รายงานภาวะตลาดสินค้าดอกกล้วยไม้ ในไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 21, 2011 14:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขอบเขตสินค้า H.S. 06.03 ดอกไม้ชนิดที่เหมาะสำหรับจัดทำเป็นช่อดอกไม้หรือเพื่อการประดับ H.S. 06.04 ใบไม้ กิ่งไม้ และส่วนอื่น ๆ ของพืช ที่ไม่มีดอกติด หญ้ามอส และไลเคน ที่เหมาะสำหรับจัดทำเป็นช่อดอกไม้ หรือเพื่อการประดับ

1. การบริโภค

ชาวไต้หวันใช้ดอกไม้ในงานเทศกาลเป็นหลัก เช่น ตรุษจีน เชงเม้ง วันไหว้พระจันทร์ วันฉลองหรือเซ่นไหว้เทพแห่งฟ้า(เทียนกง) เจ้าแม่กวนอิม และเทพอื่น ๆ

ในช่วงไตรมาสแรกของปีเป็นช่วงที่มีการใช้ดอกไม้มากที่สุดเนื่องจากชาวไต้หวันนิยมจัดงานแต่งงานในช่วงก่อนตรุษจีน สำหรับการใช้ดอกไม้เพื่อประดับบ้านมีปริมาณน้อย เนื่องจากไม่ใช่ความเคยชินที่จะกระทำกัน

วันวาเลนไทน วันรับปริญญา เป็นช่วงที่มีการใช้ดอกไม้มากเช่นกัน ผู้ประกอบการจะพยายามใช้กลยุทธ์ทางการตลาดด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อปลุกกระแสการซื้อดอกไม้

ส่วนการใช้ดอกกล้วยไม้นั้น ชาวไต้หวันนิยมมอบกระถางกล้วยไม้เป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ เช่น การฉลองเปิดร้านหรือสำนักงาน เนื่องจากสามารถเก็บไว้ชมได้นาน นอกจากนี้ยังมีความนิยมในการซื้อเพื่อประดับบ้านหรือสำนักงานฯ โดยกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสได้รับความนิยมมากที่สุด รองลงมาคือกล้วยไม้พันธุ์ออนซิเดี่ยม

2. การผลิต

ภาวะการผลิตกล้วยไม้ของไต้หวันในปี 2009 มีปริมาณ 62.02 ล้านกระถาง เพิ่มขึ้นจากปี 2008 ร้อยละ 14.68% คาดว่าในปี 2010 จะมีปริมาณใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณการผลิตกล้วยไม้ของไต้หวันมีปริมาณค่อนข้างคงตัว โดยมีปริมาณเฉลี่ยปีละ 52 ล้านกระถาง กล้วยไม้ที่ผลิตได้แก่ คือ ฟาแลนอ็อปซิส (Phalaenopsis), แคททลียา (Cattleya), ซิมบีเดี้ยม (Cymbidium), หวาย (Dendrobium), ออนซิเดียม (Oncidium), รองเท้านารี (Paphiopedilum)

พื้นที่เพาะปลูกกล้วยไม้ที่สำคัญของไต้หวันคือจังหวัดไถหนาน ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้เท่ากับ 40% ของทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลไต้หวันได้ทำการจัดตั้งเป็นเขตสวนเทคโนโลยีชีวภาพกล้วยไม้ (Taiwan Orchid Plantation, Tainan)

3. การส่งออก

ไต้หวันส่งออกกล้วยไม้ในปี 2009 มูลค่า 8.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคนาดา มาเลเซีย อังกฤษ กวม ออสเตรเลีย กล้วยไม้ที่ส่งออกคือ กล้วยไม้ออนซิเดี่ยม มูลค่า 6.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ฟาแลนอปซิส มูลค่า 2.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กล้วยไม้อื่น ๆ 0.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำหรับในปี 2010 (มกราคม — พฤศจิกายน) ส่งออกมูลค่า 15.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 91.99% เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2009

ไต้หวันส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์เพิ่มขึ้นมากมาย และกลายเป็นสินค้าที่มียอดส่งออกสูงเป็นอันดับ 4 ของสินค้าเกษตรทั้งหมด

4. การนำเข้า

ไต้หวันนำเข้ากล้วยไม้ในปี 2009 มูลค่า 115,000 เหรียญสหรัฐฯ แหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ ไทย ญี่ปุ่น สาหรับในปี 2010 (เดือนมกราคม — พศจิกายน) นำเข้าแล้ว 244,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการนำเข้าจากไทยทั้งหมด

ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสำหรับสินค้ากล้วยไม้ในไต้หวันเกือบ 100% กล้วยไม้ที่ไทยส่งออกไปไต้หวันส่วนใหญ่คือกล้วยไม้สกุลหวายซึ่งไต้หวันมีการเพาะปลูกน้อย และจะมีการนำเข้ามากในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ไต้หวันมีอากาศร้อนปริมาณผลผลิตไม้ดอกออกสู่ตลาดน้อย

5. ภาวะราคา

กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสที่จัดใส่กระถางแล้วใหญ่มีราคาจำหน่ายประมาณ 2,000 — 3,000 เหรียญไต้หวัน

สำหรับกล้วยไม้ชนิดอื่นจะขายในรูปแบบดอกตัด โดยขายเป็นกำ สถิติราคาจากตลาดค้าส่งในไต้หวัน เปรียบเทียบระหว่างปี 2008 และ 2009 ปรากฎดังนี้

ตารางแสดงราคาเฉลี่ยกล้วยไม้ ตลาดกลางทั่วไต้หวัน

ราคาเฉลี่ย เหรียญไต้หวัน / กำ

          สินค้า              2008          2009          เพิ่ม/ลด          2010          เพิ่ม/ลด
          กล้วยไม้ไต้หวัน       32.9          34.6           5.17%          38.2          10.40%
          กล้วยไม้ออนซิเดี่ยม    51.3          56.5          10.14%          62.4          10.44%
          กล้วยไม้นำเข้า      166.6         170.9           2.58%         152.6         -10.71%

ที่มา. Agriculture and Food Agency, Taiwan

หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญไต้หวัน = 1.03 บาท โดยประมาณ (ก.พ. 2554)

6. ระเบียบในการนำเข้าและอัตราภาษีศุลกากร

ไต้หวันเก็บภาษีนำเข้าสินค้ากล้วยไม้ในอัตราร้อยละ 20% สำหรับการนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย ส่วนการนำเข้าจากประเทศที่มีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับไต้หวันมีอัตราต่ำกว่ากล่าวคือ ประมาณ 6-10% แล้ว สำหรับประเทศทั่วไปเก็บในอัตรา 45% ในส่วนของเอกสารที่จะต้องสำหรับผ่านพิธีนำเข้าคือ

  • ใบขนส่งสินค้า (Bill of Ladding)
  • ใบกำกับสินค้า (Invoice)
  • Packing List
  • ใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary)

7. หน่วยงานและงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง

Taiwan International Orchid Show

Date: 5-14 March 2011 Venue: Taiwan Orchid Plantation, Tainan

Organizer: Orchid Growers Association No.325, Wushulin, Houbi Township, Tainan County 731, Taiwan TEL: +886-6-6853309 FAX: +886-6-6830625

http://www.tios.com.tw

เป็นงานที่จัดขึ้นประจำทุกปีประมาณเดือน มีนาคม

Taipei International Flora Exposition

Date: 26 Feb. — 20 Mar, 2011. Venue: Expo Dome,

Yuan Shan Park, Taipei Taiwan

Organizer: - Taiwan Floriculture Development Association

No 321 Rui Kwang Rd., Nei Hu District, Taipei City

Tel: 886-2-8797 5286-7 Fax: 886-2-8797 4590

E-mail: tfda@ms14.hinet.net

Department of Economic Development, Taipei City Government

Address : Shifu Rd., Taipei, 11008, Taiwan, R.O.C.

Tel: 886-2-2720 8889 Fax: 886-2-27225076

E-mail : ea-2010expo@mail.taipei.gov.tw

งานพืชสวนโลกไทเป จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในไต้หวัน ซึ่งจะมีการจัดแสดงกล้วยไม้ ในช่วงระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ — 20 มีนาคม 2011 ที่ Expo Dome Zone B (23 วัน) และ วันที่ 5 มีนาคม — 14 มีนาคม 2553 ที่ Expo Dome Zone A (10 วัน)

8. สรุปและข้อคิดเห็น

ถึงแม้ไต้หวันจะมีการปลูกกล้วยไม้ปริมาณมากในแต่ละปี แต่ยังคงมีความต้องการนำเข้ากล้วยไม้ที่มีการผลิตน้อยหรือไม่ได้ผลิต จึงเป็นโอกาสที่สินค้าไทยจะขยายตลาดส่งออกได้ ผู้ส่งออกที่ต้องการขยายตลาดไต้หวันติดต่อผู้นำเข้าได้ตามรายชื่อดังแนบ

รายชื่อผู้นำเข้าไม้ดอก ไม้ประดับในไต้หวัน

CHANG KANG CO.,LTD.

1F., 8, Lane 14, Fushou St., Shinjuang City 242 TAIWAN

TEL 02-23020297

FAX 02-23023060

COOL DRAGON CO., LTD.

1F., No.70, Sec. 3, Jianguo N. Rd., Jhongshan District,

Taipei City 10482 TAIWAN

TEL 02-29835588 FAX 02-29847271

JIAN BOH CO., LTD.

K. W. Lee

6F-11, No.159, Jinjhou St., Jhongshan District, Taipei 104 TAIWAN

TEL 02-25367530 FAX

LUNG JUNG INTERNATIONAL MARKETING CO., LTD.

1F,No.322,Jhongshan E. Rd., Fongshan City,Kaohsiung Hsien 83042 TAIWAN

TEL 07-7012257 FAX 07-7011702

SPHAGNUM MOSS ENTERPRISE CO., LTD.

1Fl. No.9 Alley 20 Lane 790 Sec.5 Chung Hsiao E. Rd. Taipei 11051 TAIWAN

TEL 02-27272474 FAX

SHINE TEN TI INTERNATIONAL CO., LTD.

Y. K. Chen

1F, 29, Lane 176, Chung Chin Rd., Taichung 40749 TAIWAN

TEL 04-24251360 FAX 04-24257449

SEVEN FAVORS INDUSTRIAL CO., LTD.

S. C. Hsiao

18 Chung Feng St., San Min Dist., Kaohsiung 807 TAIWAN

TEL 07-3126141 FAX 07-3126142

EMAIL: 7favors@sinamail.com

WO ERNG CO LTD

1FL., NO.66, LANE 11, GUANGFU N. RD., SUNGSHAN CHIU, TAIPEI 10550 TAIWAN

TEL 02-2718 8136

SU KO THAI INT’L (TAIWAN) CO LTD

8FL-6, NO.375, SEC.4, XIN YI RD., TAIPEI 11043 TAIWAN

TEL 02-2983 5588 FAX 02-2984 7271

SHI FENG COMMERCE CO

TEL 06-298 5396 FAX 06-298 5387

HORTILIFE HORTICULTURAL CO LTD

3F 11 ALLEY 52 LANE 12 PA TEH RD SEC 3 TAIPEI 10549 TAIWAN

TEL 02-2578 3595 FAX 02-2577 5962

TENESY INTERNATIONAL CO LTD

1F NO.468 MIN TZU E RD TAIPEI 10454 TAIWAN

TEL 02-8797 3626 02-8797 3632 FAX 02-8797 3646

KUAN HUI SEAFOOD CO LTD

1F NO.39 LANE 335 YUANTONG RD JHONG GHE CITY TAIPEI COUNTY 235 TAIWAN

TEL 02-2244 6975 FAX 02-2245 4692

SUN SHINE MORNING CO LTD

7F-7 NO.20 LANE 609 SEC 5 CHONGHSIN RD SUNGCHONG CITY TAIPEI 241 TAIWAN

TEL 02-2999 9635 FAX 02-2999 66

รายงานโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)

โทรศัพท์ 886-2-2723 1800 โทรสาร 886-2-2723 1821

อีเมล์ thaicom.taipei@msa.hinet.net

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ