สินค้ากุ้งหลากหลายชนิดเป็นรายได้หลักของการส่งออกของเวียดนาม

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 16, 2012 13:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ผู้เลี้ยงกุ้ง นายTran Van Phat จากจังหวัด Tre ในประเทศเวียดนาม ใช้เวลา 70 วัน มีรายได้ 121 ล้านด่อง* (ประมาณ 5,764 เหรียญสหรัฐฯ) จากการเลี้ยงกุ้งขาว (White-leg shrimp)

ไม่เป็นที่แปลกใจว่าผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศเวียดนามกำลังแข่งขันกันเป็นผู้เลี้ยงกุ้งขาวรายใหญ่ของประเทศ

หลังจากที่ได้ยินข่าวว่าการเลี้ยงกุ้งง่ายและกำไรมาก Mr. Phat ตัดสินใจที่จะเลี้ยงกุ้งสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีความต้องการสูงในต่างประเทศ

ปีนี้ในฟาร์มของเขาในเมือง Binh Dai District’s Dinh Trung Commune เขาได้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวบนผิวน้ำ (Water-surface) 150,000 ตัวบนพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร

หลังจากเพียง 70 วัน เขาจับกุ้ง 2,300 กิโลกรัมขายได้ 105,000 ด่องต่อกิโลกรัม

Mr. Nguyen Huu Hung ผู้อำนวยการของ สถาบันวิจัย Aquaculture No III จัดการประชุมขึ้นในช่วงปลายอาทิตย์ที่ผ่านมาในเมือง Soc Trang กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศเวียดนาม การทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล เนื่องจากธุรกิจนี้มีกำไรสูง” เป็นผลให้ การเลี้ยงกุ้งบนผิวน้ำได้ขยายวงออกไปอย่างมาก จากไม่มีการเลี้ยงเลยในปี 2000 แต่ในปี 2010 มีประมาณ 25,000 เฮคตาร์ ส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 10,000 ตันในปี 2002 เป็น 150,000 ตัน ในปีที่ผ่านมา

Mr. Nguyen Huu Hung กล่าวว่า “การเลี้ยงกุ้งขาวเพื่อส่งออกในประเทศเวียดนามเกินกว่า ร้อยละ 30 การการเลี้ยงกุ้งทั้งประเทศ” “กุ้งขาวนี้กำลังจะกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของชาวเวียดนาม”

*Note: 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับประมาณ 21,014.78 เวียดนามด่อง

ถึงแม้ว่า กุ้งกุลาดำ (black tiger shrimp) ยังเป็นสินค้าอาหารทะเลส่งออกของประเทศเวียดนามอยู่ การส่งออกกุ้งขาวในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ของการส่งออกกุ้งของทั้งประเทศ มูลค่าประมาณ 1.8 — 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามความคิดของ Mr. Truong Dinh Hoe, General Secretary of Viet Nam of Seafood Exporter and Possessors (VASEP)

ในปีที่ผ่านมาประเทศเวียดนามได้ส่งออกกุ้งขาวมูลค่าประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ หนึ่งในสามของการส่งออกกุ้งทั้งหมดของประเทศ

Mr. Nguyen Huy Dien, หัวหน้า The Department of Aquaculture (DA) กล่าวว่า “ผู้เลี้ยงกุ้งทั่วโลกชื่นชอบการเลี้ยงกุ้งขาวเพราะได้กำไรสูงและกุ้งสายพันธุ์นี้ปรับตัวได้เป็นอย่างดีทุกสภาพแวดล้อม ขณะที่ระยะเวลาในการเลี้ยงใช้เวลาน้อย สิ่งนี้ทำให้ความต้องการของตลาดในต่างประเทศมีสูง”

ผู้เลี้ยงในเวียดนามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กลางประเทศกำลังแข่งขันกันเอง Mr. Dien กล่าวว่า “ในตอนกลางประเทศเวียดนามมีร้อยละ 72 ของพื้นที่ผิวน้ำทั้งหมดใช้สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้ง”

ในเมือง Cuu Long (Mekong) ผู้เลี้ยงกุ้งตามแนวชายฝั่งทะเลได้ทำการเลี้ยงกุ้งขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมือง Kien Giang, Soc Trang, Bac Lieu และ Ca Mau เป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเลี้ยงกุ้ง

Mr. Dien กล่าวว่า “เวียดนามมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติเพียงพอในการเลี้ยงกุ้งขาว เป็นเวลากว่าสิบปีแล้วที่เกษตรกรของเวียดนามได้เรียนรู้เทคนิกและประสบกาณ์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง”

Mr. Pham Xuan Tinh เป็นหัวหน้ากรมส่งเสริมการเกษตรศูนย์แห่งชาติ กล่าวว่า การเลี้ยงกุ้งขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับอุตสาหกรรมแต่ไม่มีการประสานกันในด้านกิจกรรมต่างๆ เพื่อเอื้อต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

อุตสาหกรรมกุ้งในเวียดนามผู้เลี้ยงมีความต้องการลูกกุ้งอยู่ที่ระหว่าง 40-50 พันล้านตัวต่อปี แต่จำนวนของลูกกุ้งที่มีคุณภาพสูงในประเทศมีอยู่เพียงร้อยละ 30 (15 พันล้านตัว) ของความต้องการทั้งหมด

การเพาะเลี้ยงลูกกุ้งในเวียดนามมาจากแหล่งที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้ได้กุ้งที่มีคุณภาพต่ำ สิ่งนี้นำไปสู่โรคระบาดในพื้นที่ที่ทำการเลี้ยงกุ้ง ทำให้ลูกกุ้งมีไม่เพียงพอ

ด้วยเหตุผลนี้ในปี 2010 อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งได้ประสบปัญหาในการสูญเสียรายได้ประมาณมากกว่า 1 ล้านล้านด่อง

ราคาอาหารและยารักษาที่แพงขึ้นในการเลี้ยงกุ้งทำให้เป็นปัญหาต่อการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งขาวในฟาร์ม

เป้าหมายใหม่

อุตสาหกรรมการประมงในประเทศเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายในการผลิตกุ้งขาว (litopenaeus Vannamei) ในปีหน้าไว้ที่ 200,000 ตัน

ได้มีการศึกษาจากหลายสถาบันในประเทศเพื่อให้มั่นใจว่ามีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนในประเทศเวียดนาม ตามที่ Mr. Dien กล่าว

อีกไม่นานในปีนี้ ผลผลิตจากอุตสาหกรรมกุ้งขาวจะมีการผลิต 150,000 ตันและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจนถึง 160,000 ตันภายในสิ้นปีนี้

“ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ จุดมุ่งหมายที่ The Department of Aquaculture (DA) กระทรวงประมง ได้ปรับแผนของผู้เลี้ยงกุ้งขาวของประเทศเวียดนาม” เขากล่าวว่า “เป้าหมายในการผลิตเพื่อการส่งออกจะถูกเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นและความต้องการของตลาด ในขณะที่มีการป้องกันสิ่งแวดล้อมด้วย”

ผู้เลี้ยงกุ้งในท้องที่ต่างๆ จะต้องทำการจัดทำเอกสารเพื่อแจ้งรายละเอียดเรื่องกำลังการผลิต ความต้องการลูกกุ้ง และอาหารสัตว์ให้กับหน่วยงานของรัฐบาลทราบ

ข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้ในการวางแผนหลักในการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งขาวในปี 2012 และปีต่อๆ ไปในอนาคต

Mr. Dien กล่าวว่า “หน่วยงานนี้ทำงานเป็นทีมเพื่อรับผิดชอบในการตรวจสอบกระบวนการผลิตขยายพันธุ์กุ้งทั่วประเทศ การรวบรวมข้อมูลเรื่องของกำลังการผลิตและคุณภาพในการเพาะพันธุ์กุ้งเพื่อทำให้มั่นใจในอุปทานของพันธุ์ลูกกุ้งมีคุณภาพสูงสำหรับการเลี้ยงในรอบใหม่”

แผนของการขยายธุรกิจการประมงคือการจัดให้มีการประชุมใหญ่ของผู้เลี้ยงและบริษัทต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าอาหารสัตว์น้ำ จุดมุ่งหมายนี้เป็นการหามาตรการที่จะปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์และการลดราคาลง

รายงานจาก The Department of Aquaculture’s Testing Center พบว่าคุณภาพของอาหารสัตว์มีคุณภาพต่ำกว่าที่หลายบริษัทมีการรายงานไว้

การควบคุมอย่างใกล้ชิดในการใช้ โปรไบโอติกส์ (probiotics) ของสินค้าเกษตรจะทำให้เกิดผลในการลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

Mr. Dien กล่าวว่า “ตามที่มีการร้องขอของกระทรวงการประมง กรมการขยายธุรกิจสัตว์น้ำมีคำแนะนำว่า ผู้เลี้ยงต้องมีความเข้มงวดในการเลี้ยง เราจะถามผู้เลี้ยงอยู่ตลอดถึงวิธีการเลี้ยงเพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาสิ่งแวดลอมในขบวนการผลิต”

Mr. Tinh ของหน่วยงาน The Southern Agriculture Extension Centre ได้เน้นความจำเป็นในการควบคุมสิ่งแวดล้อมในการเกษตร โดยกล่าวว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

Mr. Tinh กล่าวว่า “การพัฒนาการเลี้ยงกุ้งขาวมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสินค้าให้หลากหลายแต่ผู้ที่มีหน้าที่ของรัฐจะต้องมีมาตรการในการที่จะสร้างสมดุลระหว่างการเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำเพื่อที่จะลดความเสี่ยงลง” - VNS

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ