รายงายการเข้าชมงานแสดงสินค้าเครื่องประดับและอัญมณี JA INTERNATIONAL JEWELRY SHOW ๒๐๑๑

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 1, 2011 13:19 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ นางสมจินต์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก ได้เข้าชมงานแสดงสินค้าเครื่องประดับและอัญมณี JA INTERNATIONAL JEWELRY SHOW ๒๐๑๑ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์-๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ อาคารแสดงสินค้า Javit K Jacobs Convention Center นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีกับผู้นำเข้าสินค้าเครื่องประดับและอัญมณีรายสำคัญในสหรัฐอเมริกา ตลอดจนสังเกตุการณ์ภายในงานแสดงสินค้าดังกล่าว

งาน JA INTERNATIONAL JEWELRY SHOW จัดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ. ๑๙๗๔ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ปีละสองครั้ง คือ WINTER ประมาณเดือนกุมภาพันธ์และ SUMMER ประมาณเดือนกรกฎาคม โดยมีบริษัทผู้จัดงาน คือ VNU EXPOSITIONS INC เลขที่ ๗๗๐ BROADWAY ๕th FLOOR, NEW YORK, NY ๑๐๐๐๓ โทรศัพท์: ๖๔๖-๖๕๔-๕๐๐๐ โทรสาร: ๖๔๖-๖๕๔-๔๙๑๙ เว็บไซต์: WWW.JA-NEWYORK.COM

ในปีนี้ มีนักออกแบบและผู้ผลิตสินค้าเครื่องประดับและอัญมณีจากในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ เช่น อิตาลี ไทย ฮ่องกง บราซิล ญี่ปุ่นและเม็กซิโก เข้าร่วมประมาณ ๘๐๐ ราย โดยผู้แสดงสินค้าจะถูกจัดแบ่งตามโซน ดังนี้

          INNER CIRCLE               โซนนำเสนอเครื่องประดับและอัญมณีสำหรับตลาดระดับบน มีราคาสูงและเน้นความสง่างามของ

สินค้าเป็นหลัก

          DESIGN SHOWCASE            โซนเน้นการออกแบบสินค้าและนำเสนอดีไซน์แปลกใหม่
          DESIGN LAB                 โซนที่จัดขึ้นเพื่อให้นักออแบบเครื่องประดับและอัญมณีสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรวบรวม

ข้อมูลจากผู้ค้าปลีกและนิตยสารเพื่อนำมาใช้พัฒนาในด้านการออกแบบสินค้า

          HUDSON BAZAAR              โซนสินค้าและวัตถุดิบแปลกใหม่จากทั่วโลก

INTERNATIONAL PAVILIONS โซนสินค้าจากต่างประเทศ

          SUPPLIER PAVILION          โซนนวัตกรรม อุปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณี

DIAMOND DEALERS CLUB โซนข้อมูลการทำธุรกิจและแหล่งจัดหา LOOSE DIAMOND

          NEW PRODUCT GALLERY        โซนสินค้าที่มีรูปแบบการนำเสนอใหม่

ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่มากมาจากร้านค้าปลีกอิสระ ร้านบูติค ผู้ค้าส่ง ผู้แทนจากเครือข่ายออนไลน์ ฝ่ายจัดซื้อจากเครือข่ายโทรทัศน์และห้างสรรพสินค้า

นักออกแบบและผู้ผลิตจากไทยที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าดังกล่าว มีจำนวน ๒ ราย คือ

บริษัท SENTI CO., LTD/SANIMEX TRADING CO.,LTD เว็บไซท์: WWW.MYSENTI.COM

เป็นบริษัทออกแบบและจัดจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณีที่เน้นการดีไซน์เป็นสำคัญ โดยบริษัทจะนำวัตถุดิบทางธรรมชาติมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบเครื่องประดับแต่ละชิ้น เช่น หนังปลากระเบน ผ้าขนสัตว์ เปลือกหอย เป็นต้น ซึ่งบริษัทแสดงสินค้าในงานดังกล่าวมาหลายปีแล้ว เนื่องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อในกลุ่มอเมริกาใต้ที่นิยมดีไซน์ชิ้นใหญ่และแปลก อย่างไรก็ตามเพื่อขยายฐานผู้ซื้อบริษัทคาดว่าในปีหน้าทางบริษัทอาจเข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน FASHION ACESSORY ในนครนิวยอร์ก ซึ่งน่าจะได้กลุ่มผู้ซื้อในวงการแฟชั่นเพิ่มมากขึ้น

บริษัท THIENPO

เป็นบริษัทออกแบบและจัดจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณีประเภททองคำขาว เป็นเครื่องประดับชิ้นไม่ใหญ่มากแต่เน้นรูปแบบและความพิถีพิถีนในการนำเสนอ เช่น มีการนำเพชรและพลอยสีมาตกแต่งให้ดูสะดุดตา ในปีนี้ถือเป็นปีที่สองของบริษัทที่เข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน JA SHOW ที่นครนิวยอร์ก โดยปีก่อนหน้านั้นบริษัทเข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน JCK ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าเครื่องประดับและอัญมณีทางฝั่งตะวันตก ณ เมืองลาสเวกัส ลักษณะงานจะคล้ายๆ กับ JA SHOW แต่กลุ่มผู้ซื้อจะแตกต่าง กล่าวคือโซนตะวันตกผู้ซื้อจะนิยมเยือนงาน JCK ส่วนโซนตะวันออกผู้ซื้อจะนิยมเยือนงาน JA SHOW จึงทำให้ฐานลูกค้าค่อนข้างหลากหลาย

นอกจากนี้ยังมีบริษัทต่างชาติที่มีโรงงานผลิตสินค้าในไทยที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าดังกล่าว คือ บริษัท KEYWEST COLOR STONE CHAIN เว็บไซต์: WWW.KEYWESTCOLORSTONE.COM บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเกาหลี ทำหน้าที่การบริการและสรรหาวัตถุดิบมาผลิตที่โรงงานในประเทศไทย นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีสำนักงานตัวแทนจำหน่ายสินค้าในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาอีกด้วย สินค้าที่บริษัทนำมาเสนอคือ หินสีร้อยเป็นสร้อย ตุ้มหูและกำไร

เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีกับผู้นำเข้า สคร. นิวยอร์ก ได้เยี่ยมชมคูหาเครื่องประดับและอัญมณีของผู้นำเข้ารายสำคัญที่เดินทางไปงานแสดงสินค้า BKK GEMS and JELWERY คือ HAGGAI COLLECTIONS เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสอบถามสถานการณ์ตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่น่าสนใจ

สคร. นิวยอร์ก ขอเรียนดังนี้

๑. งานแสดงสินค้าในช่วง WINTER มีปริมาณผู้ซื้อไม่หนาแน่นมากเหมือนช่วง SUMMER ซึ่งอาจอนุมานได้ว่าช่วง SUMMER ผู้ซื้อเริ่มสั่งซื้อสินค้าสำหรับจำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับและอัญมณีมีการขยายตัวสูงที่สุด

๒. เนื่องจากพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้ซื้อในสหรัฐอเมริก โดยเฉพาะร้านค้าปลีกและร้านค้าแบบ Specialty Store นิยมการสั่งซื้อสินค้าปริมาณน้อย ไม่นิยมสต๊อกสินค้าแบบในอดีต ดังนั้น หากผู้ส่งออกสามารถมีสำนักงานตัวแทนจำหน่ายที่สามารถกระจายสินค้าให้กับผู้ซื้อในสหรัฐอเมริกาได้ทันที ซึ่งวิธีนี้น่าจะเป็นการส่งเสริมการขายให้กับบริษัทผู้ส่งออกที่มีประสิทธิภาพ

๓. ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเครื่องประดับและอัญมณีควรศึกษาตลาด หาแนวทางใหม่ๆ ในการเข้าสู่ตลาด โดยหลีกหนีจากวิธีเดิม เช่น การเลือกช่องทางเข้าสู่งานแสดงสินค้าใหม่ๆ การแนะนำสินค้าผ่านบุคคลที่มีเครือข่ายทางการค้าที่น่าสนใจหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อนิตยสารและเว็บไซต์เพื่อแนะนำสินค้าและการสร้างแบรนด์ เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ