การยกเลิกการเก็ยภาษีนำเข้ารองเท้าของสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 4, 2012 16:34 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การยกเลิกการเก็ยภาษีนำเข้ารองเท้าของสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน เป็นที่วิตกกังวลถึง ร่างพระราชบัญญัติ Affordable Shoe Act of 2011 ฉบับ ของวุฒิสภา (S 1069) ยกเลิกการเก็บภาษีรองเท้า อาจจะเป็นหมัน เนื่องจากปัจจุบัน ใกล้เวลาการ

เลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งทั่วไป นักการเมืองมักจะใช้เวลาไปหาเสียงการเลือกตั้ง ซึ่งจะให้ความสนใจต่อการพิจารณาพระราชบัญญัติ ลดลงไป

สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้ารองเท้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมรองเท้าในประเทศ มาตั้งแต่ปี 1930 (2473) สหรัฐฯ ในอัตราประมาณร้อยละ 8.0 - 67.5 โดยเรียกเก็บรองเท้าราคาถูก (Lowend show) ในอัตราสูงร้อยละ 48 และรองเท้าหรูหรา (High-end shoes) ในอัตราที่ต่ำ ร้อยละ 8.5 และอัตราดังกล่าวไม่มีการปรับปรุงหรือปรับลดเลยจนถึงปัจจุบัน อัตราภาษีนำเข้ารองเท้านับว่า เป็นอัตราภาษีนำเข้าที่สูงกว่าสินค้าจำเป็นชนิดอื่นๆ เช่น เสื้อผ้า

เปรียบเทียบภาษีนำเข้าสินค้ารองเท้าและเครื่องนุ่งนุ่ม

สินค้า             แบบหรูหรา         ระดับกลาง       ระดับต่ำ
1. รองเท้า          6.5%            20.0%          48.0%
2. เสื้อเชิ้ตชาย       4.0%             17.0          32.0%
1. เสื้อ Sweater     0.9%            19.7%          32.0%

ปัจจุบัน รองเท้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ นำเข้าจากต่างประเทศร้อยละ 99 หรือคิดเป็นมูลค่านำเข้าประมาณ 22,652.45 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน มีสัดส่วนตลาดสูงที่สุด ร้อยละ 73 แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ เวียดนาม อินโดนิเซีย เม็กซิโก และ อิตาลี่ ในขณะที่รองเท้าผลิตในประเทศสหรัฐฯ มีสัดส่วนตลาดเพียงร้อยละ สหรัฐฯ มีรายได้การเก็ยภาษีอากรนำเข้าจากรองเท้าได้ประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

การนำเข้าสินค้ารองเท้าของสหรัฐฯ ในปี 2552-2554

แหล่งนำเข้า             มูลค่าการนำเข้า: ล้านเหรียญ          สัดส่วนตลาดนำเข้า (%)        อัตราขยายตัว(%)
                    2552       2553       2554      2552     2553     2554     53/52    54/ 53
1. China       13,335.73  15,916.77  16,722.41     76.11     76.15   73.82     19.35      5.06
2. Vietnam      1,289.33   1,622.95   2,045.87      7.36      7.76    9.03     25.88     26.06
3. Italy          771.22     896.91   1,115.01      4.40      4.29    4.92     16.30     24.32
4. Indonesia      435.08     585.97     769.89      2.48      2.80    3.40     34.68     31.39
5. Mexico         253.98     318.66     371.34      1.45      1.53    1.64     25.47     16.53
10. Thailand      151.55     125.11     131.84      0.87      0.60    0.58    -17.44      5.38       Other           1,285.84   1,435.89   1,496.11      7.34      6.87    6.60     11.67      4.19
นำเข้ารวม       17,522.72  20,902.26  22,652.48    100.00    100.00  100.00     19.29      8.37
ที่มา: World Trade Atlas, June 2012

ภาคธุรกิจค้าปลีกและผู้นำเข้าได้เรียกร้องให้ยกเลิกการเรียกเก็บภาษี วุฒิสมาชิก นาง Maria Cantwell (D-WA) เสนอพระราชบัญญัติ Affordable Footwear Act 2011 ให้ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีรองเท้านำเข้าจากต่างประเทศ กลุ่มผู้สนับสนุน ให้เหตุผล เป็นความล้าหลังของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการเก็บภาษี สินค้าที่แทบจะไม่มีการผลิตแล้วในประเทศ อีกทั้งเรียกเก็บภาษีในอัตราไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค โดยเรียกเก็บรองเท้าเด็ก และ รองเท้าที่มีราคาถูกซึ่งคนที่มีรายได้ต่ำซื้อใช้ ในอัตราสูง แต่เรียกเก็บภาษีรองเท้าหรูหราในอัตราต่ำ

ประเด็นสำคัญที่กลุ่มผู้สนับสนุนผิดหวัง คือ วุฒิสภาไม่สามารถผลักดันการพิจารณา กฎหมายให้มีความคืบหน้าได้ ปัจจุบัน มีเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือนสำหรับรัฐสภาสหรัฐฯ และใกล้เวลาการเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ และความสนใจต่อการพิจารณาพระราชบัญญัติลดลงไป ดังนั้น การยกเลิกภาษีนำเข้ารองเท้าอาจจะเป็นเรื่องฝันค้างในปี 2555 และคงจะต้องเริ่มต้นกันใหม่หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง หรือ ในปี 2556 ซึ่งหมายถึงผู้บริโภคสหรัฐฯ จะต้องแบกรับภาระภาษีรองเท้าที่ไม่เป็นธรรมต่อไป

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก

2 กรกฎาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ