รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้า ภูมิภาคอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ (1-30 เมษายน 2554)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 19, 2011 16:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศ สิงคโปร์

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2554

1. การคาดการณ์เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสแรก ปี 2554 เติบโตร้อยละ 8.5 (โดยใช้ข้อมูลของเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีอัตราร้อยละ 12.0) ทั้งนี้ การขยายตัวเพิ่มขึ้นใน ไตรมาสแรกมาจาก (1)ภาคการผลิต เพิ่มขึ้น ร้อยละ13.9 (สินค้าสำคัญคือ อิเล็คทรอนิกส์ และ Precision engineering) (2) ภาคการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (การก่อสร้างที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น) (3) ภาค Services Producing Industries เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 (Finance Services, Trade-related Services : wholesale and retail trade, transport and storage) สรุปตามตารางข้างล่างนี้

                                   1Q10    2Q10    3Q10    4Q10    2010   1Q11*

Percentage change over corresponding period of previous year

Overall GDP                        16.4    19.4    10.5     12     14.5    8.5
Goods Producing Industries
   Manufacturing                   37.2    45.2    13.7    25.5    29.7    13.9
   Construction                    9.7     11.4    6.7      -2     6.1     2.6
Services Producing Industries      11.1    12.1    10.2    8.8     10.5    7.2
*Advance Estimates

อนึ่ง กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์จะประกาศอัตรา GDP ที่แท้จริงของไตรมาสแรก ปี 2554 ในปลายเดือนพฤษภาคม 2554 ต่อไป

2. นักลงทุนสิงคโปร์หันไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากการสำรวจ An Inaugural Global Survey 2010 โดย Franklin Templeton Investments ทำการสำรวจนักลงทุนจำนวน 13,076 ราย จาก 12 ประเทศในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ปรากฏว่า นักลงทุนสิงคโปร์ (ร้อยละ 48) เป็นอันดับที่ 1 ในเอเชีย มีแผนการทำการลงทุนในต่างประเทศ รองลงมาคือฮ่องกง ร้อยละ 45 และในปี 2554 นักลงทุนสิงคโปร์ (ร้อยละ 65) และฮ่องกง )ร้อยละ 64) จะขยายการลงทุนไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ คาดว่า ร้อยละ 76 ของสิงคโปร์และฮ่องกง จะออกไปลงทุนนอกประเทศใน 10 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ นักลงทุนในเอเชีย ร้อยละ 73 มีแผนการในการลงทุนนอกประเทศ ในขณะที่นักลงทุนในยุโรปมีอัตราเพียงร้อยละ 47 อนึ่ง ธุรกิจที่สำคัญที่นำลงทุนสิงคโปร์เลือกในการลงทุน ได้แก่ Capital Market, Equities, Stocks and Fixed Deposit, Commodities (Precious metals and non-metal), Unit Trusts, Brokerages, Insurance firms, Retail Estate และวางเป้าหมายให้การลงทุนมีความสำเร็จภายใน 2.1 ปี รวมถึงคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 12.5 นอกจากนี้ จากรายงานของ Singapore Department of Statistics ปรากฎว่า ในปี 2552 บริษัทสิงคโปร์ลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เป็นเงินรวม 736.5 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เมื่อเทียบกับปี 2551 มูลค่า 669 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยร้อยละ 48.8 หรือมูลค่า 359.3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์เป็นการลงทุนในรูปแบบ Direct Investment ร้อยละ 28.3 เป็นการลงทุนในรูปแบบ Portfolio Investment และร้อยละ 22.9 เป็นการลงทุนในรูปแบบ Foreign Assets ภูมิภาคที่สิงคโปร์เข้าไปลงทุนมากที่สุดคือ เอเชีย มูลค่า 189.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (ร้อยละ 52.8) ประเทศสำคัญได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศที่ยังเป็นที่นิยม คือ ฮ่องกง และไทย นอกจากนี้ สิงคโปร์ลงทุนในยุโรป (ร้อยละ 16.5) และ South and Central America and the Caribbean (ร้อยละ 15.1) สำหรับธุรกิจสำคัญที่เข้าไปลงทุนได้แก่ Financial, Insurance Services และ Manufacturing รองลงมาได้แก่ Real Estate, Wholesale and Retail Trade, Information and Communications

3. ท่าเรือสิงคโปร์ได้รับเลือกให้เป็นท่าเรือดีที่สุดของเอเชีย โดย Cargonews Asia Publication มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมหน่วยงาน/บริษัทที่แสดงความเป็นผู้นำและให้การบริการอย่างมีคุณภาพ ซี่งในปีนี้สิงคโปร์ได้รับรางวัลจาก Asian Freight and Supply Chain Awards เป็นครั้งที่ 23 ชนะคู่แข่งสำคัญคือ ฮ่องกง เชี่ยงไฮ้ และมะนิลา โดยท่าเรือสิงคโปร์มีความแข่งขันได้ในเรื่องค่าบริการและมาตรการในการขนส่งคอนเทนเนอร์ที่เป็นมิตรและมีมาตรฐานนานาชาติ ทั้งนี้ ในปี 2553 ปริมาณขนส่งจำนวน 48.8 ล้านตัน นอกจากนี้ บริษัทอื่นๆที่ได้รับรางวัล ได้แก่ (1) PSA International รางวัล Best Global Container Terminal Operating Company เป็นครั้งที่ 6 (2) PSA Singapore Terminals รางวัล Best Container Terminal - Asia เป็นครั้งที่ 22 (3) Neptune Orient Lines (NOL) รางวัล Best Shipping Line in the Transpacific and Asia-Europe Trades (4) APL Logistics รางวัล Best Logistics Services Provider (5) Singapore Airport Terminal Services (Sats) รางวัล Best Air Cargo Ternimal-Asia

4. สิงคโปร์ยังคงห้ามนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น หน่วยงาน Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) สิงคโปร์ ได้ประกาศห้ามนำเข้าสินค้าผัก ผลไม้ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และนมและผลิตภัณฑ์จากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีก 1 เขต คือ Hyogo Prefecture ซึ่งเดิมห้ามนำเข้าจาก 10 เขต ได้แก่, Fukushima, Ibaraki, Tochigi, Gunma, Shizuoka, Ehime, Chiba, Kanagawa, Tokyo and Saitama เนื่องจากตรวจพบสาร Radioactive iodine-131, caesium-134 และ caesium-137 ทั้งนี้ AVA ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในสิงคโปร์ว่า สินค้าที่นำเข้าจากญี่ปุ่นเพื่อจำหน่ายในสิงคโปร์ได้ผ่านการตรวจสอบ อย่างเคร่งครัดก่อนอนุญาตให้จำหน่ายได้และเป็นสินค้าที่ไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค

5.ราคาบ้านในสิงคโปร์เพิ่มสูงขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก (ปี 2553) จากรายงาน The Wealth Report 2011 โดย Citi Private Bank and Porperty Consultancy Knight Frank ปรากฎว่า high-end home prices ในสิงคโปร์มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เทียบเท่ากับอัตราที่เพิ่มขึ้นใน Finland (Helsinki) และเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 17 ทั้งนี้ จากรายงานของ Urban Redevelopment Authority (URA) สิงคโปร์ ราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ถึงแม้ว่า จะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น แต่ราคาบ้านของสิงคโปร์จัดอยู่ในอันดับ 10 ของโลก ซึ่งมีราคาเฉลี่ยประมาณ 27,100 เหรียญ-สหรัฐฯ/ตารางเมตร และเป็นราคาที่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของราคาใน Monaco และ London อนึ่ง อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาบ้าน 12 อันดับแรก ดังนี้

No    City         Country              Changes in Prices in 2011 over 2009 (%)
1     Shanghai     China                                  21
2     Mumbai       India                                  20
3     Singapore    Singapore                              18
4     Helsinki     Finland                                18
5     Bangalore    India                                  17
6     Paris        France                                 15
7     Hong Kong    China                                  15
8     New York     US                                     13
9     Manila       Philippines                            12
10    Guernsey     Channel Islands                        11
11    Munich       Germany                                11
12    London       Britain                                10

6. เงินเหรียญสิงคโปร์แข็งค่าขึ้นต่อค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 1.2588 เหรียญสิงคโปร์ และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 เท่ากับ 1.261 (ปี 2553 เท่ากับ 1.40 เหรียญสิงคโปร์) ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปคาดว่า ปลายปี 2554 ค่าเงินเหรียญสิงคโปร์จะมีค่าแข็งเพิ่มขึ้นอีกเป็น 1.19 เหรียญสิงคโปร์ ทำให้เกิดผลดีต่อการนำเข้าสินค้าที่จะมีราคาถูกลง และช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดลงด้วย อีกทั้งเป็นสิ่งดีสำหรับชาวสิงคโปร์ที่จะเดินทางไปยังสหรัฐฯ และการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ทโดยใช้เงินเหรียญสหรัฐฯ อนึ่ง ปัญหาอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันนับเป็นปัญหาทั่วโลก รวมทั้งสิงคโปร์ ซึ่ง นักเศรษฐศาสตร์บางรายคาดว่า Monetary Authority of Singapore (MAS) จะมีแผนการที่รัดกุมเพิ่มขึ้นในเรื่องนโยบายการคลัง และคาดว่า MAS จะยอมให้ค่าเงินสิงคโปร์แข็งค่าขึ้นต่อไปอีกเพื่อช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดลง (อัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นของการคมนาคมขนส่ง ที่พักอาศัยและอาหาร)

7. การบริการทางอากาศระหว่างสิงคโปร์กับญี่ปุ่นเดือนมีนาคม 2554 ลดลงร้อยละ 9.6 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติและความเสียหายของโรงงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่น ทำให้เที่ยวบินลดลง โดยเฉพาะเที่ยวบินระหว่างสิงคโปร์ไปยัง Osaka, Nagoya and Fukuoka มีอัตราลดลงร้อยละ 5 ทั้งนี้ คาดว่า ต้องใช้เวลากว่าที่นักท่องเที่ยวจะวางแผนเดินทางไปญี่ปุ่นอีก แม้ว่าสายการบินและทัวร์เอเย่นต์เสนอลดราคาถึงร้อยละ 50 ก็ตาม อนึ่ง ในภาพรวม สนามบินนานาชาติ Changi มีผู้โดยสารใช้บริการ 3.71 ล้านคน ในเดือนมีนาคม 2554 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 7.5 ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านสนามบินชางงีในไตรมาสแรก 10.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ สายการบินชั้นประหยัด (Jetstar, Tiger Airways และ AirAsia) มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 ในเดือนมีนาคม 2554 คิดเป็น การให้บริการผู้โดยสาร ? ของผู้โดยสารรวมทั้งหมด สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศในเดือนมีนาคม 2554 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ปริมาณ 166,100 ตัน

8.สิงคโปร์ปรับแผนสำรองสำหรับสินค้าข้าว ในการนำเข้าสินค้าข้าว ผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้กับหน่วยงานสิงคโปร์คือ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) และได้รับใบอนุญาตการนำเข้า (Import License) จากหน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore) โดยผู้นำเข้าข้าวสารต้องทำการสำรองข้าวสารไว้ในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่นำเข้าแต่ละเดือน และข้าวที่สำรองต้องเก็บไว้ในโกดังสินค้าของรัฐบาล Singapore Storage & Warehouse Pte. Ltd. (SSW) ชนิดข้าวที่ต้องสำรอง คือ ข้าวหอม (Fragrant Rice) ข้าวขาว (White Rice) และข้าวหัก (Broken Rice) สำหรับข้าวที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องสำรองคือ ข้าวกล้อง, ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ข้าวเหนียว และข้าวบาสมาติ (Basmati Rice) ในสภาวะที่ราคาสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เพราะความต้องการมีสูงกว่าปริมาณผลผลิต จึงมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหาร สิงคโปร์ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก รวมทั้งข้าว ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการนำเข้าสินค้าข้าวเมื่อเดือนเมษายน 2554 โดยได้ออกประกาศให้ผู้นำเข้าข้าวต้องเพิ่มปริมาณการสำรองข้าว ซึ่งชนิดของข้าวที่ต้องมีการสำรองคือ White Rice, Basmati Rice, Ponni Rice และ Parboiled Rice และต้องเก็บสำรองไว้ที่โกดังสินค้าของรัฐบาล Singapore Storage & Warehouse Pte. Ltd. (SSW) ซึ่งควบคุมโดย International Enterprise Singapore โดยกำหนดปริมาณนำเข้าประจำเดือน(Monthly Import Quantity : MIQ) สำหรับ White Rice จำนวนขั้นต่ำ 50 ตัน/เดือน ส่วน MIQ สำหรับ Ponni Rice, Parboiled Rice และ Basmati Rice ไม่มีการกำหนดปริมาณขั้นต่ำ

9. อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ในไตรมาสแรก ปี 2554 มีอัตราร้อยละ 1.9 กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (Ministry of Manpower : MOM) กล่าวว่า มีอัตราลดลงจากร้อยละ 2.2 ของอัตราในเดือนธันวาคม 2553 และเป็นอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 ทั้งนี้ ตำแหน่งงานระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2554 มีจำนวน 23,700 อัตรา ซึ่งลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ลดลงร้อยละ 30) ปัจจจัยสำคัญที่สนับสนุนการจ้างงาน คือ Integrated resorts และการฟื้นตัวจากช่วงเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2552 ทำให้ภาคธุรกิจบริการมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก ปี 2554 จำนวน 22,800 อัตรา โดยเฉพาะความต้องการพนักงานเพิ่มขึ้นในกลุ่ม financial services, oil and gas และ health-care นอกจากนี้ ภาคการก่อสร้างได้จ้างพนักงานเพิ่มขึ้น 1,100 อัตรา อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตลดลง 500 อัตรา อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า การจ้างงานลดลงเนื่องจากภาครัฐมีระเบียบจำกัดเพิ่มขึ้นในการจ้างแรงงานต่งชาติ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการจ้างคนงานสูงขึ้นและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอีก ทั้งนี้ สรุปสถิติการจ้างงานจาก MOM ดังนี้

                                                      1Q10      2Q10      3Q10      4Q10     *1Q11
Job created                                          36,500    24,900    20,500    33,900    23,700
-Services                                            33,400    25,400    21,300    30,900    22,800
-Construction                                         -400     2,000       -        900      1,100
-Manufacturing                                       3,100     -2,300     -700     -1.200     -500
Overall unemployment rate at end of period  (%)       2.2       2.2       2.1       2.2       1.9
Resident unemployment rate at end of period (%)       3.3       3.1       3.1       3.1       2.7
*Preliminary estimates, Figures may not add up due to rounding

10. Singapore Manufacturers’ Federation (SMa) มีแผนการจัดตั้งสถาบันเพื่อส่งเสริมภาคการผลิตในสิงคโปร์ ให้บริษัท SMEs ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 90 ของบริษัทในภาคการผลิตให้ได้รับการฝึกอบรมจากผู้มีความรู้ความชำนาญระดับ “black belt practitioners” ในด้านบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อให้บริษัทสามารถเพิ่มผลผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่ง SMa คาดว่า จะเปิดสถาบันได้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ทั้งนี้ จากการสำรวจของบริษัท Frost & Sullivan ปรากฎว่า บริษัท SMEs จำนวน 300 ราย ได้ให้ความสนใจและร่วมปรึกษาหารือรายละเอียดเชิงลึก นอกจากนี้ พบว่า บริษัท SMEs ร้อยละ 60 ไม่มีแผนการดำเนินการเกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนาสินค้า อย่างไรก็ตาม มีความประสงค์ที่จะส่งสินค้าไปยังตลาดใหม่ๆ ได้แก่ Uzbekistan และ Argentina

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2554

1. ผช.ผอ. นำคณะนักธุรกิจสิงคโปร์เยือนงาน BIG & BIH 2011 ระหว่างวันที่ 19-24 เมษายน 2554 โดยคณะรวม 13 ราย แบ่งออกเป็น VVIP 2 ราย VIP 5 ราย และ TM 6 ราย

2. ผช.ผอ. นำคณะนักธุรกิจสิงคโปร์เยือนงาน BIFF & BIL 2011 ระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2554 โดยคณะรวม 9 ราย แบ่งออกเป็น VVIP 2 ราย VIP 2 ราย และ TM 5 ราย

3. ดำเนินการเชิญนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าเยือนงาน ThaiFex 2011 (ระหว่างวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2554 )

4. ประสานการลงโฆษณางาน Bangkok RHVAC 2011 และ Bangkok E&E 2011 ในสื่อสิ่งพิมพ์สิงคโปร์

5. ประสานงานเสนอชื่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์งาน The 8th Thailand International Logistics Fair 2011

6. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง คือ

  • Giant (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 6-19 พฤษภาคม 2554) )
  • FairPrice (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 12-25 พฤษภาคม 2554) และ
  • Isetan (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 3-16 มิถุนายน 2554)

7. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition ณ VivoCity (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน 2554)

8. ประสานงานการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์กรมส่งเสริมการส่งออกในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ (สิงคโปร์)

9. ประสานเชิญชวนและจัดคณะนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้า Bangkok Gems and Jewelry Fair 2011 (September), Thailand International Logistic Fair 2011

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ