สถานการณ์การนำเข้าอาหารทะเลของสหรัฐฯในปี ๒๐๑๑

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 18, 2012 14:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์การนำเข้าอาหารทะเลของสหรัฐฯในปี ๒๐๑๑

ในปี ๒๐๑๑ สหรัฐฯนำเข้าสินค้าอาหารทะเลรวมทั้งสิ้นคิดเป็นมูลค่าประมาณ ๑๗,๑๔๑ ล้านเหรียญฯเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๓.๗๙ การนำเข้าสินค้าอาหารทะเลแยกออกเป็น ๒ กลุ่มสินค้าคือ สินค้าอาหารทะเลแช่เยือกแข็งและสินค้าอาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม

ก.การนำเข้าอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง มูลค่านำเข้าประมาณ ๑๒,๗๐๑.๘๔ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อย ละ ๑๓.๔๓ ส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ ๓๐.๔๖ ของมูลค่านำเข้ารวมทั้งสิ้นเป็นการนำเข้ากุ้งแช่เยือกแข็ง รองลงมาร้อยละ ๒๓.๕๔ เป็นมูลค่าการนำเข้าเนื้อปลาแล่แล้วแช่เยือกแข็ง การนำเข้าอาหารทะเลแช่เยือกแข็งเรียงตามลำดับมูลค่านำเข้าสูงสุดสามอันดับแรกคือ

๑.กุ้งแช่เยือกแข็ง ปริมาณนำเข้าประมาณ ๔๓๐ ล้านกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๕๖ มูลค่า นำเข้า ๓,๘๖๘.๘๘ เหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘.๙๐ แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญ คือ

____________________________________________________________________________

             ประเทศ                 ปริมาณนำเข้า       %        มูลค่านำเข้า        %

(ล้านกิโลกรัม) เปลี่ยนแปลง (ล้านเหรียญฯ) เปลี่ยนแปลง

____________________________________________________________________________

          ๑. ไทย                       ๑๐๖         -๑๒.๘๑        ๙๖๐         ๖.๘๕
          ๒. อินโดนิเซีย                   ๖๐          ๑๔.๖๓        ๕๙๔        ๓๙.๕๓
          ๓. เอควาดอร์                   ๗๒          ๑๒.๙๙        ๕๒๑        ๒๙.๗๓
          ๔. อินเดีย                      ๔๕          ๖๐.๔๘        ๔๘๙        ๗๐.๖๑
          ๕. เวียดนาม                    ๓๐         -๑๕.๙๖        ๓๗๖        -๗.๖๖
          ๖. เม็กซิโก                     ๓๑          ๓๐.๓๕        ๒๘๘        ๒๖.๘๑
          ๗. มาเลเซีย                    ๒๘          ๒๑.๘๐        ๑๙๕        ๔๐.๓๙
          ๘. จีน                         ๑๓         -๑๕.๒๓        ๑๐๐         ๑.๘๕
          ๙. ฮอนดูรัส                     ๑๐           ๐.๗๘         ๖๙        -๕.๒๑
          ๑๐. เปรู                        ๘          ๑๘.๘๗         ๖๒        ๒๙.๘๑

____________________________________________________________________________

ร้อยละ ๓๓.๕๓ ของสินค้าผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครลอสแอนเจลิส และร้อยละ ๓๓.๔๑ ผ่านเข้าที่ด่านศุลกากรนครนิวยอร์ค

๒.เนื้อปลาแล่แล้วแช่เยือกแข็ง ปริมาณนำเข้าประมาณ ๕๔๘ ล้านกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๐๘ มูลค่านำเข้าประมาณ ๒,๙๘๙.๙๑ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๒๑ แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญ คือ

____________________________________________________________________________

             ประเทศ                 ปริมาณนำเข้า       %        มูลค่านำเข้า        %

(ล้านกิโลกรัม) เปลี่ยนแปลง (ล้านเหรียญฯ) เปลี่ยนแปลง

____________________________________________________________________________

          ๑. จีน                        ๓๒๑         -๒.๔๔         ๑,๔๕๑       ๑๑.๖๓
          ๒. เวียดนาม                    ๙๑         ๗๒.๘๘           ๓๔๒       ๙๖.๔๘
          ๓. อินโดนิเซีย                   ๒๑        -๑๗.๑๓           ๑๖๖      -๑๓.๔๗
          ๔. ชิลี                         ๑๙         ๓๔.๐๐           ๑๘๘       ๖๐.๔๓
          ๕. นอร์เวย์                     ๑๑        -๒๑.๖๘           ๑๓๔      -๑๕.๓๑
          ๖. คานาดา                     ๑๐         -๙.๒๐           ๑๐๙        ๔.๔๑
          ๗. อาร์เจนติน่า                   ๙        -๓๐.๕๘            ๔๐      -๑๕.๖๖
          ๘. ไต้หวัน                       ๘          ๙.๕๑            ๖๗       ๖๕.๒๓
          ๙. รัสเซีย                       ๗        -๒๖.๑๑            ๕๒       ๑๒.๖๓
          ๑๐. ไอซ์แลนด์                    ๖         -๒๒.๖            ๔๙      -๑๔.๙๑
          ๑๑ ไทย                         ๖        -๒๔.๙๓            ๓๙       -๕.๒๘

____________________________________________________________________________

ร้อยละ ๒๔.๔๕ ของสินค้าจะผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครลอสแอนเจลิส ร้อยละ ๑๕.๗๑ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครนิวยอร์ค และร้อยละ ๑๔.๔๐ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครบอสตัน

๓. เนื้อปลาแล่แล้วและเนื้ออาหารทะเลอื่นๆสด หรือแช่เย็น ปริมาณนำเข้าประมาณ ๑๒๐ กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘.๖๑ มูลค่านำเข้าประมาณ ๑,๑๒๗ ล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๗.๔๙ แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญคือ

____________________________________________________________________________

             ประเทศ                 ปริมาณนำเข้า       %        มูลค่านำเข้า        %

(ล้านกิโลกรัม) เปลี่ยนแปลง (ล้านเหรียญฯ) เปลี่ยนแปลง

____________________________________________________________________________

          ๑. ชิลี                         ๕๑         ๖๓.๕๘         ๕๑๘          ๖.๘๕
          ๒. คานาดา                     ๑๒        -๒๐.๒๙         ๑๓๕         ๓๙.๕๓
          ๓. นอร์เวย์                    ๘.๔        -๖๓.๖๘          ๙๒         ๒๙.๗๓
          ๔. ฮอนดูรัส                      ๘         ๑๑.๕๓          ๖๒         ๗๐.๖๑
          ๕. เอควาดอร์                    ๘         -๑.๒๗          ๕๒         -๗.๖๖
          ๖. สหราชอาณาจักร                ๕         ๔๑.๖๑          ๔๔         ๒๖.๘๑
          ๗. คอสตาริก้า                    ๖         -๘.๙๖          ๔๓         ๔๐.๓๙
          ๘. หมู่เกาะฟารอร์                 ๗        ๘๐๔.๑๑          ๔๓          ๑.๘๕
          ๙. ญี่ปุ่น                         ๒         -๖.๓๐          ๒๘         -๕.๒๑
          ๑๐. ไอซ์แลนด์                  ๒.๓         ๑๒.๒๗          ๒๗         ๒๙.๘๑
          ๔๓. ไทย                     .๐๑๔           ๙.๒        ๐.๑๓        -๑๐.๕๗

____________________________________________________________________________

ครึ่งหนึ่งของสินค้าจะผ่านเข้าที่ด่านนำเข้านครไมอามี่ และร้อยละ ๑๓.๐๖ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครนิวยอร์ค

ข.การนำเข้าสินค้าอาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม มูลค่านำเข้าประมาณ ๔,๔๓๙.๑๗ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๔.๘๑ ส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ ๒๘.๕๕ เป็นการนำเข้ากุ้งมูลค่าเพิ่ม รองลงมาร้อยละ ๒๒.๔๒ เป็นการนำเข้าปลาทูน่า และร้อยละ ๑๓.๖๗ เป็นการนำเข้าปู

๑. การนำเข้ากุ้งมูลค่าเพิ่ม ปริมาณนำเข้ารวมทั้งสิ้นประมาณ ๑๔๔ ล้านกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ ๐.๐๖ คิดเป็นมูลค่านำเข้าประมาณ ๑,๒๖๗ ล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๒๓.๖๑ แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญคือ

____________________________________________________________________________

             ประเทศ                 ปริมาณนำเข้า       %        มูลค่านำเข้า        %

(ล้านกิโลกรัม) เปลี่ยนแปลง (ล้านเหรียญฯ) เปลี่ยนแปลง

____________________________________________________________________________

          ๑. ไทย                        ๗๙          -๒.๒๙         ๗๕๖        ๒๒.๙๖
          ๒. จีน                         ๒๙         -๑๐.๕๔         ๑๘๕         ๕.๔๑
          ๓. เวียดนาม                    ๑๕          ๒๒.๐๖         ๑๔๔        ๓๔.๔๒
          ๔. อินเดีย                      ๑๑          ๑๗.๕๑         ๑๐๑        ๕๐.๖๙
          ๕. คานาดา                      ๓          ๔๙.๑๑          ๒๔        ๗๖.๓๑
          ๖. เวียดนาม                     ๒           ๒.๕๕          ๒๐        ๒๒.๕๓
          ๗. มาเลเซีย                     ๑           ๒.๐๔          ๑๔        ๓๒.๒๐
          ๘. เอควาดอร์                  .๐๗          ๕๐.๓๔           ๙        ๗๑.๕๑
          ๙. สหสาธารณรัฐอาหรับ           .๐๓          ๔๖.๙๗           ๔        ๓๖.๙๓
          ๑๐. กัวเตมาลา                 .๐๓         -๔๑.๑๖           ๒       -๓๔.๐๖

____________________________________________________________________________

ร้อยละ ๕๔.๑๔ ของสินค้าผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครลอสแอนเจลิส ร้อยละ ๑๑.๑๗ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครไมอามี่ และร้อยละ ๑๐.๗๙ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรเมืองซาวาน่า รัฐจอร์เจีย

๒.การนำเข้าเนื้อปลาทูน่ามูลค่าเพิ่ม ปริมาณนำเข้าประมาณ ๒๔๘ ล้านกิโลกรัม ลดลงร้อยละ ๖.๘๗ มูลค่านำเข้า ๙๙๕ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙.๗๔ แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญ คือ

____________________________________________________________________________

             ประเทศ                 ปริมาณนำเข้า       %        มูลค่านำเข้า        %

(ล้านกิโลกรัม) เปลี่ยนแปลง (ล้านเหรียญฯ) เปลี่ยนแปลง

____________________________________________________________________________

          ๑. ไทย                        ๑๒๕        -๑๓.๕๘        ๕๒๑          ๕.๑๔
          ๒. เอควาดอร์                    ๒๐         ๑๕.๕๘         ๙๔         ๑๔.๐๙
          ๓. ฟิลิปปินส์                      ๒๕         ๑๔.๓๘         ๘๓         ๔๒.๙๓
          ๔. เวียดนาม                     ๑๘         -๕.๗๗         ๖๗         ๒๐.๕๑
          ๕. จีน                          ๑๔        ๑๑๘.๔๔         ๕๕        ๒๔๓.๙๗
          ๖. อินโดนิเซีย                    ๑๐        -๒๔.๕๓         ๔๔         -๕.๑๗
          ๗. โคลอมเบีย                     ๗         ๓๖.๒๒         ๓๖         ๕๗.๕๕
          ๘. ฟิจิ                           ๕        -๖๙.๑๘         ๒๔        -๖๗.๙๐
          ๙. มัวริเทียส                      ๙         ๗๒.๙๒         ๒๒        ๒๐๘.๘๖
          ๑๐. ปาปัว นิวกินี                   ๓        -๑๘.๔๓         ๑๓          ๐.๙๒

____________________________________________________________________________

ร้อยละ ๔๔.๕๕ ของสินค้าผ่านเข้าที่ด่านศุลกากรนครลอสแอนเจลิส และร้อยละ ๒๐.๗๑ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครนิวยอร์ค

๓.การนำเข้าปูและปูมูลค่าเพิ่ม ปริมาณการนำเข้าประมาณ ๓๕ ล้านกิโลกรัม ลดลงร้อยละ ๖.๕๑ มูลค่านำเข้าประมาณ ๖๐๗ ล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๒.๑๓ แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญ คือ

____________________________________________________________________________

             ประเทศ                 ปริมาณนำเข้า       %        มูลค่านำเข้า        %

(ล้านกิโลกรัม) เปลี่ยนแปลง (ล้านเหรียญฯ) เปลี่ยนแปลง

____________________________________________________________________________

          ๑. อินโดนิเซีย                    ๖         -๑๔๔๒         ๑๘๑          ๕.๖๖
          ๒. จีน                          ๖         -๓.๓๗         ๑๒๘         ๑๖.๕๓
          ๓. ไทย                         ๓         -๑.๘๘          ๖๐         ๑๙.๗๕
          ๔. ฟิลิปปินส์                      ๓        -๑๐.๖๓          ๖๕          ๕.๗๙
          ๕. เวียดนาม                     ๓        -๑๐.๔๖          ๔๙         -๐.๒๔
          ๖. เวเนซูเอลล่าห์                 ๒         ๔๗.๔๑          ๒๓         ๒๒.๓๕
          ๗. อินเดีย                       ๒          ๐.๕๘          ๒๙         ๑๔.๖๓
          ๘. เม็กซิโก                      ๒         ๕๕.๖๑          ๒๖         ๘๖.๙๓
          ๙. คานาดา                      ๑        -๕๐.๓๘          ๑๗        -๓๖.๐๓
          ๑๐. เกาหลีใต้                  ๐.๔        -๓๘.๓๓           ๔        -๒๑.๑๙

____________________________________________________________________________

ร้อยละ ๒๒.๖๗ ของสินค้าผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครนิวยอร์ค ร้อยละ ๒๒.๒๔ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครไมอามี่ ร้อยละ ๑๘.๐๒ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนอร์คฟอร์ค รัฐเวอร์จิเนีย และร้อยละ ๑๓.๐๙ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครลอสแอนเจลิส

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส

๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ