สรุปภาวะตลาดสินค้าผลไม้สดของเยอรมนี เดือนกันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 4, 2011 15:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างตลาดสินค้าผลไม้ของเยอรมนี ประกอบด้วย

1. ผลไม้สด ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง

2. ผลไม้กระป๋องหรือแปรรูป

3. น้ำผลไม้

การผลิตภายในประเทศ จากรายงานของสมาคมผู้ค้าผลไม้เยอรมันพบว่าเยอรมนีสามารถเพาะปลูกผลไม้เพื่อป้อนตลาดในประเทศได้ไม่ถึง 20 %ของปริมาณผลไม้สดทั้งหมดในตลาด ส่วนที่เหลือเป็นการนำเข้าจากประเทศอื่นทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยทางภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นหลัก ผลไม้หลักที่เป็นผลผลิตภายใน ประเทศ ได้แก่ แอปเปิ้ล (80%) สตอเบอร์รี่ (10%) และ เชอร์รี่/ลูกแพร์ (3%)

การบริโภคภายในประเทศ จากข้อมูลหน่วยงานวิจัยการบริโภคของเยอรมัน (GfK) ชาวเยอรมันบริโภคผลไม้สดโดยเฉลี่ยคิดเป็น 82.4 ก.ก.ต่อหนึ่งครัวเรือน (2008: 83.5 ก.ก.) หรือเฉลี่ย 38.9 ก.ก. ต่อหัว ที่ราคาเฉลี่ย 1.51 ยูโรต่อ 1 ก.ก.

การนำเข้า ในปี ม.ค .- มิ.ย.. 2554 เยอรมนีนำเข้าสินค้าผลไม้สดและพืชตระกูลถั่วคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,571.82 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.71 เมื่อเทียบกับปีก่อนช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยนำเข้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เรียงตามลำดับส่วนแบ่งการตลาด ดังนี้

1. สเปน           21.89 %     2. เนเธอร์แลนด์                 20.72 %
3. อิตาลี่           11.32 %     4. เบลเยี่ยม                     8.12 %
5. สหรัฐอเมริกา      5.01 %     6. ตุรกี                         4.87 %
7. ฝรั่งเศศ          3.33 %     8. โปแลนด์                      2.04 %
9. ออสเตรีย         1.98 %    10. เอวาดอร์                     1.71 %
สำหรับประเทศไทยอยู่ในอับดับที่ 46 มีส่วนแบ่งตลาด 0.10% เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.30

สินค้าผลไม้สดที่ได้รับความนิยม เรียงตามปริมาณการบริโภคต่อคนต่อปี (ก.ก.) ดังนี้
1. แอปเปิ้ล          30.7 ก.ก.      2. กล้วยหอม           16.9 ก.ก.
3. ส้ม Orange       10.0 ก.ก.      4. ส้ม Mandarin        5.9 ก.ก.
5. องุ่น              4.8 ก.ก.      6. แตงโม              3.5 ก.ก.
7. ลูกแพร์            3.4 ก.ก.      8. สตอเบอร์รี่           3.4 ก.ก.
9. เนคทารีน          3.0 ก.ก.     10. สับปะรด             2.6 ก.ก.

ช่องทางจำหน่ายสินค้าผลไม้สดที่สำคัญ ห้างค้าปลีกหลักๆ รวม 5 บริษัทเป็นผู้กำหนดทิศทางและราคาของตลาด เนื่องจากมีส่วนแบ่งการตลาดผลไม้รวมกันทั้งสิ้นกว่าร้อยละ 80 ที่สำคัญได้แก่ 1. กลุ่มบริษัท Edeka: Edeka, Globus, Netto 2. กลุ่มบริษัท Rewe: Rewe, toom, Penny 3. กลุ่มบริษัท Metro: Metro C+C, Kaufhof, Real, Extra 4. กลุ่มบริษัท Schwarz: Lidl (discounter), Kaufland 5. กลุ่มบริษัท Aldi(discounter): Aldi Nord, Aldi Sd

ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะสำคัญของตลาดสินค้าผลไม้สดของเยอรมนี คือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงและผู้บริโภคจะเน้นราคาเป็นอันดับแรก (price sensitive) สำหรับสินค้าไทยจัดเป็นสินค้า Exotic fruits มีราคาค่อนข้างแพงเนื่องจากมีต้นทุนสูง มักมีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า/ซุปเปอร์มาเก็ตตั้งแต่ระดับกลาง-บน หรือร้านค้าปลีกจำหน่ายเฉพาะผักผลไม้สด แต่ยังไม่มีจัดจำหน่ายในซุปเปอร์มาเก็ตแบบ discounter ซึ่งเป็นห้างค้าปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุดในตลาด เนื่องจากไทยยังไม่สามารถผลิตสินค้าในปริมาณมากตามคำสั่งในระดับคุณภาพที่แน่นอนได้ อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าเยอรมันเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับสินค้าผลไม้ไทยเนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง ชาวเยอรมันจำนวนมากเคยเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศไทยทำให้รู้จักผลไม้ไทยหลายชนิด ตลาดเยอรมันจึงยังเปิดกว้างสำหรับผลไม้ไทย เชื่อมั่นว่าหากเกษตรกรและผู้ส่งออกไทยสามารถควบคุมคุณภาพและระบบการจัดการ/การผลิต/การขนส่ง/การควบคุมโรค/การใช้ยาฆ่าแมลงให้ได้มาตรฐาน สินค้าผลไม้ไทยจะสามารถเจาะตลาดเยอรมันได้มากกว่านี้แน่นอน

ภาวะการนำเข้าสินค้าผลไม้สดที่สำคัญในประเทศเยอรมนี (ม.ค.- มิ.ย. 2554) จำแนกตามประเภทสินค้าเรียงตามมูลค่าการนำเข้า ดังนี้

                   มูลค่า                          ประเทศคู่ค้า
      สินค้า       (ล้าน US)  สัดส่วน            (ส่วนแบ่งการตลาด:ร้อยละ)
กล้วย              555.10   12.14      เบลเยี่ยม (36.91) เนเธอร์แลนด์ (14.28)

เอกวาดอร์ (13.24)..ไทย (0.02)

แอปเปิ้ล            360.69     7.7      อิตาลี(51.23) เนเธอร์แลนด์(21.89) ฝรั่งเศส

(8.74)

ส้ม Mandarin       228.08     6.1      สเปน (92.02) เนเธอร์แลนด์ (3.7) อิตาลี(1.6)
ส้ม Orange         245.46     6.0      สเปน (78.45) อิตาลี(10.27) กรีซ(5.77)
องุ่น               269.06     5.9      เนเธอร์แลนด์ (68.43) สเปน (8.47) อียิปต์

(7.39)

สับปะรด            117.93     2.6      เนเธอร์แลนด์ (39.79) เบลเยี่ยม (26.06)

คอสตาริกา (18.69).. ไทย (0.34)

ฝรั่ง/มะม่วง/มังคุด     50.01     1.3      เนเธอร์แลนด์ (74.2) เปรู (6.7) ฝรั่งเศส(3.3)

บราซิล(2.9) ..ไทย(1.96)

ส้มโอ/grapefruit    35.27    0.84      เนเธอร์แลนด์ (39.59) สเปน (31.49)

อิสราเอล (7.64) ..จีน(2.08) .. ไทย (0.04)

มะละกอ             12.95    0.30      เนเธอร์แลนด์ (42.49) บราซิล (34.68) ไทย

(9.19) เอกวาดอร์ (5.62)

ลิ้นจี่/มะขาม/ขนุน/     10.30    0.27      เนเธอร์แลนด์ (58.7) ฝรั่งเศส (9.2) โคลัมเบีย
เสาวรส/มะเฟือง/                        (6.7) ..เวียดนาม (4.7) ..ไทย (2.66)
แก้วมังกร
มะพร้าว             3.97     0.09      เนเธอร์แลนด์ (66.87) ฝรั่งเศส (6.03).. ศรี

ลังกา (2.78) ไทย (2.19) ฟิลิปปินส์ (2.15) ที่มา : World Trade Atlas

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ