กฎระเบียบการนำเข้าของสิงคโปร์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 25, 2010 17:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

มาตรการนำเข้า/ส่งออก

การนำเข้า/ส่งออกสินค้าจากต่างประเทศของสิงคโปร์เป็นไปอย่างเสรี โดยผู้นำเข้า/ส่งออกจะต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้กับหน่วยงานสิงคโปร์ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) และได้รับใบอนุญาตการนำเข้า/การส่งออกจาก International Enterprise Singapore [I E Singapore]

อัตราภาษีนำเข้า

1. สินค้าทุกชนิดที่นำเข้าจะต้องเสียภาษีสินค้าและบริการ (Goods & Services Tax : GST) ร้อยละ 7

2. สินค้านำเข้าที่ต้องเสียภาษีนำเข้าคือ (เอกสารแนบ 1)

2.1 เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ เหล้า ไวน์

2.2 บุหรี่และยาสูบ

2.3 น้ำมันปิโตรเลียม

2.4 รถยนต์ รถจักรยานยนต์

ดูรายละเอียดอัตราภาษีที่ Website - www.customs.gov.sg

3. สินค้านำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTAs) มีอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์

ปัจจุบันสิงคโปร์ได้ลงนามข้อตกลง FTA กับประเทศต่างๆ ได้แก่

  • ASEAN Free Trade Area (AFTA)
  • ASEAN — China (ACFTA)
  • ASEAN - Korea (AKFTA)
  • Agreement between New Zealand and Singapore on a Closer Economic Partnership

(ANZSCEP) - ปี 2544

  • Japan-Singapore Economic Partnership Agreement (JSEPA)- ปี 2545
  • European Free Trade Association-Singapore FTA (ESFTA) - ปี 2545
  • Singapore-Australia Free Trade Agreement (SAFTA) - ปี 2546
  • Switzerland, Liechtenstein, Norway and Iceland (ESFTA) — ปี 2546
  • United States-Singapore Free Trade Agreement (USSFTA) - ปี 2547
  • India — Singapore Comprehensive Economic Cooperation Agreement (CECA) ปี 2548
  • Singapore-Jordan FTA (SJFTA) ปี 2548
  • Korea-Singapore FTA (KSFTA) ปี 2549
  • Trans-Pacific Strategic Economic Partnership : SEP (Brunei, New Zealand, Chile &

Singapore) - ปี 2549

  • Panama — Singapore Free Trade Agreement - ปี 2549
  • Singapore - Peru
  • กรอบขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic

Relationship : STEER)

นอกจากนี้ FTA ที่อยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศต่างๆ ได้แก่ แคนาดา เม็กซิโก ศรีลังกา ปากีสถาน จีน และประเทศในแถบตะวันออกกลาง ประกอบด้วย อียิปต์ บาห์เรน สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ กาตาร์ คูเวต โอมานและซาอุดิอาระเบีย

สินค้าควบคุม

รายการสินค้านำเข้า/ส่งออกที่ต้องยื่นขออนุญาตก่อนที่จะนำเข้า/ส่งออกทุกครั้ง และรายชื่อหน่วยงานที่มีอำนาจออกใบอนุญาตนำเข้า/ส่งออกสินค้าควบคุม ตามเอกสารแนบ 2

(ดูรายละเอียดที่ Website - www.customs.gov.sg)

มาตรการที่มิใช่ภาษี มีข้อกำหนดสำหรับสินค้าบางชนิด คือ

1. อาหาร ให้เป็นไปตามระเบียบ The Food Regulations หน่วยงานที่ควบคุมคือ Agri-Food Veterinary Authority (AVA) ภายใต้ Ministry of National Development ระเบียบข้อกำหนดที่สำคัญที่ผู้ผลิตพึงถือปฏิบัติคือ Labeling Requirements ซึ่งต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 mm. พร้อมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องคือ

-Common Name of Product

-Nett Weight or Volume of Product

-Name and Address of Manufacturer/Importer/Packer/Distributor

-Country of Origin of Product

-List of Ingredients in Descending Order of Proportions

-Date of Marking for 19 Category of Products. (เอกสารแนบ 6) Letters shall not be less

than 3 mm in height and shall be show in one of the following ways:

                              Use By           :           dd/mm/yy
                              Sell By          :           dd/mm/yy
                              Expiry Date      :           dd/mm/yy
                              Best Before      :           dd/mm/yy

-Bar Code/EAN

-Nutrition Facts Panel (NIP)

-No "Health Claims" Allowed on the Label

-Optional : "Halal" Logo on the Label

2. ข้าว

2.1 หน่วยงาน International Enterprise Singapore (I E Singapore) เป็นผู้ดูแลการออกใบอนุญาตนำเข้า และระเบียบการนำเข้าข้าวเป็นไปในลักษณะการสำรองข้าวและการควบคุมปริมาณนำเข้า

2.2 ผู้นำเข้าข้าวสารต้องทำการสำรองข้าวสารไว้ในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่นำเข้าในแต่ละเดือน ข้าวที่สำรองต้องเก็บไว้ในโกดังสินค้าของรัฐบาล Singapore Storage & Warehouse Pte. Ltd. (SSW) สำหรับการนำเข้าข้าวชนิด Fragrant Rice, White Rice และ Broken Rice จากทุกประเทศ ข้าวที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องสำรองคือ ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง ข้าวเหนียว และข้าวบาสมาติ

2.3 I E Singapore เป็นผู้อนุมัติปริมาณการนำเข้า เช่น กรณีผู้นำเข้าข้าวเพื่อจำหน่ายปริมาณ 500 ตัน ก็จะต้องนำเข้าข้าวไว้ในโกดังเป็นข้าวสำรองอีกปริมาณ 1,000 ตัน รวมเป็นการนำเข้าปริมาณ 1,500 ตัน และหากผู้นำเข้าต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากจำนวนที่แจ้งไว้ก่อนหน้า ผู้นำเข้าต้องทำหนังสือขออนุมัติจาก I. E. Singapore ล่วงหน้าก่อนเป็นเวลา 3 เดือน

3. เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ หน่วยงาน Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) จะอนุญาตให้นำเข้าจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองจาก AVA เท่านั้น ประเภทสินค้า ได้แก่

3.1 สุกรและเนื้อสุกรแปรรูป

-เนื่องจากรัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศหยุดการเลี้ยงสุกรภายในประเทศตั้งแต่ปี 2533 สิงคโปร์จึงอนุญาตให้มีการนำเข้าสุกรมีชีวิตและเนื้อสุกรแปรรูปได้

-ตามระเบียบการนำเข้าสุกรมีชีวิต แปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ เช่น หมูกระป๋อง แฮม Ready-to-eat ที่มีส่วนประกอบของหมู หมูหยอง หมูแผ่น ไส้กรอกหมู รวมทั้งเนื้อสัตว์ทุกชนิดในสิงคโปร์อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) (ภายใต้ Ministry of National Development) โดยกำหนดว่า สุกรมีชีวิต เนื้อสุกรแปรรูป และผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจะต้องผลิตมาจากฟาร์มเลี้ยงสุกร โรงฆ่า โรงชำแหละ และโรงงานแปรรูปที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่ายงาน AVA แล้วเท่านั้น

-ประเทศที่ AVA รับรองและอนุญาตให้ส่ง Chilled/Frozen Pork เข้าสิงคโปร์ คือ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา จีน เดนมาร์ค ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ อัฟริกาใต้ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

-ในกรณีประเทศไทย กรมปศุสัตว์ (DVD) ของไทยจะต้องทำการตรวจสอบก่อนจนกว่าจะแน่ใจว่าสุกรในฟาร์มที่ทำการตรวจสอบนั้นปราศจากเชื้อโรคระบาดสัตว์ AVA จะไปตรวจสอบโรงงานดังกล่าวในไทย หากการตรวจสอบผ่าน AVA ก็จะออกใบอนุญาตและลงทะเบียนรายชื่อโรงงานดังกล่าวเพื่อศุลกากรตรวจปล่อย

-ความเคลื่อนไหวในการประกาศห้ามนำเข้าสินค้าต่างๆ เนื่องจากการเกิดโรคระบาดหรืออื่นๆที่จะส่งผลเสียให้แก่ผู้บริโภค AVA จะออกเป็นหนังสือเวียนเกี่ยวกับการยกเลิกการนำเข้าเป็นการชั่วคราวหรือถาวรโดยส่งข้อมูลโดยตรงไปยังผู้นำเข้าและเผยแพร่ทาง Website ทันที

-ถึงปัจจุบันนี้สิงคโปร์ยังคงห้ามนำเข้าสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์สุกรทุกชนิดจากมาเลเซีย เพราะสาเหตุที่เคยมีการเกิดโรค Nipah Virus ที่ระบาดในมาเลเซียในปี 2544 จนถึงปัจจุบัน

-กรณีประเทศไทย ทาง AVA ห้ามนำเข้าสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื่องจากการเกิดโรค Nipah Virus ในเขตชายแดนภาคใต้ แต่ในปี 2546 ต่อมาได้ผ่อนผันโดยเปิดให้มีการนำเข้าเนื้อสุกรแปรรูปโดยผ่านความร้อนสูง(Heat-processed pork products)จากประเทศไทย ซึ่งเนื้อสุกรจะต้องมาจากโรงฆ่าที่กรมปศุสัตว์รับรองและ AVA ตรวจสอบและอนุมัติแล้วเท่านั้น

3.2 เนื้อวัว

หน่วยงาน AVA กำหนดให้นำเข้าได้จากประเทศผู้ผลิตที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้นได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน นิวซีแลนด์ อัฟริกาใต้ สวีเดน และอุรุกวัย สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้รับการอนุมัติใดๆ

3.3 ไก่/เป็ด

-หน่วยงาน AVA กำหนดให้นำเข้าได้จากประเทศผู้ผลิตที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น สำหรับประเทศไทย เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกเมื่อต้นปี 2547 จึงทำให้ AVA ประกาศห้ามนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2547 และหลังจากนั้นก็ประกาศห้ามนำเข้าจาก จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และอัฟริกาใต้

-เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 AVA ได้ประกาศอนุญาตให้นำเข้าสินค้าไก่ (Processed poultry meat products) จากบริษัท C.P. Food Products Co., Ltd. ของไทย ซึ่งสินค้าได้แก่ Fully Cooked : Chicken SBL or Fillet, Garlic Chicken Riblet, Black Pepper Chicken Riblet, Honey Chicken Riblet, Lemon Chicken Drummet และ Black Pepper Chicken Drummet

4. ผัก-ผลไม้

4.1 ผัก-ผลไม้ทุกชนิดนำเข้าสิงคโปร์ได้อย่างเสรี ที่สำคัญคือ จะต้องปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบการนำเข้าของสิงคโปร์ภายใต้ The Food Regulations ที่มีข้อกำหนดของสารตกค้าง หรือสารรักษา/ถนอมผลไม้ ซึ่งหน่วยงานสิงคโปร์คือ Agri-Food Veterinary Authority [AVA] และ Food Control Department (FCD) ภายใต้กระทรวงสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญและตรวจสอบอย่างเคร่งครัด โดยจะส่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจสินค้าฯขณะที่นำเข้า หากพบสารตกค้างใดๆในผัก-ผลไม้ที่นำเข้า FCD จะพิจารณาให้ ส่งสินค้ากลับประเทศผู้ส่งออกหรือสั่งให้เผาสินค้าฯทันที พร้อมทั้งจะดำเนินการนำผู้นำเข้าส่งเรื่องฟ้องศาลด้วย

4.2 ข้อที่ควรระวังอย่างมาก คือ การใช้สารซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ [So2] ในการรักษา/ถนอมให้ลำไยมีความคงทนได้นานขึ้นซึ่ง AVA ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มีมาตรการในการตรวจสอบโดยเฉพาะลำไยสด กำหนดไว้ว่า ไม่ให้มีสารซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ตกค้างอยู่ในเนื้อลำไย สำหรับสารฯตกค้างบนเปลือกลำไยซึ่งจะอนุโลมให้ในสัดส่วน 350 ppm

4.3 ในขณะนี้มีพริกและผักชีที่นำเข้าจากไทยซึ่ง AVA ตรวจพบสารดังต่อไปนี้เกินกว่าที่กำหนด : Methamidofos, Parathion-methyl, EPN, Triazofos, Metalaxyl, Chlorpyrifos, Dithiocarbamates, Chlorothalonil, Dicrotofos, Dimethoate, Ethion, Profenofos

5. การจ้างแรงงานต่างชาติ

  • การอนุญาต Work Permit (ส่วนใหญ่ในภาคการก่อสร้าง) สิงคโปร์จัดแบ่งประเทศที่อนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) Approved Source Countries ได้แก่ มาเลเซีย และจีน 2) Non-Traditional Source : NTS ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา ไทย บังคลาเทศ พม่า ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน 3) North Asian Sources : NAS ได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า เกาหลีใต้ และไต้หวัน ซึ่งนายจ้างสามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้ในสัดส่วน 4 : 1 (จ้างคนสิงคโปร์ 4 คน ต่อคนต่างชาติ 1 คน) ทั้งนี้ การยื่นขอใบอนุญาตจ้างแรงงานไทยต่อ Ministry of Manpower (MOM) ประสบปัญหา เนื่องจาก ในบางกรณี สำนักงานแรงงานไทยได้มีหนังสือรับรองพร้อมเอกสารประกาศนียบัตรจากหน่วยงานของไทยที่รับรองแล้ว แต่ MOM ไม่อนุญาต โดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลใดๆ
  • การอนุญาต Employment Pass (สำหรับแรงงานที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป) โดยแบ่งออกเป็น 1) P Pass สำหรับคนต่างชาติที่ได้รับการจ้างเงินเดือนมากกว่า 7,000 เหรียญสิงคโปร์ (A P1 Pass) เงินเดือนมากกว่า 3,500-7,000 เหรียญสิงคโปร์ (A P2 Pass) เงินเดือน 2,501 เหรียญสิงคโปร์ (Q 1 Pass) และ 2) S Pass เงินเดือนอย่างน้อย 1,800 เหรียญสิงคโปร์ (levy 50 เหรียญสิงคโปร์/เดือน) ซึ่งนายจ้างสามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้ในสัดส่วน 2 : 1 (จ้างคนสิงคโปร์ 2 คน ต่อคนต่างชาติ 1 คน)

ที่มา : Ministry of Trade and Industry (MTI), Ministry of Manpower (MOM), International Enterprise Singapore (I E Singapore), Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA), Agri-Food Veterinary Authority (AVA), Food Control Department (FCD) และ Singapore Customs Department

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ