอุปกรณ์สื่อสาร ลดลงร้อยละ 0.76 และค่าอุปกรณ์การบันเทิงลดลง ร้อยละ 0.12 ขณะที่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการอ่าน สูงขึ้นร้อยละ 0.69 ตามการสูงขึ้นของราคาวารสารรายปักษ์เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น
4. พิจารณาเทียบกับดัชนีราคาเดือนกันยายน 2553 สูงขึ้นร้อยละ 4.03 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 8.84 โดยดัชนีราคาหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 1.34 เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ร้อยละ 12.05 ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 5.78 ผักและผลไม้ ร้อยละ 8.12 เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 15.70 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.88 และอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 9.97 ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.07 จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ 0.79 หมวดเคหสถาน ร้อยละ 1.62 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ร้อยละ 1.08 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา ร้อยละ 0.44 และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.88
5. พิจารณาดัชนีเฉลี่ย 9 เดือน (มกราคม - กันยายน ) 2554 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 3.75 สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 7.36 และดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.58 จากการสูงขึ้นของหมวด ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 3.79 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 9.18 ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 4.54 ผักและผลไม้ ร้อยละ 11.34 เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 12.05 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.34 อาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 6.61 น้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 9.60 ค่าน้ำประปา ร้อยละ 5.53 ค่ากระแสไฟฟ้า ร้อยละ 1.98 และค่าเช่าบ้าน ร้อยละ 0.67
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 300 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 117 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2554 เท่ากับ 106.75 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนสิงหาคม 2554 สูงขึ้นร้อยละ 0.10
6.2 เดือนกันยายน 2553 สูงขึ้นร้อยละ 2.92
6.3 เทียบเฉลี่ย 9 เดือน (มกราคม - กันยายน) ปี 2554 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 2.21
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2554 สูงขึ้นร้อยละ 0.10 (เดือนสิงหาคม 2554 สูงขึ้นร้อยละ 0.27) โดยมีผลกระทบมาจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นและลดลง สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ค่าของใช้ส่วนบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการส่วนบุคคล ขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ค่าการบันเทิง ราคาวัสดุก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์) เป็นต้น
เมื่อเทียบกับเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.5-3.0 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนกันยายน 2554 ยังอยู่ในช่วงเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--