ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: ความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯที่มีต่อความเชื่อในสุภาษิตที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

ข่าวผลสำรวจ Monday March 16, 2009 14:37 —ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์

ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯที่มีต่อความเชื่อในสุภาษิตที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2552 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,283 คนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างๆกัน สรุปผลที่สำคัญได้ดังนี้

ปัจจุบันความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมของชาวกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.53 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ( มกราคม 2551 ) สะท้อนให้เห็นว่าในปัจจุบันสังคมไทยยังมีความเชื่อในหลักการปฏิบัติในชีวิตที่ดีพอๆกับปีที่ผ่านมาความเชื่อเรื่อง “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ” “ เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด ” “ รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ” “ อดเปรียวไว้กินหวาน ” “ ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ” “ อย่าจับปลาสองมือ ” “ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ” “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” และ “ คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ ” ของชาวกรุงเทพฯเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมาโดยความเชื่อต่อสุภาษิต “ อย่าจับปลาสองมือ ” เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.89 และ “ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ” เพิ่มขึ้นรองลงมาที่ร้อยละ 1.98 ในขณะที่ความเชื่อเรื่อง “ มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท ” “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ” “ ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ” “ อย่าหวังน้ำบ่อหน้า ” “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” และ “ แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ” ลดลงกว่าที่ผ่านมาโดยความเชื่อต่อสุภาษิต “ มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท ” ลดลงถึงร้อยละ 0.54 และ “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” ลดลงรองลงมาที่ ร้อยละ 0.49 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมคนกรุงเทพฯให้ความสำคัญกับการไม่โลภ มากที่สุด และให้ความสำคัญกับการออมน้อยที่สุด เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยเท่าไรนัก

--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ