การรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน RSPO สำหรับเกษตรกรรายย่อย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 4, 2012 15:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน RSPO สำหรับเกษตรกรรายย่อย

เนื่องจากความต้องการใช้นำมันปาล์มของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในการใช้เพื่อเป็นพลังงานทดแทน ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกน้ำมันปาล์มอย่างกว้างขวางทั่วโลก เกิดการทำลายป่า สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ มีการเอารัดเอาเปรียบแรงงานและเกษตรกรรายย่อย ส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น จนเกิดการต่อต้านน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำมันปาล์มขึ้นในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายจึงริเริ่มโครงการ Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนทั่วโลก สมาชิกประกอบด้วย ผู้ปลูกปาล์ม ผู้สกัดน้ำมันปาล์ม ผู้ค้า ผู้ผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ นักลงทุน และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ประเทศต่างๆ ทั่วดลกยึดถือปฏิบัติ แต่เนื่องจากแต่ละประเทศมีบริบททางสังคม เศรษฐกิจและการผลิตที่แตกต่างกัน ระบบ RSPO จึงเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศกำหนดหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดของตัวเองได้ โดยอยู่ภายใต้กรอบ RSPO ระดับสากล

RSPO ได้กำหนดหลักการ (Principles) 8 ข้อ และเกณฑ์กำหนด (Criteria) 39 ข้อ เพื่อเป็นกรอบสำหรับการผลิตปาล์มที่ยั่งยืน โดยกรอบคลุมถึงการบริหารจัดการและดำเนินงานด้านกฎหมาย ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ ความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม และความเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยหลักการดังกล่าว ได้แก่

1. ความมุ่งมั่นให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้

2. การปฏิบัติตามกฏหมายและระเบียบปฏิบัติ

3. การปฏิบัติตามแบบแผนในด้านเศรษฐกิจและการเงิน

4. การใช้วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับผู้ปลูกน้ำมันปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม

5. ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ

6. ความรับผิดชอบต่อบุคลากรและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากผู้ปลูกปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม

7. ความรับผิดชอบต่อการพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใหม่

8. การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมที่สำคัญ

ปัจจุบันประเทศที่ได้รับการรับรองเกณฑ์กำหนดและตัวชี้วัดตามกรอบ RSPO แล้ว ได้แก่ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ขณะที่ปาปัวนิวกินีอยู่ระหว่างการนำเสนอหลักการระดับชาติต่อ RSPO สำหรับประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อตีความหลักการณ์และเกณฑ์กำหนด ตามกรอบ RSPO (Generic P&C) โดยหลังจากการจัดทำเกณฑ์กำหนดและตัวชี้วัดระดับชาติเสร็จสิ้นลง ก็จะนำเสนอต่อ RSPO หากได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการแล้ว เอกชนภายในประเทศก็ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในการขอใบรับรองว่าสินค้าของตนเป็นไปตามหลักการและเกณฑ์กำหนดของ RSPO

ประโยชน์ของหลักการและเกณฑ์กำหนด ตามกรอบ RSPO

  • ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ทั้งการจัดการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มปริมาณและคุณภาพน้ำมันปาล์ม
  • ปกป้องสิทธิพื้นฐานของเจ้าของที่ดิน คนงาน และคนในชุมชน
  • สร้างโอกาสในการแข่งขันด้านการผลิต

กลุ่ม "การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (The Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO)" กำลังวางกลไกที่สำคัญในการหาช่องทางรายได้เพื่อมุ่งไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานสวนน้ำมันปาล์มที่มีเกษตรกรรายย่อยอิสระเป็นเจ้าของในตลาดหลักอย่างเช่น อินโดนีเซีย ไทย และแอฟริกาตะวันตก

RSPO สำรองเงินจำนวน 300,000 ยูโรในการสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยในการรับรองสวนปาล์มเศรษฐกิจ จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะจัดช่องทางการเข้าถึงลูกค้าต่างประเทศในตลาดต่างๆ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือแม้กระทั่ง อินเดียซึ่งมีการเรียกร้องน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (Certified Sustainable Palm Oil หรือ CSPO) เพิ่มมากขึ้น

รุ่นที่หนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยสวนน้ำมันปาล์ม 5,000 เฮกเตอร์ซึ่งมีเกษตรกรรายย่อยเป็นเจ้าของจากประเทศไทยกำลังอยู่ในกระบวนการรับรองมาตรฐานในปีนี้

โดยทั่วโลก เกษตรกรรายย่อยอิสระมีส่วนช่วยทำให้เกิดการผลิตน้ำมันปาลมดิบมากที่สุดจากปริมาณทั้งหมดของการผลิต ในประเทศไทย เกษตรกรรายย่อยอิสระมีส่วนช่วยทำให้เกิดการผลิตน้ำมันปาล์มดิบร้อยละ 70 จากการผลิตน้ำมันปาล์มดิบทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่แอฟริกามีทำให้เกิดน้ำมันปาล์มดิบร้อยละ 80 และมาเลเซียและอินโดนีเซียนั้นแต่ละประเทศผลิตร้อยละ 40

ในปัจจุบัน การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน RSPO ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในการรับรองมาตรฐานสวนต่างๆ ซึ่งเป็นของเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในโครงการที่ถูกดำเนินการและจัดการโดย Felda Group ในมาเลเซีย

ในแง่ของการผลิต CSPO ประเทศไทยมีความกระตือรือ้นในการผลักดันให้ได้รับรองมาตรฐาน RSPO ในขณะที่อินดีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในนามผู้ซื้อและลูกค้าน้ำมันปาล์มดิบรายใหญ่กำลังเปิดพื้นที่ใหม่ในการปลูกช่วยป่าเศรษฐกิจน้ำมันปาล์ม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจในการเสาะแสวงหาการรับรองมาตรฐาน RSPO

มีการคาดการณ์ว่า ปริมาณทั้งหมดในการผลิต CSPO ภายใต้กรอบ RSPO จะถึงปริมาณ 7 ล้านตันภายในสิ้นปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ 5.6 ล้านตันซึ่งถูกบันทึกไว้ในปีที่แล้ว และจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา CSPO มีปริมาณมากถึง 6.4 ล้านตัน ครอบคลุมการผลิตในพื้นที่ทั้งหมดกว่า 1.3 ล้านเฮกเตอร์ อินโดนีเซียในขณะนี้เป็นผู้ผลิต CSPO รายใหญ่ที่สุด ตามมาด้วยมาเลเซียและปาปัวนิวกินี และ Company-wise Sime Darby Bhd เป็นผู้ผลิต CSPO เดี่ยวรายใหญ่ที่สุดของโลก

สถานการณ์ CSPO ที่สำคัญในตอนนี้คือสถานการณ์ที่ผู้ซื้อหรือลูกค้าต่างประเทศต้องการที่จะซื้อ CSPO แต่ไม่ทราบว่าจะไปหาจากแหล่งผลิตที่ไหน ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตและคนปลูก CSPO ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปขายใคร ดังนั้น CSPO ควรจะถูกพิจารณาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมมากกว่าสินค้าหรือวัตถุดิบ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ผลิต CSPO ควรจะมีความรู้และความเข้าใจการส่งเสริมและการทำการตลาดของผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดผู้บริโภครายใหญ่

CSPO เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากเพียงร้อยละ 3 ในปี 2008 มาถึง ร้อยละ 50 ในปี 2011 และขณะนี้ก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบัน มีการริเริ่มในระดับชาติ เช่น Dutch Task Force หรือ Belgian Alliance และอีกจากหลายๆ ความริเริ่มในเยอรมัน อังกฤษในการให้คำมั่นสัญญาในการรับรองการผลิตน้ำมันปาลมอย่างยั่งยืน หรือ CSPO

สำหรับมาเลเซีย ประเทศประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในฐานะสมาชิก RSPO ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สอง รองจากอังกฤษ มีส่วนช่วยให้เกิดการผลิตปริมาณทั้งหมดร้อยละ 45 ของ CSPO ทั่วโลก ทำให้เกิดบริษัทผู้ปลูกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากทั่วโลกร้อยละ 36 และ เกือบร้อยละ 50 ของจำนวนกว่าล้านคนที่ได้รับการรับรองเป็นชาวมาเลเซีย

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

มิถุนายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ