๑. ตลาดสินค้าประมงแช่แข็งในอิตาลี
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งในอิตาลี จะเห็นได้จากสถิติการขยายตัวที่สูงขึ้นแม้ว่าจะมีภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกลับส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารทะเลแช่แข็งมากขึ้นเนื่องจากเห็นว่าอาหารทะเลแช่แข็งส่งผลต่อสุขภาพพอๆกับอาหารสดแต่ราคาไม่แพงและง่ายต่อการนำไปใช้ปรุงอาหาร ในแง่ของการบริโภคอาหารแช่แข็ง ประเทศอิตาลีมีการบริโภคนำหน้าประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ แม้ว่าจะมีการบริโภคในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าก็ตาม
เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มดีดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่าสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งจะมีบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ผู้ผลิตจะสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ทั้งในเรื่องคุณภาพและการพัฒนาด้านคุณค่าทางโภชนาการด้วย โดยเฉพาะในปัจจุบันการใช้ชีวิตแบบใหม่ได้รวมเอาอาหารทะเลแช่แข็งเข้าไว้เป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของอาหารประจำวันในครอบครัวอิตาลีไปแล้ว กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่บริโภคอาหารทะเลแช่แข็งได้แก่ ครอบครัวที่มีเวลาจำกัดในการปรุงอาหาร กลุ่มคนหนุ่มสาวหรือคนโสดที่ต้องการความสะดวกสบาย รวมถึงผู้สูงวัยที่สนใจในเรื่องสุขภาพ
๑.๑ อัตราการบริโภค
อัตราการบริโภคอาหารทะเลแช่แข็งต่อหัวในอิตาลีสูงขึ้น กล่าวคือ จากเดิม ๑๐ กิโลกรัมต่อหัวในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาเป็น ๒๒ กิโลกรัมต่อหัวในปัจจุบัน แต่ยังคงต่ำกว่าบริโภคต่อหัวเมื่อเทียบกับประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ ได้แก่ สเปน (๔๐ กิโลกรัมต่อหัว) ฝรั่งเศส (๓๐ กิโลกรัมต่อหัว) และเยอรมัน (๒๗ กิโลกรัมต่อหัว)
อย่างไรก็ดี บริษัทผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งใหญ่ๆ มีการนำเสนอสินค้าอาหารปลาแบบพร้อมรับประทานรวมการให้บริการระดับสูงที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคที่ไม่มีความรู้เรื่องการปรุงอาหารที่ซับซ้อน
จากกระบวนการแช่แข็งปลาเป็นเวลานานโดยไม่ใส่สารปรุงแต่งใดๆ ทำให้สามารถหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ การรักษาอุณหภูมิจะทำให้รักษาคุณสมบัติทางโภชนาการและลักษณะเฉพาะของปลา (สี รสชาด กลิ่นและความสม่ำเสมอ) การซื้ออาหารทะเลแช่แข็งมีความสะดวกและมีคุณภาพสูงสำหรับน้ำหนักสุทธิและสูญเสียน้อย แต่ผู้นำเข้าอิตาเลี่ยนส่วนใหญ่มักซื้อจำนวนมากและขายในราคาที่แข่งขันได้ ทั้งนี้ความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาที่นำเข้ากระบวนการมีการขยายตัวขึ้นแต่การบริโภคอาหารทะเลยังคงมีความสม่ำเสมอโดยยังนิยมสินค้าธรรมชาติ (ปลาทั้งตัว เนื้อปลา ปลาหมึก และปลาหมึก octopus ขนาดเล็ก)
๑.๒ ลักษณะสินค้า
ผู้คนคงจะสามารถจินตนาการคำว่า "แช่แข็ง" ได้ในรูปแบบของปลาแช่แข็ง เช่น ปลาค๊อด หรือ ปลา finger เนื่องจากได้มีการเปิดตัวในตลาดมานานพอสมควร แต่ในปัจจุบันได้เริ่มมีการทำการศึกษาอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการค้นพบคุณค่าที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลว่าเป็นแหล่งที่มาของโปรตีนและเกลือแร่ โดยแท้จริงแล้วปลาแช่แข็งยังคงรักษาคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้ดีกว่าปลาสดที่ค้างอยู่ในร้านค้าสองวันด้วยซ้ำ ยิ่งไปกว่านั้นสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งก็ไม่มีของเสียทำให้สามารถประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ง่ายกว่าด้วย สินค้าอาหารทะเลแช่แข็งยังได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์และนักโภชนาการในเรื่องคุณสมบัติด้านสุขภาพอีกด้วย
อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งมีการนำเสนอความหลากหลายของสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการทุกอย่างได้ โดยเริ่มจากปลาเล็กไปถึงชิ้นปลาของปลาใหญ่ จากซุปไปถึงกุ้งหอยปูและ crustaceous หรือแม้แต่อาหารที่สร้างสรรค์ไปถึงอาหารพร้อมรับประทาน ๑.๓ การขาย
ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดการผลักดันให้มีการเสนอขาย เนื่องจากผลของยอดขายอาหารทะเลแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปีที่ผ่านมา กล่าวคือคนอิตาเลี่ยนซื้อสินค้าชนิดนี้มากขึ้น โดยเฉพาะอาหารทะเลแช่แข็งกลายเป็นส่วนหนึ่งของการสั่งซื้อและมีการเก็บสต๊อกเอาไว้ในบ้านครอบครัวอิตาเลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ ๑.๔ อัตราความถี่การบริโภคสินค้าประมงในอิตาลีปี ๒๕๕๓
หน่วย : ร้อยละของผู้บริโภคในอิตาลี
อัตราความถี่ อาหารสด อาหารแช่แข็ง มากกว่า ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ ๓๑ ๒๕ ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ ๓๘ ๒๕ ๑ ครั้งต่อสองสัปดาห์ ๒๕ ๓๘ ๑ ครั้งต่อเดือน ๖ ๑๒๑.๕ ลักษณะของผู้บริโภคอาหารแช่แข็ง รูปแบบการดำเนินชีวิต (style of life) กลุ่มเป้าหมายคือหนุ่มสาวที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีรายได้ระดับกลางสูง เหตุผลในการซื้อสินค้า การบริการและต้องการทดลองอาหารเมนูท้องถิ่นหรืออาหารต่างชาติ
๒. ตลาดกุ้งในอิตาลี (การผลิตและการบริโภค)
๒.๑ การผลิตกุ้ง
อิตาลีซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของกุ้งแต่ไม่มีภาคการผลิตที่สำคัญในประเทศเลย ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศและอุณหภูมิไม่เหมาะสม ดังนั้นปริมาณการผลิตกุ้งของอิตาลีจึงมีอย่างจำกัดและอาศัยการนำเข้าเป็นหลักเพื่อสนองตอบต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ การผลิตทั้งหมดเป็นการผลิตตามธรรมชาติและมีราคาสูงมากคือ ๑๓ ยูโรต่อครึ่งกิโล (ภาพประกอบด้านล่าง)
ตารางแสดงปริมาณการผลิตกุ้งในอิตาลีในปี ๒๕๔๘ - ๒๕๕๓ (หน่วย: พันตัน) แหล่งผลิต ปี ๒๕๔๘ ปี ๒๕๔๙ ปี ๒๕๕๐ ปี ๒๕๕๑ ปี ๒๕๕๒ ปี ๒๕๕๓ อิตาลี ๑๘ ๑๘ ๑๓ ๑๖ ๑๖ ๑๙แต่เนื่องจากมีการบริโภคภายในประเทศสูงมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน อิตาลีจึงพึ่งพาการนำเข้ากลุ่มกุ้งหอยปูและ crustacean เป็นหลัก และทำให้มีสถิติการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี ๒.๒ การบริโภคกุ้งในอิตาลี
อิตาลีเป็นหนึ่งในตลาดหลักของสหภาพยุโรปสำหรับสินค้ากุ้ง ดังจะเห็นได้จากอัตราการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนี้กุ้งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในอิตาลี ความสำคัญของกุ้งอยู่ที่วัตถุประสงค์ในการนำกุ้งไปใช้ โดยหลักจะนำกุ้งไปเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและการใช้บริโภค อุตสาหกรรมอาหารมักจะนำกุ้งไปใส่ในอาหารพร้อมรับประทาน (พิซซ่า แกงและสลัดอาหารทะเล) ชุปปลา ค๊อกเทลกุ้งและอาหารว่าง ในส่วนของกุ้งที่นำไปบริโภคจะนำเสนอในรูปแบบปอกเปลือกแล้ว บรรจุและนำไปขายในแบบแช่เย็น แช่แข็งหรือบรรจุกระป๋อง ซึ่งนำไปจำหน่ายในภาคการรับบริการจัดเลี้ยงและกลุ่มผู้ค้าปลีก
ตารางแสดงปริมาณการบริโภคกุ้งในอิตาลีในปี ๒๕๔๘ - ๒๕๕๓ (หน่วย: พันตัน) แหล่งบริโภค ปี ๒๕๔๘ ปี ๒๕๔๙ ปี ๒๕๕๐ ปี ๒๕๕๑ ปี ๒๕๕๒ ปี ๒๕๕๓ อิตาลี ๕๔ ๖๒ ๖๑ ๗๘ ๘๘ ๘๖ ที่มา : FISHSTAT - FAO๒.๖ แนวโน้มการบริโภคกุ้ง
ปริมาณความต้องการกุ้งจะเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงคริสมาสต์เนื่องจากผู้บริโภคที่มีฐานะดีจะนำเสนออาหารที่หรูหราในการจัดเลี้ยงฉลองเทศกาลดังกล่าว ในขณะเดียวกันช่วงฤดูร้อนร้านอาหารตามชายทะเลก็จะขายอาหารทะเลเพิ่มขึ้นให้แก่นักท่องเที่ยว การบริโภคกุ้งในอิตาลีส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอิตาลีซึ่งมีการบริโภคมากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับทางภาคใต้ (ซึ่งตามความนิยมดั่งเดิมจะบริโภคปลาสดมากกว่า) นอกจากนี้ในภาคการบริการจัดเลี้ยงมีเมนูกุ้งชุบเกล็ดขนมปังทอด และกุ้งทอดที่เป็นที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายรวมถึงอาหาร finger food ด้วย สำหรับในภาคธุรกิจค้าปลีก ในปี ๒๕๕๓ พบว่า ยอดขายของกุ้งแช่แข็ง กุ้งปอกเปลือกมีจำนวนสูงมากแม้ว่าจะมีวิกฤตด้านเศรษฐกิจและวิกฤตหนี้สินเกิดขึ้นก็ตาม ดังนั้นจึงเป็นที่คาดการณ์ว่า ผลจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึงจะส่งผลให้ยอดขายกุ้งในปี ๒๕๕๔ เพิ่มสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้จากการที่ครอบครัวอิตาเลี่ยนดำเนินชีวิตแนวใหม่จึงส่งผลให้กลุ่มสินค้าแช่แข็งและกลุ่มของดองเพิ่มขึ้น เนื่องจากการปรับปรุงเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นและสามารถตอบสนองทั้งด้านความต้องการใช้งาน ความรวดเร็วในการจัดเตรียม รสชาดและสุขภาพด้วย
๓. การนำเข้าและการส่งออก
๓.๑ การนำเข้า
อิตาลีนำเข้าสินค้าประมง (พิกัด ๐๓) จากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ ๔,๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี ๒๕๕๓ นำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า ๔,๒๐๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๒ ซึ่งมีมูลค่า ๓,๙๐๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +๗.๗๖% และในปี ๒๕๕๔ (มค. - กพ.) นำเข้ามูลค่า ๖๕๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า ๕๕๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๑๗.๑๙% ประเทศที่นำเข้าหลักได้แก่ สเปน เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และกรีซ
ในส่วนของเฉพาะสินค้ากุ้ง (พิกัด ๐๓๐๖๑๓) อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ ๔๓๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี ๒๕๕๓ นำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า ๔๔๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๒ ซึ่งมีมูลค่า ๔๐๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๙.๑๘% และในปี ๒๕๕๔ (มค. - กพ.) นำเข้ามูลค่า ๕๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า ๔๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๒๓.๘๗% ประเทศที่นำเข้าสำคัญ ๕ ประเทศ ได้แก่ เอกวาดอร์ (สัดส่วน ๓๑%) อาร์เจนติน่า (สัดส่วน ๑๕%) สเปน (สัดส่วน ๑๒%) อินเดีย (สัดส่วน ๑๐%) และเดนมาร์ก (สัดส่วน ๕%) โดยไทยอยู่ในอันดับที่ ๖ (สัดส่วน ๕%)
การนำเข้าจากไทย สถิติการนำเข้าสินค้าประมงจากไทยในปี ๒๕๕๓ อิตาลีนำเข้ามูลค่า ๑๔๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๒ ซึ่งมีมูลค่า ๑๕๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๓.๕๖% และในปี ๒๕๕๔ (มค. - กพ.) นำเข้าจากไทยมูลค่า ๒๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า ๑๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +๕๓.๕๐% โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่คือปลาหมึกแช่แข็ง (squid, cuttlefish) และหอย Mollusc แช่แข็ง
ส่วนการนำเข้าเฉพาะสินค้ากุ้งจากไทย อิตาลีเฉลี่ยปีละ ๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี ๒๕๕๓ นำเข้าจากไทยมูลค่า ๑๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๒ ซึ่งมีมูลค่า ๑๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๒๐.๐๔% และในปี ๒๕๕๔ (มค. - กพ.) นำเข้ามูลค่า ๒.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า ๑.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๖๐.๖% ๓.๒ การส่งออก
อิตาลีส่งออกสินค้าประมงไปทั่วโลกเฉลี่ยปีละ ๕๑๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี ๒๕๕๓ ส่งออกไปทั่วโลกมูลค่า ๔๘๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๒ ซึ่งมีมูลค่า ๔๙๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๒.๐๘% และในปี ๒๕๕๔ (มค. - กพ.) ส่งออกมูลค่า ๗๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งส่งออกมูลค่า ๗๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +๑.๙๑% ประเทศที่อิตาลีส่งออกหลัก ๕ อันดับแรก ได้แก่ สเปน (สัดส่วน๔๒%) เยอรมัน (สัดส่วน ๑๓%) กรีซ (สัดส่วน ๙%) ออสเตรีย (สัดส่วน ๕%) และโรมาเนีย (สัดส่วน ๔%)
สถิติการส่งออกสินค้าประมงของอิตาลีไปไทยมีไม่มากโดยเฉลี่ยปีละ ๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี ๒๕๕๓ อิตาลีส่งออกมูลค่า ๐.๔๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๒ ซึ่งมีมูลค่า ๐.๘๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๔๕.๘๗% และในปี ๒๕๕๔ (มค. - กพ.) อิตาลีส่งออกมูลค่า ๐.๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า ๐.๑๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๔๕.๒๙% โดยสินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่คือ ปลาหมึกสด (squid, octopus) และหอยสด Mussel และกลุ่มสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งแช่แข็ง (crustacean) กุ้ง (shrimp) กุ้งใหญ่ (prawn) เป็นต้น
๔. ราคา
๔.๑ ราคานำเข้า (FOB)
แหล่งนำเข้า กุ้ง Vannamai ปอกเปลือก กุ้ง Vannamai ทั้งตัว ต่อ ๑ กิโล (ยูโร) ต่อ ๑ กิโล (ยูโร) เอกวาดอร์ ๔.๗๐ - ๕.๓๐ ๕.๔๐ - ๖.๗๐ อาเจนตินา ๕.๒๐ - ๖.๓๐ ๕.๗๐ - ๖.๕๐ อินเดีย ๔.๙๐ - ๕.๙๐ ๕.๙๐ - ๖.๔๐ ไทย ๕.๙๐ - ๖.๙๐ ๖.๔๐ - ๗.๐๐บริษัท เอเชียนสุราษฎร์ และ บริษัท Asian Seafood Coldstorage ผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่มายังอิตาลี
๔.๒ ราคาขายปลีกกุ้งในอิตาลี
ร้านไฮเปอร์มาร์เก็ตในอิตาลีจะขายอาหารทะเลแช่แข็งในลักษณะแพ็ค ๒๕๐ กรัมหรือ ๕๐๐ กรัม และไม่ระบุประเทศต้นกำเนิดสินค้า (จะระบุแหล่งที่จับได้แทน เช่น ทะเลแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติค) กลุ่มอาหารทะเลแช่แข็งได้แก่ กุ้ง กุ้งใหญ่ ปลาหมึก cuttlefish ปลาหมึกยักษ์ octopus และอาหารทะเลผสม (มีลักษณะแบบเสียบไม้ย่าง สลัดทะเลและชุดผสมสำหรับราดหน้าพาสต้าและข้าว risotto)
ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๕๐ เป็นสินค้าที่มีแบรนด์ (ของผู้จัดจำหน่าย/ไฮเปอร์มาร์เก็ต) และส่วนที่เหลือจะแบ่งออกเป็น ๓ - ๔ แบรนด์หลักในตลาด อาหารทะเลแช่แข็งทั้งหมดได้มีการทำความสะอาดแล้ว ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่กุ้งไทยจะมีจำหน่ายอยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตในตอนเหนือ เช่น Esselunga, Billa และ Picard
๔.๓ ระยะเวลาการนำเข้า
ผู้นำเข้าอิตาลีแจ้งว่า จะนำเข้ากุ้งเป็นประจำตลอดปี โดยช่วงเวลาที่นำเข้ามากที่สุดคือ ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและช่วงฤดูร้อน กล่าวคือ นำเข้าช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคมสำหรับเทศกาลคริสมาสต์ และช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายนสำหรับฤดูร้อน
๕. ภาษีนำเข้า
๕.๑ อัตราภาษีนำเข้า
ปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้ากุ้งดิบแช่แข็งและกุ้งต้มสุก (ซึ่งไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร GSP เช่นเดียวกับอาร์เจนตินา อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ได้แก่ กุ้งดิบแช่แข็ง ๔.๒% และกุ้งต้มสุกแช่แข็ง ๗%
ส่วนเอกวาดอร์ (ผู้ส่งออกอันดับแรกมายังอิตาลี) มีอัตราภาษีนำเข้าถูกกว่าคือ กุ้งดิบแช่แข็ง ๓.๖% และกุ้งต้มสุกแช่แข็ง ๐%
๕.๒ กฎระเบียบการนำเข้า
- ผู้ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งจากประเทศไทยจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกได้ที่ดำเนินการตรวจรับรองโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของไทยและหน่วยงานของสหภาพยุโรป
- การจัดส่งสินค้าต้องแนบใบรับรองด้านสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของไทย
- สินค้าที่มาถึงท่าเรือจะได้รับการเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปตรวจสอบด้านสุขอนามัยโดยกระทรวงสาธารณสุขของอิตาลีให้สอดคล้องกับระเบียบของสหภาพยุโรป
๖. คู่แข่งที่สำคัญของไทย
ประเทศที่ส่งออกกุ้งมาอิตาลีมากที่สุดคือ เอกวาดอร์ ตามด้วยอาร์เจนติน่า อินเดียและไทย นอกจากนี้ได้แก่ จีน อินโดนีเซียและเวียดนาม
๖.๑ เอกวาดอร์
ประเทศเอกวาดอร์เป็นผู้ส่งออกสินค้ากุ้งมายังอิตาลีมากที่สุดและเป็นหนึ่งในประเทศด้อยพัฒนาที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการประมงที่น้อยที่สุดโดยเฉพาะกุ้ง นอกจากกุ้งแล้วเอกวาดอร์ยังส่งออกสินค้าสำเร็จรูปหลากหลายและเนื้อปูทั้งในรูปแบบแช่แข็งและปลาแห้งและผลิตภัณฑ์อบแห้งอื่นๆ
๖.๒ อาร์เจนติน่า
ในอิตาลีกุ้งจากอาร์เจนติน่าถือได้ว่ามีคุณภาพสูงและมีราคาต่ำกว่าไทย ทั้งนี้ผู้นำเข้าอิตาลีแจ้งว่า ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งจากอาร์เจนติน่ามีราคาต่ำกว่าไทยประมาณ ๐.๕๐ เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม
๖.๓ อินเดีย
อินเดียจัดว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นคู่แข่งของไทย เนื่องจากผู้นำเข้าอิตาลีนำสินค้าไทยไปเปรียบเทียบกับสินค้าของอินเดีย แต่พบว่ามีคุณภาพต่ำกว่าของไทย
๗. ความสามารถในการแข่งขัน
โดยหลักแล้วพบว่าราคาเป็นปัจจัยหลักในด้านการแข่งขัน อย่างไรก็ดีสินค้าของไทยมีข้อได้เปรียบในด้านมีคุณภาพสูงและสม่ำเสมอ ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ผู้กระจายสินค้าและผู้บริการจัดเลี้ยงรายใหญ่ที่ต้องการความเข้มงวดในเรื่องคุณภาพของสินค้า
๘. ช่องทางการจำหน่าย
ในอิตาลีกุ้งและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลชนิดอื่น (ทั้งแบบสดและแช่แข็ง) มีจำหน่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ช่องทางการจำหน่ายที่สำคัญที่สุดคือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งสัดส่วน ๖๕.๑% ของยอดขายทั้งหมด
ในตลาดอาหารทะเลของอิตาลี ตัวแทนขายและผู้นำเข้าเป็นจุดแรกของการจำหน่ายสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าอาหารทะเลส่วนใหญ่เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจัดเตรียมและบรรจุสินค้าให้พร้อมที่จะขายด้วย ผู้นำเข้าจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดอย่างมาก
นอกจากผู้นำเข้าแล้ว ในตลาดอิตาลียังมีกลุ่มบริษัทรายใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนขาย นำเข้าสินค้า จัดการ และขายสินค้าสดและแช่แข็ง เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่ลูกค้าในอิตาลีด้วย (ส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการจัดเลี้ยงและกลุ่มซุปเปอร์มาร์เก็ต) ผู้นำเข้าสินค้าอาหารทะเลที่สำคัญที่สุดในอิตาลีได้แก่ Mega Alimentare, Proda, Panapesca, Sagit (ยูนิลีเวอร์/Findus), โนวาและ Orogel ผู้นำเข้าเหล่านี้บางรายผลิตสินค้าของตนเองในต่างประเทศด้วย
๙. วิวัฒนาการของสินค้า
ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น อนาคตของอุตสาหกรรมกุ้งจะขึ้นอยู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและระบบการควบคุมคุณภาพในประเทศกำลังพัฒนาที่สามารถเข้าสู่มาตรฐานของสหภาพยุโรปที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และการควบคุมด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้ส่งออกกุ้งของไทยจึงต้องมุ่งเน้นด้านการเพิ่มมูลค่าสินค้ากุ้ง เช่น การบรรจุภัณฑ์และน้ำหนักชนิดพิเศษ สินค้ากุ้งชุบเกล็ดขนมปังหรือพร้อมรับประทาน เป็นต้น พร้อมทั้งจะต้องจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานสุขอนามัยแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
๑๐. ผู้นำเข้ารายใหญ่ในอิตาลี
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรมได้สัมภาษณ์ผู้นำเข้าอาหารทะเลและกุ้งในอิตาลี หลายบริษัทแจ้งว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญภาวะการแข่งขันมากขึ้นในแง่ของราคา โดยเฉพาะประเทศเอกวาดอร์ (สินค้าปลาหมึกและ crustacean) รวมถึงอาร์เจนติน่า และอินเดีย
ทั้งนี้ผู้นำเข้ารายหนึ่งแจ้งว่า ราคาอาหารทะเลของเอกวาดอร์ถูกกว่าราคาอาหารทะเลของไทยประมาณ ๕๐ เซ็นต์ต่อกิโลกรัมในขณะที่มีคุณภาพเท่ากัน แต่อย่างไรก็ดี ผู้นำเข้าอีกรายหนึ่งกลับเห็นว่า อาหารทะเลแช่แข็งของไทยมีคุณภาพดีกว่าเอกวาดอร์ อาร์เจนติน่าและอินเดีย ส่วนผู้นำเข้าอีกรายกล่าวว่า บริษัทนำเข้าอาหารทะเลจากอินเดียเพิ่มขึ้นถึงแม้ว่ามาตรฐานของโรงงานผลิตอาหารทะเลยังต่ำกว่าโรงงานในไทยแต่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันกันมากขึ้นในด้านราคา
ส่วนใหญ่บริษัท Proda นำเข้าสินค้าหอยลาย crustaceans (กุ้ง) และปลาแช่แข็ง และบางครั้งนำเข้าสินค้าจำเพาะอย่างจากบริษัทสุรพลฟู๊ดส์ในกรุงเทพ ปรกติบริษัทนำเข้าอาหารทะเลแช่แข็งเดือนละ ๕ คอนเทนเนอร์จากประเทศไทย/๒ คอนเทนเนอร์จากอินเดียและ/๔ คอนเทนเนอร์จากเอกวาดอร์ เนื่องจากบริษัท Proda นำเข้าสินค้าจากประเทศไทยหลายปีแล้วทำให้บริษัทมีอำนาจในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ เช่น ราคา การจัดส่งสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ดีบริษัทเห็นว่า ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ที่ไม่ได้นำเข้าจากบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะมักจะเลือกผู้ขายที่ให้ราคาถูกที่สุด โดยคำนึงถึงราคามากกว่าคุณภาพ
Mr. Armellini แจ้งว่าบริษัทนำเข้าสินค้าจากไทยจากบริษัทปากพนังและบริษัท Apitoon Enterprises โดยได้เริ่มกิจการด้านนี้มาเป็นเวลานานกว่า ๒๕ ปีแล้วและมีลูกค้าประมาณ ๒๐๐ รายทั่วประเทศอิตาลี รวมทั้งผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่เช่น Findus และ Arena ด้วย ในปี ๒๕๕๓ บริษัทนำเข้าสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งมูลค่า ๗ ล้านยูโรจากไทย ทั้งนี้คู่แข่งที่น่ากลัวของไทยคือเอกวาดอร์ ซึ่งมีความก้าวล้ำกว่าไทยทั้งในแง่คุณภาพ (โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำและกุ้ง) และราคาที่ต่ำกว่าไทย นอกจากนี้อินเดียและเวียดนามกำลังจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญในแง่ของราคาที่ต่ำกว่า
จากการสัมภาษณ์ Dr. Francesco Albertini ผู้บริหารของบริษัท กล่าวว่า บริษัทนำเข้าสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งจากไทยเป็นจำนวนมากและจัดส่งให้แก่ลูกค้าในอิตาลี (ส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจบริการจัดเลี้ยง และกลุ่มซุปเปอร์มาร์เก็ต) สินค้าที่นำเข้าได้แก่ ปลาหมึก squid ปลาหมึก cuttlefish และกุ้งในลักษณะแบบตู้คอนเทนเนอร์ผสม ในปี ๒๕๕๓ บริษัทนำเข้าสินค้ามูลค่าประมาณ ๖ ล้านยูโรจากไทย ประมาณ ๙๘ ตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งนี้สินค้าที่นำเข้าจากไทยจะอยู่ได้ถึง ๗-๘ เดือนทีเดียว
เอกวาดอร์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยในแง่ราคา (โดยเฉพาะปลาหมึก cuttlefish) อย่างไรก็ดี สินค้ายังไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ ส่วนมาเลเซียเป็นคู่แข่งของไทยในกลุ่มสินค้ากุ้งแต่มาตรฐานด้านคุณภาพสินค้าของไทยยังคงดีกว่า
เป็นตัวแทนขายที่สำคัญที่ทำงานกับผู้ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งและผักแช่แข็งทั่วโลก บริษัทนำเข้าสินค้าจากอาร์เจนติน่า จีน ชิลี อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย ในปี ๒๕๕๓ มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งจากไทย ๘ ล้านยูโร บริษัทขายสินค้าให้แก่ลูกค้าประมาณ ๒๐๐ รายในภาคธุรกิจบริการจัดเลี้ยง ผู้ค้าปลีกและผู้ประกอบการแบรนด์สินค้า ตัวอย่างลูกค้ารายสำคัญๆ ได้แก่ Nestle Italia, Buitoni, Mare Pronto, Findus และกลุ่มซุปเปอร์มาร์เก็ตเช่น Coop, Panorama และ Conad การร่วมทุนกับผู้นำเข้าในอิตาลีเพื่อผลิตและจัดเตรียมกุ้ง
การร่วมทุนกับบริษัทผู้นำเข้าอิตาเลี่ยนจะช่วยให้บริษัทไทยเข้าสู่ตลาดกุ้งที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มในอิตาลี ในช่วงที่ผ่านมาสคร.โรมได้ติดต่อกับผู้นำเข้าและผู้แทนจำหน่ายหลายรายในอิตาลีสำหรับกลุ่มอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อค้นหาผู้ร่วมทุนไทยเพื่อเป็นคู่ธุรกิจร่วมกัน โดยบริษัทเหล่านี้ได้เดินทางไปเยี่ยมชมงานแสดงสินค้า Thaifex 2011 เมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้ด้วย การติดต่อกับผู้แทนขายและผู้นำเข้า
ผู้ส่งออกกุ้งไทยที่ต้องการติดต่อขายสินค้าโดยตรงกับผู้แทนขายหรือผู้นำเข้าอิตาลีที่กระจายสินค้าให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ในธุรกิจร้านอาหารและการบริการจัดเลี้ยง และการกระจายสินค้า หรือการผลิตภายใต้แบรนด์ของซุปเปอร์มาร์เก็ต สามารถติดต่อกับสคร.โรมเพื่อเชื่อมโยงกับผู้นำเข้าเหล่านี้ได้ (รายชื่อผู้นำเข้าดังแนบ)
๑๒. โอกาสลู่ทางการค้าและข้อเสนอแนะ
ศักยภาพของสินค้ากุ้งแช่แข็งและกุ้งที่จัดเตรียมในอิตาลีมีสูงมากเนื่องจาก
- อิตาลีพึ่งพาการนำเข้าอย่างมากเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศทั้งสำหรับการบริโภคโดยตรงและสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ประกอบกับอิตาลีลดกองเรือประมงของตนเนื่องจากนโยบายการปกป้องพันธุ์ปลาตามข้อตกลงของสหภาพยุโรปและต่างประเทศ
- โดยทั่วไปการบริโภคกุ้งในอิตาลีสูงมากเนื่องจากกุ้งเป็นส่วนประกอบสำคัญในวัฒนธรรมอาหารอิตาเลี่ยน คนอิตาเลี่ยนยังคงจ่ายเงินซื้อสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนำไปประกอบอาหารที่บ้านและตามร้านอาหาร ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าการบริโภคในประเทศยังคงเพิ่มสูงขึ้น
- การบริโภคกุ้งในภาคเหนือสูงกว่าทางภาคกลางและภาคใต้ เนื่องจากระยะทางที่ห่างไกลจากพื้นที่ประมงทำให้ชาวอิตาเลี่ยนในภาคเหนือต้องนำเข้าสินค้า ดังนั้นจึงคาดว่าการส่งออกจากไทยไปยังภาคเหนือจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อไป
- จำนวนนักท่องเที่ยวในอิตาลีเพิ่มขึ้นโดยรวมทำให้มีการบริโภคอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวใกล้ทะเลที่มีการบริโภคอาหารทะเลและกุ้ง จึงคาดการณ์ว่าจะมีการนำเข้ากุ้งและอาหารอื่นๆ ตลอดปี ๒๕๕๔ เนื่องจากคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ๒๕% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
สคร.โรมเห็นว่า โอกาสของกุ้งไทยในอิตาลียังมีอีกมากเนื่องจากอิตาลียังคงพึ่งพาการนำเข้า รวมทั้งเป็นที่นิยมรับประทานในหมู่คนอิตาเลี่ยน อย่างไรก็ดี ผู้ส่งออกไทยควรรักษาคุณภาพมาตรฐานและสุขอนามัยของสินค้าให้อยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากได้รับการยอมรับเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ทั้งนี้สำหรับในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยราคาเป็นปัจจัยสำคัญในด้านการตัดสินใจ ซึ่งสินค้าจากประเทศอื่นมีราคาถูกกว่า ดังนั้นควรมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า โดยนำไปประกอบอาหารพร้อมรับประทาน เช่น ข้าวปั้น (ซูชิ) สลัดทะเล (แบบอิตาเลี่ยน) ผัดไท เป็นต้น สร้างความน่าสนใจให้แก่บรรจุภัณฑ์ รวมถึงสร้างความหลากหลายให้แก่สินค้า
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th