รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้า ภูมิภาคอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ (1-15 มกราคม 2554)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 21, 2011 11:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศ สิงคโปร์

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2554

เศรษฐกิจ-ภาวะการค้า

1. ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของสิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์ได้ประกาศนโยบายยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศผู้นำในเอเซีย (A leading global city in the heart of Asia) วัตถุประสงค์หลัก คือ (1) การพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจให้เป็นไปโดยเร็วยิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนบุคลากรในด้านความสามารถพิเศษเฉพาะตัว เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาและขยายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนให้มีการใช้แหล่งทรัพยากรที่หายากให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด (2) สร้างโอกาสเพื่อให้เกิดการสร้างงานที่ มีคุณภาพในอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นและมีการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่สังคมที่มีศักยภาพ (3) จัดสรรงบประมาณร้อยละ 21 ของงบประมาณรวมเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ทักษะแรงงาน ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SME ให้เป็น Trading Hub ของเอเชีย โดยการพัฒนาทักษะ แรงงาน ปรับสมดุลจำนวนแรงงานต่างชาติและจัดตั้ง Human Capital Leader Institution (HCLD) และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆให้สิงคโปร์อยู่บน Creativity map เป็นประเทศที่ดีที่สุดสำหรับนักลงทุนและเป็นศูนย์กลางทางความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของเอเชีย (4) การสร้างความสัมพันธ์โดยมีความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ ทั้งระดับทวิภาคีและ พหุพาคี (5) ภาครัฐส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (รถไฟใต้ดิน ถนน ท่าเรือ สนามบิน เครือข่ายโทรคมนาคม) ให้สภาพบ้านเมืองเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจการค้า สร้างบรรยากาศด้านการลงทุนให้เป็นที่น่าสนใจต่อชาวต่างชาติที่ประสงค์จะย้ายถิ่นมาลงทุนในสิงคโปร์ รักษากฎ/ระเบียบอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีมาตรการในการเคารพทรัพย์สินทางปัญญา และรักษาสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม

2. กระทรวงการคลังสิงคโปร์จัดทำรายงานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเพิ่มเติม(17 ธค. 53) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศมีความเจริญ ก้าวหน้าต่อไป โดยมีนโยบายมุ่งเน้นสำคัญ 6 ประการ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ (1) Economic growth that sustainable โดยบ่งชี้ภาคอุตสาหกรรมสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโต การสร้างโอกาสการจ้างงาน และพัฒนาบุคคลากรให้สามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ (2) Having a strong social security framework ให้ความมั่นใจเสถียรภาพด้านการเงิน ส่งเสริมและพัฒนาการรักษาสุขอนามัยและที่พักอาศัยซึ่งประชากรสามารถจ่ายได้โดยไม่ลำบาก (3) A world-class environment and infrastructure ให้เป็นเมืองที่มีชีวิตชีวาของโลก การคมนาคมขนส่งสะดวกและสภาวะแวดล้อมรักธรรมชาติ (4) A Singapore that is secure and influential การเตรียมพร้อมสำหรับช่วงวิกฤตต่างๆ และสร้างให้มีความเป็นอยู่ที่ดี (5) Having strong families, cohesive society ให้มีการศึกษาที่ได้ระดับนานาชาติ ให้ความสำคัญต่อประชากร (6) Effective government สร้างบุคคลากรให้เป็นผู้นำในอนาคต ควบคุมมวลชนให้ตั้งอยู่ในความสงบ ปราบการคอร์รัปชั่น ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและซึ่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมการใช้เครือข่ายข้อมูลให้เป็นไปอย่างถูกต้องและได้ประโยชน์อย่างสูงสุดต่อทุกฝ่าย

3. สิงคโปร์เริ่มปรับเปลี่ยนโฉมภาคอุตสาหกรรมเพื่อขยายเศรษฐกิจ ซึ่งมุ่งเน้นสร้างประเทศให้เป็นศูนย์กลาง Clean Energy ของโลก โดยให้เป็นแหล่งที่มีการพัฒนา การผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ Clean Energy ไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2552 สิงคโปร์ได้กำหนดในแผนเศรษฐกิจแห่งชาติให้อุตสาหกรรม Clean Energy เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ภาครัฐได้เริ่มวางนโยบายพิมพ์เขียวครอบคลุมเพื่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม ในขั้นต้นรัฐบาลให้เงินสนับสนุน 350 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยมีแกนสำคัญ 5 ประการ คือ 1) การค้นคว้าและวิจัย (R&D) 2) การพัฒนาบุคคลากร 3) การส่งเสริมฝึกอบรมและยกระดับบริษัทสิงคโปร์ 4) การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในตลาดนานาชาติ และ 5) การสร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

4. ภาคอุตสาหกรรม Clean Energy ของสิงคโปร์ ได้เริ่มต้นผลักดันกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) เนื่องจากประเทศตั้งอยู่ในเขตยุทธศาสตร์สำคัญของภูมิภาคเขตร้อน และสนับสนุนการหันไปหาผลผลิตจากทางเลือกอื่นๆ ได้แก่ พลังงานชีวภาพ(Biofuels) พลังงานลม(Wind Energy) พลังงานคลื่น(Tidal Energy) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ(Energy Efficiency) และการบริการคาร์บอน(Carbon Services) คาดว่าภายในปี 2558 อุตสาหกรรม Clean Energy จะมีมูลค่าประมาณ 1.7 พันล้านเหรียญสิงคโปร์และเป็นปัจจัยสำคัญส่งเสริมการขยายตัว GDP ของสิงคโปร์ อีกทั้งจะมีการจ้างงานถึง 7,000 อัตรา ทั้งนี้ ภาครัฐได้จัดตั้ง The Clean Energy Programme Office (CEPO) เป็นหน่วยคณะทำงาน ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆของภาครัฐให้มีความรับผิดชอบในการวางแผนและกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลาง Clean Energy ของโลก และเพื่อให้สิทธิประโยชน์แก่บริษัทวงการอุตสาหกรรมพลังแสงอาทิตย์ในสิงคโปร์และทำให้อุตสาหกรรมมีการขยายตัว ซึ่ง CEPO ได้เปิดตัวโปรแกรมสำคัญ 5 โปรแกรม คือ (1) Clean Energy Research Programme (CERP) : เงินสนับสนุน 50 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งสนับสนุนการศึกษา R&D ในด้านความริเริ่มสำหรับการศึกษาและด้านอุตสาหกรรม (2) NRF (Clean Energy) PhD Scholarships and Company Scholarship — เงินสนับสนุน 25 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (3) Quickstart : โปรแกรมการช่วยเหลือที่ค้นหาและให้การอบรมบริษัทสิงคโปร์ซึ่งจะเริ่มจัดตั้งบริษัทเกี่ยวกับ Cleantech ภายใต้คำแนะนำของกลุ่มที่ได้รับการอนุมัติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะให้มีความเชื่อมั่นว่า สิงคโปร์มีพื้นฐานที่บริษัทใหม่จะประสบความสำเร็จในสิงคโปร์และเป็นผู้ที่ได้รับความสำเร็จในอุตสาหกรรม Cleantech ระดับโลก (4) Solar Capability Scheme (SCS) : เงินสนับสนุน 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เปิดตัวเมื่อปี 2551 สำหรับภาคเอกชน มุ่งให้การส่งเสริม innovative design and integration of solar panels into green buildings จุดประสงค์ของโปรแกรมเพื่อสร้างความ มั่นคงด้านความสามารถของบริษัทในระบบ solar ecosystem และให้มีผู้ใช้ระบบนี้เพิ่มมากขึ้น และ (5) Clean Energy Research & Testbedding Programme (CERT) : เงินสนับสนุน 17 ล้านเหรียญสิงคโปร์ มุ่งเน้นภาคที่เกี่ยวข้องกับรัฐและสนับสนุน SCS เปิดตัวในปี 2550 เน้นในการสร้างโอกาสสำหรับบริษัทที่จะพัฒนาและทดลอง Clean Energy โดยใช้ อาคารและสถานที่ของภาครัฐในสิงคโปร์ อนึ่ง ในปัจจุบัน สิงคโปร์ได้รับการลงทุนด้าน Clean Energy จากบริษัทชั้นนำสำคัญในอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท Renewable Energy Corporation (นอรเวย์) ลงทุนประมาณ 6.3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ สร้างโรงงานขนาดใหญ่ผลิตสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานแสงอาทิตย์ และบริษัท Vestas Wind Systems (เดนมาร์ค) ผู้นำของโลกด้านเทคโนโลยีลม ได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในสิงคโปร์เมื่อปี 2550 และลงทุนประมาณ 500 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในการพัฒนาศูนย์ R&D แห่งแรกนอกประเทศเดนมาร์ค

5.คาดการณ์การเติบโตของ Health and Wellness Tourism ของสิงคโปร์ จะมีการเติบโตที่ดีในอนาคต โดยจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 ต่อปี ส่วนกิจการสปาอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 ต่อปี

คาดการณ์มูลค่าการเติบโต Health & Wellness Tourism ระหว่างปี 2553-2557

หน่วย : ล้านเหรียญสิงคโปร์

                                        2553        2554        2555        2556        2557
สปา                                      303       326.1       347.7       367.5       385.9
    -โรงแรมและ Resort                  181.3       192.2       201.8       209.9       217.3
    -สปาอื่นๆ                            121.7       133.9       145.9       157.6       168.6
Other Health & Wellness Tourism        930.6       981.8    1,030.90    1,080.40    1,129.00
 Health & Wellness Tourism           1,233.7    1,307.90    1,378.70    1,447.90    1,514.90
ที่มา :  Euromonitor International

6. คาดการณ์ผลของเศรษฐกิจสิงคโปร์ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2553 และปี 2553 ซึ่งกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (3 มค. 54) ได้ประกาศคาดการณ์ผลของเศรษฐกิจสิงคโปร์จากข้อมูลเบื้องต้น แสดงให้เห็นผลการเจริญเติบโตเศรษฐกิจช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2553 และปี 2553 ร้อยละ 12.5 และ 14.7 ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางข้างล่างนี้

ตารางแสดง Gross Domestic Product at 2005 Prices

                  Sector          4Q09     2009    1Q10    2Q10   3Q10   43Q10*   2010*

Percentage Change over corresponding period of previous year

Overall GDP                        3.8     -1.3    16.6    19.4    10.5    12.5    14.7
Goods Producing Industries
     Manufacturing                 2.2     -4.1    37.2    45.3    13.8    28.2    30.4
     Construction                  11.5    16.2     9.7    11.5     7.1    -1.2     6.5
Services Producing Industries      3.7     -1.4    11.2    11.8      10     8.8    10.4

Quarter-on-quarter annualized growth rate, seasonally adjusted

Overall GDP                         -1     -1.3    44.5    27.9   -18.9     6.9    14.7
Goods Producing Industries
     Manufacturing                 -27     -4.1     193      67   -53.4      20    30.4
     Construction                 13.6     16.2     0.5    29.2   -10.4   -18.5     6.5
Services Producing Industries      9.6     -1.4     17     13.5     0.6     4.7    10.4
*Advance Estimates                       ที่มา : Ministry of Trade and Industry, Singapore

7. ธุรกิจท่าเรือของสิงคโปร์ในปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยแบ่งกลุ่ม ดังนี้ (1) เรือที่เทียบท่า จำนวน 1.92 billion gross tons (GT) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 (ปี 2552 จำนวน 1.78 billion GT) (2) Container Throughput รวม 28.4 million Twenty-Foot Equivalent Units (TEUs) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 (ปี 2552 จำนวน 25.9 million TEUs) (3) สินค้าปริมาณ 502.5 million tons (ปี 2552 จำนวน 472.3 million tons) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 (4) Bunkers Sales จำนวน 40.9 million tons (ปี 2552 ปริมาณ 36.4 million tones) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 (5) เรือที่ขึ้นทะเบียนในสิงคโปร์ ปริมาณ 48.8 million gross tons (ปี 2552 จำนวน 3.2 million gross tons) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.9 ทั้งนี้ สรุปการเปรียบเทียบระหว่างปี 2006-2010 ตามตารางข้างล่างนี้

Year     Vessel Arrivals   Container       Cargo Throughput   Bunker Sale           S'pore
            (billion       Throughput      (million tonnes)     Volume         Registry of Ships
           gross tons)   (million TEUs)                     (million tonnes)  (million gross tons)
2006          1.31            24.8               448.5           28.4                34.8
2007          1.46            27.9               483.6           31.5                39.6
2008          1.62            29.9               515.4           34.9                43.7
2009          1.78            25.9               472.3           36.4                45.6
2010*         1.92            28.4               502.5           40.9                48.8

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์กับอินโดนีเซีย ได้ร่วมปรึกษาและจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) Cruise Tourism 2) Civil Aviation 3) Manpower 4) Agribusiness 5) Investments and Cooperation in the Special Economic Zones (SEZs) of Batam, Bintan,and Karimum (BBK) as well as other SEZs ทั้งนี้ สิงคโปร์กับอินโดนีเซียมีสัมพันธไมตรีและเป็น คู่ค้ากันมาเป็นระยะเวลานาน ทั้ง 2 ประเทศต่างก็เป็นประเทศคู่ค้าต่อกันในอันดับที่ 5 นอกจากนี้ ยังมีการร่วมลงทุนและการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่ง ในปี 2552 สิงคโปร์เป็นประเทศอันดับต้นๆในการเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียโดยมีมูลค่าประมาณ 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และชาวอินโดนีเซียเดินทางเยือนสิงคโปร์เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องทุกปี

2. สิงคโปร์กับจีน โครงการ Sino-Singapore Tianjin Eco-city (โครงการสำคัญต่อจาก Suzhou Industrial Park) ที่เมือง Tianjin ซึ่ง GDP เติบโตร้อยละ 13 (ปี 2553) และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก Tianjin Municipal ได้ตั้งเป้าหมายให้เป็น “Integrated Demonstrative Zone for Changing Economic Development Model” สำหรับหน่วยงานสิงคโปร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาโครงการฯ ได้แก่ URA, HDB, BCA, NEA, PUB, LTA และ IE Singapore

3. สิงคโปร์กับ Uzbekistan ได้มีการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ทวิภาคีและสร้างโอกาสให้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยที่ในปัจจุบันทั้ง 2 ประเทศมีข้อตกลงร่วมกันคือ Investment Guarantee Agreement และ Avoidance of Double Taxation Agreement ที่เป็นปัจจัยช่วยส่งเสริมด้านการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศเป็นอย่างดี และในอนาคต จะมีแผนการร่วมลงทุนใน South-east Asia, North-east Asia และ Central Asia

อื่นๆ

1. การจัด Global Forum for Intellectual Property ครั้งที่ 3 ในสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6 มค.54 ซึ่งสิงคโปร์ได้ก้าวสู่การเป็นศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาของภูมิภาค โดยมี World Intellectual Property Organization (WIPO) ได้เปิด Singapore Office of the WIPO Arbitration and Mediation Centre (AMC) เป็นแห่งแรกนอกเจนีวา และการดำเนินการร้องเรียนผ่าน WIPO AMC ทำให้ ข้อพิพาททาง IP ในภูมิภาคสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาสั้นและค่าใช้จ่ายที่พอสมควร นอกจากนี้ WIPO AMC ยังจัดให้มีการฝึกอบรมให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎระเบียบและ workshop สำหรับทนายความ นักธุรกิจ/ผู้บริหารระดับสูง และผู้สนใจการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทอีกด้วย ทั้งนี้ ในปัจจุบันเศรษฐกิจ East Asian ได้เริ่มฟื้นตัวและ Asian Development Bank คาดการณ์ว่า การเติบโตสำหรับภูมิภาคในปี 2553 มีอัตราร้อยละ 8.8 และคาดหวังว่า จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อไปในปี 2554 เนื่องจากภูมิภาคเอเชียมีการปรับจากการผลิตสินค้าที่มีราคาแข่งขันได้ เปลี่ยนเป็นการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่มโดยผ่านการสร้างสรรและการใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องของทรัพย์สินทางปัญญา

2. บริษัทต่างชาติใช้สิงคโปร์เป็น Springboard ขยาย Franchise สู่ตลาดเอเชีย โดยการจัดตั้งสำนักงานในสิงคโปร์และประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1) Hog’s Breath Cafe (ออสเตรเลีย) ได้เปิดร้านนอกประเทศเป็นครั้งแรกในสิงคโปร์เมื่อปี 2550 และปัจจุบันได้มีการขยายสาขา ไปยังประเทศไทย 2) Trung Nguyen Coffee (เวียดนาม) เปิดร้านแรกในสิงคโปร์เมื่อปี 2551 ต่อมาเปิดอีก 2 สาขา และในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเปิดสาขาในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ รวมทั้งเกาหลีใต้และจีนภายในปีหน้า 3) Marble Slab Creamery (สหรัฐฯ) เปิดสาขาแรกของเอเชียในสิงคโปร์เมื่อปี 2552 ในปีนี้มีสาขาเพิ่มขึ้นอีก 5 แห่ง และวางแผนจะเปิดเพิ่มในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทั้งนี้ ถึงปี 2553 สิงคโปร์มีบริษัท Franchise ต่างชาติประมาณ 250 ตรายี่ห้อ อัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา และประมาณ 8 ใน 10 ที่ได้ขยายสาขาต่อไปยังต่างประเทศในภูมิภาค อนึ่ง จากสถิติของ Franchising and Licensing Association (Singapore) แสดงถึงรายได้ต่อปีประมาณ 8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ คิดเป็นร้อยละ 18 ของรายได้รวมของการขายปลีกในประเทศ

3. บริษัทสิงคโปร์ขยาย Franchise ไปยังต่างประเทศ โดยที่สมาชิกของ Franchising and Licensing Association of Singapore (FLA) มีจำนวน 150 ราย ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นบริษัทต่างชาติ สำหรับจำนวน 75 รายที่เป็นบริษัทสิงคโปร์ 60 ราย ได้ขยายสาขาไปยังต่างประเทศ (ในปี 2548 มีเพียง 35 ราย) ที่ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีสาขาในประเทศประมาณ 15 แห่ง ได้แก่ 1) Chewy Juniour สินค้า Doughnut-puff จัดตั้งร้านแรกเมื่อปี 2550 ในปัจจุบันมีสาขาเพิ่มขึ้น 4 แห่งในสิงคโปร์ และ 12 แห่งในเวียดนาม ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย อีกทั้งมีแผนการเปิดสาขาในกรุงลอนดอนและกาตาร์ภายในปี 2554 2) Snackz it! สินค้า Taiwanese street food จัดตั้ง ร้านแรกเมื่อปี 2548 ปัจจุบันมีสาขาในสิงคโปร์ 7 แห่ง และในมาเลเซีย 1 แห่ง และ 3) Skin Inc. สินค้าเครื่องประทินผิว มีสาขา 4 แห่งในสิงคโปร์ 1 แห่งในบรูไน และวางแผนเปิดสาขาอีก 15 แห่งภายในปี 2554 ในฟิลิปปินส์ ยุโรปและตะวันออกกลาง ทั้งนี้ FLA คาดว่า จำนวนสมาชิกที่เหลืออีก 15 รายจะขยายสาขาไปต่างประเทศภายในปี 2558

          4. สิงคโปร์ Life Insurance เป็นอันดับที่ 5 ของเอเชียและอันดับที่ 17 ของโลก  โดยในปี 2552 มีอัตรารวมค่าประกันชีวิตร้อยละ 5.3 ของ GDP  ซึ่งรองจากไต้หวัน (ร้อยละ 13.8)  ฮ่องกง (ร้อยละ 9.6)  ญี่ปุ่น (ร้อยละ 7.8) และเกาหลีใต้ (ร้อยละ 6.5)  ทั้งนี้ สัดส่วนประเภทของการประกันภัย ดังนี้  Accident and Health ร้อยละ 33    Term Insurance ร้อยละ 19   Endowment ร้อยละ 17   Whole Life ร้อยละ 16   Investment Linked ร้อยละ 14    และอื่นๆ ร้อยละ 1

5. ธนาคาร DBS สิงคโปร์ เปิดสาขาแห่งแรกในเวียดนาม ที่เมืองโฮจิมินส์ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อสนับสนุนบริษัทสิงคโปร์และต่างชาติที่สนใจเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ซึ่งการให้บริการของธนาคารฯ ได้แก่ จัดให้บริษัทสามารถใช้เครือข่ายภูมิภาคของธนาคารและแนะนำการจัดระบบการเงินให้เหมาะสมแก่บริษัทต่างๆ ที่รวมถึง การเงินเชิงพาณิชย์ การรับ-ส่งเงิน การโอนเงิน การจัดการเงินสดและเงินทุนสู่ตลาดเวียดนาม ทั้งนี้ ธนาคาร DBS ถือว่า เวียดนามเป็นประเทศแห่งโอกาสและเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง สำหรับสิงคโปร์เป็น ประเทศอันดับที่ 5 ที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม สาขาธุรกิจสำคัญคือ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากจำนวนผู้มีรายได้ระดับกลางเพื่มขึ้นมากในเวียดนาม

กิจกรรมที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2554

1. ประสานงานการลงโฆษณางานแสดง สินค้าแฟชั่นและเครื่องหนัง 2554 (BIFF & BIL 2011) โดยจัดลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ The Straits Times

2. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition ณ บริเวณสถานทูต ไทย และ VivoCity

3. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับซุปเปอร์ มาร์เก็ต Isetan และ FairPrice

4. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้า Bangkok Gems & Jewelry Fair 2011, Thailand International Furniture Fair 2011

5. ประสานงานเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างบริษัทไทย Apex Plastics Co., Ltd. ไม่ส่งสินค้า PVC Sheet ให้แก่บริษัทสิงคโปร์ Binwais Enterprise เมื่อบริษัทฯจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ