1. การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์
การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ปี 2553 มีมูลค่ารวม 661,578.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.67 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งสิงคโปร์นำเข้าจากทั่วโลกรวมมูลค่า 310,393.72 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.64 และสิงคโปร์ส่งออกไปยังทั่วโลกรวมมูลค่า 351,185.0 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.53 โดยไทยเป็นประเทศคู่ค้านำเข้าอันดับที่ 9 และคู่ค้าส่งออกอันดับที่ 10 ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้านำเข้าและส่งออก 10 อันดับแรก พร้อมมูลค่า อัตราการเพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
สิงคโปร์นำเข้า ปี 2553 สิงคโปร์ส่งออก ปี 2553 ประเทศ มูลค่า US$Mil เพิ่มขึ้น% ส่วนแบ่ง ประเทศ มูลค่า US$Mil เพิ่มขึ้น% ส่วนแบ่ง ตลาด% ตลาด% 1.มาเลเซีย 36,296.01 27.64 11.69 1.มาเลเซีย 41,887.93 35.9 11.93 2.สหรัฐฯ 34,848.00 22.26 11.23 2.ฮ่องกง 41,130.17 32.07 11.71 3.จีน 33,622.55 30.04 10.83 3.จีน 36,280.06 38.33 10.33 4.ญี่ปุ่น 24,394.18 30.63 7.86 4.อินโดนีเซีย 32,991.42 26.68 9.39 5.ไต้หวัน 18,510.48 44.85 5.96 5.สหรัฐฯ 22,641.27 29.15 6.45 6.เกาหลีใต้ 17,979.09 28.5 5.79 6.ญี่ปุ่น 16,378.53 33.73 4.66 7.อินโดนีเซีย 16,822.21 18.37 5.42 7.เกาหลีใต้ 14,336.38 14.39 4.08 8.ซาอุดิอาระเบีย 11,218.97 38.78 3.61 8.อินเดีย 13,275.66 43.71 3.78 9.ไทย 10,268.03 25.36 3.31 9.ไต้หวัน 12,791.73 47.58 3.64 10.อินเดีย 9,216.09 64.26 2.97 10.ไทย 12,676.03 26.1 3.61 2. การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย
ปี 2553 การค้ารวมระหว่างสิงคโปร์กับไทยมีมูลค่า 22,944.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสิงคโปร์ยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับไทยมูลค่า 2,408.0 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.35 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเป็นการส่งออก และนำเข้า ดังนี้
- การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกมาไทยคิดเป็นมูลค่า 12,676.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.10 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ มาเลเซีย รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน และไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 10 สำหรับรายการสินค้า 10 อันดับแรกที่สิงคโปร์ส่งออกไปไทย ได้แก่ 1) แผงวงจรไฟฟ้า 2) สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง 3) ส่วนประกอบ/อุปกรณ์ของเครื่องจักรกล 4) เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ 5) น้ำมันสำเร็จรูป 6) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซีสเตอร์และไดโอด 7) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า 8) เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า 9) ของผสมมีกลิ่นหอมใช้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม 10) ส่วนประกอบ ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า ประเภทที่ 85.35-85.37
- สินค้าที่สิงคโปร์ส่งออกไปยังไทย 10 รายการแรก มูลค่า อัตราเพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
สินค้า มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น/ลดลง % ส่วนแบ่งตลาด % 2552 2553 2551/ 2552/ 2552 2553
2552 2553
1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,731.55 2,562.34 -16.38 47.98 17.23 20.21 2. สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง 702.39 685.85 -31.32 -2.35 6.99 5.41 3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล 469.17 548.93 -23.27 17 4.67 4.33 4. เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ 469.79 531.96 -10.62 13.23 4.67 4.2 5. น้ำมันสำเร็จรูป 425.3 409.45 -37.27 -3.73 5.04 4.23 6. อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซีสเตอร์และไดโอด 320.38 386.28 -28.91 20.57 3.19 3.05 7. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า 231.86 265.13 -23.36 14.35 2.31 2.09 8. เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า 110.66 225.36 -25.82 103.65 1.1 1.78 9. ของผสมมีกลิ่นหอมใช้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม 151.05 191.09 22.21 26.51 1.5 1.51 10. ส่วนประกอบใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า 65.48 189.61 367.74 189.59 0.65 1.5
- การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 10,268.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.36 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.31) โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 ประเทศคู่ค้าอันดับที่ 1 คือ มาเลเซีย รองลงมา ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ซาอุดิอาระเบีย ไทย และอินเดีย สำหรับรายการสินค้านำเข้า 10 อันดับแรก ได้แก่ 1) น้ำมันสำเร็จรูป 2) แผงวงจรไฟฟ้า 3) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล 4) เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ 5) เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ 6) เครื่องพ่นหรือฉีดเชื้อเพลิงของเตาเผา 7) เครื่องปรับอากาศ 8) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 9) มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ 10) ข้าว
- สินค้าที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทย 10 รายการแรก มูลค่า อัตราเพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
สินค้า มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น/ลดลง % ส่วนแบ่งตลาด % 2552 2553 2551/ 2552/ 2552 2553
2552 2553
1. น้ำมันสำเร็จรูป 2,041.03 2,693.92 -40.35 31.99 5.3 4.74 2. แผงวงจรไฟฟ้า 1,408.90 1,786.52 -0.57 26.8 3.72 3.4 3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล 518.83 523.95 -36.17 0.99 7.56 6.75 4. เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ 409.18 462.93 -26.67 13.14 9.19 7.98 5. เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์ 278.63 309.43 -30.08 11.05 4.34 3.88 และส่วนประกอบ 6. เครื่องพ่นหรือฉีดเชื้อเพลิงของเตาเผา 0.11 278.5 -77.85 100 0.29 91.3 7. เครื่องปรับอากาศ 158 212.38 -17.95 34.42 30.82 34.25 8. อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 170.14 197.07 -24.05 15.83 4.49 3.96 9. มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 54.7 155.75 -51.38 184.71 1.76 3.44 10. ข้าว 170.62 150.06 102.65 -12.05 19.37 17.03
- สินค้ารายการอื่นๆ ในกลุ่ม 50 รายการแรกที่มีศักยภาพซึ่งสิงคโปร์นำเข้าจากไทย มูลค่าอัตราเพิ่มขึ้น/ลดลงและส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
สินค้า มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น/ลดลง % ส่วนแบ่งตลาด % 2552 2553 2551/ 2552/ 2552 2553
2552 2553
1. น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จาก 38.55 125.75 100 226.18 0.19 0.52 แร่บิทูมินัส (HS 2709) 2. สิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบทำด้วยเหล็กหรือ 16.6 53.35 287.35 221.45 2.42 9.71 เหล็กกล้า (HS 7308) 3. ยางพารา (HS 4001) 27.23 36.31 -25.62 33.37 8.63 8.92 4. เครื่องสูบลมหรือเครื่องอัดลมหรืออัดก๊าซอื่นๆ 9.54 28.51 -95.52 198.95 0.97 3.22 และพัดลม (HS 8414) 5. แก้วและกระจก (HS 7006) 53.9 120.25 43.84 123.09 33.28 41.98 6. ส่วนประกอบที่ใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่อง 12.09 24.24 -71.7 100.49 7.4 9.75 กำเนิดไฟฟ้า(HS 8503) 7. สตาร์ช และอินนูลิน (HS 1108) 14.08 24.21 -25.42 72 8.61 13.82 8. เครื่องมือสำหรับดึงหรืออัดรีดโลหะและเจาะหิน 12.58 20.89 -22.48 66.02 3.93 4.15 หรือเจาะดิน (HS 8207) 9. ตลับลูกปืน (HS 8482) 45.71 75.56 -41.07 65.31 4.56 5.28
ส่วนรายการในกลุ่ม 50 รายการแรก ที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทยลดลง ได้แก่
(1) HS 8703 รถยนต์ นำเข้าในปี 2553 มูลค่า 40.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 70.46 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.36
(2) HS 8431 ส่วนประกอบของเครื่องจักรประเภท 84.25-84.30 นำเข้าในปี 2553 มูลค่า 33.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 60.67
(3) HS 8001 ดีบุก นำเข้าในปี 2553 มูลค่า 34.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 45.73
(4) HS 8527 เครื่องรับวิทยุ นำเข้าในปี 2553 มูลค่า 42.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.90
นอกจากนี้ สินค้าที่สิงคโปร์ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากไทยอย่างต่อเนื่อง คือ สินค้าอาหาร(ทะเล/กระป๋อง/แปรรูป) ผัก/ผลไม้(สด/กระป๋อง/แปรรูป) ข้าวหอมมะลิ และซ๊อสปรุงรสต่างๆ ทั้งนี้ ในส่วนของสินค้าข้าว เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคข้าวในสิงคโปร์เริ่มเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะกลุ่มที่รักษาสุขภาพและผู้สูงอายุ ซึ่งหันไปรับประทาน Brown Rice เพื่อรักษาสุขภาพและป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน (เนื่องจาก Brown Rice มีส่วนผสมของ Glycemic ในระดับต่ำและเปลี่ยนเป็น Glucose ได้ง่ายกว่าข้าวขาว) ดังนั้น ผู้ผลิตไทยสามารถส่งออก Brown Rice สู่ตลาดสิงคโปร์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อีกทางหนึ่งด้วย
3. แนวโน้มการนำเข้าสินค้าไทยของสิงคโปร์
สืบเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าจากไทย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
(1) การนำเข้าสินค้าเกษตร และอาหาร จะได้รับผลกระทบมาก คาดว่า สินค้าที่นำเข้าจะมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 5-7 โดยเฉพาะสินค้าผัก/ผลไม้สด อาหารกระป๋อง อาหารทะเลแช่เย็น/แช่แข็ง ข้าวหอมมะลิ เนื่องจากสิงคโปร์ต้องพึ่งการนำเข้าจากไทยเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ หากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอีก ผู้นำเข้าบางรายอาจหันไปนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากประเทศผู้ผลิตอื่นๆในภูมิภาคที่มีค่าเงินอ่อนลง เพื่อให้สินค้านำเข้ามีราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสิงคโปร์
(2) กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม คาดว่า ปริมาณการนำเข้าจะคงที่ หรืออาจจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งซื้อที่สิงคโปร์จะได้รับจากยุโรปและสหรัฐฯ
(3) สำหรับสินค้าชนิดอื่นๆ (นอกเหนือจากสินค้าเกษตรและอาหาร) ผู้นำเข้าสิงคโปร์อาจจะลดปริมาณนำเข้าจากไทย และหันไปนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ที่ค่าเงินแข็งขึ้นน้อยกว่าไทย(ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และจีน) รวมถึงประเทศที่มีค่าเงินอ่อนลง(เวียดนาม พม่า และฮ่องกง)
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าอื่นๆของสิงคโปร์ โดยเฉพาะจากมาเลเซีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย คาดว่า สินค้าจะมีราคาสูงขึ้นกว่าปัจจุบันประมาณร้อยละ 6-8
อนึ่ง จำนวนประชากรสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เป็นจำนวน 5.08 ล้านคน (มิย.53) เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้สิงคโปร์ต้องนำเข้าสินค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นไปและสอดคล้องกับเชื้อชาติ คือ ชาวจีนร้อยละ 74 ชาวมุสลิมร้อยละ 13 ชาวอินเดียร้อยละ 9.2 และอื่นๆร้อยละ 3.8
4. คาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ปี 2554
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์คาดหวังว่า การเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ ปี 2554 ยังคงอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจาก (1) การสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และระดับการเติบโตที่มั่นคงของเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ (2) ในภูมิภาคเอเชีย ความต้องการสินค้าภายในภูมิภาคจะส่งผลดีต่อการค้า Intra-regional ให้มีความคล่องตัวและส่งผลประโยชน์โดยตรงต่อกลุ่มการค้าส่งของสิงคโปร์ (3) นักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์มีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศเศรษฐกิจสำคัญในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นตัวสนับสนุนให้สิงคโปร์มีการเติบโตของกลุ่มธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (4) ปัจจัยจากการค้าภายในประเทศ ได้แก่ การขยายกำลังการผลิตของอิเล็คทรอนิกส์และ Biomedical ที่จะเป็นตัวสำคัญส่งเสริมให้มีการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมการผลิตในปี 2554
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงสำคัญยังคงมีอยู่ 3 ประการ คือ (1) การที่เศรษฐกิจ EU ยังมีความกังวลเกี่ยวกับหนี้สินที่ยังคงคาราคาซังอยู่ (2) ปัญหาอัตราเงินเฟ้อในเอเชีย อาจจะทำให้เกิดนโยบายการคลังที่เคร่งครัดขึ้นอีก และ (3) ปัญหาแรงงานขาดแคลน
ดังนั้น จากปัจจัยสำคัญ 3 ประการดังกล่าว ทำให้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์คาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ ปี 2554 เป็นร้อยละ 4.0-6.0
ที่มา : Ministry of Trade and Industry, International Enterprise Singapore, The Business Times &
The Straits Times
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th