ความต้องการสินค้าอาหารในตลาดเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 25, 2012 12:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ความต้องการสินค้าอาหารในตลาดเยอรมนี

1. การผลิตอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศเยอรมนี

ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร/อาหารแปรรูปเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศเยอรมนี และปัจจุบันเยอรมนีมีจำนวนเกษตรกรประมาณ 1 ล้านคนและมีแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปประมาณ 400,000 คน

ผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารในตลาดเยอรมนีในช่วงปี 2552-2554 มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 121,335.0 ล้านยูโร โดยในปี 2554 เยอรมนีมีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารรวมทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 129,689.0 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 9.2 สินค้าอาหารที่มีการผลิตภายในประเทศได้มากสูงสุดอันดับต้นๆ ได้แก่ (1) นมและผลิตภัณฑ์จากนม มีผลผลิตเป็นมูลค่า 20,043.0 ล้านยูโรในปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 10.4 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.4 ของผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารทั้งหมด (2) เนื้อสัตว์(ไม่รวมสัตว์ปีก) มีผลผลิตเป็นมูลค่า 15,879.6 ล้านยูโร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 13.3 มีส่วนแบ่งผลผลิตในตลาดร้อยละ 13.0 (3) ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกชนิดต่างๆและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ มีมูลค่าผลผลิตภายในประเทศ 14,622.9 ล้านยูโร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 3.1 และมีสัดส่วนผลผลิตร้อยละ 12.0 ของผลผลิตอาหารทั้งหมด (4) ขนมปัง/ขนมอบ(ไม่รวมบิสกิต) ในปี 2554 มีผลผลิตเป็นมูลค่า 13,184.0 ล้านยูโร ขยายตัวจากปีก่อนหน้าร้อยละ 5.2 มีส่วนแบ่งในตลาดร้อยละ 11.0 ของผลผลิตอาหารทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมีอาหารสำคัญอื่นๆที่เยอรมนีผลิตได้ภายในประเทศ ได้แก่ ขนมหวานอื่นๆที่มิใช่ขนมอบ มีส่วนแบ่งผลผลิตร้อยละ 7.0 เนื้อสัตว์ปีก ผลผลิตเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.0 อาหารสำเร็จรูป และอาหารทารก มีสัดส่วนผลผลิตร้อยละ 2.4 และ 0.6 ตามลำดับ

ตาราง มูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร(รวมทั้งอาหารสัตว์เลี้ยง)ในตลาดเยอรมนี ปี 2552-2554

หน่วย: ล้านยูโร

    ผลผลิตอาหาร          ปี 2552     ปี 2553      ปี 2554      อัตราการขยายตัว    สัดส่วน
นมและผลิตภัณฑ์           16,519.7   18,152.9    20,043.0          10.4          16.4
เนื้อสัตว์(ไม่รวมสัตว์ปีก)    13,250.6   14,014.4    15,879.6          13.3          13.0
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์       14,040.4   14,176.8    14,622.9           3.1          12.0
ขนมปัง ขนมอบ           12,214.3   12,529.8    13,184.0           5.2          10.8
ขนมหวาน                8,083.2    8,412.3     8,478.1           0.8           7.0
เนื้อสัตว์ปีก               2,936.9    3,041.5     3,346.4          10.0           2.7
อาหารสำเร็จรูป           2,642.7    2,857.5     2,931.9           2.6           2.4
อาหารสัตว์เลี้ยงอื่นๆ        1,692.0    1,796.1     1,822.2           1.5           1.5
อาหารทารก                676.9      686.6       760.4          10.8           0.6
     รวมทั้งสิ้น         115,583.0  117,733.0   129,689.0           9.2         100.0
ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี, พฤษภาคม 2555

          ตลาดเยอรมนีมีจำนวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารภายในประเทศรวมทั้งสิ้นกว่า 5,000 กิจการ ในจำนวนนี้แยกเป็นผู้ผลิตขนมปัง/ขนมอบมีจำนวนมากที่สุดประมาณกว่า 2,400 กิจการรองลงมาได้แก่ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ และการผลิตเนื้อสัตว์(ไม่รวมสัตว์ปีก) ที่มีจำนวนผู้ประกอบการกว่า 1,100 ราย และ 690 ราย ตามลำดับ

2. ผลผลิตอาหารในตลาดเยอรมนีกับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก
          ผลผลิตอาหารภายในตลาดเยอรมนีในมูลค่า 129,689.0 ล้านยูโรของปี 2554 แบ่งออกเป็นการบริโภคหรือจำหน่ายภายในประเทศเป็นมูลค่า 102,563.0 ล้านยูโร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 8.4 และส่งออกไปต่างประเทศเป็นมูลค่า 27,127.0 ล้านยูโร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 12.5 ตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าอาหารจากเยอรมนีได้แก่ประเทศต่างๆในสหภาพยุโรปที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 70.0 สินค้าอาหารที่เยอรมนีส่งออกไปยังตลาดภูมิภาคนี้ ที่สำคัญได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมสินค้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ส่วนมากเป็นเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกร ขนมหวาน โกโก้ผลิตภัณฑ์จากแป้ง และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ตาราง มูลค่าการจำหน่ายผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร ตลาดในประเทศและต่างประเทศ ปี 2552-2554
                                                            หน่วย: ล้านยูโร
    ผลผลิตอาหาร       ปี 2552     ปี 2553      ปี 2554      อัตราการขยายตัว    สัดส่วน
รวมทั้งสิ้น           115,583.0  118,733.0   129,689.0           9.2         100.0
จำหน่ายในประเทศ     93,254.0   94,670.0   102,563.0           8.4          79.0
ส่งออกต่างประเทศ     22,329.0   24,063.0    27,127.0          12.5          21.0
ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี, พฤษภาคม 2555

          อย่างไรก็ตาม การที่มูลค่าของผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมานั้น ยังคงมีปัจจัยด้านราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวแปรสำคัญ โดยที่ราคาสินค้าอาหารในตลาดเยอรมนีเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.0 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตอย่างราคาวัตถุดิบจำพวกไขมัน น้ำตาลและธัญพืช ต้นทุนค่าพลังงาน/น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งวัตถุดิบและสินค้าเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งคาดการณ์กันว่าระดับราคาสินค้าอาหารโดยทั่วไปในตลาดเยอรมนีจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอีกร้อยละ 3.0-5.0 ภายในปี 2555 นี้

3. การบริโภคอาหารในตลาดเยอรมนี
          สถิติจากกระทรวงอาหาร เกษตร และการคุ้มครองผู้บริโภคของเยอรมนีได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการบริโภคอาหารรายประเภทของตลาดเยอรมนีเฉลี่ยต่อคนในแต่ละปีที่มีปริมาณค่อนข้างคงที่หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงระยะเวลาที่มีการรวบรวมข้อมูล (สถิติล่าสุด ณ ปีเกษตรกรรม 2552/53)พบว่าการบริโภคอาหารเฉลี่ยในกลุ่มอาหารที่ทำจากพืช อาหารที่มีการบริโภคมากที่สุดของคนเยอรมันต่อปี ได้แก่(1) ผักสด มีการบริโภคเฉลี่ย 93.0 กิโลกรัม/คน/ปี (2) ธัญพืช(ข้าวสาลี) บริโภคเฉลี่ย 91.7 กิโลกรัม/คน/ปี(3) ผลไม้ บริโภคเฉลี่ย 71.0 กิโลกรัม/คน/ปี (4) มันฝรั่ง มีการบริโภคเฉลี่ย 66.0 กิโลกรัม/คน/ปี (5) ผลไม้ตระกูลส้ม บริโภคเฉลี่ย 43.0 กิโลกรัม/คน/ปี และ (6) น้ำตาล คนเยอรมันมีการบริโภคเฉลี่ย 34.0 กิโลกรัม/คน/ปี
          สำหรับกลุ่มอาหารจากเนื้อสัตว์ที่มีการบริโภคมากที่สุดตามลำดับในตลาดเยอรมนี ได้แก่ (1) เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ คนเยอรมันบริโภคเฉลี่ยปีละ 89.0 กิโลกกรัม/คน (2) ผลิตภัณฑ์จากนมสด บริโภคเฉลี่ย 85.0 กิโลกรัม/คน/ปี (3) เนื้อสุกร มีการบริโภคเฉลี่ย 54.0 กิโลกรัม/คน/ปี (4) นมเปรี้ยวและเครื่องดื่มอื่นๆที่มีนมเป็นส่วนผสม บริโภคเฉลี่ย 30.0 กิโลกรัม/คน/ปี (5) เนยแข็ง บริโภคเฉลี่ย 23.0 กิโลกกรัม/คน/ปี (6) เนื้อสัตว์ปีก บริโภคเฉลี่ย 19.0 กิโลกรัม/คน/ปี (7) ปลาและผลิตภัณฑ์ มีการบริโภคเฉลี่ยคนละ 16.0 กิโลกกรัม/ปี และ (8) ไข่ มีการบริโภคเฉลี่ย 214 ฟอง/คน/ปี (หรือคิดเป็นน้ำหนักเท่ากับ 13.0 กิโลกกรัม/คน/ปี)

ตาราง ความต้องการบริโภคอาหารในตลาดเยอรมนี ปีเกษตรกรรม* 2548/49-2552/53
                                                     หน่วย: กิโลกรัม/คน/ปี
ประเภทอาหาร               2548/49   2549/50   2550/51   2551/52   2552/53
ธัญพืช(ข้าวสาลี)                 86       87        89        85        92
มันฝรั่ง                        63       63        61        65        66
น้ำตาล                        36       32        39        34        34
ผัก                           86       89        90        92        93
ผลไม้                         78       78        71        70        71
ผลไม้ตระกูลส้ม                  47       42        47        45        43
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์              87       90        88        89        89
เนื้อวัว เนื้อลูกวัว                12       13        12        13        13
เนื้อสุกร                       54       55        54        54        54
เนื้อสัตว์ปีก                     17       18        18        19        19
ปลาและผลิตภัณฑ์                 16       16        16        15        16
ผลิตภัณฑ์จากนม                  85       86        86        85        85
นมเปรี้ยวและเครื่องดื่มที่มีนมผสม     30       31        30        30        30
เนยแข็ง                       22       22        22        22        23
น้ำมันและไขมัน                  26       26        21        20        20
ไข่ (ฟอง/คน/ปี)               209      209       208       210       214
ที่มา: กระทรวงอาหาร เกษตร และการคุ้มครองผู้บริโภคเยอรมนี (ข้อมูลมีถึงปี 2552/53)
หมายเหตุ: * ปีเกษตรกรรม 2552/53 หมายถึง กรกฎาคม 2552-มิถุนายน 2553

4. ภาพรวมการส่งออกและการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารของเยอรมนี
          ปี 2554 เยอรมนีมีการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอาหารรวมเป็นมูลค่า 1,060,202.0 ล้านยูโร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึงร้อยละ 11.4 และมีการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากต่างประเทศทั้งสิ้น 901,960.0 ล้านยูโร ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันในอัตราร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ตาราง มูลค่าการส่งออก-นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดเยอรมนี ปี 2552-2554
                                                                      หน่วย: ล้านยูโร
   ส่งออก-นำเข้า          ปี 2552            ปี 2553             ปี 2554         เพิ่ม/ลด(ร้อยละ)
ส่งออกทั้งสิ้น              803,312           959,497          1,060,202              11.4
   สัตว์มีชีวิต                 975               959              1,142               9.0
   ทำจากสัตว์             16,606            17,773             20,114               9.8
   ทำจากพืช              23,380            24,115             26,934               8.3
นำเข้าทั้งสิ้น              664,615           806,164            901,960              13.2
   สัตว์มีชีวิต               1,448             1,275              1,436              -3.1
   ทำจากสัตว์             15,206            15,763             16,497               6.8
   ทำจากพืช              33,933            34,659             36,221               7.9
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี, พฤษภาคม 2555

5. การนำเข้าสินค้าอาหารจากตลาดโลกของเยอรมนี
          จากสถิติของ World Trade Atlas เยอรมนีนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากตลาดโลก(กลุ่มสินค้า HS 01—24) ในช่วงปี 2552-2554 เฉลี่ยปีละ 91,775.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 มีมูลค่านำเข้าจากตลาดโลกรวมทั้งสิ้น 103,110.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ในจำนวนนี้เป็นการนำเข้าสินค้าไทย 482.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดในหัวข้อที่ 6 ต่อไป) ขยายตัวจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 18.2 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.2 ของการนำเข้าทั้งสิ้นของเยอรมนี สินค้าเกษตรและอาหารนำเข้าที่สำคัญ 3 อันดับแรก(เรียงตามมูลค่านำเข้าสูงสุด) ได้แก่
          ผลไม้ ผลไม้ตระกูลส้ม และถั่วประเภทต่างๆ (HS 08) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 8,364 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 นำเข้าเป็นมูลค่า 9,010.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.7 ของการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10.0 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ สเปน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 19.0, 18.0 และ 12.0 ตามลำดับ สินค้าที่สำคัญๆ ได้แก่ กล้วยหอม ส้ม เฮเซิลนัท และแอปเปิ้ล เป็นต้น รายการสินค้า HS 08 นี้ มีการนำเข้าจากไทย คิดเป็นมูลค่า 8.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 0.1 มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1
          เครื่องดื่ม (HS 22) มีมูลค่าการนำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ 7,795 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี 2552-2554 โดยปีที่ผ่านมาเยอรมนีนำเข้าสินค้าเครื่องดื่มเป็นมูลค่า 8,682.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.4 ของการนำเข้าสินค้าอาหารทั้งสิ้น และขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากปี 2553 ถึงร้อยละ 18.0 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ โดยมีส่วนแบ่งร้อยละ 21.0, 20.0 และ 11.0
ตามลำดับ และสินค้าจากประเทศไทยมีการนำเข้ามาในตลาดเยอรมนีเป็นมูลค่า 2.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 0.02 มูลค่าลดลงร้อยละ 10.9 สินค้าสำคัญๆในพิกัด HS 22 นี้ได้แก่ เหล้าองุ่น วิสกี้ น้ำแร่ เป็นต้น
          นม เนย ไข่ และผลิตภัณฑ์ (HS 04) มีมูลค่าการนำเข้าในตลาดเยอรมนีโดยเฉลี่ยปีละ 7,795.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2554 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 8,628.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.4 ของการนำเข้าสินค้าอาหารมายังตลาดเยอรมนี มูลค่านำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 12.9 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และออสเตรีย โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 31.0, 14.0 และ 7.0 ตามลำดับ จากประเทศไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่า 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.03 ของการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารทั้งสิ้นในตลาดเยอรมนี แต่อย่างไรก็ตามการนำเข้าสินค้าจากไทยในพิกัด HS 04 ในปี 2554 เมื่อเทียบกับการนำเข้าหมวดเดียวกันในปี 2553 พบว่ามีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 166.7 (โดยในปี 2553 มีการนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า 1.1 ล้านเหรียญ
สหรัฐ)

6. การนำเข้าสินค้าอาหารจากประเทศไทย และจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดเยอรมนี
          ปี 2552-2554 เยอรมนีนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร พิกัด HS 01—24 จากประเทศไทยมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 424.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 0.5 ของการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารมายังตลาดเยอรมนี และในปี 2554 มีการนำเข้าสินค้าไทยเป็นมูลค่า 482.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.0 ของการนำเข้าสินค้าทั้งสิ้นจากไทย สินค้าไทยที่เยอรมนีนำเข้า ที่สำคัญได้แก่
          เนื้อสัตว์ (HS 16) เยอรมนีนำเข้าสินค้าไทยในพิกัดนี้เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 152.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 นำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า 165.3 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปี 2553 สินค้าไทยในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย
          ? เนื้อไก่แปรรูป ไก่ต้มสุก (HS 1602) โดยเฉลี่ยแล้วเยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกปีละ 1,194.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 มีการนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า 84.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.4 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.0 แหล่งนำเข้าอื่นๆ(คู่แข่ง)ที่สำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ บราซิล และออสเตรีย โดยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 19.0, 15.0 และ 10.0 ตามลำดับ
          ? กุ้งแปรรูป (HS 1605) แต่ละปีเยอรมนีมีการนำเข้าเฉลี่ยเป็นมูลค่า 326.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการนำเข้าจากไทยในปี 2554 เป็นมูลค่า 68.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 24.6 คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 20.0 ซึ่งไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 2 ของเยอรมนีและมีประเทศคู่แข่งหรือแหล่งนำเข้าอื่น ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.0 และเดนมาร์ค มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.0
          ? ปลากระป๋อง (HS 1604) เยอรมนีนำเข้าเฉลี่ยปีละ 666.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 นำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า 13.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 16.2 และมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.8 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ค มีส่วนแบ่งร้อยละ 18.0, 13.0 และ 11.0 ตามลำดับ
          ผลไม้แปรรูป (HS 20) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 5,126 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2554 มีการนำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,697.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการนำเข้าจากประเทศไทยเป็นมูลค่า 85.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.1 ของการนำเข้า ทั้งสิ้นจากประเทศไทย และเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 เมื่อเทียบกับปี 2553 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และเบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.0, 12.0 และ 9.0 ตามลำดับ สินค้าไทยที่นำเข้าส่วนใหญ่ คือ สับปะรดกระป๋อง (HS 2008) ที่มีการนำเข้าในปี 2554 เป็นมูลค่า 69.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีแหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ ตุรกี และเนเธอร์แลนด์
          อาหารทะเล แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป (HS 03) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 3,894.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 นำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,299.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 14.4 การนำเข้าจากไทยมีมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 48.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 มีการนำเข้าจากไทยมูลค่า 47.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.2 ซึ่งมูลค่านำเข้าดังกล่าวลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 2.0 ประเทศคู่แข่งของไทยที่สำคัญ ได้แก่ โปแลนด์ เดนมาร์ค จีน โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14.0, 13.0 และ 12.0 ตามลำดับ สินค้าส่วนใหญ่ของไทยจะเป็น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง(HS 0306) โดยมีการนำเข้าในปี 2554 เป็นมูลค่า 30.9 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ เวียดนาม เนเธอร์แลนด์ และบังคลาเทศ
          ข้าว (HS 10) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2,717.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 นำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,318.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 39.0 จากไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 มีการนำเข้าจากไทยมูลค่า 34.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.9 ของการนำเข้าสินค้าทั้งสิ้นจากไทย มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 23.0) เช็ค (ส่วนแบ่งร้อยละ 13.0) และเนเธอร์แลนด์ (ส่วนแบ่งร้อยละ 11.0) สินค้าในพิกัดนี้ของไทยส่วนใหญ่เป็น ข้าวสาร (HS 1006) ที่มีการนำเข้าจากไทยในปี 2554 มูลค่า 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.4 มูลค่าลดลงร้อยละ 16.5 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ อิตาลี (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28.0) เนเธอร์แลนด์ (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.0) และเบลเยี่ยม (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.0)
          ผักสด (HS 07) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 6,156.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2554 นำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,463.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.8 ผักสดที่เยอรมนีนำเข้ามาก อาทิ มะเขือเทศ พริกหยวก และแตงกวา เป็นต้น การนำเข้าจากไทยในปี 2554 มีมูลค่า 6.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.2 และมูลค่านำเข้าลดลงอย่างมากที่ร้อยละ 35.3(เนื่องมาจากการดำเนินมาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อโรงคัดบรรจุเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกผักไทยมายังสหภาพยุโรป) แหล่งนำเข้าอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 38.0) สเปน(ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20.0) และอิตาลี (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.0)
          ผลไม้สด (HS 08) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 8,364.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2554 นำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,010.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 10.0 ผลไม้ที่เยอรมนีนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ กล้วยหอม แอปเปิ้ล องุ่น และส้ม ผลไม้จากไทยมีการนำเข้าในปี 2554 เป็นมูลค่า 8.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.2 ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.05
แหล่งนำเข้าอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ สเปน (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 19.0) เนเธอร์แลนด์ (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.0) และอิตาลี (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.0) ผลไม้ไทยที่เยอรมนีนำเข้ามาก ได้แก่ มะม่วงและมังคุด เป็นต้น

ราคาขายปลีกสินค้าอาหารไทยที่เป็นที่นิยมบริโภคในตลาดเยอรมนี
   สินค้า                           ราคาขายปลีก
ผัก  ผลไม้สด
หอมแดง                         8.99 ยูโร / ก.ก.
มะเขือพวง                       2.09 ยูโร / 200 ก.
ตะไคร้                          1.79 ยูโร / 100 ก.
พริกแดง                         1.09 ยูโร / 100 ก.
พริกไทยอ่อน                      1.50 ยูโร / 100 ก.
หน่อไม้ฝรั่งเขียว                   1.09 ยูโร/ 100 ก.
เสาวรส                         7.49 ยูโร / ก.ก.
ข้าวโพดอ่อน                      0.95 ยูโร / 100 ก.
มะม่วงน้ำดอกไม้                   2.99 ยูโร / ผล
ขิงอ่อน                          7.99 ยูโร / ก.ก.
อาหารทะเลสดแช่แข็ง
กุ้งทะเลขนาดใหญ่                  16.99 ยูโร/ก.ก.
กุ้งกุลาดำ                        8.99 ยูโร/ก.ก.
เนื้อปลา                         7.99 ยูโร/ ก.ก.
อาหารแปรรูป
น้ำกะทิ                          2.29 ยูโร / กล่อง (500 มล.)
น้ำจิ้มไก่                         2.19 ยูโร / ขวด (700 มล.)
ซอสพริก                         1.98 ยูโร / ขวด (740 มล.)
ซีอิ๊วขาว                         0.98 ยุโร / ขวด (700 มล.)
ซอสเปรี้ยว-หวาน                  2.08 ยูโร / ขวด (455 ก.)
น้ำมันหอย                        1.48 ยูโร / ขวด (600 มล.)
น้ำปลา                          0.98 ยูโร / ขวด (725 มล.)
ซอสปรุงรสผัดไทย                  1.49 ยูโร / ขวด (295 มล.)
ถั่วลิสงเคลือบวาซาบิ                1.99 ยูโร / กระป๋อง (140 ก.)
เครื่องดื่มน้ำลิ้นจี่กระป๋อง             0.69 ยูโร / กระป๋อง (250 มล.)
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป                  0.44 ยูโร / ห่อ (85 ก.)
น้ำพริกแกงเขียวหวาน แกงเผ็ด        2.69 ยูโร / กระปุก (200 มล.)
แกงเขียวหวานสำเร็จรูป             2.69 ยูโร / กระป๋อง (400 มล.)
ข้าวหอมมะลิ                      1.99-2.49 ยูโร / ก.ก.
เส้นก๋วยเตี๋ยวสำหรับผัดไทย           2.29 ยูโร / ห่อ (300 ก.)
8. พฤติกรรมตลาด และแนวโน้มความต้องการสินค้าอาหารของผู้บริโภคในตลาดเยอรมนี

โครงสร้างประชากรในตลาดเยอรมนี ในช่วงตั้งแต่ปี 2547-2554 ประชากรในตลาดเยอรมนีมีขนาดลดลงอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างอายุของคนในประเทศมีการเปลี่ยนแปลงโดยสัดส่วนประชากรอายุเกิน 50 ปีมีขนาดเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสัดส่วนของประชากรหญิงในวัยเจริญพันธุ์มีขนาดลดลง โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีได้คาดการณ์ไว้ว่าขนาดประชากรยังคงมีการหดตัวต่อเนื่องต่อไปในอนาคต กลุ่มคนที่มีอายุเกิน 65 ปีจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ขณะที่กลุ่มอายุต่ำกว่า 14 ปี จะมีจำนวนลดลงด้วยอัตราการลดลงที่มากกว่ากลุ่มประชากรวัยทำงานจะลดขนาดลง จึงส่งผลให้ตลาดเยอรมนีมีกลุ่มชาวต่างชาติในวัยทำงานย้านถิ่นฐานเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในประเทศเช่นนี้ มีผลกระทบอย่างมากต่ออุปสงค์ในสินค้าอาหารของตลาดเยอรมนี ซึ่งผู้ผลิตอาหารจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างอายุของผู้บริโภคเป็นสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดสินค้าอาหารในเยอรมนี เช่น จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ลดลง ทำให้อัตราการเกิดในเยอรมนีลดลง ส่งผลให้ปัจจุบันประชากรวัยเด็กในตลาดเยอรมนีมีจำนวนลดลง คาดการณ์ได้ว่าโอกาสการขยายตัวของสินค้าอาหารสำหรับทารก/อาหารเด็กในตลาดเยอรมนีจึงลดลง ขณะที่ตลาดของสินค้าอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่คำนึงถึงผลต่อสุขภาพมีโอกาสขยายตัวมากขึ้นตามจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น

รูปแบบการดำเนินชีวิตหรือ Lifestyles ของผู้บริโภคเยอรมันปัจจุบันสังคมเยอรมนีมีแนวโน้มการแต่งงานและการมีบุตรช้าลง ทำให้ขนาดประชากรโสดหรือมีจำนวนครัวเรือนที่อาศัยอยู่คนเดียวเพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคกลุ่มนี้มักนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (Ready to eat) และซื้ออาหารปรุงสำเร็จนำกลับไปทานที่บ้าน เพราะคำนึงถึงความสะดวกสบายเป็นหลัก ดังนั้นอาหารกลุ่ม Ready to eat จึงมีโอกาสขยายตัวได้อีกมากในตลาดเยอรมนี

กระแสการคำนึงถึงสุขภาพในกลุ่มผู้บริโภคเยอรมัน ผู้บริโภคชาวเยอรมันให้ความสำคัญในลำดับต้นๆกับการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่มีสารปรุงแต่ง จึงส่งผลให้ยอดจำหน่ายสินค้าขนมหวานและน้ำตาลลดลงอย่างมากเฉลี่ยประมาณร้อยละ 15.4 ตั้งแต่ปี 2552 เรื่อยมา ขณะที่สินค้าอาหารสดจำพวกผลไม้สดและผักสดมียอดจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 16.8 และ 4.1 ตามลำดับ (Euromonitor, 2554) นอกจากนี้ แนวโน้มการบริโภคสินค้าอาหารสำเร็จรูปแช่เย็นแช่แข็ง ซึ่งผู้บริโภคชาวเยอรมันเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพรองลงมาจากอาหารสด รวมทั้งสะดวกในการจัดเตรียมนั้น ได้รับความนิยมสูงไม่แพ้กัน โดยกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมบริโภคสินค้าอาหารสำเร็จรูปแช่เย็นแช่แข็งนี้ จะเป็นกลุ่มคนโสด ครอบครัวขนาดเล็ก(2 คน) กลุ่มผู้หญิงทำงาน และกลุ่มคนสูงอายุ ดังนั้นผู้ผลิตหลายรายพยายามนำเสนอสินค้าอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (Health and wellness products) ซึ่งรวมไปถึงสินค้าอาหาร Organic และอาหารที่มีเกลือ น้ำตาล ไขมันต่ำ อาหารที่มาจากธรรมชาติโดยตรงไม่ผ่านการปรุงแต่ง มีเส้นใยธรรมชาติสูง และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากการตัดแต่งพันธุกรรม(GM-free:genetically modified free)

แนวโน้มความนิยมบริโภคอาหารเอเชียและโดยเฉพาะอาหารไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างมากในตลาดเยอรมนีในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา ซึ่งในสายตาของผู้บริโภคชาวเยอรมันเองแล้ว มองว่าเป็นอาหาร Trendy ที่มีผู้นิยมบริโภคมากขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ด้วยปัจจัยที่ว่า (1) ประเทศในเอเชียและประเทศไทยได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มชาวเยอรมัน และเมื่อนักท่องเที่ยวเหล่านี้เดินทางกลับประเทศ ต่างมีความต้องการทั้งรับประทานที่ร้านอาหาร และต้องการทดลองปรุงอาหารเหล่านั้นที่ตนเคยได้ไปชิมรสชาติของแท้ดั้งเดิมมาแล้ว เพื่อให้คนในครอบครัวและเพื่อนฝูงได้ทดลองรับประทานด้วย จึงทำให้มีดีมานด์ในสินค้าอาหารดังกล่าวเพิ่มขึ้น และยังคงมีแนวโน้มขยายตัวในระยะยาว (2) จำนวนประชากร ต่างชาติ โดยเฉพาะจากภูมิภาคเอเชียที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในเยอรมนีที่มีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเอเชียและอาหารไทยมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันนี้มีชาวเยอรมันจำนวนมากนิยมซื้อวัตถุดิบและเครื่องปรุงอาหารไทยเพื่อปรุงรับประทานเองที่บ้านด้วยแล้ว

นอกจากนี้ ความนิยมชมชอบในอาหารเอเชียของตลาดเยอรมนีปัจจุบัน สามารถวัดได้จากส่วนแบ่งการตลาด (Value shares)ของสินค้าอาหารเอเชียในกลุ่มพร้อมรับประทานแช่เย็นแช่แข็ง(Frozen and chilled ready meals) โดยในปี 2554 ที่ผ่านมาอาหารเอเชียกลุ่มนี้ครองส่วนแบ่งตลาดเยอรมนีสูงถึงกว่าร้อยละ 20 แต่ยังคงเป็นรองอาหารชาติตะวันตก/อาหารอิตาเลี่ยนที่ยังครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด(Euromonitor, 2554)

สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์เป็น Niche Market ที่ยังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นในเยอรมนีซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพด้วยเช่นกัน ในตลาดเยอรมนีปัจจุบันพบว่ามีสินค้าอาหารไทยสำ เร็จรูป (เช่น น้ำพริกแกงเขียวหวาน น้ำพริกแกงเผ็ด) ที่ใช้วัตถุดิบที่เป็นเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด แต่สินค้าเหล่านี้ยังไม่ได้ผลิตหรือนำเข้ามาจากประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากยังไม่มีการผลิตวัตถุดิบเครื่องแกงที่มาจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในไทย

กลยุทธ์การตลาดสินค้าอาหารไทยของผู้นำเข้าในเยอรมนี สคต.เบอร์ลินได้เยี่ยมพบและหารือร่วมกับผู้นำเข้าสินค้าอาหารเอเชียและอาหารไทยรายสำคัญในตลาดเยอรมนี ทราบว่าผู้นำเข้าบางรายได้เลือกใช้กลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ให้แก่สินค้าอาหาร Original Brands จากประเทศในเอเชียรวมทั้งแบรนด์สินค้าอาหารไทยด้วย เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้ในเรื่องรสชาติอาหาร และสามารถแยกแยะได้เองว่าเป็นสินค้าจากชาติใดในเอเชีย จึงมักให้ความสำคัญกับการเลือกซื้ออาหารที่เป็น Original brands มากขึ้น และมีผลตอบรับจากตลาดที่ดีมาก สินค้าอาหารไทยที่เป็นแบรนด์ไทยแท้สร้างยอดขายได้เพิ่มมากขึ้น แนวโน้มความต้องการของตลาดขยายตัวเมื่อเทียบกับสินค้าคู่แข่งอื่นๆที่เลือกใช้ชื่อแบรนด์ของตนเอง(บางรายเลือกใช้แบรนด์ที่เป็นภาษาชาติในเอเชียอื่นๆกับสินค้าอาหารที่ผลิตในไทยด้วย)

ช่องทางจำหน่ายสินค้าอาหารเอเชียในตลาดเยอรมนีได้เพิ่มช่องทางจาก Asian shops เข้าสู่ Supermarkets มากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ และผู้บริโภคทั้งชาวเยอรมันและชาวเอเชียที่อยู่ในเยอรมนีเริ่มซื้อสินค้าอาหารดังกล่าวจาก Supermarkets กันมากขึ้น และด้วยการที่ Supermarket chains ขนาดต่างๆกระจายตัวอยู่ทั่วทุกเมืองในเยอรมนี ทำให้สินค้าอาหารเอเชียรวมทั้งอาหารไทยเข้าถึงตลาดและ ผู้บริโภคได้ทั่วถึงมากขึ้น และจากประสบการณ์การจัดกิจกรรม Instore promotion ร่วมกับ Supermarkets ของ สคต.เบอร์ลินพบว่าในช่วงปี 2554-2555 แนวโน้มสินค้าไทยที่มียอดขายเพิ่มมากขึ้นได้แก่ สินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และก๋วยเตี๋ยวผัดไทยกึ่งสำเร็จรูป

ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารของกลุ่มผู้บริโภคชาวเยอรมัน จะให้ความสำคัญด้านคุณภาพของอาหารก่อนจึงพิจารณาราคา ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารต่างๆที่จำหน่ายในประเทศเยอรมนี จะต้องเน้นที่คุณภาพอาหาร และการสร้างแบรนด์ของอาหารที่เน้นในด้านคุณภาพเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ในการกำหนดราคาของสินค้าอาหารในตลาดเยอรมนีในปัจจุบัน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารมีความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพของราคาอาหารของตนเอาไว้ และพยายามที่จะไม่ผลักภาระต้นทุนค่าวัตถุดิบ อาหาร ค่าขนส่ง และค่าพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นไปยังผู้บริโภค เนื่องจากความกลัวที่จะสูญเสียอุปสงค์ในสินค้าอาหารของตนไป หากมีการปรับเพิ่มราคาสินค้า

9. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการส่งออกอาหารไทยมายังตลาดเยอรมนี
                         จุดแข็ง                                        จุดอ่อน
- ไทยมีแหล่งวัตถุดิบอาหารที่หลากหลายจากภาคเกษตรกรรม    - วัตถุดิบอาหารจากภาคเกษตรกรรมมีปริมาณ และคุณภาพไม่
  จึงสามารถผลิตอาหารได้หลากหลายประเภท                สม่ำเสมอ  บางรายการสินค้าไม่สามารถผลิตได้ตลอดปี  หรือ
- ผู้ประกอบการผลิตอาหารเพื่อการส่งออกของไทยมีทักษะ
  และฝีมือด้านการผลิต สามารถผลิตอาหารผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ      - สินค้าผักสดบางรายการ มีปัญหาสารพิษตกค้างและปัญหา
  ออกสู่ตลาด และผลิตอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน/            แมลงศัตรูพืช  ซึ่งไม่ผ่านตามหลักเกณฑ์การส่งออกผักไปยัง
  กฎระเบียบการนำเข้าของ EU                          EU ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสายตาผู้นำเข้า
- ผู้ประกอบการไทยมีประสบการณ์และมีฐานลูกค้าผู้นำเข้า      - อุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออกของไทย ยังขาดระบบการ
  รายสำคัญในตลาดเยอรมนี                             ควบคุม/ตรวจสอบคุณภาพ ที่ได้มาตรฐาน
- อาหารไทยมีรสชาติดี และมีสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อ       - สินค้าไทยมีราคาสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่างจีน
  สุขภาพ ซึ่งเป็นแนวโน้มความต้องการบริโภคในตลาด          และเวียดนาม
  เยอรมนี
- สินค้าอาหารไทยเป็นที่รู้จัก และยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มี
  คุณภาพ
                   โอกาส                                                อุปสรรค
- เยอรมนีเป็นตลาดใหญ่ มีประชากร 82 ล้านคน และผลิต         - ผู้บริโภคเยอรมันให้ความสำคัญกับราคาสินค้าอาหารควบคู่ไป
  อาหารได้ไม่เพียงพอ ต้องพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศ           กับคุณภาพของอาหารเป็นอย่างมาก ต้องการสินค้าคุณภาพดี
- พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเยอรมัน ให้ความสำคัญ          ราคาถูก การซื้อสินค้าอาหารจาก Discounters จึงเป็นที่นิยม
  กับคุณค่าทางอาหารที่มีต่อสุขภาพ จึงเป็นโอกาสของสินค้า           มากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่ง Discounters จะสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก
  อาหารไทยที่มีวัตถุดิบเป็นสมุนไพรต่างๆที่เป็นประโยชน์             สำหรับร้านค้าในเครือข่าย ทำให้มีอำนาจการต่อรองสูง
  ทางโภชนาการ                                         สามารถเลือก Suppliers ที่เสนอขายในราคาต่ำได้
- ชาวเยอรมันนิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จึง      - การแข่งขันในตลาดสูงมาก ส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าอาหารจาก
  รู้จักและเคยลองรับประทานอาหารไทย และยังคงหาซื้อ            ประเทศใน EU โดยเฉพาะสินค้าผักและผลไม้สด ซึ่งได้เปรียบใน
  บริโภค/ใช้บริการร้านอาหารไทยในเยอรมนี                    ด้านการขนส่งและราคา
- ชาวเยอรมันสนใจบริโภคอาหารและผลไม้ที่มาจาก              - มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี และกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ
  ต่างประเทศ (Exotic food and fruits) มากขึ้น            ของ EU ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าอาหารไทย
- EU ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าไก่สดจากไทย และให้เริ่ม
  นำเข้าได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน

พฤษภาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ