ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยสินค้าอาหารของสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 20, 2011 17:21 —กรมส่งเสริมการส่งออก

หน่วยงานสหรัฐฯ ที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหาร

สหรัฐฯมีหน่วยงานในระดับรัฐบาลกลางที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องความปอลดภัยของอาหารและส่วนผสมอาหารอยู่ 3 หน่วยงานหลักด้วยกันคือ

1. Food Safety and Inspection Service (FSIS) ขึ้นตรงกับกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (U.S. Department of Agricultural-USDA) ดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากไข่ ที่ผลิตในประเทศสหรัฐฯและที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ยกเว้นเนื้อสัตว์ป่า (game) และเนื้อสัตว์หายาก (exotic meats — เช่น เนื้อจิงโจ้ เนื้อนกกระทา และเป็ด)

2. Food and Drug Administration (FDA) ขึ้นตรงกับหน่วยงาน Department of Health and Human Services (DHHS) ดูแลสินค้าอาหารที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศที่วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯรวมถึงสินค้าเนื้อสัตว์ป่าและเนื้อสัตว์หายาก ส่วนผสมอาหาร อาหารสัตว์ ยาสำหรับสัตว์ และผลิตภัณฑ์อาหารเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีกเฉพาะที่มีส่วนผสมเนื้อสัตว์ดังกล่าวที่ทำให้สุกแล้วในปริมาตรไม่เกินร้อยละ 2 หรือที่เป็นเนื้อสัตว์ดิบในปริมาตรที่ไม่เกินร้อยละ 3 ของปริมาตรรวมทั้งสิ้นของสินค้า และเฉพาะที่มาจากแหล่งผลิตที่ USFDA ให้การรับรองแล้วเท่านั้น

3. Environmental Protection Agency (EPA) ออกใบอนุญาตให้แก่ผลิตภัณฑ์สินค้ายาฆ่าแมลงและกำหนดปริมาณสูงสุดของยาฆ่าแมลงที่ยอมให้มีตกค้างในอาหารและอาหารสัตว์ (เป็นหน้าที่ของ FDA และ FSIS ที่จะบังคับควบคุมดูแลสินค้าที่ตนรับผิดชอบให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ EPA ในเรื่องปริมาณสูงสุดของยาฆ่าแมลงที่ยอมให้ตกค้างในอาหารและอาหารสัตว์ได้นี้) นอกจากนี้ EPA ยังทำหน้าที่บริหารโปรแกรมต่างๆที่เป็นเรื่องกฎระเบียบ และการวิจัยสารเคมีที่เป็นพิษที่เกิดขึ้นในน้ำและอาหาร

การดำเนินงานของทั้งสามหน่วยงานรัฐบาลกลางข้างต้นได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆในระดับมลรัฐและท้องถิ่น

แม้ว่าจะมีการแบ่งแยกประเภทสินค้าภายใต้การดูแลของแต่ละหน่วยงาน แต่ในทางปฏิบัติแล้วหน่วยงาน ทั้งสามหน่วยงานจะรับผิดชอบร่วมกันในการควบคุมดูแลสินค้าอาหารบางกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น สินค้าผักและผลไม้ หน่วยงาน USDA และ EPA จะรับผิดชอบเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับยาฆ่าแมลงในขณะที่ USFDA จะรับผิดชอบในเรื่องการตรวจสอบการนำเข้า

วิธีพิจารณาออกคำสั่งการห้ามนำเข้า (import refusal) สินค้าอาหารของ USFDA

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการส่งสินค้าอาหารเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯคือการตรวจสินค้าของ USFDA ที่ด่านนำเข้าและการถูก USFDA ออกคำสั่งห้ามนำเข้าสหรัฐฯ ในปี 2008 หน่วยงาน Economic Research Service (ERS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้ทำการศึกษาวิธีปฏิบัติของ USFDA ในเรื่องของการตรวจสินค้าและการออกคำสั่งห้ามนำเข้า (import refusal) โดยใช้ข้อมูลการสั่งห้ามนำเข้าของ USFDA ในระหว่างปี 1998 — 2004 เป็นพื้นฐานในการศึกษาและได้จัดทำรายงานเรื่อง Food Safety and Imports — An Analysis of FDA Food-Related Import Refusal Reports ออกเผยแพร่ จากรายงานดังกล่าวทำให้สามารถมองเห็นภาพการทำงานของ USFDA ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้

1. การตรวจสินค้านำเข้าของ USFDA ไม่ได้เป็นการ “สุ่มตรวจ-random”ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แต่เป็นการเลือกตรวจโดยอยู่บนพื้นฐานของปัญหาความปลอดภัยของอาหารที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในระบบการค้าของสหรัฐฯและพิจารณาเงื่อนไขต่างๆที่เป็นความเสี่ยง การตัดสินว่าจะตรวจการจัดส่งสินค้านำเข้ารายการใดกระทำจากศึกษาข้อมูลสินค้า ข้อมูลโรงงานผลิตที่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนกฎระเบียบการนำเข้าของสหรัฐฯ

2. สินค้าที่ถูกคำสั่งห้ามนำเข้าสหรัฐฯไม่ได้หมายความว่าเป็นสินค้าที่มีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนเสมอไป กฎหมายสหรัฐฯระบุให้อำนาจ USFDA ที่จะสั่งห้ามการนำเข้าในกรณีที่ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าสินค้าดังกล่าว “ดูเหมือนว่า (“have an appearance”)” จะมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของ USFDA กฎหมายสหรัฐฯกำหนดไว้ชัดเจนว่า “รัฐบาลไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าได้มีการฝ่าฝืนกฎระเบียบเกิดขึ้นจริง USFDA มีอำนาจสั่งห้ามนำเข้าได้ ถ้า USFDA สามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีเหตุผลพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่าสินค้านั้นๆ “ดูเหมือนว่า” จะมีการกระทำที่ฝ่า ฝืนกฎหมายสหรัฐฯ สิ่งที่จะพิสูจน์ว่า “ดูเหมือนว่า” จะมีการฝ่าฝืนกฎหมายสหรัฐฯอาจจะเป็นโดยการตรวจตัวอย่างสินค้า การตรวจที่เป็นภาคสนาม การทบทวนเอกสารนำเข้า หรือพิจารณาจากประวัติของการฝ่าฝืนที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นจากผู้จัดส่งสินค้าคนเดียวกัน”

3. ส่วนใหญ่ของการปฏิเสธการนำเข้าโดย USFDA เป็นผลสืบเนื่องมาจากประกาศ USFDA Import Alert เจ้าหน้าที่ USFDA จะใช้ import alert เป็นแนวทางในการตรวจสอบสินค้าและออกคำสั่ง ห้ามการนำเข้า import alert อาจจะมาในลักษณะต่างๆดังนี้

(ก) อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การระบุและการแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแนวโน้มและปัญหาต่างๆของการฝ่าฝืนที่เกิดขึ้นในขณะนั้นให้แก่เจ้าหน้าที่ USFDA ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ทราบ

(ข) การเฝ้าสอดส่องสังเกตการณ์เฉพาะตัวสินค้าจากเฉพาะประเทศ

(ค) การออกประกาศ “Detention without physical examination” แม้ว่าจากการศึกษของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯจะค้นพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าที่ถูก import alert มากที่สุดในปี 2007 เป็นกลุ่มเดียวกับสินค้าที่ถูกสั่งห้ามนำเข้ามากที่สุดในระหว่างปี 1998-2004 แต่ผู้ทำการศึกษาก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าสินค้าค้าที่ถูก import alert เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อมูลการปฏิเสธการนำเข้าในอดีตของ USFDA

4. ประเภทของสินค้านำเข้าที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายของ USFDA มากที่สุดและถูกปฎิเสธการนำเข้ามากที่สุดด้วย เรียงตามลำดับคือ

(ก) ผักและผลิตภัณฑ์จากผัก เหตุผลที่ถูกนำมาใช้อ้างในการห้ามนำเข้ามากที่สุดคือเรื่องสารตกค้างที่ไม่ปลอดภัยที่เป็นยาฆ่าแมลง เหตุผลอื่นๆที่ถูกนำมาใช้เช่นการตกค้างของสารเคมีที่เป็นสารเคมีที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนในสหรัฐฯ หรือระดับสารเคมีตกค้างเกินกำหนดที่ EPA ระบุไว้

(ข) ผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเล เหตุผลที่ถูกนำมาใช้ในการห้ามนำเข้ามากที่สุดคือ “filthy”

(ค) ผลไม้และผลิตภัณฑ์ผลไม้ เหตุผลที่ถูกนำมาใช้ในการห้ามนำเข้ามากที่สุดคือ “filthy” เช่นกัน

(ง) เหตุผลที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดสำหรับกลุ่มสินค้าอื่นๆ เช่น

                               กลุ่มสินค้า              เหตุผลที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในการปฏิเสธการนำเข้า
                    ขนม (candy)                     Unsafe Color

เครื่องเทศ รสอาหาร และ เกลือ Salmonella

                    ของว่าง (snack)                  Unsafe Color
                    เครื่องดื่ม                         Unsafe Color
                    ธัญญพืช/แป้งจากธัญญพืช               Filthy

เครื่องปรุงรสอาหาร (condiments) Did not file scheduled process

                    ชาและกาแฟ                       Label not in English
                    น้ำมันพืช                          Inadequate nutrition label
                    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์                 Inadequate labeling
                    อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน        Manufacturer not properly registered

5. เหตุผลสำคัญที่เกิดขึ้นซ้ำๆบ่อยครั้งมากที่สุดและที่นำไปสู่การถูกปฏิเสธการนำเข้าสหรัฐฯ คือ

(ก) ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ผลไม้ — เหตุผลเรื่องสุขลักษณะในการผลิต

(ข) ผักและผลิตภัณฑ์จากผัก — เหตุผลเรื่องยาฆ่าแมลง

(ค) ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง — เหตุผลเรื่องการไม่จดทะเบียนขบวนการผลิต

6. การฝ่าฝืนที่เกิดมากที่สุดแยกออกได้เป็นสองลักษณะใหญ่ๆ คือ

(ก) การเจือปนสกปรก (adulteration) ตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นรุนแรงต่อสุขภาพผู้บริโภค การเจือปนสกปรกรวมถึงปัญหาเรื่องความปลอดภัย สุขลักษณะ และความสมบูรณ์ของ บรรจุภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์รั่ว หรือ กระป๋องบวมซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีการเติบโตของเชื้อโรคหรือจุลลินทรีย์ในสินค้านั้นๆ จากการศึกษาของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯพบว่า การเจือปนสกปรกที่พบบ่อยครั้งมากที่สุดเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะคือ

(1) สิ่งสกปรก (filthy) ในสินค้าอาหาร — ดูข้อ 7

(2) การไม่แจ้งข้อมูลหรือจดทะเบียนขบวนการผลิต- No Process- ของโรงงานผลิตสินค้าอาหารกระป๋องที่เป็น low-

acid หรือ acidified food

(3) ไม่มี FCE No. เพราะโรงงาน ผลิตไม่ได้ทำการจดทะเบียนโรงงานผลิตอาหารกระป๋องที่เป็น low-acid หรือ

acidified (Food Canning Establishment) การฝ่าฝืนในข้อนี้ USFDA ถือว่าเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะ

ทำให้เชื่อได้ว่าเกิดการเจือปนสกปรกในขบวนการผลิต

(ข) การปิดฉลากสินค้าไม่ถูกต้อง (misbranding)รวมถึงการปิดสินค้าที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือการระบุข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ไม่มีฉลากหรือปิดฉลากไม่เหมาะสม การฝ่าฝืนในข้อนี้ USFDA ถือว่าเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่ามีขบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เกินกว่าครึ่งหนึ่งของการปิดฉลากสินค้าไม่ถูกต้องเป็นการฝ่าฝืนใน 3 ลักษณะคือ

(1) การไม่ระบุข้อมูลคุณค่าทางอาหาร-nutritional information

(2) ไม่ระบุชื่อสามัญของส่วนผสมแต่ละตัว — list ingredients

(3) ไม่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ-No English

ผลไม้และผลิตภัณฑ์สินค้าผลไม้เป็นกลุ่มสินค้าที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบเรื่องการปิดฉลากสินค้าไม่ถูกต้องมากที่สุด เช่น สินค้ามะขามเปียกที่ไม่ปิดฉลากคุณค่าทางอาหาร หรือสินค้าที่มีส่วนผสมของ saccharin แต่ไม่มีข้อความเตือนผู้บริโภคบนฉลากสินค้า

7. สิ่งเจือปนสกปรกที่พบมากที่สุดคือ

(ก) สิ่งเจือปนสกปรกที่เป็นเชื้อโรค/จุลินทรีย์ พบมากที่สุดในผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเลซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการฝ่าฝืนมากที่สุดในเรื่องนี้ เชื้อโรคที่พบมากที่สุดคือเชื้ออหิวาห์ (salmonella) รองลงมา คือเชื้อ Listeria

(ข) สิ่งเจือปนสกปรกที่เป็นสารเคมี พบมากที่สุดในผัก และผลิตภัณฑ์ผัก สารเคมีที่ฝ่าฝืนที่พบมากที่สุดคือสีผสมอาหาร

(ค) สิ่งเจือปนสกปรกที่เป็นสิ่งสกปรก (filthy) ต่างๆเช่น เปลือก ขี้แมลง ซากสัตว์ตาย ฯลฯ

8. USFDA จะทำรายงานสำหรับแต่ละตัวสินค้าที่ถูกห้ามนำเข้า สินค้าที่ถูกห้ามนำเข้ารายการหนึ่งอาจจะมีรายงานของ USFDA กำกับมากกว่าหนึ่งรายงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการฝ่าฝืนที่ถูกค้นพบ แต่ในรายงานจะไม่ระบุว่าการฝ่าฝืนรายการใดเป็นการฝ่าฝืนที่รุนแรงที่สุดและเป็นจุดที่ทำให้สินค้าถูกสั่งห้ามนำเข้า ในรายงานการห้ามนำเข้า USFDA จะระบุหมายเลขการนำเข้า (entry no.) ประเทศแหล่งกำเนิดของผู้จัดส่งสินค้าและโรงงานผลิต ระหัสอุตสาหกรรม คำบรรบายระหัสสินค้า คำบรรยายสินค้าที่เป็นของผู้นำเข้าจัดทำ การระบุผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องตาม ความเป็นจริง ระหัสการฝ่าฝืน และคำอธิบายการฝ่าฝืน

ขั้นตอนการปฏิบัติหลังจากที่ USFDA ค้นพบว่าการนำเข้ามีการฝ่าฝืนกฎหมายสหรัฐฯ

ในกรณีที่สินค้าถูก USFDA ต้องสงสัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายสหรัฐฯ การดำเนินการในขั้นต่อไปจะเป็นดังนี้คือ

1. USFDA ส่ง Notice of Detention and Hearing ที่ระบุข้อกล่าวหาลักษณะของการฝ่าฝืนและแจ้งสถานที่ที่เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจะไปรับฟังและแก้ข้อกล่าวหาภายใน 10 วันทำการ (สามารถต่อรองขอยืดเวลาได้ถ้าจำเป็น) สำเนา notice จะถูกส่งให้แก่ศุลกากรสหรัฐฯทราบ

2. การตอบสนองต่อเอกสาร Notice of Detention and Hearing เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจะไปรับฟังและแก้ข้อกล่าวหา การไปพบกับเจ้าหน้าที่ของ USFDA ในขั้นตอนนี้จะเป็นในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ เจ้าหน้าที่จะเปิดโอกาสให้เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนอธิบายหรือยื่นเอกสารสนับสนุนว่าสินค้าดังกล่าวสามารถนำเข้าสหรัฐฯได้ หรือร้องขอที่จะปฏิเสธการนำเข้า หรือเสนอการแก้ไขสินค้าที่เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผล หรือเสนอวิธีการที่จะเคลื่อนย้ายสินค้าออกไปจาก USFDA

3. ในกรณีที่เจ้าของสินค้าต้องการแก้ไขสินค้า

3.1 ยื่นแบบฟอร์ม “Application for Authorization to Relabel or to Perform Other Action)” ต่อ USFDA

3.2 USFDA จะพิจารณาคำร้องและจะแจ้งให้ทราบว่าอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

3.3 ในกรณีที่ USFDA ยินยอมให้แก้ไขสินค้า จะแจ้งแนวทางการแก้ไขสินค้าและกำหนดเวลาในการแก้ไขให้เจ้าของสินค้าได้ทราบ

(ก) เมื่อแก้ไขสินค้าเสร็จแล้ว เจ้าของสินค้าจะต้องยื่นแบบฟอร์ม “Importer’s Certificate” หรือแจ้งให้ USFDA

ทราบว่าได้ทำการแก้ไขสินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว การแก้ไขควรกระทำเพียงครั้งเดียว หากการแก้ไขในครั้งแรกยังคงไม่

ช่วยให้สินค้าผ่านเข้าสหรัฐฯ โอกาสข้อแก้ไขในครั้งที่สองเกิดขึ้นได้ยากมากนอกเสียจากว่าการแก้ไขครั้งที่สองจะ

ต้องกระทำด้วยวิธีที่แตกต่างจากครั้งแรกและจะต้องแสดงให้ USFDA มั่นใจว่าวิธีการแก้ไขในครั้งที่สองนี้จะประสบผล

สำเร็จ

(ข) USFDA หรือศุลกากรสหรัฐฯจะทำการตรวจสินค้าอีกครั้งหนึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่าง USFDA และศุลกากรสหรัฐฯ

แล้วทำ “Report of Inspector” ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ USFDA ที่เกี่ยวข้อง ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะยอมรับข้อมูลการ

แก้ไขสินค้าที่เจ้าของสินค้าแจ้งไปและไม่ตรวจสินค้าเลยก็ได้

(ค) ถ้าการแก้ไขสินค้าได้รับการยอมรับ เจ้าหน้าที่จะออก Notice of Release ให้ซึ่งเป็นเอกสารที่เรียก

ว่า “Originally Detained and Now Released”

(ง) ในกรณีที่การแก้ไขสินค้าไม่ได้รับการยอมรับ เจ้าหน้าที่จะออกเอกสาร Notice of Refusal of Admission สินค้า

ดังกล่าวจะถูกสั่งทำลายหรือสั่งให้ส่งกลับออกไปภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ USFDA หรือศุลกากรสหรัฐฯ ขึ้นอยู่

กับข้อตกลงระหว่าง USFDA และศุลกากรสหรัฐฯ การส่งสินค้ากลับออกไปอยู่ภายใต้ การควบคุมดูแลของศุลกากรสหรัฐฯ

แต่เพียงหน่วยงานเดียว ในบางกรณีสินค้าจะถูกคำสั่งให้ทำลายแต่เพียงสถานเดียว การดำเนินการในขั้นนี้จะต้องกระทำ

ภายใน 90 วันหลังจากได้รับคำสั่ง

(จ) ผลการดำเนินงานตามคำสั่งในข้อ (ง) จะต้องแจ้งให้ USFDA ทราบ หาก USFDA ไม่ได้รับรายงานในเรื่องนี้จะทำการ

สอบสวนข้อเท็จจริงค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ในกรณีที่สินค้าเกิดปัญหาที่ด่านนำเข้าและจำเป็นต้อง

แก้ไข จะเกิดค่าใช้จ่ายที่เจ้าของสินค้าจะต้องจ่ายชำระให้แก่เจ้าหน้าที USFDA การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจะกระทำหลัง

จากที่มีการตัดสินเป็นที่สิ้นสุดแล้วว่า ไม่ว่าสินค้าได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าสหรัฐฯหรือไม่ก็ตามก็จะต้องเสียค่าใช้จ่าย

การคำนวนค่าใช้จ่าย USFDA จะคำนวนจาก

1. เวลาของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสินค้า

2. เวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์สินค้า

3. เบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ (per diem)

4. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ไม่ใช่โดยรถยนต์ ตามจ่ายจริง

5. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถยนต์ (จำนวนไมล์ ค่าทางด่วน ฯลฯ)

6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆในสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้

7. ค่าใช้จ่ายในการเข้าไปควบคุมดูแลการทำลายหรือการส่งออกสินค้า ถ้ามี USFDA จะส่งจำนวนเงินค่าใช้จ่ายให้ศุลกากรสหรัฐฯทำหน้าที่เรียกเก็บเงินUSFDA จะไม่เก็บเงินด้วยตนเอง

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ