ปัญหาของปลาสวาย(Pangasius)*

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 27, 2011 10:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมตลอดทั้งปี 2011 ดูเหมือนว่าปลาสวายไม่ได้เป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคเหมือนแต่ก่อน ปัญหาภาพลักษณ์ของปลาสวายและราคาที่เพิ่มขึ้นกำลังส่งผลร้ายต่อยอดขายปลาสวายที่มาจากประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลัก

มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าปลาสวายยังคงไปได้ดี จากรายงานของสื่อเวียดนามซึ่งอ้างอิงจาก The Vietnamese Association of Seafood Exporters and Producers (VASEP) กล่าวว่ายอดขายของปลาสวายชิ้นแช่แข็งในต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีนี้ มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2010

อย่างไรก็ตาม รายงานในประเทศเวียดนามกลับระบุว่าธุรกิจการเลี้ยงปลาฟาร์มน้ำจืดที่เติบโตอย่างรวดเร็วชนิดนี้มีปัญหา

ผู้สังเกตุการณ์รายหนึ่งซึ่งมีข้อมูลในเรื่องนี้กล่าวว่ายอดขายปลาสวายของประเทศในทวีปยุโรปเช่นประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ยังไม่ดีขึ้นซึ่งเป็นผลจากรายการโทรทัศน์ในเยอรมนีเดือนมีนาคมซึ่งทำให้ผู้บริโภคในประเทศมีความคิดว่าปลาสวายมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่มาก

และเหมือนกับการกระตุ้นให้เกิดผลทางลบต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการขายปลาสวายของเวียดนามมากขึ้นไปอีกเมื่อกองทุนชีวิตสัตว์ป่าของโลก(The World Wild Life Fund: WWF) ได้ระบุว่าปลาสวายเป็นปลาที่อยู่ในรายชื่อสีแดง (Red List) ที่ควรจะหลีกเลี่ยง

องค์กร WWF ไม่ใช่องค์กรเดียวที่สนับสนุนความคิดนี้ นิตยสาร Men’s Health ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่าปลาสวายอยู่ในอันดับต้นๆ การจัดอันดับของสัตว์ที่ไม่ควรซื้อ หนังสือนิตยสารนี้ไม่ได้เป็นที่รู้จักของผู้ที่ซื้อปลาแต่ทำให้มีผลกระทบในทางลบเพิ่มมากขึ้นไปอีก

นอกเหนือจากภาพในด้านลบ สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ซื้อปลาสวายคือ ราคาไม่เป็นที่น่าสนใจของผู้ซื้อเหมือนแต่ก่อน ราคาปลาสวายเคยอยู่ที่ 3 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม ในปัจจุบันนี้ถ้าจะซื้อปลาสวาย

Note: Pangasius เป็นปลาเนื้อขาว ปลาน้ำจืดเช่นเดียวกับ Catfish (ปลาดุก) หรือ Tilapia บางประเทศเรียก Pangasius ว่า Basa

ราคาจะอยู่ที่ 4 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม ไม่ได้แตกต่างกับปลา Cod และปลา Haddock เป็นราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและหมายความว่าปลาสวายไม่ได้เป็นปลาเนื้อขาวราคาที่ถูกที่สุดอีกต่อไป

ร้านค้าปลีกกล่าวว่ายอดขายปลาสวายลดลงจากร้อยละ20 เป็นร้อยละ 30 ในปีที่ผ่านมาและในบางกรณีการจัดส่งปลาสวาย 5-6 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อเดือนได้ลดลงเหลือเพียง 2 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อเดือน นอกจากนี้มีข่าวลือว่า ยังมีปลาสวายมูลค่านับล้านดอลล่าร์ค้างอยู่ในห้องเย็นของประเทศต่างๆ ในยุโรป ดังนั้นการสั่งซื้อรอบใหม่รวมทั้งการส่งของตามสัญญาที่ได้ทำไว้ ต้องยืดระยะเวลาไปถึงปีหน้า

ถึงแม้ว่า เวียดนามยังมีปลาที่ผลิตได้มากพอที่จะทำให้โรงงานต่างๆ ดำเนินการผลิตได้เต็มกำลังเช่นปีที่ผ่านมาแต่สื่อเวียดนามรายงานว่าโรงงานต่างๆ ลดกำลังการผลิตลงเหลือร้อยละ 70 หรือน้อยกว่าและลดเวลาทำงานและค่าจ้างของคนงานลง

บริษัทผลิตอาหารทะเล Vuong Chau Au ในเมือง Tien Giang มีการผลิตประมาณ 150 ถึง 200 ตันต่อวัน ได้ลดการผลิตลงเหลือที่ 100 ตันในหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่าโรงงานนี้แปรรูปปลามากกว่าโรงงานอื่นๆ

Mr. Nguyen Van Ky ผู้อำนวยการของ Agifish An Giang หนึ่งในผู้แปรรูปปลาสวายรายใหญ่ของเวียดนามได้กล่าวว่า “ฉันรู้ว่าหลายโรงงานปิดตัวลงและอีกหลายๆ โรงงานกำลังดำเนินการผลิตร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตทั้งหมด”

เมื่อ 2 ปีก่อน เวียดนามมีการแปรรูปปลาสวาย 1.2 ล้านตัน แต่ในปัจจุบันลดลงเหลือประมาณ 800,000 ตัน ประกอบกับต้นทุนอาหารสัตว์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและการขาดแคลนลูกพันธุ์ปลา อุปสรรคนี้ทำให้การเลี้ยงปลาสวายมีต้นทุนสูงขึ้นมาก

ในอนาคตของปลาเนื้อขาวนี้จะเป็นอย่างไร? มีรายงานว่าตอนนี้ผู้เลี้ยงบางรายได้เปลี่ยนไปเลี้ยงปลา Tilapia เนื่องจากเวียดนามมีการพัฒนาเทคโนโลยี่ที่สามารถเลี้ยงปลาขนาดใหญ่กว่าในอดีต (จุดหมายของปลาคือตลาดสหรัฐอเมริกา)

ตลาดใหม่ของปลาสวายอยู่ในประเทศตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ แต่ความต้องการยังไม่ได้มีปริมาณมากเพียงพอที่จะทดแทนตลาดในทวีปยุโรป หากยอดขายในประเทศแถบยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ บวกกับปัญหาอุปสรรคในสหรัฐอเมริกาก็มียอดขายที่ลดลงด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมาคือการขาดแคลนสินค้า เนื่องจากผู้เลี้ยงปลาสวายจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการดำเนินธุรกิจต่อไป ดังนั้นผู้นำเข้าจำเป็นต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อที่จะรักษาธุรกิจไว้ ราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นผลกระทบลูกโซ่ แต่ผู้บริโภคคงจะไม่จ่ายเงินมากในการซื้อปลาเมื่อยังไม่แน่ใจว่าปลาสวายปลอดภัยในการบริโภค หากแก้ปัญหาเหล่านี้ได้จะทำให้ช่วงเวลาที่รุ่งเรืองของปลาสวายกลับมาอีกครั้ง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ