สรุปสถานการณการค้าระหว่างไทย-สเปน ช่วง ม.ค.-ต.ค. ปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 22, 2010 15:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในเดือนตุลาคม 2553 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 135.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปสเปน 100.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.96 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีหมวดสินค้าสำคัญที่ปรับตัวเพิ่ม คือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (697.45%) ยางพารา (1.72%) และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (23.90%) แต่ก็มีสินค้าหลักหลายรายการที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-9.57%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-11.67%) กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง (-1.13%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-16.53%) และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (-15.71%) ขณะที่นำเขาจากสเปน มูลค่า 35.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลงร้อยละ 10.93 ทั้งนี้ ไทยได้ดุลการค้าในเดือนนี้เพิ่มขึ้นอีก 65.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2553 ไทย-สเปน มียอดการค้ารวม 1,293.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไทยมียอดส่งออกมาสเปนรวม 907.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.05

เมื่อเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา พบว่าประเภทสินค้าเกษตรกรรม มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 59.83 และสามารถเพิ่มสัดสวนมาอยูในระดับรอยละ 20 อันเนื่องมาจากมีความตองการยางพาราเพิ่มสูงมาก เชนเดียวกับความตองการบริโภคสินคากุงแชสด/แชแข็ง ขณะเดียวกัน ประเภทสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวได้ดีร้อยละ 28.79 โดยเฉพาะจากสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปในเดือนตุลาคม 2553 ที่เติบโตสูงมาก แต่ก็มีสัดสวนโดยรวมเพียงร้อยละ 6.93 ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมยังคงรักษาสัดส่วนอย่างคงที่ประมาณ 3 ใน 4 ของสินค้าส่งออกไทยโดยรวม ก็สามารถเติบโตได้ดีต่อเนื่องถึงร้อยละ 41.8

ในรอบ 10 เดือน หมวดสินค้าส่งออกไทยใน 10 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 67.97 ล้วนมีอัตราการขยายตัวในอัตราสูงทั้งสิ้น ขณะที่นำเข้าจากสเปนเป็นมูลค่า 386.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.69 ทำให้ไทยได้ดุลการค้าจากสเปนสะสมในปีนี้แล้ว จำนวน 521.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.76 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากโครงสร้างสินค้าส่งออกของไทย พบว่าสินค้า 5 อันดับแรก มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50 ของยอดส่งออกทั้งหมด โดยมีเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และยางพารา ครองสัดส่วนสูงเกินร้อยละ 10 ทั้ง 3 รายการ แต่ถ้านับรวมสินค้า 10 อันดับแรก ก็จะมีสัดส่วนการส่งออกเกือบร้อยละ 70 จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของสินค้าที่เหลือไม่คอยมีผลกระทบกับยอดการส่งออกมากนัก

ถึงแม้ผลการส่งออกของไทยในตลาดสเปนจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ตอนต้นปี 2553 มาจนถึงกลางปี แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ สินค้าหลักได้แสดงสัญญาณการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลได้ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมีปัญหาการวางงานเรื้อรังที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ รวมทั้งปัญหาที่รัฐบาลได้ออกมาตรการด่วนในการตัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเฉียบพลันควบคู่ไปกับการขึ้นอัตราภาษี ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบกับรายได้สำหรับใช้จ่ายของผู้บริโภคทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม 2553 ได้สินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ที่ขยายตัวสูงมาชดเชย นอกจากนั้น สินค้ายางพาราก็ยังมีความต้องการในตลาดอย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วนเกินกว่าระดับร้อยละ 10 รวมทั้งสินค้ากุ้งแช่เย็น/แช่แข็งของไทยที่สามารถเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกได้ในระดับที่น่าพอใจเช่นกัน

ในช่วงเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 20.69 ซึ่งสินค้าส่วนมากเป็นสินค้าที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก โลหะ และสัตว์น้ำสด เป็นต้น รองลงมาเป็นสินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักรต่างๆและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์/เภสัชกรรม โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ดังนี้

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปนที่มีผลกระทบกับการส่งออกของไทย

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของสเปนกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าก่อนถึงกำหนดที่การปรับเพิ่มภาษีจะมีผลบังคับใช้นั้น ขณะนี้ปัจจัยเหล่านั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ในช่วงหลังของปีอีกต่อไปและยังอาจจะก่อให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจได้สูง นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้ออกมาตรการรัดเข็มขัดโดยตัดงบประมาณรายจ่ายจำนวนมหาศาลอย่างเฉียบพลันควบคู่ไปกับการหารายได้เพิ่มจากการปรับเพิ่มอัตราภาษี เพื่อเร่งลดระดับการขาดดุลการคลังเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปโดยมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพด้านการเงินในภาพรวมให้เห็นผลในอนาคตอันใกล้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการถูกตัดค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับอีกหลายๆประเทศ ดังนั้น จึงมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสเปนทั้งปีจะหันกลับไปติดลบอีกครั้งถึงแม้จะไม่รุนแรงเหมือนในปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่ก็หวังว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยในปี 2554

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้การว่างงานยังคงเป็นปัญหาใหญ่เรื้อรังอยู่ต่อไป ซึ่งขณะนี้มีอัตราสูงกว่าร้อยละ 20 ของตลาดแรงงานแล้ว ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาโดยการปรับย้ายโครงสร้างแรงงานที่ตกงานจำนวนมากจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ล้มสลายไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่สามารถกระทำได้โดยง่ายและรวดเร็ว ดังนั้น การฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปกันอย่างจริงจังจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะลดอัตราคนว่างงานลงให้ได้ระดับมาตรฐานของประเทศอื่นๆในยุโรป

นอกจากนั้น ผลกระทบจากภายนอกที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯตัดสินใจใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quatitative Easing 2) ด้วยการเขาซื้อหนี้สาธารณะมูลค่า 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้า โดยมีวัตถุประสงค์จะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อเสริมสภาพคล่องและป้องกันภาวะเงินฝืด ซึ่งมาตรการเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะปรับตัวลดลงจนเกิดความไม่สมดุลทางการเงินที่พอกพูนขึ้นในอนาคต รวมทั้งนักลงทุนก็จะพากันมุ่งไปสู่ตลาดต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้น ผลที่ตามมาในทันใดก็คือค่าเงินยูโรจะปรับตัวสูงขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีกับการส่งออกของยุโรป และยังจะส่งผลให้การฟื้นตัวของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุโรปต้องได้รับผลกระทบไปด้วย รวมไปถึงประเทศอื่นๆที่มีสถานะทางเศรษฐกิจที่ไม่เข้มแข็งด้วย อันจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปโดยรวมจะต้องประสบปัญหา โดยเห็นได้จากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนีที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำลงกว่าระดับร้อยละ 1 ในไตรมาสที่ 3

ทั้งนี้ สเปนเองก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันกับประเทศอื่นที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ของโลก โดยธนาคารกลางได้ออกมายอมรับว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ได้หยุดชะงักลง จากความต้องการภายในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งเห็นผลได้อย่างชัดเจนจากการบริโภคของภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง ควบคู่ไปกับการลงทุนทางธุรกิจที่ซบเซา ผนวกกับธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ฟื้นตัว แต่ทั้งนี้ ยังมีผลดีจากการค้าระหว่างประเทศผ่านการส่งออกมาพอบรรเทาได้ในระดับหนึ่ง

โดยสรุปในภาพรวมแล้ว ในปี 2553 สเปนจะมีอัตราการขยายตัวติดลบอยู่ร้อยละ -0.3 และจะปรับเป็นบวกได้เล็กน้อยในปี 2554 ในอัตราร้อยละ 0.7 โดยจะต้องพยายามปรับสภาพสมดุลทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเข้มงวดต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังคงมีสภาพเปราะบางและอ่อนไหวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ต้องคอยจับตามองด้วย สำหรับการส่งออกของไทยในตลาดสเปนในปีนี้คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้เกินระดับมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 40 ในปี 2553 เนื่องจากตัวเลขฐานมูลค่าการส่งออกในปีที่ผ่านมาปรับตัวลดลงมากจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของโลกถึงร้อยละ 40 เช่นกัน และจะสามารถสร้างดุลการค้าให้กับประเทศได้กว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ