รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศไทยกับฟินแลนด์ ๒๕๕๔ (ม.ค-พ.ค)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 11, 2011 13:55 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑.ข้อมูลทั่วไป

ฟินแลนด์เป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ที่ใช้เงินสกุลยูโร เป็นตลาดขนาดเล็กเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในยุโรป มีประชากร ๕.๒๖ ล้านคน เศรษฐกิจฟินแลนด์ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ ค่อนข้างรุนแรง โดย GDP ลดลงถึงร้อยละ ๘.๒ เนื่องจากการส่งออกของอุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งฟินแลนด์เป็นผู้นำการผลิตลดลงอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจฟินแลนด์ค่อยๆฟื้นตัวทีละน้อย เศรษฐกิจโดยรวมของฟินแลนด์คาดว่าจะขยายตัวในปี ๒๕๕๔ ร้อยละ ๒.๙ จากการขยายตัวของประเทศคู่ค้า เช่น เยอรมันนี สวีเดน และรัสเซีย เป็นผลทำให้การส่งออกของฟินแลนด์มีแนวโน้มดีขึ้นไปด้วย และรวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของภาคการลงทุน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๔ คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ ๒ เป็นผลอันเนื่องมาจากความเชื่อมั่นของครัวเรือนและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิต แต่การออมมีแนวโน้มลดลง

ในปัจจุบัน ฟินแลนด์มีแนวโน้มการลงทุนที่ดีขึ้น อัตราว่างงานคิดเป็นร้อยละ ๘.๔ ในปี ๒๕๕๔ ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น กฎระเบียบทางการค้า การนำเข้าเป็นไปตามกฎระเบียบของสมาชิกสหภาพยุโรป หรืออียู ผู้บริโภคนิยมสินค้าแฟชั่น สินค้าฟุ่มเฟือย และแบรนด์ดัง นิยมซื้อสินค้าผ่าน E-commerce และมีแนวโน้มกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การค้าและการลงทุนกับฟินแลนด์มีหอการค้าไทย-ฟินแลนด์ (Thai-Finnish Chamber of Commerce) เป็นผู้สนับสนุน อุตสาหกรรมที่โดดเด่นของฟินแลนด์คือ อุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมี Nokia เป็นผู้นำในตลาดโลก และเกมส์ซอฟแวร์แอพลิเคชั่น Angry Birds ที่มีจุดกำเนิดจากฟินแลนด์ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคในขณะนี้ นอกจากนี้ ก็มีสินค้า Private Brand ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม เช่น marimekko

๒.ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศไทยกับฟินแลนด์
                                    ม.ค. - พ.ค.                ม.ค. - พ.ค.                 %เพิ่ม/ลด
                                          ๒๕๕๔                       ๒๕๕๓
การค้ารวม                                ๓๔๔.๕๕                     ๒๐๙.๙๕                    ๖๔.๑๑
การส่งออก                                ๑๖๙.๔๙                     ๑๒๑.๐๑                    ๔๐.๐๗
การนำเข้า                                ๑๗๕.๐๖                      ๘๘.๙๔                    ๙๖.๘๓
ดุลการค้า                                  -๕.๕๗                      ๓๒.๐๗                   -๑๑๗.๓๖
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ (๒๕๕๔)                                                         หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ

ในปี ๒๕๕๔ (ม.ค.-พ.ค.) การค้าระหว่างประเทศไทยกับฟินแลนด์มีมูลค่ารวม ๓๔๔.๕๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๓ ที่มีมูลค่า ๒๐๙.๙๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๔.๑๑ โดยแยกเป็น การส่งออกจากไทยไปยังฟินแลนด์มูลค่า ๑๖๙.๔๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นการนำเข้าจากฟินแลนด์มูลค่า ๑๗๕.๐๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี ๒๕๕๓ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐.๐๗ การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๖.๘๓ ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า ๕.๕๗ ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันกับปี ๒๕๕๓ ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า ๓๒.๐๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากการนำเข้าเครื่องบิน เครื่องร่อนและอุปกรณ์ ที่สูงมากขึ้น ในช่วงปี ๒๕๕๔ (ม.ค.-พ.ค.) นี้ ฟินแลนด์เป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ ๕๒ ของไทย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ ๕๐ และเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันกับที่ ๔๒ ของไทย

๓.การส่งออก

๓.๑) ในช่วง ม.ค.-พ.ค.ปี ๒๕๕๔ สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังฟินแลนด์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ๔๕.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๕.๕๑ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๙.๒๑ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ๑๓.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๓๓.๙๙ ผลิตภัณฑ์ยาง ๑๐.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔๙.๑๔ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒,๑๖๒ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในครัวและบ้านเรือน ๔.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๓๓ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ๔.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๒๖.๘๗ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ๔.๓ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๖.๕๓

๓.๒) สินค้าไทยที่มียอดการส่งออกลดลงที่สำคัญในช่วง ม.ค.-พ.ค.ปี ๒๕๕๔ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ๙.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๑.๙๓ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ๕.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๒๒.๗๑

๔.การนำเข้า

๔.๑) ในช่วง ม.ค.-พ.ค.ปี ๒๕๕๔ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฟินแลนด์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากสินค้านำเข้า ๑๐ อันดับแรก ได้แก่ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบิน และส่วนประกอบ ๔๔๐.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๕,๙๙๖.๑๐ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ๕๓.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๕๔ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ๓๔.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖๐.๑๐ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ๒๕.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒๒.๙๒ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ๒๔.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๖.๘๕ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ๑๗.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐๗.๔๓ และเคมีภัณฑ์ ๑๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘.๔๕

๔.๒) สินค้าที่มียอดการนำเข้าจากฟินแลนด์ลดลงที่สำคัญในช่วง ม.ค.-พ.ค.ปี ๒๕๕๔ มีเพียงรายการเดียวได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ๖.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๒๗.๐๑

๕.สรุปและข้อคิดเห็น

๕.๑) แม้ว่าตลาดฟินแลนด์จะมีมูลค่าการค้ากับไทยยังไม่มาก แต่ฟินแลนด์เป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยสูงติดอันดับหนึ่งใน ๕ ของโลก และเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็วกว่าประเทศอื่นในยุโรป จึงเป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจซื้อสูง ฟินแลนด์จึงเป็นอีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจในแถบยุโรปเหนือ

๕.๒) ประชากรฟินแลนด์มีความสามารถทางภาษาที่หลากหลาย เช่น ภาษาสวีเดน อังกฤษ รัสเซีย รวมทั้งทำเลที่ตั้งของฟินแลนด์ที่เชื่อมต่อกับหลายกลุ่มประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ ตลาดกลุ่มประเทศบอลติก ตลาดรัสเซีย และตลาดสหภาพยุโรป โดยฟินแลนด์ใช้กฎระเบียบการนำเข้าที่เหมือนกันกับสหภาพยุโรป แต่ได้มีการปรับกฎหมายบางอย่าง เช่น การจ้างแรงงานต่างชาติให้ผ่อนคลายกว่าประเทศสหภาพยุโรปอื่น ทำให้แรงงานไทยในสาขาบริการ เช่น พ่อครัว พนักงานนวด หรือธุรกิจท่องเที่ยว ภัตตาคาร สปา โรงแรม มีโอกาสเข้าไปทำธุรกิจได้สะดวกกว่าประเทศยุโรปอื่น

๕.๓) กลุ่มผู้มีรายได้สูงจากประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะ รัสเซียนิยมเดินทางมาพักผ่อน จับจ่ายใช้สอย รวมทั้งการทำธุรกิจ ดังนั้น ผู้ส่งออกไทย จึงอาจใช้ฟินแลนด์เป็นประตูการค้า/การทำธุรกิจเชื่อมต่อไปยังประเทศใกล้เคียงดังกล่าวข้างต้น ซึ่งสินค้าสินค้าหรือบริการที่จะนำเสนอในตลาดนี้ ควรจะมีมีคุณภาพมาตรฐาน และนำแฟชั่น เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภคในตลาดนี้ สรุปข้อมูลสำคัญของฟินแลนด์ 2553-2554

ข้อมูลทั่วไป
1.พื้นที่                           338,145 ตร.กม.
2. ประชากร                      5.26 ล้านคน (ปี 2554)
3.Exchange
(ยูโร/1 USD) 0.69 ยูโร (พ.ค. 2554)
(บาท/1ยูโร)  43.92 บาท(พ.ค. 2554)
4. GDP, Current Prices
232.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2553)
234.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2554)
5. Real GDP Growth (%)
    2.4% (ปี 2553)              2.0% (ปี 2554)
6. รายได้ต่อหัว (PPP) 35,300 เหรียญสหรัฐ/ปี (ปี 2553)
7. อัตราเงินเฟ้อ (%) 1.4% (ปี 2553)  1.8% (ปี 2554)
8. อัตราการว่างงาน (%)
8.4% (ปี 2553) 7.2% (ปี 2554)
9. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2552) แหล่งที่มาเงินทุนจากต่างประเทศมากที่สุด (ปี 2552) ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ 1,667 ล้าน$ ลักเซมเบริกส์ 1,378 ล้าน$ หมู่เกาะเวอร์จิ้น 464 ล้าน$ และนอร์เวย์ 393 ล้าน$ ภาคการค้าส่ง 1,301 ล้าน$ และภาคการบริการ 1,083 ล้าน$ เป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 10. นักท่องเที่ยว 5.69 ล้านคน (ปี 2552) กลุ่มนักท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ รัสเซีย สวีเดน เอสโทเนีย และเยอรมันนี มีนักท่องเที่ยวชาวนอร์เวย์ในไทยประมาณ 147,000 คน (ปี 2553) หรือลดลง -5.80%

ที่มา: 1.-5, 7, 8. IMF และ EIU (2011) 2. จาก Statistics Norway 3. Exchange-Rates.org และธนาคารกรุงเทพ 6. จาก CIA (2011) 9. จาก World Bank (2011) และ OECD (2011) 10. จาก Finnish Tourist Board (2011) & กรมการท่องเที่ยว (2011)

ข้อเด่นข้อด้อยของนอร์เวย์

ข้อเด่น เป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ที่ใช้เงินสกุลยูโร มีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีก้าวหน้า ปชก.รายได้สูง สามารถใช้เป็นประตูสู่รัสเซียและประเทศบอลติก ในปี 2006 มีการผ่อนปรนกฎหมายการทำงานของต่างชาติให้มีโอกาสเข้าไปทำงานมากขึ้น มีอุตสาหกรรมทางด้านโทรคมนาคมที่โดดเด่นคือ NOKIA

ข้อด้อย ตลาดขนาดเล็กเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในยุโรป อากาศหนาวเย็นเป็นเวลานาน

ช่องทางการค้าและการลงทุน มีหอการค้าไทย-นอร์เวย์ (Thai-Finnish Chamber of Commerce) เป็นผู้สนับสนุนการค้า และ Invest in Finland สนับสนุนด้านการลงทุน

กฎระเบียบทางการค้า การนำเข้า เป็นไปตามกฎระเบียบของสมาชิกสหภาพยุโรป มารยาททางการค้า การติดต่อธุรกิจเป็นไปอย่างเป็นทางการ การนัดหมายควรทำล่วงหน้า ปกติเมื่อพบปะกันนิยมจับมือทักทายและเรียกนามสกุล การสื่อสารควรเป็นไปอย่างสั้นกระชับใจความ ควรติดต่อธุรกิจกับผู้จัดการระดับกลางเนื่องจากจะเป็นผู้ตัดสินใจในการสั่งซื้อ การตรงต่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญ นิยมแต่งกายแบบเรียบง่าย การใส่ยีนส์ในสถานที่ทำงานพบเห็นได้ทั่วไป และการส่งกำหนดการประชุมเป็นสิ่งสำคัญ ไม่นิยมให้ของกำนัลราคาสูง

ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ

1. การค้าระหว่างประเทศ ปี 2553 0.09 พันล้านเหรียญสหรัฐ

2. การส่งออก

2.1 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ปี 2553 ได้แก่ กระดาษ 10.04 ล้าน$ เครื่องจักรกล 9.88 ล้าน$ เครื่องจักรไฟฟ้า 8.68 ล้าน$ พลังงาน 5.78 ล้าน$ และเหล็ก และเหล็กกล้า 4.71 ล้าน$

2.2 ตลาดส่งออกสำคัญ ปี 2553 ได้แก่ สวีเดน 7.47 ล้าน$ เยอรมันนี 6.37 ล้าน$ รัสเซีย 5.99 ล้าน$ เนเธอร์แลนด์ 4.53 ล้าน$ และสหรัฐอเมริกา 4.46 ล้าน$

3. การนำเข้า

3.1 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ปี 2553 ได้แก่ พลังงาน 12.66 ล้าน$ เครื่องจักรกล 8.22 เครื่องจักรไฟฟ้า 7.39 ยานพาหนะ 7.45 ล้าน$ และเหล็ก และเหล็กกล้า 3.03 ล้าน$

3.2 ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ปี 2553 ได้แก่ รัสเซีย 10.74 ล้าน$ เยอรมันนี 9.88 ล้าน$ สวีเดน 9.83 ล้าน$ เนเธอร์แลนด์ 5.48 ล้าน$ และจีน 3.03 ล้าน$

4. ดุลการค้า (พันล้านเหรียญสหรัฐ)7.5 (2553) 3.3 (2554)

          5. การค้ากับประเทศไทย            (2553)  (ม.ค.-มี.ค. 2554)  อัตราการขยายตัว

มูลค่าการค้ารวม 682.86 ล้าน$ 226.08 ล้าน$ 69.90%

          ไทยส่งออก          361.47  ล้าน$ 115.31 ล้าน$   49.40%
          ไทยนำเข้า          321.39  ล้าน$ 110.76 ล้าน$   98.22%

สินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ (ม.ค.-มี.ค. 2554) ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ

สินค้านำเข้าของไทยที่สำคัญ (ม.ค.-มี.ค. 2554) ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า และส่วนประกอบ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ และเคมีภัณฑ์ ตามลำดับ

ที่มา: 1. จาก OECD (2011) 2.-3. จาก Global Trade Atlas (2011) 4. จาก EIU (2011) 5. จากกระทรวงพาณิชย์ การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค นิยมสินค้าแฟชั่น Private Brand แบรนด์ดัง สินค้าเพื่อสุขภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม กระแสการซื้อสินค้าผ่าน E-commerce เพิ่มมากขึ้น

สถานการณ์ กลยุทธ์ แนวโน้ม เศรษฐกิจค่อยๆฝื้นตัวหลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อปี 2552 คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 2% ตั้งแต่ปี 2556 - 2558 ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น แนวโน้มกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

ปัญหาอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ จำนวนประชากรน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในทวีปยุโรป ปัญหาการค้าอยู่ภายใต้กรอบอียู GPS มาตรฐานคุณภาพสินค้าสูง สินค้าไทยเข้าตลาดลำบากสินค้าไทยยังไม่ได้มาตรฐานด้าน CSR ของทั้งกระบวนการผลิต

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ