ระเบียบการนำเข้าอาหารประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 6, 2011 14:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

กลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศได้แก่ บาห์เรน คูเวต การตาร์ โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย มีหน่วยงาน Standardization and Metrology Organization for G.C.C. (GSMO) วางมาตรฐานของสินค้าอุปโภคบริโภคที่ผลิตได้เองและสินค้านำเข้าเพื่อใช้ในกลุ่ม GCC ให้ไปในทิศทางเดียวกันเรียกว่า Gulf Standards ให้ประเทศสมาชิกถือปฏิบัติตาม แต่ประเทศสมาชิกนั้นจะมีมาตรฐานและกฎระเบียบนำเข้าปลีกย่อยภายในกรอบของ GSMO ให้เหมาะกับประเทศของตน ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี มีมาตรฐานสินค้าอาหารเรียกว่า Emirates Standards & Measurements Organization" (ESMO) ควบคุมดูแลและวางกฎระเบียบโดย National Food Safety Committee (NFSC) มีหลักเกณฑ์และกฎระเบียบการนำเข้าอาหารสรุปได้ดังนี้

1.  ภาษีนำเข้าจากราคา CIF          :

1.1.อาหารทั่วไป ภาษีนำเข้าร้อยละ 5 บางชนิดไม่มีภาษีนำเข้า

1.2.ภาษีนำเข้าเครื่องดื่มแอลกลฮอลร้อยละ 50 และบุหรี่ร้อยละ 100

1.3. สินค้านำเข้าชั่วคราวเพื่อส่งออกต่อ(Re-export) ภายใน 6 เดือน ไม่เสียภาษี

2. การให้สิทธิพิเศษศุลกากร          :

ไม่มี

3. เอกสารประกอบการนำเข้า :

3.1 Invoice Certificate of Origin ประทับตรารับรองจาก หอการค้าไทย และ Legalize จากสถานทูตประเทศสหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ ในประเทศไทย Bill of Lading และ Packing List

3.2 สินค้าอาหารต้องมีใบรับรองคุณภาพหรือสุขลักษณะ Healthหรือ Sanitary Certificate (ออกโดยหน่วยงานสาธารณสุขของไทย)

3.3 สินค้าเนื้อสัตว์ ต้องผ่าน การฆ่าตามหลักศาสนาอิสลามและมีใบรับรอง Halal Certificate จากองค์การศาสนาอิสลาม ในประเทศผู้ส่งออก

4. ฉลากอาหาร

ภายใต้หลักเกณฑ์Gulf standard GSO 9/2007 และ GSO 150/2007 สำหรับฉลากอาหารและ shelf life ในยูเออี พอสรุปได้ดังนี้

4.1. ฉลาก บนบรรจุภัณฑ์ต้องมีระบุรายละเอียด อาทิ ชื่อของผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนผสม (Ingredients) สารปรุงแต่งอาหารใช้เครื่องหมาย“E”และหมายเลข (Additives) ขนาดบรรจุสุทธิ (net content) ประเทศต้นทางหรือผู้ผลิต (Manufacturer & country of origin) วันผลิตและวันหมดอายุ (Date of Manufacturing/Expiry) บาร์โค๊ด สภาพจัดเก็บสินค้าและวิธีการเตรียม (หากจำเป็น) หากเป็นอาหารเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น ลดน้ำหนักหรืออื่นๆต้องระบุวิตามินแร่ธาตุพร้อม คุณสมบัติของอาหาร และหมายเลขชุดสินค้า (Lot identification) ข้อความบนฉลากอ่านง่าย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทั้งนี้ข้อความต้องชัดเจนไม่บิดเบือน และจะต้องมีภาษาอาหรับกำกับหรือพิมพ์บนสติ๊กเกอร์ที่อย่างน้อยจะต้องระบุข้อมูลดังนี้ ชื่อของผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนผสม ประเทศต้นทางสินค้าและขนาดบรรจุสุทธิ

4.2. วัน/เดือน/ปีอายุอาหาร (shelf life) ต้องมีอย่างน้อย 6 เดือนข้อความที่พิมพ์จะต้องไม่หลุดลอก ลบออกได้ (printed, imposed หรือ ink jetted)

4.3. การพิมพ์วันผลิตและหมดอายุมีดังนี้ dd/mm/yy สำหรับอาหารที่มีอายุอาหารน้อยกว่า(shelf life) 6 เดือน สำหรับอาหารที่มี shelf life มากกว่า 6 เดือนจะต้องระบุดังนี้ mm/yy ข้อความอื่นๆที่สามารถระบุวันหมดอายุได้คือ

  • Date of expiry
  • Good for use until ...
  • Valid for ... from the date of production
  • Use before ...
  • Sold up to ...

4.4 Barcode หากเป็นสินค้ายี่ห้อของลูกค้าๆจะส่งบาร์โค้คให้ผู้ผลิต

5. กฎระเบียบข้อบังคับอื่น ๆ :

5.1 สินค้าอาหารต้องใบรับรองคุณภาพหรือสุขลักษณะ Health หรือ Sanitary Certificate (ออกโดยหน่วยงานสาธารณสุขของไทย)

5.2 สินค้าเนื้อสัตว์ ต้องผ่านการฆ่าตามหลักศาสนาอิสลาม และมีใบรับรอง Halal Certificate จากองค์การศาสนาอิสลามในประเทศผู้ส่งออก

5.3 การนำเข้าไก่สดแช่แข็ง จะต้องมีใบอนุญาตระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ประเทศผู้ส่งออกสินค้าแหล่งกำเนิดสินค้าและระบุหมายเลขชุดสินค้า (batch number) และไก่จะต้องปลอดจากโรคติดต่อจากฟาร์มที่มีมาตรการเฝ้าระวังและไม่มีการแพร่เชื้อใดๆภายในเวลา 1 ปีก่อนเชือดสัตว์ โรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปนั้นจะต้องมีใบอนุญาตถูกต้อง ได้รับรับรองโดยกรมปศุสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานของรัฐบาลยูเออี (Ministry of Environment and Water (กระทรวงสิ่งแวดล้อมและน้ำของยูเออี)

5.4 การนำเข้าเนื้อหมูและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ภายใต้โควต้าและต้องมีใบกำกับอนุญาตนำเข้าพิเศษ

5.5. หากใช้น้ำมันเป็นส่วนผสมต้องระบุชนิดของน้ำมันที่ใช้

6. สินค้าที่อยู่ในข่ายจะถูกส่งคืน(Rejected)

อาหารที่ถูกตรวจทางพบว่าปนเปื้อน หรือไม่เหมาะสำหรับมนุษย์บริโภค ฉลากที่มี shelf life ไม่ถูกต้อง จะถูกห้ามนำเข้า แต่จะอนุญาตให้ส่งออกต่อไปประเทศอื่น (นอกกลุ่ม GCC) หรือส่งคืนกลับประเทศต้นทาง หรือจะถูกทำลายทิ้ง โดยหน่วยงานสาธารสุขยูเออี

7. อาหารควบคุมพิเศษ

7.1. อาหารเด็กเล็ก น้ำมันปรุงอาหาร (จะต้องระบุชนิดน้ำมัน/พืช/สัตว์) นมเนยและผลิตภัณฑ์ จะต้องผ่านการตรวจสอบตัวอย่างในห้องปฎิบัติการ laboratory analysis

7.2. สินค้าที่นำเข้าจะต้องส่งตัวอย่างไปตรวจสอบก่อน ระยะเวลาการตรวจสอบจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วันทำการ หลังที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจึงสามารถนำเข้าไปจำหน่ายในประเทศ

8. หน่วยงานหลักเกี่ยวกับการนำเข้าอาหารในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

8.1 Mr. Khalid M. Sharif, Director,

Food Control Department

Dubai Municipality

P.O. Box 67, Dubai, UAE

Tel: (971) 4-206-4200; Fax: (971) 4-223-1905

E-mail: foodcontrol@dm.gov.ae

8.2 Rashid Mohamed Al Shariqi, Director General

และ Dr. Rasha A. Sultan Al Qassemi

Abu Dhabi Food Control Authority

P.O. Box 52150, Abu Dhabi, UAE

Tel: (971) 2-495-4112; Fax: (971) 2-446-3811

E-mail: rashed_alshariqi@adfca.ae

8.3 Ms. Amina Ahmed Al Jasemi

Head, Central Food Control Laboratory

Sharjah Municipality

P.O. Box 22 , Sharjah, UAE

Tel: (971) 6-506-8303; Fax: (971) 6-565-0612

E-mail: cfoodl@emirates.net.ae

8.4 Head of Food & Environment Laboratory Section

Dubai Central Laboratory Department

Dubai Municipality

P.O. Box 67, Dubai, UAE

Tel: (971) 4-301-1619; Fax: (971) 4-335-8448

E-mail: labs@dm.gov.ae

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

P.O. Box 1083, Dubai — U.A.E.

Tel. +971-4- 2284553 Fax.+971-4-2220934

E-mail: ttcdubai@emirates.net.ae

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ