เศรษฐกิจกัมพูชา 2554 (มกราคม-ธันวาคม)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 12, 2012 14:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เศรษฐกิจกัมพูชา 2554

(มกราคม-ธันวาคม)

********************.

ในปี 2554 รัฐบาลกัมพูชาเปิดเผยตัวเลขอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (Real GDP) ที่ร้อยละ 6.9 (ขณะที่ World Bank และ IMF ประเมินที่ร้อยละ 6) โดยแจ้งว่าผลผลิตด้านการเกษตรเพิ่มร้อยละ 3.3 แม้ว่าจะได้รับกระทบจากน้ำท่วม ขณะที่ยางพาราเพิ่มร้อยละ 10 นอกจากนี้นโยบายผลักดันการส่งออกข้าวของภาครัฐส่งผลด้านจิตวิทยาต่อภาคการเกษตร ด้านอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอ เติบโตร้อยละ 20.2 ขณะที่ภาคการเงิน เติบโตร้อยละ 5 นอกจากนี้ยังคาดการณ์อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (Real GDP) ในปี 2555 ที่ร้อยละ 6

ด้านการลงทุน มีการลงทุนโดยนักลงทุนญี่ปุ่น เช่น บริษัท Sumitomo, Minebea และอื่นๆ ที่เพิ่มความหลากหลายให้แก่การผลิตภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้เวียดนามยังคงเดินหน้าปลูกยางพารา โดยมีการขอส่งเสริมการลงทุนถึง 16 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 281.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่จีนได้เข้ามาร่วมทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บึงก๊อก ในกรุงพนมเปญ มูลค่านับพันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการใหญ่ที่สุดในปี 2554 นี้

ด้านการส่งออกมีการส่งออกไปหลายประเทศจากเดิมเคยส่งออกแก่สหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นการหันมาส่งให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมถึงการส่งออกสินค้าที่มากรายการขึ้น และเตรียมการเจรจากับไทย เพื่อหาทางส่งออกไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน้ำในจังหวัดโพธิสัตและเกาะกง

เนื่องจากเศรษฐกิจกัมพูชา ขึ้นอยู่กับ 3 เสาหลัก ได้แก่ การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอและรองเท้า การเกษตร และ การบริการ จึงขอสรุปภาวะของแต่ละส่วนดังนี้

1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอและรองเท้า

ในปี 2554 กัมพูชาส่งออก เสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอและรองเท้า รวมมูลค่า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 40 จากปีก่อนที่ส่งออกมูลค่า 3.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา มูลค่า 1.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 11.4 และการส่งออกไปสหภาพยุโรปมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 42 เนื่องจากมีการผ่อนผันกฎแหล่งกำเนิดสินค้าของสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นปัจจัยช่วยให้การส่งออก เพิ่มขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้การส่งออกไปญี่ปุ่นและแคนาดา ก็เพิ่มเช่นกัน กล่าวคือมีมูลค่า 980 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มร้อยละ 38 จาก 645 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีก่อน โดยการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มถึงร้อยละ 100

2. การเกษตร

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตร มูลค่า 422 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มเกินร้อยละ 100 จากปีก่อนที่ส่งออกได้ 197 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออกข้าว จำนวน 170,770 ตัน(เพิ่มร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ส่งออกได้ 140,300 ตัน) มูลค่า 104 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ฯ (เพิ่มร้อยละ 197 จากปีก่อนที่ส่งออกได้ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) รองลงมาคือการส่งออกยางพาราจำนวน 105,000 ตันมูลค่า 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

2.1 ข้าว

กระทรวงการเกษตร ป่าไม้ และประมงกัมพูชารายงานผลผลิตข้าวปี 2553/2554 ว่ามีปริมาณ 8.2 ล้านตันเพิ่มจากปี 2552/2553 ร้อยละ 8.7 จากการขยายพื้นที่การผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ผลผลิต ข้าวเปลือก 2.76 เมตริกตัน/เฮกตาร์ เพิ่มร้อยละ 5.3 ส่วนการผลิตข้าวนาปรังมีพื้นที่เพาะปลูก 405 ,000 เฮกตาร์ ได้ผลผลิต 2.8 ล้านตันผลผลิตเฉลี่ย 2.97 เมตริกตัน/เฮกตาร์ เพิ่มร้อยละ 4.7

การเพาะปลูกและผลผลิตข้าว

-------------------------------------------------------------------------------

          รายการ                   2549/50    2550/51     2551/52     2552/53    2553/54

-------------------------------------------------------------------------------

          พื้นที่เก็บเกี่ยวรวม (พันเฮกตาร์)   2,541      2,548       2,616       2,719      2,796
          นาปรัง                        329        343         361         385        405
          นาปี                        2,212      2,241       2,255       2,334      2,391
          การผลิต (พันตัน)              6,264      6,713       7,175       7,586      8,249
          นาปรัง                      1,290      1,354       1,453       1,584      1,701
          นาปี                        4,974      5,359       5,722       6,001      6,549
          ผลผลิต (ตัน/เฮกตาร์)           2.47       2.60        2.74        2.79       2.95
          นาปรัง                       3.92       3.95        4.03        4.12       4.20
          นาปี                         2.25       2.39        2.54        2.57       2.74

-------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : สถาบันเศรษฐกิจกัมพูชาและการะทรวงเกษตรป่าไม้ และประมง

2.2 ยางพารา

ในปี 2553 ผลผลิตยางพาราเพิ่มร้อยละ 9.7 เนื่องจากราคาดีและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกอีก 38,000 เฮกตาร์ หรือพื้นที่ปลูกเพิ่มร้อยละ 12.5 จากปีที่ผ่านนมา ในปี 2554 มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพารารวมเป็น 181,400 เฮกตาร์ และตั้งเป้าหมายที่จะปลูกเพิ่มอีกให้ครบ 300,000 เฮกตาร์ ซึ่งคาดว่าจะไดร้บผลผลิตจำนวน 290,000 ตันภายในปี 2563

ในปี 2554 มีการส่งออกยางพาราจำนวน 115,500 ตนั มูลค่า 74.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากการส่งออกปี 2553 ทั้งปีซึ่งมีจำนวน 50,000 ตนั มูลค่า 22.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ในปี 2553 กมั พชู เป็นผู้ส่งออกยางพาราธรรมชาติลำดับที่ 16 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ทั่วโลก)

3. การบริการ

ในปี 2553 ภาคธุรกิจบริการเติบโตร้อยละ 4.2 จากการเติบโตของ 3 อุตสาหกรรมหลกั คือโรงแรมและร้านอาหาร การค้าการคมนาคมและโทรคมนาคม รวมถึงการเติบโตของภาคธุรกิจการเงิน

ในปี 2554 สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชาคาดการณ์ว่า ภาคธุรกิจบริการจะเติบโตที่ร้อยละ 6.9 และร้อยละ 6.5 ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว การเติบโตของภาคธุรกิจการเงินและอสังหาริมทรัพย์

แนวโน้มการเติบโตของภาคธุรกิจบริการ

------------------------------------------------------------------

          รายการ                      2550  2551  2552  2553e  2554e  2555e

------------------------------------------------------------------

          คมนาคมและโทรคมนาคม          7.2%  7.1%  3.9%   8.0%   9.1%   7.9%
          การค้า                       9.5%  9.4%  4.2%   7.1%   6.1%   7.1%
          โรงแรมและร้านอาหาร          10.3%  9.8%  1.8%  11.2%  11.6%  11.2%
          การเงิน                     22.2% 19.3%  8.0%  12.7%  18.1%  12.7%
          การบริหารจัดการ               0.1%  4.5%  1.0%  11.5%   3.6%   2.9%
          อสังหาริมทรัพย์และธุรกิจ         10.8%  5.0% -2.5%  -9.9%   1.3%   1.6%
          ธุรกิจอื่นๆ                    12.1% 12.0%  2.9%   3.9%   5.6%   4.9%

------------------------------------------------------------------

ที่มา _สำนักสถิติแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชา

3.1 การท่องเที่ยวในปี 2554 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในกัมพูชาจำนวน 2.08 ล้านคน เพิ่มจากระยะเดียวกับปีก่อนร้อยละ 15.6 โดยนักท่องเที่ยวที่มากที่สุด คือ เวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 22.2 ของจำนวนนักท่องเที่ยวรวม รองลงมาคือเกาหลีร้อยละ 11.9 จีนร้อยละ 8.5 ญี่ปุ่นร้อยละ 5.7 โดยไทยมีจำนวน 111,411 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.9

3.2 โรงแรมและร้านอาหาร ในปี 2554 ภาคธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารเติบโตจากการกลับคืนมาของนักท่องเที่ยว และจากสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวแสดงตัวเลขของการเข้าพักของนักท่องเที่ยวเพิ่มร้อยละ60 ขณะที่จำนวนห้องพักโรงแรมและเกสต์เฮาส์เพิ่มร้อยละ 6 และการให้สินเชื่อเกี่ยวกับโรงแรมและร้านอาหารมีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน 4. สถานการณ์ด้านการค้า

จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาในปี 2554 (ม.ค.-ธ.ค.) กัมพูชามีมูลค่าการค้ารวม 10.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออก 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 6.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กัมพูชานำเข้าจาก 86 ประเทศทั่วโลกมูลค่า 6.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 5.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนำเข้าจากจีนมูลค่า 1.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือเวียดนามมูลค่า 1.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยมูลค่า 0.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และฮ่องกงมูลค่า 0.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ

สินค้าที่กัมพูชานำเข้ามามากที่สุดได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงปริมาณ 1.44 ล้านตัน มูลค่า 1.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่มีการนำเข้าในปีก่อน 868,800 ตัน มูลค่า 583.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือปริมาณเพิ่มร้อยละ 65.51 และมูลค่าเพิ่ม 188.16 ตามลำดับ เพราะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวในทุกด้านเช่น อุตสาหกรรม, การผลิตสินค้า และภาคการเกษตร หลังจากที่มีการซบเซาตามเศรษฐกิจโลก กัมพูชาส่งออกมูลค่า 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 3.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ เสื้อผ้า สิ่งทอ มูลค่า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากปีก่อยซึ่งมีมูลค่า 3.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสินค้าเกษตร ได้แก่ปลา ไม้แปรรูป เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และยางพารา มูลค่า 311.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 123 จากปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 139.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนข้าวส่งออกมูลค่า 104 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 197 เนื่องจากในตลาดโลกรู้จักข้าวของกัมพูชามากขึ้น นอกจากนี้กัมพูชาได้จัดทำข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากประเทศในยุโรป ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดวิกฤตหนี้สินในโยรุป และการชะลอตัวทางเศษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่ง ออกของกัมพูชาในปี 2012 อย่างไรก็ตามกัมพูชาได้วางยุทธศาสตร์ที่จะแสวงหาตลาดใหม่เพิ่มเติม และส่งออกสินค้าให้หลากหลายรายการ

การค้าไทย-กัมพูชา

ในปี 2554 (มกราคม-ธันวาคม) การค้าระหว่างไทย-กัมพูชามีมูลค่ารวม 3,081.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 20.51 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่ารวม 2,556.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็น การส่งออกจากไทยไปกัมพูชา มูลค่า 2,342.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 24.05 และไทยนำเข้าจากกัมพูชา มูลค่า 214 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ18.12 โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 2,729.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

5. สถานการณ์ด้านการลงทุน

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board : CIB) ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 จำนวน 1,978 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 8,978.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การลงทุนที่ได้รับอนุมัติจาก CIB ปี 2549 — 2554

---------------------------------------------------------------------------------------------

          รายการ         หน่วย            2549  2550  2551  2552  2553  2554    2554/2553 อัตราการเพิ่ม(ลด)%

---------------------------------------------------------------------------------------------

          มูลค่าเงินลงทุน    ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 207.7 480.7 259.9 149.0 172.8 507.3         +334.5 ล้าน USD 194 %
          จำนวนโครงการ   โครงการ           99   130   101   100   102   148             +38 โครงการ 37 %

---------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : Cambodia Investment Board

ในปี 2554 CIB อนุมัติโครงการลงทุนรวม 148 โครงการ เงินลงทุน 507.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2553 พบว่า อนุมัติเพิ่ม 38 โครงการ หรือเพิ่มร้อยละ 37 และเงินลงทุนเพิ่ม 334.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มร้อยละ 194 โครงการที่ CIB อนุมัติ ได้แก่

  • อุตสาหกรรม Garment 78 โครงการ เงินลงทุน 130.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2553 ที่ได้รับอนุมัติ 40 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 41.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการลงทุนจากไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา มาเก๊า อังกฤษ มอริเชียส ซามัวและกัมพูชา
  • การผลิตยางพารา 20 โครงการ เงินลงทุน 295.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปีก่อนที่ได้รับอนุมัติ 9 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 28.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนเวียดนาม 17 โครงการหรือร้อยละ 85 รองลงมาคือออสเตรเลีย 2 โครงการหรือร้อยละ 10 และกัมพูชา 1 โครงการหรือร้อยละ 5
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 6 โครงการ เงินลงทุน 14.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการลงทุนเพื่อธุรกิจพัฒนาศูนย์การท่องเที่ยว ศูนย์การค้า โรงแรมระดับ 5 ดาว และที่พักอาศัย โดยนักลงทุนกัมพูชา จีน เกาหลีเหนือและมาเลเซีย
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ 6 โครงการ เงินลงทุน 8.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนฮ่องกง เกาหลีใต้และจีน
  • อุตสาหกรรมผลิตรองเท้า 8 โครงการ เงินลงทุน 8.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนไต้หวันและกัมพูชา
  • อุตสาหกรรมผลิตกระเป๋า 4 โครงการ เงินลงทุน 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนญี่ปุ่น เกาหลีใต้และฮ่องกง
  • อุตสาหกรรมเหมืองแร่ 3 โครงการ เงินลงทุน 12.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนจีนและเวียดนาม
  • ธุรกิจโรงสี 3 โครงการ เงินลงทุน 3.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุน จีน อินเดีย มาเลเซียและกัมพูชา
  • ธุรกิจโรงแรม 2 โครงการ เงินลงทุน 4.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนฮ่องกงและกัมพูชา
  • ธุรกิจโทรคมนาคม 2 โครงการ เงินลงทุน 2.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยโครงการของกัมพูชา 1 โครงการ และโครงการที่เป็นการร่วมทุนระหว่างกัมพูชา สหรัฐอเมริกาและมาเลเซียอีก 1 โครงการ
  • อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง 1 โครงการ เงินลงทุน 10.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา
  • อุตสาหกรรมน้ำดื่ม 1 โครงการ เงินลงทุน 7.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อทำน้ำประปาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในจังหวัดเสียมเรียบโดยนักลงทุนเกาหลีใต้
  • อุตสาหกรรมผลิตเครื่องหนัง 1 โครงการ เงินลงทุน 1.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนไต้หวัน
  • อุตสาหกรรมประกอบรถจักรยานยนต์ 1 โครงการ เงินลงทุน 1.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนจีน
  • อุตสาหกรรมอื่นๆ 12 โครงการ เงินลงทุน 13.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ การเกษตร อิเล็คทรอนิคส์ เหล็ก เครื่องดื่ม การแปรรูปอาหาร โรงงาน และการบริการ โดยนักลงทุนกัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ อังกฤษและสหรัฐอเมริกา

วิเคราะห์สถานะการลงทุน

(1) มูลค่าเงินลงทุน ในปี 2554 ซึ่งมีจำนวน 507.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าปี 2553 ซึ่งมีจำนวน 172.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 194.0 โดยแยกเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ จำนวน 460.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการลงทุนจากภายในประเทศจำนวน 46.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจาก

(1.1) เศรษฐกิจกัมพูชามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

(1.2) ทัศนคติเชิงบวกของนักลงทุนต่อเรื่องนโยบายด้านการเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานมีความมั่นคงซึ่งสร้างความมั่นใจต่อผู้ลงทุนได้มาก

(1.3) การขยายการให้บริการส่งเสริมการลงทุนไปสู่ระดับจังหวัดสำหรับโครงการที่มีมูลค่าเงินทุนไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

(2) การลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ พบว่า นักลงทุนเกาหลีใต้เป็นผู้ได้รับอนุมัติโครงการมากที่สุดจำนวน 28 โครงการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของจำนวนโครงการรวม โดยเป็นการลงทุนด้าน Garment 20 โครงการ หรือร้อยละ 72 ของจำนวนโครงการ รองลงมาคือเครื่องใช้ไฟฟ้า 2 โครงการ, โรงงานผลิต Biomass 1 โครงการ โครงการผลิตน้ำสะอาด 1 โครงการและโครงการอื่นๆ รองลงมาคือจีนจำนวน 23 โครงการโดยเป็นการลงทุนด้าน Garment 17 โครงการหรือร้อยละ 74 และไต้หวันจำนวน 22 โครงการ ได้แก่ ด้าน Garment 17 โครงการหรือร้อยละ 77 โรงงานทำรองเท้า 4 โครงการและโครงการสร้างโรงงานฟอกหนัง 1 โครงการ และฮ่องกง 19 โครงการ ได้แก่ ด้าน Garment 16 โครงการหรือร้อยละ 84 รองลงมาคือโรงแรมขนาดเล็ก 100 ห้อง 1 โครงการและที่เหลือคือโรงงานผลิตรองเท้าและโรงงานผลิตกระเป๋าอย่างละ 1 โครงการ

ด้านจำนวนเงินลงทุนมากที่สุดคือเวียดนาม 281.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 ของมูลค่าเงินลงทุนรวม โดยเป็นการลงทุนปลูกยางพาราและสร้างโรงงานแปรรูปน้ำยางพารา 16 โครงการมูลค่าการลงทุน 281.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุนสำรวจแร่ 1 โครงการ เงินลงทุน 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงไปได้แก่ จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ในสาขาต่างๆ ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ยางพารา กระเป๋า รองเท้า อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม เครื่องหนัง โรงงานประกอบชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์ เหมืองแร่ โรงสี อุตสาหกรรมการเกษตร โทรคมนาคมและการท่องเที่ยว เป็นต้น

พื้นที่ที่มีการลงทุนมากที่สุดได้แก่ กรุงพนมเปญ รองลงไปคือ จังหวัดรัตนคีรี จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดพระสีหนุและจังหวัดมณฑลคีรี

ในปี 2554 นี้ ไม่มีโครงการลงทุนของนักลงทุนไทยแต่อย่างใด ขณะที่ในปี 2553 มีจำนวน 1 ราย คือ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า แต่คาดว่าในปี 2555 จะมีโครงการลงทุนของนักลงทุนไทยอย่างน้อย 3 ราย เพื่อประกอบกิจการโรงสี จำนวน 2 ราย และ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า 1 ราย

ตารางเปรียบเทียบการลงทุน ปี 2553 และ 2554 (แยกตามหมวด)

----------------------------------------------------------------------------------------

          ลำดับที่              ปี 2553                                     ปี 2554
                อุตสาหกรรม          มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)    อุตสาหกรรม      มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

----------------------------------------------------------------------------------------

            1     เกษตรอุตสาหกรรม          75.5                ยางพารา             295.0
            2     เสื้อผ้าสำเร็จรูป            53.8                เสื้อผ้าสำเร็จรูป        130.2
            3     อุตสาหกรรม                7.5                การท่องเที่ยว           14.5
            4     การขนส่ง                  3.0                เหมืองแร่              12.0
            5     การท่องเที่ยว               3.0                วัสดุก่อสร้าง            10.0
                  รวม 5 หมวด             142.8                รวม 5 หมวด          461.7
                  รวมทั้งหมด               172.8                รวมทั้งหมด            507.3

----------------------------------------------------------------------------------------

ตารางเปรียบเทียบการลงทุน ปี 2553 และ 2554 (แยกตามรายประเทศ)

----------------------------------------------------------------------------------------

          ลำดับที่              ปี 2553                                     ปี 2554
                 ประเทศ       มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)             ประเทศ     มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

----------------------------------------------------------------------------------------

            1    จีน                38.25                        เวียดนาม           281.45
            2    กัมพูชา             33.35                        กัมพูชา              46.50
            3    ไต้หวัน             24.90                        จีน                 46.48
            4    เวียดนาม           17.33                        ไต้หวัน              40.89
            5    เกาหลีใต้           16.91                        เกาหลีใต้            38.41
                 รวม 5 ประเทศ     130.74                        รวม 5 ประเทศ      453.73
                 รวมทั้งสิ้น          172.80                        รวมทั้งสิ้น           507.31

----------------------------------------------------------------------------------------

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

----------------------------------------------------------------------------

          Items                               2550     2551    2552    2553   2554 E

----------------------------------------------------------------------------

          Nominal GDP (million US$)          8,753   10,571  10,833  11,535   11,535
          Real GDP (% increase)               10.2      6.7    -2.5     4.8      4.8
          GDP per Capita (US$)                 598      703     775     805      805
          Real GDP per Capita (% increase)    16.4     17.6   10.24    3.87     3.87
          Riel/Dollar Parity (year average)  4,056    4,068   4,168   4,100    4,100
          Inflation in Riel (%year average)    5.9     14.2    -0.7     8.2      8.2
          Inflation in Dollar ((%year average) 7.1     13.9     0.8     5.3      5.3
          Inflation (% increase, YOY)         10.8     13.5     7.5     7.8      7.8
          Inflation (% increase, year average) 5.9     19.7     4.0     6.0      6.0
          Budget Revenue (% GDP)              11.5     12.6    11.6    12.4     12.4
          Budget Expenditure (% GDP)          14.4     15.1    18.0    18.6     18.6
          Current Public Deficit (% GDP)       2.6      3.6     0.5     1.7      1.7
          Overall Public Deficit (% GDP)      -2.9     -2.5    -6.4    -6.2     -6.2
          Export of Goods (% GDP)             47.3     45.6    40.0    39.8     39.8
          Import of Goods (% GDP)             63.3     63.1    58.1    55.9     55.9
          Trade Balance (% GDP)              -16.0    -17.4   -18.1   -16.2    -16.2
          Current Account Balance (% GDP)     -8.5    -12.2   -13.0   -11.2    -11.2
          Net Foreign Reserves (million US$) 1,374    1,700   1,992   2,354    2,354
          Money — M1 (% GDP)                   5.7      5.4     6.5     6.4      6.4
          Money — M2 (% GDP)                  26.8     22.6    25.9    26.2     26.2
          Exchange Rate (Riel:Bath)            113      130     140     140      140
          Population (million)                14.2     14.5    14.8    15.1     15.1
          Labor Force (% Population)          58.2     58.8    59.3    59.8     59.8
          Unemployment (% Population)           25       22      24      27       27

----------------------------------------------------------------------------

ที่มา : - EIC, Cambodia Economics Today ,Monthly Bulletin of Statistics of MEF


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ