ภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิต การค้า และการบริโภคข้าวของสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 19, 2012 16:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิต การค้า และการบริโภคข้าวของสหรัฐ

I. มูลค่าอุตสาหกรรมข้าวสหรัฐฯ

ผลผลิตที่ได้จากอุตสาหกรรมการผลิตข้าว การสีข้าว การตลาดข้าว และอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิต มีมูลค่ารวมกันประมาณ ๓๔ พันล้านเหรียญฯ (สถิติในปี ๒๐๐๙)

II. โครงสร้างของอุตสาหกรรม

โครงสร้างทางอุตสาหกรรมการปลูกข้าวในปัจจุบันคือ

๑. จำนวนนาข้าว (rice farms) ลดลงแต่พื้นที่เฉลี่ยของนาข้าว (rice field) ของแต่ละฟาร์มเพิ่มขึ้นการรวมผืนนาเข้าด้วยกันทำให้พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ยต่อหนึ่งนาข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบหนึ่งเท่าตัวในขณะที่จำนวนนาข้าวลดลงกว่าครึ่ง

๒. การเปลี่ยนย้ายพื้นที่การผลิตหลักจากพื้นที่การผลิตบริเวณ Gulf Coast มาเป็นการผลิตในรัฐอาร์คันซอร์ (Arkansas Non-Delta) และเขตลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ (Mississippi River Delta) เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตในบริเวณ Gulf Coast สูงกว่าการผลิตในรัฐอาร์คันซอร์และเขตลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ประมาณร้อยละ ๑๕ - ๑๖

การเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างอุตสาหกรรมการปลูกข้าวของสหรัฐเริ่มขึ้นในปี ๒๐๐๗ เป็นผลสืบเนื่องมาจากแรงกดดันด้านการเงินและจากเงื่อนไขของความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ(economic incentives) ที่รัฐบาลสหรัฐฯจัดหาให้ ทำให้ชาวนาต้องหาวิถีทางที่จะลดค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อหน่วยลงโดยการพยายามใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่างๆให้ได้ประสิทธิผลมากที่สุดผ่านทางการเปลี่ยนเทคโนโลยี่การผลิต ขนาดของที่นาเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและในขณะเดียวกันก็จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขอื่นอีกที่ทำให้จำนวนนาข้าวสหรัฐฯลดลงคือนาข้าวใหม่ๆเกิดขึ้นได้น้อยมากเพราะมีอุปสรรคหลายประการที่กีดขวางการเข้าสู่การผลิตข้าวของชาวนารุ่นใหม่ๆได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการผลิต รายได้เฉลี่ยที่เป็นรายได้สุทธิจากการทำนามีการแข่งขันกันสูงมากยิ่งขึ้น และสภาวะอากาศที่แปรปรวนผิดฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

III. การผลิตข้าวและแหล่งผลิตข้าวของสหรัฐฯ

ก. แหล่งผลิตข้าว

พื้นที่ปลูกข้าวของสหรัฐฯในแต่ละปีมีประมาณ ๓.๓ ล้านเอเคอร์ แหล่งผลิตข้าวสำคัญของสหรัฐฯอยู่ใน ๔ ภูมิภาค คือ (๑) ในรัฐอาร์คันซอร์ที่ Arkansas Grand Prairie (๒) บริเวณสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้

Mississippi Delta ที่เป็นที่ตั้งของรัฐอาร์คันซอร์ รัฐมิสซิสซิปปี้ รัฐมิสซูรี่ และรัฐหลุยเซียน่า (๓) ชายฝั่งริมอ่าวเม็กซิโก - Gulf Coast ในรัฐเท๊กซัส และตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐหลุยเซียน่า และ (๔) หุบเขาซาคราเมนโต้ - Sacramento Valley ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

ผลผลิตข้าวจากรัฐภาคใต้ของสหรัฐฯ (ข้อ ๑ - ๓) รวมกันคิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของผลผลิตข้าวรวมทั้งสิ้นของสหรัฐฯ ที่เหลือเป็นผลผลิตของรัฐแคลิฟอร์เนีย

แหล่งผลิตข้าวของสหรัฐฯแยกตามมลรัฐฯที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ ๖ มลรัฐ เรียงตามลำดับปริมาณการผลิตล่าสุดคือ

                    รัฐ               มูลค่าการผลิต (ปี ๒๐๐๙)
                    รัฐอาร์คันซอร์         ๑.๙ พันล้านเหรียญฯ
                    รัฐแคลิฟอร์เนีย        ๑.๘ พันล้านเหรียญฯ
                    รัฐหลุยเซียน่า         ๖๔๐ ล้านเหรียญฯ
                    รัฐเท๊กซัส            ๔๐๐ ล้านเหรียญฯ
                    รัฐมิสซิสซิปปี้          ๓๕๐ ล้านเหรียญฯ
                    รัฐมิสซูรี่             ๓๐๐ ล้านเหรียญฯ

ข.กรรมวิธีการปลูก

สหรัฐฯเป็นประเทศที่สามารถปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูงมาก ผลผลิตในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า ๑๙ พันล้านปอนด์ พื้นที่ทำนาข้าวของสหรัฐฯทุกพื้นที่ได้รับการจัดการด้านการชลประทานทดน้ำอย่างดีเลิศ กรรมวิธีการหว่านข้าวกระทำทั้ง (ก) การหว่านเมล็ดทางอากาศลงไปที่ที่นาทั้งที่เป็นผืนดินแห้งและที่น้ำท่วมขัง (การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวของรัฐแคลิฟอร์เนียส่วนใหญ่จะเป็นการหว่านทางอากาศลงไปในพื้นที่น้ำท่วมขัง) หรือ (ข) การขุดฝังหรือหว่านเมล็ดพันธุ์ลงบนผืนนาที่เป็นดินแห้ง (ส่วนใหญ่ของที่นาในตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐหลุยเซียน่าและรัฐเท๊กซัส จะเป็นการเจาะดินฝังเมล็ดพันธุ์) การใส่ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงส่วนใหญ่จะเป็นการโปรยจากทางอากาศ

ค. ฤดูการปลูกและการเก็บเกี่ยว

พื้นที่เพาะปลูกในรัฐเท๊กซัสและตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐหลุยเซียน่าจะเริ่มปลูกข้าวต้นเดือนมีนาคม และเริ่มต้นเก็บเกี่ยวตอนต้นเดือนหรือกลางเดือนกรกฏาคม ชาวนาบางรายในพื้นที่นี้อาจจะสามารถปลูกข้าวฤดูที่สองหรือที่เรียกว่า ratoon ได้โดยการปล่อยน้ำให้ท่วมที่นาหลังการเก็บเกี่ยวครั้งแรกแล้วลงข้าวฤดูที่สอง พื้นที่เพาะปลูกในเขตสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำทางภาคใต้ จะเริ่มปลูกข้าวในเดือนเมษายน และเก็บเกี่ยวในเดือนกันยายนและต้นเดือนตุลาคม

พื้นที่เพาะปลูกในรัฐแคลิฟอร์เนียจะเริ่มต้นปลูกข้าวปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน

ง. ความสามารถในการสีข้าวของสหรัฐฯ

โดยเฉลี่ยแล้วสหรัฐฯสามารถสีข้าวเปลือก ๑๐๐ ปอนด์ ออกมาได้เป็นข้าวสีแล้วที่เป็นเมล็ดข้าวสมบูรณ์ประมาณ ๖๐ ปอนด์ เป็นข้าวหักประมาณ ๑๐ - ๑๑ ปอนด์ เป็นรำข้าวประมาณ ๙ ปอนด์ และเป็นเปลือกข้าวประมาณ ๒๐ ปอนด์

จ. ประเภทของข้าวที่สหรัฐฯผลิตได้ สหรัฐฯแยกประเภทของข้าวที่ผลิตได้ตามขนาดของข้าวคือ

๑. ข้าวเมล็ดยาว (สายพันธุ์ indica) เป็นประเภทของข้าวที่สหรัฐฯผลิตได้มากที่สุดหรือประมาณร้อยละ ๗๐ ของการผลิตข้าวรวมทั้งสิ้นของสหรัฐฯ

แหล่งผลิตสำคัญ: พื้นที่ปลูกข้าวในภาคใต้ของสหรัฐฯ

ลักษณะเนื้อข้าวเมื่อหุง: เป็นเมล็ดสวย ร่วน เบา แยกเป็นตัวๆไม่ติดกัน

๒. ข้าวเมล็ดกลาง ผลผลิตประมาณ ๑ ใน ๔ ของการผลิตข้าวรวมทั้งสิ้นของสหรัฐฯ

แหล่งผลิตสำคัญ:

(ก) ส่วนใหญ่ของข้าวที่ผลิตได้ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ข้าวเมล็ดกลางจากรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นสายพันธุ์ japonica rice รัฐแคลิฟอร์เนียตั้งชื่อข้าวของตนว่า "Calrose Rice" เพื่อให้แตกต่างจากข้าวที่ผลิตได้จากรัฐอื่น

(ข) รัฐในภาคใต้(ส่วนใหญ่จะเป็นรัฐอาร์คันซอร์) ผลิตข้าวเมล็ดกลางที่เป็นสายพันธุ์ Indica ซึ่งมีสีไม่ขาวเท่า เนื้อไม่เหนียวเท่า และรสชาดไม่ให้ความรู้สึกสะอาดเท่า japonica ลักษณะเนื้อข้าวเมื่อหุง: จะมีความชื้นกว่า นุ่มกว่า และจะจับตัวกันมากกว่าข้าวเมล็ดยาว

๓. ข้าวเมล็ดสั้น ผลผลิตที่ได้ประมาณร้อยละ ๑ - ๒ ของผลผลิตข้าวรวมทั้งสิ้นของสหรัฐฯ

แหล่งผลิตสำคัญ: เป็นข้าวที่ผลิตได้เฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนีย

ลักษณะเนื้อข้าวเมื่อหุง: จะนุ่ม ค่อนข้างจะเกาะตัวกันแต่ไม่ติดกันเป็นก้อน เวลาเคี้ยวจะรู้สึกถึงความหนึบของเนื้อข้าวและให้ความรู้สึกเหมือนว่าข้าวจะกระเด้งได้เล็กน้อย

ฉ. ข้าวที่สหรัฐฯผลิตได้แบ่งตามคุณลักษณะพิเศษของข้าว

สหรัฐฯสามารถผลิตข้าวที่เป็นแบบพิเศษ (specialty rice) ได้หลากหลายชนิด ที่สำคัญๆคือ

๑. ข้าวหอมมะลิสหรัฐฯ U.S. jasmine rice

ลักษณะ: เป็นข้าวขาวเมล็ดยาวมีกลิ่นหอมเหมือนข้าวโพดคั่วหรือลูกนัทคั่ว

ลักษณะข้าวเมื่อหุง: นุ่ม ชื้น และเกาะตัวกัน

๒. ข้าวบาสมาติสหรัฐฯ U.S. basmati rice

ลักษณะ: เป็นข้าวขาวเมล็ดยาวมีกลิ่นหอมเหมือนข้าวโพดคั่วหรือลูกนัทคั่ว

ลักษณะข้าวเมื่อหุง: ข้าวจะขยายตัวเฉพาะความยาวของข้าวทำให้ได้ข้าวเมล็ดยาว เรียว แห้งร่วน และนุ่มพอง

๓. ข้าวเดลล่า เดลโรส หรือ เดลมอนท์ (Della, Delrose, Delmont)

ลักษณะ: มีคุณลักษณะผสมของข้าวเมล็ดยาวปกติและข้าวบาสมาติ มีกลิ่นหอมคล้ายข้าวบาสมาติ

ลักษณะข้าวเมื่อหุง: ข้าวจะขยายตัวทั้งทางยาวและทางขวางเหมือนข้าวเมล็ดยาวปกติทั่วไป

๔. ข้าวหอมสีแดงสหรัฐฯ (U.S. aromatic red rice)

ลักษณะ: มีสีเหมือนสีน้ำผึ้งแดงจัด ลักษณะข้าวเมื่อหุง: ใช้เวลาในการหุงนานระหว่าง ๔๕ - ๕๐ นาที ข้าวที่หุงได้จะมีรสเค็มมันมีกลิ่นเหมือนถั่ว เวลาเคี้ยวจะรู้สึกหนึบเล็กน้อย

๕. ข้าวดำหอมสหรัฐฯ (U.S. black japonica)

ลักษณะ: เป็นข้าวหอมสีดำ

ลักษณะข้าวเมื่อหุง: ใช้เวลาในการหุงนานระหว่าง ๔๕ - ๕๐ นาที ข้าวที่หุงได้จะค่อนข้างหนึบเวลาเคี้ยว มีรสหวานเหมือนเครื่องเทศ

๖. ข้าวอาร์บอริโอสหรัฐฯ (U.S. Arborio rice)

ลักษณะ: เป็นข้าวเมล็ดกลางที่มีขนาดใหญ่ หนา มีจุดขาวตรงกลางเมล็ด

ลักษณะข้าวเมื่อหุง: ส่วนใหญ่จะใช้ทำ risotto (อาหารอิตาเลียน) เวลาเคี้ยวข้าวตรงกลางข้าวจะมีเนื้อเหมือนครีม และมีคุณสมบัติที่ดีเลิศในการดูดอมรสต่างๆไว้ในตัว

๗. ข้าวเหนียวสหรัฐฯ (U.S. sweet rice, glutinous rice, waxy rice, California mocha rice)

ลักษณะ: เป็นข้าวเมล็ดสั้น อ้วน สีขาวขุ่นเหมือนช๊อค

ลักษณะข้าวเมื่อหุง: จะเหนียวติดกันเหมือนข้าวเหนียว ส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ เช่น น้ำเกรวี่ หรือซ๊อส

IV นโนบายการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ

ก. นโยบายข้าวของสหรัฐฯ

สหรัฐฯกำหนดนโยบายการช่วยเหลือชาวนาข้าวสหรัฐฯไว้ในกฎหมาย Food, Conservation, and Energy Act of 2008 (2008 Farm Act) ซึ่งบริหารจัดการโดยหน่วยงานต่างๆของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯหลายหน่วยงาน กฎหมายนี้จะแยกโปรแกรมข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้นออกจากข้าวเมล็ดยาว ชาวนาอาจจะได้รับผลประโยชน์จากพืชผลที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือ การประกันรายได้ และความช่วยเหลือถาวรเมื่อได้รับภัยพิบัติยิ่งกว่านั้น ชาวนาข้าวอาจจะได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมจากโปรแกรมที่เป็นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการค้า

ภายใต้กฎหมาย 2008 Farm Act ผู้เข้าร่วมในโปรแกรมจะได้รับความยืดหยุ่นในการตัดสินใจว่าจะทำการปลูกพืชผลชนิดใด ปกติแล้วชาวนาที่เข้าร่วมโปรแกรมได้รับอนุญาตให้ปลูกธัญพืชใดๆก็ได้บนผืนนา ทั้งนี้มีข้อจำกัดเฉพาะเรื่องการปลูกผลไม้และผักเท่านั้นโปรแกรมการจ่ายชำระเงินโดยตรงและที่เป็นการจ่ายชำระเงินประกันราคาพืชผลจะพิจารณาจากผลผลิตในอดีตเป็นเกณฑ์ ในบางกรณีไม่จำเป็นต้องมีการผลิตแต่ผืนดินจะต้องถูกเก็บรักษาไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเท่านั้นซึ่งรวมถึงการพักผืนดินผู้เข้าร่วมในโปรแกรมเหล่านี้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการที่เป็นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพื้นที่ลุ่มน้ำขัง(wetland)

โปรแกรมหลักภายใต้นโยบายการช่วยเหลือชาวนาข้าวสหรัฐฯของกฎหมาย 2008 Farm Act มีอยู่ ๗ โปรแกรมด้วยกันคือ

๑. Marketing Assistance Loans and Loan Deficiency Payments โดยสรุปคือเปิดโอกาสการ เข้าถึงผลประโยชน์ที่มาจากการกู้เงินด้านการตลาดและการจ่ายชำระชดเชยเงินกู้ สำหรับข้าวสาลี ธัญพืชสำหรับเลี้ยงสัตว์ ฝ้าย ข้าว และพืชน้ำมัน วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้านการเงินในระยะสั้นในทุกสถานการณ์แวดล้อมด้านราคา เพื่อช่วยชาวนาเมื่อราคาตลาดตกต่ำเนื่องจากเป็นการกู้แบบเอาข้าวมาค้ำประกันดังนั้นเมื่อราคาข้าวตกลงต่ำกว่าอัตรากู้รวมดอกเบี้ยชาวนาอาจจะใช้หนี้คืนด้วยข้าวแทนการจ่ายชำระเป็นตัวเงิน และเพื่อหลีกเลี่ยงการยึดหรือการจ่ายคืนด้วยข้าวลดโอกาสการเอาข้าว มาชำระเงินกู้และเพื่อลดจำนวนข้าวในสต๊อกของรัฐบาลการกู้เพื่อการตลาดนี้จึงมีข้อกำหนดยินยอมให้ชาวนาจ่ายคืนการกู้ในอัตราที่ต่ำกว่าอัตรากู้ที่กู้ไปรวมดอกเบี้ยเมื่อราคาข้าวโลกที่เป็นราคาปรับแล้ว(Adjusted World Price - AWP ตามการคำนวนของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ) ต่ำกว่าอัตรากู้รวมดอกเบี้ย

สำหรับปีพืชผล ๒๐๐๘ - ๒๐๑๒ กฎหมายกำหนดอัตรากู้สำหรับข้าวไว้ที่ ๖.๕๐ เหรียญฯต่อ ๑๐๐ ปอนด์ (๔๕.๓๖ กิโลกรัม)

๒. Direct and Counter-Cyclical Payments เป็นการเปิดโอกาสการเข้าถึงผลประโยชน์ที่เป็นเรื่องการจ่ายชำระเงินประกันราคาพืชผล สำหรับข้าวสาลี ธัญพืชสำหรับเลี้ยงสัตว์ ฝ้าย ข้าว (เมล็ดยาวและเมล็ดกลาง) พืชน้ำมัน และ พืชผลประเภทถั่ว เพื่อรักษาเสถียรภาพรายได้ของชาวนาในปีที่ราคาพืชผลตกต่ำกว่าราคาเป้าหมาย ดังนั้นเมื่อราคาในตลาดตกต่ำการจ่ายชำระเงินก็จะเพิ่มสูงขึ้น

(ก) Direct Payments อัตราการจ่ายชำระตามที่กำหนดไว้สำหรับข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดยาว คือ ๒.๓๕ เหรียญฯต่อข้าว ๑๐๐ ปอนด์ (๐.๐๔๕๓ เมตริกตัน) สำหรับปีพืชผล ๒๐๐๘ - ๒๐๑๒ การจ่ายเงินจะกระทำหลังวันที่ ๑ ตุลาคมของแต่ละปีพืชผล สำหรับชาวนาที่เข้าร่วมในโปรแกรม Average Crop Revenue Election (ACRE) อัตราการจ่ายชำระเงินจะลดลงร้อยละ ๒๐ เหลือ ๑.๘๘ เหรียญฯต่อข้าว ๑๐๐ ปอนด์ การจ่ายชำระนี้กระทำโดยตรงให้แต่ละบุคคลและจำกัดวงเงินสูงสุดไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ เหรียญฯต่อคนต่อปีพืชผล คู่สมรสของชาวนามีสิทธิได้รับการจ่ายชำระแยกต่างหากด้วยเช่นกัน ชาวนาที่มีรายได้ที่นอกเหนือจากการทำนาภายใน ๓ ปีเฉลี่ยเกินกว่า ๕๐๐,๐๐๐ เหรียญฯ หรือมีรายได้จากการทำนาภายใน ๓ ปีเฉลี่ยเกินกว่า ๗๕๐,๐๐๐ เหรียญฯไม่มีสิทธิรับเงินจ่ายชำระนี้

(ข) Counter-Cyclical Payments - CCPs ชาวนาที่สมัครเข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับการจ่ายชำระเงินสำหรับพืชผลที่กฎหมายนี้ระบุไว้ เมื่อใดก็ตามที่ราคาที่เป็นeffective price ของประเทศ [ผลลัพทธ์ที่มาจากการรวมอัตราการจ่ายชำระโดยตรงหรือ direct payment เข้า กับอัตราเงินกู้สำหรับพืชผลหรือราคาเฉลี่ยที่ที่นาในปีพืชผลนั้น (เลือกเอาราคาที่สูงที่สุด)]ต่ำกว่าราคาที่เป็นtarget price ของประเทศ (ระดับราคาต่อหน่วยนับใช้ในการคำนวนการจ่ายชำระเงินที่เป็นCCPs ปัจจุบันtarget price สำหรับข้าวเมล็ดยาวและเมล็ดกลางเท่ากับ ๑๐.๕๐ เหรียญฯต่อ ๑๐๐ ปอนด์) การจ่ายชำระเงินจะถูกกระทำทันทีที่สามารถทำได้เมี่อปีพืชผลของพืชผลนั้นๆสิ้นสุดลง การจ่ายชำระนี้จำกัดวงเงินสูงสุดที่ ๖๕,๐๐๐ เหรียญฯต่อคนต่อปีพืชผล คู่สมรสมีสิทธิได้รับการจ่ายชำระด้วยเช่นกัน ชาวนาที่มีรายได้ที่นอกเหนือจาก การทำนาภายใน ๓ ปีเฉลี่ยเกินกว่า ๕๐๐,๐๐๐ เหรียญฯ หรือมีรายได้จากการทำนาภายใน ๓ ปีเฉลี่ยเกินกว่า ๗๕๐,๐๐๐ เหรียญฯไม่มีสิทธิรับเงินจ่ายชำระนี้

๓. Average Crop Revenue Election Program หรือ ACRE เป็นโปรแกรมใหม่ในกฎหมาย 2008 Farm Act มีผลบังคับใช้กับปีพืชผล ๒๐๐๙ สำหรับข้าวสาลี ธัญพืชสำหรับเลี้ยงสัตว์ ฝ้าย ข้าว พืชน้ำมัน และพืชผลประเภทถั่ว เป็นการประกันรายได้ในแต่ละปีที่พิจารณาจากราคาตลาดทั่วประเทศและระดับผลผลิตที่ได้ในแต่ละพื้นที่ปลูกของแต่ละมลรัฐ แต่ระดับการจ่ายชำระเงินขึ้นอยู่กับระดับผลผลิตของไร่และของรัฐและราคาตลาดในประเทศ การจ่ายชำระเงินจะเกิดขึ้นในสองกรณีคือ

(ก) รายได้จริง(ที่เกิดขึ้นในรัฐ)ต่อผลผลิตหนึ่งเอเคอร์ต่ำกว่าที่รัฐการันตีไว้ต่อหนึ่งเอเคอร์

(ข) รายได้จริงของฟาร์มต่อพื้นที่เพาะปลูกหนึ่งเอเคอร์ต่ำกว่าเกณท์มาตรฐานรายได้ของฟาร์มต่อหนึ่งเอเคอร์ชาวนามีสิทธิที่จะเลือกเข้าโปรแกรม ACRE นี้แทนการเข้าร่วมในโปรแกรม CCPs และการเข้าร่วมโปรแกรมนี้จะทำให้ชาวนาได้รับเงินที่เป็นการจ่ายชำระตรงหรือDirect Payment ลดลงและอัตราเงินกู้การช่วยเหลือทางการตลาดที่ต่ำลงเช่นกัน

๔. Payment Limits เป็นการกำหนดอัตราการจ่ายชำระเงินในแต่ละโปรแกรมในข้อ ๑ - ๓

๕. Crop and Revenue Insurance ชาวนาสหรัฐฯสามารถซื้อประกันพืชผลเพื่อคุ้มครองความเสี่ยง ในผลผลิตที่จะได้รับและสามารถซื้อประกันรายได้เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงการสูญเสียรายได้ไม่ว่าต้นเหตุจะมาจากอะไร หน่วยงาน Risk Management Agencyของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯจะช่วยออกค่าเบี้ยประกันให้ส่วนหนึ่งและออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทประกันความช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับความหายนะทางด้านการเกษตรใน 2008 Farm Act จะให้ความช่วยเหลือที่เป็นการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่ผลิตสินค้าที่มีระบุไว้ในกฎหมาย ในพื้นที่ที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯประกาศเป็นพื้นที่หายนะ เช่น พื้นที่ที่ถูกโรคระบาด พื้นที่ที่สูญเสียการผลิตไปเกินกว่า ครึ่งของพื้นที่ทั้งหมด เป็นต้น

๖. Environment and Conservation Programs เป็นการสนับสนุนการเกษตรที่เป็นการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านทางการให้ผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆกันขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของโปรแกรมย่อยๆที่ถูกจัดทำขึ้นภายใต้โปรแกรมใหญ่ Environment and Conservation Programs โปรแกรมย่อยๆเหล่านี้เช่น

(ก) Environmental Quality Incentives Program และ Conservation Stewardship Program ให้ความช่วยเหลือในผืนดินต่างๆที่ใช้ในการผลิต

(ข) Conservation Reserve Program เป็นโปรแกรมให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการนำพื้นที่ออกจากการใช้งานเพื่อการเกษตร(land retirement)

(ค) Conservation Reserve Enhancement Program และ Wetlands Reserve program เป็นโปรแกรมที่นำเอาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมออกจากการทำการเกษตรแล้วนำเข้าสู่การฟื้นฟูผืนดินในระยะยาว

๗. Export and Food Aid Programs เป็นการช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้กับตลาดต่างประเทศที่ต้องการซื้อข้าวสหรัฐฯ โปรแกรมย่อยๆในโปรแกรมนี้ เช่น

(ก) Export Credit Guarantee Program ช่วยผู้นำเข้าข้าวสหรัฐฯที่ต้องเผชิญกับความบีบคั้นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินและที่จำเป็นต้องได้รับเครดิตเพื่อใช้ในการซื้อข้าวสหรัฐฯโปรแกรมนี้จะให้หลักประกันด้านการเงินที่เป็นการส่งออกสินค้าเกษตรสหรัฐฯโดยการประกันการจ่ายชำระเงินของภาคเอกชนในต่างประเทศเมื่อครบกำหนดชำระเงินที่เป็นเครดิตระยะสั้นไม่เกิน ๓ ปี การประกันนี้ทำให้สถาบันการเงินของสหรัฐฯสามารถเสนอเงื่อนไขเครดิตที่สามารถแข่งขันได้ให้แก่สถาบันการเงินในต่างประเทศเพื่อพิจารณาปล่อยเงินกู้ให้แก่นักธุรกิจที่ต้องการทำธุรกิจนำเข้าข้าวสหรัฐฯ

(ข) Market Access Program ให้ความช่วยเหลือในการจัดสร้าง การขยาย และการรักษาไว้ซึ่งตลาดส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ผ่านทางความร่วมมือระหว่างโปรแกรมความช่วยเหลือต่างๆของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ องค์กรการค้าที่ไม่หวังผลกำไร สหกรณ์ กลุ่มการค้าต่างๆ และภาคธุรกิจขนาดเล็ก ในการแบ่งปันค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมต่างๆ ในต่างประเทศ โปรแกรม Market Access จะจ่ายคืนค่าใช้จ่ายบางส่วนให้แก่ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ที่รวมถึงการส่งเสริมการขายกับผู้บริโภค การทำการวิจัยด้านการตลาด งานแสดงสินค้า และการให้บริการต่างๆด้านการค้า

(ค) Foreign Market Development Program หรือ Cooperation Program ช่วยเหลือในการสร้าง การขยาย และการรักษาตลาดส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯในระยะยาว โปรแกรมนี้จะแสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชนในการจัดทำความพยายามร่วมกันที่จะส่งเสริมสินค้าสหรัฐฯในหมู่ผู้นำเข้าและผู้บริโภคในประเทศต่างๆทั่วโลก

(ง) Food Aid สหรัฐฯมีโปรแกรมความช่วยเหลือที่เป็นอาหารสำหรับประเทศต่างๆในโลกหลายโปรแกรมด้วยกัน การดำเนินงานต่างๆเช่น

(๑) เป็นการซื้อแบบประมูลที่มีการจัดหาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อใช้ซื้อสินค้าเกษตรสหรัฐฯ

(๒) บริจาคสินค้าเกษตรให้แก่ประเทศที่มีการพัฒนาในระดับต่ำที่สุด

(๓) บริจาคสินค้าเกษตรเหลือใช้ที่เป็นของ Commodity Credit Corporation ให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา

(๔) ให้การสนับสนุนด้าน การศึกษา การพัฒนาเด็ก และความมั่นคงด้านอาหารแก่ประเทศยากจนที่รวมถึงการบริจาคสินค้าเกษตรและอาหาร

V. การตลาดข้าวของสหรัฐฯ

เกือบจะทั้งสิ้นของข้าวที่ผลิตได้จะถูกวางตลาดในลักษณะของเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ ข้าวหักจะมีน้อยมากและไม่ได้ราคาดีเท่ากับข้าวที่เป็นเมล็ดสมบูรณ์ การวางตลาดสำหรับตลาดผู้บริโภคทั่วไปจะเป็นข้าวบรรจุถุงขนาด ๕ ปอนด์ ๑๐ ปอนด์ ๒๐ ปอนด์ ๕๐ ปอนด์ หรือวางกองให้ผู้ซื้อตักตามน้ำหนักที่ต้องการ แหล่งจำหน่ายปลีกข้าวสหรัฐฯที่ใหญ่ที่สุดในตลาดสหรัฐฯคือ Walmart ร้อยละ ๒๐ ของยอดจำหน่ายปลีกข้าวสหรัฐฯในประเทศสหรัฐฯมาจากการจำหน่ายที่ Walmart ลักษณะของข้าวสหรัฐฯที่วางจำหน่ายในตลาดในประเทศและ/หรือในตลาดส่งออก คือ

๑. ข้าวเปลือก (Rough/Paddy Rice) ตลาดส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ: ลาตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็กซิโกและอเมริกากลางเป็นตลาดส่งออกสำคัญข้าวเปลือกที่เป็นข้าวเมล็ดยาว

๒. ข้าวแดง (Brown Rice) หรือ 100% Whole Grain Rice สหรัฐฯผลิตได้ทั้งข้าวแดงแบบปกติที่ต้อง ใช้เวลาในการหุงนาน ๔๐ - ๔๕ นาที และที่ใช้เวลาในการหุงสุกเร็วกว่านั้น ตลาดส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ: คานาดา เกาหลีใต้ และไต้หวัน

๓. ข้าวข้าวสีแล้ว (Milled White Rice) หลังการสีข้าวแต่ละครั้งข้าวสหรัฐฯจะผ่านเข้าขบวนการเพิ่มคุณค่าอาหาร (Enriched) และไวตามิน (thiamin, niacin, iron, folic acid, B-vitamin folic acid) ตลาดส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ: ญี่ปุ่น ไฮติ คานาดา ซาอุดิอาร์เบีย อิรัค จอร์แดน เม็กซิโก อิสราเอล กาน่า ตุรกี สหราชอาณาจักร และ เกาหลีใต้

๔. ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ส่วนใหญ่ใช้บริโภคในธุรกิจให้บริการอาหารในสหรัฐฯ ตลาดส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ: เม็กซิโก และ คานาดา

๕. ข้าวหุงแล้ว (Precooked Rice, Quick-cooking Rice, Instant Rice) ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวขาวหรือข้าวแดงที่ผ่านการหุงและทำให้แห้ง (dehydrated) แล้ว ช่วยลดเวลาในการหุงอีกครั้งเมื่อผู้บริโภคต้องการรับประทาน

๖. ข้าวพร้อมอุ่นรับประทาน (Retort/Ready-to-Heat Rice) เป็นข้าวที่หุงไว้แล้วที่สามารถนำไปอุ่นให้ร้อนในไมโครเวฟพร้อมรับประทานภายในเวลาเพียงสองสามนาที

VI. การบริโภคภายในประเทศ

ประมาณร้อยละ ๘๕ ของข้าวที่คนอเมริกันบริโภคเป็นข้าวที่ปลูกได้ในสหรัฐฯ อัตราการบริโภคต่อคนต่อปีตกประมาณ ๒๖ ปอนด์ (สถิติปี ๒๐๐๙) การบริโภคข้าวในตลาดสหรัฐฯมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราการขยายตัวที่เร็วกว่าอัตราการเติบโตของประชากร

ผู้บริโภคข้าวสหรัฐฯ (end-users) แบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่มคือ

๑. การบริโภคทางธุรกิจ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ ๔๑ ของการจัดส่งข้าวเข้าสู่ตลาดภายใน ประเทศ (สถิติในปีการตลาด ๒๐๐๙/๑๐) กลุ่มผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดคือกลุ่มโรงงานผลิตสินค้าอาหาร (ร้อยละ ๑๕) โรงงานกลั่นเบียร์ (ร้อยละ ๑๒) และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ (ร้อยละ ๑๒) สาเหตุสำคัญของการขยายตัวของการบริโภคข้าวทางธุรกิจคือการผลิตสินค้าใหม่ๆที่ทำจากข้าว และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการบริโภคอาหารที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตทั้งที่เป็นอาหารสำหรับคนและอาหารสัตว์

๒. การบริโภคของผู้บริโภคทั่วไปที่เป็นการบริโภคข้าวโดยตรงคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ ๕๙ของการจัดส่งข้าวเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ สาเหตุหลักของการขยายตัวของตลาดผู้บริโภคทั่วไปมาจากการขยาย ตัวของประชากรสหรัฐฯเชื้อสายเอเซียและลาตินอเมริกาซึ่งมีวัฒนธรรมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก อย่างไรก็ดีข้าวที่ประชากรส่วนนี้บริโภคส่วนใหญ่เป็นข้าวนำเข้า สาเหตุอีกประการหนึ่งคือผู้บริโภคพื้นเมืองสหรัฐฯมีความคุ้นเคยกับการบริโภคอาหารของชนกลุ่มน้อยชาติต่างๆโดยเฉพาะอาหารเอเซียที่มีข้าวเป็นอาหารจานหลัก และความนิยมบริโภคอาหารเหล่านี้มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ความนิยมบริโภคข้าวที่แตกต่างกันตามชาติพันธุ์และวัตถุประสงค์ในการบริโภค
  • ผู้บริโภคสหรัฐฯเชื้อสายเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นิยมบริโภคข้าวหอมมะลิ
  • ผู้บริโภคสหรัฐฯเชื้อสายเอเซียใต้นิยมบริโภคข้าวบาสมาติ
  • ผู้บริโภคสหรัฐฯเชื้อสายจีนและฮิสแปนิคนิยมบริโภคข้าวขาวเมล็ดยาว
  • ผู้บริโภคสหรัฐฯเชื้อสายเอเซียตะวันออกนิยมบริโภคข้าวเมล็ดกลาง
  • ผู้บริโภคที่เป็นธุรกิจบริการอาหารนิยมใช้ข้าวนึ่ง (Parboiled)
  • ผู้บริโภคที่เป็นธุรกิจผลิตสินค้าอาหารนิยมใช้ข้าวนึ่ง หรือข้าวเมล็ดกลางจากภาคใต้ (สำหรับผลิต rice crispies และเบียร์)
  • ผู้บริโภคที่เป็นธุรกิจผลิตสินค้าอาหารสัตว์โดยเฉพาะอาหารสุนัขนิยมใช้ข้าวหัก
  • ผู้บริโภคที่เป็นธุรกิจผลิตแป้งข้าวนิยมใช้ข้าวหัก
VII. การทำส่งเสริมการตลาดข้าวสหรัฐฯ

องค์กรหลักที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาดข้าวสหรัฐฯคือ USA Rice Federation ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตข้าว สมาคมโรงสีข้าว สภาข้าวสหรัฐฯ( USA Rice Council) และสมาคมผู้ค้าข้าวสหรัฐฯ เป้าหมายก็เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองผู้ผลิตข้าวโรงสีข้าว พ่อค้าข้าว และธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตข้าวสหรัฐฯ ผ่านทางการติดตามความเคลื่อนไหวของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือที่จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวสหรัฐฯ รายงานข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมให้แก่สมาชิกได้ทราบ การให้ข้อมูลต่างๆแก่ผู้บริโภคที่เกี่ยวกับข้าวและการบริโภคข้าว ให้ข้อมูลด้านการค้าข้าวระหว่างประเทศ เป็นต้น

ก. กิจกรรมการส่งเสริมภายในประเทศ เช่น

๑. กำหนดให้เดือนกันยายนของทุกๆปีเป็นเดือนข้าวแห่งชาติ (National Rice Month ) ของสหรัฐฯ เพื่อการเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวข้าวและเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ข้าวในฐานะที่มีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจของสหรัฐฯกิจกรรมต่างๆที่จัดในเดือนข้าวแห่งชาติ เช่น

๑.๑ จัดแสดงสินค้าข้าวสหรัฐฯในตลาด (grocery stores) ที่เป็นร้านค้าปลีกชั้นนำทั่วประเทศเพื่อนำเสนอข้าวสหรัฐฯแก่ผู้บริโภคทั่วไปในรูปของ Point-of-Sale Displays อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการ จัดแสดงและจัดกิจกรรมส่งเสริมสินค้าเป็นอุปกรณ์ที่ USA Rice Federation จัดหาให้ฟรี หน่วยงาน USA Rice Federation รายงานว่าจากการประเมินการจัดกิจกรรมนี้พบวาสามารถ ช่วยเพิ่มยอดจำหน่ายข้าวในร้านค้าปลีกได้ระหว่าง ๕๐ - ๔๐๐ เปอร์เซ็นต์ Walmart ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตลาดค้าปลีกข้าวสหรัฐฯที่ใหญ่ที่สุดที่มียอดการขายข้าวสหรัฐฯประมาณร้อยละ ๒๐ ของยอดจำหน่ายในแต่ละปี จะเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายข้าวสหรัฐฯในทุกๆเทศกาลเดือนข้าวแห่งชาติ การส่งเสริมการขายของ Walmart จะเป็นการลดราคาข้าว ให้ชิมข้าว และการจัดทำ Display ในร้านค้าปลีก

๑.๒ เปิดโอกาสให้ร้านค้าปลีกสมัครเข้าชิงรางวัลเงินสด เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจว่าเดือนข้าวแห่งชาติมีส่วนช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ค้าปลีก

๑.๓ ทำการประชาสัมพันธ์ข้าวสหรัฐฯผ่านทางสื่อต่างๆรวมถึงการทำ Media Kit วิดิโอ และ Artwork

๑.๔ ทำสูตรอาหารหลากหลายรายการที่ใช้ข้าวเป็นหลักหรือเป็นองค์ประกอบ

๑.๕ จัดประกวดสูตรอาหารที่ใช้ข้าวเป็นส่วนประกอบ (Awarding-Winning Recipes )

๑.๖ ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนมัธยมปลายในมลรัฐที่ปลูกข้าวคือ Arkansas, California, Louisiana, Mississippi, Missouri และ Texas โดยนักเรียนที่สมัครเข้ารับทุนจะต้องเขียน เรียงความระบุความสำคัญของข้าวในรัฐของตนและเสนอกิจกรรมที่จะเป็นการส่งเสริมการขายและการตลาดข้าว เป็นต้น ผู้ชนะจะถูกเลือกขึ้นมา ๓ คนเพื่อรับทุนการศึกษาในปี ๒๐๑๑ เงินทุนการศึกษาที่ให้คือ ๔,๐๐๐ เหรียญฯ ๓,๐๐๐ เหรียญฯ และ ๑,๕๐๐ เหรียญฯ ตามลำดับ

๒. ทำการรณรงค์จนหน่วยงาน USFDA ยอมให้มีการติดฉลากสินค้าระบุคุณสมบัติของข้าวแดงของสหรัฐฯ ว่าเป็นข้าวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะได้มีการพิสูจน์แล้วว่า "health claims" บนฉลากสินค้า เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ซื้อซื้อสินค้านั้นๆ

๓. ทำการรณรงค์ภายใต้หัวข้อ "Grown in the USA " เน้นความสำคัญของข้าวที่ปลูกในสหรัฐฯ สร้างโลโก้ข้าวสหรัฐฯเพื่อให้ผู้บริโภคทั้งภาคธุรกิจและเอกชนสามารถแยกข้าวสหรัฐฯออกจากข้าวนำเข้าได้โดยง่าย

๔. ทำการรณรงค์จนประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดใหม่ให้แก่ข้าวสหรัฐฯทำให้ข้าวแดงสหรัฐฯ สามารถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมช่วยเหลือด้านอาหารสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่จัดทำโดยกระทรวงเกษตร สหรัฐฯ (USDA Supplemental Nutrition Program for Women, Infants and Children - WIC)

ส่งผลให้ยอดจำหน่ายข้าวแดงสหรัฐฯเพิ่มขึ้นระหว่าง ๓๐ - ๓๐๐ เปอร์เซ็นต์ ข. กิจกรรมการส่งเสริมในต่างประเทศสหรัฐฯทำการส่งเสริมข้าวในตลาดส่งออกข้าวสหรัฐฯหลายตลาดด้วยกันส่วนใหญ่แล้วเป็นตลาดที่ไม่ได้บริโภคข้าวเป็นหลัก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯรายงานว่าประสบความสำเร็จในหลายๆตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ตลาดที่เป็นเป้าหมายหลักในการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายข้าวของสหรัฐฯในปัจจุบัน คือ

๑. ตลาดเม็กซิโก เม็กซิโกเป็นตลาดส่งออกข้าวขาวเมล็ดยาวที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ สหรัฐฯเน้นการทำการส่งเสริมข้าวในตลาดเม๊กซิโกด้วยเหตุผลว่า

(ก) การผลิตข้าวในเม็กซิโกไม่มีการขยายตัวมาเป็นเวลานานและผลิตได้ในระดับต่ำประมาณร้อยละ ๒๐ ของการบริโภค

(ข) อัตราการบริโภคข้าวต่อคนต่อปีอยู่ในระดับต่ำมากประมาณ ๑๗ ปอนด์ต่อคนต่อปี

(ค) ร้อยละ ๘๐ ของข้าวที่บริโภคในเม็กซิโกเป็นข้าวนำเข้าจากสหรัฐฯ และ

(ง) สหรัฐฯเชื่อว่าการขยายตัวของการบริโภคในเม็กซิโกจะหมายถึงการขยายตัวของการส่งออกไปยังเม็กซิโกด้วยเช่นกัน

โปรแกรมการส่งเสริมการค้าข้าวสหรัฐฯในเม็กซิโกเป็นโปรแกรมที่ใหญ่ที่สุดของการส่งเสริมข้าวสหรัฐฯ ใช้เงินร้อยละ ๒๐ ของงบประมาณการส่งเสริมข้าวสหรัฐฯในแต่ละปี กระทำต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานาน๘ ปี และเป็นกิจกรรมการส่งเสริมที่เข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่มอย่างแท้จริง เนื่องจากปกติแล้วคนเม็กซิกันจะบริโภคอาหารที่ทำจากข้าวโพดและถั่วเป็นหลัก กลยุทธของสหรัฐฯในตลาดเม็กซิโกจึงเป็นการทำความพยายามที่จะเปลี่ยนให้คนเม็กซิโกบริโภคข้าวมากยิ่งขึ้นโดยการให้ความรู้และสอนคนเม็กซิกันให้บริโภคข้าวสหรัฐฯโดยเน้นไปที่การให้ความรู้ในเรื่องการเตรียมอาหารที่ทำด้วยข้าวความหลากหลายของข้าวสหรัฐฯ และค่านิยมที่ว่าข้าวสหรัฐฯเป็นอาหารที่ไม่แพงที่ผู้บริโภคสามารถซื้อหารับประทานได้

การดำเนินการส่งเสริมข้าวสหรัฐฯในเม็กซิโกปัจจุบันทำในรูปแบบของการจ้างบริษัท PR ดำเนินการด้วยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่จาก USA Rice Federation ผู้ค้าข้าวและผู้ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมข้าวของเม็กซิโก เป้าหมายคือผู้บริโภคทั่วไป ภาคธุรกิจการให้บริการอาหาร และสื่อมวลชนทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์วิทยุ และโทรทัศน์ บริษัท PR ที่ทำงานส่งเสริมข้าวสหรัฐฯจะจ้าง Chef มีชื่อเสียงหลายคนเป็นเจ้าหน้าที่ทำงาน วิธีการส่งเสริมการตลาดและการบริโภคข้าวสหรัฐฯที่สหรัฐฯใช้ในเม๊กซิโกมาแล้ว เช่น

๑. การเข้าถึงธุรกิจบริการอาหารผ่านทางผู้ปรุงอาหารมืออาชีพ โดยการจัดประกวด Rice Chef of the Year ผู้เข้าประกวดเป็น Chef จากร้านอาหาร โรงแรม และสถาบันสอน อาหารที่มีชื่อทั่วเม๊กซิโกผู้เข้าชมการประกวดเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร นักวิจารณ์อาหาร สื่อมวลชนทุกแขนงอาหารที่ชนะการประกวดจะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารอาหาร ผู้ชนะเลิศจะเป็นตัวแทนของ USA Rice เข้าร่วมในงาน International Trade Show เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวสหรัฐฯที่เมืองแคนคูนเม็กซิโก

๒. การสร้างความต้องการของตลาดในอนาคตผ่านทางการให้ความรู้เรื่องข้าวสหรัฐฯกับกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนสอนทำอาหาร จัดสัมนาเรื่องข้าวสหรัฐฯให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสอนทำอาหาร ๒๕ แห่งทั่วประเทศเม็กซิโก โดย Chef ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหารด้วยข้าวเป็นพิธีกรให้ความรู้ ในระหว่างการสัมนานักเรียนจะถูกสอนให้รู้จักข้าวชนิดต่างๆที่ปลูกได้ในสหรัฐฯ วิธีการเก็บเกี่ยวและการสีข้าวที่จะส่งผลให้ข้าวสหรัฐฯมีคุณภาพที่ดีเลิศและกระตุ้นนักเรียนให้คิดค้นวิธีทำอาหารจากข้าวเหล่านี้โดยให้การสนับสนุนโรงเรียนให้จัดประกวดการทำอาหารด้วยข้าวสหรัฐฯทั้งนี้ด้วยการคาดหวังว่าเมื่อนักเรียนเหล่านี้สำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพจะได้นำอาหารที่ทำด้วยข้าวไปเผยแพร่

๓. จัดการประกวดอาหารที่ทำจากข้าวในโรงเรียนสอนทำอาหารที่มีชื่อเสียงในเม็กซิโกสองแห่ง แห่งแรกนักเรียนจะต้องนำข้าวสหรัฐฯไปดัดแปลงและใช้ในการทำอาหารพื้นเมืองเม็กซิกัน ผู้ชนะจะได้รับโอกาสที่จะนำเสนออาหารของตนทางรายการทำอาหารที่ออกอากาศ ทางสถานีโทรทัศน์ในเม็กซิโกและในหนังสือทำอาหารที่ USA Rice จัดทำขึ้น แห่งที่สอง กระทำในรูปของการจัดงาน Oriental Festival ที่เป็นการแข่งขันการทำอาหารด้วยข้าว สหรัฐฯ นักเรียนที่เข้าประกวดจะเป็นนักเรียนที่ผ่านชั้นเรียนการทำอาหารด้วยข้าวสหรัฐฯมาแล้ว อาหารที่ทำเข้าประกวดจะต้องเป็นอาหารไทย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย หรือตะวันออกกลาง ที่ใช้ข้าวสหรัฐฯเป็นเครื่องปรุงหลัก

๔. การเข้าถึงกลุ่มแม่บ้านโดยตรง บริษัท PR ของ USA Rice จะจัดสัมนาแม่บ้านในชุมชนต่างๆที่เป็นกลุ่ม working-class โดนร่วมมือกับหน่วยงานสวัสดิการสังคมและครอบครัวของเม็กซิโก แม่บ้านเหล่านี้จะถูกสอนความรู้เรื่องการจัดสรรงบประมาณในการทำอาหารเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประกอบอาหารข้าวง่ายๆที่ใช้เงินไม่มากแต่ให้ คุณค่าทางอาหารมากที่สุด รู้จักคุณค่าทางอาหารของข้าว แม่บ้านเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนกระตุ้นให้นำความรู้ที่เรียนมาไปบอกและไปสอนเพื่อนบ้านในชุมชนที่ตนอยู่อาศัยอยู่ หลังจากนั้นชุมชนเหล่านี้จะเลือกตัวแทนเข้ามาประกวดทำอาหารด้วยข้าวที่ USA Rice จัดประกวดภายใต้หัวข้อ Consumer Cooking Contest

๕. การร่วมมือกับตลาดค้าปลีกจัดทำการส่งเสริมการขายในรูปของ Point-of-Sales หรือ In-Store Promotion โดยการทำ display โฆษณาสินค้าข้าวสหรัฐฯ การปรุงแต่งอาหารที่ทำด้วยข้าวสหรัฐฯเพื่อให้ลูกค้าของตลาดได้ชิมเป็นต้น

๒. ตลาดคานาดา คานาดาผลิตข้าวไม่ได้และอาหารหลักของผู้บริโภคเป็นอาหารที่ทำจากมันฝรั่งและพาสต้า อย่างไรก็ดีจำนวนประชากรคานาดาเชื้อสายจีนและเอเซียใต้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆข้าวนำเข้าจากสหรัฐฯคิดเป็นร้อยละ ๖๐ ของข้าวที่ใช้บริโภคในตลาดคานาดา สหรัฐฯต้องการขยายตลาดข้าวสหรัฐฯในคานาดาให้เติบโตอย่างต่อเนื่องกลยุทธของการส่งเสริมการขายในคานาดาคือ

(ก) การเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงผ่านทางการใช้สื่อทุกประเภท

(ข) การให้ความรู้กับนักเรียนทำอาหารผู้ที่จะเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการอาหารในอนาคตผ่านทางการจัดสัมนาและการเปิดชั้นเรียนสอนวิธีการทำอาหารด้วยข้าวสหรัฐฯ

๓. ตลาดตุรกี เป็นตลาดที่มีการบริโภคข้าวในระดับต่ำมากและการบริโภคส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณเมืองใหญ่ในขณะที่ผู้บริโภคในชนบทยังคงบริโภคอาหารพื้นเมืองที่เป็นข้าว bulgur และ พาสต้า การส่งเสริมในตุรกี สหรัฐฯเน้นไปที่การทำกิจกรรมในร้านค้าปลีกด้วยความร่วมมือของผู้นำเข้าข้าวสหรัฐฯในตุรกี สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือนักธุรกิจเหล่านี้ในด้านการเงินเพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมการขายการให้บริการต่างๆที่เป็นด้านเกี่ยวกับการค้า การดำเนินการของสหรัฐฯในตุรกีนอกจากจะประสบความสำเร็จในการขยายตลาดการบริโภคแล้ว ยังทำให้สหรัฐฯสามารถระบุผู้นำเข้าข้าวรายใหม่ๆและนำเสนอข้าวสหรัฐฯประเภทใหม่ๆที่ไม่เคยนำเสนอในตลาดตุรกีมาก่อนได้เป็นผลสำเร็จ ค. Rice Marketability and Competitiveness Task Force

จุดขายสำคัญของข้าวสหรัฐฯคือรูปลักษณ์ที่สวยงามของข้าว คุณภาพของข้าว และความสามารถของสหรัฐฯที่จะรักษามาตรฐานรูปลักษณ์และคุณภาพข้าวของสหรัฐฯไว้ได้อย่างดีเลิศ อย่างไรก็ดีในปีการผลิตข้าว๒๐๑๐ สหรัฐฯเริ่มประสบปัญหาผลิตข้าวไม่ได้ในจำนวนที่วางแผนไว้ รูปลักษณ์และมาตรฐานข้าวเปลี่ยนไปจากเดิมและเป็นไปในทางลบ สหรัฐฯวิเคราะห์ว่าต้นตอประการหนึ่งของปัญหาคือสภาวะอากาศในพื้นที่ปลูกข้าวของสหรัฐฯในปีนั้นมีความผิดปกติเป็นอย่างมาก พันธุ์ข้าวที่นำมาใช้ปลูกแม้ว่าจะให้ผลผลิตสูงแต่เมื่อนำเข้าขบวนการสี

แล้วจะได้ข้าวคุณภาพต่ำมาก สหรัฐฯวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะพันธุ์ข้าวเหล่านี้มาจากการผสมข้าวสายพันธุ์ต่างๆที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันสูงมากในเรื่องของขนาดข้าวสีของข้าว สารเคมีในข้าวและอื่นๆข้าวสหรัฐฯที่เข้าสู่ตลาดส่งออกในปีดังกล่าวถูกลูกค้าบ่นเรื่องคุณภาพและรูปลักษณ์ของข้าวที่ไม่สวยงามเหมือนที่เคยเกิดการเปรียบเทียบในหมู่ลูกค้าข้าวสหรัฐฯว่าข้าวสหรัฐฯสู้ข้าวเมล็ดยาวจากประเทศคู่แข่งอื่นๆไม่ได้เหตุการณ์ในครั้งนี้ส่งผลให้สหรัฐฯเร่งจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเรียกว่า Rice Marketability and Competitiveness Task Force ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการตลาดและความสามารถในการแข่งขันของข้าวสหรัฐฯในตลาดโลก หน่วยงานนี้จะทำงานร่วมกับผู้ผลิตข้าว นักวิจัยข้าว โรงสีข้าว และพ่อค้าข้าว คณะทำงานประกอบไปด้วยตัวแทนจากภาครัฐและจากบริษัทค้าข้าวรายใหญ่ๆของสหรัฐฯหลายราย เป้าหมายการดำเนินงานจะเน้นไปที่ข้อบังคับเรื่องเศรษฐกิจการเกษตรของเกษตรกรความต้องการด้านคุณภาพของข้าวของผู้บริโภคทั่วไป และความจำเป็น ต้องได้รับของโรงสีข้าวในเรื่องของปฏิบัติการด้านการสีข้าวการพัฒนาและแนะนำข้าวสหรัฐฯประเภทใหม่ๆในตลาดโลกและในตลาดภายในประเทศด้วยเช่นกัน เป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับตลาดภายในประเทศก็คือการแสวงหาวิถีทางที่จะแข่งขันกับข้าวนำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

VIII. การค้าระหว่างประเทศ

ก. การค้าส่งออก

สหรัฐฯเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอย่างแท้จริง สามารถส่งออกข้าวได้ทุกประเภทและในทุกรูปแบบ ประมาณร้อยละ ๔๕ ของข้าวที่สหรัฐฯผลิตได้ในแต่ละปีจะเข้าสู่ตลาดส่งออก ส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ ๓๐ - ๔๐ ของข้าวส่งออกของสหรัฐฯจะเป็นข้าวเปลือก สหรัฐฯเป็นแหล่งอุปทานข้าวเปลือกติดอันดับหนึ่งของโลก

ตลาดส่งออกหลักของข้าวสหรัฐฯคือประเทศเม็กซิโก อเมริกากลาง คานาดา สหภาพยุโรป ไฮติ ญี่ปุ่น และซาอุดิอาร์เบีย

ท่าเรือที่จุดส่งออกข้าวของสหรัฐฯมีอยู่ด้วยกัน ๑๕ แห่งคือ

๑. ท่าเรือ ๕ แห่งในรัฐเท๊กซัส ที่ Brazos River Harbor Navigation District, Port of Houston Authority, Port of Galveston, Port of Beaumont และ Port of Orange

๒. ท่าเรือ ๒ แห่งในรัฐหลุยเซียน่า ที่ Lake Charles Harbor & Terminal District และ Port of New Orleans

๓. ท่าเรือ ๒ แห่งในรัฐมิสซิสซิปปี้ ที่ Mississippi State Port Authority Port of Gulfport และ Jackson County Port Authority

๔. ท่าเรือ Alabama State Docks Department รัฐอลาบาม่า

๕. ท่าเรือ ๒ แห่งในรัฐฟลอริด้า ที่ Port of Pensacola และ Port of Miami

๖. ท่าเรือ ๓ แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ Port of Oakland, Port of Sacramento และ Port of Stockton

หน่วยงานสหรัฐฯที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ส่งออกและผู้นำเข้าข้าวสหรัฐฯคือ Foreign Agricultural Service ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯที่มีสำนักงานอยู่ใน ๑๓๐ ประเทศทั่วโลก สหรัฐฯมีโปรแกรมการส่งเสริมการส่งออกข้าวของสหรัฐฯคือ

๑. Commodity Credit Corporation Export Credit Guarantee Programs (GSM 102/103) เป็นการประกันเครดิตส่งออกเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการค้าส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ

๒. Supplier Credit Guarantee Program ช่วยเหลือผู้ส่งออกสหรัฐฯโดยการให้เครดิตการเงินระยะสั้นแก่ผู้นำเข้าสินค้าเกษตรสหรัฐฯในต่างประเทศ

๓. Public Law 480 (PL 480) เป็นโปรแกรมให้ความช่วยเหลือในระยะยาวในการปรับปรุงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยการจัดหาการซื้อสินค้าเกษตรระหว่างภาครัฐภายใต้การจัดการในเรื่องเครดิตระยะยาวและ การจัดหาการบริจาคสินค้าเกษตรสหรัฐฯเพื่อเป็นอาหารให้แก่ประเทศยากจนโดยรัฐบาลสหรัฐฯ

๔. Emerging Markets Program เพื่อทำการพัฒนารักษา และขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯในตลาดที่เป็น emerging market (ประเทศที่มีรายได้ประชากรต่อคนต่อปีต่ำกว่า ๑๑,๔๕๕ เหรียญฯ มีประชากรรวมทั้งสิ้นเกินกว่า ๑ ล้านคน และมีตัวแปรการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปในทางบวก) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของระบบอาหารและธุรกิจเกษตรของประเทศเหล่านั้น รวมถึงการหาทางลดศักยภาพที่จะเป็นข้อกีดกันทางการค้าในประเทศเหล่านั้น เพิ่มศักยภาพให้แก่การค้าและการลงทุนของสหรัฐฯในประเทศเหล่านั้น

๕. Cochran Middle Income Fellowship Program กระทรวงเกษตรสหรัฐฯให้เงินสนับสนุนการฝึกหัดผู้ที่อยู่ในวงการเกษตรจากประเทศที่มีรายได้ประชากรในระดับกลางและจากประเทศประชาธิบไตยเกิดใหม่ การฝึกอบรมใช้เวลาประมาณระหว่าง ๒ สัปดาห์ถึง ๓ เดือน และเป็นการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มและสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง

๖. The Market Access Program (MAP) เป้าหมายเพื่อพัฒนาบำรุงรักษา และขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตร โดยเน้นไปที่การทำ Public Relations campaigns, advertising, market research และการประเมินผลโปรแกรม โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนผ่านทาง Commodity Credit Corporation (CCC)

๗. Foreign Market Development Program (FMD) เป้าหมายเพื่อพัฒนาบำรุงรักษา และขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรสหรัฐฯในระยะยาว ผ่านทางการให้บริการด้านการค้าและโปรแกรมการช่วยเหลือทางด้านเทคนิค และดูแลความร่วมมือในการส่งเสริมการค้าในต่างประเทศระหว่างกระทรวงเกษตรสหรัฐฯและผู้ผลิตสินค้าเกษตรสหรัฐฯ

ข. การค้านำเข้า

ในแต่ละปีสหรัฐฯนำเข้าข้าวในปริมาณเกินกว่าห้าแสนเมตริกตัน มูลค่านำเข้าเกินกว่า ๕๐๐ ล้านเหรียญฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวสีแล้ว รองลงมาเป็นข้าวแดง ข้าวหัก และข้าวเปลือก แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญของสหรัฐฯคือประเทศไทย อินเดีย และปากีสถาน

การนำเข้าข้าวของสหรัฐฯส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวหอมจากเอเซีย คือ ข้าวหอมมะลิจากประเทศไทย และข้าวบาสมาติจากอินเดียและปากีสถาน ตลาดนำเข้าข้าวสหรัฐฯกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก ความต้องการข้าวหอมประเภทต่างๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการขยายตัวของประชากรสหรัฐฯที่เป็นเชื้อสายชนกลุ่มน้อยที่มีวัฒนธรรมบริโภคข้าวเป็นหลัก ระยะยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาข้าวนำเข้าในตลาดการบริโภคภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีประมาณการณ์ว่าเกินกว่าร้อยละ ๑๓ ของข้าวที่บริโภคในประเทศสหรัฐฯในปัจจุบันเป็นข้าวนำเข้า กระทรวงเกษตรสหรัฐฯและผู้ผลิตข้าวสหรัฐฯพยายามหาทางพัฒนาสายพันธุ์ข้าวหอมเพื่อป้อนตลาดผู้บริโภคกลุ่มนี้แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

ในระยะสิบปีที่ผ่านมาสหรัฐฯยังได้เริ่มต้นนำเข้าข้าวเมล็ดกลางจากออสเตรเลียและจีนต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีและเริ่มมีการนำเข้าจากประเทศไทยมากจนเก็บสถิติได้ในปี ๒๐๑๑ ส่วนใหญ่ของการนำเข้าข้าวเมล็ดกลางเป็นการนำเข้าที่ด่าน Puerto Rico ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากอุปทานข้าวเมล็ดกลางของสหรัฐฯอยู่ในสภาวะตึงตัวในขณะที่ข้าวเมล็ดกลางนำเข้ามีราคาถูกกว่าข้าวเมล็ดกลางที่สหรัฐฯผลิตได้

ด่านนำเข้าข้าวที่สำคัญของสหรัฐฯเรียงตามลำดับมูลค่านำเข้าในแต่ละปีคือ

๑. Los Angeles, CA

๒. New York, NY

๓. San Francisco, CA

๔. Seattle, WA

๕. Savannah, GA

๖. Baltimore, MD

๗. Miami, FL

๘. Houston/Galveston, TX

๙. Norfolk, VA

๑๐. Charleston, SC

๑๑. San Juan, PR

ข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยส่วนใหญ่จะถูกนำเข้าสหรัฐฯทางด่านศุลกากร ๓ แห่งคือ ประมาณร้อยละ ๔๐ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครลอสแอนเจลิส (ท่าเรือ Los Angeles และท่าเรือ Long Beach), ประมาณร้อยละ ๒๐ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครนิวยอร์ค และประมาณร้อยละ ๑๔ ผ่านเข้าทางด่านศุลกากรนครซานฟรานซิสโก (ท่าเรือ Oakland) ที่เหลือเป็นการนำเข้าที่ด่านศุลกากร Seattle รัฐ Washington (Tacoma Sea Port) ด่านศุลกากร Baltimore รัฐ Maryland ด่านศุลกากร Savannah รัฐ Georgia ด่านศุลกากร Miami รัฐ Florida ด่านศุลกากร Houston/Galveston รัฐ Texas ด่านศุลกากร Charleston รัฐ South Carolina และด่านศุลกากร Norfolk รัฐVerginia

IX คู่แข่งขันในตลาด

ก. การแข่งขันในตลาดโลก

คู่แข่งขันของข้าวสหรัฐฯในตลาดโลกคือข้าวราคาถูกจากประเทศผู้ส่งออกในเอเซีย หากพิจารณาประเภทข้าวที่สหรัฐฯส่งออกและตลาดส่งออกหลักข้าวของสหรัฐฯแล้วจะดูเหมือนว่าสหรัฐฯและประเทศไทยจะไม่ใช่คู่แข่งขันโดยตรงในตลาดโลก แต่ในความเป็นจริงแล้วสหรัฐฯถือว่าประเทศไทยและเวียดนามเป็นคู่แข่งขันสำคัญสูงสุดในหมู่ประเทศผู้ส่งออกในเอเซีย และ อาร์เจติน่าและอุรุกวัยเป็นคู่แข่งขันสำคัญสูงสุดในทวีปอเมริกา ในระยะสิบปีผ่านมา สหรัฐฯสูญเสียส่วนแบ่งตลาดข้าวสีแล้วในตลาดส่งออกที่สำคัญของสหรัฐฯคือ Sub-Saharan African และ Middle East อย่างไรก็ดีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดข้าวเปลือกส่งออกโดยเฉพาะอย่างในประเทศลาตินอเมริกาได้เข้ามาช่วยเติมช่องว่างทางการค้าส่งออกที่สหรัฐฯสูญเสียไปในตลาดข้าวสีแล้ว

ประเภทข้าวส่งออก

__________________________________________________

                      สหรัฐฯ                  ไทย

__________________________________________________

            ข้าวเปลือก                             ข้าวหอมมะลิ

ข้าวเมล็ดกลาง สีแล้วบางส่วนหรือทั้งหมด ข้าวนึ่ง

ข้าวเมล็ดยาว สีแล้วบางส่วนหรือทั้งหมด

__________________________________________________

ตลาดส่งออกข้าว

_______________________________

                สหรัฐฯ            ไทย

_______________________________

             เม็กซิโก           ไนจีเรีย
             ญี่ปุ่น              สหรัฐฯ
             ตุรกี              หมู่เกาะไอวอรี่
             คานาดา           อาฟริกาใต้
             ไฮติ              ฟิลิปปินส์

_______________________________

ข. การแข่งขันในประเทศ

สหรัฐฯพยายามที่จะแข่งขันกับข้าวนำเข้าในตลาดในประเทศผ่านทางการทำกิจกรรมส่งเสริมข้าวสหรัฐฯโดยมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมการให้บริการอาหาร ผู้ค้าปลีก ผู้บริโภคทั่วไป โรงงานผลิตอาหาร การสื่อสารเรื่องคุณค่าอาหารของข้าวสหรัฐฯ และการทำวิจัยที่จะให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ๆที่มีคุณลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับข้าวที่ผู้บริโภคเชื้อสายต่างๆในสหรัฐฯนิยมบริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมซึ่งเป็นข้าวที่มีการนำเข้ามากที่สุดและเป็นข้าวที่ตลาดหลักของการใช้ข้าวเพื่อการบริโภคโดยตรง(direct use) ของผู้บริโภคสหรัฐฯที่เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายประเทศต่างๆที่มีวัฒนธรรมบริโภคข้าวเป็นหลักและจะบริโภคเฉพาะข้าวที่ตนคุ้นเคย ข้าวเหล่านี้ได้แก่ข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยและข้าวบาสมาติจากอินเดียและปากีสถาน

ประมาณร้อยละ ๒๓ ของข้าวสหรัฐฯที่ถูกจัดส่งเข้าสู่การบริโภคโดยตรงในตลาดภายในประเทศจะถูกส่งเข้าไปยังการกระจายสินค้าที่เข้าสู่ ethnic group โดยตรง ร้อยละ ๒๒ ถูกส่งเข้าสู่ตลาดค้าปลีกปกติ และร้อยละ ๑๗ เข้าสู่ตลาดบริการอาหารข้าวขาวเมล็ดยาวของสหรัฐฯเป็นข้าวที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับข้าวหอมมะลิ เนื่องจากเป็นข้าวที่มีลักษณะใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิมากที่สุดแม้ว่าคุณภาพจะด้อยกว่าในหลายประการ เงื่อนไขหลักของการแข่งขันในตลาดระหว่างข้าวขาวสหรัฐฯและข้าวหอมมะลิคือราคาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักของสหรัฐและราคาข้าวหอมมะลิที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในตลาดการบริโภคที่ราคาเป็นเงื่อนไขสำคัญสูงสุดในการตัดสินใจบริโภคข้าวขาวเมล็ดยาวของสหรัฐฯจะเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่ผู้บริโภคสหรัฐฯจะพิจารณาแทนที่การบริโภคข้าวหอมมะลิ ในขณะที่ผู้บริโภคที่ชอบในรสชาดและนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิเป็นประจำรวมทั้งการบริโภคในธุรกิจบริการร้านอาหารที่เสนออาหารคุณภาพดีราคาแพงยังคงยืนหยัดที่จะบริโภคข้าวหอมมะลิอยู่ต่อไป

บริษัทธุรกิจอุตสาหกรรมข้าวสหรัฐฯ
    บริษัท                    ที่อยู่                                 ประเภทของธุรกิจ      ประเภทของข้าว
ADM Rice                660 hite Plains Rd., Suite 605             โรงสี            ข้าวทุกประเภท
                        Tarrrytown, NY 10591 www.adm.com
American Commodity      Box 520 Williams, CA 95987                 โรงสี            ข้าวเมล็ดกลางและสั้น
Co., LLC                www.accrice.com
American Rice, Inc.     P.O. Box 2587                              โรงสี            ข้าวเมล็ดกลาง และ สั้น
A GRUPO SOS Company     Houston, TX 77252-2587                     ข้าวแดง          ข้าวนึ่ง
                        www.amrice.com
Anheuser-Busch, Inc.    One Busch Place                            โรงสี            ข้าวเมล็ดยาว
                        Suite 202-6
                        St. Louis, MO 63118
                        www.anheuser-busch.com
Associated Rice         P.O. Box 338                               พ่อค้า            ข้าวเปลือก
Marketing Cooperative   Richvale, CA 95974-0338
                        Tel.: 530 898-1180
Bayou Grain &           P.O. Box 67                                พ่อค้า            ข้าวเปลือก
Chemical Corp.          Parkdale, AR 71661
                        Tel.: 870 473-2281
Beaumont Rice Mills,Inc.P.O. Box 3111                              โรงสี            ข้าวเมล็ดยาว และ เมล็ดกลาง
                        Beaumont, TX 77704-3111
                        www.bmtricemills.com
Bertrand Rice, LLC      10105 Seward Lane                           พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        Elton, LA 70532
                        www.bertrandrice.com
BU Growers, Ltd.        P.O. Box 453                                พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        Bay City, TX 77404-0453
                        www.bugrowers.com
Bunge Milling (PIRMI)   P.O. Box 652                               โรงสี            ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวแดง
                        Woodland, CA 95776                                         ข้าวเหนียว เมล็ดพันธุ์ข้าว
                        www.bungemilling.com
Cache River Valley      P.O. Box 10                                พ่อค้า            ข้าวเมล็ดยาว เมล็ด
Seed LLC                Cash, AR 72421                                             กลาง เมล็ดพันธุ์ข้าว
                        www.crvseed.com
California Family Foods P.O. Box 1230                              โรงสี            ข้าวเมล็ดกลาง เมล็ดสั้น
                        Arbuckle, CA 95912-1230                                    ข้าวแดง ข้าวเหนียว
                        www.calrice.com
Colorado County Rice    P.O. Box 367 Eagle Lake, TX 77434          โรงสี            ข้าวเมล็ดยาว ข้าวแดง
Mill., Inc.             Tel: 979 234-5554                                          ข้าวเปลือก
Connell Rice & Sugar    200 Connell Drive                                          ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเมล็ดสั้น
Company                 Berkeley Heights, NJ 07922                                 ข้าวแดง ข้าวเปลือก
                        Tel: 908 673-3700
Cormier Rice Milling    P.O. Box 152                                โรงสี           ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเมล็ดสั้น
Co., Inc.               DeWitt, AR 72042-0152                                      ข้าวแดง ข้าวอินทรีย์
                        www.cormierrice.com
Crop Marketing          102 Silent St. McGehee, AR 71654            พ่อค้า           ข้าวเปลือก
Services, Inc.          Tel: 870 818-4761
Delta Rice Services,    P.O. Box 299 Webb, MS 38966                 พ่อค้า           ข้าวเปลือก
Inc.                    Tel: 662 375-8580
Delta Seed & Services   P.O. Box 378 Arcola, MS 38711               พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        Tel: 662 827-2243
Doguet’s Rice           795 S. Major Dr. Beaumont, TX 77707         โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
Milling Company         www.doguets.com                                            ข้าวแดง ข้าวอินทรีย์
                                                                                   ข้าวหอมสหรัฐฯ
Erwin-Keith, Inc.       1529 Hwy. 193 Wynne, AR 72396               พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        www.progenyag.com                                          เมล็ดพันธุ์ข้าว
Falcon Rice Mill, Inc.  P.O. Box 771 Crowley, LA 70527-0771         โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                        www.falconrice.com                                         ข้าวแดง ข้าวนึ่ง ข้าวหอมสหรัฐฯ
Far West Rice, Inc.     3455 Nelson Rd. Nelson, CA 95958            โรงสี           ข้าวเมล็ดยาวข้าวเมล็ดกลาง ข้าว
                        www.farwestrice.com                                        เมล็ดสั้น ข้าแดง ข้าวอินทรีย์ ข้าว
                                                                                   เหนียว
Farmer’s Granary, Inc.  P.O. Box 750 McCrory, AR 72101              พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        Tel: 870 731-2518
Farmers Rice Milling    P.O. Box 3704 Lake Charles, LA              โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
Co., Inc.               70602-3704 www.frmco.com                                   ข้าวแดง ข้าวเปลือก
Farmers Storage Inc.    P.O. Box 6 Essex, MO 63846                  พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        Tel: 573 283-5352
Farmers’ Rice           P.O. Box 15223 Sacramento, CA 95851         โรงสี           ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเมล็ดสั้น
Cooperative             www.farmersrice.com                                        ข้าวแดง
G & H Seed Company,Inc. P.O. Box 321 Crowley, LA 70527              พ่อค้า           ข้าวหอมสหรัฐฯ เมล็ดพันธุ์
                        www.ghseed.com
Griffith Grain, Inc.    P.O. Box 650 Helena, AR 72342-0650          พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        www.griffincottonandgrain.com
Gulf Rice Milling,Inc.  12010 Taylor Rd. Houston, TX 77041          โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                        www.fulfpac.com                                            ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวแดง
                                                                                   ข้าวเปลือก
Holly Ridge Rice        2236 U.S. Hwy 80                            พ่อค้า           ข้าวเปลือก
and Grain Terminal      Rayville, LA 71269
                        Tel.: 318 728-4468
Horizon Ag LLC          8275 Tournament Players Dr.                 พ่อค้า           เมล็ดพันธุ์ข้าว
                        Suite 255 Memphis, TN 38125
                        www.horizonseed.com  ________________________________________________________________________________________________________
KBX, Inc.               P.O. Box 2800 Benton, AR 72018-2800         พ่อค้า           ข้าวเมล็ดยาว
                        Tel: 501 778-8820
Kennedy Rice Dryers,LLC P.O. Box 259 Mer Rouge, LA 71261            พ่อค้า           ข้าวเปลือก เมล็ดพันธุ์ข้าว
                        Tel: 318 647-5744
Koda Farms Inc.         P.O. Box 10 S. Dos Palos, CA 93665-0010     โรงสี           ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเหนียว
                        www.kodafarms.com
Lehman Elevator, Inc.   P.O. Box 35 Gillett, AR 72055-0035          พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        Tel: 870 548-2672
Louisiana Rice Mill,LLC 102 South 13th Street Mementau, LA 70556    โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                        www.laricemill.com                                         ข้าวแดง ข้าวเปลือก
Lundberg Family Farms   P.O. Box 369 Richvale, CA 95974-0369        โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                        www.lundberg.com                                           ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวแดง ข้าวหุ่งแล้ว
                                                                                   (Precooked rice) ข้าว
                                                                                   อินทรีย์ ข้าวอาร์โบริโอสหรัฐฯ
                                                                                   ข้าวซูชิ ข้าวเหนียว
Mars Food USA           2001 East Cashdan St.Rancho Dominguez,      โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                        CA 90220  www.unclebens.com                                ข้าวแดง ข้าวนึ่ง
Minturn Grain           1403 hwy. 67 Hoxie, AR 72433                พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                        Tel: 870 886-7011
Penny Newman Grain      P.O. Box 8729 Woodland, CA 95776            พ่อค้า           ข้าวเปลือก
company                 www.penny-newman.com
National Rice Company   300 Drakes Landing Rd., Suite 251           พ่อค้า           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                        Greenbrae, CA 94904                                        ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวแดง ข้าวนึ่ง
                        www.nationalrice.com                                       ข้าวหุงแล้ว(precooked rice)
                                                                                   ข้าวอินทรีย์ ข้าวหอมสหรัฐฯ
                                                                                   ข้าวอาร์โบริโอสหรัฐฯ
                                                                                   ข้าวซูชิ ข้าวเหนียว
PGP International       P.O. Box 2060 Woodland, CA 95776            โรงสี           ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเมล็ดสั้น
                        www.pacgrain.com                                           ข้าวแดง ข้าวอินทรีย์ ข้าวเหนียว
Planters Rice Mill,LLC 403 S. Washington Abbeville, LA 70510        โรงสี           ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเมล็ดยาว
                       www.plantersllc.com                                         ข้าวแดง
Poinsett Rice and      2713 Paula Dr., Suite B Jonesboro, AR 72404  พ่อค้า           ข้าวเปลือก
Grain, Inc.            www.poinsettrice.com
Producers Rice Mill,   P.O. Box 1248 Stuttgart, AR 72160            โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
Inc.                   www.producesrice.com                                        ข้าวแดง ข้าวนึ่ง ข้าวหุ่งแล้ว
                                                                                   (Precooked Rice)
                                                                                   ข้าวหอมสหรัฐฯ
Rice Belt Warehouse   P.O. Box 1545 E. Campo, TX 77437              พ่อค้า           ข้าวเปลือก
Inc.                  www.ricebelt.com
Riceland Foods, Inc.  P.O. Box 927 Stuttgart, AR 72160-0927         โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                      www.riceland.com                                             ข้าวแดง ข้าวนึ่ง ข้าวเปลือก
Rice Tec, Inc         P.O. Box 1305 Alvin, TX 77521-1305            โรงสี           ข้าวอินทรีย์ ข้าวหอมสหรัฐฯ
                      www.ricetec.com                                              ข้าวอาร์โบริโอสหรัฐฯ ข้าวซูชิ
Ritter Grain Services 300 Adamson Rd. Marked Tree, AR 72365         พ่อค้า           ข้าวเปลือก
                      www.ritterag.com
Riviana Foods Inc.    P.O. Box 2636 Houston, TX 77252-2636          โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                      www.riviana.com                                              ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวนึ่ง ข้าวหอม
                                                                                   สหรัฐฯ
Sem-Chai Rice  P.O.   Box 1097 Loxahatchee, FL 44370                โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
Products Corporation  www.floridacrystals.com                                      ข้าวแดง ข้าวอินทรีย์ข้าวหอมสหรัฐ
Speciality Rice, Inc. 1000 W. First St. Brinkley, AR 72021-9000                    ข้าวอินทรีย์ ข้าวหอมสหรัฐฯ ข้าว
                      www.dellarice.com                                            อาร์โบริโอสหรัฐฯ
Sub Commerce Inc.     1224 Main Street Schenectady, NY 12303                       ข้าวเมล็ดยาว ข้าวหอมสหรัฐฯ
                      Tel: 518 879-3273.
SunFoods LLC P.O.     Box 8729 Woodland, Ca 95776                                  โรงสี ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ด
                      www.sunfoodsllc.com                                          กลาง ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวแดง
                                                                                   ข้าวหอมสหรัฐฯ
SunWest Foods Inc.    1550 Drew Ave., Suite 150 Davis, CA 95618                    โรงสี ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเมล็ด
                      www.sunwestfoods.com                                         สั้น ข้าวอินทรีย์ ข้าวหอมสหรัฐฯ
                                                                                   ข้าวเหนียว
The Sun Valley Rice   P.O. Box 8 Arbuckle, CA 95937                 โรงสี           ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเมล็ดสั้น ข้าว
Company LLC           www.sunvalleyrice.com                                        อินทรีย์ ข้าวเหนียว
Williams Rice         1701 Abel Rd. Williams, CA 95987              โรงสี           ข้าวเมล็ดกลาง ข้าวเมล็ดสั้น
Milling Co.           www.tamakimai.com                                            ข้าวแดง ข้าวเหนียว
Windmill Rice Co.,LLC 6875 Hwy 1 South Jonesboro, AR 72404          โรงสี           ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลาง
                      www.windmillrice.com                                         ข้าวแดง ข้าวเปลือก
องค์กรต่างๆในอุตสาหกรรมข้าวสหรัฐฯ

๑. USA Rice Federation

4301 North Fairfax Drive, Suite 425, Arlington, VA 22203

Tel: 703 236-2300, Fax: 703 236-2301, riceinfo@usarice.com, www.usaricr.com

ทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องดูแลผลประโยชน์ของทุกแขนงธุรกิจในอุตสาหกรรมข้าวทั้งผู้ผลิต โรงสีข้าว พ่อค้าและธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวกับข้าว ประกอบไปด้วยหน่วยงานคือ

๑.๑ U SA Rice Producers' Group 2825 Wilcrest Drive, Suite 505, Houston, TX 77042 Tel: 713 974-7423, www.usriceproducers.com

๑.๒ USA Rice Millers' Association ทำหน้าที่เป็นตัวแทนอุตสาหกรรมโรงสีข้าวสหรัฐฯ Contact: USA Rice Federation

๑.๓ USA Rice Council ทำหน้าที่ส่งเสริมข้าวสหรัฐฯในประเทศสหรัฐฯและในต่างประเทศ Contact: USA Rice Federation

๑.๔ USA Rice Merchants' Association Contact: USA Rice Federation

๒. Arkansas Rice Federation P.O. Box 23915, Little Rock AR 72221

ทำหน้าที่เป็นตัวแทนอุตสาหกรรมข้าวของรัฐอาร์คันซอร์ ประกอบไปด้วยหน่วยงานคือ

๒.๑ Arkansan Rice Producers' Group

๒.๒ Arkansan Rice Council

๒.๓ Arkansan Rice Millers

๒.๔ Arkansan Rice Merchants

๓. Arkansas Rice Growers Association P.O. Box 309, Lepanto, AR 72354

ทำหน้าที่พัฒนาและจัดทำนโยบายสำหรับอุตสาหกรรมข้าวในพื้นที่ เป็นตัวแทนกลุ่มชาวนาข้าวในการประสานงานกับภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือชาวนาที่เป็นสมาชิก

๔. California Rice Commission

1231 I Street, Suite 205, Sacramento, CA 95814, Tel: 916 387-2264 www.calrice.org ทำหน้าที่เป็นตัวแทนอุตสาหกรรมข้าวทั่วรัฐแคลิฟอร์เนีย บริหารจัดการด้านการพัฒนา บำรุงรักษา ขยายตลาด การวิจัยตลาด การศึกษา การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การวิจัยด้าการผลิตและการจัดการ ทุกอย่างที่จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมข้าวของรัฐ

๕. Rice Producers of California P.O. Box 942, Colusa, CA 95932, Tel: 530 632-7761 www.calriceproducers.org ทำหน้าที่ส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองชาวนาข้าวในรัฐแคลิฟอร์เนีย ผ่านทางการให้ความรู้ด้าน การผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดข้าว

๖. California Rice Industry Association 701 University Ave., Suite 205, Sacramento, CA 95825, Tel: 916 929-3996

แหล่งที่มาข้อมูล

๑. กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (U.S. Department of Agriculture, Economic Research Service)

๒. USA Rice Federation

๓. World Trade Atlas


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ