1. ข้อมูลพื้นฐาน
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป มีพื้นที่ทั้งสิ้น 41,290 ตร.ก.ม. เป็นพื้นดิน 39,770 ตร.ก.ม. พื้นน้ำ 1,520 ตร.ก.ม. ความยาวจากเหนือจดใต้ 220 ก.ม. จากตะวันตกถึงตะวันออก 350 ก.ม. มีพรมแดนล้อมรอบประเทศยาว 1,852 ก.ม. มีเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ 5 ประเทศ ดังนี้
ทิศเหนือ เยอรมนี (พรมแดนติดต่อกัน 334 ก.ม.) ทิศใต้ อิตาลี (พรมแดนติดต่อกัน 740 ก.ม.) ทิศตะวันออก ออสเตรีย (พรมแดนติดต่อกัน 164 ก.ม.) ลิคเทนสไตน์ (41 ก.ม.) ทิศตะวันตก ฝรั่งเศส (พรมแดนติดต่อกัน 573 ก.ม.) 1.2 ภูมิประเทศและอากาศ ภูมิประเทศ
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศไม่มีทางออกทะเล ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาสำคัญทอดขวางเป็นทางยาวกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ก่อให้เกิดเป็นภูมิประเทศแบบเทือกเขาสูง สลับกับหุบเขา ป่าสนและทะเลสาบหลายแห่ง มีแม่น้ำไรน์เป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ บริเวณต่ำสุดของประเทศอยู่ที่ Ascona สูงกว่าระดับน้ำทะเล 196 เมตร ในขณะที่จุดสูงสุดของประเทศอยู่ที่ยอดเขา Dufour ซึ่งมีความสูง 4,634 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดย Ascona กับ Dufour มีระยะทางห่างกันเพียงแค่ 70 ก.ม. เท่านั้น
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมีสภาพอากาศและอุณหภูมิค่อนข้างใกล้เคียงกันทั่วประเทศ มีลมร้อนจากเทือกเขาแอลป์ในช่วงหน้าร้อน และมีฝนตกตลอดปี
ฤดูหนาว (ธ.ค.-มี.ค.) อากาศหนาวที่สุดในช่วงเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 1.5 องศาเซลเซียสในที่ราบต่ำ และประมาณ-10 องศาเซลเซี่ยสในที่เป็นภูเขา
ฤดูร้อน (มิ.ย.-ก.ย.) อากาศร้อนที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนประมาณ 20-21 องศาเซลเซียส
ฤดูใบไม้ผลิ (เม.ย.-มิ.ย.) และฤดูใบไม้ร่วง (ก.ย.-ธ.ค.) บางช่วงอากาศจะอบอุ่นเหมือนฤดูร้อน บางช่วงอากาศจะหนาวเย็น และมีฝนตกมาก
กรุงเบิร์น เป็นเมืองหลวงของประเทศ มีประชากร 133,920 คน ตั้งอยู่ใจกลางประเทศ ใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก เป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานทั้งภาครัฐ เป็นที่ตั้งของรัฐบาล กระทรวงต่างๆ หน่วยงานสำคัญภาครัฐ ธนาคารกลางสวิส มหาวิทยาลัยกรุงเบิร์น และมหาวิทยาลัยเทคนิค
เมืองเจนีวา มีประชากร 191,803 คน เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากเมืองซูริค ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ติดกับชายแดนประเทศฝรั่งเศส ทำให้ประชากรท้องถิ่นใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก เป็นศูนย์กลางขององค์กรระดับโลก อาทิเช่น องค์กรการค้าโลก หน่วยงานของสหประชาชาติ
เมืองซูริค มีประชากร372,047 คน นับเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก เป็นเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางการค้าและการเงิน และการบินของสวิส เป็นที่ตั้งของสถาบันทางการเงินการธนาคารและบริษัทประกันภัยที่สำคัญซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลก
เมืองบาเซล มีประชากร 169,536 คน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศติดกับชายแดนประเทศเยอรมนี ทำให้ประชากรท้องถิ่นใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก เป็นเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม มีการจัดงานแสดงสินค้าระดับโลก เช่น งานแสดงสินค้า Basel World สำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ งานแสดงสินค้า Art Basel สำหรับศิลปะร่วมสมัย และงานแสดงสินค้าOrbit สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เมืองท่า (ทางอากาศ) ที่สำคัญคือซูริค เจนีวา และบาเซิล
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ปกครองระบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางตั้งอยู่ที่กรุงเบิร์น แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลต่างๆ รวมทั้งสิ้น 26 มณฑล (Cantons) ได้แก่
1. Aargau 2. Apenzel Auser-Rhoden 3. Appenzell Inner-Rhoden 4. Basel-Landschaft 5. Basel-Stadt 6. Bern 7. Fribourg 8.Genve 9. Glarus 10.Graubunden 11. Jura 12. Luzern 13. Neuchatel 14. Nidwalden 15. Obwalden 16. Sankt Gallen 17. Schaffhausen 18. Schwyz 19. Solothurn 20. Thurgau 21. Ticino 22. Uri 23. Valais 24. Vaud 25. Zug 26. Zurich 1.5 ประชากร
จากสถิติล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติสวิส (ปี 2553) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 7,870,000 คน จำแนกเป็น เพศหญิงร้อยละ 50.8 และเพศชายร้อยละ 49.2
อัตราการเกิด ร้อยละ 1.1 ส่วนอัตราการตายประมาณ 0.8 อายุขัยเฉลี่ยของประชากรหญิง ประมาณ 84.4 และชายประมาณ 79.7
ประชากรในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แบ่งออกเป็น ชนชาวสวิสเองร้อยละ 78.0 และชาวต่างชาติประมาณร้อยละ 22.0 ส่วนมากได้แก่ ชาวอิตาลี เยอรมัน และโปรตุเกส ตามลำดับ
ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีคนไทยพำนักอาศัยอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ประมาณกว่า 10,000 คน กว่าร้อยละ 80 เป็นหญิง มีการจัดตั้งสมาคมชาวไทยอยู่ 10 สมาคม เพื่อช่วยเหลือการดูแลคนไทยและเป็นศูนย์รวมของคนไทย นอกจากนี้ยังมีวัดไทยตั้งอยู่อีก 3 แห่ง
ประชากรนับถือศาสนาคริสต์ลัทธิแคธอลิคร้อยละ 46.1 ลัทธิโปรแตสแตนท์ร้อยละ 40 ไม่นับถือศาสนาร้อยละ 8.9 และนับถือศาสนาอื่นๆ เช่น พุทธศาสนา มุสลิม ร้อยละ 5
ภาษาราชการ คือ ภาษาเยอรมัน 63.7 % ภาษาฝรั่งเศส 19.2 % ภาษาอิตาเลียน 7.6 % ภาษาโรมัน 0.6 % และภาษาอื่น ๆ อีก 8.9 % ภาษาที่ใช้ทางธุรกิจ จะใช้ภาษาเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีเป็นหลัก
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แม้จะตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรปแต่เนื่องจากประเทศเป็นประเทศอิสระ มีสถานะเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและไม่รวมอยู่ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จึงไม่ใช้สกุลเงินยูโรเหมือนกับประเทศอื่นๆ ในยุโรป แต่จะใช้เงินสกุล "สวิสฟรังก์" โดยอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบัน 1 ฟรังก์สวิส=33.43 บาท (ณ วันที่ 12 ม.ค. 2555)
ตั้งอยู่ในเขตโซนเวลากรีนนิช GMT+1 ซึ่งเป็นโซนเดียวกับยุโรปกลาง ห่างจากเวลาไทย 5 ชั่วโมงในฤดูร้อนและ 6 ชั่วโมงในฤดูหนาว
วันชาติตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม(ถือเป็นวันชาติหลังจากก่อตั้งรวมเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ.1834 หรือ ค.ศ 1291) สำหรับวันหยุดพักผ่อน/พักร้อนโดยเฉลี่ยประมาณ 20 วันต่อปี วันหยุดราชการขึ้นอยู่กับมณฑลต่าง ๆ โดยเฉลี่ย ปีละ 8-9 วัน
เทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม - 1 มกราคม วันแม่ วันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 1.11 ระบบคมนาคมและการขนส่งภายในประเทศ
ทางบก สวิตเซอร์แลนด์มีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงเมืองต่างๆ ทั่วประเทศยาว 71,297 ก.ม. ในจำนวนนี้เป็นถนนแบบ Super highway ยาว 1,763.6 ก.ม. เชื่อมระหว่างเมืองสำคัญต่างๆ ทั่วประเทศและเป็นเส้นทางเชื่อมต่อสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังมีอุโมงค์เจาะผ่านเขาเป็นจำนวนมากถึง 220 แห่ง รวมระยะทาง 200 ก.ม.
ทางรถไฟ สวิตเซอร์แลนด์มีทางรถไฟยาว 4,583 ก.ม.
ทางน้ำ เนื่องจากประเทศสวิสเป็นประเทศที่ไม่มีเขตแดนติดทะเล ดังนั้นการขนส่งทางน้ำจะต้องผ่านท่าเรือขนส่งสินค้าภายในประเทศเพียงท่าเรือเดียว คือ ท่าเรือเมืองบาเซล ซึ่งเชื่อมระหว่างท่าเรือรอตเตอร์ดัมของประเทศเนเธอร์แลนด์และแม่น้ำไรน์ซึ่งไหลผ่านเข้าสู่เยอรมนีทางตอนใต้ขึ้นเหลือก่อนลงสู่ทะเลเหนือ (North Sea) ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ส่วนการขนส่งภายในประเทศใช้แม่น้ำไรน์ มีระยะทางยาวประมาณ 65 ก.ม. จากเมืองบาเซลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่ทะเลสาบ Bodensee ในเขตของประเทศเยอรมนี
ทางอากาศ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีสนามบินในประเทศรวม 27 แห่ง จำแนกเป็นสนามบินพาณิชย์ 20 แห่งและสนามบินทางการทหาร 7 แห่ง
ร้อยละ 99 ของประชากร สามารถอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากมีการศึกษาภาคบังคับให้เด็กทุกคนเริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่ 6 ขวบในชั้นประถม 1 จนถึงชั้นประถม 6 ปัจจุบันสวิสมีมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ทั้งหมด 12 แห่ง ส่วนมากได้รับการยอมรับในเรื่องวิศวรกรรม การวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนั้นยังมีสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่งที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในด้านของการเงิน ธุรกิจประกัน การโรงแรม รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศและการบริหารภาครัฐ
2. ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศมีสภาพเศรษฐกิจที่มั่งคั่งและมั่นคง ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 84,983 เหรียญสหรัฐต่อปี (ข้อมูลปี 2554 จาก IMF) จึงทำให้มีกำลังซื้อสูง มีอัตราการว่างงานต่ำ แม้ว่าผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้มีอัตราการขยายตัวลดลงในปี 2551-2552 อยู่พอสมควร อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2553 เศรษฐกิจสวิสปรับตัวดีขึ้นอย่างมากและฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี 2554
รายได้ของประเทศอยู่ในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 34.0 ภาคเกษตรกรรมร้อยละ 1.5 และภาคบริการต่างๆร้อยละ 64.5
2.2 เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญ
GDP GDP GDP per จำนวนประชากร อัตราเงินเฟ้อ อัตราการ อัตราแลกเปลี่ยนต่อ ปี (พันล้าน$) growth % Capita $ (พันคน) % ว่างงาน % เงินบาท 2549 391.23 3.6 53,690.9 7,459.13 1.04 3.01 26.96 2550 434.09 3.6 59,474.6 7,508.74 0.73 2.49 30.26 2551 500.26 1.8 68,433.1 7,593.49 2.43 2.66 31.00 2552 492.26 -1.8 67,559.6 7,785.8 -0.48 3.56 32.20 2553 527.92 2.71 67,778.5 7,789 0.68 3.64 30.9 2554 665.89* 1.75* 84,983.3* 7,836* 0.70* 3.45* 33.00 ที่มา : International Monetary Fund/ *= estimated 2.3 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ณ เดือนสิงหาคม 2554 สวิตเซอร์แลนด์มีเงินทุนสำรองรวม 385,431 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูลจาก IMF)
2.4 ข้อมูลทางเศรษฐกิจอื่น ๆ
1) ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง มีบทบาทสำคัญยิ่งในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
โดยอาชีพหลักของประชากรจะอยู่ในภาคต่างๆ ดังนี้ :
- ภาคบริการมีประมาณ ร้อยละ 72.7 รายได้ประชาชาติมาจากภาคบริการ ที่สำคัญได้แก่ ภาคบริการด้านการเงิน การประกันภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภาคบริการการจำหน่าย เช่น การค้า การขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ภาคบริการสังคม เช่น สุขภาพ การศึกษา ภาคราชการ บริการด้านวัฒนธรรม และการพักผ่อน ภาคบริการบุคคล (personal services) อาทิ การท่องเที่ยว บริการต่าง ๆ สำหรับครัวเรือน และบริการรายบุคคลอื่น ๆ
- ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 23.3 อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ นาฬิกาและส่วนประกอบ สิ่งทอ
- ภาคเกษตรกรรมร้อยละ 4.0 ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ธัญพืช ผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์และไข่
- เศรษฐกิจของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นอยู่กับแรงงานที่มีทักษะและอาศัยความเชี่ยวชาญสูงทั้งทางด้านเทคโนโลยี และการเงินการประกันภัย เนื่องจากอุตสาหกรรมหลักประกอบด้วยไมโครเทคโนโลยี ไฮเทค เทคโนโลยีชีวภาพ เภสัชกรรม และธุรกิจการธนาคาร รวมทั้งการประกันภัย
- ระยะเวลาการทำงาน โดยเฉลี่ย 41- 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2) สวิตเซอร์แลนด์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูง จากรายงานดัชนีศักยภาพในการแข่งขันของ 142 ประเทศทั่วโลกประจำปี 2011-2012 ที่จัดทำโดย "เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม" ระบุ สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงสุดในขณะนี้ ขณะที่ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 39 ของโลก แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะมีค่าจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับสามของประเทศอุตสาหกรรมรองจากเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ แรงงานที่มีคุณภาพสูง บวกกับต้นทุนทางสังคมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันสูง
3) สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีความเป็นกลางทางการเมือง และเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง
4) ภาคอุตสาหกรรมของสวิตเซอร์แลนด์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แม้ประเทศจะมีขนาดเล็กแต่มีบริษัทข้ามชาติมากมายที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ อาทิ ด้านอาหาร (Nestle) เวชภัณฑ์ (Novartis, Roche) วิศวกรรม
5) สวิตเซอร์แลนด์ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศเป็นภูเขา เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น ที่สามารถทำการเพาะปลูก ซึ่งผลิตผลการเกษตรสามารถรองรับความต้องการด้านอาหารของประเทศได้เกินกว่า ครึ่งหนึ่ง แต่สวิสขาดแคลนวัตถุดิบ จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกกลับไปในรูปของผลิตภัณฑ์คุณภาพ คู่ค้าสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ได้แก่สมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development - OECD)
6) เศรษฐกิจสวิสผูกพันกับเศรษฐกิจยุโรปอย่างมากโดยเฉพาะเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์นำเข้าจากสหภาพยุโรปร้อยละ 63 (เยอรมนีร้อยละ 23) และส่งออกไปสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 80 (เยอรมนีร้อยละ 33) สวิตเซอร์แลนด์ขาดดุลการค้าตลอดมาเว้นแต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าลดลง แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะขาดดุลการค้ากับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) แต่สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลการค้าจากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเช่น สเปน โปรตุเกส และประเทศกำลังพัฒนา เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางเวชกรรม นาฬิกา และอัญมณี เป็นสินค้าส่งออกหลักของสวิตเซอร์แลนด์ สินค้านำเข้าหลักได้แก่เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า นาฬิกา เคมีภัณฑ์ ผลผลิตทางการเกษตร โลหะ สิ่งทอ และเครื่องแต่งกาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้แรงงานที่มีคุณภาพสูงของตนแปรรูปให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง การส่งออกภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปี 1996-1999 เพิ่มประมาณร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของการส่งออกทั้งหมด การท่องเที่ยวก็เป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมบริการ สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ประชาชาติสูงสุดของโลก การได้ดุลจำนวนมากนี้เป็นผลจากการทำธุรกรรมด้านบริการ โดยเฉพาะภาคการเงิน บริษัทสวิสลงทุนในต่างประเทศมากกว่าบริษัทต่างประเทศมาลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์ประมาณ 2.5 เท่า การลงทุนทางตรงของสวิตเซอร์แลนด์ในต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรปและ สหรัฐอเมริกา ในขณะที่สหภาพยุโรปมีสัดส่วนการลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์เป็นสองในสามของการลงทุนต่างประเทศในสวิตเซอร์แลนด์
7) ในแต่ละเดือนมีนักท่องเที่ยวสวิสมาเที่ยวเมืองไทยเฉลี่ยประมาณ 13,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 (ม.ค. - พ.ย.) มีนักท่องเที่ยวสวิสเดินทางเที่ยวไทยมากว่าปีก่อนหน้าร้อยละ 7.4
นโยบายทางการค้า นโยบายการค้าและกฎระเบียบทางการค้าของสวิตเซอร์แลนด์ดำเนินตามกรอบกฏเกณฑ์การค้าเสรีของ WTO
1. สินค้านำเข้าจะมีการจำแนกพิกัดสินค้าตามระบบ ฮาร์โมไนซ์ (H.S. Code) การเรียกเก็บภาษีจะเรียกเก็บในอัตราเดียวกันหรือใกล้เคียงกับที่สหภาพยุโรปกำหนดเอาไว้ตามชนิดของสินค้า
2. ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา สวิสได้ปรับนโยบายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การนำเข้าและการส่งออกสินค้าให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรปมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับการนำเข้าจากประเทศที่สาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งสนับสนุนการค้าและอำนวยความสะดวกการขนถ่ายสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันสหภาพยุโรปกำหนดให้มีการสุ่มตรวจสินค้าที่ขนถ่ายระหว่างสวิสและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 และคาดว่าเมื่อสวิสสามารถปฏิบัติตามกฎของสหภาพยุโรปได้เรียบร้อยแล้ว จะสามารถลดการสุ่มตรวจลงเป็น 0 เพื่อขจัดอุปสรรคด้านต้นทุนและเวลาลงได้ในที่สุด
อย่างไรก็ตามรัฐบาลสวิสได้มีข้อตกลงกับสหภาพยุโรปให้มีการแลกเปลี่ยนเสรีสินค้าและบริการ 7 สาขากับประเทศสมาชิก EU 15 ซึ่งเป็นสมาชิกแรกเริ่มของสหภาพยุโรป ได้แก่ research, public procurement, technical barriers to trade, agriculture, civil aviation, land transport, and the free movement of persons สำหรับประเทศสมาชิก EU 10 ที่เพิ่มเข้ามาหลังปี 2548 รัฐบาลสวิสยังมีท่าทีไม่พร้อมจะเปิดเสรีอย่างเต็มที่เนื่องจากยังกังวลเกี่ยวกับปัญหาแรงงานจากประเทศยุโรปตะวันออก ในขณะที่สหภาพยุโรปเองก็ยังวิจารณ์มาตรการกีดกันบริษัทต่างชาติผ่านการให้ความสำคัญในสนับสนุนบริษัทสวิสของรัฐบาลสวิส
1. กฎ/ระเบียบเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย การไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดปริมาณสารตกค้างในสินค้าผักและผลไม้ไม่เกินอัตราที่จะส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
2. การปรับเปลี่ยน ตั้งพิกัดสินค้าขึ้นใหม่ เพื่อสามารถควบคุมการนำเข้าสินค้านั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น
3. การกำหนดระเบียบเพิ่มเติมตามสถานการณ์ตลาด เช่น การเรียกร้องหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด เพื่อยืนยันแหล่งที่มาของสินค้า
สวิตเซอร์แลนด์มีสภาพเศรษฐกิจที่มั่งคั่งและมั่นคง มีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ การค้าส่วนมากเป็นการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นหลัก สวิสได้เปรียบดุลการค้าทุกปี ในปี 2553 สวิสมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 371,296.07 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้เปรียบดุลการค้า 19,340.41 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับปี 2554 (ม.ค.-พ.ย.) สวิสมีมูลค่าการค้าระว่างประเทศรวม 409,224.27 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้เปรียบดุลการค้า 25,494.23ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี มูลค้าการค้ารวม การส่งออก การนำเข้า ดุลการค้า (ล้าน $) (ล้าน $) (ล้าน $) (ล้าน$) 2549 289,351.43 147,883.72 141,467.71 6,416.01 2550 333,410.11 172,122.40 161,287.71 10,834.70 2551 383,535.98 200,335.65 183,200.33 17,135.31 2552 329,142.64 173,147.93 155,994.71 17,153.22 2553 371,296.07 195,318.24 175,977.83 19,340.41 2554 (ม.ค.-พ.ย.) 409,224.27 217,359.25 191,865.02 25,494.23 ที่มา - World Trade Atlas การนำเข้าและประเทศคู่ค้าสำคัญ ปี 2554 (ม.ค.-พ.ย.) เรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับที่ สินค้านำเข้าสำคัญ อัตราส่วน (%) ลำดับที่ ประเทศคู่ค้าสำคัญ อัตราส่วน (%) 1 ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ 10.03 1 เยอรมนี 32.61 2 เครื่องจักรกล/ส่วนประกอบ 10.01 2 อิตาลี 10.37 3 อัญมณีและเครื่องประดับ 8.93 3 ฝรั่งเศส 8.61 4 เชื้อเพลิง/น้ำมัน 8.35 4 สหรัฐ 4.89 5 ยานยนต์และชิ้นส่วน 7.83 5 เนเธอร์แลนด์ 4.46 รวม 45.15 21 ไทย 0.51 รวม 61.45 การส่งออกและประเทศคู่ค้าสำคัญ ปี 2554 (ม.ค.-พ.ย.) เรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับที่ สินค้านำเข้าสำคัญ อัตราส่วน (%) ลำดับ ประเทศคู่ค้าสำคัญ อัตราส่วน (%) 1 ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ 22.8 ที่ 2 เครื่องจักรกล/ส่วนประกอบ 12.2 1 เยอรมนี 20.27 3 นาฬิกา 9.1 2 สหรัฐ 10.10 4 เคมีภัณฑ์ออกานิค 8.8 3 อิตาลี 7.84 5 อัญมณีและเครื่องประดับ 8.2 4 ฝรั่งเศส 7.13 รวม 61.1 5 สหราชอาณาจักร 4.96 28 ไทย 0.54 รวม 50.84 2.7 การค้ากับประเทศไทย
ในปี 2554 (ม.ค.-พ.ย.) สวิสเป็นตลาดส่งออกอันดับ 11 ของไทย โดยนำเข้าสินค้าจากไทยรวมมูลค่าทั้งสิ้น 4,652.4 ล้านเหรีญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.34 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า นับตั้งแต่กลางปี 2553 มูลค่าการส่งออกของไทยไปสวิสเริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของยุโรปและของโลก ส่งผลให้สวิสปรับอันดับในฐานะตลาดส่งออกหลักของไทยมาอยู่ในอันดับที่สำคัญในระดับต้นๆ ปัจจุบันสวิสนับเป็นประเทศในทวีปยุโรปที่มียอดนำเข้าจากไทยสูงที่สุด อย่างไรก็ตามจากสถิติที่ผ่านมาไทยขาดดุลการค้ามาโดยตลอด
ในปี 2554 (ม.ค.-พ.ย.) สินค้าส่งออกหลักของไทยไปสวิส ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (82.90%) นาฬิกาและส่วนประกอบ (6.35%) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (1.81%) เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ(0.82%) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง (0.77%) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด (0.75%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง (0.65%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (0.49%) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (0.46 %)เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว (0.43%)
สินค้าหลักไทยส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์
ล้าน US $ การเจริญเติบโต สินค้า 2551 2552 2553 2554 53/54 (%)
(ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)
1 อัญมณีและเครื่องประดับ 1,259.0 2,636.5 3,447.0 3,856.9 18.26 2 นาฬิกาและส่วนประกอบ 256.0 155.0 210.0 295.4 54.77 3 ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน 76.2 17.2 48.8 84.3 72.91 4 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 28.9 39.2 45.3 38.2 -7.72 5 เครื่องใช้สำหรับเดินทาง 31.9 15.1 24.2 35.9 63.18 6 อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 25.3 25.7 36.1 35.0 5.46 7 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง 15.8 16.2 31.1 30.4 2.87 8 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 26.0 21.1 18.9 22.7 37.70 9 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 20.9 9.9 14.8 21.2 59.79 10 เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 20.4 13.7 20.3 20.0 5.04 รวมสินค้า 10 รายการ 1,760.3 2,949.5 3,896.6 4,440.1 20.79 อื่น ๆ 218.7 193.9 208.7 212.3 11.76 มูลค่ารวม 1,979.0 3,143.4 4,105.3 4,652.4 20.34 ที่มา -ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร สินค้าหลักไทยนำเข้าจากสวิตเซอร์แลนด์ ล้าน US $ การเจริญเติบโต สินค้า 2551 2552 2553 2554 53/54 (%)
(ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)
1 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 2,879.0 1,633.0 4,072.1 6,002.8 59.70 2 นาฬิกาและส่วนประกอบ 321.7 208.4 254.3 385.9 69.32 3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 184.6 160.1 159.8 177.2 30.94 4 เคมีภัณฑ์ 119.2 139.7 166.2 153.9 5.46 5 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม 44.5 39.1 103.7 105.5 11.28 6 เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาการ 34.2 39.4 45.3 52.7 30.92 7 สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 15.0 31.0 51.8 49.6 8.62 8 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 75.2 35.8 48.5 45.8 0.63 9 แผงวงจรไฟฟ้า 24.6 16.2 30.5 24.4 -8.75 10 ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 15.8 13.7 21.7 23.0 17.66 รวมสินค้า 10 รายการ 3,713.8 2,316.3 4,953.9 7,020.8 54.63 อื่น ๆ 243.4 178.5 202.6 205.5 11.42 มูลค่ารวม 3,957.2 2,494.9 5,156.5 7,226.3 52.94 ที่มา -ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร 2.8 โอกาสทางการค้า
1) นอกเหนือจาก สินค้านำเข้าสำคัญที่บอกไว้ข้างต้นแล้ว สินค้าที่ไทยมีศักยภาพสูงอื่นๆ อีก ดังนี้
- ข้าว สวิสเป็นผู้นำเข้าข้าวสำคัญของยุโรปและส่งขายในประเทศเพื่อนบ้านและทวีปแอฟริกา ทั้งข้าวธรรมดาและข้าวเกษตรอินทรีย์ โดยมีอัตราขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี 2554 ที่ผ่านมา
- สินค้าอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนประกอบของรถบรรทุก
- สินค้าของตกแต่งบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ของตกแต่งทำจากไม้หรือไม้แกะสลัก เนื่องจากชาวสวิสนิยมการตกแต่งบ้านและสวนด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ นอกจากนั้นสินค้าประเภทดีไซน์จากไทยก็ได้รับความนิยมด้วยเช่นกัน
- ธุรกิจร้านอาหารไทย ได้รับความนิยมมากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 3-5 ปีที่ผ่านมา โดยธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกค้า Hi-end เจาะตลาดบน โดยมากมักตั้งอยู่ในโรงแรมระดับ 4-5 ดาวตามเมืองใหญ่ๆ เสิร์ฟอาหารไทยแท้หรือ fusion food และกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-ล่าง ส่วนมากอยู่ในรูปของร้านเล็กๆ หรือ Imbiss มีที่นั่งประมาณ 10-20 ที่นั่ง ไม่เน้นการตกแต่งหรูหรามากนักแต่เน้นเสิร์ฟอาหารเร็ว หรือห่อกลับบ้าน ส่วนมากเป็นอาหารไทยแท้
- ธุรกิจสปาไทย เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยเน้นการนวดผ่อนคลายเครียดจากการทำงานเป็นหลัก
2) ลักษณะตลาดของผู้อยู่ในวัยทำงานและสูงวัยที่ใส่ใจกับคุณภาพชีวิต เช่น อาหารไทยเพื่อสุขภาพ แฟชั่นแต่งกายและของตกแต่งที่มีดีไซน์ มีเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ธุรกิจสปาและนวดไทย
3) ควรเน้นตลาดระดับ ระดับกลาง - บน และลงทุนฝนเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าและบริการ เนื่องจากชาวสวิสเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และเน้นคุณภาพเป็นหลัก
4) การสร้างพันธมิตร business partner ระหว่างสินค้า/บริการที่เกี่ยวเนื่องกันและเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศสวิส/ประเทศไทย อาทิ ร่วมมือกับร้านอาหารไทย สปาไทยเพื่อดึงนักท่องเที่ยวสวิส/ไทยมาใช้บริการมากขึ้นหรือทำให้รู้จักสินค้ามากขึ้น
3.รายงานสินค้าและตลาดที่น่าสนใจ
3.1 สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีการนำเข้าสินค้าอัญมณี เครื่องประดับแท้ เทียมและเครื่องใช้ทำด้วยโลหะมีค่า จากไทยในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (2552- พ.ย. 2554) เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 95.09 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดเฉลี่ยร้อยละ 0.64 โดยการนำเข้าจากไทยในช่วง 11 เดือนของปี 2554 มีมูลค่าทั้งสิ้น 107.61 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.86 เมื่อเทียบกับปี 2553 สินค้าที่มีการนำเข้าจากไทยมากได้แก่
(1) พลอย ส่วนใหญ่ผู้นำเข้าในยุโรปจะนิยมนำเข้าพลอยเจียระไนแล้ว เพื่อนำมาประกอบเป็นอัญมณีสำเร็จรูปภายใต้ดีไซน์ของตนเอง ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ย. 2554 มีการนำเข้า เป็นมูลค่า 45.37 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.54 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 ไทยจัดเป็นคู่ค้าลำดับที่ 4 รองจาก ฮ่องกง สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส
(2) เครื่องประดับแท้ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 37.04 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.47 โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.22
(3) เครื่องทองหรือเครื่องเงิน ทำด้วยโลหะสามัญ ที่หุ้มติดด้วยโลหะมีค่า (พิกัด H.S 7114) มีการนำเข้ามีมูลค่า 1.19 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.33 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31,824.75 ไทยจัดเป็นคู่ค้าลำดับที่ 7
ปัจจุบันการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในสวิตเซอร์แลนด์จะนำเข้าได้โดยเสรี ไม่มีข้อจำกัดหรือมาตราการ NTB
อัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าเครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียมอยู่ระหว่าง 80.00 - 3,999.00 สวิส ฟรังก์ per 100 kg gross คาดว่าในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าอัตราภาษีนำเข้าจะลดลงเป็น 0 ตามเงื่อนไข WTO ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซด์http://xtares.admin.ch/tares/home/homeForm Filler.d;jsessionid=LHWzPRwfSJT3CM8j8cPx0GLJpnPthnLD7qNzcykZmGQhjTb9zZmY!44352239 3
3.1.4 ขอบเขตสินค้าและภาษีนำเข้า
รายการ พิกัด H.S อัตราภาษีนำเข้าจากไทย 1. อัญมณี 1. เพชร 7102 80.00 Fr. per 100 kg gross
Additional tare 10% of the net weight
2. พลอย 7103 80.00 Fr. per 100 kg gross
Additional tare 10% of the net weight
3. ไข่มุก 7101 800.00 Fr. per 100 kg gross
Additional tare 20% of the net weight
2. เครื่องประดับแท้ 1. ทำด้วยเงิน 7113 11 713.00 Fr. per 100 kg gross
Additional tare 30% of the net weight
2. ทำด้วยทองคำ 7113 19 3,999.00 Fr. per 100 kg gross
Additional tare 30% of the net weight
3. ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 7113 20 713.00 Fr. per 100 kg gross
Additional tare 30% of the net weight
3. เครื่องประดับเทียม 7117.90 230.00 Fr. per 100 kg gross
Additional tare 15% of the net weight
4. อัญมณีสังเคราะห์ 7104 437.00 Fr. per 100 kg gross
Additional tare 10% of the net weight
5. ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 7108 0 % 6.โลหะมีค่า และของ 1. ฝุ่นและผงของรัตนชาติหรือกึ่งรัตน- 7105.10 80.00 Fr. per 100 kg gross อื่น ๆ ที่หุ้มด้วยโลหะมี ชาติที่ได้จากธรรมชาติหรือการ Additional tare 10% of the net weight ค่า สังเคราะห์ของเพชร 2. เงิน (รวมถึงเงินชุบด้วยทองคำ 7106.10 8.00 Fr. per 100 kg gross
หรือแพลทินัม) ยังไม่ได้ขึ้นรูป (อันรอต)
หรืออยู่ในลักษณะกึ่งสำเร็จรูปเป็นแผง
3. หุ้มติดด้วยเงิน ที่ไม่ได้ทำมากไปกว่า 7107.10 71.00 Fr. per 100 kg gross
ขั้นกึ่งสำเร็จรูป Additional tare 10% of the net
weight
4. หุ้มติดด้วยทองคำที่ไม่ได้ทำมากไป 7109.10 240.00 Fr. per 100 kg gross
กว่าขั้นกึ่งสำเร็จรูป Additional tare 10% of the net weight 5. ประกอบด้วย เงิน ทองที่หุ้มติดด้วย 7111 237.00 Fr. per 100 kg gross แพลทินัมที่ไม่ได้ทำมากไปกว่าขั้นกึ่ง Additional tare 15% of the net weight
สำเร็จรูป
6. เครื่องทองหรือเครื่องเงินทำด้วยโลหะ7114.20 317.00 Fr. per 100 kg gross
สามัญ ที่หุ้มติดด้วยโลหะมีค่า Additional tare 30% of the net weight
7. ประกอบด้วยตัวคะตะไลส์ที่มีลักษณะ 7115.10 2,301.00 Fr. per 100 kg gross
แบบผ้าหรือตะแกรงทำด้วยแพลทินัม Additional tare 30% of the net weight
8.ประกอบด้วยไข่มุกธรรมชาติหรือ 7116.10 2,627.00 Fr. per 100 kg gross
ไข่มุกเลี้ยง Additional tare 30% of the net weight ที่มา: กรมศุลกากรไทย อัตราภาษี ศุลกากรสวิตเซอร์แลนด์ ช่องทางตลาดและรสนิยมของผู้บริโภค
(1) สินค้าเครื่องประดับต่าง ๆ ที่ผลิตภายในประเทศ และที่นำเข้าจากต่าง ๆ ประเทศ ส่วนใหญ่จะนำเข้าโดยผู้นำเข้าเครื่องประดับ โดยช่องทางการจำหน่าย จะมีวางจำหน่ายกันมากตามเมืองใหญ่ ทั่วประเทศ เช่น ซูริค ลูเซิร์น เบิร์น เจนีวา เป็นต้น เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าวมีรายได้สูง ปัจจุบันในสวิตเซอร์แลนด์ มีร้านค้าขายปลีกเครื่องประดับซึ่งจะมีจำหน่ายนาฬิกาควบคู่กันไปด้วยกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 70 ช่องทางอื่น ๆของการจำหนายเครื่องประดับ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ประมาณร้อยละ 15 ทางอินเตอร์เน็ต และ TV-Shopping อีกร้อยละ 15 ทั้งนี้ ตลาดที่กำลังเติบโตและขยายตัวได้ดีคือการขายผ่านร้านขายที่เน้นให้บริการและคำแนะนำอย่างดีแก่ลูกค้าควบคู่กับกับขายนั่นเอง
(2) จากการที่สวิตเซอร์แลนด์ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในยุโรป ประกอบกับอัตราค่าเงินสวิส ฟรังก์ที่แข็งตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้ราคาต้นทุนการผลิต รวมทั้งราคาสินค้าแพงขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตามความนิยมในการใช้เครื่องประดับอัญมณีก็ยังมีอยู่และนิยมซื้อให้เป็นของขวัญ แต่จะเน้นในเรื่องของราคาเป็นหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นจะเลือกซื้อโดยดูจากรูปแบบ และราคาเป็นหลัก
(3) เครื่องประดับที่คนสวิสนิยมยังคงเป็นนาฬิกา เครื่องประดับทองและเงิน หรือพลาตินัมรวมทั้งที่เป็น Enamel สำหรับของขวัญนิยมให้เป็นนาฬิกา มากกว่าเครื่องอิเลคโทรนิค เช่น Iphone หรือ Ipad
(1) แม้ว่าเศรษฐกิจยุโรปในปี 2555 จะยังคงไม่แจ่มใสนัก แต่ในหมวดสินค้าแบรนด์เนมและสินค้าเครื่องประดับยังมีแนวโน้มดี
(2) แม้ว่าสวิสจะประสบกับผลกระทบเศรษฐกิจของยุโรป แต่ความต้องการเครื่องประดับประเภทพลอยเจียระไนยังคงมีมากเพื่อนำไปใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากสวิสเป็นประเทศที่มีรายได้หลักมาจากการส่งออกทอง และเครื่องประดับ สวิสนำเข้าพลอย) รัตนชาติ (มาจากไทยมากเป็นอันดับที่ 4 รองจาก ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส
(3) เนื่องจากราคาทองปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด ปัจจุบันเครื่องประดับเพชรที่ตัวเรือนทำด้วย Platinum หรือเครื่องประดับที่ทำจาก Platinum ล้วน จะเริ่มมีบทบาทมากกว่าทอง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ในปี 2555 นี้เครื่องประดับรูปทรง Oceanographic หรือเครื่องประดับที่ใช้เปลือกหอยจริง ลูกปัด ไข่มุก รวมทั้งนาฬิกาจะยังคงมีแนวโน้มความต้องการดี
(4) ปัจุบันผู้บริโภคจำนวนมากมีอาการแพ้สารโลหะที่เป็นส่วนผสมของเครื่องประดับ เช่น สารนิเกิล ดังนั้นในการเสนอขายหากสามารถระบุข้อดีของสินค้าว่าไม่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวก็จะช่วยให้ความมั่นใจแก่ผู้นำเข้าได้
สินค้าดังกล่าวมีงานแสดงสินค้าที่สำคัญในสวิสเซอร์แลนด์ได้แก่ งานแสดงสินค้า Baselworld
เป็นงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับนาฬิกา อัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในโลก ผู้จัดงานโดย Schweizer Mustemesse Basel (เป็นองค์กรบริหารแบบเอกชน แต่มีเครือข่ายสนับสนุนจากภาครัฐ) นับเป็นงานที่ผู้อยู่ในวงการนาฬิกาอัญมณีและเครื่องประดับจะพลาดไม่ได้ งานนี้จัดขึ้นในช่วงมีนาคม ของทุกปี ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปีนี้ จะจัดระหว่างวันที่ 8 -15 มีนาคม 2555
งานนี้จัดครั้งแรกเมื่อปี 2460 และเริ่มให้มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าจากต่างประเทศนอกยุโรปครั้งแรกเมื่อปี 2529 แต่เปิดอาคารแสดงสินค้าใหม่ (Hall 6) ให้ผู้ร่วมแสดงสินค้าจากเอเชียหรือต่างประเทศอื่นในปี 2547 และเดิมใช้ชื่องานว่า Basel เพิ่งจะเปลี่ยนชื่อเป็นงาน Baselworld เมื่อปี 2546
งาน Baselworld มีพื้นที่แสดงสินค้ากว่า 160,000 ตารางเมตร โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณมากกว่า 1,892 รายจาก 45 ประเทศทั่วโลก โดยทั่วไปมีผู้เข้าร่วมงานในยุโรป 1,206 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.7 ของผู้ร่วมแสดงสินค้าทั้งหมด (กลุ่มใหญ่ได้แก่ สวิสมากกว่า 450 ราย เยอรมันมากกว่า 150 ราย ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน ฯ) จากเอเชีย 522 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.6 ของผู้ร่วมแสดงสินค้าทั้งหมด (ฮ่องกงประมาณ 280 ราย ไทย 50 ราย จีน อินเดีย ฯ) จากอเมริกาเหนือ 85 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.5 ของผู้ร่วมแสดงสินค้าทั้งหมด และอื่นๆ 79 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.2 ของผู้ร่วมแสดงสินค้าทั้งหมด
ประเภทสินค้าที่จัดแสดง แบ่งเป็นนาฬิกา 627 ราย
529 ราย โดยพื้นที่แสดงสินค้าส่วนใหญ่เป็นนาฬิกากว่าร้อยละ 30.9 เครื่องประดับร้อยละ 39.6 และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจ ร้อยละ 29.5 สำหรับจำนวนผู้เข้าชมงานในปี 2554 ที่ผ่านมา มีผู้ชมงานที่เป็นนักธุรกิจ-ผู้ซื้อผู้ขายในวงการ กว่า 103,200ราย จากประเทศต่างๆ มากกว่า 100 ประเทศ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 จำนวนประมาณ 2,580 รายหรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 นอกจากนี้ยังมี Journalist เข้าชมงานมากกว่า 2,900 ราย จาก 70 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้ชมงานเพิ่มมากกว่าปีที่แล้ว แม้ว่าจำนวนที่เพิ่มจะไม่มากนักแต่คุณภาพของผู้ชมงานเป็นในแนวทางที่ดีขึ้นมาโดยตลอด
การเข้าร่วมงาน Baselworld จึงเป็นโอกาสที่ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยจะได้รู้แนวโน้มความต้องการของตลาด) วิธีการผลิต กระบวนการพัฒนาและใช้เทคนิคใหม่ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ (และได้ข้อมูลคู่แข่งขันจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิเช่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา ฮอ่งกง จีน ตุรกี เป็นต้น และจะเป็นโอกาสเดียวที่จะได้สัมผัสกับลูกค้าทันที โดยรับทราบข้อคิดเห็นและความต้องการของลูกค้าและตลาดเพื่อนำกลับมาปรับปรุงรูปแบบและราคา
(1) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของ EU โดยตรง เนื่องจากมีนโยบายการเงินเป็นเอกเทศและไม่มีข้อผูกมัดในการให้การสนับสนุนด้านนโยบายการเงินแก่กลุ่ม EU อย่างไรก็ตามตั้งแต่ช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา สวิสประสบปัญหาค่าเงินสวิสฟรังก์แข็งตัวอย่างมากอันเป็นผลมาจากความผันผวนของตลาดเงินโลกทำให้มีการซื้อเงินสวิสฟรังก์เก็บไว้อย่างกว้างขวาง จนกระทั่งรัฐบาลสวิสต้องออกมาตรการค้ำประกันเงินสวิสฟรังก์ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรซึ่งเป็นตลาดสำคัญ
(2) สำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรจากไทยยังคงเติบโตได้ดีในภาพรวมทั้งสองรายการ จากสถิติการส่งออกไทย-สวิส (ม.ค.-พ.ย. 54) ไทยสามารถขยายการส่งออกสินค้าในหมวดดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะขยายตัวได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิประมาณร้อยละ 60-70 และอาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาทูน่ากระป๋องซึ่งเป็นสินค้าหลัก คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มสินค้า โดยนำไปทำในธุรกิจร้านอาหารและอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง
(3) สวิสเป็นตลาดสินค้าเกษตรและอาหารที่มีศักยภาพของไทยเนื่องจากมีกำลังซื้อสูงและสินค้าจากไทยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตลาดบนซึ่งให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าราคา โดยที่ผ่านมาสินค้าไทยเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมสูง ทั้งในตลาด Mainstream เช่น ห้าง Migros, C oop, Manor, Denner และตลาดเอเชีย (4) ปัญหาที่สินค้าไทยประสบหนักที่สุดคือ ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ซึ่งมีปริมาณการส่งเข้าตลาดสวิสได้ลดลงอย่างมากตั้งแต่ต้นปี 2254 ที่ผ่านมาอันเป็นผลมาจากมาตรการคุมเข้มของสหภาพยุโรป ทำให้สวิสซึ่งอยู่ในระหว่างการปรับกฎเกณฑ์การนำเข้าให้คล้ายคลึงกับสหภาพยุโรปจำเป็นต้องตรวจเข้มซึ่งรวมไปถึงผักสดผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศเอเซียอื่นๆ การตรวจเข้มผักสดผลไม้จากเอเซียมีผลทำให้ยุโรปหันมานำเข้าจากประเทศผู้ผลิตใตยุโรปเองเช่น เนเธอร์แลนด์ หรืออิสราเอล หรือใช้ผักชนิดอื่นที่มาจากแถบเมดิเตอร์เรเนียนทดแทน (5) ประเด็นสำคัญที่ผู้ส่งออกไทยต้องคำนึงถึงและดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือการเน้นผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ และมีระบบการควบคุมที่ทั่วถึง รวมทั้งการการันตีปริมาณการส่งออกตามที่ลูกค้าต้องการเพื่อสร้างความเชื่นทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ
ความสำคัญของตลาดตลาดผลไม้ของสวิตเซอลนด์นับเป็นตลาดขนาดเล็กเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปอื่น หากแต่เป็นตลาดพรีเมี่ยมที่มีอำนาจการซื้อสูง สินค้าผลไม้กว่าครึ่งหนึ่งเป็นสินค้านำเข้าเนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกตลอดทั้งปี ในระยะ 3-5 ปีที่ผ่านมาชาวสวิสนิยมบริโภคผลไม้มากยิ่งขึ้นเนื่องจากหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ตลาดสินค้าผลไม้ในสวิสขยายตัวมากขึ้นตามลำดับ
ประเภทสินค้า ผลไม้ในสวิสเซอร์แลนด์จำแนกได้ดังนี้
(1) ผลไม้ที่ปลูกในประเทศ เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ ลูกแพร์
(2) ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศยุโรปอื่น เช่น แพร์ เชอร์รี่ ลูกพรุน แอปริคอท
(3) ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถเพาะปลูกในสวิสได้ (exotic) เช่น สับปะรด กล้วย องุ่น ส้ม มะละกอ กีวี โดยจะนำเข้าจากประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน หรือแถบเอเซีย
ขนาดบริโภค ปัจจุบันสวิสมีประชากรประมาณ 3 ล้านครัวเรือน โดยมากเป็นครอบครัวขนาดเล็ก เฉลี่ย 2.2 คนต่อ 1 ครัวเรือน ส่งผลต่อวิถีการบริโภคซึ่งเน้นสินค้าคุณภาพสูงเป็นหลัก โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมจะเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพื่อสะดวกในการรับประทานและสินค้าแพ็คเล็กซึ่งมีขนาดเหมาะสมต่อการบริโภคต่อ 1 ครั้ง เช่น ผลไม้รวมหั่นเป็นชิ้นพอคำ หรือสับปะรดปอกเปลือกหั่นเป็นแว่น บรรจุกล่องพลาสติกใสขนาด 100 /200 กรัม
กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(1) อัตราภาษี
- สินค้าผลไม้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าพื้นเมืองหรือนเข้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.4 %
- ภาษีนำเข้า จำแนกเป็นตามประเภทของสินค้า ได้แก่
ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศยุโรปอื่น ต้องระวางภาษีตามฤดูกาลที่นำเข้าสินค้านั้นๆ มาในสวิส หากนำเข้าในช่วงฤดูกาลที่มีสินค้าท้องถิ่นชนิดเดียวกันวางจำหน่าย จะต้องเสียภาษีในปริมาณสูงมากกว่าในฤดูกาลที่ไม่มีสินค้าท้องถิ่นวางขาย นอกจากนั้นอัตราภาษียังขึ้นอยู่กับปริมาณโควต้าของสินค้าในแต่ละช่วงของปีอีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราภาษี www.taxation.ch
ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆ เช่น สับปะรด มะม่วง จากประเทศไทย ไม่มีภาษีนำเข้าและไม่มีการกำหนดปริมาณการนำเข้า
(2) กฎระเบียบสิน้าทุกประเทศต้องปฏิบัติตามกฎของรัฐ ที่สำคัญได้แก่
- Global GAP สำหรับสินค้านำเข้า (www.globalgap.org) และ Swiss GAP (www.swissgap.ch )สำหรับสินค้าท้องถิ่น
- กฎหมายว่าด้วยสินค้าเพื่อการบริโภค (มาตรา 817.0)
- กฎระเบียบว่าด้วยการปนเปื้อนของสารเคมีและสารตกค้างในสินค้า (มาตรา 817.021.23)
- กฎระเบียบว่าด้วยสาร additive ต่างๆ ในผลไม้ (มาตรา 817.022.31)
- กฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัยของผู้บริโภค (มาตรา 817.024.1)
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลรายละเอียดข้อกฎหมายข้างต้นได้ตามเวบไซด์รัฐบาลสวิสใน 3 ภาษาราชการของส วิส ดังนี้ www.admin.ch/ch/d/sr/sr.html (ภาษาเยอรมัน) www.admin.ch/ch/f/sr/sr.html (ภาษาฝรั่งเศส) www.admin.ch/ch/i/sr/sr.html (ภาษาอิตาลี)
มาตรฐานการนำเข้า นอกเหนือจากกฎระเบียบดังกล่าวข้างต้นแล้ว สวิสยังอิงกับมาตรฐานการนำเข้าสินค้าลไม้ของยุโรปอีกด้วย สำหรับมาตรฐานการนำเข้าที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
กรมวิชาการเกษตร โดยสินค้าที่จะสามารถส่งออกได้จะต้องมาจากแปลงของเกษตรกรที่ได้รับการรับรองระบบ GAP และผ่านการคัดบรรจุจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบ GMP และสินค้าต้องผ่านการตรวจสอบดังนี้
- การตรวจสอบสารตกค้างและจุลินทรีย์ในพืชควบคุมเฉพาะสินค้าต้องต้องมีปริมาณสารตกค้างและการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ในปริมาณที่ไม่เกินกว่าที่ระบุไว้ในระเบียบ (MRL) ตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ สำหรับเชื้อจุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับซาโมเนลลาและอีโคไล การตรวจสอบกระทำผ่านห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตรและห้องปฎิบัติการเอกชนภายใต้การกํกับดูแลของกรมวิชาการเกษตร ผลการสุ่มตรวจสอบสินค้าจากห้องปฏิบัติการเอกชนหรือที่เรียกว่าใบรายงานผลการวิเคราะห์จะต้องถูกส่งมาให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรเพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยให้แก่ผู้ส่งออก ปริมาณค่าMRLที่กำหนดดูได้จาก http://ec.europa.eu/sanco_pesticides /public/index.cfm
- การตรวจสอบศัตรูพืชกักกันในพืชควบคุมสินค้าจะต้องมีการสุ่มตรวจศัตรูพืชกักกัน ณ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หากตรวจพบศัตรูพืชกักกันสินค้าที่ถูกตรวจพบจะถูกคัดทิ้ง ในขณะที่ส่วนที่ตรวจสอบแล้วไม่พบศัตรูพืชกักกัน เจ้าหน้าที่จะออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้แก่ผู้ส่งออก
(2) มาตรฐานทางการตลาด (EU Marketing Standard) สหภาพฯกำหนดมาตรฐานทางการตลาดครอบคลุมถึงขนาดความสดและบรรจุภัณฑ์ของพืช ผักและผลไม้ ซึ่งผักและผลไม้ที่จะนำเข้าต้องติดฉลากระบุผู้ผลิต ลักษณะสินค้า ประเทศต้นกำเนิด และขนาดของผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน
(3) มาตรฐานของกลุ่มผู้นำเข้าภาคเอกชนในสหภาพฯ (Private Initiatives) เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริษัทคู่ค้าเอกชนเองแต่มิได้เป็นกฎข้อบังคับในการนำเข้าจากสหภาพยุโรปแต่อย่างใด นับเป็นมาตรฐานของภาคธุรกิจกันเองโดยสหภาพฯถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้บริโภคเนื่องจากบางมาตรฐานเรียกได้ว่าสูงกว่ากฎระเบียบของภาครัฐ มาตรฐานที่สำคัญ ได้แก่
- Euro-retailier Produce Working Group-EUREP โดยกลุ่มผู้ค้าปลีกในสหภาพได้ริเริ่มจัดตั้งหลักปฏิบัติทางด้านการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) กำหนดมาตรฐาน EUREP GAP สำหรับผัก ผลไม้ สินค้าปศุสัตว์ รวมทั้งไม้ดอก เพื่อให้ผู้บริโภคในสหภาพฯ ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารที่ได้จากผลผลิตเกษตร อีกทั้งกระบวนการผลิตต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- Fair Trade สัญลักษณ์การค้าเพื่อความเธรรม ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจรับรองจาก FLO (Fairtrade Labelling Orga nisations International) โดยมีหลักเกณฑ์หลายประการ อาทิ การซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกรโดยตรงในราคาที่สูงกว่าและเป็นธรรม มีการช่วยเหลือเกษตรกรในการพัฒนาการผลิต การจัดการและการจำหน่าย
(1) ธุรกิจร้านอาหาร/โรงแรม คิดเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดทั้งหมด โดยนำเข้าสินค้าเป็น pack ใหญ่ หรือเป็น Bulk
(2) ร้านค้าปลีก คิดเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่าตลาดทั้งหมด โดยมีผู้นำเข้าหลักเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของสวิส 2 ห้าง คือ Migros และ Coop ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดรวมกันทั้งสิ้นร้อยละ 80 นอกนั้นเป็นร้านค้าย่อย/ห้างสรรพสินค้าต่างๆ เช่น Manor, Globus และร้านจำหน่ายผลไม้ขนาดเล็ก เป็นต้น
3.4 ตลาดข้าวในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ข้าวเป็นสินค้าประเทศธัญพืชที่ได้รับความนิยมในตลาดสวิสมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาชาวสวิสหันมานิยมบริโภคข้าวมากขึ้นจากเดิมซึ่งมีมันฝรั่งและขนมปังเป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีการวิจัยในยุโรปว่าข้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และไม่มีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ เช่น Glutin ที่มีในข้าวสาลี การบริโภคนิยมบริโภคข้าวควบคู่กับเนื้อสัตว์หรือผัก เนื่องจากสวิสเป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป ข้าวที่จะได้รับความนิยมและสามารถจำหน่ายในสวิสได้คือต้องเป็นข้าวคุณภาพสูงเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวขาวเต็มเมล็ด
นอกจากข้าวเพื่อการบริโภคแล้ว สวิสยังมีการนำเข้าปลายข้าว/ข้าวหักหรือข้าวเปลือก เพื่อเป็นอาหารสัตว์ด้วย โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าในส่วนนี้ในแต่ละปีจะขึ้นอยู่กับราคาเป็นหลัก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับราคาอาหารสัตว์ประเภทๆในช่วงเวลานั้นๆ จากสถิติการนำเข้าในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา สวิสนำเข้าข้าวเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้นอย่างเด่นชัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการในภาคปศุสัตว์ด้วยเช่นกัน การผลิต สวิตเซอร์แลนด์ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้เนื่องจากปัจจัยทางภูมิประเทศและภูมิอากาศ ข้าวจึงเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้าแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
(1) ประเภทข้าว จำแนกตามประเภทการบริโภค ดังนี้ - ข้าวสำหรับการบริโภค ได้แก่ *White Rice: Semi/wholly milled ข้าวขาวที่ผ่านการขัดสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จ (H S:100630) (รวมถึงข้าวหอมมะลิด้วย) *Bro wn Rice ข้าวกล้อง ข้าวที่กระเทาะเปลือกแล้วแต่ยังไม่ได้ขัด (HS:100620) *Paddy Rice ข้าวเปลือก (HS:100610) ใช้เพื่อการบริโภคกว่าร้อยละ 90 - ข้าวสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ *Bro ken Rice ปลายข้าว ข้าวหัก (HS:100640) *Paddy Rice ข้าวเปลือก (HS:100610) ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ประมาณร้อยละ 5
(2) ปริมาณ ชาวสวิส 1 คน บริโภคข้าวประมาณ 5 ฝ กิโลกรัมต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆทั้งนี้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ร่วมกับผู้นำเข้าจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าอาหารไทยในสวิสอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้นและเป็นการกระตุ้นการบริโภคข้าวไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) รสนิยมในการบริโภค
- จำแนกตามกรรมวิธีการผลิต ได้แก่
- ข้าวนึ่ง (parboiled) เป็นข้าวผ่านกรรมวิธีแล้วโดยนำข้าวเปลือกหรือข้าวกล้องนำมาแช่น้ำจนอิ่มตัวแล้วนำไปอบด้วยไอน้ำ จากนั้นทำให้แห้งเพื่อจะนำไปสีเอาเปลือกออก ในระหว่างการดำเนินตามกรรมวิธีนี้โครงสร้างของเซลล์ในเมล็ดข้าวจะถูกเปลี่ยนไป โดยเซลลูโลสของผนังเซลล์เล็กๆ จะถูกทำลาย ส่วนที่เป็นแป้งจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นมวลผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกันจับตัวกันแน่น ข้าวนึ่งได้รับความนิยมสูงมากในตลาดสวิสเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ระยะเวลาในการหุงต้มสั้นกว่าข้าวธรรมดา เก็บไว้ได้นาน เมล็ดข้าวไม่เหนียวติดกันซึ่งตรงกับความนิยมในการบริโภคของชาวสวิสและชาวยุโรป นอกจากนั้นข้างนึ่งยังมีความแข็งสูงกว่าข้าวทั่วไปทำให้ไม่แตกหักง่ายในระหว่างการขนส่งอีกด้วย ข้าวนึ่งในตลาดสวิสจำแนกเป็นข้าวกล้องและข้าวขาว
- ข้าวไม่ผ่านกรรมวิธีได้แก่ ข้าวกล้องและข้าวขาวปกติ
- จำแนกตามชนิดของข้าวและแหล่งผลิตข้าวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ผู้บริโภคชาวสวิส ได้แก่
- Par boiled Long-grain rice เป็นข้าวขัดสีแล้วจากอเมริกา เมื่อหุงแล้วจะเป็นสีขาว เมล็ดไม่เหนียวติดกัน
- Vialone rice (medium to long grain) เป็นชนิดของข้าว risotto ของอิตาลีที่ใช้บริโภคกันมากที่สุด
- Arborio rice (medium grain) เป็นชนิดของข้าว risotto ของอิตาลีแบบดั้งเดิม ใช้บริโภคกับอาหารอิตาลี เมื่อหุงแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่มและเหนียวเล็กน้อย
- Jasmine rice (long grain) ข้าวหอมมะลิของไทย นิยมรับประทานกับอาหารเอเชีย
- Camolino/ Originario (rice pudding/round grain) ใช้หุงเป็นข้าวต้ม/ซุปหรือทำเป็นขนมหวาน ขณะหุงเมล็ดข้าวจะดูดน้ำค่อนข้างมาก เมื่อสุกแล้วจะเหนียวเล็กน้อย
- Whole rice (medium or long-grain) ข้าวกล้องซึ่งคงคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน*Basmati rice (long grain) ได้รับสมญานามว่าเป็น ,Th e King of Fragrances" เมื่อหุงแล้วเมล็ดข้าวไม่เหนียวติดกัน ใช้รับประทานกับอาหารเอเชีย อาหารอาหรับ
- Parboiled risotto (medium gr ain) ข้าวนึ่ง risotto ที่ผ่านกรรมวิธีทำให้ไม่เหนียวติดกัน เป็นทางเลือกใหม่เพิ่มจากข้าว risotto แบบเดิม
- Mixtures ข้าวผสมระหว่างชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและดึงดูดความสนใจของลูกค้า
(ช่องทางการจัดจำหน่าย ที่สำคัญ ได้แก่
- ร้านซุปเปอร์มาเก็ต/ไฮเปอร์มาเก็ต/ห้างสรรพสินค้า เช่น Migros, Coop โดยมากจำหน่ายขนาดบรรจุ 0.5 ก.ก. - 1 ก.ก. (ขนาดเล็ก)
- ร้านค้าส่งขนาดใหญ่ เช่น Prodega จำหน่ายขนาดบรรจุ 20 ก.ก. สำหรับลูกค้าร้านอาหารหรือธุรกิจร้านอาหาร/Catering/โรงแรม
- ร้านเอเชียจำหน่าย ขนาดบรรจุ 4.5/5/20 ก.ก. ซึ่งเป็นขนาดกลาง - ใหญ่ ลูกค้าส่วนมากเป็นชาวเอเชียและร้านอาหารเอเชีย
(2) ชนิดของข้าวที่บรรจุขาย
- ข้าวบรรจุถุงสำเร็จรูปพร้อมหุง ขนาด 250 กรัม บรรจุภัณฑ์ภายนอกเป็นกล่องกระดาษ ข้างในบรรจุข้าวสารในถุงพลาสติกเจาะรูปริมาณพอเหมาะต่อ 2-3 คน ผู้บริโภคสามารถหุงได้ตามเวลาที่ระบุไว้ข้างกล่อง (ประมาณ 17-20 นาที) เมื่อสุกแล้วดึงถุงพลาสติกขึ้นตัดออกใส่จานพร้อมรับประทานได้ทันที ซึ่งเป็นวิธีการหุงข้าวที่ง่ายและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวยุโรปอย่างมาก
- ผลิตภัณฑ์ข้าวบรรจุในถุงพลาสติก มีราคาถูกกว่าข้าวถุงบรรจุสำเร็จรูป ขนาดบรรจุที่วางจำหน่ายโดยทั่วไปดังนี้
(3) ขนาดบรรจุ
1/2 กิโลกรัม จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ และห้างซุปเปอร์มาเก็ตทั่วประเทศ
1 กิโลกรัม จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ และห้างซุปเปอร์มาเก็ตทั่วประเทศ
4.5 กิโลกรัมหรือ 5 กิโลกรัม จำหน่ายในร้านสินค้าเอเชียและร้านค้าส่ง
25 กิโลกรัม จำหน่ายในร้านสินค้าเอเชียและร้านค้าส่ง
การนำเข้า / ส่งออกข้าวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
(1) การนำเข้าข้าว
จากสถิติการนำเข้าข้าวของสวิตเซอร์แลนด์ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) สวิสนำเข้าข้าวจากทั่วโลกโดยเฉลี่ยคิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 73.28 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,418 ล้านบาท สำหรับปี 2553 สวิสนำเข้าสินค้าข้าวจากทั่วโลกรวมมูลค่าทั้งสิ้น 72.20 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อน 0.056 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ0.08 สำหรับการนำเข้าข้าวของสวิสในเดือนม.ค.-พ.ย. 2554 สวิสนำเข้าข้าวรวมมูลค่าทั้งสิ้น 90.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.12 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 36 .07 เมื่อเทียบกับปีก่อนระยะเวลาเดียวกัน โดยมีการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญเรียงตาม ลำดับ ดังนี้
ตารางที่ 1 ประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคของสวิตเซอร์แลนด์ ป554 (ม.ค.-พ.ย.)
ลำดับ ประเทศ มูลค่าการนำเข้า ส่วนแบ่งการตลาด อัตราการขยายตัว ที่ (ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) ทั่วโลก 90.97 100 36.07 1 บราซิล 24.73 27.19 86.48 2 อิตาลี 23.13 25.43 57.25 3 ไทย 16.28 17.9 22.48 4 อินเดีย 7.85 8.63 1 02.24 5 เบลเยี่ยม 6.49 7.14 7.33 6 สหรัฐอเมริกา 2.99 3.29 69.34 7 เยอรมนี 2.78 3.05 52.14 8 ปากีสถาน 2.44 2.68 -38.9 9 เนเธอร์แลนด์ 1.93 2.12 7.89 10 ฝรั่งเศส 0.34 0.37 96.78 ที่มา กรมศุลกากรสวิส
- การนำเข้าจำแนกตามประเภทของข้าว สวิสนำเข้าข้าวจากทั่วโลกที่สำคัญ 4 ประเภท เรียงตามมูลค่าการนำเข้าได้ดังนี้
- White Rice: Semi/wholly milled ข้าวขาวที่ผ่านการขัดสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จ (HS:100630) มีการนำเข้าในปริมาณมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 55-60 ของปริมาณการนำเข้าโดยรวมและเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าเพื่อการบริโภค มูลค่าการนำเข้าในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) เฉลี่ยประมาณปีละ 43.68 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2553 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 39.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.23 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศคู่ค้าสำคัญได้แก่ ไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอันดับ 1 มาตั้งแต่ปี 2550 โดยทิ้งห่างประเทศคู่ค้าอันดับสองเกือบเท่าตัว ในปี 2553 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 36 ประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ได้แก่ อิตาลี (20.03%) เบลเยี่ยม (16.34%) ซึ่งนำเข้าข้าวเปลือกหรือข้าวกล้องมาเพื่อขัดสี/บรรจุภัณฑ์และส่งออก อินเดีย (8.30%) และปากีสถาน (5.47%)
- Broken Rice ปลายข้าว ข้าวหัก (HS:100640) มีการนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20-30 ของปริมาณการนำเข้าโดยรวมและเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ สัดส่วนการนำเข้ามักขึ้นอยู่กับราคาของข้าวหักเองและราคาธัญพืชซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆ มูลค่าการนำเข้าในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) เฉลี่ยประมาณปีละ 17.29 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2553 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22.57 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.78 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศคู่ค้าสำคัญได้แก่ บราซิล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอันดับ 1 มาโดยตลอดแม้ว่ายอดส่งออกในปี 2553 จะ ลดลงกว่าปีก่อนหน้าอย่างมากก็ตาม โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 57.19 ประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ได้แก่ อียิปต์ (14.41%) ปากีสถาน (8.74%) และอิตาลี (6.76%)
- Brown Rice ข้าวกล้อง ข้าวที่กระเทาะเปลือกแล้วแต่ยังไม่ได้ขัด (HS:100620) มีการนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 15-20 ของปริมาณการนำเข้าโดยรวม เป็นการนำเข้ามาเพื่อการบริโภคกว่าร้อยละ 90 มูลค่าการนำเข้าในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) เฉลี่ยประมาณปีละ 12.15 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2553 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.41 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศคู่ค้าสำคัญได้แก่ อิตาลีและสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ในปี 2550-2551 การนำเข้าจากสหรัฐได้ลดน้อยลงจนเกือบเป็นศูนย์และเพิ่งกลับมานำเข้าอีกครั้งในปี 2552 แต่ในปริมาณที่น้อย ส่งผลให้อิตาลีสามารถส่งออกไปสวิสได้มากขึ้นอีกเท่าตัวและกลายเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอันดับ 1 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดย
ในปี 2553 อิตาลีมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 68.09 ประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ได้แก่ อินเดีย (12.66%) สหรัฐ (8.6%) และเยอรมนี (1.6%)
- Paddy/Rough/In Husk ข้าวเปลือก (HS:100610) มีการนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.21 ของปริมาณการนำเข้าโดยรวม และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการนำเข้าเพื่อมาขัดสีและบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภคกว่าร้อยละ 90 และเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ประมาณร้อยละ 5 มูลค่าการนำเข้าในระยะ 3
ปีที่ผ่านมา (2551-2553) เฉลี่ยประมาณปีละ 0.08 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2553 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 0.05 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 70.63 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ อียิปต์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอันดับ 1 ตั้งแต่ปี 2543-2553 อย่างไรก็ตามในปี 2553 อียิปต์ไม่สามารถส่งออกข้าวไปยังสวิสได้เนื่องจากปัญหาการเมืองภายใน ทำให้ประเทศคู่ค้าสำคัญอื่นสามารถแซงหน้าขึ้นมาได้ ได้แก่ โปรตุเกส (57.71%) อิตาลี (22.36%) และเยอรมนี (10.00%)
- การนำเข้าจากประเทศไทย
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) สวิสนำเข้าข้าวจากไทยโดยเฉลี่ยคิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 16.74 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 669.6 ล้านบาท โดยในปี 2553 สวิสนำเข้าข้าวไทยรวมมูลค่าทั้งสิ้น 20.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.39 สำหรับเดือนม.ค.พ.ย. 2554 สวิสนำเข้าจากไทยทั้งสิ้น 16.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.48 เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
การนำเข้าจากประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นข้าวขาวเต็มเมล็ดเนื่องจากชาวสวิสให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าระดับสูงสุด โดยข้าวขาวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 95-100 ของมูลค่าการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด รองลงมาได้แก่ข้าวกล้องและข้าวหักตามลำดับ รายละเอียดจำแนกตามประเภทข้าวได้ดังนี้
- ข้าวขาวที่ผ่านการขัดสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จ (HS:100630) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยประมาณปีละ
- ข้าวกล้อง ข้าวที่กระเทาะเปลือกแล้วแต่ยังไม่ได้ขัด (HS:100620) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยประมาณปีละ 0.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 0.64 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.27 จากมูลค่าการนำเข้าจากไทยทั้งหมด
- ปลายข้าว ข้าวหัก (HS:100640) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยประมาณปีละ 0.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 0.04 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.04 จากมูลค่าการนำเข้าจากไทยทั้งหมด
(2) การส่งออก
เนื่องจากประเทศสวิสไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้เอง ข้าวที่ส่งออกจึงเป็นข้าวที่นำเข้ามาจากประเทศอื่น โดยอาจมีการผ่านกระบวนการขัดสีและบรรจุภัณฑ์ใหม่แล้วส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง โดยในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกข้าวของสวิสเฉลี่ยประมาณปีละ 1.60 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2553 มีการนำเข้าข้าวขาวร้อยละ 86.98 ข้าวกล้องร้อยละ 11.88ข้าวหักร้อยละ 1.07 และข้าวเปลือก/ปลายข้าวร้อยละ 0.07 ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ เยอรมนี (48.41%) อิตาลี (23.13%) และเนเธอร์แลนด์ (6.75%)
กฎระเบียบการนำเข้า
(1) มาตรการทางภาษี การนำเข้าข้าวของสวิตเซอร์แลนด์ ผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังนี้ - ภาษีนำเข้า จำแนกตามประเทศผู้ส่งออกข้าวนั้นๆ
ตารางที่ 5 อัตราภาษีนำเข้าข้าวสำหรับประเทศไทย
พิกัดภาษี สินค้า อัตราภาษีต่อ 100 ก.ก./CHF
ข้าวเปลือก ปลายข้าว
1006.1010 สำหรับใช้ทำมอลต์หรือเบียร์ 0.95 1006.1020 สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ 0.00 1006.1030 สำหรับการบริโภค 0.00
ข้าวกล้อง
1006.2010 สำหรับใช้ทำมอลต์หรือเบียร์ 0.95 1006.2020 สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ 0.00 1006.2030 สำหรับการบริโภค 0.00
ข้าวขาว (รวมข้าวหอมมะลิ)
1006.3010 สำหรับใช้ทำมอลต์หรือเบียร์ 3.35 1006.3020 สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ 1.00 1006.3030 สำหรับการบริโภค 0.00 (GSP)
ข้าวหัก
1006.4010 สำหรับใช้ทำมอลต์หรือเบียร์ 3.35 1006.4020 สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ 0.00 1006.4030 สำหรับการบริโภค 0.00 (GSP) ที่มา กรมศุลกากรสวิส (http://xtares.admin.ch/tares/login/loginFormFiller.do?l=en )
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้าวทุกชนิดที่นำเข้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราร้อยละ 2.4 - Guarantee fund contribution เงินสนับสนุนการประกันข้าวของรัฐบาล โดยผู้นำเข้าต้องจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บสต๊อกข้าวตามคำสั่งของรัฐบาล ถือเป็นหลักประกันว่าบริษัทของตนจะต้องสต๊อกข้าวไว้สำหรับรัฐบาลเพื่อเป็นการป้องกันสินค้าขาดตลาด
- RISO contribution เงินสนับสนุนจากผู้นำเข้าที่ต้องจ่ายให้รัฐสำหรับข้าวที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายสำหรับการบริโภค
ตารางที่ 6 เงินสนับสนุนจากผู้นำเข้าข้าวตามกฎหมายสวิส
พิกัดภาษี สินค้า ภาษีต่อ 100 ก.ก. (gross) / CHF
Guarantee fund RISO contribution
contribution
ข้าวเพื่อการบริโภค 1006.1090 ข้าวเปลือก ปลายข้าว
- สำหรับผ่านกระบวนการต่อไป 3.15 0.45 - สำหรับบริโภคโดยตรง 5.25 0.75 1006.2090 ข้าวกล้อง - สำหรับผ่านกระบวนการต่อไป 4.20 0.60 - สำหรับบริโภคโดยตรง 5.25 0.75 1006.3090 ข้าวขาว - สำหรับผ่านกระบวนการต่อไป 4.45 0.65 - สำหรับบริโภคโดยตรง 5.25 0.75 1006.4090 ข้าวหัก 5.25 0.75
ข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
1006.1020 ข้าวเปลือก ปลายข้าว 4.50 1006.2020 ข้าวกล้อง 4.50 1006.3020 ข้าวขาว 4.50 1006.4020 ข้าวหัก 4.50
สำหรับข้าวที่นำเข้ามาเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ มีหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวนภาษีเทียบจากค่ามาตรฐานที่รัฐบาลได้ตั้งไว้ ดังนี้
ตารางที่ 7 ค่ามาตรฐานการนำเข้าข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
พิกัดภาษี สินค้า ภาษีต่อ 100 ก.ก./CHF 1006.1020 ข้าวเปลือก ปลายข้าว 47 1006.2020 ข้าวกล้อง 48 1006.3020 ข้าวขาว 50 1006.4020 ข้าวหัก 50 การคิดอัตราภาษีนำเข้าของข้าวดังกล่าวจะใช้ค่าข้างต้นเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น ค่ามาตรฐานการนำเข้าของข้าวหัก CHF 50.00 ต่อ 100 ก.ก. ราคาข้าวที่นำเข้าจากตลาดโลก CHF 48.00 เงินสนับสนุนการประกันข้าว CHF 4.50 = อัตราภาษีนำเข้า CHF 16.00
จากอัตราภาษีข้างต้น รัฐบาลสวิสกำหนดเก็บภาษีตามน้ำหนักของสินค้า ส่งผลให้ผู้นำเข้าส่วนมากนิยมนำเข้าในปริมาณมากเพื่อนำมาบรรจุและแบ่งจำหน่ายเอง เพื่อให้ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับน้ำหนักบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ในขนาดย่อยซึ่งเมื่อเทียบในปริมาณสุทธิของข้าวแล้วจะมีน้ำหนักมากกว่าการนำเข้าข้าวเป็นลอตใหญ่
(2) กฎระเบียบการนำเข้า สรุปได้ดังนี้ - กฎหมายว่าด้วยสินค้าเพื่อการบริโภค (SR 817.0) - กฎระเบียบว่าด้วยสินค้าเพื่อการบริโภค (SR 817.02) - กฎระเบียบว่าด้วยสาร/ส่วนผสมเจือปน (SR 817.021.23) - กฎระเบียบว่าด้วยสารเติมแต่ง (additive) (SR 817.021.22) - กฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานความสะอาด (SR 817.051) - กฎระเบียบว่าด้วยคุณค่าทางโภชนาการของสินค้า (SR 817.021.55) - กฎระเบียบว่าด้วยการแจ้งแหล่งผลิตของสินค้าและส่วนผสม (SR 817.021.51) - กฎระเบียบว่าด้วยการติดฉลากอธิบายรายละเอียดสินค้า (SR 914.281)
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลรายละเอียดข้อกฎหมายข้างต้นได้ตามเวบไซด์รัฐบาลสวิสใน 3 ภาษาราชการของสวิส ดังนี้ www.admin.ch/ch/d/sr/sr.html (ภาษาเยอรมัน) www.admin.ch/ch/f/sr/sr.html (ภาษาฝรั่งเศส) www.admin.ch/ch/i/sr/sr.html (ภาษาอิตาลี)
(1) ชาวสวิสให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าสูงที่สุดมากกว่าปัจจัยด้านราคา ตลาดข้าวของสวิสมีการแข่งขันสูง โดยเป็นการแข่งขันทั้งจากแหล่งผลิตข้าวแต่ละประเภท และการแข่งขันระหว่างผู้นำเข้า สินค้าที่มีคุณภาพสูงและ packaging ดี เท่านั้นจึงจะดึงดูดความสนใจและสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้
(2) ชาวสวิสนิยมทำธุรกิจแบบระยะยาว โดยเน้นการทำธุรกิจกับ supplier น้อยรายที่มีประสิทธิภาพ สามารถส่งสินค้าคุณภาพสูงได้อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างทั่วถึง
(3) ปัจจุบันผู้นำเข้าสินค้าข้าวที่สำคัญของสวิส ได้แก่ ห้าง Migros และห้าง Coop ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันกว่าร้อยละ 80
(4) การสั่งซื้อส่วนใหญ่สั่งเป็น order ใหญ่เพื่อลดต้นทุนด้านภาษี
(5) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายควบคู่กับอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง จะเป็นกลยุทธที่สำคัญในการขยายตลาดข้าวไทย และส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์แล้วยังเป็นการช่วยผู้นำเข้าให้ขายสินค้าได้เร็วขึ้น และมากขึ้น
สวิตเซอร์แลนด์มีนโยบายเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจต่างๆ ได้อย่างเสรี มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างยุติธรรม หากเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายสากลและกฎระเบียบแห่งรัฐธรรมนูญ
4.1 การลงทุนจากต่างประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีความสำคัญในด้านการลงทุนในระดับนานาชาติมาเป็นระยะเวลานาน ทั้งในฐานะผู้ลงทุนและประเทศเจ้าบ้านสำหรับบริษัทต่างชาติ เหตุผลสำคัญเนื่องจากนโยบายของภาครัฐที่เปิดกว้างสำหรับการลงทุน ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ใจกลางทวีปยุโรป ความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเมือง และความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ
สวิตเซอร์แลนด์มีนโยบายเปิดกว้างทางการลงทุนจากนานาชาติ ในรัฐธรรมนูญสวิสบัญญัติสิทธิขั้นพื้นฐานแก่ชาวสวิสและชาวต่างชาติอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในการจ้างงาน และเสรีภาพในด้านการค้า ชาวต่างชาติสามารถลงทุนได้ในทุกสาขาโดยไม่มีข้อจำกัด ยกเว้นกิจการที่ภาครัฐเป็นผู้ถือเอกสิทธิในการดำเนินการ
ภายใต้นโยบายดังกล่าว นักลงทุนต่างชาติที่มีพักอาศัยในสวิสและมีใบอนุญาตทำงาน หรือมีถิ่นอาศัยในสวิสอย่างถาวรสามารถเปิดบริษัทของตนเอง หรือเข้าถือหุ้น หรือเปิดดำเนินการสาขาได้เหมือนเช่นชาวสวิสทั่วไป
สำหรับนักลงทุนต่างชาตินอกเหนือจากกรณีข้างต้นสามารถตั้งบริษัทในสวิสได้เช่นกันในกรณีที่มีการว่าจ้างชาวสวิสเข้าทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นและไม่มีการจำกัดสัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลางของสวิสกำหนดให้ผู้ลงทุนในธุรกิจบางประเภทต้องมีใบอนุญาตพิเศษ (license or permit) หรือลิขสิทธิ (patent) หรือสัมปทาน (concession)ในการดำเนินกิจการ ได้แก่
1. ธุรกิจธนาคาร ประกันภัยและนายหน้าในการลงทุน (investment brokers)
2. ธุรกิจการโรงแรมและร้านอาหาร (เฉพาะในบางรัฐ)
3. แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและทนายความ
4. ธุรกิจการค้าและการบริการบางประเภท อาทิเช่น การจำหน่ายไวน์ บริษัทจัดหางาน เป็นต้น
4.2 หน่วยงานที่ดูแลการลงทุน
หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในด้านการลงทุนของสวิตเซอร์แลนด์ จำแนกออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
ระดับประเทศ รัฐบาลกลาง (Swiss Confederation) มีหน้าที่ในการรักษาภาพรวมการลงทุนของประเทศ การศึกษาวิเคราะห์ตลาดและการให้ข้อมูลในการลงทุน หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ได้แก่ LOCATION Switzerland ซึ่งเป็นองค์กรใต้ความดูแลของกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนั้นรัฐบาลกลางยังมีมาตรการในการสนับสนุนการลงทุนแก่โครงการขนาดใหญ่ที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงภายใต้เงื่อนไขดังนี้
1. เป็นโครงการที่เชื่อมั่นได้ว่าจะเป็นผลดีต่อตลาดแรงงานท้องถิ่น
2. เป็นโครงการสำคัญที่มีการลงทุนสูง
3. เป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น ก่อให้เกิดการพัฒนา การจ้างงาน และความหลากหลายของอุตสาหกรรม
มาตรการของรัฐบาลกลางในด้านการลงทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การลดหย่อนภาษี (tax relief or exemption)
2. การให้การรับรอง/ การรับประกัน (guarantees)
ระดับรัฐ รัฐบาลของแต่ละรัฐมีอำนาจออกกฎหมายของตนเองโดยเป็นอิสระต่อกันแต่ต้องอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีระหว่างรัฐและนำไปสู่สภาพตลาดเสรีทางการลงทุนโดยรวมของประเทศ รัฐบาลของรัฐจึงมีบทบาทสำคัญในด้านการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินโครงการ
ระดับชุมชน หลังจากเกิดการลงทุนแล้ว หน่วยงานสำคัญที่ดูแลให้ความช่วยเหลือและประสานงานต่อจากรัฐบาลของรัฐคือ สำนักงานเขต (region) และเมือง (municipality)
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงาน ดังนี้
LOCATION Switzerland
Stampfenbachstrasse 85
P.O. Box 651
CH-8035 Zurich
Tel.: +41 43 3005600
Fax: +41 43 3005605
Email: [email protected]
www.locationswitzerland.ch
4.3 ต้นทุนการจัดตั้งธุรกิจ ที่สำคัญได้แก่
ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการลงทุน ธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงแต่คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ โดยมีมูลค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 1.5-2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของโครงการ
ค่าจ้างแรงงาน แรงงานสวิสส่วนมากเป็นแรงงานชั้นสูง ค่าจ้างแรงงานสำหรับภาค อุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25.31 ยูโร/ ชั่วโมง จำแนกได้เป็น ค่าแรง 16.66 ยูโร/ ชั่วโมงและ ค่าสวัสดิการสังคม 8.65 ยูโร/ ชั่วโมง
ค่าพลังงาน สำหรับภาคอุตสาหกรรม ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยคิดเป็นมูลค่า 0.08 เหรียญสหรัฐต่อหนึ่งกิโลวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะต่ำลงอีกในอนาคตเนื่องจากการเปิดเสรีด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า นอกจากนั้นค่าน้ำมันของสวิสยังมีราคาต่ำกว่าประเทศยุโรปอื่นค่อนข้างมากเนื่องจากมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่า
ระยะเวลาในการติดต่อกับหน่วยงานของภาครัฐ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนด้านระยะเวลาในการดำเนินการติดต่อกับภาครัฐ เช่น การขออนุญาตต่างๆ การดำเนินการด้านภาษีและศุลกากร เป็นต้น โดยเน้นการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลารวดเร็ว เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น
4.4 อัตราภาษี
(1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 13-25 ประกอบด้วยภาษีระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ร้อยละ 11.1-34.5
(3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สำหรับอาหารและ non-food ร้อยละ 8
- อัตราพิเศษสำหรับโรงแรมและที่พักต่างๆ ร้อยละ 3.8
- อัตราพิเศษสำหรับสินค้าขั้นพื้นฐาน เช่น น้ำ เครื่องดื่ม เนื้อสัตว์ สิ่งพิมพ์และการบริการของสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการค้า ร้อยละ 2.5
4.5 สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน
มาตรการสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนของสวิตเซอร์แลนด์ ได้แก่
การลดหย่อนภาษี (tax relief or exemption) กฎหมาย Lex Bonny ของสวิสให้อำนาจรัฐบาลกลางและรัฐบาลของแต่ละรัฐในการพิจารณาลดหย่อนภาษีหรืองดเว้นภาษีเป็นระยะเวลามากที่สุด 10 ปี ให้แก่บริษัทที่เข้ามาลงทุนและจ้างงานในเขตที่เศรษฐกิจยังไม่เจริญเติบโตมากนัก
การให้การรับรอง/ การรับประกัน (guarantees) โดยรัฐบาลออกหนังสือรับประกันแก่ธนาคารผู้ให้กู้ยืมมาลงทุนเป็นจำนวนไม่เกินหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมดเป็นระยะเวลามากที่สุด 8 ปี
4.6 อุปสรรคด้านการลงทุน
การออกวีซ่าอนุญาตทำงานให้กับชาวต่างชาติจะค่อนข้างยุ่งยากและมีขั้นตอนซับซ้อน จำเป็นต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นในการจ้างแทนที่จะใช้พนักงานท้องถิ่นชาวสวิส
4.7 องค์กรภาคเอกชนที่สนับสนุนความช่วยเหลือ
(1) CTI Innovation Promotion Agency องค์กรสนับสนุนการถ่ายโอนเทคโนโลยีระหว่างภาคธุรกิจและมหาวิทยาลัยต่างๆ ของสวิสและให้ความช่วยเหลือบริษัทในระยะตั้งต้น โดยมีกองทุนสนับสนุนมูลค่าประมาณ 100 ล้านสวิสฟรังค์ต่อปีเพื่อให้การสนับสนุนแก่บริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ หรือโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่างบริษัทและมหาวิทยาลัย หรือการถ่ายโอนองค์ความรู้และเทคโนโลยีผ่าน platform และ network ต่างๆ
(2) Technology parks and business incubator centers ให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือแก่บริษัทที่เพิ่งก่อตั้งในระยะแรกเริ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น การเช่าอสังหาริมทรัพย์ในอัตราพิเศษ การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและคำแนะนำต่างๆ นอกจากนั้นบริษัทยังสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายต่างประเทศทั่วทั้งยุโรปอีกด้วย
4.8 ธุรกิจไทยที่น่าจะมีศักยภาพ
ธุรกิจร้านอาหารไทย อาหารไทยได้รับความนิยมในตลาดสวิสมากยิ่งขึ้นในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคชาวสวิสส่วนมากนิยมอาหารไทยเนื่องจากรสชาติกลมกล่อมและประกอบ ด้วยผักและเครื่องเทศต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ร้านอาหารไทยที่ได้รับความนิยมมักมีการจัดตกแต่งร้านอย่างสวยงามเพื่อดึงดูดลูกค้าระดับกลาง-บน เนื่อง จากชาวสวิสมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามรัฐบาลของสวิสให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมากและค่อนข้างเข้มงวดกับส่วนผสมของอาหารทุกประเภท เช่น ห้ามผสมสีหรือสารอื่นเจือปนในเส้นก๋วยเตี๋ยวอย่างเด็ดขาด ผู้ที่สนใจจะลงทุนในธุรกิจด้านนี้จึงความศึกษารายละเอียดกฎข้อบังคับต่างๆ ให้รอบคอบ
ธุรกิจสปาไทย ได้รับความสนใจจากชาวสวิสเป็นอย่างมาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีกำลังซื้อสูง จึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจสปาไทย โดยอาจเน้นการนวดเพื่อการผ่อนคลายหรือการนวดแบบรักษาเพื่อเจาะกลุ่มตลาดนักธุรกิจและนักการธนาคารในเมืองหลักๆ ของสวิส เป็นต้น
4.9 ข้อตกลงสำคัญด้านการลงทุนร่วมกับไทย
(1) ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน ลงนามวันที่ 17 พ.ย. 2540 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. 2542
(2)ข้อตกลงการยกเว้นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ลงนามวันที่ 12 ก.พ. 2539 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 2539
4.10 การลงทุนของสวิสในไทย
ชาวสวิสเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2409 และได้ก่อตั้งบริษัท Jucker, Sigg & Co. ขึ้นในปี 2425 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Berli Jucker ปัจจุบันมีบริษัทสวิสกว่า 150 บริษัทเข้ามาลงทุนในไทย โดยมีบริษัทชั้นนำหลายบริษัท อาทิ Diethelm Keller (ธุรกิจท่องเที่ยว), ETA (Swatch Group - ผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา), Nestl (อุตสาหกรรมอาหาร), Holcim (ปูนซีเมนต์นครหลวง), Roche และ Novartis (ยาและเวชภัณฑ์) ABB (ผลิตเครื่องจักรให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) Bernina (เครื่องจักรเย็บผ้า) Marigot (อัญมณีและเครื่องประดับ)เป็นต้น
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันมูลค่าการลงทุนของสวิตเซอร์แลนด์ในไทย จัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของการลงทุนจากกลุ่มประเทศยุโรป (รองลงมาจากสหราชอาณาจักรและเยอรมนี) และเป็นอันดับที่ 10 ของการลงทุนจากต่างประเทศ
ในปี 2553 มีบริษัทสัญชาติสวิสยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทยและได้รับการอนุมัติ 18 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 2,125 ล้านบาท ขณะที่การลงทุนในปี 2554 (ม.ค.-พ.ย.) มีนักธุรกิจสวิสเข้ามายื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน 12 โครงการ มูลค่ารวม 5,691 ล้านบาท และได้รับการอนุมัติ 5 โครงการ มูลค่ารวม 591 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเบา การผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง ผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องจักรและชิ้นส่วนนาฬิกา
4.11 การลงทุนของไทยในสวิส
ส่วนมากเป็นธุรกิจรายย่อย ได้แก่ ร้านอาหาร และธุรกิจสปา โดยมักเป็นธุรกิจครอบครัวระหว่างคนไทยกับคนสวิส ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมักมีชาวสวิสเป็นผู้บริหารจัดการในขณะที่คนไทยเป็นผู้ดำเนินการ เช่น พ่อครัว แม่ครัว พนักงานนวด เป็นต้น
5. คำถามที่พบบ่อย
5.1 หน่วยการนับเงินของสวิส สวิสใช้เงินฟรังค์เป็นสกุลเงินหลักของประเทศ 1 ฟรังค์ (Frank) ประกอบด้วย 100 รัพเพน (Rappen) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.05 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 33.45 บาท
5.2 ค่าผ่านทางหลวงในสวิส รถยนต์/พาหนะที่มีน้ำหนักไม่เกิน 3.5 ตัน (รถยนต์ รถจักรยานยนต์) ต้องซื้อบัตรค่าผ่านทางหรือVignette สำหรับติดรถแต่ละคัน โดยบัตรดังกล่าวมีราคา 33 ยูโรหรือ 40 ฟรังค์ มีอายุตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมของปีก่อนหน้าจนถึง 31 มกราคมของปีถัดไป สามารถหาซื้อได้ที่ด่านศุลกากร ที่ทำการไปรษณีย์ ปั๊มน้ำมันและสถานีรถไฟต่างๆ
5.3 ร้านอาหาร Thai select ในสวิตเซอร์แลนด์ มี 40 ร้าน (รายชื่อตามข้อ 6.5)
5.4 การจัดตั้งบริษัทในสวิส
รูปแบบขององค์กรธุรกิจ การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ ทั้งนี้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจในสวิสต้องจดทะเบียนบริษัท จำแนกตามรูปแบบของธุรกิจได้ดังนี้
(1) บริษัทเดี่ยวลักษณะห้างหุ้นส่วน (Partnership-type unincorportated companies) ได้แก่ กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนไม่จำกัด
(2)กลุ่มบริษัทจากการระดมทุน (Capital-based incorporated companies) ได้แก่ บริษัทมหาชน (AG) บริษัทจำกัด (GmbH)
รูปแบบของธุรกิจที่บริษัทต่างชาติส่วนมากนิยมจัดตั้ง ได้แก่ บริษัทมหาชน บริษัทจำกัด และการตั้งสำนักงานสาขา การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน การรับความเสี่ยง รูปแบบการเสียภาษี ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผล ประโยชน์และกำไรสูงสุด
ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย
(1) ค่าธรรมเนียม เช่น ค่าจดทะเบียน ค่าดำเนินการ ค่าจดทะเบียนที่ดิน เป็นต้น ประมาณ 1,800-2,000 สวิสฟรังค์
(2) ค่าบริษัทที่ปรึกษาและทนายความ ประมาณ 2,000 - 5,000 สวิสฟรังค์ สำหรับบริษัทขนาดเล็ก
(3) ภาษีประกันการถือสิทธิ สำหรับบริษัทระดมทุน
โดยทั่วไปแล้วบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 7,000 สวิสฟรังค์ (ไม่รวมภาษีประกันการถือสิทธิ) สำหรับบริษัทขนาดเล็กซึ่งไม่ต้องยื่นเอกสารมากนักอาจมีค่าใช้จ่ายเพียง 3,000 สวิสฟรังค์ ทั้งนี้ทั้งนั้นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับทุนจดทะเบียน โดยการจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบของบริษัทระดมทุนจะใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการจดทะเบียนสำหรับบริษัทในลักษณะของห้างหุ้นส่วน กระบวนการในการดำเนินการจดทะเบียน
หลังจากผู้ประกอบการตัดสินใจแล้วว่าจะจดทะเบียนธุรกิจในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ควรติดต่อหน่วยงานพัฒนาธุรกิจ (economic development agency) ของมณฑลที่จะใช้เป็นที่ตั้งของกิจการนั้นๆ เพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำต่างๆ นอกจากนั้นผู้ประกอบการอาจขอคำแนะนำอื่นๆ เพิ่มเติมได้จากธนาคาร บริษัทที่ปรึกษา และสำนักงานทนายความต่างๆ ด้วยเช่นกัน
กระบวนการจดทะเบียนธุรกิจใช้เวลา 2-4 อาทิตย์ นับตั้งแต่การยื่นหลักฐานจนกระทั่งถึงวันที่บริษัทได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีกระบวนการดังนี้
อันดับ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ที่ 1 2 3 4 5 1 การลงทะเบียนและขออนุมัติชื่อกิจการ x 2 การเตรียมเอกสาร x 3 การชำระทุนจดทะเบียนของบริษัทให้แก่ธนาคาร x 4 การดำเนินการด้านเอกสาร x 5 การลงประกาศในเอกสารของหน่วยงานท้องถิ่น x 6 การลงนามชื่อผู้รับผิดชอบในทะเบียนพาณิชย์ x
5.5 การจ้างงานและกฎหมายแรงงาน
การจ้างงานในสวิสต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายการจ้างงานของรัฐบาล ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และสิทธิของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ประกอบด้วยหลักใหญ่ๆ 3 ส่วน ได้แก่
(1) หลักเกณฑ์ข้อบังคับเกี่ยวกับสัญญาการจ้างงาน
(2) กฎหมายแรงงาน ครอบคลุมการคุ้มครองสุขภาพโดยทั่วไป จำนวนวันทำงาน/วันหยุด การจ้างงานเยาวชน สตรีมีครรภ์และสตรีมีบุตร
(3) กฎหมายการประกันอุบัติเหตุในขณะทำงาน ครอบคลุมถึงความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพของพนักงาน
โดยสรุปแล้วกฎการจ้างงานที่สำคัญและน่าสนใจ ได้แก่
(1) ค่าจ้างแรงงาน ประกอบด้วย
- เงินเดือน/ค่าแรง อัตราเงินเดือน/ค่าแรงในสวิสค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แม้ว่าเมื่อเทียบอัตราค่าเงินเดือนโดยรวมในสวิสจะต่ำกว่าประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย แต่เนื่องจากมีอัตราการลดหย่อนภาษีไม่มากนักจึงทำให้อัตราเงินเดือนสุทธิของสวิสสูงที่สุดในโลก ทั้งนี้อัตราเงินเดือนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาคธุรกิจและเมืองที่ตั้งของธุรกิจนั้นๆ โดยธุรกิจที่มีเงินเดือนสูงที่สุด คือ ธุรกิจการเงินการธนาคาร/การประกัน ธุรกิจพลังงาน ภาคการศึกษา และธุรกิจเทคโนโลยี การวิจัย ตามลำดับ
- เงินอุดหนุนที่ไม่ใช่ค่าแรง ได้แก่ เงินประกันสังคม ผู้จ้างต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนอีกร้อยละ 15 ของเงินเดือนโดยรวม
(2) ชั่วโมงการทำงาน โดยเฉลี่ย 40-44 ชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ ไม่เกิน 45 ชั่วโมงสำหรับบริษัทในภาคอุตสาหกรรม หรือไม่เกิน 50 ชั่วโมงในภาคธุรกิจ สำหรับอาชีพพิเศษอื่นๆ เช่น แพทย์ คนขับรถรับจ้าง อาจมีชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้นกว่าปกติ
(3) วันหยุด ลูกจ้างมีสิทธิได้รับวันหยุดแบบรับเงินเดือนปีละอย่างน้อย 4 อาทิตย์ สำหรับลูกจ้างชั่วคราว (Part-time) มีสิทธิลาหยุดตามสัดส่วนอัตราชั่วโมงการทำงาน วันหยุดไม่สามารถขอเปลี่ยนเป็นเงินชดเชยได้
(4) การเลิกจ้าง นายจ้างและลูกจ้างสามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องให้เหตุผล ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและปากเปล่า แต่ผู้เลิกสัญญาต้องมีเหตุอันสมควร โดยมิใช่เหตุผลด้านอายุ สีผิว ศาสนาหรือการเมือง ระยะเวลาการบอกเลิกจ้างต้องระบุในสัญญาจ้างแต่ห้ามน้อยกว่า 1 เดือนล่วงหน้า
(5) การประกันสังคม ประกอบด้วยเงินสนับสนุนจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ นายจ้างและลูกจ้าง ภายใต้กฎหมายของแต่ละมณฑล
5.6 มาตรฐาน BioSuisse คืออะไรใช้กับสินค้าอะไร
มาตรฐาน BioSuisse เป็นมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ดำเนินการโดยสหพันธ์เกษตรกรด้านเกษตรอินทรีย์ของสวิส (BioSuisse) ซึ่งเป็นการรวมตัวของสมาคมเกษตรกรด้านเกษตรอินทรีย์ในสวิสตั้งแต่ปี 1981 รวม 32 สมาคม
มาตรฐาน BioSuisse จะมีหลักการพิจารณาและควบคุมสูงกว่าหรือเข้มข้นมากกว่ากฎระเบียบของบังคับของรัฐบาล โดยคำนึงถึงหลักนิเวศน์วิทยา ระยะทางการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ ราคาขายและความคาดหวังของผู้บริโภคเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้สินค้านำเข้าทางอากาศไม่สามารถขอใช้ตรารับรองนี้ได้
สินค้าที่ผ่านมาตรฐานดังกล่าวสามารถขอใช้ตราสัญลักษณ์ BioSuisse ติดบนสินค้าตนเองได้ ปัจจุบันสินค้ากว่าร้อยละ 80 ที่ใช้ตราสัญลักษณ์นี้เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอง รวมมีส่วนแบ่งการตลาดทั้งหมดร้อยละ 60 จากสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดที่จำหน่ายในประเทศ
6. หน่วยงานติดต่อสำคัญ / รายชื่อห้างสรรพสินค้า / ไฮเปอร์มาร์เก็ต
6.1 สถานเอกอัครราชทูตไทย / สถานกงสุลไทย
สำนักงาน ที่อยู่ หมายเลขติดต่อ อีเมล์ Royal Thai Embassy Kirchstrasse 56 CH-3095 +41 31 9703030 [email protected]
Liebefeld/Bern Royal Thai Consulate Aeschenvorstadt 71 CH-4051 Basel +41 61 2064565 [email protected] Royal Thai Consulate 91, rue de la Servette CH-1212 Genve +41 22 3110723 [email protected]
Royal Thai Consulate Lowenstrasse 42 CH-8021 Zrich +41 43 3447000 [email protected]
6.2 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
Commercial Section, Royal Thai Consulate-General
Bethmannstr. 58, 60311 Frankfurt am Main
Germany
Tel.: +49 69 25494640
Fax: +49 69 254946420
Email: [email protected]
6.3 บริษัทการบินไทย
Thai Airways International PCL
Bahnhofstrasse 67, 8023 Zurich
Switzerland
Tel: +41 44 215 6500
Fax: +41 44 212 3408
Email: [email protected]
Website: www.thaiair.ch
6.4 รายชื่อห้างสรรพสินค้า / ไฮเปอร์มาร์เก็ต
(1) ห้างซุปเปอร์มาเก็ต
ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขติดต่อ อีเมล์ เวบไซด์ ALDI SUISSE AG Postfach 150, 8423 Embrach- www.aldi-suisse.ch
Embraport
Denner AG Grubenstrasse 10, 8045 Zurich +41 44 4551111 [email protected] www.denner.ch
(2) ห้างไฮเปอร์มาเก็ต
ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขติดต่อ อีเมล์ เวบไซด์ Migros - Limmatstrasse 152,8005 Zurich, 0041 1 277 2844 [email protected] www.migros.ch Genossenschafts - Switzerland Bund Coop City Bederstrasse 49, 8027 Zurich +41 1 287 1111 [email protected] www.coop.ch
(3) ห้างสรรพสินค้า
ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขติดต่อ อีเมล์ เวบไซด์ Jelmoli Holding St. Annagasse 18, 8021 Zurich +41 1 220 4411 infoholding@jelmoli. www.jelmoli- AG ch holding.ch Manor AG Rebgasse 34, 4005 Basel +41 61 686 1111 [email protected] www.manor.ch
6.5 รายชื่อร้านอาหารไทยที่ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai Select
(1) ร้านอาหารประเภท Traditional Thai Restaurant (TTR)
ลำดับที่ ชื่อร้าน ที่อยู่
Thai Select Premium
1 A-NAM Chโtelaine Avenue de Chโtelaine 78 1219 Chโtelaine 2 Patara Fine Thai Cuisine Quai de Mont-Blanc 13 1201 Genva 3 Sala Thai Rue Maurice-Braillard 18 1202 Genve 4 Sam-Lor Thai Rue de Monthoux 17 1201 Genve 5 Samui-Thai Seerosenstr. 1 5616
Meisterschwanden
6 Sukhothai Avenue de Chillon 82 1820 Montreux 7 Thai Orchid Gourmet Engelplatz 4 8640 Rapperswil
Thai Select
8 A-NAM Kroi-Thai Rue de Savoises 12 1205 Genve 9 Bababobo Bruggacherstr. 26 8117 Fไllanden 10 A-NAM Kroi-Krongthep Avenue Pictet-de-Rochemont 6 1207 Genve 11 Ban Song Thai Kirchgasse 6 8001 Zrich 12 Ban Thai Hauptstr. 10 8255 Schlattingen 13 Bangkok Gibraltarstr. 5 6003 Luzern 14 Five Spice Zweierstr. 106 8003 Zrich 15 Keo Inn Zwinglistr. 39 8004 Zrich 16 Krua Thai Kirchstr. 15 3097 Liebefeld 17 KRONE Kittipon's Finest Thai Cuisine Hauptstr. 127 4102 Binningen 18 Piman Thai Herrengasse 22 3011 Bern 19 Siam Thai Garden Bernstr. 309 3627 Heimberg 20 Siam Wind Hotel Laudinella Via Tegiatscha 17 7500 St. Mortiz 21 Somtam Bไckerstr. 19 8004 Zrich 22 Song Pi Nong Sternenplatz 6 6004 Luzern 23 Thai Food Corner Brauerstr. 3 8004 Zrich 24 Thai Kitchen (Tannenberg) Marktgasse 28 8400 Winterthur 25 Thai-Orchid Rosengartenstr. 2 8706 Meilen 26 The Chada Oltnerstr. 29 5012 Sch๖nenwerd 27 Tiffins Seefeldstr. 61 8008 Zrich 28 Typisch Thai Hintere Bahnhofstr. 17 8853 Lachen 29 Yupa Porn Pochana Rue Louis-Favre 37 1201 Genve 30 Tab-Tim Mnstergasse 55 3011 Bern 31 AH-HUA I Brauerstr. 9 8004 Zrich 32 AH-HUA II Ankerstr.110 8004 Zrich 33 Siam Restaurant Rue da la serviette 5 1201 Geneve
1.2 ร้านอาหารประเภท Modern Thai Restaurant (MTR)
ลำดับที่ ชื่อร้าน ที่อยู่ Thai Select Premium 34 NAM THAI Im Bogn Engiadina 7550 Scuol 35 Namun Grand Resort Bad Ragaz 7310 Bad Ragaz 36 Seven Asia Via Borgo 19 6612 Ascona 37 Thai Contemporary Cuisine Rue Neuve-du-Molard 3 1204 Genva Thai Select 38 Nagasui Selnaustr. 16 8001 Zrich 39 The Lemon Grass Bandwiesstr. 4 8630 Rti
1.3 ร้านอาหารประเภท Quick Served Restaurant/Fast-food Restaurant/Home Delivery (QSR/FF/HD)
ลำดับที่ ชื่อร้าน ที่อยู่ Thai Select 40 Takrai Haldenstr. 9 6006 Luzern 7. หน่วยงานติดต่อสำคัญและ Website ที่น่าสนใจ
1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์
www.switzerland.com, www.swissinfo.org
2. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ งานแสดงสินค้าในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์
www.messe.ch
3. ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
www.credit-suisse.com
4. ข้อมูลด้านพิกัดภาษีศุลกากร
http://xtares.admin.ch/tares/home/homeFormHandler.do;jsessionid=Gtk 2J1CvYnC3m 5y1tFsTcQMrZ zGVPLQQyGyKGGPBvyljScp161zR!471110870?
5. ข้อมูลด้านภาษี
www.taxation.ch
6. กรมศุลกากร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
http://www.efd.admin.ch/index.html?lang=en
7. กระทรวงพาณิชย์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
www.evd.admin.ch/index.html?lang=en
8. สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
www.bfs.admin.ch/bfs/portal/en/index.html
9. ข้อมูลด้านการลงทุน
www.locationswitzerland.com
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
ที่มา: http://www.depthai.go.th