รายงานตลาดธุรกิจค้าปลีกของสเปนและโอกาสของสินค้าไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 18, 2012 14:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานตลาดธุรกิจค้าปลีกของสเปนและโอกาสของสินค้าไทย

๑.สถานการณ์ตลาด

๑.๑ สเปนเริ่มประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๔ ปีที่สเปนยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาเฉพาะหน้าที่กาลังส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมได้แก่ปัญหาการว่างงานซึ่งสูงถึงร้อยละ ๒๔ หรือมีจำนวนคนตกงานมากกว่า ๕ ล้านคน ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากยอดขายรวมธุรกิจค้าปลีกทั้งหมดมูลค่า ๒๒๑,๐๗๒ ล้านยูโรในปี ๒๕๕๓ ลดลงเหลือ ๒๑๑,๐๕๑ ล้านยูโรในปี ๒๕๕๔ หรือลดลงร้อยละ ๔.๕ ซึ่งหลายฝ่ายวิเคราะห์ว่าสเปนต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย ๒ ปีจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตน

๑.๒ พฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากชาวสเปนจับจ่ายน้อยลงและให้ความสำคัญต่อราคาสินค้ามากกว่าแบรนด์ที่เคยใช้ นอกจากนี้ชาวสเปนยังใช้รถยนต์น้อยลงเนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกต้องปรับแผนการดำเนินธุรกิจตามสถานการณ์ เช่น ซุปเปอร์มาเก็ตต่างออกสินค้าราคาถูกภายใต้แบรนด์ของตนเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าราคาถูกของผู้บริโภค และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์น้อยลงยังส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกเร่งขยายธุรกิจในการเปิดร้านขนาดกลางและเล็กในชุมชนมากขึ้นและชะลอการเปิดสาขาขนาดใหญ่นอกเมืองออกไป

๑.๓ สินค้าไทยที่เข้าสู่ตลาดค้าปลีกของสเปนประกอบด้วยสินค้าอาหารเป็นหลักอันประกอบด้วย ผลไม้กระป๋อง ข้าว อาหารทะเลกระป๋อง และกุ้งสดแช่แข็ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกภายใต้แบรนด์ของผู้สั่ง ขณะที่สินค้าในกลุ่มเครื่องปรุงอาหารยังคงมีมูลค่าการส่งออกค่อนข้างน้อยอันเนื่องมาจากชาวสเปนยังคงรู้จักอาหารไทยค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและผลิตภัณฑ์พลาสติก นับเป็นสินค้าส่งออกของไทยที่ทาตลาดได้ดีในสเปน

๒.ส่วนแบ่งการตลาด

๒.๑ ธุรกิจค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจอย่างมากได้แก่ ห้างค้าปลีกระดับบนที่ถือครองตลาดมานานได้แก่ El Corte Ingles ซึ่งเคยผูกขาดตลาดมาเป็นระยะเวลานาน รวมถึงซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ตามชานเมืองที่แข่งขันกันเปิดธุรกิจในช่วงเศรษฐกิจเติบโต ขณะที่ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าย่อย และซุปเปอร์มาเก็ต เช่น ซุปเปอร์มาเก็ต Mercadonia ซึ่งมีสาขาขนาดกลางและเล็กในเมืองกลับทายอดขายได้ดี

ตาราง ๑. ยอดขายธุรกิจค้าปลีกระหว่างปี ๒๕๕๑- ๕๔
มูลค่า  ล้านยูโร                    ๒๕๕๑            ๒๕๕๒           ๒๕๕๓          ๒๕๕๔
ธุรกิจค้าปลีกที่มีร้านค้า             ๒๐๙,๙๑๙         ๒๑๐,๔๓๔        ๒๐๐,๓๕๑       ๑๙๓,๘๕๒
ธุรกิจค้าปลีกที่ไม่มีร้านค้า            ๑๐,๒๓๑          ๑๐,๖๓๘         ๑๐,๖๙๙        ๑๑,๐๑๖
รวมธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด            ๒๒๐,๑๕๑         ๒๒๑,๐๗๒        ๒๑๑,๐๕๑       ๒๐๔,๘๖๘
ข้อมูล Euro Monitor International

          ๒.๒ ซุปเปอร์มาเก็ต Mercadona SA ของสเปนมีส่วนแบ่งการตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งที่ร้อยละ ๗.๓ จากยอดขายรวม ตามด้วยห้างสรรพสินค้า El Corte Ingles SA ร้อยละ ๖.๖  ไฮเปอร์มาเก็ต Carrfour S A ร้อยละ ๓.๒ และ Eroski Group มีส่วนแบ่งการตลาดสูงเป็น อันดับ ๔ ขณะที่ร้านค้าปลีกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ZARA มีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับ ๗ ที่ร้อยละ ๑.๒ รายละเอียดดังตาราง ๒.
          ๒.๓  ผู้บริโภคชาวสเปนยังหันไปใช้บริการธุรกิจที่ไม่มีร้านค้า ได้แก่ การสั่งซื้อสินค้าทางโทรศัพท์ แคตตาล็อค พาณิชย์อีเลคโทรนิคส์ และเครื่องขายสินค้าแบบหยอดเหรียญมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากยอดขายผ่านช่องทางธุรกิจที่ไม่มีร้านค้ามียอดขายจาก ๑๐,๖๘๘ ล้านยูโรในปี ๒๕๕๓ สูงขึ้นเป็น ๑๑,๐๑๖ ล้านยูโรในปี ๒๕๕๔ ขยายตัวร้อยละ ๓.๐

ตาราง ๒. ส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจค้าปลีกในสเปนระหว่างปี ๒๕๕๑- ๕๔
ร้อยละของยอดขายก่อนหักภาษี          ๒๕๕๑       ๒๕๕๒       ๒๕๕๓       ๒๕๕๔
๑. Mercadona SA                  ๕.๙        ๖.๕        ๖.๙        ๗.๓
๒.El Corte Ing les SA            ๖.๔        ๖.๕        ๖.๖        ๖.๖
๓ Carrefour SA                   ๓.๐        ๓.๒        ๓.๒        ๓.๒
๔.Eroski Grupo                   ๒.๙        ๓.๑        ๓.๐        ๒.๐
๕.Dia SA                         ๑.๗        ๑.๙        ๑.๙        ๑.๗
๖.Alcompo SA                     ๑.๘        ๑.๘        ๑.๘        ๑.๗
๗.ZARA                           ๑.๕        ๑.๖        ๑.๖        ๑.๒
๘.Lidl Supermercados SA          ๐.๖        ๐.๙        ๐.๙        ๐.๘
๙.Media Markt Saturn             ๐.๗        ๐.๘        ๐.๘        ๐.๗
๑๐.Consum                        ๐.๕        ๐.๗        ๐.๗        ๐.๗
ข้อมูล Euro Monitor International

๓. กลุ่มสินค้า
          ๓.๑ เมื่อดูจากยอดขายตามกลุ่มสินค้า พบว่าสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มซึ่งมียอดขายรวมสูงที่สุดได้รับผลกระทบน้อยกว่าสินค้ากลุ่มอื่น โดยมียอดขายรวมในปี ๒๕๕๔ ที่ ๙๔,๓๒๒ ล้านยูโร ขยายตัวติดลบ ๑.๐ ขณะที่สินค้าในกลุ่มตกแต่งบ้านและสวนมียอดขายลดลงสูงที่สุดที่ร้อยละ - ๑๒.๖ มูลค่า ๑๖,๗๕๐ ล้านยูโร
          ๓.๒ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นอื่นๆมีมูลค่าการขายสูงเป็นอันดับสองรองจากอาหาร โดยมีมูลค่าการขายรวมในปี ๒๕๕๔ จำนวน ๒๓,๑๖๓ ล้านยูโร ลดลงจากปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๓.๓ ส่วนกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงามมียอดขายรวมเป็นอันดับที่สามที่มูลค่า ๒๐,๓๓๘ ล้านยูโร ลดลงจากปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๒๗

ตาราง ๓. ยอดจำหน่ายสินค้าแยกตามกลุ่มสินค้าระหว่างปี ๒๕๕๑- ๕๔
                                  ๒๕๕๑      ๒๕๕๒       +/-      ๒๕๕๓      +/-     ๒๕๕๔     +/-
หน่วย ล้านยูโร                                              %                  %                %
๑. อาหารและเครื่องดื่ม ๙๔,๖๗๔       ๙๗,๐๓๖      +๒.๔    ๙๕,๓๔๔      -๑.๗   ๙๔,๓๒๒     -๑.๐
๒.เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นอื่นๆ        ๒๖,๔๗๐    ๒๕,๙๑๒      -๒.๑    ๒๓,๙๗๔     -๗.๔   ๒๓,๑๖๓    -๓.๓
๓.สุขภาพและความงาม               ๑๙,๗๒๓    ๒๐,๖๔๗      +๔.๖    ๒๐,๙๑๕     +๑.๒   ๒๐,๓๓๘    -๒.๗
๔.เสื้อผ้าสำเร็จรูปและรองเท้า         ๒๑,๙๖๑    ๒๑,๓๐๗      -๒.๙    ๑๙,๗๕๑     -๗.๓   ๑๘,๙๔๒    -๔.๐
๕.สินค้าตกแต่งบ้านและสวน            ๒๓,๗๓๐    ๒๓,๐๗๕      -๒.๗    ๑๙,๑๗๓    -๑๖.๙   ๑๖,๗๕๐   -๑๒.๖
๖.เครื่องใช้ไฟฟ้า                    ๘,๓๕๗     ๗,๕๑๘     -๑๐.๐     ๖,๙๒๔     -๗.๙    ๖,๖๙๕    -๓.๓
๗.สินค้าอื่นๆ                       ๑๕,๐๐๔    ๑๔,๙๓๙      -๐.๔    ๑๔,๒๗๐     -๔.๔   ๑๓,๖๔๒    -๔.๔
  ยอดรวม                       ๒๐๙,๙๑๙   ๒๑๐,๔๓๔      +๐.๒   ๒๐๐,๓๕๑     -๔.๗  ๑๙๓,๘๕๒    -๓.๒
ข้อมูล Euro Monitor International

๔. กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีก
          ๔.๑  ภายหลังจากการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี ๒๕๒๙ ส่งผลให้ประเทศสเปนเปิดเสรีด้านการลงทุน ธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติรายใหญ่ จึงเข้ามาลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในสเปน โดยส่วนใหญ่เข้ามาการเปิดสาขาของห้างขนาดใหญ่นอกเมือง ได้แก่ Carrefour, Auchan, Media Markt/Saturn, และ IKEA เป็นต้น และมีบางส่วนที่เปิดร้านค้าปลีกขนาดกลางและเล็กในเมืองเช่น ซุปเปอร์มาเก็ต Lidl Supermercados SA เป็นต้น
          ๔.๒ อย่างไรก็ตามภาครัฐได้ออกกฎระเบียบเพื่อคุ้มครองธุรกิจค้าปลีกรายย่อยในชุมชุน โดยมีระเบียบที่เข้มงวดในการจำกัดพื้นที่และขนาดของธุรกิจในเขตเมือง ตลอดจนมอบอานาจให้ถ้องถิ่นมีอานาจในการตัดสินอนุญาตการเปิดกิจการในพื้นที่ของตนได้ กฏหมายดังกล่าวเริ่มใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ ได้แก่ Retail Distribution Act 1/2010 (Ley 1/2010 de Ordenacion del Comercio Minorista)
          ๔.๓ สเปนกำหนดเวลาการเปิดดำเนินธุรกิจอย่างเข้มงวด ตามกฎหมายกำหนดให้ธุรกิจค้าปลีกทุกประเภทยกเว้น ร้านขนมปังขนมอบหรือเบเกอรี่ แผงหนังสือพิมพ์ ปั้มน้ำมัน ร้านดอกไม้ สนามบิน ธุรกิจที่ตั้งอยู่ในเขตท่องเที่ยวตามที่กำหนด และธุรกิจค้าปลีกที่มีพื้นที่เล็กกว่า ๓๐๐ ตร.ม.ไม่นับรวมที่เป็นสาขาของธุรกิจจัดจำหน่ายขนาดใหญ่ จะต้องมีเวลาทาการอย่างน้อย ๗๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และอนุญาตให้เปิดทำการในวันอาทิตย์ได้ไม่เกิน ๑๒ วันในหนึ่งปี ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่จะต้องปิดทำการในวันอาทิตย์ยกเว้นวันอาทิตย์ต้นเดือน
          ๔.๔ สเปนนับเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีความเข้มงวดด้านการนำเข้าสินค้าอาหารในระดับสูง สินค้าอาหารที่นำเข้าต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดและจะต้องมีเอกสารรับรองอย่างถูกต้อง ทั้งในด้านคุณภาพ สุขอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ที่ผลิตสำหรับมนุษย์ ภายใต้ระเบียบทั้งของสเปนเองและระเบียบของสหภาพยุโรป

๕. โอกาสและศักยภาพสินค้าไทย
          ๕.๑ สินค้าอาหารจากเอเชียที่มีจำหน่ายในร้านค้าปลีกทั่วไปยังคงมีไม่มากนัก เนื่องจากชาวสเปนค่อนข้างอนุรักษ์นิยมและคุ้นเคยกับอาหารประจำชาติของตน อย่างไรก็ตามสินค้าอาหารญี่ปุ่น เช่น บะหมี่สำเร็จรูป ส่วนประกอบในการทำข้าวห่อสาหร่าย ซุปชนิดต่างๆ และซอสปรุงรส รวมถึงสินค้าอาหารจีน เช่น ซอสปรุงรส เส้นก๊วยเตี๋ยว อาหารสำเร็จรูป เริ่มมีวางจำหน่ายในตลาดค้าปลีกหลักมากขึ้น
          ๕.๒ สินค้าอาหารไทยที่สามารถส่งออกเข้าสู่ตลาดค้าปลีกหลักของสเปน ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ข้าว อาหารทะเลกระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง โดยมีมูลค่ารวม ๒๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี ๒๕๕๔ โดยส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตและส่งออกในแบรนด์ของผู้สั่งซื้อ
          ๕.๓ สินค้าอาหารในกลุ่มส่วนประกอบในการทาอาหารไทยยังแทบไม่มีจำหน่ายในซุปเปอร์มาเก็ตหลักในสเปน ยกเว้นซุปเปอร์มาเก็ตเอเชียซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก ( ๓ แห่งในกรุงมาดริด) และมีรายการสินค้าค่อนข้างจากัดอยู่เพียงไม่กี่รายการ เช่น ข้าวหอมมะลิ น้ำปลา น้ำจิ้มไก่ เครื่องแกงสำเร็จรูป น้ำผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
          ๕.๔ สินค้าอาหารสำเร็จรูปแบบอุ่นในเตาไมโครเวฟกำลังเป็นที่นิยมสูงขึ้นเรื่อยๆซึ่งปัจจุบันเริ่มมีธุรกิจของไทยเข้ามาเปิดกิจการค้าปลีกสินค้าในกลุ่มนี้มากขึ้น โดยรายการอาหารที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ผัดไทยกุ้งสด ข้างราดแกงเขียวหวาน เกี๊ยวน้ำ เป็นต้น
             ๕.๕ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าเป็นสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดค้าปลีกสเปน โดยการส่งออกเกือบทั้งหมดเป็นการรับจ้างผลิตและส่งออกภายใต้แบรนด์ของสเปน ทั้งแบรนด์ในกลุ่มตลาดราคาปานกลาง เช่น แบรนด์ Fantastica  ซึ่งสั่งตัดเย็บเสื้อผ้าสาเร็จรูปและรองเท้าสตรีจากไทย รวมถึงแบรนด์ที่มีชื่อเสียงของสเปน ได้แก่ ZARA, Mango, Mussimo Dutti เป็นต้น โดยสินค้าจากไทยได้รับการยอมรับในด้านความปราณีตของการตัดเย็บในราคาที่เหมาะสม
             ๕.๖ สินค้าเครื่องหนัง ได้แก่ กระเป๋าหนังสตรี กระเป๋าสตางค์ เข็มขัดและเครื่องหนังอื่นๆ นับเป็นสินค้าที่มีศักยภาพของไทยอีกกลุ่มหนึ่งในการเข้าสู่ตลาดค้าปลีกของสเปน โดยที่ผ่านมามีธุรกิจสเปนแสดงความประสงค์จะร่วมธุรกิจกับไทยจานวนหลายราย

ตารางที่ ๔ : สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังธุรกิจค้าปลีกสเปนจานวน ๗ รายการ

                                                                                มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ                                       ๒๕๕๔        ๒๕๕๕      ๒๕๕๔       ๒๕๕๕        % ๕๔/๕๕
                                                               (ม.ค.-มี.ค.) (ม.ค.-มี.ค.)  (ม.ค.- มี.ค.)
๑. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                             ๑๗๔.๓       ๑๔๔.๖      ๔๕.๓       ๒๕.๒         -๔๔.๓
๒. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                        ๓๐.๒        ๔๐.๓       ๙.๓        ๘.๐         -๑๔.๒
๓. ข้าว                                       ๒๒.๕        ๒๑.๙       ๔.๕        ๖.๔          ๔๑.๓
๔. รองเท้าและชิ้นส่วน                            ๑๕.๘        ๒๑.๗       ๕.๙        ๕.๒         -๑๒.๒
๕. อาหารทะเลกระป๋อง                           ๕๒.๔        ๓๑.๗       ๘.๐        ๓.๔         -๕๖.๙
๖. กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง                            ๖๑.๒        ๕๕.๓      ๑๓.๒        ๓.๐         -๗๗.๐
๗. ผลิตภัณฑ์พลาสติก                               ๗.๕        ๑๐.๔       ๒.๔        ๒.๗          ๑๐.๓
รวม  ๗ รายการ                               ๓๖๓.๙       ๓๐๔.๒      ๘๘.๖       ๕๓.๙             -
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

๖. ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
          ๖.๑ ประเทศสเปนประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่าสเปนจะกลับมาฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อใด แต่อย่างไรก็ตามสเปนยังคงมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของยุโรป และยังคงมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเองมีสินค้าที่มีศักยภาพหลายรายการที่สามารถเข้ามาทาตลาดในสเปนได้ โดยผู้ส่งออกไทยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตลาดแห่งนี้
          ๖.๒ อาหารไทยยังคงเป็นที่รู้จักค่อนข้างน้อยจึงยังคงไม่มีสินค้าอาหารและส่วนประกอบในการทำอาหารไทยวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกหลักในสเปนมากนัก ขณะที่มีสินค้าอาหารไทยวางขายในซุปเปอร์มาเก็ตเอเชียซึ่งส่วนใหญ่เป็นของคนจีนและยังคงมีจานวนไม่มากนัก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรม/โครงการส่งเสริมสินค้าอาหารของไทยเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของสินค้าอาหารของไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างต่อเนื่อง
          ๖.๓ อุปสรรคที่สำคัญในการเข้าสู่ตลาดสเปนยังคงเป็นอุปสรรคด้านภาษาซึ่งภาคธุรกิจของสเปนยังคงใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก และมีส่วนน้อยที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร นอกจากนี้เนื่องจากสเปนเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารมูลค่าสูงเป็นอันดับสามของสหภาพยุโรปรองจากฝรั่งเศสและอิตาลี สเปนจึงมีความเข้มงวดในด้านการนำเข้าสินค้าอาหารในระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสุขอนามัยซึ่งที่ผ่านมามีผู้ส่งออกไทยหลายรายประสบปัญหาในการส่งออกสินค้ามายังสเปน

                                                                   สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด
                                                                                             ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕

แท็ก สเปน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ