รายงานผลโครงการงานแสดงสินค้า AUTOMEC 2011 นครเซาเปาโล ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 12, 2011 15:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.ภาพรวมโดยทั่วไปของงานแสดงสินค้า

การจัดโครงการงานแสดงสินค้า AUTOMEC 2011 ณ นครเซาเปาโล ประเทศ บราซิล เป็นงานแสดงสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ ที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งในภูมิภาคละตินอเมริกา ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 11 และจัดขึ้นทุกปีเพื่อเจราธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการขายปลีก

งานแสดงสินค้า AUTOMEC 2011 มีกำหนดการจัดงานในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ณ Pavilhใo de Exposi๕es do Anhembi เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล กรมฯ เข้าร่วมงานเป็นครั้งแรกในรูปแบบ Showcase and Information Stand โดยจองพื้นที่ประมาณ 120 ตารางเมตร สำหรับผู้เข้าร่วมงานจากประเทศไทย 15 บริษัท จัดพื้นที่แสดงแบ่งเป็นส่วนจัดแสดงสินค้า (Showcase) ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด อีกร้อยละ 30 จัดเป็นส่วนเจรจาการค้า

2. การก่อสร้างคูหาประเทศไทย

2.1 การก่อสร้างคูหาประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัท SAGITUR VIAGENS TURISMO EMPR. E PART. LTDA บริษัทสามารถก่อสร้างคูหาแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา และดูแลความเรียบร้อยตลอดงาน

2.2 การออกแบบคูหา ในภาพรวมเรียบง่าย มีการใช้สีเขียวเพื่อให้สอดคล้องกับสี Key visual ของงาน Thailand Auto Parts & Accessories (TAPA 2012) แต่คูหาของประเทศไทยอยู่ด้านหลังของงานจึงไม่สามารถมองเห็นได้ง่ายจากด้านหน้า อย่างไรก็ตามหากในครั้งต่อไปการตกแต่งคูหาสามารถปรับให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เช่นให้ป้ายสัญญลักษณ์ประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูงชิดกับเพดานเหมือนกับคูหาของประเทศอื่นๆ เช่น จีน บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี เพื่อดึงผู้สนใจเข้าชมดูหาไทยมากขึ้น

3.ผู้เข้าร่วมงาน

3.1 สำหรับปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้ามากกว่า 2,000 ราย จากผู้เข้าร่วมงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของ International Pavilion มีประมาณ 30 ประเทศ อาทิ บราซิล (450คูหา) จีน (241 คูหา) ไต้หวัน (250 คูหา) อิตาลี (19 คูหา)อินเดีย (16 คูหา) เกาหลี (14 คูหา) เม็กซิโก ตุรกี ฮ่องกง มาเลเซีย และ ไทย เป็นต้น โดยมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 90,000 ราย

3.2 กรมฯ ได้นำคณะผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมงานจำนวน 15 ราย ประกอบด้วยสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ยาง หม้อน้ำระบายความร้อน กันชน ผ้าเบรก ไส้กรองต่างๆ ไดร์สตาร์ท สายไฟ ไฟหน้าและไฟท้ายสำหรับแต่งรถยนต์ต่างๆ เป็นต้น

3.3 บริษัทที่เข้าร่วมงานกับกรมฯ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์และความชำนาญในการเข้าร่วมงานและเจรจาการค้าเป็นอย่างดีและบริษัทที่เข้าร่วมงานเป็นครั้งแรกได้มีโอกาสในการสำรวจตลาดลาตินอเมริกา ทำให้สามารถประชาสัมพันธ์สินค้าและได้พบลูกค้าเป้าหมายตามความต้องการ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงมีความต้องการจะเข้าร่วมงานกับกรมฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมั่นใจในศักยภาพการผลิตและรักษาลูกค้ารายเดิมไว้ รวมทั้งหาลูกค้ารายใหม่ๆเพิ่มเติม นับว่าประสบความสำเร็จในการเข้าร่วมงานครั้งนี้เป็นอย่างดี

4. ด้านสินค้าและตลาด

4.1 สินค้าไทยที่นำไปจัดแสดงในงานได้รับความสนใจจากผู้ซื้อในบราซิล และผู้ซื้อในแถบละตินอเมริกา ในระดับที่ดี เนื่องจากสินค้าไทยยังเป็นสินค้าที่ค่อนข้างใหม่ในภูมิภาคนี้ จึงต้องให้ลูกค้าลาตินอเมริกาได้เห็นศักยภาพของสินค้าไทยว่าเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าของประเทศ คู่แข่ง ได้แก่ จีน อินเดีย โดยเฉพาะสินค้าประเภทไส้กรองน้ำมัน ไส้กรองอากาศรถยนต์ ผ้าเบรก กันชนรถปิกอัพ หม้อน้ำระบายความร้อน ผลิตภัณฑ์ยาง ได้รับความสนใจทั้งจากลูกค้าลาตินอเมริกาเป็นอย่างมาก

4.2 สำหรับช่องทางการจำหน่ายสินค้าในบราซิล ต้องเร่งดำเนินการหาผู้แทนจำหน่ายเนื่องจากภาวะการเก็บภาษีที่ค่อนข้างสูงทำให้การขายโดยตรงกับลูกค้าไม่สามารถทำได้อย่างสะดวกเท่าที่ควร นอกจากการขายตรงแก่ผู้นำเข้าแล้ว ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสนใจในการจำหน่ายปลีกให้แก่ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น Super Stores หรือ Discount Stores รวมทั้งการจำหน่ายแก่ผู้บริโภคในลักษณะ Mail Order ผ่านระบบ Internet แต่การดำเนินการในลักษณะนี้ควรมีสำนักงานตัวแทนทำหน้าที่เป็นแหล่งกระจายสินค้า (DN)

5.ผลการเจรจาการค้า

5.1 จำนวนนักธุรกิจที่เข้าร่วมเจรจาการค้ากับผู้เข้าร่วมงานของไทย จำนวนประมาณ 220 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจจากบราซิล ประเทศในแถบเอเซียจากบูตใกล้เคียงกัน

5.2 สำหรับผลการเจรจาซื้อขายนั้น ยังไม่มีการสั่งซื้อทันทีเนื่องจากยังติดปัญหาเรื่องราคา และขั้นตอนการนำเข้า และคาดว่าจะมียอดสั่งซื้อภายใน 1 ปี อีกประมาณ 1,422,500.00 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 43,315,125 ล้านบาท และมีผู้เข้าร่วมงานบางรายที่ไม่สามารถแจ้งประมาณมูลค่าการซื้อขายได้ เนื่องจากยังคงต้องมีการเจรจาและติดตามผลอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่พอใจกับผลการเจรจาในงานครั้งนี้

6.อุปสรรคทางการค้า

6.1 สินค้าไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น จีน อินเดีย ไต้หวัน เกาหลีใต้

6.2 ปัญหาเรื่องกฎระเบียบและการกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้า

6.3 ความแตกต่างของกฏหมายและกฎระเบียบในระดับท้องถิ่นกับกฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาลกลาง เนื่องจากระบบการปกครองแบบกระจายอำนาจ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความสับสนด้านการค้าในแต่ละมลรัฐได้

6.4 ค่าระวางเรือมีอัตราสูงกว่าประเทศอื่นๆ

6.5 ภาษีนำเข้าวัตถุดิบสูง

6.6 สินค้าถูกลอกเลียนแบบ

6.7 ค่าเงินบาทแข็งตัว

สคร. ณ นครเซาเปาโล

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ