การสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนา SMEs ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 21, 2011 14:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.ในสหภาพยุโรปมีกิจการ SME เป็นจำนวนทั้งสิ้นกว่า 23 ล้านกิจการ เป็นสถานที่ทำงานสำหรับคนงานกว่า 75 ล้านคน หรือราวร้อยละ 91 ของจำนวนคนงานทั่วสหภาพยุโรปสำหรับเยอรมนีมีกิจการประเภทนี้เกือบทั้งหมด กล่าวคือ ผู้ประกอบการทั้งหมดในเยอรมนีที่มีจำนวนกว่า 3.636 ล้านกิจการนั้น จะเป็นกิจการ SME 3.623 ล้านกิจการ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 99.5 กิจการ SME ทั้งหมดมีส่วนแบ่งของยอดขายทั้งสิ้นร้อยละ 36.9 คิดเป็นมูลค่า 5.36 ล้านล้านยูโร มีจำนวนคนงานทั้งสิ้น 15.175 ล้านคนหรือร้อยละ 54.5 ของคนงานทั่วประเทศ

2.กิจการที่จัดอยู่ในประเภท SME ในเยอรมนี จะเป็นกิจการต่างๆ ที่มียอดขายต่อปีไม่เกิน 50 ล้านยูโร หรือมีบัญชีการเงินวงเงินไม่เกิน 43 ล้านยูโร และมีการแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบตามจำนวนคนงาน ดังนี้

2.1 ธุรกิจขนาดไมโคร มีพนักงานไม่เกิน 10 คนยอดขายปีละไม่เกิน 10 ล้านยูโร

2.2 ธุรกิจขนาดเล็กมีพนักงานไม่เกิน 50 คน

2.3 ธุรกิจขนาดกลางมีพนักงานไม่เกิน 250 คน

ตามระเบียบของสหภาพยุโรป หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากิจการใดจะเป็น SME หรือไม่ นอกเหนือจากข้อกำหนดข้างต้นแล้ว ยังต้องดูอีกว่า กิจการนั้นๆ มีหุ้นส่วนแบบใด มีสัดส่วนเท่าใด หากหุ้นส่วนเป็นบริษัทจดทะเบียนเช่นกันจะต้องนับจำนวนคนงานและยอดขายรวมกับคนงานและยอดขายของกิจการผู้ประกอบการด้วย ตามสัดส่วนของหุ้นส่วนนั้นๆ

3.เนื่องจากกิจการ SME มีขนาดเล็ก มีขีดความสามารถการแข่งขันจำกัด โดยเฉพาะกับกิจการขนาดใหญ่ มีเงินทุนสำรองน้อย สหภาพยุโรปจึงมีนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนเสริมสร้างความสามารถ SME ในการแข่งขันให้มากขึ้น มีการกำหนดและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อช่วยให้ SME สามารถใช้ประโยชน์จากการพัฒนาและศักยภาพในเชิงนวตกรรมของตนอย่างเต็มที่ โดยในช่วงปี 2000 - 2006 สหภาพยุโรปใช้งบในการพัฒนา SME ในด้านต่างๆ เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 21,600 ล้านยูโร

4.นโยบายเพื่อการส่งเสริม SME ในด้านหลักๆ มีดังนี้

4.1 การให้ทุนสนับสนุนผู้ประกอบการที่จะก่อตั้งบริษัทใหม่ (start-up enterpreneurship) และธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้ว รวมทั้งการปรับปรุงช่องทางการใช้ประโยชน์และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะ venture capital

4.2 การส่งเสริมช่องทางในการถ่ายทอดเทคโนโลยี่และนวตกรรมให้แก่ SME

4.3 การวางระบบการฝึกอบรมที่จะช่วยพัฒนาองก์ความรู้ในเชิงก้าวหน้า (forward-looking)

4.4 การปรับลดแนวทางกฎ ระเบียบในเชิงราชการ ที่ซับซ้อน มีขั้นตอนน้อยลงเพื่อให้ SME สามารถเข้าร่วมโปรแกรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โยเฉพาะที่เกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัย

4.5 ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรม และค่านิยมในการประกอบธุรกิจของตนเอง (selfemployment) สนับสนุนทางการเงินแก่ SME เพื่อการคิดค้นนวัตกรรม

4.6 การสนับสนุนในด้านถนอมทรัพยากร อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน ลดปัญหาภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเศรษฐกิจแบบยั่งยืน

5.จากการที่กิจการ SME มีจำนวนที่มากมาย ในเรื่องการส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ จึงมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมากเช่นกัน ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ตามเว็บไซต์ http://www.foerderdatenbank.de/ ในเยอรมนีจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำแนกตามรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือและสถานที่ตั้งของหน่วยงานจำนวนทั้งสิ้น 155 สถาบันเช่น

5.1 ภาครัฐ

หน่วยงานภาครัฐที่สำคัญๆ จะเป็นกระทรวงต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับแคว้นทั้ง 16 แคว้น ที่สำคัญๆ ได้แก่

  • กระทรวงเศรษฐกิจฯ
  • กระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมฯ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงแรงงาน

5.2 ภาคเอกชน

หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น นอกเหนือจากจะมีหอการค้าและอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 82 แห่งตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศแล้ว ยังมีสมาคมการค้าต่างๆ ของอุตสาหกรรมแต่ละสาขา คอยบริการให้ความช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาคมในเรื่องการให้ข้อมูล คำแนะนำ ตลอดจนการติดต่อกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือที่เหมาะสมและสมควรได้รับ นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิต่างๆ ตลอดจนบริษัทที่ปรึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าป่วยการ ค่าธรรมเนียมมากน้อยแตกต่างกันไปตามขอบเขตของงานที่จะดำเนินการให้

6.ในส่วนของเยอรมนี กระทรวงเศรษฐกิจได้มีนโยบายเพื่อการช่วยเหลือส่งเสริมกิจการSME ที่สำคัญๆ 5 ประการ ดังนี้

6.1 การสนับสนุนให้มีการประกอบอาชีพอิสระ

ผู้ประกอบการอิสระทั้งหลาย ถือว่า เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มใหม่ๆ และนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ความเจริญก้าวหน้าของ SME ส่วนหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับบุคคลเหล่านี้ที่รู้จักโอกาส มีความรับผิดชอบ มองการณ์ไกล และสามารถทำให้ความคิดตนเป็นความจริงขึ้นได้ เนื่องจากคนหนุ่มสาวอายุ 16-25 ปี มีความใฝ่ฝันที่จะประกอบอาชีพอิสระในอนาคต ซึ่งผู้ใดก็ตามที่จะประกอบอาชีพอิสระ มีกิจการเป็นของตนเอง จะต้องได้รับการปูพื้นฐานมาแล้วตั้งแต่โรงเรียน พร้อมกับได้รับการฝึกงาน เพื่อให้มีความชำนาญ สามารถนำทฤษฎีที่ได้เรียนมามาใช้ปฎิบัติได้จริง จึงเน้นนโยบายการพัฒนาในระดับต่างๆ ได้แก่

(1)ระดับโรงเรียน ได้มีการริเริ่มโครงการ Junior ซึ่งเป็นโครงการในโรงเรียนที่ต้องการให้นักเรียนตั้งแต่ชั้น 9 (ม.3) ได้ลองฝึกฝนการจัดตั้งบริษัทเล็กๆ ขึ้น (minienterprise) โดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ด้านการตลาด การสร้างกลยุทธ์การตลาดและการวางแผนธุรกิจ โครงการได้รับความสนับสนุนจากสถาบันเศรษฐกิจเยอรมนี(Deutsches Institut fur Wirtschaft) ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเศรษฐกิจฯ

(2)ระดับอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเป็นที่เรียนรู้ เปรียบเสมือนที่เตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะก้าวออกมาทำธุรกิจอิสระ ดังนั้น หลักสูตรการศึกษา จึงต้องสอดคล้องกับการก่อตั้งธุรกิจอิสระ โดยกระทรวงเศรษฐกิจฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้สนับสนุนให้มีการว่าจ้างอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนี้เพิ่มขึ้น ในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เพื่อทำการสอนด้านการวางแผนธุรกิจและสรรหาความคิดทางธุรกิจใหม่ๆ

(3)การให้ความช่วยเหลือขั้นต้น โดยการจัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำปรึกษา เนื่องจากเห็นว่า การเตรียมพร้อมอย่างรอบคอบเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ จึงต้องการที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ไม่ต้องประสบความยากลำบาก เมื่อจะต้องเริ่มธุรกิจใหม่ๆโดยกระทรวงเศรษฐกิจฯ จะมีการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือในการให้คำแนะนำปรึกษาและการฝึกอบรมทางธุรกิจ

(4)ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่น

  • การยกเว้นหนี้ 75% จากเงินที่กู้ยืมมา (เดิมได้รับยกเว้น 50%) เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา หรือใช้ในช่วงเวลาเรียนฝึกงาน ในกรณีที่ฝึกงานสำเร็จแล้วได้เป็น Meister (ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาธุรกิจและสามารถดำเนินกิจการของตนเองได้ และสามารถรับบุคคลอื่นมาฝึกงานกับตนเองได้) พร้อมกับวงเงินจดทะเบียนตั้งบริษัทที่ไม่ต้องเสียภาษีจากเดิม 3,000 ยูโร เป็น 36,000 ยูโร
  • โดยที่ธุรกิจภายในครอบครัวจำนวนมาก ต้องประสบปัญหาการหาผู้สืบทอดกิจการ กระทรวงเศรษฐกิจฯ จึงได้ร่วมกับฝ่ายต่างๆ ในการแก้ปัญหานี้ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ช่วยหาผู้สนใจมาสืบทอดกิจการ โดยมีการโฆษณาหาผู้สนใจทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  • สำหรับผู้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านการดำเนินกิจการของตนเองจะได้รับโอกาสแก้ตัว โดยการลดระยะเวลาการห้ามทำธุรกิจลงเหลือ 6 ปี (ระยะเวลาที่ต้องใช้หนี้สินเก่าที่ยังค้างชำระอยู่)

6.2 การส่งเสริมให้มีสถานที่ฝึกงานและฝึกอบรมวิชาชีพเพิ่มเติมมากขึ้น

วัตถุประสงค์ของรัฐบาล คือ การพัฒนาระบบการศึกษาควบคู่ไปกับการฎิบัติงาน (Dual system) โดยได้จัดการอบรมฝึกงานในสาขาอาชีพใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ด้าน IT สื่อดิจิตอล รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการไปศึกษาหาประสบการณ์ในต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสด้านการหางานให้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อเสริมคุณวุฒิแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งให้ความสนับสนุนแก่ผู้ที่มีครอบครัวที่ต้องการเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมด้วย ตลอดจนการส่งเสริมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการให้การศึกษาเพิ่มเติม

6.3 การสนับสนุนโครงการที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เทคโนโลยี่

ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ทันสมัย ที่ริเริ่มโดยคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในแคว้นทั้ง 5 เขตเยอรมันตะวันออกเดิม ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้มีการระดมใช้ศักยภาพของบุคคลากรในแคว้นเหล่านี้ให้มากขึ้น

โครงการให้ความสนับสนุนด้านการเงินแก่นักธุรกิจด้านเทคโนโลยี่สมัยใหม่เน้นการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเข้าสู่ตลาด รวมทั้งการให้คำแนะนำและการสาธิตเทคโนโลยี่ใหม่ๆ

6.4 การสนับสนุนให้ SME ไปประกอบธุรกิจ ลงทุนในต่างประเทศ

ถึงแม้ว่าปัจจุบัน 1 ใน 3 ของจำนวน SME เยอรมัน จะมีการร่วมทุนหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศอยู่แล้วก็ตาม แต่โอกาสในการขยายธุรกิจของ SME ในต่างประเทศยังคงมีอยู่อีกมาก เนื่องจากการขยายจำนวนสมาชิกของสหภาพยุโรป และการดำเนินธุรกิจผ่านระบบอินเตอร์เนตที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอด มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านข้อมูลเศรษฐกิจในต่างประเทศ เช่น German Trade and investment (www.gtai.de) เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจและการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังจัดให้นักลงทุนระหว่างประเทศต่างๆทั่วโลกได้มีโอกาสได้พบปะกันปีละกว่า 30 งานโดยความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมและหอการค้าเยอรมัน มีการสนับสนุนด้านการเงินให้กับผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศโดยความร่วมมือจากสำนักงานจัดงานแสดงสินค้า (www.auma.de) เพราะถือว่าเป็นช่องทางสำคัญในการเปิดประตูไปสู่ตลาดต่างประเทศ เป็นต้น

6.5 การปรับปรุงกรอบเงื่อนไขในการดำเนินธุรกิจ

รัฐบาลเยอรมัน ได้ดำเนินการปรับปรุงและสร้างกรอบเงื่อนไขการทำธุรกิจให้ดีขึ้น แก้ปัญหาความยุ่งยากในการเปลี่ยนแปลงเจ้าของธุรกิจหรือการโอนธุรกิจ การกำหนดมาตรการลดภาษี การปฎิรูประบบเงินบำนาญ การลดขั้นตอนระเบียบราชการให้น้อยลง เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่นักธุรกิจ จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความคล่องตัว ประหยัดเงินทุน และสามารถนำเงินจำนวนนี้ไปใช้ในการลงทุนและจ้างแรงงานเพิ่มได้ โดยจะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมมาตรการในการส่งเสริม สนับสนุน ให้ทันสมัยและเหมาะสมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

7.การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน

7.1 หน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ดูแลด้านการเงินในเยอรมนี คือ Kreditanstalt fuer Wiederaufbau (KfW) เวปไซต์ www.kfw.de/kfw/en/index.jsp จะมีโครงการต่างๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถติดต่อได้โดยตรง หรือดำเนินการผ่านธนาคารที่ผู้ประกอบการได้เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ เงินทุนในรูปแบบต่างๆ ที่ได้รับจาก KfW จะจ่ายให้ผู้ขอรับผ่านบัญชีธนาคารของผู้ประกอบการเท่านั้น (ระบบ House banking) นอกจากนี้ธนาคารเอกชนในแต่ละแคว้นตลอดจนสมาคม มูลนิธิต่างๆ ยังมีบริการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในทำนองเดียวกันด้วยทั้งในรูปแบบการให้เงินกู้และการเป็นผู้ช่วย เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการติดต่อขอรับเงินช่วยจากแหล่งเงินต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

การขอรับความช่วยเหลือจาก KfW จะแบ่งออกเป็นแนวทางสำคัญ 4 ประเภท คือ

1.การส่งเสริม พัฒนากิจการของผู้ประกอบการภายในประเทศ เช่น การรับประกันเงินกู้ การสำรองเงินทุนเพื่อใช้ในการปรับปรุงกิจการ ต่อเติม ซ่อมแซมสถานประกอบการเพื่อประหยัดพลังงานหรือได้มาตรฐานตามกฎระเบียบใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เหล่านี้ เป็นต้น เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง คือwww.kfw.de/kfw/en/Domestic_Promotion/index.jsp การให้ความช่วยเหลือประเภทนี้จะให้กับผู้ประกอบการทุกราย มิได้เจาะจงให้เฉพาะผู้ประกอบการชาวเยอรมันเท่านั้น โดยมีข้อแม้ว่า สถานที่ประกอบการจะต้องตั้งอยู่ในเยอรมนี

2.การช่วยเหลือด้านการค้า การส่งออก ตลอดจนการไปลงทุนในต่างประเทศ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง คือ www.kfw-ipex-bank.de/ipex/en/index.jsp หน่วยงานนี้มีสำนักงานสาขาในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทยด้วย

3.การไปลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง คือhttp://kfw.de/kfw/en/Development_Finance/index.jsp

4.การส่งเสริมนวตกรรมใหม่และเศรษฐกิจแบบยั่งยืน เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องคือ http://nachhaltigkeit.kfw.de/EN_Home/index.jsp

ผู้ประกอบการสามารถแจ้งความประสงค์ ขอรับความช่วยเหลือผ่านทางอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ข้างต้นนี้ได้ ที่ปัจจุบันมีโครงการให้การช่วยเหลือที่หลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเงินของประเทศและของสหภาพยุโรปที่จัดตั้งขึ้นไว้สำหรับการช่วยเหลือ ส่งเสริมในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ

7.2 เงินช่วยเหลือเหล่านี้ จะเป็นทั้งการให้เปล่า 100% หรือเป็นเงินกู้ระยะยาว มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องผ่อนชำระในช่วง 3 - 5 ปีแรก เป็นต้น สัดส่วนของวงเงินที่จะมอบให้ผู้ประกอบการจะมีอัตราแตกต่างกันไป ในบางกรณีจะได้รับ 100% ตามโครงการของผู้ประกอบการ วงเงินที่ได้รับและการผ่อนชำระคืน นั้น โดยทั่วไปกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องดำเนินการผ่าน House bank ของผู้ประกอบการเท่านั้น

7.3 เงินช่วยเหลือที่จะได้รับจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปตามโครงการรูปแบบความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละราย ที่สำคัญๆได้แก่

  • เงินช่วยให้เปล่าเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบริษัทที่ปรึกษา Consultants สูงสุดไม่เกิน 8,000 ยูโร
  • เงินกู้เพื่อการก่อตั้งกิจการใหม่ ไม่เกิน 500,000 ยูโร อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ร้อยละ 1.30 ขึ้นไป
  • เงินกู้ในการปรับปรุงขยายกิจการ ประมาณ 1 ล้านยูโร สูงสุดไม่เกิน 2.5 ล้านยูโร อัตราดอกเบี้ยกำหนดโดย House

bank หรือแหล่งเงินอื่นๆ

  • เงินกู้ในการก่อตั้งสถานประกอบการในท้องที่ชนบทไม่เกิน 3 ล้านยูโรอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ร้อยละ 2.47 ขึ้นไป
  • เงินกู้ในการก่อตั้งสถานประกอบการด้านเทคโนโลยี่ไม่เกิน 6 ล้านยูโร อัตราดอกเบี้ยกำหนดโดย House bank หรือแหล่ง

เงินอื่นๆ

  • เงินกู้ในการปรับปรุงสถานประกอบการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านยูโร อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ร้อยละ

1.71 ขึ้นไป

  • เงินกู้ในการปรับปรุงหรือก่อตั้งประกอบการทั้งในเยอรมนีและในต่างประเทศสำหรับกิจการ SME โดยเฉพาะสูงสุดไม่เกิน

10 ล้านยูโร อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ร้อยละ 2.32 ขึ้นไป

  • ระยะเวลาการผ่อนชำระคืนอาจนานได้ถึง 20 ปี
  • ในบางโครงการไม่ต้องชำระค่างวดในช่วง 3 - 5 ปีแรก

8. รัฐบาลเยอรมันพยายามให้ความช่วยเหลือแก่ SME มากที่สุด ซึ่งจะประกอบด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลของแต่ละแคว้น โดยเฉพาะใน 5 แคว้นใหม่ที่อยู่ในเขตตะวันออกเดิมที่ยังต้องได้รับการบูรณะพัฒนาอีกมาก สมาคมการค้า สถานศึกษา และมูลนิธิต่างๆ ก็มีบริการให้ความช่วยเหลือเช่นกัน ในรูปของการให้คำแนะนำ ปรึกษา ความช่วยเหลืออื่นๆ การสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจ สนับสนุนด้านการเงิน การให้เงินช่วย เงินกู้เพื่อก่อตั้งกิจการ ปรับปรุงกิจการ ตลอดจนการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายการวางระบบการเรียนการสอนและการฝึกงาน ที่จะนำไปสู่การสร้าง SME ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น การวางเครือข่ายและการให้คำแนะนำปรึกษาในการนำเทคโนโลยี่ไปใช้ การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการที่ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือคิดวิธีการผลิตที่สร้างสรรค์และมีผลดีต่อเศรษฐกิจ การให้หลักประกันในการขอสินเชื่อเงินกู้ เป็นต้น ประเภทของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมมีอย่างหลากหลาย ครอบคลุมไปในหลายธุรกิจ โดยจะเน้นให้ความสำคัญมากในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การคมนาคม ระบบการขนส่ง โครงสร้างที่อยู่อาศัย การพัฒนาชนบท การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานทดแทนไปจนถึงเศรษฐกิจแบบยั่งยืน นอกจากนี้รัฐบาลเยอรมันยังมุ่งให้ประชาชนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษาหรือแม้แต่กระทั่งคนไม่มีงานทำ มีความกระตือรือร้นที่จะหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนา มีการก่อตั้งกิจการเป็นของตนเองมากขึ้นโดยให้สมาคม สถาบันการเงิน การศึกษา เข้ามาร่วมมือมีบทบาทอย่างแข็งขัน

9. รายชื่อหน่วยงานหลักของ Kreditanstalt fuer Wiederaufbau

1. KfW Bankengruppe

Palmengartenstra฿e 5-9

60325 Frankfurt am Main

Germany

Tel. +49 69 74 31-0

Fax +49 69 74 31-29 44

E-Mail: [email protected]

2.1.1 DEG - Deutsche Investitions- und Entwicklungsgesellschaft mbH

Kammergasse 22, 50676 Koln, Germany

Postfach 10 09 61, 50449 Koln, Germany

Telephone+ 49 221 4986-0

Telefax + 49 221 4986-1290

Legal StatusGmbH (Limited liability company)

2.1.2 DEG Representative Office Bangkok

Empire Tower 1905

195 South Sathorn Road

Sathorn, Yannawa

Bangkok 10120

Thailand

Phone1: +66 2 6700-558

Phone2: +66 2 6700-559

Fax: +66 2 6700-465

email: [email protected]

2.2.1 KfW IPEX-Bank

Palmengartenstr. 5-9

60325 Frankfurt am Main

Germany

[email protected]

Phone: +49 69 74 31-33 00

Fax: +49 69 74 31-29 44

Phone: +49 69 74 31-35 57

Fax: +49 69 74 31-90 15

E-Mail: [email protected]

2.2.2 KfW IPEX-Bank GmbH

Representative Office Bangkok

19th floor, Empire Tower 2

19 5 South Sathorn Road

Bangkok 10 12 0

Thailand

Phone: + 66 26 70 04 67/68

Fax: + 66 26 70 04 69

Office Director: Jens B. Bessai

E-Mail: [email protected]

Office Director: Wolfgang Kassel

E-Mail: [email protected]

3. KfW Entwicklungsbank

Palmengartenstrasse 5-9

60325 Frankfurt am Main

Phone: +49 69 74 31-42 60

Fax: +40 69 74 31-33 63

E-Mail: [email protected]

4. Economics Department (Environment and Sustainability) of KfW

Palmengartenstrasse 5-9

60325 Frankfurt am Main

E-Mail: [email protected]

Sustainability

  • Dr Karl Ludwig Brockmann

Group Environment and Sustainability Officer

Phone +49 (0) 69 - 7431-0

E-Mail: [email protected]

Corporate social responsibility

  • Dr Martina K๖chling

Head of Internal Communication, CSR

Phone +49 (0) 69 - 7431-0

E-Mail: [email protected]

Sustainabable investment

  • Dr Bernd Siegfried

Head of Investor Relations Financial Markets

Phone +49 (0) 69 - 7431-0

E-Mail: [email protected]

Dr Solveig Pape-Hamich

Head of Asset Allocation & Investmentstrategies

Phone +49 (0) 69 - 7431-0

E-Mail: [email protected]

Corporate governance

  • Thorsten Wagner

Group Chief Compliance Officer

Phone +49 (0) 69 - 7431-0

E-Mail: [email protected]

Programmes and products

  • Infocenter

E-Mail: [email protected]

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรุงเบอร์ลิน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ